ตำบลท่าสะท้อน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วิศวกรสังคมตำบลท่าสะท้อน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
คำนำ
หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนตำบลท่าสะท้อนอำเภอ
พุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานีฉบับนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อรวบรวม
ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนข้อมูลทางภูมิศาสตร์สังคมศาสตร์
ทรัพยากรธรรมชาติภูมิปั ญญาและวิถีชีวิตของชุมชนตำบลท่า
สะท้อนจัดทำโดยวิศวกรสังคมในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ
และสังคมรายตำบลแบบหนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งตำบลสร้าง
รากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
คณะผู้จัดทำหวังเป็ นอย่างยิ่งว่าหนังสือประวัติศาสตร์
ชุมชนตำบลท่าสะท้อนจะเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจที่จะศึกษา
ความเป็ นมารวมถึงพัฒนาการของตำบลท่าสะท้อนหากมี
ความผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ โอกาสที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
1 สารบัญ
ขนาดและที่ตั้ง
ลักษณะภูมิประเทศ 2
แม่นำสำคัญ
ลักษณะภูมิอากาศ
3 ทรัพยากรธรรมชาติ
การคมนาคม 4
20 ประวัติความเป็นมาของชุมชน
โครงสร้างของชุมชน 22
- ด้านการปกครอง โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
- ด้านประชากร
- ด้านการศกษา 24
- ด้านศาสนา
สถานที่สำคัญ
23
ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม 65
32 ภาคผนวก
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและ
สังคมรายตำบลแบบบูนณาการ
50
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่
(การยกระดับสินค้า Otop/อาชีพอื่น)
59
การสร้างและพัฒนา Creative Economy
(การยกระดับการท่องเที่ยว)
สารบัญรูปภาพ
6 ภาพที่ 1 สวนทุเรียน (จุดกางเต้นท์ชมทะหมอก) Durian Garden Hill
9 ภาพที่ 2 วัดสุธาฤดีวนาราม (วัดบ่อกรัง)
ภาพที่ 3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะท้อน
10 ภาพที่ 4 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน
ภาพที่ 5 ป้ายหยุดรถไฟ
12 ภาพที่ 6 วัดท่าสะท้อน
14 ภาพที่ 7 ศูนย์การเรียนรู้แพผักลอยน้ำ
17 ภาพที่ 8 กลุ่มวิสาหกิจหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก
ภาพที่ 9 บ่อน้ำพุร้อนท่าสะท้อน
19 ภาพที่ 10 ไร่พ่อเฒ่า
24 ภาพที่ 11 บ่อน้ำพุร้อนรัตนโกสัย
25 ภาพที่ 12 ทุ่งกระจูด
ภาพที่ 13 วัดท่าสะท้อน
26 ภาพที่ 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางแผ่นรมควันบ้านนาค้อ
27 ภาพที่ 15 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพืชสมุนไพรท่าสะท้อน
29 ภาพที่ 16 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรท่าสะท้อน
30 ภาพที่ 17 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก
31 ภาพที่ 18 ผลิตภัณฑ์จากกระจูด
สารบัญตาราง
36
ตารางที่ 1
การจ้างงานกิจกรรมต่างๆ 38
ตารางที่ 2
ค่าใช้จ่ายสำหรับ
ดำเนินโครงการ/กิจกรรม
ขนาดและที่ตั้งของชุมชน
ตำบลท่าสะท้อน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 58 ตารางกิโลเมตร
อยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอพุนพิน โดยมี
ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพิน ตามถนน
สายสุราษฎร์ - พุนพิน และถนนสายสุราษฎร์ -
ตะกั่วป่า เป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดต่ำเชิงเขา ไป
จนถึงที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตก มีพื้นที่
ทั้งหมดเหมาะสำหรับการทำสวนผลไม้
สวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน
แม่น้ำสายสำคัญ มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขต หมู่ที่ 4
ตำบลท่าสะท้อน กับตำบลเขาหัวควายและตำบลท่า
ข้าม อีกทั้งมีคลองท่าสะท้อน ไหลผ่านตำบลไป
บรรจบลำน้ำตาปี บริเวณ หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก มี
แหล่งน้ำขังเป็นที่ลุ่มโดยธรรมชาติขนาดใหญ่ 2
แหล่ง ได้แก่ ทุ่งกระจูด มีเนื้อที่ 3,100 ไร่ อยู่ในพื้นที่
หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 และป่าพรุนาค้อ อยู่ใน
พื้นที่ หมู่ที่ 1 เนื้อที่ 360 ไร่ นอกจากนี้ยังมี บ่อน้ำ
ร้อน 1 แห่ง ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 6
1
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน
และฤดูฝน มีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -
พฤศจิกายน ของทุกปี ประกอบกับสภาพพื้นที่เป็น
ที่ราบโล่ง มีลมพัดผ่านตลอดปี อากาศจึงเย็น
สบาย ส่วนฤดูร้อนอากาศจะร้อนมากในช่วงเดือน
มีนาคม - เมษายนของทุกปีทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- แม่น้ำจำนวน 1 สาย คือ แม่น้ำตาปี
- คลอง จำนวน 2 สาย คือ คลองนาค้อ และ
คลองท่าสะท้อน
- ลำห้วย น้ำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ห้วยโหด ห้วย
รัตนโกศัย ห้วยตายงค์ ห้วยบ่อปราบ ฯลฯ
- ป่าพรุบางนาค้อ
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝายน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 34 แห่ง
- เขื่อนห้วยโหด จำนวน 1 แห่ง
- เขื่อนน้ำล้น จำนวน 1 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 50 แห่ง
ป่าไม้
- 2 แห่ง คือ ป่าไม้หลังวัดท่าสะท้อน และ หลังโรงเรียนบ้านบ่อกรัง
2
การคมนาคม
การคมนาคม ตำบลท่าสะท้อน มีถนนหลายสายสำหรับใช้ในการติดต่อ
คมนาคมระหว่างหมู่บ้านและ ระหว่างตำบลในส่วนของการคมนาคมทางน้ำ
ก็มีลำคลองท่าสะท้อน และแม่น้ำตาปีไหลผ่าน ซึ่งประชาชนก็ใช้การ
