The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

Annaul Report 2565

Annaul Report 2565

รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 33 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 9. ความไม่เข้าใจกัน/การเสียอำนาจของผู้สมัครรับเลือกตั้งกรรมการกับกรรมการที่ได้รับเลือกตั้ง ทำให้เกิดการ ร้องเรียนและร้องขอความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เรื่องประโยชน์ของมวลสมาชิกมาใช้เป็นประเด็นใน การร้องเรียน (ไม่ยอมยุติ) ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้แล้วเสร็จ เพราะ ผู้ร้องไม่ยอมยุติจนกว่าจะได้ในสิ่งที่ ต้องการ - จัดเวทีให้มีการพูดคุย ทำความเข้าใจระหว่างคณะกรรมการสหกรณ์ กับสมาชิกผู้ร้อง แต่ก็ไม่เป็นผล และ สุดท้ายสมาชิกผู้ร้องย้อนกลับมาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ 10. กฎหมายไม่เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ - สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จากการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้มีอำนาจพิจารณา ⚫ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด แม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร : สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด 3. กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด ⚫ ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด (1) การเติบโตจากทุนภายในของตนเอง ส่งเสริม สนับสนุนให้สหกรณ์ฯ สะสมทุนภายในโดยการระดมทุนเรือนหุ้นจากสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 33 คน ลดการพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอก และในช่วง 3 ปีบัญชีที่ผ่านมา การดำเนินงานของสหกรณ์ฯ ใช้ ทุนภายในของตนเอง ไม่ได้กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอก เหตุนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ ฝ่ายจัดการ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ รู้สึกภาคภูมิใจในสหกรณ์แห่งนี้ที่สามารถบริหารจัดการเงินทุนได้ดี และเพื่อ ไม่ให้สหกรณ์ฯมีภาระหนี้สิน สมาชิกสหกรณ์จึงได้ร่วมกันเพิ่มทุนเรือนหุ้น เพื่อเพิ่มทุนภายในของสหกรณ์เสมอมา ส่งผลให้สหกรณ์ฯ ค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง แม้จำนวนสมาชิกจะลดลงจากปี 2562 จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นผล เนื่องจากสหกรณ์ฯ ต้องปฏิบัติตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 หมายเหตุ : หนี้สินที่มีคือ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เช่น เงินอุดหนุนขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมบ้านนาป่าแปก จำกัด


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 34 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร (2) โครงการส่งเสริมการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร และจำหน่ายผลผลิตผักปลอดภัย กิจกรรมส่งเสริมการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร และจำหน่ายผลิตผักปลอดภัยสหกรณ์โครงการธนาคาร อาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank) สมาชิกสหกรณ์จึงได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดภัย ในการนี้สหกรณ์ฯ และหน่วยงานภาครัฐ จึงได้เข้ามามีบทบาทในการเปิดช่องทางการตลาดและรวบรวมพืชผักปลอดภัยจากสมาชิก ผลที่ได้จากโครงการ : สหกรณ์ฯ มีการจำหน่ายพืชผักปลอดภัยให้ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีจุด จำหน่ายหลักบริเวณโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ เพื่อจำหน่ายแก่บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้มารับบริการทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป เป็นประจำทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และขบวนการสหกรณ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจัดกิจกรรมสหกรณ์ช่วยวิกฤตโควิด–19 (3) โครงการสร้างรายได้เสริม เพิ่มคุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์ฯ ได้จัดโครงการสร้างรายได้เสริม เพิ่มคุณภาพชีวิต วิถีเศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์โครงการธนาคาร อาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด (เพาะเห็ดหอม) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ ในการสร้าง อาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในครัวเรือน จึงได้มีการระดมความคิดระหว่างคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ สมาชิกและ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ในการสร้างสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก จึงได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้น โดยใช้ งบประมาณการฝึกอบรมจากทุนศึกษาอบรมของสหกรณ์ ผลที่ได้จากโครงการ : สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำอาชีพเสริม สร้างรายได้ในครอบครัว ให้แก่สมาชิกอีกทางหนึ่งด้วย


