The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือละเมิด 9

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tippawan Leekhamngam, 2022-07-10 22:13:17

หนังสือละเมิด 9

หนังสือละเมิด 9

ส่วนความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะมีเพียง
ใดนั้น มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง

ดังต่อไปนี้



๑. ไม่ต้องเรียกให้ ๒. สามารถหักความผิดหรือ
ใช้เต็มจำนวนก็ได้ ความบกพร่องของหน่วย
งานของรัฐหรือระบบการ

ดำเนินงานส่วนรวมออก
จากความรับผิดได้

4. กรณีการละเมิดเกิดจาก ๓. สามารถเรียกให้
เจ้าหน้าที่รับผิด
เจ้าหน้าที่หลายคน เจ้า
หน้าที่แต่ละคนรับผิดเฉพาะ เฉพาะส่วนความรับ
ส่วนของตนเท่านั้น จะไม่ ผิดของตนเท่านั้น

ใช้หลักลูกหนี้ร่วม

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 45
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ก ร ณี ตั ว อ ย่า ง :

ค ว า ม บ ก พ ร่ อ ง ข อ ง
ห น่ ว ย ง า น ข อ ง รั ฐ

มหาวิทยาลัยไม่มีระเบียบในการควบคุมตรวจสอบ
เกี่ยวกับการคืนเงินของผู้วิจัยที่ขอถอนโครงการวิจัย
ให้ชัดเจน เป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่สามารถยักยอกเงิน
ที่ได้รับคืนจากผู้วิจัยไปได้ นอกจากต้องหักส่วนความ
รับผิดเฉพาะกรณีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ตรวจพบการทุจริต
และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว ต้องหักส่วน
ความรับผิดอันเกิดจากความบกพร่องของ
มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้กำหนดวิธีคืนเงินดังกล่าวด้วย

( คำ พิ พ า ก ษ า ป ก ค ร อ ง สู ง สุ ด
ที่ อ . 3 1 4 / 2 5 4 9 )

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

46 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ก ร ณี ตั ว อ ย่า ง :

ค ว า ม บ ก พ ร่ อ ง ข อ ง
ห น่ ว ย ง า น ข อ ง รั ฐ

ผู้ฟ้องคดีมิได้มีส่วนร่วมเป็นผู้กระทำทุจริต หากแต่
ต้องรับผิดในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งมิได้ควบคุมดูแล
การปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา หน่วยงานของ
รัฐทราบดีว่าอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ แต่ก็
มิได้จัดการแก้ไข ปล่อยปละละเลยตลอดมา ประกอบ
กับการทุจริตนั้นยากแก่การตรวจสอบ และมีบุคลากร
ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแต่งตั้งบุคลากรที่ไม่เหมาะสม
เข้าปฏิบัติงานในอีกหน้าที่หนึ่ง เป็นเหตุให้ขาดความ
รอบคอบ ถือว่าหน่วยงานของรัฐมีส่วนบกพร่องด้วย
จึงหักส่วนความรับผิดลงร้อยละ 80

( คำ พิ พ า ก ษ า ป ก ค ร อ ง สู ง สุ ด
ที่ อ . 7 3 / 2 5 5 0 )

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 47
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

อายุความสิทธิไล่เบี้ย
เพื่อชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแก่ผู้เสียหาย

“เมื่อหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำขอ

ของบุคคลภายนอก หรือตาม
คำพิพากษาไปแล้ว สามารถไล่เบี้ย
ให้อีกฝ่ายชดใช้ให้แก่ตนได้ภายใน 1

ปี นับแต่วันที่จ่ายเงินไป”

ข้อสังเกต : แม้จะเกินกำหนด
อายุความ 10 ปี นับแต่ เหตุเกิด
ก็สามารถไล่เบี้ยได้ แต่ต้องไม่เกิน
1 ปี เพราะเป็นการรับช่วงสิทธิ

จากบุคคลภายนอกมาไล่เบี้ย

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

48 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

อายุความสิทธิเรียกร้อง
ค่าสินไหมทดแทนจาก

เจ้าหน้าที่

“หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียก
ร้องค่าสินไหมทดแทนจาก
เจ้าหน้าที่ภายในกำหนดอายุ

ความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการ
ละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึง
ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน”

ข้อสังเกต : ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐได้
ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหา

ตัวผู้ต้องรับผิดทางละเมิด เมื่อคณะกรรมการ
สอบสวนได้เสนอรายงานการสอบสวนที่ได้ระบุ
ตัวผู้จะต้องรับผิดไว้แล้วต่อหัวหน้าหน่วยงานของ
รัฐ โดยปกติศาลจะถือเอาวันที่หัวหน้าหน่วยงาน
ของรัฐได้รับทราบรายงานการสอบสวนเป็นวัน

เริ่มนับอายุความ

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 49
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

อายุความสิทธิเรียกร้องค่า
สินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่

กรณี กระทรวงการคลัง
มีความเห็นที่แตกต่าง
กับหน่วยงานของรัฐ

“กรณีที่หน่วยงานของรัฐมีความเห็น
ว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่

กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็น
ว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องนั้น
มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่
หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความ
เห็นของกระทรวงการคลัง”

ข้อสังเกต : กรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมี
ความเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด

อายุความในการออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่
ชำระเงินจะมีเพียง 1 ปี นับแต่หัวหน้าหน่วย

งานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของ
กระทรวงการคลัง แต่การออกคำสั่งดังกล่าว

ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันเกิดเหตุ

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

50 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การเรียกให้
เจ้าหน้าที่ผู้กระทำ
ละเมิดชดใช้เงิน

“หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสีย
หายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้
เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่า

สินไหมทดแทนได้ โดยไม่ต้องฟ้องคดี
ต่อศาล และไม่ต้องคำนึงว่าผู้ต้องรับ

ผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะเป็น
เจ้าหน้าที่ในสังกัดของหน่วยงานใด”

ข้อสังเกต : กรณีละเมิดไม่ได้
เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
หน่วยงานของรัฐต้องยื่นฟ้อง

คดีต่อศาลตามปกติ

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 51
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การอุทธรณ์คำสั่งเรียกให้ชดใช้
ค่าสินไหมทดแทน

“กรณีเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งเรียก
ให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เจ้าหน้าที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
ภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่ได้รับแจ้ง
คำสั่ง (หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ
อุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง พ.ศ. 2539)”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

52 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

มาตรการบังคับ
ทางปกครอง

“กรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ออกคำสั่งให้
เจ้าหน้าที่ชำระเงิน แต่เจ้าหน้าที่ไม่ชำระ
หน่วยงานของรัฐจะออกหนังสือเตือนให้ชำระ
ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่า 7 วัน หาก
เจ้าหน้าที่ยังไม่ชำระอีก หน่วยงานของรัฐสามารถ
ใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพื่อบังคับชำระ
หนี้ได้เอง เช่น ยึด อายัดทรัพย์สิน และขายทอด
ตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐไม่จำเป็น
ต้องฟ้องคดีต่อศาล ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติ

ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 53
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีตัวอย่างอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
การออกคำสั่งให้ชดใช้โดยมิได้ส่งสำนวน

ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ



หน่วยงานของรัฐแจ้งคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ก่อนวันที่จะส่งสำนวนให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
และก่อนที่จะได้รับแจ้งผลการพิจารณาจากกระทรวง
การคลัง คำสั่งดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่
ออกโดยผู้มีอำนาจ ส่วนหนังสือแจ้งให้ ผู้ฟ้ องคดีชำระ

ค่าสินไหมทดแทนครั้งสุดท้ายตามความเห็น
ของกรมบัญชีกลาง ถือว่าเป็นเพียงหนังสือเตือนให้
ชำระหนี้ แม้ผู้ฟ้ องคดีจะยอมรับผิดในชั้นสอบข้อเท็จ
จริงความรับผิดทางละเมิดและหนังสือรับสภาพหนี้ยอม
ชดใช้ และไม่ปฏิเสธ ก็ไม่มีผลทางกฎหมายเสมือนเป็น

คำสั่งทางปกครองที่จะอาศัยเป็นฐานแห่งการใช้
มาตรการบังคับทางปกครองได้

(คำพิพากษาปกครองสูงสุดที่ อ.636/2556)

