The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

Annual Report 2564

Annual Report 2564

96| P a g e ◼ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ เป็นแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาสหกรณ์อย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้บุคลากรสหกรณ์ ประกอบด้วย สมาชิก กรรมการ และฝ่ายจัดการของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนา สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) รู้และเข้าใจบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเอง รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับ 2. เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในการ ประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเป็นแนวทางขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) 3. เพื่อปรับปรุง พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ให้ตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า 4. เพื่อพัฒนา/เชื่อมโยง/ขยายธุรกิจของสหกรณ์ให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐานและปริมาณธุรกิจ 5. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์เป้าหมาย จำนวน 5 แห่งๆละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน พื้นที่ดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด 3. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 5. สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด จัดโครงการ ณ กลุ่มเตรียม สหกรณ์บ้านหนองเขียว วันที่ 9 เมษายน 2564


97| P a g e 2. ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) 1) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 ครั้ง ๆ ละ 30 คน แห่งละ 1 ครั้ง ดำเนินการ 1 วัน ลักษณะไป-กลับ 2) ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย กรรมการ ฝ่ายจัดการ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่โครงการ (เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด) วิทยากรและผู้เกี่ยวข้อง 3) จำนวนผู้เข้าประชุมให้พิจารณาแบ่งตามสัดส่วน ดังนี้ สมาชิก 10 – 15 คน กรรมการ และฝ่ายจัดการ 10 – 15 คน เจ้าหน้าที่โครงการ วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง 3 – 5 คน ทั้งนี้สามารถปรับเพิ่ม/ ลดได้ตามความเหมาะสมภายในสัดส่วนตามที่กำหนด 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการ เนื้อหาประกอบด้วย อาทิ การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเป็น แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) การประเมินสหกรณ์ตาม การประยุกต์ใช้ฯ อุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของบุคลากรสหกรณ์ (สมาชิก คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ) การบริหารจัดการ ธรรมภิบาลในสหกรณ์ การเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสหกรณ์การ เพิ่ม/พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน การส่งเสริมพัฒนาการผลิตให้ได้คุณภาพ/ มาตรฐาน การลดต้นทุนการผลิต 5) รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องการประยุกต์ใช้ แนวพระราชดำริเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) ให้ กองประสานงานโครงการพระราชดำริ 3. ผลลัพธ์ : (ระบุทั้งผลลัพธ์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) ผลลัพธ์เชิงปริมาณ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์เป้าหมาย จำนวน 4 แห่งๆ ละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์เป้าหมาย มีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการประยุกต์ใช้แนวตามพระราชดำริ เป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์อย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) จำนวน 1 เล่ม 2. สหกรณ์เป้าหมาย สามารถยกระดับตามขั้นตอนบันได 7 ขั้น ได้อย่างน้อย 1 ระดับ ร้อยละ 50 จากจำนวนสหกรณ์เป้าหมาย 4 แห่ง 3. สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ หลักการ อุดมการณ์ วิธีการสหกรณ์ รวมทั้งบทบาท สิทธิ หน้าที่ของตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากจำนวนสมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุม 4. สหกรณ์เป้าหมายมีการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์อย่างน้อย 1 แผน 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ไม่มี


98| P a g e 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ เป็นแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาสหกรณ์อย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จัดโครงการ ณ สหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 วันที่ 9 เมษายน 2564 จัดโครงการ ณ สหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด วันที่ 21 พฤษภาคม 2564


99| P a g e จัดโครงการ ณ สหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด วันที่ 11 มิถุนายน 2564 จัดโครงการ ณ สหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงบ้านดง จำกัด วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 จัดโครงการ ณ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด วันที่ 10 มิถุนายน 2564