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 35 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร (4) โครงการประชุมยกระดับชั้นความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการประชุมยกระดับชั้น ความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 ราย เพื่อผลักดันให้สหกรณ์ยกระดับความเข้มแข็ง จากชั้น 2 สู่ชั้น 1 ผลที่ได้จากโครงการ : สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด สามารถยกระดับ ชั้นความเข้มแข็ง จากชั้น 2 สู่ชั้น 1 ได้ (5) โครงการจิตอาสา และ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม/ชุมชน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ (ทำความสะอาดวัด หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล) คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมกันจัด กิจกรรมสาธารณประโยชน์ พัฒนาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม : คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และ ประชาชนในหมู่บ้าน มีความสามัคคี เป็นการสร้างพลังของสหกรณ์ร่วมกับชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชนให้สะอาด สวยงามน่าอยู่ ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการส่งเสริมสหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด 1. เริ่มต้นจากสิ่งที่สหกรณ์มีศักยภาพ หรือ ปัญหาสมาชิกที่ต้องการแก้ไข มีทรัพยากรที่สามารถสนับสนุน/ เอื้อต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ 2. ให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดโครงการ/กิจกรรมให้มากที่สุดตั้งแต่กระบวนการระดม ความคิด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการกำหนดโครงการ/กิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 36 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กำหนด กิจกรรม/โครงการและวิธีการนำโครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ 4. ประสานความร่วมมือบุคคลและหน่วยงานที่มีศักยภาพ/เชี่ยวชาญ/ประสบการณ์มาให้ความรู้ และ/หรือช่วยเหลือในส่วนที่สหกรณ์ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ 5. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อพิจารณาแก้ไข และรายงานผลต่อสมาชิกที่ได้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมเพื่อรับทราบ รับรู้ถึงสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ 6. เมื่อมีความสำเร็จต้องมีการยกย่อง/ชมเชย แก่ผู้ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม และ ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกสหกรณ์ทุกคนทราบให้เกิดภาคภูมิใจในสหกรณ์ของตนเอง ⚫ ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 สมาชิกแรกตั้ง จำนวน 1,033 คน ทุนเรือนหุ้นจำนวน 206,600.- บาท เป็นสหกรณ์ฯ ที่ตั้งขึ้นมาตามนโยบายของ ภาครัฐ บุคคลที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ต้องการเพียงสมุดประจำตัวผู้ได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ คทช. เท่านั้น ไม่ได้ให้ความสนใจ หรือ ใส่ใจในการเข้ามามีส่วนกับสหกรณ์มากนัก ประกอบกับสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ได้ ประกอบอาชีพการเกษตร แต่มีอาชีพหลัก เช่น ค้าขาย, เจ้าของร้านอาหาร, ธุรกิจส่วนตัว , พนักงานของรัฐ, พนักงานเอกชน ฯลฯ และ ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ การเข้าร่วมทำธุรกิจ/กิจกรรมกับสหกรณ์การเกษตรมีน้อยในช่วงการจัดตั้งสหกรณ์ระหว่างปี 2561 - 2562 และ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การดำเนินงาน/การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ฯ ค่อยๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ (1) แนะนำ ส่งเสริม กำกับและผลักดันให้สหกรณ์ฯ ดำเนินธุรกิจที่สามารถบริการสมาชิกได้ตรงตามความ ต้องการ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก(เกษตรกร)ด้านการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม รายได้ ผลที่ได้รับ : สหกรณ์ฯ ขับเคลื่อนธุรกิจตามแผนงานประจำปีซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ส่งเสริมเพิ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิกและเพิ่มปริมาณธุรกิจสหกรณ์ คือ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ภายใต้ชื่อโครงการ“สินค้า ดี มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิตของสมาชิก” ซึ่งทำให้ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน และ สหกรณ์ฯได้ประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการของสหกรณ์ให้สมาชิกรู้จักเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะได้มีการส่งเสริม และพัฒนาการดำเนินธุรกิจ/กิจกรรมเพื่อบริการสมาชิกให้มากขึ้น เช่น การส่งเสริมการออมทรัพย์ จุดบริการน้ำมัน เป็นต้น 2. สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 37 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ปริมาณธุรกิจ 30 มิถุนายน 2563 30 มิถุนายน 2564 30 มิถุนายน 2565 1. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 99,000.00 243,665.00 683,660.00 2. ธุรกิจสินเชื่อ - 500,000.00 - รวม 99,000.00 743,665.00 683,660.00 (2) โครงการต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2563 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่สมาชิกสหกรณ์ จำนวน 2 กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ และ (2) กลุ่มผู้เลี้ยงหมูดำ ผลที่ได้รับจากโครงการ : สมาชิกสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามศักยภาพเพื่อแก้ไขปัญหา ที่ดินทำกิน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สามารถเพิ่มรายได้และ/หรือลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน จำนวน 40 ราย และได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง มาถึงปีงบประมาณ 2565 (3) โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะเนื้อ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มบ้านห้วยช่างคำ และ (2) กลุ่มบ้านห้วยเดื่อ สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด ได้รับการส่งเสริมการส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิกภายใต้ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งได้มี หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมบูรณาการ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สมาชิกสหกรณ์ฯ จำนวน 23 ราย ได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอนาคตที่ดี โดยได้รับการอุดหนุนปัจจัย การผลิตจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมปศุสัตว์ ในปีแรก ดำเนินการใน 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มบ้านห้วยช่างคำ สมาชิกจำนวน 13 ราย และ (2) กลุ่มบ้านห้วยเดื่อ สมาชิก จำนวน 10 ราย วิธีการ ดำเนินการในรูปของธนาคารแพะ เพื่อขยายผลสู่กลุ่มอื่นๆต่อไปในปีที่ 2 และเชื่อมโยงกับธุรกิจของสหกรณ์ คือ ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรที่จะได้ดำเนินการต่อไป ผลที่ได้รับจากโครงการ : สมาชิกสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามศักยภาพเพื่อแก้ไข ปัญหาที่ดินทำกิน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน และ สหกรณ์ฯ มีแนวทางการดำเนินธุรกิจ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 38 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร (4) แก้ไขปัญหาขาดทุนสะสมของสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 สมาชิก แรกตั้ง จำนวน 1,033 คน ทุนเรือนหุ้น แรกเข้า จำนวน 206,600.- บาท ในช่วงแรกตั้งสหกรณ์ ปี 2561 -2562 สหกรณ์ ฯ ดำเนินธุรกิจ/ปริมาณน้อยมาก แต่มีค่าใช้จ่ายดำเนินงานค่อนข้างสูง เช่น ค่าจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ค่าใช้จ่ายวัน ประชุมใหญ่ ประกอบกับสหกรณ์ฯ มีทรัพย์สิน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เอกสาร โต๊ะ ตู้เก็บเอกสาร ซึ่งต้องมีการ หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินค่อนข้างสูง(ค่าใช้จ่ายในทางบัญชี) ส่งผลให้ในช่วงปี 2561 -2563 สหกรณ์ฯมีผลการ ดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี และ ณ สิ้นปีบัญชีวันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีขาดทุนสะสมทั้งสิ้นจำนวน 117,989.24 บาท ในปีบัญชี 2564 และ ปีบัญชี 2565 สหกรณ์ฯ ได้มีการเพิ่มการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในรอบ 2 ปี บัญชีล่าสุด สหกรณ์ฯ มีผลการดำเนินงานมีกำไรสุทธิประจำปี ซึ่งสหกรณ์ฯได้มีการ ผ่อนใช้คืนขาดทุนสะสมบางส่วนและได้แบ่งกำไรส่วนหนึ่งมาจัดสรรเป็นทุนสำรอง ทุนสะสมต่างๆตามข้อบังคับของ สหกรณ์ฯและจ่ายเงินปันผล เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่สมาชิก มีรายละเอียด ดังนี้ รายการ 30 มิถุนายน 2563 30 มิถุนายน 2564 30 มิถุนายน 2565 ทุนดำเนินงาน 121,810.76 187,647.48 471,731.01 (ขาดทุนสะสม) (117,989.24) (115,697.52) (107,341.47) กำไร (ขาดทุน) สุทธิประจำปี ( 15,183.91 ) 2,291.72 16,712.09 การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี ไม่ได้จัดสรร ชดเชยขาดทุนสะสม จัดสรรกำไรสุทธิ ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการส่งเสริมสหกรณ์การเกษตร คทช.แม่ปายฝั่งซ้าย จำกัด 1. การเริ่มต้นและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ ได้เริ่มจากสิ่งที่สหกรณ์มีศักยภาพ หรือ ปัญหาสมาชิก ที่ต้องการแก้ไข มีทรัพยากรที่สามารถสนับสนุน/เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ 2. คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้ร่วมกันสรุป/สังเคราะห์ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ 3. การดำเนินธุรกิจ โครงการ/กิจกรรมต่างๆของสหกรณ์ ให้มีการสำรวจความต้องการของสมาชิกทุกครั้ง และประเมินศักยภาพของสหกรณ์ว่ามีมากน้อยเพียงใดที่จะดำเนินการตามความต้องการของสมาชิกให้ประสบ ผลสำเร็จ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 39 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กำหนดกิจกรรม/ โครงการและวิธีการนำโครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ 5. ประสานความร่วมมือบุคคลและหน่วยงานที่มีศักยภาพ/เชี่ยวชาญ/ประสบการณ์มาให้ความรู้ และ/หรือ ช่วยเหลือในส่วนที่สหกรณ์ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ 6. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อร่วมกันพิจารณาแก้ไขและรายงานผลต่อสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมเพื่อรับทราบ รับรู้ถึงสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ 7. ให้มีการขยายผลโครงการ/กิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จ/เกิดผลเป็นรูปธรรมสู่สมาชิกกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้ สมาชิกคนใหม่ๆเข้ามาร่วมโครงการ/กิจกรรมของสหกรณ์ 8. เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม และข่าวสารต่างๆของสหกรณ์สู่สมาชิก ⚫ ผลงาน/ความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู (1) โครงการระดมทุนเรือนหุ้น (การเติบโตจากทุนภายในของตนเอง) ส่งเสริม สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรฯ สะสมทุนภายในโดยการระดมหุ้นจากสมาชิกจำนวน 70คน ลดการพึ่งพา แหล่งเงินทุนจากภายนอก และการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วง 3 ปีบัญชีกลุ่มเกษตรกรฯ ใช้ทุนภายใน ของตนเอง ไม่ได้กู้ยืมเงินจากภายนอก เหตุนี้คณะกรรมการดำเนินการกลุ่มเกษตรกร และสมาชิกกลุ่มเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ รู้สึกภาคภูมิใจในกลุ่มเกษตรกรแห่งนี้ที่สามารถบริหารจัดการเงินทุนได้ดี และเพื่อไม่ให้กลุ่ม เกษตรกรฯ มีภาระหนี้สิน สมาชิกกลุ่มเกษตรกรจึงได้ร่วมกันเพิ่มหุ้น เพิ่มทุนภายในของกลุ่มเกษตรกรเสมอมา ส่งผลให้กลุ่ม เกษตรกรฯค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง ถึงแม้จำนวนสมาชิกจะลดลงจากปีก่อน ดังจะเห็นได้จากรายละเอียดต่อไปนี้ งบแสดงฐานะการเงิน/งบกำไรขาดทุน 30 มิถุนายน 2563 30 มิถุนายน 2564 30 มิถุนายน 2565 สินทรัพย์ 203,352.92 207,388.11 204,494.44 หนี้สิน 16,116.24 13,974.24 13,927.24 ทุนของกลุ่มเกษตรกร 187,236.68 193,413.87 190,520.20 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 3,864.08 1,265.19 5,206.33 ทุนเรือนหุ้น 33,450.00 40,200.00 32,100.00 3. กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 40 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร (2) โครงการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร (ข้าวเปลือก) เพื่อเป็นการพัฒนา/เพิ่มศักยภาพธุรกิจที่มีอยู่และต่อยอดธุรกิจไปสู่การรวบรวมผลผลิตการเกษตร และเพื่อ เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตการเกษตรของสมาชิกสหกรณ์ และแก้ไข/ บรรเทาปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ กลุ่มเกษตรกรจึงจัดทำโครงการรวบรวมข้าวเปลือกปีการผลิต 2563/64 ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม : กลุ่มเกษตรกรฯ สามารถรวบรวมข้าวเปลือก จากสมาชิก จำนวน 8 ราย โดยรวมรวบข้าวเปลือก กข.21 จำนวน 48 หลัง (1 หลังน้ำหนัก 104 กิโลกรัม) ราคาหลังละ 1,000.- บาท โดยใช้เงินทุนดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรฯ ในการรวบรวมข้าวเปลือก จำนวน 48,000.- บาท และรวบรวม ข้าวเปลือก กข.21 จำนวน 10,241.- กิโลกรัมๆ 10 บาท จากสมาชิก จำนวน 11 ราย โดยใช้เงินทุนในการรวบรวม ข้าวเปลือก จำนวน 102,410.- บาท ใช้เงินทุนในการรวบรวมผลผลิตทั้งสิ้น จำนวน 150,410.- บาท เพื่อจำหน่ายให้สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด สหกรณ์การเกษตรเมืองแม่ฮ่องสอน จำกัด และพ่อค้าคนกลาง (3) โครงการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย เพื่อเป็นการพัฒนา/เพิ่มศักยภาพธุรกิจที่มีอยู่และต่อยอดธุรกิจไปสู่การผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย และ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตการเกษตรของสมาชิก และแก้ไข/ บรรเทาปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ กลุ่มเกษตรกรจึงจัดทำโครงการแปรรูปข้าวปลอดภัย โดยได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม ให้ความรู้ในการจัดทำแผนการผลิต การแปรรูปและการตลาดข้าวปลอดภัย รวมทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนงานประจำปีของ กลุ่มเกษตรกรฯ ที่ได้นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม : กลุ่มเกษตรกรฯ สามารถรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร (ข้าวเปลือก) จากสมาชิก จำนวน 19ราย โดยรวมรวบข้าวเปลือก กข 21 จำนวน 15,240 กิโลกรัม สำหรับการแปรรูปข้าว กลุ่มนำข้าว บางส่วน ไปแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุงกลุ่มเกษตรกรฯ มีแผนดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 41 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร (4) การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ทำการเกษตรตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง โดยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรในแต่ละรอบ การผลิตของสมาชิก ผลที่ได้รับ : กลุ่มเกษตรฯ ปล่อยสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร รายละ 3,000 - 4,500 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 157,000.- บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งสมาชิกสารถชำระเงินกู้ได้ครบถ้วน ตามรอบการผลิต สำหรับเงินทุนนี้ กลุ่มเกษตรกรฯ จะใช้หมุนเวียนในวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสมาชิก ที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป รอบการผลิต ข้าว ถั่วเหลือง จำนวนคน/เงิน ราย บาท ราย บาท 1. ปลูก 11 42,000.00 11 41,000.00 2. เก็บเกี่ยว 1 33,000.00 11 41,000.00 ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมู 1. การเริ่มต้นและพัฒนาธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรได้เริ่มจากสิ่งที่กลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพ หรือปัญหา สมาชิกที่ต้องการแก้ไข มีทรัพยากรที่สามารถสนับสนุน/เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้ 2. คณะกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้ร่วมกันสรุป/สังเคราะห์ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ 3. การดำเนินธุรกิจ โครงการ/กิจกรรมต่างๆของกลุ่มเกษตรกรให้มีการสำรวจความต้องการ ของสมาชิกทุกครั้งและประเมินศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรว่ามีมากน้อยเพียงใดที่จะดำเนินการตาม ความต้องการของสมาชิก 4. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการกำหนดกิจกรรม/ โครงการและวิธีการนำโครงการ/กิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ 5. ประสานความร่วมมือบุคคลและหน่วยงานที่มีศักยภาพ/เชี่ยวชาญ/ประสบการณ์มาให้ความรู้ และ/หรือช่วยเหลือในส่วนที่กลุ่มเกษตรกรยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ 6. ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อ พิจารณาแก้ไขและรายงานผลต่อมวลสมาชิกเพื่อรับทราบ รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ 7. เมื่อมีความสำเร็จต้องมีการยกย่อง/ชมเชย แก่ผู้ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรม และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทุกคนภาคภูมิใจในกลุ่มเกษตรกรของตนเอง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 42 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ⚫ ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด ได้ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์5 ปี (ปี 2562 –2566)ซึ่ง กำหนดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ในปี 2564 สหกรณ์ได้ดำเนินการงานตามแผนที่กำหนดได้แก่ 1. แผนงานด้านการเงิน สหกรณ์ได้ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมการออมตามแผนยุทธศาสตร์และการ เพิ่มหุ้นรายเดือนและการบริการเงินกู้แก่สมาชิก 2. แผนงานด้านสมาชิกและผู้ใช้บริการ ได้ดำเนินการตามโครงการรณรงค์เพิ่มสมาชิกใหม่ 3. แผนงานด้านกระบวนการภายใน ดำเนินการตามโครงการการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การบริหารจัดการสหกรณ์ การบริหารจัดการแผนงานของสหกรณ์และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 4. แผนงานด้านสังคมและขบวนการ ได้ดำเนินการตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรม ของขบวนการสหกรณ์ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ การจ่ายเงิน สวัสดิการค่าชดเชยการรักษาพยาบาลของสมาชิก การจ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือค่าสงเคราะห์ศพแก่สมาชิก และญาติสายตรงสมาชิกเสียชีวิต การจ่ายสวัสดิการจ่ายเงินสงเคราะห์เกี่ยวกับศพ และเงินสงเคราะห์สมาชิก และครอบครัว การจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การจ่ายเงินสวัสดิการทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก และการ จ่ายเงินสวัสดิการสมาชิกที่เกษียณอายุราชการ จากการผลการดำเนินงานของสหกรณ์ที่ผ่านมาส่งผลให้ ในปีงบประมาณ 2565 สหกรณ์รับรางวัลคัดเลือก สหกรณ์ดีเด่นระดับจังหวัดประจำปี 2565 ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ⚫ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สหกรณ์มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (ปี 2562 – 2566) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของ สหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกและสังคม โดยกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้าแนะนำ ส่งเสริม ด้านการพัฒนาองค์กรและ ด้านการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงงานด้านการกำกับ ดูแล การดำเนินงานของสหกรณ์ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย สหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1. สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด มอบทุนการศึกษาบุตรสมาชิก สหกรณ์ มอบเงินสวัสดิการสงเคราะห์ศพ ให้สมาชิกสหกรณ์