คมนาคมทางน้ำในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปค้าขาย และใช้ในการ
เดินทางติดต่อสื่อสารโดยทั่วไป ดังนี้ - ถนนลาดยาง (กรมทางหลวง)
จำนวน 2 สาย ระยะทาง 15,000 เมตร - ถนนลาดยาง (ทางหลวงชนบท)
จำนวน 2 สาย ระยะทาง 35,500 เมตร - ถนนคอนกรีต จำนวน 12 สาย
ระยะทาง 6,870 เมตร - ถนนลาดยางแบบแอสฟั ลท์ติกคอนกรีต,แคปซีล
จำนวน 16 สาย ระยะทาง 22,976 เมตร - หินคลุก,ลูกรัง จำนวน 27 สาย
ระยะทาง 29,559 เมตร - ถนนลาดยางแอสฟั ลท์ติก ของ อบจ. 5 สาย
ระยะทาง 9,500 เมตร
การไฟฟ้า
- ราษฎรมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน คิดเป็น 99 %
- มีไฟฟ้าสาธารณะในถนนสายหลักต่าง ๆ ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่
การประปา
- ระบบประปาหมู่บ้าน ประเภท บาดาล จำนวน 27 แห่ง
- ระบบประปาหมู่บ้าน ประเภท ผิวดิน จำนวน 7 แห่ง
- ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านบ่อกรัง
3
ประวัติความเป็ นมาของชุมชน
ตำบลท่าสะท้อน เป็นตำบลในเขต
การปกครองของอำเภอพุนพิน
ประกอบไปด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1
บ้านนาค้อ หมู่ 2 บ้านบ่อกรัง หมู่ 3
บ้านท่าสะท้อน หมู่ 4 บ้านหนองจอก
หมู่ 5 บ้านเขาพลู หมู่ 6 บ้านห้วยลึก
หมู่ 7 บ้านศรีเจริญ
หมู่ที่ บ้านนาค้อ
บ้านนาค้อ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งขึ้น
มาเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เป็นชุมชนโบราณที่ก่อตั้งมาช้านานเก่า
เเก่หลายชั่วอายุคน และมีต้นค้อขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้เรียกชื่อบ้านว่า
บ้านนาค้อ มีถนนลาดยาง 2 สาย ยาวประมาณ 15 กิโลเมตรพื้นที่ส่วนใหญ่
เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขามีภูเขาลูกเล็ก ๆ 3 ลูก เรียงติดกันมีพื้นที่ทั้งหมด 5862
ไร่ ประชาชนในสมัยก่อน ทำนาในที่ราบลุ่มเชิงเขา เป็นแหล่งป่าพรุกระจูด
อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ทำการประมง
อาชีพรอง เลี้ยงโค เลี้ยงปลากระชัง รับจ้าง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 343
หลังคาเรือน จำนวนประชากร 812 คน
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1
- พ่อเฒ่าหมี เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกประมาณปี พ.ศ. 2480
- พ่อเฒ่าเกลื่อน เมฆไล เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2
- พ่อเฒ่าเริ่ม จรัญ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3
- นายเทียม กลั่นกุ้ง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4
- นายเขิม นะมะ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5
- นายอภิญญา นะมะ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 6 จนถึงปัจจุบัน
4
ที่ตั้งอาณาเขตหมู่ที่ 1
- ทิศเหนือ จด บ้านเขาหัวควาย ตำบลเขาหัว
ควาย อำเภอพุนพิน
- ทิศใต้ จด บ้านท่าสะท้อน หมู่ที่ 3 ตำบลท่า
สะท้อน อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันออก จด บ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบล
ท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันตก จด บ้านหนองจอก หมู่ที่4 ตำบล
ท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 1
1.กองทุนหมู่บ้าน
2.กลุ่มออมทรัพย์
3.กลุ่มวิสาหกิจยางพารา
4.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยมีกลุ่มแม่บ้าน
เกษตรกร ตัดกระจูดส่งไปขายให้กับหมู่ 6 บ้าน
ห้วยลึก
5.กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กช.คจ
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.22541) โดยมีนายอภิญญา
นะมะ เป็น
ประธานกองทุน ซึ่งได้เงินทุน 280,000 บาท
จากกรมการพัฒนาชุมชน
สถานที่หมู่ที่ 1
1. โรงเรียนบ้านนาค้อ
2. แหล่งน้ำได้แก่ คลองท่าสะท้อน
3. ทุ่งกระจูดสาธารณะ
4. สวนทุเรียน (จุดกางเต้นท์ชมทะเหมอก) Durian Garden Hill
5
ภาพที่ 1 สวนทุเรียน (จุดกางเต้นท์ชมทะหมอก) Durian Garden Hill
6
หมู่ที่ บ้านบ่อกรัง
บ้านบ่อกรัง ก่อนจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีเพียง 10 ครัวเรือน เรียกว่าชุมชน
บ้านบ่อกรัง โดยผู้ตั้งถิ่นฐานในช่วงแรก สภาพพื้นที่ลาดต่ำเชิงเขา ไปจนถึง
ที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตก อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน
สวนผลไม้ อาชีพรอง ค้าขาย รับจ้าง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 496 หลังคา
เรือน จำนวนประชากร 1,079 คน มีถนนลาดยาง 5 สาย ถนนเลียบทาง
รถไฟ 1 สาย มีนายจรัส เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนในสมัยนั้น และเริ่ม
มีอิสลามจากตำบลท่าทอง เข้ามาอาศัยอยู่ใน ชุมชน ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่
หมู่ 4 บ้านหนองจอก ในสมัยก่อนนั้น มีการสัญจรโดยการเดินเท้า หรือขี่ม้า
ไปมาหา สู่กันภายในหมู่บ้าน หรือเดินทางโดยรถไฟ จึงเกิดการนำของขึ้นไป
ขายบนรถไฟทำให้เกิดรายได้ ต่อมาเริ่มมีการตัดถนนทำให้สามารถเดิน
ทางออกสู่ภายนอกได้ และเริ่มทำให้มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ต่อมาทางรัฐ ได้
จัดตั้งให้เป็น ตำบลท่าสะท้อน ซึ่งได้มีการเลือกกำนันคนแรก หมู่ 2 บ้านบ่อ
กรังไม่มีผู้ใหญ่บ้าน และเป็นอำนาจหน้าที่ของกำนัน ในการดูแลตำท่า
สะท้อนบ้านบ่อกรัง
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
- นายจรัส เทือกสุบรรณ เป็นกำนันคนแรก ในปี พ.ศ.2500 - 2517
- นายจรัส เศษเชื้อ เป็นกำนันคนที่ 2 โดยรักษาการแทนในปี พ.ศ.2517
- 2518
- นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นกำนันคนที่ 3 ในปี พ.ศ.2524 - 2525
- นายธานี เทือกสุบรรณ เป็นกำนันคนที่ 4 ในปี พ.ศ.2525 - 2548
- นายคำรณ เทือกสุบรรณ เป็นกำนันคนที่ 5 ในปี พ.ศ.2548 - 2560
- นายธิปัตย์ เทือกสุบรรณ เป็นกำนันคนที่ 6 ในปี พ.ศ.2560 จนถึง
ปั จจุบัน
7
ที่ตั้งอาณาเขตหมู่ที่ 2
บ้านบ่อกรัง หมู่ที่2 ตั้งอยู่ทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอ
พุนพิน ห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพิน ประมาณ 15
กิโลเมตร มีเนื้อที่5ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ จด บ้านนาค้อ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสะท้อน
- ทิศใต้ จด บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสะท้อน
- ทิศตะวันออก จด บ้านศรีเจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลท่า
สะท้อน
- ทิศตะวันตก จด บ้านท่าสะท้อน หมู่ที่ 3 ตำบลท่า
สะท้อน
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 2
1. กองทุนหมู่บ้าน
2. กลุ่มออมทรัพย์
3. กลุ่มวิสาหกิจยางพารา
4. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
5. กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
6. ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพร
สถานที่หมู่ที่ 2
1. ตลาดนัดบ่อกรัง
2. วัดสุธาฤดีวนาราม (วัดบ่อกรัง)
3. โรงเรียนท่าสะท้อนวิทยา
4. ที่ทำการไปรษณีย์
5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะท้อน
6. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน
7. หน่วยกู้ภัย
8. ศาลารอรถประจำทาง
9. ป้ายหยุดรถไฟ
8
ภาพที่ 2 วัดสุธาฤดีวนาราม (วัดบ่อกรัง)
ภาพที่ 3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะท้อน
9
ภาพที่ 4 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน
ภาพที่ 5 ป้ายหยุดรถไฟ
10
หมู่ที่ บ้านท่าสะท้อน
หมู่ที่ 3 บ้านท่าสะท้อน มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 5 คน โดยปัจจุบันมี นาย
เอกชัย ทิพวัลย์ ดำรง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ลักษณะ
ภูมิศาสตร์ บ้านท่าสะท้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ทำให้เกิดอุทกภัยเกือบ
ทุกปี อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ อาชีพรอง สาน
กระจูด รับจ้าง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 268 หลังคาเรือน จำนวนประชากร
714 คน มีถนนลาดยาง 3 สาย ถนนคอนกรีต 1 สาย
ที่ตั้งและอาณาเขตหมู่ที่ 3
- ทิศเหนือ จด บ้านนาค้อ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสะท้อน
- ทิศใต้ จด บ้านท่าเรือ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเรือ อำเภอ
บ้านนาเดิม
- ทิศตะวันออก จด บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 6 ตำบลท่า
สะท้อน อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันตก จด บ้านหนองจอก หมู่ที่ 4 ตำบลท่า
สะท้อน อำเภอพุนพิน
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 3
1.กองทุนหมู่บ้าน
2.กลุ่มออมทรัพย์
3.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยอินทรีย์
11
สถานที่หมู่ที่ 3
1. วัดท่าสะท้อน
ภาพที่ 6 วัดท่าสะท้อน
หมู่ที่ บ้านหนองจอก
หมู่ 4 บ้านหนองจอก เป็นป่าพรุจนเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นจนมีการขยาย
พื้นที่เพื่ออยู่ อาศัย มีทั้งหมด 200 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาพุทธและอิสลาม คนนับถือศาสนาพุทธกับศาสนา อิสลามไม่ได้รวม
กันเป็นหนึ่งเดียว ต่อมาภายหลังได้รวมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มีถนนลาดยาง 1
สาย ถนนลูกรัง 1 สาย บ้านหนองจอก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม ทำให้เกิด
น้ำท่วมบ่อย อาชีพหลัก สวนปาล์มน้ำมัน ทำการประมง อาชีพรอง เลี้ยงโคก
ระบือ เลี้ยงแพะ เลี้ยงปลากระชัง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 381 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร 777 คน
12
ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 4
- นายมุด สินจันท์ ผู้ใหญ่บ้านคนแรก
- นายมิด สินจันท์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 - 2552
- นายสังเวียน ถ้อยทัด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 -
2562
- นายบุญฤทธิ์ ถ้อยทัด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึง
ปั จจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขตหมูที่ 4
- ทิศเหนือ จด บ้านบางอ้อ หมู่ที่ 1 ต.เขาหัวควาย
อ.พุนพิน
- ทิศใต้ จด บ้านท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.บ้านนาเดิม
- ทิศตะวันออก จด บ้านนาค้อ หมู่ที่ 1 ต.ท่า
สะท้อน อ.พุนพิน
- ทิศตะวันตก จด แม่น้ำตาปี หมู่ที่ 7 ต.ท่าข้าม
อ.พุนพิน
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 4
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 4
1. กองทุนหมู่บ้าน
2. กลุ่มออมทรัพย์
3. กลุ่มปลูกผักแพลอยน้ำ
4. กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง
5. กลุ่มวิธีการทำแคบหมูและกล้วยฉาบ
(หยุดพักเนื่องจากข้าวของแพง)
13
สถานที่หมู่ที่ 4
1. โรงเรียนบ้านหนองจอก
2. ศูนย์การเรียนรู้แพผักลอยน้ำ
3. มัสยิด 2 แห่ง คือ มัสยิดอิกอมุสซอลาห์และมัสยิดศาลามุธเราะห์มาน
ภาพที่ 7 ศูนย์การเรียนรู้แพผักลอยน้ำ
14
หมู่ที่ บ้านเขาพลู
บ้านเขาพลูเป็นชุมชนที่ตั้งมานานประมาณ 150 ปี โดยมีนายแทน ป้าช้วน
ตกฮก ตาอ้น โกกวั้ง และนางเมี้ยน เป็นผู้อพยพเข้ามาคนแรก ๆ บ้านเขาพลู
มีผู้ใหญ่มา 5 คน โดยปัจจุบันมี นายประเทือง โกละกะ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่
