The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cstd, 2021-04-22 00:24:51

เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

Keywords: จิตวิทยาเด็ก

เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก
นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียน

พิมพ์คร้ังแรก: ธันวาคม 2562

บรรณาธิการเล่ม
ศรัชญ์ศรณ์ ศรประสิทธิ์
ออกแบบปกและภาพประกอบ

เพชรลัดดา แก้วจีน
รูปเล่ม

ยุทธภูมิ ปันฟอง
ด�าเนินการผลิต
ส�านักพิมพ์ bookscape

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�านักหอสมุดแห่งชาติ
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก.-- กรุงเทพฯ :
ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2562.

96 หน้า.
1. จิตวิทยาเด็ก.
I. เพชรลัดดา แก้วจีน, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเร่ือง.

155.4
ISBN 978-616-393-274-7

โครงการขับเคล่ือนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว
และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน

จัดท�าโดย
ส�านักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
เลขที่ 99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ

เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

โทรศัพท์: 02 343 1500
โทรสาร: 02 343 1551

อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: www.thaihealth.or.th

สารบญั

1

ว่ า ด้ ว ย ท า ร ก
แ ล ะ ส่ิ ง ท่ี พ ว ก เ ข า รู้

12

2

ก า ร เ รี ย น รู้ โ ล ก ภ า ย น อ ก
20

3

ก า ร เ รี ย น รู้ ด้ า น ภ า ษ า
30

4

มิตรภาพ ครอบครัว
การเล่นสมมติ และจินตนาการ

40

5

ก า ร เ รี ย น แ ล ะ ค ว า ม จ� า
ก า ร อ่ า น แ ล ะ จ� า น ว น

48

6

ก า ร เ รี ย น รู้ ข อ ง ส ม อ ง
66

7

ท ฤ ษ ฎี แ ล ะ ป ร ะ ส า ท ชี ว วิ ท ย า
ข อ ง พั ฒ น า ก า ร
82



เปดิ โลก
จติ วทิ ยาเดก็

นพ.ประเสริฐ
ผลิตผลการพิมพ์

ค�าน�า

ครคู วรรูจ้ ิตวิทยาเด็ก ความขอ้ นี้รู้มานานแลว้ แตป่ ัญหาของ
บา้ นเราคอื การเรยี นเรอื่ งจติ วทิ ยาเดก็ ใหถ้ งึ ระดบั ประยกุ ตใ์ ชไ้ ดเ้ ปน็
เรอ่ื งยาก เราขาดทง้ั ตา� ราและผสู้ อนทห่ี ลากหลายมากพอ สว่ นใหญ่
เป็นเพียงหนังสือแปลจากต�าราแพทย์โดยตรง หรือเขียนซ�้าต�ารา
แพทย์ที่มีอยูเ่ ดิม พูดงา่ ยๆ วา่ เราผลติ ซ้�า

ปัจจุบัน พ่อแม่ แม้กระทั่งปู่ย่าตายาย อาจจะต้องรู้
จิตวิทยาเดก็ ด้วย เหตุผลคอื โลกเปล่ยี นเร็ว เราเข้าสู่ยคุ ไอทตี ้งั แต่
ประมาณสิบปีก่อนเข้าสู่สหัสวรรษใหม่โดยที่ไม่ทันระวัง แล้ววันน้ี
เราก�าลังเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่นและโลกร้อนอย่างแท้จริง
โดยไม่ทันเฉลียวใจอกี พดู งา่ ยๆ วา่ สามัญส�านกึ อยา่ งเดยี วอาจจะ
ไม่พอใชด้ แู ลเด็ก

โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ เดก็ เลก็

เมอื่ พบหนังสอื จิตวทิ ยาเดก็ : ความร้ฉู บับพกพา (Child
Psychology: A Very Short Introduction) ของอชู า กอสวามี ซึ่ง
ผแู้ ปล สภุ ลคั น์ ลวดลาย และวรญั ญู กองชยั มงคล ทา� งานไดอ้ ยา่ งดยี ง่ิ
ในการถา่ ยทอดคา� ศพั ทแ์ ละภาษาวชิ าการหลายคา� หลายประโยคให้
เปน็ ภาษาไทยแกผ่ สู้ นใจทว่ั ไป โดยไมเ่ กรงใจวา่ ผอู้ า่ นจะมกี ารศกึ ษา
ระดับใด จึงเป็นเร่ืองน่ายินดีท่ีบัดนี้เรามีความพยายามจะท�าสิ่งท่ี

8 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

แตกต่าง นั่นคือไม่ผลิตซ้�า แต่เลือกจะน�าเสนองานวิชาการให้แก่
ประชาชน ทั้งน้ียังไม่นับว่าหนังสือจิตวิทยาเด็กเล่มน้ีได้พูดถึง
งานวจิ ยั ใหม่ การทดลองใหม่ และทฤษฎีใหม่บางส่วนอกี ดว้ ย

ด้วยความดีเลิศของหนังสือและผู้แปล (แน่นอนผู้เขียน
และสา� นกั พิมพ์ bookscape ทก่ี ล้าแปลดว้ ย) ผมจึงไม่เกรงใจทง้ั
ส�านักพิมพ์ ผู้แปล และประชาชนท่ีจะเขียนหนังสือเพื่อตีความ
เนื้อหาหนังสือเล่มนี้ให้เป็นภาษาไทยอีกเวอร์ช่ันหนึ่ง พร้อมท้ัง
ขยายความ อธบิ าย ลงรายละเอยี ด และวพิ ากษส์ ง่ิ ทผ่ี เู้ ขยี นตน้ ฉบบั
ไดท้ า� ไว้ ทง้ั นเี้ พอื่ ใหห้ นงั สอื ตน้ ฉบบั นน้ั เองไดแ้ ผข่ ยายเปน็ วงกวา้ ง
มากกวา่ เดิม

ขอ้ ดอี กี ประการของหนงั สอื ตน้ ฉบบั คอื ขนาดเลก็ เหมาะแก่
การพกพา หนังสือที่ถืออยู่เล่มนี้ก็ควรจะมีขนาดเล็กเหมาะแก่
การพกพาด้วยเช่นกัน เพราะเราอยากให้ใช้ มใิ ช่ให้อา่ นแลว้ เก็บไว้

ขอขอบพระคุณผู้แปลและส�านักพิมพ์ bookscape ท่ี
ผลิตหนังสือดีให้แก่ประชาชน รวมถึงส�านักงานกองทุนสนับสนุน
การสรา้ งเสริมสขุ ภาพ (สสส.) ท่ใี หก้ ารสนับสนนุ การจดั ท�าหนงั สือ
เปดิ โลกจติ วิทยาเด็ก เล่มนดี้ ้วย

นายแพทยป์ ระเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
ธันวาคม 2562

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 9

10 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 11

1

วา่ ด้วยทารก
และส่งิ ท่ีพวกเขารู้



ผมเขยี นเสมอวา่ ขวบปแี รกสา� คญั ทส่ี ดุ พยายามอยา่ จากลกู ไป
ไกลในขวบปแี รก ขวบปีแรกคอื นาทที องทีท่ ารกจะสร้างความไวใ้ จ
ต่อโลกและแม่ ขวบปีแรกคือความไว้เน้ือเชื่อใจ (trust) หากขาด
ความไวใ้ จนเี้ สยี แล้ว ทารกจะพฒั นาตอ่ ไมไ่ ด้

นอกจากนี้ผมยังเขียนเรื่องกระบวนการตัดแต่งสมอง
(pruning) ทจ่ี ะเร่ิมเมอ่ื อายุประมาณ 9-12 ขวบ เด็กใช้ชวี ติ อยา่ งไร
ทา� อะไรในช่วงน้ี ก็จะได้สมองอย่างนน้ั

