The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 218ชลธิชา มะแพน, 2024-02-09 09:42:58

วิจัยล่าสุดเสร็จ

วิจัย

41 ภาพที่ 3 ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบการแก้ปัญหา ศึกษาเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการแก้ปัญหาและเครื่องมือวัดทักษะการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย สร้างคำถามที่เป็นสถานการณ์ปัญหา ซึ่งเด็กพบในชีวิตประจำวัน จำนวน 20 ข้อโดย ครอบคลุมปัญหาทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ ปัญหาของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและปัญหา ของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น นำสถานการณ์จากปัญหาแต่ละข้อ มาสร้างเป็นข้อคำถาม จำนวน 20 ภาพ ทำคู่มือดำเนินการสอบ นำแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเหมาะสมด้านเนื้อหา ภาษารูปภาพที่ใช้ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 ท่าน นำแบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วไป ทดลองใช้ นำแบบทดสอบที่ผ่านการวิเคราะห์ไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของคู เดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) จากสูตร KR.-20


42 วิธีการทดสอบ และเกณฑ์การให้คะแนน 1. จัดเตรียมสถานที่สอบสำหรับการสอบรายบุคคล 2. ผู้ทดสอบพูดคุยกับเด็กเพื่อสร้างความคุ้นเคย 3. ดำเนินการทดสอบ โดยผู้ทดสอบจะเล่าสถานการณ์ที่เป็นปัญหาแล้วให้นักเรียนเลือก กากบาท (X) ทับภาพที่คิดว่าเป็นวิธีการที่นักเรียนจะทำเพื่อแก้ปัญหาโดยผู้ทดสอบจะถามติดต่อกัน 2 ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง แบบแผนการทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (Experimental Design) ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบใน การทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest – Posttest Design) โดยมีการทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ดังนี้ (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 60) กลุ่มทดลอง การทดสอบก่อนเรียน ทดลอง การทดสอบหลังเรียน RE T1 X T2 ตารางที่ 1 แบบแผนการทดลอง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการทดลอง เมื่อ RE แทน กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X แทน จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง T2 แทน การทดสอบหลังเรียน (Posttest) การเก็บรวบรวมข้อมูล การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในห้องเรียน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ 2. ทำการทดสอบเด็กกลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบทดสอบการแก้ปัญหา เป็นการสอบก่อนการ


43 ทดลอง (Pretest) 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ 4. เมื่อครบ 8 สัปดาห์แล้วทำการทดสอบการแก้ปัญหาหลังการทดลอง (Posttest) ด้วย แบบทดสอบการแก้ปัญหาาฉบับเดียวกับก่อนทดลอง 5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบในข้อ 1 และ 4 มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ สัปดาห์ที่ เรื่อง กิจกรรม หมายเหตุ 1 แหล่งกำเนิดและการเดินทางของแสง -แสงมาจากไหน -แสงเดินทางอย่างไร 2 พลังงานแสงอาทิตย์ -แสงจากดวงอาทิตย์ช่วยในการมองเห็น -แสงจากดวงอาทิตย์ให้ความร้อน 3 ตัวกลางแสง -ตัวกลางโปร่งใส -ตัวกลางทึบแสงและเงา 4 การหักเหของแสง -กระจกนูน -กระจกเว้า 5 การสะท้อนแสง -กระจกสะท้อนแสง -วัตถุแต่ละชนิดสะท้อนแสงได้แตกต่าง กัน 6 แสงสี -แสงสีรุ้ง -วงล้อสีขาว 7 พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น -พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นให้ความ ร้อน -แสงยิ่งใกล้ยิ่งสว่าง ยิ่งไกลยิ่งสลัว 8 แสงกับการเจริญเติบโตของพืช -ต้นไม้ในกล่องทึบ -ต้นไม้เปลี่ยนสี ตารางที่ 2 การดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง การวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากการทดลองเป้นระยะเวลา 8 สัปดาห์ได้สิ้นสุดและเด้กได้รับการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) และผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปวิเคราะห์ด้วยสถิติดังนี้


44 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลอง มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 คะแนนเฉลี่ยใช้สูตร n X X = X แทน เป็นค่าเฉลี่ยคะแนน ∑X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง 1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน n(n 1) n X -( X) S 2 2 − = S แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ∑ײ แทน ผลรวมของกำลังสองของคะแนนนักเรียนต่ละคนใน กลุ่มตัวอย่าง (∑X )² แทน กําลังสองของผลรวมของคะแนนนักเรียนแต่ละคน ในกลุ่มตัวอย่าง N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง 2. สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ a. ดัชนีค่าความเที่ยงตรง IOC = ∑R IOC 33 แทน ดัชนีความสอดคล้อง N


45 ∑R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เขี่ยวขาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ b. หาค่าอำนาจจำแนก โดยใช้สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล (Point Biserial Correlation) คํานวณจากสูตร) ดังนี้ แทน ค่าอำนาจจำแนก แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่ทำข้อนั้นได้ แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่ทำข้อนั้นไม่ได้ แทน คะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบทดสอบฉบับนั้น P แทน สัดส่วนของคนที่ทำข้อนั้นได้ q แทน สัดส่วนของคนที่ทำข้อนั้นไม่ได้หรือ 1-p 2.4 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Rechardson) แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ n แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งหมด p แทน สัดส่วนของนักเรียนที่ทำถูกในข้อหนึ่งๆ q แทน สัดส่วนของนักเรียนที่ทำผิดในข้อหนึ่งๆ แทน ค่าแปรปรวนของคะแนนทั้งหมด 3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน 3.1 การทดสอบความแตกต่างของการแก้ปัญหาโดยใช้การแจกแจงของที (t - Dependent)


46 t แทน ค่าสถิตที่ใช้พิจารณาใน t-distribution D แทน ความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่ N แทน จำนวนคู่ของคะแนน แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างของคะแนนระหว่างก่อนและ หลังการทดลอง แทน ผลรวมกำลังสองของผลต่างของคะแนนระหว่างก่อนและ หลังการทดลอง


47 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองและการแปลความหมายจากการวิเคราะห์ ข้อมูลเป็นที่เข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยจึงได้ขอเสนอสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง X แทน คะแนนเฉลี่ย S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณา t – distribution การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ผลการเปรียบทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ผู้วิจัยได้นำคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มาหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนปรากฏดังตารางที่ 3


48 ตารางที่ 3 ผลการเปรียบทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ระยะการจัดกิจกรรม N X S.D. ก่อนการจัดกิจกรรม 16 46.44 6.80 หลังจัดกิจกรรม 16 52.81 5.14 จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.44 และหลังได้รับการกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ เรื่อง แสง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.81 ตามลำดับ ตอนที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ผู้วิจัยได้นำคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังได้รับ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง มาหาค่าสถิติพื้นฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มา เปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample ดังแสดงใน ตารางที่ 4


