รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 41 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : 1. ร้อยละ 100 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถรักษาความเข้มแข็งอยู่ในระดับชั้น 1 2. ร้อยละ 60 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถยกระดับความเข้มแข็งจากระดับชั้น 2 3. ร้อยละ 60 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถความเข้มแข็งจาก ระดับชั้น 3 ขึ้นสู่ ระดับชั้น 2 หรือ ระดับชั้น 1 เชิงคุณภาพ : 1. สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและผลประกอบการดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ทั้งในด้าน การบริหารจัดการองค์กร และด้านการดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต การรวบรวม และการ แปรรูปผลผลิต รวมทั้ง ด้านการตลาด จะสามารถทำหน้าที่อำนวยประโยชน์และให้บริการสมาชิกและเกษตรกรในชุมชนได้ อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี) - ภาพกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 42 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 5.1 ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร(ข้าว) วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และสร้างการรับรู้สินค้าข้าวพื้นถิ่นหรือสินค้าข้าวGI (Geographical Indications) ของสถาบันเกษตรกร 2. เพื่อพัฒนาสถาบันเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าข้าวพื้นถิ่นหรือสินค้าข้าว GI ให้มีความพร้อมในการทำ การตลาดเชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด จำนวน 10 ราย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. สถาบันเกษตรกร ผู้ผลิต/รวบรวม/แปรรูปสินค้าข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น สามารถสร้างช่องทางการตลาด หรือสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่นหรือสินค้าข้าว GI จำนวน 1 แห่ง 2. สถาบันเกษตรกร ผู้ผลิต/รวบรวม/แปรรูปสินค้าข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่นมีเครือข่ายเชื่อมโยงสินค้าและมี ช่องทางการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น จำนวน 1 แห่ง 3. สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 3 ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นของสถาบันเกษตรกร มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและมีช่องทางการจำหน่ายสร้าง การรับรู้กับผู้บริโภคได้ 2. สถาบันเกษตรกร ผู้ผลิต รวบรวมหรือแปรรูปสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น มีความพร้อมในการทำตลาด เชิงรุกใช้หลักตลาดนำการผลิต 3. สถาบันเกษตรกร ผู้ผลิต รวบรวมหรือแปรรูปสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น มีความรู้ประสบการณ์ในการ ทำการตลาดสินค้าเฉพาะเจาะจงทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 22,100 22,100 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม มียอดขายจากการดำเนินโครงการ มูลค่า 37,906 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 122.38 เมื่อเทียบกับปี2565 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ การแปรรูปข้าวเฮงาะเลอทิญ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและมีช่องทางการจำหน่ายสร้างการรับรู้กับผู้บริโภค สมาชิกมีความ พร้อมในการก้าวสู่ GI
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 43 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ การตลาดที่ยังไม่กว้างขว้าง การประชาสัมพันธ์ที่ยังน้อย ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักกับผลิตภัณฑ์ แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ แนะนำ ส่งเสริมการวางแผนการผลิต และการตลาดให้เกษตรกร และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทาง ตลาดออนไลน์ เช่น ลาซาด้า ซ๊อปปี้และทางสื่อโซเซียลอื่น ๆ ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ จัดอบรมให้ความรู้หลักสูตรจัดกิจกรรมระดมสมองร่วมกันระหว่างฝ่ายจัดการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สมาชิกผู้ผลิตข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผู้แทนชุมชนหรือปราญช์ชุมชน เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และวิทยากร เพื่อให้ได้ 1) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น 2) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น 3) กำหนดคอนเซ็ปต์สินค้า บอกเล่าเรื่องราวของข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น บอกเล่าคุณค่า ทางสังคมของข้าวอัต ลักษณ์พื้นถิ่น สามารถระบุแก่นอัตลักษณ์ของข้าวอัตลักษณ์พื้นถิ่น 4) ออกแบบบรรจุภัณฑ์และสร้างแบรนด์สินค้า จำนวนผู้เข้ารับอบรม 12 คน ในวันที 15 - 16 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 2 วัน รูปถ่ายประกอบการจัดอบรม 5.2 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการวางกลยุทธ์ธุรกิจด้วยโมเดลธุรกิจ(BMC)และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นจากผู้ผลิตสู่ผู้ประกอบการ วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และการเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดสินค้าเกษตร สร้างการรับรู้สินค้าเกษตรอัต ลักษณ์พื้นถิ่นของสถาบันเกษตรกร 2. เพื่อส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรผู้ผลิตสามารถทำการตลาดแบบเชิงรุกได้แบบบูรณาการ กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้แทนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 25 ราย ผู้ประกอบการ จำนวน 5 ราย รวม 30 ราย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ เกิดการตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการ จำนวนอย่างน้อย 2 ราย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 44 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. เกิดการตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการ จำนวนอย่างน้อย 2 ราย 2. สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร มีช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ มีคุณภาพ ก่อให้เกิดรายได้ในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3. ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเกิดการรับรู้เป็นที่รู้จักมากขึ้น งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 30,000 30,000 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : เกิดการตกลงซื้อขายสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบการ จำนวน 3 ราย อีกทั้งผู้ประกอบการยังได้ขยายเครือข่ายแนะนำผู้ประกอบการรายอื่นที่สนใจซื้อขายสินค้าให้แก่สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมอีกด้วย เชิงคุณภาพ :ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเกิดการรับรู้และเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการแนะนำของ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และจากการที่ผู้ประกอบการนำสินค้าไปวางขายหน้าร้าน ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ 1. ยอดจำหน่ายสินค้าเกษตรและ/หรือสินค้าเกษตรแปรรูปของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เป้าหมายที่จำหน่ายผ่าน ช่องทางการตลาดที่เกิดจากโครงการ (คู่ค้าใหม่ ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่าย) 2. ยอดจำหน่ายสินค้าเกษตรและ/หรือสินค้าเกษตรแปรรูปของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เป้าหมายที่จำหน่ายผ่าน ช่องทางการตลาดที่เกิดจากโครงการ (ช่องทางออนไลน์) ภาพกิจกรรม
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 45 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการดำเนินภารกิจยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 1. โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ กิจกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร” วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้กรรมการ ฝ่ายจัดการและทีมปฏิบัติการของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในการ ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ 2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระและการส่งเสริม อาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ - กรรมการ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ประธานกลุ่มสมาชิก เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด (ทีมโค้ช) วิทยากร จำนวน 19 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจในการบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการสินเชื่อและแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้ ส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถ จัดการหนี้ของตนเองได้ งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) 9,700 บาท 9,700 บาท 100
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 46 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1) ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารของกองทุน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารการจัดการเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ดังนี้ (1.1) การบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ได้มีการเสนอแนวทางจัดการสินเชื่อ ดังนี้ - วางแผนการเงิน ให้ความสำคัญในการวางแผนการเงินที่ดี โดยคำนึงถึงรายได้และรายจ่าย มีการ กำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเพื่อให้ความชัดเจนว่าจำนวนเงินที่ต้องการ และการชำระเงินที่เหมาะสมกับความสามารถใน การผ่อนชำระหนี้ - ตรวจสอบความสามารถในการกู้ยืม ตรวจสอบระดับความสามารถในการกู้ยืมของสมาชิกสหกรณ์ ซึ่ง รวมถึงการตรวจสอบประวัติการใช้เงินยืมและอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อความพร้อมในการกู้ยืม - ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแหล่งเงินกู้อื่นๆ ที่ให้ของ สหกรณ์กู้ เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดและเหมาะสม เพื่อที่จะนำมาให้สมาชิกกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและให้ตรงกับ ความสามารถในการชำระหนี้ - จัดการหนี้ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่มีหนี้ที่มีอยู่ในความสามารถในการจัดการ จะมีการตั้ง แผนการผ่อนชำระหนี้ให้ครบถ้วนและทันเวลา นอกจากนี้ยังใช้การลดหนี้ (ดอกเบี้ยค้าง)หรือใช้วิธีการจัดการหนี้ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์แก่สมาชิกและสหกรณ์มากที่สุด - ตรวจสอบสินทรัพย์ที่มีให้จำนอง หากมีความจำเป็นในการขอสินเชื่อที่มีการจำนอง จะมีการตรวจสอบ สินทรัพย์ที่เหมาะสมและเพียงพอในการค้ำประกัน - ระมัดระวังในการกู้ยืม พิจารณาในการให้กู้ยืมมากเกินไปหรือทำสินเชื่อที่ไม่จำเป็น - ระบบการติดตาม วางแผนการติดตามรายการในสินเชื่อและการชำระหนี้ให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ (1.2) แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระ - วิเคราะห์สภาพการเงินของสมาชิก สำรวจและวิเคราะห์สภาพการเงินของสมาชิกในทุกๆ ด้าน รวมถึง รายได้และรายจ่าย หากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเงิน จะให้คำแนะนำในการวางแผนการเงินและการบริหารรายจ่าย ให้เหมาะสม - กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการให้สินเชื่อ ตรวจสอบและปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อเพื่อให้มั่นใจ ว่าสมาชิกที่ขอกู้ยืมมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ - ส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรม จัดการศึกษาและการฝึกอบรมให้แก่สมาชิกเกี่ยวกับการบริหารเงิน และการวางแผนการเงิน เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการจัดการเงิน - ให้คำปรึกษาทางการเงิน ให้คำปรึกษาทางการเงินแก่สมาชิกที่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้ค้างชำระ และให้ คำแนะนำในการวางแผนชำระหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ - พิจารณาแก้ไขหนี้ค้างชำระ วิเคราะห์สาเหตุของหนี้ค้างชำระ เพื่อหาวิธีการแก้ไข ที่เหมาะสม เช่น การเสนอแผนผ่อนชำระหนี้ การต่อรองเพื่อลดเงินต้นหรือดอกเบี้ย หรือการจัดการความขัดแย้งกับหนี้ค้างชำระ - สร้างความต่อเนื่องในการส่งเสริมการชำระหนี้ สร้างความต่อเนื่องในการส่งเสริมการชำระหนี้จาก สมาชิก โดยการใช้วิธีการติดตามการชำระหนี้แบบตรง หรือส่งเสริมความรับผิดชอบในการชำระหนี้ของสมาชิก
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 47 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร - ส่งเสริมการออมเงิน ส่งเสริมสมาชิกให้มีนิสัยออมเงินและสร้างกองทุนสำหรับการชำระหนี้ค้างชำระ เพื่อช่วยเสริมสร้างทุนในการผ่อนชำระหนี้ - สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน การดำเนินงานทางการเงินของสหกรณ์ ให้สมาชิก ทราบถึงนโยบายและกระบวนการทางการเงิน และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้กับสมาชิก - ส่งเสริมเศรษฐกิจพื้นที่ ส่งเสริมอาชีพในพื้นที่และสร้างโอกาสให้กับสมาชิกในการนำผลผลิตตีมูลค่าชำระ หนี้แทนเงินสด โดยการหักชำระหนี้ร้อยละ 30 มูลค่าผลผลิต และลดโอกาสในการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระในอนาคต (1.3) การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก การตลาดนำการผลิต ใช้การจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตร โดยมีโมเดลการทำตลาดแบบการค้าใกล้ เพื่อ สนับสนุนการจัดการสินค้าเกษตรสร้างรายได้ จะทำให้สมาชิกสหกรณ์มีตลาดก่อนผลิตโดยมีแนวทางในการจัดการกลุ่ม สนับสนุนกิจกรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สนับสนุนการตลาด โดยใช้วิธีการค้าใกล้ ทำตลาดภายในจังหวัดเป็นอันดับแรก แบ่งกลุ่มตลาดออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อ เชื่อมโยงและกระจายผลผลิตภายในจังหวัด กลุ่มสนับสนุนตลาด 1 ภาคเอกชน เช่น สมาคมร้านค้า สมาคมโรงแรม หอการค้า สภา อุตสาหกรรม ฯลฯ กลุ่มสนับสนุนตลาด 2 ภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน เรือนจำ ฯลฯ เมื่อทำการประสาน/ประชุม/หารือ ร่วมกัน และข้อตกลงนความต้องการผลผลิตที่จะใช้จำหน่าย ใน 2 กลุ่มตลาดแล้ว ดำเนินการต่อเพื่อส่งต่อความต้องการให้กลุ่มที่ 2 สนับสนุนการผลิต ต่อไป กลุ่มที่ 2 กลุ่มสนับสนุนการผลิต เพื่อผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มตลาดภายในจังหวัด โดยทำการแบ่งกลุ่มการ สนับสนุนออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 48 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มสนับสนุนการผลิต 1 ภาคเอกชน เช่น ร้านค้าจำหน่ายปัจจัยการผลิตฯ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับ ปัจจัยการผลิตโดยการใช้ปริมาณการสั่งซื้อจากการสำรวจความต้องการเพื่อใช้ในการต่อรองราคาปัจจัยบการผลิตให้มีราคา ถูกลง ช่วยในการลดต้นทุนของสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มสนับสนุนการผลิต 2 กลุ่มภาครัฐ เช่น เกษตร, พัฒนาที่ดิน, วิชาการเกษตร ฯลฯ เพื่อ สนับสนุนองค์ความรู้ มาตรฐานการผลิตต่าง ๆ กลุ่มที่ 3 กลุ่มสนับสนุนการจัดการ เพื่อส่งต่อผลผลิตให้ตลาด โดยสหกรณ์ในพื้นที่, สหกรณ์จังหวัด เป็น หลักในการช่วยบริหารการจัดการ เมื่อสมาชิกสหกรณ์จำหน่ายผลิตให้สหกรณ์ รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตจะทำการแบ่งชำระ หนี้ร้อยละ 30 และสมาชิกจะได้รับคืนร้อยละ 70 หรือมีการตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ดำเนินการในลักษณะนี้เป็นวงรอบระยะ การผลิตและจำหน่าย จะช่วยให้สมาชิกมีที่จำหน่าย รายได้ที่แน่นอน และจะช่วยให้ภาระหนี้สินสมาชิกสหกรณ์ลดลง 2) ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ - สหกรณ์ภาคเกษตร ขอให้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้กู้ระยะยาวที่มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อใช้ในการ เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบื้อ เนื่องจากเมื่อให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อไปลงทุนเลี้ยงสัตว์ จะทำให้ระยะคืนทุนมีระยะยาวขึ้น ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี) ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ (กิจกรรมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน)
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 49 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านพลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 1. โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง 1.1 โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ เพื่อดำเนินการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่9 ที่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือชาวเขาลดพื้นที่การปลูกฝิ่น โดยรวมกลุ่มกัน ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปลูกพืชทีมีประโยชน์และขายได้ราคามุ่งเน้นให้พออยู่ พอกิน และพัฒนาไปสู่การ กินดีอยู่ดีรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ 1. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 3. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด 5. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 6. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ 2. กลุ่มเตรียมสหกรณ์/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มหมู่บ้านในพื้นที่โครงการหลวงได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ความรู้ด้านการสหกรณ์ 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 56 4. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 50 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบเงินอุดหนุน 459,600 459,600 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 6 แห่ง เชิงคุณภาพ : 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 56 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านการดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปผลผลิต รวมทั้ง ด้านการตลาด จะสามารถทำหน้าที่อำนวยประโยชน์และให้บริการ สมาชิกและเกษตรกรในชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ ไม่มี แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ - ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 51 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 1.2 โครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อแนะนำ ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ แก่กลุ่มหมู่บ้านในพื้นที่ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มหมู่บ้านให้เป็นปัจจุบัน 3. เพื่อจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบของการสหกรณ์ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ ผู้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ประกอบด้วยเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายโครงการพัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ บ้านแม่เมืองหลวง บ้านแม่ยะน้อย บ้านแกงหอมกะเหรี่ยง บ้านห้วยหมีศรีสวัสดิ์ และบ้านห้วยฮะ อำเภอปาย จำนวนหมู่บ้านละ 15 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. เกษตรกรและประชาชนได้รับการให้ความรู้ความเข้าใจในการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จำนวน 75 ราย 2. เกษตรกรและประชาชนมีแนวคิดในการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งและดำเนินงานในรูปแบบสถาบันเกษตรกร เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เป้าหมายโครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบ โครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เฉพาะ มีความรู้ความเข้าใจในการพึ่งพาตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถนำ ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเองในชุมชน และตลอดจนมีแนวคิดในการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งและดำเนินงาน ในรูปแบบสถาบันเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 19,500 19,500 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ เฉพาะ บ้านแกงหอมกะเหรี่ยง บ้านห้วยหมีศรีสวัสดิ์ บ้านห้วยฮะ บ้านแม่เหมืองหลวง และบ้านแม่ยะน้อย อำเภอปาย จำนวนหมู่บ้านละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน เชิงคุณภาพ : 1. สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 52 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและผลประกอบการดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านการดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปผลผลิต รวมทั้ง ด้านการตลาด จะสามารถทำหน้าที่อำนวยประโยชน์และให้บริการสมาชิกและเกษตรกรใน ชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ 1) ช่วงที่ดำเนินโครงการเป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุเป็น กลุ่มชาติพันธุ์จึงส่งผลกระทบกับเรื่องการสื่อสาร การให้ความรู้ความเข้าใจอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ 2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า สัญญานโทรศัพท์ และแหล่งน้ำเพื่อ การเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้านการผลิตต้องการความรู้เรื่องการเพาะปลูกพืชเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของ ผลผลิต 3) ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน การให้ข้อมูลบางรายการอาจคาดเคลื่อน แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ 1) ในปีถัดไปจะสำรวจความต้องการของเกษตรกรว่าต้องการจัดโครงการในห้วงเดือนใด เพื่อไม่ให้กระทบกับช่วง ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต 2) ประสานขอความร่วมมือสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แม่ฮ่องสอน ในการสอนแนะการจัดทำบัญชีครัวเรือน ภาพกิจกรรมโครงการส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่เฉพาะ ณ บ้านแม่ยะน้อย บ้านแม่เหมืองหลวง บ้านห้วยฮะ บ้านแกงหอมกระเหรี่ยง บ้านห้วยหมีศรีสวัสดิ์ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน วันที่ 12 – 16 ธันวาคม 2565