บ้านตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน ลักษณะภูมิศาสตร์ บ้านเขาพลู พื้นที่ส่วนใหญ่
เป็นที่เชิงเขา อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม อาชีพรอง ค้าขาย
รับจ้าง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 367 หลังคาครัวเรือน จำนวนประชากร 882
คน การมีถนนลาดยาง 1 เส้น ถนนคอนกรีต 3 เส้น
ที่ตั้งและอาณาเขตหมู่ที่ 5
- ทิศเหนือ จด บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 6 ตำบล
ท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ทิศใต้ จด บ้านเขาพลู หมู่ที่ 5 ตำบล
ท่าเรือ อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันออก จด บ้านใหม่ หมู่ที่ 5 ตำบล
วัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ทิศตะวันตก จด บ้านห้วยลึก หมู่ที่ 6ตำบล
ท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 5
1. กองทุนหมู่บ้าน
2. กลุ่มออมทรัพย์
3. กลุ่มโคกระบือ
4. กลุ่มเลี้ยงไก่ชน
15
หมู่ที่ บ้านห้วยลึก
บ้านห้วยลึกแต่เดิมเป็นหมู่ที่ 5 บ้านเขาพลูมี นายเสริม ศรีบุรุษเป็นผู้ใหญ่
บ้าน เมื่อประมาณปี 2528 เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้ดูแล
ไม่ทั่วถึง จึงการมีการแยกเป็นหมู่ที่ 6 บ้านห้วยลึก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม
มีถนนลาดยาง 1 เส้น ถนนคอนกรีต 3 เส้น อาชีพหลัก ทำสวนยางพารา สวน
ปาล์ม ผลไม้ อาชีพรอง ประมง ค้าขาย รับจ้าง จำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 164
หลังคาครัวเรือน จำนวนประชากร 489 คน
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
- นายประเสริฐ ขวัญใจ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
- นายฐานะกูล พัฒนสิงห์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2
- นางสุภาภรณ์ อินทนาศักดิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ในปี พ.ศ. 2546
จนถึงปั จจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขตหมู่ที่ 6
- ทิศเหนือ จด บ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบลท่า
สะท้อน
- ทิศใต้ จด บ้านเขาพลู หมู่ที่ 5 ตำบลท่าสะท้อน
อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันออก จด บ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบลท่า
สะท้อน อำเภอพุนพิน และ วัดประดู่
อำเภอเมืองสุราษฎร์
- ทิศตะวันตก จด บ้านท่าสะท้อน หมู่ที่ 3 ตำบลท่า
สะท้อน
16
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 6
1. กลุ่มวิสาหกิจหัตถกรรมจักสานกระจูด
บ้านห้วยลึก
ภาพที่ 8 กลุ่มวิสาหกิจหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก
สถานที่หมู่ที่ 6
1. บ่อน้ำพุร้อนท่าสะท้อน
ภาพที่ 9 บ่อน้ำพุร้อนท่าสะท้อน
17
หมู่ที่ บ้านศรีเจริญ
ในปี พ.ศ.2552 แยกมาจากหมู่ที่ 2 และมีผู้ใหญ่คนแรก ชื่อ เอกศักดิ์
คลล้ำเมื่อปี 2552 ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาราบสูง อาชีพหลัก
ทำสวนยางพารา สวนปาล์ม ผลไม้ อาชีพรอง ค้าขาย รับจ้าง จำนวนครัว
เรือน ทั้งหมด 210 หลังคาครัวเรือน จำนวนประชากร 748 คน มีถนน
ลาดยาง 2 เส้น
ที่ตั้งและอาณาเขตหมู่ที่ 7
- ทิศเหนือ จด ติดต่อกับบ้านท่านาง หมู่ที่ 3
ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน
- ทิศใต้ จด ติดต่อกับตำบลวัดประดู่ อำเภอ
เมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ทิศตะวันออก จด ติดต่อ กับหมู่ที่ 5 ตำบล
ท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
- ทิศตะวันตก จด ติดต่อกับบ้านบ่อกรัง หมู่ที่
2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
กิจกรรมหรือกลุ่มหมู่ที่ 7
1. กองทุนหมู่บ้าน
2. มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
3. กลุ่มเครื่องแกง (อยู่ระหว่างหยุดพักโควิด)
4. กองทุนสวัสดิการข้าวสาร
5. กองทุนแม่ของแผ่นดิน
6. กองทุนปุ๋ยหมัก
18
สถานที่หมู่ที่ 7
1. ไร่พ่อเฒ่า
ภาพที่ 10 ไร่พ่อเฒ่า
19
โครงสร้างของชุมชน
ด้านการปกครอง
เขตการปกครอง ตำบลท่าสะท้อนมีผู้นำท้องถิ่นปกครองตำบล และ
หมู่บ้านได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านนาค้อ นายอภิญญา นะมะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 2 บ้านบ่อกรัง นายคำรณ เทือกสุบรรณ เป็นกำนัน
- หมู่ที่ 3 บ้านท่าสะท้อน นายชูชาติ ศรีเทพ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก นายสังเวียน ถ้อยทัด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 5 บ้านเขาพลู นายประเทือง โกละกะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 6 บ้านห้วยลึก นางสุภาภรณ์ อินทนาศักดิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- หมู่ที่ 7 บ้านศรีเจริญ นายเอกศักดิ์ คลล้ำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ด้านประชากร
ช่วงอายุ เพศชาย เพศหญิง รวม(คน)
น้อยกว่า 1 ปีเต็ม 32 35 67
1 ปีเต็ม – 2 ปี 61 73 134
3 ปีเต็ม – 5 ปี 90 93 183
6 ปีเต็ม – 11 ปี 203
12 ปีเต็ม – 14 ปี 92 215 418
15 ปีเต็ม – 17 ปี 105 83 175
18 ปีเต็ม – 25 ปี 329 99 204
26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม 1,050 287 616
50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม 383 1,068 2,118
มาดกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป 357 399 782
2,702 550 801
รวม 2,796 5,498
อ้างอิง : ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2562
20
สาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุข
ภาพตำบลท่าสะท้อน เดิมชื่อสถานีอนามัยตำบลท่าสะท้อน ในสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นสำนักงานผดุงครรภ์ ตั้ง
อยู่ในหมู่ที่ ๒ บ้านบ่อกรัง ตำบลท่าสะท้อน ใกล้กับวัดบ่อกรัง โดยมีนาย
จรัส เทือกสุบรรณ ได้บริจาคที่ดินจำนวน ๒ ไร่ ก่อสร้างเป็นสถานีอนามัย
ขนาดเล็ก
จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้งบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขก่อสร้าง
เป็ นสถานีอนามัยขนาดกลางและเปิดให้บริการเป็ นหน่วยบริการปฐมภูมิ
(PCU) ของเครือข่ายบริการโรงพยาบาลพุนพิน จนถึง พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับ
การยกระดับเป็ นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะท้อนจนถึง
ปั จจุบัน
- มี อสม. ครบทุกหมู่บ้านตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข รวม
๘๐ คน
- คลีนิค จำนวน 4 แห่ง
- ร้านขายยาแผนโบราณ จำนวน ๑ แห่ง
- อัตราการมีส้วมราดน้ำ 100 %
ด้านการศึกษา
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน มีทั้งหมด
3 แห่ง ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน (บ้านบ่อ
กรัง) ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน (บ้านนา
ค้อ) ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านนาค้อ
3. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอิกอมุสซอลาฮ์ อยู่เลขที่ 37
หมู่ที่ 4 ตำบลท่าสะท้อน
21
โรงเรียนระดับประถมศึกษา มีทั้งหมด 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านบ่อกรัง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 บ้านบ่อกรัง ตำบลท่า
สะท้อน
2. โรงเรียนบ้านนาค้อ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านนาค้อ ตำบลท่า
สะท้อน
3. โรงเรียนบ้านหนองจอก ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก ตำบล
ท่าสะท้อน
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มี 1 แห่ง ดังนี้
1.โรงเรียนท่าสะท้อนวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 184 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน
ด้านศาสนา
ประชาชนในตำบลท่าสะท้อน นับถือคือ ศาสนาพุทธ และศาสนา
อิสลาม
โครงสร้างด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพทางด้าน
เกษตรกรรม เช่น ยางพารา ปลูกพืชผัก สวนผลไม้
สวนปาล์มน้ำมัน มีการเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม
ในครัวเรือน
22
การประมง
ชาวบ้านบางส่วนทำมีอาชีพทำประมงน้ำจืด
เช่นในหมู่ที่ 3 ซึ่งอยู่ติดกับคลองท่าสะท้อน และ
หมู่ที่ 4 ซึ่งติดกับคลองลำน้ำตาปี
การปศุสัตว์
1. กลุ่มเลี้ยงโคขุน จำนวน 3 กลุ่ม
2. ฟาร์มไก่ จำนวน 2 กลุ่ม
3. ฟาร์มหมู จำนวน 2 กลุ่ม
ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม
ประเพณีและงานประจำปี หมู่ที่ 1,2,3,5,6 7 ในกลางเดือนเมษายนของ
ทุกปี ชาวบ้านจะมีประเพณีทำบุญรดน้ำ ผู้สูงอายุ ประเพณีจบปี จบเดือน
งานวันลอยกระทง และประเพณีถวายหมับแก่ศาลพระเมณฑ์ของหมู่ที่ 6
นอกจากนั้นก็จะเป็นประเพณีวันขึ้นปี ใหม่ ประเพณีงานบวช งานแต่งงาน
ทั่ว ๆ ไป
ประชาชน หมู่ที่ 4 บ้านหนองจอก นับถือศาสนา 2 ศาสนา คือ ศาสนา
พุทธ และศาสนา อิสลาม ประชาชนในหมู่บ้านมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
ทุกคนปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ มี ส่วนร่วมในกิจกรรม
สาธารณะอย่างพร้อมเพรียง กิจกรรมทางศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
นั้น ได้แก่ วัน สาร์ทเดือนสิบ วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ ทำบุญวันขึ้นปีใหม่
การทำละหมาดของชาวมุสลิมประเพณีวันฮาลี รายอ และประเพณีแข่งขัน
กีฬาประจำปี
23
สถานที่สำคัญ
ภาพที่ 11 บ่อน้ำพุร้อนรัตนโกสัย
บ่อน้ำพุร้อนรัตนโกสัย
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุภาพ ลักษณะเป็นบ่อน้ำร้อนเปิดโล่ง มีค่าความ
เป็นกรด-ด่าง 7.90 อุณหภูมิ ประมาณ 70 องศาเซลเซียส จากพื้นที่เดิมซึ่งมี
ลักษณะเป็นบ่อน้ำซึ่งมีน้ำร้อนไหลออกมาก ชาวบ้านมีความ เชื่อว่าน้ำจาก
บ่อน้ำร้อนสามารถช่วยรักษาโรคปวดเมื่อยร่างกาย หรือโรคผิวหนังได้จึงนำ
กลับไปอาบที่บ้าน ซึ่ง ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า น้ำพุร้อนมีแร่ธาตุต่างๆสะสม
อยู่ สามารถนำมาอาบหรือดื่ม มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น - ช่วยรักษาโรค
ปวดวิถีประสาท และโรคปวดข้อ การอาบน้ำพุร้อนเป็นประจำจะช่วยในการ
ฟื้ นฟู สมรรถภาพ - ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และความผิดปกติ
ของเพศหญิง - ช่วยให้โลหิตในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้นและช่วยลด
ความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ - ช่วยขับสิ่งอุดตันใต้ผิวหนังและรูขุมขน
ทำให้ผิวหนังสะอาดบำรุงผิวพรรณให้สดใส ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมโดยรอบบ่อน้ำร้อน เพื่อให้มีความสะดวกสบายขึ้น โดยมีบ่อพักน้ำ ที่
มีอุณหภูมิลดลง สามารถลงแช่ทั้งตัวได้ นอกจากนี้บริเวณรอบบ่อน้ำร้อนมี
สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สวน สุขภาพ เป็นที่พักผ่อนสำหรับครอบครัว
อีกด้วย
24
ภาพที่ 12 ทุ่งกระจูด
ทุ่งกระจูด
ป่าพรุแหล่งทรัพยากรที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและเป็ นป่าพรุซึ่งมีต้นกระจูด
ขึ้นตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เป็นพืชซึ่งชาวบ้านนำมาใช้จักสานเป็นเสื่อ
เครื่องใช้ และผลิตเป็นสินค้าท้องถิ่นต่างๆ
ภาพที่ 13 วัดท่าสะท้อน
25
วัดท่าสะท้อน
วัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่กรุงสุโขทัยตอนปลาย อายุประมาณ