บทแรกของหนังสอื จิตวทิ ยาเด็ก: ความรู้ฉบบั พกพา ซ่ึง
ว่าดว้ ยทารกและส่ิงทพ่ี วกเขารู้ เขยี นไวว้ า่ “ประสบการณท์ ดี่ �าเนิน
ตอ่ เนอ่ื งเปน็ ปจั จยั สา� คญั ทก่ี า� หนดวา่ เครอื ขา่ ยของเซลลป์ ระสาทใด
จะถกู ทา� ลาย และเครอื ขา่ ยใดทยี่ งั คงอยู่ ” สอดคลอ้ งกบั ความรเู้ รอื่ ง
การตดั แตง่ สมองทย่ี อมรบั กนั ทวั่ ไปแลว้ โดยเรมิ่ กนั ตง้ั แตข่ วบปแี รก
เลยทเี ดยี ว

“ทารกแรกเกิดชอบมองใบหน้าที่ดวงตาจ้องมองมายัง
พวกเขาตรงๆ และไม่ชอบมองใบหน้าท่ีดวงตาหันเหไปทางอ่ืน
นอกจากน้ีทารกยังตอบสนองในทางลบต่อใบหน้าเฉยเมย ”
ความข้อน้ีคือส่ิงท่ีผมพยายามบอกกล่าวคุณแม่เสมอมาว่าสิ่งท่ี
ทารกจะขาดเสยี ไม่ไดใ้ นสามเดอื นแรกคอื ใบหนา้ ของท่าน

ใบหนา้ ของท่านทา� ให้คุณแมม่ ีอยจู่ รงิ ในใบหน้ามีดวงตา

14 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

ในดวงตามดี วงใจ อนั เปน็ ของทที่ ารกตอ้ งใชใ้ นการสรา้ งสายสมั พนั ธ์
(attachment) ทารกควรได้ดูดวงตาของท่านมากกว่ามองหน้าจอ
ทีไ่ มม่ ดี วงตา

นอกจากใบหน้าของแม่ ยังมีเสียง เสียงของแม่ท่ีสูงต่�า
ขึ้นลงดังเสียงดนตรี เป็นภาษาแมท่ ่ีเรยี กว่า parentese ทารกเอง
เปล่งเสียงตอบสนองและเรียกรอ้ งการตอบสนอง แต่ถ้าพบว่าท่าน
เฉยเมย ทารกจะเรม่ิ เปลง่ เสียงให้ดงั ข้นึ

อูชา กอสวามี เขยี นต่อไปวา่ “งานวจิ ยั จา� นวนหนง่ึ แสดง
ใหเ้ หน็ วา่ ระดบั เสยี งและแอมพลจิ ดู (ความดงั ) ของเสยี งทารกรอ้ งไห้
ได้พัฒนาข้ึนผ่านกระบวนการวิวัฒนาการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใหญ่
ตอบสนองอยา่ งทนั ทว่ งที เสยี งรอ้ งไหข้ องทารกดเู หมอื นจะออกแบบ
มาใหผ้ ทู้ ไ่ี ดย้ นิ รสู้ กึ ตงึ เครยี ดถงึ ทสี่ ดุ ” มนิ า่ เลา่ พวกเราถงึ จะสตแิ ตก
กนั ให้ได้เม่ือทารกเร่ิมไม่พอใจ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ บนเคร่ืองบิน

“เด็กเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าตนชอบใบหน้า เสียง และ
กลิ่นของผู้เล้ียงดูหลักที่มอบปฏิสัมพันธ์อันอบอุ่นและต่อเน่ือง
สมา�่ เสมอ ” ดงั ทผ่ี มเขยี นเรอื่ งสายสมั พนั ธบ์ อ่ ยครงั้ ดว้ ยคาดหวงั วา่
สังคมไทยจะตื่นตัวและตระหนักว่าส�าคัญ โดยมักใช้ฉากบรรยาย
ท่ีอายุปลายขวบปีแรกเมื่อลูกเตาะแตะจากเราไป แต่กอสวามี
ไดล้ งรายละเอยี ดมากขน้ึ โดยระบวุ า่ สายสมั พนั ธค์ อื “ความคาดหวงั

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 15

ทางด้านจิตใจของเด็ก ซ่ึงเก่ียวโยงกับการสร้างคุณค่าของตนเอง
ในฐานะบคุ คลทส่ี มควรได้รับความรัก ”

หนังสือน้ีแบ่งสายสัมพันธ์หรือความผูกพันออกเป็นสอง
ประเภทคือ ความผกู พนั แบบมัน่ คง (secure attachment) ซึง่ จะ
ได้จากการเล้ียงดูท่ีตอบสนองต่อความต้องการของทารกอย่างดี
กับความผูกพนั แบบไมม่ ่นั คง (insecure attachment) อนั จะท�าให้
ทารกมีวธิ ีตอบโตส้ องรูปแบบ ได้แก่

(1) หลกี เลยี่ ง
“ในงานศกึ ษาตา่ งๆ เดก็ ทพี่ ยายามหลกี เลยี่ งความผกู พนั
แบบไม่มั่นคงจะค่อยๆ ยอมรับชะตากรรมของตนเอง พวกเขา
พัฒนากลยุทธ์ในการป้องกันตนเอง เช่น ไม่เป็นฝ่ายเข้าหาเม่ือ
ผ้เู ลี้ยงดอู ยใู่ กลๆ้ ราวกบั ตอ้ งการปอ้ งกันตัวเองจากความผิดหวงั ”

(2) ยดึ ตดิ
“มกั ทา� ตวั แบบลกู แหงแ่ ละไมย่ อมแยกจากผเู้ ลย้ี งดู ราวกบั
พยายามบงั คบั ให้ผู้ใหญแ่ สดงพฤตกิ รรมการเล้ียงดูทเี่ หมาะสม ”

งานวิจัยพบว่าทั้งสองรูปแบบเช่ือมโยงกับการมองเห็น
คุณค่าในตนเอง (self-esteem) และการรูจ้ กั ควบคมุ ตนเอง (self-
control) ไปจนถงึ ผลสัมฤทธ์ทิ างวิชาการหรือปญั ญาในอนาคต

แมจ้ ะมไิ ดอ้ า่ นตน้ ฉบบั แตเ่ ชอื่ ไดว้ า่ การมองเหน็ คณุ คา่ ใน

16 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

ตนเองและการรจู้ กั ควบคมุ ตนเอง เปน็ สว่ นประกอบของทกั ษะสมอง
ด้านบริหารจดั การ หรอื EF (executive function)

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่สามคือ ความผูกพันแบบ
ไม่เป็นระเบียบ (disorganized attachment) “เนื่องจากผู้เล้ียงดู
มพี ฤติกรรมท่ยี ากจะคาดการณ์ได้ ทารกจึงไม่สามารถหาแนวทาง
จัดการพฤติกรรมของตนเพ่ือให้อีกฝ่ายตอบสนองความต้องการ
ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม ” อันจะเชอ่ื มโยงไปสภู่ าวะซึมเศร้า ดอ้ื ต่อต้าน
เกเร และกา้ วรา้ ว

พอ่ แมท่ ค่ี วบคมุ อารมณไ์ มไ่ ด้ ดดุ า่ วา่ ตเี ปน็ ประจา� ควรใสใ่ จ
ความขอ้ ที่สามนี้แล้วพยายามปรับปรงุ ตนเอง

