สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA การขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | ก คำนำ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการขับเคลื่อน พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ประจำปี 2566 ในประเด็นของผู้สูงอายุ โดยได้มีการดำเนินกิจกรรม ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นฐานข้อมูลทางสังคมของ ผู้สูงอายุซึ่งเป็นเป็นกลไกสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จึงได้จัดทำรายงานการขับเคลื่อนพื้นที่ ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ตำบลดอนยายหอม อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อรวบรวมขั้นตอนและผลการดำเนินงาน เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อการขับเคลื่อนงานการเก็บข้อมูลกลุ่มกลุ่มเป้าหมายและแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ทั้งบุคลากรและภาคีเครือข่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคี เครือข่ายและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการพัฒนางาน ด้านสังคมและนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 กันยายน 2566
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA บทสรุปผู้บริหาร ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ เนื่องจากมีผู้สูงอายุจำนวน 2,569 คน เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในตำบลดอนยายหอม ทั้งสิ้น 11,456 คน คิดเป็นร้อยละ 22.42 ซึ่งเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพร่างกาย จากโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงสุขภาพของจิตใจด้วย อย่างไรก็ตาม การรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ไม่ใช่เพียงการจัดการกับเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ แต่หมายความถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในทุกมิติ ทั้งสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ดังนั้น การมีฐานข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญจะเป็นกลไกสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทุกมิติ ซึ่งจะนำไปสู่ การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุจัดสวัสดิการ และบริการให้ครอบคลุมต่อปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้แนวคิด กิจกรรม แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ทฤษฎีโปรแกรม และงานวิจัยรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการ ทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ขับเคลื่อนการดำเนินงาน จึงเป็นที่มาของการ ขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ด้วย Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เกิดขึ้นจากการบูรณาการของหน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ตำบลดอนยายหอม ได้แก่ เทศบาล ตำบลดอนยายหอม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยาย หอม มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยคริสเตียน หน่วยงานทีม พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันในนาม SMART DATA Team ดำเนินการออกแบบเครื่องมือเก็บ ข้อมูลทางสังคมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลด้านสังคมของผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อม อารมณ์และความรู้สึกซึ่ง คำถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนั้นสามารถสะท้อนข้อมูลด้านสังคมของผู้สูงอายุได้ตรงกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะ เพื่อนำไปสู่ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA แบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรม ฐานเก็บข้อมูล ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฐานมีความแตกต่างกัน จำนวน 4 ฐาน ได้แก่ 1) ฐานเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ 2) ฐานคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) 3) ฐานวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายด้วยโปรแกรม Yukamiru 4) ฐานกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งภายหลังการจัดกิจกรรมเสร็จสิ้น พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกับบุตร หลาน และคู่สมรส มีภาระในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในบ้านเป็นหลัก และยังมีภาระในการดูแลสัตว์ เลี้ยง ส่วนการได้รับการสนับสนุนทางสังคมนั้นส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางอาชีพและรายได้ รวมไป ถึงเงินและสิ่งของ เมื่อดูถึงการร่วมกิจกรรมทางสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์และประโยชน์ในการ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เพื่อได้รับความรู้ มีเพื่อน และได้เป็นจิตอาสา/อาสาสมัคร เพื่อน ส่วน กิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสนใจให้หน่วยงานจัด สูงที่สุด คือ กิจกรรมด้านอาชีพและรายได้ ตามมา
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | ค ด้วยกิจกรรมทางสุขภาพและกิจกรรมจิตอาสา/อาสาสมัคร แต่ยังพบข้อจำกัดที่ทำให้เข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคม ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ ตามด้วย ปัญหาการเดินทาง และปัญหาการเงิน ในส่วนของสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุ 29 คน เข้าทดสอบภาวะเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม มีภาวะเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมจำนวน 21 คน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อก้น ทั้งสองส่วนไม่แข็งแรง จะทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุเกิดปัญหา จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นจึงได้มีข้อเสนอในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอมและผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ๆ ดังนี้ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดอนยายหอม ร่วมบูรณาการกับสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 3 เพื่อจัดโครงการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น โครงการหรือ กิจกรรม “กันล้ม” / “กันลืม” / “กันเอง” / “กันจน” 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมบูรณาการกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 3 เพื่อนำ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ไปปรับรูปแบบกิจกรรมในฐาน ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายได้ตามความเหมาะสม 3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ สนับสนุนให้มีการจัดเก็บข้อมูลทางสังคมของกลุ่มเป้าหมายตามบริบทของพื้นที่และจัดทำเกณฑ์ การประเมินทางสังคม เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความต้องการของ ผู้สูงอายุ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ง | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก บทสรุปผู้บริหาร ข สารบัญ ง บทที่ 1 ชุมชนกับการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 1 1.1 สถานการณ์ผู้สูงอายุ 1 1.2 บทบาทหน้าที่ของท้องถิ่นในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2 1.3 ปัญหาข้อมูลกับการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2 1.4 แนวคิดข้อมูลอัจฉริยะ SMART DATA 3 1.5 วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 4 บทที่ 2 ชุมชนตำบลดอนยายหอม 5 2.1 ตำบลดอนยายหอม 5 2.2 เขตการปกครอง 5 2.3 ประชากรผู้สูงอายุ 6 2.4 ข้อมูลด้านสังคม 7 2.5 สถานการณ์ผู้สูงอายุ 7 บทที่ 3 ความรู้ในการพัฒนา SMART DATA 13 3.1 แนวคิดกิจกรรม 13 3.2 แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ 14 3.3 ทฤษฎีโปรแกรม 16 3.4 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 17 บทที่ 4 กิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA 21 4.1 SMART DATA Team 21 4.2 เครื่องมือข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 22 บทที่ 5 กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA 23 5.1 แผนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 23 5.2 ขั้นตอนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 24 5.3 กระบวนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 29 5.4 การติดตามประเมินผล 36 5.5 ปัญหาและอุปสรรค และการจัดการปัญหา 44
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | จ เรื่อง หน้า บทที่ 6 ปัจจัยความสำเร็จข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 46 บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 47 7.1 การขับเคลื่อน Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA 47 7.2 การขยายผล Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA 49 7.3 ข้อเสนอแนะ 51 เอกสารอ้างอิง 53 ภาคผนวก 54 ภาคผนวก ก พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) 55 ภาคผนวก ข คู่มือข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ 58
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 1 บทที่ 1 ชุมชนกับการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 1.1 สถานการณ์ผู้สูงอายุ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร คือ ประชากรที่อยู่ใน วัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนประชากร 66.7 ล้านคน และมีจำนวนผู้สูงอายุ 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.74 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แสดงให้เห็นถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กลดลงเนื่องจากอัตราการเกิดอัตราการ ตายของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากการดำเนินนโยบายด้านประชากรและ การวางแผนครอบครัวประสบผลสำเร็จ รวมถึงความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านสังคม ส่งผลให้ คนไทยมีสุขภาพดี อายุยืนยาว และด้วยสภาวะเศรษฐกิจส่งผลให้ความมั่นคงทางการเงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล ต่อทัศนคติต่อการสร้างครอบครัวและการใช้ชีวิต ทำให้อัตราการเกิดลดลงอย่างมาก เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่ม จำนวนมากขึ้นทำให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนสวัสดิการต่างๆ ให้กับผู้สูงอายุสูงขึ้น ซึ่งองค์การอนามัย โลกได้แนะนำองค์ประกอบที่ใช้สำหรับสังคมที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น 3 ประการ คือ ส่งเสริมให้ประชาชนมี สุขภาพดี สร้างหลักหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงทำให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมและมีคุณค่าทาง สังคม เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงาน มีรายได้ที่คุ้มค่า ช่วยลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการ จากภาครัฐ พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนทุกช่วงวัยได้อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับประเทศไทยนั้นเพื่อรองรับบริบทสังคมสูงวัยในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ใน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ และยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทที่ 11 การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตและแผนแม่บทที่ 17 ความเสมอ ภาคและหลักประกันทางสังคม อีกทั้งรัฐบาลได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580) ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันทางสังคม เป็นพลังใน การพัฒนาสังคม” สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ป (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์แผนปฏิบัติราชการ เรื่อง ยกระดับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แบบบูรณาการ เป้าหมายเกิดการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นหุ้นส่วน การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งการปฏิรูปสังคมสูงวัยนั้น ท้องถิ่นถือเป็นส่วนสำคัญในการนำนโยบายการ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติการในระดับพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาบริการทางสังคมและกิจกรรม ทางสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มคุณค่า พัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับวัยวุฒิ ประสบการณ์ และสมรรถภาพของร่างกาย รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเพื่อให้ ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในการทำงานเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 2 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 1.2 บทบาทหน้าที่ของท้องถิ่นในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับคนในท้องถิ่นทำให้รับรู้ถึงปัญหาและ ความต้องการของคนในท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการ บริการสาธารณะตามมาตรา 16 และมาตรา 17 โดยให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมี อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง พื้นที่ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ในอำนาจการปกครอง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลดอนยายหอม และองค์การบริหาร ส่วนตำบลดอนยายหอม และข้อมูลจากระบบสถิติทางทะเบียน สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่าในปี 2665 มีประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนยายหอม จำนวน 6,382 คน เป็นผู้สูงอายุจำนวน 1,497 คน และอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จำนวน 5,074 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,072 คน ดังนั้น