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 43 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์มีการควบคุมการดำเนินงานตั้งแต่การกำหนดขั้นตอนการติดตามผลการดำเนินงานในแต่ละ แผนงาน/โครงการโดยมอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับฝ่ายจัดการ สหกรณ์ฯ มีการนำเสนอผลที่ได้จากการดำเนินงานในแต่ละโครงการ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำทุกเดือน เพื่อติดตาม ผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และร่วมกันพิจารณาผลที่ได้จากการ ปฏิบัติงาน รวมทั้งสหกรณ์มีการร่วมมือ/เชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับสหกรณ์และสถาบันอื่นๆ ส่งผลให้สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปี 2564 และผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ 19,039,962.62 บาท งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 อำเภอขุนยวม 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอขุนยวม จำนวนสหกรณ์ 1 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 100.00 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 1 1 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 2 1 50 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 1 1 100 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 2 1 50 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 3 3 100 กิจกรรมอบรมสมาชิกให้ความรู้อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 44 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 3 3 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 3 2 67 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 3 3 100 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 3 3 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 3 3 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 3 3 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 (อำเภอขุนยวม) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 708 คน มีสมาชิก มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 658 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 93 มีปริมาณธุรกิจจำนวน 40,487,484.86 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับดีขึ้นไป จำนวน 1 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง มีสหกรณ์ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร - สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด ประสบปัญหาด้านหนี้ค้างสูง จึงเป็นเหตุให้สหกรณ์ถูกตั้งค่าเป็น ค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายมากกกว่ารายได้ - สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อด้านราคาที่ ผันผวน และปัจจัยด้านการขนส่งมีต้นทุนสูง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 45 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร - การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์ยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และ กฎหมายของสหกรณ์ - คณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรไม่ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร - กลุ่มเกษตรกรบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน - กรรมการดำเนินการบางท่านมีความกระตือรือร้นในการบริหารงานกลุ่มเกษตรกรเท่าที่ควร 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา - แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหนี้ค้าง ให้ความรู้การบริหารจัดการหนี้ที่มี ประสิทธิภาพแก่กรรมการ/ฝ่ายจัดการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี ตลอดจนการวิเคราะห์ศักยภาพในการชำระหนี้ สมาชิก/ จำแนกกลุ่มลูกหนี้ - แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้านการตลาด - การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ - แนะนำให้คณะกรรมการสหกรณ์มีการจัดอบรม หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสหกรณ์ เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจในระบบสหกรณ์ - แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานโดยยึดระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินอย่างเคร่งครัด - แนะนำให้สหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น - คณะกรรมการควรได้รับความรู้เกี่ยวกับบัญชี ระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร - มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความคุ้นเคยในการทำงานร่วมกัน 7. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ใช้เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบของการใช้แผนแนะนำส่งเสริมฯ ปี 2565 มาใช้ใน การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สหกรณ์การเกษตรขุนยวม จำกัด ประเภทสหกรณ์ การเกษตร ที่ตั้งของสหกรณ์ ที่อยู่ : เลขที่ 362 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์ 58140 ข้อมูลทั่วไป (ปีบัญชีล่าสุด) - จำนวนสมาชิก 708 คน - ทุนดำเนินงานของสหกรณ์ 27,901,936.42 บาท - ปริมาณธุรกิจ ปีบัญชี 31 ธันวาคม 2564 แยกตามประเภทของสหกรณ์ ได้แก่ 1) ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 7,119,600 บาท 2) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 19,676,239.48 บาท 3) ธุรกิจรวบรวม ผลผลิต จำนวน 19,482,013.50 บาท 4) ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 14,536,746.59 บาท 5) ธุรกิจให้บริการ จำนวน 376,857.82 บาท - ผลผลิตที่รวมรวม ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, กระเทียม, ถั่วเหลือง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 46 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของสหกรณ์ คือ สหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลายประเภท สมาชิกมีความศรัทธา และเชื่อมั่นในการดำเนินงานของสหกรณ์ ถึงแม้สหกรณ์จะอยู่ในภาวะขาดทุนสะสม แต่มีสมาชิกร่วมทำธุรกิจ กับสหกรณ์จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 93 และมีสมาชิกนำเงินมาฝากกับสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ด้วยสหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลายประเภท มีการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 อัตรา และมีการแบ่งงาน มอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่สหกรณ์มีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ช่วยเหลือกันสามารถทำงานแทนกัน ได้ในบางตำแหน่ง ทำให้สมาชิกสามารถเข้ารับบริการได้รับการดูแลเบื้องต้นได้และต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่และ คณะกรรมการดำเนินการ ใช้จ่ายค่าใช้จ่ายของสหกรณ์อย่างประหยัดและเท่าที่จำเป็น เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของ สหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 อำเภอปาย 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอปาย และอำเภอเมือง จำนวนสหกรณ์ 5 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร - แห่ง รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 62,030 62,030 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 47 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 4 3 75 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง - - - 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ - - - กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 5 5 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 5 4 80 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง - - - กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 5 5 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 5 5 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 5 5 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 5 5 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง 5 5 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 (อำเภอปาย) มีจำนวน 5 สหกรณ์ ดังนี้ สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 976 คน มีสมาชิกมีส่วนร่วมใน การทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 234 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 23.98 มีปริมาณ ธุรกิจจำนวน 4,699,788.79 บาท


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 48 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ศชพ.บ้านห้วยตอง จำกัด มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 153 คน มีสมาชิกมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 153 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี 2565) คิดเป็นร้อยละ 100 มี ปริมาณธุรกิจจำนวน 2,918795.20 บาท สหกรณ์การเกษตร ศชพ.คริสตจักรเมืองน้อย จำกัด มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 153 มีสมาชิกมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 105 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี 2564) คิดเป็นร้อยละ 68.63 มี ปริมาณธุรกิจจำนวน 3,736,022.43 บาท สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านป่าไม้โป่งสา จำกัด มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 71 คน มีสมาชิกมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 65 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี 2565) คิดเป็นร้อยละ 91.54 มี ปริมาณธุรกิจจำนวน 2,603,997.60 บาท สหกรณ์การเกษตรบ้านม้งขุนสาใน จำกัด มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 72 คน มีสมาชิกมีส่วน ร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 72 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี 2564) คิดเป็นร้อยละ 100 มีปริมาณ ธุรกิจจำนวน 707,101.70 บาท สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้จำนวน 5 แห่ง สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน ระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 5 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 5 แห่ง มีสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 5 คิดเป็นร้อยละ 100 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สมาชิกบางรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เชื่อมั่น ศรัทธา ในตัวองค์กร ทำให้มีส่วนร่วมน้อย 2. สมาชิก คณะกรรมการบางแห่ง ขาดความเสียสละ ไม่มองประโยชน์โดยรวม 3. สมาชิกบางรายอยู่ห่างไกล มีแหล่งเงินทุนหลายทาง หนี้สินมีจำนวนมาก 4. คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่บางสหกรณ์ ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารงาน 5. สหกรณ์บางแห่ง มีเงินทุนไม่พอเพียง อาศัยแหล่งเงินทุนภายนอกจำนวนมาก 6. สหกรณ์บางแห่งมีหนี้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และมีหนี้ค้างเก่ายกมา จำนวนมาก 7. สหกรณ์บางแห่งขาดความรู้ในด้านการบริหารเงินทุน และการวิเคราะห์ต้นทุนของสหกรณ์ 8. คณะกรรมการสหกรณ์บางแห่งขาดความรู้ความเข้าใจ การวางนโยบาย ทิศทาง และการตลาด 9. ไม่มีตลาดในการรองรับผลผลิตทางการเกษตร และราคาสินค้าทางการเกษตรไม่แน่นอน พร้อมทั้งการคมนาคมยากลำบาก ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าของสหกรณ์สูง 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. แนะนำ สหกรณ์ ให้มีการจัดอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสหกรณ์ หรือกับทางหน่วยงาน ของรัฐ เพื่อให้เข้าใจถึงระบบของสหกรณ์ 2. แนะนำสมาชิกของสหกรณ์ให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์ และเน้นย้ำในเรื่องการร่วม ทำธุรกิจกับสหกรณ์


