ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย ชลธิชา มะแพน นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย ชลธิชา มะแพน นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีต่อความสามารถใน การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัย นางสาวชลธิชา มะแพน สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์กัลยกร ภักดี ครูพี่เลี้ยง นางสาววรดา พรมนาไร่ อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย .................................................................. หัวหน้าสาขาวิชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรัญญา ศรีบัว) วันที่.......…เดือน…….…………พ.ศ…………… คณะกรรมการผู้ประเมินรายงานวิจัยในชั้นเรียน ..................................................................................ประธานคณะกรรมการ (อาจารย์กัลยกร ภักดี) ..................................................................................กรรมการ (นางสาววรดา พรมนาไร่ ) ..................................................................................กรรมการ (นางสาวมัทนา ศรีสุข) ..................................................................................กรรมการ (นางสาวนวรัตน์ อ้วนแพง)
หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีต่อความสามารถในการ แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัย นางสาวชลธิชา มะแพน สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กัลยากร ภักดี ครูพี่เลี้ยง นางสาววรดา พรมนาไร่ บทคัดย่อ จากการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็ก ปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 เทศบาล 8 จำนวน 16 คน ซึ่งได้จากการ สุ่มแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง แสง แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของ เด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที่แบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ เรื่องแสง มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัด ประสบการณ์
ก กิตติประกาศ การวิจัยครั้งนี้สำเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจากอาจารย์ กัลยกร ภักดี อาจารย์ปรึกษา ที่ได้ให้คำแนะนำ ข้อคิด และตรวจปรับข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความ เอา ใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณ คุณครูมัทนา ศรีสุข คุณครูนวรัตน์ อ้วนแพง และคุณครู บุษบา ศรีสุดตา ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ทั้งให้ คำแนะนำอย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณ คณาจารย์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทุกท่านที่ได้กรุณา อบรม สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และให้ประสบการณ์ที่ดี และมีคุณค่าอย่างยิ่งกับผู้วิจัยจนทำให้ผู้วิจัยประสบ ความสำเร็จในการศึกษา ขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทุกท่านที่ให้กำลังใจซึ่งกันและ กันด้วยดีเสมอมาและขอขอบพระคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการทำวิจัยอีกหลายท่านที่มิได้กล่าว นามในที่มีส่วนสนับสนุนในการทำวิจัยสำเร็จด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณท่านชูกิจ ผลทิพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 เทศบาล 8 ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ใช้สถานที่และกลุ่มตัวอย่างรวมถึงขอขอบคุณนักเรียนชั้น อนุบาล 3/2 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือแก่ผู้วิจัยในการศึกษาค้นคว้าและทดลองในครั้งนี้ คุณค่าอันพึงมีจากปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาแก่พระคุณ บิดามารดาใน การ อบรมเลี้ยงดู ให้โอกาสทางการศึกษา และเป็นแบบอย่างของความใฝ่รู้และพากเพียร ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ เป็นเครื่องเตือนสติในความอดทนต่ออุปสรรคทั้งปวง อีกทั้งพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน ทั้งในอดีต และ ปัจจุบันที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทำให้ผู้วิจัยได้รับประสบการณ์อันทรงคุณค่ายิ่ง ชลธิชา มะแพน
ข สารบัญ หน้า กิตติประกาศ………………………………………………………………………………………………………….. สารบัญ…………………………………………………………………………………………………………………. สารบัญภาพ………………………………………………………………………………………………………….. สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………………………….. บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา……………………………………………………….. วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………………………………. สมมติฐานของการวิจัย……………………………………………………………………………….. ขอบเขตของการวิจัย………………………………………………………………………………….. นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………………………………………………………. ประโยชน์ที่จะได้รับ…………………………………………………………………………………… กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………………………………. 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ความหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย………………………………… ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย……………………………….. แนวคิดในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย……………………………………….. หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย……………………………………………….. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ความหมายของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์………………………………………. ความสำคัญของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์……………………………………… รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์………………………………………………….. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย…… สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย………………………………………………………………. สาระการเรียนรู้เรื่องพลังงานแสง………………………………………………………………. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา ก ข ง จ 1 3 4 4 5 6 6 7 7 9 10 17 17 18 18 21 21 21
ค สารบัญ (ต่อ) หน้า ความหมายของความสามารถในการแก้ปัญหา…………………………………….. 24 ความสำคัญของความสามารถในการแก้ปัญหา……………………………………. 26 ประเภทและลักษณะของการแก้ปัญหา……………………………………………… 27 ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา…………………………….. 28 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา…………………… 30 การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา…………………………………………. 31 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา………………………….. 35 3 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………………………… 37 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………………….. 37 การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ…………………………… 37 การเก็บรวบรวมข้อมูล……………………………………………………………………. 42 การวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………………… 43 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………… 44 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 47 การวิเคราะห์ข้อมูล 47 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 47 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………………………………………………………... 50 สมมติฐานของการวิจัย…………………………………………………………………… 50 ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………………… 50 สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………………………….. 52 อภิปรายผล………………………………………………………………………………….. 52 ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย……………………………………………………………… 54
ง สารบัญ (ต่อ) หน้า ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้………………………………………………… 55 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป……………………………………………… 55 เอกสารอ้างอิง……………………………………………………………………………………… 57 ภาคผนวก ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ………………………… 62 ภาคผนวก ข ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบ ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย……………… 64 ภาคผนวก ค -แผนภูมิเครือข่ายการเรียนรู้ (Web)………………………….. 67 -ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง……… 68 -ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง แสง………………… 71 ภาคผนวก ง -คู่มือแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของ เด็กปฐมวัย…………………………………………………………….. 78 -ตัวอย่างแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา……. 80 -เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา……. 83 -แบบบันทึกการให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา 84 ภาคผนวก จ ตัวอย่างภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง………. 86 ประวัติผู้จัดทำ………………………………………………………………………………. 91
จ สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………………………………………… 6 2 ขั้นตอนการสร้างแผนการจัดประสบการณ์เรื่องแสง……………………………………………….. 39 3 ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบการแก้ปัญหา………………………………………………………….. 41
ฉ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลอง………………………………………………………………………………………… 42 2 การดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง…………………………………………. 43 3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง……………………………………………………….. 48 4 การเปรียบเทียบคะแนนความสามรถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง………………………………………… 49
1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เด็กปฐมวัย คือวัยที่เริ่มต้นของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี จัดได้ว่าเป็นระยะที่สำคัญ ที่สุด ของชีวิต เพาะพัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว พัฒนาการของเด็กในวัยนี้ควรได้รับ การส่งเสริม ให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใต สังคม และสติปัญญา และการศึกษา ปฐมวัย เป็นการ จัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาโดยมุ่งให้เด็ก พัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใต สังคม และสติปัญญา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และ ความแตกต่างระหว่างบุคคล (กรมวิชาการ, 2546: 3; อ้างถึงใน จิระนันท์ ชิน พา. 2555: 1) การ พัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ควรจะเป็นการวางรากฐานความรู้ในด้านต่างๆ โดย เน้นการบูรนาการทักษะที่มี ความสำคัญและจําเป็นต่อเด็ก ได้แก่ ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะการใช้ภาษา ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะทางคณิตศาสตร์ และทักษะทางวิทยาศาสตร์พร้อมกับปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รัก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะเรียนรู้ เด็กปฐมวัยจึงควรเรียนรู้ผ่านการจัดประสบการณ์อย่าง เหมาะสม เพื่อรากฐานของการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม (สิริมา ภิญโญ อนันตพงษ์, 2544: 154; อ้างถึงใน ระนันท์ ชินพา. 2555: 1 ) การจัดกิจกรรมการพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้านการสอนกระบวนการคิด หรือการสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านสติปัญญา คุณธรรมและการเป็นพลเมืองดีอีก ทั้งมีศักยภาพสูง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการคิด โดยเน้นว่า จะต้องฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาตลอดจนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องซึ่งการพัฒนา บุคลากรสาขาต้องระดมสรรพกำลังทุกด้านเพื่อประเทศจะสามารถยืนบนขาตนเองด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีโดยที่พึ่งพาต่างประเทศให้น้อยลง แต่ปัญหาที่พบบ่อยในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณภาพไม่ว่าในประเทศไทยหรือในประเทศอีกหลายๆ ประเทศ คือ ปัญหาจากพัฒนาเด็กส่วนใหญ่ไม่ พัฒนารอบด้าน ในการจัดกิจกรรมการศึกษาของไทยนอกจากจะมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มี ความสามารถในการคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวแล้ว ควรจะส่งเสริมให้มีความสามารถในการคิด
2 คาดการณ์หรือการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ รอบตัวที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคตหรือเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ผู้เรียน สามารถก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (อินทวงษ์, 2552, น. 2; อ้างถึงใน พันธนิตย์ คุ้มครอง. 2561: 12) ลดาวัลย์กองช่าง (2530 : 3) กล่าวว่า การพัฒนาความสามารถในการคิดซึ่งเป็น กระบวนการทำงานของสมองและเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา การคิดเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็ก แสดงออกในสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์สามารถเผชิญปัญหาต่างๆ ได้การพัฒนาเด็กให้ เป็นผู้ที่คิดอย่างมีเหตุผลสามารถแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง อารีรังสินันท์ (2545 : 34) ให้ความหมายของสติปัญญาว่า หมายถึง ความสามารถทางสมอง ของบุคคลในการเรียนรู้ การคิดหาเหตุผล การตัดสินใจ ความสามารถในการแก้ปัญหา ตลอดจนการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพและสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการที่จะพัฒนาสติปัญญา ของเด็กปปฐมวัยเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ จึงต้องมีการพัฒนาการคิดและความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นกลไกทางสมองที่เกิดเองตาม ธรรมชาติ เป็นผลที่เกิดจากสมองถูกรบกวนจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและประสบการณ์เดิมเป็นส่วนตัว การแก้ปัญหาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางสติปัญญา อันเป็นกระบวนการการทำงาน ของสมองที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์เป็นพื้นฐานสำคัญเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญาได้เป็นอย่างดีการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสมตลอดจนการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกและใช้ความคิดอย่างเสรีร่วมกับกลุ่มเพื่อนและ ครู นับเป็นวิธีการที่สำคัญที่จะพัฒนาและตอบสนองต่อความต้องการของเด็กโดยเฉพาะการส่งเสริม ให้เด็กได้เรียนและกระบวนการคันพบด้วยตนเองจากประสบการณ์ต่างๆ เป็นพื้นฐาน จะช่วยให้ เด็กสามารถเผชิญปัญหาด้วยความเข้าใจและมองเห็นแนวทางว่า แต่ละปัญหาจะแก้ไขได้โดยวิธีการ ใด เด็กที่ได้ฝึกการคิดในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้เป็น อย่างดี (บุญชู ชลัษเฐียร. 2539 : 1) และฉันทา ภาคบงกช (2528 : 55) มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ว่า การส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสรับสิ่งแวดล้อม และสะสมประสบการณ์ต่างๆ อยู่เสมอจะเป็นพื้นฐาน ของการคิดที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ดี เพราะการแก้ปัญหา จัดว่าเป็นขั้นสูงสุดของการที่จะช่วยให้ สามารถนำไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องคำนึงถึงการพัฒนาเด็ก และในการจัดกิจกรรมนั้นๆ ไม่ได้ หมายความว่าเด็กๆ ทุกคนจะสามารถพัฒนาเหมือนกันหมดทุกคนโดยเฉพาะการจัดการศึกษาใน ระดับปฐมวัยที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เชิงเนื้อหาเป็นสำคัญ แต่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนา
3 เครื่องมือหรือทักษะการเรียนรู้ที่เด็กจะต้องใช้ต่อไป (ชมพูนุท จันทรางกูร. 2549: 33; อ้างถึงใน ดวง พร ผกามาศ. 2554: 18) ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะนำเอากิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือที่เรียกว่ากิจกรรมในวงกลม มาศึกษาทดลอง เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวได้ระบุ ไว้อย่างชัดเจน ในคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ว่า เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและ ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหาให้เหตุผล และปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วย วิธีต่างๆเช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ฯลฯ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2546: 62; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. : 15) และในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็ก ปฐมวัย ครูจะต้องมีความเข้าใจในการจัดกิจกรรมซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีการเรียนจิตวิทยาหลักการสอน ตลอดจนการเลือกเนื้อหาสาระ และเลือกสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการ และความสนใจของเด็ก ซึ่ง กรมวิชาการ (2546: 34-35) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนา เด็ก ทั้งนี้เพราะประสบการณ์ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความโดยเน้นเด็กเป็น สำคัญ และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวผ่านหน่วยการเรียนเรื่อง แสง ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้ที่ ใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และการดำรงชีวิตประจำวันของเด็ก สาระการเรียนรู้เรื่อง แสง ประกอบด้วย เรื่องราวที่เกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดและการเดินทาง ของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ตัวกลางของแสง การหักเหของแสงการ สะท้อนแสง แสงสี และ แสงกับการเจริญเติบโตของพืช จะเห็นได้ว่า หน่วยการเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่อง แสง เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการดำรงอของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือพืช ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแสงสว่างและพลังงานของแสงมาใช้ในชีวิตประจำวันทั้งทางตรงและ ทางอ้อม (ชานนท์ มูลวรณ; และ ทิพย์สุดา บัวแก้ว. 2544: 16; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. : 3) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ผ่านหน่วยการเรียนรู้เรื่อง แสง ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทาง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ได้นำ แนวทางไปใช้เป็นเกิดประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
4 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง สมมติฐานของการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มีความสามารถในการ แก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหา 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย สาระการเรียนเรื่อง แสง หมายถึง เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กนำมาใช้เป็น สื่อกลางในการจัดกิจกรรม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้สาระการเรียนรู้ เรื่อง แสง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดแสงและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ตัวกลางของแสง การหักเของแสง การสะท้อนแสง แสงสี และแสงกับการเจริญเติบโตของพืช 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ทำการ ทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 30 นาที กลุ่มตัวอย่างได้รับการทำ ลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลากิจกรรมเสริมประสบการณ์ นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้การดำเนินวิจัยในครั้งนี้มีความชัดเจน ผู้วิจัยจึงได้กำหนดความหมายของคำศัพท์ที่ใช้ ในการวิจัย ดังนี้ 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น
5 อนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จังหวัดอุดรธานี 2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง หมายถึงกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเข้าใจเนื้อหา กิจกรรมที่ใช้สาระการเรียนรู้เรื่อง แสง เด็กได้ใช้ความคิดและสัมผัสสื่อที่หลากหลาย โดยการปฏิบัติ จริง ตามความคิดของตนเอง ซึ่งกิจกรรมในแต่ละวันมีหลายรูปแบบ เช่น ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการ ทดลอง สังเกต สำรวจ และ ในแต่ละกิจกรรมมีแผนการจัดประสบการณ์ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ชั้นสอน ขั้นสรุป ซึ่งแต่ละขั้นมีรายละเอียด ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมด้วยการร้องเพลง ดูภาพ ฟังนิทาน การเล่นปริศนาทำทาย เป็นต้น ขั้นที่ 2 ขั้นสอน เป็นขั้นที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและใช้สื่ออุปกรณ์อย่างอิสระ รูปแบบของกิจกรรมนั้นมีทั้งการพูดคุย สนทนาซักถาม อภิปราย ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการทดลอง เด็กได้ลงมือกระทำ และแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป เป็นการสรุปเรื่องราวหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจสรุปหลังจาก ทำกิจกรรม หรือ สรุปในครั้งต่อไป โดยเด็ก และครูร่วมกันสรุป โดยการใช้คำถามหรือการไปหาข้อมูล โดยการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการหาคำตอบ 3. สาระการเรียนรู้หมายถึง เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กนำมาใช้เป็นสื่อกลางใน การจัดกิจกรรม[ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้สาระการเรียนรู้ เรื่อง แสง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดแสงและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นตัวกลาง ของแสง การหักเหของแสง การสะท้อนแสง แสงสี และแสงกับการเจริญเติบโตของพืช 4. ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง การที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย จากประสบการณ์ตรงหรือสิ่งของที่เป็นรูปธรรม จึงเกิดกระบวนการพัฒนา สติปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้และกระบวนการค้นพบตนเองจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค บุคคลจึงพยายามแก้ปัญหาให้ไปยังจุดมุ่งหมายที่ต้องการ ซึ่งความสามารถการแก้ปัญหาของเด็ก ปฐมวัย สามารถวัดได้จากแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา โดยผู้วิจัยแบ่งปัญหาที่เด็กพบ ในชีวิตประจำวันออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 4.1 ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น หมายถึง ปัญหาที่เกิดจากการ กระทำของ ตัวเด็กเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น 4.2 ปัญหาของตนเองเกี่ยวข้องกับผู้อื่น หมายถึง ปัญหาที่เกิดจากความต้องการหรือการ กระทำของตัวเด็กเอง แต่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
6 ประโยชน์ที่จะได้รับ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รับประโยชน์จากการวิจัย ดังนี้ 1. ได้ทราบผลการเปรียบเทียบความสามารถในการปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อน และหลัง ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง 2. ได้พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการจัดกิจกรรมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง 3. ได้แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ เรื่องแสงไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ กรอบแนวคิดในการวิจัย ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ความสามารถในการแก้ปัญหาประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ -ปัญหาของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น -ปัญหาของตนเองเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัยและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1.1 ความหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1.2 ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1.3 แนวคิดในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1.4 หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 2.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 2.2 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 2.3 รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย 3.2 สาระการเรียนรู้เรื่องพลังงานแสง 4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา 4.1 ความหมายของความสามารถในการแก้ปัญหา 4.2 ความสำคัญของความสามารถในการแก้ปัญหา 4.3 ประเภทและลักษณะของการแก้ปัญหา 4.4 ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา 4.5 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา 4.6 การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา 4.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา
8 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 1.1 ความหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย จากการศึกษาพบว่ามีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ ดังนี้ คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 58; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 8) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัด สภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัยโดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจาก การเล่น การลงมือปฏิบัติซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้อ่านเขียนแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือ พัฒนาทักษะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้ ไพเราะ พุ่มมั่น (2551: 10; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 8) กล่าวว่า การจัด ประสบการณ์เป็นการจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น การฟัง การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงกิจกรรมที่จัดมีทั้งกิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียน กระทรวงศึกษาธิการ (2546, หน้า35; อ้างถึงใน พรพรรณ บุญเนตร. 2561: 26) ได้ให้ ความหมาย ของกิจกรรมการจัดประสบการณ์ว่าเป็นการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเพื่อส่งเสริม พัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยมีสาระการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะ หรือกระบวนการ และ คุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมความรู้สำหรับเด็กวัย 3-5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆ รอบตัว มีโอกาสใกล้ชิด หรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจจะไม่เน้นเนื้อหา การท่องจำในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับทักษะ หรือกระบวนการจำเป็นต้อง บูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะทางการคิด ทักษะการใช้ภาษา คณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ เป็นต้นขณะเดียวกันควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักการเรียนรู้รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและมีคุณธรรมจริยธรรมที่ เหมาะสมกับวัย การจัดประสบการณ์ หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมที่ผู้สอนเลือก ที่ดีและเหมาะ สมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนให้เปลี่ยนแปลงไปจนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์และนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ (ธำรง บัวศรี , 2542 : 241-243; อ้างถึงใน กนกวรรณ พิทยะภัทร์. 2556: 21) เบญจมาศ วิไล (2544: 20; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 8) กล่าวว่า การจัด ประสบการณ์หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน สื่อและวัสดุอุปกรณ์
