The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

(สสว.6 ) เล่มสมบูรณ์รายงานสถานการณ์ทางสังคม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chonladamini999, 2022-09-28 22:36:37

(สสว.6 ) เล่มสมบูรณ์รายงานสถานการณ์ทางสังคม

(สสว.6 ) เล่มสมบูรณ์รายงานสถานการณ์ทางสังคม



รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวัดในเขตพื้นทรี่ บั ผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)



คำนำ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 6 (สสว.6) ทำหน้าที่เชื่อมโยงประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ การแปลงนโยบาย ข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้ และแผนต่างๆ ของกระทรวงฯ ให้เกิด
การบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ในส่วนภูมิภาค ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ทั้งน้ี
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 จึงจัดทำรายงาน
สถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 7 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร
สกลนคร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยวิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูล หน่วยงาน
ท่ีเกย่ี วขอ้ ง อาทิ กรมการปกครอง สำนักงานสถติ แิ หง่ ชาติ สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงาน
สถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่กลุ่มจังหวัด การคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบ
พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน
ส่งเสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สนับสนุนข้อมูล
ประกอบการจดั ทำรายงานใหส้ ำเร็จลุลว่ งและหวังเป็นอย่างยงิ่ ว่า รายงานฉบับนจ้ี ะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงาน
และภาคีเครือข่ายในการนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม รวมถึงพัฒนาสังคม
ใหส้ อดคล้องกับบรบิ ทพื้นทตี่ อ่ ไป

สำนักงานสง่ เสรมิ และสนับสนุนวชิ าการ 6
กนั ยายน 2565

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวัดในเขตพ้ืนทีร่ บั ผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)



สารบัญ

คำนำ หนา้
สารบญั ก
สารบัญตาราง ข
สารบัญแผนภมู ิ ง
สารบัญแผนภาพ ฉ
บทสรุปผู้บรหิ าร ช
สว่ นท่ี 1 บทนำ ซ
1
1.1 หลักการและเหตผุ ล 1

1.2 วัตถปุ ระสงค์ 2

1.3 วิธดี ำเนินงาน 2

1.4 ผลทคี่ าดวา่ จะได้รบั 2
ส่วนท่ี 2 ขอ้ มูลพนื้ ฐานเขตรับผิดชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 3
3
2.1 ท่ตี ง้ั และอาณาเขต 5
2.2 ลกั ษณะภูมปิ ระเทศ 6
2.3 ลกั ษณะภูมิอากาศ 8
2.4 ดา้ นการปกครอง 8
2.5 ดา้ นประชากร 10
2.6 ดา้ นศาสนา ประเพณี วฒั นธรรมและชาตพิ ันธ์ุ 14
2.7 ด้านสาธารณสขุ 17
2.8 ด้านการศึกษา 21
2.9 ด้านแรงงาน 22
2.10 ดา้ นท่อี ยู่อาศยั 23
2.11 ด้านเศรษฐกิจ 29
2.12 ขอ้ มูลภาคเี ครือขา่ ย 31
ส่วนท่ี 3 สถานการณก์ ลุม่ เป้าหมายทางสังคมระดบั กล่มุ จังหวดั 31
3.1 กล่มุ เดก็ 32
3.2 กลุ่มเยาวชน 33
3.3 กลมุ่ สตรี 34
3.4 กลมุ่ ครอบครัว 35
3.5 กลุ่มผสู้ งู อายุ 36
3.6 กลุ่มคนพกิ าร 39
3.7 กลุม่ ผู้ด้อยโอกาส

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพื้นทร่ี ับผิดชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

สารบัญต่อ ค

ส่วนที่ 4 สถานการณ์เชงิ ประเด็นทางสงั คมในระดับกลุม่ จงั หวดั หน้า
4.1 สถานการณ์กล่มุ เปราะบางรายครัวเรือน 40
4.2 ผลการขับเคลือ่ นโครงการพฒั นาคุณภาพชวี ติ กลุ่มเปราะบางรายครวั เรอื น 40
4.3 สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 42
4.4 สถานการณเ์ ชงิ ประเดน็ สำคัญของกล่มุ จังหวัดในเขตพ้นื ทร่ี บั ผดิ ชอบ สสว.6 43
4.5 การให้บรกิ ารของศูนย์ชว่ ยเหลือสังคมสายดว่ น 1300 45
4.6 ผลการดำเนนิ งานโครงการสำคญั ประจำปี 2565 48
49
ส่วนท่ี 5 การวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวัด 52
สว่ นที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 56
58
6.1 บทสรปุ 58
6.2 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย 58
6.3 ขอ้ เสนอแนะเชิงปฏบิ ัตริ ะดบั กลมุ่ จังหวดั
ภาคผนวก 60

- บรรณานุกรม

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพืน้ ทีร่ บั ผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)



สารบัญตาราง

ตารางท่ี หน้า
1 แสดงที่ตั้งและอาณาเขตพื้นที่กลุ่มจังหวดั ในเขตรบั ผิดชอบของ สสว 6 3
2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพ้ืนท่ีกลุ่มจังหวัดในเขตรบั ผดิ ชอบของ สสว.6 8
3 แสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ และจงั หวัด 8
4 แสดงจำนวนหน่วยบริการสาธารณสุข ภาครัฐและภาคเอกชน จำแนกตามจังหวัด 14
ในเขตพนื้ ที่รบั ผดิ ชอบของ สสว.6
5 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์รายจังหวัด 15
6 แสดงสาเหตกุ ารตาย 5 อนั ดับแรกจากโรคสำคญั ของจังหวัดในเขตพ้ืนทรี่ ับผดิ ชอบของ สสว.6 16
7 สถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสังกัด รายจงั หวัด ปกี ารศกึ ษา 2561 19
8 จำนวนนักเรยี นนักศึกษาในระบบ จำแนกตามระดบั ชน้ั ปี พ.ศ.2564 17
9 จำนวนผเู้ รียนนอกระบบโรงเรียน ปีการศกึ ษา 2560-2564 18
10 จำนวนนักเรยี นออกกลางคนั ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกดั สำนักงาน 20
คณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ปีการศึกษา 2560-2564
11 ภาวการณม์ ีงานทำของประชากรในกลุ่มจังหวดั ในเขตพน้ื ท่ีรบั ผิดชอบของ สสว.6 21
ไตรมาส 1 (มกราคม – มีนาคม 2565)
12 จำนวนคนตา่ งด้าวที่ไดร้ ับอนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560-2564 ของกล่มุ จังหวัด 21
ในเขตพ้นื ท่รี ับผดิ ชอบ สสว.6
13 แสดงจำนวนชมุ ชนผมู้ ีรายได้น้อยของกล่มุ จังหวดั พ.ศ 2562 22
14 แสดงการขยายตวั ของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมจังหวดั ในเขตพนื้ ทรี่ บั ผดิ ชอบสสว.6 23
ปีพ.ศ.2560-2563
15 แสดงผลิตภณั ฑ์จงั หวดั ต่อหวั (GPP per capita) ปี 2564 24
16 แสดงรายไดโ้ ดยเฉลย่ี ต่อเดือนต่อครวั เรอื นของกลุ่มจังหวัด พ.ศ.2560-2564 24
17 แสดงหนสี้ ินเฉล่ยี ต่อครวั เรือน จำแนกตามวตั ถุประสงค์ของการกูย้ มื พ.ศ. 2560-2564 26
18 แสดงจำนวนองค์กรภาคีเครือขา่ ย 29
19 แสดงจำนวนภาคีเครือขา่ ย 30
20 แสดงสถานการณเ์ ดก็ จำแนกตามจังหวัด ปี 2564 31
21 แสดงสถานการณเ์ ยาวชน จำแนกตามจังหวัด ปี 2564 32
22 แสดงสถานการณก์ ลมุ่ สตรี จำแนกตามจังหวัด ปี 2564 33
23 แสดงสถานการณ์กลุ่มครอบครวั จำแนกตามจังหวดั ปี 2564 34
24 แสดงสถานการณผ์ ูส้ ูงอายุ จำแนกตามจงั หวดั ปี 2564 35
25 แสดงสถานการณ์คนพกิ าร จำแนกตามจังหวัด ปี 2565 36

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพื้นที่รับผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)



สารบญั ตารางต่อ

ตารางท่ี แสดงจำนวนคนพิการจำแนกตามสาเหตคุ วามพิการ จำแนกตามจงั หวัด หน้า
26 แสดงจำนวนคนพิการจำแนกตามประเภทความพิการ แยกรายจงั หวดั 36
27 แสดงสถานการณ์กลุ่มผู้ด้อยโอกาส จำแนกตามจงั หวัด 38
28 แสดงกลมุ่ เปา้ หมายตามฐานข้อมลู ระบบการพัฒนาคนแบบชีเ้ ปา้ TPMAP แยกรายมิติ รายจงั หวดั 39
29 แสดงขอ้ มลู ครวั เรือนเปราะบาง รายจงั หวดั ในเขตพ้ืนทร่ี ับผิดชอบ สสว.6 40
30 แสดงผลการดำเนนิ งานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกล่มุ เปราะบางรายครัวเรือน ในพนื้ ที่รับผดิ ชอบ 41
31 ของสสว. 6 43
แสดงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พืน้ ที่กลุ่มจงั หวดั ในเขตรบั ผดิ ชอบของ สสว.6
32 แสดงข้อมลู การไดร้ บั วคั ซีนป้องกนั โรค โควดิ 19 ประชาชนในพ้นื ที่กลุม่ จงั หวัดในเขตรับผดิ ชอบ 44
33 ของ สสว. 6 44
แสดงขอ้ มูลการให้ความชว่ ยเหลอื ผูไ้ ดร้ ับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID 19
34 พ้นื ท่ีกลุ่มจังหวัดในเขตรับผิดชอบของสสว.6 45
แสดงจำนวนเหตกุ ารณ์ท้งั หมดความรนุ แรงต่อบุคคลทว่ั ไปและความรุนแรงในครอบครัวจำแนกตามปีที่
35 เกิดเหตุ พ.ศ.2561-2564 46
แสดงจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงท้งั หมดต่อบุคคลท่วั ไปและความรนุ แรงต่อบุคคลในครอบครัว
36 จำแนกตามสาเหตุ/ปัจจัยของจงั หวดั ในเขตพืน้ ท่ีรบั ผดิ ชอบของ สสว.6 ประจำปี 2564 47
แสดงผลการดำเนินงานของศูนย์ช่วยเหลอื สังคมตำบลรายจังหวัดในเขตรบั ผดิ ชอบของ สสว.6
37 ประจำปี 2565 50

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวัดในเขตพืน้ ทร่ี ับผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)



สารบญั แผนภูมิ

แผนภมู ิที่ แสดงความหนาแนน่ ของประชากร 7 จงั หวดั ในเขตพน้ื ทรี่ ับผดิ ชอบของ สสว.6 หน้า
1 แสดงพนื้ ท่ี 7 จงั หวัดในเขตพื้นที่รบั ผดิ ชอบของ สสว. 6 3
2 แสดงจำนวนประชากรในเขตพืน้ ทรี่ ับผดิ ชอบของ สสว.6 7
3 แสดงจำนวนหนว่ ยบรกิ ารสาธารณสขุ ในเขตพนื้ ทีร่ บั ผดิ ชอบของ สสว.6 9
4 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์รายจังหวัด ในเขตพื้นท่รี บั ผดิ ชอบของ สสว.6 14
5 แสดงสาเหตุการตาย 5 อนั ดับแรก จากโรคต่างๆ ในพน้ื ท่ีกล่มุ จังหวดั 14
6 แผนภาพท่ี 7 แสดงจำนวนนักเรียน นกั ศึกษา จำแนกตามระดับชน้ั ปกี ารศึกษา 2563 17
7 ในเขตพ้นื ทร่ี ับผดิ ชอบของ สสว.6 18
แสดงจำนวนนักเรยี นออกกลางคนั ระดบั ประถมศึกษา มธั ยมศึกษาตอนปลาย สังกดั สำนักงาน
7 คณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน ปกี ารศึกษา 2560-2564 20
แสดงจำนวนคนตา่ งดา้ วท่ีไดร้ ับอนุญาตทำงานคงเหลอื พ.ศ.2559-2563
8 แสดงรายได้โดยเฉลย่ี ต่อเดือนตอ่ ครัวเรอื นของกลุ่มจังหวดั พ.ศ.2560-2564 22
9 แสดงหนี้สินเฉล่ียต่อครัวเรือน จำแนกตามวตั ถุประสงค์ของการกู้ยืม พ.ศ. 2560-2564 25
10 แสดงจำนวนคนพิการแยกตามสาเหตคุ วามพกิ ารของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นทร่ี ับผดิ ชอบ 28
11 ของ สสว.6 37
แสดงจำนวนคนพิการตามประเภทความพิการ ของกลุ่มจังหวดั ในเขตพนื้ ที่รบั ผดิ ชอบของ สสว.6
12 แสดงสถานการณ์กลมุ่ ผู้ด้อยโอกส ของกลุ่มจังหวดั ในเขตพ้ืนทร่ี บั ผิดชอบของ สสว.6 38
13 แสดงกลุ่มคนจนเป้าหมายตามฐานขอ้ มูลระบบการพัฒนาคนแบบชเ้ี ป้า TP MAP แยกรายมติ ิ 39
14 รายจงั หวัด 40
แสดงจำนวนเหตกุ ารณ์ท้งั หมดความรนุ แรงต่อบุคคลทัว่ ไปและความรุนแรงในครอบครวั
15 จำแนกตามปีทเ่ี กิดเหตุ พ.ศ.2561-2564 46
แสดงจำนวนสาเหตุ/ปัจจยั ความรุนแรงของ 7 จงั หวัดในเขตพน้ื ทร่ี ับผดิ ชอบของ สสว.6
16 แสดงสถิตกิ ารให้บริการศนู ยช์ ่วยเหลอื สงั คม 1300 ของกลุ่มจงั หวดั ในเขตพ้นื ท่ีรับผดิ ชอบของ 47
17 สสว.6 (ระหวา่ ง 1 มกราคม – 30 มิถนุ ายน 2565) 48

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ที่รับผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

สารบญั แผนภาพ ช

แผนภาพที่ หน้า
1 แสดงพ้นื ท่ี 7 จงั หวดั ในเขตพื้นทีร่ บั ผิดชอบของ สสว. 6 4
2 แสดงสถานการณ์ภายใต้การแพรร่ ะบาดของเชอ้ื COVID-19 43
3 แสดงวตั ถุประสงคแ์ ละข้นั ตอนการดำเนนิ งานโครงการศนู ย์ชว่ ยเหลอื สังคมตำบล 49

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพ้นื ที่รับผิดชอบของสำนักงานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)



บทสรุปผู้บริหาร

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน
วิชาการ 6 (สสว.6) ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ (จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัด
สกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6
(2) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6
(3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6
โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการปกครอง สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ โดยการใช้ข้อมูลสถิติที่เกิดข้ึน
มสี าระสำคญั สรุปได้ดงั น้ี

1.สถานการณด์ ้านประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 พบว่า มีจำนวนประชากรกลุ่มจังหวดั
รวมทั้งสิ้น 5,857,244 คน คิดเป็นร้อยละ 8.85 ของประชากรทั้งหมดของประเทศไทย (ประชากรทั้งประเทศ
ปี 65 จำนวน 66,165,261 คน ) ประชากรกลุ่มจังหวัดแบ่งเป็นเพศชาย 2,915,163 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8
ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด เพศหญิง 2,942,081 คน คิดเป็นร้อยละ 50.2 ของประชากรทั้งหมด
ในกลุ่มจังหวัด ประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงานซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 26-59 ปี จำนวน 3,065,210 คน คิดเป็น
ร้อยละ 52.3 ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด และประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีจำนวนประชากร
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 954,776 คน คิดเป็นร้อยละ 16.3 ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด
การมีงานทำของประชากร พบว่า อัตราการมีงานทำร้อยละ 98.74 อัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.26 มีจำนวน
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ด้านสาธารณสุข สาเหตุการตายของกลุ่มจังหวัด
อันดับ 1 ได้แก่ โรควยั ชรา จำนวน 1,964 คน

