The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal competnies) ของผู้เรียนเพื่อเป็นในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Khowjaroen Chaiya Nuttakarn, 2022-10-18 09:57:33

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียนเพื่อเป็นในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal competnies) ของผู้เรียนเพื่อเป็นในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)

คมู่ ือ

การพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness)

วิทยาลัยการอาชพี นวมนิ ทราชูทศิ

ภาณัททกา วงษากติ ติกลุ

วิทยาลัยการอาชพี นวมินทราชูทศิ
สานกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา

กระทรวงศกึ ษาธกิ าร



คำนำ

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน
ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) ฉบับน้ี ได้จากความร่วมมือของ
ภาคประกอบการ คณะผู้บริหาร และคณะครูวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ท่ีได้ร่วมมือกันทา
การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียนประจาปีการศึกษา 2563 โดยผู้อานวยการวิทยาลัย
การอาชีพนวมินทราชูทศิ ดร. ภาณัททกา วงษากิตติกุล ได้ศึกษาวจิ ัยในการศกึ ษากระบวนการพฒั นา
และศึกษาผลท่ีเกิดข้ึน จนแน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการอาชีวศึกษา จึงได้จัดทาคู่มือตามแนวทาง
การทาวิจัยเร่ืองการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน
เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) และได้เผยแพร่คู่มือฉบับน้ีไปยัง
สถานศกึ ษา สังกดั สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา

ขอขอบพระคุณ คณะครู อาจารย์ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ช่วย ศาตราจารย์ ดร.สุนันท์ ศลโกสุม สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา ข้าราชการบานาญ
สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร. ศิริพรรณ ชุมนุม
ข้าราชการบานาญ สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา ที่ไดใ้ หค้ าแนะนาในการจดั ทาค่มู อื ฉบบั น้ี จนสาเรจ็ ลุลว่ งด้วยดี

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน
เพ่ือเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (WorkReadiness)ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างย่ิงว่าจะเป็นประโยชน์
ต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และเป็นแนวทางสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู
และผู้ปฏิบัติท่จี ะนาไปพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงานของผเู้ รยี น (TransversalCompetencies) ต่อไป

นางภาณัททกา วงษากิตตกิ ลุ
ผู้จัดทา



สำรบัญ

คานา…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… หน้ำ
สารบญั ..................………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….… ก
คาช้แี จงการใชค้ มู่ ือ…………………..………………………………………………………………………………………… ข
บทท่ี 1 บทนา............................................................................................................................................................................................................................................................. ค
1
หลักการและเหตุผล............................................................................................................................................................ ...................................... 1
วตั ถุประสงค์ของการใช้คมู่ ือ…………............................................................................................................................................................. 6
นยิ ามศพั ท์เฉพาะ………………………………..….................................................................................................................................................................. 6
บทที่ 2 การใชค้ ู่มอื การพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของ
ผู้เรยี นเพ่อื เตรยี มความพรอ้ มเขา้ สู่โลกการทางาน (Work Readiness) วทิ ยาลยั 9
การอาชีพนวมนิ ทราชูทศิ ………..……………………………………………………………………………………………………………………………….……………………..…………..
บทที่ 3 ศกึ ษาผลของการใช้คมู่ ือการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) 17
ของผู้เรียนเพ่ือเตรียมความพรอ้ มเข้าส่โู ลกทางาน (Work Readiness)วิทยาลัยการอาชพี 21
นวมนิ ทราชทู ศิ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 23
บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………. 24
ภาคผนวก ก สรุปสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผ้เู รยี น
27
เพอื่ เตรยี มความพร้อมเขา้ สู่โลกการทางาน (Work Readiness) …….......................
ภาคผนวก ข แผนภมู ิ ขั้นตอนการดาเนินงานการพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน............ 29

(Transversal Competencies) ของผเู้ รยี นเพอื่ เตรยี มความพรอ้ มเขา้ สู่ 51
โลกการทางาน (Work Readiness) …………………………………………………………………………………………………… 63
ภาคผนวก ค โครงการทีส่ าคัญในการดาเนินการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผเู้ รยี นเพ่อื เตรยี มความพรอ้ มเข้าสู่
โลกทางาน (Work Readiness)....................................................………....
ภาคผนวก ง ตวั อย่างเคร่อื งมอื การประเมนิ ผลสมรรถนะขา้ มสายงานจากการพัฒนา
สมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรยี นเพื่อ
เตรยี มความพรอ้ มเข้าส่โู ลกทางาน (Work Readiness).........................
ภาคผนวก จ บทคัดย่อของบทความงานวิจยั ....................................................................................................................................



คำชีแ้ จงกำรใช้คมู่ อื

คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน
เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
ฉบับนี้ จัดทาข้ึนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนาไปเป็นเครื่องมือดาเนินการพัฒนาพัฒนาสมรรถนะ
ขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพรอ้ มเขา้ สูโ่ ลกการทางาน
(Work Readiness) คู่มอื นน้ี าเสนอ เปน็ 3 สว่ น ประกอบด้วย

สว่ นท่ี 1 บทนา
ส่วนท่ี 2 การใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผเู้ รียนเพื่อเตรียมความพรอ้ มเขา้ สโู่ ลกการทางาน (WorkReadiness) วทิ ยาลยั การอาชพี นวมนิ ทราชทู ศิ
ส่วนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกทางาน (Work Readiness) วิทยาลัย
การอาชพี นวมนิ ทราชูทศิ
ผู้บริหารวิทยาลัย ซ่ึงเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาผู้เรียนโดยตรง ศึกษาทาความเข้าใจ
หรือมอบหมายผู้รับผิดชอบ หรือคณะกรรมการดาเนินการพัฒนา ศึกษาทาความเข้าใจ และ
นาสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเน่ือง เพ่ือประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการพัฒนา
ซง่ึ ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของผู้เรยี นเปน็ สาคัญ
จุดประสงค์กำรสร้ำงคมู่ อื
1. เพ่ือใช้เป็นเครื่องมือในการ พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผเู้ รยี น เพ่อื เตรยี มความพรอ้ มเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness)
2. เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรยี นเพ่ือเตรียมความพรอ้ มเข้าส่โู ลกทางาน (Work Readiness)
คำอธบิ ำยกำรใช้คมู่ อื
การนาคู่มือไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรียน เพ่ือเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) ในทางปฏิบัติมีเงื่อนไข
และขอ้ จากดั ดงั นี้
1. การใช้คู่มือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) ไปใช้ ควรศึกษา
รายละเอียดและขั้นตอนตา่ ง ๆ ของการใช้ใหล้ ะเอียดชดั เจน



2. ผู้บริหารสถานศึกษา ท่ีจะนาการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness) ไปใช้
ควรจะประสานงานกับภาคประกอบการ และเตรียมความพร้อมของบุคลากรในสถานศึกษา
ผู้เรียนทุกช้ันปี การทางานเป็นทีม การร่วมมือกันทางาน โดยเฉพาะข้ันตอนต่าง ๆ ที่จะดาเนิน
การพฒั นา

3. สถานศึกษาควรจัดประชุมช้ีแจงให้ ภาคประกอบการ นักการศึกษา และบุคลากร
ของสถานศึกษา เพ่ือสร้างความตระหนัก ความสาคัญ และชี้แจงรายละเอียดการดาเนินการ
ตามกระบวนการ PDCA ยึดโยงกับแนวคิดทักษะในศตวรรษท่ี 21 และแนวคิดประเทศไทย 4.0 ใน
ข้ันตอนการดาเนินการของการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของ
ผ้เู รยี น เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทางาน (Work Readiness)

4. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรกาหนดระยะเวลา สถานที่ รวมทง้ั งบประมาณให้เหมาะสม
เพ่ือให้ครูผสู้ อน และบคุ ลากรที่เกย่ี วข้องในการดาเนนิ การใช้คมู่ อื การพฒั นา

5. สถานศึกษาควรทาวิจัยเพื่อศึกษาผลในการดาเนินการจัดการศึกษาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผู้เรียน เพ่ือหาข้อบกพร่อง แต่ผลต้องให้ระยะเวลาในการวัด
และประเมินผล และดาเนินการอย่างต่อเน่ืองในการศึกษาค้นคว้าข้อบกพร่องตามบริบท
ของสถานศึกษาในการทาวิจัย

1

บทที่ 1
บทนำ
หลกั การและเหตุผล

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561 เป็นข้อกำหนดทีเ่ กยี่ วกับคุณลักษณะคณุ ภาพทพี่ ึง
ประสงค์ของคนไทย เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งยึดเป็นกรอบสำหรับสร้างคนไทย 4.0 ท่ีแม้แตกต่าง
ตามบรบิ ทของท้องถิ่นและของสถานศึกษา แต่มีจดุ หมายร่วมคือ “ธำรงความเปน็ ไทยและแข่งขันได้
ในเวทีโลก”สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศท้ังในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติ
การเมือง สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 กฎหมาย
ยุทธศาสตร์ และแผนงานเหล่านี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ท้ังร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน มีความรับผิดชอบต่อ
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เป็นพลเมืองดี มคี ุณภาพ และความสามารถสูง พัฒนาตน
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ท้ังยงั คาดหวังให้คนไทยท้ังปวงได้รับ
โอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา สามารถเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เพ่ือเป้าหมายของการ
พัฒนาประเทศสู่ ความมั่นคง ม่ังค่ัง และย่ังยืน สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้ง
ความรู้และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องบูรณาการความรู้ต่าง ๆ โดยผสมผสานสาระ
ความรใู้ หไ้ ด้สัดส่วนสมดลุ กนั รวมทั้งปลกู ฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านยิ มที่ดีงามและคณุ ลกั ษณะอนั พึง
ประสงค์ไว้ในทุกวิชาและให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ควบคู่ไปใน
กระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมในทุกระดับและรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชวี ิตอย่างมี
คุณภาพ เตรียมความพร้อมให้คนไทยยุคใหม่เป็นบุคคลท่ีสามารถเรียนรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง รักการอ่าน มี
นสิ ัยใฝ่เรยี นรู้ตลอดชีวิต การสื่อสาร การคดิ วเิ คราะห์ การแก้ปญั หา ความคิดริเริ่มสรา้ งสรรค์ มีจิต
สาธารณะ มีระเบยี บวนิ ัย เห็นแกป่ ระโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่มไดอ้ ยา่ งเป็นกัลยาณมิตร
มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นในการ
ปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมพี ระมหากษัตริย์ทรงเปน็ ประมขุ รังเกยี จการทุจรติ และต่อตา้ นการ
ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง สามารถก้าวทันโลก มีสุขภาพกาย สุขภาพใจท่ีสมบูรณ์ แข็งแรง เป็นกำลังคนที่มี
คุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น มีสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถทำงานได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพ ซ่ึงกระทรวงศึกษาธิการ ไดม้ ีนโยบายปฏิรปู การศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งม่ัน
ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนได้รับการศึกษาท่ีมีคุณภาพอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดย
คำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ครอบคลุม ทั้งด้านพฤตกิ รรม จิตใจและปัญญา ซงึ่ จะเห็นได้

2

วา่ พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในดา้ นผู้เรียน มีวัตถุประสงค์
ที่สอดคล้องกันในการมงุ่ เน้นการพัฒนาคณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ของผูเ้ รยี น เพือ่ ให้เป็นคนไทยยุคใหม่
ทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาชีพ และเป็นกำลังคนท่ีมีลักษณะนสิ ัยสอดคลอ้ งกับความ
ตอ้ งการของภาคประกอบการ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นองค์กรหลักที่มุ่งมั่น
ผลติ และพัฒนากำลงั คนอาชีวศกึ ษาให้มคี ณุ ภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการพฒั นาเศรษฐกิจและ
สังคม ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จัดการเรียนการสอนหลักสูตร
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรปริญญาตรีเทคโนโลยี
ปฏิบัติการ และการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนตอบสนอง
ความต้องการกำลังคนตลาดแรงงาน การใหโ้ อกาสพัฒนาตนเองตามศกั ยภาพและเข้าถึงการศึกษาท่มี ี
คุณภาพอย่างเท่าเทียม จากรายงานการติดตามผลการมีงานทำของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาที่ทำงานใน
สถานประกอบการ ในเร่ืองเก่ียวกับความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติงานบางประการ
(สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ,2560) ผลปรากฏวา่ ยังมีความบกพร่องด้านคณุ ลักษณะท่ี
จำเป็นในการปฏิบตั ิงาน ดา้ นสมรรถนะทจ่ี ำเป็นในการประกอบอาชพี ด้านการมีมนุษยส์ ัมพันธ์ และ
ด้านความชำนาญในภาษาต่างประเทศ ได้ให้ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาสำรวจความต้องการของ
เจ้าของสถานประกอบการ เกี่ยวกับคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาทุก
สาขา เพ่ือท่ีจะได้ข้อมูลซ่ึงเป็นประโยชน์ ในการกำหนดทิศทางในการผลิตกำลังคนของสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการย่ิงข้ึน (เกียรติ
อนันต์ ล้วนแก้ว, 2559) พบวา่ อตุ สาหกรรม ที่ประสบปญั หาช่องว่าง ทักษะ รนุ แรงกว่าภาพรวมของ
ประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นอตุ สาหกรรมท่ีเป็นเป้าหมายของรฐั บาลที่จะขบั เคลือ่ นไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เช่น
อเิ ล็กทรอนิกส์ การขนส่ง การผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตยานยนต์ เป็นต้น มปี ัญหาชอ่ งว่างทักษะอยู่
ในระดับ 6 ถึง 8 ข้อ ปัญหาช่องว่างทักษะท่ีมีความรุนแรงมาก คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความ
รับผิดชอบ ความมีวินัยในการทำงาน และความสามารถในการนำเอาความรู้ท่ีเรียนมาไปใช้ในการ
ทำงานจริง และจากรายงานการวเิ คราะห์ความต้องการแรงงานในเชิงคุณภาพของสถานประกอบการ
อุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Analysis of Demand
for Qualitative Labor of Industrial Sector in Chonburi Province under Liberalization of
the ASEAN Economic Community (อังศุธร เถื่อนนาดี, 2562) ผลการศึกษาในประเด็น การ
วิเคราะห์ความต้องการแรงงานคน ในเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะ (Competency
Gap) ซึง่ เปน็ สมรรถนะหลัก (Core Competency) ในการทำงานของแรงงานจำแนกตาม ทกั ษะฝมี ือ
ของแรงงาน พบว่า ภาคประกอบการมีความต้องการให้แรงงานไทย มีการพัฒนาสมรรถนะด้าน
ทักษะมาเป็นอันดับแรก คือทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ความชำนาญเฉพาะงาน การคิดวิเคราะห์

