มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ทักษะ
การว่ายน้ำ
Swimming Skills
สาขาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์
คำนำ
ทักษะการว่ายน้ำ | ก
สารบัญ
ทักษะการว่ายน้ำ | ข
สารบัญ (ต่อ)
ทักษะการว่ายน้ำ | ค
ประวัติว่ายน้ำในต่างประเทศ
การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths)
ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้น
มีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style)โดยผู้ว่ายน้ำ
แต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J.Arhur Trudgen เป็นผู้
ได้รับชัยชนะโดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือ
แบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่
ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบ ทรัดเจน (Trudgen
stroke)
ทักษะการว่ายน้ำ | 1
ประวัติว่ายน้ำในต่างประเทศ
ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้นเมื่อเรือเอก
Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียสเมื่อ
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่าย
แบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้น
ไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกัน ชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบ
อังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่าย
น้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
ทักษะการว่ายน้ำ | 2
ประวัติว่ายน้ำในต่างประเทศ
การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึง
เวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว
แลนเคเชียร์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดี
ในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S.Battersby
ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะ
เลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
ทักษะการว่ายน้ำ | 3
ประวัติว่ายน้ำในต่างประเทศ
Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวา
และเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่า
เด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่
นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้
จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความ
สนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการ
พัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภท
ของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น
ทักษะการว่ายน้ำ | 4
ประวัติว่ายน้ำในประเทศไทย
สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนสมาคมต่อ
กรมตำรวจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม
ว่ายน้ำคนแรกคือ พลเรือโท สวัสดิ์ภูติอนันต์ ร.น. ในปีเดียวกันนี้สมาคมว่าย
น้ำ ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาล
ได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำ
มาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน้ำ
ทักษะการว่ายน้ำ | 5
ประวัติว่ายน้ำในประเทศไทย
และอัฒจันทร์คนดูจำนวน 5,000 ที่นั่งณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ
และเปิดใช้ในการแข่งขัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 เรียกว่า สระ
ว่ายน้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระ ว่ายน้ำวิสุทธารามย์) และ
สมาคมว่ายน้ำได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำแห่งเอเชียใน
ปีพ.ศ. 2509 ปัจจุบันกีฬาว่ายน้ำได้รับความสนใจจากประชาชนโดยทั่วไป
อย่างกว้างขาวง ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ใน
หลักสูตรเกือบทุกระดับ
ทักษะการว่ายน้ำ | 6
ประโยชน์ ของการว่ายน้ำ
การว่ายน้ำเป็นกิจกรรมสันทนาการที่ยอดเยี่ยมสำหรับคน
ทุกวัย และทำให้คุณได้ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ บาด
เจ็บน้อย ทั้งยังเป็นวิธีที่ดีในการผ่อนคลายอีกด้วย รูปแบบของ
การว่ายน้ำทั่วไปในการว่ายน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจนั้น