2.สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนของกลุ่มจังหวัด
พ.ศ. 2560 - 2564 พบว่า มีทิศทางแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อพิจารณาในปี 2564 จังหวัดบึงกาฬ มีรายได้
โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงที่สุดในกลุ่มจังหวัด จังหวัดนครพนม มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน
ต่ำที่สุดในกลุ่มจังหวัดและหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนของกลุ่มจังหวัดจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม
พ.ศ.2560 - 2564 ภาพรวมของกลุ่มจังหวัด พบว่า หนี้สินรวมมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในทุกๆปี อันดับ 1 เพื่อใช้จ่าย
ในครัวเรือน จำนวน 795,464.97 บาท อันดบั 2 เพ่อื ใช้ทำการเกษตร จำนวน 324,972.00 บาท อันดบั 3 เพื่อใช้
ในการศึกษา จำนวน 27,246.92 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาเหตุของการเปน็ หน้ีส่วนใหญ่นํามาใช้ในครัวเรือน ซึ่งเปน็
การก่อหนีท้ ีไ่ ม่ไดก้ ่อใหเ้ กิดรายไดม้ ากกว่าการก่อหน้เี พ่ือก่อให้เกิดรายได้

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพ้นื ที่รับผิดชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)



3.สถานการณ์ทางสังคมเชงิ กลมุ่ เปา้ หมาย
❖ สถานการณ์เด็ก อันดับ 1 ได้แก่ จำนวนเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน ได้รับสวัสดิการสำหรับ
การดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำนวน 265,512 คน คิดเป็นร้อยละ 21.97 เมื่อเทียบกับประชากรเด็กทั้งหมด
ในกลุ่มจังหวัด ซึ่งเป็นการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
อันดับ 2 ได้แก่ เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คือครอบครัวที่พ่อหรือแม่เลี้ยงลูกคนเดียว กลายเป็นอีกรูปแบบ
ของครอบครัว ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ซึ่งกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 พบว่า
มจี ำนวนทงั้ ส้ิน 6,129 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 0.51 เมอ่ื เทียบกับประชากรเด็กท้ังหมดในกลุ่มจงั หวัด

❖ สถานการณส์ ตรี สถานการณส์ ำคัญ พบว่า แมเ่ ลีย้ งเด่ียวฐานะยากจน มจี ำนวนทงั้ ส้ิน 5,136 คน
คิดเป็นรอ้ ยละ 0.19 ของจำนวนประชากรสตรที ั้งหมดในกลมุ่ จงั หวดั

❖ สถานการณ์ครอบครัว สถานการณ์สำคัญ พบว่า สถานการณ์ครอบครัวยากจน ซึ่งจากการ
คัดกรองในระบบ TPMAP มีจำนวนทั้งสิ้น 60,645 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 3.12 ของจำนวนบ้านทั้งหมด
ในกลุ่มจังหวัด ครอบครัวหย่างร้าง มีจำนวนทั้งสิ้น 7,992 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของจำนวนครัวเรือน
ทง้ั หมดในกลมุ่ จังหวดั

❖ สถานการณ์ผู้สูงอายุ อันดับ 1 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ติดสังคม ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเอง
ได้ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างอิสระ สามารถทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและกิจวัตรประจำวันต่อเนื่องได้
มีจำนวนทั้งสิ้น 300,114 คน คิดเป็นร้อยละ 31.37 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในกลุ่มจังหวดั อันดับ 2 ผู้สูงอายุ
ติดบ้าน เป็นกลุ่มผูส้ ูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้หรือต้องการความช่วยเหลือบางส่วน จำนวน 223,175 คน คิดเป็น
รอ้ ยละ 23.32 ของจำนวนผู้สงู อายทุ ั้งหมดในกลุ่มจังหวดั

❖ สถานการณ์คนพิการ ประเภทความพิการ อันดับ 1 คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือ
ร่างกาย จำนวน 94,727 คิดเป็น 45.08 ของจำนวนคนพิการทั้งหมด สาเหตุความพิการอันดับ 1 คือ ไม่ทราบ
สาเหตุ อันดับ 2 โรคอนื่ ๆ อนั ดบั 3 อบุ ตั ิเหตุ

❖ สถานการณ์กลุ่มผู้ด้อยโอกาส อันดับ 1 ได้แก่ คนยากจน จำนวน 69,918 คน คิดเป็นร้อยละ
1.19 ของจำนวนประชากรท้ังหมดในกลุ่มจงั หวัด

4 . สถานการณท์ างสงั คมเชิงประเด็นทางสงั คม
❖ สถานการณ์ความรุนแรง จำนวนเหตุการณ์ทัง้ หมดความรุนแรงต่อบุคคลท่ัวไปและความรุนแรง

ในครอบครัวจำแนกตามปีที่เกิดเหตุ พ.ศ.2561-2564 พบว่า มีจำนวนแนวโน้มเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยสาเหตุสำคญั อันดับ 1 ไดแ้ ก่ เมาสุรา ยาเสพตดิ

❖สถิติการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 อันดับ 1 ปัญหารายได้และความเป็นอยู่ อันดับ 2
ปัญหาเรือ่ งสทิ ธิ สวัสดิการและกฎหมาย อนั ดบั 3 ปญั หาความสัมพนั ธ์ในครอบครัว

❖ การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน พบว่า กลุ่มจังหวัด
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสสว.6 มีครัวเรือนกลุ่มเปราะบางตาม TPMAP จำนวน 404,6025 ครัวเรือน ดำเนินการ
จัดเก็บสมุดพกครอบครัวแล้ว จำนวน 145,898 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 3.6 ของจำนวนครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง
ตาม TPMAP ทั้งหมด และได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ความช่วยเหลือใน 5 มิติ กล่าวคือ มิติสุขภาพ
ดำเนินการช่วยเหลือโดยพม.จำนวน 12,624 ครัวเรือน หน่วยงานภายนอก 7,957 ครัวเรือน มิติด้านความเป็นอยู่

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ทีร่ บั ผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)



ช่วยเหลือโดยพม. 27,054 ครัวเรือน หน่วยงานภายนอก 3,875 ครัวเรือน มิติการศึกษา ช่วยเหลือโดย พม.
จำนวน 6,501 ครัวเรือน หน่วยมิตริ ายได้ มิติการเข้าถึงบริการแห่งรัฐ ช่วยเหลอื โดย พม.จำนวน 56,300 ครัวเรือน
หน่วยงานภายนอก จำนวน 18,401 ครวั เรือน

5. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1) เพื่อให้สอดคล้องกับยุค 4.0 ควรเร่งพัฒนาระบบ Big Data ให้เป็นระบบเดียวกัน บนแพลตฟอร์ม
เดียวกัน ตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลได้อย่างชัดเจน
มีความน่าเช่ือเถือ อย่างมนี ยั สำคญั ทางสถิติ
2) ควรส่งเสริมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น
ค่ายครอบครัว กิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีพลัง ทั้งนี้สอดคล้องกับ
สถานการณ์ในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ติดสังคม คิดเป็นร้อยละ
31.37 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้
อย่างอิสระ สามารถทำกจิ วตั รประจำวันพืน้ ฐานและกจิ วตั รประจำวันต่อเนอื่ งได้
3) ควรส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดูแลเด็กในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จาก
สถานการณ์ด้านเด็กที่พบว่าครอบครัวที่พ่อหรือแม่เลี้ยงลูกคนเดียว กลายเป็นอีกรูปแบบของครอบครัว และ
จำนวนเด็กท่ีอยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว มีจำนวนทั้งสิ้น 6,129 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับประชากร
เด็กทั้งหมดในกลมุ่ จังหวัด
4) ควรส่งเสริมภาคีเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งเพือ่ การเฝา้ ระวงั ปัญหาสงั คมและการช่วยเหลือประชาชน
กลุ่มเปราะบางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์สำคัญอันดับ 1 ที่มีจำนวนคนยากจน
ทั้งส้ิน 60,645 ครอบครวั คดิ เป็นรอ้ ยละ 3.12 ของจำนวนบา้ นทง้ั หมดในกลุ่มจังหวัด
5) ควรมีการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพอิสระที่หลากหลายให้แก่ประชากรเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการ
สร้างรายได้ ทั้งนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาอันดับ 1 จากการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
ปัญหารายได้และความเป็นอยู่
6) ควรใหค้ วามสำคัญกบั การส่งเสรมิ การพัฒนาครอบครวั ให้เข้มแข็ง การตระหนกั ถึงความสำคัญของการ
อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวที่สามารถพึ่งพาอาศัย ดูแลซึ่งกันและกันได้ ทั้งนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรง
ที่มีจำนวนแนวโน้มเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และจากสถิติการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300
ปัญหาอนั ดบั 3 ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
7) ควรมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก เรื่องสิทธิ สวัสดิการและกฎหมาย สำหรับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ทง้ั นี้ สอดคล้องกับการใหบ้ ริการศูนย์ชว่ ยเหลือสงั คม 1300 อนั ดับ 2 ปัญหาเรือ่ งสทิ ธิ สวสั ดิการและกฎหมาย
8) ควรสร้างความตระหนกั ในการปอ้ งกนั อุบตั เิ หตุอยา่ งต่อเน่ือง ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั สถานการณ์ดา้ นคนพิการ
อันดบั 1 ประเภทความพิการทางการเคล่ือนไหวหรอื ร่างกาย และสาเหตอุ นั ดบั 3 เกิดจากอบุ ัตเิ หตุ

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพน้ื ท่รี บั ผิดชอบของสำนักงานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)



6. ขอ้ เสนอแนะเชงิ ปฏบิ ัตใิ นระดบั กลุ่มจงั หวัด
1. การแกไ้ ขปญั หาความยากจน

1.1) มีการบูรณาการฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นท่ี
เพอ่ื การชว่ ยเหลือกล่มุ เปา้ หมายทชี่ ดั เจน

1.2) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ ตามประเด็นสำคัญของแต่ละ
กลุ่มเป้าหมาย

1.3) เปลี่ยนระบบเอกสารเป็นระบบดิจิทัลเช่ือมโยงฐานข้อมูลที่ต้องการกับหน่วยงานที่เป็น
เจ้าของฐานขอ้ มูลตั้งแต่ เกดิ แก่ เจ็บป่วยและเสยี ชีวิต

2. การสง่ เสริมและการพัฒนาคุณภาพชวี ติ ผู้สงู อายุ
2.1) สนับสนุนให้เกิดการจา้ งงานผู้สูงอายุ ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงเพ่ือให้ผู้สูงอายุสามารถมรี ายได้

ลดการพ่ึงพงิ
2.2) การอบรมเตรียมความพร้อมกลุ่มประชากรที่จะเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิด

การตระหนักด้านการออมและการดูแลสขุ ภาพ
3. การสง่ เสริมและการพฒั นาคุณภาพชีวิตคนพกิ าร
3.1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพของคนพิการให้มี

ความเขม้ แขง็ สามารถสรา้ งรายไดใ้ ห้แกค่ นพกิ ารและผดู้ ูแลคนพกิ ารอย่างเป็นรปู ธรรม
3.2) การส่งเสริมให้มีการออกแบบสถานที่ให้เหมาะสมสำหรับคนพิการตามอารยสถาปัตย์

เพื่อการพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตคนพกิ าร

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพนื้ ท่รี ับผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)



รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวัดในเขตพื้นทรี่ บั ผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

1

ส่วนที่ 1 บทนำ

1.1 หลกั การและเหตุผล

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีสาระสำคัญ
เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ โดยกำหนดว่า “ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็น
ภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิด
การบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ”(มาตรา 10 วรรค 1) ในทาง
ปฏิบัติแม้ว่าจะมีความพยายามในการบริหารแบบบูรณาการในภารกิจที่มีความสำคัญหลายเรื่อง แต่ยังเกิดปัญหา
ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติในหลายๆ ภารกิจ เป็นผลให้เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก การปฏิรูป
งบประมาณประเทศจาก “ระบบงานงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์” สู่ “ระบบงบประมาณเชิงพื้นที่” (Arae-Based
Budgeting : ABB) ซึ่งเป็นแนวคิดของการทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) โดยมีการ
ฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ มีกระบวนการทำแผนพัฒนาจากล่างขึ้นบนตั้งแต่แผนชุมชนจนถึงแผนจังหวัด และ
ให้หน่วยงานทั้งภูมิภาคและท้องถิ่นร่วมกันกลั่นกรองทำให้งบประมาณสามารถใช้ให้ตรงกับปัญหาความต้องการ
ของคนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งเป็นทั้งกระบวน การเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลการใช้
งบประมาณแผ่นดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการตนเอง การสร้างความโปร่งใสและ
ธรรมาภิบาล การควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองโดยประชาชนในพื้นที่และการบูรณาการการทำงานของหน่วย
Function และหน่วย Area ทอี่ ยู่ในพ้นื ทร่ี ว่ มกันซ่ึงตามแผนปฏิรูปกำหนดใหเ้ รมิ่ ต้งั แต่ปงี บประมาณ ๒๕๔๘

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 (สสว.6) เป็นส่วนราชการส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค
โดยมีอำนาจหน้าที่ คือ ข้อ 1 พัฒนางานด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้
สอดคล้องกับพื้นที่และเป้าหมาย ข้อ 2 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการองค์ความรู้ข้อมูลสารสนเทศ
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานบริการกลุ่มเป้าหมายในพื้นทีใ่ หบ้ ริการ ในความรับผิดชอบของกระทรวง รวมทั้ง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและประชาชน ข้อ 3 ศึกษาวิเคราะห์
สถานการณ์และสภาพแวดล้อมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบ รวมท้ัง
ให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสงั คมและการจัดยุทธศาสตร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวดั ข้อ 4 สนับสนุนการนิเทศงาน ติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจของกระทรวงในพื้นที่กลุ่มจังหวัด นอกจากนี้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการทำ
หน้าที่เชื่อมโยงประสานนโยบายระหว่างหนว่ ยงานสว่ นกลางกบั ส่วนภูมิภาคในการแปลงนโยบาย ขอ้ มูลสารสนเทศ
องค์ความรู้ และแผนงาน/โครงการของกระทรวงฯ ให้เกิดการบูรณาการการปฏิบัติงานของทีม One Home พม.
หน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ในส่วนภูมิภาคให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และมีการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ จึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการโครงการด้านสังคมเชิงพื้นที่
ในระดับพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ทั้งในส่วนของแผนปฏิบัติงานและแผนคำของบประมาณเชิงพื้นท่ี
เพื่อตอบสนองความต้องการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการสงั คมทีส่ อดคลอ้ งกับพ้นื ทแี่ ละยุทธศาสตร์อยา่ งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพนื้ ที่รบั ผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

2

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 จึงได้จัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมและคาดการณ์
แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน
วิชาการ 6 ทคี่ รอบคลุม 7 จงั หวัด ได้แก่ จงั หวดั บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และ
อุบลราชธานี เพื่อเปน็ ขอ้ มูลประกอบการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการดา้ นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม
การจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ
เครือข่ายท่เี กย่ี วข้องใหเ้ หมาะสมสอดคล้องกบั บรบิ ทของ พม.ต่อไป

1.2 วัตถปุ ระสงค์

(1) เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รบั ผิดชอบของ
สำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนุนวชิ าการ 6

(2) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน
ส่งเสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6

(3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ
สำนกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6

1.3 วิธีการดำเนินงาน

ในปีงบประมาณ 2565 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 มีการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนงาน
ดังน้ี

(1) เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางและกำหนดรูปแบบการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับ
กลมุ่ จงั หวัด ประจำปี 2565 ระหว่างสำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนุนวิชาการ 1-11,กองมาตรฐานการพัฒนาสังคม
และความมน่ั คงของมนษุ ย์ ,สำนกั งานพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์จงั หวัด

(2) การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดในเขต
พ้นื ทรี่ บั ผดิ ชอบของสำนกั งานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6

(3) ประชุมทบทวนการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2565
ของ 7 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 (บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ
และอุบลราชธานี )