หนังสือเล่มน้ีให้ความหวังและก�าลังใจเช่นเดียวกับท่ีผม
พยายามบอกกล่าวเสมอมา นัน่ คือพ่อแม่จะเป็นใครกไ็ ด้ ผเู้ ล้ยี งคือ
พ่อแม่ตัวจรงิ หากเด็กขาดพอ่ แมเ่ พราะเหตุผลใดก็ตาม ใครสกั คน
ควรกา้ วออกมาทา� หนา้ ทแี่ ม่ “ไมว่ า่ จะเปน็ ปยู่ า่ ตายาย พอ่ แมอ่ ปุ ถมั ภ์
หรือพวกพี่ๆ ของทารก ล้วนเป็นบ่อเกิดความผูกพันแบบม่ันคง
ไดท้ ้ังสนิ้ ”

ตอนท้ายของบทนี้ได้เล่าเรื่องงานวิจัยที่มีชื่อเสียงมาก
ชนิ้ หนง่ึ คอื หนา้ ผามายา วธิ กี ารคอื ใหท้ ารกคลานบนโตะ๊ ลายตาราง
หมากรุกมาจนถึงแผ่นกระจกซ่ึงพ้ืนด้านล่างมีลายตารางหมากรุก

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 17



รออยู่ ทารกจะหยุดและมองหน้าแม่ หากแม่มีสีหน้าหวาดกลัว
ทารกจะหยุดคลาน น่ีแสดงให้เห็นความสามารถของทารกในการ
ล่วงรู้จิตใจของบุคคลท่ีมอบความผูกพันแบบมั่นคงให้แก่เขา โดย
ในหนังสือใช้คา� ว่า ความสนใจรว่ มกนั

บทที่ 1 ของหนังสือเล่มน้ีปิดท้ายด้วยข้อความสรุปและ
ยนื ยนั อกี ครงั้ หนง่ึ ว่า ไม่ว่าใครกล็ ว้ นสามารถก้าวออกมารับหน้าท่ี
อนั มีคุณค่ายง่ิ ใหญ่อยา่ งการเปน็ แมไ่ ด้ ไม่วา่ จะเป็นครู พ่ีเล้ียง หรือ
เจา้ หนา้ ทสี่ ถานรบั เลย้ี งเดก็ ทชี่ ว่ ยใหท้ ารกมคี วามผกู พนั แบบมนั่ คง
โดยอ้างงานวิจัยที่วัดระดับคอร์ติซอล (cortisol) อันเป็นตัวบ่งชี้
ความสุขของทารก

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 19

2

การเรียนรู้
โลกภายนอก

ทารกเกิดมาพร้อมพันธุกรรมบางอย่าง ทารกจึงมิใช่ผ้าขาว
แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นฝ่ายต้ังรับ ท่ีจริงแล้วทารกเป็นฝ่ายเลือกที่จะ
เรยี นรดู้ ว้ ยการมองและฟัง

ในบทท่ี 2 ของ จติ วทิ ยาเด็ก: ความรฉู้ บบั พกพา ซึง่ ว่า
ด้วยการเรียนรู้โลกภายนอก เล่าว่า “งานทดลองสมัยใหม่พบว่า
ทารกสนใจดวู ดิ โี อภาพแมย่ นื่ ของใหเ้ ดก็ มากกวา่ ทจี่ ะยน่ื ของใหพ้ อ่
นน่ั คือเขาสนใจเรอ่ื งทเี่ กีย่ วกบั ตวั เขา ”

วนั หน่ึงผมน่งั ในรา้ นอาหารญป่ี ่นุ แหง่ หนง่ึ เฝา้ มองทารก
นง่ั ไฮแชรป์ ดั ผา้ เชด็ มอื ผนื เลก็ ทพี่ นกั งานมาวางไวใ้ หต้ กพนื้ ซา้� แลว้
ซ้�าเล่า พ่อเด็กซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นจะลุกเดินอ้อมมาหยิบข้ึนจากพ้ืน
วางบนโต๊ะลูกทุกคร้งั แล้วกลับไปนั่งเก้าอข้ี องตัว

“ทารกจะก�าผ้าน้ัน ขย้ีขย�าแลว้ ปาลง บางทีกโ็ ยน บางที
กป็ ดั พอ่ กล็ กุ มาเกบ็ ขนึ้ ไมห่ า้ มสกั คา� ไมด่ ุ ไมว่ า่ ” เปน็ ดงั ทผี่ มเขยี น
เสมอคอื ทารกกา� ลงั ทดสอบพลงั กลา้ มเนอื้ ตน้ แขนและมอื เขาจะปดั
โยน ปาได้ไกลแคไ่ หน น่คี อื พฒั นาการล้วนๆ

หนังสือเล่มนี้ได้ช่วยขยายมุมมองออกไปอีก ทารกก�าลัง
เรยี นร้โู ลก และเร่ืองแรกทเี่ ขาเรียนคอื การเคล่ือนท่แี ละการเปลย่ี น
ต�าแหน่ง ซ่ึงความรู้เรื่องการเปลี่ยนต�าแหน่ง (placement and
displacement) นี้ ฌ็อง เพียเจต์ (Jean Piaget, 1896-1980)
นักจิตวิทยาชาวสวิสที่ท�าเรื่องพัฒนาการเด็กเขียนไว้นานแล้ว แต่

22 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก



หนังสือน้ีขยายความต่อไปว่าทารกสนใจการเคลื่อนท่ีวิถีโค้งและ
เหต-ุ ผลนนั่ คอื “หนทู งิ้ -แมเ่ กบ็ ”ซงึ่ เปน็ การเทยี บเคยี งระหวา่ งสองสงิ่
ท่ีแตกตา่ งกัน (juxtaposition)

“ของตกดว้ ยวถิ โี คง้ ของสง่ิ เดยี วจะปรากฏสองทพ่ี รอ้ มกนั
มไิ ด้ แตข่ องสองสงิ่ ปรากฏบนตา� แหนง่ เดยี วกนั ได้ ” เดก็ เรยี นรเู้ ชน่ น้ี

นอกไปจากน้ี ทารกยงั เรยี นรขู้ อ้ แตกตา่ งระหวา่ งธรรมชาติ
และส่ิงประดิษฐ์ คือเรือ่ งวญิ ญาณนิยม (animism) ทเี่ พยี เจต์เขียน
ไวก้ ่อนแลว้ เช่นกัน โดยขยายความวา่ ท้ังสองส่งิ มตี ้นธารรว่ มกัน

ทั้งหมดคือการเรียนรู้ของทารกท้ังเร่ืองพื้นฐานทาง
จิตวิทยา ฟิสิกส์ และชีววิทยา ซ่ึงในหนังสือเรียกว่า naive
psychology, naive physics และ naive biology

หลงั จากการเฝา้ มองและคอยฟงั การนง่ั จะเปน็ จดุ เปลย่ี น
ส�าคัญ เมื่อทารกลุกนั่ง โลกจะกลายเป็นสามมิติมากข้ึน และเม่ือ
เขาออกเดิน โลกจะเป็นสามมิติมากขึ้นไปอีก สนุกกว่าน้ีคือทารก
ขวบปีแรกจะเลือกของเล่นและก�าหรือถือของเล่นเดินไปด้วย
เมอ่ื เขาทา� ได้ ตอนนเี้ ขาเปลี่ยนตนเองเป็นผกู้ ระท�าอย่างสมบรู ณ์

“ทารกเดินได้ 2,000 ก้าวใน 1 ชว่ั โมง น่ันเทา่ กับ 7 สนาม
ฟตุ บอล ” ความขอ้ นช้ี วนใหผ้ มนกึ ถงึ สองเรอ่ื ง หนงึ่ คอื การเดนิ ตาม
ป้อนข้าว หมายถึงเราก�าลังพยายามหยุดพัฒนาการของเขาโดย

24 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

ไม่ทันระวัง สองคือการห้ามเด็กไปไหนไกลแทนท่ีเราจะสละเวลา
คอยเดินตาม ความจริงเราควรหาที่โล่งกว้างมากๆ ให้เขาได้เดิน
หยิบ จับ สา� รวจ นา่ เสยี ดายมากหากเขาต้องพลาดโอกาสเหล่าน้นั