ได้แก่ การว่ายน้ำท่ากรรเชียง ท่ากบ และท่า ฟรีสไตล์ ส่วนการ
ว่ายน้ำ แข่งขันหรือเล่นเป็นกีฬาว่ายน้ำนั้น จะให้ประโยชน์ต่อ
สุขภาพของการออกกำลังกายอย่างหนักรวมทั้งได้ความ
สนุกสนานและ ความตื่นเต้นของการแข่งขัน
ทักษะการว่ายน้ำ | 7
ประโยชน์ ของการว่ายน้ำ
ด้านร่างกาย
•ระบบการทำงานของหัวใจ ปอด และการไหลเวียนเลือดให้แข็งแรงขึ้นมี
ประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี
•กล้ามเนื้อกระชับ ลดไขมันส่วนเกินได้
•ทำให้ใยกล้ามเนื้อถูกใช้งานมากขึ้น ปริมาณเส้นเลือดฝอยในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
กล้ามเนื้อมีขนาดโตขึ้น มีความแข็งแรงและมีพลังมากขึ้น
•การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ร่างกายต้องใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว จึงมีผลทำให้ร่างกายมีการพัฒนาและเจริญเติบโต
ขึ้น
•ช่วยให้สมรรถภาพทางกายโดยรวมดีขึ้น
•การว่ายน้ำเป็นประจำจะช่วยให้มีรูปร่างที่ดีขึ้น
•นอนหลับดีขึ้น
•ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย
•ชะลอความเสื่อมของอวัยวะของร่างกาย
•ช่วยชะลอความแก่ให้ช้าลง ทักษะการว่ายน้ำ | 8
ประโยชน์ ของการว่ายน้ำ
ด้านสังคม
•ช่วยในการปรับตัวเข้ากับสังคม
•ทำให้รู้จักคนมากขึ้น
•รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน
•เคารพสิทธิของกันและกัน
•รู้จักเคารพกฎระเบียบของสถานที่นั้น ๆ
•ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
•ส่งเสริมให้มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
•มีความรับผิดชอบต่อคนเองและส่วนรวม
ทักษะการว่ายน้ำ | 9
ประโยชน์ ของการว่ายน้ำ
ด้านจิตใจและอารมณ์
• ความเย็นของน้ำช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
• ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
• ทำให้รู้สึกสดชื่น ร่าเริง จากการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟิน
ด้านความปลอดภัย
• สามารถช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้
• สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
ทักษะการว่ายน้ำ | 10
สุขาภิบาลสระว่ายน้ำ
ปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดคือ ระบบกรอง เกิดจากการไหล
เวียนของน้ำไม่ดี ทำให้ระบบกรองอุดตัน รวมถึงการใช้สารเคมี
ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ ทำให้เกิดแบคทีเรียหรือการ
เติบโตของสาหร่าย อาจทำให้ผิวหนังหรือดวงตาเกิดการ
อักเสบขึ้นสระว่ายน้ำขนาดพื้นฐานพร้อมตัวกรอง อาจไม่เพียง
พอกับระบบปั๊ ม หรืออุณหภูมิพื้นผิวน้ำสูงเกินไป จึงทำให้
คลอรีนรวมถึงสารเคมีอื่น ๆ ถูกทำลาย เราจึงกำหนดว่า สระ
ว่ายน้ำทุกประเภท ต้องมีการกรองทำความสะอาดและเติมสาร
เคมีที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานแบบ
รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน
ทักษะการว่ายน้ำ | 11
สุขาภิบาลสระว่ายน้ำ
ขั้นตอนการบำรุงรักษาประจำวัน
ระบบกรองและปั๊ มต้องทำงานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง บางครั้งนานถึง 18 ชั่วโมง
ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำ ในบางกรณีการกรอง 5 ชั่วโมงไม่เพียงพอ และ
ถ้าไม่มีการกรองน้ำ จะส่งผลต่อการไหลเวียนของน้ำ สภาพน้ำและเกิดตะไคร่
เขียว ควรรักษาระดับน้ำในสระว่ายน้ำและตรวจวัดค่า pH ให้ตรงตามค่า
มาตรฐาน เติมคลอรีนเพื่อความสะอาดของน้ำ และต้องตรวจความดันเครื่อง
กรองและปั๊ มทุกวัน เมื่อความดันเกิน 7-9 psi โดยทำความสะอาดล้างย้อนที่ตัว
กรอง เครื่องกรองทรายมีวาล์วที่สามารถเปิดใช้งานการไหลย้อนกลับของน้ำสู่
การกรอง ล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีของตลับกรอง
ควรปิดปั๊ มเพื่อนำตัวกรองออกมาทำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง
ทักษะการว่ายน้ำ | 12
สุขาภิบาลสระว่ายน้ำ
ขั้นตอนการบำรุงรักษาประจำสัปดาห์
จากเศษขยะที่ลอยสระทำความสะอาดควรทำทุกวัน ใช้ทัพพีที่แบนสุทธิเพียงพอ
สำหรับการอ่านแบบคร่าว ๆ อย่างรวดเร็ว ดูดฝุ่นพื้นสระว่ายน้ำเป็นต้องการกำจัดการ