100| P a g e โครงการทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ให้แก่นักเรียนและครูที่รับผิดชอบกิจกรรม สหกรณ์ในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖4 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เด็กและเยาวชนในโครงการตามพระราชดำริฯ ได้เปิดโลกทัศน์และประสบการณ์นอกห้องเรียน 1.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้และแนวทางในการดูงานมาปรับใช้ในกิจกรรมสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน 1.3 เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดแนวคิด/เกิดการพัฒนา รวมทั้ง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้นักเรียน/ครูที่ปฏิบัติงานในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เป้าหมาย นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์ ผู้สังเกตการณ์ และครูที่รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์ใน โรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 8 แห่ง รวม 320 ราย รายชื่อโรงเรียน ดังนี้ ๑) ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านดอยแสง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (30 ราย) ๒) โรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปถัมภ์ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (30 ราย) ๓) โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์อำเภอแม่ลาน้อย (50 ราย) ๔) โรงเรียน ตชด.บ้านแม่ลางิ้ว อำเภอแม่ลาน้อย (15 ราย) ๕) โรงเรียน ตชด.บ้านตุน (ชมรม 9 สมาคมจีน) อำเภอแม่ลาน้อย (15 ราย) ๖) โรงเรียนแม่สะเรียง (บริพัตรศึกษา) อำเภอแม่สะเรียง (120 ราย) ๗) ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านโตแฮ อำเภอสบเมย (30 ราย) ๘) ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านห้วยมะโอ อำเภอสบเมย (30 ราย) พื้นที่ดำเนินโครงการ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน,อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน,อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัด แม่ฮ่องสอน และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) 2.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ประสานงาน หน่วยงาน ต้นสังกัดและโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เพื่อคัดเลือกนักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมจัดกิจกรรม 2.2 กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ประสานหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมจัด กิจกรรม ด้านสถานที่ศึกษาดูงาน/อาหารและที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ


101| P a g e 2.3 ขออนุมัติโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ฯ 2.4 จัดกิจกรรมทัศนศึกษาตามโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ฯ ตาม กำหนดการ 2.5 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการจัดโครงการฯ ให้กองประสานงานโครงการ พระราชดำริ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 3. ผลลัพธ์ : (ระบุทั้งผลลัพธ์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จำนวนโรงเรียนที่ร่วมโครงการ จำนวน 8 แห่ง นักเรียนจำนวน 320 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนได้เปิดโลกทัศน์และประสบการณ์นอกห้องเรียน 2. นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการบริหาร จัดการในกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน และการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ด้าน สหกรณ์ กิจกรรมด้านอาชีพ 3. นักเรียน/ครู/ผู้สังเกตการณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนนักเรียน ต่างโรงเรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาร่วมกัน รู้จักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ในการจัดงานมีโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญการกับจัดงานและมีความประสงค์เข้าร่วม กิจกรรมเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการจัดงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าพาหนะและค่าที่พักในการ เดินทางของคณะครูและนักเรียนที่อยู่ต่างอำเภอ (จังหวัดแม่ฮ่องสอนการเดินทางลำบาก ใช้ระยะเวลาเดินทาง หลายชั่วโมง) แนวทางการแก้ไขปัญหา พิจารณาจัดสรรงบเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ให้แก่นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม สหกรณ์ในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โรงเรียนบริพัทรศึกษา ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2564 กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ - กิจกรรมการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียน - ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลแม่สะเรียง


102| P a g e - เยี่ยมชมสวนของพ่อ บ้านสบหาร (เกษตรผสมผสาน) ศกร.ตชด.บ้านห้วยมะโอ , ศกร.ตชด.บ้านโตแฮ วันที่ 24 มิถุนายน 2564 กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ - ศูนย์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) - หน่วยพัฒนาที่ดินที่ 8 อำเภอสบเมย - ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย - กลุ่มเตรียมสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ กลุ่มเป้าหมาย : โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตูน วันที่ 30 มิถุนายน 2564 กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ - กิจกรรมสันทนาการและให้ความรู้ด้านการสหกรณ์ - กิจกรรมยุวเกษตร 7 ฐาน


103| P a g e โครงการส่งเสริมการเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและประสบการณ์นอกห้องเรียนซึ่งกันและกัน 2.2 เพื่อเป็นการเผยแพร่ ขยายผลการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนไปสู่ผู้ปกครอง และชุมชน เป้าหมาย 1.1 โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 3 โรงเรียน 2.2 นักเรียนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ 30 คน ผู้ปกครอง 30 คน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ครู ผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ผู้สังเกตการณ์ 15 คน รวมจำนวน 75 คน กลุ่มเป้าหมาย : โรงเรียนห้องสอนศึกษาในพระอุปภัมถ์, ศกร.ตชด.บ้านดอยแสง ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2564 กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้ - เยี่ยมฐานปฏิบัติการกรมทหารราบที่ 17 - เรียนรู้แปลงเกษตรของสมาชิกสหกรณ์เมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด(ข้าว,กระเทียม,พริก) - กิจกรรมสันทนาการและให้ความรู้ด้านการสหกรณ์