กอสวามเี ขยี นตอ่ ไปดว้ ยวา่ เดก็ จะเดนิ เขา้ หาจดุ หวงหา้ ม
เสมอ ไมว่ า่ จะปลก๊ั ไฟ บนั ได เตาผงิ (บ้านเราต้องว่าเตาหมูกระทะ)
และเมอื่ ไรทเ่ี ขาพบทางตา่ งระดบั เขาจะพยายามทดลอง แลว้ หกลม้
ตกลงไปได้ทุกครั้ง แน่นอนว่าจนกว่าจะท�าได้ ข้อความบรรยายนี้
รวมถงึ เรือ่ งทผี่ มเขยี นเสมอคือทดสอบและทดลอง น่นั คือ ทดสอบ
ขอ้ ห้ามและทดลองพลงั กลา้ มเน้อื ใช่ พลังใจดว้ ย

“เดก็ เปน็ เหมอื นนกั วทิ ยาศาสตร์ จะถอดปลก๊ั เครอื่ งดดู ฝนุ่
ขณะใช้งาน กดปุ่มทีวีเปลี่ยนช่อง และต้ังค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ ”
ชวนให้นึกถึงครั้งที่หลานมาท่ีบ้านแล้วต้ังค่าเครื่องให้อาหารหมา
โดยที่พวกเราไม่ทันระวัง กลางดึกคืนน้ัน เครื่องให้อาหารหมา
เปดิ เทปบนั ทกึ สง่ เสยี งเรยี กหมามากนิ อาหารทุกหนง่ึ ชว่ั โมง

ทารกมีความจ�าหรือไม่ เป็นค�าถามท่ีคนส่วนใหญ่ถาม
แต่มักไม่ได้ค�าตอบ หนังสือเล่มน้ีตอบค�าถามด้วยการเล่าถึงการ
ทดลองหลายชิ้น มีช้ินหน่ึงท่ีน่าสนใจ เป็นการทดลองในทารก
อายุ 3 เดือนด้วยการผูกเชือกจากโมไบล์บนเพดานมาที่ข้อเท้า
ทกุ ครง้ั ทท่ี ารกถบี ขอ้ เทา้ โมไบลจ์ ะสง่ เสยี ง เมอื่ ปลอ่ ยใหท้ ารกเรยี นรู้
เสยี งทเ่ี กดิ ขน้ึ สกั ระยะหนงึ่ แลว้ นา� ออกไปพกั จากนน้ั นา� ทารกมาไว้

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 25

ใตโ้ มไบลโ์ ดยไมม่ เี ชอื ก พบวา่ แมว้ า่ เวลาจะผา่ นไป ทารกยงั คงถบี เทา้
แมว้ า่ จะไม่มีเสยี งเกดิ ข้นึ

อกี งานทดลองหนงึ่ กน็ า่ สนใจมากเชน่ กนั เมอ่ื ปลอ่ ยรถไฟ
แล่นเข้าอุโมงค์แล้วท�ากลไกมิให้รถไฟแล่นออกจากอุโมงค์ พบว่า
คล่ืนสมองไฟฟ้าของทารกเปลี่ยนไป และเมื่อเรายกอุโมงค์ข้ึน
ใหด้ ภู ายใน ปรากฏวา่ รถไฟไดห้ ายไปแลว้ อกี ตา่ งหาก แสดงใหเ้ หน็
ความแตกต่างระหว่างสิ่งท่ีเป็นไปตามคาดและสิ่งท่ีไม่เป็นไป
ตามคาดโดยสาธติ ให้เห็นการเปลยี่ นแปลงของคลน่ื สมอง

ส่วนงานทดลองท่ีมีชื่อเสียงที่สุดในโลกของเพียเจต์คือ
A ไมใ่ ช่ B ไดถ้ กู นา� มาอธบิ ายอกี ครงั้ หนง่ึ ดว้ ยการทดลองทแี่ ตกตา่ ง
จากเดิมท่ีเด็กถูกก�าหนดให้ค้นหาของท่ีต�าแหน่ง A อยู่เช่นน้ัน
โดยไม่ยอมเปลยี่ นไปส่กู ารคน้ หาทต่ี �าแหนง่ B เพราะของถกู ผ้าบัง
เอาไว้ และเดก็ อยภู่ ายใตก้ ฎทวี่ า่ “ไมเ่ หน็ คอื ไมม่ ี” การทดลองไปไกล
ถึงระดับท่ีแม้ว่าจะเฉลยให้เด็กเห็นว่าของอยู่ท่ีต�าแหน่ง B หรือ
อยูใ่ นกลอ่ ง B ซึง่ โปรง่ ใส แต่ว่าเดก็ ก็จะยังคงหาของท่ีต�าแหนง่ A
อยนู่ ่นั เอง!

นอกเหนือจากนี้ ยังมีการทดลองเร่ืองการรับรู้เกี่ยวกับ
การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตและส่ิงไม่มีชีวิต พบว่าทารกสามารถ
แยกแยะความแตกต่างระหว่างการเคล่ือนท่ีของรถยนต์กับการ
เคล่ือนที่ของสุนัขได้ น�าไปสู่ข้อสรุปอ่ืนๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

26 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

เคลอ่ื นทด่ี ว้ ยตวั เองไมไ่ ดแ้ ละมลี กู ไมไ่ ด้ แตส่ งิ่ มชี วี ติ ทา� ได้ เรอื่ งราว
เหลา่ น้เี ปน็ ทรี่ กู้ นั วา่ เดก็ ทกุ คนเรียนรไู้ ดเ้ องโดยไม่ต้องสอน

“ใบไม้เปลี่ยนสีด้วยตัวมันเองได้ แต่กีตาร์เล่นเพลงเอง
ไม่ได้ ” ความรู้ข้อนช้ี ่วยยืนยันเรอ่ื งทเ่ี รารู้อยู่แลว้ น่ันคอื ณ จุดใด
จดุ หนงึ่ ของพฒั นาการ ทกุ อยา่ งทเ่ี คลอ่ื นไหวไดล้ ว้ นมชี วี ติ (ความคดิ
แบบวญิ ญาณนยิ ม) ก่อนทขี่ องบางอยา่ งจะไรช้ ีวติ ในเวลาต่อมา

ยังมีการทดลองอีกชิ้นที่ดีมาก แสดงให้เห็นว่าทารกและ
เด็กเล็กแยกแยะวัตถุด้วยการดูคุณสมบัติมากกว่าการดูรูปลักษณ์
ภายนอกนนั่ คอื เดก็ ๆสามารถชว้ี า่ นกโดโดเ้ ปน็ นกทง้ั ทมี่ นั ไมเ่ หมอื น
นกเทา่ ไรนกั แตเ่ ทอโรซอร์ (Pterosaur) มใิ ชน่ ก แมจ้ ะดคู ลา้ ยนกมาก
ด้วยเหตผุ ลท่ีวา่ มันไมม่ รี ัง

นกโดโด้ 1

เทอราโนดอน
หน่ึงในสกุล
เทอโรซอร์ 2

1 นกโดโด้ โดยเฟรเดอริก โฟรฮอว์ก ทม่ี า https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Frohawk_Dodo.png.
2 เทอราโนดอน โดย © N. Tamura ทมี่ า https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Pteranodon_NT.jpg

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 27

ในท�านองเดียวกัน เด็กรู้จักเก้าอ้ีและจะเรียกทุกอย่างที่
ใช้น่ังว่าเก้าอี้ พอๆ กับที่รู้จักกระเป๋าและจะเรียกอะไรท่ีใส่ของได้
วา่ กระเปา๋