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 53 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2.1 โครงการส่งเสริมการสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1.1 เพื่อให้สหกรณ์นำแผนพัฒนาและยกระดับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มาใช้พัฒนา ยกระดับสหกรณ์ ให้มี ความเข้มแข็งยั่งยืน 1.2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้จากหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาสหกรณ์ ให้ ขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์เป้าหมาย จำนวน 2 แห่งๆ ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เป้าหมายคือ 2.1 สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 2.2 สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ เชิงปริมาณ 1. มีแนวทางหรือแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างน้อย 1 แผน เชิงคุณภาพ 2. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการสหกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 80 % ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สหกรณ์ ดำเนินการพัฒนาตามแผนยกระดับเป็นรูปแบบอย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มศักยภาพการดำเนินงาน ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน 2. เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างสหกรณ์ กับสมาชิกสหกรณ์ ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 13,600 13,600 100 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ ดำเนินการโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมจัดทำ/ทบทวนแผนกลยุทธ์การพัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรรวมทั้งการนำโครงการตามแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อติดตามสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สหกรณ์สามารถดำเนินการตามแผนยกระดับของสหกรณ์ พร้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ (ไม่มี) แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี)
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 54 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมจัดทำ/ทบทวนแผนกลยุทธ์การพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการนำโครงการตามแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อติดตามสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ 19 ธันวาคม 2565 ณ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมจัดทำ/ทบทวนแผนกลยุทธ์การพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการนำโครงการตามแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อติดตามสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ 6 มกราคม 2566 ณ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 2.2 โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน และการส่งเสริมกลุ่มอาชีพประชาชนตาม พระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2.2.1 โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1.1 เพื่อเปิดโลกทัศน์และสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ และประสบการณ์ด้านอื่น ๆ ให้กับ คณะกรรมการการดำเนินการสหกรณ์นักเรียนและสมาชิกสหกรณ์ 1.2 เพื่อให้คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนได้เข้าใจในระบบการทำงานของสหกรณ์จริงในชุมชน และสามารถ เปรียบเทียบกับสหกรณ์ของนักเรียน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 55 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ นักเรียนที่เป็นนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ ในโรงเรียน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 18 แห่ง รวม 201 ราย รายชื่อโรงเรียน ดังนี้ 1. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยแสง ( 12 ราย) 2. โรงเรียนขุนยวมวิทยา ( 12 ราย) 3. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยโปงเลา ( 12 ราย) 4. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 114 ( 12 ราย) 5. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พลเอกอรชุน พิบูลนครินทร์ ( 10 ราย) 6. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ( 9 ราย) 7. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์( 8 ราย) 8. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ 2 ( 12 ราย) 9. โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา ( 12 ราย) 10. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่เหลอ ( 13 ราย) 11. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวาทู ( 12 ราย) 12. โรงเรียนบ้านโพซอ ( 10 ราย) 13. โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ( 12 ราย) 14. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลางิ้ว ( 12 ราย) 15. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตุน ( 8 ราย) 16. โรงเรียนสบเมยวิทยาคม ( 13 ราย) 17. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโตแฮ ( 12 ราย) 18. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยมะโอ ( 10 ราย) ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 3.1 นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์ โรงเรียนพื้นที่โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา 3.2 นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์เกิดแนวคิด/เกิดการพัฒนา นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับนำไปปรับใช้ใน กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 4.1 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนได้เปิดโลกทัศน์และประสบการณ์ นอกห้องเรียน 4.2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการบริหารจัดการในกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน และการ เรียนการสอนโดยใช้เทคนิคเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ด้านสหกรณ์ กิจกรรมด้านอาชีพ
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 56 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4.3 ผู้เข้าร่วมโครงการได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนนักเรียนต่างโรงเรียน ส่งเสริม การมีส่วนร่วมการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาร่วมกัน รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณจากแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖6 แผนงาน : ยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการ : ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรหลัก : พัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรในพื้นที่โครงการพระราชดำริ กิจกรรมรอง : ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรม 5 : จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียนที่เป็น คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ จำนวน 201 ราย งบประมาณ 208,320 บาท (สองแสนแปดพันสามร้อยยี่สิบ บาทถ้วน) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 208,320 208,320 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1. นักเรียน/ครู/ผู้สังเ กต การ ณ์ โรงเรียนพื้นที่โ ครง กา รตา ม พร ะราช ด ำริส ม เ ด็ จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา 2. นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์เกิดแนวคิด/เกิดการพัฒนา นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับนำไปปรับใช้ในกิจกรรม สหกรณ์นักเรียน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ (ไม่มี) แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี) ภาพประกอบโครงการทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ให้แก่นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์ นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ ในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2566 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์ถ่านทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 9 เชียงใหม่
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 57 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ร้านสหกรณ์วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จำกัด และ Major Cineplex Central Festival Chiangmai วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2.2.2 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนตาม พระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะด้านการสหกรณ์ แก่ครูและนักเรียน 2. เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์และความคุ้นเคยในระบบสหกรณ์แก่ครู และนักเรียน 3. เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูสอนวิชาสหกรณ์ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ได้บูรณาการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เป้าหมาย นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนตาม พระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวม ทั้งสิ้น จำนวน 171 ราย ระยะเวลาและสถานที่ ในห้วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนในพื้นที่ เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ และสถานที่ตามความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ และทักษะด้านสหกรณ์ไปปรับใช้ในการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ นักเรียนได้ดียิ่งขึ้น 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีลักษณะนิสัยสอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์และมีความคุ้นเคยกับระบบสหกรณ์ 3. ผู้บริหารโรงเรียนครูผู้สอนวิชาสหกรณ์ ครูผู้รับผิดชอบสหกรณ์นักเรียน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมสหกรณ์นักเรียนได้ดียิ่งขึ้น และเผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านสหกรณ์ในโรงเรียน ผลการดำเนินการ ได้ดำเนินการในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และ อำเภอสบ เมย รวมจำนวนนักเรียน และครูผู้รับผิดอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 179 ราย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 59 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ภาพประกอบโครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ ในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1) ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยแสง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน รูปภาพกิจกรรม : เยี่ยมชมด้านการปฏิบัติการของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 รูปภาพกิจกรรม : การฝึกปฏิบัติดำนา ปลูกข้าว ณ แปลงนาของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร รูปภาพกิจกรรม : การฝึกอาชีพ (การทำแซนวิซ) ดำเนินโครงการในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 60 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2) โรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์ฯ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน รูปภาพกิจกรรม : เยี่ยมชมด้านการปฏิบัติการของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 รูปภาพกิจกรรม : การฝึกปฏิบัติดำนา ปลูกข้าว ณ แปลงนาของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร รูปภาพกิจกรรม : การให้ความรู้การสหกรณ์ รูปภาพกิจกรรม : การฝึกอาชีพ (การทำแซนวิซ)