3

อย่างมีเหตุผลและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สมรรถนะอันดับท่ีสอง ได้แก่ คุณลักษณะ ด้านความ
ขยนั อดทนและตรงตอ่ เวลา ความกระตือรอื ร้นในการทำงาน ความรับผดิ ชอบ และความเป็นผูน้ ำ

การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการ
เตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) ของผู้เรียน เป็นนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่จัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและ ฝึกอบรม
วิชาชีพท่ีสอดคล้องและสมั พนั ธ์กบั ความตอ้ งการของตลาดแรงงาน เพ่อื ผลติ กำลังคนในระดับฝมี อื ทีไ่ ด้
มาตรฐานการศึกษาวชิ าชีพ การพัฒนาผู้เรยี นให้มีคุณภาพในการเตรียมพรอ้ มเข้าสู่โลกการทำงานนั้น
ผู้เรียนต้องมีท้ังสมรรถนะวิชาชีพและทักษะชีวิต(Life Skills) หรือทักษะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) เพ่ือนำไปใช้ในการปรับตนเองเพื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมใหม่ ๆ ซึ่ง
สมรรถนะด้านความรู้หรือสมรรถนะวิชาชีพ สถานประกอบการอาจจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้
ปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ แต่ทักษะชีวิต (Life Skills) หรือสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) หรืออาจเรียกในภาษาไทยว่าคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ จะเป็น
สมรรถนะ ที่เกิดข้ึนจากการหล่อหลอมจนกระท่ังอยู่ภายในจิตใจและเป็นตัวตนของบคุ คลน้ัน จะต้อง
เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาท่ีจะต้องปรับกระบวนทัศน์ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้คุณครูมี
แนวความคดิ ใหม่ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการสอดแทรกการหล่อหลอมสมรรถนะ
ข้ามสายงานนีเ้ ขา้ ไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ในทกุ ระดับการศึกษา ซึ่งกระบวนการหล่อ
หลอมสมรรถนะ ข้ามสายงานนั้น จะต้องอาศัยครูผู้สอน โดยครูจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ี
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมโนมติท่ีถูกต้องและจะสามารถพัฒนาผู้เรียนท่ีเป็นเยาวชนยุคใหม่ได้
อย่างตอ่ เนอ่ื งและย่งั ยนื ซง่ึ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉบับที่ 2 มาตรา 22
กำหนดไวว้ ่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักวา่ ผู้เรียนทกุ คนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาติและเตม็ ตามศักยภาพ ดังน้ัน สถานศึกษาจึงต้องปรับกระบวนการเรียนการสอนให้ครู
เกิดการปรบั เปลีย่ นวิธีการสอนแบบเดิม ๆ ที่ให้ความรู้แบบท่องจำ โดยการเปล่ียนบทบาทของครูมา
เป็นผ้สู นับสนุนใหผ้ ู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับ วิจารณ์ พานิช (2555 :
17-20) กล่าวว่า ทักษะเพ่ือการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นั้น เกิดขึ้นได้จาก
ครู ที่ไม่ต้องสอนแต่ต้องเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ให้ศิษย์ได้
เรียนรู้จากการลงมือทำ ซ่ึงจะเกิดการเรียนรู้จากภายในจิตใจและสมองของตนเอง การเรยี นรู้แบบน้ี
เรียก PBL (Project Based Learning) สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้
เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 การศึกษาในยุคปัจจุบันแปรเปล่ียนไปด้วยองค์ความรู้ท่ีเปลี่ยนไป
เทคโนโลยที ี่พัฒนาข้ึน พฤติกรรมของมนุษย์ท่ีปรับเปล่ียนไปตามเวลา ทฤษฎีการศึกษาแบบเดิมอาจ
ใช้ไม่ได้ผล ผลสัมฤทธิ์ของการศึกษากับการประสบความสำเร็จของบุคคล มิใช่แค่เพียงผลการสอบ

4

เท่านนั้ แต่รปู แบบการเรียนรู้จำเป็นอยา่ งย่ิงท่ตี ้องปรบั เปลยี่ นใหท้ ันตอ่ การเปล่ยี นแปลงของสงั คมโลก
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (research-based learning) เป็นเทคนิคหนึ่งในการสอนเชิง
สร้างสรรค์ ถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ซึ่ง
เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการศึกษาในศตวรรษท่ี 21 การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนมี
เคร่ืองมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้
กระบวนการวิจัย ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ท่ีลึกซึ้งและเข้าใจความเป็นตนเอง การจัดการเรียนรู้
ดว้ ยกระบวนการตา่ ง ๆ จึงกล่าวได้ว่า เป็นการหล่อหลอมให้ผู้เรยี นมคี ุณลกั ษณะที่พึงประสงค์ ที่เป็น
ทักษะชีวิต (Life Skills) หรือ สมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ซึ่งต้องนำไป
ประยกุ ต์ใช้ในการเข้าสโู่ ลกการทำงานอยา่ งมีคุณภาพ

วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ จึงได้กำหนดแผนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยจัด
กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงด้านทักษะที่จำเป็นในการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ความพึง
พอใจของสถานประกอบการตอ่ สมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพนวมนิ ทราชูทิศท่ีเขา้ ฝกึ อาชีพ
ปีการศึกษา 2561 (งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี : 2561 ) ด้านสมรรถนะที่เป็นคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่พบว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านการทำงาน
ร่วมกับผูอ้ ่นื ทักษะการปรบั ตวั และทกั ษะความคิด การตดั สินใจ อย่ใู นระดับน้อย สถานประกอบการ
บางแห่งได้ส่งคืนผู้เรียนท่ีฝึกอาชีพในสถานประกอบการด้วยเหตุผล ผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการ
ทำงาน ไม่สามารถปรบั ตนเองใหป้ ระพฤติปฏิบตั ติ ามระเบียบทห่ี นว่ ยงานกำหนดได้ และพบว่าสาเหตุ
มาจากผูเ้ รียนส่วนใหญท่ ่ีไปฝึกอาชีพ จะใช้รถจกั รยานยนต์เป็นพาหนะไปทำงาน และส่วนใหญไ่ มส่ วม
หมวกนริ ภัย ซึ่งทางสถานประกอบการมีกฎระเบียบปฏิบตั ิไม่ให้ผูไ้ ม่สวมหมวกนริ ภัยเขา้ ภายในสถาน
ประกอบการ แต่ผ้เู รียนฝ่าฝืนไม่ปฏบิ ัติตาม และแสดงพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสมเมื่อได้รบั การตกั เตือน
ผู้เรียนท่ีมีความประพฤติเช่นนี้บางคนเม่ือได้รับการตักเตือน สามารถปรับปรุงแก้ไข แต่บางคนกลับ
แสดงพฤติกรรมไมเ่ หมาะสม เป็นสาเหตุให้สถานประกอบการสง่ ผู้เรียนกลับคนื สถานศึกษา และจาก
การรายงานของฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา (งานปกครอง : 2560) พบวา่ คุณลักษณะท่ีพึง
ประสงค์ของผู้เรียนด้านพฤติกรรมการแสดงออกในการใช้ความรุนแรง ในปีการศึกษาท่ีผ่านมา
ระหว่างปี 2555-2559 มีสถิติในการเกิดเหตุต่อเน่ืองส่งผลให้มีกลุ่มรุ่นพี่บางคนปลูกฝังความคิดด้าน
ผิด ๆ ให้รุ่นน้อง และสถิติในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนท่ีเป็นสาเหตุให้ผู้เรียนต้องลาพักการเรียน
เพื่อรักษาตัวและบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งผู้เรียนใช้
จักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมาสถานศึกษา แต่ไม่นำพาหนะรถจักรยานยนต์เข้าจอดใน
สถานศึกษา ผู้เรียนบางรายขับข่ีรถจักรยานยนต์เข้ามาภายในสถานศึกษา แสดงพฤติกรรมการเร่ง
เครื่องรถจักรยานยนต์เสียงดังเพื่อแสดงศักยภาพต่อหน้าเพ่ือน ๆ รวมไปถึงการจราจรและการใช้
ยานพาหนะภายในสถานศึกษา ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่นการ

5

ทะเลาะววิ าท การเกิดอุบัติเหตุ รถจกั รยานยนต์หาย ทรพั ยส์ นิ ท่ีเก็บไว้ทีร่ ถจักรยานยนต์หาย ส่งผลให้
เกิดการสูญเสีย และภาพลักษณ์ด้านไม่ดีของสถานศึกษา ความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง ชุมชน และ
สถานประกอบการที่มีต่ออัตลักษณ์สถานศึกษา ว่า “คิดเป็น ทำเป็น มีจิตสาธารณะ” ที่หมายถึง
ผู้เรียนจะต้องมคี วามรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สงั เคราะห์ สร้างสรรค์และมีวจิ ารณญาณ ทำ
เป็น หมายถึง ผู้เรียนจะต้องสามารถปฏิบัติงานอย่างมีศักยภาพสามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่
ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมรวมไปถึงการมี จิตสาธารณะ คือการเสียสละเพื่อประโยชน์
ส่วนรวม ปัญหาตา่ ง ๆ ทเ่ี กิดข้ึนสง่ ผลใหจ้ ำนวนผเู้ รียนมแี นวโน้มลดลง ผลสมั ฤทธิ์ของผูเ้ รียนโดยรวม
ลดลง ครูและบุคลากรไมไ่ ดร้ บั การพฒั นาอย่างตอ่ เนือ่ ง

จากผลการศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ครู และการจัดการเรียนรู้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัย
สำคัญในกระบวนการหล่อหลอมสมรรถนะด้านต่าง ๆ แก่ผู้เรียน โดยเฉพาะสมรรถนะด้าน
คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ทีจ่ ำเป็นให้กับผูเ้ รียน ครูจะเปน็ ผู้มีบทบาทสำคัญท่จี ะนำกระบวนการต่าง ๆ
มาใช้ในการพัฒนาทักษะผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะทุกด้านตามที่ภาคประกอบการต้องการ
นำไปสคู่ วามพร้อมในการเข้าส่โู ลกของการทำงานได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ ผวู้ จิ ัย ในฐานะผอู้ ำนวยการ
สถานศึกษา เห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการหล่อหลอมคุณลักษณะที่พึงประสงค์
หรอื สมรรถนะขา้ มสายงานของผูเ้ รียน ตามความต้องการของภาคประกอบการ จงึ ไดศ้ ึกษาวิจัย เรอื่ ง
การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ โดยใช้หลักการ
บริหารคุณภาพตามวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) ยึดโยง
กับแนวคิดทักษะในศตวรรษท่ี 21 และประเทศไทย 4.0 มาใช้ในการดำเนินการพัฒนาทักษะขา้ มสาย
งาน โดยการพัฒนาครู (Teacher Development) ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาแผนการ
เรียนรู้ (Learning Plan Development) การพัฒนาการเรียนการสอน (Teaching Development)
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ (Activities Development) และการพัฒนาการวัดและประเมินผล
(Evaluate Development)เพ่ือปรับและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ที่มุ่งไปยังพฤติกรรมผู้เรียน โดยยึด
ความสามารถ ท้ังดา้ นทักษะวิชาชีพที่ผเู้ รียนพึงปฏิบัติได้เปน็ หลัก และบูรณาการทกั ษะในศตวรรษที่
21 หรือคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์สอดแทรกเพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีทักษะและ
ความสามารถในดา้ นต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของภาคประกอบการ
และเพ่ือให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถนำสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
หรือคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ ที่ได้รับการหล่อหลอมไปใช้ในการปรับตัวให้สามารถมีวิถีชีวิตในโลก
ศตวรรษท่ี 21 ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้วิจัยฯ จึงได้นำขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผู้เรียน ไปพัฒนาผ้เู รียนในปกี ารศึกษา 2563 ในการเตรียมความ

6

พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีคู่มอื การพัฒนาสมรรถนะข้าม
สายงานของผูเ้ รยี นที่มคี ุณภาพ และสามารถนำไปปฏบิ ตั ิได้อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพตอ่ ไป

วัตถปุ ระสงค์การใช้คู่มือ

1. เพ่ือสถานศึกษาใชเ้ ป็นแนวทางของครู ในการจดั การเรยี นรู้เพอื่ มุ่งพฒั นาสมรรถนะข้าม
สายงาน (Transversal Competencies) ของผ้เู รียนในการเตรยี มความพร้อมเข้าสูโ่ ลกการทำงาน
(Work Readiness)

2. เพอ่ื ให้ผูบ้ ริหาร ครู และผ้เู กย่ี วขอ้ งได้นำไปเปน็ แนวทางในการพฒั นาการจัดการศึกษา
เพ่ือพฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผเู้ รียนในการเตรยี มความ
พร้อมเข้าส่โู ลกการทำงาน (Work Readiness) ใหป้ ระสบความสำเรจ็ อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพและ
มีประสทิ ธิผล

3. เพอ่ื เป็นแนวทางในการทำวิจัยของสถานศกึ ษาในการนำการบริหารจดั การการพฒั นา
สมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผเู้ รียนไปใช้

นยิ ามศพั ท์เฉพาะ

1. สมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) หมายถึง ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงานท่ี
สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือความสามารถในการใช้
ทักษะชีวติ , ความสามารถในการคดิ , ความสามารถในการแก้ปญั หา, ความสามารถในการสื่อสาร และ
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

2. การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการ
เตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) หมายถึง วิธีการหรือข้ันตอนการพัฒนา
ผ้เู รียน โดยการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการปฏิบัติการสอนกับผู้เรียน เช่น
จัดการเรียนรู้เชิงรุก การเป็นโค้ช (Coaching) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project
Based Learning : PjBL) ก า ร จั ด ก า ร เรี ย น รู้ โด ย ใช้ ปั ญ ห า เป็ น ฐ า น (Problem–based
Learning : PBL) สะเต็มศึกษา STEM Education) การพัฒนาแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนการ
สอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมนิ ผล เพ่ือหล่อหลอมให้เกิดคุณลกั ษณะที่จำเป็นใน
การปฏิบัติงานของผู้เรียนอาชีวศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ โดยใช้
หลักการบริหารคุณภาพตามวงจรบริหารงานคณุ ภาพ (PDCA) ของเดมม่งิ (Deming Cycle : PDCA)
ประกอบดว้ ย 4 ขัน้ ตอน คือ การวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบ และการปรบั ปรุง

7

3. สมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ที่ภาคประกอบการต้องการ

หมายถึง ความสามารถท่ีผเู้ รียนมี 5 ดา้ น คอื ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการ

แกป้ ญั หา ความสามารถในการส่อื สาร และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
4. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน ด้านสมรรถนะข้ามสายงาน หม ายถึง

กระบวน การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะท่ีจำเป็นในการปฏิบัติงานของผู้เรียนอาชีวศึกษาท่ี
สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคประกอบการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ
ปรบั ตัวในโลกทำงานได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพและไดร้ ับความพึงพอใจจากสถานประกอบการ

5. การพัฒนาครู หมายถึง การฝึกอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร การฝึกปฏิบัตกิ าร ความสามารถใน
การปฏิบัติการสอนของครูเพ่ือนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน เช่น การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การเป็นโค้ช (Coaching) การจัดการเรียนรู้โดยใช้
โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PjBL) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem–based Learning : PBL) สะเตม็ ศกึ ษา STEM Education)

6. การพัฒนาแผนการเรียนรู้ หมายถึง การแลกเปล่ียนเรียนรู้ด้วยวิธีการชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพ่ือนำผลการระดมองค์ความรู้มาบูรณาการในแผนการเรียนรู้ เพื่อการ
พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานของผเู้ รยี น

7. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การนำแผนการเรียนรู้ท่ีได้มีการพัฒนา
แล้ว นำมาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเลือกใช้วิธีการสอนท่ีเหมาะสมและสามารถ
นำไปสูก่ ารพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงานของผูเ้ รยี น

8. การพฒั นาการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ หมายถึง การดำเนินการกำหนดกิจกรรมหรืองาน
เพ่อื ให้ผู้เรียนได้ร่วมกจิ กรรมหรือรว่ มกนั ทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพอ่ื การพฒั นาสมรรนถะข้ามสาย
งานของผ้เู รียน

9. การพัฒนาการวัดและประเมินผล หมายถึง การสร้างหรือปรับปรุงวิธีการประเมินและ
แบบประเมินผลสัมฤทธ์ิการเรียนรู้ หรือแบบประเมินผลสัมฤทธิ์สมรรถนะข้ามสายงาน หรือ แบบ
ประเมนิ ผลสัมฤทธร์ิ ายวชิ า กิจกรรม เพ่อื ใหไ้ ดผ้ ลที่วัดตามวัตถุประสงคข์ องแบบวัดผลและประเมินผล

10. ประสิทธิภาพ หมายถึง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาสมรรถนะ
ข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการ
ทำงาน (Work Readiness)

11. ประสทิ ธผิ ล หมายถึง สมรรถนะท่เี กดิ ข้นึ จากการบริหารและพัฒนาตามค่มู ือในด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดบั ชาติ ดา้ นอาชวี ศึกษา (V-net) คณุ ภาพ
ของนวัตกรรม สง่ิ ประดษิ ฐ์ ของครูและผู้เรยี น กจิ กรรมการเรียนรเู้ พื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
ของผูเ้ รยี นสอดคล้องกับความตอ้ งการของภาคประกอบการ

8

12. ผบู้ ริหาร หมายถงึ ผทู้ ่ียงั คงปฏบิ ัติงานบรหิ ารสถานศกึ ษา และดำรงตำแหน่งปจั จบุ ัน
เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผอู้ ำนวยการสถานศกึ ษา สังกดั สำนกั งานคณะกรรมการการ
อาชีวศกึ ษา

13. ครูผูส้ อน หมายถงึ ผู้ทย่ี งั คงปฏบิ ัตงิ านสอนและดำรงตำแหน่งปจั จบุ นั เปน็ ครูผูส้ อน
ในสถานศึกษา สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา

14. ผเู้ รียน หมายถงึ นกั เรียน ทกุ ระดับช้นั ทกุ สาขาวชิ า ของวทิ ยาลยั การอาชีพนวมนิ ทรา
ชูทิศ สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ปีการศกึ ษา 2562 - 2563

15. ภาคประกอบการ หมายถึง บริษัท หรือหา้ งหุ้นสว่ นจำกดั หรือสถานประกอบการท่ีได้
ทำบันทกึ ขอ้ ตกลงร่วมมือกับสถานศึกษา เพ่ือวัตถุประสงค์ในการรว่ มกันจัดการศกึ ษาอาชวี ศึกษา

9

บทท่ี 2
การใชค้ มู่ ือการพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรยี นในการเตรยี มความพร้อมเขา้ สูโ่ ลกการทำงาน (Work Readiness)

การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)ดำเนินการตามขั้นตอนของหลักการบริหารคุณภาพ
ตามวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเดมม่งิ (Deming Cycle : PDCA) โดยมีขัน้ ตอนดงั น้ี

1. ขัน้ วางแผน (Plan)

การวางแผน ตอ้ งนำข้อมลู จากคณะกรรมการตา่ ง ๆ มาดำเนนิ การ ดงั นี้
1.1 วเิ คราะห์ SWOT จากผลการดำเนินการท่ีผ่านมา เพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็งตามบริบทของ
สถานศึกษา ในสมรรถนะข้ามสายงานของผเู้ รียนทภี่ าคประกอบการต้องการ เพื่อนำไปกำหนดเป็นเปา้ หมาย
ในการพัฒนาผู้เรียนทภี่ าคประกอบการต้องการ

1.1.1 วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของผู้เรียนเพ่ือศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของสมรรถนะ
ข้ามสายงานของผู้เรยี น กบั สมรรถนะเป้าหมายท่ีภาคประกอบการตอ้ งการ

1.1.2 วิเคราะห์สภาพปัจจุบันครูผู้สอน เพื่อหาจุดเด่นและจุดด้อยของความรู้ความสามารถ
ในการจัดการเรียนรใู้ นการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงานของผเู้ รียน

1.1.3 วิเคราะห์บริบทของสถานศึกษาในเร่ืองโอกาส และอุปสรรคในการจัดการศึกษา
เพอื่ พัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงานของผ้เู รยี น

1.1.4 กำหนดการปฏิบัติการตามแผน และระยะเวลาของความสำเร็จตามเป้าหมาย
แตล่ ะภาคการศกึ ษา

1.2 ทำบันทึกขอ้ ตกลงความร่วมมอื (MOU) กบั ภาคประกอบการท่ีมคี วามพรอ้ มทต่ี ้องการ
กำลังคนตามอาชพี ของภาคประกอบการ และเต็มใจในการร่วมมอื กับสถานศกึ ษาเพ่อื ผลติ และพัฒนา
ผ้เู รยี นในวชิ าชพี นัน้ ๆ

2. ขั้นปฏิบตั ิ (Do)

2.1 การเตรียมความพรอ้ ม
2.1.1 แตง่ ต้ังคณะกรรมการ ดำเนนิ การแตง่ ต้ังคณะกรรมการ จำนวน 3 ชดุ ดงั น้ี
2.1.1.1 คณะกรรมการติดต่อประสานงานกับภาคประกอบการ เพ่ือศึกษาเกณฑ์

ท่ีภาคประกอบการตอ้ งการ และดำเนินการจดั ทำบันทกึ ข้อตกลงความรว่ มมือ (MOU) ประกอบดว้ ย

10

1) ผ้อู ำนวยการวทิ ยาลัย เปน็ ประธานกรรมการ (โดยตำแหนง่ )
2) หวั หน้าแผนกวชิ า/ผแู้ ทนแต่ละแผนกวชิ า ตามบริบทสถานศึกษา
เปน็ กรรมการ
3) หวั หนา้ งานทวิภาคี เป็นกรรมการ
4) รองผ้อู ำนวยการฝ่ายวิชาการ เปน็ กรรมการและเลขานุการ
หนา้ ทีข่ องคณะกรรมการ
1) ติดต่อประสานงานกับภาคประกอบการเพ่ือขอข้อมูลเกณฑ์สมรรถนะ
ข้ามสายงานตามอาชพี ของภาคประกอบการ
2) ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับภาคประกอบการที่ต้องการกำลังคนตาม
อาชีพของภาคประกอบการ และเต็มใจในการร่วมมือกับสถานศึกษาผลิตและพัฒนาผู้เรียนในสาขา
วิชาชพี นัน้
2.1.1.2 คณะกรรมการดำเนนิ การวเิ คราะห์ SWOT คุณภาพการจัดการศกึ ษา ตามบริบท
ของสถานศกึ ษา ประกอบดว้ ย
1) ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ
2) รองผอู้ ำนวยฝา่ ยบริหารทรพั ยากร เปน็ กรรมการ
3) รองผ้อู ำนวยฝ่ายวชิ าการ เปน็ กรรมการ
4) รองผอู้ ำนวยการฝา่ ยพฒั นากจิ การนักเรียน นกั ศกึ ษา เปน็ กรรมการ
5) หวั หนา้ แผนกแผนกวชิ าหรือผแู้ ทน เป็นกรรมการ (ตามบริบทสถานศึกษา
ที่เปดิ สอน)
6) รองผู้อำนวยการฝา่ ยแผนงานและความร่วมมอื เปน็ กรรมการและเลขานกุ าร
หน้าทข่ี องคณะกรรมการ
1) วิเคราะห์ SWOT โดยนำเกณฑ์สมรรถนะข้ามสายงานตามที่ภาคประกอบการ
ต้องการ มาหาจุดแข็งและจุดอ่อนตามบริบทของสถานศึกษา เพ่ือกำหนดแนวทางการพัฒนา
สมรรถนะข้ามสายงาน
2) กำหนดเกณฑ์สมรรถนะข้ามสายงานตามภาคผนวก ก. และเพ่ิมเติมตาม
บรบิ ทของภาคประกอบการ
3) วางแผนการปฏิบัติงานเพ่ือพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานผู้เรียน โดยกำหนด
เปน็ แผนปฏบิ ัติการตลอดปกี ารศึกษา 2563
4) นำแผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรยี นในการเตรียมความพรอ้ มเข้าส่โู ลกการทำงาน (Work Readiness) ไปใช้

11

2.1.1.3 คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)
ประกอบดว้ ย 2 ส่วน คอื

ส่วนท่ี 1 คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบดว้ ย
1) ผทู้ รงคุณวุฒิจากภาคประกอบการ เปน็ ประธานกรรมการ
2) ผูอ้ ำนวยการวิทยาลัย เปน็ รองประธานกรรมการ
3) ผแู้ ทนภาคประกอบการ เปน็ กรรมการ (ตามสาขาอาชีพของตลาดแรงงาน)
4) รองผอู้ ำนวยการฝา่ ยวางแผนงานและความรว่ มมอื เปน็ กรรมการและเลขานุการ

หน้าทข่ี องคณะกรรมการท่ปี รึกษา
1) ให้คำปรึกษาในการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และกลยุทธ์ในการบริหาร

การพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผเู้ รยี น
ส่วนท่ี 2 คณะกรรมการดำเนินการขับเคล่ือนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน

(Transversal Competencies) ของผูเ้ รยี น ประกอบด้วย
1) ผ้อู ำนวยการวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ
2) รองผอู้ ำนวยการวิทยาลัย เปน็ กรรมการ
3) หัวหนา้ แผนกวิชา เป็นกรรมการ (จำนวนตามบรบิ ทสถานศึกษา)
4) ผ้แู ทนครู เป็นกรรมการ (จำนวน 2 คน)
5) หวั หน้างานทวภิ าคี เป็นกรรมการ
6) รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร เป็นกรรมการและเลขานุการ

หน้าที่ของคณะกรรมการ
1) กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และกลยุทธ์ในการบริหารการพัฒนาสมรรถนะ

ข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรยี น
2) นำเสนอคณะกรรมการท่ีปรึกษาเพ่ือพิจารณา และให้ความเห็นชอบร่วมกัน

กับแผนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผูเ้ รียน
3) ประชุมเพอ่ื ขับเคล่ือนการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal

Competencies) ของผเู้ รียน
4) อื่น ๆ ตามความเห็นชอบของประธาน

2.1.1.4 คณะกรรมการนิเทศ ประกอบด้วย
1) ผู้อำนวยการวิทยาลยั เปน็ ประธานกรรมการ
2) รองผ้อู ำนวยฝา่ ยบริหารทรพั ยากร เป็นกรรมการ
3) รองผอู้ ำนวยฝา่ ยแผนงานและความร่วมมือ เป็นกรรมการ

12

4) รองผอู้ ำนวยการฝ่ายพฒั นากจิ การนกั เรียน นกั ศกึ ษา เป็นกรรมการ
5) หัวหน้าแผนกวิชาเปน็ กรรมการ (ตามสาขาวิชาท่ีสถานศึกษาเปิดสอน)
6) รองผอู้ ำนวยการฝา่ ยวิชาการ เปน็ กรรมการและเลขานกุ าร