เด็กเรียนรู้ท้ังหมดน้ีด้วยการเรียนรู้ผ่านระบบประสาท
สัมผสั อนั หลากหลาย (multisensory learning) ได้แก่ การมอง ฟงั
สมั ผสั ดมกลน่ิ และชมิ รส เปน็ ระบบประสาทพนื้ ฐานทั้งห้าซึ่งกรีก
โบราณเรียกว่าสามัญส�านึก (common sense) และควรจะเป็น
รากฐานสา� คญั ของการศกึ ษาปฐมวยั

มิใช่การเรียนที่จับเจ่าแต่ในห้องเรียนเพื่ออ่านเขียน
เรียนเลข และท่องจา�

28 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก



3

การเรยี นรู้
ด้านภาษา

ในช่วงอายุ 15 เดือน หากได้ยินค�าศัพท์ใหม่สักคร้งั ก็เพียงพอ

แล้วท่ีทารกจะเรียนรู้และจดจ�าค�าศัพท์ได้อย่างถูกต้อง

ในแต่ละวันเด็กวัย 2 ขวบเรียนรู้ค�าศัพท์ใหม่ได้ถึง 10 ค�า

ภาษาที่แม่พูดกับลูกซึ่งเรียกว่า parentese ดังท่ีกล่าวไปแล้ว
มีลกั ษณะเป็นเสยี งสูงต�่าและยืดยาว บางจังหวะเหมอื นเสยี งดนตรี
นอกจากนน้ั เรายงั พบว่าภาษาของแต่ละชาตมิ นี ้�าเสียงและจังหวะ
ต่างกัน และยังพบว่าทารกดูดนมตามจังหวะเสียงของแม่ มีงาน
วิจัยท่ีช้ีให้เห็นว่าทารกรัสเซียและทารกฝรั่งเศสดูดนมด้วยจังหวะ
ท่ีแตกตา่ งกนั !

เป็นไปดงั ทผี่ มเขยี นเสมอ แมท่ ีใ่ หน้ มลกู คือแม่ทม่ี อี ยู่จรงิ
ทารกกา� ลงั เรยี นรวู้ า่ ใครเปน็ เจา้ ของนา�้ นม หวั นม เตา้ นม เสยี งหวั ใจ
เสยี งร้องเพลง อ้อมกอด และปัจจุบันยงั มงี านวจิ ัยที่บอกวา่ ทารก
เรียนรู้จังหวะของเสียงอีกด้วย (ส�าหรับแม่ท่ีพยายามแล้วแต่ไม่มี
นา�้ นมแม่ ทารกก็ยังคงดดู จกุ ขวดนมตามจงั หวะทีแ่ ม่พดู เชน่ กนั )

แตล่ ะชนชาตมิ ี “ เสยี งของภาษา ” ต่างกัน ภาษาอังกฤษ
มีเสียงหนักเบาของแต่ละพยางค์ในค�าหนึ่งค�า ทารกเรียนรู้ความ
หนักเบานี้ได้ ท�าให้รู้ว่าค�าศัพท์ค�าใหม่เร่ิมตรงไหน หากเราแกล้ง
อ่านหนักเบาผิดต�าแหน่งในประโยคภาษาอังกฤษ ทารกจะฟังไม่

32 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก



เข้าใจ (ความข้อนี้ชวนให้นึกถึงเสียงเสมือนดนตรีของคนเมือง
ในล้านนา ซึง่ มกั จะดึงดดู ทารกได้มากกว่าโทนเสียงราบเรยี บ)

มงี านวิจยั ต่อไปวา่ เสียงที่แมพ่ ูดกับทารก (ดว้ ยภาษาแม)่
แตกตา่ งจากเสยี งท่ีแม่พูดกับผู้ใหญด่ ้วยกัน และแตกต่างจากเสียง
ท่พี ดู กับสัตวเ์ ลี้ยง ซ่งึ เรยี กว่า pet-ese แมเ้ ราจะออดออ้ นลกู หมา
ทีบ่ ้านด้วยท่วงทา่ กริยา และน�้าเสยี งคลา้ ยคลงึ กันกต็ าม

สา� หรบั การอา่ นนทิ าน หนงั สอื จติ วทิ ยาเดก็ : ความรฉู้ บบั
พกพา กลา่ ววา่ “พบวา่ แมจ่ ะเนน้ เสยี งสงู ขน้ึ เมอ่ื อา่ นคา� ศพั ทใ์ หมถ่ งึ
รอ้ ยละ 76 ของจา� นวนครง้ั ทพี่ บคา� ศพั ทใ์ หม่ ในขณะทหี่ ากอา่ นครงั้
ทสี่ องกย็ งั มากถงึ รอ้ ยละ 70 ” จะเหน็ ไดว้ า่ คณุ แมท่ อ่ี า่ นนทิ านมสี ว่ น
พัฒนาภาษาของลูกในระดบั ทีไ่ ม่รตู้ วั จริงๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ทารกยังรู้ได้เองว่าจะจัดเรียงพยัญชนะ
และสระอยา่ งไรเมอื่ ไดเ้ ห็นอกั ขระซ้�าๆ หลายๆ คร้งั นบั เปน็ ความ
สามารถทางสถติ ทิ ม่ี มี าแตก่ า� เนดิ เปน็ ขอ้ ดเี ลก็ ๆ ของการอา่ นนทิ าน
โดยใหท้ ารกนอนเคยี งขา้ งแลว้ เปดิ อา่ นหนงั สอื ไปดว้ ยกนั เมอื่ เทยี บ
กบั การเลา่ นทิ านทวั่ ไป (ซงึ่ ไดใ้ ชจ้ นิ ตนาการมาก) พดู งา่ ยๆ วา่ ทารก
สามารถจัดข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการปรากฏของพยัญชนะและ
สระไดว้ า่ ควรจดั เรยี งแบบใด ชวนใหน้ กึ ถงึ บทเพลง “ Supercalifra-
gilisticexpialidocious ” ของ แมรี ป๊อปปินส์ ฉบับจูลี แอนดรูวส์
ในหนังปี 1964 ของดิสนยี ์ทเี่ ดก็ ๆ รอ้ งตามได้อย่างง่ายดาย

34 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

คนทั่วไปอย่างเราไม่จ�าเป็นต้องรู้ว่ากลไกของแต่ละเสียง
เปน็ อยา่ งไร เช่น p และ b ใช้อวยั วะส่วนไหนบา้ งในการออกเสียง
นั่นเป็นหน้าท่ีของนักแก้ไขการพูดท่ีมีความสามารถเฉพาะทาง
แต่เราควรรู้ว่าทารกต้องการมองหน้าแม่ตอนพูด มีงานวิจัย
เปรยี บเทยี บโดยใหท้ ารกอเมรกิ นั ไดข้ ลกุ อยกู่ บั ชาวจนี พบวา่ ทารก
สามารถเรียนรู้จังหวะเสียงแบบคนจีนได้ ในขณะท่ีทารกที่ดูวิดีโอ
คนจีนคนเดียวกันพูด กลับไม่สามารถเรียนรู้ได้ น่ันแสดงว่า การ
เรยี นรู้ด้านภาษาทดี่ คี วรเป็นการเรยี นรู้ผา่ นปฏิสัมพนั ธก์ ับผใู้ หญ่

ทารกเกดิ ใหมส่ ง่ เสยี งออ้ แอก้ อ่ นทจ่ี ะเปลง่ เสยี งพยญั ชนะ
เสียงแรกได้ พยัญชนะเสียงแรกเปล่งออกมาได้ด้วยต�าแหน่ง
เกิดเสียง (articulator) หลายส่วน ได้แก่ ริมฝีปาก ลน้ิ กลอ่ งเสียง
ฟนั จมกู และกระพุ้งแก้ม โดยทที่ ารกแตล่ ะชนชาติเร่มิ เปล่งเสยี ง
ดว้ ยเสยี งพยัญชนะท่ีแตกตา่ งกนั