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 61 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร รูปภาพกิจกรรม : วาดภาพระบายสี “กิจกรรมที่ฉันชื่นชอบ” 1. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินโครงการในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย ดำเนินโครงการในพื้นที่อำเภอสบเมย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 62 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 1. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2.2.3 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพส่งเสริมการรวมกลุ่มให้ เข้มแข็งพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของชุมชน วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1.1 เพื่อให้กลุ่มชาวบ้าน มีความรู้หลักการ อุดมการณ์ วิธีการสหกรณ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการ บริหารจัดการกลุ่มได้อย่างเข้าใจและมีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านมีแนวทาง/แผนงานการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การสร้าง มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ สามารถพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของชุมชน กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 6 หมู่บ้านๆละ 20 คน รวม 120 คน ได้แก่ 1. บ้านปางคาม อำเภอปางมะผ้า จำนวน 20 คน 2. บ้านปางคอง อำเภอปางมะผ้า จำนวน 20 คน 3. บ้านห้วยแก้ว อำเภอเมือง จำนวน 20 คน 4. บ้านหนองเขียว อำเภอเมือง จำนวน 20 คน 5. บ้านนแม่สะงา อำเภอเมือง จำนวน 20 คน 6. บ้านป่าปุ๊ อำเภอเมือง จำนวน 20 คน ดำเนินโครงการในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 63 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 3.1 วิเคราะห์ ปัญหา เพื่อหาสาเหตุประเด็นปัญหา และร่วมหาแนวทางแก้ไขกับกลุ่มชาวบ้าน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3.2 แนะนำ ส่งเสริม ให้ดำเนินงานตามแนวทางแก้ไขปัญหา โดยนำแผนปฏิบัติงานของ กลุ่มชาวบ้าน มาใช้ควบคู่ในการแก้ไขปัญหา 3.3 ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลุ่มชาวบ้าน ให้สามารถพัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เข้มแข็ง และพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 4.1 สหกรณ์ ดำเนินการพัฒนาตามแผนยกระดับเป็นรูปแบบอย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มศักยภาพการ ดำเนินงานให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน 4.2 เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างสหกรณ์ กับสมาชิกสหกรณ์ ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณจากแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 แผนงานยุทธศาสตร์ : เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการ : ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนา ส ห ก ร ณ ์ /ก ล ุ ่ ม เ ก ษ ต ร ก ร ใ น พ ื ้ น ท ี ่ โ ค ร ง ก า ร อ ั น เ น ื ่ อ ง ม า จ า ก พ ร ะ ร า ช ด ำ ร ิ จ ำ น ว น 4 0 , 8 0 0 บ า ท ( สี่หมื่นแปดร้อยบาทถ้วน) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 40,800 40,800 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม 1. สมาชิกกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ใน อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 2. กลุ่มชาวบ้านมีแนวทาง/แผนการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ กลุ่มละอย่างน้อย 1 แนวทาง/แผนงาน ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ 1. กลุ่มชาวบ้านมีการนำความรู้ หลักการ อุดมการณ์ วิธีการสหกรณ์ มาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการ กลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กลุ่มชาวบ้านมีการนำแนวทาง หรือแผนการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไปใช้ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์/สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ ไม่มี แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ ไม่มี -
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 64 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพส่งเสริมการรวมกลุ่ม ให้เข้มแข็งพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของชุมชน ในระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน 2566 ณ กลุ่มชาวบ้านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2.3 โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อสนองงานตามพระดำริ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่ต้องการให้นักเรียนโรงเรียนเพียงหลวงมีทักษะพื้นฐานการใช้ชีวิตของเด็กที่ขาดโอกาส 2. เพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะด้านสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับอุดมการณ์สหกรณ์ และสร้างความคุ้นเคยกับระบบสหกรณ์ให้กับนักเรียนขณะศึกษา 3. เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาสหกรณ์ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ได้มีส่วนร่วมวางแผนการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนของโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ นักเรียน ครู โรงเรียนเพียงหลวง 11 (บ้านสล่าเจียงตอง) ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 30 ราย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ด้านการสหกรณ์เพิ่มขึ้น และมีความเข้าใจเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 65 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้การสหกรณ์และทักษะในเรื่อง อุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ พร้อมทั้งปลูกฝังลักษณะนิสัยการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตาม อุดมการณ์สหกรณ์ 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์นักเรียน สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในกิจกรรม สหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 6,720 6,720 100.00 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : นักเรียน และครูที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย เชิงคุณภาพ : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสหกรณ์เพิ่มขึ้น โดยผ่านการทำแบบทดสอบความรู้การ สหกรณ์ (ก่อน-หลัง) เข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ หลังจาก นักเรียนผ่านการอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้การสหกรณ์และทักษะในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ พร้อมทั้งปลูกฝังลักษณะนิสัยการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามอุดการณ์สหกรณ์ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ - ช่วงเวลาที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ อยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การเดินทางเข้าไปดำเนินงาน ค่อยข้างยากลำบาก เนื่องจากสภาพเส้นทางทุรกันดารต้องลัดเลาะตามลำห้วย ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ ประสานทางโรงเรียนกำหนดวันจัดกิจกรรมให้เหมาะสมและสะดวกต่อการเดินทาง ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนเพียงหลวงในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 66 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2.4 โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร 2. เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้น้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความจงรักภักดีเป็นราชสักการะแด่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวราง กูร ที่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ 3. เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาด้านเกษตรในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการ และได้รับ การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เกษตรกร ประชาชนทั่วไปกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 ราย พื้นที่ดำเนินกิจกรรม - องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เงา ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน - ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน -โรงเรียนบ้านแม่สวด ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน - องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาด้านเกษตรในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการ และได้รับ การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. ให้บริการทางการเกษตรแก่เกษตรกร ตามความต้องการและความเหมาะสมของพื้นที่ 2. เสริมสร้างความรู้และฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร หรือนวัตกรรมที่เหมาะสมแก่เกษตรกร 3. ให้คำปรึกษา แนะนำการจัดตั้งสหกรณ์ การบริหารงานในสหกรณ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ ปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับสหกรณ์ งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 9,100 9,100 100.00