หน้าทีข่ องคณะกรรมการ
1) ติดตามการปฏบิ ตั งิ านทกุ ขั้นตอน
2) ให้ความช่วยเหลอื คณะกรรมการแต่ละขน้ั ตอน
3) ประเมินผลท่ีไดจ้ ากการดำเนนิ การแต่ละขน้ั ตอน
4) เขยี นรายงานการดำเนินการแตล่ ะขน้ั ตอน

2.2 การพัฒนา
ดำเนนิ การ ดงั นี้
2.2.1 แต่งต้ังคณะกรรมการดำเนนิ การฝึกอบรมเชงิ ปฏิบัตกิ าร ประกอบด้วย
2.2.1.1 คณะกรรมการฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
1) ผ้อู ำนวยการวิทยาลยั เปน็ ประธานกรรมการ
2) ผู้แทนจากภาคประกอบการ เปน็ กรรมการ
3) ผแู้ ทนกลมุ่ อาชีพ เป็นกรรมการ (จำนวน 2 คน)
4) หัวหน้าแผนกวิชาเปน็ กรรมการ (จำนวนตามสาขาวิชาที่เปดิ สอน)
5) ผู้แทนครู เปน็ กรรมการ (จำนวน 2 คน)
6) รองผูอ้ ำนวยการฝา่ ยแผนงานและความร่วมมอื เปน็ กรรมการและเลขานุการ
หนา้ ท่ีของคณะกรรมการ
1) กำหนดเปา้ หมายในการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงานของผู้เรียน
2) ให้ความเห็นชอบแผนการพฒั นาครู
3) ใหข้ ้อเสนอแนะเกย่ี วกับระเบยี บ และขอ้ บังคบั ตา่ ง ๆ ของสถานศกึ ษาเกย่ี วกับ

การพัฒนาครู
4) กำกับ ติดตามผลการพฒั นาครู

2.2.1.2 คณะกรรมการดำเนินการฝกึ อบรมเชิงปฏบิ ัติการ ประกอบด้วย
1) ผูอ้ ำนวยการวิทยาลยั เปน็ ประธานกรรมการ
2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นกรรมการ (4 คน)
3) ผู้แทนครูในแต่ละแผนกวิชา เป็นกรรมการ (จำนวน 4 คน)
4) หวั หน้างานวัดและประเมินผล เปน็ กรรมการ
5) หวั หนา้ งานทวิภาคี เปน็ กรรมการ

13

6) หวั หนา้ งานบคุ ลากร เปน็ กรรมการและเลขานุการ
หน้าท่ีของคณะกรรมการ

1) เขียนแผนงาน/โครงการฝกึ อบรมเชิงปฏิบตั ิการพัฒนาครทู ส่ี อดคล้องกับสมรรถนะ
ขา้ มสายงานท่ีภาคประกอบการต้องการ

2) เสนอโครงการเพือ่ ขออนุมตั ิ
3) ประสานงานกับวิทยากรในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร
4) ดำเนนิ การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ครู โดยมรี ายละเอยี ดในการฝึกอบรมประกอบดว้ ย

(1) การสร้างความรคู้ วามเขา้ ใจ ความสามารถในการจดั การศกึ ษาสมรรถนะ
ข้ามสายงานของผู้เรียน

(2) ฝึกปฏบิ ัตกิ ารเตรยี มความพรอ้ มของผเู้ รยี นสกู่ ารพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน
(3) ฝึกปฏิบัติการความสามารถในการปฏิบัติการสอนของครู “Teachers
Transform to 21st Skills ครูเพ่ือศิษย์ ในศตวรรษท่ี 21” เพ่ือนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย
มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การเป็นโค้ช
(Coaching) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PjBL) การจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning : PBL) สะเตม็ ศึกษา STEM Education)
(4) ฝึกปฏิบตั ิการในการวางแผนการจดั การเรียนรู้อย่างน้อย 1 แผน โดยการ
แลกเปลย่ี นเรียนรู้ด้วยวธิ ีการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อนำผลการระดมองค์ความรู้
มาบรู ณาการในแผนการจดั การเรียนรู้ นำไปพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงานของผ้เู รยี น
(5) ฝึกปฏิบตั ใิ นการจดั การเรียนการสอน โดยนำแผนการเรียนรูท้ ่ไี ดม้ กี าร
พฒั นาแลว้ นำไปส่กู ารจัดการเรยี นการสอนในชั้นเรยี น โดยเลอื กใช้วิธีการสอนท่หี ลากหลายเหมาะสม
และสามารถนำไปสูก่ ารพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงานของผูเ้ รียน
(6) ฝึกปฏิบัติในการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ กำหนดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน หรือ
งาน/โครงการพัฒนาผู้เรียน เพ่ือให้ผู้เรียนไดร้ ่วมกจิ กรรมหรือรว่ มกันทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือพฒั นา
สมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรยี น
(7) ฝึกปฏิบัติจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล จากการใช้สื่อเทคโนโลยี
ดจิ ทิ ลั เพ่ือการพัฒนาการวดั และประเมนิ ผลในการพฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงาน และการใชเ้ ทคโนโลยี
ปญั ญาประดษิ ฐ์ (AI) เพ่ือการวัดผลและประเมนิ ผลคุณลักษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องผู้เรยี น”
(8) รายงานผลการดำเนนิ การตามโครงการฝกึ อบรมเชงิ ปฏิบัตกิ ารตามลำดบั ขัน้ ตอน

14

3. ขนั้ ตรวจสอบ (Check)

การตรวจสอบผลการดำเนินการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงานของผเู้ รียนควรตรวจสอบดังนี้
3.1 รายงานการนเิ ทศ
การนิเทศ ดำเนินการโดยคณะกรรมการนิเทศที่ได้แต่งต้ังไว้ ตามแบบรายงานการนิเทศ
(แต่ละสถานศกึ ษาออกแบบเอง) โดยศกึ ษาผลจากแบบรายงานการนเิ ทศทุกขน้ั ตอน
3.2 การศกึ ษาผลจากผ้เู รียน

3.2.1 การรายงานแบบบันทึกการสังเกตการประเมินผลสมรรถนะขา้ มสายงานรายบุคคล
ของครผู ู้สอนแต่ละแผนกวิชา

3.2.2 การรายงานผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรยี นจากการพัฒนาสมรรถนะข้ามสาย
งานของแต่ละแผนกวชิ าจากครผู ู้สอน

3.2.3 การรายงานในสมุดบนั ทกึ ความดีของงานกิจกรรมนกั เรยี นนักศกึ ษา
3.2.4 การรายงานผลการดำเนินกจิ กรรมการเรยี นรู้ตามโครงการขบั ขี่ปลอดภยั จากงาน
กิจกรรมนักเรียน นักศึกษา
3.2.5 การรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเม่ือส้ินภาคการศึกษาที่กำหนด
จากหัวหน้างานวัดและประมาณผล
3.2.6 การรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา V-net ของ
ผเู้ รยี น ประจำปีการศึกษาทีไ่ ด้พัฒนาผเู้ รยี นจากงานวดั และประเมินผล
3.2.7 การรายงานผลการพฒั นางานวจิ ัย นวตั กรรม ส่งิ ประดิษฐ์ ของครแู ละผ้เู รียนจาก
หัวหนา้ แผนกวิชา
3.2.8 การรายงานผลการประเมินตนเองของผู้เรยี นภายหลงั การใช้คู่มือพัฒนาสมรรถนะ
ข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน
(Work Readiness)
3.3 การศึกษาผลจากครู
3.3.1 ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรยี นรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies)ของผเู้ รยี นในการเตรียมความพรอ้ มเข้าสูโ่ ลกการทำงาน (Work Readiness)
ตามท่สี ถานศกึ ษากำหนด
3.3.2 ครูมีแผนการเรียนรู้เพ่ือมุ่งพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)
ตามทส่ี ถานศกึ ษากำหนด
3.3.3 ครูสามารถจัดการเรียนการสอน โดยเลือกใช้วิธีการสอนท่ีหลากหลายเหมาะสม
และสามารถนำไปสู่การพฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงานของผ้เู รียน

15

3.3.4 คุณภาพของนวตั กรรม สงิ่ ประดิษฐ์ ของครแู ละผูเ้ รียน ประจำปกี ารศึกษาที่กำหนด
3.3.5 ผลการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพ่ือการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนเพ่ือเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) ตามที่
ภาคประกอบการต้องการ
3.3.6 ครูรายงานการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพ่ือเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness)
ตามท่ีภาคประกอบการตอ้ งการ
3.3.7 ความคิดเห็นของครูในสถานศึกษาท่ีมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาสมรรถนะ
ขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพ่ือเตรยี มความพร้อมเข้าสูโ่ ลกการทำงาน
(Work Readiness)
3.4.8 จำนวนความร่วมมอื ของสถานประกอบการหลงั การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผูเ้ รยี นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสูโ่ ลกการทำงาน (Work Readiness)
3.4 ความคิดเหน็ ของภาคประกอบการ
3.4.1 ความพึงพอใจของภาคประกอบการที่มีต่อสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียน
ทเ่ี ข้าฝกึ อาชพี ในสถานประกอบการ
3.5 การนำเสนอผลการดำเนนิ การตามแผนเพื่อพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
โดยนำผลจากการรายงานการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานทั้งหมด ประชุมร่วมกัน
ระหว่างคณะกรรมการขับเคล่ือนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรยี น ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการท่ีปรึกษา คณะกรรมการดำเนินการขับเคล่ือนการพัฒนา
สมรรถนะข้ามสายงาน และหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ
ข้ามสายงานตามท่ภี าคประกอบการตอ้ งการ

4. ขัน้ ปรับปรุง (Act)

4.1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) เพื่อ
พิจารณาขอ้ บกพรอ่ งของปญั หา อุปสรรคทเ่ี กิดข้นึ เพ่อื วางแผนปรบั ปรุง

4.2 วางแผนปรบั ปรุง จากรายงานข้อมูลผลการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
ทไี่ ม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ดำเนินการวางแผนการจดั การเรยี นรเู้ พอ่ื ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะข้ามสาย
งาน ตรงตามความต้องการแรงงานของภาคประกอบการ

4.3 จดั ทำแผนปฏิบตั กิ ารและดำเนนิ การตามแผน เพ่ือพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงานที่ภาค
ประกอบการต้องการ ในภาคเรียนถัดไป

16

การนำเสนอผลปฏิบัตงิ านในรปู แบบของงานวิจยั
หัวหน้าแผนกวิชา/สาขาวิชา และผู้บริหารสถานศึกษา สามารถนำผลจากการดำเนินงาน

แต่ละสาขาไปทำวจิ ยั ของสาขาวิชาได้ ประกอบดว้ ย
1. เขยี นโครงการวจิ ยั
2. นำข้อมลู ท่ไี ด้มานำเสนอในรปู แบบของงานวจิ ยั
3. เขียนรายงานตามระเบียบวธิ ีวิจยั

17

บทที่ 3
ศกึ ษาผลของการใช้คูม่ อื การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน

(Transversal Competencies)

การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการ
เตรียมความพรอ้ มเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมนิ ทราชูทิศ ผู้วจิ ัย
ได้บริหารโดยใช้หลักการบริหารคุณภาพตามวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง (Deming Cycle
: PDCA) 4 ขั้นตอน คือ 1) วางแผน (Plan) 2) การปฏิบัติ (Do) 3) ตรวจสอบ (Check) 4) ปรับปรุง
(Act) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบความคิดเห็นสมรรถนะข้ามสายงานที่ภาคประกอบการ
ตอ้ งการ จากภาคประกอบการ จากผู้เชย่ี วชาญท่ีตรวจสอบเกณฑ์สมรรถนะข้ามสายงาน การ Focus
Group ของผู้ทรงคุณวฒุ ิท่ีตรวจสอบร่างคู่มอื การใช้การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน ความพึงพอใจ
ของผู้บริหาร ครูผสู้ อน และผเู้ รยี นที่มีต่อสมรรถนะขา้ มสายงาน ความพงึ พอใจของภาคประกอบการ
ที่มีต่อผู้เรียนที่ไปฝึกประสบการณ์ ฝึกอาชีพในภาคประกอบการ และความพึงพอใจในการใช้คู่มือใน
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียน ในการเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชทู ิศ ส่งผลดังน้ี

1. การนำผลงานทางวิชาการไปใช้ส่งผลตอ่ ผ้เู รยี น ดังน้ี
1.1 ผ้เู รียนมีผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนสงู ขึ้น ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ผูเ้ รยี น

มผี ลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น ไมน่ อ้ ยกวา่ ผลการเฉล่ยี ระดับ 2 คดิ เป็นร้อยละ 93.59
1.2 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านสมรรถนะข้ามสายงาน ผ่านเกณฑ์ทุกด้านจากการประเมินผล

ตามรายวชิ าท่จี ัดทำแผนการเรยี นรู้
1.3 ผเู้ รยี นไดร้ ับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการทะเลาะววิ าท และการเกดิ อุบตั เิ หตุ

รุนแรง จากการรายงานของงานปกครอง สถติ ิลดลงเปน็ ศูนย์
1.4 ผลสัมฤทธ์ิจากการทดสอบ ระดับชาติ มีจำนวนผู้เรียนที่มีผลการสอบผ่านเกณฑ์

ระดับชาติ รอ้ ยละ 86.28
1.5 ผเู้ รียนไดร้ บั การพัฒนาในการจัดทำผลงานนวตั กรรม ส่งิ ประดษิ ฐ์เพิ่มสงู ข้นึ

2. จากการนำผลงานทางวชิ าการไปใช้ส่งผลตอ่ ครู ดงั นี้
2.1 ครูไดร้ บั การพฒั นาศกั ยภาพในการจดั การเรียนรู้
2.2 ครูสามารถจดั การเรยี นรูไ้ ดห้ ลากหลายรปู แบบ
2.3 ครมู ผี ลงานนวัตกรรมการเรยี นการสอน และผลงานนวตั กรรม ส่งิ ประดษิ ฐท์ มี่ คี ุณภาพ