104| P a g e พื้นที่ดำเนินโครงการ มิถุนายน 2564 - มิถุนายน 2565 ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และโรงเรียน นำร่องจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ 1. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยแสง 2. ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยโปงเลา 3. ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลางิ้ว 5. การดำเนินงาน : 2.1 กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1-7 พิจารณาคัดเลือก โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีและดำเนินการชี้แจงผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบ กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เพื่อชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ การวางแผนและการขับเคลื่อนการดำเนิน โครงการ 2.2 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ที่รับผิดชอบ และโรงเรียนนำร่องร่วมกันพิจารณานักเรียนที่ เป็นสมาชิกสหกรณ์นักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ โดยเป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป แต่ไม่เกินชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนละ 10 คน 2.3 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดประชุมครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อชี้แจง/แนะนำ/ซักซ้อมทำความเข้าใจ และการ วางแผนการดำเนินกิจกรรม กำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรม และกำหนดวัน Kick off โครงการร่วมกัน 2.4 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน แนะนำ ส่งเสริมให้นักเรียนและผู้ปกครองกำหนด กิจกรรมที่ครอบครัวจะทำร่วมกัน เช่น การปลูกไม้ผล ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การทำใช้ในครัวเรือน การค้าขาย ร่วมกัน ฯลฯ 2.5 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน แจกจ่ายสมุดบันทึกกิจกรรมการเชื่อมโยงให้นักเรียน สำหรับใช้ในการบันทึกกระบวนการจัดการเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม และจ่ายค่าวัสดุสำหรับการดำเนินกิจกรรม 2.6 นักเรียนจัดส่งสมุดบันทึกกิจกรรมการเชื่อมโยง 2.7 กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานสหกรณ์ ติดตามและรายงานผลการดำเนินโครงการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ ภายในกำหนดระยะเวลา 6. ผลลัพธ์ : (ระบุทั้งผลลัพธ์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) 1. นักเรียนจำนวน 30 ราย พร้อมผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและ แลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์นอกห้องเรียนซึ่งกันและกัน 2. เกิดการขยายผลกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนจากโรงเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 3 โรงเรียน 30 ครัวเรือน


105| P a g e 7. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ให้คำแนะนำการเข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์การเรียน ตชด.พลเอกอรชุน พิบูลย์ นครินทร์ (บ้านลุกข้าวหลาม) วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ให้คำแนะนำการเข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลางิ้ว วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ให้คำแนะนำการเข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์การ เรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยโปงเลา วันที่ 31 สิงหาคม 2564


106| P a g e โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้การสหกรณ์และทักษะใน เรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ พร้อมทั้งปลูกฝังลักษณะนิสัยการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ตามอุดมการณ์สหกรณ์ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์นักเรียน สามารถนำความรู้ มาปรับใช้ในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน เป้าหมาย นักเรียน ครูในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 9 แห่ง รวม 295 ราย รายชื่อโรงเรียน ดังนี้ 1. โรงเรียนขุนยวมวิทยาคม จำนวน 35 ราย 2. ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านห้วยโปงเลา จำนวน 25 ราย 3. โรงเรียนปายวิทยาคาร จำนวน 30 ราย 4. โรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ จำนวน 30 ราย 5. ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านน้ำบ่อสะเป่ จำนวน 30 ราย 6. โรงเรียน ตชด.ชมรมพุทธศิลปไทยอนุสรณ์ 2 (บ้านปุงยาม) จำนวน 30 ราย 7. โรงเรียนบ้านโพซอ (ห้องเรียน สาขาอู่หลู่) จำนวน 30 ราย 8. ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านแม่เหลอ จำนวน 30 ราย 9. โรงเรียนสบเมยวิทยาคม จำนวน 55 ราย รวมทั้งสิ้น 295 ราย พื้นที่ดำเนินโครงการ ช่วงเดือน กรกฎาคม 2564 สถานที่ ณ โรงเรียนเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ประสานงาน หน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เพื่อคัดเลือกนักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และประสาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมจัดกิจกรรม 2. กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ขออนุมัติโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ฯ 3. กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่ จัดอบรมตามหลักสูตร แผนกำหนดการ