(4) ประชุมถอดบทเรยี นการจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลุ่มจงั หวดั ประจำปี 2565
(5) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์และการติดตามการนำไปใชป้ ระโยชน์ผ่านช่องทางตา่ ง ๆ

1.4 ประโยชน์ที่คาดวา่ จะได้รับ

(1) มีข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมระดับพื้นที่ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถใช้ประโยชน์
ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสงั คม

(2) หน่วยงานระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด สามารถนำข้อมูลในพื้นที่ไปใช้ในการกำหนดนโยบาย
แผนงาน โครงการ ในการคุม้ ครอง ปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หาทางสงั คมในระดับพน้ื ท่ี และหนว่ ยงานระดบั กระทรวง
สามารถนำข้อมูลในภาพรวมไปใช้ประโยชน์วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาทางสังคมที่สำคัญและกำหนดนโยบาย
แผนงานในการป้องกนั และแก้ไขปัญหาสงั คมภาพรวมต่อไป

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ที่รับผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

3

สว่ นท่ี 2 ข้อมลู พ้ืนฐาน

ในพนื้ ท่กี ล่มุ จังหวดั ในเขตรับผิดชอบของ สสว.6

(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธ์ุ อำนาจเจริญและอบุ ลราชธาน)ี

2.1 ทีต่ ง้ั และอาณาเขต

ตารางท่ี 1 แสดงทีต่ ้งั และอาณาเขตพ้ืนที่กลุ่มจงั หวดั ในเขตรับผดิ ชอบของ สสว.6

พ้ืนท่ี จำนวนประชากร ความหนาแนน่
(คน) ของประชากร
จงั หวดั ตารางกโิ ลเมตร ไร่ (ตร.กม./คน)

บงึ กาฬ 4,306 269,062 421,995 98:1

นครพนม 5,528.88 3,474,437 717,040 130:1

สกลนคร 9,605.76 6,003,603 1,146,286 119:1

มุกดาหาร 4,339.83 2,712,400 351,484 81:1

กาฬสนิ ธ์ุ 6,947 4,341,716 975,570 140:1

อำนาจเจริญ 3,161.29 1,975,780 376,350 119:1

อุบลราชธานี 15,774 9,858,750 1,868,519 118:1

รวม 49,662.51 28,635,748 5,857,244 118:1

ทม่ี า: ระบบสถิติทางทะเบียน กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th ณ 31 ธันวาคม 2564
แผนภมู ทิ ี่ 1 แสดงความหนาแนน่ ของประชากร 7 จังหวัดในเขตพืน้ ทรี่ ับผดิ ชอบของ สสว.6

จากตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1 พบว่า 7 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 6 มีพื้นที่ทั้งหมด 49662.51 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 28,635,748 ไร่ และมีประชากร
ทั้งหมด 5,857,244 คน โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 1 คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ 15,774 ตาราง
กิโลเมตร หรือ 9,858,750 ไร่ รองลงมา คือ จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ 9,605.76 ตารางกิโลเมตร 6,003,603 ไร่
และจังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ 3,161.29 ตารางกิโลเมตร 1,975,780 ไร่ และ
ความหนาแน่นของประชากร พบว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด 140 ตร.กม./คน
รองลงมา คือ จงั หวัดนครพนม 130 ตร.กม./คน

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพน้ื ที่รบั ผิดชอบของสำนักงานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

4

❖ ที่ตั้ง
แผนภาพท่ี 1 แสดง 7 จังหวดั ในเขตพ้ืนท่รี บั ผิดชอบของ สสว. 6

จากแผนภาพที่ 1 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6 (สสว.6)
ประกอบดว้ ย 7 จังหวดั ได้แก่ จังหวดั บงึ กาฬ จงั หวดั นครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร จงั หวัดกาฬสินธ์ุ
จงั หวัดอำนาจเจริญ และจังหวดั อบุ ลราชธานี โดยมที ี่ตง้ั และอาณาเขต ดังน้ี

จังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร และกาฬสินธ์ุ ต้ังอยู่ในกลุ่มจังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยจังหวัดบึงกาฬ มีที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 741 กิโลเมตร จังหวัด
นครพนม มีที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 740 กิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดนของประเทศไทย มีลักษณะเป็น
แนวยาวตามฝ่งั แมน่ ำ้ โขงประมาณ 153 กโิ ลเมตร ตงั้ อยู่ระหว่างละติจดู ท่ี 16-18 องศาเหนอื และลองตจิ ดู ที่ 104-
105 องศาตะวันออก จงั หวัดมกุ ดาหาร เป็นจังหวดั ชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ตั้งอยู่เส้นรุ้งที่ 16-17 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 104 -105
องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 642 กิโลเมตร จังหวดั กาฬสินธ์ุ ตัง้ อยู่ระหว่างเสน้ รุ้งท่ี 16
- 17 องศาเหนอื และเส้นแวงที่ 103 -104 องศาตะวันออก อยหู่ ่างจาก กรุงเทพมหานคร ประมาณ 520 กโิ ลเมตร

จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
โดยจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 - 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 104 - 105 องศาตะวันออก
อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 568 กิโลเมตร และจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่เส้นแวง 105 องศา
ตะวันออก โดยเปน็ จงั หวดั แรกท่ีได้เหน็ ดวงอาทิตย์กอ่ นพนื้ ทีอ่ ่นื ๆ ท่ัวประเทศ

❖ อาณาเขตของกล่มุ จังหวัดในเขตพืน้ ท่รี บั ผิดชอบของ สสว.6 มีดงั น้ี
ทิศเหนอื ติดตอ่ แขวงบอลิคาไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี
แมน่ ้ำโขงเปน็ เสน้ กนั้ พรมแดน
ทศิ ตะวันออก ตดิ ต่อ กับแขวงคำม่วน และแขวงบลคิ ำไช แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรฐั
ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว สปป.ลาว โดยมีแมน่ ้ำโขงเป็นเสน้ กน้ั พรมแดน
ทศิ ตะวันตก ตดิ ตอ่ จงั หวดั ศรสี ะเกษ จังหวัดยโสธร จงั หวัดสารคาม จงั หวดั ขอนแก่น
ทิศใต้ ตดิ ต่อ จงั หวัดศรีสะเกษ และราชอาณาจักรกมั พูชา

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวัดในเขตพนื้ ท่ีรับผดิ ชอบของสำนกั งานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)

5

2.2 ลักษณะภมู ปิ ระเทศ

จังหวัดบึงกาฬ มีลักษณะภูมิประเทศของจังหวัด โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกได้เป็น 3 บริเวณคือ
(1) พ้ืนทเ่ี ป็นคล่ืนลอนลาด กระจายอยทู่ กุ อำเภอเปน็ หยอ่ มๆ ซ่ึงเปน็ พ้ืนทีท่ ำนาสว่ นใหญ่

ปลกู พชื ไร่ พืชสวน และปา่ ธรรมชาติ
(2) พื้นที่เป็นคลื่นลอนชันและเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณ
(3) สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มคี วามสูงชนั จากระดับน้ำทะเลตัง้ แต่ 200 เมตร เป็นบริเวณ

เทอื กเขาต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองบงึ กาฬ อำเภอบ่งุ คล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง
จังหวัดนครพนม เป็นที่ราบลุ่มมีที่ราบสูงและภูเขาอยู่บ้างมีแม่น้ำสายสั้น ๆ เป็นสาขาย่อยแยกจาก

แม่น้ำโขงมาหล่อเลี้ยงความอุดมสมบูรณ์ภายในพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน นครพนม จึงนับว่าเป็น
จังหวัดท่มี แี หล่งนำ้ ท่ีสมบูรณ์มาก ดา้ นตะวนั ออกมีแมน่ ้ำโขงทอดยาวกนั้ พรมแดนระหว่างประเทศไทยกบั ลาว และ
จังหวัดนครพนมมีจุดผ่านแดนไปประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด
จุดผ่านแดนทีส่ ำคัญและเป็นสากล คือ ดา่ นสะพานมติ รภาพไทย-ลาว แห่งท่ี 3 ซงึ่ เป็นประตูไปสู่อินโดจนี

จังหวัดมุกดาหาร ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาภูพาน
มีลักษณะเป็นป่าไม้ บางแห่งเป็นป่าทึบ ส่วนทิศตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ และมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นก้ัน
พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความยาวประมาณ 72 กม.มีพื้นที่ราบ
ร้อยละ 20 ของพื้นที่ทัง้ จงั หวัด ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มีพ้ืนที่ป่าไมป้ ระมาณ 953,300 ไร่คิดเป็น
รอ้ ยละ 35.15 ของพ้นื ทจ่ี งั หวดั

จงั หวัดสกลนคร โดยท่ัวไปเป็นทรี่ าบสูง สูงกวา่ ระดบั นำ้ ทะเลโดยเฉลย่ี ประมาณ 172 เมตรดา้ นทิศเหนือ
ของจังหวัด (บริเวณอำเภอบ้านม่วง อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภออากาศอำนวยและ
อำเภอเจริญศิลป์) มีลกั ษณะภูมิประเทศเปน็ ที่ราบลุ่มลอนคลื่นไม่สมำ่ เสมอกัน ใช้นำ้ จากลำหว้ ยสาขาในการทำนา
ทิศเหนือของอำเภออากาศอำนวยเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง เนื่องจากติดกับแม่น้ำสงคราม ทำให้เหมาะแก่การทำนา
กว่าพื้นที่โดยรอบ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทาม ที่ขึ้นริมน้ำและปล่อยรกร้างว่างเปล่า ส่วนทางตอนใต้มีลักษณะ
เปน็ แอง่ กระทะขนาดใหญ่ เรียกว่าแอง่ สกลนคร จุดต่ำสดุ ของแอ่งคือ ทะเลสาบ หนองหาน อำเภอเมอื งสกลนคร
และหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม นอกจากนี้ยังมีทิวเขาภูพานทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้บริเวณ
อำเภอภูพานและอำเภอกุดบากมีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับที่ราบลูกคลื่นที่อยู่ช่วงกลางระหว่าง
ทวิ เขาภูพานในเขตจงั หวัดกาฬสินธ์แุ ละจังหวัดสกลนคร

จงั หวัดกาฬสนิ ธ์ุ มีลกั ษณะภมู ปิ ระเทศแบ่งออกไดเ้ ป็น 3 ลกั ษณะ ได้แก่
(1) ลักษณะพืน้ ที่ตอนบน ได้แก่ บริเวณอำเภอท่าคนั โท อำเภอคำมว่ ง อำเภอสามชัย อำเภอนาคู

และอำเภอเขาวง ซึ่งเป็นบริเวณแนวเทือกเขาภูพาน มีภูเขาสลับซับซ้อน และมีที่ราบในบริเวณระหว่างหุบเขา
สลับกับป่าทึบ ได้แก่ ป่าดงมูล และป่าดงแม่เผด บริเวณดังกล่าวเป็นแหลง่ ต้นน้ำลำธารหลอ่ เลี้ยงจังหวัดกาฬสินธุ์
ทสี่ ำคญั ได้แก่ ลำน้ำปาว และลำนำ้ พาน มีเขอื่ นลำปาวเพื่อเก็บกกั น้ำไว้ใชใ้ นการเพาะปลูกทั้งในฤดฝู นและฤดูแลง้

(2) ลักษณะพื้นที่ตอนกลาง ได้แก่ บริเวณอำเภอหนองกุงศรี อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสมเด็จ
อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอนามน อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอห้วยเม็ก ลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับกับ
ป่าโปร่งและทุ่งราบ

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพ้นื ทร่ี บั ผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

6

3) ลักษณะพื้นที่ตอนล่าง ได้แก่ บริเวณอำเภอยางตลาด อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอร่องคำ
อำเภอกมลาไสย อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบต่ำเป็นแหล่งเพาะปลูก
ที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบริเวณที่รับน้ำชลประทาน จากโครงการชลประทานลำปาว และมีลำน้ำชี
ลำน้ำพาน ลำห้วย บงึ และ หนองนำ้ ทั่วไป

จังหวัดอำนาจเจริญ โดยทั่วไปเป็นที่ลุ่มมีเนินเขาเตี้ยๆ ทอดยาวไปจรดจังหวัดอุบลราชธานี ที่อำเภอ
ชานมุ าน ตง้ั อยสู่ งู จากระดบั น้ำทะเลปานกลางเฉลยี่ ประมาณ 68 เมตร (227 ฟตุ ) สภาพดินโดยท่วั ไป เป็นดินร่วน
ปนทรายและดนิ ลูกรังบางสว่ น มลี ำน้ำสายใหญไ่ หลผา่ น ไดแ้ ก่ ลำเซบก และลำเซบาย

จงั หวัดอบุ ลราชธานี ตงั้ อยู่บริเวณท่ีเรยี กว่า แอ่งโคราช (Korat basin) สูงจากระดบั นำ้ ทะเลปานกลาง
เฉลี่ย ๖๘ เมตร (๒๒๗ ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไป เป็นที่ราบสูงต่ำสลับกัน ลาดเอียงไปทางตะวันออก มีแม่น้ำมูลไหล
ผ่านกลางจังหวัด จากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออก ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม มีลำน้ำสำคัญ ได้แก่
ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาซับซ้อนหลายแห่งบริเวณชายแดนทางตอนใต้มีเทือกเขา
ทส่ี ำคัญ คอื เทอื กเขาบรรทัด และเทือกเขาพนมดงรัก ซ่งึ กนั้ อาณาเขตระหวา่ งจงั หวัดอุบลราชธานี กบั สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา

2.3 ลกั ษณะภมู ิอากาศ

จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬอยู่ในแถบร้อนและแห้งแล้ว (ธันวาคม-มกราคม) ในฤดูมรสุม
ตะวนั ออกเฉียงเหนืออณุ หภูมจิ ะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในช่วงเดอื นธนั วาคมถึงมกราคม ในชว่ งเดือน
มีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นฤดูเปลี่ยนมรสมุ เหนือ อณุ หภมู ิจะสงู ข้ึนอย่างรวดเรว็ ในเดือนมีนาคมและร้อนจัดในเดือน
เมษายน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มิถุนายน-กรกฎาคม) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลง ในเดือนตุลาคมเป็นฤดู
เปล่ยี นมรสมุ ใต้ อณุ หภูมจิ ะเริม่ ลดลงจนอากาศหนาวเย็น

จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ที่พัดปกคลุม และอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งพายุจาก
ทะเลจีนใต้ที่เคลื่อนผ่านหรือเคลื่อนเข้าใกล้ฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
แบง่ ออกเป็น 3 ฤดู ฤดรู อ้ น เริม่ ต้งั แต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม ของทกุ ปี ฤดูร้อนจะมีอากาศ
ร้อนอบอ้าว อุณหภมู เิ ฉลี่ย 25 - 35 องศาเซลเซียส และมอี ณุ หภมู สิ ูงสุดอยู่ระหวา่ ง 37 - 41 องศาเซลเซยี ส ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคมของทุกปี ในบางส่วนของจังหวัด มีฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่
อำเภอทอ่ี ยู่รมิ ฝ่ังแมน่ ้ำโขงจะประสบอุทกภัยได้รบั ความเสยี หายเปน็ ประจำทุกปี เช่น อำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน
และอำเภอบ้านแพง เป็นต้น ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยทั่วไป
อากาศ จะหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 16 - 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในช่วง 8 - 15 องศาเซลเซียส
แตก่ ็มีบางปีทอ่ี ุณหภมู ิตำ่ สดุ อาจจะต่ำกวา่ น้นั ได้

จังหวัดมุกดาหาร ภูมิอากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนในฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน
พฤษภาคม ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว
ระหวา่ งกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ.2563 มอี ุณหภูมเิ ฉลี่ย 27.9 องศาเซลเซยี ส อุณหภูมิต่ำสุด
12.2 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม และสูงสุด 41.6 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ความชื้นสัมพัทธ์เฉล่ีย
ร้อยละ 70.5 มปี ริมาณน้ำฝนทงั้ ปี วดั ได้ 1,586.9 มิลลเิ มตร

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวัดในเขตพ้นื ทรี่ ับผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