600 ปี มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และ โบราณวัตถุเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน
ตำนานเล่าสืบต่อกันมาผู้สร้างวัดเป็ นเชื้อเจ้าผู้ล่องสำเภามาสิ้นสุดที่วัดท่า
สะท้อน ได้สร้างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบบศรีวิชัยด้วยอิฐประดับเป็นเจดีย์ 7 ชั้น
แล้วบรรจุสมบัติไว้ที่ฐานเจดีย์ ใกล้เจดีย์ ได้สร้างพระอุโบสถมีพระพุทธรูป
สร้างติดกับฝาผนัง ด้านหน้ามีพระภิกษุณีข้างละ 1 รูป ฝาผนังสร้าง โดยใช้น้ำ
อ้อยเคี่ยวเป็นน้ำผึ้งผสมดินปั้ นเป็นผนัง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัดท่าสะท้อน
ซึ่งแสดงถึงความเก่าแก่ ทางวัฒนธรรมที่ชุมชนได้สืบทอดมาช้านาน
ภาพที่ 14 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางแผ่น
รมควันบ้านนาค้อ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางแผ่นรมควันบ้านนาค้อ
เจ้าของพื้นที่ : ว่าที่ร้อยตรี อุกฤษณ์ จันทร์ภักดี (แอ็กซ์)
ที่ตั้ง : เลขที่ 63/7 ม.1 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี 84130
จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชมเมื่อ วันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน
26
พ.ศ.2551 โดยมีเตาอบรมควัน 1 เตา และได้รับซื้อน้ำยางสดเพื่อมา
แปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 40-50 คน และลูกจ้าง
6 คน เป็นแรงงานเพื่อนบ้าน (มีใบอนุญาติ) โดยมีบ้านพักคนงานอยู่ใน
พื้นที่เพื่อสะดวกในการทำงาน
พ.ศ. 2555 สร้างเตาอบเพิ่ม 1 เตา เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2558 สร้างเตาอบเพิ่ม 1 เตา เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น และเพื่อ
ความรวดเร็วในการผลิต
พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน หยุดผลิตยางแผ่นรมควัน และรับซื้อเฉพาะน้ำ
ยางสด เนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน และปริมาณน้ำยางสดที่รับซื้อมี
ปริมาณลดลง
ภาพที่ 15 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ผู้ปลูกพืชสมุนไพรท่าสะท้อน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพรท่าสะท้อน
พ.ศ. 2540 มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆของผู้ที่ปลูกสมุนไพรภายใน
ครัวเรือน โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ในการทำยาลม จนประสบ
ความสำเร็จและได้ขอจดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP โดยมีชื่อว่า "สมุนไพ
รบุญญฤทธิ์"
27
พ.ศ. 2554 มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร
ท่าสะท้อน ซึ่งมีสมาชิกหลัก จำนวน 10 คน และมีประธานกลุ่ม คือ นายสม
พงษ์ สอนซัง โดยพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรมีจำนวน 2 งาน ประกอบด้วย
ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ว่านหางจรเข้ ไพล ฯลฯ
พ.ศ. 2555 เริ่มมีการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
อย่างเช่น การทำน้ำยาล้างจาน น้ำหมักชีวภาพ และยารักษาโรค
พ.ศ. 2556 มีการปรับปรุงโรงเรือนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการ
สร้าง ห้องการผลิต ห้องเก็บวัตถุดิบ และห้องบรรจุผลิตภัณฑ์
พ.ศ. 2558 มีการออกบูธงานเกษตรแฟร์ เพื่อขยายตลาดและให้เป็นที่
รู้จักของคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2560 ได้รับการสนับสนุนของครุภัณฑ์ จากกรมส่งเสริมการเกษตร
อาทิเช่น เก้าอี้ โต๊ะ เต๊นท์
พ.ศ. 2561 มีการให้เครือข่ายปลูกขมิ้นชัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
เนื่องจาก ไม่มีตลาดรองรับ จึงต้องหันมาแปรรูปเป็นยาแคปซูล ที่ใช้ในการ
บรรเทาอาการริดสีดวงทวารหนัก ตามสรรพคุณของสมุนไพรขมิ้นชัน
พ.ศ. 2563 ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ทำให้ได้กำไรน้อยลง อีกทั้งส่งผลให้
สินค้าที่มีต้นทุนสูงอยู่แล้ว ไม่คุ้มค่ากับการผลิต
พ.ศ. 2564 ประสบปัญหาในเรื่องของการขายสินค้า คือ ขายได้น้อยลง
เนื่องจาก กลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจยาสมุนไพรลดลง หันมาใช้ยาแผน
ปัจจุบันแทน ส่งผลให้ขายสินค้าได้ไม่ตรงตามเป้าที่ตั้งไว้ในแต่ละเดือน
28
ภาพที่ 16 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรท่าสะท้อน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรท่าสะท้อน
ประธานกลุ่ม : นายพยุงศักดิ์ เทียนประทีป
พ.ศ. 2562 เริ่มตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า
เกษตรแปลงเรียนรู้เกษตรผสมผสาน โดยมีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 8 คน พื้นที่
ของแปลงมีทั้งหมด 6 ไร่ ประกอบด้วย พริกไทย มะละกอ ดีปลี เงาะ ลองกอง
ทุเรียน มะม่วง ฯลฯ
พ.ศ. 2563 สิ่งสินค้เข้าขอจดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP และได้ออกบูธเพื่อ
ประชาสัมพันธ์สินค้า มีการส่งสินค้าไปร่วมงานสัปดาห์เกษตรของภาคกลาง ส่วน
ผลไม้ส่งขายในโลตัส และตลาดโพธิ์หวาย
พ.ศ. 2564 ขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น และส่งเข้าตลาดอื่นๆที่สนใจ มีการสร้าง
เพจเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็ นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบัน ต้องการพัฒนาเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความน่าสนใจ
มากยิ่งขึ้น
29
ภาพที่ 17 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรม
จักสานกระจูดบ้านห้วยลึก
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก
แม่เฒ่าเพียร นิ่มเผือก ผู้เป็นต้นแบบของคนรุ่นแรก ผู้เปี่ ยมด้วย
ภูมิปัญญางานสานกระจูด ท่านสานกระจูดเป็นของใช้แบบต่าง ๆ เช่น เสื่อ
