The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by khompum, 2023-09-14 05:54:52

หนังสือลาน02

หนังสือลาน02

“...ชาติไทยเรามีศิลปวัฒนธรรมครบถ้วนทุกสาขา สิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติอันล้ำ ค่าที่บ่งบอก ให้เห็นถึงความเจริญของชาติไทยและคนไทย ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สร้างสมมาหลายชั่วอายุคน ผู้มี จิตสำ นึกในความเป็นไทย จึงควรศึกษาให้เห็นซึ้งถึงคุณค่า และร่วมกันจรรโลงรักษาไว้ เพื่ออนุชนรุ่น หลังจะได้มี สิ่งที่ควรแก่การภูมิใจในความเป็นชาติไทยและคนไทยตลอดไป...” พระบรมราโชวาท เมื่อครั้งทรงดำ รงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำ เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันเสาร์ ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ (ภาคบ่าย)


“ข้าพเจ้ายินดีและขอบคุณที่ทุกคนเข้ามาประชุมกันพร้อมหน้าในวันนี้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ นี้ ได้ดำ เนินการมาเป็นเวลาถึง ๕ ปีแล้ว และคิดกันว่าจะทำ ต่อไปในช่วงที่ สองอีก ๕ ปี และคิดมาใหม่ว่าในขั้นที่สองนี้จะทำ ในลักษณะไหน ที่จริงในเบื้องต้นนั้น ข้าพเจ้า ก็มิได้เป็น นักพฤกษศาสตร์หรือศึกษาทางนี้มาโดยตรง ถึงแม้ศึกษาตอนนี้ก็คงจะสายไปเสียแล้วเพราะว่าขณะนี้ไม่ สามารถที่จะจำ ชื่อคน สัตว์ สิ่งของได้มากเท่าที่ควร แต่ว่าเหตุที่สนใจในพืชพรรณหรือทรัพยากรต่าง ๆ ของ ประเทศเรามานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพืช เหตุผลที่ศึกษาเพราะถือว่าง่ายต่อการศึกษาอย่างอื่น เวลาไปไหนที่มีคนตามกันเยอะแยะ ถ้าศึกษาสัตว์ สัตว์ก็วิ่งหนีหมด แต่พืชนั้นเขาอยู่ให้ศึกษาได้ พอศึกษาไป สักพักก็เกิดความสนใจว่า นอกจากทางกรมป่าไม้ซึ่งได้ติดต่อกันในครั้งแรก เบื้องต้นเพราะว่าชอบไปท่อง เที่ยวในที่ต่าง ๆ ตามป่าเขา ดูว่าในเมืองไทยมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อย่างไร และก็ได้ศึกษาเรื่อง ต้นไม้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ยังเห็นว่ามีหน่วยงานของ รัฐ ของเอกชน ทั้งเป็นหน่วยงานของราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมวิชาการเกษตร และสถาบันการศึกษาที่ทำ งานเกี่ยวกับเรื่องของพืช ศึกษาว่าพืชกี่ชนิด ทั้งเรื่องชื่อของพืชชนิดต่าง ๆ เรื่องการอนุกรมวิธาน เป็นต้น ก็ศึกษากันหลายแห่ง จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า น่าจะมีการรวบรวมว่าแต่ละสถาบันนั้น ได้ทำ งานในส่วนของตนอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น พืช ก็ได้ศึกษาพืช แต่ละแห่ง ได้รวบรวมนั้นชื่อต่างกันหรือซ้ำ กันอย่างไร เพื่อที่จะให้รวมกันว่าทั้งประเทศนั้นเรามีอะไรกันบ้าง ที่จริงแล้วงานที่จะศึกษาพืชหลายชนิดนี้เป็นเรื่องที่ทำ ได้ยากและทำ ได้ช้า คน ๆ เดียวหรือสถาบัน ๆ เดียว นั้นครอบคลุมไม่ได้ทั้งหมด ถ้ามีหลาย ๆ หน่วยงานช่วยกันครอบคลุมก็อาจจะได้มาก ถ้าต่างคนต่างไม่รู้กัน ก็อาจจะเกิดเป็นที่น่าเสียดายว่าจะไม่ได้ข้อมูลเต็มที่