7

จังหวัดสกลนคร จังหวัดสกลนคร มี 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือน

ตลุ าคม ฝนทีต่ กส่วนมากเป็นฝนท่ีเกิดจากพายุดีเปรสช่ันทเ่ี คล่ือนตัวมาจากทะเลจีนใต้ ฤดูหนาว เร่ิมเดือนตุลาคม

ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีลักษณะอากาศหนาวอย่างชัดเจน ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์

ถงึ กลางเดอื นพฤษภาคม

จังหวัดกาฬสินธ์ุ ภูมิอากาศโดยทั่วไปมีอากาศร้อนและค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ฤดูฝน เริ่มประมาณ

เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1463.2 มิลิลเมตรต่อปี เดือนกันยายน

เป็นเดือนที่ฝนตกมากที่สุด ประมาณ 430.6 มิลิเมตร อุณหภูมิสุงสุดในเดือนเมษายน 41.9 องศาเซลเซียส

ต่ำสดุ ในเดือนมกราคม 16.0 องศาเซลเซียส

จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของจังหวัดอื่น ๆ ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนเรื่อยไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม และ
มักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกัน
ในแต่ละปี และในช่วงปลายฤดูฝน มักจะมีพายุดีเปรสชั่นฝนตกชุกบางปีอาจมีภาวะ น้ำท่วมแต่ภาวการณ์
ไม่รุนแรงนัก ฤดูหนาว เนื่องจากเป็นจังหวัดท่ีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธพิ ลลมมรสมุ
ตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและจะสิ้นสุดปลายเดือน
กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน ถึงแม้ว่าเคยปรากฏบ่อยครั้งว่าอากาศยังคงหนาวเย็นยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์
โดยส่วนใหญ่แล้วอากาศจะ เริ่มอบอ้าว ในเดือนมีนาคมไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งอาจจะมีฝน
เรม่ิ ตกอยูบ่ ้างในปลายเดือนเมษายน แต่ปรมิ าณน้ำฝนมักจะไม่เพียงพอสำหรบั การเพาะปลูก นอกจากนั้นลักษณะ
ภูมิอากาศทั่วไปคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จะมีอากาศร้อน ในฤดูหนาว
คอ่ นขา้ งหนาว

จังหวดั อบุ ลราชธานี แบง่ เปน็ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน จะเริ่มตงั้ แต่เดอื นพฤษภาคมเรือ่ ยไปจนถึงปลายเดือน

ตุลาคม ฤดูหนาวเนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุม

ตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงต้ังแต่เดือนตุลาคมและจะสิ้นสุดปลายเดือนมกราคม

ฤดูร้อน ส่วนใหญ่อากาศจะเรมิ่ อบอ้าว ในเดอื นกุมภาพันธไ์ ปจนถงึ เดือนพฤษภาคม

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพน้ื ท่ีรบั ผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)

8

2.4 ด้านการปกครอง

ตารางท่ี 2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพ้ืนท่ีกลมุ่ จังหวดั ในเขตรบั ผดิ ชอบของ สสว.6

(หน่วย:แหง่ )

จงั หวดั อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน อบจ. เทศบาลนคร เทศบาล เทศบาล อบต.
เมือง ตำบล

บึงกาฬ 8 53 617 1 0 1 17 39
นครพนม 12 99 1,153 1 0 1 21 81
สกลนคร 18 125 1,564 1 1 0 65 74
มกุ ดาหาร 7 52 526 1 0 1 24 29
กาฬสินธุ์ 18 135 1,585 1 0 2 77 71

อำนาจเจริญ 7 56 653 1 0 1 20 42

อุบลราชธานี 25 219 2,704 1 1 4 54 199

รวม 95 739 8,802 7 2 10 278 535

ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564

จากตารางที่ 2 แสดงจำนวนเขตการปกครองพื้นที่กลุ่มจังหวัดในเขตรับผิดชอบสำนักงานส่งเสริมและ

สนับสนุนวิชาการ 6 มีพ้ืนที่รับผิดชอบ จำนวน 7 จังหวัด ประกอบด้วย 95 อำเภอ 739 ตำบล 8,802 หมู่บ้าน

มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 832 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 7 แห่ง เทศบาลนคร 2 แห่ง

เทศบาลเมือง 10 แหง่ เทศบาลตำบล 278 แหง่ และองคก์ ารบริหารส่วนตำบล 535 แหง่ จงั หวดั ที่มีพื้นที่ทางการ

ปกครองมากทส่ี ดุ ไดแ้ ก่ จังหวดั อบุ ลราชธานี มจี ำนวนท้งั ส้ิน 25 อำเภอ 219 ตำบล 2,704 หมบู่ า้ น และจังหวัดท่ี

มีพน้ื ท่ที างการปกครองนอ้ ยทส่ี ุด ได้แก่ จังหวดั มกุ ดาหาร ประกอบดว้ ย 7 อำเภอ 52 ตำบล 526 หมู่บ้าน

2.5 ด้านประชากร

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จำแนกตามเพศ และจังหวดั ในเขตพ้ืนทรี่ บั ผิดชอบ สสว.6

(หนว่ ย : คน)

จงั หวัด อายุ ๐-๑๗ ปี รวม อายุ ๑๘ – ๒๕ ปี รวม อายุ ๒๖ – ๕๙ ปี อายุ ๖๐ ปขี ึ้นไป รวมทง้ั หมด
บงึ กาฬ ชาย หญิง 93,465 ชาย หญิง 45,683 ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
นครพนม 48,033 45,432 148,281 22,943 22,740 81,122 110,867 108,873 219,740 29,651 33,456 63,107 421,995
สกลนคร 76,122 72,159 237,338 40,917 40,205 124,725 188,781 184,339 373,120 51,276 63,241 114,517 717,040
มุกดาหาร 121,392 115,946 73,389 62,747 61,978 37,178 303,584 300,059 603,643 81,641 98,939 180,580 1,146,286
กาฬสนิ ธุ์ 37,491 35,898 184,376 18,618 18,560 95,883 93,728 91,410 185,138 25,796 29,983 55,779 351,484
อานาจเจริญ 94,640 89,736 73,907 48,363 47,520 39,577 261,862 261,784 523,646 77,123 171,665 171,665 975,570
อบุ ลราชธานี 37,984 35,923 390,229 19,777 19,800 212,105 99,418 98,040 197,458 29,943 35,465 65,408 376,350
200,390 189,839 1,200,985 107,789 104,316 636,273 484,358 478,107 962,465 139,929 163,791 303,720 1,868,519
รวม 616,052 584,933 321,154 315,119 1,542,598 1,522,612 3,065,210 435,359 596,540 954,776 5,857,244

ท่มี า : ระบบสถติ ทิ างทะเบียน กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th ณ 31 ธนั วาคม 2564

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพ้ืนท่ีรบั ผิดชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

9

แผนภูมทิ ่ี 2 แสดงจำนวนประชากรในเขตพ้ืนทร่ี บั ผิดชอบของ สสว.6

ท่ีมา : ระบบสถติ ทิ างทะเบยี น กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th ณ 31 ธนั วาคม 2564
จากตารางท่ี 3 และแผนภูมิที่ 2 แสดงจำนวนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 พบว่า ในเขต

พื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,857,244 คน แบ่งเป็นประชากรเพศชาย 2,915,163 คน
ประชากรเพศหญิง 2,942,081 คน เมื่อเปรียบเทียบรายจังหวัดพบว่า จังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด คือ
จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 1,868,519 คน รองลงมาคือจังหวัดสกลนคร มีจำนวน 1,146,286 คน ตามลำดบั
ประชากรส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในระหว่าง 26-59 ปี จำนวน 3,065,210 คน คิดเป็นร้อยละ 52.3 ของประชากร
ทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถงึ จำนวนประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) พบว่า กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่
รับผิดชอบ สสว.6 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 954,776 คน คิดเป็นร้อยละ 16.3
ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด (สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมที่ประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในพื้นที่น้ัน
มจี ำนวนตง้ั แต่ร้อยละ 10 ขึน้ ไป )

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพน้ื ทีร่ บั ผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

10

2.6 ด้านศาสนา ประเพณี วฒั นธรรม และขอ้ มูลชาติพันธ์

❖จงั หวดั บึงกาฬ
เป็นจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองที่สำคัญของจังหวัดแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีสภาพแวดล้อม ที่สมบูรณ์ แวดล้อม

ไปด้วยภูเขาและนำ้ ตกทส่ี วยงาม โดยมปี ระเพณีที่สำคญั คือ เทศกาลบญุ บัง้ ไฟ เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีแข่งขัน
เรือยาว วันยางพาราบึงกาฬ ดังคำขวัญของจังหวัด “ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง
บงึ โขงหลงเพลินใจ นำ้ ตกใสเจ็ดสี ประเพณแี ข่งเรือ เหนือสดุ แดนอสี าน นมสั การองคพ์ ระใหญ่ ”

❖ จังหวัดนครพนม
เปน็ เมอื งชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทวิ ทศั น์ และมคี วามหลากหลายของวัฒนธรรม

และชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีองค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นพระธาตุเจดยี ์ อันศักดิ์สิทธิ์ ภายในบรรจุ
พระอุรังคธาตุ เป็นที่สักการะ ศูนย์รวมจิตใจ ความศรัทธาของชาวจังหวัดนครพนม ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง
นครพนมมาแต่โบราณกาลกว่า 2500 ปี นอกจากนี้ ยังมีพระธาตุอื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่
พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น
ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้ และเป็นจังหวัดชายแดนริมโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขกของลาว เป็นเมืองเก่าแก่
เคียงคู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ โดยมีคำขวัญของจังหวัด “ พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย
เรณูผู้ไท เรอื ไฟโสภา งามตาฝงั่ โขง ”

❖ จังหวัดมุกดาหาร
เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในแอ่งสกลนคร เป็นจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของภาคอีสาน ภูมิประเทศติดกับ

แม่น้ำโขง มีหอแก้วมุกดาหารและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย เช่นอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ภูสระ
ดอกบัว วัดภูมโนรมย์ เป็นต้น ประชาชนจังหวดั มุกดาหาร มีถึง 8 ชนเผ่า อันได้แก่ ชาวผู้ไท ชาวไทยญ้อ ชาวไทย
ข่าชาวไทยโซ่ ชาวไทยกะเลิง ชาวไทยแสก ชาวไทยกุลา และชาวไทยอีสาน ดังคำขวัญของจังหวัด “หอแก้วสูง
เสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดชนเผ่าพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กองโบราณล้ำเลศิ ถิ่นกำเนิดลำผญา
ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน ”ชาวมุกดาหารส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่
สำคัญ และยังคงถือปฏิบัติสืบต่อกันมา คือ “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” และยังคงมีวัฒนธรรม ประเพณีของชนเผ่าที่
ควรอนุรักษ์ ฟื้นฟูและยังคงมีอยู่ คือ ถั่งบั้ง พิธีเหยา พิธีบายศรีสู่ขวัญ การรำเต้ยหัวดอนตาล การรำวงผู้ไท

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพนื้ ทรี่ ับผิดชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

11

การลำผญา เป็นต้น งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับ
แขวงสะหวันนะเขต จัดขึ้นในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี งานกาชาดและงานประจำปีจังหวัดมุกดาหาร
จัดขนึ้ เป็นประจำทุกปีในชว่ งเดอื นมกราคม

❖ จงั หวดั สกลนคร
มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์บริเวณแนว

ทิวเขาภูพาน อำเภอวาริชภูมิ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดสกลนครอยู่ร่วมสมัย
เดียวกับอารยธรรมบ้านเชยี งในจังหวดั อดุ รธานี จากการสำรวจแหลง่ ชุมชนโบราณในพ้นื ท่ี แอ่งสกลนคร บริเวณลุ่ม
แม่น้ำสงครามครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอบ้านดุง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อำเภอสว่างแดนดิน
อำเภอวาริชภมู ิ อำเภอพงั โคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอพรรณานคิ ม และรอบ ๆ หนองหาน อำเภอเมอื งสกลนคร
พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวน 83 แห่ง ชุมชนโบราณของ แอ่งสกลนครนี้มีอายุประมาณ 600 ปี
ก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 8 (ระหว่าง 3,000-1,800 ปีมาแล้ว) จากหลักฐานการค้นพบต่าง ๆ ของที่น่ี
พบว่า ชุมชนโบราณในแอ่งสกลนครได้มีการรวมตัวกันเป็นสังคมขนาดใหญ่และอาจจะพัฒนาเป็นสังคมเมืองใน
สมัยต่อมา สกลนครเป็นแหล่งธรรมะ(ดินแดนแห่งธรรม)มีปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแหง่ เชน่
พระธาตุเชิงชุม พระธาตุดูม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุศรีมงคล พระธาตุภูเพ็ก และมีพระเกจิอาจารย์ดัง
ที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่หลุย จันทสาโร,
พระอาจารย์วัน อุตตโม และหลวงปู่เทสก์เทสก์รังสี เป็นต้น ดังคำขวัญของจังหวัด “พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน
พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่อง หนองหาน แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธ
ธรรม”ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ เทศกาลนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุมและหลวงพ่อองค์แสนเทศกาลตรุษไทสกล
คนจีน เวียดนาม งานรวมน้ำใจไทสกลและงานกาชาดจังหวัดสกลนคร เทศกาลโส้รำลึก บุญข้าวจี่ เซิ้งผีโขน
วันวิสาขบชู า ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล ประเพณีแห่ดาว เทศกาล
ครสิ ต์มาส จงั หวัดสกลนคร

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพ้ืนที่รับผิดชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

12

❖จังหวดั กาฬสินธ์ุ
จังหวัดกาฬสินธุ์มีการสืบสานประเพณีท้องถิ่นอีสาน “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” เช่น งานมหกรรม โปงลาง

แพรวา และงานกาชาด งานมหกรรมวจิ ติ รแพรวาราชินีแห่งไหม งานบุญบัง้ ไฟตะไลล้าน บา้ นกดุ หว้า งานสรงน้ำ
พระธาตยุ าคู งานประเพณีตกั บาตรเทโวโรหณะ งานบุญคูณลาน และมหกรรม เสง็ กลองก่ิง ประเพณีท้องถิ่นอีสาน
“ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” คำว่า “ฮีต” คือ “จารีต และ “สิบสอง” หมายถึงสิบสองเดือน ดังนั้น “ฮีตสิบสอง”
จึงหมายถึงประเพณีที่ชาวลาวในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปีเป็นการ
ผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตรเข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ขณะท่ี
“คองสิบส่ี” เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับ “ฮีตสิบสอง”คำว่า “คอง” แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง ธรรมเนียม
ประเพณี และ “สิบส่ี” หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้น “คองสิบสี่” จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือ
แนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และ คนธรรมดา
สามญั พึงปฏิบตั ิสิบส่ขี อ้

นอกนีย้ งั มวี ัฒนธรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลกั ษณ์ อยา่ ง “วัฒนธรรมภูไท” หรือ“วฒั นธรรมผู้ไท”ชาวผู้ไท
เป็น ชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันออกของเมืองสะหวันนะเขต
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปจั จบุ ัน และแยกยา้ ยกันต้ังหลักแหลง่ อยูบ่ ริเวณเทือกเขาภูพาน
ในเขต 3 จังหวัด คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม โดยชาว ผู้ไทจังหวัดกาฬสินธุ์
อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเขาวง อำเภอ กุฉินารายณ์ อำเภอสหัสขันธ์อำเภอคำม่วง ชาวผู้ไท จะมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว
เช่น วัฒนธรรมการแตง่ กาย การฟ้อน ลกั ษณะ การสร้างบ้านเรือน ลกั ษณะทางสงั คม และวิถชี ีวิต เปน็ ต้น

❖จังหวดั อำนาจเจรญิ
อำนาจเจริญ เป็นจังหวัด มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ

โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรคน้ พบและสนั นิษฐานไวต้ ามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุ
ราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี คำว่าอำนาจเจริญเป็นคำยืมจากภาษาเขมร มีความหมาย
ตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี โดยชาวอำนาจเจริญ ปฏิบัติ
สืบเนอ่ื งตอ่ มาจนปัจจุบัน คือ ฮตี สิบสอง ซึ่งเป็นจารีตประเพณีทป่ี ระชาชนนำมาปฏิบัตปิ ระจำเดือน ท้ัง ๑๒ เดือน
ในรอบปี เป็นประเพณีการทำบุญประจำเดือนที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาโดยจัดงานฮีตสิบสองและงานกาชาดให้
เป็นงานประจำปี ในวันที่ ๑-๑๐ ธันวาคม ของทุกปี และมีงานประเพณีประจำปีที่สำคัญ ได้แก่ งานนมัสการ
พระมงคลมิ่งเมือง (พระใหญ่) งานนมัสการพระเหลาเทพนิมิต งานบุญคูนลาน งานบุญบั้งไฟ งานแข่งเรือยาว
ลอ่ งน้ำโขง งานครสู ลามายามบา้ น(งานมหรสรรพ)งานบญุ ข้าวจี่ และมีพิธีกรรมทอ้ งถน่ิ ไดแ้ ก่ การละเลน่ พนื้ บา้ น

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพน้ื ทรี่ บั ผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

13

การเส็งกลองกิ่ง วิถีชีวิตชนเผ่าภูไท พิธีกรรม รำผีไท้ ดังคำขวัญจังหวัด “พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรือง
เจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฏร์เลื่อมใส
ใฝ่ธรรม ”

❖ จงั หวดั อุบลราชธานี
มีภาษาถิ่นวัฒนธรรมและประเพณีที่โดดเด่น คือประเพณีแห่เทียนพรรษาทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานีและ

สถานที่ท่องเทีย่ วทางธรรมชาติอีกมากมายไม่ว่าจะเปน็ ผาแต้ม ผาชนะได สามพันโบก เสาเฉลียง น้ำตกแสงจันทร์
และ ความงามตามธรรมชาติของแม่น้ำโขง ดังคำขวัญของจังหวัด “เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี
มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ไฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อน
ประวัติศาสตร์ ” ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือเป็นจังหวัดที่แม่น้ำสายสำคัญทั้งหมดของภาคอีสานทั้งโขงชีมูล
ไหลมาบรรจบกัน โดยแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมารวมกันที่อำเภอวารินชำราบซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสถานีรถไฟ
หลักที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเช่นจังหวัดอื่น ๆ ทั่วไป ส่วนสถานที่ราชการศาลากลางประจำจังหวัด สนามบิน
อุบลราชธานีอยู่ฝั่งอำเภอเมืองซึ่งเชื่อมกับอำเภอวารินด้วยสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี และสะพานเสรี
ประชาธิปไตย โดยมีแม่น้ำมูลไหลกั้นทุ่งศรีเมืองและอำเภอวารินชำราบ ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำโขงบริเวณ
จุดชมวิวทางธรรมชาติ โขงสีปูน มูลสีคราม อำเภอโขงเจียมต่อไป และจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่ง
แม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี และ แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองยุคก่อนประวัติศาสตร์
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดบ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ในตัวอำเภอเมือง กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเมื่อปี 2539
พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น ลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา การทำโลหะผสม กระพรวนสำริด ขวานเหล็ก และ
แกลบข้าวจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุ
ระหว่าง 2,500-2,800 ปีมาแลว้ อยูใ่ นยุคโลหะตอนปลาย

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

14

2.7 ด้านสาธารณสขุ

ตารางท่ี 4 แสดงจำนวนหนว่ ยบริการสาธารณสขุ ภาครฐั และภาคเอกชน จำแนกตามระดับสถานพยาบาล

จำแนกตามจังหวัดในเขตพ้ืนทร่ี บั ผิดชอบของ สสว.6

(หน่วย:แหง่ )

จังหวดั โรงพยาบาลสงั กดั ภาครฐั (แห่ง) โรงพยาบาล รวม

สังกดั เอกชน

(แหง่ )

รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. อนื่ ๆ

บงึ กาฬ 0 1 7 61 8 0 77

นครพนม 0 1 11 152 2 0 166

สกลนคร 1 2 15 168 3 1 190

มุกดาหาร 0 1 6 78 4 1 90

กาฬสนิ ธ์ุ 0 1 17 156 4 2 180

อำนาจเจรญิ 0 1 6 77 4 0 88

อบุ ลราชธานี 1 3 22 317 38 4 385

รวม 2 10 84 1,009 63 8 1,176

ทม่ี า : HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ ณ วนั ที่ 25 กรกฎาคม 2565
หมายเหตุ. รพศ.=โรงพยาบาลศนู ย์

รพท. = โรงพยาบาลทัว่ ไป
รพ.สต. = โรงพยาบาลส่งเสรมิ สุขภาพตำบล
รพช. = โรงพยาบาลชมุ ชน
อนื่ ๆ = ศูนยส์ ขุ ภาพชุมชน

จากตารางที่ 4 ข้อมูลแสดงจำนวนหน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ของ สสว.6 พบว่า มีจำนวนหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 ทั้งสิ้น 1,176 แห่ง
แบ่งออกเป็นโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) จำนวน 2 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) จำนวน 10 แห่ง โรงพยาบาล
ชุมชน (รพช.) จำนวน 84 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 1,009 แห่ง และโรงพยาบาล
เอกชน จำนวน 8 แห่ง จังหวัดที่มีหน่วยบริการสาธารณสุขมากที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวน 385 แห่ง
รองลงมา คือ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และ
จังหวัดบึงกาฬ ตามลำดับ ทั้งนี้จากการเปรียบเทียบจำนวน รพ.สต. กับจำนวนตำบลทัง้ หมดในพื้นที่ทั้ง 7 จังหวัด
พบว่า ทุกจังหวัดมี รพ.สต. ประจำตำบลมากกว่า 1 แห่ง ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ
สาธารสุขเบอ้ื งต้นในพืน้ ทไ่ี ด้อย่างทว่ั ถึง

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพ้ืนท่รี บั ผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

ตารางท่ี 5 แสดงจำนวนประชากรตอ่ แพทย์รายจงั หวัด 15

(หนว่ ย : คน)

จังหวัด แพทย์ ประชากร ประชากรต่อแพทย์ 1 คน

บงึ กาฬ 439 421,995 961

นครพนม 452 717,040 1,586

สกลนคร 1,145 1,146,286 1,001

มุกดาหาร 368 351,484 955

กาฬสนิ ธุ์ 1,055 975,570 925

อำนาจเจริญ 371 376,350 1,014

อุบลราชธานี 6,291 1,868,519 297

รวม 10,121 5,857,244 579

ทม่ี า : HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ ขอ้ มลู ณ 31 มนี าคม 2565

แผนภูมทิ ่ี 3 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทยร์ ายจังหวดั ในเขตพื้นทร่ี ับผิดชอบของ สสว.6

แผนภมู แิ สดงสัดสว่ นประชากรตอ่ แพทย์ (ประชากร (คน)/แพทย์1คน)

อบุ ลราชธานี 297
อานาจเจรญิ
1,014 1,586
กาฬสินธุ์ 925
มุกดาหาร
สกลนคร 955
นครพนม 1,001

บึงกาฬ 961

ที่มา : ฐานขอ้ มูลสารสนเทศ กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ ข้อมลู ณ วนั ท่ี 31 มีนาคม 2565

จากตารางที่ 5 แผนภูมิที่ 3 แสดงจำนวนประชากรต่อแพทย์ของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ของสสว.6 มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,857,244 คน จำนวนแพทย์ทั้งหมด 10,121 คน คิดเป็นสัดส่วนจำนวน
ประชากร 579 คน ต่อแพทย์ 1 คน จังหวัดที่มีจำนวนประชากรต่อแพทย์คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด คือ จังหวัด
นครพนม มี 1,586 คน : 1 คน รองลงมา คือ จังหวดั อำนาจเจรญิ มี 1,014 คน : 1 คน จงั หวัดสกลนคร มี 1,001
: 1 คน ตามลำดับ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ประชากร 1,000 คน ขึ้นไป ควรมีแพทย์และ
พยาบาลผดงุ ครรภร์ วมกันประมาณ 4.5 คน จึงเปน็ ระดับที่เหมาะสม

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพนื้ ที่รับผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

16

ตารางที่ 6 แสดงสาเหตกุ ารตาย 5 อันดับแรกจากโรคสำคัญของจังหวดั ในเขตพน้ื ที่รับผิดชอบของ สสว.6 (หน่วย:คน)

โรควัยชรา หัวใจล้มเหลว การติดเชอ้ื ในกระแส หวั ใจ ความดนั โลหติ สงู

จงั หวดั ไม่ระบุ เลือด ไมร่ ะบุชนิด ล้มเหลว ไมท่ ราบสาเหตุ
รายละเอียด (ปฐมภูม)ิ

บงึ กาฬ 96 95 36 98 38

นครพนม 85 102 176 142 127

สกลนคร 601 243 135 266 720

มกุ ดาหาร 49 51 52 69 25

กาฬสนิ ธ์ุ 347 109 117 134 79

อำนาจเจริญ 25 35 34 46 27

อบุ ลราชธานี 761 308 258 438 130

รวม 1,964 943 808 1,193 1,146

ทมี่ า : HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ ขอ้ มูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

แผนภมู ิที่ 4 แสดงสาเหตุการตาย 5 อนั ดบั แรกจากโรคสำคญั ของจังหวดั ในเขตพื้นทีร่ บั ผดิ ชอบของ สสว.6

ที่มา : HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ https://hdcservice.moph.go.th/ ขอ้ มลู ณ วนั ท่ี 3 พฤษภาคม 2565
จากตารางที่ 6 และแผนภูมิที่ 4 แสดงสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกจากโรคสำคัญของจังหวัดในเขตพื้นที่

รับผิดชอบของ สสว.6 พบว่า สาเหตุการตาย 5 อันดับแรกของกลุ่มจังหวัด ได้แก่ อันดับ 1 โรควัยชรา จำนวน
1,964 คน อันดับ 2 โรคหัวใจล้มเหลว จำนวน 1,193 คน อันดับ 3 โรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ จำนวน
1,146 คน อันดับ 4 โรคหัวใจล้มเหลว ไม่ระบุรายละเอียด และอันดับ 5 การติดเชื้อในกระแสเลือด ไม่ระบุชนิด
943 คน ตามลำดับ

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพื้นทีร่ ับผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

17

2.8 ดา้ นการศึกษา

ตารางที่ 7 สถานศกึ ษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสังกัด รายจงั หวดั ปกี ารศึกษา 2564

(หนว่ ย:จำนวน:แห่ง)
จงั หวัด รายการสถานศึกษา (แหง่ )

ในระบบ นอก รวม

ระบบ

สพฐ. เอกชน อาชีว อดุ ม ทอ้ งถนิ่ สำนกั สถาบนั ตชด. กศน.

ศึกษา ศึกษา พุทธ ฯ บัณฑติ

พัฒนศลิ ป์

บงึ กาฬ 234 16 7 1 7 3 0 1 61 330

นครพนม 485 22 4 1 397 10 0 5 113 1,037

สกลนคร 657 46 24 4 503 8 2 1 19 1,264

มกุ ดาหาร 277 12 6 0 173 1 0 1 64 534

กาฬสินธ์ุ 591 51 18 1 439 10 1 0 154 1,265

อำนาจเจริญ 275 11 7 0 197 5 0 3 65 563

อบุ ลราชธานี 1,120 90 28 5 39 26 3 10 25 1,346

รวม 3,639 248 94 12 1,755 63 6 21 501 6,339

ท่มี า : ศูนย์เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร สำนักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ ณ วนั ท่ี 31 มนี าคม 2565

แผนภูมทิ ่ี 5 แสดงสถานศึกษาในระบบ นอกระบบ ในเขตพน้ื ทร่ี บั ผดิ ชอบ สสว.6 ปกี ารศึกษา 2565

กศน. 501 1755
ตชด. 21 1,500 2,000
สถาบันบัณฑติ พฒั นศลิ ป์ 6
สานักพทุ ธ ฯ 63
ทอ้ งถน่ิ
อดุ มศกึ 12
อาชวี ศกึ ษา 94
เอกชน 248
สพฐ.
3,639

0 500 1,000 2,500 3,000 3,500 4,000

ที่มา : ศนู ย์เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ ณ วนั ที่ 31 มีนาคม 2565

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ท่รี ับผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

18

จากตารางที่ 7 และแผนภูมิที่ 5 แสดงสถานศึกษาในระบบ นอกระบบ จำแนกรายสังกัด รายจังหวัด
ปีการศึกษา 2565 ในพื้นท่ีรับผิดชอบของ สสว.6 พบว่ามีสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 6,339 แห่ง มีสถานศึกษา
ในระบบจำนวน 5,838 แห่ง แบ่งออกเป็นสถานศึกษาในสังกัดสพฐ.จำนวน 3,639 แห่ง สถาบันเอกชน จำนวน
248 แห่ง สถาบันอาชีวศึกษา จำนวน 94 แห่ง สถาบันอุดมศึกษา จำนวน 12 แห่ง สถาบันสังกัด อปท มีจำนวน
1,755 แห่ง สังกัดสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติจำนวน 63 แห่ง สถาบันตำรวจตะเวนชายแดน(ตชด.) จำนวน
21 แห่ง ศกึ ษานอกระบบ ได้แก่ กศน.มีจำนวน 501 แห่ง จงั หวัดอุบลราชธานี มีจำนวนสถานศกึ ษามากที่สุด มจี ำนวน
1,346 แห่ง รองลงมา จังหวัดกาฬสินธุ์ 1,265 แห่ง จังหวัดสกลนคร จำนวน 1,264 แห่ง และจังหวัดบึงกาฬ มีจำนวน
สถานศึกษา น้อยทีส่ ุด มีจำนวน 330 แห่ง

ตารางท่ี 8 จำนวนนกั เรียน นักศกึ ษาในระบบ จำแนกตามระดบั ช้ัน ปี พ.ศ.2564

จงั หวดั (หนว่ ย:คน) รวม
69645
ระดบั การศกึ ษา (คน) 98,997
220,758
อนุบาล ประถม ม.ตน้ ม.ปลาย ปวช. ปวส. ป.ตรี 65,641
186,362
บึงกาฬ 11731 32584 15254 8232 1168 676 No data 72,822
270,603
นครพนม 6,457 24,117 2,654 44,734 7,605 3,340 10,090 984,828

สกลนคร 35,649 80,638 41,015 21,352 16,618 8,401 17,085

มุกดาหาร 7,966 25,258 12,070 15,974 2,765 1,596 12

กาฬสนิ ธ์ุ 32,498 63,401 31,400 40,456 9,918 4,574 4,115

อำนาจเจรญิ 7,578 25,146 17,639 14,392 4,691 1,911 1,465

อบุ ลราชธานี 28,701 106,260 50,646 26,912 18,074 11,327 28,683

รวม 130,580 357,404 170,678 172,052 60,839 31,825 61,450

ที่มา : ศูนยเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร สำนกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ ขอ้ มลู ณ วนั ท่ี 31 มีนาคม 2565
จากตารางที่ 8 แสดงจำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกตามระดับชั้น ปีการศึกษา 2564 พบว่า จำนวน

นักเรียน นักศึกษาจำแนกตามระดับช้ัน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 มีจำนวนทั้งสิ้น 984,828 คน ส่วนใหญ่
อยู่ในช่วงระดับประถมศึกษา จำนวน 357,404 คน รองลงมา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 172,052 คน,
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 170,678 คน ระดับอนุบาล จำนวน 130,580 คน, และระดับปริญญาตรี.
จำนวน 61,450 คน ระดบั ปวช. จำนวน 60,839 คน ระดับปวส. จำนวน 31,825 คน ตามลำดับ

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพน้ื ทรี่ บั ผดิ ชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

19

ตารางท่ี 9 จำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรยี น ปกี ารศึกษา 2560 - 2564

