รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 91 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรเมื่อดำเนินการนัดหมายได้ 2. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 3. แนะนำส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจ เรียกศรัทธาของสมาชิกให้มาร่วมดำเนินธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นต่อ สมาชิก • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีหนี้ค้างชำระ 2. สหกรณ์มีข้อสังเกตและข้อบกพร่อง ๓. ราคาผลิตผลทางการเกษตรมีความผันผวน ส่งผลต่อการรวบรวม ทำให้พ่อค้าคนกลางมีบทบาทในการรวบรวม และส่วนแบ่งทางการตลาด ๔. ขาดอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น รถโม่ข้าวโพด , ไซโลเก็บข้าวโพด ๕. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบางรายไม่มาดำเนินธุรกิจกับกลุ่มฯ ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในกลุ่มเกษตรกร 5. คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินงานและธุรกิจที่เพียงพอ และไม่มีความ พยายาม ในการศึกษาหาความรู้(บอกว่าไม่มีเวลา/มีงานอื่นต้องทำ) 6. สหกรณ์ภาคการเกษตรไม่มีสมาชิกอยากเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์/ขาดทายาทสืบทอดงานสหกรณ์ 7. คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดใหม่ไม่อยากเข้ามารับผิดชอบ/รับภาระการค้ำประกันเงินกู้เพิ่มเติมจาก คณะกรรมการสหกรณ์ชุดเก่า 8. สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม หรือ มูลค่าหุ้นน้อยกว่าศูนย์ และสมาชิกต้องการลาออกแล้ว รับหุ้นคืน แต่สหกรณ์จ่ายคืนค่าหุ้นให้ไม่ได้ สมาชิกไม่ได้รับหุ้นคืน 9. สมาชิกยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเองในฐานะเจ้าของสหกรณ์ที่ต้องมีส่วนร่วม 10. สมาชิกไม่ได้รับประโยชน์จากสหกรณ์ จึงไม่เข้ามามีส่วนร่วมกับสหกรณ์ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. การติดตามหนี้ค้าง ให้แยกอายุหนี้ ตั้งแต่ ๒ ปี 3 ปี 5 ปี และ เกิน 10 ปี แล้วดำเนินการวางแผน การติดตามหนี้รวมถึงการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง 2. การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ที่ให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่มาของรายได้ และรายจ่าย รวมถึง วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของธุรกิจแต่ละประเภท • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 256๖
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 92 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐาน การสร้างสหกรณ์สู่ ความเข็มแข็ง พร้อมทั้งการดำเนินงานของสหกรณ์ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือ สมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวม และแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 256๖ สหกรณ์ดำเนินการรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 1,009.60 ตัน จำนวนเงิน 8,919,153.00 บาท โดยดำเนินการดังนี้ ต้นน้ำ ขั้นตอนขบวนการดำเนินการ 1. เสนอโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ พิจารณาอนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ 3. ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อชี้แจงโครงการ สำรวจพื้นที่การ เพาะปลูก 4. ประชุมผู้นำกลุ่ม : เพื่อวางแผนการผลิต การรวบรวม 5. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนแต่ละขบวนการผลิต โดยใช้เงินทุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์โครงการพิเศษ และ เงินทุนของสหกรณ์ 6. จัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก : เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช/เคมีการเกษตร 7. จัดทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการกับสหกรณ์ กลางน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. วางแผนการจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต 2. ติดต่อประสานงานกับร้านค้าด้านการวางแผนการจัดซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกัน 3. คณะอนุมกรรมการโครงการตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน ปลายน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนในการดำเนินงาน 2. การตลาด : ประสานงานพันธมิตรด้านการตลาด บริษัทเอกชนทั่วไป กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ 3. คุณภาพสินค้า: ปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้ตามเกรด มาตรฐาน โดยการอบลดความชื้น ควบคุมสิ่งเจือปน 4. ตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาด : ดูแลรักษาอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน เช่น เครื่องชั่ง รถตัก เครื่องอบลดความชื้น เครื่องเย็บกระสอบ เครื่องบด พัดลมอุตสาหกรรม ชื่อสหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 93 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. เตรียมสถานที่รวบรวม : ตรวจเช็คโรงคลุม ลานตาก ถนนเข้า ออก ไฟฟ้ารอบสถานที่รวบรวม และทางเข้าออก 6. ประชาสัมพันธ์ : ประชาสัมพันธ์ช่องทางอิเลคทรอนิกส์ เว็ปไชค์ ไลค์ ที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ประชุมหัวหน้าส่วน ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประชุมกลุ่มสมาชิกเป้าหมาย ประชุมผู้นำกลุ่ม (หัวจุดส่งเสริม รวบรวมข้าวโพด) จัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่าย รวบรวมผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สมาชิกสามารถตรวจสอบฐานะการเงินของตัวเอง ด้วย Aplication ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 94 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์ 7 แห่ง สมาชิก 1,721 คน กลุ่มเกษตรกร …-… แห่ง สมาชิก ……-.. คน คือ 1. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ. บ้านห้วยตอง จำกัด 3. สหกรณ์การเกษตร ศชพ. คริสตจักรเมืองน้อย จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านป่าไม้โป่งสา จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรบ้านม้งขุนสาใน จำกัด 6. สหกรณ์การเกษตรพัฒนาปางมะผ้า จำกัด 7. สหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ๑. การปิดบัญชีและการประชุมใหญ่สามัญประจำปี สหกรณ์ทั้ง ๖ สหกรณ์ สามารถดำเนินการปิดบัญชีและประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้ ตามกฎหมาย ส่วนอีก ๑ สหกรณ์อยู่ในช่วง ชำระบัญชี ๒. การรักษามาตรฐานสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร การรักษามาตรฐานสหกรณ์ จำนวน 8 แห่ง ๓. การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งและยกระดับชั้นสหกรณ์ สหกรณ์ชั้น 2 จำนวน 5 สหกรณ์ สหกรณ์ชั้น 3 จำนวน 2 สหกรณ์ ⚫ ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ในพื้นที่อำเภอปาย ปางมะผ้า สามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งในการให้บริการ การช่วยเหลือและ การแก้ไขปัญหาให้แก่สมาชิก คณะกรรมการดำเนินการมีความรู้ความสามารถในการบริหารงาน มีความพร้อม และ เสียสละเวลาเพื่อบริหารงานของสหกรณ์อย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่มีบางส่วนที่เป็นกรรมการใหม่ ยังไม่เข้าใจบทบาท หน้าที่และงานด้านสหกรณ์อย่างแท้จริง ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งควรได้รับการศึกษาอบรมเพิ่มเติม สหกรณ์ประสบ ปัญหา/อุปสรรคบางข้อ เช่น ๑. สหกรณ์มีคู่แข่งทางการค้ามาก การแข่งขันทางธุรกิจสูง ๒. สมาชิกบางรายของสหกรณ์ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เกิดผลให้เป็นลูกหนี้ค้างนาน เนื่องจากราคาผลผลิตตกต่ำ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ๓. การบริหารงานภายในองค์กร คณะกรรมการและฝ่ายจัดการยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน ๔. คณะกรรมการขาดความรู้ในการบริหารจัดการ ขาดความรู้เรื่องระบบสหกรณ์ 5. สภาวะราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น อำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 95 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ⚫ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา ๑. อบรมให้ความรู้เรื่องสหกรณ์ ให้แก่สมาชิก ๒. อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ในเรื่องบทบาท อำนาจหน้าที่ และในด้านการ ปฏิบัติงาน ๓. ชี้แจง/ให้การอบรมแก่คณะกรรมการและฝ่ายจัดการในเรื่องความสำคัญของข้อบังคับ และเรื่อง ระเบียบของสหกรณ์ ๔. ชี้แจงให้สมาชิกสหกรณ์ เห็นข้อดีของการรวมกลุ่ม การรวมหุ้นและการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ๕. ส่งเสริมการใช้หลักธรรมาภิบาล และ การควบคุมภายในแก่สหกรณ์ ๖. สหกรณ์ ควรส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถชำระหนี้ให้แก่ สหกรณ์ได้ ลดปัญหาหนี้ค้าง ๗. สหกรณ์ที่ไม่มีพนักงานควรได้รับการแนะนำส่งเสริมด้านบัญชีจากทางราชการ ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์ทั้ง 7 แห่ง ได้ดำเนินธุรกิจให้ความช่วยเหลือสมาชิก สามารถช่วยสมาชิกได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ๑. สมาชิกมีแหล่งเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ลดการกู้ยืมเงินนอกระบบ ๒. สมาชิกสามารถซื้อวัสดุการเกษตร ได้ในราคายุติธรรม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ๓. สหกรณ์ได้เป็นตัวกลางในการรวบรวมกระเทียมจากสมาชิก ทำให้สมาชิกได้จำหน่ายกระเทียมใน ราคาที่สูงกว่าราคาท้องตลาด เพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่สมาชิก ๔. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด ประสบภาวะขาดทุนสะสมมาหลายปี จึงเพิ่มธุรกิจรวบรวม ข้าวโพดหวานอีก 1 ธุรกิจ และมีบริการเครื่องชั่งไว้บริการสมาชิก ทำให้สมาชิกได้รับความ สะดวกมากขึ้น 5. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคในพื้นที่ สปก. เพื่อ ส่งเสริมให้สมาชิกมีอาชีพที่หลากหลาย มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการติดตามหนี้สินค้างชำระได้ เพิ่มขึ้น 6. สหกรณ์การเกษตร ศชพ. บ้านห้วยตอง จำกัด มีบริการเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 1 เครื่อง ไว้บริการสมาชิกทุกวัน ทำให้สมาชิกได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น 7. สหกรณ์การเกษตร ศชพ.คริสตจักรเมืองน้อย จำกัด มีการจัดทำบัญชีที่เป็นปัจจุบัน ลดปัญหาการ ปิดบัญชีล่าช้า ๘. สหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด ให้บริการกระแสไฟที่ผลิตจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ทำให้มีการ ดูแลรักษาแหล่งน้ำในพื้นที่ เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความ สามัคคีของสมาชิกและคนชุมชน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 96 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร การรวบรวมผลผลิตกระเทียม , การบริการเครื่องชั่ง และการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคในพื้นที่ สปก. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (เพื่อเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างที่ดีหรือแนวทางในการส่งเสริม) ๑. การสร้างความคุ้นเคยและแสดงความจริงใจในการทำงานกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ทำให้เกิด การยอมรับ ความเชื่อถือในการเข้าไปแนะนำส่งเสริม ๒. การเข้าไปแนะนำส่งเสริมและตรวจเยี่ยมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ ๓. การทราบข้อมูลพื้นฐาน จุดเด่น จุดด้อยของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ๔. การติดตามสภาวการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแนะนำส่งเสริม ภายใต้กรอบข้อกฎหมายสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 97 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ประกอบด้วย ชุมนุมสหกรณ์ 1 แห่ง หกรณ์ 7 แห่ง ได้แก่ ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิก สมทบ 1 ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแม่ฮ่องสอน จำกัด 7 สหกรณ์ - 2 สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด 102 - 3 สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด 253 - 4 สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 1,115 308 5 สหกรณ์การเกษตรหมุนเวียนแม่สะเรียง จำกัด 101 - 6 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุ่งแพม จำกัด 1,194 10 7 สหกรณ์เครดิตยู่เนี่ยนแม่สะเรียง จำกัด 843 4 8 สหกรณ์ออมทรัพย์ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแม่สะเรียง จำกัด 162 - ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณาการติดตามแผนและผล การดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวมผลผลิตด้านการรับฝากเงิน และการให้บริการแก่ สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่กำหนดไว้จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง แม่สะเรียง จำกัด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุ่งแพม จำกัด สหกรณ์เครดิตยู่เนี่ยนแม่สะเรียง จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์ชมรม กำนันผู้ใหญ่บ้านแม่สะเรียง จำกัด และชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแม่ฮ่องสอน จำกัด 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนาย ทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ด้านระเบียบข้อบังคับ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมให้ชุมมนุมสหกรณ์ 1 แห่ง สหกรณ์ 7 แห่ง ได้แนะนำให้สหกรณ์แก่ไขข้อบังคับสหกรณ์จำนวน 4 แห่ง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสหกรณ์ จำนวน 8 แห่ง เนื่องจากไม่ สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน และเป็นอุปสรรคในการบริหารงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสหกรณ์ อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย อำเภอ แม่สะเรียง
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 98 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ด้านการบริหารเงินทุน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สหกรณ์ในเขตอำเภอแม่สะเรียง มีการใช้แหล่งเงินทุนจากภายในของสหกรณ์ เอง และพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอก (เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ของกรมส่งเสริมสหกรณ์) จำนวน 4 แห่ง ดังนี้ (1) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 7.780 ล้านบาท เพื่อจัดหาสินค้า มาจำหน่ายแก่สมาชิก เพื่อรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ (2) สหกรณ์การเกษตรหมุนเวียนแม่สะเรียง จำกัด กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 1.5ล้านบาท เพื่อ เป็นทุนให้สมาชิกกู้ (3) สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 0.5 ล้านบาท เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก (4) สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 0.3 ล้านบาท เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก ด้านการบริหารธุรกิจ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ (1) ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 7 สหกรณ์ (2) ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 7 สหกรณ์ (3) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 8 สหกรณ์ (4) ธุรกิจรวบรวมผลิต จำนวน 4 สหกรณ์ (5) ธุรกิจแปรรูปผลผลิต จำนวน 2 สหกรณ์ ด้านผลการดำเนินงาน ผลจากการแนะนำส่งเสริม สหกรณ์ในเขตอำเภอแม่สะเรียง จำนวน 7 สหกรณ์ 1 ชุมนุมสหกรณ์ ปรากฏผล การดำเนินธุรกิจ ดังนี้ - ทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น จำนวน 8 สหกรณ์ - ทุนดำเนินงานลดลง จำนวน - สหกรณ์ - ขาดทุนสุทธิ จำนวน 2 สหกรณ์ ด้านมาตรฐานสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ในเขตอำเภอแม่สะเรียง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 6 แห่ง และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. กรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ขาดการศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ และการ ร่วมแสดงความคิดเห็น 2. สหกรณ์ไม่มีเจ้าหน้าที่ ใช้กรรมการเพียงคนเดียวในการดำเนินการทุกกิจกรรม 3. สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย เป็นอุปสรรคในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสหกรณ์ 4. สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม หรือ มูลค่าหุ้นน้อยกว่าศูนย์ และสมาชิกต้องการลาออกแล้วรับหุ้นคืน แต่สหกรณ์จ่ายคืนค่าหุ้นให้ไม่ได้ สมาชิกไม่ได้รับหุ้นคืน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 99 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. สหกรณ์ภาคการเกษตรมีหนี้ค้างชำระจากสมาชิกเป็นจำนวนมาก ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1 ให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการ อุดมการณ์ และ วิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ สิทธิ รวมถึงเรื่องระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ของสหกรณ์ และอยู่ภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติสหกรณ์ รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ปลูกฝังทายาทสมาชิกให้เข้าใจหลักการ อุดมการณ์ และสำนึกความเป็นเจ้าของสหกรณ์ร่วมกัน เพื่อฝึกคนรุ่นใหม่ ขึ้นมาทำงาน 3. การติดตามหนี้ค้าง ให้แยกอายุหนี้ ตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ เกิน 10 ปี แล้วดำเนินการวางแผน การติดตามหนี้ รวมถึงการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง สหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอ 1. ชื่อสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 2. ประเภทของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร 3. จำนวนสมาชิกสหกรณ์ ณ 1 ธันวาคม 2563 จำนวน 1,252 ราย 4. โครงสร้างการบริหารงาน คณะกรรมการดำเนินการจำนวน 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 2 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 7 คน 5. ผลผลิตการเกษตรหลักของสหกรณ์ กระเทียม 6. ธุรกิจที่สหกรณ์ดำเนินการ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจแปรรูปผลผลิต โดยธุรกิจหลักของสหกรณ์ คือ รวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสหกรณ์ มีทุนดำเนินงาน ทั้งสิ้น ณ. 31 ธันวาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 39,311,688.61 บาท 7. ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของสหกรณ์ ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร สหกรณ์สามารถให้การช่วยเหลือ สมาชิกโดยการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของสมาชิกได้เป็นอย่างดี สมาชิกมีแหล่งจำหน่ายในราคา ยุติธรรม 8. สหกรณ์เป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตของข้าวแปลงใหญ่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย โดยมีส่วนช่วยในการแทรกแซง ราคาผลผลิต และรับซื้อผลผลิตที่ล้นตลาด ที่มาของผลิตภัณฑ์กระเทียมผง กระเทียมแคปซูล ภายใต้แบรนด์ “ใจกระเทียม” กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากสถานการณ์ปัจจุบัน กระเทียมเป็นสินค้าเกษตรที่ไม่ สามารถแข่งขันกับกระเทียมเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูง ข้อมูลการเพาะปลูกกระเทียมของสมาชิกสหกรณ์ สมาชิก สกก.แม่สะเรียง จำนวน 153 ไร่ ( 76 คน ) ปริมาณผลผลิตของสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 800 ตัน/ฤดูกาลผลิต ราคากระเทียมสดในฤดูกาลผลิตนี้ กก.ละ 8-9 บาท ราคากระเทียมแห้ง กก.ละ 27-30 บาท
