46| P a g e (4) การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียง โดยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรในแต่ละรอบการผลิต ของสมาชิก ผลที่ได้รับ : กลุ่มเกษตรฯ ปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร รายละ 3,000 - 4,500 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 157,000.- บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งสมาชิกสารถชำระเงินกู้ได้ครบถ้วน ตามรอบการผลิต สำหรับเงินทุนนี้ กลุ่มเกษตรกรฯ จะใช้หมุนเวียนในวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสมาชิก ที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป รอบการผลิต ข้าว ถั่วเหลือง จำนวนคน/เงิน ราย บาท ราย บาท 1. ปลูก 11 42,000.00 11 41,000.00 2. เก็บเกี่ยว 11 33,000.00 11 41,000.00 ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู 1. การเริ่มต้นและพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรได้เริ่มจากสิ่งที่กลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพ หรือปัญหา สมาชิกที่ต้องการแก้ไข มีทรัพยากรที่สามารถสนับสนุน/เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ 2. คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้ร่วมกันสรุป/สังเคราะห์ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ 3. การดำเนินธุรกิจ โครงการ/กิจกรรมต่างๆของกลุ่มเกษตรกรให้มีการสำรวจความต้องการ ของสมาชิกทุกครั้งและประเมินศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรว่ามีมากน้อยเพียงใดที่จะดำเนินการตาม ความต้องการของสมาชิก 4. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการกำหนดกิจกรรม/ โครงการและวิธีการนำโครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ 5. ประสานความร่วมมือบุคคลและหน่วยงานที่มีศักยภาพ/เชี่ยวชาญ/ประสบการณ์มาให้ความรู้ และ/หรือช่วยเหลือในส่วนที่กลุ่มเกษตรกรยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ 6. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพิจารณาแก้ไขและรายงานผลต่อมวลสมาชิกเพื่อรับทราบ รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ 7. เมื่อมีความสำเร็จต้องมีการยกย่อง/ชมเชย แก่ผู้ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทุกคนภาคภูมิใจในกลุ่มเกษตรกรของตนเอง
47| P a g e ⚫ ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์5 ปี(ปี 2562 – 2566) ซึ่งกำหนดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ในปี 2564 สหกรณ์ได้ดำเนินการงานตามแผนที่กำหนดได้แก่ 1. แผนงานด้านการเงิน สหกรณ์ได้ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมการออมตามแผนยุทธศาสตร์และการ เพิ่มหุ้นรายเดือนและการบริการเงินกู้แก่สมาชิก 2. แผนงานด้านสมาชิกและผู้ใช้บริการ ได้ดำเนินการตามโครงการรณรงค์เพิ่มสมาชิกใหม่ 3. แผนงานด้านกระบวนการภายใน ดำเนินการตามโครงการการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การบริหารจัดการสหกรณ์ การบริหารจัดการแผนงานของสหกรณ์และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 4. แผนงานด้านสังคมและขบวนการ ได้ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม ของขบวนการสหกรณ์ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ การจ่ายเงิน สวัสดิการค่าชดเชยการรักษาพยาบาลของสมาชิก การจ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือค่าสงเคราะห์ศพแก่สมาชิก และญาติสายตรงสมาชิกเสียชีวิต การจ่ายสวัสดิการจ่ายเงินสงเคราะห์เกี่ยวกับศพ และเงินสงเคราะห์สมาชิกและ ครอบครัว การจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การจ่ายเงินสวัสดิการทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก และการจ่ายเงิน สวัสดิการสมาชิกที่เกษียณอายุราชการ จากการผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ผ่านมาส่งผลให้ ในปีงบประมาณ 2564 สหกรณ์รับรางวัลคัดเลือก สหกรณ์ดีเด่นระดับจังหวัดประจำปี 2564 ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบทุนการศึกษาบุตรสมาชิก สหกรณ์ มอบเงินสวัสดิการสงเคราะห์ ศพ สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์จำกัด
48| P a g e ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 2562 – 2566) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของ สหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกและสังคม โดยกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้าแนะนำ ส่งเสริม ด้านการพัฒนาองค์กรและ ด้านการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงงานด้านการกำกับ ดูแล การดำเนินงานของสหกรณ์ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์มีการควบคุมการดำเนินงานตั้งแต่การกำหนดขั้นตอนการติดตามผลการดำเนินงานในแต่ละ แผนงาน/โครงการโดยมอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับฝ่ายจัดการ สหกรณ์ฯ มีการนำเสนอผลที่ได้จากการดำเนินงานในแต่ละโครงการ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำ ทุก เดือน เพื่อติดตามผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และร่วมกันพิจารณา ผลที่ได้จากการปฏิบัติงาน รวมทั้งสหกรณ์มีการร่วมมือ/เชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับสหกรณ์และ สถาบันอื่นๆ ส่งผลให้สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปี 2563 และผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ 17,880,508.33 บาท กิจกรรมอบรมสมาชิกให้ความรู้อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก
49| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ 1 แห่ง สมาชิกสามัญ 682 คน สมาชิกสมทบ 18 คน กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง สมาชิก 186 คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกสมทบ 1. สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด 682 18 2. กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน 90 - 3. กลุ่มเกษตรกรทำนาดอยเวียง 96 - 1. สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์ ๑. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นประจำทุก เดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระที่สำคัญ ได้แก่ ติดตามหนี้ค้างชำระของสมาชิก ติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง ติดตามแผน/ผลการดำเนินงานของสหกรณ์และ ร่วมหาหรือเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหาในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ของสหกรณ์ ๒. เข้าร่วมประชุมใหญ่ สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด ได้ดำเนินการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 (ปีบัญชี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2563) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 สหกรณ์ฯ จึง ไม่สามารถจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายใน 150 วันได้ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด มีกลุ่มสมาชิกจำนวน 30 กลุ่ม ด้วยสถานการณ์ COVID-19 สหกรณ์ฯ สามารถจัดประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ได้เพียง จำนวน 5 กลุ่ม โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้า ร่วมประชุมทุกครั้ง ที่ประชุมสหกรณ์แจ้งผลการดำเนินการของสหกรณ์ รับทราบปัญหาทางการเกษตร และ สำรวจความต้องการของสมาชิก 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 4.1 แนะนำช่วยเหลือสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขระเบียบของสหกรณ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสหกรณ์ การเกษตรขุนยวม จำกัด ปี พ.ศ. 2563 4.2 แนะนำแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีสหกรณ์จ่ายเงินคืนค่าหุ้นให้แก่สมาชิก จำนวน 14 ราย เป็น เงินจำนวน 96,200 บาท ซึ่ง ณ ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม สหกรณ์มีมูลค่าต่อหุ้นติดลบ 33.98 บาท ในปี 2564 สหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเรียกคืนเงินดังกล่าวจาก สมาชิก โดยได้รับเงินค่าหุ้นคืนจากสมาชิกบางส่วนแล้ว อำเภอ ขุนยวม
50| P a g e 4.3 ในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ได้ให้คำแนะนำระเบียบ คำแนะนำของนายทะเบียน เกี่ยวกับการประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน คณะกรรมการมีความเข้าใจและสหกรณ์ได้ปฏิบัติตามตามแนะนำ 5. แนะนำส่งเสริม ปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2563 สหกรณ์ฯ มีลูกหนี้ จำนวน 353 ราย เป็นเงินจำนวน 14,465,383 บาท และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกที่มีหนี้ค้างชำระ สหกรณ์ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามประกาศกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่อง การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2563 ส่งผลให้ สหกรณ์ขาดทุน 178,503 บาท สหกรณ์มีผลขาดทุนสะสมรวม 821,426 บาท เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ แนะนำที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ให้คณะกรรมการพิจารณา การให้สินเชื่อให้เหมาะสมกับสมาชิก วัตถุประสงค์การขอกู้ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะมีรายได้เพื่อนำมาชำระหนี้ ให้กับสหกรณ์ การติดตามการใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และการกำหนดแผนการติดตามเงินกู้ ตลอดจนการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพให้แก่สมาชิกที่มีหนี้ค้าง มีปัญหาด้านการเกษตรให้มี รายได้เพิ่มขึ้น • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์ 1. คณะกรรมการไม่ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ระเบียบหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ 2. สมาชิกบางรายของสหกรณ์ค้างชำระหนี้เป็นระยะเวลานาน 3. สมาชิกบางรายมีหนี้สินหลายทาง สหกรณ์จะได้รับชำหนี้เป็นลำดับท้ายสุด 4. กรรมการดำเนินการบางท่านมีความกระตือรือร้นในการบริหารงานสหกรณ์น้อย • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. ควรมีการจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อให้คณะกรรมการให้ความสำคัญใส่ใจ ในการศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ระเบียบหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ 2. มีการทำแผนติดตามหนี้ โดยให้คณะกรรมการอย่างน้อย 1 คน ร่วมออกติดตามหนี้กับเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ 3. สหกรณ์ควรมีการกำหนดช่วงเวลานัดพบปะกับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกรับทราบจำนวนหนี้และ ดอกเบี้ย ให้คำปรึกษาแนะนำข้อปัญหาในการชำระหนี้ การกำหนดสิทธิ์พิเศษหรือรางวัลให้กับสมาชิกที่ สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด 4. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เจ้าหน้าที่จาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทำงานร่วมกัน 2. กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเกษตรกร 3 เดือน 1 ครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมผู้รับผิดชอบเข้าร่วมประชุมเป็นบางครั้ง ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระที่สำคัญ ได้แก่ การติดตามการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แนวโน้มความสามารถชำระหนี้ของสมาชิก เป็นรายคน และร่วมหาหรือเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหาในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกร 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่
51| P a g e ปีบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน กลุ่มฯ สามารถปิดบัญชีได้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มฯ จึงไม่สามารถจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายใน 150 วันได้ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ -ไม่มีกลุ่มสมาชิก4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ แนะนำแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการตรวจสอบบัญชี สำหรับปีทางบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2548 ในที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบและหาแนวทางแก้ไข ให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย รับทราบและปฏิบัติตามตามแนะนำ 5. แนะนำส่งเสริม แนะนำให้คณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรช่วยกันทำหน้าที่ ตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตาม ระเบียบฯ • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์ 1. คณะกรรมการไม่ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร 2. การลงรายการบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน 3. กรรมการดำเนินการบางท่านมีความกระตือรือร้นในการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรเท่าที่ควร • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. คณะกรรมการควรได้รับความรู้เกี่ยวกับบัญชี ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร 2. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทำงานร่วมกัน 3. กลุ่มเกษตรกรทำนาดอยเวียง • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเกษตรกร 3 เดือน 1 ครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมผู้รับผิดชอบเข้าร่วมประชุมเป็นบางครั้ง ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระที่สำคัญ ได้แก่ การติดตามการใช้เงินกู้ของสมาชิกให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แนวโน้มความสามารถชำระหนี้ของสมาชิก เป็นรายคน และร่วมหาหรือเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหาในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกร 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ ปีบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน กลุ่มฯ สามารถปิดบัญชีได้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มฯ จึงไม่สามารถจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายใน 150 วันได้ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ -ไม่มีกลุ่มสมาชิก-
52| P a g e 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ แนะนำแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการตรวจสอบบัญชี สำหรับปีทางบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรับ-จ่ายและเก็บรักษาเงิน พ.ศ. 2548 ในที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบและหาแนวทางแก้ไข ให้คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย รับทราบและปฏิบัติตามตามแนะนำ 5. แนะนำส่งเสริม แนะนำให้คณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรช่วยกันทำหน้าที่ ตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตาม ระเบียบฯ • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์ 1. คณะกรรมการไม่ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร 2. การลงรายการบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน 3. กรรมการดำเนินการบางท่านมีความกระตือรือร้นในการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรเท่าที่ควร • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. คณะกรรมการควรได้รับความรู้เกี่ยวกับบัญชี ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร 2. มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการทำงานร่วมกัน
53| P a g e • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด ประเภทสหกรณ์ การเกษตร ที่ตั้งของสหกรณ์ ที่อยู่ : เลขที่ 362 หมู่ที่ 2 ตำบล ขุนยวม อำเภอ ขุนยวม จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์58140 ข้อมูลทั่วไป - จำนวนสมาชิก 700 คน - ทุนดำเนินงานของสหกรณ์ 26,567,698.69 บาท - ปริมาณธุรกิจ ปีบัญชี 31 ธันวาคม 2563 แยกตามประเภทของสหกรณ์ ได้แก่ 1) ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 9,800,259 บาท 2) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 15,579,546.28 บาท 3) ธุรกิจรวบรวมผลผลิต จำนวน 13,102,491.20 บาท 4) ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 13,342,353.29 บาท 5) ธุรกิจให้บริการ จำนวน 77,448.62 บาท - ผลผลิตที่รวมรวม ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, กระเทียม, ถั่วเหลือง ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของสหกรณ์ คือ สหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลายประเภท สมาชิกมี ความศรัทธาและเชื่อมั่นในการดำเนินงานของสหกรณ์ ถึงแม้สหกรณ์จะอยู่ในภาวะขาดทุนสะสม แต่มีสมาชิก ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 92.28 และมีสมาชิกนำเงินมาฝากกับสหกรณ์อย่าง ต่อเนื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ด้วยสหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลายประเภท มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 อัตรา และมีการแบ่งงาน มอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่สหกรณ์มีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ช่วยเหลือกันสามารถทำงานแทนกัน ได้ในบางตำแหน่ง ทำให้สมาชิกสามารถเข้ารับบริการได้รับการดูแลเบื้องต้นได้และต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่และ คณะกรรมการดำเนินการ ใช้จ่ายค่าใช้จ่ายของสหกรณ์อย่างประหยัดและเท่าที่จำเป็น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ของสหกรณ์ ชื่อสหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด
54| P a g e ประเภทกลุ่มเกษตรกร กลุ่มทำนา ที่ตั้งของกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ : เลขที่ 46 หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58140 ข้อมูลทั่วไป - จำนวนสมาชิก 90 คน - ทุนดำเนินงานของสหกรณ์ 221,517.51 บาท - ปริมาณธุรกิจ ปีบัญชี 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เพียงธุรกิจเดียว มีปริมาณธุรกิจทั้งสิ้น 874,787 บาท ผลการดำเนินงานมีผลกำไร 22,911.72 บาท ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มฯ ใช้ทุนดำเนินงานภายในในการดำเนินธุรกิจ สมาชิกให้ความสำคัญกับการสะสมทุนสำรอง ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ประชุมมีมติจัดสรรกำไร เข้าเป็นทุนสำรองเป็นประจำทุกปี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรคิดค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิกเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น สมาชิกมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร มีความรับผิดชอบในการชำระ หนี้แก่กลุ่มเกษตรกร จึงทำให้กลุ่มฯ มีหนี้ค้างชำระน้อยมาก กลุ่มเกษตรกรชาวนาเมืองปอน
55| P a g e ผลงาน/ความสำเร็จของ กลุ่มเกษตรกรทำนาดอยเวียง ประเภทกลุ่มเกษตรกร กลุ่มทำนา ที่ตั้งของกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ : เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ตำบล แม่เงา อำเภอ ขุนยวม จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์58140 ข้อมูลทั่วไป - จำนวนสมาชิก 96 คน - ทุนดำเนินงานของสหกรณ์ 234,286.51 บาท - ปริมาณธุรกิจ ปีบัญชี 30 มิถุนายน 2564 กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เพียงธุรกิจเดียว มีปริมาณธุรกิจทั้งสิ้น 488,770 บาท ผลการดำเนินงานมีผลกำไร 19,456.20 บาท ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มฯ ใช้ทุนดำเนินงานภายในในการดำเนินธุรกิจ สมาชิกให้ความสำคัญกับการสะสมทุนสำรอง ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่ประชุมมีมติจัดสรรกำไร เข้าเป็นทุนสำรองเป็นประจำทุกปี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรคิดค่าใช้จ่ายในการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิกเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น สมาชิกมีความศรัทธาและเชื่อมั่นในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร มีความรับผิดชอบในการชำระ หนี้แก่กลุ่มเกษตรกร จึงทำให้ไม่ต้องมีการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กลุ่มเกษตรกรทำนาดอยเวียง
56| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ 6 แห่ง สมาชิกสามัญ 1,469 คน สมาชิกสมทบ 79 คน กลุ่มเกษตรกร ......-..... แห่ง สมาชิก ........-...... คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกสมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 1007 - 2 สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านป่าไม้โป่งสา จำกัด 72 - 3 สหกรณ์ยางพาราสามหมอก จำกัด 86 - 4 สหกรณ์การเกษตรบ้านม้งขุนสาใน จำกัด 72 - 5 สหกรณ์การเกษตร ศชพ.คริสตจักรเมืองน้อย จำกัด 109 47 6 สหกรณ์การเกษตร ศชพ.บ้านห้วยตอง จำกัด 123 32 • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ 6 แห่ง 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ 6 แห่ง 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. แนะนำส่งเสริม ผลักดัน สหกรณ์ ดังนี้ - แนะนำ ส่งเสริม ผลักดัน การผสมปุ๋ยใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่ายของสมาชิก - แนะนำ ส่งเสริม ผลักดัน การส่งเสริมอาชีพเสริมแก่สมาชิกเพื่อเพิ่มรายได้ - แนะนำ ส่งเสริม การเชื่อมโยงการตลาดและอุปกรณ์ ระดับอำเภอ - แนะนำ ส่งเสริม ผลักดัน การจัดทำแผนกลยุทธ์ และติดตามทุกไตรมาส - แนะนำ ส่งเสริม การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงผลผลิตและ การตลาดทั่วไปและออนไลน์ - แนะนำ ส่งเสริม การให้บริการสมาชิกตามความต้องการที่แท้จริง - แนะนำ ส่งเสริม การบริหารจัดการแก่คณะกรรมการดำเนินงาน อำเภอปาย
57| P a g e • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สมาชิกบางรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เชื่อมั่น ศรัทธา ในตัวองค์กร ทำให้มีส่วนร่วมน้อย 2. สมาชิก คณะกรรมการบางแห่ง ขาดความเสียสละ ไม่มองประโยชน์โดยรวม 3. สมาชิกบางรายอยู่ห่างไกล มีแหล่งเงินทุนหลายทาง หนี้สินมีจำนวนมาก 4. คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่บางสหกรณ์ ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารงาน 5. สหกรณ์บางแห่ง มีเงินทุนไม่พอเพียง อาศัยแหล่งเงินทุนภายนอกจำนวนมาก 6. สหกรณ์บางแห่งมีหนี้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และมีหนี้ค้างเก่ายกมา จำนวนมาก 7. สหกรณ์บางแห่งขาดความรู้ในด้านการบริหารเงินทุน และการวิเคราะห์ต้นทุนของสหกรณ์ 8. คณะกรรมการสหกรณ์บางแห่งขาดความรู้ความเข้าใจ การวางนโยบาย ทิศทาง และการตลาด 9. ไม่มีตลาดในการรองรับผลผลิตทางการเกษตร และราคาสินค้าทางการเกษตรไม่แน่นอน พร้อมทั้งการคมนาคมยากลำบาก ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าของสหกรณ์สูง • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. แนะนำ สหกรณ์ ให้มีการจัดอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสหกรณ์ หรือกับทางหน่วยงาน ของรัฐ เพื่อให้เข้าใจถึงระบบของสหกรณ์ 2. แนะนำสมาชิกของสหกรณ์ให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์ และเน้นย้ำในเรื่องการ ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ 3. แนะนำให้สหกรณ์มีการระดมทุนภายในก่อนที่จะไปหาแหล่งเงินทุนภายนอก โดยส่งเสริมการออม การระดมหุ้นของสมาชิก 4. แนะนำให้สหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 5. แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานโดยยึดระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานอย่าง เคร่งครัด
58| P a g e • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประเภทสหกรณ์การเกษตร ข้อมูลทั่วไป - จำนวนสมาชิก 155 ราย แยกเป็น สมาชิกสามัญ 123 ราย สมาชิกสมทบ 32 ราย - ทุนดำเนินงานทั้งสิ้น จำนวน 10,051,931.41 บาท - ปริมาณธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 370,496.01 บาท ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 13,516,421.00 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 123,004.00 บาท ธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร ผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิ จำนวน 303,545.74 บาท สหกรณ์ได้รับการพัฒนา ที่เห็นเป็นรูปธรรม มีดังนี้ - ธุรกิจสินเชื่อ ในระหว่างปีสหกรณ์ให้เงินกู้ระยะสั้น จำนวน 13,516,421.00 บาท สูงกว่า เป้าหมายที่กำหนดไว้ 2.07 เท่า และลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดคิดเป็นร้อยละ 100 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์ได้รับการแนะนำส่งเสริมในการบริหารจัดการสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ตาม หลักเกณฑ์การพิจารณาการให้สินเชื่อ ดังนี้ 1. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ 2. ความสามารถในการชำระหนี้ 3. เงินทุน 4. หลักประกัน พร้อมทั้งการติดตามการใช้เงินของสมาชิกสหกรณ์เพื่อให้การใช้เงินกู้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ และก่อเกิดประโยชน์กับสมาชิกอย่างแท้จริง สหกรณ์การเกษตร ศชพ.บ้านห้วยตอง จำกัด
59| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ ๒ แห่ง สมาชิกสามัญ ๒๕๔ คน สมาชิกสมทบ - คน กลุ่มเกษตรกร - แห่ง สมาชิก - คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกสมทบ ๑ สหกรณ์การเกษตรพัฒนาปางมะผ้า จำกัด ๑๖๐ - ๒ สหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด ๙๔ - • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ๑. การปิดบัญชีและการประชุมใหญ่สามัญประจำปี สหกรณ์ ๒ แห่งที่ดำเนินงานคือสหกรณ์การเกษตรพัฒนาปางมะผ้า จำกัด และสหกรณ์ ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด สามารถดำเนินการปิดบัญชีและประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้ตาม กฎหมาย สามารถดำเนินการปิดบัญชีและประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้ภายใน ๑๕๐ วัน ทั้ง ๒ แห่ง ๒. การรักษามาตรฐานสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร การรักษามาตรฐานสหกรณ์ จำนวน ๑ แห่ง ๓. การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งและยกระดับชั้นสหกรณ์ สหกรณ์ชั้น ๒ จำนวน ๒ สหกรณ์ ๔. สหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง ไม่มีข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตร้ายแรง มีผลการดำเนินงานกำไร ๕. เผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจ สหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ ๖. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการ • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. คณะกรรมการยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดทำแผนธุรกิจ 2. สหกรณ์มีเงินทุนไม่เพียงพอ ไม่มีตลาดรับซื้อผลผลิตของสมาชิกในราคาที่สมาชิกพึงพอใจ 3. คณะกรรมการขาดความรู้ในการบริหารจัดการ ขาดความรู้เรื่องระบบสหกรณ์(มีการถือหุ้นน้อย, ทำธุรกิจกับสหกรณ์ในปริมาณน้อย) ๔. การบริหารงานภายในองค์กร คณะกรรมการและฝ่ายจัดการยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน ๕. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบางส่วนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในฐานะเจ้าของกลุ่มเกษตรกร ๖. สภาวะราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น ๗. สหกรณ์บริการไฟฟ้าพลังน้ำ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตลอดปี เพราะขาดแคลนน้ำในการผลิต กระแสไฟฟ้า เนื่องจากเกษตรกรแย่งน้ำกันใช้ในการเพาะปลูก อีกทั้งมีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมี ปริมาณการใช้ลดลง อำเภอ ปางมะผ้า
60| P a g e ๘. สหกรณ์ไม่มีรายได้เพียงพอในการจ้าพนักงานบัญชี เพราะจะทำให้กำไรลดลงหรือขาดทุน ต้อง เพิ่มปริมาณธุรกิจให้มากพอที่จะสร้างรายได้เพียงพอในการจ่ายค่าจ้างพนักงาน ประกอบกับไม่มี คนในพื้นที่ ที่มีความรู้พอจะสามารถทำบัญชีได้ • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา ๑. อบรมให้ความรู้เรื่องสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้แก่สมาชิก ๒. อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ในเรื่องบทบาท อำนาจหน้าที่ และในด้านการ ปฏิบัติงาน ๓. ชี้แจง/ให้การอบรมแก่คณะกรรมการและฝ่ายจัดการในเรื่องความสำคัญของข้อบังคับ และเรื่อง ระเบียบของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ๔. ชี้แจงให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เห็นข้อดีของการรวมกลุ่ม การรวมหุ้นและการดำเนิน ธุรกิจร่วมกัน ๕. ส่งเสริมการใช้หลักธรรมาภิบาลและการควบคุมภายในแก่สหกรณ์ ๖. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถ ชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ได้ ลดปัญหาหนี้ค้าง ๗. กลุ่มเกษตรกรควรได้รับการแนะนำส่งเสริมด้านบัญชีจากทางราชการ • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด ไม่มีข้อบกพร่องหรือข้อสังเกตร้ายแรงการดำเนินงานที่ ผ่านมาสหกรณ์มีผลการดำเนินงานกำไร สหกรณ์สามารถรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และรักษาระดับความ เข้มแข็งของสหกรณ์ได้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ๑. การสร้างความคุ้นเคยและแสดงความจริงใจในการทำงานกับสหกรณ์ ทำให้เกิดการยอมรับ ความเชื่อถือในการเข้าไปแนะนำส่งเสริม ๒. การเข้าไปแนะนำส่งเสริมและตรวจเยี่ยมสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ๓. การทราบข้อมูลพื้นฐาน จุดเด่น จุดด้อยของสหกรณ์ ๔. การติดตามสภาวการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแนะนำส่งเสริม ภายใต้กรอบข้อกฎหมายสหกรณ์ ชื่อสหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด
61| P a g e 1) การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ ๒) การประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์
62| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ 7 แห่ง สมาชิกสามัญ 3,๘๕๘ คน สมาชิกสมทบ ๓๒๕ คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน สมาชิก จำนวน สมาชิกสมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 1,103 296 ๒ สหกรณ์การเกษตรหมุนเวียนแม่สะเรียง จำกัด 110 - ๓ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงอมพาย จำกัด 100 - ๔ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด 248 - ๕ สหกรณ์ออมทรัพย์ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแม่สะเรียง จำกัด 192 - ๖ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุ่งแพม จำกัด 1,222 22 ๗ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่สะเรียง จำกัด 890 6 • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณาการติดตามหนี้ และ การให้สินเชื่อแก่สมาชิกสหกรณฺ 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกำหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. แนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์ภาคการเกษตรมีหนี้ค้างที่สูงกว่าสหกรณ์นอกภาคเกษตร 2. การรวมรวมผลิตผลที่มีราคาผันผวน ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. การติดตามหนี้ค้าง ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. การรวบรวมผลิตผลที่ให้มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของด้านการลงทุน อำเภอ แม่สะเรียง
63| P a g e • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 314 หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์0-5368-1941 , 088-2633462 โทรสาร 0-5368-1941 จดทะเบียนวันที่ 24 มกราคม 2520 ปัจจุบันมีสมาชิก 1,400 คน (แยกเป็นสมาชิกสามัญ 1,101 คน สมาชิกสมทบ 299 คน คณะกรรมการ ดำเนินการจำนวน 9 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 2 คน ฝ่ายจัดการจำนวน 7 คน ) ผลการดำเนินงาน ย้อนหลัง 3 ปี ปีบัญชีสิ้นสุด 3๐ มิถุนายน 2562 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ (851,963.46) บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 3๐ มิถุนายน 2563 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 40,311.85 บาท ปีบัญชีสิ้นสุด 3๐ มิถุนายน 256๔ กำไร(ขาดทุน) สุทธิ (๒,๖๕๘๓๗๒.๘๔) บาท พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ เป้าหมายการพัฒนา : ส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการ ดำเนินงานของสหกรณ์ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการ ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและชุมชน เช่น การรวบรวมและแปรรูปผลผลิต การตลาด การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1.ต้นน้ำ คือ สมาชิกสหกรณ์ที่ปลูกกระเทียมให้สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด การเพิ่มคุณค่าต้นน้ำ จะเห็นได้ว่าเริ่มตั้งแต่การเตรียมปลูกสหกรณ์เน้นที่การผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP ซึ่งเป็น มาตรฐานเกษตรปลอดภัยคือปลอดภัยทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค สร้างคุณค่าให้กับผลผลิต สร้างความแตกต่างจาก กระเทียมแหล่งอื่นๆ เป็นจุดเด่นในการขาย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ได้ โดยมีโครงการอบรมการ ผลิตกระเทียมมาตรฐาน GAP ให้แก่สมาชิกเป้าหมาย 115 คน ทั้งนี้สหกรณ์มีแผนในการบริการเทคโนโลยี อุปกรณ์ใช้ในการปลูก ดูแลรักษา เช่น รถไถพรวน โดรน เครื่องปลูกกระเทียมหน่วยงานที่บูรณาการตาม ขั้นตอนและแผนธุรกิจได้แก่ 1.การจัดอบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการรับรองมาตรฐาน GAP (สหกรณ์ ร่วมกับ สำนักงานสหกรณ์ จังหวัด , กรมส่งเสริมเกษตร และศวพ.จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กรมวิชาการเกษตร) ) 2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหกรณืในการบริหารจัดการ (สหกรณ์ร่วมกับ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด แม่ฮ่องสอน) 3.สนับสนุนสินเชื่อให้แก่สมาชิกสหกรณ์ (สหกรณ์ร่วมกับ กบส.สนง.สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน) 4.จัดหาปัจจัยการผลิตที่ได้มาตรฐานและตามความต้องการของสมาชิก (สหกรณ์ร่วมกับ กบส.สนง. สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด
64| P a g e 5.วางแผนการผลิต การติดตามการผลิต เพื่อการแนะนำส่งเสริมสมาชิกสหกรณ์ผลิตที่ได้มาตรฐาน (สหกรณ์ร่วมกับพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมเกษตร ชลประทาน) 2.กลางน้ำ คือ สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด รับผลผลิตกระเทียมมาจากสมาชิกเพื่อ แปรรูปเป็นกระเทียมผง กระเทียมแคปซูล การเพิ่มคุณค่ากลางน้ำ ในการรวบรวมผลผลิตกระเทียม โดยการ ประสานกับสมาชิกในวันที่จะส่งมอบผลผลิต การรับซื้อผลผลิตในราคาสูงกว่าตลาด (โครงการแทรกแซงราคา) และในรายที่ปลูกมาตรฐาน GAP สมาชิกจะได้รับราคาค่าผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมและสูงกว่าการปลูกแบบ ทั่วไป มีสถานที่เก็บ พร้อมกับปริมาณผลผลิต การเพิ่มคุณค่าด้วยการแปรรูปกระเทียม เป็นกระเทียมผง กระเทียมแคปซูล กระเทียมอัดเม็ด ภายใต้มาตรฐานโรงงาน GMP และเครื่องหมาย อย. และฮาลาล ขั้นตอนการวางแผนการบริหารจัดการและ การดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1.วางแผนการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสหกรณ์ -การวางแผนการผลิต -การจัดการการบูรณาการแบบมีส่วนร่วม -การจัดการทรัพยากร และอุปกรณ์ -การจัดการการตลาด 2.การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรเพื่อความเข้มแข็งของสหกรณ์ - ธุรกิจรับเงินฝาก - ธุรกิจสินเชื่อ - ธุรกิจจัดหาปัจจัยการผลิต - ธุรกิจรวบรวมผลิตผลทางการเกษตร - ธุรกิจแปรรูป - ธุรกิจให้บริการ 3.ปลายน้ำ คือ ผู้บริโภค ในส่วนของปลายน้ำ สหกรณ์ได้มีการบริหารเพิ่มคุณค่าโดยการ เปรียบเทียบราคากับคู่แข่งขันเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม การเพิ่มคุณค่าการตลาดและการขาย โดยการทำ กิจกรรม ได้แก่การเจรจาการขาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ และให้บริการที่ดีกับผู้บริโภค ช่องทางในการการตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต สหกรณ์ร่วมกับ,กพส. สำนักงานสหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 9 และแนวทางการดำเนินงานได้แก่ 1. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นศูนย์กลางในการตกลงซื้อหรือขายสินค้าเกษตร - กระเทียมแห้ง - กระเทียมแปรรูป
65| P a g e 2. สถานพยาบาลในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ตลาดออนไลน์ และ-การตลาดออฟไลน์ 4. ซุปเปอร์มาเก็ตของสหกรณ์ 5. ตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์กระเทียมแปรรูปภายใต้แบรนด์ “ใจกระเทียม” ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
66| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ 5 แห่ง สมาชิกสามัญ 2,284 คน สมาชิกสมทบ 685 คน กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง สมาชิกสามัญ 114 คน สมาชิกสมทบ - คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิก สมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 1,454 473 ๒ สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 221 184 ๓ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 249 28 ๔ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 259 - ๕ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 101 - ๖ กลุ่มเกษตรกรทำนาแม่ลาน้อย 74 - ๗ กลุ่มเกษตรกรทำนาแม่ลาหลวง 40 - • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสหกรณ์ 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณาการ ติดตามแผนและผลการดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวม ด้านการรับฝาก เงินที่ให้บริการแก่สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่กำหนดไว้จำนวน 3 แห่ง (1.สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 3. สหกรณ์โครงการ ธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด) ไม่สามารถจัดการประชุมใหญ่ จากสถานการณ์ โควิด-19 จำนวน 2 แห่ง (1.สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด) 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. แนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ 6. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ทำประชาสัมพันธ์พร้อมหาตลาดใหม่ • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรเมื่อดำเนินการนัดหมายได้ 2. ไม่สามารถจัดการประชุมใหญ่ จากสถานการณ์ โควิด-19 3. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 4. แนะนำส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจ เรียกศรัทธาของสมาชิกให้มาร่วมดำเนินธุรกิจ สร้าง ความเชื่อมั่นต่อสมาชิก อำเภอ แม่ลาน้อย