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 67 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : มีประชาชนที่ร่วมงาน มาลงทะเบียนคลินิกสหกรณ์ (4 ครั้ง) จำนวน 300 คน เข้าสอบถาม ข้อมูลและปรึกษาเรื่องสหกรณ์ ประมาณ 50 คน เชิงคุณภาพ : 1. ประชาชนและบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความสามัคคี เกิดพลังจิตอาสา และได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 2. ประชาชนที่เข้าร่วมงานมีความสนใจในเรื่องสหกรณ์ได้รับคำปรึกษาคำแนะนำ และความรู้เกี่ยวกับ สหกรณ์ และมีความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์และร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ในพื้นที่ ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สมาชิกสหกรณ์เกษตรกรทั่วไปตลอดรวมถึงนักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการคลินิกเกษตรในแต่ละครั้ง ได้มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับหลักการอุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 68 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2.5 โครงการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1.1 เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน และสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน 1.2 เพื่อคัดเลือกและยกย่องสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่น้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรและระดับสมาชิกได้อย่างโดดเด่น สามารถเป็นแบบอย่างให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร อื่นนำไปประยุกต์ใช้ได้ 1.3 เพื่อเป็นการเผยแพร่ สนับสนุน ส่งเสริม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอื่น ได้ น้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกของ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ.บ้านห้วยตอง จำกัด 3. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด 4. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างน้อย 2 แห่ง ส่งผลงานเข้าประกวดการ ขับเคลื่อนการใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. นำแนวทาง รูปแบบ วิธีการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือก ใช้เป็น แบบอย่างให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอื่นนำไปประยุกต์และปฏิบัติในการดำเนินงานต่อไป 2.สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับแรงจูงใจ ส่งผลให้มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน การดำเนินงาน และส่งผลต่อสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 1,900 1,900 100
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 69 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างน้อย 2 แห่ง ส่งผลงานเข้าประกวดการขับเคลื่อนการใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ 1. การแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้นำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้ ทั้งในระดับองค์กรและระดับสมาชิก จำนวน 5 แห่ง โดย - เป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประเภทใดก็ได้ ที่เคยเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงฯ ของกรม จำนวน 4 แห่ง - เป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประเภทใดก็ได้ ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงฯ ของกรม จำนวน 1 แห่ง 2. คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้และสามารถ เป็นแบบอย่างได้ จำนวน 2 แห่ง (สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประเภทใดก็ได้ ที่เคยเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของกรม) โดยมีวิธีการคัดเลือก ดังนี้ 1. ระดับจังหวัด 1. แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้สหกรณ์ ในจังหวัดทราบ 3. ประชุม ชี้แจงหลักเกณฑ์ และคัดเลือกสหกรณ์ ไม่น้อยกว่า 2 แห่ง 4. ส่งรายชื่อสหกรณ์ พร้อมทั้งสรุปผลการให้คะแนนสหกรณ์ ที่ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการระดับเขต คณะกรรมการระดับจังหวัด ประกอบด้วย - สหกรณ์จังหวัด เป็นประธาน - ผู้อำนวยการกลุ่ม/ผู้แทนกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ (ตามความเหมาะสม) เป็นกรรมการ - บุคคลจากหน่วยงานภายนอก (ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย) อย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการ - ผู้อำนวยการกลุ่ม/ผู้แทนกลุ่มจัดตั้งฯ เป็นกรรมการและเลขานุการ - นักวิชาการสหกรณ์กลุ่มจัดตั้งฯ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี) -
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 70 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าประกวดผลงานการขับเคลื่อนการประยุกต์ ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2.6 โครงการจัดงาน “7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปี 2566” วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในโรงเรียน 2. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชน ทั่วไปให้เป็นที่แพร่หลาย 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ให้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไป กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนของโรงเรียน ข้าราชกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ขบวนการสหกรณ์และประชาชนในจังหวัด รวมทั้งสิ้น 80 คน ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการกำหนดไม่น้อยกว่า 80 คน 2. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่คณะครูนักเรียนผู้ปกครองและประชาชน ทั่วไปได้อย่างเหมาะสม 3. มีการเผยแพร่คงามรู้ ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ให้แก่นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชน ทั่วไปได้อย่างเหมาะสม ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ โรงเรียนโดย ครู นักเรียน ผู้ปกครองและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และสามารถใช้แนวทางด้านการสหกรณ์ในการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนให้เป็นคนเก่ง และคนดีของสังคมตามวิถีสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 71 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 20,000 20,000 100.00 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : มีคณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนของโรงเรียน ข้าราชกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ห น ่ ว ย ง า น ภ า ค ร ั ฐ ภ า ค เ อ ก ช น ข บ ว น ก า ร ส ห ก ร ณ ์ แ ล ะ ป ร ะ ช า ช น ใ น จ ั ง ห ว ั ด ร ว ม ท ั ้ ง ส ิ ้ น 80 ค น เชิงคุณภาพ : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสหกรณ์เพิ่มขึ้น โดยผ่านการทำแบบทดสอบความรู้การ สหกรณ์ (ก่อน-หลัง) เข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปได้อย่าง เหมาะสม ภาพกิจกรรมโครงการจัดงาน “ 7 มิถุนายน วันสหกรณ์นักเรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566”
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 72 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจฐานราก แผนงานบูรณาการ แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 1. โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร หลักสูตรการผลิตให้มีคุณภาพ และเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาชนภายในพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในรูปแบบสหกรณ์ 2. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การใช้ระบบ อนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน 4. เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรให้มากขึ้น 5. เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน มีความรักความอบอุ่นในครอบครัว 6. เพื่อส่งเสริมให้บุตรหลานเกษตรกรได้เรียนรู้การซื้อขายสินค้าออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ตำบลห้วยปูลิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 35 ราย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 2. รายได้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 3. เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร/สินค้า ผ่านออนไลน์ และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 4. บุตรหลานเกษตรกรได้เรียนรู้การซื้อขายออนไลน์ และสามารถช่วยเหลือพ่อแม่ขายผลผลิต/สินค้าได้ ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตให้มีคุณภาพ และเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีผลผลิตได้มาตรฐาน และเพิ่มมูลค่าการแปรรูปผลผลิต 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร/สินค้า ผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น และมีรายได้ เพิ่มมากขึ้น งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 31,550 31,550 100
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 73 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : เกษตรกรสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 13 ราย เชิงคุณภาพ : ร้านค้าสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ เกษตรกรสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 13 ราย ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ ในพื้นที่มีความห่างไกล การติดต่อประสานงานค่อนข้างลำบาก และไม่มีสัณญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้ลำบากต่อการ จำน่ายสินค้าด้านออนไลน์ แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ แนะนำ ส่งเสริมการตลาด การจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และช่วยประชาสัมพันธ์ผลผลิตให้เกษตรกรได้ออกจำหน่าย ภาพกิจกรรม ณ โรงเรียนบ้านห้วยปูลิง ต.ห้วยปูลิง จ.แม่ฮ่องสอน วันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2566 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวางแผนระบบการผลิต การตลาด และเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาชนภายในพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในรูปแบบสหกรณ์ 2. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การ ใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลห้วยปู ลิง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 35 ราย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. ผลผลิต (Output) : สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 2. ผลลัพธ์ (Outcome) : รายได้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 74 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีแผนการผลิตและการตลาด เพื่อเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 2. การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดให้เกษตรกรภายใต้การอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 31,550 31,550 100 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการอบรมให้ความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ เชิงคุณภาพ :รายได้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ เกษตรกรมีความสนใจสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรเข้าใจถึงการวางแผนการผลิต และการตลาดมากขึ้น ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ เกษตรกรมีผลผลิตที่แน่นอน แต่ไม่มีตลาดที่แน่นอน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะเพาะปลูกข้าวไว้รับประทานเอง หากเหลือแล้วค่อยนำมาขาย จึงทำให้ไม่มีการวางแผนการผลิตและการตลาดที่แน่นอน แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ แนะนำ ส่งเสริมการวางแผนการผลิต และการตลาดให้เกษตรกร และให้ความรู้ด้านการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ คทช. ภาพกิจกรรม