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 49 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. แนะนำให้สหกรณ์มีการระดมทุนภายในก่อนที่จะไปหาแหล่งเงินทุนภายนอก โดยส่งเสริมการออม การระดมหุ้นของสมาชิก 4. แนะนำให้สหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 5. แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานโดยยึดระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานอย่าง เคร่งครัด 7. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ใช้เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบของการใช้แผนแนะนำส่งเสริมฯ ปี 2565 มาใช้ใน การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด ธุรกิจรวบรวมกระเทียม การนำธุรกิจขายหรือรวบรวมผลผลิตของสหกรณ์ มาช่วยในการพยุงราคาให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งยัง ช่วยในเรื่องการชำระหนี้ของสมาชิกได้อีกทางหนึ่ง โดยสหกรณ์นำร่องในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 อำเภอ ปาย คือ สหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีความพร้อมในธุรกิจรวบรวม และเคยดำเนิน ธุรกิจด้านนี้อยู่แล้ว โดยจะมีวิธีการดำเนินการให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจนในธุรกิจรวบรวมผลผลิตกระเทียมคุณภาพ ของสหกรณ์ขึ้น ดังนี้ 1. วางแผนประมาณการรายรับ รายจ่าย ในการดำเนินธุรกิจรวบรวมกระเทียมในปีบัญชีต่อไป ให้ที่ประชุมใหญ่รับราบและพิจารณา 2. ประชุมคณะกรรมการวางแผนปฏิบัติการ ในการรวบรวมกระเทียม ในช่วงฤดูการผลิต ดังนี้ 2.1 กำหนดช่วงระยะเวลา และสถานที่รับซื้อ โดยจะรวบรวบรวมภายในเดือนพฤษภาคม 2565 ณ ลานตากของสหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด 2.2 กำหนดคณะกรรมการตีราคารับซื้อกระเทียม และคณะกรรมการควบคุมการรวบรวม และคณะกรรมการติดตามราคาขายกระเทียม 2.3 กำหนดเงื่อนไขในการรับซื้อ - รับซื้อในราคาท้องตลาด (โดยสหกรณ์จะสบทบกับให้สมาชิกเพิ่มจากราคา ท้องตลาด กิโลกรัมละ ไม่เกิน 2 บาท) -สมาชิกที่มีหนี้เงินกู้ยืม หรือหนี้อื่นๆ กับทางสหกรณ์ ให้สามารถนำผลผลิตมาชำระหนี้แทนได้ - สมาชิกที่ไม่มีหนี้เงินกู้ยืมหรือหนี้อื่นๆ กับทางสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับเป็นเงินสด โดยทางสมาชิกต้องสะสมหุ้นเข้าสหกรณ์เพิ่ม รายละ 1,200 บาท 3. ขั้นตอนการเก็บรวบรวมผลผลิต และการเก็บรักษา โดยสหกรณ์จะเก็บผลผลิตกระเทียม แยกเป็นรายสมาชิกแต่ละคน เพื่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ และจะมีการแยกตัวอย่างกระเทียมเพื่อใช้เป็น ฐานอัตราการยุบ เป็นกอง ๆ ละ 50 กิโลกรัม จำนวน 5 กอง โดยข้อมูลดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลใน การขาย และการรวบรวมปีต่อไป


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 50 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 4. ขั้นตอนเช็คราคาตลาด โดยคณะกรรมการติดตามราคาขาย จะประสานสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดเพื่อหาราคากระเทียม ณ ปัจจุบัน และสืบราคาจากพ่อค้าในพื้นที่ เพื่อเปรียบเทียบราคา และคำนวณความ คุ้มทุน และกำหนดราคาขาย 5. ขั้นตอนการขาย โดยคณะกรรมการติดตามราคาขายจะหารือและดำเนินการหาสถานที่รับ ซื้อ พร้อมทั้งกำหนดราคาขายขั้นต่ำ (จุดคุ้มทุน) และจะขายให้ผู้รับซื้อที่ให้ราคาสูงสุดหรือผู้ที่สหกรณ์เห็นว่า เหมาะสม (สหกรณ์ได้ขายในเดือนมิถุนายน 2565) 6. สรุปผล ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขในปีต่อไป นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการ และ นำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ต่อไป ผลการดำเนินงานการรวบรวมกระเทียมคุณภาพของสหกรณ์การเกษตรเมืองปาย จำกัด ปี 2565 การรับซื้อ - ปริมาณกระเทียมที่รับซื้อ 17,590.00 กก. - ราคารับซื้อเฉลี่ย 39.47 บาท/กก. - จำนวนเงินที่รับซื้อ 699,450.00 บาท - ได้รับชำระหนี้ 158,630.00 บาท - ทุนเรือนหุ้นเพิ่ม 8,400.00 บาท การขาย จำนวน (กก.) ราคา (บาท) รวมเป็นเงิน (บาท) กรเทียมมัดจุก 16,585.00 48.5 804,372.50 กระเทียมร่วง 360 24 8,640.00 รวม 16,945.00 - 813,012.50 กำไรขั้นต้น 813,012.50 - 699,450 = 113,562.50 บาท ผลประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์จะได้รับ 1. ขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด (ได้รับการสมทบการสหกรณ์ กิโลกรัมละไม่เกิน 2 บาทจากราคาท้องตลาด) 2. สามารถนำผลผลิตกระเทียมมาชำระหนี้เงินกู้ยืมสหกรณ์ได้ โดยรับส่วนต่างเป็นเงินสดกลับคืน 3. ,มีหุ้นเพิ่ม ผลประโยชน์ที่สมาชิกสหกรณ์จะได้รับ 1. สหกรณ์ได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมซึ่งเป็นการช่วยเหลือสมาชิก และได้ส่วนต่างจากการขาย 2. ได้รับการชำระหนี้คืนจากสมาชิกในรูปของกระเทียม ซึ่งสามารถรวบรวมเพื่อขายต่อไป 3. ได้ทุนเรือนหุ้นเพิ่มจากการเพิ่มหุ้นของสมาชิก ภาพการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพได้


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 51 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 อำเภอปางมะผ้า 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอปางมะผ้า จำนวนสหกรณ์ 2 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 1 1 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง - - - 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 1 1 100 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง - - - 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 3 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 2 2 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 2 2 100 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 2 1 50 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 2 1 50 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 2 1 50


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 52 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 2 1 50 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4(อำเภอปางมะผ้า) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 260 คน มีสมาชิกมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 89 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2564) คิดเป็นร้อยละ 34 มีปริมาณ ธุรกิจจำนวน 103,635 บาท/ล้านบาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 1 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง มีสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 1 คิดเป็นร้อยละ 50 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการไม่เต็มความสามารถ ไม่สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่าง เต็มที่ และไม่มีข้อมูลทางการเกษตรของสมาชิก ทำให้การวางแผนไม่มีประสิทธิภาพมากพอ 2. การติดตามประสานงานในพื้นที่ไม่สามารถทำได้ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือไม่มีสัณญาณอินเตอร์เน็ตใช้ในหลายพื้นที่ 3. สหกรณ์บริการไฟฟ้า ประสบปัญหาน้ำแห้งในฤดูแล้ง ไม่สมามารถผลิตกระแสไฟได้ หรือบางทีหน้า ฝน ประสบปัญหาน้ำท่วม ดินสไลด์ทับท่อแตกเสียหายไม่สามารถให้บริการสมาชิกได้ 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการสหกรณ์ ให้แก่สมาชิกในการประชุมกลุ่มสมาชิก 2. อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ในเรื่องบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรู้ในด้านการดำเนิน ธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจ และการบริหารงานสหกรณ 3. ชี้แจงให้สมาชิกสหกรณ์ เห็นข้อดีของการรวมกลุ่ม การรวมหุ้น และการดำเนินธุรกิจร่วมกัน 4. เสริมความรู้เรื่องการบันทึกรายงานการประชุม และการบันทึกบัญชี การคำนวณจุดคุ้มทุน 5. สหกรณ์ควรส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิกเพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น 7. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ใช้เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบของการใช้แผนแนะนำส่งเสริมฯ ปี 2565 มาใช้ใน การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สหกรณ์ไฟฟ้าพลังน้ำห้วยลาง จำกัด เป็นสหกรณ์ที่ไม่มีข้อบกพร่อง หรือมีข้อสังเกตร้ายแรง ที่ผ่านมา สหกรณ์มีกำไรสามารถยกระดับมาตรฐานสหกรณ์ และยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ได้ สมาชิกสหกรณ์ นำเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนซื้อหุ้นเพิ่มทุน และสนใจสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 53 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 อำเภอแม่สะเรียง ภาพการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพได้ 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอแม่สะเรียง จำนวนสหกรณ์ 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 8 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 89,440 89,440 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 8 8 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 6 6 100 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 3 3 100 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 8 8 100


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 54 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 8 8 100 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 8 8 100 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 8 8 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 8 8 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 8 8 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 8 8 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 8 8 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง 8 8 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 (อำเภอแม่สะเรียง) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 3,813 คน มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 2,117 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 55.52 มีปริมาณธุรกิจจำนวน 70,493,590.23 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุม ภายในระดับพอใช้ขึ้นไปจำนวน 7 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 6 แห่ง มีสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 8 คิดเป็นร้อยละ 100 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร -สหกรณ์ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง ประสบปัญหาด้านหนี้ค้างสูง จึงเป็นเหตุให้สหกรณ์ถูกตั้งค่าเป็น ค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายมากกกว่ารายได้ -สหกรณ์ภาคการเกษตรในอำเภอแม่สะเรียง มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อ ด้านราคาที่ผันผวน และปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ -การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณืยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และกฎหมาย ของสหกรณ์


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 55 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา -แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหนี้ค้าง ให้ความรู้การบริหารจัดการ หนี้ที่มีประสิทธิภาพแก่กรรมการ/ฝ่ายจัดการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี ตลอดจนการวิเคราะห์ศักยภาพในการชำระ หนี้สมาชิก/ จำแนกกลุ่มลูกหนี้ -แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้าน การตลาด -การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 7. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ใช้เป็นตัวอย่างหรือต้นแบบของการใช้แผนแนะนำส่งเสริมฯ ปี 2565 มาใช้ใน การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. ชื่อสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด ประเภทสหกรณ์ การเกษตร 2. จดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558 เลขทะเบียนสหกรณ์ที่ 5800000125588 จำนวนสมาชิกแรกตั้ง 40 คน จำนวนเงินทุนแรกตั้ง 54,000 บาท 3. ที่ตั้งสำนักงานเลขที่ 124/5 หมู่ที่ 11 ตำบล ป่าแป๋ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน รหัสไปรษณีย์58110 โทรศัพท์ 099-740-8351 อีเมล [email protected] 4. รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลสหกรณ์ดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง รายการ 2561 2562 2563 2564 2565 รางวัลที่ 1 สหกรณ์ดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง ✓ ✓ รางวัลที่ 2 สหกรณ์ดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง ✓ ✓ ✓ 5.ความสามารถในการบริหารงาน 1. สหกรณ์มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการและนำเสนอเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยเสนอที่ประชุมใหญ่ เช่นแผนรายรับ-รายจ่ายประจำปีของสหกรณ์ ที่คาดว่าจะได้รับหรือจ่ายไปเกี่ยวธุรกิจ ต่าง ๆของสหกรณ์ และมีการติดตามที่ประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการ โดยเจ้าหน้าที่นำเสนองบทดลอง ที่ประชุมประจำเดือนเพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการทราบถึงรายละเอียดการดำเนินงานในเดือนนั้นๆ 2. สหกรณ์มีการนำกิจกรรมที่จัดลำดับความสำคัญไปปฏิบัติ ตามแผนการรายได้และรายจ่าย ของสหกรณ์ โดยเสนอผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำเดือนทุกเดือน เช่น สหกรณ์ตั้งเป้ารวบรวมผักเพิ่ม จากปีก่อน 360,000 บาท เป็น 400,000 บาท ซึ่งสหกรณ์ให้ความสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก จึงได้ กำหนดแผนรวบรวมเพิ่มขึ้น โดยสหกรณ์ได้หาช่องทางจำหน่ายผลผลิตเพิ่มให้กับสมาชิกด้วยตามแผนงานที่วาง ไว้ นำสู่การปฏิบัติผ่านการประชุมประจำเดือน จากการที่สหกรณ์ได้เพิ่มปริมาณธุรกิจรวบรวมผลผลิตมากขึ้น ส่งผลต่อปริมาณธุรกิจด้านอื่นๆของสหกรณ์เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการที่สหกรณ์ให้ความสำคัญกับการ ดำเนินงานเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานที่ได้วางไว้