67| P a g e • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีหนี้ค้างชำระ 2. ราคาผลิตผลทางการเกษตรมีความผันผวน ส่งผลต่อการรวบรวม ทำให้พ่อค้าคนกลางมีบทบาทใน การรวบรวม และส่วนแบ่งทางการตลาด 3. ขาดอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น รถโม่ข้าวโพด , ไซโลเก็บข้าวโพด 4. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรไม่มาดำเนินธุรกิจกับกลุ่มฯ ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในกลุ่มเกษตรกร ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. การติดตามหนี้ค้าง ให้แยกอายุหนี้ ตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ เกิน 10 ปี แล้วดำเนินการวางแผน การติดตามหนี้รวมถึงการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง 2. การรวบรวมผลิตผลที่ให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่มาของรายได้ และรายจ่าย รวมถึงวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการ ดำเนินงานของสหกรณ์ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการ ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปร รูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สหกรณ์ดำเนินการรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2,202.51 ตัน จำนวนเงิน 15,572,408.47 บาท จากปริมาณผลผลิตในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งหมด จำนวน 71,623 ตัน (ข้อมูล: จากสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอนปีการผลิต 63/64) โดยดำเนินการดังนี้ ต้นน้ำ ขั้นตอนขบวนการดำเนินการ 1. เสนอโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ต่อที่ประชุม คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ 3. ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อชี้แจงโครงการ สำรวจ พื้นที่การเพาะปลูก 4. ประชุมผู้นำกลุ่ม : เพื่อวางแผนการผลิต การรวบรวม 5. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนแต่ละขบวนการผลิต โดยใช้เงินทุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์โครงการ พิเศษ และเงินทุนของสหกรณ์ 6. จัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก : เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช/เคมีการเกษตร 7. จัดทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการกับสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด
68| P a g e กลางน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. วางแผนการจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต 2. ติดต่อประสานงานกับร้านค้าด้านการวางแผนการจัดซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกัน 3. คณะอนุมกรรมการโครงการตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน ปลายน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนในการดำเนินงาน 2. การตลาด : ประสานงานพันธมิตรด้านการตลาด บริษัทเอกชนทั่วไป กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ 3. คุณภาพสินค้า: ปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้ตามเกรด มาตรฐาน โดยการอบลดความชื้น ควบคุม สิ่งเจือปน 4. ตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาด : ดูแลรักษาอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน เช่น เครื่องชั่ง รถตัก เครื่องอบลดความชื้น เครื่องเย็บกระสอบ เครื่องบด พัดลมอุตสาหกรรม 5. เตรียมสถานที่รวบรวม : ตรวจเช็คโรงคลุม ลานตาก ถนนเข้า ออก ไฟฟ้ารอบสถานที่รวบรวม และทางเข้าออก 6. ประชาสัมพันธ์ : ประชาสัมพันธ์ช่องทางอิเลคทรอนิกส์ เว็ปไชค์ ไลค์ ที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ประชุมหัวหน้าส่วน ประชุมพิจารณาอนุมัติโครงการ รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประชุมกลุ่มสมาชิกเป้าหมาย ประชุมผู้นำกลุ่ม (หัวจุดส่งเสริม รวบรวมข้าวโพด) จัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่าย
69| P a g e รวบรวมผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
70| P a g e ประกอบด้วย : สหกรณ์ 3 แห่ง สมาชิกสามัญ 855 คน สมาชิกสมทบ 171 คน กลุ่มเกษตรกร - แห่ง สมาชิก - คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิก สมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 611 171 2 สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 108 - 3 สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด 136 - • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริม และแก้ไขปัญหาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์ได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์มากขึ้น 2. สหกรณ์ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคภายในและภายนอกของสหกรณ์ 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. สหกรณ์สามารถนำผลการแนะนำส่งเสริมไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสหกรณ์ให้มีการ บริหารงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. คณะกรรมการของสหกรณ์บางแห่งยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารงานในระบบสหกรณ์ 2. คณะกรรมการของสหกรณ์บางแห่งค่อนข้างเป็นคนมีอายุ ทำให้การบริหารงานของสหกรณ์มีความ ล่าช้า • ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. แนะนำให้คณะกรรมการสหกรณ์มีการจัดอบรม หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสหกรณ์ เพื่อให้มี ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ 2. แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานโดยยึดระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินอย่างเคร่งครัด 3. แนะนำให้สหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อำเภอ สบเมย
71| P a g e • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผลงานความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด สร้างคนกับสิ่งแวดล้อมอยู่กันแบบ เกื้อกูล ดำเนินการธุรกิจ 4 ด่าน ประกอบด้วย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ภาชนะจากธรรมชาติ (กาบหมาก) และ ธุรกิจรับฝากเงินออมทรัพย์ เดิมทำไร่แบบ หมุนเวียนต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปลูกพืชผักเมืองหนาว ฟักทอง เสาวรส และไม้ให้ผลชนิดยืนต้น เช่น อโวคาโด ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงเข้ามาขยายผลในพื้นที่ภายใต้ แนวทางการรักษาป่า ไม่เผาไม่บุกรุกทำลาย พร้อมสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจในร่ม เงาต้นไม้ใหญ่ เช่น กาแฟ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกต้นหมากเพื่อจำหน่ายลูกและนำกาบ หมากมาผลิตเป็นภาชนะ เช่นถ้วย ชาม สำหรับใส่อาหาร แทนการเอาไปเผาสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ลูกหมากมีตลาดรองรับที่แน่นอนเนื่องจากสหกรณ์อยู่ใกล้กับศูนย์อพยพชาวพม่าที่นิยมบริโภ คหมาก อีกทั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์มาอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด และร่วมกันวางแผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด ควบคู่การพัฒนาและปรับปรุง กระบวนการคิดการออกแบบการผลิต การแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีและ นวัตกรรมให้โดดเด่น สหกรณ์การเกษตรพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด จุดเด่นของสหกรณ์ คือการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร สมาชิกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพืชหลักที่เกษตรกร ปลูกประกอบด้วย ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง เสาวรส กาแฟ ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้การดำรงชีวิตแบบอยู่ป่าไม้ ได้อย่างสมดุล และนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัด แม่ฮ่องสอน หรือสบเมยโมเดล “คนอยู่กับป่า” ได้เป็น อย่างดี
72| P a g e โครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ในรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ระหว่าง ร้านค้าสหกรณ์และสหกรณ์ผู้ผลิต กลุ่มเกษตรกร สมาชิกเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง 2. เพื่อการขยายผลแนะนำ ส่งเสริม พัฒนาการดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ ไปยังสหกรณ์ กลุ่ม เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เป้าหมาย สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 2. ผลการดำเนินงาน : สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินการซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ ระหว่างร้านค้าสหกรณ์และสหกรณ์ผู้ผลิต กลุ่มเกษตรกร สมาชิกเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องมีการพัฒนาการ ดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ มีสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรสมาชิก เครือข่ายผู้ผลิต ดังนี้ 1) สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2.) สหกรณ์โครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด 3.) สหกรณ์โครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด 4. ) สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด 5.) กลุ่มเตรียมสหกรณ์แม่สามแลบ 6.) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 7.) สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง จำกัด ประเด็น / หัวข้อการประชุม 1. การดำเนินงานตามโครงการฯ ของสหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 2. ผลการดำเนินงานของซูเปอร์มาร์เก็ต 3. ผลผลิต/สินค้าที่จะนำมาจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1.คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาการดำเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ใน รูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ต 2.เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรเกษตรผู้ผลิตและร้านสหกรณ์ ไปยัง สหกรณ์อื่น ๆ จำนวน 9 สหกรณ์ ผลกำรปฏิบัติงำน/โครงกำรตำมแผนปฏิบัติงำน และงบประมำณรำยจ่ำย ประจ ำปี พ.ศ. 2564