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

54 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เจ้าหน้าที่ผู้ละเมิดตาย, พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง,
ลาออกจากราชการ, เกษียณอายุ,

หรือโอนย้ายไปดำรงตำแหน่งที่หน่วยงานอื่น

เจ้าหน้าที่ผู้ละเมิดถึงแก่ความตายถือว่าผู้ตาย
ได้พ้นจากสถานการณ์เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ
แล้วหน่วยงานจึงไม่สามารถออกคำสั่งให้
เจ้าหน้าที่ชำระเงินได้ ต้องใช้สิทธิฟ้ องคดีเอาแก่
กองมรดกของเจ้าหน้าที่ภายใต้อายุความมรดก

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(เรื่องเสร็จที่ 386/2554, 420/2551, คำสั่ง
ศาลปกครองสูงสุดที่ ร.416/2547, 420/2551,

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.331/2546 และ
ร. 154/2547)




กรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดออกจาก
ราชการหรือถึงแก่ความตายหลังจากมีคำสั่ง
เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วและยังไม่
ได้ชำระเงินตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานก็ยังสามารถใช้มาตรการ
บังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดและ
ขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระค่า

สินไหมทดแทนต่อไปได้
(เรื่องเสร็จที่ 87/2550)




"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 55
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การกำหนดสัดส่วนความรับผิด
ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

กรณีเบิกจ่ายเงินโดยทุจริต กระทรวงการคลังได้
วางแนวทางพิจารณาโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์
ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค
0406.2/ว 66 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 โดยมี
สัดส่วนความรับผิด ดังนี้ ผู้ทุจริต รับผิดในอัตรา
ร้อยละ 100 ส่วนผู้เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายการเงิน
(เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบ/เสนอความเห็น)
รับผิดในอัตราร้อยละ 60 ผู้บังคับบัญชา รับผิด
ในอัตราร้อยละ 40 (ซึ่งประกอบด้วยผู้บังคับ
บัญชาชั้นต้น-ชั้นกลาง/ผู้ผ่านงาน ร้อยละ 20

ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง/ผู้อนุมัติร้อยละ 20)



ผู้ทุจริตได้เขียนเช็คโดยเว้นช่องว่างจำนวนเงินไว้เพื่อเขียนตัวเลขเพิ่มเติมไม่ขีดฆ่า
“หรือผู้ถือ” และก็ไม่ได้เสนอเอกสารที่เกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินตามเช็คไปพร้อม
ด้วยแต่อย่างใด ผู้มีอำนาจลงนามโดยไม่ได้ทักท้วงหรือให้แก้ไขให้ถูกต้อง พฤติการณ์
ถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้โรงพยาบาลได้รับ
ความเสียหาย จึงให้รับผิดในความเสียหายส่วนนี้ในอัตรา คนละร้อยละ 50

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

56 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประกาศกระทรวงวงการคลัง
เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการผ่อนชำระหนี้ของเจ้าหน้าที่

ลงวันที่ 19 กันยายน 2545
(กค 0406.3/ว 115 ลว. 18 พ.ย. 2545)






เงื่อนไข/ จำนวนเงินผ่อน ระยะเวลาใน อัตรา
วงเงิน ชำระต่อเดือน การผ่อนชำระ ดอกเบี้ย






ขอผ่อนชำระ ไม่จำกัดวงเงินที่ ไม่เกิน ไม่คิด
ภายใน 1 ปี ดอกเบี้ย
ผ่อนชำระ 1 ปี






วงเงินผ่อน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ไม่เกิน ร้อยละ 7.5
ชำระ ไม่เกิน 20 ของเงินเดือน
500,000 บาท 5 ปี ต่อปี






วงเงินผ่อน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ไม่เกิน ร้อยละ 7.5
ชำระ เกินกว่า 20 ของเงินเดือน 10 ปี
500,000 บาท ต่อปี

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 57
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

“ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์
การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์
การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ โดยกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่
เกิดความเสียหายจนถึงเมื่อถูกฟ้องคดีและการ

ไล่เบี้ย”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

58 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การดำเนินการเมื่อหน่วยงาน
ของรัฐเกิดความเสียหาย