สง่ิ ทน่ี า่ มหศั จรรยค์ อื เมอ่ื ให้ผใู้ หญจ่ า� แนกเสยี งออ้ แอข้ อง
ทารกตามชนชาติ ผู้ใหญ่สามารถจ�าแนกเสียงได้ถูกต้องด้วยว่า
เสยี งท่ไี ดย้ ินเปน็ เสียงทารกฝรงั่ เศส อาหรับ หรอื กวางตงุ้ นีเ่ ปน็ อกี
หลักฐานที่ช้ีให้เห็นว่าภาษาในช่วงรุ่งอรุณแห่งชีวิตเป็นการสื่อสาร
สองทางของคนสองคน ไดแ้ ก่ แม-่ ลกู และพอ่ -ลกู อาจดว้ ยหลกั ฐาน
น้ีเองท�าให้การสอนสองภาษาโดยอาศัยหลักการพ่อหนึ่งภาษา
แมห่ น่งึ ภาษา เปน็ เร่อื งท่ีทา� ได้ตง้ั แตแ่ รกเกดิ

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 35

ตวั เลขตอ่ ไปนอ้ี าจจะชว่ ยใหพ้ อ่ แมข่ องเดก็ พดู ชา้ สบายใจ
ขนึ้ ไดบ้ า้ ง เดก็ 2 ขวบบางคนยงั ไมพ่ ดู แมแ้ ตค่ า� เดยี ว และพบวา่ เดก็
ร้อยละ 50 จะพูดไดเ้ ทา่ ปกตเิ มื่ออายุ 5 ขวบ

อย่างไรก็ตาม อย่าน่ิงนอนใจท่ีจะพูดกับเขาด้วยตัวเอง
มากกว่าที่จะจ้างคนอ่ืนพูด เพราะการพูดกับทารกเป็นเรื่องของ
คุณสองคน

นอกจากนี้ทารกยงั พัฒนาภาษาทา่ ทาง เชน่ โบกมอื (ลา)
ชี้ (จะเอา) หมนุ มอื (จะเปดิ ประตอู อกไป) หรอื สา่ ยหวั (ไมเ่ อา) พบวา่
ทารกใชภ้ าษาทา่ ทางมากในชว่ งอายุ 10-18 เดอื น แลว้ เรมิ่ ใชภ้ าษา
พูดเข้ามาแทนท่ีในภายหลัง โดยทั่วไปเด็กมักใช้ค�าพยางค์เดียว
กอ่ นท่จี ะใชค้ �าสองพยางค์ในเวลาตอ่ มา

ทน่ี า่ สนใจคอื เดก็ อาจจะใชค้ า� หนง่ึ แทนทอี่ กี คา� หนงึ่ ในชว่ ง
ทจี่ า� นวนคา� ศพั ทย์ งั ไมม่ ากพอ เชน่ ใชค้ า� วา่ ผง้ึ แทนแมลงอน่ื ๆ หรอื
คา� วา่ หมาแทนมา้ และววั ความรขู้ อ้ นสี้ า� คญั ผใู้ หญศ่ ลี ธรรมจดั บางคน
รีบร้อนกล่าวหาว่าเด็กโกหกโดยไม่ดูอายุของเด็กเลย ที่จริงแล้ว
เด็กเล็กยังสับสนเร่ืองสถานท่ีและเวลา ประกอบกับมีคลังค�าศัพท์
จา� กดั จงึ เปน็ ไปไดท้ เี่ ขาจะเขา้ ใจผดิ หรอื ใชค้ า� ผดิ สง่ิ ทผ่ี ใู้ หญค่ วรทา�
คือบอกค�าท่ีถูกหรือเรื่องราวท่ีถูกต้องให้เขาทราบ เช่นน้ีเขาจึงจะ
พัฒนา

36 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

พัฒนาการทางภาษาด�าเนินต่อเน่ืองจากพัฒนาการด้าน
การเรยี นรทู้ ไ่ี ดเ้ ลา่ ไวใ้ นบทท่ี 2 กลา่ วคอื เดก็ เรยี นรจู้ ากคณุ สมบตั ไิ ด้
เช่น หมาและมา้ มสี ข่ี า ในขณะทรี่ ถเก๋งและรถบรรทุกมีสีล่ ้อ เพียง
เทา่ นเี้ ดก็ กส็ ามารถจดั ประเภทและหมวดหมไู่ ดด้ ว้ ยตนเอง และอาจ
รู้สกึ หงุดหงดิ ไดห้ ากผูใ้ หญ่อ่านผดิ หรอื พดู ผดิ เชน่ เด็กรวู้ ่ารองเทา้
มิใช่แมวและแมวมิใช่รองเท้า เมื่อเราแกล้งอ่านผิดเขาจะหงุดหงิด
เราจึงได้เห็นปรากฏการณ์ที่พ่อแม่พยายามอ่านนิทานก่อนนอน
พลิกแพลงแล้วถูกลูกต่อว่าเอาอย่างจริงจังเสมอ พ่อแม่บางท่านก็
อ่อนไหวมากถึงระดับท่ีเกรงว่าลูกจะเป็นเพอร์เฟ็กต์ชันนิสต์หรือ
โรคยา�้ คดิ ยา�้ ทา� ไปโนน่ ก็มี

เร่ืองใหญ่โตที่สุดเก่ียวกับภาษาน่าจะเป็นความรู้ท่ีว่า
ภาษาเป็นสัญลกั ษณ์ ตวั อกั ษรค�าว่า แมว หรอื cat เปน็ สัญลกั ษณ์
ของสองชนชาติท่ีหมายถึงสตั วต์ วั เดียวกนั

“คา� ศพั ทจ์ งึ เปน็ สญั ลกั ษณท์ บ่ี รรจขุ อ้ มลู และประสบการณ์
ของเรา ทั้งยังเป็นตัวแทนมโนทัศน์และเหตุการณ์ต่างๆ ในโลก
ทุกวันน้ี ” และ “เมื่อเรารู้ค�าศัพท์ เราสามารถใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
ภายในความคิดเพื่อท�าความเข้าใจสิ่งใหม่ ” ความข้อน้ีส�าคัญมาก
หากไมม่ ีคา� ศพั ทย์ ่อมไมม่ สี ง่ิ ใหม่ ชวนให้นึกถงึ นวนิยายเรอ่ื ง 1984
ของจอรจ์ ออรเ์ วลล์ (Goerge Orwell) ทส่ี ร้างค�าศพั ท์ใหมๆ่ ให้เรา

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 37

มากมาย เพอื่ ขยายพรมแดนความรแู้ ละปญั ญาของเราใหก้ วา้ งขวาง
กว่าเดมิ

สง่ิ ทดี่ ยี ง่ิ กวา่ คอื มนษุ ยม์ ไิ ดเ้ พยี งใชภ้ าษาสอ่ื สารกบั คนอน่ื
แต่ใช้ส่ือสารกับตนเองด้วย ภาษาจึงเป็นเครื่องมือส�ารวจตนเอง
ไปจนถึงควบคุมตนเอง ดังท่ีในหนังสือเขียนว่า “เด็กสามารถ
ทบทวนกระบวนการทางปญั ญาและสา� รวจความคดิ ตวั เอง เราเรยี ก
ว่ากระบวนการนี้ว่าอภิปัญญา (metacognition) ” และ “เด็กยังใช้
ภาษาสา� รวจอารมณ์ ความร้สู กึ และพฤตกิ รรมไดอ้ กี ดว้ ย ในทาง
จติ วทิ ยา เด็กสามารถใช้ภาษาเพอื่ ก�ากับตัวเอง (self-regulation) ”
นี่คอื รากฐานของจติ วทิ ยาเชิงบวก