ตำบลดอนยายหอมจึงมีประชากรทั้งสิ้น 11,456 คน และเป็นประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 2,569 คิดเป็นร้อยละ 22.42 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตำบล ดอนยายหอมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ซึ่งการเข้าสู่วัยสูงอายุนั้น สิ่งที่ตามมาคือปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะ เป็นสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังตามช่วงวัย การเปลี่ยนแปลงของสถานะทางสังคม จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบล ดอนยายหอม ตระหนักถึงการจัดบริการทางสังคม กิจกรรมทางสังคม และบริการทางสุขภาพที่เหมาะสมกับ ผู้สูงอายุโดยตรง จึงได้มีการจัดบริการและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ การให้บริการตรวจสุขภาพทุกวันอังคาร จัดพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย กิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมทาง สังคมอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 1.3 ฐานข้อมูลกับการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลดอนยายหอมและองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอมเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีอำนาจหน้าที่หนึ่งในการส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เมื่อพิจารณา เกี่ยวกับ สถานการณ์ของประเทศไทยในการเข้าสู่ “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2564 และการจะก้าวเข้าสู่ “สังคม สูงอายุอย่างเต็มที่” อย่างรวดเร็วในปี 2574 รวมทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นมาตรการที่ สำคัญประการหนึ่งคือ การพัฒนาระบบงานฐานข้อมูล สิ่งที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ การที่ หน่วยงานจะมีการรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุได้ครบถ้วน จัดระเบียบ แยกหมวดหมู่ แสดงผลเชิงวิเคราะห์ใน รูปแบบของข้อมูลเชิงสถิติต่าง ๆ ทำให้เป็นฐานข้อมูลที่มีความแม่นยำ เชื่อถือได้ มีพลวัตและทำให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ช่วยยกระดับขีดความสามารถ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ของรัฐได้
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 3 อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ มีความสะดวกรวดเร็วตรงตามความต้องการและไม่เกิดความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณ ทั้งนี้ในการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็วเท่าทันต่อสถานการณ์ โดยต้องมีฐานข้อมูลด้านผู้สูงอายุที่สามารถแลกเปลี่ยนและบูรณาการระหว่างหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การบริการประชาชนมีความสะดวกรวดเร็ว เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุเกิดประสิทธิภาพ สูงสุด และตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล เทศบาลตำบลดอนยายหอมและองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอมให้ความสำคัญกับ การดำเนินด้านผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานมีการจัดโครงการ กิจกรรมหรือบริการสำหรับ ผู้สูงอายุอยู่เป็นประจำ อาทิ โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ โครงการอบรม ถ่ายทอดความรู้ส่งเสริมอาชีพ ให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก โครงการตรวจคัดกรอง กรองต้อกระจกในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้สูงอายุ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการดำเนินงานดังกล่าว เป็นการ ดำเนินงานตามแผนการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุมีความแตกต่างกัน ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุก็จะมี ความแตกต่างกันตามแต่บริบทของพื้นที่ หากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นการมีข้อมูลของผู้สูงอายุใน พื้นที่จึงมีความจำเป็น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อ การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ดังนั้น การมีฐานข้อมูลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 1.4 แนวคิดข้อมูลอัจฉริยะ SMART DATA พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนำองค์ความรู้จาก งานวิจัยและงานวิชาการ มาทดลองในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อ ปัญหาและความต้องการของพื้นที่ เพื่อให้เกิดเป็น Model ที่สามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะของ ปัญหาหรือความต้องการคล้ายคลึงกัน สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลดอน ยายหอมเป็นนำร่องในการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) โดยได้ขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูล ผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดการบูรณาการการทำงานในพื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 3 จึงได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลดอนยายหอม องค์การบริหารส่วนตำบล ดอนยายหอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยายหอม มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยคริสเตียน หน่วยงาน พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน กิจกรรมข้อมูล ผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA โดยใช้รูปแบบฐานกิจกรรมในการเก็บข้อมูล เนื่องจากผู้สูงอายุยังคงมีความ ต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อความสุขและการมีชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่ และสามารถเข้าร่วม กิจกรรมที่ตนเองสนใจได้ (Robert J.Havighurst, 1960) และการคงไว้ซึ่งกิจกรรมที่ทำในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ ควรกระทำเพื่อชดเชยความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขี้นจากกระบวนการสูงอายุ เช่น การหางานใหม่ทำแทนงาน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 4 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA เก่าที่ปลดเกษียณ การหาเพื่อนใหม่ทดแทนเพื่อนเก่าที่เสียชีวิตไป (Eliopoulos, 1992) สอดคล้องกับ บรรลุ ศิริพานิช (2533) ที่ได้กล่าวถึงการเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเกษียณอายุงานแล้ว เวลาว่างหาได้ง่ายและมีมาก กิจกรรมในยามว่าง กิจกรรมนันทนาการ หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือการให้บริการผู้อื่นจะนำความพึงพอใจมา ให้ทำให้มีชีวิตชีวาและมีความหมาย ดังนั้น แนวคิดกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA จึงเป็นนวัตกรรมเชิง กระบวนการในการเก็บข้อมูลของผู้สูงอายุตามบริบทของพื้นที่ ไม่ใช่เพียงแค่ให้ผู้สูงอายุมานั่งตอบคำถาม แต่ เป็นการเก็บข้อมูลผ่านฐานกิจกรรม โดยการผสมผสานการทำกิจกรรมทางสังคมให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้อื่นใน วัยใกล้เคียงกัน ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ปรับตัว ยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น และสนับสนุนให้มีความนับถือในตัวเอง รวม ไปถึงกิจกรรมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความกังวลในการให้ข้อมูล ผู้เก็บข้อมูลสามารถเข้าถึงกลุ่ม ผู้สูงอายุได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเก็บข้อมูลด้านสังคม และด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การจัด สวัสดิการและบริการที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 1.5 วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 1) เพื่อค้นหาสถานการณ์ทางสังคมของสูงอายุตามบริบทของพื้นที่ตำบลดอนยายหอม 2) เพื่อนำข้อมูลไปวางแผนการจัดบริการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในตำบลดอนยายหอม 3) เพื่อบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบล ดอนยายหอม