107| P a g e อุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ จำนวน 1.00 ชั่วโมง กิจกรรมให้ความรู้ บทบาทสมมติ ด้านการสหกรณ์ จำนวน 2.00 ชั่วโมง กิจกรรมสันทนาการและฝึกอาชีพ จำนวน 3.00 ชั่วโมง 4. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการจัดโครงการฯ ให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดและกอง ประสานงานโครงการพระราชดำริ กรมส่งเสริมสหกรณ์ งบประมาณดำเนินการ งบประมาณจากแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖4 แผนงาน : ยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการ : ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลัก : พัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการพระราชดำริ กิจกรรมรอง : ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรม 4 : ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน ตาม พระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน งบประมาณ 94,050 บาท (เก้าหมื่นสี่พันห้าสิบบาทถ้วน) ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้ ตัวชี้วัด ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการสหกรณ์เพิ่มขึ้น โดยผ่านการทำแบบทดสอบความรู้การ สหกรณ์ (ก่อน-หลัง) เข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 11.1 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจการจัดกระบวนการเรียนรู้การสหกรณ์ และ ทักษะในเรื่องอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ พร้อมทั้งปลูกฝังลักษณะนิสัยการช่วยตนเอง และ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามอุดมการณ์สหกรณ์ 11.2 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสหกรณ์นักเรียน สามารถนำความรู้มาปรับ ใช้ในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน 7. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียนขุนยวมวิทยาคม วันที่ 4 กรกฎาคม 2564


108| P a g e โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านน้ำบ่อสะเป่ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียน ตชด. ชมรมพุทธศิลปะ ไทยอนุสรณ์ 2 (บ้านปุงยาม) วันที่ 8 กรกฎาคม 2564


109| P a g e โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียนปายวิทยาคาร วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ โรงเรียนบ้านโพซอ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564


110| P a g e โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ ศูนย์การเรียน ตชด. บ้านแม่เหลอ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 โครงการให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียน ณ ศูนย์การเรียน ตชด. บ้านห้วยโปงเลา วันที่ 16 กรกฎาคม 2564


111| P a g e ◼ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร 1.2 เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้น้อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความจงรักภักดีเป็นราชสักการะแด่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลง กรณ์บดินทรเทพยวรางกูร ที่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ 1.3 เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาด้านเกษตรในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการ และได้รับการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจรในคราวเดียวกัน เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เกษตรกร ประชาชนทั่วไปกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 200 ราย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมโรงเรียนขุนวมวิทยา ต.ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ครั้งที่ 2 ณ ลานอเนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอปางมะผ้า ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ครั้งที่ 3 ณ หอประชุมโรงเรียนสบเมยวิทยาคม ต.แม่คะตวน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ครั้งที่ 4 ณ ลานหน้าบริเวณสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณชั้น 2 สำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. ผลการดำเนินงาน : 2.1. แจกเอกสารเผยแพร่ความรู้ ด้านการสหกรณ์ ให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน 2.2 ให้คำปรึกษาด้านการสหกรณ์แก่สมาชิกสหกรณ์ และประชาชนทั่วไป 2.3 จัดกิจกรรมตอบปัญหาเกี่ยวกับสหกรณ์เพื่อชิงของรางวัล 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ มีประชาชนที่ร่วมงาน มาลงทะเบียนคลินิกสหกรณ์ (4 ครั้ง) จำนวน 239 คน เข้าสอบถามข้อมูล และปรึกษาเรื่องสหกรณ์ ประมาณ 65 คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ประชาชนและบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความ สามัคคี เกิดพลังจิตอาสา และได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 2. ประชาชนที่เข้าร่วมงานมีความสนใจในเรื่องสหกรณ์ได้รับคำปรึกษาคำแนะนำ และความรู้เกี่ยวกับ สหกรณ์ และมีความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์และร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ในพื้นที่


112| P a g e 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข เนื่องจากช่วงจัดงานอยู่ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทางผู้จัดงานเลยจำกัดจำนวนผู้เข้ารับ บริการคลินิเกษตร 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ หอประชุมโรงเรียนขุนยวมวิทยา ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 24 กุมภาพันธ์2564 ณ ลานอเนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอปางมะผ้า


113| P a g e ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ณ หอประชุมโรงเรียน สบเมยวิทยาคม ครั้งที่ 4/2564 ระหว่างวันที่ 8 – 30 กันยายน 2564 ณ ลานหน้าบริเวณสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณชั้น 2 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน


114| P a g e โครงการ พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมที่ 2 : เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้ เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินกิจการและธุรกิจของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับอำเภอ 2. เพื่อผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บและแปรรูป ผลผลิตสินค้าเกษตรของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงการตลาด ได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร เชื่อมโยงเครือข่ายสินค้าคลัส เตอร์ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู 2. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 3. สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 2. ผลการดำเนินงาน : - สหกรณ์มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ในการแปรรูปกระเทียมให้เป็น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินกิจการและธุรกิจให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชนใน ระดับอำเภอและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชนได้ตลอดหวงโซ่อุปทาน โดยการแบ่งกลุ่มเพื่อทำ กิจกรรม และออกมานำเสนอ ตามกระบวนการคิดของแต่ละกลุ่ม เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์การแปรรูปในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อสนองกับผู้บริโภค 3. ผลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์มีแนวทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีด ความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสถาบันเกษตรกรเป้าหมาย 2. จังหวัดมีแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรระดับจังหวัด (OPP) 3. จังหวัดมีแนวทางการอบรมหลักสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร แปรรูปตามแผน การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ของสถาบันเกษตรกรภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ผลิตภัณฑ์ สินค้าเกษตร รวมถึงมีแนวทางในการกำหนดกิจกรรมในแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์


115| P a g e ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินกิจการและธุรกิจให้เป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจชุมชนในระดับอำเภอ 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจรวบรวม แปรรูป จำหน่ายผลผลิ สินค้าเกษตรและให้บริการทางด้านสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และสร้าง สรรค์/ขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชนได้ตลอดหวงโซ่อุปทาน ปัญหา/อุปสรรค - การเชื่อมโยงการตลาด ระหว่างสหกรณ์ใกล้เคียงยังไม่ชัดเจน กรณีผลผลิตมีปริมาณไม่ เพียงพอในการแปรรูป ป้องกันผลผลิตให้กับสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด เพื่อแปรรูปเป็นแคปซูล แนวทางแก้ไข - สำรวจผลผลิตกระเทียม เพื่อรองรับตลาดในปีต่อไป 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


116| P a g e โครงการ ประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรระดับจังหวัด ให้สอดคล้องกลับแนว ทางการขับเคลื่อนระบบตลาดนำการผลิต 2. เพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการสินค้า เกษตรระดับจังหวัดและร่วมให้ความเห็นต่อแผนฯ ที่จะนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาเกษตรและสหกรณ์ ระดับจังหวัด เป้าหมาย เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง ประกอบด้วย 6. กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู 7. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 8. สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 9. สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด 10.สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด 2. ผลการดำเนินงาน : 1) ที่ประชุมพิจารณาแผนการบริหารด้าน Supply (ปริมาณความต้องการเสนอขาย สินค้า) โดยมีเป้าหมายเพื่อการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าเกษตรหลักของจังหวัดด้าน Demand (ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า) ด้าน Supply (ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า) ให้มีความสอดคล้องกัน 2) ดำเนินการเชื่อมโยง Supply (ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า) และ Demand (ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า) สินค้าเกษตรหลักของจังหวัด พิจารณาสินค้าที่มีปริมาณการเสนอ ขายเกิน ความต้องการและสินค้าที่มีความต้องการซื้อมากกว่าปริมาณเสนอขาย เพื่อวางแผนในการหาผู้ซื้อและ ผู้ขาย ในจังหวัดและนอกจังหวัดต่อไป 3) สรุปแผนการบูรณาการการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของจังหวัด/ กลุ่มเกษตรกร 4) นำเสนอแผนการบูรณาการการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของ สหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร ต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด ( คณะทำงานการประสานงานด้านการตลาดหรือหาแหล่งรับซื้อผลผลิต (เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็น ประธาน) เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าเกษตรระดับจังหวัดต่อไป


117| P a g e 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด การ เชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ 2. แนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรระดับจังหวัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ แผนการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าเกษตรหลักของจังหวัดด้าน Demand (ปริมาณ ความต้องการซื้อสินค้า) ด้าน Supply (ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้า) เพื่อนำไปเป็นแผนดำเนินงานใน ปีต่อไป รายชื่อผู้ซื้อสินค้าเกษตร ภายในจังหวัด เพื่อเป็นการทราบถึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้า 4. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