จงั หวัด ปกี ารศึกษา

2560 2561 2562 2563 2564

บงึ กาฬ N/A N/A N/A 7,474 7,396

นครพนม 11,193 11,356 10,736 7,943 10,025

สกลนคร 26,856 24,014 21,279 19,612 17,657

มุกดาหาร 11,218 14,462 14,124 13,705 13,284

กาฬสนิ ธุ์ 33,500 28,265 23,920 22,571 23,351

อำนาจเจรญิ 9,403 9,022 8,525 7,428 12,512

อบุ ลราชธานี 38,808 36,446 33,950 31,611 29,850

รวม 130,978 123,565 112,534 110,344 114,075

ทีม่ า สำนักงานสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจงั หวดั (กศน.) ข้อมูล ณ วันท่ี 31 มนี าคม 2565

แผนภูมิท่ี 6 แสดงจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน ปีการศึกษา 2560 - 2564

160000 130,978 123,565 112,534 110,344 114,075
140000 2561 2562 2563 2564
120000 2560
100000 ปีการศกึ ษา

80000
60000
40000
20000

0

ทม่ี า สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวดั (กศน.) ข้อมูล ณ วันท่ี 31 มนี าคม 2565

จากตารางที่ 9 และแผนภูมิท่ี 6 แสดงจำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน ปกี ารศึกษา 2560 – 2564 พบวา่
จำนวนผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 ระยะ 5 ปี มีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อเปรียบ
ปี พ.ศ.2563 และ ปี พ.ศ. 2564 พบวา่ มที ศิ ทางแนวโนม้ ทเ่ี พมิ่ ขนึ้

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวัดในเขตพื้นท่รี ับผิดชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

20

ตารางที่ 10 จำนวนนักเรียนออกกลางคนั ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย สงั กัดสำนกั งาน

คณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน ปีการศกึ ษา 2560-2564

จังหวดั ปีการศกึ ษา

2560 2561 2562 2563 2564

บึงกาฬ 54 83 3 6 N/A

นครพนม 23 7 50 0

สกลนคร N/A N/A N/A N/A 27

มุกดาหาร 00 04 8

กาฬสนิ ธุ์ 19 25 16 0 13

อำนาจเจริญ 00 00 0

อุบลราชธานี 110 114 261 33 72

รวม 206 229 285 43 120

ทม่ี า สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั ขอ้ มลู ณ วันท่ี 15 กรกฎาคม 2565

แผนภูมิที่ 7 แสดงจำนวนนักเรียนออกกลางคันระดับประถมศึกษา มธั ยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน ปีการศึกษา 2560-2564

2900 285
2562
จานวน ันกเรียนออกกลางคัน 2850 206 229
2800 2561

2750 120
2564
2700
5
2650 43
2563
2600 2560

2550

2500

2450

2400 234
ปีการศกึ ษา
2.9 ด้านแรงงาน 1

ที่มา สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2565

จากตารางที่ 10 และแผนภูมิที่ 7 แสดงจำนวนนักเรียนออกกลางคันระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560-2564 พบว่า จำนวนนักเรียน
ออกกลางคันในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 ระยะ 5 ปี มีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อเปรียบ ปี พ.ศ.2563
และปี พ.ศ. 2564 พบวา่ มที ิศทางแนวโนม้ ท่เี พิม่ ขน้ึ

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพ้นื ท่รี บั ผดิ ชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

21

ตารางท่ี 11 ภาวการณ์มงี านทำของประชากรในกลุ่มจังหวัดในเขตพ้ืนทีร่ บั ผิดชอบของ สสว.6 ไตรมาส 1

(มกราคม – มีนาคม 2565 ) (หน่วย:คน)

กาลงั แรงงานในปจั จบุ นั ผไู้ ม่อย่ใู นกาลงั แรงงาน

ยงั เดก็ /ชรา

จงั หวัด ผมู้ ีงานทา ผวู้ ่างงาน รวม กาลงั แรงงานทรี่ อฤดกู าล เรียน ปว่ ยจนไม่ อนื่ ๆ รวม
ทางานบา้ น หนงั สอื สามารถ

ทางานได้

บึงกาฬ 185,580 466 186,046 3,630 18,094 26,463 52,749 5,171 102,477

นครพนม 255,468 7,412 262,880 9,882 45,127 49,079 68,965 10,518 173,689

สกลนคร 361,634 6,222 367,856 26,833 110,157 66,586 104,547 69,998 351,288

มกุ ดาหาร 222,927 1,590 224,517 4146 28,750 27,787 55,319 6,902 118,758

กาฬสินธุ์ 378,701 12,085 390,786 2739 85,775 63,050 76,632 23,655 249,112

อานาจเจริญ 116,468 2,118 118,586 15,186 36,880 20,881 26,969 11,623 96,353

อบุ ลราชธานี 875,621 689 876,310 1467 122,382 156,737 223,964 35,396 538,479

รวม 2,396,399 30,582 2,426,981 63,883 447,165 410,583 609,145 163,263 1,630,156

หมายเหตุ อืน่ ๆ หมายถึง ยังเดก็ หรือชรา ป่วย พกิ ารฯลฯ จนไมส่ ามารถทางานได้ พกั ผ่อน และเกษียณการทางาน

ทมี่ า : สำนกั งานสถติ ิแห่งชาติ ขอ้ มลู ณ 31 มีนาคม 2565 ไตรมาส 1 (มกราคม - มีนาคม 2565)

จากตารางที่ 11 แสดงภาวการณ์มีงานทำของประชากรกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6

พบว่า กำลังแรงงาน มีทั้งสิ้น 2,426,981 คน แบ่งเป็น ผู้มีงานทำจำนวน 2,396,399 คน คิดเป็นร้อยละ 98.74

ของกำลังแรงงานทั้งหมด ผู้ว่างงานจำนวน 30,582 คน คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของกำลังแรงงานทั้งหมด

กำลังแรงงานที่รอฤดูกาลจำนวน 63,883 คน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน (ทำงานบ้าน,เรียนหนังสือ,อื่นๆ) จำนวน

1,630,156 คน จังหวัดท่มี กี ำลังแรงงานมากทสี่ ุด ได้แก่ จังหวดั อุบลราชธานี มีจำนวน 876,310 คน รองลงมาคือ

จังหวดั กาฬสินธ์ุ จำนวน 390,786 คน จงั หวดั สกลนครจำนวน 367,856 คน ตามลำดับ

ตารางท่ี 12 จำนวนคนตา่ งด้าวทไี่ ดร้ บั อนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560-2564 ของกลุ่มจังหวัดในเขตพน้ื ที่

รบั ผิดชอบ สสว.6 (หนว่ ย: คน)
จงั หวดั 2560 2561 2562 2563 2564

บงึ กาฬ 614 810 1,369 1,255 1,597

นครพนม 908 1,522 2,530 1,832 2,170

สกลนคร 712 1,210 2,037 1,848 2,256

มกุ ดาหาร 889 633 1,326 1,204 1,336

กาฬสนิ ธุ์ 513 555 1,248 656 946

อำนาจเจริญ 187 287 436 420 468

อบุ ลราชธานี 3,150 3,145 3,688 2,835 3,291

รวม 6,973 8,162 12,634 10,050 12,064

ทมี่ า : สำนกั งานสถิตแิ ห่งชาติ ขอ้ มลู ณ 31 มีนาคม 2565

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพ้ืนทร่ี บั ผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

22

แผนภมู ทิ ี่ 8 แสดงจำนวนคนตา่ งดา้ วที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ พ.ศ.2560-2564

ท่มี า : สำนกั งานสถติ แิ ห่งชาติ ข้อมลู ณ 31 มนี าคม 2565
จากตารางที่ 12 แผนภูมิที่ 8 แสดงจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือพ.ศ.2560-2564

ของกลุ่มจังหวัดในเขตพน้ื ทรี่ ับผิดชอบของ สสว.6 พบวา่ จำนวนคนตา่ งดา้ วท่ีได้รับอนญุ าตทำงานคงเหลอื มีจำนวน
มากที่สุด ในปีพ.ศ.2562 มีจำนวน 12,634 คน มีจำนวนน้อยที่สุด ปี พ.ศ.2560 จำนวน 6,973 คน
เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือ 2 ปี พ.ศ.2563 - 2564 ของกลุ่มจังหวัด
จะเห็นได้ว่ามีจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อพิจารณารายจังหวัด
พบวา่ ท้งั 7 จงั หวัดในเขตพ้นื ที่รับผดิ ชอบของสสว.6 มีจำนวนคนต่างด้าวทีไ่ ดร้ บั อนุญาตทำงานคงเหลือเพิ่มขน้ึ

2.10 ดา้ นทีอ่ ยู่อาศัย (หน่วย:แหง่ :คน)

ตารางที่ 13 แสดงจำนวนชมุ ชนผมู้ รี ายได้นอ้ ยของกลุ่มจังหวัด พ.ศ 2562

จงั หวดั จำนวน ชุมชนแออดั ชุมชนเมอื ง ชุมชนชานเมือง จำนวน จำนวน จำนวน
ชมุ ชน ชุมชน ครัวเรอื น ชมุ ชน ครวั เรอื น ชุมชน ครัวเรอื น บ้าน ครัวเรือน ประชากร

บึงกาฬ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

นครพนม 1 0 0 0 0 1 23 23 23 77

สกลนคร 1 0 0 0 0 1 19 19 19 76

มุกดาหาร 1 1 22 0 0 0 0 22 22 55

กาฬสนิ ธ์ุ 1 1 30 0 0 0 0 30 30 135

อำนาจเจรญิ 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

อบุ ลราชธานี 8 8 420 0 0 0 0 378 420 1,640

รวม 12 10 472 0 0 2 42 472 514 1,983

ที่มา : กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ

http://dhds.nha.co.th/GISNHA/report/Rpt_Comm_9.aspx สบื คน้ ขอ้ มลู ณ 31 มีนาคม 2565.....

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพ้ืนทีร่ ับผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

23

หมายเหตุ นยิ าม
1. ชุมชนแออัด หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ไร้ระเบียบ และชำรุด

ทรุดโทรม ประชาชนอยู่กันอย่างแออัด หรือที่อาศัยอยู่รวมกัน โดยมีความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งมีสภาพแวดล้อม
ทไ่ี มเ่ หมาะสม อนั อาจเป็นอันตรายต่อสขุ ภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศยั

2.ชุมชนเมือง หมายถึง ชุมชนที่มีการอยู่อาศัยค่อนข้างหนาแน่น ลักษณะการอยู่อาศัยส่วนใหญ่
มักเป็นบ้านและที่ดินของตนเอง หรือบ้านของตนเองที่ดินเช่า สภาพทางกายภาพและระบบสาธารณูปโภค
คอ่ นข้างดี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชพี ที่เปน็ ทางการ

3. ชุมชนชานเมือง หมายถึง ชุมชนที่มีการตั้งบ้านเรือนกระจายตามที่ทำกินเป็นกลุ่ม ๆ ประชากร
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพต่อเนื่องที่สัมพันธ์กับเกษตรกรรม สภาพบ้านเรือนค่อนข้างทรุด
โทรมแต่ยงั ไมห่ นาแน่น ขาดระบบสาธารณูปโภคทดี่ ี

จากตารางที่ 13 แสดงจำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อยของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6
พบว่า มีจำนวนชุมชนผู้มีรายได้น้อย ทั้งสิ้น 12 ชุมชน ประกอบด้วยชุมชนแออัด จำนวน 10 แห่ง มีจำนวน 472
ครัวเรือน และชุมชนชานเมอื งจำนวน 2 แห่ง มีครวั เรอื น 42 ครวั เรอื น และมปี ระชากร จำนวน 1,983 คน จังหวดั
ทมี่ ชี มุ ชนผู้มรี ายได้น้อยมากท่ีสดุ ไดแ้ กจ่ งั หวดั อุบลราชธานี มีจำนวน 8 แหง่ จำนวน 420 ครัวเรือน
2.11 ดา้ นเศรษฐกจิ และรายได้

ผลติ ภัณฑม์ วลรวม
ตารางท่ี 14 แสดงการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจงั หวัดในเขตพืน้ ที่รับผิดชอบสสว.6 ปี พ.ศ.2562-2563

จังหวดั อตั ราการขยายตัวทแี่ ท้จริง GPP (ร้อยละ)

ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563

บึงกาฬ -1.3 1.2 -3.2

นครพนม -0.4 2.1 3.2

สกลนคร 2.6 1.1 2.2

มุกดาหาร 1.5 4.8 -7.2

กาฬสินธ์ุ 11.1 -1.3 -5.1

อำนาจเจริญ 6.4 6.4 -1.8

อบุ ลราชธานี -1.3 0.8 0.2

ท่ีมา: สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาตh้ิ ttp://datastudio.google.com รายงานผลติ ภณั ฑ์ภาคและ
จังหวดั แบบปรมิ าณลกู โซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563 สืบคน้ ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2565

จากตารางท่ี 14 แสดงการขยายตัวของผลติ ภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในเขตพ้ืนท่รี ับผดิ ชอบของ สสว.6 พบว่า
ทิศทางการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในบางปี เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ
รายจังหวัดในปี พ.ศ.2563 พบว่า จังหวัดนครพนมมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) สูงที่สุด
ในกล่มุ จงั หวัด อยูท่ ่ี รอ้ ยละ 3.2 รองลงมาคอื จงั หวดั สกลนคร ร้อยละ 2.2 และเมอ่ื เปรียบเทียบ ปี พ.ศ.2562 และ
ปี พ.ศ.2563 พบว่า มี 5 จังหวัดมีอัตราการขยายตัว GPP ลดลง ได้แก่ บึงกาฬ,มุกดาหาร,กาฬสินธุ์,อำนาจเจริญและ
อบุ ลราชธานี สำหรับอีก 2 จงั หวัดมอี ัตราการขยายตัว GPP เพ่มิ ขึน้ ไดแ้ ก่ นครพนมและสกลนคร

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวัดในเขตพน้ื ที่รบั ผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

24

ตารางท่ี 15 แสดงผลิตภณั ฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ปี 2564

จงั หวดั บาทต่อปี

บงึ กาฬ 68,497

นครพนม 82,712

สกลนคร 69,009

มุกดาหาร 61,345

กาฬสินธ์ุ 73,404

อำนาจเจรญิ 72,573

อบุ ลราชธานี 74,408

ท่ีมา: ผลติ ภณั ฑ์ภาคและจงั หวดั แบบปริมาณลกู โซ่ ฉบบั พ.ศ. 2563 สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาติ

http://datastudio.google.com สบื คน้ ขอ้ มลู ณ 31 มนี าคม 2565

จากตารางที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (GPP per capita) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6

ในปี พ.ศ. 2564 เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายจังหวัด พบว่า จังหวัดนครพนมมีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวสูงที่สุด

ในกลุ่มจังหวัด อยู่ที่ 82,712 บาทต่อปี และจังหวัดมุกดาหารมีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวต่ำที่สุดในกลุ่มจังหวัด

อยทู่ ี่ 61,345 บาทตอ่ ปี

ตารางที่ 16 แสดงรายได้โดยเฉลีย่ ต่อเดือนตอ่ ครวั เรือนของกลุม่ จังหวัด พ.ศ.2560-2564

(หน่วย:บาท)

จงั หวดั 2560 2562 2564

บึงกาฬ 22,668 22,787 24,345

นครพนม 15,834 23,431 18,525

สกลนคร 17,820 18,452 22,508

มกุ ดาหาร 20,440 18,843 20,608

กาฬสนิ ธุ์ 14,264 19,089 19,398

อำนาจเจรญิ 18,231 20,320 20,814

อุบลราชธานี 24,380 18,398 20,969

ทมี่ า: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรอื น สำนักงานสถติ แิ ห่งชาติ สืบค้นข้อมลู ณ 31 มีนาคม 2565

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ที่รบั ผดิ ชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

25

แผนภูมทิ ี่ 9 แสดงรายไดโ้ ดยเฉล่ยี ตอ่ เดือนตอ่ ครัวเรอื นของกลุ่มจงั หวัด พ.ศ.2560-2564

ทมี่ า: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครวั เรือน สำนกั งานสถิติแห่งชาติ ขอ้ มลู ณ 31 มนี าคม 2565
จากตารางที่ 16 และแผนภมู ทิ ่ี 16 แสดงรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนตอ่ ครัวเรือนของกลุม่ จงั หวดั ในเขตพ้ืนที่