กระบุง ไว้ใช้ในบ้าน ลูก ๆ หลาน ๆ ได้เห็นท่านทำแบบนี้ทุกวัน จึงเกิดความ
เคยชินและได้เรียนรู้ ฝึกฝนกับท่านจนเกิดความชำนาญเช่นกัน
พ.ศ. 2547 แม่เฒ่าเพียร ได้สานสมุดให้กำนันจรัส เศรษฐเชื้อ ส่งเป็น
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเข้าประกวด ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ และได้รับ
รางวัลในครั้งนั้น ต่อมาผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและเป็นที่รู้จักของคน
ทั่วไปมากขึ้น
30
พ.ศ. 2535 นางปรีฑา แดงมา ซึ่งเป็นบุตรีของแม่เฒ่าเพียร นิ่มเผือก
ได้มีโอกาสส่งผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดเข้าประกวด ณ พระตำหนักทักษิณราช
นิเวศ และได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทำให้นาง
ปรีฑา เกิดแรงบันดาลใจที่จะอนุรักษ์และรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป
จากชุมชน และเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของแม่ที่ได้ทำมา จึงได้ชักชวนเพื่อน
บ้านในชุมชนร่วมกันจัดตั้งเป็ นกลุ่มแม่บ้านเพื่อร่วมกันจักสานผลิตภัณฑ์
กระจูด ได้สำเร็จในปี ๒๕๓๘ มีสมาชิกแรกเริ่ม ๒๐ คน ได้รับการสนับสนุนด้าน
ความรู้ เงินทุน การตลาดจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ หลายหน่วยงาน กลุ่มฯ
ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน ทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นเรื่อย ๆ สินค้าเป็นที่
รู้จักแก่บุคคลทั่วไป
พ.ศ. 2549 ได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้าน
ห้วยลึก เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม โดยมีกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อระดมทุน
ต่อมาได้รับการยอมรับผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มจนประสบความ
สำเร็จมาจนถึงปั จจุบัน
ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 นายชยาวัฒน์ แดงมา บุตรชายนางปรีฑา
แดงมา และ นางสาวพัชรี จิรดิลก ภรรยา ได้เข้ามาดูแลงานกลุ่มแทนแม่ที่แก่
ชรา และได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ได้รับรางวัลต่าง ๆ
มากมาย มีการขยายตลาดสู่ตลาดต่างประเทศ ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักทั้งชาว
ไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนางสาวพัชรี จิรดิลก ดำรงตำแหน่ง
ประธานกลุ่มฯ
ภาพที่ 18 ผลิตภัณฑ์จากกระจูด
31
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนตำบลท่าสะท้อน
ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้เกิดผลกระ
ทบต่อการค้าขายของประชากรในชุมชน และยังส่งผลกระทบต่อหลายๆด้าน
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก มีความต้องการทางด้านวัตถุ จากที่
มีการเรียนการสอนหนังสือ ภายในห้อง กลับกลายเป็นการเรียนการสอนใน
รูปแบบ ออนไลน์ และดำรงชีวิตในการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานาน วิถีชีวิต
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงโลก
ออนไลน์มากกว่าปกติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เป็นการเปลี่ยนแปลง
นำไปสู่ศักยภาพของตำบลที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงบางกรณีนำไปสู่ปัญหา
ทางสังคม
การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและ
สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
โครงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น
พัฒนาทักษะอาชีพใหม่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสังคมและ
บริการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพในชุมชน
ตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
1. พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. ความต้องการของชุมชน/พื้นที่ที่รับผิดชอบ ตำบลท่าสะท้อน ตั้งอยู่ในเขต
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 58 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้
ของที่ว่าการอำเภอพุนพิน โดยมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอพุนพิน ตาม
ถนนสายสุราษฎร์ – พุนพิน และถนนสายสุราษฎร์ – ตะกั่วป่า เป็นระยะทาง
16 กิโลเมตรประกอบไปด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านนาค้อ หมู่ 2 บ้านบ่อ
กรัง หมู่ 3 บ้านท่าสะท้อน หมู่ 4 บ้านหนองจอก หมู่ 5 บ้านเขาพลู หมู่ 6 บ้าน
ห้วยลึก หมู่ 7 บ้านศรีเจริญ
32
พบว่า ชุมชนต้องการให้มีการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น พริกไทย ดีปลี
ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ส่วนการท่องเที่ยว
ต้องการให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใน
พื้นที่ โดยชุมชนมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงาน
ราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่
3. ชื่อโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ (เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ)
การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการ
ท่องเที่ยว) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยี
ด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่ม
รายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ให้แก่ชุมชน)
3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ
1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่นของกลุ่มสมุนไพรไร่
ทองดำ ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ และถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายของชุมชน
ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2) เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพใหม่เพิ่มรายได้ระดับครัวเรือนยากจนและ
ฟื้ นฟู เศรษฐกิจของ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม สู่ไร่ปลอดภัย ตำบลท่าสะท้อน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ทุ่งกระจูด บ้านนาค้อ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้
และสถานท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
5) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ
ชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชนบ่อน้ำพุร้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลตำบลและจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ตำบล
33
3.2 ประเภทกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ (ระบุร้อยละของ
กิจกรรม)
1) การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า
OTOP/อาชีพอื่นๆ) คิดเป็นร้อยละ 35 ของกิจกรรมทั้งหมด
2) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่อง
เที่ยว) คิดเป็นร้อยละ 25 ของกิจกรรมทั้งหมด
3) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยี
ด้านต่างๆ) คิดเป็นร้อยละ 25 ของกิจกรรมทั้งหมด
4) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้
หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ให้แก่ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 15 ของกิจกรรมทั้งหมด
3.3 รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ (ให้ระบุกิจกรรมและงบ
ประมาณ ต้องสอดคล้องกับงบประมาณในข้อ 4)
1) การจ้างงานตามภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 20 อัตรา
งบประมาณ 2,640,000 บาท
2) การวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพตำบล การกำกับ ติดตามและประเมิน
ผล ระดับ National System Integrator งบประมาณ 25,800 บาท
3) การวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพตำบล การกำกับ ติดตามและประเมิน
ผล ระดับ Regional System Integrator งบประมาณ 34,400 บาท
4) การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโครงการรายตำบล (ระดับ
System Integrator) งบประมาณ 43,000 บาท
5) พัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น พัฒนาทักษะอาชีพ
ใหม่ในการเพิ่มรายได้ระดับครัวเรือนและฟื้ นฟู เศรษฐกิจ ตำบลท่าสะท้อน
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี งบประมาณ 326,480 บาท
3.4 ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ (อธิบาย
ถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับสินค้า OTOP /การยก
ระดับการท่องเที่ยวการบริการชุมชน หรือการเพิ่มรายได้รูปแบบอื่นให้แก่
ชุมชน ที่มีความชัดเจน ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
34
1) เชิงปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ (ผู้รับการถ่ายทอดความรู้) จำนวน 240 คน
โดย 1 คน สามารถรับการถ่ายทอดได้มากกว่า 1 เรื่อง ประกอบด้วย
- ผู้รับการถ่ายทอดกลุ่มเป้าหมายนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนใน
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น การพัฒนาทักษะอาชีพ
ใหม่ในการเพิ่มรายได้ระดับครัวเรือนและฟื้ นฟู เศรษฐกิจ จำนวน 20 คน ต่อ
รุ่น จัดทั้งหมด 4 รุ่น รวมทั้งสิ้น 80 คน
- ส่งเสริมและอนุรักษ์ทุ่งกระจูด บ้านนาค้อ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสถาน
ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ของตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จำนวน 30 คน ต่อรุ่น จัดทั้งหมด 2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 60 คน
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม สู่ไร่ปลอดภัยของ ตำบลท่าสะท้อน
อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี จำนวน 20 คน ต่อรุ่น จัดทั้งหมด 2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 40 คน
- แกนนำสามารถบริหารจัดการและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมและสุขภาพของชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชนบ่อน้ำพุร้อน ตำบลท่า
สะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน ต่อรุ่น จัดทั้งหมด
2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 60 คน
2) เชิงคุณภาพ
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในกระบวนการจัดโครงการ/กิจกรรม
ร้อยละ 80
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีได้หลังการอบรม ร้อยละ 80 คะแนน
- ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถต่อยอด และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับให้
กับผู้อื่นได้
- มีผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพิ่มขึ้น
35
4. งบประมาณการดำเนินการ
ตารางที่ 1 การจ้างงานตามภารกิจต่างๆ
36
ตารางที่ 1 การจ้างงานตามภารกิจต่างๆ (ต่อ)
37
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
38
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
39
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
40
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
41
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
42
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
43
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
44
ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (ต่อ)
45