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 5 บทที่ 2 ชุมชนตำบลดอนยายหอม 2.1 ตำบลดอนยายหอม ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีสภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลองธรรมชาติหลายสาย เหมาะแก่การประกอบอาชีพด้านการเกษตรและประมงน้ำจืด เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ตลอดจนมีการคมนาคมที่สะดวกทำให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาทั้ง ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม 2.2 เขตการปกครอง ตำบลดอนยายหอมอยู่ในเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 หน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลดอนยายหอม และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม เทศบาลตำบลดอนยายหอม ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลตำบลดอนยายหอม เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 เทศบาลตำบลดอนยายหอมตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลดอนยายหอม ดังนี้ 1. นายปรีชา บุญมีก่ำ นายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอม 2. พล.ต.ต.ดร.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอม 3. นางประไพ ปัญญาวานิชกุล รองนายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอม 4. นายไชยงฆ์ พูลบัว เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง มีคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม ดังนี้ 1. นายสุพจน์ ทวนประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 2. นายจำลอง มณฑาทิพย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 3. นายเธียรกิจธน จันทร์ทูลขจร รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 4. นางฐิตารีย์ สุขไทยประเสริฐ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม ตำบลดอนยายหอมมีหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน อยู่ในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบล ดอนยายหอม เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 และ 2 และอยู่ในเขตความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4, 5, 6, 7, 8 และหมู่ที่ 9 โดยหมู่ที่ 3 อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วนและเขตความรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลดอนยายหอมบางส่วน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 6 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA หมู่ที่ เขตความรับผิดชอบ 1 เทศบาลตำบลดอนยายหอม 2 เทศบาลตำบลดอนยายหอม 3 เทศบาลตำบลดอนยายหอม (บางส่วน) องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม (บางส่วน) 4 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 5 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 6 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 7 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 8 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 9 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม 2.3 ข้อมูลด้านสังคม ด้านการศึกษา ทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. จำนวน 2 แห่ง - โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 - โรงเรียนวัดดอนขนาก สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลดอนยายหอม - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนขนาก - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริการส่วนตำบลดอนยายหอม สถานศึกษาเอกชน จำนวน 1 แห่ง - โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครปฐม สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 แห่ง - มหาวิทยาลัยคริสเตียน ด้านการสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยายหอม จำนวน 1 แห่ง - ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน จำนวน 1 แห่ง 2.4 ประชากรและประชากรผู้สูงอายุ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดอนยายหอม จำนวน 6,382 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,497 คน และอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จำนวน 5,074 คน เป็นผู้สูงอายุ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 7 จำนวน 1,072 คน ดังนั้น ตำบลดอนยายหอมจึงมีประชากรตำบลดอนยายหอมมีประชากรทั้งสิ้น 11,456 คน และเป็นประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 2,569 คน ตารางแสดงจำนวนประชากรและประชากรผู้สูงอายุเทศบาลตำบลดอนยายหอม จำนวนประชากร จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม 3,071 3,311 6,382 640 857 1,497 ที่มา : ข้อมูลระบบสถิติทางทะเบียน สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2565 ตารางแสดงจำนวนประชากรและประชากรผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม จำนวนประชากร จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม 2,419 2,655 5,074 426 646 1.072 ที่มา : ข้อมูลระบบสถิติทางทะเบียน สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2565 2.5 สถานการณ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดเก็บข้อมูลของครัวเรือนเปราะบาง ซึ่งหมายถึง ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องการได้รับ ความช่วยเหลือจากคนอื่น เช่น ครอบครัวยากจนที่มีเด็กเล็ก แม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง มีปัญหาที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มดังกล่าวอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง ผ่าน ระบบสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ MSO LOGBOOK เพื่อวางแผนขจัดปัญหาความยากจน และ พัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวโดยได้แบ่งระดับของ ความเปราะบางของครัวเรือน ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีปัญหาที่อยู่อาศัย