เป็นไปดังที่ผมเขียนเสมอว่า การอ่าน-เล่น-ท�างาน เป็น
วิธีฝึกเด็กให้ก�ากับตัวเอง นอกจากการอ่านจะช่วยสร้างแม่ที่มี
อยู่จรงิ แล้ว ยงั ช่วยพฒั นาภาษาด้วย การเล่นบทบาทสมมติกเ็ ปน็
วิธีพัฒนาภาษาที่ดีมาก และภาษาน้ันเองท่ีจะกลับมาช่วยให้เด็ก
ควบคมุ ตนเองได้ดีขึน้

เด็กเรียนรู้ภาษาศาสตร์และไวยากรณ์ได้เองจากผู้ใหญ่
รอบตัว และเมอื่ เขาพดู ผดิ กจ็ ะมีผูใ้ หญ่คอยแกใ้ หเ้ องโดยธรรมชาติ
เช่น ค�าวา่ on และ in แมว้ ่าจะแปลวา่ บน และ ใน แตเ่ มอ่ื ถงึ เวลา
ใชบ้ ่งบอกต�าแหนง่ วตั ถุ ก็จะมวี ิธใี ชท้ แี่ ตกต่างกันไปในแต่ละภาษา
ไวยากรณ์การเรียงล�าดับค�าในประโยคก็เป็นเร่ืองที่คนทุกท้องถ่ิน

38 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

สงั เกตลกู หลานของตนเองได้ ค�าเมอื งหรือภาษาถ่ินของภาคเหนือ
มีไวยากรณ์การเรียงค�าไม่เหมือนภาษากลาง เด็กเมืองจึงรู้จัก
ไวยากรณ์ภาษาแม่ ก่อนท่ีจะไปสอบตกวิชาหลักภาษาไทยใน
หอ้ งเรยี นเปน็ ประจา� เชอื่ วา่ คนภาคใต้ ตะวนั ออก พรมแดนตะวนั ตก
อีสาน หรือแม้แต่สุพรรณบุรี กม็ ไี วยากรณ์ของตนเอง

ปัญหาสุดท้ายคือเรื่องบริบท ซึ่งหมายความว่า ในท่ีสุด
เม่ือถึงเวลาใช้พูดในชีวิตจริง บริบททางสังคมจะกลายเป็นเรื่อง
ที่เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ได้อีกทอดหน่ึงว่าเม่ือไรควรพูดอะไร เช่น
ควรพูดจาไพเราะแม้จะได้ของขวัญวันเกิดที่ไม่ถูกใจก็ตาม โดย
ในทางจิตวิทยาแล้ว การพูดปากไม่ตรงกับใจมีท้ังข้อดีและข้อเสีย
ในตวั เอง

แต่การพูดแบบศรีธนญชัยนน้ั เปน็ อีกเร่อื งหนึง่

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 39

44

มิตกรารภเลมน่าิตสรพมภมาพติคคแลรอะรจบินอคตรนวับากคาร รวั
การเลน่ สมมติ
และจินตนาการ

เนอื้ หาในบทท่ี 4 ซง่ึ วา่ ดว้ ยมติ รภาพ ครอบครวั การเลน่ สมมติ
และจนิ ตนาการ คอ่ นขา้ งเกบ็ ประเดน็ ยากตามแบบฉบบั ของหนงั สอื
จติ วทิ ยาทว่ั ๆ ไป นน่ั คอื พดู ถงึ เรอื่ งจติ ใจในสว่ นทจ่ี บั ตอ้ งไดย้ ากและ
ท�าความเข้าใจยาก อกี ท้ังจะพยายามเขยี นอธบิ ายอยา่ งไรกย็ ากท่ี
จะทา� ใหผ้ อู้ า่ นจบั ประเดน็ ไดว้ า่ แลว้ ทเี่ ขยี นมาแตกตา่ งจากทที่ า� อยู่
ตรงไหน และควรทา� อย่างไรกันแน่

เพอื่ ใหเ้ ขา้ ใจงา่ ยขน้ึ ผมจะตคี วามและเขยี นใหมเ่ ปน็ เรอ่ื งๆ

เรอ่ื งแรกเกีย่ วกับตวั คุณแม่เอง

เราสรุปได้ว่าคุณแม่มีสองแบบ แบบหน่ึงใส่ใจจิตใจ
อารมณ์ และความรู้สึกของลูกสม�่าเสมอ มีค�าเรียกแม่แบบนี้ว่า
แมท่ ่ี “ ใสใ่ จ ” (mind-minded) สว่ นอกี แบบเปน็ คุณแมท่ ่ใี สใ่ จเรอ่ื งที่
มองเหน็ ไดช้ ดั เจนกวา่ เชน่ นา้� หนกั สว่ นสงู การแตง่ กาย ทา� ผดิ กฎ
หรือไม่ผดิ กฎ (ดว้ ยการตดั สนิ แบบดา� -ขาว) เปน็ ตน้ (ต�าราบางเลม่
เรียกแบบแรกว่า psychological minded และเรียกแบบหลังว่า
organic-minded)

เราพบว่าแม่แบบแรกช่วยให้ลูกสามารถล่วงรู้ความ
ต้องการของผู้อ่ืนได้ดีกว่า และมีแนวโน้มจะแปลเจตนาของผู้อ่ืน
ไปในแง่ดี โดยแสดงออกให้เหน็ ในการเลน่ กบั เพ่อื นหรือพีน่ อ้ ง

เรอ่ื งทส่ี องเกย่ี วกบั อารมณข์ องคณุ แม่ (รวมถงึ คณุ พอ่ ดว้ ย)

42 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

ผลการศึกษาพบว่าบ้านที่ด่าทอ ใช้ก�าลัง พ่อแม่เป็น
อารมณ์ต่อกันมากและเป็นอารมณ์กับลูกมาก จะท�าให้เด็กมี
พฤตกิ รรมการเลน่ ทร่ี นุ แรงเมอื่ เลน่ กบั เดก็ คนอนื่ หรอื พนี่ อ้ ง รวมทง้ั
การเลน่ ทด่ี นู า่ เปน็ หว่ ง เชน่ เลน่ ฆา่ กนั แขวนคอ หรอื ตดั คอ เปน็ ตน้
นอกจากนี้ยังท�าให้เด็กมีแนวโน้มท่ีจะแปลเจตนาของผู้อื่นไปใน
ทางรา้ ยดว้ ย

เร่ืองทส่ี ามคอื เรื่องพ่ีน้อง

กอสวามเี ขยี นว่า “การถกเถยี งและตอ่ สู้กันแบบทั่วๆ ไป
ระหว่างพี่น้องและเด็กคนอ่ืนๆ เป็นส่ิงท่ีจ�าเป็นต่อพัฒนาการ
ทางสังคมของเด็ก ” ความข้อนี้เป็นเรื่องที่พ่อแม่จ�านวนมาก
ไม่ยอมรบั หลายบ้านคาดหวงั ให้พน่ี ้องรกั กนั ต้ังแต่เกิดและไมค่ วร
ทะเลาะกันเลย แต่แท้จริงแล้วพวกเขาจ�าเป็นต้องผิดใจกันบ้าง
เพอ่ื จะไดเ้ รียนร้กู นั และกนั

การได้พูดคุยถึงสาเหตุที่พี่น้องทะเลาะกันเป็นเร่ืองดี
แต่เราควรหยุดไว้ตรงค�าบอกเล่าและความรู้สึกของแต่ละคนก็พอ
ไม่จา� เปน็ ตอ้ งกา้ วข้ามเส้นไปตดั สินว่าใครผดิ ใครถกู