49 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบคะแนนความสามรถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ผู้เรียน คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน คนที่ 1 36 42 คนที่ 2 52 56 คนที่ 3 55 58 คนที่ 4 51 59 คนที่ 5 42 54 คนที่ 6 47 56 คนที่ 7 49 55 คนที่ 8 56 58 คนที่ 9 45 51 คนที่ 10 52 55 คนที่ 11 45 50 คนที่ 12 46 53 คนที่ 13 34 45 คนที่ 14 51 55 คนที่ 15 47 54 คนที่ 16 35 44 ค่าเฉลี่ย (X) 46.44 52.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 6.80 5.14 จากตารางที่ 4 พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสงมี คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ก่อนการจัด กิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 46.44 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.81 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 6.80 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 5.14 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


50 บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับครู และ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจารณาเลือกกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความสามารถใน การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลำดับขั้นตอนของการวิจัยและผลของการศึกษา ค้นคว้า โดยสรุป ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัด กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง สมมติฐานของการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มีความสามารถในการ แก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหา


51 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย สาระการเรียนเรื่อง แสง หมายถึง เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กนำมาใช้เป็น สื่อกลางในการจัดกิจกรรม ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้สาระการเรียนรู้ เรื่อง แสง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดแสงและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ตัวกลางของแสง การหักเของแสง การสะท้อนแสง แสงสี และแสงกับการเจริญเติบโตของพืช 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ทำการ ทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 30 นาที กลุ่มตัวอย่างได้รับการทำ ลองทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในช่วงเวลากิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง จำนวน 24 กิจกรรม 2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาจำนวน 2 ชุด ดังนี้ 2.1 ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น 2.2 ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวม 24 วัน ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ระหว่างเวลา 10.00 น. – 10.30 น. โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. ทำการทดสอบเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบการแก้ปัญหาเป็นการสอบก่อนการ ทดลอง 2. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในห้องเรียนเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ 4. เมื่อครบ 8 สัปดาห์แล้วทำการทดสอบการแก้ปัญหาหลังการทดลอง (Posttest) ด้วย แบบทดสอบการแก้ปัญหาฉบับเดียวกับก่อนการทดลอง 5. นําข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบในข้อ 1 และข้อ 4 มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิต การวิเคราะห์ข้อมูล 1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่คะแนนเฉลี่ย และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้t–test for dependent samples


52 สรุปผลการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง มีความสามารถในการ แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อน การจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อภิปรายผล ก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแก้ปัญหา อยู่ใน ระดับเหมาะสมปานกลาง และหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง เด็กปฐมวัยมี ความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ เรื่องแสง มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมอยู่ใน ระดับเหมาะสมมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องแสง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ เรื่องแสง ทำให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจาก 1. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ จากการปฏิบัติ จริงผ่านประสบการณ์ตรง ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองภายใต้การสนับสนุน ด้วยอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้ที่ครูจัดเตรียมไว้ เด็กจะให้ความสนใจและสนุกสนานกับการทำ กิจกรรม ผ่านกระบวนการค้นหาคำตอบ จนเกิดการเรียนรู้ และได้คำตอบในสิ่งที่สงสัย ดังที่ ดิวอี้ (Dewey) ได้กล่าวว่า เด็กรับรู้ได้โดยการกระทำด้วยตนเอง โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และ มือ เป็นการฝึกความสามารถและความชำนาญ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความสนใจ ของเด็กอีกด้วย (สุมนา พานิช. 2531: 1-4) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ เพียเจต์และอินเฮลเดอร์ (วรว รรณ เหมะซะญาติ. 2536: 31 -337 อ้างอิง Piaget: & inhelder. n.d.) ที่กล่าวว่าเด็กเข้าใจถึงสิ่ง ต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับวัตถุ ได้โดยการลงมือกระทำกับวัตถุโดยตรงเป็นสำคัญ การลงมือกระทำมีความ เชื่อมโยงกันอย่างยิ่งกับประสาทสัมผัส ทั้งนี้เพราะขั้นการรับรู้จากการคิดมโน ภาพเป็นขั้นที่เด็กเกิดการ เปลี่ยนแปลงความสามารถในการรับรู้ ไปสู่การที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างตนเองกับวัตถุได้อย่างลึกซึ้ง โดยอาศัยโครงสร้างทางความคิดกับวัตถุ (Construction of Objective) กิจกรรมเสริม ประสบการณ์ เรื่อง แสง เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษา สังเกต ทดลอง โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้งห้า และลงมือกระทำกิจกรรมจนเข้าใจได้ชัดเจน เช่น จากการ ทดลองเรื่อง แสงช่วยในการมองเห็น เด็กจะได้ทดลองมองดูสิ่งของภายในกล่องที่มีแสงผ่านได้ และ กล่องที่แสงไม่สามารถผ่านได้ แล้ว เปรียบเทียบผลการทดลองจากสิ่งที่ได้ปฏิบัติ กิจกรรมเรื่องการ เดินทางของแสง เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการนำ กระดาษเจาะรูในตำแหน่งต่างๆมากั้นแสง แล้วสังเกต