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 75 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566(จำแนกตามประเภทงบรายจ่าย) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 แผนงาน/ผลผลิต/ กิจกรรม เป้าหมาย (หน่วย นับ) ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ ได้รับจัดสรร+โอน เพิ่ม ผลการเบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ หน่วยนับ ร้อยละ แผนงานบุคลากรภาครัฐ ผลผลิต รายการค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ กิจกรรมหลัก ค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ กรมส่งเสริมสหกรณ์ การจัดจ้างพนักงาน ราชการตามกรอบ อัตรากำลังที่กองการ เจ้าหน้าที่กำหนด 14 อัตรา 14 อัตรา 100% 3678000 3678000 100.00% แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรให้มีความ เข้มแข็งตามศักยภาพ 46 แห่ง 46 แห่ง 100% 470700 470700 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 3622540.4 3588755.71 596700 2023900 0 3622540.4 3588755.71 596700 2023900 0 0 500000 1000000 1500000 2000000 2500000 3000000 3500000 4000000 ง บ บุค ลากร ง บ ด า เนิน งาน ง บ ลง ทุน ง บ อุดห นุน ง บ รา ย จ่ า ย อื่ น งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 76 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แผนงาน/ผลผลิต/ กิจกรรม เป้าหมาย (หน่วย นับ) ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ ได้รับจัดสรร+โอน เพิ่ม ผลการเบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ หน่วยนับ ร้อยละ โครงการ พัฒนาพื้นที่โครงการหลวง กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง 1) ส่งเสริมสหกรณ์ใน พื้นที่โครงการหลวง 4 แห่ง 4 แห่ง 100% 459600 459600 100.00% 2) ส่งเสริมสหกรณ์ใน พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ สูงแบบโครงการหลวง 2 แห่ง 2 แห่ง 100% 19500 19500 100.00% โครงการ ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมรอง ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1) ส่งเสริมการสหกรณ์ ตามโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ 8 แห่ง 8 แห่ง 100% 13,600 13,600 100.00% 2) ส่งเสริมกิจกรรม สหกรณ์นักเรียนใน โรงเรียน ตาม พระราชดำริสมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้ากรม สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี 31 แห่ง 31 แห่ง 100% 208,320 208,320 100.00% 3) ส่งเสริมกิจกรรม สหกรณ์นักเรียนใน โรงเรียนเพียงหลวง ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบล รัตนราชกัญญา สิริวัฒนา พรรณวดี 1 แห่ง 1 แห่ง 100% 6,720 6,720 100.00% 4) คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ฯ 4 ครั้ง 4 ครั้ง 100% 9,100.00 9,100.00 100.00% 5) ขับเคลื่อนการ ประยุกต์ใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงใน 5 แห่ง 5 แห่ง 100% 1,900.00 1,900.00 100.00%
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 77 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แผนงาน/ผลผลิต/ กิจกรรม เป้าหมาย (หน่วย นับ) ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ ได้รับจัดสรร+โอน เพิ่ม ผลการเบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ หน่วยนับ ร้อยละ สหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร เงินอุดหนุนจัดจ้าง พนักงานสหกรณ์ โครงการพระราชดำริฯ 2 แห่ง 2 แห่ง 100% 207,300.00 207,300.00 100.00% เงินอุดหนุนเงินรางวัล ให้แก่นักเรียนโรงเรียนใน โครงการส่งเสริมสหกรณ์ ตามพระราชดำริสมเด็จ พระกนิษฐาธืราชเจ้า กรม สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี 1 โครงการ 1 โครงการ 100% 15,000.00 15,000.00 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โครงการ แก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ กิจกรรมหลัก แก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ โครงการแก้ไขปัญหา หนี้สินและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรด้วยระบบ สหกรณ์ 5 แห่ง 5 แห่ง 100% 9,700 9,700 100.00% แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร กิจกรรมหลักส่งเสริมและ พัฒนาอาชีพภายใต้ โครงการจัดที่ดินทำกิน ตามนโยบายรัฐบาล 35 ราย 35 ราย 100% 31,550 31,550 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการ ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรแปรรูปสิค้าเกษตรกรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 78 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แผนงาน/ผลผลิต/ กิจกรรม เป้าหมาย (หน่วย นับ) ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ ได้รับจัดสรร+โอน เพิ่ม ผลการเบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ หน่วยนับ ร้อยละ โครงการ ส่งเสริมการ แปรรูปสินค้าเกษตร 1 แห่ง 1 แห่ง 100% 8,800 8,800 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการ ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร โครงการ ส่งเสริมการ แปรรูปสินค้าเกษตร 9 แปลง 9 แปลง 100% 8,600 8,600 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร (ข้าว) กิจกรรม ส่งเสริมและ พัฒนาสินค้าเกษตรอัต ลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบัน เกษตรกร (ข้าว) 1 แห่ง 1 แห่ง 100% 22,100 22,100 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาเพื่อรักษาและยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โครงการส่งเสริมส่งเสริม และพัฒนาสถาบัน เกษตรกร 4 แห่ง 4 แห่ง 100% 47,200 47,200 100.00% แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการ พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมหลัก พัฒนาศักภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 79 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แผนงาน/ผลผลิต/ กิจกรรม เป้าหมาย (หน่วย นับ) ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ ได้รับจัดสรร+โอน เพิ่ม ผลการเบิกจ่าย (บาท) ร้อยละ หน่วยนับ ร้อยละ โครงการอบรมต่อยอด เพิ่มขีดความสามารถใน การดำเนินธุรกิจของ สหกรณ์ 1 แห่ง 1 แห่ง 100% 9,300 9,300 100.00% กองทุนพัฒนาสหกรณ์ โครงการปกติ 9 แห่ง 12 สัญญา 9 แห่ง 12 สัญญา 100% 18,000,000 18,000,000 100.00% โครงการพิเศษ 10 แห่ง 20สัญญา 10 แห่ง 20 สัญญา 100% 18,470,000 17,610,000 97.83% 1. งานส่งเสริมและพัฒนา ประกอบด้วย สหกรณ์ 17 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง ได้แก่ ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิกสมทบ 1 สกก.เมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด 1,869 2 สกก.เพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. แม่ฮ่องสอน จำกัด 11,311 3 สกก.ตำบลห้วยผา จำกัด 94 4 สกก.ปฏิรูปที่ดินเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด 109 5 สกก.คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด 1,200 6 สกก.บ้านทุ่งกองมู จำกัด 105 7 7 สก.โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด 43 8 สก.ยางพาราสามหมอก จำกัด 91 9 สอ.ครูแม่ฮ่องสอน จำกัด 3,398 3,000 10 สอ.โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด 391 187 11 สอ.สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด 910 198 อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 80 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 12 สอ.ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด 1,046 13 สค.มัคคุเทศก์แม่ฮ่องสอนและเพื่อน จำกัด 1,156 14 สก.บริการมวลชนแม่ฮ่องสอน จำกัด 199 15 สก.เดินรถแม่ฮ่องสอน จำกัด 81 16 ร้านสหกรณ์ รร.ร่มเกล้าปางตองฯโครงการพระราชดำริ จก. 17 125 17 ร้านสหกรณ์โรงเรียนชุมชนบ้านผาบ่อง จำกัด 16 160 18 กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู 74 ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ภาคการเกษตร 1. ส่งเสริมสหกรณ์ภาคการเกษตรให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ เป้าหมาย : สหกรณ์การเกษตรเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) ประสานผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรกับเครือข่ายสหกรณ์ และเอกชนภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) โครงการรวบรวมกระเทียมปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยวางแผนในการจำหน่ายให้ตลาด ภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีความต้องการสินค้าปลอดภัยและมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน (3) โครงการอบรมผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์เกี่ยวเนื่องกับแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ (4) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิก และส่งเสริมอาชีพสมาชิกเพื่อแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระ โดย สร้างกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน (5) โครงการรวบรวมกระเทียม งา ข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (6) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ในการขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูการดำเนินงานให้เกิดผล เป็นรูปธรรมและประเมินผลได้ (7) แนะนำ กำกับและติดตามการใช้อุปกรณ์การตลาดที่สหกรณ์ฯ ได้รับการสนับสนุนจากงบ กยจ.