จึงคิดว่าอยากจะทำ ฐานข้อมูลที่นักวิชาการทุกคนจะใช้ในการค้นคว้ารวมไว้ด้วยกัน ในวังมีความรู้สึกว่า ๑ ตาราง กิโลเมตรของวังนี้ก็ใหญ่โตพอสมควร แต่ว่าที่จริงแล้วถ้าจะเอางานทุกสิ่งทุกอย่างมาสุมกันย่อมจะไม่ พอ พื้นที่ไม่ได้ ก็ต้องทำ งานอะไรที่จะประหยัดที่ดินที่สุด ในตอนนั้นก็เลยคิดว่าทำ ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้การเรียกชื่อพืชที่ทุกคนจะเข้าถึงได้ จึงพัฒนาจากจุดนั้นมาเป็นงานต่าง ๆ ที่ ดร.พิศิษฐ์ฯ ได้กล่าวเมื่อ สักครู่นี้ ซึ่งงานที่กล่าวถึงนี้ก็เป็นงานที่หน่วยงานราชการ ต่าง ๆ ได้ทำ มาแล้วเป็นจำ นวนมาก และหลังจาก โครงการฯ นี้ก็มีการตั้งขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นก็ยังคิดว่าถ้ามีการได้ประชุมกันพร้อมกันอย่างนี้ จะได้มาตกลง กันแน่นอนว่าใครทำ อะไร และในส่วนที่เหมือนกัน ถ้าซ้ำ กันโดยไม่จำ เป็นก็อาจจะตกลงกัน แบ่งกันว่าอันนี้ งานนี้ใครจะทำ หรืองานที่หน่วยโครงการทางด้านสำ นักพระราชวังเคยทำ อยู่ แต่ว่าเมื่อมีหน่วยงานที่เข้ามา รับผิดชอบโดยตรงรับไปทำ แล้ว ทางสำ นักพระราชวังก็คิดว่าน่าจะตัดได้ในส่วนนั้นและก็หันมาทำ งานทาง ด้านการ ประสานงานหรือความร่วมมืออย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเข้าใจว่าก็เป็นการทันสมัยในปัจจุบัน ซึ่งประเทศ ค่อนข้างจะฝืดเคือง เพราะฉะนั้นทำ งานอะไร ถึงแม้จะเป็นงานที่ดี ถ้าตกลงกันได้แล้วก็จะเป็นการประหยัด พลังคนหรือพลังเงินงบประมาณในส่วนนี้ ไม่จำ เป็นต้องให้ในหน่วยงานอื่นหรือถ้าให้หน่วยงานอื่นทำ ก็ต้อง ให้ทำ ไป และงานนี้เราอาจจะต้องมานั่งพิจารณาคิดดูว่าจะทำ งานได้โดยประหยัดอย่างไร บางส่วนที่อาจจะ ยังไม่จำ เป็นในขั้นนี้หรือว่าทำ ได้ไม่ต้องเน้นเรื่องความหรูหราหรือความสวยงามมากนัก เอาเฉพาะที่ใช้จริง ๆ และก็ประหยัดไปได้เป็นบางส่วนก็ดี


ส่วนสำ หรับเรื่องของโรงเรียนนั้น ก็ได้มีประสบการณ์ในการที่ไปเยี่ยมโรงเรียนในภาคต่าง ๆ มาหลายแห่ง ก็ เห็นว่าเรื่องที่จะสอนให้นักเรียนหรือให้เด็กมีความรู้ และมีความรักในทรัพยากร คือความรักชาติ รักแผ่นดิน นี้ก็คือ รักสิ่งที่เป็นสมบัติของตัวเขา การที่ให้เขารักษาประเทศชาติหรือรักษาสมบัติของเขานั้น ทำ ได้โดย สร้างความรักความเข้าใจ ถ้าใครไม่รู้จักกัน เราก็ไม่มีความสัมพันธ์ ไม่มีความผูกพันต่อกัน แต่ว่าถ้าให้เขา รู้จักว่าสิ่งนั้นคืออะไร เขาจะรู้สึกชื่นชมและรักหวงแหนในสิ่งนั้นว่าเป็นของตนและจะทำ ให้เกิด ประโยชน์ได้ เคยได้แนะนำ โรงเรียนต่าง ๆ ที่ได้ไปเยี่ยมไม่เฉพาะแต่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ โรงเรียนทั่ว ๆ ไปด้วย ว่า นอกจากพืชพรรณแล้ว สิ่งที่มีในธรรมชาติหรือสิ่งที่หาได้ง่าย ๆ นั้นก็อาจจะเป็นอุปกรณ์การสอนในวิชา ต่าง ๆ ได้หลายอย่างแม้แต่วิชาศิลปะก็ให้มาวาดรูปต้นไม้ ไม่ต้องหาของอื่นให้เป็นตัวแบบ หรือในเรื่อง ภาษาไทยการเรียงความก็อาจช่วยในการเขียนรายงานทำ ให้หัดเขียนหนังสือหรือแต่งคำ ประพันธ์ในเรื่อง ของพืชเหล่านี้ได้ หรือเป็นตัวอย่างงานศึกษา งานวิทยาศาสตร์ หรือวิชาอื่น ๆ ดังที่ ดร.พิศิษฐ์ฯ ได้กล่าวมา ในที่นี้ที่ยังไม่เคยกล่าวคือเรื่องของวิชาการท้องถิ่น ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว ที่ว่าจะ ให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้ท้องถิ่น นอกจากความรู้ที่เป็นมาตรฐานจากส่วนกลางมาแล้ว แม้แต่ตำ ราก็มีการ ส่งเสริมให้ครู อาจารย์ใน ท้องถิ่นนั้นได้รวบรวมความรู้หรือได้แต่งขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาวิชาการทางด้าน ศิลปวัฒนธรรม อาชีพท้องถิ่น แต่ในด้านของธรรมชาตินั้นยังมีค่อนข้างน้อย เท่าที่ไปแนะนำ มาในเรื่องของ การอนุรักษ์ทรัพยากรนั้น ได้เสนอว่าไม่ใช่เป็นเฉพาะที่ว่าจะให้เด็กนักเรียนปลูกป่าหรือว่าให้ อนุรักษ์ดิน ปลูกหญ้าแฝกอย่างเดียวก็จะพยายามจะให้ออกไปดูข้าง ๆ โรงเรียนว่าที่นั่นมีอะไรอยู่ และต้นไม้นั้นชื่ออะไร เป็นอะไร พอดีมีประสบการณ์จากการที่ได้เคยออกไป