53 การเดินทางของแสงที่ปรากฎ กิจกรรมเรื่อง แสง จากดวงอาทิตย์ให้ความร้อน เด็กจะได้สัมผัสน้ำที่อยู่ ในภาชนะที่วางไว้ในที่ร่มและน้ำที่อยู่ในภาชนะที่ วางไว้กลางแจ้งเพื่อใช้ประสาทสัมผัสค้นหาคำตอบ ในสิ่งที่สงสัย หรือ กิจกรรม เรื่องแสงเดินทางผ่าน ตัวกลางต่างๆ เด็กได้ปฏิบัติจริงโดยการนำวัสดุ ประเภทต่างๆมากั้นแสงแล้วสังเกตผลที่พบด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ วราภรณ์ รักวิจัย (2542: 159) ที่ว่า กิจกรรมที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สูงสุดนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่เด็กสนใจ ลง มือค้นคว้ากระทำด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุน คอย ช่วยเหลือในขณะที่เด็กทำ กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย กิจกรรมที่จัดจะต้องสอดคล้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา และ เป็นประสบการณ์ตรง จากการได้เล่น ลงมือ ปฏิบัติจริง และมีการกระทำร่วมกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน จากกิจกรรมดังกล่าวพบว่า เด็กเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาจากการลงมือปฏิบัติจริง และค้นพบ วิธีการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก จนสามารถแก้ปัญหาได้ประสบผลสำเร็จ สอดคล้องกับ นภเนตร ธรรมบวร (2544: 110) ที่กล่าวว่า ศิลปะถือเป็นการแก้ปัญหา เพราะกิจกรรมศิลปะเปิด โอกาสให้เด็ก ได้สำรวจ และแก้ปัญหาผ่านผลงานต่างๆ ในการค้นหาคำตอบ 2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาให้กับ เด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กรู้จักการสังเกต เปรียบเทียบรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ จากวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเด็กมีโอกาสในการสำรวจ ค้นคว้า ทดลองทำกิจกรรมและเรียนรู้วิธีการ แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้เตรียมสื่ออุปกรณ์และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาจากการทำ กิจกรรม ซึ่งสามารถจัดได้ทั้งในรูปแบบกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยว รูปแบบกิจกรรมกลุ่มคือ การ เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างได้ทำกิจกรรมโดยพร้อมเพียงกัน ส่วนรูปแบบกิจกรรมเดี่ยวคือ ในขณะที่ ทำกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีโอกาสได้เลือกทำกิจกรรมอื่นๆ ตามความสนใจ จาการทดลองพบว่า การ ดำเนินกิจกรรมไม่ว่ารูปแบบกิจกรรมกลุ่มหรือ กิจกรรมเดี่ยว เด็กจะพบกับปัญหาอย่างหลากหลายทั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง และปัญหาที่กำหนดให้มีไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กจะใช้ประสบการณ์ การแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยเมื่อพิจารณาจะพบว่า ปัญหาที่ เกิดขึ้น นั้นมีทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น ขณะที่ครูสอนหนูรู้สึกปวด ปัสสาวะเป็นอย่างมาก หนูจะทำอย่างไร ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น วันนี้หนูมาถึง โรงเรียนสาย เมื่อมาถึงห้องเรียนแล้วไม่พบใครหนูจะทำอย่างไร ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มีวิธีการ แก้ปัญหาในแต่ละปัญหาแตกต่างกันออกไป จากการสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กแต่ละคน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลแต่งต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็ก การเลี้ยงดูของพ่อแม่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กไม่กล้าตัดสินใจแก้ปัญหา เด็กขาดความ เชื่อมั่นในตนเอง ซึ่ง สอดคล้องกับ ฉันทนา ภาคบงกช (2528: 47-49) ที่ได้เสนอแนวทางการส่งเสริม


54 ความสามารถในการแก้ปัญหาไว้ว่าการให้ความรักความอบอุ่น สนองความต้องการของเด็กอย่างมี เหตุผล และเปิดโอกาส ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้เหมะสมกับวัย จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านการคิด แก้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ปัญหาในแต่ละประเภทนั้น แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ เจษฎา ศุภางคเสน (2530: 28-29) ที่กล่าวว่า การฝึกให้เด็กทำงานตาม ขั้นตอนของกระบวนการ แก้ปัญหา ฝึกคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เด็กมี ปฏิสัมพันธ์กับปัญหา ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองจะทำให้เด็กแก้ปัญหาได้สูงขึ้น ดังนั้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาได้ เหมาะสมมากขึ้น เพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติและฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยทักษะ การสังเกต การวางแผน นำไปสู่การแก้ปัญหาผ่านการทำกิจกรรม และเด็กยังได้ เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจนการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ตาม ความคิดจินตนาการของตนเองอยู่เสมอ ข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย 1. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรม ด้วยตนเองผ่านสื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยวพบว่า เมื่อเข้า กลุ่มทำกิจกรรมเด็ก เกิดการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก โดยเลือกวิธีแก้ปัญหาจากการแสดงความ คิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม และเด็กทดลองแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ 2. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ได้จัดในช่วงเวลากิจกรรมเสริม ประสบการณ์พบว่า เด็กให้ความสนใจและสนุกสนานในการทำกิจกรรม เนื่องจากเด็กมีโอกาส เลือก ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามความสนใจ 3. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบ กลุ่มและเดี่ยว ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลาย พบว่า ระยะแรกของการทดลองเด็กไม่กล้าแสดงความ คิดเห็นแนวทางการแก้ปัญหา และเมื่อครูกระตุ้นให้แนวทางการคิด เด็กเริ่มมีความมั่นใจและกล้า แสดงออกมากขึ้น เมื่อดำเนินการทดลองไปเรื่อย 1 อย่างต่อเนื่องเด็กมีความสนใจกิจกรรมมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน รู้จักแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีน้ำใจ รู้จัก ช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งของในการทำกิจกรรมร่วมกัน


55 ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ 1. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาให้กับเด็ก ปฐมวัย ครูควรศึกษา และเข้าใจพัฒนาการของเด็ก การจัดกิจกรรมควรคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของเด็ก เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัย และเด็กได้รับการ พัฒนาอย่างเต็ม ศักยภาพ เกิดทักษะการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับวัย 2. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ครูควรจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ให้เพียงพอ ต่อความต้องการของเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง ครูควร มีการทดลองใช้สื่ออุปกรณ์ก่อนนำมาจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สื่ออุปกรณ์เหล่านั้น สามารถส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กได้อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ต่อความสามารถด้านอื่นๆ เช่น ทักษะทางด้านการให้ความร่วมมือ ทักษะทางด้านแสวงหาความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ 2.2 ควรมีการศึกษาเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนในระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป


56 เอกสารอ้างอิง


57 เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ พิทยะภัทร์. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. . (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง. จิราวรร ณ จันทะศรี . (2553). การศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้การ จัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา. เจษฎา ศุภางคเสน. (2530 ). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเด็กที่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. ไฉไลรัตน์รูปชัยภูมิ. (2549). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรม การละเล่นไทย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. ญาณี ช่อสูงเนิน. (2557). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เล่านิทานประกอบศิลปะประดิษฐ์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฐิติพร พิชญกุล. (2538). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์ศิลปะประดิษฐ์แบบกลุ่ม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. ณัฐกฤตา ไทยวงษ์. (2562). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสต รมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 208 หน้า ดวงพร ผกามาศ. (2554). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ประกอบอาหารประเภทขนมไทย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


58 ธีรภรณ์ ภักดี. (2550). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องน้ำ ตามโครงการพระราชดำริที่ มีต่อการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หนึ่งฤทัย เพญสมบูรณ์. (2552). ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมเล่นทราย. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริ นทรวิโรฒ. บุญสุพร เพ็งทา. (2544). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบ การณามแนวคิดคอนสตรัคติวัสต์และการจัดประสบการณ์ตามปกติ. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยามหาวิทยาลัยศิลปากร. บุบผา พรหมศร. (2542). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การ เล่นกลางแจ้งและกิจกรรมเครื่องเล่นสนาม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. เบญจา แสงมลิ. (2545). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์. เปลว ปุริสาร. (2543). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัด ประสบการณ์แบบโครงการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประภาส ไชยเพลิด. (2554). การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้คนตรีพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพี กราฟฟิกส์ดีไซน์. . (2542 ก.). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค. พรพรรณ บุญเนตร. (2561). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริม ทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร. พัชรา อยู่สมบูรณ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ที่มีต่อทักษะการแสวงหา ความรู้ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ไพเราะ พุ่มมั่น. (2551). การพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับปฐมวัยสู่ผลงานทางวิชาการ. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์. พัชรี ผลโยธิน; และคณะ. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นดิ้งแอนด์พับลิซลิ่ง.