สะสมของสิ่งสกปรกและการพัฒนาของสาหร่าย แปรงสระว่ายน้ำจะช่วยในการไหล
เวียนของน้ำที่เหมาะสม เป็นกระบวนการ ที่จะเอาฟิล์มปลิ้นปล้อน มองไม่เห็นที่อาจ
ทำให้บุปผาสาหร่าย แปรงทุกสัปดาห์เพียงพอเว้นแต่น้ำอุ่น การล้างย้อนจะเชิญทำ
สัปดาห์ ยกเว้นมาตรวัดแรงดันกรองเพิ่มขึ้นถึง 7-9psi ระดับการรวมสภาพด่างของน้ำ
ควรจะมาจาก 80 ถึง 120 ppm ระดับค่า pH สระว่ายน้ำจะขึ้นอยู่กับระดับสภาพด่าง
ทั้งหมด ถ้ามันต่ำเกินไป ระดับค่า pH จะลดลง และถ้าสูงเกินไป กรดจะปรับยาก เพิ่ม
ปริมาณการบำรุงรักษาด้วย Algaecideแต่ละสัปดาห์จะต้องให้สระน้ำสะอาด และ
ประกายสีฟ้า Algaecide จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำฝนแปรสภาพน้ำในสระเป็นสีเขียว ถ้ามี
floater หรือ chlorinator คลอรีนเม็ดควรจะเพิ่มการรักษาระดับที่ต้องการ 2-4 ppm
โดยทั่วไป
ทักษะการว่ายน้ำ | 13
สุขาภิบาลสระว่ายน้ำ
ขั้นตอนการบำรุงรักษารายเดือน
ควรจะทดสอบความแข็งกระด้างของน้ำสระว่ายน้ำเป็นประจำทุกเดือน ควรมี
ระดับอยู่ระหว่าง 200-400 ppm น้ำที่อ่อนเกินไปช่วยในลักษณะของไวนิลซับคราบ
ซึ่งอาจทำให้เกิดฟองที่อาจรบกวน การกรองที่เหมาะสมและการสุขาภิบาล ถ้าความ
แข็งต่ำกว่า 150 ppmแคลเซียมแข็ง increaser ต้องเพิ่มน้ำ ระดับกรด cyanuric
ของสระว่ายน้ำควรมีค่าตั้งแต่ 30-50 ppm สิ่งที่น้อยกว่า หรือมากกว่าอาจมีผลต่อ
เนื้อหาคลอรีนน้ำ กรด cyanuricรักษาคลอรีน และปกป้องจากแสงแดด ตรวจสอบ
การเจริญเติบโตของสาหร่าย โดยจะพบได้หลังบันไดและขั้นตอนการทำความ
สะอาดคราบน้ำมัน และสิ่งสกปรกอื่น ๆ
ทักษะการว่ายน้ำ | 14
สุขาภิบาลสระว่ายน้ำ
ขั้นตอนการบำรุงรักษารายเดือน
ควรจะทดสอบความแข็งกระด้างของน้ำสระว่ายน้ำเป็นประจำทุกเดือน ควรมี
ระดับอยู่ระหว่าง 200-400 ppm น้ำที่อ่อนเกินไปช่วยในลักษณะของไวนิลซับคราบ
ซึ่งอาจทำให้เกิดฟองที่อาจรบกวน การกรองที่เหมาะสมและการสุขาภิบาล ถ้าความ
แข็งต่ำกว่า 150 ppmแคลเซียมแข็ง increaser ต้องเพิ่มน้ำ ระดับกรด cyanuric
ของสระว่ายน้ำควรมีค่าตั้งแต่ 30-50 ppm สิ่งที่น้อยกว่า หรือมากกว่าอาจมีผลต่อ
เนื้อหาคลอรีนน้ำ กรด cyanuricรักษาคลอรีน และปกป้องจากแสงแดด ตรวจสอบ
การเจริญเติบโตของสาหร่าย โดยจะพบได้หลังบันไดและขั้นตอนการทำความ
สะอาดคราบน้ำมัน และสิ่งสกปรกอื่น ๆ
ทักษะการว่ายน้ำ | 14
การเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางกายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ
นักว่ายน้ำต้องมีทั้งความรวดเร็ว ความแข็งแรง ความอดทน
ความยืดหยุ่นตัวและความคล่องตัว และใช้พลัง งานอย่างมากในการ
เล่น นักว่ายน้ำจึงมีความเหนื่อยและล้าไม่น้อยกว่ากีฬาอื่น ๆ นักว่าย
น้ำที่มีสมรรถภาพทางกายดี คือนักว่ายน้ำที่มีความแข็งแรงของกล้าม
เนื้อ มีความอ่อนตัว ความอดทน และความเร็ว ยิ่งมีความพร้อมทาง
ร่างกายมากเท่าไร การเล่นว่ายน้ำก็ยิ่งมีประสิทธิภาพที่นำไปสู่ผลการ
แข่งขันมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรทราบถึงการมีสมรรถภาพทาง
กายเพื่อการเล่นว่ายน้ำที่ดีดังนี้
ทักษะการว่ายน้ำ | 15
การเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางกายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ในการว่ายน้ำระยะต่าง ๆ เช่น ระยะใกล้ ระยะกลางหรือระยะ
ไกล นักกีฬาว่ายน้ำล้วนต้องการพลังกล้ามเนื้อแขนและขาเป็นส่วน
ประกอบหลัก ยิ่งมีพลังมากเท่าไรการว่ายน้ำยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เท่านั้นเราจึงควรรับรู้เรื่องของความ สามารถของกล้ามเนื้อ ความแข็ง
แรงของกล้าม เนื้อนอกจากทำให้นักกีฬาทำทักษะได้ดี และเล่นว่ายน้ำ
อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดหรือป้องกันการบาดเจ็บด้วย
ทักษะการว่ายน้ำ | 16
การเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางกายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ
ความอดทน
เมื่อร่างกายสามารถทำงานอย่างราบรื่นด้วยความแข็งแรงแล้ว นักว่ายน้ำที่
สามารถ ใช้กล้ามเนื้อหรือข้อต่ออย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพกว่าย่อมมี