ระดับ 2 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง 1 – 2 คน (อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น) ระดับ 3 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและมีบุคคลที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากกว่า 2 คน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 8 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ซึ่งในพื้นที่ตำบลดอนยายหอมนั้นได้มีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยพบ ครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จำนวน 77 ครัวเรือนและในจำนวนนี้มีครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุเป็นสมาชิกในครัวเรือน จำนวน 58 ครัวเรือน โดยสามารถแบ่งลักษณะครัวเรือนและระดับความเปราะบางได้ดังนี้ ลักษณะครัวเรือนเปราะบางที่มีผู้สูงอายุเป็นสมาชิก (n=58) ครัวเรือนที่ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่คนเดียว ครัวเรือนเดี่ยว ที่มีผู้สูงอายุเป็น สมาชิก ครัวเรือนขยาย ที่มีผู้สูงอายุเป็น สมาชิก จำนวน ครัวเรือนที่มี ผู้สูงอายุเป็นสมาชิก 32 18 8 58 ข้อมูลจากระบบ MSO Logbook ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 พบว่า ครัวเรือนเปราะบางใน ตำบลดอนยายหอมที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ มีจำนวน 58 ครัวเรือน โดย เป็นครัวเรือนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่คน เดียว จำนวน 32 ครัวเรือน ครัวเรือนเดี่ยวที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 18 ครัวเรือน และครัวเรือนขยายที่ มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 8 ครัวเรือน ระดับความเปราะบางของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุเป็นสมาชิก (n=58) มิติ รายได้* มิติความ เป็นอยู่* มิติ สุขภาพ* มิติการ ศึกษา* มิติการ เข้าถึง บริการ รัฐ* ระดับความเปราะบาง รวม 1 2 3 - - 1 1 - 1 - 1 - 1 - 1 - 51 1 52 - 3 - 3 รวม 0 56 2 58 * หมายเหตุ มีปัญหา ไม่มีปัญหา เมื่อดูระดับความเปราะบางของทั้ง 58 ครัวเรือน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเปราะบาง ในระดับ 2 จำนวน 56 ครัวเรือน และความเปราะบางในระดับ 3 จำนวน 2 ครัวเรือน และมิติ ที่ตกเกณฑ์สูงที่สุด คือ มิติรายได้ รองลงมา คือ มิติความเป็นอยู่ มิติสุขภาพและมิติการศึกษา ตามลำดับ และจากการที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 9 ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลทางสังคมผู้สูงอายุตามบริบทและจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม ซึ่งผู้เข้าร่วม ประชุมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจากเทศบาลตำบลดอนยายหอม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยายหอม มหาวิทยาลัย คริสเตียน มหาวิทยาลัยศิลปากร หน่วยงานทีม พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) รวมถึงตัวแทนผู้สูงอายุ ตำบลดอนยายหอม ได้ร่วมกันสะท้อนสถานการณ์ผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม ผู้สูงอายุในตำบลดอนยายหอม ส่วนใหญ่อยู่ในครอบครัวที่เป็นลักษณะครอบครัวขยาย สามารถแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุติดสังคม ซึ่งจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในพื้นที่เป็นประจำ และให้ความร่วมมืออย่างดีในทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือภาค ประชาสังคม 2) ผู้สูงอายุติดบ้าน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีภาระในการดูแล ได้แก่ ดูแลหลาน จัดเตรียมอาหาร รับ-ส่ง หลานไปโรงเรียน เนื่องจากพ่อแม่ของหลานต้องออกไปทำงาน และบางส่วนยังมีภาระเป็นการดูแล ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้าน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ภาระในการดูแลทำความสะอาดบ้าน รวมไปถึงเป็นห่วง บ้าน จึงไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ดีผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดบ้านบางคนก็เข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมเป็นครั้งคราว และมีข้อสังเกตว่ากิจกรรมที่มีการแจกสิ่งของผู้สูงอายุจะให้ความสนใจมากกว่า กิจกรรมอื่น ๆ เมื่อพิจารณาถึงปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลดอนยายหอมนั้น สามารถ อธิบายได้ตามแผนภาพ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 10 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA โรคทางสังคม โรคทางสังคม คือ อาการที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุไม่ใช่โรคทางกายแต่เป็นโรคที่เกิดจากอารมณ์ และความรู้สึกเมื่อพ้นวัยทำงานเข้าสู่วัยผู้สูงอายุหรือวัยเกษียณ จากที่เคยมีบทบาทในหน้าที่การทำงานบทบาท นั้นหมดไป รายได้ที่หายไปหรือลดน้อยลง ต้องพึงพาบุตรหลานหรือบุคคลอื่นมากขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่า ตนเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่าตามไปด้วย ผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอมก็ ประสบกับปัญหาโรงทางสังคมเช่นเดียวกัน โดยโรคทางสังคมสามารถแบ่งได้ ดังนี้ 1) โรคติดต่อทางสังคม เกิดจากความเหงาอ้างว้างโดดเดี่ยวถ่ายทอดผ่านการพูดคุย ปรับทุกข์ของผู้สูงอายุ เกิด การแลกเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึก กระตุ้นให้ผู้สูงอายุคนอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันเกิด ความรู้สึกในแบบเดียวกัน เช่น การพูดถึงลูกหลานที่ไปเรียนหรือทำงานต่างพื้นที่และไม่กลับบ้านเป็นเวลานาน หรือไม่กลับบ้านในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น 2) โรคถูกมองข้าม เกิดจากบุตรหลานที่ค่อย ๆ เติบโตแยกย้ายไปมีครอบครัว รวมถึงเพื่อนสนิท หรือคู่ชีวิตที่ล้มหายตายจากไป งานวิจัยยังพบว่าหากสามีสูญเสียภรรยาก่อนจะทำให้ดำรงชีวิตอย่างปกติได้ยาก กว่า เกิดเป็นความเจ็บป่วยในใจ รวมถึงการสูญเสียสถานภาพทางสังคมตำแหน่ง หรือครอบครัว มักจะถูกมอง ว่าเป็นคนแก่ทำอะไรไม่ค่อยได้ ความคิดอ่านโบราณ 3) โรคถูกลดทอนบทบาท ไม่สามารถปรับตัวได้จากการถูกลดทอนบทบาทจากตำแหน่งหน้าที่การงานที่เคยมี สูญเสียความสามารถการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การยอมรับจากผู้อื่น เช่น รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายภายใน ครอบครัว ค่าใช้จ่ายสำหรับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น เมื่อรายได้ลดลงส่งผลให้ไม่สามารถอยู่ในบทบาทเดิมได้ 4) โรคร้ายแรง เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสุขภาพร่างกายเสื่อมลงและจิตใจแปรปรวน การมีโรคประจำตัว ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม รวมไปถึงเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอื่น ๆ เช่น การที่ลูกหลานห้ามไม่ให้ออกจาก บ้าน ขับรถไม่เป็นหรือลูกหลานไม่ให้ขับ รายได้ไม่เพียงพอมีต่อการดำรงชีพ ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม ปัญหาทางสังคม ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตำบล ดอนยายหอม จำนวน 4 ปัญหา ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุไม่มีคนดูแล 1.1) ผู้สูงอายุอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีคนดูแล อีกทั้งไม่มีรายได้ ไม่มีเงินเก็บออม ทำให้ดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 11 1.2) ผู้สูงอายุแม้จะมีเงินเก็บออม แต่เนื่องจากอาศัยอยู่ลำพังจึงมักถูกหยิบยืมจากผู้อื่น 2) รายได้ไม่เพียงพอ 2.1) ไม่มีการเตรียมความพร้องหลังเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้นสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เหมือนเดิมทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 2.2) การหนี้สินเดิม เมื่อไม่มีรายได้หรือรายได้ลดลงทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพ 3) มีภาระในการดูแลสมาชิกในครัวเรือน 3.1) ผู้สูงอายุต้องรับภาระในการดูแลสมาชิกในครัวเรือนที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น หลาน ผู้ป่วย ผู้พิการ ทำให้ไม่สามารถออกไปเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ 3.2) ผู้สูงอายุบางคนยังต้องออกไปทำงานเพื่อหารายได้สาเหตุเนื่องจากการมีผู้ที่อยู่ใน ภาวะพึ่งพิงในครอบครัว ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 4) ลูกหลานเกี่ยงกันดูแล บุตรหลานไม่มีความพร้อมที่จะดูแลผู้สูงอายุ และเมื่อมีบุตรหลานหลายคนจึงเกิดปัญหา เกี่ยงกันดูแล ส่งผลให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน จากสถานการณ์ข้างต้น ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่ต้องการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น โดยสัญญาณ เตือนที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดนั้น ได้แก่ ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ เบื่อหน่าย ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ในที่สุดก็ค่อย ๆ ปลีกตัวออกมาจากสังคม กิจกรรมทางสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลดอนยายหอมนั้น ให้ความสำคัญกับการร่วมกิจกรรมทาง สังคมของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แต่ในบ้านมีแนวโน้มเกิด “ภาวะเนือยนิ่ง” คือมีความรู้สึกห่อ เหี่ยว หดหู่ จึงมีกิจกรรมทางสังคมที่จัดขึ้นให้สมาชิกในตำบลร่วมเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพื่อกระตุ้น ให้ผู้สูงอายุออกมาร่วมกิจกรรม ได้พบปะคนอื่น ๆ เกิดความสุขและเห็นคุณค่าในตนเอง โดยกิจกรรมที่จัดขึ้น แบ่งเป็น 1. กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เช่น กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมตามประเพณีท้องถิ่น และศาสนา กิจกรรมออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค เต้นบาสโลบ กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมตรวจสุขภาพ รวมถึง กิจกรรมนันทนาการศึกษาดูงาน 2. กิจกรรมก่อให้เกิดรายได้เช่น กิจกรรมให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ กิจกรรมรวมกลุ่ม อาชีพ เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีรูปแบบที่หลายหลายกว่า โดยผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทาง สังคมนอกจากจะเป็นการสร้างความสามัคคีในกลุ่มผู้สูงอายุในตำบล ผู้สูงอายุเองต้องการพัฒนาศักยภาพของ ตน ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันผ่านการพบปะพูดคุยเรื่องในเรื่องที่มีความสนใจตรงกัน ซึ่งการ ที่ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมทางสังคมนั้นทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 12 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ข้อจำกัดในการร่วมกิจกรรมทางสังคม ข้อจำกัดที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เกิดจากการไม่ชอบเข้าสังคม เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ปัญหาด้านสุขภาพ ความพิการ รวมไปถึงผู้ป่วยติดเตียง และการเดินทาง ที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถเดินทางได้ด้วยตนเองหรือไม่มีคนรับ-ส่ง แม้ว่าเทศบาลตำบลดอนยายหอมจะมีบริการ รับ-ส่ง ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแต่ก็ยังคงพบว่าผู้สูงอายุไม่เข้าร่วมกิจกรรมเท่าที่ควร
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 13 บทที่ 3 ความรู้ในการพัฒนา SMART DATA การขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ได้นำเอาแนวคิดมาใช้ในการ ดำเนินการ จำนวน 3 แนวคิดด้วยกัน ได้แก่ 3.1 แนวคิดกิจกรรม 3.2 แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ 3.3 ทฤษฎีโปรแกรม 3.4 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.1 แนวคิดกิจกรรม Robert J.Havighurst(1953 อ้างถึงใน เพชร์ อ่ำจิ๋ว, 2563) ได้อธิบายถึงสถานภาพทางสังคม ของผู้สูงอายุซึ่งเน้นความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ กล่าวคือ เมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นสถานภาพและบทบาททางสังคมจะลดลง แต่บุคคลยังมีความต้องการทาง สังคมเหมือนบุคคลในวัยกลางคนทฤษฎีนี้ เชื่อว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความสุข และการมีชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับวัยผู้ใหญ่และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองสนได้ สำหรับกิจกรรมตามแนวคิดนี้ หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆนอกเหนือจากกิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติต่อตนเอง นั่นคือกิจกรรมที่บุคคลปฏิบัติต่อเพื่อนฝูง ต่อสังคม หรือชุมชนซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุปฏิบัติจะทำให้รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อ สังคม Eliopoulos (1992: 20 อ้างถึงใน มธุรส จันทร์แสงศรี, 2540) ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า การคงไว้ ซึ่งกิจกรรมที่ทำในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อชดเชยความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขี้นจาก กระบวนการ สูงอายุ เช่น การหางานใหม่ทำแทนงานเก่าที่ปลดเกษียณ การหาเพื่อนใหม่ทด แทนเพื่อนเก่าที่เสียชีวิตไป Burnside (1988: 94 อ้างถึงใน มธุรส จันทร์แสงศรี, 2540) ได้ให้แนวคิดของทฤษฎีกิจกรรม ไว้ 3 ประการ คือ 1) ผู้สูงอายุที่ปกติส่วนใหญ่แล้ว จะคงไว้ซึ่งการมีกิจกรรมในระดับสูง 2) ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติกิจกรรมมาก ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตใน อดีต และ ภาวะเศรษฐกิจสังคม มากกว่าสิ่งที่อยู่ภายใน หรือกระบวนการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 3) การคงไว้ซี่งกิจกรรมทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เขมิกา ยามะรัต (2527: 20 อ้างถึงใน มธุรส จันทร์แสงศรี, 2540) ซึ่งศึกษาความพึงพอใจใน ชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมีกิจกรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่ง ได้แบ่งกิจกรรมเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ 1) การมีส่วนร่วมทางสังคม (Social participation) หมายถึงการที่ผู้สูงอายุเข้า ไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมต่าง ๆ กับองค์กรที่ตนเป็นสมาชิก โดยแบ่งเป็นการมีส่วนร่วมทางสังคมภายในครอบครัว ภายนอก ครอบครัว และสมาคมต่าง ๆ ที่ตนเป็นสมาชิก