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแก่
หน่วยงานของรัฐ

เจ้าหน้าที่ของรัฐต้อง
รายงานผู้บังคับบัญชา

สอบข้อเท็จจริง
เบื้องต้นทางละเมิด

แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จ
จริงความรับผิดทางละเมิด

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 59
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
ความรับผิดทางละเมิด

“คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับ
ผิดทางละเมิด ประกอบด้วย คณะกรรม
การฯ จำนวนไม่เกิน 5 คน โดยแต่งตั้งจาก
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน หรือหน่วยงานอื่น

ตามความเหมาะสม”

“กำหนดเวลาแล้วเสร็จตามความเหมาะสม
เช่น ให้คณะกรรมการดำเนินการให้
แล้วเสร็จภายใน 60 วัน เป็นต้น”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

60 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางปฏิบัติในการสอบข้อเท็จจริง
ความรับผิดทางละเมิด

หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/ว 15 ลงวันที่ 30 ต.ค. 2550 ได้กำหนด
แนวทางปฏิบัติในการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ดังนี้

1.

ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการฯ
โดยไม่ชักช้า อย่างช้าไม่ควรเกิน 15 วัน นับแต่รู้หรือ
ทราบความเสียหาย

2.

ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
อย่างช้าไม่ควรเกิน 60 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง

3.
หากสอบข้อเท็จจริงไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่
กำหนด ผู้แต่งตั้งอาจขยายระยะเวลา ครั้งละไม่เกิน
30 วันโดยคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และ
ระมัดระวังเรื่องอายุความด้วย

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 61
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีที่ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

1. ในชั้นสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นทางละเมิดได้
ความว่ากรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหาย
เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้รายงาน
ผู้บังคับบัญชา หากเห็นด้วย ให้ยุติเรื่อง
หากไม่เห็นด้วย ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ
ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

2. ในกรณีหน่วยงานของรัฐทราบแน่ชัดว่าเจ้าหน้าที่
ผู้กระทำละเมิดคือผู้ใด และทราบจำนวนค่าเสียหาย
ที่แน่นอนและเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้
ค่าสินไหมทดแทน

3. การยุติเรื่อง ตามข้อ 1 - 2 หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ปลัดกระทรวง ปลัด
ทบวงหรือรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณา
ว่าสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
ความรับผิดทางละเมิดต่อไปหรือไม่

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

62 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีที่ต้องร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

1. เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐทำความ
เสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอีกแห่งหนึ่ง

2. หน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย
มากกว่าหนึ่งแห่ง

3. เกิดการทำละเมิดของเจ้าหน้าที่
หลายหน่วยงาน

ข้อสังเกต : กรณีข้อ 1 - 3 ให้หัวหน้า "ในการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ร่วมกัน
หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหาย ให้ตกลงกันว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง
และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการฯ เมื่อตกลงกันได้ก็ให้ออกคำสั่งโดย
ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายสังกัดอยู่ หัวหน้าหน่วยงานทุกแห่งต้องร่วมกันลงนามในคำสั่ง
แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ฉบับเดียวกัน ทั้งนี้ ในการออก
ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการฯ คำสั่งเรียกชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะต้องออกโดย
หัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้ได้รับความเสียหายเท่านั้น"

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 63
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

วัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

1.เพื่อให้ทราบว่ามีการกระทำละเมิด
เกิดขึ้นหรือไม่

2. มีเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
อันเนื่องมาจากการกระทำโดยจงใจหรือ

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่

3. เจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จะต้องชดใช้เป็นจำนวนเท่าใด



4. กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดหลายคน
เจ้าหน้าที่แต่ละคนมีสัดส่วน
การรับผิดเป็นอย่างไร

5. หน่วยงานของรัฐมีส่วนบกพร่องต่อ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

64 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หน้าที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
ความรับผิดทางละเมิด

1.ประชุมกำหนดแนวทางการสอบสวน

2. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง รับฟังพยานบุคคล หรือพยาน
ผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบเอกสาร วัตถุ หรือสถานที่

3. กรรมการต้องให้โอกาสแก่ผู้เสียหายได้
ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้งพยานหลักฐาน

ของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม

4. เสนอความเห็นให้ผู้แต่งตั้งพิจารณา ซึ่งความ
เห็นนั้นจะต้องประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง

ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานประกอบพิจารณา

5. ดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด หากดำเนินการไม่แล้ว
เสร็จต้องขอขยายก่อนครบกำหนดเวลา

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 65
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การดำเนินการของผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

1. เมื่อได้รับรายงานผลการ 2. เมื่อเห็นว่าการสอบสวนเสร็จ
สอบสวน หากเห็นว่าสำนวนการ เรียบร้อยแล้ว ผู้แต่งตั้งจะต้อง
สอบสวนยังมีข้อบกพร่อง ผู้แต่ง วินิจฉัยสั่งการว่า การกระทำ
ตั้งสามารถสั่งให้คณะกรรมการ ละเมิดที่เกิดขึ้นมีผู้รับผิดชอบชดใช้
สอบสวนเพิ่มเติมหรือพิจารณา ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ จำนวน
ทบทวนได้ เท่าใด

3. เมื่อวินิจฉัยสั่งการแล้ว ให้ส่ง 4. ในระหว่างรอผลการพิจารณา
สำนวนการสอบสวนให้กระทรวง จากกระทรวงการคลัง ให้ผู้แต่งตั้ง
การคลังตรวจสอบภายใน 7 วันนับ ตระเตรียมเรื่องออกคำสั่ง หรือ
แต่วันวินิจฉัยสั่งการ เว้นแต่ เป็น ฟ้องคดีอย่าให้ขาดอายุความ
เรื่องที่กระทรวงการคลังประกาศ
กำหนดว่าไม่ต้องรายงานให้
กระทรวงการคลังตรวจสอบ

ข้อสังเกต : ในการวินิจฉัยสั่งการ ผู้แต่งตั้ง
มีอำนาจวินิจฉัยโดยไม่จำต้องผูกมัดกับ
ความเห็นของคณะกรรมการฯ โดยมีความ
เห็นเป็นอย่างอื่นได้

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

66 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

“ถ้ากระทรวงการคลังวินิจฉัยไม่แล้วเสร็จ “เมื่อกระทรวงการคลังแจ้งผลแล้ว
ภายใน 1 ปีนับแต่หน่วยงานส่งเรื่องมา หน่วยงานของรัฐต้องสั่งตามความเห็น
หากกระทรวงการคลังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ของกระทรวงการคลัง ทั้งตัวบุคคลผู้ต้อง
ภายใน 1 ปี 6 เดือน ให้หน่วยงานของรัฐ รับผิด และจำนวนค่าสินไหมทดแทน
ออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าเสีย ไม่อาจพิจารณาเป็นอย่างอื่นได้”
หายได้ตามสมควร”

การพิจารณาของ
กระทรวงการคลัง

หากเจ้าหน้าที่ผู้ต้องรับผิดตายระหว่างการสอบละเมิด ข้อสังเกต : กรณีหน่วยงานของรัฐแต่งตั้ง
ให้สอบสวนให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่ คณะกรรมการร่วมกัน และผู้แต่งตั้งร่วมมี
เจ้าหน้าที่ตาย แล้วส่งเรื่องให้กระทรวง ความเห็นต่างกันจนหาข้อยุติไม่ได้
การคลังตรวจสอบ โดยเขียนตัวอักษรแดงที่สำนวนว่า ให้เสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด
“กรณีเจ้าหน้าที่ตาย”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 67
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การชดใช้ค่าเสียหาย

ถ้าเป็นเงิน ชดใช้เป็นเงิน

ถ้าเป็นสิ่งของ ต้องชดใช้เป็นสิ่งของที่มีสภาพ
คุณภาพ ปริมาณ และลักษณะ
ถ้าซ่อม
อย่างเดียวกัน
ถ้าชดใช้ต่างจาก
ทรัพย์สินที่เสีย ต้องทำสัญญาตกลง และซ่อม
หายหรือสูญหาย ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
(6 เดือน)

ต้องทำความตกลงกับ
กระทรวงการคลัง

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

68 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิด
ต่อบุคคลภายนอก

“เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับบุคคล
ภายนอกที่เกิดจาก เจ้าหน้าที่กระทำใน
การปฏิบัติหน้าที่ ให้เจ้าหน้าที่รีบรายงาน
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เพื่อดำเนินการ
สั่งตามอำนาจหน้าที่ต่อไป และให้นำเรื่อง
เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของ

รัฐมาใช้บังคับกับการละเมิดบุคคล
ภายนอกโดยอนุโลม”



"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 69
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

กรณีบุคคลภายนอกยื่นคำขอ
ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

“เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก
บุคคลภายนอกอาจมายื่นคำขอต่อหน่วยงาน
ต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดได้ และ
หน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว”

“กรณีเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของ
รัฐแห่งใด ให้ยื่นคำขอหรือฟ้องคดี
กระทรวงการคลัง”

“กรณีผู้เสียหายยื่นคำขอผิดหน่วยงาน ให้หน่วยงานผู้รับคำขอ
รีบส่งเรื่องไปยังหน่วยงานของรัฐที่เห็นว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ

ที่จะต้องรับผิดชอบพิจารณาต่อไป พร้อมแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอ
ทราบ และให้ถือว่าหน่วยงานของรัฐได้รับคำขอให้ชดใช้
ค่าสินไหมทดแทน นับแต่วันที่ได้รับคำขอที่ส่งมา”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

70 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ
ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด

กรณี เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

“เมื่อหน่วยงานได้รับคำขอ ให้แต่งตั้งคณะ
กรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทาง
ละเมิด เพื่อพิจารณาว่าต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนหรือไม่ หากต้องชดใช้ให้ปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อ
บุคคลภายนอก”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 71
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

หลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
กรณี เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

1. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
หรือสูญหายแก่ทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการ
สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีหน้า
ที่กำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ
เสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินนั้นตาม
ความเหมาะสมและเป็นธรรม

2. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ร่างกาย หรือชีวิต ได้แก่
- ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาท
- ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย
- ค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน
ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ ไม่เกิน 40,000 บาท
- ค่าขาดไร้อุปการะ ให้ทายาทคนละ ไม่เกิน 20,000 บาท

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"

72 กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
กรณี เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

“ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเจ้าของงบ
ประมาณที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 15 วัน
นับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการสอบสวน
พร้อมทั้งแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยแก่
ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว จากนั้นให้เบิก
จ่ายเงินให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายใน 7 วัน นับ
แต่วันที่ผู้ยื่นคำขอตอบรับผลการวินิจฉัย”

“กรณีผู้ยืนคำขอไม่พอใจในผล
การวินิจฉัย มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
ยุติธรรมหรือศาลปกครองที่มีอำนาจ
พิจารณาคดีภายใน 90 วัน นับ
ตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นคำขอได้รับแจ้งผล

การวินิจฉัย”

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่" 73
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ภาคผนวก

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

เอกสารอ้างอิง

1. กรมบัญชีกลาง สำนักความรับผิดทางแพ่งและสำนักงานคลังเขต 7. (2557).
คู่มือ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนาระบบบริหารงาน
บุคคลและนิติการ. (2554). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด
และคดีความ สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1).
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
3. นายสุทธิวัฒน์ มาศพันธ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง. เอกสาร
คำบรรยาย “ความรับผิดทางละเมิดของเ จ้าหน้าที่” พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด
ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

87

คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา

1. นายไพรวัลย์ จันทะนะ

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

2. นายวิทยา ชุมปัญญา

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

3. นายสท้าน วารี

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

4. นางชรินดา พิมพบุตร

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1




คณะผู้จัดทำ

1. นายสท้าน วารี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประธานคณะทำงาน
ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

2. นางพินทุมดี เหล่ากว้าง นิติกรชำนาญการพิเศษ คณะทำงาน

3. นางสาวดุสิดา พุทธิไสย นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ คณะทำงาน

4. นายอัครพงค์ วงศ์ศรียา นิติกรปฏิบัติการ เลขานุการคณะทำงาน

สพป.สกลนคร เขต 1

www.Sakonarea1.go.th

88

"เหตุเกิดจากละเมิด" กับ "ความรับผิดของเจ้าหน้าที่"
กลุ่มกฎหมายและคดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


Click to View FlipBook Version