ส่งเสริมในเรื่องของโภชนาการ ในระยะแรก ๆ ที่เริ่มทำ งานเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ ใน ช่วงนั้นออกไปทำ งานก็ ทำ งานอย่างค่อนข้างจะเบี้ยน้อยหอยน้อย คือเงินไม่ค่อยมีต้องออกเองบ้าง ทำ ให้ไม่มีเงินที่จะส่งเสริมเรื่อง เมล็ดพันธุ์ผัก หรืออุปกรณ์เครื่องใช้มากนัก ได้ครบทุกแห่งก็ให้ใช้พืชผักในท้องถิ่นนั้น เขาก็รู้และก็มีชื่อพื้น เมือง แต่ว่าพอเอาเข้าจริง แม้แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ยังไม่มีใครแน่ใจว่าชื่ออะไร ก็นำ มาศึกษา และเวลานี้ก็ได้ เห็นว่ามีการศึกษาอย่างกว้างขวาง คือ ได้ศึกษาว่าคุณค่าทางอาหารของผักพื้นเมืองเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และ ได้มีการวิเคราะห์พิษภัยของพืชเหล่านั้นไว้ด้วย เดิมเท่าที่คิดก็ยอมรับว่าไม่ได้คิดเรื่องพิษภัยเพราะเห็นว่าคน รับประทานกัน อยู่ประจำ ก็ยังมีอายุยืน แต่เห็นว่าจากการวิจัยของนักวิชาการก็ได้ทราบว่ามีพืชพื้นบ้านบาง อย่างที่รับประทานกันอยู่มีพิษบ้าง ทำ ให้เกิดความคิดที่ว่าถ้าบริโภคกันในส่วนที่เป็นท้องถิ่นก็อาจจะไม่เป็น พิษเป็นภัยมาก เพราะว่าในวันนั้นเก็บผักชนิดนี้ได้ก็นำ มาบริโภค อีกวันก็เก็บได้อีกอย่างก็นำ มาบริโภค แต่ ถ้าสมมติว่าเป็นการส่งเสริมเป็นโครงการขึ้นมาแล้ว ก็จะมีการขยายพันธุ์เป็นจำ นวนมาก และก็รับประทาน อย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะมีอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่งก็อาจจะเป็นได้ อันนี้ที่ยกตัวอย่างแสดงว่าวิชาการ นี้แตกแขนงไปหลายอย่าง และมีการศึกษาได้หลายอย่าง และก็มีบุคคลหลายคนที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ถ้า จะช่วยกันจริง ๆ นี้ ก็อาจจะต้องแบ่งหน้าที่ ถึงขั้นตอนนี้ก็ต้องแบ่งหน้าที่กันเพื่อที่จะแบ่งในด้านปริมาณงาน ที่ทำ หรือ งบประมาณที่ทำ ก็ได้รับการสั่งสอนจากผู้หลักผู้ใหญ่อยู่เสมอว่า ถ้าคนเรามีความคิดพุ่งแล่นอะไร ต่าง ๆ นานา ก็คิดได้ แต่ถึงตอนทำ จริง มีขั้นตอนเหมือนกัน การใช้คนให้ทำ อะไรนี่ ก็ต้องคิดถึงกระบวนการ ว่า จะไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการนั้น จะต้องใช้ทั้งเงินใช้ทั้งเวลา ใช้ทั้งความคิดความอ่านต่าง ๆ ซึ่งจะไปใช้ ใครทำ ก็ต้องให้แน่ใจว่า เขาเต็มใจหรืออาจเต็มใจแต่ว่าภารกิจมากมีเวลาจะทำ ให้เท่าใด หรือเขาอาจทำ ให้ ด้วยความเกรงใจเราแล้วว่าทีหลัง อย่างนี้เป็นต้น ก็บอกว่าไม่เป็นไร เพราะว่าเวลาทำ อะไรก็มิได้บังคับ ก็ขอ เชิญเข้าร่วมช่วยกัน แต่ถ้าคนใดมีข้อขัดข้องหรือมีข้อสงสัยประการใด ก็ไถ่ถามกันได้ไม่ต้องเกรงใจ