โอกาสของการว่ายน้ำที่ดีมากกว่า ความนานในการเล่นกีฬานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ความอดทน ส่วนคำ หรืออาการตรงข้ามของความอดทน คือ ความเมื่อยล้า ของ
ร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อการเล่นว่ายน้ำ
ทักษะการว่ายน้ำ | 17
การเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางกายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ
ความอ่อนตัว
ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อในนักว่ายน้ำ มีความจำเป็นไม่แพ้ด้าน
อื่น ๆ การที่นักกีฬามีความอ่อนตัวในระหว่างการว่าย ช่วยทำให้นักกีฬา
ว่ายน้ำสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างราบรื่น และมีโอกาส ของการ
ฉีกขาดของกล้ามเนื้อน้อย ข้อต่อของร่างกายทำงาน เคลื่อน ไหวในระยะ
ทางและมุมที่ไกลและกว้าง ความอ่อนตัวนี้ช่วยลดการฉีกขาดของเอ็นและ
ข้อต่อด้วย การอบอุ่นร่างกายที่ตามด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและ
หลังการว่ายน้ำที่เหมาะสมเพียงพอจึงเป็นเรื่องจำเป็น
ทักษะการว่ายน้ำ | 18
การเสริมสร้างสมรรถภาพ
ทางกายเกี่ยวกับการว่ายน้ำ
ความเร็ว
ในบางรายการของว่ายน้ำ เช่น วิ่งระยะสั้น ที่มีการเคลื่อนไหว
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในเวลาอันสั้น อยู่ด้วย นอกจากความเร็วใน
การเล่น เคลื่อนไหวแล้ว ความเร็วในการตอบสนองทางด้านจิตใจหรือ
ความรู้สึก ก็เป็นความเร็วที่ส่งผลต่อการเล่นด้วยอีกทางหนึ่ง
ทักษะการว่ายน้ำ | 19
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การสร้างความคุ้นเคยในน้ำ
สำหรับผู้ที่ยังว่ายน้ำไม่เป็นและไม่คุ้นเคยกับสระว่ายน้ำมาก่อน
ควรสร้างความคุ้นเคยกับน้ำก่อน คือให้นั่งที่ขอบสระใช้มือกวักน้ำขึ้นมา
ลูบแขน ลูบหน้า ลำตัว เพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายกับน้ำ ต่อจากนั้นให้
นั่งที่ขอบสระหรือบันได เหยียดเท้า หรือเอาเท้าจุ่มลงไปในน้ำ แกว่งไปมา
เตะสลับขึ้นลง จะช้าบ้างเร็วบ้างสลับกันไปตามความเหมาะสม เมื่อเริ่ม
คุ้นเคยกับน้ำ ไม่รู้สึกกลัว ให้ลงน้ำยืน ด้านน้ำตื้น ฝึกการหายใจเข้าและ
หายใจออก (Inhale and Exhale)
ทักษะการว่ายน้ำ | 20
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การสร้างความคุ้นเคยในน้ำ
ปฏิบัติดังนี้
- ใช้มือทั้งสองข้างจับขอบสระ ลืมตา หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นหายใจ แล้วค่อย
ๆ ย่อตัวลงไปในน้ำ ให้ศีรษะจมมิดลงในน้ำ กลั้นหายใจไว้ นับ 1-5 แล้วจึง
ยกศีรษะขึ้นจากน้ำ
- อ้าปากหายใจเข้าทางปาก (ไม่หายใจเข้าทางจมูกเพราะน้ำที่ยังค้างอยู่
ตามใบหน้าจะไหล เข้าจมูกทำให้สำลักน้ำได้) โดยไม่เอามือมาลูบหน้า
ส่ายศีรษะหรือสะบัดผม ทำติดต่อกัน 10-15 ครั้ง
- เมื่อชำนาญอาจใช้วิธีปล่อยลมออกทางจมูก ขณะที่ดำน้ำ และเพิ่มระยะ
เวลาในการกลั้นหายใจในน้ำ โดยนับ 1-10 1-20 หรือ 1-30 แล้วจึงยกศีรษะ
ขึ้นจากน้ำรีบอ้าปากหายใจเข้าลึก ๆ เร็ว ๆ
ทักษะการว่ายน้ำ | 21
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การดำน้ำ
การดำน้ำ เป็นการลดตัวใต้ผิวน้ำเพื่อทำกิจกรรมใต้น้ำ มักเกี่ยวข้อง
กับการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นหลัก หรืออาจเป็นภารกิจทางทหาร การแช่
น้ำและการสัมผัสกับน้ำเย็นและความดันสูงมีผลทางสรีรวิทยาต่อนักดำน้ำ
ซึ่งจะจำกัดความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรวม การกลั้นหายใจเป็น
ข้อจำกัดสำคัญ และการหายใจที่ความดันสูงยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น
ๆ ทั้งทางตรง และทางอ้อม การพัฒนาวิธีการทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
เพิ่มความลึกและระยะเวลาในการดำน้ำโดยรอบของมนุษย์และยังช่วยให้
ทำงานใต้น้ำ ได้นานยิ่งขึ้น
ทักษะการว่ายน้ำ | 22
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การดำน้ำแบบคว่ำตัว
• นักเรียนยืนหันหน้าเข้าหาขอบสระ มือทั้งสองข้างจับขอบสระ หายใจ
เข้าทางปาก ย่อเข่าลงจนศีรษะจมน้ำ แล้วเป่าลมออกทางปาก
• เหยียดตัวไปตามผิวน้ำ โดยยกขาขึ้นจากพื้น พยายามให้ลำตัวตรง
• ฝึกตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ แต่ละครั้งให้ได้ 10 วินาที จนครบ 10 ครั้ง