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 56 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 6.ความสามารถในการจัดการสหกรณ์ 1. ปริมาณธุรกิจที่สหกรณ์ทำกับสมาชิกต่อปริมาณธุรกิจทั้งหมด (%) ที่ รายการ ปี2563 ปี2564 เพิ่ม 1 ปริมาณธุรกิจที่สหกรณ์ทำกับสมาชิก 4,679,268.46 5,041,364.68 362,096.22 2 ปริมาณธุรกิจทั้งหมด 4,679,268.46 5,041,364.68 362,096.22 ผลการคำนวณ 100.00 100.00 100.00 2. เงินออมต่อสมาชิก (บาท) ที่ รายการ ปี2563 ปี2564 เพิ่ม 1 เงินฝากสมาชิก 369,626.57 439,532.78 69,906.21 2 ทุนเรือนหุ้น 976,050.00 1,143,150.00 167,100.00 3 สมาชิก 99.00 99 ผลการคำนวณ 1,345,676.57 1,582,682.78 เพิ่ม 3. ด้านการถือหุ้นเพิ่ม (ดูจากมูลค่าหุ้นสิ้นปี 2 ปี เปรียบเทียบกัน) ที่ รายการ ปี2563 ปี2564 เพิ่ม 1 ทุนเรือนหุ้น 976,050.00 1,143,150.00 167,100.00 7.การควบคุมภายในของสหกรณ์ 1. สหกรณ์ถือใช้ระเบียบว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการควบคุมภายในและการรักษาความปลอดภัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสหกรณ์ พ.ศ.2562 มีการควบคุมภายในอย่างเคร่งครัด โดยการแบ่งแยกหน้าที่ อย่างชัดเจน และมีการตรวจสอบกิจการตามข้อบังคับและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งมีรายงานผลการ ตรวจสอบกิจการประจำปี 2. สหกรณ์มีนำเอาระดับการควบคุมภายใน ตามมาตรฐานสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์มาใช้ ให้เหมาะสม และแก้ไขในส่วนที่ด้อยมาปรับปรุงเพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง รายการ ปี 2563 ปี 2564 ผลการประเมิน ดี ดี ภาพการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพได้


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 57 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 อำเภอแม่สะเรียง 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอแม่สะเรียง จำนวนสหกรณ์ 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 2 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 20,640 20,640 100 เงินอุดหนุน 162,400 162,400 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 2 2 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 2 2 100 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 3 3 100 กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการแนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 2 2 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 2 2 100 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 2 2 100 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 2 2 100


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 58 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 2 2 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 2 2 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุมภายใน) แห่ง 2 2 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไขข้อบกพร่องของ สหกรณ์ แห่ง - - - 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5 (อำเภอแม่สะเรียง) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 351 คน มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 317 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 90.31 มีปริมาณธุรกิจจำนวน 2,714,566.30 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับพอใช้ ขึ้นไปจำนวน 2 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง มี สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 2 คิดเป็นร้อยละ 100 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร -สหกรณ์ภาคการเกษตรในอำเภอแม่สะเรียง มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อ ด้านราคาที่ผันผวน และปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ -การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณืยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และกฎหมาย ของสหกรณ์ 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา -แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้านการตลาด -การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 อำเภอแม่ลาน้อย ประกอบด้วย : สหกรณ์ 5 แห่ง สมาชิกสามัญ 2,282 คน สมาชิกสมทบ 685 คน กลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง สมาชิกสามัญ 74 คน สมาชิกสมทบ - คน ที่ ชื่อสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวนสมาชิก สามัญ จำนวนสมาชิก สมทบ 1 สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 1,452 473 ๒ สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 221 184


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 59 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ๓ สหกรณ์โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 249 28 ๔ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 259 - ๕ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 101 - ๖ กลุ่มเกษตรกรทำนาแม่ลาน้อย 74 - • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสหกรณ์ 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน มีการพิจารณา การติดตามแผนและผลการ ดำเนินงาน ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ด้านการรวบรวมผลผลิต ด้านการรับฝากเงิน และการให้บริการแก่สมาชิก 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ตามกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่กำหนดไว้จำนวน 5แห่ง ประกอบด้วย 1.สหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 2. สหกรณ์การเกษตร ศชพ.ละอูบพัฒนา จำกัด 3. สหกรณ์ โครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านแม่ปาง จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่ลาน้อย จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด 3. เข้าร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ ฯลฯ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจฯ 4. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 5. แนะนำส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ 6. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์ทำประชาสัมพันธ์พร้อมหาตลาดใหม่ • ผลการเข้าแนะนำส่งเสริมและแก้ไขปัญหากลุ่มเกษตรกร 1. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกรเมื่อดำเนินการนัดหมายได้ 2. แนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำแนะนำ คำสั่งของนายทะเบียน มติที่ประชุมใหญ่ และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 3. แนะนำส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจ เรียกศรัทธาของสมาชิกให้มาร่วมดำเนินธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นต่อสมาชิก • ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีหนี้ค้างชำระ 2. ราคาผลิตผลทางการเกษตรมีความผันผวน ส่งผลต่อการรวบรวม ทำให้พ่อค้าคนกลางมีบทบาท ในการรวบรวม และส่วนแบ่งทางการตลาด 3. ขาดอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น รถโม่ข้าวโพด , ไซโลเก็บข้าวโพด 4. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบางรายไม่มาดำเนินธุรกิจกับกลุ่มฯ ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา ในกลุ่มเกษตรกร


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 60 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ชื่อสหกรณ์การเกษตรแม่ลาน้อย จำกัด 5.คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินงานและธุรกิจที่เพียงพอ และไม่มี ความ พยายามในการศึกษาหาความรู้(บอกว่าไม่มีเวลา/มีงานอื่นต้องทำ) 6. สหกรณ์ภาคการเกษตรไม่มีสมาชิกอยากเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์/ขาดทายาทสืบทอดงาน สหกรณ์ 7. คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดใหม่ไม่อยากเข้ามารับผิดชอบ/รับภาระการค้ำประกันเงินกู้ เพิ่มเติมจากคณะกรรมการสหกรณ์ชุดเก่า 8. สหกรณ์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม หรือ มูลค่าหุ้นน้อยกว่าศูนย์ และสมาชิกต้องการลาออกแล้ว รับหุ้นคืน แต่สหกรณ์จ่ายคืนค่าหุ้นให้ไม่ได้ สมาชิกไม่ได้รับหุ้นคืน 9.สมาชิกยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเองในฐานะเจ้าของสหกรณ์ที่ต้องมีส่วนร่วม 10. สมาชิกไม่ได้รับประโยชน์จากสหกรณ์ จึงไม่เข้ามามีส่วนร่วมกับสหกรณ์ ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1. การติดตามหนี้ค้าง ให้แยกอายุหนี้ ตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี และ เกิน 10 ปี แล้วดำเนินการวางแผน การติดตามหนี้รวมถึงการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง 2. การรวบรวมผลิตผลที่ให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ที่มาของรายได้ และรายจ่าย รวมถึงวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผลงาน/ความสำเร็จของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์เป้าหมายโดยการส่งเสริมพัฒนาสหกรณ์ให้รักษามาตรฐานการ ดำเนินงานของสหกรณ์ให้มั่นคง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในเรื่องการ ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร การสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ทำการตลาดนำการผลิต การรวบรวมและแปร รูปผลผลิต ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565สหกรณ์ดำเนินการรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3,225.11 ตัน จำนวนเงิน 25,800,917.00 บาท โดยดำเนินการดังนี้ ต้นน้ำ ขั้นตอนขบวนการดำเนินการ 1. เสนอโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ ตามนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ต่อที่ประชุม คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ 3. ประชุมกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ เพื่อชี้แจงโครงการ สำรวจ พื้นที่การเพาะปลูก 4. ประชุมผู้นำกลุ่ม : เพื่อวางแผนการผลิต การรวบรวม


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 61 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนแต่ละขบวนการผลิต โดยใช้เงินทุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์โครงการ พิเศษ และเงินทุนของสหกรณ์ 6. จัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก : เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช/เคมีการเกษตร 7. จัดทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการกับสหกรณ์ กลางน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. วางแผนการจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต 2. ติดต่อประสานงานกับร้านค้าด้านการวางแผนการจัดซื้อปัจจัยการผลิตร่วมกัน 3. คณะอนุมกรรมการโครงการตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน ปลายน้ำ ขั้นตอนการดำเนินการ 1. เงินทุน : วางแผนการใช้เงินทุนในการดำเนินงาน 2. การตลาด : ประสานงานพันธมิตรด้านการตลาด บริษัทเอกชนทั่วไป กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ 3. คุณภาพสินค้า: ปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้ตามเกรด มาตรฐาน โดยการอบลดความชื้น ควบคุมสิ่งเจือปน 4. ตรวจเช็คอุปกรณ์การตลาด : ดูแลรักษาอุปกรณ์การตลาดให้พร้อมใช้งาน เช่น เครื่องชั่ง รถตัก เครื่องอบลดความชื้น เครื่องเย็บกระสอบ เครื่องบด พัดลมอุตสาหกรรม 5. เตรียมสถานที่รวบรวม : ตรวจเช็คโรงคลุม ลานตาก ถนนเข้า ออก ไฟฟ้ารอบสถานที่รวบรวม และทางเข้าออก 6. ประชาสัมพันธ์ : ประชาสัมพันธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เว็ปไชค์ ไลค์ ที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ประชุมหัวหน้าส่วน กลุ่มเกษตรกรทำนาแม่ลาหลวง อยู่ระหว่างชำระบัญชี ซึ่งผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นต่องบการเงินแล้ว กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 อำเภอแม่ลาน้อย 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอแม่ลาน้อย จำนวน สหกรณ์ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 62 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ เงินอุดหนุน 165,600 165,600 100 เงินอุดหนุน 135,360 135,360 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 1 1 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 1 1 100 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 3 3 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน พ.ค. 64 - มิ.ย. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 3 3 100 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน พ.ค. 64 - มิ.ย. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 3 3 100 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 3 3 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 3 3 100