ถ้าใครทำ ไม่ได้ ไม่ได้ก็แล้วไป ก็ทำ อย่างอื่นทำ อย่างนี้ไม่ได้ ก็ต้องทำ ได้สักอย่าง คิดว่าโครงการนี้ขั้นตอนต่อ ไป อาจจะต้องดูเรื่องเหล่านี้ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ใครทำ อะไรได้ และประโยชน์อาจจะมีอีกหลายอย่าง เช่น งาน บางอย่างหรืออย่างพืชนี้จะมีประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อีกก็มีด้วยซ้ำ ถ้าเราทราบสรรพคุณของเขาและนำ มา ใช้ ในส่วนที่ว่าถ้าขยายพันธุ์แล้วอันตราย คือ การขยายพันธุ์เหล่านี้ก็อาจจะเป็นการช่วยในเรื่องของการส่ง เสริมอาชีพให้แก่ราษฎรเพิ่มขึ้นอีกก็อาจเป็นได้ ทั้งนี้ก็ต้องไม่ละเลยในเรื่องของวิชาการ สิ่งที่ถูกต้องอะไรที่ เป็นคุณ อะไรที่เป็นโทษ และยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องในเรื่องของงาน ของเงิน ในที่นี้ยังมีเรื่องเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของที่ดิน อาจจะต้องมีการกำ หนดแน่นอนว่าที่ดินนั้นอยู่ในสภาพไหน สภาพการถือครองใน ลักษณะใด ศึกษาในเรื่องของกฎหมายให้ถูกต้องว่าใครมีสิทธิ์หรือหน้าที่ทำ อะไรบ้าง ใครทำ อะไรไม่ได้ เรื่อง เหล่านี้เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา เป็นเรื่องที่จะต้องจุกจิกมากอีกหลายอย่าง ที่พูดนี้มิ ได้หมายความถึงว่าจะ เป็นการจะจับผิดว่าใครทำ ผิดใครทำ ถูก แต่ว่างานโลกปัจจุบันนี้ ทำ อะไรก็รู้สึกว่าเรื่องการรักษามาตรฐาน นั้นเป็นเรื่องสำ คัญ เพราะว่าต่อไปงานนี้เราอาจจะไม่ใช่จำ กัดอยู่แต่ภายในประเทศ อาจจะต้องมีการติดต่อ ไปถึงประเทศอื่นด้วย เป็นการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการทำ งานในลักษณะที่ คนอื่นยอมรับได้ นี่ก็เป็นความคิดเกี่ยวกับโครงการนี้” พระราชดำ รัส เมื่อครั้งทรงดำ รงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทให้คณะกรรมการอำ นวยการ คณะกรรมการบริหารผู้ร่วมสนองพระราชดำ ริและผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย ที่เฝ้าทูลละอองพระบาทในการประชุมประจำ ปีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำ ริฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพฯ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐


สารบัญ หน้า คำ นำ (ผอ.สุชานาฏ) สารบัญ บทที่ 1 พฤษศาสตร์ต้นลาน 1.1 ราก (ใส่ภาพ/คำ อธิบายประกอบ) 1.2 ลำ ต้น 1.3 ใบ 1.4 ดอก 1.5 ผล บทที่ 2 ประโยชน์ของลานที่ปรากฏในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2.1 ประโยชน์ทางด้านศาสนา - คัมภีร์ใบลาน (ความสำ คัญ/ความเชื่อ/โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้) - ประคำ ลูกลาน 2.2 ประโยชน์ในวิถีชีวิตประจำ วัน - หงส์ใบลาน (ความสำ คัญ/การใช้ประโยชน์/โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้) - หมวกใบลาน - กล่องข้าวใบลาน - พัดใบลาน 2.3 ประโยชน์ด้านการแพทย์และการรักษาโรค - ยาแก้ไอ (ความสำ คัญ/วิธีการรักษา/ประโยชน์/โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้) - ลูกประคบ บทที่ 3 บทสรุป (ผอ.สุชานาฏ) - การอนุรักษ์ - การพัฒนาต่อยอด - ตอบสนองโครงการพระราชดำ ริ....


บทที่1 “พฤษศาสตร์ต้นลาน”


ชื่อเรียกสามัญ : Fan palm, Lontar palm, Talipot palm ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Corypha umbraculifera L. ชื่อวงศ์ : Arecaceae (เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า Palmae หรือ Palmaceae)


