The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือละเมิด 9

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tippawan Leekhamngam, 2022-07-10 22:13:17

หนังสือละเมิด 9

หนังสือละเมิด 9

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ
" ค ว า ม รั บ ผิ ด ข อ ง เ จ้ า ห น้ า ที่ "

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คณะที่ปรึกษา

นายไพวัลย์ จันทะนะ

ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1

นายวิทยา ชุมปัญญา ดร.สท้าน วารี ดร.ชรินดา พิมพบุตร

รอง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1 รอง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1 รอง ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ

หนังสือ “เหตุเกิดจากละเมิด” กับ “ความรับผิดของเจ้าหน้าที่” เล่มนี้ จัดทำ
โดยกลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้
เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และหลักเกณฑ์การ
ปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้จัดทำในรูปแบบภาพ
Infographic ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ทำให้ไม่น่าเบื่อจนเกินไป และที่
สำคัญเนื้อหาที่นำมาเรียบเรียงนั้น ล้วนเป็นตัวอย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง เช่น
คำพิพากษาศาลปกครอง คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
เป็นต้น

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
หน้าที่ราชการและเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา เพื่อให้การดำรงชีวิตในวิถีราชการเป็นไปอย่างปลอดภัย

กลุ่มกฎหมายและคดี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

มิถุนายน 2565

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สารบัญ
เรื่อง หน้า

1. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด

ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 1

2. เหตุผลในการตรากฎหมาย 1

3. ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย 2

4. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 4

5. กรณีตัวอย่าง : ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ 5

6. สิทธิการดำเนินคดีของผู้เสียหาย กรณี ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล 7

7. สิทธิการดำเนินคดีของผู้เสียหาย

กรณี ใช้สิทธิยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ 8

8. ละเมิดคืออะไร? 9

9. การกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 10

10. การกระทำโดยจงใจ 11

11. กรณีตัวอย่าง : การกระทำโดยจงใจ 12

12. การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ 17

13. กรณีตัวอย่าง : การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ 18

14. การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 20

15. กรณีตัวอย่าง : การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 22

16. กรณีตัวอย่าง : ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 41

17. กรณีตัวอย่าง : ไม่ถือว่าเป็นประมาทเลินเล่อ 43

18. กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะมีเพียงใด? 44

19. กรณีตัวอย่าง : ความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ 46

20. อายุความสิทธิไล่เบี้ยเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย 48

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สารบัญ(ต่อ)

เรื่อง หน้า

21. อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ 49

22. อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ กรณี


กระทรวงการคลังมีความเห็นที่แตกต่างกับหน่วยงานของรัฐ 50

23. การเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้เงิน 51

24. การอุทธรณ์คำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 52

25. มาตรการบังคับทางปกครอง 53

26. กรณีตัวอย่างอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 54

27. การกำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 56

28. ประกาศกระทรวงวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ


เกี่ยวกับการผ่อนชำระหนี้ของเจ้าหน้าที่ 57

29. หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 58

30. การดำเนินการเมื่อหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย 59

31. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 60

32. แนวทางปฏิบัติในการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 61

33. กรณีที่ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง


ความรับผิดทางละเมิด 62

34. กรณีที่ต้องร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง


ความรับผิดทางละเมิด 63

35. วัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง


ความรับผิดทางละเมิด 64

36. หน้าที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 65

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สารบัญ(ต่อ)

เรื่อง หน้า

37. การดำเนินการของผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง

ความรับผิดทางละเมิด 66
67
38. การพิจารณาของกระทรวงการคลัง 68
39. การชดใช้ค่าเสียหาย 69
40. กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก 70
41. กรณีบุคคลภายนอกยื่นคำขอให้0ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
42. การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

71
กรณี เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

43. หลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณี เจ้าหน้าที่ 72


กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก 73
44. การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณี เจ้าหน้าที่

74
กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

ภาคผนวก

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด
ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

เหตุผลในการตรากฎหมาย



ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ส่วนตัว บางกรณีเจ้าหน้าที่อาจกระทำโดย
ไม่ตั้งใจ หรือผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อเกิดความเสียหาย
แก่หน่วยงานของรัฐ หากนำหลักกฎหมายเอกชนหรือ
หลักลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาใช้บังคับจึงไม่เหมาะสม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้า
ตัดสินใจ และยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจของ
เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกด้วย

กฎหมายฉบับนี้จึงคุ้มครองเจ้าหน้าที่
ที่ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความสุจริต และใช้ความ
ระมัดระวังตามสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็น
ธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 1
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย



“เจ้าหน้าที่”
หมายความว่า

1. ข้าราชการ 2. พนักงาน 3. ลูกจ้าง

4. ผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้ง
ในฐานะเป็นกรรมการหรือในฐานะอื่นใด

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

2 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย



“หน่วยงานของรัฐ”
หมายความว่า

1. กระทรวง ทบวง กรม 2. ราชการ 3. ราชการ
หรือส่วนราชการที่เรียกชื่อ ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
อย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม

4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
หรือพระราชกฤษฎีกา



5. หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 3
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

กรณีเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

“หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบ กรณีที่มิได้เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของ
ต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่ เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้ าที่ของตนได้กระทำในการ
ปฏิบัติหน้ าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหาย “ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้ าที่
อาจฟ้ องหน่วยงานของรัฐดังกล่าว มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้ าที่
ได้โดยตรง แต่จะฟ้ องเจ้าหน้ าที่ เจ้าหน้ าที่ต้องรับผิดชอบในการนั้น
ไม่ได้” เป็นการเฉพาะตัว ในกรณีผู้เสียหาย
อาจฟ้ องเจ้าหน้ าที่โดยตรง แต่จะฟ้ อง
หน่วยงานของรัฐไม่ได้”

ข้อสังเกต : จะเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้ าที่
พ.ศ. 2539 มีขอบเขตการบังคับใช้
ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากการ
กระทำของเจ้าหน้ าที่ในการปฏิบัติหน้ าที่
ซึ่งผู้เสียหายอาจฟ้ องหน่วยงานของรัฐได้
แต่จะฟ้ องเจ้าหน้ าที่ไม่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่
ความเสียหายมิได้เกิดจากการกระทำของ
เจ้าหน้ าที่ในการปฏิบัติหน้ าที่ ผู้เสียหาย
อาจฟ้ องเจ้าหน้ าที่โดยตรง แต่จะฟ้ อง
หน่วยงานของรัฐไม่ได้

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

4 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง : ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่

นาย น. (ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกวิชาชีพ) พาคณะเจ้าหน้าที่เดินทางกลับจากราชการ
โดยเดินทางถึงศูนย์ฝึกวิชาชีพฯ แล้วถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่ การที่นาย น.
นัดแนะให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมกันรับประทานอาหารโดยให้นาย ส. ขับรถยนต์ของ
ทางราชการไปที่ร้านอาหาร และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วจึงขับรถยนต์ไปส่ง
ครูสตรีที่ไม่มีพาหนะกลับบ้าน และนำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่บ้านพักของนาย ส. กรณี
ดังกล่าวไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อขณะที่รถยนต์ของทางราชการ
สูญหายไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่นาย น. และนาย ส. ปฏิบัติหน้าที่ นาย น. และ นาย ส.
จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
ที่ อ.239/2549)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 5
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง : ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่

แม้นาย ก จะได้รับอนุญาตให้นำคณะครูไปศึกษาดูงาน แต่เมื่อพิจารณาขั้นตอนการ
ขออนุญาตไปดูงานเป็นเวลาที่กระชั้นชิดกับการเดินทางไปศึกษาดูงานและไม่ปรากฏหลักฐาน
การจัดเตรียมแผนงานในการศึกษาดูงานประกอบกับมีบันทึกประสานไปยังสถานที่ดูงานก่อน
วันเดินทางเพียงหนึ่งวัน อีกทั้งเดินทางไปถึงสถานที่ดูงานในช่วงเวลาเย็น และใช้เวลาศึกษาดู
งานไม่ถึงชั่วโมง และไม่ปรากฏว่างานมีปัญหาหรืออุปสรรคอันจะมีเหตุผลที่ต้องถึงขนาดไป
ศึกษาดูงาน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งร่วมเดินทางไปด้วยให้การว่าการเดินทางไปศึกษาดูงาน
ครั้งนี้มีเจตนาที่แท้จริงคือ ต้องการไปงานศพ การขออนุญาตใช้รถยนต์จึงมีวัตถุประสงค์ที่แท้
จริงคือต้องการใช้รถยนต์เพื่อไปงานศพ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่
ราชการ ดังนั้น เมื่อระหว่างเดินทางกลับ รถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุให้ทางราชการได้รับความ
เสียหาย นาย ก จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดเป็นการส่วนตัวตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.15/2555)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

6 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สิทธิการดำเนินคดีของผู้เสียหาย

กรณี ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล

“ผู้เสียหายจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้หรือ ควรรู้ถึงเหตุ
แห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี”

หลักอายุความทั่วไป ตาม
มาตรา 448 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ี่ 7
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สิทธิการดำเนินคดีของผู้เสียหาย

กรณี ใช้สิทธิยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ



“ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทำ
ละเมิดสังกัดอยู่โดยตรง หากเจ้าหน้าที่ไม่สังกัดหน่วยงานของรัฐ
แห่งใด ให้ผู้เสียหายยื่นคำขอต่อกระทรวงการคลัง”

หน่วยงานของรัฐจะต้อง
พิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จ

ภายใน 180 วัน

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

8 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ละเมิด
คือ
อะไร

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขความ
รับผิดทางละเมิดของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ ว่าจะต้อง
รับผิดในการกระทำละเมิดหรือไม่ และต้องรับผิดชอบมากน้อย
เพียงใด ตลอดจนวิธีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหาก
การกระทำของเจ้าหน้าที่ไม่เป็น “ละเมิด” ตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่
จำต้องพิจารณาความรับผิดตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว

การจะพิจารณาว่าการกระทำของหน่วยงานของรัฐ หรือ
เจ้าหน้าที่เป็น “ละเมิด” หรือไม่นั้น พระราชบัญญัติ ความรับผิด
ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัตินิยามศัพท์คำว่า
“ละเมิด” ไว้เป็นการเฉพาะ และมิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ความรับผิด
ของหน่วยงานของรัฐต่อผู้เสียหาย รวมทั้งความรับผิดในการ
กระทำละเมิด ของเจ้าหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติ
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับ
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด
ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตามมาตรา 3 (คำพิพากษาศาลปกครอง
สูงสุดที่ อ.101/2548)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 9
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์

1. ผู้ใดทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
2. กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
3. ทำให้เขาเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สิน
หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
4. ผู้ทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นผล
โดยตรงจากการกระทำนั้น

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

10 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกระทำโดยจงใจ

“การกระทำโดยจงใจ” คือ การกระทำที่รู้สำนึกถึง
การกระทำว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น
แต่มิได้หมายความเลยไปถึงกับว่าจะต้องเจาะจงให้
เกิดผลเสียอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นโดยเฉพาะดังเช่นกับ
การกระทำโดยเจตนาในทางอาญา

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 11
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยจงใจ

การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งมีอำนาจพิจารณาดำเนินการให้เป็นไป
ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 จะต้องได้ใช้ดุลพินิจ
จัดให้ข้าราชการที่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านให้เข้าพักอาศัยในบ้านพักข้าราชการที่
ว่างอยู่ก่อนนั้น แต่กลับมีคำสั่งอนุมัติให้นางสาว ส. ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน
ข้าราชการทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าบ้านพักครูว่างอยู่ และมีสภาพสมบูรณ์เหมาะที่
จะให้ข้าราชการพักอาศัยได้ นอกจากนั้นยังรู้อยู่แล้วว่าการอนุมัติตั้งแต่เดือน
กุมภาพันธ์ 2539 ถึงเดือนกันยายน 2541 เป็นการอนุมัติที่ผิดระเบียบ
พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการจงใจ ไม่ปฏิบัติตามหนังสือกระทรวง
การคลังที่ กค 0502/57503 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2526 ทำให้ราชการ
ได้รับความเสียหาย ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านไปโดยไม่จำเป็น จำนวน 192,600
บาท ถือเป็นการกระทำละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.37/2552)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

12 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยจงใจ

นาย ส. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน ได้จัดเก็บเงินจาก ผู้ประกอบกิจการ
โดยรับเงินจากผู้ประกอบกิจการแล้วไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้
ผู้ประกอบกิจการที่ได้ชำระเงินไว้เป็นหลักฐานและไม่นำส่งเงินให้หน่วยงาน
แล้วเบียดบังเงินไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน พฤติการณ์และการกระทำของนาย ส.
ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการอาศัยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่แสวงหาประโยชน์ที่
มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีเป็นการจงใจกระทำละเมิด เป็นเหตุให้
หน่วยงานได้รับความเสียหาย จึงให้นาย ส. รับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่ทาง
ราชการเต็มจำนวน 1,200,726.30 บาท ตามนัมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
(คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง เรื่องเสร็จที่
สรพ.105/2556 มีมติครั้งที่ 10/2556 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 13
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยจงใจ

นาย ป. ผู้อำนวยการโรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมแข่งขันกอล์ฟ
การกุศลชิงถ้วยพระราชทาน เพื่อหาเงินมาสนับสนุนหรือช่วยเหลือโรงเรียนนอก
เหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับจากทางราชการ การเปิดบัญชีในนามของ
โรงเรียนเพื่อรับบริจาค มีนาย ป. ผู้อำนวยการโรงเรียนและเจ้าหน้าที่มูลนิธิ พ.
คือ นาง น. และนาง ก. เป็นผู้ร่วมเปิดบัญชี โดยให้บุคคล 2 ใน 3 คน มีอำนาจ
เบิกถอนเงินได้ เพื่อให้ผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟการกุศลโอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคาร โดยมีผู้โอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,155,530.61 บาท
และนาย ป. ได้รับโดยตรงจากนาย ส. และมหาวิทยาลัย บ. 66,000 บาท ทั้งนี้
เงินจำนวนดังกล่าวถือเป็นเงินที่ส่วนราชการได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์และเป็นเงิน
นอกงบประมาณของส่วนราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งโรงเรียนในฐานะส่วนราชการ
ผู้ได้รับเงินจะต้องใช้จ่ายเงินที่ได้รับบริจาคตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค โดยถือ
ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการรับเงินหรือสินทรัพย์ที่มี
ผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. 2526

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

14 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยจงใจ(ต่อ)

ดังนั้น การที่นาย ป. รับเงินจากนาย ส. และวิทยาลัย บ. และร่วมกับบุคคล
ภายนอกเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวทั้งจำนวนโดยมีหลักฐานว่านำไปใช้จ่ายในการ
จัดแข่งขันกอล์ฟการกุศลเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่นาย ป. ไม่ส่งมอบเงินที่เหลือ
หลังหักค่าใช้จ่ายให้โรงเรียน พฤติการณ์การกระทำของนาย ป. จึงเป็นการอาศัย
โอกาสในการปฏิบัติหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการจงใจกระทำละเมิดเป็นเหตุให้สำนักคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับความเสียหาย จึงให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็ม
จำนวน 972,530.61 บาท ตามนัยมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราช
บัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
พิจารณาความรับผิดทางแพ่ง เรื่องเสร็จที่ สรพ.109/2556 มีมติครั้งที่ 57/2556
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 15
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยจงใจ

การที่พนักงานขับรถยนต์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษารถยนต์เป็น
ผู้ครอบครองและขับรถยนต์ ไม่ได้ส่งมอบกุญแจรถและรถยนต์ให้กับหัวหน้างาน
ยานพาหนะหรือหัวหน้าผู้ควบคุมทันทีที่ปฏิบัติงานเสร็จและไม่ได้แจ้งเรื่องการนำ
รถยนต์มาเก็บและการดูแลรักษารถนอกเวลาราชการให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความ
ปลอดภัย รถยนต์จึงยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานขับรถยนต์ดังกล่าว
ประกอบกับเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้อยู่เวรรักษาสถานที่ราชการ แต่ไม่ได้อยู่เวร
ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงาน
ของรัฐ เมื่อรถยนต์ สูญหายไปในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้
กระทำผิดอาญา ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำ
ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1046/2551)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

16 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ

“การกระทำโดยประมาท” หมายถึง การกระทำ
ความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความ
ระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และ

พฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง
เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ตามมาตรา 59

แห่งประมวลกฎหมายอาญา

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 17
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง : การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ

จำเลยเป็นครูพลศึกษา ได้สั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ
เมื่อนักเรียนวิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย จำเลยสั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ
ก็ยังวิ่งไม่เรียบร้อยอีก จึงสั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ ในช่วงเที่ยงวัน
มีแสงแดดร้อนจัด นับว่าเป็นการลงโทษที่ไม่เหมาะสม อาจเป็น
อันตรายต่อสุขภาพนักเรียนที่มีอายุ 11 - 12 ปี การกระทำของจำเลย
จึงเป็นการกระทำโดยมิชอบและประมาทเลินเล่อ ทำให้เด็กชายแดง
ซึ่งเป็นโรคหัวใจล้มลงในการวิ่งรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายใน
เวลาต่อมา เพราะระบบหัวใจล้มเหลว จึงเป็นผลโดยตรงจากคำสั่ง
ของจำเลย แม้จำเลยจะไม่ทราบว่าเด็กชายแดงเป็นโรคหัวใจ กรม
สามัญศึกษาจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
จำนวน 600,000บาท และพิพากษายกฟ้องเรื่องครูพลศึกษา
เพราะถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ ต้องห้าม มิให้ฟ้องเจ้าหน้าที่มาตรา 5
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
2539 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

18 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง : การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ

แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้อย่างที่ผู้ถูกฟ้องคดี กล่าวอ้างว่า
ผู้ฟ้องคดีขับรถเร็วเกินกว่าที่แจ้งจริง แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้
แสดงให้เห็นว่า ในภาวะที่มีรถยนต์บรรทุกกระบะเร่งเครื่องแซง
รถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้ามาในช่องทางเดินรถของผู้ฟ้องคดีอย่าง
กะทันหันนั้น ผู้ฟ้องคดีอาจใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็อาจป้องกันมิให้รถยนต์ที่ผู้ฟ้องคดีขับเกิดความเสียหาย
ได้ แต่ผู้ฟ้องคดีกลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย การอ้าง
ว่า ผู้ฟ้องคดีขับรถมาด้วยความเร็วเกินกว่าที่แจ้งเพียงประการ
เดียวยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดใน
ครั้งนี้ เพราะข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า มีรถยนต์บรรทุกกระบะแซง
รถยนต์บรรทุกสิบล้อเข้ามาในช่องทางเดินรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีใน
ระยะกระชั้นชิดด้วย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดี
ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
( คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.10/2552 )

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 19
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกระทำโดยประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรง

“การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง” หมายถึง การกระทำโดย
มิได้เจตนา แต่เป็นการกระทำซึ่งบุคคล
พึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความ
เสียหายขึ้นและหากใช้ความระมัดระวัง
แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจป้องกันมิให้เกิด
ความเสียหายได้ แต่กลับมิได้ใช้ความ

ระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย

l กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่อ

อย่างร้ายแรง ยังหมายรวมถึง การกระทำ
ที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐาน กระทำผิด

กฎหมาย ระเบียบ หรือเป็นเรื่องที่สามารถ
ป้องกันได้แต่ไม่ได้ป้องกัน หรือเป็นการ
กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหลาย ๆ ครั้งด้วย

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

20 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกระทำโดยประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรง(ต่อ)

“วิสัย” หมายถึง สภาพเกี่ยวกับผู้กระทำ
เช่น การเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หรือชั้นผู้น้อย
เป็นเจ้าหน้าที่ธรรมดา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง และ

หมายรวมถึงระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
ของผู้นั้นด้วย

“พฤติการณ์” หมายถึง เหตุภายนอก หรือ
ปัจจัยแวดล้อมตัวผู้กระทำ ซึ่งอาจมีผลต่อระดับ

ความระมัดระวังและทำให้การใช้ความ
ระมัดระวังของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป เช่น
สภาพของสถานที่ทำงานเจ้าหน้าที่ จำนวนของ
ประชาชนที่เข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ หรือสภาพ
ของทางเดินรถขณะเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น

ระดับของความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ได้อยู่
คงที่แน่นอนตายตัว แต่ขึ้นลงตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ของ
ผู้กระทำ โดยต้องเปรียบเทียบกับวิญญูชนที่อยู่ในภาวะวิสัย และ
พฤติการณ์เดียวกับผู้กระทำโดยเป็นเกณฑ์ ดังนั้น การพิจารณา

ความรับผิดจากเหตุละเมิด กรณีผู้ไม่มีวิชาชีพด้านการเงิน
ขาดความระมัดระวัง จึงไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับผู้มีวิชาชีพ

ด้านการเงินได้ เพราะผู้มีวิชาชีพด้านการเงินจะต้องมีความ
ระมัดระวังมากเป็นพิเศษกว่าข้าราชการทั่วไปที่ได้รับมอบหมาย

ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราว

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 21
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

กรณีได้รับอนุญาตให้นำรถของทางราชการไปเก็บรักษาที่
บ้านพักเป็นครั้งคราว แต่นำไปเก็บรักษาไว้เป็นประจำบ้าน
พัก ซึ่งเป็นสถานที่ไม่มีรั้วรอบขอบชิด เป็นทางสาธารณะที่คน
ทั่วไปใช้ร่วมกัน เป็นเหตุให้รถดังกล่าวถูกขโมย จึงถือได้ว่า
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดที่

ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (คำพิพากษาศาล
ปกครองสูงสุดที่ อ.362/2549)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

22 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

นาย น. ตำแหน่งหัวหน้าแผนกบัญชีการเงิน ปล่อยปละ
ละเลยมิได้ทำการควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนาย ส.
จึงเป็นช่องทางให้ นาย ส. กระทำการเบียดบังเงินของทาง
ราชการไปได้โดยง่าย แสดงให้เห็นว่านาย น. มิได้ควบคุม

การดูแลการปฏิบัติงานของนาย ส. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับ
บัญชาอย่างเพียงพอ พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำ
ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้หน่วย
งานได้รับความเสียหาย จึงให้นาย น. รับผิดชดใช้ในอัตรา

ร้อยละ 50 ของค่าเสียหาย

ส่วนผู้จัดการหน่วยงาน มิได้กำกับดูแลการปฏิบัติ
งานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเพียงพอ พฤติการณ์

ถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้หน่วยงานได้รับความเสีย
หายจึงให้ รับผิดชดใช้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่า
เสียหาย(คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับ

ผิดทางแพ่ง เรื่องเสร็จที่ สรพ.105/2556 มีมติครั้งที่
10/2556 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 23
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

นาย ฉ. ผู้จัดการหน่วยงานของรัฐ ได้ขับรถยนต์ของหน่วยงานของ
รัฐ เดินทางไปประชุมประจำเดือน โดยใช้ความเร็วประมาณ 80 - 90
กิโลเมตรต่อชั่วโมง มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ ขณะนั้ นสภาพอากาศมี
ฝนตกพรำ ๆ นาย ฉ. อ้างว่ามีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถยนต์ในระยะกระชั้น
ชิด จึงได้หักพวงมาลัยรถหลบและ ไม่สามารถควบคุมรถได้ ทำให้รถ
พุ่งตกถนนไปชนกับหลักกิโลเมตรข้างทางแล้วพลิกคว่ำลงไปในร่อง
น้ำด้านข้างถนน รถยนต์ได้รับความเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาจาก
บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว




ปรากฏว่า ไม่มีร่องรอยห้ามล้อหรือรอยยาง และรถยนต์มีสภาพ
ความเสียหายมาก จึงน่าเชื่อได้ว่าเป็นการขับรถมาด้วยความเร็ว
สูง ทำให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุมีฝน
ตกซึ่งอาจทำให้ถนนลื่นผู้ขับรถจึงควรต้องใช้ความระมัดระวัง

มากกว่าปกติ พฤติการณ์ถือได้ว่า นาย ฉ. กระทำด้วยความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่เนื่องจากนาย ฉ. มิได้มี
ตำแหน่งเป็นพนักงานขับรถ เมื่อคำนึงถึงระดับความร้ายแรง
แห่งการกระทำและความเป็นธรรมแล้ว จึงให้นาย ฉ. รับผิด
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการในอัตราร้อยละ 50
ของ ค่าเสียหาย (คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิด

ทางแพ่ง เรื่องเสร็จที่ สรพ.119/2556)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

24 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

แม้ผู้ฟ้ องคดีมิได้ใช้หรืออนุญาตให้นาย พ. ขับรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว
และการเกิดอุบัติเหตุ และความเสียหายแก่รถยนต์จะเกิดจากนาย
พ. โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้ องคดีเป็นผู้ขออนุญาตใช้รถยนต์คัน