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 63 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 3 3 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง - - - 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 6 (อำเภอแม่ลาน้อย) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 277 คน มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 251 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี 2565) คิดเป็นร้อยละ 90.61 มีปริมาณธุรกิจ จำนวน 8,860,270.45 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับดี จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ อยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 3 แห่ง มีสหกรณ์ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง ( มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น และ ชั้น 2 จำนวน 3 แห่ง 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร -สหกรณ์ภาคการเกษตรในอำเภอแม่ลาน้อย มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อ ด้านราคาที่ผันผวน และปัจจัยด้านภัยธรรมชาติ -การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์ยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และกฎหมาย ของสหกรณ์ -การระดมทุนเรือนหุ้น ให้สหกรณ์มีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานภายในสหกรณ์ 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา -แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้าน การตลาด -การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ -สหกรณ์ควรศึกษาธุรกิจอื่นนอกจากที่ดำเนินงานอยู่ เช่นธุรกิจเพาะกล้า แปรรูป เป็นต้น -สมาชิกบางรายไม่สามารถชำระหนี้ได้ เนื่องจากโรงเรือนพลาสติกเสียหา รูปภาพกิจกรรม


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 64 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 อำเภอสบเมย 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอสบเมย จำนวนสหกรณ์ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 112,100 112,100 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วย นับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 2 2 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 2 1 50 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการแนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 3 3 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 3 1 33 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 3 3 100 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 3 3 100


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 65 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วย นับ แผน ผล ร้อยละ 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 3 3 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 3 3 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไขข้อบกพร่อง ของสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 (อำเภอสบเมย) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 956 คน มีสมาชิกมี ส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 819 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 86 มี ปริมาณธุรกิจจำนวน 8,000,284.62 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับดีขึ้นไป จำนวน 2 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง มีสหกรณ์ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน - แห่ง คิดเป็นร้อยละ - มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 2 คิดเป็นร้อยละ 67 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร -สหกรณ์การเกษตรสบเมย จำกัด ประสบปัญหาด้านหนี้ค้างสูง จึงเป็นเหตุให้สหกรณ์ถูกตั้งค่าเป็น ค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในอัตราที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายมากกกว่ารายได้ -สหกรณ์ภาคการเกษตรในอำเภอสบเมย มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อด้าน ราคาที่ผันผวน และปัจจัยด้านการขนส่งมีต้นทุนสูง -การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์ยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และกฎหมาย ของสหกรณ์ 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา - แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหนี้ค้าง ให้ความรู้การบริหารจัดการหนี้ที่มี ประสิทธิภาพแก่กรรมการ/ฝ่ายจัดการ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี ตลอดจนการวิเคราะห์ศักยภาพในการชำระหนี้ สมาชิก/ จำแนกกลุ่มลูกหนี้ - แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้านการตลาด - การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ - แนะนำให้คณะกรรมการสหกรณ์มีการจัดอบรม หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสหกรณ์ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ - แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานโดยยึดระเบียบ ข้อบังคับ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินอย่างเคร่งครัด - แนะนำให้สหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 66 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัดตั้งอยู่111 หมู่7 บ้านแม่ลามาหลวง ต.สบเมย อ.สบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 110 ราย ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปากาเก่อญอโปว์ ผลงานความสำเร็จของสหกรณ์ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด สร้างคนกับสิ่งแวดล้อมอยู่กันแบบ เกื้อกูล ดำเนินการธุรกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ภาชนะจากธรรมชาติ (กาบหมาก) และ ธุรกิจรับฝากเงินออมทรัพย์ เดิมทำไร่แบบ หมุนเวียนต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปลูกพืชผักเมืองหนาว ฟักทอง เสาวรส และไม้ให้ผลชนิดยืนต้น เช่น อโวคาโด ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงเข้ามาขยายผลในพื้นที่ภายใต้ แนวทางการรักษาป่า ไม่เผาไม่บุกรุกทำลาย พร้อมสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจในร่ม เงาต้นไม้ใหญ่ เช่น กาแฟ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกต้นหมากเพื่อจำหน่ายลูกและนำกาบ หมากมาผลิตเป็นภาชนะ เช่น ถ้วย ชาม สำหรับใส่อาหาร แทนการเอาไปเผาสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ลูกหมากมีตลาดรองรับที่แน่นอนเนื่องจากสหกรณ์อยู่ใกล้กับศูนย์อพยพชาวพม่าที่นิยมบริโภคหมาก อีก ทั้งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด และร่วมกันวาง แผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด ควบคู่การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิดการ ออกแบบการผลิต การแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โดดเด่น จุดเด่นของสหกรณ์ คือการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่ไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพืชหลักที่เกษตรกรปลูกประกอบด้วย ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง เสาวรส กาแฟใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้การ ดำรงชีวิตแบบอยู่ป่าไม้ได้อย่างสมดุล และนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือสบเมยโมเดล “คนอยู่กับป่า” ได้เป็นอย่างดี


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 67 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร การดำเนินงานของสหกรณ์ ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจแนวใหม่ “BCG Economy” เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุนให้สมาชิก เพาะปลูกพืช ที่มุ่งเน้นความปลอดภัย GAP ลดการใช้สารเคมี โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สารเร่ง พด. และ ฮอร์โมนพืช และการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งผลผลิตทางสหกรณ์จะดำเนินการรวบรวมกระจายออกสู่ตลาด ทั้งตลาดออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีมาตรการในการตรวจสารตกค้างทุกครั้งก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular economy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แปรรูปผลิตภัณฑ์ภาชนะจาก ธรรมชาติ (กาบหมาก) โดยรวยรวมกาบหมากจากสมาชิกสหกรณ์ และชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการลดการ เผาในพื้นที่ ลดปัญหาหมอกควัน อีกทั้งเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ซึ่งในการผลิต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีเศษชิ้นส่วน สหกรณ์ได้นำไปทำปุ๋ยหมักอีกทางหนึ่ง ขั้นตอนการทำการกาบหมาก 1.เก็บกาบที่ร่วงลงมา ตัดหัวตัดท้ายออก 2.นำกาบที่เก็บแล้วมาตัดแดด หน้าละ 2 แดด 3.เมื่อแห้งแล้วรวบรวมเก็บไว้ในที่แห้ง 4.นำกาบมาแช่น้ำให้อ่อนตัวลง ล้างทำความสะอาด ใช้แปรขัดตามร่องให้สะอาด 5.เมื่อทำความสะอาดแล้วนำมาตากให้ความชื่นพอดีตามต้องการ 6.เปิดเครื่องอัดกาบหมากเพื่อเตรียมความร้อนของเครื่อง 7.เมื่อได้ความร้อนแล้ว นำกาบหมากเข้าเครื่องปั๊มตามแม่พิมพ์ 8.เมื่อปั๊มแล้วได้ นำมาคัดแยกเกรดแล้วนำมาแพ็คใส่ถุง เศรษฐกิจสีเขียว Green economy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การ มหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก การจัดการ ที่ดิน ตลอดจนการปลูกกาแฟใต้ร่มเงา เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 68 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ หมู่บ้านทิยาเพอ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านชนเผ่ากะเหรี่ยง ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ดั้งเดิม และที่สำคัญบ้านทิยาเพอมีธรรมชาติรอบๆบ้านที่สวยงามหลายจุด และเป็นชุมชนสมาชิก สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้วิถีชนเผ่า ชิมอาหารและผลผลิตทางการเกษตรพื้นถิ่น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว พริกกะเหรี่ยง พืชทางเลือกที่สหกรณ์ ให้การส่งเสริมสนับสนุน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 อำเภอสบเมย 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ อำเภอสบเมย จำนวนสหกรณ์ 2 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร ...-.... แห่ง รวมทั้งสิ้น 2 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 27,000 27,000 100 เงินอุดหนุน 162,400 162,400 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 2 1 50 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 อย่างน้อยร้อยละ 25 แห่ง 3. สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 2 1 50 4. กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 5. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจสหกรณ์ ร้อยละ 3 3 100 6. อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 69 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพื้นฐาน 1. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามแผนการ แนะนำ ส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แห่ง 2 2 100 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี เดือน ส.ค. 64 - ก.ค. 65 ปิดบัญชีได้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี แห่ง 2 2 100 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีวันสิ้นปีทางบัญชี ระหว่างเดือน เม.ย. 64 - มี.ค. 65 ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน แห่ง 2 0 กิจกรรมกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 2 2 100 งานพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1. ส่งเสริมด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก แห่ง 2 2 100 2. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ แห่ง 2 2 100 3. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพการจัดการองค์กร (การควบคุม ภายใน) แห่ง 2 2 100 4. ส่งเสริมด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน แก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์ แห่ง - - - 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 (อำเภอสบเมย) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 246 คน มีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 156 คน (ใช้ข้อมูลตามงบการเงินปี2565) คิดเป็นร้อยละ 63.41 มีปริมาณธุรกิจจำนวน 4,531,596.65 บาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในระดับ พอใช้ขึ้นไปจำนวน 1 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง มี สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน - แห่ง คิดเป็นร้อยละ - มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร -สหกรณ์ มีการรวบรวมผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความเสี่ยงต่อด้านราคาที่ผันผวน และปัจจัยด้านการ ขนส่งมีต้นสูง -การดำเนินงานของสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์ยังขาดความเข้าใจในด้านการบริหาร และกฎหมาย ของสหกรณ์