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 14 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 2) การมีงานอดิเรก (Hobby) หมายถึงกิจกรรมในเวลาว่าง อาจเป็นการพักผ่อนหรือกิจกรรม ที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้โดยลำพัง 3) การทำงานที่มีรายได้ (Work) หมายถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ งานชั่วคราว หรืองานพิเศษต่าง ๆ กชกร สังขชาติ (2526: 3 4 -4 5 อ้างถึงใน มธุรส จันทร์แสงศรี, 2540) ได้แบ่งกิจกรรมใน ยามว่างที่เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุเป็น 6 อย่าง คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทันกับเหตุการณ์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้อื่นในการสนทนา 2) กิจกรรมนันทนาการ จะทำให้ชีวิตสดชื้น ท้าทาย กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิด ได้ พบปะกับคนอื่น ๆ ได้แลกเปลี่ยนความสนใจซึ่งกันและกัน ทำให้ชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า 3) กิจกรรมบริการผู้อื่น เป็นการเสียสละทำสิงที่เป็นประโยชน์แกสังคม เช่น การให้ค่าแนะนำ ปรึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อื่น การเป็นอาสาสมัครทำงานในองค์การกุศลต่าง ๆ การเข้าร่วมในชมรมสมาคม บำเพ็ญประโยชน์ การเข้าร่วมกลุ่มการเมือง กลุ่มอนุรักษ์สิงแวดล้อม 4) กิจกรรมด้านการทำงานที่ได้รับเงินตอบแทน โดยการดำเนินธุรกิจของตนเอง ทำงานตาม ความรู้ความข้านาญในวิชาชีพของตนเอง หรืองานอดิเรกที่มีรายได้ เช่น ทำขนม การเลี้ยงดอกไม้ ตกแต่งด้นไม้ 5) กิจกรรมดำเนินธุรกิจนละลงทุน เนินการทำธุรกิจหรือลงทุนเพื่อ'ให้ได้กำไร เน้นการตอบ แทนอย่างจริงจัง ซึ่งกิจกรรมนี้ผู้ประกอบกิจกรรมต้องมีความรู้พนฐาน เงินทุน การบริหารจัดการ 6) กิจกรรมงานอดิเรก ทำเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์กีฬา บรรลุ คีริพานิช (2533: 39 อ้างถึงใน มธุรส จันทร์แสงศรี, 2540) กล่าวว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ หรือเกษียณอายุงานแล้ว เวลาว่างหาได้ง่ายและมีมาก กิจกรรมในยามว่าง กิจกรรมนันทนาการ หรือการเรียนรู้ สิ่งใหม่ หรือการให้บริการผู้อื่นจะนำความพึงพอใจมาให้ ทำให้มีชีวิตชีวาและมีความหมาย กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีกิจกรรม เป็นทฤษฎีเน้นถึงกิจกรรมว่ามีความจำเป็นสำหรับคนทุกวัย และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะการมีบทบาททางสังคมที่ดีของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับสมรรถนะทางร่างกาย ทัศนะเกี่ยวกับตนเองและสังคม นอกจากนั้น ทฤษฎีกิจกรรมยืนยันว่าผู้สูงอายุที่สามารถดำรงกิจกรรมทางสังคมไว้ ได้จะมีความพึงพอใจในชีวิตสูง ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะเป็นงานอดิเรก การเป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมต่าง ๆ หรือ ทำงานที่มีรายได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีการปฏิบัติกิจกรรมต่อไป และเน้นกิจกรรมที่ เหมาะสมตามสภาพร่างกาย เป็นไปตามความต้องการของผู้สูงอายุเอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุยังคงมีบทบาทและ สถานภาพทางสังคม สามารถดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณค่าตราบจนวันสุดท้าย 3.2 แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ แนวคิดและหลักการของการสร้างเสริมสุขภาพอยู่บนฐานคิดที่ให้ความสำคัญกับบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลที่สามารถบ่งบอกและตระหนักถึงความปรารถนาของตนเองได้ และสามารถสนองความต้องการของ ตนเอง และสามารถปรับตนเองกับสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ คณะทำงานขององค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 15 ได้ก่อตั้งชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาพขึ้นในปี พ.ศ.2521 และได้พัฒนาหลักการการสร้างเสริมสุขภาพมี รายละเอียด 5 ด้านดังนี้ 1) การสร้างเสริมสุขภาพที่ปฏิบัติการโดยตรงต่อตัวกำหนดหรือเงื่อนไขที่หลากหลายที่ส่งผล ต่อสุขภาพ 2) การสร้างเสริมสุขภาพที่ปฏิบัติการโดยตรงต่อตัวกำหนดหรือเงื่อนไขที่หลากหลายที่ส่งผล ต่อสุขภาพ 3) การสร้างเสริมสุขภาพมีวิธีการและการทำงานร่วมกันแบบหลากหลายประกอบ ด้วยหลายมาตรการ คือ การสื่อสาร การศึกษา กฎหมาย มาตรการคลัง การเปลี่ยนแปลงองค์กร การพัฒนา ชุมชน และกิจกรรมระดับท้องถิ่นที่จะขจัดภัยคุกคามต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 4) การสร้างเสริมสุขภาพมุ่งหมายที่การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ 5) นักวิชาชีพ (โดยเฉพาะในงานสาธารณสุขมูลฐาน) มีบทบาทสำคัญในการหนุนช่วยและเพิ่ม ความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพ Walker, Sechrist and Pender (1995) กล่าวถึงลักษณะของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อ สร้างแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคล โดยระบุว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดนี้ ประกอบด้วยพฤติกรรม 6 ด้าน ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ Pender (1996: 66-73) ดังนี้ 1) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลมีความสนใจ เอาใจใส่ต่อภาวะสุขภาพของตนเอง โดยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดี มีการสังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกายและไปรับการตรวจสุขภาพเมื่อมีอาการผิดปกติ ตลอดจนขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากบุคลากรด้านสุขภาพ ได้แก่ แพทย์หรือพยาบาล เมื่อมีข้อสังเกต เกี่ยวกับสุขภาพ 2) โภชนาการ (nutrition) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย 3) การทำกิจกรรมทางกาย (physical activity) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลปฏิบัติโดยให้มีการ เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงาน ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ซึ่งเป็นการ ออกกำลังกาย เช่น การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์ การทำงานบ้าน เป็นต้น 4) การจัดการความเครียด (stress management) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงวิธีการจัดการ กับความเครียดของบุคคลในภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม การพักผ่อน นอนหลับ การผ่อนคลาย การกระทำกิจกรรมที่คลายเครียด หรือการกระทำกิจกรรมที่ขจัดความเมื่อยล้าของ ร่างกาย 5) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal relations) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงถึง การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีการให้และการรับ ยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีการปรึกษาหารือและ ร่วมกันแก้ไขปัญหา