73| P a g e ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ได้ขับเคลื่อนในการจำหน่ายสินค้า ณ จุดจำหน่ายที่สหกรณ์และจำหน่ายทางออนไลน์ “กลุ่มกาดแม่ฮ่องสอน”และกระจายไปถึงสหกรณ์แต่ละอำเภอ และได้เชื่อมโยงกับเครือข่ายโรงพยาบาลใน อำเภอสบเมย และอำเภอใกล้เคียง ในการส่งผักจากซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นรายสัปดาห์ ดังนี้ 1. )สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด : ถั่วเขียว ถั่วแดง 2. )สหกรณ์โครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด : ข้าว กข.21 ข้าวเหนียวดำ ข้าวเงาะเลอทีน 3. )สหกรณ์โครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด : พืชผักเมืองหนาวตามฤดูกาล อโวคาโด 4. ) สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด : พริกกระเหรี่ยง กาแฟ ฟักทอง ฟักทองจิ๋ว บัตเตอร์นัท มะละกอ เสาวรส 5.) กลุ่มเตรียมสหกรณ์แม่สามแลบ : มะเขือเทศเชอรี่ มะนาวแป้นพิจิตร มะนาวแป้นอำไพ ไผ่หวาน 6.) สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด : กระเทียมมัดจุก กระเทียมผง กระเทียมแคปซูล 7. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง จำกัด : เสาวรส บัตเตอร์นัท 8.) สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด : ข้าวไรท์เบอรี่ ไข่ไก่ ปัญหา/อุปสรรค การประชุมจัดอยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด ทำให้การดำเนินงานติดขัดพอสมควร แนวทางแก้ไข จัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อติดต่อสื่อสาร และส่งสินค้า 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ
74| P a g e 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจ เช่น ในธุรกิจสินเชื่อเพื่อให้ สมาชิกกู้ยืม จัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวบรวมผลผลิต และเพื่อลงทุนในทรัพย์สิน 2. ส่งเสริมให้สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรมีสภาพคล่องทางการเงิน เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ให้สหกรณ์มีความพร้อมสามารถดำเนินธุรกิจในการให้บริหารสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการดำเนินธุรกิจสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรให้ให้มีความเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันได้ด้วยการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป้าหมาย 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. ผลการดำเนินงาน : 2.1 การบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วงเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ที่ได้รับจัดสรรจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น 23 ล้านบาท แยกเป็นโครงการปกติ จำนวน 5 สัญญา เป็นเงิน 7 ล้านบาท โครงการพิเศษ 6 โครงการ จำนวน 14 สัญญา เป็นเงิน 16 ล้านบาท ดังนี้ แผนเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการปกติ จำนวน 5 สัญญา ที่ สหกรณ์ วัตถุประสงค์ วงเงินจัดสรร (ล้านบาท) แผนการเบิก 1. สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด รวบรวมผลผลิต 1.5 ก.พ.-64 2. สหกรณ์การเกษตร ศพช..ละอูบพัฒนา จำกัด จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 0.5 ก.พ.-64 3. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด รวบรวมผลผลิต 2 ส.ค.-64 4 สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 2 ก.พ.-64 5 สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด ให้สมาชิกกู้ยืม 1 ส.ค.-64 รวม 3 แห่ง จำนวน 5 สัญญา 7
75| P a g e แผนเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการพิเศษ จำนวน 6 โครงการ 14 สัญญา เป็นเงิน 16 ล้านบาท ที่ ชื่อโครงการ จำนวน (สัญญา) วงเงินจัดสรร (ล้านบาท) 1. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ (ปีที่ 2) 3 5.4 2. โครงการสนับสนุนเงิน กพส. ให้แก่สหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและโครงการหลวง 2 1 3. โครงการสนับสนุนการเข้าถึงแห่งเงินทุนของสหกรณ์ปีที่ 5 4 4.9 4. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ 3 2.4 5. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal 1 2 6. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพสมาชิกสหกรณ์ 1 0.3 รวม 14 16 2.2 จัดประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 5 ครั้ง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ครั้งที่ 5/2564 เมือวันที่ 7 กันยายน 2564 ผลการเบิกจ่ายเงินกู้กพส.โครงการปกติ จำนวน 5 สัญญา เป็นเงิน 7 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์เบิก แผนการเบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.แม่สะเรียง จก. 1.50 1.50 ก.พ.-64 20-เม.ย.-64 รวบรวมผลผลิต 2 สกก.ละอูบพัฒนา จก. 0.50 0.50 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 3 สกก.เมืองปาย จก. 2.00 2.00 ก.พ.-64 11-ม.ค.-64 รวบรวม 4 สกก.เมืองปาย จก. 2.00 2.00 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 5 สกก.แม่สะเรียง จก. 1.00 1.00 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น 7.00 7.00
76| P a g e ผลการเบิกจ่ายเงินกู้กพส.โครงการพิเศษ จำนวน 10 สัญญา เป็นเงิน 10.7 ล้านบาท 1. โครงการสนับสนุนเงิน กพส. ให้แก่สหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการหลวง จำนวน 1 สัญญา เป็นเงิน 0.5 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์ เบิก แผนการ เบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.โครงการธนาคารอาหารชุมชน บ้านแม่ปาง จก. 0.50 0.50 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 2 สกก.โครงการหลวงแม่ลาน้อย จก. 0.50 ยกเลิก ส.ค.-64 จัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวมทั้งสิ้น 1.0 0.50 2.โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์จำนวน 2 สัญญา เป็นเงิน 3.6 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์ เบิก แผนการ เบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ ขอกู้ (ล้าน บาท) วันที่ 1 สกก.แม่ลาน้อย จก. 1.8 1.80 พ.ค.-64 23-มิ.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม 2 สกก.ศชพ.ละอูบพัฒนา จก. 1.8 1.80 พ.ค.-64 23-มิ.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม 3 สกก.โครงการหลวงแม่ลาน้อย จก. 1.8 ยกเลิก ให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น 5.40 3.60 3.โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจสหกรณ์จำนวน 2 สัญญา เป็นเงิน 1.6 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์เบิก แผนการ เบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.ขุนยวม จก. 0.8 ยกเลิก ธ.ค.-63 รวบรวมผลผลิต 2 สกก.เมืองปาย จก. 0.8 0.80 ธ.ค.-63 11-ม.ค.-64 รวบรวมผลผลิต 3 สกก.แม่สะเรียง จก. 0.8 0.80 ธ.ค.-63 19-ม.ค.-64 รวบรวมผลผลิต รวมทั้งสิ้น 2.40 1.60 4.โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์เบิก แผนการ เบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.เมืองปาย จก. 2.00 ยกเลิก ส.ค.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น 2.0 -
77| P a g e 5.โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพสมาชิกสหกรณ์1 สัญญา 0.3 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์เบิก แผนการเบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.ขุนยวม จก. 0.30 0.30 ส.ค.-64 14-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น 0.3 0.30 6.โครงการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุน ปี2560-2564 จำนวน 4 สัญญา เป็นเงิน 4.7 ล้านบาท ที่ รายชื่อสหกรณ์ วงเงินที่ได้ สหกรณ์เบิก แผนการเบิก สก.เบิก วัตถุประสงค์ที่ขอกู้ (ล้านบาท) วันที่ 1 สกก.หมู่บ้านป่าไม้โป่งสา จก. 1.2 1.0 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม 2 สกก.บ้านม้งขุนสาใน จก. 0.2 0.2 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม 3 สกก. ศชพ.บ้านห้วยตอง จก. 1.5 1.5 ส.ค.-64 7-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม 4 สกก.หมุนเวียนแม่สะเรียง จก. 2 2 ส.ค.-63 7-ก.ย.-64 ให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น 4.90 4.70 ส่งคืนวงเงินโครงการพิเศษ ที่ ชื่อโครงการ วงเงินที่ ได้รับจัดสรร (ล้านบาท) วงเงินที่เบิก (ล้านบาท) วงเงินส่งคืน (ล้านบาท) 1. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ (ปีที่ 2) 5.4 3.6 1.8 2. โครงการสนับสนุนเงิน กพส. ให้แก่สหกรณ์ในพื้นที่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการหลวง 1 0.5 0.5 3. โครงการสนับสนุนการเข้าถึงแห่งเงินทุนของสหกรณ์ปีที่ 5 4.9 4.7 0.2 4. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ 2.4 1.6 0.8 5. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมอาชีพในยุค New Normal 2 0 2 6. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้และฟื้นฟูอาชีพ สมาชิกสหกรณ์ 0.3 0.3 0 รวม 16 10.7 5.3
78| P a g e 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการปกติ จำนวน 3 สหกรณ์ รวม 5 สัญญา เป็นเงินจำนวน 7 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลผลิต จัดหาสินค้า มาจำหน่าย และให้สมาชิกกู้ยืม 2. สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการ พิเศษ 6 โครงการ จำนวน 10 สหกรณ์ รวม 10 สัญญา เป็นเงิน 10.7 ล้านบาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ส่งเสริมให้สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรมีสภาพคล่องทางการเงิน เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ให้สหกรณ์มีความพร้อมสามารถดำเนินธุรกิจในการให้บริหารสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง 2. ส่งเสริมพัฒนาการดำเนินธุรกิจสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรให้ให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขัน ได้ด้วยการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค - 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2564 21 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