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 81 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป้าหมาย : สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ (1) โครงการส่งเสริมการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร และจำหน่ายผลผลิตผักปลอดภัย สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) สมาชิกสหกรณ์จึงได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดภัย ในการนี้ สหกรณ์ฯและหน่วยงานภาครัฐ จึงได้เข้ามามีบทบาทในการเปิดช่องทางการตลาดและรวบรวมพืชผักปลอดภัยจากสมาชิก โดยนำ พืชผักปลอดภัยมาวางจำหน่ายที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ตลอดทั้งปี เพื่อจำหน่ายแก่บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้มารับบริการ และ ประชาชนทั่วไป เป็นประจำทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี (2) โครงการการระดมทุนเรือนหุ้น ให้สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ภายในสหกรณ์ (3) โครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ ได้นําแนวคิดตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการ ดําเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ขบวนการสหกรณ์ให้มาศึกษาดูงาน แนว ทางการดำเนินงานและการพัฒนาการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสหกรณ์ 3. สหกรณ์การเกษตรในพื้นที่โครงการ คทช. ป่าแม่ปายฝั่งซ้าย เป้าหมาย : สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 82 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริม พัฒนาอาชีพและการตลาดแก่เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (2) แนะนำ ส่งเสริม ขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2566 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิก สหกรณ์ (3) แนะนำ ส่งเสริม ขับเคลื่อนการส่งอาชีพแก่สมาชิกสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง จากปีงบประมาณ 2565/2566 ส่งเสริมอาชีพโดยสหกรณ์จัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้แก่สมาชิก ได้แก่ ปุ๋ย ยา และอุปกรณ์ทางการเกษตร โดยสำรวจความต้องการจากสมาชิกในพื้นที่บ้านทุ่งมะกอก บ้านไม้ซางหนาม บ้านห้วยโปงกาน บ้านห้วยช่างคำ บ้านกลาง เพื่อเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกระเทียมตามฤดูกาลผลิต 2566/2567 และสามารถลดต้นทุนการผลิตของสมาชิก สหกรณ์ (4) แนะนำ ส่งเสริมการประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อสำรวจความต้องการส่งเสริมและพัฒนา อาชีพ รวมทั้ง สำรวจความต้องการจากสมาชิกเพื่อวางแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ โดยมุ่งเน้น การบริหารจัดการกลุ่มสมาชิกให้มีประสิทธิภาพ (5) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและผลักดันให้สหกรณ์ฯ ดำเนินธุรกิจ/เพิ่มปริมาณธุรกิจที่สามารถบริการสมาชิกได้ตรง ตามความต้องการและบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก (เกษตรกร) ในด้านการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม รายได้ (6) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและผลักดันให้สหกรณ์สร้าง/เพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกในธุรกิจ ของสหกรณ์ (7) แนะนำ ส่งเสริม และผลักดันสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและยกระดับชั้นความเข้มแข็ง ของสหกรณ์ได้เป็นผลสำเร็จ 4. สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) เป้าหมาย : สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 83 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) แนะนำ ส่งเสริมการประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์และขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ ของสมาชิกสหกรณ์ของสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด (2) แนะนำ กำกับและติดตามการใช้อุปกรณ์การตลาดที่สหกรณ์ฯ ได้รับการสนับสนุนจากงบ กยจ. จำนวน 1 รายการ คือ เครื่องชั่งขนาด 50 ตัน พร้อมห้องปฏิบัติการ ให้มีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (3) แนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานสหกรณ์ การดำเนินธุรกิจและกำกับ ติดตามการแก้ไขข้อสังเกต ที่ตรวจพบจากการตรวจสอบกิจการและฐานะทางการเงิน และ ตรวจพบจากการตรวจสอบบัญชีประจำปี (4) กำกับและติดตามการใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์และติดตาม/ช่วยเหลือติดตามหนี้ร่วมกับ คณะกรรมการสหกรณ์และให้สหกรณ์สามารถชำระหนี้คืนกองทุนพัฒนาสหกรณ์(กพส.)