9 ต่างๆ โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการกระทำและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และส่งเสริมให้ เกิดพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์–จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับต่อไป คณะกรรมการการศึกษาปฐมวัย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2526: 194) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์หมายถึง การจัดสิ่งแวดลอมรอบตัวเด็ก การจัดวัสดุอปกรณ์สื่อจําลองและสื่อ อื่นๆ ที่มีลักษณะคุณสมบัติเหมาะสม อันจะเป็นสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เด็ก ทำกิจกรรมเพื่อ ตอบสนองกิจกรรมนั้น และเกิดประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดมุ่งหมาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การจัดประสบการณ์เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกห้องเรียนให้กับเด็กโดยให้เด็กได้รับประสบการณ์จากการ เล่นการลงมือปฏิบัติโดยผ่าน ประสาทสัมผัสทั้งห้าและส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน 1.2 ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535: 47; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 23) ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยมากเพราะเป็นกิจกรรมที่ ช่วยให้เด็กได้เข้าใจเนื้อหากิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน กิจกรรม เสริมประสบกรณ์ช่วยให้เด็กมีความคิดรวบยอดที่ชัดเจน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาให้เด็ก เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาหน่วยการสอน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมฝึกการกล้า แสดงออก นอกจากนั้นยังช่วยเด็กให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครู ศรียา นิยมธรรม และประภัสสร นิยมธรรม (2518: 45; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 8) อ้างถึงความสำคัญของ การจัดประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก และ การสนทนาระหว่างเด็กด้วยกัน จะทำให้เด็กสามารถเข้าใจกันได้เร็วกว่าครู เป็นผู้อธิบายหรือเล่าให้ ฟัง อุทัย เพชรช่วย (2558:24; อ้างถึงใน วนิดา โรจนอุดมศาสตร์. 2562: 50) กล่าวว่า การ จัดประสบการณ์ให้เด็กนั้นได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ฝึกการทำกิจกรรมตามลำพังและการรวมกลุ่ม เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจกันได้ดีกว่าการเรียนรู้จากครู เสียอีก เพราะภาษาที่เด็กได้พูดสื่อสารกันนั้นสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่าภาษาครู ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของเพียเจท์(Piaget) ที่กล่าวว่าการจัดประสบการณ์ตรงให้เด็กได้แสดงออกในการคิดและการ สนทนาระหว่างเด็กด้วยกันจะทำให้เกิดความเข้าใจได้เร็วกว่าครูเป็นผู้อธิบายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ สาระสำคัญตามหน่วยการจัดประสบการณ์ (หน่วยเรียนรู้) ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรพุทธศักราช 2560 อุไรวรรณ คุ้มวงศ์ (2551: 9; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 23) กล่าวว่า ความสำคัญของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์คือ การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุ
10 จุดมุ่งหมายของการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน โดยจะคำนึงถึง สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว สิ่งที่เป็นรูปธรรม เปิด โอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง จนเด็กเกิดความคิดรวบยอดที่ชัดเจน นงเยาว์คลิกคลาย (2543 : 20; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 9) เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ กําลังมีพัฒนาการอย่างรวมเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา การจัดประสบการณ์ ตรงโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กมีอิสระในการคิด การแสดงออก และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง เด็กกับเด็กในสภาพการณ์ที่เป็น จริงจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถพัฒนาการ สื่อสารที่ดี จึงกล่าวได้ว่า การจัดประสบการณ์ยึดเด็กเป็นสำคัญให้เด็กได้มีอิสระในการคิดการ แสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เรียนรู้มีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม เด็กจะเกิดการเรียนรู้เอง ได้ดี 1.3 แนวคิดในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย อิริคสัน (Erik Erikson. n.d.) เจ้าของทฤษฏีพัฒนาการทางบุคลิกภาพ โดยเน้นว่า บุคลิกภาพของคนเราจะสามารถพัฒนาไปได้ดีถ้าเด็กได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนพอใจในแต่ละช่วง อายุทำให้การศึกษาในระดับปฐมวัย เริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาการด้านอารมณ์–จิตใจ สังคม จอห์น ล็อค (John Lock) มีความเห็นว่า เด็กทารกเปรียบเสมือนผ้าขาว ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ จะมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ แตกต่างกันซึ่ง บีเอฟ สกินเนอร์(B.F. Skinner) เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเราเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นได้ด้วยตัวเสริมแรง ดังนั้น ในการสอนครู สามารถนําเด็กไปสู่พฤติกรรมหรือการเรียนรู้ที่ต้องการได้สอดคล้องกับเปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) มี ความเชื่อว่าความรักเป็นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในการพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกายและ สติปัญญา ความเชื่อในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านความสนใจ ความ ต้องการ หรือระดับความสามารถในการเรียนรู้เปสตาลอสซี่เป็นต้นความคิดในเรื่องของการเตรียม ความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควรถูกบีบบังคับ ให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาและ ประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจ นอกจากนี้ยังมีนักปรัชญาการศึกษาอีกหลายคนที่เน้นประสบการณ์ที่เหมาะสมและการ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการช่วยให้เด็กได้พัฒนายิ่งขึ้นได้แก่ ดิวอี้คิดว่าช่วงอายุ 4-8 ปีเป็นวัยที่ต้องการการแสดงออก กิจกรรมที่จัดควรให้ สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของเด็ก ซึ่งเด็กจะเป็นผู้จําลองประสบการณ์นั้นตามจินตนาการของ ตนเอง ให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมและวางแผนการทำงานด้วย แนวความคิดของดิวอี้มี อิทธิพลต่อการจัดรูปแบบของการจัดกิจกรรมแก่เด็กปฐมวัย ทำให้นักการศึกษาหันมาสนใจทางด้าน การปรับตัวทาง สังคมและอารมณ์ของเด็กมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่ม
11 กิจกรรมการแก้ปัญหา และการปฏิบัติการทดลองซึ่งเป็นการปูพื้นฐานในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข (คณะกรรมการกองทุนศาสตราจารย์ ดร. อบลุ เรียงสวรรณ ุ . 2538: 33; อ้างถึง ใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 11) นอกจากนี้ดิวอี้ได้กล่าวว่า เด็ก เรียนรู้โดยการกระทำ ฉะนั้น กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฐมวัยควรจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีความ หลากหลายตามความสนใจของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้(พัฒนา ชัชพงศ์. 2540: 15; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 11) พีอาเจท์(Jean Piaget) เชื่อว่า พัฒนาการทางด้านเชาวปัญญาของเด็กเกิดจากการที่ เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก ซึ่งมีขบวนการปรับโครงสร้าง ดังนี้ 1. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) เป็นการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 2. การปรับขยายโครงสร้าง (Accomodation) เป็นการปรับขยายประสบการณ์ เก่าความคิดเก่า ความเข้าใจเก่าๆ ให้ขยายมากยิ่งขึ้น พีอาเจท์ได้แบ่งขั้นของพัฒนาการมนุษย์ออกเป็น 4 ขั้น ในที่นี้จะกล่าวเพียง 2 ขั้น ซึ่งเป็น ขั้นที่เกิดขึ้นในช่วงปฐมวัย ดังนี้ 1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) วัย 0-2 ปีเด็ก เรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน 2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Preoperational Stage) ในวัย 2-7 ปีเด็กเริ่ม เรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารแต่ไม่สามารถคิดหาเหตุผลได้ดีเด็กยังคงยึดตนเองเป็น ศูนย์กลางอย่างมาก สามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของได้ตามเกณฑ์ของตน สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ศึกษาองค์ความรู้เรื่องการเรียนรู้ของเด็ก ปฐมวัย ของกลุ่มแนวคิดทฤษฎีต่างๆ 10 แนวคิดทฤษฎีและพบว่าม 5 แนวคิดทฤษฎีที่มีการนำมา ประยุกต์ในบริบทของสังคมไทยในโรงเรียนอนุบาลและประสบความสำเร็จสามารถเป็นผู้นำการ เปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด แนวคิดทฤษฏีทั้ง 5 แนวคิด มีดังนี้ 1. แนวคิด เรกจิโอเอมิเลยี การจัดการศึกษาตามแนวคิดเรกจิโอเอมิเลยี เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาจากความเชื่อว่า การเรียน การสอนนั้นไม่ใช้การ ถ่ายโอนข้อมลูความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเด็กได้ เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจหรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็ก และบทบาทของครูจะต้องส่งเสริมและ สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจได้อย่างเต็มศักยภาพของเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่า เด็กมีวิธีการเรียนรู้ได้อย่างไร และเด็กมีความสามารถในการสื่อสารออกมาถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่ง ที่เรียนรู้ด้วยวิถีทางใด สำหรับแนวคิดสำคัญที่นำไปสู่การปฏิบัติในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
12 1.1 วิธีการมองเด็ก (The Image of the Child) เด็กในสายตาของครูคือ เด็กแต่ละคน มีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดมา เด็กมีวิธีการเรียนรู้เป็นไป ตามระยะของพัฒนาการในแต่ละวัย เด็กแต่ละคนจะเต็มไปด้วยพลังความปรารถนาที่จะเติบโตและ งอกงาม ความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถในการแสดงออกถึงความต้องการที่จะสัมพันธ์และ สื่อสารกับผู้อื่น ด้วยการแสดงออกทางแววตา สีหน้า อากัปกิริยา การจับต้องสัมผัส ฯลฯ โดยเฉพาะ ความต้องการที่จะสื่อสารนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สำหรับเด็ก เพื่อการอยู่รอดและคงความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับเผ่าพันธ์ุตนที่เกิดมา 1.2 โรงเรียนเป็นสถานที่่บูรณาการสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย การใช้ชีวิตและมี สัมพันธภาพร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก โรงเรียนเปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการอยู่ ตลอดเวลาและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวของเด็กต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตของ เด็กในโรงเรียน นอกจากครอบครัวแล้วชุมชนก็ต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ถึงความเป็นไปในโรงเรียน เช่นกัน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึง สิทธิที่พึ่งได้ของเด็กปฐมวัยและการยอมรับเด็กในฐานะของการ เป็นผู้รับช่วงหน้าที่ในการจรรโลงสังคมในอนาคต 1.3 ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การสอนและการเรียนต้องควบคู่ไป ด้วยกัน แนวคิด เรกจิโอเอมิเลยี จะให้ความสำคัญของการเรียนรู้มากกว่าการสอน วัตถุประสงค์ของ การจัดการศึกษา ตามแนวคิดเรกจิโอเอมิเลยีคือการจัดสิ่งแวดล้อมและให้โอกาสเด็กได้คิดประดิษฐ์ และค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสำหรับเด็กจึงไม่ใช่การสอนจากครูที่เป็นการบอกเล่า โดยตรงแต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้โดนครูเป็นผู้ประสานงาน ส่งเสริมและจัด สิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ครูต้องมีการนำเสนอทางเลือกทหลากหลาย การเสนอ ความคิดเห็นและ เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้(สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์; และ ธิดา พิทักษ์สินสุข. 2543: 1-4; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 13-14) 2. แนวคิดของการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติไม่ใช่วิธีการสอนภาษา แต่เป็นปรัชญา แนวคิดที่จะให้เด็กๆ ได้พัฒนาทางด้านความคิดและการใช้ภาษาโดยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง จากสิ่งที่เรียนอย่างมีความหมาย เด็กจะรับและซึมซับข้อมูลทางภาษาจากสภาพแวดล้อมในบริบททาง สังคม วัฒนธรรมและการใช้ภาษาร่วมกับผู้คนที่อยู่แวดล้อมใกล้ชิด ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ภาษาได้ดีโดยเด็กจะไม่เกิดความรู้สึกยากลำบากในการเรียนเหมือนแนวการสอนภาษาในระบบ โรงเรียนแบบเดิม แนวการสอนแบบธรรมชาติจะนําให้เด็กเข้าถึงความจริงโดยการฝึกเชื่อมโยงให้ ผู้เรียนมองชีวิตและสรรพสิ่งจากภาพรวมไปสู่ส่วนย่อย ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นธรรมชาติและ เปิดนำความสามารถของเขา เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งเป็นรากฐาน
13 สำคัญในการนำไปสู่ขั้นสูงสุดของศักยภาพที่มนุษย์พึงจะเป็นได้(มูลนิธิชมรมไทย–อิสราเอลในพระ ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ. 2543: 7-11; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 16) 3. แนวคิดวอลดอร์ฟ หัวใจสำคัญของการศึกษาแบบวอลดอร์ฟคือ ความเชื่อมั่นว่าคุณค่าอันล้ำลึก ที่สุด และเป็นสากลที่สุดของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการศึกษานำมาซึ่งความสมดุลระหว่าง ความสามารถ ในการคิดรู้สึกและพลังเจตจำนงซึ่งดำรงอยู่ในตัวเด็กแต่ละคน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟมุ่งหวังจะพัฒนามนุษย์ให้เป็น ดังนี้ 3.1 ผู้ซึ่งมีความคิดแยบคาย สดใส มีพลังและสร้างสรรค์ 3.2 ผู้ซึ่งมีความรู้สึกในใจเปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา กล้าหาญ ศรัทธาต่อ ชีวิต และมีจิตใจใฝ่รู้ 3.3 ผู้มีพลังเจตจำนงแน่วแน่ สามารถบรรลุภารกิจแห่งชีวิตที่ตนเองเป็นผู้ เลือกสรร การศึกษาแบบวอลดอร์ฟมุ่งหมายที่จะดึงศักยภาพ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวเด็กแต่ละคนให้แสดง ออกมา ไม่มุ่งเน้นจะนำข้อมูลความรู้จากภายนอกใส่เข้าในใจเด็กเพื่อการผลิตซ้ำ โดยนัยนี้จึงเอึ้อ อํานวยให้อนุชนทั้งหลายคนพบพลัง ความกระตือรือร้นและปัญหาที่ตนเองมีอยู่ เพื่อนำมาซึ่ง คุณภาพสูงสุดของตัวเขาเอง (พร พันธุ์โอสถ. 2543: 1-2; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 15) 4. แนวคิดมอนเตสซอรี่ แนวคิดการสอนของมอนเตสซอรี่ เป็นแนวคิดที่คํานง ถึงเดก็เป็นจุดหลักในการเรียนการสอน ความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ ด้วยตนเองแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็ก ได้นำมาพิจารณาและวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธการที่ ดีที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยความรู้สึกของความมีอิสระ ได้ใช้จิตของตนในการซึม ซับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เกิดความอยากรู้อยากเห็นและแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิมีวินัยในตนเอง เกิดการพัฒนาการทุกๆ ด้าน ในเวลาเดียวกัน แนวคิดการสอนของมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เพราะฉะนั้น อุปกรณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ได้วางแผนมาให้ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ อุปกรณ์ ของมอนเตสซอรี่มีทั้งส่วนที่ช่วยพัฒนาทางประสบการณ์ชีวิต วิชาการและประสาทสัมผัส เช่น การ แต่งกาย อุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด การขัด และอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์ จะออกแบบเฉพาะให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา การคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์อุปกรณ์ ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น ความรู้สึกและการใช้ ประสาท สัมผัสร่วมกัน (จีระพันธุ์พูลพัฒน์; และ คำแก้ว ไกรสรพงษ์. 2543: 5-7) 5. แนวคิดไฮสโคป หลักการที่สำคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัยคือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็ก เรียนรู้แบบลงมือกระทำหมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัด
14 กระทำกับวัตถุได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิด และเหตุการณ์จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง (พัชรีผลโยธินและคณะ. 2543: 5 - 10; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 14) จึงกล่าวได้ว่า แนวทางการจัดประสบการณ์เน้นประสบการณ์ที่เหมาะสมแกเด็กและเด็ก เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการช่วยให้เด็กได้พัฒนายิ่งขึ้น 1.4 หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความพร้อม ความ เหมาะสม ความสนใจ ความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยกิจกรรมที่จัดครูเป้นผู้สร้างบรรยากาศ ตระเตรียม วัสดุอุปกรณ์เป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุน ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม มีโอกาส ทำซ้ำๆ ค้นคว้าด้วยตนเอง ได้เล่น ลงมือปฏิบัติจริงอาจจะเป็นรายคนหรือเป็นกลุ่ม ให้เด็กได้มีโอกาส สัมผัส สำรวจ แยกแยะ เปรียบเทียบ ทดลอง สังเกต ได้ปฏิบัติจริง ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม จนผู้เรียนเกิดและมีพัฒนาการที่ดีทั้ง ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์– จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา (อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. 2551: 18; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 18) กรมวิชาการ (2546 : 34 - 35; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 17-18) ได้กล่าวถึง แนวทางในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ปฐมวัยไว้ดังนี้ 1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่าง ต่อเนื่อง 2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่าง บุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ 3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต 4. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่ง ของการจัดประสบการณ์ 5. ให้ผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก กรมวิชาการ (2546 : 51; อ้างถึงใน วนิดา โรจนอุดมศาสตร์. 2562: 51-52) ได้กำหนด หลักการจัดประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็กไว้ดังนี้ 1) กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ เด็กแต่ละคนมีความสนใจแตกต่าง กัน จึงควรจัดให้มีกิจกรรมหลายประเภทที่เหมาะสมกับวัยตรงกับความสนใจและความต้องการของ เด็กเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสและความสามารถ กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่และควรมีความสมดุล คือ ให้มีทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและสงบ กิจกรรมที่เด็กริเริ่มและครูริเริ่ม 2) เวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย มีการยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ และความสนใจชองเด็ก เช่น
15 วัย 3 ขวบ มีช่วงความสนใจสั้นประมาณ 8 นาที วัย 4 ขวบ มีช่วงความสนใจสั้นประมาณ 12 นาที วัย 4 ขวบ มีช่วงความสนใจสั้นประมาณ 15 นาที 3) กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ และผู้ใหญ่ หลักในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ผู้จัดต้องตั้งมั่นอยู่บน แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีพัฒนาการของเด็ก โดยยึดเด็กเป็นสำคัญให้เด็กได้เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยดูแลในการทำกิจกรรมของเด็ก กิจกรรมที่ควรจัด สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นประจำทุกวัน มีดังนี้(สำนักคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ. 2544: 31–35; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 20) 1. กิจกรรมและจังหวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวสวน ต่างๆ ของร่างกายอยางอิสระตามจังหวะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้โดยใช้จังหวะและดนตรีประกอบการ เคลื่อนไหวเช่น เสียงเพลง คําคล้องจอง เสียงตบมือเครื่องเคาะจงหวะและอุปกรณ์อื่นๆ 2. กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์(ศิลปศึกษา) เป็นกิจกรรมที่ช่วยเดกให้แสดงออกทาง อารมณ์ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริม กระตุ้น ให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเองโดยใช้ศิลปะเช่น การ วาดภาพ ระบายสีการปั้น การฉีก ตัด ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์หรือวิธีการอื่นๆ ที่เด็ก ได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์การสร้างรูปจาก กระดานปักหมุด ฯลฯ 3. กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสรีหรือการเล่นตามมุม เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสใหดเด็กเล่น อิสระตามมุม การเล่น หรือมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมร้านค้า มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์หรือมุมธรรมชาติศึกษา เป็นต้น มุมต่างๆ เหล่านี้ เด็กมี โอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม กิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทจะสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก 4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
16 กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กมีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิด ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย การจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์สามารถจัดได้หลายวิธีเช่น การสนทนาอภิปราย เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาในการพูด การฟัง รู้จักแสดงความ คิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งสื่อที่ใช้อาจเป็นของจริงของจําลองรูปภาพ สถานการณ์จําลองฯลฯ การเล่านิทาน เป็นการเล่าเรื่องต่างๆ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เน้นการปลูกฝังให้เกิด คุณธรรม จริยธรรม วิธีการนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น ในการเล่านิทานสื่อที่ใช้อาจเป็นรูปภาพ หนังสือ นิทาน หุ่น การแสดงทาทางประกอบการเล่าเรื่อง การสาธิต เป็นการจัดกิจกรรมที่ต้องการให้เด็กสังเกตและเรียนรู้ตามขั้นตอนของ กิจกรรมนั้นๆ ในบางครั้งครูอาจให้เด็กอาสาสมัครเป็นผู้สาธิตร่วมกับครูเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงเช่น การเพาะเมลด็การเป่าลูกโปง การเล่นเกมการศึกษา การทดลอง / ปฏิบัติการ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เพราะได้ทดลองปฏิบัติด้วย ตนเอง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง ฝึกการสังเกต การคิดแก้ปัญหา ส่งเสริมให้เด็กมีความอยากรู้อยาก เห็นและ ค้นพบด้วยตนเอง เช่น การประกอบอาหาร การทดลองทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆ การเลี้ยง หนอนผีเสื้อ การปลูกพืชฯลฯ การศึกษานอกสถานที่ เป็นการจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงอีกรูปแบบหนึ่งด้วย การพาไปทัศนศึกษาสื่อต่างๆ รอบโรงเรียน หรือสถานที่นอกโรงเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มพูน ประสบการณ์แก่เด็ก การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการให้เด็กเล่นสมมติตนเองเป็นตัวละครต่างๆ ตามเนื้อเรื่องในนิทาน หรือ เรื่องราวต่างๆ อาจใช้สื่อประกอบการเล่นสมมติเพื่อเร้าความสนใจและก่อให้เกิดความสนุกสนาน เช่น หุ่นสวมศีรษะ ที่คาดศีรษะรูปคนและรูปสัตว์รูปแบบต่างๆ เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ของจริง ชนิดต่างๆ
17 การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออก เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลน และเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ 5. กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งหรือการเล่นกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาส ออกไป นอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่เป็นกลางแจ้งและในร่ม เพื่อให้เด็กได้ออกกําลัง เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละ คนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ครูควรจดให้เด็กเล่น เช่น การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นทราย การเล่นน้ำ การเล่นสมมติในบ้านตุ๊กตาหรือบ้านจําลอง การเล่นในมุมช้างไม้การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา และการเล่นเกม การละเล่น 6. เกมการศึกษา เกมการศึกษาเป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกระบวนการในการ เล่นตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ มีเกณฑ์ง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้ช่วยให้ เด็กสังเกต คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสีรูปร่างจำนวน ประเภท และความสัมพันธ์ เกี่ยวกับพื้นที่ระยะ เช่น เกมจับคู่แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ โดมิโน ลอตโต ภาพตัดต่อ ตามแบบ ฯลฯ สรุปได้ว่า หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยจัด กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือกระทำผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อพัฒนาเด็กได้อย่าง ต่อเนื่อง ภายใต้บริบททางสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 2.1 ความหมายของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ วันทนีย์เหมาะผดุงกุล (2535: 22; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 22) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการหมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เนื้อหาวิชาการต่างๆ หลายวิชาม ความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน ครูอาจใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ เช่น การอภิปราย การ เล่านทาน การศึกษานอกสถานที่ การสาธติปฏิบัติการทดลอง การเล่นเกม เป็นต้น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และ ปฏิบัติทดลอง เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การ สนทนาซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษาและปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้(สำนัก การศึกษา กรุงเทพมหานคร. 2540: 15)
18 ณัฏฐนิช สะมะจิตร์ (2551 : 51; อ้างถึงใน กนกวรรณ พิทยะภัทร์. 2556: 21) กล่าวว่า ความสามารถของสมองที่คิดพิจารณา ไตร่ตรองข้อสงสัย หรือข้อขัดแย้งทางความคิด (Conceptual Connfict) อย่างพินิจพิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการหาคำตอบหรือเชื่อถือได้เพื่อใ ห้เกิดทฤษฎี หลักการ แนวทางการปฏิบัติ และตอบคำถามที่ต้องการเรียนรู้ได้ ไพเราะ พุ่มมั่น (2551: 16; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 23) กล่าวถึงกิจกรรม เสริมประสบการณ์ไวว่า เป็นกิจกรรมที่จัด เพื่อสร้างประสบการณ์สำคัญ เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา ขณะเดียวกันก็บูรณาการ กับการสร้าง ประสบการณ์สำคัญ ด้านสังคม อารมณ์จิตใจและด้านร่างกาย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์กับ กรอบสาระที่ควรรู้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสนใจของ เด็กด้วย สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่บูรณาการผ่านการกระทำ หรือการเล่น ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเสริมพัฒนาการตามวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม ด้านร่างกาย ด้านสังคม 2.2 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อุไรวรรณ คุ้มวงศ์(2551: 9; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 23) กล่าวว่า ความสำคัญของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์คือ การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุ จุดมุ่งหมายของการสงเสริมพัฒนาการทุกด้าน โดยจะคำนึงถึง สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว สิ่งที่เป็นรูปธรรม เปิด โอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองจนเด็กเกิดความคิดรวบยอดที่ชัดเจน กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยมากเพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ เด็กได้เข้าใจเนื้อหา กิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน กิจกรรมเสริม ประสบการณ์ช่วยให้เด็กมีความคิดรวบยอดที่ชัดเจน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะทาง สติปัญญาให้เด็ก เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หน่วยการสอน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสังคมฝึกการ กล้าแสดงออก นอกจากนั้นยังช่วยเด็กให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครู (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2535 : 47; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ภักดี. 2550: 16) ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์นี้มีการนำเอาเนื้อหาและรายการประสบการณ์มา บูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้จุดมุ่งหมายของการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านทั้ง 4 ด้าน โดยยึดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้โดยคำนึงถึงสิ่งอยู่ใกล้ตัวเด็ก ไปยังสิ่งที่อยู่ไกลตัวเด็ก เช่น พืชผัก ผลไม้สัตว์ตลอดจนคำนึงถึงเทศกาล วันสำคัญ ฤดูกาล ซึ่งกิจกรรมเสริมประสบการณ์นี้เป็นแก่นใน หน่วยการสอน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2529: 22; อ้างถึงใน พัชรา อยู่ สมบูรณ์. 2553: 23)