118| P a g e โครงการ ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแนะนำ ส่งเสริม และพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข็มแข็งตามศักยภาพตามแผนการส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์ 2. เพื่อส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ให้มีตลาดรองรับ โดยการเชื่อมโยงการตลาดร่วมกันระหว่างผู้ผลิต สหกรณ์ และภาคเอกชน เป้าหมาย 1. สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 2. ผลการดำเนินงาน : สนับสนุนการดำเนินงานด้านการตลาดเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้ซื้อ รวมทั้ง ส่งเสริมแปลงใหญ่สหกรณ์ให้มีการบริหารจัดการผลผลิตตลอดห่วงโซ่ และรายงานผลตามแบบรายงานที่กรม ส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด รวบรวมผลผลิตได้ 740.03 ตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 11,568,065 บาท 2. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัดรวบรวมผลผลิตได้ 12.20 ตัน คิดเป็นจำนวนเงิน 366,000 บาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สินค้าเกษตรจากพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่มีตลาดรองรับ 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค ผู้รับซื้อบางรายไม่สามารถเข้ามารับซื้อผลผลิตจากได้ด้วยตนเอง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้การกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดเกิดความล่าช้า แนวทางแก้ไข ใช้เครือข่ายสหกรณ์ในการกระจายผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาด 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


119| P a g e โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบัน เกษตรกร ระยะที่ 2 (ปี 2563 – 2568) 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้จัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อ สร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบัน เกษตรกร ระยะที่ 2 (ปี 2563 – 2568) - ปลอดดอกเบี้ย ระยะเวลา 6 ปี (ปี 63 – 68) - ปลอดการชำระต้นเงิน 2 ปีแรก (ปี 63 – 64) - ส่งชำระต้นเงินในปีที่ 3 – 6 (ปี 65 – 68) ร้อยละ 25 ของต้นเงิน - เพื่อนำมาให้สมาชิกสหกรณ์กู้ยืมใช้เป็นทุนในการสร้างระบบน้ำในไร่นารายละไม่เกิน 50,000 บาท วัตถุประสงค์ขุดสระเก็บกักน้ำเจาะบ่อบาดาล และซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยสหกรณ์ต้องนำมาให้สมาชิกกู้ยืม รายละไม่เกิน 50,000 บาท ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับการจัดสรรเงิน จำนวน 5.5 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อขุดสระ เก็บน้ำและจัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีสหกรณ์ เข้าร่วม 2 แห่ง สมาชิก 110 ราย ดังนี้ 1. สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด จำนวนสมาชิก 108 ราย วงเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 5,400,000.- บาท 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ. ละอูบพัฒนา จำกัด จำนวนสมาชิก 2 ราย วงเงินที่ได้รับจัดสรร จำนวน 100,000.- บาท 2. ผลการดำเนินงาน : ๑. จัดประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่ผู้แทนสหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง รวม 20 ราย ดังนี้ - วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ สหกรณ์การเกษตรกรเมืองปาย จำกัด ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๐ ราย -วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ สหกรณ์การเกษตรกร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๐ ราย ๒. สำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 แห่ง รวม 26 ราย (สมาชิก 1:5) - สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด จำนวน ๒๔ ราย - สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด จำนวน ๒ ราย ๓. แนะนำสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการในการจัดทำคำขอกู้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามโครงการฯ จำนวน ๒ แห่ง ดังนี้ ๑) สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด ขอกู้ ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท วัตถุประสงค์เพื่อขุดสระเก็บน้ำและจัดซื้อ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๑๐๘ ราย ๒) สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด ขอกู้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท วัตถุประสงค์เพื่อขุดสระเก็บน้ำและ จัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๒ ราย


120| P a g e ๔. จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้โครงการฯ เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค. ๖๓ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สหกรณ์ ที่เข้าร่วมโครงการกู้เงิน รวม ๒ แห่ง เป็นเงิน ๕,๕๐๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ ๑) เห็นชอบให้สหกรณ์การเกษตรปาย จำกัด กู้เงิน ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒) เห็นชอบให้สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด กู้เงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ เบิกจ่ายเงินกู้ให้กับสหกรณ์ รวม ๒ แห่ง เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ ดังนี้ ๑) สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด จำนวน ๕,๔๐๐,๐๐๐ บาท ๒) สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกสหกรณ์สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนปลอดดอกเบี้ยนำไปพัฒนาที่ดินให้มีแหล่ง น้ำสำรองในช่วงเกิดวิกฤตภัยแล้ง 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ขั้นตอนของการจับพิกัดแผนที่ตามโครงการฯ ในข้อจำกัดของพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ค่อนข้างที่ที่ ทุรกันดารและยากลำบากต่อการเดินทางไปยังพื้นที่ทำการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์ และในการจับพิกัดต้อง ในสัญญาณ Internet ในการใช้โปรแกรมจับพิกัด ซึ่งบ้างพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังไม่มีสัญญาณ Internet แนวทางแก้ไข การเดินทางต้องประสาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ ในการให้ความช่วยเหลือในการจับพิกัด เพื่อให้ทันต่อระยะเวลาที่กำหนดโครงการฯ 5. ภาพประกอบการดำเนินโครงการ จัดประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่ผู้แทนสหกรณ์ สำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ของสมาชิก ที่เข้าร่วมโครงการ