59 มาริสา วงศ์วิกรรม. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและความฉลาดทาง อารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา. วนิดา โรจนอุดมศาสตร์. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการ จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้คำคล้องจองประกอบภาพ โรงเรียนสามแยกบ้านเนียง (สิทธิพันธ์อนุกูล) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วยุภา จิตรสิงห์. (2534). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัยที่ครูใช้คำถามแบบ เชื่อมโยงเนื้อหาและประสบการณ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. วรารัตน์ธุมาลา. (2553). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วรรณทิพา; และ พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2542). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์. วีรพล สุวรรณนันต์. (2534). กระบวนการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ไทย พรีเมียร์พริ้นดิ้ง. ศิรินาถ บัวคลี่. (2549). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัด ประสบการณ์แบบโครงการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยามหาวิทยาลัยศิลปากร. ศรีนวล รัตนานันท์. (2540). ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะ การสังเกตของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. สุจิตรา เคียงรัมย์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชที่มีต่อความสามารถในการ แก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. สุชาดา สุทธาพันธ์. (2532). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับ การสอนโดยใช้คำถามหลายระดับกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนตามแผนการจัด ประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. สุภาพร สายสวาท. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการจัด


60 ประสบการณ์แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ การนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร. อุทัย ด้วงใหญ่. ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามแนวภาษษธรรมชาติที่มีต่อพัฒนาการด้าน การเขียนและความสนใจการเขียนของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Brewer,J.A. (1995). Introduction to Early Childhood Education: Preschool through Primary Upgrades. United States of America: A Simon And Schuster. Bruner, J.S. (1969). The Process of Education. New York: Harvard University Press. Burry - Stock. Goor,A. (1970). Problem Solving Process of Creative and Non Creative Student. Dissertation Abstracts. Jones, L. M. (1986, May). Sociodramatic Play and Problem Solving in Young Children. Dissertaion Abstracts International. 46(11): 3243A - 3244A. Piaget, J. (1962). The Stages of the Intellectual Development of the Child: Bulletin of the Beginner Clinic. V. 26. Skaklee, B.D. (1985, April). The Effectiveness of Teaching Creative Problem Solving Techniques to Enhance the Probiem Solving Ability of Kindergarten Students. Dissertaion Abstracts International. 46 (10) Shaklee, B. D. "The Effectiveness of Teaching Creative Problem Solving Techniques to Enhance the Problem Solving of Kindergarten Student."'Dissertation Abstract International 46 (April 1985) :2915A.


61 ภาคผนวก


62 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือ


63 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือ 1. นายชูกิจ ผลทิพย์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี 2. นางสาววรดา พรทนาไร่ ครู โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี 3. อาจารย์กัลยกร ภักดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


64 ภาคผนวก ข -ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบ ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย


65 ตารางที่ 6 ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย แบบทดสอบ ความสามารถ ในการ แก้ปัญหา ข้อที่ประเมิน ความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 ชุดที่ 1 ความสามารถ ในการ แก้ปัญหาของ ตนเองที่ เกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น ข้อที่ 1 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 2 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 3 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 4 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 5 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 6 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 7 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 8 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 9 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 10 +1 +1 +1 3 1.0 ชุดที่ 2 ความสามารถ ในการ แก้ปัญหาของ ตนเองที่ไม่ เกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น ข้อที่ 11 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 12 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 13 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 14 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 15 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 16 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 17 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 18 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 19 +1 +1 +1 3 1.0 ข้อที่ 20 +1 +1 +1 3 1.0


66 ภาคผนวก ค - แผนภูมิเครือข่ายการเรียนรู้( web ) - ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง - ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง แสง


67 แผนภูมิเครือข่ายการเรียนรู้( web ) แสง สัปดาห์ที่ 1 แหล่งกำเนิดและการ เดินทางของแสง - แสงมาจากไหน - แสงเดินทางออกจาก แหล่งกำเนิดแสงอย่างไร - แสงเดินทางอย่างไร สัปดาห์ที่ 2 พลังงาน แสงอาทิตย์ - แสงจากดวงอาทิตให้ ความร้อน - แสงจากดวงอาทิตย์ทำ ให้น้ำระเหยายไป - แสงจากดวงอาทิตย์ ช่วยในการมองเห็น สัปดาห์ที่ 8 แสงกับการเจริญเติบโต ของพืช - ต้นไม้ในกล่องทึบ - ใบไม้เปลี่ยนสี - ต้นไม้เดินได้ สัปดาห์ที่ 3 ตัวกลางของแสง - ตัวกลางโปร่งใส - ตัวกลางโปร่งแสง - ตัวกลางทึบแสงและเงา สัปดาห์ที่ 4 การหักเหของแสง - การหักเหของแสง - กระจกนูน - กระจกเว้า สัปดาห์ที่ 5 การสะท้อนแสง - การสะท้อนแสงทำให้ มองเห็น - กระจกสะท้อนแสง - วัตถุแต่ละชนิดสะท้อน แสงได้แตกต่างกัน สัปดาห์ที่ 6 แสงสี - สีจากแสงแดด - แสงสีรุ้ง - วงล้อสีขาว สัปดาห์ที่ 7 พลังงานแสงที่มนุษย์ สร้างขึ้น - พลังงานแสงที่มนุษย์ สร้างขึ้นให้ความร้อน - แสงยิ่งใกล้ยิ่งสว่าง ยิ่ง ไกลยิ่งสลัว - พลังงานแสงที่มนุษย์ สร้างขึ้นช่วยในการ มองเห็น