19 สรุปได้ว่า ความสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริม พัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน และสร้างเสริมประสบการณ์ตามหลักสูตรใหกับเด็ก โดยบูรณาการเนื้อหา เพื่อทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย 2.3 รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ไพเราะ พุ่มมั่น. (255 1: 22-40; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 24-26) ได้นำเสนอ รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์หลายรูปแบบ ดังนี้ 1. เน้นแบบการเล่าเรื่อง ข่าว เหตุการณ์ การเล่าเรื่องเป็นประสบการณ์ทางภาษาที่ควรจัดโดยเปิดโอกาสให้เด็กๆได้พูด แสดงความคิดเห็นเล่าเรื่องประกอบภาพ เล่าประสบการณ์ของตัวเอง โดยฝึกอย่างสม่ำเสมอ เรื่องที่ เล่าควรเป็นเรื่องที่เด็กสนใจหรือเกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น เรื่องภายในครอบครัว โรงเรียน การท่องเที่ยว สัตว์เลี้ยงอาหารหรือของเล่น นอกจากนี้ครูอาจพาเด็กชมรอบๆ โรงเรียน สถานที่สำคัญ ดูการ ประกอบอาชีพของบุคคลในชุมชน เพื่อเด็กได้นำเรื่องราวที่ตนพบเห็นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังตามความ คิดเห็นของตัวเอง 2. รูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทั้งทางการพูดและการแสดงท่าทางตามความคิดของ เด็กอย่างมีอิสระในสถานการณ์หนึ่ง โดยไม่มีการซักซ้อมล่วงหน้า ใช้สื่ออุปกรณ์เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เรียน 3. รูปแบบการเล่านิทาน การเล่าเรื่องให้เด็กฟัง ครูอาจเล่าด้วยปากเปล่าหรือใช้สื่อประกอบ โดยมีการสนทนาอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และแสดงท่าทางประกอบเรื่องราว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการเล่า 4. รูปแบบปฏิบัติการทดลอง การจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติและเกิดการค้นพบข้อเท็จจริงด้วยตัวเองภายใต้การดูแลแนะนำ ของครูเน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้สัมผัส การชิมรสการดมกลิ่น และ การฟัง นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาด้านสังคม ความรับผิดชอบการทำงานร่วมกัน ความเป้นระเบียบ ในการทำงาน 5. รูปแบบการสาธิต การทำให้เห็น การทำให้ดู การชี้แนะ ให้ทำตามเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งเด็กจะ เรียนรู้ได้ดีกว่าการบรรยาย อธิบาย หรือการบอกเล่าของครู 6. รูปแบบทักษะกระบวนการกลุ่ม
20 การจัดประสบการณ์ที่ครูกำหนดจัดเตรียมเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการให้เด็กได้เรียนรู้จากการให้เด็กได้ รวมกลุ่มสนทนาร่วมกันวางแผนร่วมปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ 7. รูปแบบอภิปราย / สนทนา / ระดมความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างครูกับเด็กหรือเด็กกับเด็กด้วยกันเอง โดยที่ครูเป็นผู้ ประสานงาน ครูอย่าด่วนตอบปัญหาให้เด็กเร็วเกินไป ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดตอบปัญหาด้วยตัว ของเขาเอง ด้วยวิธีแนะแนวทางให้เด็กคิดไปตามลำดับ จนถึงจุดมุ่งหมายปลายทางคือคำตอบในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการสอนให้เด็ก รู้จักคิดเป็น 8. รูปแบบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวในสิ่งที่เขาสงสัย เข้าใจโลกที่เขาอยู่ และสามารถพัฒนาการคิด การรู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์ได้แก่ทักษะการสังเกต ทักษะการ จำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหามิติ สัมพันธ์ 9. รูปแบบโดยใช้เกม การสอนที่กำหนดกิจกรรมการเล่น กำหนดกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เล่นได้มีส่วนร่วมทางอารมณ์ มี ความสนุกสนานที่ทั้งการเล่นแบบเดี่ยว แบบคู่และเป็นกลุ่มการเล่นจะทำให้เกิดการเรียนรู้ การเล่น เกมจะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง และช่วยให้ผู้สอนได้ทราบพฤติกรรมของผู้เรียน 10. รูปแบบการศึกษานอกสถานที่ การพาเด็กไปศึกษาสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการและเพิ่มพูนประสบการณ์เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ นอกโรงเรียนซึ่งอาจพาเด็กไปศึกษาสภาพบริเวณรอบๆ โรงเรียนไปจนถึง สถานที่ต่างๆ นอกโรงเรียน 11. รูปแบบวิธีการอื่นๆ ที่ใช้สอดแทรกการจัดประสบการณ์ต่างๆ ขณะสอน ได้แก่ 1. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ของเด็ก เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งวาจา และท่าทาง ถ้าครูแสดงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา ทั้งวาจา และท่าทาง ถ้าครูแสดงพฤติกรรมไปในทางบวกก็จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของ เด็ก แต่เป็นไปในทางลบก็จะสกัดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก มีพฤติกรรมตอบสนองครูไปในทางลบเช่นกัน 2. การเตรียมเด็กให้สงบ (การเก็บเด็ก) การดึงความสนใจของเด็กในขณะที่กำลัง พูดคุยหรือเล่นให้กลับมาสนใจในกิจกรรมที่ครูต้องการกิจกรรมที่ใช้เตรียมเด็กให้สงบ โดยการใช้ ท่าทางเช่นการตบมือ 3 ครั้ง พร้อมกับนับตามเบาๆ ว่า 1, 2, 3, ครูจะทำซ้ำๆ ไปจนกว่าเด็กจะสงบ การใช้เพลงหรือคำคล้องจองที่สั้นๆ สนุกสนานเด็กจำง่ายสามารถทำท่าทางประกอบได้ 3. การชมเชยให้กำลังใจเด็กทำให้เด็กเกิดเกิดการกระตือรือร้น มีความภาคภูมิใจ เช่น การกล่าวชมเชย การใช้ท่าทาง พยักหน้ายิ้ม ปรบมือ โอบกอด อื่นๆ การแสดงผลงานที่เด็กทำไป
21 4. การร้องเพลง กิจกรรมที่จัดให้เด็กแสดงออกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา และจังหวะดนตรี 5. การใช้คำถาม คำถามมีบทบาทต่อการเรียนการสอน เพราะการสอนมีการใช้ คำถามอยู่ตลอดเวลา การใช้คำถามจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นกระบวนการคิด การเรียนรู้ของเด็ก โดยสรุป แม้ว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จะมีความหลากหลายรูปแบบ หากแต่ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรมการเรียน รู้ ตลอดจนผู้ประเมินผลผู้เรียน โดยมีเป้าหมายให้เด็กเกิดประสบการณ์ และบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ที่ต้องการอย่างแท้จริง จากรายงานการวิจัยที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนให้เด็กคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง จะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิภาพ และ ได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยต่างประเทศ ไบรแอนท์ และ ฮังเกออร์ฟอร์ด (นงเยาว์ คลิกคลาย. 2543: 23; อ้างอิงจาก Bryan; & Hungerford. n.d.) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์กลวิธีสอนความคิดรวบยอดและค่านิยมทาง สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอนุบาล โดยทดลองสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหามลภาวะ ใช้เวลาทดลอง สอน 1 เดือน ผลปรากฏว่า นักเรียนอนุบาลสามารถสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับผลสืบเนื่องของ สิ่งแวดล้อม และสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและได้อภิปรายผลเพิ่มเติมว่าข้อค้นพบ นี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากว่าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนเช่นนี้ในระดับอนุบาลมีน้อยมาก และการสอนเช่นนี้ก็มิใช่สิ่งที่กระทำได้โดยง่าย งานวิจัยในประเทศ นวพร ทวีวิทย์ชาคริยะ (2541: บทคดย่อ) ได้ศึกษาความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ มีความคิดเชิงเหตุผลต่างกัน กล่าวคือ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองมี ความคิดเชิงเหตุผลสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ธีรภรณ์ ภักดี (2550: บทคดย่อ) ได้ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง น้ำตามโครงการพระราชดำริที่มีต่อการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่มีอาย 5 - 6 ปี พบว่า นักเรียนที่ได้ ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องน้ำตามโครงการพระราชดำริ มีความสามารถในการแก้ปัญหา เหมาะสมมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อุไรวรรณ คุ้มวงษ์ (2551: บทคดย่อ) ได้ศึกษาจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมตามโครงการพระราชดำริในเด็กปฐมวัยที่มีอายุ
22 4 - 5 ปี พบว่า นักเรียนที่ได้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมตามโครงการ พระราชดำริ มีจิตสาธารณะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นส่วนสำคัญที่สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีพัฒนาการตามวัยที่ สาระการเรียนรู้ 2.4 สาระการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย กรมวิซาการ (2546: 35-39; อ้างถึงใน พัชรา อยู่สมบูรณ์. 2553: 26) ระบุไว้ว่า สาระ การเรียนรู้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระ การเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการและคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ความรู้สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่ที่ แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็กที่เด็กมีโอกาสใกล้ชิดหรือปฏิสัมพันธ์ใน ชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กสนใจ จะไม่เน้นเนื้อหาการท่องจำ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะหรือ กระบวนการ จำเป็นต้องบูรณาการทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด ทักษะการใช้ภาษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ควรปลูกฝังให้เด็กเกิดเจตคติที่ดี มีค่านิยมที่พึงประสงค์ เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองละผู้อื่น รักการ เรียนรู้ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น ผู้สอนหรือผู้จัดการศึกษา อาจนำสาระการเรียนรู้มาจัดในลักษณะหน่วยการสอนแบบ บูรณาการหรือเลือกใช้วิธีการที่สอดคล้องกับปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สาระการ เรียนรู้กำหนดเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ประสบการณ์สำคัญ ประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็กทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ช่วยให้เด็กเกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการสร้างองค์ความรู้ โดยให้เด็กได้มี ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ บุคคลต่างๆ ที่อยู่รอบตัว รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกัน ด้วย 2. สาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก สาระที่เด็ก
23 อายุ 3 - 5 ปี ควรเรียนรู้ มีดังนี้ 2.1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตา รู้จักอวัยวะ ต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เรียนรู้ที่จะ เล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว หรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดง ความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี 2.2 เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและ รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมี โอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน 2.3 ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้ง ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ 2.4 สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสี ขนาด รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ใน ชีวิตประจำวัน สรุปได้ว่า สาระการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริม พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสาระที่ควรเรียนรู้ 4 หัวข้อ คือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวที่ เกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัว 2.5 สาระการเรียนรู้เรื่องพลังงานแสง สาระการเรียนรู้เรื่อง แสง ใช้เป็นหน่วยในการเรียนรู้และจัดกิจกรรม สำหรับเด็ก ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ทั้งนี้ สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย 1. แหล่งกำเนิดและการเดินทางของแสง คือ แสงมาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน เช่น ดวงอาทิตย์ เทียนไข หลอดไฟ เป็นต้น และเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ แหล่งกำเนิด แสงตามธรรมชาติ และแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น และแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุดคือ ดวง อาทิตย์ แสงเดินทางออกจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทุกทาง และเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ 2. พลังงานแสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์ให้พลังงานความร้อน สามารถทำให้น้ำระเหย กลายเป็นไอได้ นอกจากนี้ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ยังช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ ในเวลา กลางวัน 3. แสงที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง แหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ให้พลังงาน ความร้อน ยิ่งแหล่งกำเนิดแสงอยู่ใกล้ แสงก็ยิ่งสว่างมาก และจะสลัวลงเมื่ออยู่ไกลออกไป นอกจากนี้ แสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ยังช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ ในความมืด 4. ตัวกลางของแสง คือ แสงเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านตัวกลางชนิดต่างๆ 3 ชนิดคือ 4.1 ตัวกลางโปร่งใส หมายถึง ตังกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมด หรือเกือบ
24 ทั้งหมด ทำให้มองเห็นวัตถุอีกข้างหนึ่งได้อย่างชัดเจน เช่น แก้ว อากาศ เป็นต้น 4.2 ตัวกลางโปร่งแสง หมายถึง ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า และกระดาษไข เป็นต้น 4.3 ตัวกลางทึบแสง คือ ตัวกลางที่ไม่ยอมให้แสงผ่านได้เลย เช่น ไม้ ก้อนหิน เป็นต้น และตัวกลางทึบแสงจะกั้นแสงไว้ ทำให้เกิดเป็นเงาขึ้น 5. การหักเหของแสง คือ การที่แสงเดินทางผ่านตัวกลางที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการ หักเหของแสง และจะทำให้เรามองเห็นภาพมีลักษณะเปลี่ยนไป และเมื่อแสงเดินทางผ่าน กระจกนูน หรือเลนส์นูน เลนส์นูนจะหักเหแสงให้มารวมกัน ณ.จุดหนึ่ง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านกระจกเว้าหรือ เลนส์เว้า แสงจะเกิดการหักเหและกระจายออกจากกัน 6. การสะท้อนแสง คือ แสงเมื่อตกกระทบกับวัตถุ จะสะท้อนเข้าตาเรา จะทำให้เรา มองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ แต่วัตถุแต่ละชนิด แต่ละสี จะสะท้อนแสงได้แตกต่างกัน และวัตถุที่สะท้อนแสง ได้ดีที่สุดคือ วัตถุผิวเรียบ และเป็นมันวาว 7. แสงสี คือ เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสง มากระทบกับวัตถุ เช่น แท่งแก้วปริซึม น้ำ หรือแผ่นซีดี จะทำหน้าที่แยกแสงออกเป็นสีต่างๆ เช่นเดียวกับการที่แสงจากดวงอาทิตย์ส่องผ่าน ละอองน้ำเล็กๆ ในอากาศ ทำให้เกิดการสะท้อนและหักเหของแสงกระจายออกเป็นแสงสีต่างๆ เรียกว่า รุ้งกินน้ำ เช่นเดียวกับ เมื่อเรานำจักรสีต่างๆ มาหมุนอย่างรวดเร็วจะทำให้เรามองเห็นสีบน วงกลม 8. แสงกับการเจริญเติบโตของพืช คือ พืชจะขาดแสงไม่ได้ เพราะพืชทุกชนิดจะใช้ แสงช่วยในการสร้างอาหาร หากพืชขาดแสงหรือปลูกอยู่ในที่ที่แสงสว่างส่องไม่ถึง พืชจะไม่สามารถ สรุปได้ว่า แสงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ว่า จะเป็นคน สัตว์ หรือพืช ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแสงสว่างและพลังงานของแสงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรง มนุษย์และสัตว์ต้องอาศัยแสงสว่าง เพื่อการมองเห็นวัตถุต่างๆ และพืช จำเป็นต้องอาศัยแสงสว่าง มาช่วยในกระบนการสังเคราะห์อาหารเป็นต้น ในทางอ้อม มนุษย์ได้แปรรูปพลังงานของแสงจากแหล่งกำเนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน ตลอดจนประดิษฐ์ คิดค้นอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ต่างๆ ให้กลายเป็นแหล่งผลิต พลังงานแสงเพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากแหล่งพลังงานแสงจากธรรมชาติเพียงแหล่งเดียว ความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาและ สาระ ประโยชน์ที่มนุษย์ สัตว์ และพืช ได้รับจากแสงในแหล่งต่างๆ จะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เรื่องของแสงได้ต่อไป (ซานนท์ มูลสุวรรณ และทิพย์สุดา บัวแก้ว. 2544: 25; อ้างถึงใน พัชรา อยู่ สมบูรณ์. 2553: 30-32)
25 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา 3.1 ความหมายของความสามารถในการแก้ปัญหา จากการศึกษาพบว่า นักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของความสามารถในการ แก้ปัญหาในทัศนะต่างกัน ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 กล่าวว่า "ปัญหา" หมายถึง ข้อสงสัย ข้อขัดข้องความสงสัย สิ่งเข้าใจยาก สิ่งที่ตนไม่รู้ หรือคำถาม อันได้แก่ ปัญหาเฉพาะหน้า โจทย์ใน แบบฝึกหัด หรือข้อสอบเพื่อประเมินผลปัญหาเกิดได้ทุกโอกาสเมื่อมีอุปสรรค ครูซ และ ลันดิค (Krulik & Rudnick, 1993, p. 6; อ้างถึงใน ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. 2562: 52) ให้ความหมายของความสามารถในการแก้ปัญหาว่าเป็นกระบวนการที่บุคคลจะใช้ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้ามาใช้เพื่อหาข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ โดย กระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การมองเห็นปัญหาไปจนถึงการลงข้อสรุป ได้มาจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และนักเรียนจะต้องวิเคราะห์ได้ว่าจะนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ อย่างไร ชูชีพ อ่อนโดกสูง (2522: 120; อ้างถึงใน วรารัตน์ ธุมาลา. 2553: 8) ได้กล่าวถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาว่า เมื่อบุคคลมจุดมุ่งหมาย (Goal) มีอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ไปถึงหรือ ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ จะทำให้ปัญหาเกิดขึ้น หรือปัญหาอาจเกิดจากการไม่ทราบจุดหมายที่แน่นอนว่า คืออะไร บุคคลจึงพยายามขจัดปัญหาต่างๆ ให้หมดไป เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ความสามารถในการ แก้ปัญหาจึงเป็นการคิดที่มีจุดมุ่งหมาย อุษณีย์ โพธิสุข (2544: 43-45; อ้างถึงใน วรารัตน์ ธุมาลา. 2553: 9) กล่าวว่า การ แก้ปัญหาเป็นกระบวนการทำงานที่สลับซับซ้อนของสมองที่ต้องอาศัยปัญญา ทักษะ ความรู้ ความ เข้าใจ ความคิด การรับรู้ ความชำนาญรูปแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ประสบการณ์เดิมทั้งทางตรงและ ทางอ้อม มโนคติ กฎเกณฑ์ ข้อสรุปการพิจารณาการสังเกต และการใช้กลยุทธ์ทางปัญญาที่จะ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ มีเหตุผลและจินตนา เพื่อหาแนว ปฏิบัติให้ปัญหานั้นหมดไปการคิดแก้ปัญหานั้นมิได้มีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนแน่นอน กาเย่ (Gagne , อ้างถึงใน เพราพรรณ เปลี่ยนภู่ 2542 : 188) กล่าวว่า การแก้ปัญหา คือ ความสามารถขั้นสูงสุดของมนุษย์ เป็นความสามารถในการสร้างกฎในระดับสูง ที่เกิดขึ้นจาก การสัมพันธ์ของกฎตั้งแต่ 2 กฎขึ้นไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นผลงานใหม่ที่เกิดจากการมองเห็น ความสัมพันธ์ของกฎต่างๆ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายท่าน ได้ให้ความหมายของการแก้ปัญหา ดังนี้ ชม ภูมิภาค (2553 : 98) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่มีความหมายกว้างมากรวมพฤดิกรรมที่
26 ชับซ้อนในรูปด่างๆ มากมาย พฤดิกรรมในการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีงานมีเป้าหมายที่ จะต้องให้บรรลุเพื่องานนั้น วยุภา จิดรสิงห์ (2558 : 8; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2549: 29 ) กล่าวว่า การคิด แก้ปัญหา หมายถึง กระบวนการทำงานของสมองซึ่งต้องอาศัยความรู้ และประสบการณ์เดิมมาช่วยใน การพิจารณาโดรงสร้างของปัญหาดลอดจนการคิดแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ปัญหาทั้งหมดไป และบรรลุ จุดม่งหมายที่ด้องการ สรุปได้ว่า ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการใช้ความคิด และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค 3.2 ความสำคัญของความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษา และมีความจำเป็น อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะผู้ที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้ดีจะสามารถปรับ ตนเองให้อยู่ในสังคมไต้อย่างมีความสุข ฉันทนา ภาคบงกช (2528:53-55; อ้างถึงใน รุ่งทิพย์ ศรสิงห์. 2559: 51) กล่าวว่าการ แก้ปัญหา เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการสอนให้เด็กคิด ดรูจึงต้องปลูกฝังส่งเสริมให้โอกาสเด็กได้ ฝึกคิดอยู่เสมอเพื่อจะทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้อง กับกรมวิชาการ (2544 : 83) ที่กล่าวว่า การแก้ปัญหามีความสำคัญจำเป็นต่อการเรียนรู้และดันคว้า หาความรู้มาก ครูควรฝึกการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนทุกวันและ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549: 68 - 75; อ้างถึงใน รุ่งทิพย์ ศรสิงห์. 2559: 51) กล่าวถึงความสำคัญในการคิด แก้ปัญหาดังนี้ 1. การคิดแก้ปัญหากำหนดความเป็นตัวเรา 2. การคิดแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานของสติปัญญาและความเข้าใจ 3. การคิดแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ 4. การคิดแก้ปัญหานำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง 5. การคิดแก้ปัญหาสร้างความสามารถในการแข่งขันในสังคมแห่งความรู้ วารี ถิระจิตร (2541: 73; อ้างถึงใน วรารัตน์ ธุมาลา. 2553: 9) กล่าวว่า คนทุกคนไม่ กล้าปฏิเสธว่าไม่เคยพบปัญหาชีวิตประจำวันทุกวันเราจะพบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาใหญ่เล็ก แตกต่างกันไป เมื่อเราพบปัญหานั้นแล้วก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหานั้นให้ลุล่วงไปด้วยดี การแก้ปัญหา ของแต่ละบุคคลก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์กับความสนใจของแต่ละบุคคล ถ้าเรามีประสบการณ์มาก อยู่ ในวัยที่เข้าใจปัญหาที่พบและสนใจต่อการแก้ปัญหาก็จะมองปัญหานั้นอย่างรอบคอบ ไม่ตื่นตกใจกับ
27 ปัญหาและพยายามที่จะหาแนวทางแก้ไขตามขั้นตอนที่ควรจะเป็นจนสามารถพบแนวทางแก้ไขปัญหา นั้นไปได้ อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์ (2532 : 202; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2549: 30) กล่าวว่าการ แก้ปัญหาเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์เราบุคคลทุกคนจะต้องเผชิญกับสั่งที่ยุ่งยากตลอดเวลา มนุษย์เราต้องพยายามคลี่คลายปัญหานั้นให้ได้ ฉะนั้นการแก้ปัญหาจะมีลักษณะเฉพาะของบุคคลแต่ ละคนเท่านั้น การแก้ปัญหาเดียวกันจึงมีความแตกต่างกันเพราะทุกคนจะมีประสบการณ์ การเรียนรู้ ความสามารถความนึกคิด วุฒิภาวะ ทัศนคติ ค่านิยม ฯลฯ แตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับทิศนา แขม มณี(2535 : 4-15) ที่กล่าวว่า ความสามารถในการคิดเป็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนาและเป็นหัวใจ สำคัญของการศึกษาและการสอน เพราะการคิดเป็นจุดเริ่มต้นให้คนเราแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม และ สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้คิดอย่างมีเหตุผล และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ฉันทนา ภาคบงกช (2528 : 53; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 29) ได้กล่าวว่า การ แก้ปัญหาเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการศึกษา ครูจึงจำเป็นต้องปลูกฝังทัศนติที่ดีต่อการคิด และมุ่ง พัฒนาความสามารถในการคิดด้วยตนเองของเด็ก โดยให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนการคิดอยู่เสมอ อันจะ นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนี้ จะ ช่วยให้เด็กสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และปฏิบัติงานให้ลุล่วงด้วยดีได้ สรุปได้ว่า ความสำคัญของความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการ กำหนดความเป็นตัวเรา เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ และความสามารถในการปรับตัวให้ดำรงชีวิต ประจำวันได้อย่างมีความสุข 3.3 ประเภทและลักษณะของการแก้ปัญหา กมลรัตน์หล้าสุวงษ์ (2528 : 260 - 261; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 30) ได้ กล่าวถึงวิธีการแก้ปัญหาของเด็กไว้ดังนี้ 1. การแก้ปัญหาโดยใช้พฤติกรรมแบบเดียว โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงการ แก้ปัญหา เด็กเล็กมักใช้วิธีนี้ เนื่องจากยังไม่เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องเป็นเหตุผล เมื่อประสบปัญหาจะไม่ มีการไตร่ตรองหาเหตุผล ไม่มีการพิจารณาสิ่งแวดล้อมเป็นการจำและเลียนแบบปัญหาพฤติกรรมที่ เคยแก้ปัญหาได้ เนื่องจากเด็กยังไม่เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและเป็นเหตุเป็นผล 2. การแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาแบบนี้มีการวิจัยสรุปลง ความเห็น ว่าเหมาะสมสำหรับเด็กวัยรุ่น เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการอิสระและต้องการแสดงว่าตนเป็นที่ พึ่งของตนได้ 3. การแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนแปลงความคิด ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน ยากแก่ การสังเกต ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การหยั่งเห็น การหยั่งเห็นนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้และประสบการณ์เดิม
28 4. การแก้ปัญหาโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาในระดับนี้ถือว่าเป็นระดับ ที่สูงสุด และใช้ได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน เปลว ปุริสาร (2543 : 29-30; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2550: 34-35) ได้แบ่งประเภท ของการแก้ปัญหาไว้ 4 ประเภท คือ (1) การแก้ปัญหาของตนเองที่ต้องแก้ไขทันที หมายถึง การ แสดงออกที่เกิดจากความต้องการหรือการกระทำของตัวเด็กเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เพื่อตัดสินใจ แก้ปัญหาของตนเองที่จำเป็นต้องแก้ไขทันที เช่น ความหิว ความเจ็บป่วย เป็นต้น (2) การแก้ปัญหา ของตนเองที่ไม่ต้องแก้ไขทันทีหมายถึง การแสดงออกที่เกิดจากความต้องการหรือการกระทำของตัว เด็กเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขทันที เช่น ความ อยากได้ ความรักเป็นต้น (3) การแก้ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น หมายถึง การแสดงออกที่ เกิดจากความต้องการหรือการกระทำของตนเอง เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น เกเรเพื่อน แย่งของเล่น เป็นต้น (4) การแก้ปัญหาของผู้อื่น หมายถึง การแสดงออกที่เกิดจาก ความต้องการหรือการกระทำของผู้อื่น โดยไม่เกี่ยวข้องกับเด็ก แต่เห็นเหตุการณ์ เพื่อตัดสินใจ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น เช่น เห็นคนขโมยของ เห็นรถชน เป็นต้น เฟรเดอริค (ฉันทนา ภาคบงกช. 2528: 25; อ้างอิงจาก Frederikson. n.d.) จำแนก ลักษณะการแก้ปัญหาเป็น 2 ประเภท คือ 1. ปัญหาที่มีโครงสร้างสมบูรณ์ คือกำหนดรายละเอียดไว้ชัดเจนครบถ้วน สำหรับให้ผู้เรียนแก้ปัญหา ได้แก่ โจทย์คณิตศาสตร์ แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ 2. ปัญหาที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ คือ ตัวคำถามไม่กระจ่างชัดอาจเพราะมีความ ซับซ้อนไม่ระบุรายละเอียด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการพิจารณา หรือไม่มีแนวทางในการหาคำตอบเป็น ปัญหาที่ผู้ตอบจะต้องใช้ความพยายามในการหาความสัมพันธ์และแยกแยะประเด็นของปัญหา โดย ต้องอาศัยความรู้ด้านการคิด และความจำเป็นที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ เข้ามาช่วยก่อนที่จะ ดำเนินการคิดตามขั้นตอนของการแก้ปัญหาได้ สรุปได้ว่า ประเภทของปัญหา คือ ประเภทการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีประสบการณ์น้อย ความสามารถในการแก้ปัญหาจึงมีขีดจำกัด ทำให้ไม่ สามารถสรุปลักษณะของปัญหามาตัดสินใจแก้ปัญหาได้ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้าน สติปัญญาและการเรียนรู้ดังนั้นการศึกษาการคิดแก้ปัญหาจึงต้องศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคิดแก้ปัญหาที่จะกล่าวถึงมีดังนี้ คือ