พอ่ แมจ่ า� นวนมากมกั ไมส่ ามารถหยดุ ตนเองไวแ้ คข่ น้ั ตอน
ทป่ี ลอ่ ยใหเ้ ดก็ ระบายความรสู้ กึ แลว้ เรม่ิ มคี า� พดู ทที่ า� ใหเ้ ดก็ ตคี วาม
ได้วา่ พ่อแม่ฟงั ความขา้ งเดยี ว ในกรณเี ชน่ น้ี การแยกวงโดยไมพ่ ูด

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 43

อะไรมักจะปลอดภัยกว่า เพราะถึงอย่างไร เด็กๆ ก็ต้องเรียนรู้วิธี
ดับอารมณต์ นเองอย่แู ลว้

ส่วนคร่ึงหลังของบทนี้แทบจะเป็นการปูพื้นฐานจิตวิทยา
เชิงบวก โดยงานวิจัยจ�านวนหนึ่งพบว่า พ่อแม่ท่ีมักจะก้าวร้าว
รนุ แรง ทา� โทษ และลา� เอยี ง จะทา� ใหเ้ ดก็ ๆ บกพรอ่ งทางสงั คม เพราะ
เขาจะวางโปรแกรมตีความพฤติกรรมของคนอ่ืนไปในทางร้าย
อยูเ่ สมอ

ในทางตรงกนั ขา้ ม พอ่ แมท่ อ่ี บอนุ่ กวา่ เปดิ กวา้ งกวา่ รบั ฟงั
มากกวา่ และไมต่ ัดสนิ ผดิ ถกู กลับชว่ ยให้เดก็ ไดเ้ รยี นรู้สังคมตามท่ี
เปน็ จรงิ มากกวา่ และชว่ ยวางโปรแกรมตคี วามพฤตกิ รรมของคนอนื่
ไปในทางบวกอย่เู สมอ

หนังสอื ใช้คา� ศพั ท์วา่ ความลา� เอียงในการอนมุ านสาเหตุ
ในทางท่ีเป็นปฏิปักษ์ และ ความล�าเอียงในการอนุมานสาเหตุ
ในทางทเ่ี ปน็ มติ ร

การเลน่ สมมตเิ ปน็ เครอ่ื งมอื สา� คญั ทช่ี ว่ ยใหเ้ ดก็ เขา้ สสู่ งั คม
ไดด้ ี การเลน่ สมมตทิ า� ไดส้ ามระดบั ทง้ั กบั เพอื่ นรนุ่ ราวคราวเดยี วกนั
กับพ่อแม่ หรอื กบั เพ่ือนในจินตนาการ ลว้ นแลว้ แต่ดที ั้งน้ัน

หนังสือเล่มนี้ระบุตัวเลขว่าเด็กระดับอนุบาลมีเพื่อนใน
จินตนาการมากถึงร้อยละ 20-50 ซึ่งมากกว่าท่ีเราเคยคิดไว้มาก

44 เปิดโลกจิตวิทยาเด็ก

และเด็กหญงิ มักมเี พ่ือนในจินตนาการมากกวา่ เด็กชาย นอกจากน้ี
เด็กมักมีเพื่อนในจินตนาการเป็นเพศเดียวกันและบ้างก็มีมากกว่า
หน่ึงคน

งานวจิ ยั ยงั พบอกี วา่ เดก็ ทม่ี เี พอ่ื นในจนิ ตนาการมไิ ดเ้ ปน็
เดก็ ขี้อายหรือข้ีวติ กมากกวา่ เดก็ ท่ีไม่มีเพ่ือนในจนิ ตนาการ อีกทง้ั
ยงั มที กั ษะทางภาษาสงู กว่าดว้ ย

ความรู้เร่ืองเพ่ือนในจินตนาการนี้น่าจะช่วยให้พ่อแม่
ทเ่ี ปน็ หว่ งเรอ่ื งลกู พดู คนเดยี วคลายความกงั วลลงไดบ้ า้ ง นอกเหนอื
จากเรื่องที่เรารู้แล้วว่าเด็กพูดคนเดียวเพื่อบริหารความจ�าใช้งาน
(working memory)

ข้อดีอีกข้อหนึ่งของการเล่นสมมติคือ ช่วยให้เด็กเข้าใจ
ความรู้สึกของคนอ่ืน ยอมรับกฎเกณฑ์ และยอมรับบรรทัดฐาน
ของสังคม กอสวามียกตวั อยา่ งงานวิจัยจากรสั เซีย ซง่ึ จ�านวนหนึ่ง
ได้รับอิทธิพลจาก เลฟ วีกอตสกี (Lev Vygotsky, 1896-1934)
นกั จิตวทิ ยาเดก็ ชาวรัสเซียผมู้ ชี ่อื เสียง

ในตวั อยา่ งงานวจิ ยั เดก็ ๆ เลน่ เปน็ พนกั งานดบั เพลงิ เมอ่ื
พนกั งานดบั เพลงิ สมมตไิ ปถงึ ทเ่ี กดิ เหตุ เดก็ คนทรี่ บั บทบาทสมมติ
ให้เป็นพนกั งานขบั รถลงจากรถจะไปชว่ ยเพื่อนๆ ดับเพลงิ แต่เขา
ถกู หา้ มวา่ ทา� ไมไ่ ด้ เพราะเขามหี นา้ ทเี่ ฝา้ รถ ซง่ึ เดก็ คนนนั้ กย็ อมรบั
กตกิ าแต่โดยดี

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 45



จากกตกิ าและกฎเกณฑน์ า� ไปสบู่ รรทดั ฐานของสงั คม เชน่
หา้ มทา� รา้ ยคนอน่ื และควรชว่ ยเหลอื ผอู้ นื่ หนงั สอื มไิ ดเ้ ขยี นชดั เจน
วา่ ทา� ไม แตอ่ ธบิ ายไดไ้ มย่ าก เพราะพฒั นาการทกุ เรอื่ งขยายตวั จาก
ตนเองซงึ่ เปน็ ศนู ยก์ ลางของจกั รวาลสภู่ ายนอกอยแู่ ลว้ จากการเลน่
กับเด็กคนอื่นและพี่น้อง ขยายตัวสู่บทบาทสมมติในจินตนาการ
ซง่ึ สว่ นขยายตอ่ ไปยอ่ มตอ้ งเปน็ บรรทดั ฐานทางสงั คมโดยธรรมชาติ

สดุ ทา้ ยเด็กจะพฒั นาส�านกึ ของความเป็นกลุ่ม เดก็ ๆ มัก
เห็นความส�าคัญของเพ่ือนในกลุ่มมากกว่านอกกลุ่ม ตอบสนอง
ทางบวกมากกว่า และเห็นอกเห็นใจมากกว่า ที่น่าสนใจมากคือ
หนงั สอื ไดอ้ า้ งงานวจิ ยั ทช่ี วี้ า่ ภาษาเปน็ เครอ่ื งมอื ชบี้ ง่ ความเปน็ กลมุ่
ในขณะที่สผี วิ มิใชต่ ัวชี้บง่ !

สรุปคือบทน้ีเป็นงานวิชาการท่ีรองรับจิตวิทยาเชิงบวก
(positive psychology) ซ่ึงค่อยๆ เข้ามาแทนท่ีจิตวิทยาคลาสสิก
(classical psychology) ท่ีมีอยูเ่ ดมิ

การเลี้ยงดูเด็กมิใช่เร่ืองของการวางเงื่อนไขเท่านั้น และ
การปรบั พฤตกิ รรมเดก็ กม็ ใิ ชเ่ พยี งการใหร้ างวลั เพกิ เฉย หรอื ทา� โทษ

เดก็ มจี ติ ใจมากกวา่ สตั ว์ และเราสามารถทา� ความเขา้ ใจใน
ตัวเขา ไปจนถงึ เตรยี มใหเ้ ขาพร้อมท�าความเขา้ ใจโลกรอบตวั ดว้ ย

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 47

5

การเรยี นและความจา�
การอ่านและจ�านวน


Click to View FlipBook Version