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 70 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 6. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการแก้ไขปัญหา -แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ วิเคราะห์ต้นทุนการรวบรวม และการหาช่องทางด้านการตลาด -การใช้กระบวนการควบคุมภายในสหกรณ์ ในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ตั้งอยู่ 111 หมู่ 7 บ้านแม่ลามาหลวง ต.สบเมย อ.สบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58110 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 110 ราย ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปากาเก่อญอโปว์ มี ทุนดำเนินงานทั้งสิ้น 705,316.29 บาท ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน ดังนี้ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ลักษณะเงินสด) ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร ธุรกิจแปรรูป และธุรกิจรับฝากเงินจากสมาชิกเดิมทีสมาชิกเป็นเกษตรกรมี อาชีพหลักทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง และผักตามท้องถิ่น หลังจากนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง(องค์การมหาชน) โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย ได้เข้ามาให้ความรู้และส่งเสริมการ ปลูกพืชที่หลากหลายขึ้นและมีการจัดตั้งกลุ่มเตรียมสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี ต่อมาในปี 2559 กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้เข้ามาในความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ จึงมีการจดทะเบียนประเภทสหกรณ์การเกษตรจนถึงปัจจุบัน เดิมใช้ชื่อ สหกรณ์การเกษตรโครงการขยายผล โครงการหลวงสบเมย จำกัด และในปี พ.ศ.2563 ได้เปลี่ยนชื่อสหกรณ์เป็น “สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบ โครงการหลวงสบเมย จำกัด” เมื่อสมาชิกได้รับการอบรมและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้สมาชิก เข้าใจและเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเริ่มปลูกพืชผักหลากหลายชนิดควบคู่กับการทำไร่ จนทุก วันนี้สมาชิกบางรายไม่ทำไร่หมุนเวียนแต่หันกลับมาปลูกพืชผักต่างๆ เช่น ฟักทองจิ๋ว บัตเตอร์นัต เสาวรส อาโว คาโด มันเทศ พริก กาแฟ มาเป็นอาชีพหลักแต่บางรายเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และ สหกรณ์เป็นตัวกลางในการหาตลาดแล้วส่งให้กับชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการในเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และมีการส่งออนไลน์ทั่วประเทศ สมาชิกหันมาทำอาชีพปลูกพืชผัก ผลไม้ กาแฟ สามารถลดการเผ่าได้มากขึ้นเพราะวัชพืชที่ขึ้นตามสวนสมาชิกใช้วิธีกำจัดด้วยการนำทิ้งใต้ต้นพืช เพื่อย่อยสลายเป็นปุ๋ย จะเป็นการบริหารจัดหารด้วยการหมุนเวียนที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและสิ่งแวดล้อมใน ชุมชนอีกด้วย อีกทั้งในพื้นที่นิยมปลูกต้นหมาก เพื่อบริโภคและจำหน่าย จากการสำรวจมีปริมาณต้นหมาก จำนวน 50,000 ต้น มีปริมาณกาบหมาก 100,000 กาบต่อปี และมีการปลูกเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ต้นต่อปี สหกรณ์ พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด จึงได้ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ (จานกาบ หมาก) แต่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกาบหมากได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านอุปกรณ์ขึ้นรูป และ มีรูปทรงภาชนะเพียงชนิดเดียว เป็นเหตุให้ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ชุมชนจะเผาทำลายก่อให้เกิดมลพิษ และเป็น ต้นเหตุของเชื้อเพลิงเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูง แบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ดำเนินการประสานความร่วมมือกับหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าวัสดุธรรมชาติเหลือใช้ในชุมชน หลังวิกฤตโควิด 19 ส่งเสริม การใช้วัสดุธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่าย ลดการใช้วัสดุที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม (เช่นโฟม พลาสติก) ลดต้นเหตุ ของเชื้อเพลิง ช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ส่งเสริมและสร้างความ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 71 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร เข้าใจให้ชุมชนด้านบริหารจัดการกาบหมากอย่างเป็นระบบโดยวิธีการสหกรณ์ ตลอดจนมีความหลากหลายของ ชนิดภาชนะ ปัจจุบันสหกรณ์ มีออเดอร์ภาชนะจานกาบหมากที่ต้องจำหน่ายออกสู่ตลาด จำนวน 5,000 ใบ โดย ส่งจำหน่ายให้โรงพยาบาลสบเมย เพื่อใช้เป็นภาชนะใส่อาหารให้ผู้ป่วยติดเชื้อ สัปดาห์ละ 1,000 ใบ สหกรณ์มี แผนในการผลิตผลิตภัณฑ์ภาชนะกาบหมากในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถบรรจุอาหารเปียกได้เป็นอย่างดี สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ประมาณ 3 - 4 ครั้ง คาดว่าจะได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นในอนาคต และ สหกรณ์ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิก เยาวชน ประชาชนทั่วไปในชุมชนนำกาบหมากมาจำหน่ายให้แก่ สหกรณ์ ในราคากิโลกรัมละ 10.- บาท และเชื่อมโยงธุรกิจกับสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สาม แลบ จำกัด ในการรวบรวมกาบหมากจากพื้นที่ตำบลแม่สามแลบ มาจำหน่ายให้สหกรณ์ เพื่อสร้างรายได้เสริม ให้แก่ชุมชน แต่เนื่องจากอุปกรณ์ในการขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ (กาบหมาก) ยังไม่เพียงพอ และลูกค้ามี ความต้องการรูปแบบภาชนะจากธรรมชาติที่หลากหลาย สหกรณ์ได้รับการอุดหนุนงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อจัดซื้อเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากธรรมชาติ จำนวน 1 เครื่อง โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 107,100.- บาท และสหกรณ์ยินยอมสมทบ จำนวน 45,900.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 153,000.- บาท แต่ เนื่องจากอุปกรณ์ในการขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ (กาบหมาก) ยังไม่เพียงพอ และลูกค้ามีความต้องการ รูปแบบภาชนะจากธรรมชาติเพิ่มขึ้น จึงได้ริเริ่มในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อขอรับการอุดหนุน งบประมาณ ประจำปี พ.ศ.2564 จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 720,000.- บาท ในการจัดซื้อเครื่อง ขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก พร้อมแม่พิมพ์ เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ต่อไปก ผลิตภัณฑ์ ที่สหกรณ์เริ่มดำเนินการได้ประมาณ 1 ปีกว่าๆ นั้นก็คือ ผลิตภัณฑ์ภาชนะจานกาบหมาก ก่อนจะมา เป็นภาชนะจานกาบหมากนั้น เดิมทีสมาชิกปลูกต้นหมากไว้เพื่อบริโภคลูกหมาก เนื่องจากคนเฒ่าคนแก่บนดอย จะนิยมรับประทานหมากกัน ทำให้กาบหมากที่อยู่บนต้นจะร่วงลงมาแล้วสมาชิกกำจัดด้วยการเผ่าทิ้ง ทำให้เกิด มลพิษทางอากาศในชุมชนซึ่งส่งผลเสียให้กับสิ่งแวดล้อม สกรณ์เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมจึงหาแนวทางใน การกำจัดกาบหมากที่ร่วงลงมาเพื่อลดการเผ่าทิ้ง จากนั้นสกรณ์ได้มีโอกาสพาคณะกรรมการและตัวแทนสมาชิก ไปศึกษาดูงาน แล้วได้กลับมาประชุมหารือ ในการแปรรูปกาบหมาก เพื่อลดการเผ่าและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน สหกรณ์ได้ลงมือทำปีกว่าๆซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกได้และที่สำคัญลดการเผ่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ภาชนะ สามารถนำกลับมาใช้ได้ 3 ครั้ง เมื่อไม่ใช้แล้วสามารถนำไปทิ้งไว้ใต้ ต้นไม้ เพื่อย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมัก เศษกาบที่เหลือจากการปั๊ม สหกรณ์ได้นำไปเทรวมกับเศษใบไม้อื่นๆใน กองปุ๋ยหมัก เมื่อย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมัก เมื่อสมาชิกได้เห็นถึงประโยชน์ของกาบหมาก สมาชิกจึงมีการปลูก ต้นหมากมากขึ้น และมีการปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพื่อให้ชุมชนเป็นพื้นที่สีเขียว ด้วยการลดการเผ่า รู้จัดวิธีกำจัด วัชพืชด้วยการทำปุ๋ยหมากแล้วมาใส่แปลงผัก เพื่อให้พืชผักและผลผลิตปลอดภัยที่สุด และมีการปลูกต้นกาแฟ ใต้ต้นหมาก เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จานกาบหมากที่สมาชิกได้ ผลิตส่วนใหญ่ส่งให้กับโรงพยาบาล เนื่องจากทางโรงพบาลได้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยของคนไข้ จึงมาออเดอร์ จานกาบหมากจากสหกรณ์ โดยการใช้จานกาบหมากแทนโฟม เพื่อความ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 72 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร การดำเนินงานของสหกรณ์ ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจแนวใหม่ “BCG Economy” เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การ มหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุนให้สมาชิกเพาะปลูก พืช ที่มุ่งเน้นความปลอดภัย GAP ลดการใช้สารเคมี โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ สารเร่ง พด. และฮอร์โมนพืช และการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งผลผลิตทางสหกรณ์จะดำเนินการรวบรวมกระจายออกสู่ตลาด ทั้งตลาด ออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีมาตรการในการตรวจสารตกค้างทุกครั้งก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular economy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แปรรูปผลิตภัณฑ์ภาชนะจาก ธรรมชาติ (กาบหมาก) โดยรวยรวมกาบหมากจากสมาชิกสหกรณ์ และชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นการลดการ เผาในพื้นที่ ลดปัญหาหมอกควัน อีกทั้งเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้นำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ซึ่งในการผลิต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีเศษชิ้นส่วน สหกรณ์ได้นำไปทำปุ๋ยหมักอีกทางหนึ่ง เศรษฐกิจสีเขียว Green economy สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การ มหาชน) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก การจัดการ ที่ดิน ตลอดจนการปลูกกาแฟใต้ร่มเงา เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ หมู่บ้านทิยาเพอ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านชนเผ่ากะเหรี่ยง ที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ดั้งเดิม และที่สำคัญบ้านทิยาเพอมีธรรมชาติรอบๆบ้านที่สวยงามหลายจุด และเป็นชุมชนสมาชิก สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้วิถีชน เผ่า ชิมอาหารและผลผลิตทางการเกษตรพื้นถิ่น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว พริกกะเหรี่ยง พืชทางเลือกที่ สหกรณ์ให้การส่งเสริมสนับสนุน n


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 73 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประชุมพิจารณาการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2565/2566 โดยมีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีคุณสมบัติส่งเข้าร่วม จำนวน 10 แห่ง แยกเป็นสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 5 สหกรณ์ สหกรณ์ภาคการเกษตร 4 สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร 1 กลุ่ม และมีสหกรณ์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด เพื่อจะ ส่งผลการคัดเลือกให้คณะอนุกรรมการคัดเลือก ประชุมพิจารณาการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2565/2566 วันที่ 12 กันยายน 2565