ได้รับการยอมรับจากชมุ ชน องคก์ รตา่ ง ๆ

18

2.4 ครูสามารถสร้างเครือข่ายเพ่ือการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจาการร่วมชุมชนแห่งการ
เรยี นรูท้ างวชิ าชีพ

2.5 ครูสามารถวางแผนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community : PLC) นำแผนการเรียนรู้ไปใช้ และแลกเปล่ียนเรียนรู้
ผ่านกระบวนการชุมชนแหง่ การเรียนรู้ทางวิชาชพี (PLC)

2.6 ครูได้รับยกยอ่ งเชิดชเู กียรติจากหนว่ ยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพ่ิมขน้ึ
2.7 ความพงึ พอใจของครผู สู้ อนที่มีตอ่ การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
3. จากการนำผลงานทางวิชาการไปใชส้ ง่ ผลตอ่ สถานศกึ ษา ดังน้ี
3.1 สถานศกึ ษามีแผนพัฒนาการจดั การศึกษาสถานศกึ ษา พ.ศ. 2563 – 2565
3.2 สถานศึกษามีความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประกอบการที่มีความพงึ พอใจต่อผู้เรียน
3.3 สถานศกึ ษามีเครอื ขา่ ยในการป้องกันและแกไ้ ขปญั หาการทะเลาะวิวาทและการเกดิ อบุ ตั เิ หตุ
3.4 สถานศึกษามีการพัฒนานวัตกรรม ส่ิงประดิษฐ์ และงานวิจัย ที่มีคุณภาพได้รับ
การยอมรบั จากหน่วยงานภาครฐั ภาคเอกชน และองค์กรตา่ ง ๆ
ตัวอย่าง ผลลัพธ์ที่เกิดข้ึนจากการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)
ของผู้เรียนในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนว
มินทราชทู ิศ ส่งผลกับสถานศึกษาในดา้ นการพฒั นานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และงานวิจัย ท่ีมีคุณภาพ
ไดร้ บั การยอมรบั จากหน่วยงานภาครฐั ภาคเอกชน และองค์กรตา่ ง ๆ ดังน้ี

ตารางที่ 1 แสดงตวั อยา่ งผลงานนวัตกรรม สิง่ ประดษิ ฐ์ของครแู ละผ้เู รยี นท่ีมีคุณภาพ

นวัตกรรม ส่งิ ประดษิ ฐ์ของครูและผูเ้ รียน

ท่ี ผรู้ ับผดิ ชอบ ผลเชิงคณุ ภาพ

1 นางภาณัททกา วงษากิตติกุล รางวลั หนง่ึ โรงเรียน หน่งึ นวัตกรรม ชนะเลศิ

ระดับประเทศ สำนักงานเลขาธิการครุ สุ ภา

2 วา่ ท่ี ร.ต.จริ ายุทธิ์ ออ่ นศรี งานวิจยั การจัดการเรยี นการสอน

ชนะเลศิ ระดับประเทศสำนกั งานเลขาธกิ ารครุ สุ ภา

3 นายสงกรานต์ เยน็ เพ็ชร อโุ มงคฉ์ ดี พน่ แอลกอฮอลอ์ ัตโนมตั ิ ไดร้ บั การยก

นายเอกกมล สาพูนคำ ย่องเชดิ ชูเกียรติ จากชมุ ชน ดังต่อไปนี้

นายสาทร ทองถึง 1. ศูนยบ์ ริการสาธารณสุข 56 ทบั เจรญิ

นายวรี ภทั ร สามนวล กรงุ เทพ

นายกอ่ พงศ์ โชตสิ มิทธิ์กุล 2. สถานีตำรวจโคกคราม กรงุ เท

19

ตารางที่ 1 (ตอ่ )

นวตั กรรม ส่ิงประดษิ ฐ์ของครแู ละผูเ้ รยี น

ท่ี ผูร้ ับผดิ ชอบ ผลเชงิ คุณภาพ

นายจกั รพงศ์ โรจนม์ านะวงศ์ 3. สำนกั งานเขตบึงกุ่ม กรงุ เทพ

นายสดุ ใจ รักดี

4 นายสาทร ทองถึง สง่ิ ประดิษฐโ์ ซลา่ ร์ ADDER

นายสมชาย ยม้ิ นวล ชนะเลิศ ลำดับท่ี 2 อาชวี ศึกษากรงุ เทพมหานคร

นายนิธศิ ชัยศิริ

นางสาวปณุ ยวรี ์ จารุภกั ดิ์ภิรมย์

5 นายจิรศักดิ์ นาคพริก สิ่งประดิษฐเ์ คร่ืองกดน้ำอัตโนมัติ

นายธนพฒั น์ ส่งเสรมิ ชนะเลศิ อาชวี ศกึ ษากรุงเทพมหานคร

นายธวชั ชยั ชมภพู าน

6 นายสมณธร พุม่ พมิ ล นวตั กรรมสง่ิ ประดิษฐส์ วนเกษตรอัจฉริยะ 5G

นายธนากร เศรษฐะทตั ต์ สำนกั งานวจิ ยั แห่งชาติ

นายมลิ นิ สมั พนั ธ์ดี

7 นางสธุ ีรา กล้วยไมเ้ จรญิ นวัตกรรม Bio ฟิล์มพลาสตกิ จากแครอต เสริมใย
นายอาทิตย์ วงศ์ทองเหลือง ดว้ ยกาบกลว้ ย รองชนะเลศิ อาชีวศึกษา
นายพุทธวิ ัฒน์ อัครทวศี รีกลุ กรงุ เทพมหานคร

8 นายสพุ จน์ เอ็นดู (ครู) การออกแบบโลโก้ศนู ยบ์ ม่ เพาะอาชวี ศกึ ษาดว้ ย
โปรแกรม PHOTOSHOP
นายกฤตนู ศรอี ทุ ยาน รองชนะเลิศ สำนักงานคณะกรรมการการ
อาชวี ศกึ ษา
นายธนบดี ตงั้ กจิ วรกานต์ หนุ่ ยนต์ทำอาหาร(ผัดไทย)อตั โนมตั ิ
ชนะเลศิ อาชวี ศกึ ษากรงุ เทพมหานคร
นายภูมภิ ทั ร ภมู พิ ันธ์ ไฟฟา้ จากโซลารเ์ ซลจ่ายร่วมกบั ระบบไฟฟ้า 220
โวลตด์ ว้ ยอุปกรณท์ ่ีชอ่ื ”Solar Adder” รางวลั
9 นางสาวกุลวดี สำลกี ำเนิด ชมเชย ระดบั ภาคตะวนั ออกและกรงุ เทพ สำนกั งาน
นายอนรุ กั ข์ เลิศศิลา คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา

10 นายสุทธิพงษ์ ชมุ่ ขุนทด
นายสมชาย น่มิ นวล

นายนธิ ิศ ชัยศริ ิ

นางสาวปุณยวีร์ จารุภกั ดิ์ภิรมย์

นายธนวัตน์ แสงแดง

11 นายกติ ติวินทร์ วเิ ลปะนะ เคร่อื งทำความสะอาดแอร์รถยนต์

รองชนะเลศิ ระดบั อาชวี ศกึ ษากรุงเทพมหานคร

20

3.5 สถานศึกษาสามารถยกระดับคุณภาพผู้เรียน ได้รับการยอมรับจากภาคประกอบการ
และหนว่ ยงานต่าง ๆ และรับนกั เรยี น นักศึกษาเข้าฝึกวชิ าชพี และประสบการณว์ ชิ าชีพเพิ่มขึ้น

4. ผู้บริหารสามารถนำนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธกิ าร สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา สู่การปฏิบัติจริง สามารถผลิตและพัฒนากำลังคน แรงงาน ได้สอดคล้องกั บ
ความต้องการของภาคประกอบการ

5. ด้านภาคประกอบการ ได้กำลังคนที่มีคุณภาพ สามารถเพ่ิมผลผลิตและลดต้นทุน
ในการผลติ ได้

21

บรรณานกุ รม

เกยี รตอิ นันต์ ล้วนแก้ว. แนวทางการจัดทักษะการเรยี นรูใ้ นศตวรรษท่ี 21 ที่เนน้ สมรรถนะทาง
สาขาวิชาชีพ. สำนักบรหิ ารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการ
การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน.กรุงเทพฯ 2559.

นำ้ อ้อย ชณิ วงศ์. การบริหารวชิ าการสถาบันอดุ มศกึ ษาในกำกับของรัฐเพอ่ื พัฒนาสมรรถนะ
ขา้ มสายงานของนสิ ิตนกั ศกึ ษา. วทิ ยานพิ นธ์ครุศาสตร์ดุษฎบี ัณฑติ สาขาวิชาบรหิ าร
การศกึ ษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย 2561.

บันเยน็ เพ็งกระจา่ ง. การพฒั นาครูดา้ นการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรยี นสารสาสน์
วิเทศ คลองหลวง สังกดั สำนักงานคณะกรรมการสง่ เสรมิ การศกึ ษาเอกชน. การค้นคว้า
อสิ ระของการศึกษาตามหลกั สูตรศึกษาศาสตรม์ หาบณั ฑติ สาขาวชิ าการบรหิ ารการศึกษา
มหาวทิ ยาลัยเกรกิ 2561.

ปยิ นันท์ พชั รสำราญเดช. กลยุทธ์การบรหิ ารสถานศกึ ษาอาชีวศกึ ษาเอกชนตามแนวคดิ การมีสว่ น
ร่วมของผูป้ กครองและความต้องการของสถานประกอบการ. วิทยานพิ นธ์ครุศาสตร์ดุษฎี
บณั ฑิต สาขาวิชาบรหิ ารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั 2560.

ลัลนา วงษ์ประเสรฐิ . คุณลักษณะผูป้ ระกอบการเชงิ นวัตกรรมของนักศกึ ษาสายอาชีวะตาม
แนวทางประเทศไทย 4.0. วิทยานพิ นธ์ปรัชญาดษุ ฎีบัณฑติ สาขาวิชาพฒั นศกึ ษา
ภาควิชาพืน้ ฐานทางการศกึ ษา บัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลัยศิลปากร 2562.

ลือชยั แก้วสุข. การพัฒนากลยทุ ธ์การบรหิ ารสถานศกึ ษาอาชวี ศกึ ษาเพ่อื ตอบสนองความต้องการ
กำลงั คนของสถานประกอบการ. วิทยานพิ นธค์ รุศาสตร์ดุษฎีบณั ฑติ สาขาวิชาบรหิ าร
การศกึ ษา คณะครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั 2554.

ศิวกรณ์ เอ่งฉ้วน. ขอ้ เสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนากำลงั คนอาชีวศึกษาเพอ่ื รองรบั ประเทศ
ไทย 4.0. วทิ ยานพิ นธ์ปรชั ญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศกึ ษา ภาควิชาพืน้ ฐานทาง
การศึกษา บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั ศิลปากร 2562.

องั ศธุ ร เถ่อื นนาด.ี (2559).การวเิ คราะหค์ วามต้องการแรงงานในเชงิ คณุ ภาพของสถาน
ประกอบการอุตสาหกรรม. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจดั การ, 3(2), 34 - 49.

เอกชยั พทุ ธสอน. แนวโนม้ การเสริมสรา้ งทกั ษะการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 สำหรับนกั ศึกษา
ผใู้ หญ.่ วทิ ยานพิ นธป์ รชั ญาดษุ ฎีบณั ฑติ ภาควิชาการศกึ ษาตลอดชวี ติ คณะครศุ าสตร์
จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั 2556.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545).พระราชบัญญตั ิการศกึ ษาแห่งชาติ (ฉบบั ท่ี 2)
พ.ศ. 2545.บริษัทพรกิ หวานกราฟฟิก จำกัด. กรงุ เทพ. 13-15.

22

บรรณานกุ รม (ต่อ)

สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). นโยบายและยุทธศาสตรก์ ารปฏิรปู การศึกษาใน
ทศวรรษท่ีสองด้านการพัฒนาอาชีวศึกษา. กรงุ เทพฯ: หา้ งหุ้นส่วนจำกดั วี. ที. ซ.ี
คอมมวิ เคชัน่ .

https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/
UNESCO. Assessment of Transversal Competencies : Policy and Practice in the

Asia Pacific region. UNESCO Bangkok Office 2016

23

ภาคผนวก

24

ภาคผนวก ก
สรปุ สมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผเู้ รียน

25

สมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies) ของผเู้ รียน

สมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนตามความต้องการ
ของภาคประกอบการ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) ของผู้เรียน
ประกอบดว้ ย 5 ความสามารถ ดังต่อไปน้ี

1. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ
ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน ขจัดปัญหา รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์และปรับตัว
ให้ทนั กับการเปลย่ี นแปลงของ สงั คมและสภาพแวดลอ้ ม

1.1 ภาวะผู้นำและความรบั ผิดชอบ (Responsibility)
1.2 คุณลักษณะด้านศีลธรรม ได้แก่ เคารพผู้อาวุโสหรือผู้บังคับบัญชา ความซ่ือสัตย์
สุจริต อ่อนน้อมถอ่ มตน
1.3 วนิ ัยในตนเอง (Self-discipline) เคารพ กฎระเบยี บ
1.4 จติ สาธารณะ
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการคิด
อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่าง
เหมาะสม
2.1 ความสามารถแก้ไขปญั หาเฉพาะหนา้ ได้อย่างเหมาะสม
2.2 มที ัศนะคติที่ดตี อ่ องค์กรและเพื่อนร่วมงาน
2.3 ความสามารถฟังคำตชิ มจากผ้รู ว่ มงานและนำมาปรับปรงุ แก้ไข
2.4 ความคดิ สรา้ งสรรค์
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ และ
นำไปใช้ ป้องกันและมกี ารตดั สินใจทีถ่ ูกตอ้ งเหมาะสมบนพ้นื ฐานของหลกั เหตผุ ลทมี่ ีประสทิ ธภิ าพ
3.1 การทำงานเป็นทีม การให้ความรว่ มมอื กับผอู้ ื่น
3.2 เคารพสิทธิ์ของผู้อน่ื
3.3 ยอมรับความคิดของผอู้ ืน่
3.4 สามารถปรบั ตนเองเข้ากบั ทกุ ๆ คนไดอ้ ย่างเหมาะสม
4. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรม
ในการใช้ภาษา ถ่ายทอความคิด และทัศนะของตนเพ่ือแลกเปล่ียนประสบการณ์และเลือกใช้วิธีการ
สื่อสารที่มปี ระสิทธภิ าพโดย คำนงึ ถงึ ผลกระทบท่ีมีต่อตนเองและสังคม
4.1 ความสามารถในการส่ือสารด้านวาจาสามารถใช้คำพูดที่เหมาะสมกับสถานการณ์
บคุ คล ความสามารถแสดงความคิดเหน็ ได้อย่างเหมาะสม