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 100 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ซึ่งราคานี้ยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุนของเกษตรกร จากปัญหาของราคากระเทียม สหกรณ์ได้หาทางแก้ไขปัญหามาโดย ตลอด ตั้งแต่แปรรูปเป็นกระเทียมมัดจุก ปิงปอง แกะกลีบ แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงได้มีการศึกษาดูงานการ แปรรูปสินค้าเกษตร และได้เกิดแนวคิดที่จะนำพืชกระเทียมมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยความร่วมมือของสมาชิก คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และฝ่ายส่งเสริมสหกรณ์ ชื่อผลิตภัณฑ์ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูล ผงกระเทียม • ส่วนประกอบ : ผงกระเทียม 500 มิลลิกรัม (100 %) สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (ซิลิคอนไดออกไซด์) ไม่เจือปนสีสังเคราะห์แสงและวัตถุกันเสีย • มาตรฐาน : ใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรชนิดพืช กระเทียมหัว ของเกษตรกร จำนวน 11 ราย • มาตรฐานโรงงาน GMP ใบสำคัญเลขที่ 58-1-17764 • อาหารปลอดภัย อย. 58-1-17764-5-0001 • ฮาลาล กอท.ฮล. 12 M567 002 06 64 • ผลการทดสอบสารจาก ห้องปฏิบัติกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อผลิตภัณฑ์ : กระเทียมผงปรุงรส ตรา ใจกระเทียม • ส่วนประกอบ : ผลกระเทียม 100 % น้ำหนักสุทธิ 50 กรัม • มาตรฐาน : ใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรชนิดพืช กระเทียมหัว ของเกษตรกร จำนวน 11 ราย • มาตรฐานโรงงาน GMP ใบสำคัญเลขที่ 58-1-17764 • อาหารปลอดภัย อย. 58-1-17764-6-0001 • ฮาลาล กอท.ฮล. 12 M567 001 06 64 • ผลการทดสอบสารจาก ห้องปฏิบัติกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 101 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด แม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 124/5 หมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนรหัสไปรษณีย์ 58110 โ ท ร ศ ั พ ท ์ 0 9 9 7 4 0 8 3 5 1 เ ว ็ บ ไ ซ ต์h t t p : / / w w w . C p d o m p a i @ g m a i l . c o m จดทะเบียนวันที่ 9 มกราคม 2558 ปัจจุบันมีสมาชิก 105 คน (เป็นสมาชิกสามัญ ทั้งหมด) คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 7 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 1 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 2 คน) ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การ สร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัดได้รับรางวังสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น ดังนี้ ปี พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 1 ปี พ.ศ. 2566 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 1 ผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 3 ปี ปีบัญชีสิ้นสุด 30 กันยายน 2564 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 48,460.82 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 30 กันยายน 2565 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 207,025.26 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 30 กันยายน 2566 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 351,637.47 บาท ชื่อสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 102 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กิจกรรมที่โดดเด่นของสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด คือ การดำเนินธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตร สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด ดำเนินการแปรรูปผลิตผลการเกษตรในทุกปี โดยสหกรณ์ทำได้ การแปรรูปเพาะพันธุ์ต้นกล้า มาจำหน่ายให้กับสมาชิกและแปรรูปปุ๋ย A-B ซึ่งเป็นสูตรปุ๋ยที่ทางมูลนิธิโครงการหลวงคิดค้น สูตรมาใช้เฉพาะกับการปลูกพืชพักในโรงเรือนพลาสติก มีสมาชิกเข้าร่วมใช้บริการ จำนวน 105 ราย สหกรณ์มีการให้บริการ แปรรูปผลิตผลการเกษตรเพาะพันธุ์ต้นกล้า จำนวน 14 ชนิด ได้แก่ เบบี้คอส, เบบี้ฮ่องเต้, โอ๊คลีฟเขียว, โอ๊คลีฟแดง, เรดโค รอล, บัตเตอร์เฮด, คะน้าฮ่องกง, ผักกาดขาวปลี, ขึ้นฉ่าย, คอสสลัด, ปวยเหล็ง, ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก,ผักชี และพริกหวานเขียว และในรอบปีที่ผ่านมาสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด จำหน่ายต้นกล้าให้กับสมาชิก จำนวน 1,442,783.50 บาท แล้วสมาชิกสหกรณ์ได้นำต้นกล้าที่สหกรณ์เพาะพันธุ์ไปปลูกตามแผนการผลิต แล้วขายผลผลิตให้มูลนิธิ โครงการหลวงได้ผลิตได้รวม 490,288 กิโลกรัม มูลค่า 17,487,145 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.44 ของแผนการผลิต ส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือนพลาสติก ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 103 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 51/2 หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58110 โทรศัพท์ 0-933179797 จดทะเบียนวันที่ 23 พฤษจิกายน 2538 ปัจจุบันมีสมาชิก 233 คน สมาชิกสมทบ 233 คน คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 7 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 1 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 13 คน ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การ สร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด ได้รับรางวังสหกรณ์ดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง ดังนี้ ปี พ.ศ. 2563 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 3 ปี พ.ศ. 2566 ได้รับรางวัลสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวงดีเด่น อันดับที่ 2 ผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 3 ปี ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2563 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 43,391.23 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 256๔ กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 92,482.06 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 41,413.78บาท ชื่อสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 104 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กิจกรรมที่โดดเด่นของสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด คือ การดำเนินธุรกิจเพาะต้นกล้า สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด ได้รับกานถ่ายโอนธุรกิจเพาะต้นกล้าจากมูลนิธิโครงการกลวงแม่ สะเรียง (ศูนย์ย่อยป่าแป๋) ด้านการผลิต สหกรณ์และศูนย์ฯ ร่วมกันวางแผนการผลิตตามแผนของศูนย์รวม 13 ชนิด ได้แก่ เบ บี้คอส, เบบี้ฮ่องเต้, โอ๊ดลีฟเขียว, โอ๊ดลีฟแดง, เรดโครอล, บัตเตอร์เฮด, คะน้าฮ่องกง, ผักกาดขาวปลี, ขึ้นฉ่าย, คอสสลัด, ปวยเหล็ง, ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก และพริกหวานเขียว และในรอบปีที่ผ่านมาสหกรณ์ จำหน่ายต้นกล้าให้สมาชิกจำนวน 733,923 บาท มีสมาชิกใช้บริการ จำนวน 72 ราย พื้นทีโรงเรือนในการเพาะปลูก จำนวน 168 โรงเรือน ขนาดโรงเรือน 6*30 เมตร การดำเนินธุรกกิจแปรรูป (ข้าวเหงาะเลอทิญ) สหกรณ์จะมีการรวบรวมข้าวที่เหลือจากการบริโภคของสมาชิกที่ผ่านมาตรฐาน gap และอินทรีย์ เพื่อนำมาแปรรูปในแต่ละรอบตามออเดอร์ที่สั่ง ไม่ได้มีวางขายตามหน้าร้านมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุค และมีกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 และสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน คอยผลักดันผลิตภัณฑ์ออกบูทตามสถานที่ต่างๆ จึงทำให้มีออเดอร์เพิ่มมากขึ้น การดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 105 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิก สมทบ ๕ สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 593 164 9 สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด 140 - 10 สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 128 - ⚫ ผลการเข้าแนะนำ ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณา การ ติดตามแผนและผลการดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวมผลผลิต ด้านการรับ ฝากเงิน และการให้บริการแก่สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่กำหนดไว้จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ส ห ก ร ณ ์ ก า ร เ ก ษ ต ร ส บ เ ม ย จ ำ ก ั ด ส ห ก ร ณ ์ พ ั ฒ น า พ ื ้ น ท ี ่ ส ู ง แ บ บ โ ค ร ง ก า ร ห ล ว ง แม่สามแลบ จำกัด และสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนาย ทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ด้านระเบียบข้อบังคับ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมให้ สหกรณ์ 3 แห่ง ได้แนะนำให้ สหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน และเป็นอุปสรรคในการ บริหารงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสหกรณ์ ด้านการบริหารเงินทุน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สหกรณ์ในเขตอำเภอแม่สะเรียง มีการใช้แหล่งเงินทุนจากภายในของสหกรณ์ เอง และพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอก (เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ของกรมส่งเสริมสหกรณ์) จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ (1) สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 2 แสนบาท เพื่อจัดหาสินค้ามา จำหน่ายแก่สมาชิก เพื่อรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อเป็นทุนให้สมาชิกกู้ อำเภอ สบเมย