ดังกล่าว และขออนุญาตนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่บ้านพักของ
ตนเอง ผู้ฟ้ องคดีก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบควบคุมดูแลการเก็บรักษา
รถยนต์ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ทั้งเมื่อทราบว่า นาย

พ. ไม่นำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่บ้านพักในเวลาอันสมควร ก็มิได้
ติดตามตามสมควร แม้จะอ้างว่าได้ใช้ความพยายามติดตามโดยการ

โทรศัพท์ฝากข้อความไปยังเพจเจอร์ของนาย พ. แต่ไม่ได้รับการ
ติดต่อกลับ ผู้ฟ้ องคดีก็จะต้องใช้ความพยายามขวนขวายติดตาม





โดยอาจสอบถามจากบุคคลที่ใกล้ชิดหรือบุคคลที่นาย พ.
อาศัยอยู่ด้วย หรือแม้ในระหว่างเวลานั้ นมีฝนตกหนักและน้ำ
ท่วมไม่สามารถนำรถยนต์ออกไปได้ ผู้ฟ้ องคดีก็สามารถใช้
โทรศัพท์ในการแจ้งเหตุต่อผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบได้ แต่กลับ
มิได้เอาใจใส่ในการติดตามรถยนต์กลับคืนมาให้เพียงพอ
ตามวิสัยและพฤติการณ์ที่ผู้ควบคุมดูแลรถยนต์จะพึงกระทำ
จนเป็นเหตุให้ นาย พ. นำรถยนต์ไปใช้ประโยชน์ ส่วนตัวจน
ประสบอุบัติเหตุ ถือได้ว่าความเสียหายส่วนหนึ่งเกิดจากความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้ องคดีในการควบคุม
ดูแลรถยนต์ของทางราชการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

ที่ อ.549/2551)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 25
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลงานการเงิน
และรับผิดชอบการดูแลเก็บรักษาเงินของสถานศึกษาไม่ดำเนิน
การให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินถือกุญแจตู้นิรภัย ปล่อยให้
หัวหน้างานการเงินรับผิดชอบถือกุญแจเพียงคนเดียวจนเป็น

เหตุให้ทำการเบียดบังเอาเงินสถานศึกษาไป จึงเป็นความ
บกพร่องในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบถือเป็นการปฏิบัติ

หน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.656/2556)




"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

26 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติ
หน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม

กฎหมายและระเบียบของทางราชการ การที่ผู้บังคับบัญชา
ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจควบคุมดูแลตรวจสอบการปฏิบัติ
งานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดจนเป็นเหตุให้ผู้ใต้
บังคับบัญชาทุจริตยักยอกเงินราชการจึงเป็นการกระทำ

โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.469/2553)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 27
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ผู้บังคับบัญชาในฐานะหัวหน้างานการเงินและผู้มีอำนาจ
ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องมีความรู้และเข้าใจระเบียบการเก็บ
รักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520
เป็นอย่างดีและปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด การละเลย
และไม่ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องของ
เช็คก่อนลงลายมือชื่อและมิได้สอดส่องดูแลการปฏิบัติงานผู้ใต้
บังคับบัญชาเป็นช่องทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเบิกเงินตามเช็คไป
ใช้ส่วนตัวหลายครั้งเนื่องจากความบกพร่องในการเขียนเช็ค

ซึ่งกรอกข้อความไม่ครบถ้วน เป็นการกระทำโดยประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรง

(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.113/2554)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

28 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ผู้บังคับบัญชาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ย่อมต้องรู้ถึง
ระเบียบปฏิบัติและอำนาจหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีและย่อมเล็งเห็น
ช่องทางที่จะมีการทุจริตได้ง่าย จึงต้องคอยตรวจสอบและกำกับดูแล

การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามระเบียบอย่าง
เคร่งครัด ไม่ใช่เพียงแต่เฝ้ าสังเกตพฤติการณ์ซึ่งยังถือไม่ได้ปฏิบัติ

หน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อผู้บังคับบัญชาไม่ได้ใช้ความ
ระมัดระวังและไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ทำให้ผู้ใต้บังคับ

บัญชาอาศัยช่องว่างของระเบียบทุจริตยักยอกทรัพย์ของ
ทางราชการ ถือเป็นกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.230/2555)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 29
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

การที่เจ้าหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ดำเนินการจัดทำ
สัญญารับสภาพหนี้ แม้จะเป็นงานนอกเหนือจากงานในหน้าที่ที่ปฏิบัติอยู่
ประจำและไม่เคยปฏิบัติงานทางด้านกฎหมายและบัญชีมาก่อน ในฐานะ

ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความ
อุตสาหะเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ ของทางราชการ หากไม่มี

ความรู้ก็ควรที่จะปรึกษาและขอคำแนะนำอย่างเป็นทางการและ
เป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เมื่อ
ไม่ได้ดำเนินการและไม่นำข้อมูลที่หน่วยงานที่มีความรู้จัดทำให้มาใช้ ทั้งที่
ตนเองไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลที่อยู่ในภาวะ
เช่นนั้ นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งอาจใช้ความระมัดระวังเช่น
ว่านั้ นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ

อย่างร้ายแรง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.837/2555)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

30 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เมื่อผู้ยืมไม่ชดใช้เงินยืม หัวหน้างานคลังจึงมีหน้าที่ต้อง
เสนอให้ผู้บริหารท้องถิ่นสั่งการให้ผู้ค้างชำระเงินยืมส่งใช้เงิน
ยืมดังกล่าวภายในกำหนดตามเวลาตามที่เห็นสมควรอย่างช้า
ไม่เกินสามสิบวัน การที่หัวหน้าหน่วยงานคลังไม่ได้เสนอให้ผู้
บริหารท้องถิ่นสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้ยืมส่งใช้เงินยืมที่เหลือจ่าย
และมิได้เสนอให้มีการหักเงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่เจ้าหน้าที่ผู้
ยืมพึงได้รับ มีเพียงการเร่งรัดส่วนราชการผู้ขอเบิกเงินให้เจ้า
หน้าที่ผู้ยืมส่งใช้เงินยืมภายหลังที่ล่วงพ้นกำหนดเวลาการส่ง
คืนเงินยืมดังกล่าวไปแล้วเท่านั้ น กรณีถือได้ว่าเป็นการฝ่ าฝืนไม่

ปฏิบัติตามระเบียบให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นการปฏิบัติ
หน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.468/2558)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 31
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เมื่อตามพฤติการณ์เป็นกรรมการตรวจการ
จ้าง แต่ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารกับงานที่ผู้รับจ้าง
ส่งมอบ กลับลงชื่อร่วมกรรมการอื่นว่าผู้รับจ้างส่ง
มอบงานครบถ้วนถูกต้องโดยยอมรับว่าไม่ได้ร่วม
ตรวจรับงาน จึงเป็นการกระทำด้วยความประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้ราชการได้รับความเสีย
หาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายสินไหมทดแทน
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.899/2561)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

32 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เมื่อกรรมการตรวจการจ้างยอมรับว่า
ได้ลงลายมือชื่อในใบตรวจรับงานไปโดยมิได้ตรวจสอบ
ผลงาน อันเป็นการมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจ
หน้าที่ทำให้ทางราชการเสียหายจากการที่ต้องจ่ายเงิน
ค่าจ้างสูงเกินกว่าเนื้องาน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1143/2561)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 33
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินของทางราชการ
โดยไม่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานทั้ งที่ปรากฏ
ข้อพิรุธโดยชัดแจ้ง เช่น การที่กรรมการตรวจ

รับพัสดุลงชื่อตรวจรับสินค้าโดยไม่ตรวจ
สินค้าจริง จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (คำพิพากษา

ศาลปกครองสูงสุดที่ อ.338 - 339/2549)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

34 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่จดบันทึกการปฏิบัติ
งานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน

พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานคณะ
กรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ การที่
ผู้ควบคุมงานก่อสร้างไปดูแลงานบางวัน และมิได้จด
บันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์
แวดล้อมรายวัน และบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตาม
ระเบียบของทางราชการ และเป็นการกระทำโดย

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.267/2550)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 35
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

การที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง ตรวจรับงาน
ก่อสร้างโดยไม่มีการปรับลดค่าจ้างก่อสร้าง จากการ
เปลี่ยนแปลงเสาเข็ม และการไม่ติดตั้งระบบแจ้งเหตุ
เพลิงไหม้ ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทาง
ราชการ เป็นการทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1022/2550)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

36 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คณะกรรมการตรวจการจ้างรับรองว่าผู้รับจ้างทำงาน
เสร็จแล้ว ทั้งที่งานไม่เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา
โดยไม่ได้ออกไปตรวจวัดผลงานที่ส่งมอบจริง เป็น
เหตุให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเต็ม
จำนวน แต่ได้รับผลงานน้อยกว่า ตามสัญญา เป็นการ

การทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 1989/2549)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 37
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เจ้าหน้าที่ยามซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและ
ทรัพย์สินของทางราชการ ได้หลับในขณะปฏิบัติหน้าที่

เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแลรักษาความ
เรียบร้อยและความปลอดภัยตามที่ได้รับมอบหมาย
เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของทางราชการสูญหาย เป็นการ

กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.254/2550)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

38 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 นาง ล. ลูกจ้างประจำ ได้รับมอบหมาย
จากผู้บังคับบัญชาให้นำรถยนต์ของทางราชการไปซื้อของเพื่อเข้าไป

เตรียมความพร้อมในการเดินทางไปราชการ ต่อมาวันที่ 20
มกราคม 2550 ระหว่างที่นาง ล. เดินทางกลับบ้านพักเพื่อไปนำ
ใบสั่งน้ำมันมาเติมน้ำมันรถยนต์ขณะจอดรถยนต์ของ ทางราชการ
ไว้หน้าบ้านพักโดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ ได้ถูกคนร้ายโจรกรรม
รถยนต์คันดังกล่าวไป เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย
เป็นการกระทำในลักษณะที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงให้

นาง ล. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวน ตามมาตรา 10
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

(คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
เรื่องเสร็จที่ สรพ.99/2555)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 39
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