29 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์ (Bruner 1969 : 55-68 , อ้างถึงใน เยาวพาเดชะคุปต์ 2542 ก : 68) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นระยะการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Enactive Stage) เป็นขั้นระยะการแก้ปัญหา ด้วยการกระทำ เริ่มตั้งแต่แรกเกิด - 2 ปี ซึ่งตรงกับขั้น Sensorimotor Stage ของเพียเจท์ เป็นขั้นที่ เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำหรือประสบการณ์มากที่สุด 2. ขั้นระยะการเรียนรู้ด้วยการรับรู้ (lconic Stage) เป็นขั้นระยะแก้ปัญหาด้วยการรับรู้ แต่ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล ตรงกับขั้น Prcoperational Stage ของเพียเจท์ เด็กวัยนี้เกี่ยวข้องกับความ เป็นจริงมากขึ้น จะเกิดความคิดจากการรับรู้ส่วนใหญ่และภาพแทนในใจ (Iconic Representation) อาจมีจินตนาการบ้างแต่ยังไม่ลึกซึ้งเท่ากับ Concrete Operational Stage 3. ขั้นพัฒนาสูงสุด (Symbolic Stage) เป็นขั้นพัฒนาสูงสุด เปรียบได้กับขั้นการ แก้ปัญหาด้วยเหตุผลกับสิ่งที่เป็นนามธรรม (Formal Operational Stage) ของเพียเจท์ เป็น พัฒนาการพื้นฐานมาจากขั้น Iconic Stage เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์โดยการใช้สัญลักษณ์ หรือภาพสามารถคิดหาเหตุผลสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมและสามารถแก้ปัญหาได้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์(Piaget) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจท์ (อรชร วราวิทย์. 2526: 12 - 14; อ้างถึงใน ดวงพร ผกามาศ. 2554: 12) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตามระดับอายุ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวเพียง 2 ขั้น ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 0- 7 ปี ขั้นที่ 1 ระยะการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (Sensory Motor Stage) ตั้งแต่แรก เกิดถึงอายุ 2 ปี เด็กจะรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีความเจริญอย่างรวดเร็วในด้านความคิด ความเข้าใจ การประสานระหว่างกล้ามเนื้อและสายตา และการใช้ประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ ต่อสภาพที่เป็นจริง รอบ ๆ ตัว เด็กในวัยนี้จะชอบทำอะไรซ้ำๆ บ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิด ลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถ แก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ แต่ความสามารถในการคิดวางแผนของเด็ก ยังอยู่ในขีดจำกัด ขั้น ที่ 2 ระยะการแก้ปั ญ ห าด้วยการรับ รู้แต่ยังไม่สามารถใช้เห ตุผล (Preoperational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 2 - 7 ปี เด็กพยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูกแสดง พฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ความสามารถในการ วางแผนมีขีดจำกัด เด็กในช่วง 2 - 4 ปี เริ่มจะใช้เหตุผลเบื้องต้นไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์หรือมากกว่า เพราะเด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือ ยึดความคิด ของตนเองเป็นส่วนใหญ่และมองไม่เห็นเหตุผลของคนอื่น เหตุผลของเด็กวัยนี้จึงไม่ค่อยถูกต้องตาม ความเป็นจริง เด็กในช่วงอายุประมาณ 4 - 7 ปี จะมีความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆรอบตัวดีขึ้น รู้จัก
30 แยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แต่ยังไม่แจ่มชัด รู้จักแบ่ง พวกแบ่งชั้น แด่คิดหรือตัดสินผลของการกระทำต่างๆ จากสิ่งที่เขาเห็นภายนอกเท่านั้น ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเบิกร์และไวก็อตสกี้(Berk ; & Winsler. 1995) กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาการทางสติปัญญาและทัศนคติว่าเกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และ ทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ เช่น ผู้ใหญ่ ครู เพื่อน บุคคลเหล่านี้จะให้ข้อมูลสนับสนุนให้เด็กเกิดขึ้นใน Zone of Proximal Development หมายถึง สภาวะที่เด็กเผชิญปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดได้ โดยลำพัง เมื่อได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเกิดจากการทำงานร่วมกับเพื่อนที่มี ประสบการณ์มากกว่าเด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้และเกิดการเรียนรู้ การให้การช่วยเหลือและนำ ในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ของเด็ก (Assisted Learning)เป็นการให้การช่วยเหลือแก่เด็กเมื่อเด็ก แก้ปัญหาโดยลำพังไม่ได้เป็นการช่วยอย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองวิธีการที่ครูเข้า ไปมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กเพื่อให้การช่วยเหลือเด็ก เรียกว่า"Scaffolding"เป็นการแนะนำช่วยเหลือให้เด็ก แก้ปัญหาด้วยตนเองโดยให้การแนะนำ (Clue) การช่วยเตือนความจำ(Remainders) การกระตุ้นให้ คิด(Encouragement) การแบ่งปัญหาที่สลับซับซ้อนได้ง่ายลง(Breaking the Problem down into step) การให้ตัวอย่าง (Providing and Example) หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยเด็กแก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วย ตนเอง การให้การช่วยเหลือ(Scaffolding)ที่ มีประสิทธิภาพต้องมีองค์ประกอบและเป้าหมาย 5 ประการ ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมร่วมกันแก้ปัญหา 2. เข้าใจปัญหาและมีวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน 3. บรรยากาศอบอุ่น และการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการ 4. มีการจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรม และบทบาทของผู้ใหญ่ให้เหมาะสมกับ ความสามารถและความต้องการ 5. สนับสนุนให้เด็กควบคุมตนเองในการแก้ปัญหา บทบาทครูมีหน้าที่ในการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและ ให้คำแนะนำด้วยการอธิบายและให้เด็กมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้อื่นแล้วให้โอกาสเด็กแสดงออกตาม วิธีการต่าง ๆ ของเด็กเองเพื่อครูจะได้รู้ว่าเด็กต้องการทำอะไร จะเห็นว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการศึกษาทั้ง 3 ท่าน สรุปได้ว่าเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสติปัญญา การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การคิดสามารถ แก้ปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย
31 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาจะสำเร็จได้ผลดี ตามเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบในการแก้ปัญหาไว้ ดังนี้ ชูชีพ อ่อนโคกสูง (2522: 121 - 123; อ้างถึงใน ดวงพร ผกามาศ. 2554: 18) กล่าวว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการแก้ปัญหา มี 3 ประการ คือ 1. ตัวผู้เรียน (Condition in Learner) ได้แก่ ระดับเชาว์ปัญญา ลักษณะอารมณ์ อายุ แรงจูงใจ และประสบการณ์ 2. สถานการณ์ที่เป็นปัญหา (Condition in Learning Situation) ถ้าปัญหานั้น เป็นที่น่าสนใจของผู้เรียนทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนหรือแก้ปัญหา หรือถ้ามีผู้ซี้แนะสำหรับปัญหาที่ ยากๆ จะทำให้มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาหรือถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องหรือคล้ายคลึง กับปัญหาที่เคยเรียนรู้มาแล้ว ก็จะทำให้การแก้ปัญหานั้นง่ายขึ้น 3. การแก้ปัญหาเป็นหมู่ (Problem Solving in Group) คือ การให้เด็กมีโอกาส ร่วมกันแก้ปัญหา มีการอภิปราย และการถกเถียงกันซึ่งการแก้ปัญหาแบบนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ ของคนหลายๆ คน สุวัฒน์ มุทธเมธา (2523 : 202 - 204; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 32) กล่าวว่า การ แก้ปัญหามีสภาพทั่วไป ดังนี้ 1. การแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาต้องคิดหลายๆ แบบและความสามารถหลายๆ อย่างเช่น การคิดแบบวิเคราะห์ การคิดแบบสังเคราะห์ เป็นต้น 2. สภาพหรือแบบของปัญหาที่มีความยากง่ายสลับชับซ้อนต่างกัน การพิจารณา ปัญหา และการจัดรวบรวมประสบการณ์เพื่อแก้ปัญหาก็มีความแตกต่างกัน 3. ลักษณะของผู้แก้ปัญหา ได้แก่ - อารมณ์ของผู้แก้ปัญหา - ระดับสติปัญญาของผู้แก้ปัญหา - ระดับแรงจูงใจ - การฝึกให้รู้จักคิดหลายๆ แบบ การใช้การแก้ปัญหาหลายวิธี 4. การแบ่งกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา โดยให้สมาชิกมีจำนวนพอเหมาะ สมาชิกมี ความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และได้รับการยอมรับ ย่อมแก้ปัญหาได้ดีกว่ากลุ่มที่มีสมาชิกมากหรือน้อย เกินไป อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์ (2532 : 208-210; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2549: 35-36) กล่าว ว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการคิดแก้ปัญหา สามารถจำแนกได้ดังนี้ (1) ตัวผู้เรียน ระดับสติปัญญา เพศของผู้เรียน แรงจูงใจและบุคลิกภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์มาก
32 ที่สุดก็ทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาของบุคคลมีความแตกต่างกัน (2) สถานการณ์ที่เป็นปัญหา สถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้หรือแก้ปัญหา เช่น จำนวน ตัวเลือกในการแก้ปัญหา การแนะนำ การลำดับปัญหา และความคล้ายคลึงกันของปัญหา และคำตอบ (3) การแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม การแก้ปัญหาเป็นกลุ่มจะช่วยให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จได้อย่าง รวดเร็วเพราะมีการทำงานหลายคน สามารถปรึกษาหารือและคลี่คลายปัญหา ทำให้ผู้เรียนบรรลุ เป้าหมายในการเรียนอย่างรวดเร็วจะช่วยกระตุ้นให้อยากแก้ปัญหา กรมวิชาการ (2544 : 38; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2549: 36) กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบ ในการแก้ปัญหาได้มีดังนี้(1) ประสบการณ์ของผู้เรียน (2) จิตพิสัชในด้านความสนใจ ความตั้งใจ ฯลฯ (3) สติปัญญาความสามารถในการอ่าน ความจำ ความสามารถในการใช้เหตุผล ฯลฯ สรุปได้ว่า การส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะในการคิดแก้ปัญหานั้น ครูต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญ ๆ เช่น ผู้เรียน สถานการณ์ สติปัญญา และมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระใน การคิดจากประสบการณ์เดิม นำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหามีความสำคัญต่อมนุษย์เราเพราะปัจจุบันสั่งคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วซึ่งต้องเกี่ยวข้องปัญหาทั้งสิ้น ฉะนั้นการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย ดังนี้ กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2528 :259-260; อ้างถึงใน สุภาพร สายสวาท. 2548: 42) กล่าว ว่า การแก้ปัญหาแต่ละครั้งจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้ (1) ระดับความสามารถ เชาวน์ปัญญา ผู้เรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาสูงย่อมสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้เรียนที่มีระดับเชาวน์ ปัญญาต่ำ (2) การเรียนรู้ หากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็วและเข้าใจหลักการ เมื่อประสบปัญหาที่ คล้ายคลึงกันก็จะสามารถแก้ปัญหานั้น ๆได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง (3) การรู้จักคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล โดยต้องอาศัยข้อเท็จจริงและความรู้จากประสบการณ์เดิม จุดมุ่งหมายในการคิดและการแก้ปัญหา ตลอดจนระยะเวลาในการไตร่ตรองหาเหตุผลที่ดีที่สุด ฉันทนา ภาคบงกช (2528 : 47-49; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2549: 36-37) ได้ให้ แนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาดังนี้ 1. การให้ความรักและความอบอุ่น สนองความต้องการของเด็กอย่างมีเหตุผลทำให้ เด็กรู้สึก ปลอดภัย มีความสุข มีความเชื่อมั่นในตนเองและมองโลกในแง่ดี 2. การช่วยเหลือพึ่งพาตนเอง การส่งเสริมให้เด็กช่วยตนเองโดยเหมาะสมกับวัยจะช่วย ให้เด็กพัฒนาความเชื่อมั่น เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก ต่อไป
33 3. การซักถามของเด็กและการตอบคำถามของผู้ใหญ่ ควรได้รับความสนใจและ ตอบคำถาม ของเด็กสนทนาทางค้านความจำการคิดหาเหตุผล เพื่อให้เด็กได้แสดงออกและฝึกการคิด เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นและช่างซักถามผู้ใหญ่ ไม่ควรดุหรือแสดง ความไม่พอใจ 4. การฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ควรจัดหาอุปกรณ์หรือสิ่งเร้าให้เด็กพัฒนาการสังเกต โดยใช้ประสาทการรับรู้ทุกด้าน การตั้งคำถาม หรือชี้แนะโคยผู้ใหญ่จะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจและ หาความจริงจากการสังเกต 5. การแสดงความคิดเห็น เปีดโอกาสให้เด็กได้เสนอความคิดเห็นและตัดสินใจเรื่องใด เรื่องหนึ่งตามความพอใจ จะช่วยให้เด็กกล้าเสดงออกและมีความเชื่อมั่นในการแสดงความคิดเห็น 6. การให้รางวัล ควรให้รางวัลเมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีงามในโอกาสอันเหมาะสม แสดงความชื่น ชมและกล่าวย้ำให้เกิดความมั่นใจว่าเด็กทำในสิ่งที่ดี น่าสนใจ จะทำให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และมีกำลังใจที่จะทำสิ่งดีงามการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดของเด็กและมีบรรยากาศ ที่เป็นอิสระ ไม่เคร่งเครียด ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายใจ มีความรู้สึกที่ดีซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการ พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เจษฎา สุภางคเสน (2530 : 28 - 29; อ้างถึงใน ธีรภรณ์ ภักดี. 2550: 34) ได้เสนอแนะ วิธีการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาไว้ ดังนี้ 1. ฝึกฝนให้เด็กทำตามขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา คือ รวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐานรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาและทดสอบสมมติฐาน 2. ควรเน้นในเรื่องการรวบรวมข้อมูลให้มาก 3. ฝึกให้รู้จักใช้ทักษะในการแก้ปัญหา คือ ฝึกให้คิดเกี่ยวกับปัญหา การแก้ปัญหาด้วยวิธี ต่างๆ และการทำนายผลของวิธีการแก้ปัญหานั้น 4. ใช้วิธีการชี้แจงอธิบายเหตุผล หลีกเลี่ยงวิธีการเข้มงวดกับเด็ก 5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ 6. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เพราะมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหา 7. ให้โอกาสเด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง 8. กระตุ้นให้เด็กได้คิดในหลายทิศทาง เพื่อนำไปใช้กับปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์ (2532 : 208-210; อ้างถึงใน ศิรินาถ บัวคลี่. 2550: 35) กล่าวว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการคิดแก้ปัญหา สามารถจำแนกได้ดังนี้ (1) ตัวผู้เรียน ระดับสติปัญญา เพศของผู้เรียน แรงจูงใจและบุคลิกภาพ ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์มาก ที่สุดก็ทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาของบุคคลมีความแตกต่างกัน (2) สถานการณ์ที่เป็นปัญหา สถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้หรือแก้ปัญหา เช่น จำนวน
34 ตัวเลือกในการแก้ปัญหา การแนะนำ การลำดับปัญหา และความคล้ายคลึงกันของปัญหา และคำตอบ (3) การแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม การแก้ปัญหาเป็นกลุ่มจะช่วยให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จได้อย่าง รวดเร็วเพราะมีการทำงานหลายคน สามารถปรึกษาหารือและคลี่คลายปัญหา ทำให้ผู้เรียนบรรลุ เป้าหมายในการเรียนอย่างรวดเร็วจะช่วยกระตุ้นให้อยากแก้ปัญหา ลีโอนาด, เดอแมน และ ไมล์ (Leonard, Derman & Miles, 1963; p 45 อ้างถึงใน จิ ราภรณ์ส่องแสง. 2550, หน้า 12 - 13) การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมายดังนี้ 1. มีทัศนคติที่ดี 2. มีพฤติกรรมที่เหมาะสม 3. สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และชื่นชมในสิ่งเหล่านั้น 4. มีการแสดงออกด้านการคิดแก้ปัญหา 5. มีอิสระในการคิดแก้ปัญหา 6. มีความเข้าใจในความรู้และทักษะต่าง ๆ สรุปได้ว่า การส่งเสริมให้เด็กได้มีทักษะในการคิดแก้ปัญหานั้น ครูต้องคำนึงถึง องค์ประกอบสำคัญ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดจากประสบการณ์เดิมให้เด็กได้ พัฒนาการคิดเพื่อไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหา งานวิจัยต่างประเทศ ทุชา (สุดาวรรณ วะวิสะญา. 2544: 15; อ้างอิงจาก Tsusha. 1993) ศึกษาระหว่าง ความสัมพันธ์ในครอบครัว (discord) และวิธีการแก้ปัญหาทางสังคมของเด็โดยเฉพาะ บทบาทของ การเป็นตัวแบบและการเป็นผู้ปกครองว่า มีความสัมพันธ์กันโดยตรงหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 48-74 เดือนที่มีพ่อแม่อยู่ครบ ได้ผ่านการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของสามีภรรยา วิธีการแก้ปัญหาในครอบครัวและพฤติกรรมของพ่อแม่ การสัมภาษณ์เด็กใช้หุ่น และเรื่องราวสั้นๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจถึงวิธีการแก้ปัญหาของสังคม และให้คะแนนด้านความเป็นมิตร และความมั่นคงของ เด็ก ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ ในครอบครัว ไม่มีผลโดยตรงต่อวิธีการแก้ปัญหาของเด็ก แต่ วิธีการของพ่อแม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาในครอบครัวและพฤติกรรมของพ่อแม่ สามารถทำนายวิธีการ แก้ปัญหาของเด็ก โดยที่เด็กชายจะแสดงวิธีการแก้ปัญหาที่ใกล้เคียงกับวิธีการที่พ่อใช้ ในขณะที่ เด็กหญิงใช้วิธีการใกล้เคียงกับวิธีการของแม่ เซคลี (Shakless, 1985) ได้ศึกษาผลของการสอนเทคนิคการแก้ปัญหาอย่างสรรค์ ที่มี ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองเช้า และกลุ่ม
35 ทดลองบ่าย กลุ่มควบคุมบ่าย กลุ่มทดลองได้รับการสอนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำนวน 18 บทเรียน ๆ ละ 30 นาที ใน ขณะที่กลุ่มควบคุมเรียนตามหลักสูตรปกติ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม ทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงที่สุด กัวร์ (สุจิตรา เคียงรัมย์. 2551: 34; อ้างอิงจาก Goor. 1970: 3514 - A) ได้ทำการวิจัย พบว่าเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จะมีความสามารถในการแก้ปัญหา มี การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าเด็กที่มีความคิด สร้างสรรค์ต่ำ เซฟเฟอร์ท (สุจิตรา เคียงรัมย์. 2551: 35; อ้างอิงจาก Shepherd. 1998: 0779A) ได้ ศึกษาการใช้รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนเกรด 4 และเกรด 5 ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน ดำเนินการ วิจัยโดยใช้รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของแคมเบลล์และสแตนลีย์ แก้ปัญหาในวิชาสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิต แล้ววัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเปรียบเทียบกันระหว่างก่อน และหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบทดสอบ Cornell Citical Thinking Test (CCTT) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม และจาก การสังเกตและสัมภาษณ์นักเรียน ชอบการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบการแก้ปัญหาแบบใหม่มากกว่า การเรียนการสอนแบบเก่า รวมทั้งเห็นว่ารูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณและมีทัศนคติในการคิดที่ดีต่อการแก้ปัญหา งานวิจัยในประเทศ วาสนา เจริญสอน (2537; อ้างถึงใน หนึ่งฤทัย เพ็ญสมบูรณ์. 2552: 3)ได้ศึกษาผลการ ใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ประกอบคำถามเชื่อมโยงประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการ แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นในตนเองต่างกัน พบว่า 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประกอบคำถามเชื่อมโยงประสบการณ์ และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ที่จัดกับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีระดับความเชื่อมั่นในตนเอง สูง-ต่ำ มี อิทธิพลร่วมกันต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .021(P .05) 2. เด็กปฐมวัยที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ประกอบคำถามเชื่อมโยงประสบการณ์ และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ที่มีความสามารถใน การแก้ปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .000 (P = 0.1) 3. เด็กปฐมวัยที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ประกอบคำถามเชื่อมโยงประสบการณ์และกิจกรรมศิลปะปกติ มีความสามารถในการ แก้ปัญหาแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
36 4. เด็กปฐมวัยที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงและต่ำ เมื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์แต่ละ รูปแบบมีความสามารถในการแก้ปัญหาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปลว ปุริสาร (2543: 48; อ้างถึงใน วรารัตน์ ธุมาลา. 2553: 21) ได้ศึกษาความสามารถ ในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยทำการทดลองกับกลุ่ม เด็กที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูง และกลุ่มที่แก้ปัญหาต่ำ กลุ่มละ 10 คน ผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ แบบโครงการทั้งกลุ่มที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงและต่ำ ต่างมีความสามารถในการแก้ปัญหา สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สุดาวรรณ ระวิสะญา (2543: 51; อ้างถึงใน วรารัตน์ ธุมาลา. 2553: 22) ได้ศึกษาทักษะ การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวันที่ได้รับกิจกรรมเน้นเครื่องกลอย่างง่าย โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างเด็กนักเรียนชาย - หญิง จำนวน 30 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ใช้ระยะเวลาทำการทดลอง8 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน ๆ ละ 20 นาที จำนวน 40 กิจกรรม ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมเน้นเครื่องกลอย่างง่ายก่อนและหลังการทดลองมี ทักษะการแก้ปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ญาณี ช่อสูงเนิน (2557, บทคัดย่อ; อ้างถึงใน ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. 2562: 63) ศึกษา ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปะ ประดิษฐ์และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด กิจกรรมเล่านิทานศิลปะประดิษฐ์ ผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมเล่า นิทานประกอบศิลปะประดิษฐ์ เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแก้ปัญหาเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับดี มาก หลังจากการทดลองและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการจัด กิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปะประดิษฐ์โดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จิราภรณ์ ส่องแสง (2550, บทคัดย่อ; อ้างถึงใน ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. 2562: 63) ศึกษา การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะบูรณา พบว่า เด็กปฐมวัยหลังผ่านกิจกรรมศิลปะบูรณาการแล้ว มีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยรวมและจำแนก รายด้านมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและแตกต่างจากการทคลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
37 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาตามหัวข้อดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุ5 - 6 ปี กำลัง ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีเครื่องมือในการวิจัย ดังนี้ 1. แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง แสง 2. แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา การสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ 1. แผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง แสง ได้ดำเนินตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
38 1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัด ประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง 1.3 สร้างสาระการเรียนรู้ เรื่อง แสง ใช้เป็นหน่วย ในแผนการจัดประสบการณ์ และจัด กิจกรรมสำหรับเด็กชั้นอนุบาล 3/2 ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ทั้งนี้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) แหล่งกำเนิดและการเดินทางของแสง 2) พลังงานแสงอาทิตย์ 3) ตัวกลางของแสง 4) การหักเหของแสง 5) การสะท้อนแสง 6) แสง – สี 7) พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น 8) แสงกับการเจริญเติบโตของพืช 1.4 นำแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง แสง ซึ่งกิจกรรมมีลักษณะให้เด็กได้ใช้ความคิด และสัมผัสสื่อที่หลากหลาย โดยการปฏิบัติจริงตามความคิดของตนเอง และกิจกรรมในแต่ละวันมี หลายรูปแบบ เช่น ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการทดลอง สังเกต สำรวจ โดยที่แผนการจัดประสบการณ์ จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ชั้นสอน ขั้นสรุป จากนั้นนำแผนการจัดประสบการณ์เสนอ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ จำนวน 3 ท่าน 1.4.1คุณครูมัทนา ศรีสุข ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) 1.4.2คุณครูนวรัตน์ อ้วนแพง ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) 1.4.3คุณครูบุษบา ศรีสุดตา ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) ผลการ พิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็น ให้ปรับการประเมินผลให้สอดคล้องกับ จุดประสงค์ กิจกรรม และ การสรุปผล ในบางกิจกรรมให้ปรับสาระการสรุปผลให้ถูกต้องตามทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์ ปรับขั้นนำที่ยาวเกินไป และควรกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรม 1.5 นำแผนการจัดประสบการณ์ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับเด็กชั้นอนุบาล ศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) ที่ไม่ใช่กลุ่มทดลองจำนวน 16 คน เพื่อ หาข้อบกพร่องของแผนแล้วปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งให้สมบูรณ์
39 1.6 จัดพิมพ์แผนการกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ฉบับสมบูรณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สำหรับเป็นเครื่องมือในการทดลอง ขั้นตอนการสร้างแผนการจัดประสบการณ์เรื่องแสง ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับ ดัง แสดงในภาพที่ 2 ภาพที่ 2 ขั้นตอนการสร้างแผนการจัดประสบการณ์เรื่องแสง ศึกษาเอกสารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัด ประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง สร้างสาระการเรียนรู้ เรื่อง แสง ใช้เป็นหน่วย ในแผนการจัดประสบการณ์ และจัด กิจกรรมสำหรับเด็กชั้นอนุบาล 3/2 ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ นำแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง แสง ซึ่งกิจกรรมมีลักษณะให้เด็กได้ใช้ความคิด และสัมผัสสื่อที่หลากหลาย โดยการปฏิบัติจริงตามความคิดของตนเอง และกิจกรรมในแต่ ละวันมีหลายรูปแบบ เช่น ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติการทดลอง สังเกต สำรวจ โดยที่แผนการ จัดประสบการณ์จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ชั้นสอน ขั้นสรุปจากนั้นนำ แผนการจัดประสบการณ์เสนอผู้เชี่ยวชาญ นำแผนการจัดประสบการณ์ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้ที่ไม่ใช่กลุ่มทดลอง เพื่อหา ข้อบกพร่องของแผนแล้วปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งให้สมบูรณ์
40 2. แบบทดสอบการแก้ปัญหา โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและเครื่องมือวัดการแก้ปัญหาของ ธีรภรณ ภักดี(2550: 41 - 48) สิรินาถ บัวคลี่ (2549: 66- 71) ณัฐกฤตา ไทยวงษ์(2562: 66) หนึ่ง ฤทัย เพ็ญสมบูรณ์ (2552: 51-57) พัทธนิตย์ คุ้มครอง (2561: 53-56) และ วรารัตน์ ธุมาลา (2553 : 44-51 ) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบการแก้ปัญหา 2.2 สร้างคำถามที่เป็นสถานการณ์ปัญหา ซึ่งเด็กพบในชีวิตประจำวัน จำนวน 20 ข้อโดย ครอบคลุมปัญหาทั้ง 2 ประเภทได้แก่ 2.2.1 ปัญหาของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น คือ ปัญหาที่เกิดจากความต้องการหรือ การกระทำของตัวเด็กเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น จำนวน 10 ข้อ 2.2.2 ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น คือ ปัญหาที่เกิดจากความต้องการหรือการ กระทำของตนเอง แต่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น จำนวน 10 ข้อ 2.3 นำสถานการณ์จากปัญหาแต่ละข้อ มาสร้างเป็นข้อคำถาม จำนวน 20 ภาพ 2.4 ทำคู่มือดำเนินการสอบ 2.5 นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเหมาะสมด้านเนื้อหา ภาษารูปภาพที่ใช้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 ท่าน 2.5.1 คุณครูมัทนา ศรีสุข ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) 2.5.2 คุณครูนวรัตน์ อ้วนแพง ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) 2.5.3 คุณครูบุษบา ศรีสุดตา ตำแหน่งครู วิทยะฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) 2.6 นำแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วไป ทดลองใช้กับนักเรียนอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 เทศบาล 8 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 คน 2.7 นำแบบทดสอบที่ผ่านการวิเคราะห์ไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของคู เดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) จากสูตร KR.-20 (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2538 : 197-198) ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบการแก้ปัญหา ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับ ดังแสดงใน ภาพที่ 3