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 106 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ด้านการบริหารธุรกิจ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ (6) ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 3 สหกรณ์ (7) ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 1 สหกรณ์ (8) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 3 สหกรณ์ (9) ธุรกิจรวบรวมผลิต จำนวน 3 สหกรณ์ (10)ธุรกิจแปรรูปผลผลิต จำนวน 2 สหกรณ์ ด้านผลการดำเนินงาน ผลจากการแนะนำส่งเสริม สหกรณ์ในเขตอำเภอแม่สะเรียง จำนวน 7 สหกรณ์ 1 ชุมนุมสหกรณ์ ปรากฏผล การดำเนินธุรกิจ ดังนี้ - ทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น จำนวน 3 สหกรณ์ - ทุนดำเนินงานลดลง จำนวน - สหกรณ์ - ขาดทุนสุทธิ จำนวน 1 สหกรณ์ ด้านมาตรฐานสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 ได้แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ในเขตอำเภอสบเมย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง ยังไม่นำมาจัดมาตรฐาน 1 แห่ง ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. กรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ขาดการศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ และการ ร่วมแสดงความคิดเห็น 2. สหกรณ์ไม่มีเจ้าหน้าที่ ใช้กรรมการเพียงคนเดียวในการดำเนินการทุกกิจกรรม 3. สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย เป็นอุปสรรคในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสหกรณ์ 4. สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม หรือ มูลค่าหุ้นน้อยกว่าศูนย์ และสมาชิกต้องการลาออกแล้ว รับ หุ้นคืน แต่สหกรณ์จ่ายคืนค่าหุ้นให้ไม่ได้ สมาชิกไม่ได้รับหุ้นคืน 5. สหกรณ์ภาคการเกษตรมีหนี้ค้างชำระจากสมาชิกเป็นจำนวนมาก ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. ให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการ อุดมการณ์ และ วิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ สิทธิ รวมถึงเรื่องระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ของสหกรณ์ และอยู่ภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติสหกรณ์ รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ปลูกฝังทายาทสมาชิกให้เข้าใจหลักการ อุดมการณ์ และสำนึกความเป็นเจ้าของสหกรณ์ร่วมกัน เพื่อฝึกคนรุ่นใหม่ ขึ้นมาทำงาน 3. การติดตามหนี้ค้าง ให้แยกอายุหนี้ ตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ เกิน 10 ปี แล้วดำเนินการวางแผน การติดตามหนี้ รวมถึงการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง ⚫ สหกรณ์การเกษตรระดับอำเภอ
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 107 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 4. ชื่อสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 5. ประเภทของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร 3. จำนวนสมาชิกสหกรณ์ ณ 1 ธันวาคม 2567 สามัญจำนวน 593 สมาชิกสมทบ จำนวน 164 ราย 4. โครงสร้างการบริหารงาน คณะกรรมการดำเนินการจำนวน 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 2 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 7 คน 5. ผลผลิตการเกษตรหลักของสหกรณ์ พริก 6. ธุรกิจที่สหกรณ์ดำเนินการ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และธุรกิจแปรรูปผลผลิต โดยธุรกิจหลักของสหกรณ์ คือ รวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 7. ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของสหกรณ์ ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร สหกรณ์สามารถให้การช่วยเหลือ สมาชิกโดยการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของสมาชิกได้เป็นอย่างดี สมาชิกมีแหล่งจำหน่ายในราคา ยุติธรรม - สหกรณ์เป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตพริกกะเหรี่ยงในเขตอำเภอสบเมย โดยมีส่วนช่วยในการแทรกแซงราคาผลผลิต และรับซื้อผลผลิตที่ล้นตลาด • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ที่ 7 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จดทะเบียนวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ปัจจุบันมีสมาชิก 128 คน คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 7 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 1 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 2 คน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 108 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การ สร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน ผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 3 ปี ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ตุลาคม 2563 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 59,372.87 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ตุลาคม 256๔ กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 83,850.21 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ตุลาคม 2565 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 92,614.38 บาท กิจกรรมที่โดดเด่นของสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด การดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิต สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ดำเนินการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรจากสมาชิก สหกรณ์ ประกอบด้วย อะโวคาโด้, เสาวรส, ฟักทองบัตเตอร์นัท, กาแฟ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ ทางการเกษตร การสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิด ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกกิจแปรรูป สหกรณ์จะมีการรวบรวมกาบหมากจากสมาชิกสหกรณ์เพื่อ แปรรูปเป็นจานกาบหมาก โดยจำหน่ายให้กับสมาชิก ประชาชนทั่วไป โรงพยาบาล
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 109 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด การดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 124 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จดทะเบียนวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ปัจจุบันมีสมาชิก 140 คน คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 1 คน ฝ่ายจัดการ จำนวน 1 คน ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การ สร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน ผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 2 ปี ปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2565 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 31,300.17 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2566 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 20,514.78 บาท
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 110 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กิจกรรมที่โดดเด่นของสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด การดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิต สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ดำเนินการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรจากสมาชิก สหกรณ์ ประกอบด้วยกาแฟกะลา, เสาวรส, มะเขือเทศเชอร์รี่ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน 2. งานกำกับติดตามและงานแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูแม่ฮ่องสอน จำกัด ประเด็นข้อร้องเรีบนและข้อบกพร่อง 1. กรณีการนำเงินไปฝาก สหกรณ์การเกษตรเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด 2.กรณีการจัดซื้อ/การจัดแบ่งที่ดิน ผลการดำเนินงาน ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ต้องติดตามการชำระเงินฝากคืนจาก สกก.เมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด 2. สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด ประเด็นข้อร้องเรีบนและข้อบกพร่อง ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของคณะกรรมการดำเนินการในลักษณะประมาทเลินเล่อต่อ การปฏิบัติหน้าที่ ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 111 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำกัด ประเด็นข้อร้องเรีบนและข้อบกพร่อง การดำเนินการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ดำเนินการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย 4. สหกรณ์การเกษตรเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด ประเด็นข้อร้องเรีบนและข้อบกพร่อง การดำเนินการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเงินกองทุนสงเคราะห์สหกรณ์ฯ (โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน) ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ดำเนินการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย 3. กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) 1. ที่มาของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ หรือ กพส. เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนส่งเสริมกิจการของสหกรณ์ โดยการรวบรวมเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ที่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ รับผิดชอบโอนมาเป็น ของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ซึ่งนับเป็นแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ทุกประเภท ในการให้สินเชื่อแก่ สหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการให้เงินกู้แก่สมาชิก การรวบรวมผลผลิต การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เป็นเงินกู้ระยะสั้น1 ปีการลงทุนในสินทรัพย์เป็นเงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 15 ปีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 – 4.0 ต่อปีตามชั้น ลูกหนี้ ซึ่งจะมีการจัดชั้นทุกปี และโครงการพิเศษอื่นอีกในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีสหกรณ์ทุกประเภทสามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุนได้ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์ทุกประเภทในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท 3) มีวินัยทางการเงิน และไม่มีหนี้ผิดนัดค้างชำระต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ทุกเงินทุน สำหรับกรณีสหกรณ์ได้รับการ ผ่อนผัน การขยายเวลาชำระหนี้ การลดหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การไกล่เกลี่ยคดีการประนีประนอมหนี้ และสหกรณ์ สามาถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข 4) ไม่มีการทุจริตและไม่มีข้อบกพร่องทางการเงิน และทางบัญชี ในกรณีที่สหกรณ์มีข้อบกพร่องหรือทุจริตต้อง ได้รับการแก้ไขแล้ว 5) สหกรณ์ตั้งใหม่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000 บาท 3. การดำเนินโครงการ 1) สำรวจและจัดทำข้อมูลความต้องการเงิน กู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 2) ให้คำแนะนำสหกรณ์ในการจัดทำคำขอกู้เงิน กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 3) รับคำขอกู้จากสหกรณ์/ตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอกู้/วิเคราะห์คำขอกู้