การที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน
ด้านการจัดเก็บภาษีอากรและเงินผลประโยชน์ ของรัฐ

ไม่จัดทำสมุดทะเบียนคุมเช็คตามระเบียบของทาง
ราชการ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริต
ยักยอกเงิน ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาท

เลินเล่อย่างร้ายแรง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.72/2552,

อ.73/2550 และ อ.456/2550)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

40 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :

ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เมื่อไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานชัดเจนว่าผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
และการที่ผู้ฟ้องคดีบังคับรถหลบรถคันอื่น ที่วิ่งตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดก็เพื่อป้องกันมิให้รถของ
ทางราชการชนกับรถคันอื่น ทั้งการสอบสวนรับฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้พักผ่อนเพียงพอที่จะทำ
หน้าที่ขับรถยนต์และไม่ดื่มสุราระหว่างขับรถ อันอาจนำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้
พนักงานสอบสวนซึ่งรับแจ้งอุบัติเหตุเห็นว่า น่าเชื่อว่าอุบัติเหตุเกิดจากเหตุสุดวิสัย แต่การที่
ผู้ฟ้องคดีขับรถแซงรถหลายคันซึ่งแล่นตาม กันมาในช่องทางเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีต้องระลึกอยู่
เสมอว่าในภาวการณ์เช่นนั้นอาจมีรถคันอื่นแล่นเปลี่ยนช่องทางออกมาด้านขวาได้ตลอด
แสดงให้เห็นว่าผู้ฟ้องคดีปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย
และพฤติการณ์ และผู้ฟ้องคดีอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
อุบัติเหตุจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ฟ้องคดี แต่ไม่ได้เกิดจากความจงใจหรือความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแก่ทางราชการตามมาตรา 8 ประกอบมาตรา 10
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

(คำพิพากษาปกครองสูงสุดที่ อ.670/2554)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 41
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :
ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เด็กชาย อ. นักเรียนชั้น ม.2 เดินไปตากผ้าที่ระเบียงด้านหลังของหอพักติดกับ
คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งอยู่บริเวณดังกล่าวมีน้ำไหลนองอยู่ที่พื้น ได้ถูกกระแส
ไฟฟ้าซึ่งรั่วมาจากสายไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศดังกล่าวดูดจนถึงแก่ ความตาย ต่อมามารดา
และบิดาของเด็กชาย อ. เป็นโจทก์ฟ้อง ส่วนราชการ และโรงเรียน เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง
เรียกค่าเสียหาย ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาสรุปได้ว่า โรงเรียนได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ
และเด็กชาย อ. ก็มีส่วนในความผิดนั้นด้วย เห็นควรให้โรงเรียนรับผิดในความเสียหาย
จำนวน 4 ใน 5 ส่วน จากข้อเท็จจริงดังกล่าว เห็นว่า การที่เด็กชาย อ. ยังลักลอบนำเหล็กชั้น
วางรองเท้าดังกล่าวมาใช้เป็นที่ตากเสื้อผ้าในเขตหวงห้าม จึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถ
ไปควบคุมดูแลพฤติกรรมของเด็กนักเรียนได้ตลอดเวลา แต่การที่กระแสไฟฟ้ารั่วนี้เจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้องสามารถป้องกันได้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฟ้าอัตโนมัติเบรกเกอร์หรือสายดิน
หรือสร้างสิ่งกีดขวางหรือรั้วรอบเครื่องคอมเพรสเซอร์ เพื่อกันมิให้นักเรียนมาตากผ้าบริเวณใกล้
คอมเพรสเซอร์ พฤติการณ์ถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ แต่ยัง
ไม่ถึงขั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่
ทางราชการ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่งเรื่องเสร็จที่ 174/2554)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

42 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่าง :

ไม่ถือว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

เพลิงไหม้อาคารเรียน ตามสำนวนการสอบสวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคาร
ของโรงเรียนได้รับความเสียหาย ซึ่งสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้นั้น จากความเห็นของพนักงาน
สอบสวนและวิทยาการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากไฟฟ้า
ลัดวงจร อันเกิดจากสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด แต่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าเกิดจาก
ส่วนไหน เนื่องจากบริเวณที่เกิดเหตุถูกทำลาย ซึ่งทางโรงเรียนได้ดำเนินการวางมาตรการ
ป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในโรงเรียนไว้ในระดับหนึ่งแล้ว จากพฤติการณ์ดังกล่าว ไม่ปรากฏ
ว่าเหตุแห่งความเสียหายเกิดจากการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ
เจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการ
(คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิด ทางแพ่ง สำนวนเลขที่ 76/201/2552)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 43
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ก ร ณี เจ้า ห น้ า ที่ กร ะ ทำ ล ะ เ มิด

ค ว า ม รั บ ผิ ด ข อ ง
เจ้าหน้าที่ จะมีเพียงใด?

“หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิเรียก
ให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนได้ ก็ต่อเมื่อ
เจ้าหน้าที่กระทำให้เกิดความเสีย
หายด้วยความจงใจหรือประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

44 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


Click to View FlipBook Version