รับผิดชอบของสสว.6 ปี พ.ศ. 2560-2564 พบว่า มีทิศทางแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ
รายจังหวัดในปี พ.ศ.2562 และปี พ.ศ.2564 พบว่า มี 6 จังหวัดที่มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น
ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธ์ุ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัด
อุบลราชธานี และมี 1 จังหวัดที่มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนลดลงได้แก่ จังหวัดนครพนม และ
เม่ือพิจารณาในปี 2564 จังหวัดบึงกาฬ มีรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงที่สุดในกลุ่มจังหวัด จังหวัด
นครพนม มรี ายได้โดยเฉลี่ยต่อเดอื นตอ่ ครวั เรือนต่ำทีส่ ุดในกลุ่มจงั หวดั

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ทีร่ ับผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

26

ตารางท่ี 17 แสดงหนี้สนิ เฉล่ยี ต่อครัวเรอื น จำแนกตามวัตถุประสงคข์ องการกู้ยมื พ.ศ. 2560-2564 (หนว่ ย:บาท)

จังหวดั วตั ถุประสงค์ของการกูย้ ืม 2560 2562 2564

หน้สี ินทั้งสิน้ 212,781.39 220,843.18 197,868.68

เพื่อใช้จา่ ยในครวั เรือน 133,946.94 114,096.25 96,113.78

เพื่อใช้ทำธุรกิจที่ไมใ่ ช่ 14,493.48 22,905.69 15,508.60
การเกษตร

บึงกาฬ เพอ่ื ใชท้ ำการเกษตร 40,336.54 68,206.03 46,985.50

เพอ่ื ใช้ในการศึกษา 8,369.32 2,059.07 5,624.33

เพื่อใช้ซื้อ/เชา่ ซ้ือบ้านและ 15,635.12 13,576.15 33,370.81
ที่ดนิ

อื่นๆ - - 265.66

หน้ีสนิ ทัง้ สน้ิ 192,867.55 234,935.87 204,804.81

เพ่อื ใช้จา่ ยในครวั เรือน 96,149.68 104,659.85 102,145.99

เพ่ือใช้ทำธรุ กจิ ที่ไม่ใช่ 10,585.65 70,313.64 15,110.07
การเกษตร

นครพนม เพอ่ื ใช้ทำการเกษตร 21,888.14 20,386.91 26,541.90

เพื่อใช้ในการศึกษา 13,733.45 5,245.57 5,858.06

เพื่อใช้ซอ้ื /เช่าซ้ือบา้ นและ 44,150.90 33,039.27 49,249.48
ทด่ี นิ

อื่นๆ 6,359.73 1,290.63 5,899.31

หนส้ี ินทง้ั สน้ิ 197,077.86 174,895.97 295,867.48

เพอื่ ใช้จ่ายในครวั เรอื น 84,898.94 90,596.89 182,544.27

เพอ่ื ใช้ทำธุรกจิ ท่ีไม่ใช่ 19,272.54 9,782.97 15,748.88
การเกษตร

สกลนคร เพ่อื ใช้ทำการเกษตร 51,185.64 38,419.87 73,605.63

เพ่อื ใชใ้ นการศึกษา 1,854.79 1,211.11 2,280.31

เพอ่ื ใชซ้ ื้อ/เชา่ ซื้อบา้ นและ 39,865.95 34,731.40 21,688.39
ทดี่ นิ

อ่นื ๆ - 153.73 -

หน้สี นิ ทงั้ สิน้ 171,992.18 130,206.33 231,636.24

เพื่อใช้จ่ายในครัวเรอื น 83,662.04 51,732.77 107,477.60

มุกดาหาร เพอ่ื ใชท้ ำธุรกิจที่ไม่ใช่ 8,758.29 22,205.71 13,425.51
การเกษตร

เพื่อใช้ทำการเกษตร 28,988.20 15,614.77 47,721.23

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพนื้ ท่รี ับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)

27

เพื่อใชใ้ นการศึกษา 5,268.35 4,387.45 7,244.41
เพื่อใชซ้ อ้ื /เชา่ ซื้อบ้านและ
ทีด่ ิน 45,086.11 36,265.61 52,487.90
อื่นๆ
หน้ีสินทง้ั ส้นิ 229.19 - 3,279.58
เพื่อใชจ้ ่ายในครวั เรอื น 134,001.77 190,144.40 191,828.42
เพื่อใชท้ ำธรุ กจิ ท่ีไม่ใช่ 47,550.13 60,185.29 95,590.89
การเกษตร
กาฬสินธุ์ เพอ่ื ใชท้ ำการเกษตร 18,574.75 57,497.63 14,880.25
เพื่อใชใ้ นการศึกษา
เพอ่ื ใช้ซ้ือ/เชา่ ซื้อบา้ นและ 40,676.08 41,494.51 50,531.48
ทด่ี นิ 5,513.94 1,316.03 1,537.04
อนื่ ๆ
หนีส้ นิ ทั้งสนิ้ 21,686.86 28,906.33 29,053.27
เพื่อใช้จ่ายในครวั เรือน
เพื่อใช้ทำธรุ กิจที่ไมใ่ ช่ - 744.61 235.49
การเกษตร 226,032.61 216,777.02 187,392.17
อำนาจเจรญิ เพื่อใช้ทำการเกษตร 89,495.54 49,320.75 86,828.64
เพื่อใชใ้ นการศึกษา
เพื่อใชซ้ ือ้ /เช่าซื้อบ้านและ 24,343.72 30,628.81 20,587.02
ทดี่ ิน
อ่นื ๆ 57,248.78 45,067.10 40,473.62
หนส้ี นิ ท้ังสน้ิ 6,418.79 11,957.10 3,261.87
เพื่อใช้จา่ ยในครวั เรือน
เพอ่ื ใชท้ ำธุรกจิ ที่ไม่ใช่ 46,790.17 79,426.08 36,241.03
การเกษตร
อบุ ลราชธานี เพื่อใชท้ ำการเกษตร 1,735.61 377.17 -
เพอ่ื ใช้ในการศึกษา 195,122.11 138,853.70 215,715.07
เพื่อใช้ซอ้ื /เช่าซ้ือบา้ นและ 116,713.76 69,289.46 124,763.80
ที่ดิน
อ่ืนๆ 8,057.95 12,826.14 13,965.07

38,156.75 44,202.96 39,112.64
2,155.89 2,867.99 1,440.90

30,037.76 9,522.44 36,246.25

- 144.70 186.41

ท่ีมา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสงั คมของครวั เรือน สำนกั งานสถิติแหง่ ชาติ กระทรวงดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม
ขอ้ มูล ณ 31 มนี าคม 2565
หมายเหต:ุ หนอี้ นื่ ๆ ได้แก่ หน้ีจากการคำ้ ประกันบคุ คลอน่ื หน้ีคา่ ปรบั หรือจา่ ยชดเชยค่าเสยี หายเป็นตน้

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพน้ื ที่รบั ผิดชอบของสำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

28

แผนภูมิที่ 12 แสดงหน้ีสนิ เฉลย่ี ตอ่ ครัวเรือนของกล่มุ จงั หวัดในเขตรบั ผิดชอบชองสสว.6 จำแนกตามวตั ถุประสงค์
ของการกู้ยืม พ.ศ. 2560-2564

ทีม่ า: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสงั คมของครวั เรือน สำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ กระทรวงดิจทิ ัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สงั คม ข้อมูล ณ 31 มีนาคม 2565

จากตารางท่ี 17 และแผนภูมิที่ 12 แสดงหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ของสสว.6 จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม พ.ศ.2560-2564 พบว่า ภาพรวมของกลุ่มจังหวัด พ.ศ.2560
-2564 หนี้สินรวมมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในทุกๆปี เมื่อพิจารณาปี พ.ศ.2564 เปรียบเทียบรายจังหวัด พบว่า จังหวัด
สกลนคร มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงที่สุด จำนวน 295,867.48 บาท รองลงมาจังหวัดมุกดาหาร จำนวน
231,636.24 บาท และเมื่อพิจารณากลุ่มจังหวัดหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมสูงที่สุด
3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน จำนวน 795,464.97 บาท อันดับ 2 เพื่อใช้ทำการเกษตร
จำนวน 324,972.00 บาท อันดบั 3 เพือ่ ใชใ้ นการศกึ ษา จำนวน 27,246.92 บาท

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพื้นที่รับผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

29

2.12 ด้านภาคเี ครือขา่ ย
ตารางท่ี 18 แสดงจำนวนองค์กรภาคีเครือข่าย (หนว่ ย:แหง่ )

องค์กร จงั หวดั รวม

บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ อำนาจเจรญิ อุบล

ราชธานี

องค์กร 14 28 56 59 111 111 114

สาธารณประโยชน์ ตาม

พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัด

สวสั ดกิ ารสังคม 493

องค์กรสวสั ดกิ ารชมุ ชน 17 64 32 86 117 59 87

ตาม พ.ร.บ. ส่งเสรมิ การ

จัดสวสั ดกิ ารสังคม 462

กองทุนสวสั ดิการชุมชน 1 72 47 99 129 62 151 561

สภาเดก็ และเยาวชน 66 113 53 19 168 63 264 746

สภาองคก์ รคนพิการ 6 7 9 8 38 6 74 148

ศูนยบ์ รกิ ารคนพิการ 23 49 26 58 44 15 56

ทว่ั ไป 271

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชวี ติ 15 33 13 33 25 11 54

และส่งเสริมอาชพี ของ

ผสู้ งู อายุ (ศพอส.) 184

ศนู ย์พัฒนาครอบครวั ใน 48 103 53 181 167 63 190

ชุมชน (ศพค.) 805

ศนู ย์ชว่ ยเหลือสังคม 53 107 54 125 135 56 238

ตำบล (ศชส.ต.) 768

ท่ีมา สำนกั งานพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์จงั หวัด ขอ้ มลู ณ วนั ท่ี 31 มนี าคม 2565

จากตารางที่ 18 แสดงจำนวนองค์กรภาคีเครือข่าย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว. 6

ประกอบด้วย องคก์ รสาธารณะประโยชน์ มีจำนวน 493 แห่ง องค์กรสวสั ดิการชุมชน มจี ำนวน 462 แห่ง กองทุน

สวัสดิการชุมชน มีจำนวน 506 แห่ง สภาเด็กและเยาวชน มีจำนวน 746 แห่ง สภาองค์กรคนพิการ มีจำนวน

148 แห่ง ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 271 แห่ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส)

มีจำนวน 184 แห่ง ศูนย์พัฒนาครอบครัว (ศพค.) จำนวน 805 แห่ง และศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล (ศชส.ต.)

จำนวน 768 แห่ง เมื่อพิจารณาจำนวนองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งหมด พบว่า ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.)

มีจำนวนมากที่สุด 805 แห่ง รองลงมา ศูนยช์ ว่ ยเหลอื สังคมตำบล (ศชส.ต.) จำนวน 768 แห่ง

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพืน้ ทร่ี ับผดิ ชอบของสำนกั งานสง่ เสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)

30

ตารางที่ 19 แสดงจำนวนภาคเี ครอื ขา่ ย (หนว่ ย:คน)

จังหวดั องค์กรเครือข่าย

อาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของ ขอ้ มูลคลงั ปญั ญาผู้สงู อายุ

มนุษย์ (อพม.) (หน่วยนบั :คน) (หน่วยนับ : คน)

บึงกาฬ 2,839 4

นครพนม 4,383 259

สกลนคร 4,488 750

มุกดาหาร 1,535 837

กาฬสนิ ธ์ุ 7,321 519

อำนาจเจริญ 4,027 257

อบุ ลราชธานี 6,016 157

รวม 30,609 2,783

ท่ีมา ระบบทะเบียนอาสาสมัครพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษย์ (อพม.)

https://volunteer.dsdw.go.th/InfoGraphic/InfoMap.aspx?inside=1

กรมกิจการผสู้ ูงอายุ ข้อมูลคลังปัญญาผ้สู ูงอายุ https://www.dop.go.th/th/know/14/341 ข้อมูล ณ วนั ท่ี

31 มีนาคม 2565

จากตารางที่ 19 แสดงจำนวนภาคีเครือข่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว.6 ประกอบด้วยอาสาสมัคร

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 30,609 คิดเป็นร้อยละ 0.52

ของประชากรทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด (ประชากรกลุ่มจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 5,857,244 คน โดยจังหวัดที่มีจำนวน

อพม.มากที่สุดคือจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 7,321 คน รองลงมาคือจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 6,016 คน และ

ในกลุ่มจงั หวัดมขี ้อมูลคลงั ปญั ญาผู้สูงอายุจำนวนทัง้ สิน้ 2,783 คน จังหวัดที่มจี ำนวนคลงั ปัญญาผู้สูงอายุมากทีส่ ุด

คือจงั หวดั มกุ ดาหาร จำนวน 837 คน รองลงมาคือจังหวัดสกลนคร จำนวน 750 คน

รายงานสถานการณ์ทางสงั คมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพ้ืนทรี่ ับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)

31

ส่วนที่ 3

สถานการณ์กลุม่ เปา้ หมายทางสงั คมระดับกลมุ่ จังหวัด

• สถานการณก์ ลุ่มเปา้ หมายทางสงั คมระดบั กลมุ่ จงั หวัด

3.1 กลุ่มเดก็
ตารางท่ี 20 แสดงสถานการณเ์ ด็ก จำแนกตามจงั หวัด ปี 2564

(หนว่ ย:คน)

12 3 45 6 7

จังหวดั เดก็ ทไ่ี ด้รับ *เดก็ ท่ีมี เด็กท่ีถูก เดก็ ท่ี เดก็ ** ***เด็กไร้
จำนวนเด็ก เงนิ อดุ หนุน พฤติกรรม ทารุณกรรม อยู่ใน ตงั้ ครรภ์ เด็กนอก สัญชาติ
ทัง้ หมด เพอื่ การ ทางร่างกาย ครอบ กอ่ นวยั ระบบ
ไม่ จิตใจและทาง อันควร
เล้ียงดูเดก็ เหมาะสม เพศท่มี กี าร
แรกเกดิ ดำเนินคดี

ครวั

เลีย้ ง

เดย่ี ว

บึงกาฬ 93,214 17,675 58 9 N/A 290 430 N/A

นครพนม 156,323 36,909 15 17 1,074 222 375 55

สกลนคร 237,338 49,191 51 11 1037 24 27 N/A

มุกดาหาร 73,389 14,826 84 N/A 589 104 291 N/A

กาฬสนิ ธ์ุ 184,376 45,214 162 2 3024 292 20 N/A

อำนาจเจริญ 73,907 16,864 N/A 1 405 7 N/A 30

อุบลราชธานี 390,229 84,833 6 25 N/A 41 N/A 705

รวม 1,208,776 265,512 376 65 6,129 980 1,143 790

ท่มี า รายงานสถานการณ์ทางสงั คมจงั หวัด สำนกั งานพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์ 7 จังหวัดในเขตพื้นที่

รับผิดชอบ สสว.6 ณ วันที่ 31 มนี าคม 2565

หมายเหตุ **เด็กนอกระบบ หมายถงึ เด็กท่ีมอี ายุอยใู่ นช่วงทต่ี ้องเขา้ เรยี นในสถานศึกษา แต่ไม่มีโอกาสเข้าเรยี นหรือเคยเขา้ เรยี น
แล้ว มีเหตตุ ้องออกจากสถานศึกษาไปกลางคัน และไม่ได้กลับเขา้ มาเรียนอีก (UNESCO, 2019)

**เด็กไร้สญั ชาติ หมายถึง เดก็ ทไ่ี มม่ สี ญั ชาตใิ ดเลย (ไมว่ า่ จะเปน็ สัญชาตไิ ทยหรอื สญั ชาตริ ัฐใดๆ) แต่อาจไดร้ บั การระบุ
ตัวตนทางกฎหมายในรปู แบบใดรปู แบบหน่งึ เชน่ ได้รบั การจดทะเบยี นการเกิด ไดข้ น้ึ ทะเบยี นเป็นบคุ คลไรส้ ญั ชาตใิ นกลมุ่ ต่าง ๆ