68 ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง สัปดาห์ สาระ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ 1 แสงมาจาก แหล่งกำเนิดแสง ที่แตกต่างกัน คือ แหล่งกำเนิดแสง ตามธรรมชาติ ได้แก่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แหล่งกำเนิดแสง ที่ มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่หลอดไฟ เทียนไข ไฟฉาย แสงจะเดินทาง ออกจาก แหล่งกำเนิดแสง ทุกทิศทุกทาง และจะเดินทาง เป็นเส้นตรงเสมอ ขั้นนำ ร้องและทำท่า ประกอบเพลง สนทนาจากเพลง "ดวงอาทิตย์-ดวง จันทร์" ขั้นสอน แบ่งกลุ่ม แบ่ง บริเวณ เพื่อ สำรวจที่มาของ - สังเกต แหล่งกำเนิด แสงที่ครูเตรียมมา - นำเสนอมติของ กลุ่มเกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดแสงที่ แตกต่างกัน ขั้นสรุป ร่วมกันสรุปถึง แหล่งกำเนิดแสงที่ แตกต่างกัน ชั้นนำ ท่องคำคล้องจอง "ดวงอาทิตย์จ๋" สนทนาจากคำ คล้องจอง ขั้นสอน - ทดลองโดยใช้ลูก บอลพลาสติก ทาสี ดำเจาะรูโดยรอบ และ ครอบหลอดไฟ - สังเกตลำแสงที่ ออกมาจากลูก บอล - สนทนาถึง ทิศทางของลำแสง ที่ปรากฎ ขั้นสรุป - ร่วมกันสรุปถึง การเดินทางออก จากแหล่งกำเนิด ของแสง ขั้นนำ ดูภาพจากหนังสือ เรื่อง "ดวงอาทิตย์ สนทนาจากภาพ ขั้นสอน - ทดลองโดยการ ใช้กระดาษเจาะรู วางเรียงกัน ฉาย ไฟฉายผ่าน รูกลม ของ กระดาษ ใน ตำแหน่งต่างๆกัน - สังเกตการ เดินทางของแสง ผ่านรูกลมของ กระดาษ ขั้นสรุป ร่วมกันสรุปถึง ลักษณะการ เดินทางของแสง


69 ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง (ต่อ) สัปดาห์ สาระ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ 2 แสงจากดวงอาทิตย์ ช่วยในการมองเห็น ขั้นนํา เด็กและครูร่วมกัน ร้องและทำท่า ประกอบเพลง “ดวง อาทิตย์” และสนทนา ร่วมกับเด็ก ขั้นสอน ครูและเด็กทดลองนำ ถาดอลูมิเนียม 2 ใบ ใส่น้ำไปวางกลางแดด และวางไว้ในร่ม -ครูและเด็กสังเกต และสัมผัสน้ำจากถาด ทั้งสองใบ -ครูและเด็กร่วมกัน สนทนาถึงความ แตกต่างของน้ำจาก ถาดทั้ง 2 ใบ ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกัน สรุปถึงความรู้สึกจาก การสัมผัส และ ปริมาณน้ำจากถาดทั้ง 2 ใบ ที่แตกต่างกัน ชั้นนำ เด็กและครู ร่วมกันร้องและ ทำท่าประกอบ เพลง “แสงแดด” และสนทนา ร่วมกับเด็ก ขั้นสอน ครูและเด็ก ทดลองนำผ้า เปียกน้ำ 2 ผืน ไป วางไว้กลางแจ้ง และวางใน กระป๋อง เมื่อเวลา ผ่านไปสักครู่ -สังเกตความ แตกต่างของผ้าทั้ง 2 ผืน -ครูและเด็ก ร่วมกันสนทนาถึง ความแตกต่าง ของผ้าทั้ง 2 ผืน ขั้นสรุป เด็กและครู ร่วมกันสรุปถึง ความแตกต่าง ของผ้าทั้ง 2 ผืน ขั้นนำ เด็กดูภาพจาก หนังสือเรื่อง "แสง" และ สนทนาจากภาพ ขั้นสอน ครูนำกล่องที่เจาะ รูด้านข้างที่ใส่ สิ่งของไว้และปิด ฝามิดชิดให้เด็กๆ มองดูสิ่งของ ภายในกล่อง -ครูเปิด ช่องด้านบนของ กล่องแล้วให้เด็ก มองดูของในกล่อง อีกครั้ง -ครูและเด็ก ร่วมกันสนทนาถึง ความแตกต่าง จากการมองทั้ง สองครั้ง ขั้นสรุป เด็กและครู ร่วมกันสรุปถึง ความแตกต่าง จากการมองทั้ง สองครั้ง


70 ตารางการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง (ต่อ) สัปดาห์ สาระ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ 3 พลังงานแสงที่ มนุษย์สร้างขึ้น ให้ความร้อน ขั้นนำ ครูใช้ปริสนาคำทาย ขั้นสอน ครูสนทนาร่วมกับ เด็กเกี่ยวกับพลังงาน แสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ให้ความร้อน -ทดลองสัมผัส หน้าจอคอมพิวเตอร์ จอโทรทัศน์ ไฟฉาย หรือ เทียนไขที่พึ่งดับ ไป -ร่วมกันสนทนาถึง ความรู้สึกว่าเป็น อย่างไร ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกัน สรุปถึงความรู้สึกจาก การสัมผัส ชั้นนำ ครูเล่านิทานให้เด็กฟัง เรื่อง “พลังงานจาก แสงอาทิตย์” และ ร่วมกันสนทนา ขั้นสอน ครูทดลอง โดยนำไฟ ฉาย ฉายไปยังฉากรับ แสง แล้ววาดขนาดวง แสงที่ปรากฏ แล้ว ทดลองเคลื่อนตำแหน่ง ที่ยืนเปรียบเทียบขนาด ของวงแสง -เด็กออกมาทดลอง ที ละคนจนครบ -ครูและเด็กร่วมกัน สนทนา ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุป ถึงการเปลี่ยนแปลง ของขนาดวงแสงใน ระยะต่าง ๆ จาก แหล่งกำเนิด ของแสง ขั้นนำ ครูและเด็กท่องคำ คล้องจอง “พลังงานมีคุณค่า” ขั้นสอน -ครูนำกล่องเจาะรู ด้านข้างที่ใส่สิ่งของ และไฟฉายขนาด เล็กไว้และปิดฝา มิดชิดให้เด็กๆ มองดูสิ่งของภายใน กล่อง - ครูเปิดไฟฉาย ภายในกล่องให้เด็ก มองดูสิ่งของอีกครั้ง ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกัน สรุปถึงความ แตกต่างจากการ มองทั้งสองครั้ง