79| P a g e ประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
80| P a g e ประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ฯ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
81| P a g e 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1.เพื่อซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ตามระบบการตรวจการสหกรณ์แก่ ผู้ตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนดำเนินการตรวจการ สหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 2. เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ นำเสนอประเด็น/ปัญหาผลการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมาต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการตรวจการสหกรณ์และข้อเสนอแนะแก่สหกรณ์ร่วมกัน เป้าหมาย ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 20 ราย 2. ผลการดำเนินงาน : การจัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 1. กลุ่มตรวจการสหกรณ์เขียนโครงการประชุมฯ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ 2. แจ้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ร่วมกันในหัวข้อการประชุม ซึ่งกำหนดให้มีการชี้แจง/พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ (1) การชี้แจงระบบการตรวจการสหกรณ์ (2) ผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพสหกรณ์ (3) ผลการตรวจการและข้อสังเกตจากการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมา (4) แนวทางการตรวจการสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5) ข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบในการตรวจการสหกรณ์ (6) การจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจการสหกรณ์ (Action plan) (7) วิธีการรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ 4. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้ตรวจการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์ เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1.ผู้ตรวจการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ตามระบบการตรวจการสหกรณ์และนำไปใช้ในการตรวจการสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสังเกตของ สหกรณ์มีแนวโน้มลดลงจากการได้รับแนวทางและคำแนะนำในการแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจพบได้อย่างถูกต้อง
82| P a g e 4. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วันที่ 22 กุมภาพันธ์2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
83| P a g e 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1.เพื่อประมวลตรวจสอบข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการ ดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. เพื่อติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป้าหมาย คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาในการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งละ 15 ราย 2. ผลการดำเนินงาน : ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อกำหนดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ร่วมกัน 4 ครั้ง เป้าหมาย คณะทำงานฯและผู้ที่เกี่ยวข้อง ครั้งละ 15 ราย การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มี ขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้ 1. กลุ่มตรวจการสหกรณ์ เขียนโครงการประชุมคณะทำงานฯ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ 2. แจ้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการ ดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาในการ ดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมประชุม 3. ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อประมวล ตรวจสอบ กำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขและ ติดตามผลการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. สรุปผลการประชุมคณะทำงานฯและรายงานกรมส่งเสริมสหกรณ์
84| P a g e 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประชุมฯ คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ทุกคน ที่เข้าร่วมประชุมฯได้รับรู้ และเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร 2. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก คน ที่เข้าร่วมประชุมฯ ได้แนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและนำองค์ความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำไปประยุกต์ใช้ในแก้ไขปัญหาสหกรณ์/กลุ่มเกษตร ที่อาจตรวจพบข้อบกพร่องใหม่ต่อไป 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก คน ที่เข้าร่วมประชุมฯ ได้แนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและนำองค์ความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำไปประยุกต์ใช้ในแก้ไขปัญหาสหกรณ์/กลุ่มเกษตร ที่อาจตรวจพบข้อบกพร่องใหม่ต่อไป 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค การแก้ไขปัญญาข้อบกพร่องของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในระดับแก้ไขแล้วเสร็จต้องติดตาม คือ สหกรณ์ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว (การฟ้องร้อง / ดำเนินคดี) ไม่คืบหน้าเท่าที่ควรเนื่องด้วย สหกรณ์ขาดสภาพคล่องทางด้านการเงิน รวมถึงบุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินคดี ทางกฎหมาย การผ่อนชำระหนี้ของผู้รับผิดชอบตามหนังสือรับสภาพหนี้มีการผิดชำระไม่เป็นไปตามเงื่อนไขซึ่ง ต้องเข้าติดตามอย่างต่อเนื่อง
85| P a g e 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานขอสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
86| P a g e ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
87| P a g e โครงการตรวจการโดยทีมตรวจการสหกรณ์ตามแผนการกำกับ คุ้มครอง ดูแล ระบบสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ เพื่อให้การกำกับดูแลสหกรณ์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิด ประสิทธิภาพ และสหกรณ์ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนป้องกันปัญหา การเกิดข้อบกพร่องอันเกิดจากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือ หากเกิดข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไข หรือระงับยังยั้งได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ สหกรณ์ให้ครอบคลุมทั้งระบบ จึงสมควรให้มีคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการในเรื่อง ดังกล่าว เป้าหมาย 1.เข้าตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบสหกรณ์ โดยตรวจครบทุกประเด็นในสหกรณ์เป้าหมายที่ไม่ ซ้ำกับปี 2563 จำนวน 6 แห่ง พร้อมจัดส่งรายงานการตรวจการสหกรณ์ 2. ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ (ตามความจำเป็น/ความเห็น/การสั่งการของนาย ทะเบียนสหกรณ์) จำนวน 6 แห่ง 2. ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) เพื่อให้การกำกับดูแลสหกรณ์ เพื่ออยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิด ประสิทธิภาพ และสหกรณ์ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนป้องกันปัญหา การเกิดข้อบกพร่องอันเกิดจากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือ หากเกิดข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไข หรือระงับยับยั้งได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องการตรวจสอบ สหกรณ์ให้ครอบคลุมทั้งระบบ 1. ประชุม วางแผน และกำหนดเป้าหมายสหกรณ์ที่จะเข้าตรวจการ 2. จัดทำคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์พร้อมมอบหมายงานประจำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 4 ชุด เพื่อร่วมกันตรวจสอบสหกรณ์แต่ละแห่งประกอบด้วย คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ชุดที่ 1 ประกอบด้วย 1. นายพีรกร พวงบุตร ผู้ตรวจการสหกรณ์ 2. นางสาวเสาวลักษณ์ สุวรรณ์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 3. นายรภัทร กันทาสุข ผู้ตรวจการสหกรณ์ 4. นางสาวศิวพร นวลจันทร์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 5. นางสุดาวรรณ อาภรณ์หิรัญ ผู้ตรวจการสหกรณ์
88| P a g e ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 1 เป็นประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 2 เป็นรองประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 5 เป็นเลขานุการคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดที่ 1 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ชุดที่ 2 ประกอบด้วย 1. นายการุณ วนาศิริ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 2. นางสาวอริศรา ฝ่ายรีย์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 3. นางสาวพรภัสสร วรประชา ผู้ตรวจการสหกรณ์ 4. นางพิมพ์พิศา คำคง ผู้ตรวจการสหกรณ์ ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 1 เป็นประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 2 เป็นรองประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 3 เป็นเลขานุการคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดที่ 2 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ชุดที่ 3 ประกอบด้วย 1. นางภัทรามาศ สุนทรพานิชกิจ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 2. นายพัทยา ธรรมสอน ผู้ตรวจการสหกรณ์ 3. นางสาวลมัยญา มะณีศรี ผู้ตรวจการสหกรณ์ 4. นางอรจิรา บงกชกุสุมาลย์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 1 เป็นประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 2 เป็นรองประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 3 เป็นเลขานุการคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดที่ 3 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ชุดที่ 4 ประกอบด้วย 1. นายเอกบดี จันภักษานนท์ ผู้ตรวจการสหกรณ์ 2. นายบรมัตถ์ ทิพกนก ผู้ตรวจการสหกรณ์ 3. นายวรากร เลิศปรีชา ผู้ตรวจการสหกรณ์ 4. นางสาวเสาวลักษณ์ จิรกิตติ์สิริกุล ผู้ตรวจการสหกรณ์ 5. นางสาวดรุณ ปัญญา ผู้ตรวจการสหกรณ์ ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 1 เป็นประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 2 เป็นรองประธาน ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ลำดับที่ 3 เป็นเลขานุการคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุดที่ 4 3. เข้าตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานผลการตรวจการให้ รองนายทะเบียนสหกรณ์ทราบและพิจารณา