26

4.2 ความสามารถในการสอ่ื สารกบั ผู้อน่ื การรับฟังและเผยแพร่ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งเหมาะสม
4.3 มนุษย์สัมพนั ธ์ในการทำงาน
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยี
และมีทักษะ กระบวนการทางเทคโนโลยีเพ่ือการพัฒนาด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน
การแกป้ ญั หาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสมและมคี ณุ ธรรม เพอ่ื พฒั นาตนเองและสงั คม
5.1 ทักษะดา้ นคอมพิวเตอร์ (Computing Literacy)
5.2 ทักษะการประยกุ ต์ใช้งาน (Application skills)
5.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy)
5.4 ความรูเ้ ท่าทนั ส่ือเทคโนโลยี

หมายเหตุ ให้แต่ละสถานศึกษากำหนดสมรรถนะขา้ มสายงานของผู้เรียนตามบริบทของสถานศึกษา
และลักษณะของภาคประกอบการ เพือ่ ให้สอดคลอ้ งกับความต้องการกำลงั แรงงานของภาคประกอบการ

27

ภาคผนวก ข
แผนภูมิ ขั้นตอนการดำเนินการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน(Transversal
Competencies) ของผูเ้ รียนในการเตรยี มความพร้อมเข้าสโู่ ลกการทำงาน

28

แผนภูมิ ข้ันตอนการดำเนนิ การพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน(Transversal Competencies)
ของผเู้ รยี นเพอ่ื เตรียมความพรอ้ มเข้าส่โู ลกการทำงาน

29

ภาคผนวก ค
โครงการที่สำคญั ในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน(Transversal
Competencies) ของผูเ้ รียนในการเตรยี มความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน

30

การอบรมเชงิ ปฏิบตั ิการTeachers Transform to 21st Skills ครูเพอ่ื ศษิ ย์
ในศตวรรษที่ 21 วิทยาลยั การอาชีพนวมนิ ทราชทู ศิ

-----------------------
ตอนท่ี 1 รายละเอียดโครงการ
1.ช่อื โครงการ การอบรมเชงิ ปฏิบตั กิ ารTeachers Transform to 21st Skills ครูเพือ่ ศษิ ย์

ในศตวรรษท่ี 21 วิทยาลยั การอาชพี นวมินทราชูทศิ
2. ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2562 – พฤษภาคม 2563
3. สถานทด่ี ำเนินการ หอ้ งประชุมวทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชูทศิ
4. หลกั การและเหตผุ ล

การพัฒนาผู้เรียนให้มคี ุณภาพเพื่อเตรียมพร้อมเขา้ สู่การทำงานน้ันผู้เรยี นต้องมีทง้ั สมรรถนะวิชาชีพ
และทักษะชีวิต (Life Skills)หรือทักษะข้ามสายงาน (Transversal Competencies)เพ่ือนำไปใช้ใน
การปรับตนเองเพ่ือเข้าสกู่ ารเปลี่ยนแปลงในสังคมใหม่ๆซึง่ สมรรถนะดา้ นความรหู้ รอื สมรรถนะวิชาชีพ
สถานประกอบการอาจจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ปฏบิ ัติจรงิ ในสถานประกอบการแต่ทักษะชีวติ (Life
Skills) หรือสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) หรืออาจเรียกในภาษาไทยว่า
คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์จะเป็นสมรรถนะที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมจนกระท่งั อย่ภู ายในจิตใจและ
เป็นตัวตนของบุคคลนั้นจะต้องเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาท่ีจะต้องปรับกระบวนทัศน์ซึ่งเป็นการจัด
กิจกรรมที่กระตุ้นให้คุณครูมีแนวความคิดใหม่ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ
สอดแทรกการหล่อหลอมสมรรถนะข้ามสายงานน้ีเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอนในทุก
ระดับการศึกษาซ่ึงกระบวนการหล่อหลอมสมรรถนะข้ามสายงานน้ันจะต้องอาศัยครูผู้สอนโดยครู
จำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมโนมติที่ถูกต้องและจะสามารถ
พั ฒ น าผู้ เรีย น ท่ี เป็ น เย า วช น ยุ ค ให ม่ ไ ด้ อ ย่ า ง ต่ อ เนื่ อ ง แ ล ะ ยั่ ง ยื น ดั ง นั้ น ส ถ าน ศึ ก ษ าจึ ง ต้ อ ง ป รั บ
กระบวนการเรียนการสอนให้ครูเกดิ การปรบั เปล่ยี นวิธีการสอนแบบเดิมๆท่ใี หค้ วามรู้แบบท่องจำโดย
การเปล่ียนบทบาทของครูมาเป็นผสู้ นับสนุนให้ผู้เรยี นสามารถเกิดการเรยี นร้ไู ด้ด้วยตนเองทักษะเพ่ือ
การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นั้นเกิดข้ึนได้จากครูที่ไม่ต้องสอนแต่ต้องเป็น
ผู้ออกแบบการเรียนรูแ้ ละอำนวยความสะดวกในการเรยี นรูใ้ ห้ศษิ ยไ์ ดเ้ รียนรูจ้ ากการลงมือทำซ่งึ จะเกิด
การเรียนรจู้ ากภายในจติ ใจและสมองของตนเอง ละความสามารถในการศกึ ษาค้นคว้าด้วยตนเองโดย
ผู้สอนหรือครูใช้วิธีการสอนท่ีหลากหลายอันนำไปสู่การสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดข้ึนกับ
ผเู้ รยี น

ดงั นั้น วิทยาลยั การอาชีพนวมินทราชูทศิ มีนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะด้านคณุ ลักษณะ
ทพี่ ึงประสงค์ท่ีจำเปน็ ใหก้ บั ผู้เรยี น มีความรู้ ความสามารถตามหลักสูตร โดยเน้นให้มที ักษะการเรยี นรู้
ในศตวรรษท่ี 21 ซึ่งเป็นทักษะท่ีจำเป็นสำหรับผู้เรียน ในการเตรียมความพรอ้ มเข้า สโู่ ลกการทำงาน

31

โดยดำเนินการพัฒนาครู และการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรบั และเปล่ียนแปลงการเรียนรแู้ ก่ผู้เรียน มุ่งไป
ยังพฤติกรรมผู้เรียน โดยยึดความสามารถท้ังด้านทักษะวิชาชีพที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้เป็นหลักและ
บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือคุณลักษณะทพี่ ึงประสงค์ สอดแทรกเพิ่มเติม โดยมเี ป้าหมายให้
ผู้เรียนมีทักษะ และความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมบรรลุตามภารกิจหลักของวิทยาลัย
เพอื่ สง่ เสริมการผลติ นักเรียน นักศึกษามคี ุณภาพ และมีทกั ษะความรู้ความสามารถสอดคลอ้ งกบั ความ
ตอ้ งการของภาคประกอบการ
5.วัตถปุ ระสงค์

5.1 เพื่อสรา้ งความเขา้ ใจและการรับรู้ร่วมกันของผ้มู สี ว่ นเกยี่ วข้องทกุ ฝา่ ยเพื่อการพฒั นา
สมรรถนะข้ามสายงาน(Transversal Competencies)ของผู้เรียนในการเขา้ ส่โู ลกการทำงาน (Work
Readiness)

5.2 เพอื่ พฒั นาสมรรถนะครูผสู้ อนในการจัดการเรียนรู้เชงิ รกุ (Active Learning) และ
เทคนิคการสอนตา่ ง ๆ เพอ่ื การพัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน (Transversal Competencies)
ของผเู้ รยี นในการเขา้ สู่โลกการทำงาน (Work Readiness)
5.3 เพอื่ ใหค้ รผู ู้สอนมีความรูค้ วามเข้าใจในการจดั การเรียนการสอนการใช้ปัญหาเป็นฐานในการ
จดั การเรยี นรู้ (PBL) หรอื การจดั การเรียนการสอนใชง้ านวิจัยเปน็ ฐานในการจัดการเรยี นรู้ (RBL) หรือ
การเรยี นการสอนแบบ STEM

5.4 เพ่ือเพม่ิ ประสิทธภิ าพดา้ นการจดั การเรียนการสอนของครูผสู้ อนในยคุ ดิจิทลั 4.0
6. เป้าหมาย

6.1 เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ สามารถจัดการเรียนการสอน
เชิงรุก (Active Learning) และ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพ่ือบูรณาการตามกรอบสมรรถนะ
ข้ามสายงาน(Transversal Competencies) ผู้เรียน มีความพร้อมในการเขา้ สโู่ ลกการทำงาน (Work
Readiness)

6.2 เชิงปรมิ าณผบู้ ริหาร ครูผู้สอน วิทยาลยั การอาชีพนวมนิ ทราชทู ศิ จำนวน 38 คน
7. ผรู้ บั ผดิ ชอบโครงการ

ผู้อำนวยการวทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชูทศิ งานบคุ ลากรและคณะกรรมการดำเนินการ
ฝ่ายต่างๆ
8. ผลที่คาดวา่ จะไดร้ ับ

8.1ครูมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก Active Learning และเขียน
แผนการจดั การเรยี นรู้เพ่อื บูรณาการ กรอบสมรรถนะข้ามสายงาน

8.2 ครูผู้สอนมคี วามรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะข้ามสาย
งานตามภาคประกอบการตอ้ งการ

8.3 ผู้เรียนไดร้ บั การพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน ตรงกบั ความตอ้ งการของภาคประกอบการ

32

9. การติดตามและการประเมนิ ผลโครงการ
9.1 แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน
9.2 การสงั เกต
9.3 การรายงานสรุปผลการดำเนนิ งานเมอ่ื เสร็จสนิ้ โครงการ

ตอนท่ี 2 การดำเนินงานโครงการ
ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน

1. เสนอโครงการ
2. ประชุมกำหนดวันเวลาเดือนปแี ละบคุ คลทีเ่ ก่ยี วขอ้ งในโครงการ
3. จดั เตรยี มสถานท่ีเพื่อใชใ้ นการดำเนนิ การโครงการ
4. แตง่ ตง้ั คณะทำงานร่างและพัฒนาครู/ฝกึ อบรมครู
5. เรียงลำดับความสำคัญของสมรรถนะในการพฒั นาครู/ฝกึ อบรมครู

(1) ครทู ุกคนมสี ่วนรว่ มในการออกแบบและจดั ทำแผนการพฒั นาครู
(2) ฝึกอบรมครูฝึกออกแบบแผนงาน แผนการสอน โดยคำนึงถึงวิธีการจัดการเรียนร้ไู ด้
หลากหลายรปู แบบ
6. เชิญผูเ้ ชี่ยวชาญ หรือผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมให้คำแนะนำในการพัฒนาครูเกี่ยวกับการ
อบรมเชงิ ปฏบิ ัติการTeachers Transform to 21st Skills ครูเพ่ือศิษย์ในศตวรรษที่ 21 วทิ ยาลยั การ
อาชีพนวมินทราชูทิศ
7. เลอื กสมรรถนะทสี่ ำคญั หรือจำเป็นตอ้ งพฒั นา
8. ฝกึ ปฏิบตั ิการเรยี นรู้เชงิ รุก (Active Learning)
9. ประเมนิ ผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมกจิ กรรมตามโครงการ
10.ปรับปรุงแกไ้ ขการพฒั นาครู ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพตามข้อเสนอแนะของคณะทำงาน
เนื้อหา/องค์ความรใู้ นการดำเนนิ การ
1. กำหนดจุดมุ่งหมายการอบรมเชงิ ปฏิบตั ิการTeachers Transform to 21st Skills ครูเพื่อ
ศษิ ยใ์ นศตวรรษที่ 21 วทิ ยาลัยการอาชพี นวมนิ ทราชูทิศ
2. กำหนดจุดมุ่งหมายของการพฒั นาครเู พื่อผลลพั ธ์การจดั การเรียนร้ใู นการพัฒนาผู้เรียนให้
มสี มรรถนะตามทภ่ี าคประกอบการตอ้ งการ
3. แต่งตง้ั คณะทำงานร่างและพัฒนา/ฝึกอบรมครู
4. เรยี งลำดบั ความสำคญั ของสมรรถนะในการพฒั นา/ฝกึ อบรมครู
5. เลอื กสมรรถนะท่สี ำคัญหรือจำเปน็ ต้องพฒั นา
6. ฝกึ อบรมครู/อบรมเชงิ ปฏิบัติการTeachers Transform to 21st Skills ครูเพ่อื ศิษย์

33

ในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ิศประกอบดว้ ย
6.1 การเรียนรเู้ ชิงรุก (Active Learning)
6.2 การจัดการเรียนการสอนแบบการใชป้ ัญหาเปน็ ฐานในการจัดการเรยี นรู้ (PBL)
6.3 การจดั การเรยี นการสอนแบบการใชง้ านวิจยั เปน็ ฐานในการจดั การเรยี นรู้ (RBL)
6.4 การจดั การเรียนการสอนแบบ STEM
6.5 ฝึกการออกแบบแผนงาน แผนการสอน โดยคำนงึ ถึงวธิ ีการจัดการเรียนรไู้ ด้

หลากหลายรูปแบบและการจัดการเรียนรูเ้ พ่ือบรู ณาการกรอบสมรรถนะข้ามสายงาน
6.6 ผู้เช่ียวชาญ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมให้คำแนะนำในการอบรมเชิงปฏิบัติการ