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 84 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. สหกรณ์การเกษตรอื่นๆ เป้าหมาย : (1) สหกรณ์ยางพาราสามหมอก จำกัด (2) สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.แม่ฮ่องสอน จำกัด (3) สหกรณ์การเกษตรตำบลห้วยผา จำกัด (4) สหกรณ์การเกษตรบ้านทุ่งกองมู จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : 1. ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการปิดบัญชีประจำปีสำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 ได้สำเร็จและบันทึกบัญชีได้เป็นปัจจุบัน 2. ร่วมวางแผนและช่วยเหลือในการจัดทำแผนฟื้นฟูการดำเนินงานและการขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูการดำเนินงานของ สหกรณ์ 3. กำกับ ติดตามและช่วยเหลือในการจัดการหนี้สินของสหกรณ์ 4. แนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานสหกรณ์ การดำเนินธุรกิจและกำกับ ติดตามการแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจ พบจากการตรวจสอบกิจการและฐานะทางการเงิน และ ตรวจพบจากการตรวจสอบบัญชีประจำปี 5. แนะนำ ส่งเสริมในการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและเพิ่มปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ 6.ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์ฯ ให้สามารถชำระหนี้คืนเจ้าหนี้การค้าได้
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 85 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ เป้าหมาย : (1) สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอน จำกัด (2) สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด (3) สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด (4) สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) แนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นองค์กรวางแผนทางการเงิน (2) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและดูแลให้สหกรณ์ฯ ศึกษาและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (3) แนะนำ ส่งเสริมและติดตามการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ประกาศใช้ตามมาตรา 89/2 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 (4) แนะนำ ส่งเสริมการดำเนินการช่วยเหลือด้านหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ (5) ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงิน และรายงานการตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อโปรดทราบและ/ หรือพิจารณาสั่งการ/ให้คำแนะนำ (6) กำกับและดูแลสหกรณ์ฯ เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน/มาตรการช่วยเหลือสมาชิกด้านหนี้สิน (7) แนะนำ กำกับและดูแลเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางการเงินตามประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง การจัดเก็บ และรายงานข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564 (8) แนะนำ กำกับและดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ (9) แนะนำ ส่งเสริมและผลักดันสหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ “สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ”
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 86 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป้าหมาย : สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมัคคุเทศก์แม่ฮ่องสอนและเพื่อน จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) แนะนำและกำกับการบริหารจัดการหนี้ของสหกรณ์ และ การบริหารจัดการลูกหนี้ค้างชำระ (2) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและติดตามสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมัคคุเทศก์แม่ฮ่องสอนและเพื่อน จำกัดเกี่ยวกับการ ดำเนินงานและการแก้ไขข้อบกพร่อง/ข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงิน และการตรวจสอบบัญชีประจำปี (3) ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงิน โดยมุ่งเน้นในประเด็นที่มีสิ่งบ่งชี้ไปในทางลบ และรายงาน การตรวจสอบต่อนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อโปรดทราบและ/หรือพิจารณาสั่งการ/ให้คำแนะนำ (4) กำกับและดูแลสหกรณ์ฯ เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน กรณี สมาชิกไม่สามารถถอนหุ้นได้เมื่อลาออก เนื่องจากสหกรณ์ฯมีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม และ กรณีสมาชิกถอนคืนเงินฝากไม่ได้เนื่องจากสหกรณ์ฯ ขาดสภาพคล่องอย่าง หนักซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากสหกรณ์ฯ มีลูกหนี้เงินกู้ค้างชำระจำนวนมาก (5) แนะนำ ส่งเสริมและติดตามการปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ประกาศใช้ตามมาตรา 89/2 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 (6) แนะนำ กำกับให้สหกรณ์การรายงานข้อมูลทางการเงินตามประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง การจัดเก็บและ รายงานข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564 (7) แนะนำ กำกับให้สหกรณ์ปฏิบัติตามประกาศนายทะเบียนสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 87 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. สหกรณ์บริการ เป้าหมาย : (1) สหกรณ์เดินรถแม่ฮ่องสอน จำกัด (2) สหกรณ์บริการมวลชนแม่ฮ่องสอน จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์ : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์เดินรถแม่ฮ่องสอน จำกัด ใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อสหกรณ์ตามขั้นตอนของกฎหมายให้ถึงที่สุด ติดตามความคืบหน้าคดีกับ พนักงานสอบสวนและอัยการ รวมทั้ง กำกับ/ติดตามให้ผู้กระทำความผิดนำเงินมาชดใช้ความเสียหายแก่สหกรณ์ตามหนังสือรับ สภาพความผิด 2. แนะนำ ส่งเสริมการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารจัดการและการควบคุมภายในที่ดี 3. แนะนำ ส่งเสริมการบริหารจัดการลูกหนี้ค้างชำระและการเพิ่มธุรกิจเพื่อบริการสมาชิก 4. สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์และการประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์สู่ชุมชน/สังคม (2) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์บริการมวลชนแม่ฮ่องสอน จำกัด ใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. แนะนำ ส่งเสริมการบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารจัดการและการควบคุมภายในที่ดี 2. กำกับและติดตามเกี่ยวกับการติดตาม/เร่งรัดหนี้สินจากสมาชิกเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้กองทุน พัฒนาสหกรณ์ (กพส.) 3. แนะนำ ส่งเสริมในการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและเพิ่มปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ โดยริเริ่มการทำธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้แก่สมาชิก โดยจัดหาสินค้าอุปโภค - บริโภคมาจำหน่ายให้สมาชิก
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 88 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4. สหกรณ์ร้านค้า เป้าหมาย : (1) ร้านสหกรณ์โรงเรียนร่มเกล้าปางตองในโครงการตามพระราชดำริ จำกัด (2) ร้านสหกรณ์โรงเรียนชุมชนบ้านผาบ่อง จำกัด แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลสหกรณ์: ภายใต้กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและตามแผนงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) แนะนำ ส่งเสริมความรู้เรื่องการสหกรณ์ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ (ครูและนักเรียน) (2) แนะนำ ส่งเสริมเกี่ยวกับการเพิ่มทักษะความรู้ในการบริหารจัดการร้านสหกรณ์ โดยให้คณะกรรมการ สหกรณ์นักเรียนลงมือปฏิบัติในการขายสินค้า การบันทึกบัญชีซื้อ - ขายสินค้า และการบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี (3) แนะนำ ส่งเสริมและผลักดันให้คณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนและสมาชิกเข้าร่วมโครงการทัศนศึกษา/ค่าย เยาวชนสหกรณ์และกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน (4) แนะนำ ส่งเสริมการสหกรณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของเด็กนักเรียน /เยาวชนโดย ผ่านกิจกรรมต่างๆ
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 89 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร แนะนำ ส่งเสริม กำกับและดูแลกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 แห่ง เป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู แนะนำส่งเสริม กำกับและดูแลกลุ่มเกษตรกร : ภายใต้กฎหมายสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและ ตามแผนงานแนะนำส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร ปีงบประมาณ 2566 โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาที่ได้ดำเนินการ : (1) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด (2) แนะนำ ส่งเสริมโครงการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร (ข้าวเปลือก กข 21) เพื่อเป็นการพัฒนา/เพิ่ม ศักยภาพธุรกิจที่มีอยู่และต่อยอดธุรกิจไปสู่การรวบรวมผลผลิตการเกษตร และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร เพิ่มช่อง ทางการจัดจำหน่ายผลผลิตการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์ และแก้ไข/บรรเทาปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ (3) แนะนำ ส่งเสริมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือสมาชิก ที่ทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (4) ส่งเสริมการระดมทุนเรือนหุ้น ให้กลุ่มฯ มีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานภายใน ของกลุ่มฯ ต่อไป (5) แนะนำ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวและเพิ่มช่อง ทางการจำหน่าย (6) แนะนำ ส่งเสริมในการสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกและเพิ่มปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร (7) แนะนำ ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดที่ใช้ร่วมกับชุมชน (ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านปาง หมู กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านปางหมู องค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู) กลุ่มเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 90 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ประกอบด้วย : สหกรณ์ ๖ แห่ง สมาชิกสามัญ 3,021 คน สมาชิกสมทบ 714 คน กลุ่มเกษตรกร ๓ แห่ง สมาชิกสามัญ 364 คน สมาชิกสมทบ - คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิกสมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 1,462 484 ๒ สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 230 184 ๓ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 242 28 ๔ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 271 - 5 สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด 705 18 6 สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 111 - 7 กลุ่มเกษตรกรทำนาแม่ลาน้อย 74 - 8 กลุ่มเกษตรกรทำนาดอยเวียง 96 - 9 กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน 194 - • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสหกรณ์ 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณาการติดตามแผนและผล การดำเนินงาน ด้านการรับฝากเงิน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวมผลผลิต และการให้บริการแก่ สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ที่กำหนดไว้จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 3. สหกรณ์โครงการ ธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงบ้านดง จำกัด 6. สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนาย ทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. แนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ 6. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ทำประชาสัมพันธ์พร้อมหาตลาดใหม่ • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกร อำเภอ แม่ลาน้อย และอำเภอขุนยวม