เพื่อให้เกิดความ เคยชิน
• มือทั้งสองข้างจับขอบสระก้มหน้าอยู่ใต้ผิวน้ำ ยกขาทั้งสองข้างขึ้นจาก
พื้นสระ ลำตัวตรงอยู่ระดับ ผิวน้ำใช้หลังเท้าทั้งสองข้างสะบัดน้ำเบา ๆ
เพื่อประคองให้ตัวลอย
ทักษะการว่ายน้ำ | 23
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การดำน้ำแบบหงายตัว
นักเรียนยืนหันหน้าเข้าขอบสระ โดยใช้มือทั้งสองข้างจับขอบสระ
เริ่มทำด้วยการใช้เท้ากีบตัวออกจากผนังขอบสระ ลำตัวเหยียดตรง อยู่
ระดับผิวน้ำ ใช้หลังเท้าทั้งสองข้างสะบัดน้ำเบา ๆ แขนทั้งสองข้างอยู่แนบ
ลำตัวพร้อมใช้ฝ่ามือดันน้ำประคองตัวให้ลอยน้ำได้ เงยหน้า ยืดอก เอวไม่
งอ
ทักษะการว่ายน้ำ | 24
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การลอยตัวแบบต่าง ๆ
-การลอยตัวแบบคว่ำ (ท่าปลาดาว)
นักเรียนยืนหันหลังพิงขอบสระ หายใจเข้าทางปากให้เต็มปอด แล้ว
ก้มหน้าลงในน้ำ เท้าทั้งสองข้างถีบออกจากขอบสระ ลำตัวตรง กางมือ
และเท้า ทั้งสองข้างออกด้านข้างของลำตัว เพื่อรักษาความสมดุลของ
ร่างกาย
ทักษะการว่ายน้ำ | 25
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การลอยตัวแบบต่าง ๆ
-การลอยตัวแบบคว่ำ (ท่าแมงกะพรุน)
นักเรียนยืนอยู่บนพื้นสระที่สามารถยืนได้ในระดับประมาณคอจาก
นั้นให้ถีบเท้าทั้งสองข้างขึ้นจากพื้นสระ ก้มหน้า งอเข่า ใช้มือทั้งสอง รวบ
เข่าทั้งสองข้างไว้
ทักษะการว่ายน้ำ | 26
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การลอยตัวแบบต่าง ๆ
-การลอยตัวแบบหงาย (ท่าแม่ชีลอยน้ำ)
วิธีการฝึกการลอยตัวแบบหงาย ให้ตัวนอนหงายขนานกับผิวน้ำ
กางแขนขาเหยียดตึง ยืดอกแอ่นเอว ใบหน้าตรง ใบหูจมน้ำ ปล่อยตัวตาม
สบาย สิ่งสำคัญคือต้องยกหน้าอกให้สูงกว่าผิวน้ำ และท่านี้จะทำให้เรา
หายใจเอาอากาศเข้าออกได้ตามปกติ เพราะหน้าเราจะอยู่เหนือผิวน้ำอยู่
แล้วสำคัญคือการพยุงตัวไว้เพราะช่วงแรกในการฝึกร่างกายอาจจะยัง
รักษาสมดุลไม่ค่อยได้ พยายามยกสะโพกให้สูง เอวไม่งอ
ทักษะการว่ายน้ำ | 27
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การลอยตัวแบบต่าง ๆ
-การลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ
นักเรียนยืนอยู่บนพื้นสระที่สามารถยืนได้ในระดับประมาณคอ จากนั้นให้
ถีบเท้าทั้งสองข้างขึ้นจากพื้นสระ งอเข่า ใช้ฝ่ามือทั้งสอง ถีบน้ำลงด้าน
ล่างสลับกันเหมือนถีบจักรยาน มือทั้งสองข้าง ดันน้ำออกข้างลำตัว เพื่อ
ช่วยพยุงให้ตัวลอย เงยหน้ามองท้องฟ้า
ทักษะการว่ายน้ำ | 28
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การลอยตัวแบบต่าง ๆ
-การลอยคอ
วิธีการฝึกการลอยตัวแบบยืน ให้ย่อตัวลงให้คางและใบหูปริ่มน้ำยกเท้า
ขึ้นจากพื้นใช้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างถีบน้ำลงด้านล่างสลับกันเหมือนถีบ
จักรยาน ข้อศอกทั้งสองข้างงอ แขนท่อนบนแนบเกือบชิดลำตัว แขนท่อน
ล่างงอตั้งฉากกับลำตัวหรือขนานกับผิวน้ำ ฝ่ามือทั้งสองคว่ำลงและสลับ
กันพุ้ยน้ำลงด้านล่างหรือจะปาดฝ่ามือเข้าออกโดยทำมุมเหมือนปกเครื่อง
บินปาดให้น้ำลงด้านล่างการใช้ฝ่าเท้าและฝ่ามือถีบหรือปาดให้น้ำลงด้าน
ล่างจะทำให้มีแรงยกลำตัวให้ลอยขึ้น
ทักษะการว่ายน้ำ | 29
ทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้น
การเคลื่อนตัวพาตัวในน้ำ
-ท่านอนหงาย
นักเรียนหันหน้าเข้าหาขอบสระ เท้าทั้งสองข้างชิดผนัง เข่างอ จากนั้นถีบ
เท้าทั้งสองข้างออกจากขอบสระ แขนแนบชิดลำตัว ใช้หลังเท้าเตะน้ำ
แขนดันน้ำข้างลำตัว หน้ามองท้องฟ้า ลำตัวตรง เคลื่อนที่ไปตลอด
ประมาณความกว้างของสระ
- ท่านอนคว่ำ
นักเรียนยืนหันหลังพิงขอบสระ เท้ายืนที่พื้นสระ มือทั้งสองข้างเหยียดไป
ข้างหน้า ให้นิ้วโป้งเกี่ยวกันไว้ สูดหายใจเข้าทางปากให้เต็มปอด จากนั้น
ก้มหน้าลงที่ผิวน้ำ ถีบเท้าทั้งสองข้างออกจากผนัง ใช้หลังเท้าเตะน้ำ เพื่อ
ให้เกิดการเคลื่อนที่ไปตลอดประมาณความกว้างของสระ
ทักษะการว่ายน้ำ | 30
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์หรือท่าวัดวา
(Freestyle or Crawl Stroke)
-การแตะเท้าในท่าฟรีสไตล์
การเตะขา (Flutter kick) การเตะเท้านั้นจะเตะในลักษณะสลับขึ้นลง
ติดต่อกันโดยไม่หยุดชะงัก ขาทั้งสองข้างเหยียดขนานกับน้ำ ขาต้องติดกัน