Teachers Transform to 21st Skills ครูเพ่อื ศิษยใ์ นศตวรรษที่ 21

34

การอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรเู้ พอ่ื พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน
(Transversal Competencies) ของผู้เรียน วทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชทู ิศ
-----------------------

ตอนท่ี 1 รายละเอียดโครงการ
1. โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเขยี นแผนการจดั การเรียนรู้เพ่อื พฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงาน

(Transversal Competencies) ของผ้เู รยี น วทิ ยาลัยการอาชพี นวมนิ ทราชทู ศิ
2. ระยะเวลาดำเนินการ 20 มนี าคม 2563
3. สถานทีด่ ำเนนิ การ ณ หอ้ งประชมุ วทิ ยาลยั การอาชีพนวมนิ ทราชทู ิศ
4. หลกั การและเหตุผล

ปัจจัยสำคัญในกระบวนการหล่อหลอมสมรรถนะด้านต่างๆ โดยเฉพาะสมรรถนะด้าน
คณุ ลักษณะที่พึงประสงค์ที่จำเป็นให้กับผูเ้ รยี น ครูจะเปน็ ผู้มีบทบาทสำคัญที่จะนำกระบวนการตา่ งๆ
มาใช้ในการพัฒนาทักษะผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะทุกด้าน ตามท่ีภาคประกอบการ
โดยเน้นให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ประกอบด้วย 3
กลุ่ม 1)กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่ (1)การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (critical
thinking and problem solving) (2)นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (innovation and creativity)
(3)การสื่อสารและความร่วมมือกัน (communication and collaboration) 2) กลมุ่ ทักษะสารสนเทศ
ส่ือ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills) ประกอบด้วยการรู้สารสนเทศ
(information literacy) การรู้สื่อ (media literacy) และ การรู้ ICT (ICT literacy) 3) กลุ่มทักษะ
ชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ประกอบด้วยความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น
(adaptability and flexibility) ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (initiative and self-
direction) ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม (social and cross-cultural interaction)
ความรับผิดชอบ และความสามารถผลิตผลงาน (accountability and productivity) ความเป็นผู้นำ
และรบั ผดิ ชอบตอ่ สงั คม (leadership)

ดังน้ัน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ศิ มนี โยบายในการส่งเสรมิ สนบั สนนุ ให้ครูและ
บคุ ลากรทางการศึกษา ปฏิบัตกิ ารเขยี นแผนการจัดการเรยี นรเู้ พอื่ พัฒนาสมรรถนะขา้ มสายงาน
(Transversal Competencies)ของผเู้ รยี นเพอ่ื เตรียมความพรอ้ มเป็นครใู นศตวรรษท่ี 21 สามารถ
พัฒนาการเรียนการสอน และจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนในรูปแบบต่างๆ บูรณาการในแผนการ
จัดการเรยี นรู้เพอื่ ใหน้ กั เรยี นนกั ศกึ ษา มีทกั ษะ ความสามารถ และมสี มรรถนะข้ามสายงานตรงตาม
ความต้องการภาคประกอบการ

35

5. วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อให้ครูผสู้ อนสามารถจัดการเรยี นรู้ให้มีความพรอ้ มในการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน

(Transversal Competencies) ของผเู้ รียนตามทภี่ าคประกอบการต้องการ
5.2 เพ่ือพัฒนาครูผู้สอนสามารถออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมเป็นครูใน

ศตวรรษที่ 21
6. เป้าหมาย

6.1 เชิงคณุ ภาพ ครผู ู้สอนวทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชทู ศิ มีความรคู้ วามเขา้ ใจในการเขยี น
แผนการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เพ่ือพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียนตามที่ภาค
ประกอบการตอ้ งการ

6.2 เชงิ ปริมาณผบู้ รหิ าร ครผู ูส้ อน วทิ ยาลยั การอาชีพนวมินทราชทู ศิ จำนวน 38 คน
7. ผ้รู ับผดิ ชอบโครงการ

ผอู้ ำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมนิ ทราชทู ิศ ฝา่ ยบรหิ ารทรัพยากร งานบคุ ลากรและ
คณะกรรมการดำเนนิ การฝ่ายต่างๆ
8. ผลทีค่ าดว่าจะได้รับ

8.1 ครูผู้สอน ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และทักษะในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
บูรณาการในการสอนและสรา้ งนวตั กรรมการเรียนรู้

8.2 ครผู สู้ อน ไดร้ บั การพัฒนาการจัดการเรยี นรู้ มที กั ษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้ทนั สมัยสอดคลอ้ งกับการสอนในศตวรรษท่ี 21

ตอนที่ 2 การดำเนินงานโครงการ
ข้นั ตอนการดำเนินงาน

1. เสนอโครงการ
2. ประชุมกำหนดวนั เวลาเดอื นปีและบคุ คลทีเ่ ก่ยี วขอ้ งในโครงการ
3. จดั เตรียมสถานท่เี พอื่ ใช้ในการดำเนินการโครงการ
4. อบรมเชงิ ปฏิบัติการเขยี นแผนการจดั การเรยี นรู้เพอื่ พฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน

(Transversal Competencies) ของผู้เรยี น
5. มอบหมาย หน้าที่ ความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติการเขียนแผน การจัดการเรียนรู้ เพื่อ
พฒั นาสมรรถนะข้ามสายงาน(Transversal Competencies)
6. ประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละแผนกวิชาเพื่อ บูรณาการแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการ
เรียนการสอนในดา้ นสมรรถนะขา้ มสายงานของผู้เรียนใหไ้ ด้ผลสมั ฤทธ์ิตามเกณฑ์ทีก่ ำหนด

36

7. ประเมนิ ผลความพึงพอใจในการเข้ารว่ มโครงการและประเมนิ ผลสมั ฤทธก์ิ อ่ นและหลงั เข้า
ร่วมโครงการ

8. ปรบั ปรงุ แกไ้ ขแผนการจัดการเรียนรูใ้ ห้มปี ระสทิ ธภิ าพตามข้อเสนอแนะของครูผู้สอน
เน้อื หา / องคค์ วามร้ใู นการดำเนินการ

1. กำหนดเป้าหมาย จดุ ม่งุ หมาย หลักการ วธิ กี ารเขยี นแผนการจดั การเรยี นรู้
2. องค์ประกอบของแผนการจดั การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21ประกอบด้วย สาระสำคญั
จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กจิ กรรมการเรยี นรู้ สอ่ื และแหล่งการเรียนรู้ การวดั และ
ประเมินผล บันทึกผลหลงั สอน
3. กำหนดสมรรถนะขา้ มสายงานทภี่ าคประกอบการตอ้ งการเพ่ือใหค้ รผู สู้ อนได้บรู ณาการ
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพอ่ื พฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงาน ทักษะชีวติ ในศตวรรษที่ 21
4. นิเทศการเรยี นการสอนตามแผนการเรยี นรู้ แนะนำเทคนิคการเขียนแผนการจดั การเรียนรู้
เพอื่ พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงานผูเ้ รียน ครูผู้สอนร่วมกนั ออกแบบแผนการจดั การเรียนรู้
5. ประเมินผลความพงึ พอใจในการเขา้ รว่ มกจิ กรรมตามโครงการ
6. ปรับปรงุ แก้ไขแผนการจดั การเรียนรู้ใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพตามขอ้ เสนอแนะของคณะ
กรรมการฯ

37

โครงการอบรมเชิงปฏบิ ัตกิ ารจัดทำสอ่ื การเรยี นการสอน
ดว้ ยระบบ e-Learning

---------------------
ตอนท่ี 1 รายละเอียดโครงการ
1. ชื่อโครงการ อบรมเชงิ ปฏิบตั ิการจัดทำส่ือการเรยี นการสอนดว้ ยระบบ e-Learning
2. ระยะเวลาดำเนนิ การ 29 เมษายน 2563
3. สถานทีด่ ำเนนิ การ ห้องประชมุ วทิ ยาลยั การอาชีพนวมนิ ทราชูทิศ
4. หลกั การและเหตุผล

การจดั การศกึ ษาอาชีวศึกษา มีความจำเป็นอย่างยงิ่ ที่ต้องหาแนวทางการพัฒนาหลักสตู รและ
ปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนร้ทู ี่มุ่งไปยังพฤติกรรมท่ีผ้เู รยี น โดยยึดความสามารถทั้งด้านทักษะวิชาชีพ
ท่ีผู้เรียน พึงปฏิบัติได้เป็นหลัก และบูรณาการสมรรถนะข้ามสายงานสอดแทรกเพ่ิมเติม เพื่อเป็น
หลักประกันว่า ผู้เรยี นจะมที ักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เม่ือผ่านการเรียนรู้
เพ่อื ม่งุ ใหเ้ กดิ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน
ของภาคประกอบการและจากสภาพปัจจุบันระบบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ได้รับความ
นยิ มอย่างสูง เกือบทุกองค์กรท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ตา่ งให้ความสำคัญเป็นอย่าง
มาก ทางเลือกหน่ึงในการจัดการเรียนรู้คือการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ท่ี
สามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกเวลาท่ีต้องการ และพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ โดยเฉพาะส่วน
เนือ้ หาเป็นสว่ นท่ีจำเป็นต้องใช้เทคนิคการออกแบบที่เหมาะสม ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย วัตถปุ ระสงค์
การเรียนรู้ เทคนิคการออกแบบการเรียนการสอน ดงั นนั้ การสร้างเนอ้ื หาในระบบการเรียนการสอน
จึงเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง ที่จะให้บทเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้งาน และประสบความสำเร็จซึ่ง
การพัฒนาบุคลากร ให้สามารถออกแบบและสร้างเนื้อหาบทเรียนให้ไดต้ ามมาตรฐานและสามารถใช้
เครือ่ งมือต่าง ๆ ของระบบ e-Learning ส่ือสารกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดการแลกเปลย่ี นเรียนรู้ ระหว่าง
ผเู้ รียนกับผู้สอนครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการสร้างบทเรยี น e-Learning และมีทักษะในการ
ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบ e-Learning หลังจากการอบรมแล้ว ผู้ได้รับการอบรมจะสามารถนำ
บทเรียนออนไลน์ท่ีสร้างไปประกอบการเรียนการสอนได้จริง และมีการติดตามผลในการนำไป
บทเรียนไปใชจ้ ริงเพอื่ นำมาปรบั ปรงุ บทเรียนใหม้ ปี ระสทิ ธยิ งิ่ ข้นึ

ดังนน้ั วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ศิ มนี โยบายในการส่งเสรมิ สนับสนนุ ให้ครผู สู้ อนมี
ความร้คู วามเข้าใจทักษะชวี ติ พัฒนาการเรียนการสอนในรูปสื่ออเิ ล็กทรอนกิ ส์ ให้ผูเ้ รยี นมีคุณลกั ษณะ
ตามสมรรถนะข้ามสายงาน และเตรียมความพร้อมในการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

38

5. วตั ถปุ ระสงค์
5.1 เพื่อใหค้ วามรูค้ วามเขา้ ใจเกยี่ วกบั การออกแบบการเรียนการสอนสำหรับ e-Learning
5.2 เพอ่ื อบรมทกั ษะการออกแบบและพฒั นาบทเรยี นที่เหมาะสมกบั ระบบ e-Learning
5.3 เพอ่ื ให้ผู้ครผู สู้ อนมที ักษะในการใช้ระบบการจดั ทำสอ่ื สารเรียนการสอนออนไลน์
5.4 เพ่ือให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ท่ีได้จากการอบรมไปใช้ในสร้างบทเรียน e-Learning

และนำบทเรียนท่ีได้ไปใช้สอนออนไลน์
5.5 เพอื่ ส่งเสริมให้ครูผสู้ อนสร้างบทเรยี นขึ้นเว็บไซตข์ องวิทยาลยั การอาชีพนวมินทราชทู ิศ

6. เป้าหมาย
6.1 เชิงคุณภาพ
6.1.1 ครผู ู้สอนไดร้ ับการพัฒนาใหม้ ีความรคู้ วามเข้าใจในการสร้างบทเรยี น e-Learning
6.2 เชงิ ปริมาณ
6.2.1 ผบู้ ริหารและครูผูส้ อน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ิศ จำนวน 38 คน

7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผ้อู ำนวยการวิทยาลัยการอาชพี นวมนิ ทราชูทศิ งานบคุ ลากรและคณะกรรมการ

ดำเนนิ การฝา่ ยต่างๆ
8. ผลท่ีคาดว่าจะไดร้ บั

8.1 ครูผสู้ อนมีทักษะในการพัฒนาบทเรียน e–Learning ไดเ้ ปน็ อย่างดี
8.2 ครูผู้สอนสามารถจดั การเรียนการสอนโดยใชส้ ่ือที่ e–Learning สอนออนไลน์
8.3 ครผู ู้สอนมที ักษะในการใชบ้ ทเรียน e–Learning ได้เป็นอย่างดี
8.4. ครูผู้สอนได้เห็นคุณค่าและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำบทเรียนประกอบการเรียน
การสอนออนไลน์ได้
8.5. เป็นประโยชน์ตอ่ การจดั การเรยี นการสอนของวทิ ยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ิศ
9. การติดตาม และการประเมนิ ผลโครงการ
9.1 แบบประเมนิ ผลความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
9.2 การสงั เกต
9.3 การรายงานสรุปผลการดำเนนิ งานเมื่อเสร็จส้ินโครงการ