เป็นพันธ์ุไม้ที่มีถิ่นกำ เนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกา และในแถบเมดิเตอร์เรเนียน จัดอยู่ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (MONOCOTYLEDON) ไม่มีการแตกกอ อยู่ในตระกูลปาล์ม เจริญเติบโตได้ดีใน ภูมิประเทศที่มีอากาศร้อน และมีบางสายพันธ์ุที่สามารถขึ้นอยู่ในสภาพอากาศที่มีความชื้นเย็นและมีฝนตกมาก ไม่ชอบน้ำ ขัง ต้นลานสามารถทนต่อภัยธรรมชาติเช่นถูกไฟไหม้ต้นก็จะงอกขึ้นใหม่และเจริญเติบโตได้ตามปกติ ลานจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อลำ ต้นแก่ก็จะออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตรงส่วนยอดของต้น และจะ ออกดอกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นก็จะออกผลและจะยืนต้นตาย จึงมีคำ พูดติดปากว่าของผู้พบเห็นต้นลาน ตอนออกดอกว่า “ลูกฆ่าแม่” ตามลักษณะวงจรชีวิตของต้นลาน ในประเทศแถบเอเชียพบต้นลาน 5 – 8 ชนิด ลานในประเทศไทยไม่สามารถบอกได้ว่าแพร่เข้ามาได้อย่างไรและตั้งแต่เมื่อใด แต่มีการสำ รวจและพบลานที่ เจริญเติบโตได้ 3 ชนิด ได้แก่ 1. ลานพรุ : Corypha utan Lam. ชื่อไทย : ลาน ลานใต้ ชื่อสากล : Big bomb burst corypha, gebang Palm การกระจายพันธุ์ : ประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และประเทศไทย เช่น จังหวัดแถบภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สงขลา กระบี่ และพังงา ขนาด : มีความสูง ประมาณ 30 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของต้น(ไม่รวมใบ) ประมาณ 40 - 60 เซนติเมตร “ต้นลาน”


2. ลานป่า : Corypha lecomtei Becc. ชื่อไทย : ลานดำ ลานกบินทร์ ลานทุ่ง ชื่อสากล : Indochinese fan palm. การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและเวียดนาม เช่น ขอนแก่น ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี จาก นครปฐม และพิษณุโลก ขนาด : มีความสูง ประมาณ 15 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของต้น(ไม่รวมใบ) ประมาณ 45 – 75 เซนติเมตร 3. ลานวัด : Corypha umbraculifera L. ชื่อไทย : ลาน ลานบ้าน ลานเชียงใหม่ ลานหมื่นเถิดเทิง ชื่อสากล : Talipot palm, Lontar palm, Fan palm การกระจายพันธุ์ : ประเทศศรีลังกา อินเดีย เมียนมาร์ ลาว และประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดภาค เหนือตอนบนของไทย โดยเป็นการนำ มาปลูกมากกว่าการขึ้นเองตามธรรมชาติ ขนาด : มีความสูง ประมาณ 25 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของต้น(ไม่รวมใบ) ประมาณ 75 – 80 เซนติเมตร ในที่นี้ผู้เรียบเรียงขออธิบายส่วนประกอบของต้นลานวัด เพราะเป็นลานที่พบเห็นในพื้นที่ภาคเหนือตอน บนของประเทศไทย และมีการนำ มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันซึ่งจะได้อธิบายต่อไป


ส่วนประกอบ ของต้นลานวัด


รากของต้นลานเป็นระบบรากฝอย (fibrous root) ลักษณะเป็นรากจำ นวนมากกว่า 1 ราก มีขนาดใกล้เคียงกัน เจริญออกจากโคน ของต้น และอาจมีรากขนาดเล็กลักษณะคล้าย ฝอยจำ นวนมากแตกแขนงออกมา สีของรากเป็น สีน้ำ ตาลและบางจุดเป็นสีขาวเหลือง “ราก”


ลำ ต้นมีลักษณะตั้งตรง เนื้อแข็ง เป็นลำ ต้นเดี่ยวไม่มีการแตกกอหรือหน่อ เนื้อไม้มีลักษณะเป็นเส้นใย ไม่มีกิ่ง ลำ ต้นจะมีกาบใบเรียงเวียนสลับกันไป เมื่อเจริญเติบเต็มที่ลำ ต้นจะมีความสูงประมาณ 25 – 28 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร ต้นลานจะมีอายุราว 20 – 80 ปี หลังจากนั้นจะ ออกดอกและยืนต้นตาย “ลำ ต้น”


ใบมีขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายรูปพัด หรือผ่ามือ และเหมือนกับใบตาล เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ก้านใบอวบ อ้วน มีหนามสีดำ ขึ้นตามขอบของก้านใบตลอดแนว ส่วนของใบมีสีเขียวแก่ (เขียวอมเทา) แผ่นใบมีลักษณะ เป็นหยัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใบประมาณ 2.5 – 3 เมตร ส่วนก้านใบสีเหลืองอ่อนยาวประมาณ 2.5 – 3 เมตร “ใบ”


“ดอก” ช่อดอกมีลักษณะคล้ายรูปทรงพีระมิด จะโผล่ขึ้น ที่ยอดปลายสุดของต้น มีความยาวประมาณ 5 – 6 เมตร โดยช่อดอกลานจะมีก้านยื่นออกไปประมาณ 30 ก้าน และแต่ละก้านย่อยแตกออกไปอีก 40 ก้าน ดอกลานมีขนาดที่เล็กรูปสามเหลี่ยมมีกลีบดอก ประมาณ 6 กลีบ ดอกจะมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอม และออกดอกจำ นวนมหาศาลอาจมากถึง สิบล้านดอก โดยส่วนใหญ่จะเริ่มออกในฤดูฝนช่วง เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน


ผลมีรูปทรงกลมรี และบางต้นจะมีรูปทรงค่อนกลมคล้ายลูกปิงปอง มีสีเขียวแก่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ3.5 – 4 เซนติเมตร ตอนแห้งจะออกสีเป็นสีน้ำ ตาลอ่อน ในหนึ่งผลจะมีหนึ่งเมล็ด ผลลานจัดอยู่ใน กลุ่มไม้เมล็ดแข็ง (drupe) เนื้อในสีขาวเหนียวหนืดลักษณะคล้ายกับเนื้อในของลูกตาว และลูกตาลอ่อน รสชาติจืด ผลลานสามารถนำ ไปรับประทานได้ “ผล”


บทที่2 “ประโยชน์ของต้นลานที่ปรากฏในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่”


คัมภีร์ใบลาน ชาวล้านนานิยมนำ ใบลานมาเป็นวัสดุบันทึกวรรณกรรมคำ สอนทางพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก วรรณกรรมค่าวธรรม อักขรวิธีและไวยากรณ์ และนอกจากนี้ยังใช้บันทึกตำ รายาและการรักษาโรค กฏหมาย ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ และคัมภีร์ไสยศาสตร์ต่าง ๆ ก่อนที่จะนำ ใบลานมาใช้ได้นั้น จะต้องผ่าน กระบวนการผลิต โดยจะต้องคัดเลือกใบลานที่มีอายุเหมาะสม ไม่ควรอ่อนหรือแก่เกินไปส่วนมากนิยมใช้ใบ ลานอายุประมาณ ๕ ปี ขึ้นไป แล้วเลือกตัดเอาก้านที่ ๓ – ๔ มาทำ คัมภีร์ใบลาน จากนั้นนำ มาม้วนและต้มจน ครบเวลาแล้วนำ ไปขัดล้างด้วยทรายแม่น้ำ ตากแดด เข้าไม้ประกับ แต่งเจียนขอบ ลงรักหรือชาด จึงจะ สามารถนำ ไปจารเป็นคัมภีร์ต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันการผลิตใบลานใช้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ค่อย ๆ ลดความนิยม ลงไปเหลือเพียงสถาบันการศึกษา วัด และองค์กรบางแห่งซึ่งทำ ไว้เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการต้มใบลานเท่านั้น ด้านศาสนา


คัมภีร์ใบลาน


ประคำ ลูกลาน ประคำ ลูกลาน ชาวล้านนาเรียกว่า “หมากนับหน่วยลาน” หรือ “หม่ะกำ หน่วยลาน” เป็นอุปกรณ์อย่าง หนึ่งที่ชาวล้านนาใช้นำ มาตกหรือนับตอนปฏิบัติวิปัสสนากัมมฐาน เป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ครูบาอาจารย์ทาง ภาคเหนือโดยเฉพาะสายที่นับถือครูบานำ มาเป็นเครื่องมือให้ลูกศิษย์ที่ปฏิบัติธรรมเกิดจิตที่แน่วแน่มั่นคงจดจ่อ อยู่กับลูกประคำ ที่นับไปแต่ละลูก ขนาดของลูกประคำ แต่ละเส้นขึ้นอยู่กับความนิยมชมชอบของผู้ใช้ เช่น ประคำ ลักษณะผลลูกจันทน์ ประคำ ลักษณะกลมเหมือนลูกแก้ว เป็นต้น จำ นวนของลูกประคำ มีทั้งหมด ๑๐๘ ลูก หมายถึง คุณของพระรัตนไตร ๑๐๘ ประการ ได้แก่ คุณพระพุทธ ๕๖ คุณพระธรรม ๓๘ และคุณพระสงฆ์ ๑๔ ด้านศาสนา


ประคำ ลูกลาน


ตุงใบลาน ตุงชนิดนี้ไม่ได้มีปรากฎใช้มาตั้งแต่อดีต เกิดจากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้สร้างสรรค์คือ นาง ชิสา เกษวีรภัทร์กุล ครูภูมิปัญญาด้านการจักสาน อำ เภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำ วัสดุหลักได้แก่ใบลาน มาสานเป็นตุง โดยได้ต้นแบบมาจากการสานซองบุหรี่ ชาวล้านนานิยมใช้ปักไว้ในต้นสลากภัติ และก๋วยสังฆ์ (สังฆทาน) ตุงใบลานก็มีบทบาทและหน้าที่ในลักษณะเดียวกันคือการนำ ไปปักไว้ในสังฆทานและต้นครัวตาน นอกจากนั้นยังปรากฏความเชื่อเรื่องการถวายตุงรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตุงเทวดา ตุงสิบสองราศี ตุงพระบฏ ตุงพระเจ้าสิบชาติ ตุงไชย ตุงเหล็ก-ตุงตอง ตุงรูปสัตว์ ฯลฯ เพื่อเป็นอานิสงค์แก่ผู้ถวายและค้ำ ชูพระศาสนา ด้านศาสนา