89| P a g e 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1.เข้าตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบสหกรณ์ โดยตรวจครบทุกประเด็นในสหกรณ์เป้าหมายที่ไม่ ซ้ำกับปี 2563 ครบ จำนวน 6 แห่ง พร้อมจัดส่งรายงานการตรวจการสหกรณ์ 2. ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ (ตามความจำเป็น/ความเห็น/การสั่งการของนาย ทะเบียนสหกรณ์) ครบ จำนวน 6 แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์ได้รับการตรวจสอบครบทุกประเด็นและได้รับคำแนะนำในการป้องกันและแก้ไขตามประเด็นที่ ตรวจพบ 2. สหกรณ์ได้รับการติดตามแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบและมีความก้าวหน้าในการจัดการกับปัญหาที่ เกิดขึ้น 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ตามคำสั่งที่แต่งตั้งทีมตรวจสอบสหกรณ์ เนื่องด้วยได้คัดเลือกบุคลากรจากกลุ่มงานในจังหวัดและกลุ่ม ส่งเสริมสหกรณ์ในแต่ละพื้นที่ ทำให้ผู้ตรวจการที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าตรวจการในแต่ละครั้งไม่สามารถเข้า ตรวจสอบได้พร้อมเพรียงกัน ซึ่งเกิดจากที่ต่างคนต่างมีภารกิจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนตามแผนงานที่ ได้รับมอบหมายในความรับผิดชอบในห้วงเวลาเดียวกัน 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ภาพกิจกรรม ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
90| P a g e การชำระบัญชี/กลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 การดำเนินการชำระบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขั้นที่ 1 ประกาศ/เผยแพร่ การเลิกและชำระบัญชี ขั้นที่ 2 รับมอบทรัพย์สินและจัดทำงบดุล ม.80 ขั้นที่ 3 ส่งงบดุลให้ผู้สอบบัญชี ม.80 ขั้นที่ 4 ผู้สอบบัญชีรับรองงบดุล ม.80 ขั้นที่ 5 อนุมัติงบดุลที่ประชุมใหญ่/นายทะเบียนสหกรณ์ ขั้นที่ 6 ดำเนินการจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ขั้นที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชี ขั้นที่ 8 ผู้สอบบัญชีรับรอง ขั้นที่ 9 ถอนชื่อ ขั้นที่ 10 ส่งมอบบรรดาสมุดของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
91| P a g e ผลสำเร็จของการชำระบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีแผนงานและเป้าหมาย ในการชำระบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรรวมทั้งหมดจำนวน 4 แห่ง ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่เลิกตามมาตรา 70 (3) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 3 แห่งและกลุ่มเกษตรกรที่เลิก ตามมาตรา 32 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2547 จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่ม เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านท่าตาฝั่ง สหกรณ์การเกษตรพระพรแม่เหาะ จำกัด สหกรณ์การเกษตร ศชพ. แม่แลบ วางใจ จำกัด และสหกรณ์ไฟฟ้าบ้านนาปู่ป้อม จำกัด โดยนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรและนายทะเบียนสหกรณ์ ได้แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจำนวน 4 ราย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในการชำระบัญชีดังกล่าว ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถชำระบัญชีได้ 100 % จากเป้าหมายในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยไม่มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรคงค้างอยู่ในแผนการชำระบัญชี ในปีถัดไปนั้น เกิดจากการวางแผนในการทำงานและความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายด้วยกัน ดังนี้ 1. ก่อนการลงมติเลิกจากที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม สหกรณ์ในพื้นที่และกลุ่มตรวจการสหกรณ์ได้มีการนำเสนอที่ประชุมประจำเดือนของสำนักงานและที่ประชุม คณะทำงานแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) ร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางในการเลิกสหกรณ์โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปแนะนำ ช่วยเหลือและกำกับให้ สหกรณ์จัดการด้านทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ให้เรียบร้อยหรือจัดการให้แล้วเสร็จให้คงเหลือน้อยที่สุดซึ่งได้รับ คำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์และ ธ.ก.ส. 2. ผู้ชำระบัญชีได้นำความรู้จากการเข้ารับการอบรมการชำระบัญชีที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัด ขึ้นและจากการสอบถาม แลกเปลี่ยน หารือผู้ชำระบัญชีที่มีประสบการณ์และจากเครือข่ายไลน์ผู้ชำระบัญชีของ กรมฯ ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดำเนินการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้นและอยู่ในระยะเวลาที่ กำหนด 3. เกิดจากการประสานการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายประกอบด้วยผู้ชำระบัญชี เจ้าหน้าที่กลุ่ม ตรวจการสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้ติดตามและสนับสนุนข้อมูลต่างๆ และผู้สอบบัญชีจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ แม่ฮ่องสอนที่ติดต่อประสานงานกันทุกระยะขั้นตอนของการชำระบัญชี 4. ด้วยสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก สมาชิกสหกรณ์และคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลตลอดระยะเวลา ของการชำระบัญชีจนแล้วเสร็จ
92| P a g e ประชุมใหญ่สามัญ สหกรณ์การเกษตร ศชพ. แม่แลบวางใจ จ ากัด เมือวันที่ 23 มิ.ย. 2564 สหกรณ์ไฟฟ้าบ้านนาปู่ ป้อม จ ากัด จัด ประชุมเพื่อขออนุมัติงบการเงินเพื่อ ช าระบัญชีเมือวันที่ 3 มิ.ย. 2564
93| P a g e โครงการส่งเสริมความรู้ด้านการสหกรณ์แก่กลุ่มชาวบ้าน เพื่อพัฒนาเป็นกลุ่มเตรียมสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ เข้าใจและเห็นความสำคัญของร่วมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ 2.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมาชิกมีการกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุนชน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม 3. เพื่อให้กลุ่มอาชีพ/บุคคลทั่วไป ประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน สามารถนำหลักกการ สหกรณ์ไปประยุกต์การดำเนินชีวิตประจำวัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมาย กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 6 หมู่บ้านๆ ละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 180 คน พื้นที่ดำเนินโครงการ 1. บ้านเมืองแพม ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า 2. บ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 3. บ้านในสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 4. บ้านนาป่าแปก ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 5. บ้านนาปลาจาด ตำบลห้วยผา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 6. บ้านหนองเขียว ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 2. ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) 1. ให้ความรู้เรื่อง อุดมการณ์ หลักกการ วิธีการสหกรณ์ และค่านิยมสหกรณ์ 2. โครงการสหกรณ์ และบทบาทหน้าที่ของกรรมการและสมาชิกสหกรณ์ 3. แบ่งกลุ่มระดมความคิด วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกลุ่ม ชุมชน ฯลฯ 4. สรุปผลการวิเคราะห์ ร่วมกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม 3. ผลลัพธ์ : (ระบุทั้งผลลัพธ์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 6 หมู่บ้านๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 2. กลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับ ชุมชน มีการเก็บทุนเรือนหุ้น เงินฝาก และทำธุรกิจกับกลุ่ม ร้อยละ 50
94| P a g e ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและ วิธีการสหกรณ์ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการร่วมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ 2. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้รับความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รวมทั้งเก็บ ข้อมูลรายได้ของสมาชิกก่อน - หลังเข้ารับการอบรม 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข 1. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชี 2. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯขาดความเข้าใจในเรื่อง อุดมการณ์ หลักการณ์ วิธีการสหกรณ์ 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ด้านการสหกรณ์แก่กลุ่มชาวบ้าน เพื่อพัฒนาเป็นกลุ่มเตรียมสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านเมืองแพม วันที่ 31 มีนาคม 2564 จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านสบเมย วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564
95| P a g e จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านในสอย วันที่ 2 เมษายน 2564 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านนาป่าแปก วันที่ 5 เมษายน 2564 วันที่ 2 เมษายน 2564 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านนาปลาจาด วันที่ 8 เมษายน 2564