71 ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง แสง สัปดาห์ที่ 1 แหล่งกำเนิดและการเดินทางของแสง กิจกรรมที่ 1 แสงมาจากไหน ระยะเวลา 30 นาที จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว 2. เพื่อให้เด็กสนทนาร่วมกับครูและเพื่อนได้ 3. เพื่อให้เด็กสามารถแก้ปัญหาตามวัยได้ 4. เพื่อให้เด็กสามารถร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้นและสนุกกับการเรียนรู้ เนื้อหา แสงมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างกัน คือ 1. แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดวงดาว เป็นต้น 2. แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ หลอดไฟ เทียนไข ไฟฉาย โคมไฟ โทรทัศน์ เป็น ต้น กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนํา เด็กและครูร่วมกันร้องและทำท่าประกอบเพลง “ดวงอาทิตย์– ดวงจันทร์” และสนทนากับ เด็กดังนี้ - เพลงกล่าวถึงอะไรบ้าง - เด็กๆคิดว่า นอกจากดวงอาทิตย์แล้ว รอบตัวเรามีสิ่งใดให้แสงสว่างอีกบ้าง ขั้นกิจกรรม 1. แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน กำหนดบริเวณให้แต่ละกลุ่มเดินสํารวจแต่ละห้อง ในอาคารเรียน และช่วยกันค้นหาว่า มีสิ่งใดที่่ให้แสงสว่างบ้าง 2. นําสิ่งที่สำรวจพบมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน


72 3. เด็กแต่ละกลุ่มร่วมกัน สังเกตสิ่งของต่างๆที่ครูเตรียมมา ได้แก่ ไฟฉาย เทียนไขโคมไฟจอ ทีวีโดยครูซักถามถึงความเหมือนและความต่าง ตลอดจนที่มาของแสงสว่างของวัตถุแต่ละชนิดและ เปรียบเทียบกับแสงจากดวงอาทิตย์ 4. เปิดโอกาสให้เด็กได้ตั้งคําถามในสิ่งที่สงสัย โดยครูใช้คําถาม “เด็กๆอยากรู้อะไรเกี่ยวกับสิ่ง เหล่านี้บ้าง” 5. ให้แต่ละกลุ่มพูดคุยสนทนาและนำมติของกลุ่มมานำเสนอ โดยครูใช้คําถาม ดังนี้ - สิ่งใดให้แสงสว่างมากที่สุด - ระหว่างแสงจากดวงอาทิตย์และสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดให้แสงสว่างมากกว่ากัน ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงแหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างกัน คือแสงจากธรรมชาติได้แก่ดวง อาทิตย์ดวงจันทร์และดวงดาว ส่วนแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ เทียนไข โคมไฟ ไฟฉาย ไม้ขีด เป็น ต้น สื่อและอุปกรณ์ 1. เพลง “ดวงอาทิตย – ดวงจันทร์” 2. โคมไฟ , ไฟฉาย, เทียนไข, ไม้ขีด การประเมิน 1. สังเกตความสนใจในการร่วมทำกิจกรรม 2. สังเกตการสนทนาแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม และการแก้ปัญหา


73 กิจกรรมที่ 2 แสงออกจากแหล่งกำเนิดแสงอย่างไร ระยะเวลา 30 นาที จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัย 2. เพื่อให้เด็กสามารถสนทนาร่วมกับเพื่อนและครูได้ 3. เพื่อให้เด็กร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้นและสนุกกับการเรียนรู้ เนื้อหา แสงจะ เดินทางออกจากแหล่งกำเนิดแสง ทุกทิศทุกทางเสมอ ขั้นนำ 1. เด็กท่องคำคล้องจอง "ดวงอาทิตย์จำ" ดวงอาทิตย์จำ แสงจ้าสดใส เด็กเบิกบานใจ วิ่งไล่จับเงา ต้นไม้ผลิใบ โลกไม่ซบเซา แสงแดดยามเช้า พวกเราชื่นบาน 2. สนทนากับเด็ก ดังนี้ - คำคล้องจองพูดถึงอะไร - แสงของดวงอาทิตย์ที่เด็กๆมองเห็นเป็นสีอะไร ขั้นกิจกรรม 1. นำพลาสติกครึ่งวงกลม (ลูกบอลพลาสติก) ทาสีดำเจาะรูเล็กๆไว้โดยรอบ ให้เด็กนำมา ครอบหลอดไฟไว้ 2. เด็กนำ กล่องพลาสติกใสครอบพลาสติกครึ่งวงกลมอีกชั้นหนึ่ง 3. จุดธูปใส่ทางช่องที่เจาะไว้ให้ควันอยู่ในกล่องแล้วเอาธูปออก 4. เปิดสวิตซ์ ให้เด็กสังเกตลำแสงภายในกล่อง 5. เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรม และเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย


74 ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุปสาระสำคัญ ว่า แสงเดินทางออกจาก พลาสติกเจาะรูแบบทุกทิศทุก ทางนั่นแสดงว่าแสงจะเดินทางออกจากแหล่งกำเนิดแสงแบบทุกทิศทุกทางนั่นเอง สื่อและอุปกรณ์ 1. คำคล้องจอง "ดวงอาทิตย์จ๋า" 2. ลูกบอลพลาสติกทาสีดำ เจาะรูโดยรอบ 3. กล่องพลาสติกใส 4. หลอดไฟ 5. ธูป การประเมิน 1. สังเกตความสนใจในการร่วมทำกิจกรรม 2. สังเกตการสนทนาแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม และการแก้ปัญหา


75 กิจกรรมที่ 3 แสงเดินทางอย่างไร ระยะเวลา 30 นาที จุดประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัย 2. เพื่อให้เด็กสามารถสนทนาและแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนและครูได้ 3. เพื่อให้เด็กร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้นและสนุกกับการเรียนรู้ เนื้อหา แสงเดินทางเป็นเส้นตรง กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนำ เด็กดูภาพจากหนังสือเรื่อง "ดวงอาทิตย์" (ของประชุมพร สุวรรณตรา) และสนทนาโดยใช้ คำถามดังนี้ - เด็กๆคิดว่าถ้าไม่มีดวงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น - เด็กคิดว่าลำแสงจากหลอดไฟหรือไฟฉายจะเหมือนกับลำแสงของดวงอาทิตย์หรือไม่ ขั้นกิจกรรม 1. แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แต่ละกลุ่มรับอุปกรณ์ ดังนี้ 2. กระดาษแข็งขนาด 8*12 นิ้ว จำนวน 5 แผ่น และเจาะรูตรงกลางขนาดประมาณ 1 นิ้ว ในตำแหน่งกลางแผ่นให้ตรงกันพอดี จำนวน 3 แผ่น อีก 2 แผ่น ให้เจาะรูกลมตรงกลางในตำแหน่ง ต่างๆ กัน 3. นำกระดาษ 3 แผ่น ที่รูกลมตรงกันพอดี ตั้งกับพื้น (ตั้งด้วยที่หนีบกระดาษ) ให้รูกลม ตรงกัน 4. เด็กๆ นำไฟฉายส่องผ่านรูกลม สังเกต แสงสว่างที่ผ่านรูกลม ไปตกลงบนฉากด้านหลัง 5. เด็กแต่ละกลุ่มทดลองด้วยตนเอง ในการนำกระดาษทีละแผ่นที่มีรูกลมในตำแหน่งต่างๆ กันตั้งตรงกลาง ฉายไฟฉายส่องผ่าน สังเกตแสงที่ส่องบนฉากด้านหลัง เปรียบเทียบแต่ละครั้ง