ตอนที่ 2 การดำเนินงานโครงการ
ขัน้ ตอนการดำเนินงาน

1. เสนอโครงการ
2. ประชมุ กำหนดวันเวลาเดอื นปแี ละบุคคลท่เี ก่ียวข้องในโครงการ

39

3. จดั เตรียมสถานทเี่ พอื่ ใช้ในการดำเนนิ การโครงการ
4. อบรมเชิงปฏิบตั กิ ารโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจดั ทำส่ือการเรียนการสอนด้วยระบบ e-
Learning
5. มอบหมายหนา้ ท่ีความรบั ผิดชอบในการจดั การอบรม
6. ประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละแผนกวิชาเพื่อพัฒนาการจัดทำส่ือการเรียนการสอนด้วยระบบ
e-Learningให้ไดผ้ ลสมั ฤทธต์ิ ามเกณฑ์ที่กำหนด
7. ประเมนิ ผลความพงึ พอใจในการเขา้ รว่ มโครงการและประเมนิ ผลสัมฤทธิก์ อ่ นและหลงั ใน
การเขา้ ร่วมโครงการ
8. ปรับปรุงแกไ้ ขพัฒนาการเรียนการสอนให้มปี ระสิทธภิ าพตามขอ้ เสนอแนะของครูผสู้ อน
เน้อื หา / องค์ความรใู้ นการดำเนนิ การ
1. กำหนดขนั้ ตอนการออกแบบการเรยี นการสอนดว้ ยระบบ e-Learning
2. กำหนดสมรรถนะขา้ มสายงานทีภ่ าคประกอบการต้องการเพ่อื ให้ครผู ู้สอนไดพ้ ฒั นา
บทเรียน e-Learning สำหรบั ใช้ในการเรียนการสอน
3. ออกแบบโครงสรา้ งการเรียนการสอนในเนื้อหาเกีย่ วกบั สมรรถนะข้ามสายงาน
4. จดั กลมุ่ เนอ้ื หาของสมรรถนะข้ามสายงานแตล่ ะหลกั สตู ร
5. กำหนดมาตรฐานรปู แบบ เป้าหมาย และผลลัพธท์ ตี่ อ้ งการพัฒนาพัฒนาบทเรยี น
e-Learning
6. ออกแบบรปู แบบการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์

40

กิจกรรมพฒั นาผู้เรียน”

--------------------
ตอนท่ี 1 รายละเอยี ดกจิ กรรม
1. ช่อื กจิ กรรม กจิ กรรมพฒั นาผ้เู รียนวิทยาลยั การอาชพี นวมินทราชูทิศ”
2. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2563 - เมษายน 2564
3. สถานที่ดำเนินการ วิทยาลัยการอาชพี นวมินทราชูทิศ
4. หลกั การและเหตผุ ล

ปัจจุบัน คุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ในการผลิตกำลังคน ยังไม่สอดคล้องกับความ
ตอ้ งการของภาคประกอบการ โดยเฉพาะอยา่ งยิ่ง กำลงั คนที่ขาดสมรรถนะท่ัวไปท่ีเป็นคุณลักษณะท่ี
พึงประสงค์ ประกอบกับมีการเปล่ียนแปลงของนวัตกรรม เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้สมรรถนะ
อาชีพปรับเปล่ียนไปตามความทันสมัยของเทคโนโลยี และสมรรถนะข้ามสายงานที่แตกต่างกันในแต่
ละกลุ่มอาชีพ เป็นสาเหตุหลักทที่ ำให้ภาคประกอบการขาดแคลนแรงงานท่ีมีประสิทธภิ าพ ซึง่ ปรากฏ
ชัดเจน จากการชี้นำของลักษณะสมรรถนะท่ีต้องการในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
นโยบายประเทศไทย 4.0 และข้อเสนอของภาคประกอบการ

วทิ ยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ได้ตระหนกั ถึงความสำคัญของการหล่อหลอมและพัฒนา
ผู้เรียนให้มีสมรรถนะข้ามสายงานตรงกับความต้องการของภาคประกอบการ จึงได้สนับสนุนส่งเสริม
และจัดกิจกรรม”พัฒนาผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ” ขับเคล่ือนการพัฒนาการจัด
กิจกรรมการเรยี นรูเ้ พอ่ื พฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงานแกผ่ ู้เรยี น
5.วัตถุประสงค์

5.1 สร้างความเข้าใจให้ผู้เรยี นรับรู้แนวทางการดำเนินการจัดกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียนตามแผน
ท่กี ำหนดมุ่งเน้นการพฒั นาสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียนทภ่ี าคประกอบการต้องการ

5.2 เพื่อพัฒนาใหผ้ เู้ รียนมีสมรรถนะข้ามสายงาน ตามทภี่ าคประกอบการต้องการการ
6. เป้าหมาย

6.1 เชิงคณุ ภาพ
กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียนวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชทู ิศ เปน็ กิจกรรมท่ีเสรมิ สรา้ งหรือ

ปลูกฝังจติ สำนึก คา่ นิยม และทศั นคติที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวนิ ัย มีความคดิ ริเรมิ่ สร้างสรรค์
ในการช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนให้มีความสุข เรียบร้อย ย่ังยืน และมั่นคงท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองและการปกครอง

6.2 เชิงปรมิ าณ
นกั เรยี นนักศึกษาระดบั ชน้ั ปวช. 1- ปวช. 3 และ ปวส.1 -ปวส. 2 จำนวน 500 คน

41

7. ผู้รับผิดชอบ
ผูอ้ ำนวยการวทิ ยาลัยการอาชพี นวมนิ ทราชทู ิศ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรยี นนกั ศึกษา

และคณะกรรมการดำเนนิ การฝา่ ยต่างๆ หัวหน้างานกจิ กรรมนักเรียนนกั ศึกษา
8. ผลทค่ี าดวา่ จะไดร้ บั

8.1. ครผู ู้สอน ผเู้ รยี น รับรแู้ นวทางการดำเนนิ การจดั กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี นตามแผนท่ี
กำหนดมุง่ เนน้ การพฒั นาสมรรถนะขา้ มสายงานของผู้เรียนทีภ่ าคประกอบการต้องการ

8.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หรือมีสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ตามความตอ้ งการของภาคประกอบการ
9. การติดตามและการประเมนิ ผล

9.1 แบบประเมินความพึงพอใจของครูผสู้ อน และผเู้ รยี น
9.2 การสังเกต
9.3 การรายงานสรุปผลการดำเนินงานเมอ่ื เสร็จส้นิ โครงการ

ตอนท่ี 2 การดำเนนิ งาน
ขนั้ ตอนการดำเนนิ งาน

1. สร้างความเขา้ ใจและการรับรู้รว่ มกนั ระหว่าง ผู้บริหาร ครูผสู้ อนผู้เรยี น ผู้มีส่วนเก่ยี วข้อง
ทุกฝา่ ยเพอ่ื ใชใ้ นการจดั กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน

2. ประชุมสร้างความเข้าใจให้ครูผู้สอนท่ีรับผิดชบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รับรู้แนวทางการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแผนที่กำหนดมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ท่ีภาค
ประกอบการต้องการ

3. นำแผนการจดั กิจกรรมพฒั นาผเู้ รยี นไปใช้ตามแผนปฏบิ ัตทิ กี่ ำหนด
4. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีความเหมาะสมกับลักษณะสมรรถนะที่ภาคประกอบการ
ต้องการ
5. ปรับปรุงรูปแบบการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแผนที่กำหนด สอดแทรก
ทกั ษะสมรรถนะท่ีภาคประกอบการตอ้ งการ
6. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบทุกด้านเพื่อพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนสร้างแรงจูงใจให้ครู
พัฒนากจิ กรรมพัฒนาผู้เรียนให้สอดแทรกสมรรถนะตามทภี่ าคประกอบการต้องการ
7. จัดกิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี นโดยสนับสนุนการมี ปฏิสัมพันธ์/ การแลกเปล่ียนเรียนรู้ระหว่าง
ผู้เรียนกบั ผู้เรยี นและครูผู้สอนกับผเู้ รียน

42

เนื้อหา/ องค์ความรใู้ นการดำเนนิ งาน
1. กำหนดจุดมุ่งหมายความรว่ มมอื ระหวา่ งครผู สู้ อนกบั ผเู้ รยี น หรอื ประสบการณใ์ นจดั

กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น มุ่งพัฒนาใหผ้ ูเ้ รียนไดพ้ ฒั นาตนเองตามศกั ยภาพ
2. ปลกู ฝังและสร้างจิตอาสาของการทำประโยชนเ์ พอ่ื สังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่

ร่วมกับผอู้ ่นื ไดอ้ ย่างมีความสุข
3. จดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นมุ่งพฒั นาผู้เรยี นให้ใช้องค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติจากการ

เรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏบิ ตั ิ
4. จัดกจิ กรรมเพอ่ื ชว่ ยให้ผู้เรยี นเกิดสมรรถนะสำคญั ได้แก่ ความสามารถในการส่ือสาร

ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวติ และ
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซ่งึ จะสง่ ผลในการพัฒนาผเู้ รยี นใหม้ ีคุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์

5. ผู้เชยี่ วชาญ หรอื ผู้ท่มี ีสว่ นเกย่ี วขอ้ งมารว่ มให้คำแนะนำในการจัดกจิ กรรม

43

แผนการดำเนนิ งาน กิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน

ตารางท่ี 2 ปฏทิ นิ ปฏิบตั ิกิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2563

ที่ รายการกจิ กรรมทป่ี ฏบิ ัติ ระยะเวลาดำเนนิ การ

1 กจิ กรรมค่ายคุณธรรม จรยิ ธรรม 1 - 3 พ.ค. 63

2 กิจกรรมวนั สำคญั ของชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย์ ตลอดภาคการศึกษา

เสรมิ สร้างคณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์

3 กจิ กรรมเสรมิ สร้างประชาธปิ ไตย 7 - 31 พ.ค. 63

- โครงการเลือกตงั้ ประธานองคก์ ารนักวชิ าชพี

4 กจิ กรรมไหว้ครู 11 มิ.ย. 63

5 กจิ กรรมวนั สนุ ทรภู่ และวันภาษาไทยแหง่ ชาติ 26 ม.ิ ย. 63

6 โครงการออกกำลงั กายเพอื่ สขุ ภาพ ตลอดภาคการศึกษา

7 กจิ กรรมพฒั นาจติ ตลอดภาคการศกึ ษา

- โครงการวิถีพุทธสวดมนต์ ไหวพ้ ระ นง่ั สมาธิ

8 กิจกรรม/โครงการปอ้ งกันและแกไ้ ขปญั หายาเสพติด

- กิจกรรมวนั งดสบู บหุ รโ่ี ลก 29 พ.ค. 63

- กิจกรรมอาชีวะตา้ นยาเสพตดิ 8 ก.ค 63

9 กิจกรรม/โครงการลกู เสอื ตลอดภาคการศึกษา

- รับเตรียมลูกเสือวิสามัญ (ประดบั แถบสองสี)

- เข้าค่ายพักแรมและพิธีเข้าประจำกองประดับ

แถบ 3 สี

10 กิจกรรมจิตอาสาเพอื่ พัฒนาและช่วยเหลือและ ตลอดภาคการศกึ ษา

พัฒนาวัด โรงเรียน ชุมชน

11 กจิ กรรม/โครงการทดสอบมาตรฐานฝีมอื ทางวิชาชีพ 5-19 ส.ค. 63

12 กจิ กรรมส่งเสรมิ ทักษะภาษาต่างประเทศ ตลอดภาคการศกึ ษา

13 กจิ กรรมอนุรักษพ์ นั ธุกรรมพืชอันเน่อื งมาจาก 5-26 ส.ค. 63

พระราชดำริ

14 กิจกรรม/โครงการประกวดโครงการวชิ าชีพตาม 19 ส.ค. 63

หลักสตู ร

15 กิจกรรม/โครงการสนบั สนนุ พฒั นานักศกึ ษาสู่ 8 ก.ย. 63

มาตรฐานสากล

44

ตารางที่ 2 (ต่อ)

ท่ี รายการกจิ กรรมที่ปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนนิ การ

16 กจิ กรรม/โครงการอบรมเชงิ ปฏิบัตกิ ารการเขยี นแผน 8 ก.ย. 63

ธรุ กจิ

17 กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 19 ส.ค. 63

18 กิจกรรม/จิตอาสาพัฒนาวิทยาลยั (สิ่งแวดล้อม) ทุก ตลอดภาคการศึกษา

วันตามตารางเวรทำความสะอาด

19 กจิ กรรมประชมุ องคก์ ารนักวชิ าชีพในอนาคตแหง่ 24-26 ส.ค. 63

ประเทศไทยปงี บประมาณ 2563

- แข่งขันทักษะวชิ าชีพและทกั ษะพนื้ ฐาน

- เฟสบุ้ค ส่ือสร้างสรรค์อวดความดี

- ประกวดคลปิ วิดีโอ สอ่ื สรา้ งสรรค์

- ประเมินสมาชิกดีเด่น ภายใต้การนิเทศองคก์ าร

นักวิชาชพี ในอนาคต

20 โครงการอาชวี ะบริการ 20 ส.ค. 63

- กิจกรรมช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยพิบตั กิ รณีฉกุ เฉิน

21 โครงการขับขีป่ ลอดภัย 8 ก.ย. 63

22 โครงการปอ้ งกัน และแกไ้ ขปญั หาโรคเอดส์ 10 ก.ย. 63

23 โครงการแข่งขันกีฬา 11 ก.ย. 63

24 กิจกรรมประกวดสง่ิ ประดิษฐ์จากของเหลอื ใช้ 16 ก.ย. 63

25 โครงการส่งเสรมิ การหารายได้ระหวา่ งเรียน 18 ก.ย. 63

ทีม่ า : งานกิจกรรมนกั เรยี น นักศึกษา
หมายเหตุ : 1. โครงการวิถีพทุ ธสวดมนต์ ไหว้พระ นงั่ สมาธิทกุ เช้าวันจันทร์

2. โครงการ Speaking English on Tuesday morning ทุกเชา้ วนั อังคาร
3. โครงการออกกำลังกายเพอ่ื สขุ ภาพ “ขยับกายสบายชีวี ด้วยวิธีเตน้ แอโรบคิ ”
ทุกเชา้ วันพธุ
4. โครงการจิตอาสาพัฒนาวิทยาลยั (สง่ิ แวดล้อม) ทกุ วนั ตามตารางเวร
ทำความสะอาด


Click to View FlipBook Version