ไม่กางออก และเข่าสามารถงอได้เล็กน้อย ไม่ควรงอมากเกินไป เพื่อไม่เสีย
สมดุลในการทรงตัวในน้ำ ปลายเท้างุ้มลง ไม่ควรกระดกปลายเท้า การเตะ
เท้านี้ไม่ได้เพียงเรื่องของความเร็วโดยตรง แต่เป็นการควบคุมสมดุลของ
ร่างกายที่จะมีผลต่อความเร็วสุดท้ายในที่สุดสำหรับการฝึกใหม่ควรฝึกเริ่ม
จากการนั่งเหยียดขาทั้งสองข้าง ไม่งอเข่า เตะเข้าสลับขึ้นลงจนชำนาญ จาก
นั้นเปลี่ยนเป็นท่านอนคว่ำ โดยเกาะกับขอบสระ บอร์ดสำหรับว่ายน้ำ เพื่อ
ทรงตัว เตะเท้าสลับขึ้นลง ขณะที่เตะเท้าลำตัวตรง ขนานกับผิวน้ำ การเตะ
เท้าถ้าเกร็งเกินไปจะทำให้เคลื่อนที่ช้า เกิดอาการเกร็งจนเป็นตะคริวที่น่อง
ได้
ทักษะการว่ายน้ำ | 31
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์หรือท่าวัดวา
(Freestyle or Crawl Stroke)
-การใช้แขนในท่าฟรีสไตล์
การใช้แขน การฝึกฝนการใช้แขนที่ได้ผลนั้นควรฝึกบนบกเพื่อให้ได้
รูปแบบที่ถูกต้องก่อนลงน้ำ
- ยืดแขนไปด้านหน้าจนสุดแล้ว แขนต้องชิดกับหู ก้มหน้าลง
- ต่อจากนั้นกดมือลง พร้อมกับโก่งแขนโดยการยกข้อศอกโดยแรงทีจะ
ส่งตัวนั้นจะออกมาจากหัวไหล่
- ดันแขนท่อนล่างให้ผ่านไปใต้ลำตัว นิ้วทุกนิ้วเรียงชิดติดกัน
- ดันน้ำไปด้านหลังจนกระทั่งแขนตึงพอดี โดยมือจะผ่านไปถึงต้นขา
- ยกแขนขึ้น โดยงอข้อศอก แล้ววาดแขนมาด้านหน้า วางมือลงน้ำ กดศอก
แล้วยืดแขนออกไป
ทักษะการว่ายน้ำ | 32
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์หรือท่าวัดวา
(Freestyle or Crawl Stroke)
-การหายใจในท่าฟรีสไตล์
การหายใจเป็นเทคนิคที่สำคัญมากในในการว่ายน้ำ การหายใจต้องหายใจ
ด้วยปากไม่ใช่จมูกเพื่อ สูดอากาศได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยให้หายใจเข้า
ทางปากและพลิกหน้าคว่ำกลับเป่าลมออกทางปาก และจมูก เวลาที่หันหน้าขึ้น
มาหายใจไม่ควรยกขึ้นมาทั้งหน้า แต่ควรหันไปด้านข้างเฉพาะครึ่งหน้าให้จมูก
และปากพ้นน้ำก็พอเพื่อไม่ให้เสียสมดุลความเร็วในการว่ายน้ำการพลิกหายใจ
นั้นจะสัมพันธ์กับจังหวะการใช้แขน เมื่อศอกพ้นจากน้ำให้พลิกหน้าหายใจ เมื่อ
แขนวาดไปด้านหน้าแล้วจะสิ้นสุดการพลิกหายใจท่านี้เป็นท่าที่มีความต่อเนื่อง
ในการทำงานของร่างกายอย่างดี คุณสามารถว่ายท่านี้ได้อย่างง่ายดาย แต่คุณ
ต้องพยายามที่รักษาความนิ่มนวลและความพลิ้วไหวในการว่ายด้วย ถ้าคุณ
สามารถทำตัวให้ลื่นไหลไปเรื่อย ๆ ได้ก็จะดีมากไม่เพียงแต่ท่าฟรีสไตล์เท่านั้น
ทุก ๆ ท่า ก็ต้องนิ่มนวล และพลิ้วไหวเช่นกัน
ทักษะการว่ายน้ำ | 33
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์หรือท่าวัดวา
(Freestyle or Crawl Stroke)
-การสร้างความสัมพันธ์ในการว่ายท่าฟรีสไตล์
ท่านี้เป็นท่าที่มีความต่อเนื่องในการทำงานของร่างกายอย่างดี สามารถ
ว่ายท่านี้ได้อย่างง่ายดายแต่ต้องพยายามที่รักษาความนิ่มนวลและความพลิ้ว
ไหวในการว่ายด้วย ถ้าสามารถทำตัวให้ลื่นไหลไปเรื่อย ๆ ได้ก็จะดีมากไม่เพียง
แต่ท่าฟรีสไตล์เท่านั้น ทุก ๆ ท่า ก็ต้องนิ่มนวล และพลิ้วไหวเช่นกัน
ทักษะการว่ายน้ำ | 34
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์หรือท่าวัดวา
(Freestyle or Crawl Stroke)
-การสร้างความสัมพันธ์ในการว่ายท่าฟรีสไตล์
ท่านี้เป็นท่าที่มีความต่อเนื่องในการทำงานของร่างกายอย่างดี สามารถ
ว่ายท่านี้ได้อย่างง่ายดายแต่ต้องพยายามที่รักษาความนิ่มนวลและความพลิ้ว
ไหวในการว่ายด้วย ถ้าสามารถทำตัวให้ลื่นไหลไปเรื่อย ๆ ได้ก็จะดีมากไม่เพียง
แต่ท่าฟรีสไตล์เท่านั้น ทุก ๆ ท่า ก็ต้องนิ่มนวล และพลิ้วไหวเช่นกัน
ทักษะการว่ายน้ำ | 35
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากรรเชียง (Back Crawl Stroke)
-การแตะเท้าในการว่ายท่ากรรเชียง
ในการเตะขาท่ากรรเชียงนั้น จะมีน้ำหนักในการเตะขามากกว่าท่าฟรีสไตล์ โดย
เป็นการเตะในลักษณะสะบัดน้ำขึ้นไปทำให้ขาต้องทำงานหนักกว่าปกติ แต่การเตะที่ถูกต้อง
ก็จะช่วยเสริมให้การว่ายดีขึ้นและอย่างที่บอกคือจะทำให้การทรงตัวของร่างกายสมบูรณ์
แบบขั้นตอนในการเตะขาแบบกรรเชียง มีดังนี้
TIP OF BACKSTROKE
1. มีอยู่ 3 อย่างที่คุณต้องบังคับให้อยู่บนผิวน้ำ แต่ต้องไม่เกร็ง คือ ใบหน้า หน้าอก และท้อง
2. ลำตัวช่วงล่างตั้งแต่เอวลงไป พยายามอย่าให้ยกขึ้นมาเกินผิวน้ำ
3. ที่ผมบอกว่าใบหน้าลอยน้ำ ก็ต้องเป็นใบหน้านะครับ ไม่ใช่ศีรษะลอยขึ้นมาเหนือน้ำ
สังเกตง่าย ๆ ว่าเวลาว่ายหูเราพ้นน้ำขึ้นมาทั้งหูหรือเปล่า ถ้าใช่ก็แสดงว่า ยกศีรษะขึ้นมา
เหนือน้ำแล้ว
4. เวลาว่ายให้เก็บคางเล็กน้อย ไม่ใช่ก้มมามองเท้า และไม่เงยจนหน้าจมน้ำ
5. แขนห้ามงอเด็ดขาดเมื่อยกขึ้นมาพ้นน้ำ
ทักษะการว่ายน้ำ | 36
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากรรเชียง (Back Crawl Stroke)
-การใช้แขนในการว่ายท่ากรรเชียง
โดยทั่วไปแล้วเมื่อยกแขนขึ้นเพื่อเตรียมจ้วง แขนด้านที่ยกขึ้นจะทำมุมใน
แนวตั้งประมาณ 60-70 องศากับผิวน้ำ และทำมุมในแนวนอนประมาณ 45
องศากับแนวตรงของลำตัวเพื่อเตรียมจ้วงลงใต้น้ำต่อไป หากฝึกจนคล่องและมี
จังหวะที่ดีแล้วท่ากรรเชียงสามารถมองเป็นรูปตัว J ในแนวขวาง ซึ่งเป็นท่าที่มี
ประสิทธิภาพเพราะการส่งแรงจะเป็นไปอย่างสมดุล และข้างล่างนี้คือ Tips ที่
เราแนะนำ
-เมื่อเอามือพายใต้น้ำ มือที่จ้วงควรจะให้นิ้วเรียงชิดติดกับและโค้งงอเล็กน้อย
-เมื่อยืดแขนออกไป แขนต้องชิดหู
-เมื่อแขนลงไปในน้ำ ควรปล่อยไหล่ตามสบาย เพราะหากเกร็งไหล่ให้อยู่กับที่
เอาไว้จะกดแขนลงน้ำไม่ได้
-ควรงอข้อศอกและตั้งมือ และดันน้ำผ่านไปทางต้นขาด้วยความรวดเร็ว
ทักษะการว่ายน้ำ | 37
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากรรเชียง (Back Crawl Stroke)
-การหายใจในการว่ายท่ากรรเชียง
เช่นเดียวกับวิธีว่ายน้ำอื่น ๆ การหายใจเป็นเทคนิคที่สำคัญมากในการ
เพิ่มความเร็ววิธีว่ายน้ำท่ากรรเชียงไม่แพ้กับความแข็งแรงของร่างกาย โดย
ต้องหายใจด้วยปากไม่ใช่จมูกเพื่อสูดอากาศได้อย่างเต็มที่และรวดเร็ว และ
ควรหายใจออกในช่วงจังหวะดันน้ำเพื่อให้กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น
-การสร้างความสัมพันธ์ในการว่ายท่ากรรเชียง
โดยทั่วไปแล้วในวิธีว่ายน้ำท่ากรรเชียงคุณควรใช้การแตะFlutter Kick
ประมาณ 4-7 ครั้ง ต่อ 1 Stroke ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพละกำลังและความชำนาญ
ของแต่ละคนที่ต่างกันด้วย
ทักษะการว่ายน้ำ | 38
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากบ (Breast stroke)
-การแตะเท้าในการว่ายน้ำท่ากบ
งอขาและถีบน้ำไปข้างหลัง ให้ฝ่าเท้าตั้งฉากกับน้ำที่เราจะผลักไปเพื่อให้ส่งแรงได้
เยอะที่สุดโดยเข่าคุณไม่ควรจะแยกห่างมากนัก และก้นคุณควรจะอยู่ระดับใกล้กับ
ผิวน้ำ โดยควรทำขั้นตอนนี้ให้เร็ว พลิ้ว และแรงเพื่อที่จะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น และเมื่อ
ถีบแล้ว ก็ให้กลับไปซ้ำขั้นตอนเดิมใหม่
ขั้นตอนในการใช้ขาของท่ากบ มีดังนี้
1. ให้รวบขาชิดกันเท้าชิดกันเอาไว้ ยืดขาให้ยาว
2. งอเข่า ดึงส้นเท้ามาหาสะโพก ข้อสำคัญต้องไม่ชักเข่าเข้าใต้ลำตัว โดยการงอเข่า
นั้นต้องแยกขาเล็กน้อย แต่ต้องบังคับให้เข่าและเท้ายัง อยู่ในช่วงกว้างของสะโพก
3-4. เมื่อเท้าชิดสะโพกแล้วให้หมุนเท้าโดยให้นิ้วเท้าชี้ไปด้านข้าง ฝ่าเท้าอยู่ในท่าที่
เตรียมจะถีบน้ำ
5-6. ถีบน้ำไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว
7-10. หลังจากนั้นให้รวบขาและเท้าทั้งสองข้างให้ชิดกันอย่างรวดเร็ว เตรียมพร้อม
ที่จะถีบหม่อีกครั้ง
ทักษะการว่ายน้ำ | 39
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากบ (Breast stroke)
-การใช้แขนในการว่ายท่ากบ
การใช้แขนในท่ากบ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนร่างกายไปข้างหน้าน้อยกว่า
การใช้ขา เพราะท่ากบใช้พลังขา 70 % เพื่อการขับเคลื่อนร่างกาย แต่การใช้แขนก็
ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญเพราะอีก 30 % ก็มีผลต่อการว่ายเช่นกัน การใช้แขนของท่ากบ
นั้นทำอย่างไรบ้าง
1. ให้คุณกดมือพร้อม ๆ กับการกวาดมือไปด้านข้าง โดยการกดมือและแขนลงนั้นให้
กดลงประมาณ 45 องศา
2. เมื่อกวาดมือออกมาเลยช่วงไหล่เล็กน้อยให้โก่งแขนโดยงอข้อศอกและยกข้อศอก
ให้ สูงเอาไว้พร้อมกับล็อคข้อศอกให้อยู่กับที่คือไม่ลากศอกออกไปด้านหลัง
3. ตวัดมือทั้งสองข้างให้มาด้านหน้าในลักษณะกระพุ่มมือ (การตวัดให้มาทั้งแขน
ท่อนล่างไม่ใช่ตวัดแค่ข้อมือ)พร้อมทั้งให้หนีบศอกทั้งสองข้างมาชิดตัวอย่างรวดเร็ว
พร้อมทั้งยืดแขนออกไป ด้านหน้าอย่างเร็วด้วย
4. ก้มหัว ส่งแรงจากไหล่ตามแขนไปด้วย
ทักษะการว่ายน้ำ | 40
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากบ (Breast stroke)
-การหายใจในการว่ายท่ากบ
ต้องควบคุมการหายใจในท่ากบไว้ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอและสัมพันธ์กับแขน
และขาโดยฝึกการหายใจเข้าตรงกลางจังหวะที่แขนและขาเคลื่อนไหวในการว่าย
แต่ละครั้ง ต้องพยายามหายใจเข้าอย่างเร็ว ในขณะที่มือเคลื่อนที่มาได้ครึ่งหนึ่งของ
ระยะทางพุ้ยน้ำทั้งหมด และจะทำไปพร้อม ๆ กัน กับลำตัวท่อนบน ที่โผล่พ้นจากน้ำ
ขึ้นมา ขณะวาดมือพุ้ยน้ำเป็นวงกลมอยู่ใต้ลำตัว ศีรษะจะลดต่ำลงจนผิวน้ำอยู่ใน
ระดับคิ้วเพื่อให้ลำตัวเหยียดพุ่งไปข้างหน้า ในจุดนี้ต้องเป่าลมออกจากปากต้องแน่ใจ
เสมอว่า การหายใจเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ไม่สะดุดและควบคุมได้โดยไม่
เป็นอุปสรรคต่อการพุ่งตัวไปข้างหน้า ไม่มีการหยุดเคลื่อนไหวขณะหายใจการทรงตัว
ในช่วงสุดท้ายของการเหยียดตัวออกไปนั้น เป็นช่วงที่หยุดพักได้เล็กน้อย ซึ่งมีผลให้
ขาได้หยุดการเตะกวาดน้ำ และเมื่อมือไม่ได้พุ้ยน้ำ ขาต้องเตะน้ำสลับกันไปกับมือ
เสมอ จึงจะเป็นท่าที่ถูกต้องสมบูรณ์การเคลื่อนไหวร่างกาย
ทักษะการว่ายน้ำ | 41
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่ากบ (Breast stroke)
-การสร้างความสัมพันธ์ในการว่ายท่ากบ
ในการว่ายท่ากบนั้น จังหวะเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะท่ากบต้องอาศัยความ
สัมพันธ์ของแขนกับขาเพื่อให้เกิดความลู่น้ำและความเร็วมากที่สุด ถ้าว่ายผิดจังหวะ
แล้วจะไปได้ช้าและเหนื่อยกว่าปกติ ดังนั้น การว่ายท่ากบจึงต้องอาศัยการฝึกฝน
และเทคนิค
ขั้นตอนต่าง ๆ ในการว่ายท่ากบ มีดังนี้
1. ให้ยืดแขนและขาเอาไว้ วางลำตัวเหมือนกับท่าฟรีสไตล์
2 – 3. ให้กวาดมือออกด้านข้างเล็กน้อย
4 – 6. เมื่อกวาดมือแล้ว ให้กดมือลง พร้อมกับรวบแขนไปด้านหลังเล็กน้อย
7 – 8. ให้รวบแขนและศอกมาชิดข้างลำตัว ให้ตวัดเข้ามาอย่างรวดเร็ว และให้มืออยู่
บริเวณหน้าอก
9 – 10. เมื่อยืดแขนออกไป ให้งอเข่าตามมา และเมื่อแขนยืดเสร็จแล้ว ขาจะต้องอยู่
ในสภาพที่พร้อมจะถีบน้ำ เมื่อถีบน้ำและรวบขาชิดกันแล้วก็จะกลับเข้าสู่กระบวนการ
ที่ 1 ใหม่โดยให้ยืดตัวไว้ประมาณ 1 – 2 วินาทีก่อน แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่
ทักษะการว่ายน้ำ | 42
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าผีเสื้อ (Butterfly)
-การแตะเท้าในการว่ายท่าผีเสื้อ
การเตะขาเหมือนปลาโลมา ช่วยในการถ่ายน้ำหนักไปมาระหว่างด้านหน้าและหลัง และยัง
ส่งตัวคุณให้พุ่งไปข้างหน้าด้วยในการว่ายท่าผีเสื้อนั้น การเตะขามิใช่จะใช้แต่เพียงขาเท่านั้น
ยังต้องใช้ลำตัว และเอวในการที่จะบังคับร่างกายให้เลื้อยไปตามน้ำด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเตะขา
ท่านี้ได้ไม่ดี หรือมีพื้นฐานการเตะขาในท่าก่อน ๆ ไม่ดีพอแล้วจะจับจุดไม่ถูกว่าจะต้องเตะแบบ
ไหนเพื่อให้ได้แรงและส่งตัวไปข้างหน้าได้แต่ถ้าเข้าใจการเตะขาของฟรีสไตล์มันก็เป็นหลักการ
เดียวกัน เพียงแต่ว่าต้องเตะสองขาพร้อม ๆ กันการเตะขาท่าผีเสื้อ ก็เหมือนท่าฟรีสไตล์ คือ เตะ
โดยส่งแรงจากสะโพกลงมาหาปลายเท้า แต่มีเทคนิคอื่น ๆ ดังนี้
1. ต้องพยายามรวบให้เท้าอยู่ชิดกันและหัวเข่าไม่กางออก
2. ต้องไม่ยกเท้าขึ้นไปสูง จนเห็นน่องควรเตะโดยสะบัดเท้าจากระดับน้ำหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
3. ต้องไม่ให้สะโพกตกลงมากนัก เพราะจะทำให้การว่ายเสียจังหวะได้
4. การรวบเท้าชิดกันนั้น ต้องไม่เกร็งหรือหนีบเท้าแต่พยายามให้เท้าอยู่ใกล้กันมากที่สุด
ทักษะการว่ายน้ำ | 43
ทักษะการว่ายน้ำสากล
การว่ายน้ำท่าผีเสื้อ (Butterfly)
-การใช้แขนในการว่ายท่าผีเสื้อ
การใช้แขนของท่านั้น โดยมีขั้นตอนในการว่ายดังนี้
1. เมื่อแขนอยู่ข้างหน้า ให้กดมือลงพร้อมกับกวาดออกไปด้านข้างเล็กน้อย
2. งอข้อศอก พร้อมทั้งดันมือผ่านใต้ลำตัว
3. ดันน้ำจน แขนผ่านบริเวณต้นขา
4. ยกแขนขึ้น ให้ศอกและ มือพ้นจากน้ำ
5. วางแขนกลับ ไปด้านหน้าโดยให้แขนมีความกว้าง เท่าช่วงไหล่
ทักษะการว่ายน้ำ | 44