76 ขั้นสรุป เด็กและครูร่วมกันสรุปว่า เมื่อเราตั้งแผ่นกระดาษที่มีรูกลมตรงกันจะทำให้แสงของหลอดไฟ ฉายสามารถ เดินทางผ่านกระดาษไปยังฉากด้านหลังได้ นั่นเป็นเพราะว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง นั่นเอง สื่อและอุปกรณ์ 1. หนังสือเรื่อง "ดวงอาทิตย์" 2. กระดาษขนาด 8x12 นิ้ว จำนวน 5 แผ่น เจาะรูกลมตรงกลาง ตรงกัน 3 แผ่น อีก 2 แผ่นเจาะในตำแหน่งต่างๆกัน 3. ไฟฉาย 4. ที่หนีบกระดาษสีดำ (สำหรับตั้งกระดาษ) การประเมิน 1. สังเกตการร่วมกิจกรรมของเด็ก 2. สังเกตการสนทนาแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม และการแก้ปัญหา


77 ภาคผนวก ง - คู่มือแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา ของเด็กปฐมวัย - ตัวอย่างแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา -เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา - แบบบันทึกการให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา


78 คู่มือแบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 1. ลักษณะทั่วไปของแบบทดสอบ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย เป็นแบบทคสอบชนิด รูปภาพเกี่ยวกับสถานการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย เด็กจะต้องแก้ปัญหา จากสถานการณ์ที่สร้างขึ้น โดยการตอบคำถามจากการแก้ปัญหานั้นๆ จำนวน 20 ข้อ 2. เวลาที่ใช้ในการทดสอบ ผู้วิจัยกำหนดเวลาในการตอบคำถามของเด็กปฐมวัยโดยใช้แบบทดสอบเป็นสถานการณ์ รูปภาพ ข้อละไม่เกิน 1 นาที รวมเวลาที่ใช้ในการทดสอบ 20 นาที 3. วิธีดำเนินการทดสอบ 1. ผู้ดำเนินการทดสอบศึกษาแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาและคู่มือให้ เข้าใจกระบวนการทั้งหมดก่อน ใช้ภาษาที่ชัดเจนเป็นธรรมชาติ เพื่อให้เด็กสนใจและตั้งใจฟังคำถาม และก่อนการทดสอบ ผู้ดำเนินการทดสอบต้องเขียนชื่อสกุลของนักเรียนให้เรียบร้อย 2. จัดเตรียมสถานที่สอบ ควรเป็นห้องที่มีสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียนเอื้อต่อผู้รับการทดสอบ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ มีขนาดที่เหมาะสมกับนักเรียน มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีเสียงรบกวน 3. ก่อนดำเนินการทดสอบ ให้ผู้ช่วยดำเนินการทดสอบพานักเรียนไปทำธุระส่วนตัว เช่นดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย ผู้ดำเนินการทดสอบสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก โดยการชวนสนทนา 4. ดำเนินการทดสอบเด็กเป็นรายบุคคลแบบปากเปล่า (Oral test) โดยให้เด็กดู ภาพแล้วตอบคำถามในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้คำถาม ดังนี้ ผู้ดำเนินการทดสอบ : หนูดูภาพนี้ซิคะ ถ้าหนูเป็นเด็กในภาพนี้ หนูทำเทียนไขดับ ขณะทำกิจกรรม หนูจะทำอย่างไร เด็ก : …………………………………………………………………………………………………………………………………


79 ผู้ดำเนินการทดสอบถามคำถาม 2 ครั้ง ถ้าภายใน 30 วินาที เด็กยังไม่ตอบคำถาม จะถาม คำถามซ้ำอีก 1 ครั้ง ถ้าภายใน 1 นาที เด็กยังไม่ตอบคำถามอีก ถือว่าแก้ปัญหาไม่ได้ 5. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบมีดังนี้ 5.1 คู่มือผู้ดำเนินการสอบ 5.2 นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน 6. กฎเกณฑ์การให้คะแนน การแก้ปัญหาที่ใช้เป็นคำถามประกอบภาพสถานการณ์ที่ ให้ความอิสระในการตอบ การตรวจให้คะแนนพิจารณาจากคำตอบ ภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้ 1 คะแนน แทน การแก้ปัญหาไม่ได้ หมายถึง นักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ตอบคำถามในเวลาที่กำหนด 2 คะแนน แทน การแก้ปัญหาได้ แต่ไม่เหมาะสม หมายถึง การแก้ปัญหาได้ด้วย ตนเอง หรือให้ผู้อื่นช่วยได้อย่างเหมาะสม 3 คะแนน แทน การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง การแก้ปัญหาได้ด้วย ตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย


80 ตัวอย่างแบบทดสอบการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย สถานการณ์ที่ 1 : ถ้าหนูหารองเท้าของตนเองไม่พบ หนูจะทำอย่างไร สถานการณ์ที่ 2 : ถ้าครูให้หนูวาดภาพโคมไฟ ขณะหนูตั้งใจทำงาน มีเพื่อนมาขีดเขียนผลงาน ของหนู หนูจะทำอย่างไร


81 สถานการณ์ที่ 3 : ถ้าหนูต้องการใช้สีเขียวระบายภาพ แต่เพื่อนกำลังใช้อยู่ หนูจะทำอย่างไร สถานการณ์ที่ 4 : ถ้าหนูเข้าห้องน้ำในโรงเรียน แล้วพบว่าห้องน้ำมืด หนูจะทำอย่างไร


82 สถานการณ์ที่ 5 : ถ้าหนูเข้าห้องน้ำในโรงเรียน แล้วพบว่าห้องน้ำมืด หนูจะทำอย่างไร สถานการณ์ที่ 6 : ถ้าคุณครูให้หนูนำเทียนไขมา แต่หนูลืมเอามา หนูจะทำอย่างไร