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 75 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร เข้าให้คำแนะนำแก่บุคลากรของสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด ในเรื่องของการจัดเตรียม เอกสารข้อมูลที่ใช้สำหรับประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับภาค ประจำปี พ.ศ. 2565/2566วันที่ 20 กันยายน 2565และมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ระดับจังหวัด ประจำปี พ.ศ.2564/2565 “สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จำกัด” วันที่ 30 มีนาคม 2565 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1.เพื่อซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ตามระบบการตรวจการสหกรณ์แก่ ผู้ตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนดำเนินการตรวจการ สหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 2. เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ นำเสนอประเด็น/ปัญหาผลการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมาต่อที่ประชุมเพื่อ พิจารณากำหนดแนวทางการตรวจการสหกรณ์และข้อเสนอแนะแก่สหกรณ์ร่วมกัน เป้าหมาย ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 18 ราย 2. ผลการดำเนินงาน : การจัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 1. กลุ่มตรวจการสหกรณ์เขียนโครงการประชุมฯ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ 2. แจ้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 76 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ร่วมกันในหัวข้อการประชุมซึ่ง กำหนดให้มีการชี้แจง/พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ (1) การชี้แจงระบบการตรวจการสหกรณ์ (2) ผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพสหกรณ์ (3) ผลการตรวจการและข้อสังเกตจากการตรวจการสหกรณ์ที่ผ่านมา (4) แนวทางการตรวจการสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5) ข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบในการตรวจการสหกรณ์ (6) การจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจการสหกรณ์ (Action plan) (7) วิธีการรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ 4. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้ตรวจการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์เพิ่มขึ้น ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1.ผู้ตรวจการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และเข้าใจแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ตาม ระบบการตรวจการสหกรณ์และนำไปใช้ในการตรวจการสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสังเกตของสหกรณ์มีแนวโน้มลดลงจากการได้รับแนวทางและคำแนะนำในการแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจ พบได้อย่างถูกต้อง 4. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 77 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ 1.เพื่อประมวลตรวจสอบข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการ ดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. เพื่อติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่อง/ข้อร้องเรียนและปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป้าหมาย คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาในการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งละ 15 ราย 2. ผลการดำเนินงาน : ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อกำหนดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ร่วมกัน 4 ครั้ง เป้าหมาย คณะทำงานฯและผู้ที่เกี่ยวข้อง ครั้งละ 15 ราย การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้ 1. กลุ่มตรวจการสหกรณ์ เขียนโครงการประชุมคณะทำงานฯ เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ 2.แจ้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาในการดำเนินงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมประชุม 3. ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อประมวล ตรวจสอบ กำหนดแนวทางในการดำเนินการแก้ไขและ ติดตามผลการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. สรุปผลการประชุมคณะทำงานฯและรายงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ โครงการประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 78 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประชุมฯ คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ทุกคน ที่เข้า ร่วมประชุมฯได้รับรู้ และเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก คน ที่เข้าร่วมประชุมฯ ได้แนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและนำองค์ความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำไปประยุกต์ใช้ในแก้ไขปัญหาสหกรณ์/กลุ่มเกษตร ที่อาจตรวจพบข้อบกพร่องใหม่ต่อไป 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์ทุกคนในจังหวัด เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุก คน ที่เข้าร่วมประชุมฯ ได้แนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและนำองค์ความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำไปประยุกต์ใช้ในแก้ไขปัญหาสหกรณ์/กลุ่มเกษตร ที่อาจตรวจพบข้อบกพร่องใหม่ต่อไป 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข -ไม่มี- 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 79 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร โครงการตรวจการโดยทีมตรวจการสหกรณ์ตามแผนการกำกับ คุ้มครอง ดูแล ระบบสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ : วัตถุประสงค์ เพื่อให้การกำกับดูแลสหกรณ์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิด ประสิทธิภาพ และสหกรณ์ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนป้องกันปัญหาการเกิด ข้อบกพร่องอันเกิดจากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือหากเกิด ข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไข หรือระงับยังยั้งได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบสหกรณ์ให้ ครอบคลุมทั้งระบบ จึงสมควรให้มีคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เป้าหมาย 1.เข้าตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบสหกรณ์ โดยตรวจครบทุกประเด็นในสหกรณ์เป้าหมายที่ ไม่ซ้ำกับปี 2564 จำนวน 10 แห่ง พร้อมจัดส่งรายงานการตรวจการสหกรณ์ 2. ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ (ตามความจำเป็น/ความเห็น/การสั่งการของนาย ทะเบียนสหกรณ์) จำนวน 6 แห่ง 2. ผลการดำเนินงาน : (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานและระบุผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการ) เพื่อให้การกำกับดูแลสหกรณ์ เพื่ออยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิด ประสิทธิภาพ และสหกรณ์ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนป้องกันปัญหา การเกิดข้อบกพร่องอันเกิดจากการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือ หากเกิดข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไข หรือระงับยับยั้งได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องการตรวจสอบ สหกรณ์ให้ครอบคลุมทั้งระบบ 1. ประชุม วางแผน และกำหนดเป้าหมายสหกรณ์ที่จะเข้าตรวจการ 2. จัดทำคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ตั้งคณะผู้ตรวจการสหกรณ์พร้อมมอบหมายงานประจำ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 4 ชุด ให้คณะผู้ตรวจสหกรณ์ฯ ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้ 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานในการเข้าตรวจสอบกิจกานและฐานะการเงิน (Action Plan) ของสหกรณ์ จำนวนเป้าหมายตามที่แผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กำหนด 2. ตรวจสอบสหกรณ์ตามแผนที่กำหนดในข้อ 1 ให้ครบทุกประเด็น ตามที่ระบุแนวทางการตรวจ การสหกรณ์และคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ 3. จัดทำรายงานสรุป วิเคราะห์ผลการตรวจสอบ เสนอให้นายทะเบียนสหกรณ์ทราบหรือพิจารณา สั่งการตามอำนาจหน้าที่ 4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 80 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 3. ผลลัพธ์ : ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. เข้าตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบสหกรณ์ โดยตรวจครบทุกประเด็นในสหกรณ์เป้าหมายที่ไม่ซ้ำกับปี 2564 ครบ จำนวน 10 แห่ง พร้อมจัดส่งรายงานการตรวจการสหกรณ์ 2. ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ (ตามความจำเป็น/ความเห็น/การสั่งการของนายทะเบียน สหกรณ์) ครบ จำนวน 6 แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์ได้รับการตรวจสอบครบทุกประเด็นและได้รับคำแนะนำในการป้องกันและแก้ไขตามประเด็นที่ตรวจพบ 2. สหกรณ์ได้รับการติดตามแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบและมีความก้าวหน้าในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น 4. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน และแนวทางแก้ไข ตามคำสั่งที่แต่งตั้งทีมตรวจสอบสหกรณ์ เนื่องด้วยได้คัดเลือกบุคลากรจากกลุ่มงานในจังหวัดและกลุ่มส่งเสริม สหกรณ์ในแต่ละพื้นที่ ทำให้ผู้ตรวจการที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าตรวจการในแต่ละครั้งไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้พร้อมเพรียง กัน ซึ่งเกิดจากที่ต่างคนต่างมีภารกิจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนตามแผนงานที่ได้รับมอบหมายในความรับผิดชอบใน ห้วงเวลาเดียวกัน 5. ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร 2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 81 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 2.1 เป้าหมายยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์จากชั้น 2 สู่ ชั้น 1 จำนวน 3 สหกรณ์ สหกรณ์การเกษตรโครงการธนาคารอาหารชุมชนบ้านนาป่าแปก จำกัด สหกรณ์ยางพาราสามหมอก จำกัด สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านดง จำกัด ผู้แทนสหกรณ์ ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 และ 2 แห่งละ 10 ราย เป้าหมาย ยกระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรจากชั้น 2 สู่ชั้น 1 จำนวน 1 กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำนาปางหมูผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 และ 2 แห่งละ 10 ราย 2.2 เป้าหมายยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์จากชั้น 3 สู่ ชั้น 2 จำนวน 1 สหกรณ์ สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ จำกัด ผู้แทนสหกรณ์ ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 แห่งละ 15 ราย ผู้แทนสหกรณ์ ข้าราชการและผู้เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 และ 3 แห่งละ 10 ราย 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์ภาคการเกษตร/กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสมาชิกและชุมชน 2. สหกรณ์ภาคการเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ยกระดับชั้นได้หนึ่งระดับหรือรักษาระดับชั้นได้ 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายมีแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการ ในการยกระดับชั้น ความเข้มแข็งของสหกรณ์เป้าหมาย 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจการจัดระดับชั้นความเข้มแข็ง 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 21,900 21,850 99.77 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเป้าหมายมีแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการ ใน การยกระดับชั้นความเข้มแข็งของสหกรณ์เป้าหมาย เชิงคุณภาพ : สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 82 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์ภาคการเกษตร/กลุ่มเกษตรกร มีความเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสมาชิกและชุมชน 2. สหกรณ์ภาคการเกษตร/กลุ่มเกษตรกร ยกระดับชั้นได้หนึ่งระดับหรือรักษาระดับชั้นได้ ภาพถ่ายแสดงการดำเนินกิจกรรมของงาน/โครงการ โครงการอบรมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์การทำสื่อประชาสัมพันธ์ และการวางแผนการตลาด ภายใต้โครงการพัฒนา ศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ 1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี แปรรูป สินค้าเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การทำสื่อประชาสัมพันธ์และการวางแผนการตลาด 2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ บุคลากรสหกรณ์การเกษตรแม่สะเรียง จำกัด และสหกรณ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 25 คน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์และเจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 5 คน รวม 30 คน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ สหกรณ์ฯ สามารถพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า วางแผนการตลาดของสินค้า และการส่งเสริมการขายและ การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด อย่างน้อย 1 ช่องทาง 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. ผู้เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตรสร้าง มูลค่า การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การวางแผนการตลาด การจัดจำหน่าย การ ส่งเสริมการขายและการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดและสามารถจำหน่ายได้


รายงานประจำปีพ.ศ. 2565 l สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน P a g e | 83 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร 5. งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 52,500 52,500 100 6. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด/กิจกรรม เชิงปริมาณ : มียอดขายจากการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1) กระเทียมแคปซูลบรรจุกระปุก/ซองมูลค่า 209,377.50 บาท 2) กระเทียมผงบรรจุขวด มูลค่า 13,762.50 บาท เชิงคุณภาพ : สามารถเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปเป็นกระเทียมผง กระเทียมอัดเม็ด กระเทียม แคปซูล ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตกระเทียมอีกทางหนึ่ง จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการตลาด อาจกล่าวได้ว่าสหกรณ์สามารถเพิ่มช่องทางด้านการตลาด และเพิ่มมูลค่าผลผลิตกระเทียม สามารถเพิ่มรายได้ แก่สมาชิกได้ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลการดำเนินโครงการ จากสถานการณ์ที่ผ่านมา กระเทียมเป็นสินค้าเกษตรที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เช่น จีน พม่า เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ประกอบกับการผลิตกระเทียมประสบปัญหาราคาตกต่ำเป็น ประจำ ในช่วงระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและทำ ให้การเคลื่อนไหวของราคากระเทียมภายในประเทศไม่แน่นอน สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ สามารถส่งชำระหนี้คืนสหกรณ์และสถาบันการเงินอื่นได้ แต่เนื่องจากกระเทียมเป็นสมุนไพรที่สามารถแปรรูป วัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตยา เวชภัณฑ์ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารเสริมที่เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งปัจจุบันตลาดการจำหน่ายกระเทียม สามารถเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปเป็นกระเทียมผง กระเทียมอัดเม็ด กระเทียมแคปซูล ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตกระเทียมอีกทางหนึ่ง จากการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ด้านการตลาด อาจกล่าวได้ว่าสหกรณ์สามารถเพิ่มช่องทางด้านการตลาด และเพิ่มมูลค่าผลผลิต กระเทียม สามารถเพิ่มรายได้แก่สมาชิกได้ 7. ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการ การตลาดที่ยังไม่กว้างขว้าง การประชาสัมพันธ์ที่ยังน้อย ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักกับผลิตภัณฑ์ 8. แนวทางการแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ เห็นควรสนับสนุนงบประชาสัมพันธ์ และจัดให้มีการแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์


Click to View FlipBook Version