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 112 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4) เตรียมเอกสารการประชุม/จัดประชุมคณะกรรมกำรพิจารณาเงินกู้ กพส. ระดับจังหวัด 5) จัดทำรายงานผลการประชุมเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ 6) แจ้งผลการประชุมให้สหกรณ์ทราบ/รายงานขอเบิกเงิน จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ 7) รับหนังสือขอเบิกรับเงินกู้จากสหกรณ์//ตรวจสอบความถูกต้องเอกสาร/ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินกู้ให้สหกรณ์ 8) แจ้งผลการเบิกจ่ายให้สหกรณ์และกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ทราบ พร้อมทั้งให้สหกร์ออกใบเสร็จส่งให้จังหวัด ภายในเวลากำหนด 9) ติดตามตรวจสอบการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 10) เร่งรัดการชำระหนี้ก่อนและหลังครบกำหนดชำระ 11) ยืนยันยอดเงินกู้คงเหลือ 12) จัดชั้นลูกหนี้ของสหกรณ์เสนอกรมส่งเสริมสหกรณ์/แจ้งผลการจัดชั้นให้สหกรณ์ 13) ตรวจสอบหลักประกันเงินกู้/เรียกให้สหกรณ์จัดทำหลักประกันเงินกู้เพิ่มเติม 14) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน/ประจำไตรมาส/ประจำปี 4. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 5. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 5.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด ได้อนุมัติ วงเงินให้สหกรณ์รวมทั้งสิ้น 35,610,000 บาท ได้แก่ 1) โครงการปกติ จำนวน 18,000,000 บาท (9 สหกรณ์ 12 สัญญา) วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ยืม 6,000,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลิต 4,580,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 7,000,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในทรัพย์สิน 420,000 บาท 2) โครงการพิเศษ จำนวน 17,610,000 บาท (10 สหกรณ์ 9 โครงการ 20 สัญญา) วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกกู้ยืม 9,470,000 บาท ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ (บาท) ผลการเบิกจ่าย (บาท) คิดเป็นร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) - ค่าใช้จ่ายในการประชุม คณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด 123,200.00 123,200.00 100.00 - ค่าใช้สอยเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ 89,510.00 89,510.00 100.00 - เงินให้กู้แก่สหกรณ์โครงการปกติ 18,000,000.00 18,000,000.00 100.00 - เงินให้กู้แก่สหกรณ์โครงการพิเศษ 18,470,000.00 17,610,000.00 97.83
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 113 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลิต 6,440,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 1,500,000 บาท วัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในทรัพย์สิน 200,000 บาท 5.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ได้รับเงินกู้สอดคล้องกับแผนธุรกิจและฤดูการผลิตของสมาชิก ทำให้การใช้เงินกู้ตรงตามวัตถุประสงค์ และ สามารถส่งชำระหนี้ได้ตามกำหนด อีกทั้งการปฏิบัติในการให้บริการกับสมาชิกอย่างเต็มใจ โปร่งใสและเสมอภาคทุกสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์มีความเชื่อถือและให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเป็นอย่างดี อีกทั้งสหกรณ์ได้รับเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำช่วยลดต้นทุนให้แก่สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ 6. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ การจัดทำเอกสารของสหกรณ์ยังขาดความรอบครอบ เช่น บัตรประจำตัวประชาชนผู้ค้ำประกันหมดอายุ ทำให้ เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินให้กับสหกรณ 7. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ แนะนำให้ฝ่ายจัดการและกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ มีการตรวจสอบเอกสารให้รอบครอบก่อนดำเนินการจัดส่งให้ จังหวัด เพื่อไม่ให้เกิดความล้าช้าในการเบิกจ่าย ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ กิจกรรมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ระดับจังหวัด
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 114 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร โครงการพิเศษ โครงการสนับสนุนเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (โครงการพิเศษ) ให้แก่สหกรณ์ในพื้นที่โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริและสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ปี 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อปีให้แก่สหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมฟื้นฟูอาชีพ รายละ ไม่เกิน 50,000 บาท และคิดอัตราดอกเบี้ยจากสมาชิกไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หรือเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการจัดหาปัจจัยการผลิต และ/หรือ รวบรวม/แปรรูปผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของสมาชิก ให้กับสหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและ สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ในวงเงินสหกรณ์ละไม่เกิน ๘00,00๐ บาท ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 1 ปี 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ได้แก่ 1) สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ จำนวนสหกรณ์ในพื้นที่โครงการฯ ที่ได้รับเงินกู้ กพส. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑ ต่อปี เพื่อเป็นทุนดำเนินธุรกิจบริการ แก่สมาชิก ในการจัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ สหกรณ์ในพื้นที่โครงการ มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อทำธุรกิจตอบสอนงความต้องการของสมาชิกได้มากขึ้นส่งผลถึง โอกาสสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์และชุมชนในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครการหลวง 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอก งบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 1,000,000 บาท 1,000,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ 2 แห่ง ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการ พิเศษ ในระยะเวลาที่กำหนด 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ นำเงินกู้ กพส. ไปจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และ สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการและแนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ (ไม่มี)
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 115 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ (กิจกรรมติดตามการใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ณ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด และสหกรณ์ การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด อำเภอแม่ลาน้อย) โครงการสนับสนุนเงินทุนสหกรณ์ในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพ การเกษตร ปี พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์ในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร เป็นเงินกู้ แก่สมาชิกในโครงการ 2) เพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านสานต่ออาชีพ การเกษตร 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) สหกรณ์ที่กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ร้อยละ ๙๐ ๒) สมาชิกร้อยละ ๘0 ที่กู้เงิน ได้รับประโยชน์จากเงินกู้ ด้านการลดต้นทุน/มีรายได้เพิ่ม 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) สหกรณ์สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำในการให้บริการสมาชิก ๒) ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต และการตลาดแก่สมาชิก และมีเงินออมในรูปทุนเรือนหุ้น ๓) สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิต มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 116 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 220,000 บาท 220,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษในระยะเวลาที่กำหนด และทำให้สมาชิกสหกรณ์เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปประกอบอาชีพ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการให้สินเชื่อแก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ - ไม่มี 8. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ - ไม่มี โครงการเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจรวบรวมกาแฟในสถาบันเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อเพิ่มศักยภาพและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้เป็นแหล่งรองรับผลผลิตกาแฟของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร 2) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ด้วย การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน อัตราดอกเบี้ยต่ำ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) ร้อยละ ๗0 ของสหกรณ์ที่ขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ได้รับการสนับสนุนเงินกู้และนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ โครงการ 2) ร้อยละ ๗0 ของสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการสามารถรวบรวมหรือแปรรูปกาแฟเพิ่มขึ้น 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) สหกรณ์มีขีดความสามารถในการแข่งขันสามารถเป็นแหล่งรองรับผลผลิตกาแฟของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2) สหกรณ์มีความเข้มแข็งสามารถพัฒนาคุณภาพกาแฟและขยายตลาดกาแฟเพิ่มขึ้น