83 ตารางที่ 8 เกณฑ์การให้คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา สถานการณ์ปัญหา แก้ปัญหาได้ อย่างเหมาะสม แก้ปัญหาได้แต่ ยังอย่าง เหมาะสม แก้ปัญหาไม่ได้ ลำดับที่ คำถาม 3 2 1 1 ถ้าหนูมาโรงเรียนสาย แล้ว เมื่อหนูมาถึงห้องเรียน หนูไม่ พบใครเลย หนูจะทำอย่างไร 1.ให้พ่อแม่พาไป ส่ง 2.รออยู่ที่ ห้องเรียน ไปตามหาเพื่อน 1.ไม่รู้ 2.ไม่ยอมพูด 3.ร้องไห้ 2 ถ้าหนูนั่งฟังครูกำลังสาธิต กิจกรรม แต่มีเพื่อนมายืน บัง หนูจะทำอย่างไร 1.ยกมือขอ อนุญาต 2.ขออนุญาตครู ไปฉี่ 1.ฉี่ราดตรงนั้น เลย 2.ลุกเดินไปฉี่เลย 1.ไม่รู้ 2.ไม่ยอมพูด 3.ร้องไห้ 3 ถ้าคุณครูให้หนูนำเทียนไข มา แต่หนูลืมเอามา หนูจะ ทำอย่างไร 1.ยืมเพื่อนใช้ ก่อน 2.บอกครู ให้แม่เอามาให้ 1.ไม่รู้ 2.ไม่ยอมพูด 3.ร้องไห้ 4 ถ้าหนูนั่งฟังครูกำลังสาธิต กิจกรรม แต่มีเพื่อนมายืน บัง หนูจะทำอย่างไร บอกเพื่อนให้นั่ง ลง 1.ยืนขึ้น 2.ผลักเพื่อน 1.ไม่รู้ 2.ไม่ยอมพูด 3.ร้องไห้


84 แบบบันทึกการให้คะแนนการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชื่อ ด.ช./ด.ญ. ……………………………………………………………………………….. นามสกุล …………………………………………………………….. ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) วันที่ทำการทดสอบ ………………………………………… คำสั่ง ใส่เครื่องหมาย √ ในช่องบันทึกคะแนน ลำ ดับ ที่ คำถามสถานการณ์ปัญหา คำตอบเด็ก คะแนน หมาย เหตุ 2 1 0 ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น 1 ถ้าหนูหารองเท้าของตนเองไม่พบ หนูจะทำ อย่างไร 2 ถ้าหนูทำเทียนไขดับ ขณะทำกิจกรรม หนูจะ ทำอย่างไร 3 ถ้าขณะครูกำลังสอนอยู่ หนูรู้สึกปวดปัสสาวะ มากจนทนไม่ไหว หนูจะทำอย่างไร 4 ถ้าหนูวาดภาพอยู่ในห้องเรียนที่มืด หนูจะทำ อย่างไร 5 ถ้าหนูเดินออกไปรับประทานอาหารข้างนอก แล้วแสงแดดส่องตา หนูจะทำอย่างไร 6 ถ้าคุณครูให้หนูถือหลอดไฟไปวางไว้บนโต๊ะ แล้วหนูทำหลอดไฟหล่นแตก หนูจะทำอย่างไร 7 ถ้าหนูอยากดูทีวี แต่ปลั๊กยังไม่ได้เสียบ หนูจะ ทำอย่างไร 8 ถ้าหนูเข้าห้องน้ำในโรงเรียน แล้วพบว่าห้องน้ำ มืด หนูจะทำอย่างไร 9 ถ้าหนูลืมเอาการบ้านมาส่งคุณครูที่โรงเรียน หนูจะทำอย่างไร 10 ถ้าหนูมาโรงเรียนสาย แล้วเมื่อหนูมาถึง ห้องเรียน หนูไม่พบใครเลย หนูจะทำอย่างไร


85 แบบบันทึกการให้คะแนนการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชื่อ ด.ช./ด.ญ. ……………………………………………………………………………….. นามสกุล …………………………………………………………….. ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 72 (เทศบาล 8) วันที่ทำการทดสอบ ………………………………………… คำสั่ง ใส่เครื่องหมาย √ ในช่องบันทึกคะแนน ลำ ดับ ที่ คำถามสถานการณ์ปัญหา คำตอบเด็ก คะแนน หมาย เหตุ 2 1 0 ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น 1 ถ้าหนูต้องการใช้สีเขียวระบายภาพ แต่เพื่อนกำลังใช้ อยู่ หนูจะทำอย่างไร 2 ถ้าหนูนั่งฟังครูกำลังสาธิตกิจกรรม แต่มีเพื่อนมายืนบัง หนูจะทำอย่างไร 3 ถ้าหนูใช้ไฟฉายอยู่แล้วมีเพื่อนมาแย่ง หนูจะทำอย่างไร 4 ถ้าคุณครูให้หนูนำเทียนไขมา แต่หนูลืมเอามา หนูจะ ทำอย่างไร 5 ถ้าหนูเรียนเสร็จแล้ว กลับมาถึงห้องเรียน พบว่าไฟฉาย ของเพื่อนติดในกระเป๋ามาด้วย หนูจะทำอย่างไร 6 ถ้าหนูกำลังต่อแถวทำกิจกรรม แล้วเพื่อนมาแซงคิว หนู จะทำอย่างไร 7 ถ้าหนูอยากเล่นเกมตัดต่อภาพ แต่เพื่อนกำลังเล่นอยู่ หนูจะทำอย่างไร 8 ในขณะที่หนูเล่นบล็อกกับเพื่อนในห้องเรียน แล้วพบว่า ไฟในห้องเรียนดับ หนูจะทำอย่างไร 9 ถ้าครูให้หนูวาดภาพโคมไฟ ขณะหนูตั้งใจทำงาน มี เพื่อนมาขีดเขียนผลงานของหนู หนูจะทำอย่างไร 10 ถ้าขณะหนูกำลังเล่นเกมโดมิโนอยู่กับเพื่อน แล้วได้มี เพื่อนนำของเล่นมาตีที่ศีรษะของหนู หนูจะทำอย่างไร


86 ภาคผนวก จ ตัวอย่างภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสง


87 ตัวอย่างภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง ครูสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่อง แสงมาจากไหน เด็กทดลองกิจกรรมโดยใช้เทียนไข


88 ตัวอย่างภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง (ต่อ) เด็กทดลองกิจกรรมโดยใช้ไฟฉาย เด็กทดลองกิจกรรมโดยใช้โคมไฟ


89 ตัวอย่างภาพกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง แสง (ต่อ) เด็กทดลองกิจกรรมแสงยิ่งใกล้ยิ่งสว่าง ยิ่งไกลยิ่งสลัว เด็กทดลองกิจกรรมแสงและเงา


90 ประวัติผู้วิจัย


Click to View FlipBook Version