ตุงใบลาน


ตาลปัตร - พัดใบลาน ตาลปัตร ชาวล้านนามักออกเสียงว่า “ก๋าละปัตร” เป็นเครื่องอัฏฐบริขารของพระสงฆ์ ผลิตจากวัสดุใบ ลานสานมีความกว้างประมาณ ๑๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๔ นิ้ว ต่อด้ามยาวประมาณ ๒๒ นิ้ว พระสงฆ์จะใช้ใน พิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคลเพื่อป้องกันหัตถวิการคือการทำ กิริยาไม่เหมาะสม และมุขวิการคือ การอ้าปากกว้างหรือปากแคบ อันจะทำ ให้ใจฟุ่งซ่านในหมู่สงฆ์และญาติโยม ตาลปัตรที่พระสงฆ์ชาวล้านนาใช้ มีหลายแบบ แต่โดยทั่วไปจะสานด้วยใบลานเป็นเส้นเล็ก มีด้ามจับเสียบอยู่กึ่งกลาง ส่วนพัดใบลาน ชาวล้านนาเรียกว่า “วีใบลาน” เป็นเครื่องพัดโบกมีลักษณะคล้ายตาลปัตรของพระสงฆ์ ปรากฏใช้มาตั้งแต่โบราณแต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเกิดขึ้นในยุคใด พัดชนิดนี้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้สืบทอด กันมาหลายชั่วอายุคน ในอดีตมีการใช้กันแพร่หลาย เช่น พระครูบาศรีวิชัย (สิริวิชโยภิกขุ) นักบุญแห่งล้านนา ไทย และเหล่าศิษยานุศิษย์หลายรูปซึ่งนิยมถือพัดใบลานติดตัวอยู่ตลอดเวลาซึ่งสังเกตุได้จากรูปถ่ายหลายรูป มีประโยชน์เพื่อพัดวีคลายร้อน บังแสงแดด พัดไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ พัดใบลานจึงถือเป็นเครื่องใช้ในวิถีชิต ประจำ วันของชาวล้านนาที่ขาดไม่ได้ แต่ปัจจุบันพัดใบลานไม่ได้รับความนิยมเช่นในอดีต แต่ก็ยังคงปรากฏให้ เห็นในหมู่พระสงฆ์สายครูบา เครื่องอัฏฐะบริขารพระสงฆ์-สามเณร เครื่องถวายในพิธีกรรม และใช้ในประเพณี พื้นเมืองของล้านนา เช่น ฟ้อนเจ้านาย ฟ้อนผีมด ผีเม็ง เป็นต้น ด้านศาสนา


ตาลปัตร พัดใบลาน


หงส์ใบลาน หงส์ใบลาน เป็นภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ของใบลานอ ย่างหนึ่งซึ่งมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ชาวล้าน นามีคติความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดาประกอบกับความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา การหาของประณีตเพื่อนำ มาใช้ เป็นเครื่องสักการะบูชาก็มักจะสรรหาจากทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัว “หงส์” เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ปรากฏในภาพ เขียน ลายทอผ้า งานปูนปั้นหรือการแกะสลัก และยังเป็น สัญลักษณ์แห่งความงดงามและสูงส่ง เช่น การใช้เป็นตัวแทน ของพระเป็นเจ้าคือพระพรหม พระสรัสวดี และฤาษีผู้สำ เร็จ ฌานชั้นสูง เป็นต้น และหากจะพิจารณาจากวรรณคดีบาง เรื่องก็จะพบว่ามีการใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งดีงามอย่างหนึ่งของมหาบุรุษ ชาวล้าน นาจึงนิยมนำ หงส์ใบลานมาใช้ประดับสังฆทาน และตกแต่งใน พิธีกรรมสำ คัญ เช่น การเทศน์มหาชาติ (ตั้งธรรมหลวง) เสียบ ยอดธง หรือตุง ประเพณีปอยหลวง เป็นต้น ด้านศาสนา


ด้านยารักษาโรค


การนำ ส่วนต่าง ๆ ของต้นลานมาใช้ประโยชน์ทางด้านการรักษาโรคของชาวล้านนา ปรากฏข้อมูลที่หมอ ยาในอดีตบันทึกไว้ในเอกสารโบราณ เช่น ใบลานก้อม ปั๊บสา เป็นต้น และการจดจำ ตำ รับยาและวิธีการรักษา ของเหล่าบรรดาหมอยาแพทย์แผนไทยซึ่งผ่านการสืบทอดมาจากครูบาอาจารย์ในอดีต ชาวล้านนาเรียกว่า “หมอเมือง” โดยหลักการปรุงยาเพื่อรักษาโรคจะต้องประกอบด้วยตัวยาหลัก ๆ ได้แก่ ตัวยาสมุนไพรที่มาจาก พืช เช่น ราก ต้น เปลือก ใบ ดอก แผล และยางตัวยาสมุนไพรที่มาจากสัตว์ เช่น กระดูก เขา งา ดี เลือด และ เกล็ด เป็นต้น และตัวยาสมุนไพรที่มาจากแร่ธาตุ เช่น ดิน เกลือ น้ำ และถ่านไฟ เป็นต้น หมอยาจะนำ มา เข้ายาเพื่อรักษาอาการของคนและสัตว์ซึ่งมีความแตกต่างกันไปโดยวิธีการ เช็ด แหก เป่า อบ บีบนวด ดื่ม กิน และพืชลานก็มีบทบาทสำ คัญในการใช้เป็นส่วนผสมในยาของชาวล้านนาเช่นกัน ด้านยารักษาโรค