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 117 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อย ละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอก งบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 1,500,000 บาท 640,000 บาท 42.67 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษ ในระยะเวลาที่กำหนด 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการรวบรวมกาแฟจากสมาชิกในราคาที่สูงกกว่าท้องตลาด และสหกรณ์มีปริมาณธุรกิจที่ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ - ไม่มี 8. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ - ไม่มี โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ ๑) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ สินค้าแปรรูปของสหกรณ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานและสร้าง มูลค่าเพิ่ม ๒) เพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกสหกรณ์เพื่อนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือพัฒนา ผลิตภัณฑ์แปรรูปของสหกรณ์ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ ๑) ร้อยละ ๗0 ของสหกรณ์ที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ยืม กพส. แล้วสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ 2) ร้อยละ ๗0 ของสหกรณ์ที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ยืม กพส. สามารถรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกเพื่อนำมาแปรรูป ได้เพิ่มขึ้น 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) ผลิตภัณฑ์แปรรูปของสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาและมีมูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้น 2) สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจรวบรวมและแปรรูปเพิ่มขึ้น
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 118 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อย ละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอก งบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 3,000,000 บาท 3,000,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษ ในระยะเวลาที่กำหนด 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการรวบรวมกระเทียมจากในราคาที่สูงกกว่าท้องตลาด และนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูป เป็นกระเทียมแคปซูล สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ - ไม่มี 8. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ - ไม่มี โครงการเสริมสร้างโอกาสทางการค้าสำหรับร้านค้าสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจ ซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อส่งเสริมร้านค้าสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็สหกรณ์ ให้เข้าถึงแห่ล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2) เพื่อเสริมสภาพคล่องการดำเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ 3) เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ ให้เป็นจุดจำหน่ายและรองรับสินค้าจากขบวนการสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือสมาชิกเกษตรกร 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยพิเศษเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ 2) ร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายนำสินค้าจากสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และสมาชิกมา จำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) ร้านค้าสหกรณ์มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถเป็นแหล่งรองรับและเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และสมาชิกเกษตรกร ไปสู่ผู้บริโภค 2) ระบบสหกรณ์มีความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ผู้ผลิตและร้านค้าสหกรณ์
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 119 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3) สมาชิกสหกรณ์และประชาชนได้บริโภคสินค้าดีมีคุณภาพในราคายุดิธรรม 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 200,000 บาท 200,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษในระยะเวลาที่กำหนด 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในร้านค้าสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลผลิต และยกระดับ มาตราฐานการจัดจำหน่ายสินค้าในร้านค้าสหกรณ์ โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการแก้ปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพสมาชิกสหกรณ์ ปี 3 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์ ให้สมาชิกกู้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูอาชีพ 2) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ค้างชำระของสมาชิกสหกรณ์ โดยการฟื้นฟูอาชีพให้มีรายได้ที่มั่นคงและเพียงพอ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์การเกษตรเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) จำนวนสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งชำระหนี้ได้ตามกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐0 2) จำนวนสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) สหกรณ์มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อน จากหนี้ค้างชำระกับสหกรณ์ 2) สมาชิกสหกรณ์ที่มีหนี้ค้างชำระสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งมีเงินทุนหมุนเวียนในการ ประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพ และฟื้นฟูอาชีพ 3) สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพ เพียงพอต่อการส่งชำระหนี้ และใช้จ่ายในครัวเรือน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 120 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อย ละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอก งบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 750,000 บาท 750,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษ ในระยะเวลาที่ กำหนด และทำให้สมาชิกสหกรณ์เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปประกอบอาชีพ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการให้สินเชื่อแก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ - ไม่มี 8. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ - ไม่มี โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ ปีที่ 4 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่สหกรณ์ ให้สมาชิกกู้ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ทาง การเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก 2) เพื่อสนับสนุนสหกรณ์ให้มีเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในการให้บริการสมาชิก 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) สหกรณ์ที่กู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ร้อยละ 90 2) สมาชิกที่ได้รับเงินกู้มีรายได้เพิ่มขึ้นขั้นต่ำ อย่างน้อยร้อยละ 70 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) สหกรณ์สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำในการให้บริการสมาชิกมากขึ้น 2) ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้แก่สมาชิก และสะสมเงินออมในรูปทุนเรือนหุ้น 3) สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิต จากการได้รับเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้ปกติของ สหกรณ์ และต่ำกว่าแหล่งเงินทุนอื่น และสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพการเกษตร 4) กองทุนพัฒนาสหกรณ์สามารถช่วยเหลือสมาชิกในการลดต้นทุนการผลิต
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 121 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อย ละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอก งบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 3,600,000 บาท 3,600,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์เข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกร้อยละ 1 และให้บริการสมาชิกในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ลด ต้นทุนการผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพด้านการผลิตให้แก่สมาชิก และสะสมเงินออมในรูปทุนเรือนหุ้น 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการให้สมาชิกกู้ยืม สมาชิกได้รับเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้ปกติ ของสหกรณ์ และต่ำกว่าแหล่งเงินทุนอื่น และสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพการเกษตร โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สหกรณ์ใช้ในการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจ 2) ส่งเสริมให้สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงิน เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้สหกรณ์ มีความ พร้อมสามารถดำเนินธุรกิจในการให้บริการสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ สหกรณ์ทุกประเภทที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนย้อนหลังต่อเนื่อง 3 ปี และมีผลการดำเนินงาน ขาดทุนสะสม ย้อนหลัง ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) กองทุนพัฒนาสหกรณ์ สนับสนุนเงินกู้ให้แก่สหกรณ์ ในการดำเนินธุรกิจเพื่อฟื้นฟูผลการดำเนินงาน ได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 90 ของสหกรณ์ตามโครงการ 2) สหกรณ์ที่กู้เงินตามโครงการ ใช้เงินตรงตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 100 3) สหกรณ์ที่กู้เงินตามโครงการ มีผลการดาเนินงานดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1) สหกรณ์มีเงินทุนหมุนเวียนใช้ในการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจตามแผน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 122 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2) สหกรณ์มีสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การตลาด และการขยายปริมาณธุรกิจของ สหกรณ์ ในการให้บริการสมาชิก และมีผลการดำเนินงานดีขึ้น 3) ช่วยลดภาระต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ จากการได้รับเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า แหล่งเงินทุนอื่น 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 1,600,000 บาท 1,600,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษ ในระยะเวลาที่ กำหนด ทำให้มีสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การตลาด และการขยายปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกในราคาที่สูงกกว่าท้องตลาด สหกรณ์ลดภาระต้นทุนใน การดำเนินธุรกิจ และสหกรณ์มีปริมาณธุรกิจที่เพิ่มขึ้น โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1) เพื่อสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์นำไปให้สมาชิกกู้ประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ 2) เพื่อสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่สหกรณ์ สำหรับจัดหาสินค้ามาจำหน่ายให้สมาชิกหรือรวบรวมผลผลิต 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 1) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 4) สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 5) สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งชำระหนี้ได้ร้อยละ 100 2) สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น 3) จำนวนสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 123 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 4.1 ด้านสมาชิก ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้จากการประกอบอาชีพ ทำให้มีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 และออมเงิน ฝากไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ที่ได้จากสหกรณ์ 4.2 ด้านสหกรณ์ สหกรณ์สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำในการให้บริการสมาชิกมากขึ้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก การสะสมทุนเรือนหุ้น เงินฝากของสมาชิก และมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ ได้รับ ผลการ เบิกจ่าย ร้อยละ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (เงินนอกงบประมาณ) - ให้สหกรณ์กู้ยืม 6,600,000 บาท 6,600,000 บาท 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม สหกรณ์ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามโครงการพิเศษในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้มีสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การตลาด และการขยายปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์นำเงินกู้ กพส. ไปดำเนินการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกในราคาที่สูงกกว่าท้องตลาด นำไปจัดหาสินค้า มาจำหน่าย และให้สินเชื่อแก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ สหกรณ์และสมาชิกสามารถลดภาระต้นทุน และสหกรณ์มีปริมาณ ธุรกิจที่เพิ่มขึ้
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 124 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 125 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3.1 กิจกรรมของหน่วยงาน 1) กิจกรรมวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 สหกรณ์ในแม่ฮ่องสอน จัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 รำลึกถึง พระกรุณาธิคุณของบิดาแห่งการ สหกรณ์ และส่งเสริมพัฒนาระบบสหกรณ์ให้กับเข้มแข็งสร้างประโยชน์แก่ประชาชน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบหมาย ให้นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม งานวันสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2566 ที่ สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จํากัด อำเภอปาย จังหวัด แม่ฮ่องสอน เพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่ง การสหกรณ์ไทย อีกทั้งเพื่อส่งเสริม และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดและประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างชุมชนให้มีความเข็มแข็งนำไปสู่สังคมอยู่เย็น เป็นสุขและยั่งยืน โดยภายในงานมีพิธีมอบเกียรติบัตรแก่สหกรณ์ดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ได้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด กิจกรรมกีฬามหาสนุก นิทรรศการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของสมาชิกสหกรณ์ และนิทรรศการ ความรู้ด้านการสหกรณ์ เนื่องด้วยวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทุกปี เป็นวันสหกรณ์แห่งชาติ เป็นวันที่พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์ ทรงจัดตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ ที่ จ.พิษณุโลก เป็นสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2459 จนถึงปัจจุบันครบรอบ 107 ปี เพื่อช่วยเหลือชาวนาให้พ้นจากหนี้สิน อีกทั้งเพื่อให้สมาชิกช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีสหกรณ์มากกว่า 7,000 แห่งขณะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสหกรณ์รวม 41 แห่ง และกลุ่ม เกษตรกรอีก 4 แห่ง ภาพกิจกรรม วันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 126 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2) กิจกรรม Big Cleaning Day ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นายนรินทร์ศักดิ์ พนิตธรรมกูล สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกันจัดกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อทำความสะอาดปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณโดยรอบอาคารสำนักงาน และห้องปฏิบัติงานภายในสำนักงานฯ ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และที่ทำการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 - 4 กิจกรรม Big Cleaning Day ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 127 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3.) โครงการมอบไออุ่นให้น้องน้อยบนดอยสูง ประจำปีงบประมาณ 2566 วันที่ 10 ธันวาคม 2565 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีโครงการ มอบไออุ่นให้น้องน้อยบนดอยสูง ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี นายพิษณุ คล้ายเจตน์ดี ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจ ราชการที่ 15 และ 16 นายคีตวุฒิ นับแสง สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ และบุคลากร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 114 บ้านปายสองแง่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกับขบวนการสหกรณ์ ภาคเหนือ ส่วนราชการในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเอกชน และผู้ใหญ่ใจดีจากภาคส่วนต่างๆ จัดโครงการมอบไออุ่นให้น้อง น้อยบนดอยสูง ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยการรวบรวมและรับบริจาคเครื่องนุ่งห่มกันหนาว อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์ กีฬา ข้าวสาร อาหารแห้ง มอบให้แก่นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและ เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเอื้ออาทรต่อชุมชนตามหลักการสหกรณ์ รวมทั้งเป็นการบรรเทา ความเดือดร้อนของนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่บ้านปายสองแง่ เพื่อให้ขบวนการสหกรณ์ ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและ การเอื้ออาทรต่อชุมชนตามหลักการสหกรณ์ ภาพโครงการมอบไออุ่นให้น้องน้อยบนดอยสูง ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 114 บ้านปายสองแง่ ตำบล เวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 128 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4.) โครงการประชาสัมพันธ์การรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ปี 2566 ข้าวเฮงาะเลอทิญ HAAO LE TIN BROWN RICE "อร่อยดี มีคุณภาพ ข้าวมาตรฐาน GAP" กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการพัฒนาบรรจุภัณฑ์(สายคาด) และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับ ข้าวเฮงาะเลอทิญ ข้าวของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด ข้าวเฮงาะเลอทิญ เป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ปลูกตามวิถีชีวิตของชนเผ่าละว้าเป็นข้าวที่มีคุณประโยชน์มากที่สุดใน บรรดาข้าวที่ปลูกตามพื้นที่ชนบท
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 129 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3.2 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณาการติดตามแผนและผล การดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวมผลผลิตด้านการรับฝากเงิน และการให้บริการแก่ สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่กำหนดไว้ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนาย ทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ภาพกิจกรรม
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 130 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 131 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3.3 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ .
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 132 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 133 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 134 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3.4 รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ รางวัลหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระดับดีเด่น อันดับ 8
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 135 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 136 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงฐานะการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 หน่วย:บาท หมายเหตุ ปี 2566 ปี 2565 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินฝากคลัง 106,740.00 168,405.00 ลูกหนี้เงินยืมในงบประมาณ 0.00 32,988.00 เงินทดรองราชการ 5,000.00 5,000.00 ค้างรับจากรมบัญชีกลาง 98,942.00 106,242.00 รวมสินทรัพย์ หมุนเวียน 210,682.00 312,635.00 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง-สุทธิ 7,046,288.52 1,754,688.52 ครุภัณฑ์และอุปกรณ์สุทธิ 3,267,942.91 10,108,342.91 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 2 10,314,231.43 11,863,034.43 รวมสินทรัพย์ 10,524,913.43 12,175,666.43 หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า – ภายนอก 2,820.07 40,590.43 เจ้าหนี้อื่น 0.00 2,266.26 สาธารณูปโภคค้างจ่าย 3 14,509.31 0.00 ใบสำคัญค้างจ่าย 4 99,500.00 106,800.00 รวมหนี้สินหมุนเวียน 116,829.38 149,656.69 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินทดรองราชการรับจากคลัง 5,000.00 5,000.00 เงินรับฝากและเงินประกัน 5 106,740.00 168,405.00 รวม หนี้สินไม่หมุนเวียน 111,740.00 173,405.00 รวมหนี้สิน 228,569.38 323,061.69 ทุน ทุนของหน่วยงาน 52,349.63 52,349.63 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม 10,602,946.07 11,800,255.11 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายจากงบดำเนินงาน (358,951.66) - รวมส่วนของทุน 10,296,344.05 11,852,604.74 รวมส่วนของหนี้สินและทุน 10,524,913.43 12,175,666.43
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 137 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 หน่วย:บาท หมายเหตุ ปี 2566 ปี 2565 รายได้จากการดำเนินงาน บวก รายได้จากเงินงบประมาณ 10,408,003.77 9,895,833.63 รวม 10,408,003.77 9,895,833.63 รายได้จากแหล่งอื่น รายได้ระหว่างกันในกรมฯ 15,520.00 - รายได้ค่าธรรมเนียมอื่น 400.00 รายได้รับเงินกู้ 6.99 รายได้ค่าของเบ็ดเตล็ด - สกร.รับเงินนอก 129,975.00 43,200.00 ปรับเงินฝากคลัง 68,310.00 53,130.00 รายได้เหลือจ่าย 6,517.33 6,267.77 รายได้ไม่ใช่ภาษีอื่น 166.24 694.89 รวมรายได้จากแหล่งอื่น 220,488.57 103,699.65 รวมรายได้จากการดำเนินงาน 10,628,492.34 9,999,533.28 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 3,622,540.40 3,464,070.00 ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนอื่น 2,203,900.00 615,100.00 ตัดจำหน่าย Software 30,364.25 23,619.25 เงินเบิกเกินส่งคืน 71,303.00 141,665.00 โอนเงินให้ สกร. 68,310.00 53,130.00 โอนเงินรายได้ให้ บก. 6,683.57 7,369.65 ปรับเงินฝากคลัง 129,975.00 43,200.00 ค่าตอบแทนพิเศษ - 96,224.00 ค่าตอบเทนใช้สอยและวัสดุ 3,434,394.25 3,985,692.86 ค่าสาธารณูปโภค 271,829.51 273,943.08 ค่าใช้จ่ายงบกลาง 198,817.30 184,897.25 ค่าเสื่อมราคาอาคาร-สิ่งปลูกสร้าง 364,858.61 - ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ 584,468.10 858,434.96 รวมค่าใช้จ่าย 10,987,443.99 9,747,346.75 รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (385,951.66) 252,186.53
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 138 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 หมายเหตุที่ 1 สรุปนโยบายบัญชีที่สำคัญ งบการเงินรวมของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้จัดทำขึ้นตาม หลักการและนโยบายบัญชีภาครัฐ โดยการบัญชีของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดทำรายงานการเงินรวบรวมจากข้อมูล ในระบบ New GFMIS ขอบเขตของข้อมูลในรายงาน รายงานที่ปรากฏในรายงานรวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นของรัฐบาลในภาพรวมแต่ให้หน่วยงาน เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาและการรักษาและการบริหารจัดการให้แก่รัฐบาลภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และรวมถึง สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้น การรับรู้รายได้ รายได้จากเบิกงบประมาณรับรู้เมื่อได้รับอนุมัติคำขอเบิกจากรมบัญชีกลาง รายได้เงินนอกงบประมาณ รับรู้เมื่อเกิดรายได้ รายได้แผ่นดิน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย คำนวนจากราคาทุนของครุภัณฑ์ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณอายุการใช้งาน ของสินทรัพย์ ดังนี้ - อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 15 ปี - ครุภัณฑ์ต่างๆ 3 - 15 ปี ปี 2565 บาท หมายเหตุที่ 2 – สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วย อาคารและสิ่งปลูกสร้าง อาคารพักอาศัย 3,121,000.00 คสส.อาคารที่พักอาศัย 2,164,503.96 956,496.04 อาคารสำนักงาน 2,471,813.52 คสส. อาคาร สนง. 1,631,609.79 840,203.73 สิ่งปลูกสร้าง 1,453,475.00 คสส. สิ่งปลูกสร้าง 867,922.59 585,552.41 ครุภัณฑ์สำนักงาน ครุภัณฑ์สำนักงาน 1,033,829.08 คสส ครุภัณฑ์สำนักงาน 822,793.51 211,035.57 ครุภัณฑ์ยานพาหนะ 6,491,000.00 คสส ครุภัณฑ์ยานพาหนะ 5,402,952.36 1,088,047.64
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 139 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร คุรภัณฑ์ไฟฟ้า&วิทยุ 262,200.00 คสส ไฟฟ้า&วิทยุ 258,790.76 3,409.24 ครุภัณฑ์โฆษณา 468,680.00 คสส ครุภัณฑ์โฆษณา 437,147.04 31,532.96 ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 1,134,651.83 คสส คอมพิวเตอร์ 892,452.64 242,199.19 ครุภัณฑ์บ้านครัว 9,500.00 คสส ครุภัณฑ์บ้านครัว 9,499.00 1.00 ครุภัณฑ์ไม่ระบุฯ 204,912.00 คสส ครุภัณฑ์ไม่ระบุฯ 204,908.00 4.14 โปรแกรมคอมฯ 154,170.00 คสส-โปรแกรมคอมฯเงินฝากคลัง 63,679.86 90,490.14 รวม 4,048,972.06 หมายเหตุที่ 3 – ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้า 11,598.80 ค่าโทรศัพท์ 2,054.51 ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม 856.00 รวม 14,509.31 หมายเหตุที่ 4 – ใบสำคัญค้างจ่าย ประกอบด้วย ค่าจ้างเหมาบริการ – บุคคลภายนอกฯ 73,800.00 ค่าเช่าบ้าน 25,700.00 รวม 99,500.00 หมายเหตุที่ 5 – เงินรับฝากและเงินประกัน ประกอบด้วย เงินประกันสัญญาจ้างเหมาบริการ 106,740.00 รวม 106,740.00
รายงานประจำปีพ.ศ. 2566 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 140 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร