The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by The Master, 2023-06-10 06:07:49

SAR2565@TUPY_E-Book

SAR2565@TUPY_E-Book

Keywords: SAR

3. การเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณภาพของผู้เรียน


แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานการศึกษา

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 - 2564 - 2565


100
94.78
92.64 92.51

90 88.04 87.25 86.53 90.34 91.01 87.57



80


70



60



50

40



30



20

10



0 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เฉลี่ยรวม


ปี 2563 88.04 92.64 90.34
ปี 2564 87.25 94.78 91.01
ปี 2565 86.53 92.51 87.57


ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565



ผลการประเมินด้านคุณภาพของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และลดลงจากปีการศึกษา 2564
แหล่งที่มาข้อมูล: งานวัดและประเมินผลการศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566)


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 46


แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
ปีการศึกษา 2563 - 2564 - 2565

100


90



80

70



60

50



40


30


20



10


0
การอ่าน การคิด การใช้ ผลสัมฤทธิ์ ความรู้ ทักษะ
การสร้าง
เขียนสื่อสาร วิเคราะห์ คิด นวัตกรรม เทคโนโลยี ทางการเรียน พื้นฐานเจต เฉลี่ยรวม
ตามหลักสูตร คติที่ดีต่องาน
และคิด
อย่างมี
คํานวณ วิจารณญาณฯ สารสนเทศ ฯ อาชีพ

ปี 2563 86.53 89.94 91.46 89.00 81.19 90.11 88.04
ปี 2564 86.05 91.38 86.52 91.28 72.36 95.90 87.25

ปี 2565 85.11 90.45 82.73 90.76 77.75 89.71 86.53

ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565



ภาพรวมของผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

และลดลงจากปีการศึกษา 2564 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาเป็นประเด็นเดียวที่สูงขึ้น
แหล่งที่มาข้อมูล: งานวัดและประเมินผลการศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566)
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 47


แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ปีการศึกษา 2563 - 2564 - 2565

100



90


80


70


60

50



40


30

20



10


0
คุณลักษณะ ความภูมิใจใน การยอมรับที่จะ สุขภาวะทาง
และค่านิยมที่ดี ท้องถิ่นและ อยู่ร่วมกันบน ร่างกายและ เฉลี่ยรวม
ตาม ความเป็นไทย ความแตกต่างฯ ลักษณะจิต

สถานศึกษาฯ สังคม
ปี 2563 92.99 95.41 98.66 83.48 92.64
ปี 2564 92.91 95.77 98.50 91.94 94.78
ปี 2565 87.13 97.62 98.67 86.62 92.51



ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565


ภาพรวมของผลการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
และมีผลการประเมินโดยรวมลดลงจากปีการศึกษา 2564

แหล่งที่มาข้อมูล: งานวัดและประเมินผลการศึกษา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566)

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 48


3. จุดเด่น
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีการพัฒนาผู้เรียน
ตามมาตรฐานการศึกษา อย่างครอบคลุมและรอบด้านตามบริบทและสถานการณ์ มีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้
อย่างหลากหลายในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ทั้งด้านวิชาการ

ดนตรี กีฬา ศิลปะ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี การสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ พฒนาตนเอง
ได้เต็มตามศักยภาพ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ เป็นพลเมืองที่ดีและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้การประเมินคุณภาพ
ของผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ตามประเด็นพิจารณา ดังต่อไปนี้

1. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็น

ร้อยละ 85.11
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 90.45

3. ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 82.73
4. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับ ดีเลิศ คิดเป็น
ร้อยละ 90.76
5. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับ ดี คิดเป็นร้อยละ 77.75

6. ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 89.71

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีการพัฒนา
ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ที่ตรงตามคุณลักษณะ
ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนจากกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนได้สนับสนุนและดำเนินการจัดขึ้นอย่างหลากหลาย ได้แก่
กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันศุกร์ กิจกรรมสวดมนต์ยาว กิจกรรมส่งเสริม

คุณธรรม จริยธรรมและวินัยของนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
และยุวกาชาด กิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิร-
เกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 10) กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น กิจกรรม

เหล่านี้เป็นกิจกรรมช่วยการปลูกฝังคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ส่งผลให้การประเมินคุณภาพ
ของผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ตามประเด็นพิจารณา ดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๑๓
2. ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๖๒
3. ผู้เรียนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๖๗

4. ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๒

4. จุดควรพัฒนา

1. กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการฟัง-พูด อ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง
การคิดแก้ไขปัญหา การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การคิดคํานวณได้ถูกต้อง เน้นให้มีการประเมิน
ี่
อย่างเข้มข้น ให้มีคุณภาพตามระดับคุณภาพทสถานศึกษากำหนดและมีพัฒนาการที่สูงขึ้นต่อไป
2. ด้านทักษะพื้นฐานในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ควรสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมให้นักเรียน

ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นทีม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงผลงานและเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะให้มากขึ้น
3. การพัฒนาผู้เรียนให้มีความชํานาญในการฉลาดใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการ
คํานวณ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรมมุ่งสู่ความเป็น
พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) และมีวินัยในการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

4. การสร้างความตระหนักรู้ในองค์กรเกี่ยวกับการพฒนาคุณภาพการสอนของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

ที่ต้องมีความหลากหลาย ยึดหยุ่นในการวัดและประเมินผล เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา เพื่อยกระดับ


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 49


ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้มีค่าการพัฒนาที่สูงขึ้นอันถือเป็นผลงานหลักของครูผู้สอนโดยคำนึงถึง

ค่าเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศกษา
5. การพัฒนารูปแบบและเครื่องมือในการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยมที่ดีอย่างจริงจัง
มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ ลดความซ้ำซ้อนในการประเมิน บูรณาการภาระงานและกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็น

รูปธรรมเพื่อลดภาระงานให้กับผู้เรียน
6. การจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังความดีงามให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น เสริมสร้าง
ให้ผู้เรียนมีหลักคิดที่ถูกต้องเป็นของตนเอง รู้จักปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดี รวมทั้งกล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้อง
และดีงาม

7. การจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ รู้จักหลีกเลี่ยงสื่อ
ที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนการรู้จักเลือกบริโภคข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ปัจจุบันเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วอันอาจ
ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้เรียน รวมทั้งอาจส่งผลให้มีพฤติกรรมและค่านิยม
ที่ไม่พึงประสงค์








































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 50


มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นหลักประกันให้กับสังคมว่า
สถานศึกษาจัดการศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยวัฒนธรรมองค์กร
ด้านการอยู่ร่วมกันที่เอื้อต่อการพัฒนางาน เริ่มต้นจากกระบวนการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลการจัดการศึกษา

ในรอบปีที่ผ่านมาอย่างเป็นระบบ โดยการศึกษาขอมูลสารสนเทศจากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)
และผลการนิเทศ ติดตามประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็น

โดยยึดหลักการมส่วนร่วมของบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อวางแผนและร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนด
พันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ให้มีความรู้คู่
คุณธรรม อันเป็นเป้าหมายที่สำคัญของสถานศึกษา โดยมีกระบวนการดำเนินงานตามระบบการบริหารงานวงจร

คุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการ และนโยบายขององค์กรหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง การกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายกลยุทธ์ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการ
การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ แผนกลยุทธ์ แผนงาน โครงการและกิจกรรม การติดตาม ตรวจสอบ โครงการและ
กิจกรรมต่างๆ การสรุปผลและการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา ตลอดจนการรายงานผลการพัฒนา

ดังแผนภาพต่อไปนี้

แผนภาพกระบวนการดำเนินงาน

1. วิเคราะห์ความต้องการของผู้รับบริการและ 1. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ กลยุทธ์
นโยบายขององค์กรและหน่วยงาน แผนงาน โครงการ และกิจกรรม ซึ่งเป็น
ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการต่อจากขั้นการวางแผน
2. กำหนดวิสัยทัศน พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ ์

3. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติ
การ


PLAN DO





ACTION CHECK



1. สรุปผลและนำผลการประเมินไปใช้ใน 1. ติดตาม ตรวจสอบ โครงการและกิจกรรม
การพัฒนา การปรับปรุง หรือการแก้ไข ที่ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปใช ้
2. รายงานผลการพัฒนา ในการปรับปรุง การแก้ไข หรือการพัฒนา











รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 51


2. ผลการดำเนินงาน
จากการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
ส่งผลให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม นำไปสู่ผลการดำเนินงานที่บรรลุตามค่าเป้าหมาย
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้

ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
1. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
1. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์
และพันธกิจที่กำหนดอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
และความต้องการของชุมชน เป็นไปได้ในการปฏิบัติ โดยมีการประชุม

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ การประกาศ
ค่าเป้าหมายความสำเร็จในแต่ละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565


2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ของสถานศึกษา

1. ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ บริหารจัดการด้านการศึกษาบรรลุเป้าหมาย
ตามวิสัยทัศน์ และจุดเน้นที่กำหนดในแผนปฏิบัติการ มีการส่งเสริมและ
สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมและการให้บริการแก่ชุมชน โดยมีระบบ
การบริหารงาน ตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) เป็นเครื่องมือช่วย

ในการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
2. สถานศึกษามีระบบการจัดการคุณภาพที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
ส่งผลดีต่อมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยได้รับความร่วมมือที่ดี
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีการนำข้อมูลสะท้อนกลับ มาใช้ในการปรับปรุง

พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
3. การบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีคุณภาพและได้รับการ

ยอมรับ โดยในปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเตรียมอดมศึกษาพฒนาการ

ยานนาเวศ ได้รับการรับรองการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ. 2565
- 2569) “ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้รับโล่และเกียรติบัตรรางวัล
ขับเคลื่อนศูนย์ครอบครัวพอเพียง “ระดับยอดเยี่ยม” เกียรติบัตรรางวัล

รองชนะเลิศอันดับ 2 การขับเคลื่อนพันธกิจ “ด้านสังคม” เกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การขับเคลื่อนพันธกิจ “ด้านประชาธิปไตย”
ได้รับโล่และเกียรติบัตรรางวัลโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น
“ด้านการขับเคลื่อนโครงการอบรมวิทยากรกระบวนการสื่อสร้างสรรค์
รู้เท่าทันโลกโซเชียลมีเดีย เครือข่ายกระทิงทาโร่” จากมูลนิธิครอบครัว

พอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและ
ความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA Online)
ประจำปีการศึกษา 2565 ด้วยคะแนน 100.00 คะแนน อยู่ในระดับ

AA (ดีเยี่ยม) จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ นอกจากนี้ นางพลอยกาญจน์ พึ่งเพียร ผู้อำนวยการโรงเรียน


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 52


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ได้รับรางวัลเกียรติบัตร “บุคคล
รัก ศรัทธา เสียสละและอุทิศตนในวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

เนื่องในวันครู ครั้งที่ 67 ปี 2566” จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และนายภาคภูมิ ทองลาด ได้รับ
รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสดุดีภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565
ประเภท “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มบริหารงานบุคคล ดีเด่น”
จากงานคุรุสัมพันธ์ สหวิทยาเขตภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา

2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต 2


3. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้น ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
คุณภาพผู้เรียนรอบด้านตาม
หลักสูตรสถานศึกษาและทุก 1. มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2564 ตามมาตรฐานและ
กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรให้มีความ
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายและจุดเน้น เหมาะสมกับบริบท
ของสถานศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสภาพการ

เปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน
2. มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างรอบด้าน
ทุกกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน เชื่อมโยงกับ
ชีวิตจริง ในรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและแผน
การเรียนที่มีความหลากหลาย และจัดประสบการณ์เสริม ผ่านโครงการ/

กิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
1 กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกลุ่มงานบริหาร 4 ฝ่าย เพื่อพัฒนา
คุณภาพของผู้เรียน

3. มีการพัฒนาด้านวิชาการเพอยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
ื่
อย่างเป็นระบบ โดยมีการประกาศค่าเป้าหมายความสำเร็จในแต่ละกลุ่ม
สาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การอ่าน คิด

วิเคราะห์ และเขียน มีการนิเทศภายใน การวิจัยเพื่อพัฒนาและ
แก้ปัญหาผู้เรียน จัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ของผู้เรียน ได้แก่ โครงการปลอด 0, ร, มส, “โครงการปันน้ำใจ
สานสายใจ เครือเตรียมพัฒน์” สอนเสริม เพิ่มโอกาส พัฒนาคุณภาพ

อย่างเท่าเทียม O-NET ม.3, และ ม.6 เป็นต้น
4. มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการ โดยการทำบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือการจัดการศึกษา (MOU) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
ทหารลาดกระบัง (สจล.) การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสภา
นักเรียนกลุ่มโรงเรียนในเครือเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และสภา

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 53


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
5. มีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร
สถานศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้ได้รับรางวัลเชิงประจักษ์ ดังนี้

- นายจิตรกร เขียวอ่อน นักเรียนระดับชั้น ม.6/1 เข้าแข่งขันต่อสมการ
คณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับรางวัล
รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับเหรียญทอง ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
ระดับชาติ ครั้งที่ 70
- นายกัมพล สันติโยธินสกุล นายศรันย์ ตีราช นายสุรเสกข์ บังทอง

และนายราเมศ ชาลีพันธุ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เข้าแข่งขัน
ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.4 - ม.6 ได้รับรางวัล
ระดับเหรียญเงิน อันดับที่ 32 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ

ครั้งที่ 70
- นายพัชรพล แซ่ฉั่ว นายชัยวัฒน์ คหบดีกุล และนายณัฐนนท์ แซ่คู
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 เข้าแข่งขันจัดทำหนังสือเล่มเล็ก
ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.4 - ม.6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

อันดับที่ 11 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70
- รางวัลงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70
ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง 3 รายการ, รางวัลระดับเหรียญ
ทอง 16 รายการ, รางวัลระดับเหรียญเงิน 19 รายการ, รางวัลระดับ

เหรียญทองแดง 13 รายการ และรางวัลเข้าร่วม 11 รายการ
- นางสาวพรทิพย์ พาชื่น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ได้รับ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เหรียญเงิน) เข้าร่วมการแข่งขัน Gold
Finger ใ น ร า ย ก า ร “ EduPloys Cross Word Game A–Math

Kumkom Sudoku Challenge 2023” จัดโดยบริษัท แม็กซ์พลอยส์
อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด
- รางวัลการแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ

อันดับ 1 (เหรียญเงิน) ประเภทท่ารำอาวุธ 11-14 ปี หญิง, รางวัลรอง
ชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภทท่ารำอาวุธ 11-
14 ปี ชาย, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภท
ท่ารำอาวุธ 15-17 ปี ชาย, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เหรียญเงิน)
ประเภทท่ารำอาวุธ 18 ปีขึ้นไป ชาย, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

(เหรียญทองแดง) ประเภทท่ารำอาวุธ 18 ปีขึ้นไป หญิง และรางวัล
รองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภทโชว์คู่ 15 ปีขึ้นไป
- รางวัลการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย วันรพ รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่

ใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล 6,000 บาท จัดโดย ศาลอาญา
กรุงเทพใต้
- นางสาววรรษมน หมื่นสนิท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ได้รับ
การคัดเลือกและยกย่องว่า มีความประพฤติดี จากพุทธสมาคมแห่ง

ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

- นางสาวชนม์นิภา แสงทอง นักเรียนชั้นมัธยมศกษาปีที่ 5/1 ได้รับการ
คัดเลือกเข้าร่วมค่าย Thai Science Camp ครั้งที่ 14 จัดโดยสมาคม
วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในบรมราชูปถัมภ์



รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 54


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
- นายติณณภพ มะลิวงษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ได้รับรางวัลชนะเลิศ
รายการการประกวดวาดภาพระบายสี ในหัวข้อ “วรรณคดีไทยต้านภัย

ยาเสพติด” เนื่องใน "วันต่อต้านยาเสพติดโลก และวันสุนทรภู่”
ของโรงเรียนโดยผลงานสร้างสรรค์ได้รับความสนใจจากสื่อโซเชียล
สื่อโทรทัศน์ เช่น รายการเรื่องเล่าเช้านี้ เป็นต้น


.
4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มี ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
1. มีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
จัดบุคลากร วางตำแหน่งครูผู้สอนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญได้ตรง

สาขาวิชา
2. ครูและบุคลากร มีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ และ
ทักษะตามมาตรฐานตำแหน่งและจรรยาบรรณของวิชาชีพอยู่เสมอ
3. มีการขับเคลื่อนกระบวนการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

(Professional Learning Community : PLC)
4. สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนานวัตกรรมและจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริม

ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมีการนิเทศการจัดการเรียนรู้จากหัวหน้า
กลุ่มสาระการเรียนรู้และคณะผู้บริหาร รวมทั้งมีโครงการจัดประกวดสื่อ
นวัตกรรม เทคโนโลยีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
โดยใช้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นกรรมการตัดสินและ
มีการประกาศผลการประกวด ดังนี้

- ครูธนพล พรมโอก ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อ
เทคโนโลยี
- ครูพัชริดา ศรีเข้ม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อ

สิ่งพิมพ ์
- ครูปฏิญญา มุขสาร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภท
สื่อสิ่งพิมพ ์
5. มีการบริหารทรัพยากรด้านบุคคล และให้ความสำคัญเพื่อสนับสนุน

และผลักดันบุคลากรสู่ความเป็น “Quality of work life”
6. การส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปรากฏ

ความก้าวหน้าเป็นผลเชิงประจักษ์ ดังนี้
- ครูอรอนงค์ วงศา ได้รับโล่และเกียรติบัตรรางวัล “ครูดีศรีแผ่นดิน”

จากมูลนิธิครอบครัวพอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
- ข้าราชการครูได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสดุดีภาคีนพวัฒน์
ประจำปีการศึกษา 2565 ประเภท รางวัลครูผู้ทรงคุณค่า รางวัลครูที่
ปรึกษาดีเด่น ระดับชั้น ม.ต้น - ม.ปลาย รางวัลครูผู้สอนดีเด่น และ

รางวัลครูผู้สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร จากงานคุรุสัมพันธ์ สหวิทยาเขต
ภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 รวมทั้งหมด 20 คน




รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 55


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
- ข้าราชการครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน
1 คน และมีวิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 9 คน รวมทั้งหมด 10 คน

- ข้าราชการครูได้รับประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชั้นตรา ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) จำนวน 1 คน ชั้นตราทวีติยาภรณ์
มงกุฎไทย (ท.ม.) จำนวน 7 คน และชั้นตราตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)

จำนวน 18 คน รวมทั้งหมด 26 คน
- ข้าราชการครูสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน


5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
และสังคมที่เอื้อต่อการจัดการ

เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 1. มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โดยการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุง
และซ่อมบำรุงอาคารเรียน ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ ระบบเครือข่าย
เทคโนโลยี วัสดุ ครุภัณฑ์ ระบบการจัดการขยะ การฉีดพ่นยากำจัด
ลูกน้ำยุงลาย มีการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก เช่น

ห้อง IT City Bank, ห้อง Knowledge Center, ห้องอาเซียน, ห้องศูนย์
นวัตกรรมและหุ่นยนต์,ห้องเรียนรู้ GSP, ห้องสมุดโรงเรียน, ห้องศูนย์
การเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง (Self-Access Language Learning

Center), ห้องปฏิบัติการต่างๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระฯ
และ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งกลุ่มบริหาร 4 ฝ่าย การเข้าร่วม
กิจกรรมการศึกษาดูงาน การทัศนศึกษาภายนอกโรงเรียนของกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระฯ และ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกลุ่ม
บริหาร 4 ฝ่าย การพัฒนาการสุขาภิบาลอาหาร ที่เอื้อต่อการจัดการ

เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2. มีการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยเข้าร่วมโครงการ ตำรวจประสาน
โรงเรียน (1 ตำรวจ 1 โรงเรียน) มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

มีระบบแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน (MOE Safety Center)
ระบบเฝ้าระวังและดูแลนักเรียนด้านพฤติกรรมอารมณ์ทักษะทางสังคม
(School Health Hero) โครงการพาน้องกลับมาเรียน ส่งเสริม
สนับสนุนเชิดชูเกียรตินักเรียนผ่านรางวัล "นักเรียนผู้มีความประพฤติดี"

และ "นักเรียนผู้มีจิตสาธารณะ"

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ

และการจัดการเรียนรู้ 1. สถานศึกษามีการจัดหา ปรับปรุง และพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยี สารสนเทศ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบด้วย
เทคโนโลยีที่มีคุณภาพสำหรับการจัดเก็บและการจัดการข้อมูลเพื่อให้
บุคลากรสามารถเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการได้อย่าง

รวดเร็ว ทันสมัย และลดปริมาณการใช้กระดาษ เช่น การจัดทำ
สารสนเทศของสถานศึกษาที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์
เพจเฟซบุ๊กโรงเรียน การจัดทำหรือส่งต่อหนังสือ/ประกาศ/คำสั่งทาง

ราชการในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 56


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
นักเรียนรายบุคคล Data Management Center (DMC) การใช้ระบบ
"SCHOONEY-EOC SYSTEM" การขับเคลื่อนธนาคารโรงเรียนดิจิทัล

(GSB Digital School Bank) ระบบจัดตารางสอนของครูผู้สอน การรับ
สมัครนักเรียนระดับชั้น ม.1 และ 4 ด้วยรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น และ
เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอนและผู้เรียนในการเข้าถึง
แหล่งข้อมูลความรู้ การศึกษาค้นคว้าอย่างทั่วถึง เกิดประโยชน์และ
ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การจัดแพลทฟอร์มรองรับการจัดการเรียนรู้

รูปแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์ทีม (Ms. Teams)
การรายงาน/ประกาศผลการเรียนผ่านระบบ SGS เป็นต้น โดยคำนึงถึง
ความเหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา รวมทั้งการใช้โปรแกรม

ไมโครซอฟต์ทีม (Ms. Teams) ในการจัดประชุมการประเมินคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษา

3. จุดเด่น

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีกระบวนการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ
เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา
ที่ชัดเจน มีการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการของสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ


ื่
มีการติดตามตรวจสอบ และประเมินผล เพอปรับปรุงพฒนางานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเครื่องมือวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง
(PDCA) มีกระบวนการบริหารและการจัดการที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษา
มุ่งพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย จัดสภาพแวดล้อม
ทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน
การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้การดำเนินกิจการของสถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ และมีผล

การประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยมีจุดเด่นจำแนก
ตามประเด็นพิจารณาดังต่อไปนี้
1. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ดังจะเห็นได้จากการประชุมคณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ การประกาศ
ค่าเป้าหมายความสำเร็จในแต่ละมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2565
2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ดังจะเห็นได้จากการบริหารงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง

(PDCA) อย่างมีคุณภาพและได้รับการยอมรับ ดังแสดงรางวัลเชิงประจักษ์ สรุปได้ดังนี้
2.1 การรับรองการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ. 2565 - 2569) “ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” จาก
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
2.2 ได้รับโล่และเกียรติบัตร รางวัลขับเคลื่อนศูนย์ครอบครัวพอเพียง “ระดับยอดเยี่ยม” จากมูลนิธิ

ครอบครัวพอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

2.3 ได้รับเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การขับเคลื่อนพนธกิจ “ด้านสังคม” จากมูลนิธิครอบครัว
พอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
2.4 ได้รับเกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การขับเคลื่อนพันธกิจ “ด้านประชาธิปไตย” จากมูลนิธิ

ครอบครัวพอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
2.5 ได้รับโล่และเกียรติบัตร รางวัลโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น “ด้านการขับเคลื่อนโครงการ
อบรมวิทยากรกระบวนการสื่อสร้างสรรค์รู้เท่าทันโลกโซเชียลมีเดีย เครือข่ายกระทิงทาโร่” จากมูลนิธิครอบครัว

พอเพียงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 57


2.6 ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA
Online) ประจำปีการศึกษา 2565 ด้วยคะแนน 100.00 คะแนน อยู่ในระดับ AA (ดีเยี่ยม) จากคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
2.7 นางพลอยกาญจน์ พึ่งเพียร ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ได้รับรางวัล

เกียรติบัตร “บุคคลรัก ศรัทธา เสียสละและอุทิศตนในวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เนื่องในวันครู ครั้งที่ 67 ปี
2566” จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ
2.8 นายภาคภูมิ ทองลาด ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสดุดีภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565
ประเภท “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มบริหารงานบุคคล ดีเด่น” จากงานคุรุสัมพันธ์ สหวิทยาเขตภาคีนพวัฒน์

ประจำปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
3. มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย
ดังจะเห็นได้จากนักเรียนได้รับรางวัลเชิงประจักษ์ สรุปได้ดังนี้
3.1 นายจิตรกร เขียวอ่อน นักเรียนระดับชั้นม.6/1 เข้าแข่งขันต่อสมการคณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ระดับชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับเหรียญทอง ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ
ครั้งที่ 70

3.2 นายกัมพล สันติโยธินสกุล นายศรันย์ ตีราช นายสุรเสกข บังทอง และนายราเมศ ชาลีพันธุ์ นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เข้าแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.4 - ม.6 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

อันดับที่ 32 ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70


3.3 นายพัชรพล แซ่ฉั่ว นายชัยวัฒน์ คหบดีกุล และนายณัฐนนท์ แซ่ค นักเรียนชั้นมัธยมศกษาปีที่ 6/6 เข้า
แข่งขันจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.4 - ม.6 รางวัลเหรียญทองแดง อันดับที่ 11 ในงาน
ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70
3.4 รางวัลงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับ
เหรียญทอง 3 รายการ, รางวัลระดับเหรียญทอง 16 รายการ, รางวัลระดับเหรียญเงิน 19 รายการ, รางวัลระดับ
เหรียญทองแดง 13 รายการ และรางวัลเข้าร่วม 11 รายการ
3.5 นางสาวพรทิพย์ พาชื่น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

(เหรียญเงิน) เข้าร่วมการแข่งขัน Gold Finger ในรายการ “EduPloys Cross Word Game A–Math Kumkom
Sudoku Challenge 2023” จัดโดยบริษัท แม็กซ์พลอยส์ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด
3.6 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เหรียญเงิน) ประเภท ท่ารำ

อาวุธ 11-14 ปี หญิง
3.7 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภท
ประเภทท่ารำอาวุธ 11-14 ปี ชาย
3.8 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภท

ท่ารำอาวุธ 15-17 ปี ชาย
3.9 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เหรียญเงิน) ประเภท
ท่ารำอาวุธ 18 ปีขึ้นไป ชาย
3.10 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภท

ประเภทท่ารำอาวุธ 18 ปีขึ้นไป หญิง
3.11 การแข่งขันกีฬาฮับกิโด (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (เหรียญทองแดง) ประเภท
ประเภทโชว์คู่ 15 ปีขึ้นไป
3.12 การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย วันรพี ได้รับรางวัลชนะเลิศ พร้อมโล่ ใบประกาศเกียรติคุณ และเงิน

รางวัล 6,000 บาท จัดโดย ศาลอาญากรุงเทพใต้
3.13 นางสาววรรษมน หมื่นสนิท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่า มีความ
ประพฤติดี จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์



รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 58


3.14 นางสาวชนม์นิภา แสงทอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมค่าย Thai
Science Camp ครั้งที่ 14 จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในบรมราชูปถัมภ์
3.15 นายติณณภพ มะลิวงษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ได้รับรางวัลชนะเลิศ รายการประกวดวาดภาพระบาย
สีในหัวข้อ “วรรณคดีไทยต้านภัยยาเสพติด” เนื่องใน "วันต่อต้านยาเสพติดโลก และวันสุนทรภู่” ของโรงเรียนโดย

ผลงานสร้างสรรค์ได้รับความสนใจจากสื่อโซเชียล สื่อโทรทัศน์ เช่น รายการเรื่องเล่าเช้านี้ เป็นต้น
4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ดังแสดงความก้าวหน้าและรางวัลเชิงประจักษ์ สรุปได้
ดังนี้
4.1 นางสาวอรอนงค์ วงศา ได้รับโล่และเกียรติบัตรรางวัล “ครูดีศรีแผ่นดิน” จากมูลนิธิครอบครัวพอเพียง

ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

4.2 ข้าราชการครูได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสดุดีภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565 ประเภท
รางวัลครูผู้ทรงคุณค่า รางวัลครูที่ปรึกษาดีเด่น ระดับชั้น ม.ต้น - ม.ปลาย รางวัลครูผู้สอนดีเด่น รางวัลครูผู้สร้างชื่อเสียง
ให้กับองค์กร จากงานคุรุสัมพันธ์ สหวิทยาเขตภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 รวมทั้งหมด 20 คน
4.3 ข้าราชการครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 คน และมีวิทยฐานะชำนาญการ

จำนวน 9 คน รวมทั้งหมด 10 คน
4.4 ข้าราชการครูได้รับประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตราทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

จำนวน 1 คน ชั้นตราทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) จำนวน 7 คน และชั้นตราตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) จำนวน 18

คน รวมทั้งหมด 26 คน
4.5 ข้าราชการครูสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน

5. มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จากการจัด
สภาพแวดล้อมทางกายภาพโดยปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุง ซ่อมบำรุงอาคารเรียน ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ ระบบเครือข่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ ครุภัณฑ์ ระบบการจัดการขยะ การฉีดพ่นยากำจัดลูกน้ำยุงลาย จัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน

และภายนอก และจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคณภาพ
6. มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จาก

การใช้โปรแกรม ไมโครซอฟต์ทีม (Ms. Teams) ในการจัดประชุมการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา
การจัดหา ปรับปรุง และพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี สารสนเทศ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศอย่าง
ื่
เป็นระบบด้วยเทคโนโลยีที่มีคุณภาพสำหรับการจัดเก็บและการจัดการข้อมูลเพอให้บุคลากรสามารถเข้าถึงและเรียกใช้
ข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัย และลดปริมาณการใช้กระดาษ และเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ให้ครูผู้สอนและผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ การศึกษาค้นคว้าอย่างทั่วถึงเกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ
สูงสุดโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา


4. จุดควรพัฒนา
1. การดำเนินการจัดทำแผนผังทางเดินเอกสาร (Document Flowcharts) ที่สถานศึกษาควรให้ความสำคัญ
และจัดกระทำให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและเป็นระบบ
2. การสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการให้ความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในองค์กร



เพื่อขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาคุณภาพการศกษาด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศกษาให้มากขึ้น
3. การให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการส่งเสริม
วัฒนธรรมของคนในองค์กรที่ถูกต้อง เรื่อง วินัย จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา อย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

4. การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศึกษา โดยบูรณาการข้อมูลให้มีความเชื่อมโยงบน
ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและลดความซ้ำซ้อนของภาระงาน
5. การสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งในการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีให้กับผู้เรียนอย่างจริงจังและเป็น

รูปธรรมมากยิ่งขึ้น
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 59


มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
1. กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ดำเนินการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้

ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม และมีคุณภาพตามมาตรฐาน เน้นให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมี
การประชุมปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มีการกำหนดให้ครูผู้สอนทุกรายวิชา ดำเนินการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร
สถานศึกษา นำผลการวิเคราะห์มาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงโดยคำนึงถึง

ประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการพิจารณาดำเนินการในประเด็นดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีการประชุมปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับหลักสูตร
สถานศึกษา และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะและกระบวนการคิด จากการลงมือปฏิบัติจริง

รวมทั้งจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับสภาวะจริง ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้
ในชีวิตประจำวัน เช่น การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ และโครงการแข่งขันทักษะของแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้
เป็นต้น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันสมัย

และน่าเชื่อถือ มาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
เช่น โครงการประกวดสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นต้น
3. ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน

เชิงบวก สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกอยากเรียน และรักที่จะเรียนรู้อย่างมีความสุข เช่น โครงการอบรมพัฒนาครู
และบุคลากรทางการศึกษา และการจัดบอร์ดนิทรรศการหน้าชั้นเรียน เป็นต้น
4. ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน
มีการนำผลที่ได้จากการประเมิน มาวางแผนพัฒนาผู้เรียน ผ่านแผนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เช่น โครงการสอน
และเล่ม ปพ. เป็นต้น

5. ส่งเสริมให้ครูได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น การนิเทศการสอนที่เป็นระบบ
แบบกัลยาณมิตร และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นต้น
นอกจากนี้ สถานศึกษายังส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการจัดให้มีกิจกรรม

เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย ได้แก่ งานหลักสูตรซึ่งมีการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร
สถานศึกษา พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนและความเป็นมาตรฐานสากล รวมทั้งมีการบูรณาการภาระงานและชิ้นงาน
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมและวิเคราะห์ตนเอง มีการจัดการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง

มีทักษะชีวิต กล้าคิดกล้าแสดงออก มีการนำเสนอผลงานโดยผ่านการจัดทำโครงงาน การทำงานเป็นกลุ่ม การสาธิต
มีการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในชุมชน จากภูมิปัญญา
ท้องถิ่นและจากการใช้เทคโนโลยี มีระบบการอ้างอิงที่ถูกวิธี รวมถึงกิจกรรมรักการอ่านเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์
โครงการแข่งขันทักษะและแสดงผลงานนักเรียน ตลอดจนมีกิจกรรมการนิเทศการศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัย

กระบวนการในการพัฒนา ดังนี้









รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 60


แผนภาพกระบวนการดำเนินงาน

1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียน 1. ดำเนินการตาม โครงการและกิจกรรม
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ครูพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอน
2. สำรวจสภาพปัญหาในการจัดการเรียน
การสอนของครูผู้สอน

PLAN DO





ACTION CHECK


1. พัฒนา ขยายผลการนำไปใชและสร้าง 1. ผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้น

เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ผู้เรียนเป็นสำคัญ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)
2. สรุปผลการพัฒนา 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (เป็นไปตามค่า

เป้าหมายในการพัฒนาของสถานศึกษา)

2. ผลการดำเนินงาน
จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มุ่งให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านโครงการ

และกิจกรรมอย่างหลากหลาย จึงนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน

1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
และปฏิบัติจริง และสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 1. นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. มีการเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจเข้ากับยุคสมัย
4. มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมหรือแก้ปัญหานักเรียนที่มี

ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ ์
5. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
ของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด
และปฏิบัติจริง

6. มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็น และต้องการ
ความช่วยเหลือพิเศษ
7. ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอผลงาน

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ เช่น การประกวดโครงงาน
วิทยาศาสตร์ โครงการแข่งขันทักษะของแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น

2. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
1. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา
ทั้งในห้องเรียน และภายในสถานศึกษา รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการต่างๆ



รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 61


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พร้อมอำนวยความสะดวกให้แก่ครู
บุคลากร และผู้เรียน

2. ครูผู้สอนใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย
3. โรงเรียนมีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาคุณภาพการสอนโดยการผลิตและใช้
สื่อที่น่าสนใจด้วยตัวครูผู้สอนเอง เช่น จัดให้มีโครงการประกวดสื่อ

นวัตกรรมทางการศึกษา โดยงานพัฒนาสื่อและนวัตกรรม โดยใช้
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นกรรมการตัดสินและมี
การประกาศผลการประกวด ดังนี้

- ครูธนพล พรมโอก ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อ
เทคโนโลยี
- ครูพัชริดา ศรีเข้ม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อ
สิ่งพิมพ ์

- ครูปฏิญญา มุขสาร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภท

สื่อสิ่งพิมพ
3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
.
เชิงบวก
1. ครูบริหารจัดการชั้นเรียนในเชิงบวก สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น สร้าง
แรงจูงใจที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขใน
การเรียน เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมและ
รักที่จะเรียนรู้ ตลอดจนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2. มีการนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนของครูในทุกกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ จากฝ่ายบริหารอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีโครงการพัฒนา
คุณภาพครูด้านการจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เช่น โครงการอบรมพัฒนา

ครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดบอร์ดนิทรรศการหน้า
ชั้นเรียน เป็นต้น

4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียน ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

อย่างเป็นระบบและนำผลมา
พัฒนาผู้เรียน 1. ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสมรรถนะสำคัญในหลักสูตร
และตามโครงสร้างรายวิชาที่หลากหลาย มีการประเมินผู้เรียนจากสภาพ
จริง มีการกำหนดขั้นตอนการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบมีเกณฑ์

การให้คะแนนที่ชัดเจน เหมาะกับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้ทราบผล
คะแนนในแต่ละขั้นเป็นระยะ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
ของผู้เรียน
2. สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสาทรศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับบริบทของชุมชน
และท้องถิ่น ตลอดจนการให้ผู้เรียนได้เข้าไปเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้
ในชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ดังมีปรากฏใน โครงการสอน และแผน

การจัดการเรียนรู้ เป็นต้น


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 62


ประเด็นพิจารณา ผลการประเมิน
3. ครูผู้สอนนำผลการประเมินมาใช้พัฒนาผู้เรียนโดยคำนึงถึงค่าเป้าหมาย
ในการพัฒนาของสถานศึกษาร่วมกับระบบดูแลช่วยนักเรียน ดังมีปรากฏ

ในโครงการสอน เล่มปพ. แบบรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเล่มรายงานการประเมิน
ตนเองของครูผู้สอน (T-Sar) เป็นต้น


5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม
ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและ
ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ 1. สถานศึกษากำหนดให้มีการนิเทศแบบกัลยาณมิตรจากครูในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ของตน และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ส่งผลให้ครูได้พัฒนาความรู้ และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน มีการให้
ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ของครูผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ดังเห็นได้จาก ภาพกิจกรรมนิเทศแบบกัลยาณมิตรและกิจกรรมชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นต้น
3. จุดเด่น

ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยมีแผน
จัดการเรียนรู้ที่ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด นำใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นตัวช่วยในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างบรรยากาศที่น่าเรียนให้กับชั้นเรียนของตน วัดและ
ประเมินผลตามสมรรถนะสำคัญในหลักสูตร ประเมินผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายจากสภาพจริง มีการส่งเสริมให้ครู
ได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจัดให้มีการนิเทศการสอนที่เน้นส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้

เรียนรู้โดยการคิด การปฏิบัติจริง การใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งใน
ชุมชนและจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
นอกจากนี้ ครูยังมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาศักยภาพของตน

เช่น โครงการแข่งขันทักษะด้านภาษา กีฬา และดนตรี มีการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนรู้
ผ่านประสบการณ์ตรง จากการปฏิบัติจริง เช่น การจัดทำโครงงานและการจัดแสดงผลงานนักเรียน การทำงานเป็นกลุ่ม
การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด รวมถึงห้องศูนย์การเรียนรู้ภาษาด้วยตนเอง ห้อง Knowledge Center เป็นต้น ส่งผลให้
การดำเนินกิจการของสถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ และมีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการ

จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม โดยมีจุดเด่นจำแนกตามประเด็นพิจารณาดังต่อไปนี้
1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ดังจะเห็นได้จาก
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ และโครงการแข่งขันทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังจะเห็นได้จาก โครงการประกวดสื่อ

นวัตกรรมการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ตามสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
3. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ดังจะเห็นได้จาก โครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
การจัดบอร์ดนิทรรศการหน้าชั้นเรียน และการจัดมุมให้เกร็ดความรู้ต่างๆ เป็นต้น
4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ดังจะเห็นได้จาก โครงการสอน

เล่ม ปพ. และแบบรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ดังจะเห็น
ได้จาก การนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนแบบกัลยาณมิตรทั้งจากครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้และจากผู้บริหาร

อย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นต้น


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 63


4. จุดควรพัฒนา
1. การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของครูผู้สอนที่ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียน วิธีในการวัดและประเมินผลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ และค่าเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของสถานศึกษาดังปรากฏในเล่มรายงานการประเมินตนเองของครูผู้สอน (T-SAR)

2. การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีหลังการวัดและประเมินผล เพื่อให้นักเรียนตระหนักในการพัฒนา
ตนเอง และรู้จักกำหนดเป้าหมายให้กับชีวิตในอนาคต
3. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเชิญให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดกิจกรรมเสริมและเพิ่มเติมให้กับผู้เรียน

4. การสอดแทรกคุณธรรมจริธรรมที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนให้กับผู้เรียนในคาบเรียนของครูผู้สอนในแต่ละกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม











































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 64


สรุปผลการประเมินในภาพรวม
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ มีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐาน

การศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2565 ที่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีผลการ
ประเมินภาพรวมอยู่ใน ระดับยอดเยี่ยม และมีผลการประเมินในแต่ละมาตรฐานจำแนกตามประเด็นพิจารณา ดังนี้


ตารางสรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565
มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพนฐาน ค่า ผลการประเมิน
ื้
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ เป้าหมาย ร้อยละ คะแนน ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ยอดเยี่ยม 87.57 4.38 ยอดเยี่ยม

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ยอดเยี่ยม 86.53 4.30 ยอดเยี่ยม

1. มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ ยอดเยี่ยม 85.11 4.26 ยอดเยี่ยม

2. มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา ยอดเยี่ยม 90.45 4.52 ยอดเยี่ยม

3. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ยอดเยี่ยม 82.73 4.14 ยอดเยี่ยม

4. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยอดเยี่ยม 90.76 4.54 ยอดเยี่ยม

5. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ยอดเยี่ยม 77.75 3.89 ดีเลิศ

6. มีความรู้ ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ยอดเยี่ยม 89.71 4.49 ยอดเยี่ยม

1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ยอดเยี่ยม 92.51 4.63 ยอดเยี่ยม
1. มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด ยอดเยี่ยม ๘๗.๑๓ ๔.๓๖ ยอดเยี่ยม

2. มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอดเยี่ยม ๙๗.๖๒ ๔.๘๘ ยอดเยี่ยม

3. ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย ยอดเยี่ยม ๙๘.๖๗ ๔.๙๓ ยอดเยี่ยม

4. มีสุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม ยอดเยี่ยม ๘๖.๖๒ ๔.๓๓ ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม

1. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม

2. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม
3. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร
สถานศึกษา และกลุ่มเป้าหมาย ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม

4. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม

5. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม

6. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม 5.00 ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยอดเยี่ยม 97.5 4.87 ยอดเยี่ยม

1. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ยอดเยี่ยม 87.50 4.38 ยอดเยี่ยม

2. ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม 100 5 ยอดเยี่ยม

3. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ยอดเยี่ยม 100 5 ยอดเยี่ยม

4. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ยอดเยี่ยม 100 5 ยอดเยี่ยม

5. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ยอดเยี่ยม 100 5 ยอดเยี่ยม

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 65


ส่วนที่ 3 สรุปผล แนวทางการพัฒนา และความต้องการการช่วยเหลือ
จุดเด่น
คุณภาพของผู้เรียน

จากผลการประเมินด้านคุณภาพของผู้เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ปีการศึกษา
2565 ที่อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
แสดงให้เห็นถึง จุดเด่น ด้านคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้
1. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน สื่อสาร คิดคำนวณ วิเคราะห์ คิดอย่างมี

วิจารณญาณผ่านกิจกรรมด้านวิชาการและสันทนาการได้เหมาะสมตามระดับชั้น รู้จักอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี เห็นความสำคัญของการสร้างนวัตกรรม รู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นและมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาส
ในการพัฒนาตัวเองในระดับที่สูงขึ้นด้วยการนำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันหลายรายการ เช่น ในงานศิลปหัตถกรรม
นักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง 3 รายการ, รางวัลระดับเหรียญทอง 16
รายการ, รางวัลระดับเหรียญเงิน 19 รายการ, รางวัลระดับเหรียญทองแดง 13 รายการ และรางวัลเข้าร่วม 11
รายการ ตัวอย่างของนักเรียนที่ได้รับรางวัล เช่น นายจิตรกร เขียวอ่อน นักเรียนระดับชั้น ม.6/1 เข้าแข่งขันต่อสมการ

คณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับเหรียญทอง,
นายกัมพล สันติโยธินสกุล นายศรันย์ ตีราช นายสุรเสกข์ บังทอง และนายราเมศ ชาลีพันธุ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5/7 เข้าแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.4 - ม.6 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน อันดับที่ 32,

และนายพัชรพล แซ่ฉั่ว นายชัยวัฒน์ คหบดีกุล และนายณัฐนนท์ แซ่คู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 เข้าแข่งขัน
จัดทำหนังสือเล่มเล็ก ประเภทบกพร่องทางการเรียนรู้ ม.4 - ม.6 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง อันดับที่ 11 เป็นต้น
2. นักเรียนมีความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด รู้หน้าที่
และเคารพในสิทธิของผู้อื่น เข้าใจในความเป็นไทยและภาคภูมิใจในท้องถิ่น เรียนรู้และยอมรับที่จะอยู่ร่วมกัน

บนความแตกต่างและหลากหลายอย่างมีเหตุผล ตลอดจนมีทักษะชีวิตและรู้จักดูแลตนให้มีสุขภาวะทางร่างกาย
ื่
และสุขภาวะทางจิตใจที่เข้มแข็ง อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ เพอส่งเสริม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันศุกร์
กิจกรรมสวดมนต์ยาว กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวินัยของนักเรียน กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมส่งเสริม

ประชาธิปไตย กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด กิจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร-
รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 10) กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรม
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นต้น และเห็นได้จากนักเรียนที่ได้รับรางวัลจาการเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ เช่น
นางสาววรรษมน หมื่นสนิท นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ได้รับการคัดเลือกและยกย่องว่า มีความประพฤติดี

จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น

กระบวนการบริหารและการจัดการ

จากผลการประเมินด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
ยานนาเวศ ปีการศึกษา 2565 ที่อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม บ่งบอกถึง จุดเด่น ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
ของสถานศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สถานศึกษามีการประชุมวางแผนดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพ
ของสถานศึกษาที่เป็นไปตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนด มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผล เพื่อปรับปรุงพัฒนางาน ตลอดจนมีการส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยี

มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบปกติและแบบออนไลน์ ดังจะเห็นได้จาก การมีภาวะของ
ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร การบริหารจัดการด้านการศึกษาที่บรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์และจุดเน้นที่กำหนด
ในแผนปฏิบัติการ การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายใน

สถานศึกษาโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ การใช้ระบบการบริหารงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA)


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 66



ส่งเสริมให้โรงเรียนเตรียมอดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (รอบ 4) จากสำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2565
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) ซึ่งการได้รับการประกันคุณภาพภายนอกนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนา
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป และได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส

ในการดำเนินงานของสถานศึกษาออนไลน์ (ITA Online) ประจำปีการศึกษา 2565 ด้วยคะแนน 100.00 คะแนน
อยู่ในระดับ AA (ดีเยี่ยม) จากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตลอดจนการได้รับรางวัลต่างๆ
เช่น นางพลอยกาญจน์ พึ่งเพียร ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ได้รับรางวัลเกียรติบัตร
“บุคคล รัก ศรัทธา เสียสละและอุทิศตนในวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเนื่องในวันครู ครั้งที่ 67 ปี 2566”

จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ และนายภาคภูมิ ทองลาด ได้รับรางวัลยกย่อง
เชิดชูเกียรติสดุดีภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565 ประเภท “รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กลุ่มบริหารงาน
บุคคล ดีเด่น” จากงานคุรุสัมพันธ์ สหวิทยาเขตภาคีนพวัฒน์ ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นต้น


กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากผลการประเมินด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พัฒนาการ ยานนาเวศ ปีการศึกษา 2565 ที่อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม สะท้อนถึง จุดเด่น ด้านกระบวนการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา กล่าวคือ นักเรียนมีความรู้ ประสบการณ์ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นและ

ได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการลงมือปฏิบัติจริงผ่านกระบวนการ
ดำเนินงานและระบบการบริหารงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ของคณะครูที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจใน
การพัฒนาการสอน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยใน

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างบรรยากาศที่น่าเรียน
ให้กับชั้นเรียนของตน ใช้วิธีในการวัดและประเมินผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริงมากขึ้น ตลอดจนร่วมกัน
ื่
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพอพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ดังปรากฏ
หลักฐานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการประกวดสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาโดยงานพัฒนาสื่อและ

นวัตกรรม โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นกรรมการตัดสินและมีครูผู้สอนได้รับรางวัลจากการเข้าร่วม
การประกวด เช่น ครูธนพล พรมโอก ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อเทคโนโลยี, ครูพัชริดา ศรีเข้ม
ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ประเภทสื่อสิ่งพิมพ และครูปฏิญญา มุขสาร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญ

ทอง ประเภทสื่อสิ่งพิมพ เป็นต้น

นอกจากนั้น สถานศึกษายังให้ความสำคัญและจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมและเป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอีกหลายโครงการ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงการแข่งขันทักษะทางภาษา
โครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดบอร์ดนิทรรศการหน้าชั้นเรียน การจัดมุมให้เกร็ดความรู้

ต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน การจัดทำแบบรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มสาระการ
เรียนรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนแบบกัลยาณมิตรทั้งจากครู
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้และจากผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดให้มีกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เป็นต้น











รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 67


จุดควรพัฒนา
คุณภาพของผู้เรียน
1. การสร้างความตระหนักรู้ในองค์กรเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการสอนของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ที่ต้องมีความหลากหลาย ยึดหยุ่นในการวัดและประเมินผล เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา เพื่อยกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้มีค่าการพัฒนาที่สูงขึ้นอันถือเป็นภารกิจหลักของครูผู้สอนโดยคำนึงถึง

ค่าเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศกษา
2. การพัฒนารูปแบบและเครื่องมือในการประเมินด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์และค่านิยมที่ดีอย่างจริงจัง
มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ ลดความซ้ำซ้อนในการประเมิน บูรณาการภาระงานและกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็น

รูปธรรมเพื่อลดภาระงานให้กับผู้เรียน
3. การจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังความดีงามให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น เสริมสร้าง
ให้ผู้เรียนมีหลักคิดที่ถูกต้องเป็นของตนเอง รู้จักปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดี ไม่ทำผิดกฎหมาย รวมทั้งกล้าคิด
กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม

4. การจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ รู้จักหลีกเลี่ยงสื่อ
ที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนการรู้จักเลือกบริโภคข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ปัจจุบันเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วอันอาจ
ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้เรียน รวมทั้งอาจส่งผลให้มีพฤติกรรมและค่านิยม
ที่ไม่พึงประสงค์


กระบวนการบริหารและการจัดการ
1. การดำเนินการจัดทำแผนผังทางเดินเอกสาร (Document Flowcharts) ที่สถานศึกษาควรให้ความสำคัญ

และจัดกระทำให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและเป็นระบบ
2. การสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการให้ความร่วมมือของสมาชิกในองค์กร

เพื่อขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาคุณภาพการศกษาด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศกษาให้มากขึ้น

3. การให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านการบริหารและการจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน และ
การส่งเสริมวัฒนธรรมของคนในองค์กรที่ถูกต้อง เรื่อง วินัย จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษา อย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
4. การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศึกษา โดยบูรณาการข้อมูลให้มีความเชื่อมโยง
บนฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและลดความซ้ำซ้อนของภาระงาน

5. การนำผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสู่การพิจารณาวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของครูผู้สอนที่ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ของผู้เรียน วิธีในการวัดและประเมินผลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ และค่าเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของสถานศึกษาดังปรากฏในเล่มรายงานการประเมินตนเองของครูผู้สอน (T-SAR)
2. การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีหลังการวัดและประเมินผล เพื่อให้นักเรียนตระหนักในการพัฒนา

ตนเอง และรู้จักกำหนดเป้าหมายให้กับชีวิตในอนาคต
3. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเชิญให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดกิจกรรมเสริมและเพิ่มเติมให้กับผู้เรียน
4. การสอดแทรกคุณธรรมจริธรรมที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับบทเรียนให้กับผู้เรียนในชั่วโมงเรียนของครูผู้สอน

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างจริงจังมากขึ้น




รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 68


แนวทางการพัฒนาในอนาคต
1. การสร้างความตระหนักรู้ในองค์กรเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการสอนของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ต้องมี

ความหลากหลาย ยึดหยุ่นในการวัดและประเมินผล เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา เพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้มีค่าการพัฒนาที่สูงขึ้นอันถือเป็นภารกิจหลักของครูผู้สอนโดยคำนึงถึง

ค่าเป้าหมายในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศกษา
2. การจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังความดีงามให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น เสริมสร้างให้
ผู้เรียนมีหลักคิดที่ถูกต้องเป็นของตนเอง รู้จักปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดี ไม่ทำผิดกฎหมาย กล้าคิดกล้าตัดสินใจ

ในสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมทั้งมีภูมิคุ้มกัน
ทางสังคมที่ดีไม่ตกเป็นเครื่องมือของสื่อที่ไม่พึงประสงค์ ดั่งคำว่า “ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม”
3. การเร่งดำเนินการจัดทำแผนผังทางเดินเอกสาร (Document Flowcharts) ที่สถานศึกษาควรให้ความสำคัญและจัด

กระทำให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและเป็นระบบ เพื่อยกระดับวิธีการปฏิบัติงานให้มีมาตรฐาน โปร่งใส ยุติธรรม และ
ตรวจสอบได้
4. การให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านการบริหารและการจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการส่งเสริม
วัฒนธรรมของคนในองค์กรที่ถูกต้อง เรื่อง วินัย จรรยาบรรณ คุณธรรมจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา อย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
5. การนำผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสู่การพิจารณาวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้าน
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

6. การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศภายในสถานศกษา โดยบูรณาการข้อมูลให้มีความเชื่อมโยงบนฐานข้อมูลเดียวกัน

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและลดความซ้ำซอนของภาระงาน
7. การให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รวมทั้งการเชิญให้
ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสริมและเพิ่มเติมให้กับผู้เรียน
8. การให้ความสำคัญกับการกระตุ้นและส่งเสริมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมและการเป็นแบบอย่างที่ดีให้คงอยู่กับสังคมครู


ความต้องการการช่วยเหลือ
1. การสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชน ในการร่วมกันสอดส่องดูแลพฤติกรรมนักเรียน ให้มีวินัย

ในตนเอง เคารพกฎระเบียบของสถานศึกษา รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเอง และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ื่
2. การขอรับการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนเพอการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความประพฤติดี เรียนดี แต่ด้อยโอกาสหรือ
ยากจนเป็นพิเศษ รวมทั้งเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้มีความร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียนมากขึ้น




















รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 69


ส่วนที่ 4 ภาคผนวก

ื่
1. ประกาศมาตรฐานการศกษาของสถานศึกษา เพอการประกันคุณภาพภายใน


2. ประกาศค่าเป้าหมายการพฒนาตามมาตรฐานการศกษาของสถานศึกษา


3. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคณภาพภายในของสถานศกษา

4. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษา
5. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและรับรองรายงานการประเมินตนเองของครูผู้สอน (T-SAR)
6. เครื่องมือการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษา
7. เกณฑ์สำหรับการประเมินมาตรฐานการศกษาของสถานศึกษา

8. ภาพประกอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน

9. คำรับรองรายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา

















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 70


ประกาศมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายใน





















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 71


มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ
แนบท้ายประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ
เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษา
เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖5

_________________________________________________


มาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนเตรียมอดมศึกษา
พัฒนาการ ยานนาเวศ มีจำนวน 3 มาตรฐาน โดยแต่ละมาตรฐาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวชาการของผู้เรียน

1) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

และแก้ปัญหา
3) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
4) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
6) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติทดีต่องานอาชีพ
ี่
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

1) การมีคณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

2) ความภูมิใจในทองถิ่นและความเป็นไทย
3) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
4) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

2.2 มีระบบบริหารจัดการคณภาพของสถานศึกษา
2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศกษา

และทุกกลุ่มเป้าหมาย

2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคณภาพ
ื่
2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพอสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้


มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
3.2 ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

3.5 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ขอมูลสะท้อนกลับเพื่อพฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้






รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 72


ประกาศค่าเป้าหมายการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา






































































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 73


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 74


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 75


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา





















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 76


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 77


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 78


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 79


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 80


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 81


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 82


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 83


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 84


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 85


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 86


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 87


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 88


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 89


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 90


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพการศึกษา





















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 91


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและรับรองรายงานการประเมินตนเองของครูผู้สอน (T-SAR)





















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 92


เครื่องมือการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษา





















































รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 93


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 94


รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR 2565) หน้า 95


Click to View FlipBook Version