121| P a g e จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้โครงการฯ ติดตามการใช้เงินกู้ตามโครงการฯ ครั้งที่ 1 ติดตามการใช้เงินกู้ตามโครงการฯ ครั้งที่ 2


122| P a g e


123| P a g e ติดตามสถานการณ์ไม้ผลและไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำ วันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายจณภพ กาญจนประดิษฐ์ สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน มอบหมายให้นางจตุพร ศรีบุญมา ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ พร้อมด้วยนางสาวอริศรา ฝ่ายรีย์ ตำแหน่งนักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 (อำเภอปางมะผ้า) ร่วมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ไม้ผลและไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ณ พื้นที่ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน


124| P a g e การอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร” วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 นายจณภพ กาญจนประดิษฐ์ สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานใน พิธีเปิดการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูปภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ให้กับสมาชิก กรรมการ พนักงานสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด โดยนายการุณ วนาศิริ ผู้อำนวยการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ เป้นผู้บริหารโครงการฯ และได้รับ ความรู้จากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานคุณภาพ และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อการยอมรับ ผศ.ดร.ชุติ มันต์ สะลอง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2564 ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด


125| P a g e กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 49 ปี วันที่ 30 กันยายน 2564 ถึง 1 ตุลาคม นายจณภพ กาญจนประดิษฐ์ สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดกิจกรรมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากร และเข้าร่วมกิจกรรมวันคล้ายวัน สถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 49 ปี ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ผ่านระบบ Zoom Meeting มีกิจกรรมสำคัญคือ รับฟังสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้เกียรติเป็นผู้อ่านสาร และรับฟังการมอบนโยบายการ ขับเคลื่อนงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์


126| P a g e


127| P a g e กิจกรรมตรวจรับ และส่งมอบเครื่องจักรที่ได้รับเงินอุดหนุนจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 19 กันยายน 2564 นายจณภพ กาญจนประดิษฐ์ สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมบุคลากร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้าตรวจรับ และส่งมอบเครื่องจักรที่ได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสิค้าเกษตรปลอดภัย กิจกรรม เพิ่มศักยภาพการแปรรูปกระเทียมเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยให้เป็นเงินอุดหนุนเครื่องจักรผลิต และแปรรูป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1. เครื่องบรรจุแคปซูลกึ่งอัตโนมัติ จำนวน 1 เครื่อง 2. เครื่องขัดเงาเม็ดแคปซูล จำนวน 1 เครื่อง 3. เครื่องนับเม็ดกึ่งอัตโนมัติ แบบตั้งโต๊ะ จำนวน 1 เครื่อง 4. เครื่องปิดฝาฟรอยอินดักชั่น จำนวน 1 เครื่อง 5. เครื่องปิดฝาเกลียว แบบตั้งโต๊ะ จำนวน 1 เครื่อง 6. เครื่องฟิล์มหด จำนวน 1 เครื่อง


128| P a g e


129| P a g e สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงฐานะการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 หน่วย : บาท สินทรัพย์ ปี 2563 ปี 2564 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินฝากคลัง 70,389.51 158,475.00 ลูกหนี้เงินยืม 141,498.00 - รวมสินทรัพย์ หมุนเวียน 211,887.51 158,475.00 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ครุภัณฑ์และอุปกรณ์สุทธิ 10,806,317.91 10,996,217.91 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 10,806,317.91 10,996,217.91 รวมสินทรัพย์ 11,018,205.42 11,154,692.91 หนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 59,550.00 681,264.29 สาธารณูปโภคค้างจ่าย 4,270.68 1,403.84 รวมหนี้สินหมุนเวียน 63,820.68 682,668.13 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินรับฝากและเงินประกัน 70,389.51 158,475.00 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 70,389.51 158,475.00 รวมหนี้สิน 134,210.19 841,143.13 ทุน ทุนของหน่วยงาน 52,349.63 52,349.63 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม 4,287,511.04 3,973,410.01 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 314,100.63 314,101.03 รวมส่วนของทุน 4,653,961.30 4,339,860.67 รวมส่วนของหนี้สินและทุน 4,788,171.49 5,181,003.80