รากลาน สรรพคุณ รักษาอาการไข้หวัด ร้อนใน ขับเหงื่อ วิธีการรักษา นำ รากมาฝนผสมกับตัวยาอื่น ๆ และดื่มกิน ด้านยารักษาโรค


ใบลาน สรรพคุณ ใช้แก้พิษต่าง ๆ แก้อาการฟกช้ำ วิธีการรักษา นำ ไปต้มผสมกับตัวยาอื่น ๆ ใช้อาบ และดื่มกิน ใบแก่นำ ไปเผาไฟและนำ ไปผสมกับตัวยา อื่นใช้พอกหรือทา ผลลาน สรรพคุณ รักษาโรคกระเพาะ ฆ่าเชื้อในลำ ไส้ เป็นยาระบาย วิธีการรักษา รับประทานสด นอกจากนี้ ผลลานยังสามารใช้รับประทานเป็นของหวาน เช่น ผลลานต้ม (หมากลานต้ม) ลานเชื่อม และผลลานดิบแก่สามารถนำ ไปทุบแล้วโยนลงในน้ำ จะช่วยทำ ให้ปลาเมาสะดวกต่อการดักจับปลา ด้านยารักษาโรค


หมวกใบลาน หมวกใบลาน เป็นเครื่องใช้ในวิถีชีวิตของชาวล้านนาที่พบเห็นได้ทั่วไป ชาวล้านนาเรียกว่า “กุบใบลาน” ใช้สวมศีรษะเพื่อกันแดดกันฝนมีหลายรูปแบบ แต่โดยมากจะเห็นรูปทรงคล้ายงอบของทางภาคกลางแต่มี ลักษณะโค้งมนกว่า และอีกแบบหนึ่งมีลักษณะคล้ายหมวกกะโล่ หมวกใบลานของภาคเหนือทั้งสอบแบบเวลา สวมจะไม่มีรังงอบ คืออุปกรณ์ที่ใช้ติดกับงอบและสวมให้พอดีกับศีรษะไม่ให้งอบหลุดผลิตด้วยวัสดุไม้ไผ่สาน การผลิตหมวกใบลานจะขึ้นโครงร่างด้วยไม้ไผ่ สานให้เป็นรูปทรงหมวกที่ต้องการ จากนั้นจึงใช้ใบลานเส้นเล็ก ๆ ความก้างประมาณ ๑ นิ้ว วางทาบลงไปกับโครงร่างที่เตรียมไว้แล้วจึงเย็บด้วยด้ายจัดเก็บขอบติดจอมยอดก็เป็น อันใช้ได้ การทำ หมวกใบลานต้องใช้ความชำ นาญและความสามารถในการแก้ปัญหาจากการผลิตหมวกแต่ละใบ เพราะใบลานที่นำ มาทำ มีความแตกต่างกัน บางใบใบลานมีลักษณะหนาแข็ง บางใบก็อ่อน หรือบางครั้งใกล้เย็บ เสร็จใบลานเกิดแตกหักก็ต้องแก้ปัญหาโดยไม่ต้องสูญเสียทรัพยากร เครื่องใช้ในครัวเรือน และอื่น ๆ


หมวกใบลาน


กล่องข้าว วัฒนธรรมในการบริโภคข้าวเหนียวอยู่คู่กับชาวล้านนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าวเหนียวชาวล้านนา เรียกว่า “เข้าหนึ้ง” หรือ “ข้าวนึ่ง” เป็นกรรมวิธีการทำ ข้าวให้สุก โดยการนำ ข้าวเหนียวไปแช่ไว้ ๑ คืน จากนั้น จึงนำ มาล้างให้สะอาดแล้วนึ่งไว้ประมาณ ๒๐ นาที จากนั้นนำ ไปบรรจุใน “กระติ๊บข้าว” ชาวล้านนาเรียกว่า “กล่องเข้า” บางแห่งเรียกว่า “แอ็บข้าว” ภาชนะชนิดนี้ทำ ขึ้นจากใบลาน หรือใบตาล เพื่อเก็บข้าวสุกให้คง สภาพความร้อนได้นาน และเพื่มความหอมจากกลิ่นของใบลานและใบตาล เป็นการเพิ่มอรรถรสในการรับ ประทานอาหาร รูปทรงที่พบส่วนใหญ่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมใช้ ๒ ชิ้นประกบกันชิ้นหนึ่งเป็นฝา อีกชิ้นหนึ่งเป็นตัว กล่องข้าวทำ เชือกร้อยไว้สำ หรับแขวน ส่วนขนาดก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งานและพอดีกับการรับ ประทาน เครื่องใช้ในครัวเรือน และอื่น ๆ


กล่องข้าว


Click to View FlipBook Version