*เด็กท่มี พี ฤติกรรมไมเหมาะสม หมายถงึ

1) ดืม่ เครอ่ื งดมื่ ทีม่ ีแอลกอฮอล สูบบหุ รแี่ ละติดสารเสพตดิ รายแรง เชน ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เปนตน

2) มวั่ สมุ และทาํ ความรำคาญใหกับชาวบาน

3) ติดเกมส และเลนการพนันตาง ๆ

4) มพี ฤติกรรมทางเพศ

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวัดในเขตพืน้ ทร่ี บั ผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

32

จากตารางที่ 20 แสดงสถานการณ์เด็ก จำแนกตามจังหวัด ปี 2564 โดยกลุ่มเด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุ

ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ พบว่า ในระดับกลุ่มจังหวัด สถานการณ์อันดับ 1 ได้แก่ จำนวนเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุน

เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 265,512 คน อันดับ 2 ได้แก่ เด็กที่อยู่ในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว จำนวน

6,129 คน อันดับ 3 เด็กนอกระบบ จำนวน 1,143 คน

3.2 กลุ่มเยาวชน

ตารางท่ี 21 แสดงสถานการณ์เยาวชน จำแนกตามจงั หวัด (หนว่ ย:คน)

-1 -2

จังหวดั จำนวนเยาวชนทัง้ หมด **เยาวชนทีม่ พี ฤตกิ รรม เยาวชนทีถ่ ูกทารุณกรรม

ไม่เหมาะสม ทางรา่ งกายจิตใจและทางเพศ

บงึ กาฬ 45,683 N/A N/A

นครพนม 71,216 185 7

สกลนคร 124,725 314 1

มกุ ดาหาร 37,178 16 15

กาฬสนิ ธุ์ 95,883 67 20

อำนาจเจรญิ 39,577 N/A 1

อุบลราชธานี 212,105 N/A 5

รวม 626,367 582 49

รายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัด สำนกั งานพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์ 7 จังหวัดในเขตพน้ื ท่รี ับผิดชอบ สสว.6

ณ วันท่ี 31 มีนาคม 2565

หมายเหตุ * เยาวชนท่ีมพี ฤติกรรมไมเหมาะสม หมายถึง

1) ดื่มเครือ่ งดม่ื ท่มี ีแอลกอฮอล สูบบหุ รแี่ ละตดิ สารเสพติดรายแรง เชน ยาบ้า ยาอี สารระเหย กญั ชา เปนตน

2) มัว่ สุมและทําความรำคาญใหกับชาวบาน

3) ตดิ เกมส และเลนการพนันตาง ๆ

4) มพี ฤตกิ รรมทางเพศ

5) อน่ื ๆ (ระบุ) ..............................................

จากตารางที่ 21 แสดงสถานการณ์กลุม่ เยาวชน จำแนกตามจังหวดั ในปี 2564 กลุ่มเยาวชน ได้แก่ บุคคล
ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ ถึง 25 ปีบริบูรณ์ ของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สสว. 6 พบว่า สถานการ์ที่น่าห่วงใย
ด้านเยาวชนในระดับกลุ่มจังหวัด ได้แก่ เยาชนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม มีจำนวนทั้งสิ้น 582 คน คิดเป็นร้อยละ
0.09 ของจำนวนเยาวชนทั้งหมดในกลุ่มจังหวัด รองลงมา ได้แก่ เยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจและ
ทางเพศ มจี ำนวนท้งั ส้ิน 49 ราย คดิ เปน็ รอ้ ยละ 0.1 ของเยาวชนท้ังหมดในกลุม่ จังหวัด

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพน้ื ทีร่ ับผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี)

33

3.3 กลุ่มสตรี
ตารางท่ี 22 แสดงสถานการณก์ ล่มุ สตรี จำแนกตามจังหวัด ปี 2564

จงั หวดั จำนวนสตรี -1 -2 -3 (หน่วย:คน)
ทัง้ หมด สตรที ถ่ี ูกละเมดิ สตรที ถ่ี ูกทา แม่เลย้ี งเด่ยี ว
ร้ายรา่ งกาย ฐานะยากจน -4
บึงกาฬ 144,661 ทางเพศ และจิตใจ สตรที ถี่ กู เลกิ จา้ ง/
นครพนม 184,107 849
สกลนคร 576,922 11 21 1,074 ตกงาน
มุกดาหาร 175,851 6 9 1,037
กาฬสนิ ธุ์ 493,582 2 3 589 618
อำนาจเจริญ 189,228 28 9 N/A 1,539
อุบลราชธานี 936,053 0 7 1,587 568
2,700,404 0 10 N/A 824
รวม 0 27 5,136 N/A
47 86 15
13,190
16,754

ทีม่ า : กรมกิจการสตรีและสถาบนั ครอบครัว ระบบข้อมลู ความรนุ แรงต่อเด็ก สตรี และสถาบันครอบครัว
http://www.violence.in.th/ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2565

จากตารางที่ 22 แสดงสถานการณ์กลุ่มสตรีแยกรายจังหวัด ประจำปี 2564 กลุ่มสตรี (เพศหญิง
ทุกช่วงวัย) ของกลุ่มจังหวัดในปีงบประมาณ 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,700,404 คน พบว่า สถานการณ์สำคัญ
อันดับ 1 ได้แก่ สตีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 16,754 คน ทั้งน้ี สาเหตุของการถูกเลิกจ้าง/ตกงาน
เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รองลงมา ได้แก่ แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะ
ยากจน มีจำนวนทั้งส้นิ 5,136 คน

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพื้นทร่ี ับผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มกุ ดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

34

3.4 กลุ่มครอบครวั
ตารางท่ี 23 แสดงสถานการณก์ ลมุ่ ครอบครัวจำแนกตามจังหวัด ปี 2564 (หน่วย:คน)

(1) (2) (3) (4)
จงั หวดั จำนวนครวั เรอื น ครอบครวั ที่ ครอบครัว ครอบครัวที่มีคน ครอบครวั ยากจน
หยา่ ร้าง ในครอบครัว
ทั้งหมด จดทะเบยี น
สมรส 622 กระทาความ
810 รนุ แรงตอ่ กัน
บึงกาฬ 140,512 1,375 1542
นครพนม 235,673 2113 514 67 14340
สกลนคร 396,177 3719 1365 4 6,390
มกุ ดาหาร 119,972 1217 462 11 7,510
กาฬสินธุ์ 311,145 3210 2,677 16 4,647
อำนาจเจริญ 122,801 1162 7,992 11 8804
อบุ ลราชธานี 616,810 5990 27 3,265
1,943,090 18,786 109 15,689
รวม 245 60,645

ที่มา : รายงานสถิติจำนวนทะเบยี นสมรส https://stat.bora.dopa.go.th/stat/GENSTAT/STATFAM/#/marry
ณ วันท่ี 31 มีนาคม 2565

จากตารางท่ี 23 แสดงสถานการณ์กลุ่มครอบครัวรายจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สสว.6 พบว่า
จำนวนครัวเรือนทั้งหมดของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ สสว. 6 มีทั้งสิ้น 1,943,090 หลัง และ
สถานการณ์สำคัญ 3 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1 ครอบครัวยากจน มีจำนวนทั้งสิ้น 60,645 ครอบครัว (จากระบบ
ฐานข้อมูล TPMAP) อันดับ 2 คือ ครอบครัวที่จดทะเบียนสมรส 18,786 ครัวเรือน อันดับ 3 ครอบครัวหย่างร้าง
มีจำนวนทงั้ สนิ้ 7,992 ครอบครัว

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จังหวดั ในเขตพน้ื ท่ีรบั ผดิ ชอบของสำนักงานสง่ เสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

35

3.5 กล่มุ ผู้สูงอายุ
ตารางที่ 24 แสดงสถานการณผ์ สู้ งู อายุ จำแนกตามจงั หวัด ปี 2564

(หนว่ ย:คน)

จังหวัด จำนวน -1 -2 -3 -4 -5

ผู้สูงอายุ ผ้สู ูงอายุ ผูส้ งู อายุจำแนกตามความสามารถ ผสู้ งู อายุ ผู้สงู อายุมี ผู้สูงอายุที่

ท้งั หมด ทไ่ี ดร้ ับ ในการทำกจิ วัตรประจำวัน (ADL) ทีต่ ้อง ที่อยู่อาศยั บริจาค

เบ้ียยงั ดำรง ไม่ เบยี้ ยงั ชีพ

ชพี ชพี ด้วย เหมาะสม

การ

เรร่ อ่ น

ขอทาน

ตดิ บา้ น ติดสังคม (ติดเตยี ง) ดำรง เหมาะสม

ADL ADL ADL ชพี ดว้ ย
(12-14) (5-11) (0-4)
การ

เร่ร่อน

ขอทาน

บงึ กาฬ 63,107 57,989 1291 29,481 211 2 28 1
นครพนม 116,352 96,232 71,320 3,347 395
สกลนคร 180,580 158,746 1,345 70,488 1160 0 172 0
มุกดาหาร 55,779 49,947 4,003 2,062 222
กาฬสินธุ์ 171,665 158,592 90,974 2,209 258 3 71 2
อำนาจเจริญ 65,408 65,408 39,083 1,355 190
อบุ ลราชธานี 303,720 274,879 15,159 191,172 2,692 0 152 0
956,611 861,793 223,175 300,114 5,128
รวม 8 66 2

0 60 0

3 N/A 5

16 549 10

ทีม่ า : รายงานสถานการณท์ างสังคมจงั หวัด สำนกั งานพฒั นาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์ 7 จังหวดั ในเขตพน้ื ที่รบั ผดิ ชอบ
สสว.6 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565

จากตารางท่ี 24 แสดงสถานการณ์ผู้สูงอายุ จำแนกตามจังหวัด ปี 2564 ของกลุ่มจังหวัดในเขตพื้นที่
รับผิดชอบ สสว.6 พบว่า จำนวนผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 956,611 คน ได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน
861,793 คน ผู้สูงอายุจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) พบว่า อันดับ 1 เป็นกลุ่ม
ผู้สูงอายุ ติดสังคม จำนวน 300,114 คน อันดับ 2 ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 223,175 คน อันดับ 3 ผู้สูงอายุ
ติดเตียง จำนวน 5,128 คน

รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลมุ่ จงั หวัดในเขตพนื้ ที่รับผิดชอบของสำนกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจริญ และอบุ ลราชธานี)

3.6 กลุ่มคนพกิ าร 36
ตารางท่ี 25 แสดงสถานการณ์คนพิการ จำแนกตามจงั หวัด ปี 2565
(หนว่ ย:คน)
จงั หวดั จำนวนคนพกิ าร คนพกิ ารทม่ี ีบัตรประจำตวั คน
ท้ังหมด พิการ คนพิการท่ีได้รับเบย้ี ยงั ชพี
เบีย้ ยังชีพ เบี้ยยงั ชีพ
คนพิการ ผู้สูงอายุ

บึงกาฬ 12,759 12,759 12,255 6,235

นครพนม 23,691 23,691 23676 11,018

สกลนคร 39101 39101 36897 N/A

มกุ ดาหาร 11513 11513 11209 5,432

กาฬสินธุ์ 38,623 38,623 38623 N/A

อำนาจเจรญิ 16369 16369 16429 N/A

อบุ ลราชธานี 68,075 68,075 68,075 37,940

รวม 210,131 210,131 207,164 60,625

ทีม่ า : ระบบงานออกบตั รประจำตัวคนพิการ กรมสง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนพกิ าร ณ วันท่ี 31 มนี าคม 2565

https://ecard.dep.go.th/nep_all/stat.php

จากตารางที่ 25 แสดงสถานการณ์คนพิการ จำแนกตามจังหวัด ปี 2565 พบว่า กลุ่มจังหวัดในเขตพื้นท่ี

รับผิดชอบสสว.6 มีจำนวนคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จำนวน 210,131 คน

และคนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 207,164 คน คนพิการที่ได้รับเบี้ยความพิการ จำนวน 207,164 คน คน

พกิ ารท่ีได้รบั เบีย้ ยงั ชีพผสู้ งู อายุ จำนวน 60,625 คน

ตารางที่ 26 แสดงสาเหตุความพกิ าร จำแนกตามจังหวดั ปี 2565

จงั หวดั พนั ธกุ รรม โรคติดเชอื้ สาเหตคุ วามพิการ
อุบัติเหตุ โรคอ่ืน ๆ ไมท่ ราบสาเหตุ มากกว่า 1 สาเหตุ

บงึ กาฬ 94 142 1,069 2,110 3,668 0

นครพนม 4,920 4220 6,174 3,330 2,580 2,382

สกลนคร 116 286 1,360 65 32,350 1,893

มุกดาหาร 455 1,127 585 193 8,664 494

กาฬสินธ์ุ 756 480 2,031 7,426 7,333 7,626

อำนาจเจรญิ 69 358 1,601 4,562 9,839 0

อุบลราชธานี 149 739 2,606 5,113 57,283 0

รวม 6,559 7,352 15,426 22,799 121,717 12,395

ท่ีมา : ข้อมลู จากศูนยบ์ ริการคนพกิ ารจังหวดั ณ วันท่ี 31 มนี าคม 2565

รายงานสถานการณท์ างสังคมกลมุ่ จงั หวดั ในเขตพืน้ ทีร่ ับผดิ ชอบของสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บงึ กาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธุ์ อำนาจเจรญิ และอุบลราชธานี)

37

แผนภมู ิที่ 11 แสดงจำนวนคนพกิ ารแยกตามสาเหตคุ วามพกิ ารของกล่มุ จงั หวัดในเขตพืน้ ทร่ี ับผดิ ชอบของ สสว.6

140000 121717
120000

100000

จํานวนคนพิการ 80000

60000

40000 22799
โรคอนื่ ๆ
20000 6559 7352 15426 12395
อุบตั ิเหตุ
0 โรคติดเช้อื ไมท่ ราบสาเหตุ มากกวา่ 1 สาเหตุ
พนั ธุกรรม

สาเหตคุ วามพิการ

ทม่ี า : ข้อมลู จากศูนย์บริการคนพิการจังหวัด ณ วนั ท่ี 31 มีนาคม 2565

จากขอ้ มูลตารางที่ 26 และแผนภมู ทิ ่ี 11 แสดงสาเหตุความพิการ จำแนกตามจงั หวัด ปี 2564 ของจงั หวัด
ในเขตรับผิดชอบของ สสว.6 พบว่า สาเหตุความพิการมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ อันดับ 1 ไม่ทราบสาเหตุ
จำนวน 121,717 คน อันดับ 2 คือ โรคอื่น ๆ จำนวน 22,799 คน อันดับ 3 คือ อุบัติเหตุ จำนวน 15,426 คน
และเม่อื พิจารณา รายจังหวัดในดา้ นสาเหตคุ วามพิการ พบวา่ สาเหตุความพิการด้านพนั ธุกรรมมากทสี่ ดุ คือจังหวัด
นครพนม จำนวน 4,920 คน รองลงมาคือจังหวัดกาฬสินธ์ุ จำนวน 756 คน ด้านโรคติดเชื้อมากที่สุดคือ จังหวัด
นครพนม จำนวน 4,220 คน รองลงมาคือจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 1,227 คน ด้านอุบัติเหตุมากทีส่ ดุ คือ จังหวดั
นครพนม จำนวน 6,174 คน รองลงมาคือจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2,606 คน โรคอื่นๆ มากที่สุดคือจังหวัด
กาฬสินธุ์ จำนวน 7,426 คน รองลงมาคือจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5,113 คน ไม่ทราบสาเหตุ มากที่สุดคือ
จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 57,283 คน รองลงมา คือจังหวัดสกลนคร จำนวน 32,350 คน มากกว่า 1 สาเหตุ
มากที่สุดคอื จังหวัดกาฬสินธ์ุ จำนวน 7,626 คน รองลงมา คอื จังหวัดนครพนม จำนวน 2,382 คน

รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวัดในเขตพน้ื ที่รับผิดชอบของสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วิชาการ 6
(บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสนิ ธ์ุ อำนาจเจรญิ และอบุ ลราชธานี)


Click to View FlipBook Version