130| P a g e สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 หน่วย : บาท รายได้จากการดำเนินงาน ปี 2563 ปี 2564 รายได้จากรัฐบาล รายได้จากงบบุคลากร 3,371,451.00 3,313,144.05 รายได้จากงบลงทุน 517,460.00 37,500.00 รายได้จากงบดำเนินงาน 4,821,933.29 4,296,972.24 รายได้จากงบอุดหนุน 2,160,296.30 4,460,829.46 รายได้จากงบกลาง 381,611.28 129,282.00 รวมรายได้จากรัฐบาล 11,252,751.87 12,237,727.75 รายได้จากแหล่งอื่น รายได้รับเงินกู้ 669,900.00 รายได้ค่าธรรมเนียมอื่น 400.11 11,227.00 รายได้ดอกเบี้ยอื่น 3,363.17 รายได้ค่าของเบ็ดเตล็ด 8,100.00 สกร.รับเงินนอก 54,976.60 86,149.51 ปรับเงินฝากคลัง 54,262.90 174,235.00 รายได้เหลือจ่าย 836.21 16,200.00 รายได้ระหว่างกันในกรม 43,006.58 รวมรายได้จากแหล่งอื่น 161,582.40 961,074.68 รวมรายได้จากการดำเนินงาน 11,414,334.27 13,198,802.43


131| P a g e หน่วย : บาท ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ปี 2563 ปี 2564 ค่าตอบแทนพนักงานราชการ 3,371,451.00 3,313,144.05 ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนอื่น 2,189,329.99 4,445,829.46 ตัดจำหน่าย Software 2,546.93 7,148.73 จำหน่ายครุภัณฑ์สำนักงาน 1.00 - เงินเบิกเกินส่งคืน 133,446.71 233,050.59 โอนเงินให้ สกร. 54,262.90 174,235.00 โอนเงินรายได้ให้ บก. 9,336.32 30,790.17 ปรับเงินฝากคลัง 54,976.60 86,149.51 ค่าตอบแทนพิเศษ 116,873.00 - ค่าตอบเทนใช้สอย และวัสดุ 4,383,186.91 4,496,391.44 ค่าสาธารณูปโภค 270,240.52 251,221.66 ค่าใช้จ่ายงบกลาง 310,998.00 129,282.00 ค่าใช้จ่ายตามาตรการของรัฐ 669,900.00 ค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ 831,785.02 874,825.82 รวมค่าใช้จ่าย 11,728,434.90 14,711,968.43 รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ - 314,100.63 - 1,513,166.00


132| P a g e สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 หน่วย : บาท รายละเอียดประกอบ 1 ปี 2563 ปี 2564 ค่าตอบแทนพิเศษ เงินสมทบประกันสังคม 110,851.00 81,854.00 เงินกองทุนทดแทน 6,022.00 6,200.00 รวม 116,873.00 88,054.00 รายละเอียดประกอบ 2 ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าวัสดุ ค่าล่วงเวลา 21,880.00 37,030.00 ค่าเช่าบ้าน 490,550.00 483,479.96 ค่าใช้จ่ายอบรมในประเทศ 11,600.00 ค่าใช้จ่ายอบรมภายนอก 617,410.00 601,685.00 ค่าเบี้ยเลี้ยง 421,791.00 333,629.00 ค่าที่พัก 259,091.00 143,210.00 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางในประเทศ 252,747.00 119,306.71 ค่าวัสดุ 444,994.00 529,556.32 ค่าซ่อมแซมและค่าบำรุงรักษา 232,890.22 561,113.70 ค่าเชื้อเพลิง 231,833.30 247,421.00 ค่าจ้างเหมาบริการบุคคลาภายนอก 1,202,518.15 1,207,749.00 ค่าเบี้ยประกันภัย 6,882.24 5,590.75 ครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ 8,990.00 60,300.00 ค่าใช้จ่ายในการประชุม 178,510.00 165,120.00 ค่าใช้สอยอื่นๆ 1,500.00 1,200.00 รวม 4,383,186.91 4,496,391.44


133| P a g e บรรณานุกรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ กองแผนงาน 2564 แผนปฏิบัติงานประจำปี 2564 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตรวจการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์.2564 ปริมาณธุรกิจ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ สารสนเทศทางการเงินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์


134| P a g e สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เลขที่ 114 ถนนสิงหนาทบำรุง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทรศัพท์ 053-611332 โทรสาร 053-611518 https://web.cpd.go.th/maehongson/ e-mail : [email protected]


Click to View FlipBook Version