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 16 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 6) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ (spiritual growth) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงถึงการมีความ เชื่อที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตที่ดี มีจุดมุ่งหมายในชีวิต มีความรักและความจริงใจต่อบุคคลอื่น มีความสงบและ พึงพอใจในชีวิต สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลอื่นให้ประสบความสำเร็จ เป็นความสามารถในการพัฒนา ศักยภาพทางด้านจิตวิญญาณ สรุปได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการในการเพิ่มความสามารถให้บุคคลเพื่อให้ สามารถควบคุมและยกระดับสุขภาพ เพื่อไปสู่ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา โดยที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลต้องสามารถที่จะกำหนดแรงจูงใจ และสามารถที่จะบรรลุความต้องการและความคาดหวังของ ตนเองได้ สามารถที่จะปรับตัวหรือตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนให้คนในชุมชนมีศักยภาพที่สามารถ ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดีหรือสามารถปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น ผ่านกิจกรรม ต่าง ๆ ทั้ง ทางสังคม การศึกษา นันทนาการ ซึ่งต้องเข้าใจและรับรู้ปัญหา ความต้องการของชุมชนนั้นๆ ก่อน 3.3 ทฤษฎีโปรแกรม ทฤษฎีโปรแกรม (Program Theory) หมายถึง ชุดของข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการ ดำเนินการในโปรแกรมซึ่งทำให้สังคมได้ประโยชน์โดยการสร้างกลยุทธ์ ในการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องมีการประเมินความต้องการ (Need Assessment) ดังนี้ ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการ (Step of Analysis Need) 1) การบ่งชี้ของผู้ใช้หรือชุมชนในการใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการควรเกิดจากผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงถึงสิ่งที่เขาได้รับผลกระทบใน การดำเนินชีวิตว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้นักประเมินสามารถเจาะจงไปที่ปัญหาแท้จริงได้รวมทั้งการวิเคราะห์ ข้อจำกัดและข้อท้าทายของสิ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย 2) การอธิบายพรรณนากลุ่มเป้าหมายและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง สภาพทางภูมิศาสตร์ของชุมชน การคมนาคมขนส่ง คุณลักษณะของประชากร จุดแข็งจุดอ่อนของประชากร ช่องว่างการบริการที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเปรียบเทียบระหว่างผลกระทบในการ ดำเนินชีวิตของผู้ใช้ หรือคนในชุมชนกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำให้เราเห็น Unmet need or barriers 3) การบ่งชี้ความต้องการ การกำหนดว่าอะไรคือความต้องการหรือผลลัพธ์ที่คาดหวังอยากจะให้เกิดขึ้นเพื่อให้ ปัญหาถูกแก้ไข ในขั้นตอนนี้นิยมใช้ตัวชี้วัดทางสังคม การสำรวจข้อมูล การประชุมชุมชน การสังเกต เป็นต้น 4) การประเมินความต้องการ เมื่อปัญหาและทางออกในการแก้ไขถูกระบุชัดเจน การศึกษาเชิงปริมาณและความ คุณภาพมาใช้เพื่อประเมินว่าความต้องการดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการที่เป็นไปตามหลักวิธีการ Social Research หรือไม่ ซึ่งนำไปสู่การยอมรับและการดำเนินงาน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 17 5) การสื่อสาร ผลจากการประเมินและวิเคราะห์ความต้องการมีการสื่องสารไปยังผู้มีอำนาจ ในการตัดสินใจ ชุมชน และคนนอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในประเด็นนี้ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ร่วมกันอย่าง เท่าเทียม (Need Analysis) สรุปได้ว่า ทฤษฎีโปรแกรมเป็นชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยใช้กลยุทธ มีการ กำหนดเป้าหมายหรือเป้าประสงค์ ผ่านการวิเคราะห์ความต้องการ บริบท สถานการณ์ ของบุคคล ชุมชน หรือ สังคม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย แผนงาน 3.4 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 (2564) ได้ทำการศึกษาเรื่อง รูปแบบ ที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณี ในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาข้อมูล สถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาในการดำรงชีวิต และความต้องการบริการทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาระ เลี้ยงดูครอบครัว 2. เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระ เลี้ยงดูครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูจำนวน 1 คน ส่วนใหญ่เป็นบุตร (บุตรสาว/ บุตรชาย/ บุตรเขย/ บุตรสะใภ้) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องเป็นผู้ที่มี ภาระในการเลี้ยงดูครอบครัว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในความดูแลไม่มีอาชีพ/ รายได้ ปัจจุบันมีแหล่งที่มาของ รายได้หลักจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รายได้บุคคลและรายได้ครัวเรือนต่อเดือน น้อยกว่า 3,000 บาท มี รายจ่ายบุคคลต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท ส่วนรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 3,000 – 6,000 บาท มี หนี้สินบุคคลและหนี้สินครัวเรือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป 2) ระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของ ผู้สูงอายุในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย ส่วนระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของผู้ที่อยู่ในความ ดูแลของผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย เช่นเดียวกัน 3) การเข้าถึงบริการทางสังคมและ บริการด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการด้าน อื่น ๆ ได้ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 79.2) สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลที่สามารถเข้าถึงบริการ ทางสังคม จำแนกได้เป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เข้าถึงบริการจากโรงพยาบาล/ รพ.สต. มากที่สุด ใน ด้านการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 59.0) ภาคประชาชน/ ภาคประชาสังคม เข้าถึงบริการจากเพื่อนบ้าน/ คนในชุมชน มากที่สุด ในด้านการให้คำปรึกษา และข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 43.8) ส่วนภาคเอกชน ไม่ได้ รับความช่วยเหลือจากบริษัท/ ห้างร้าน (ร้อยละ 59.5) 4) ความต้องการที่จะได้รับบริการทางสังคม ใน ภาพรวมมีความต้องการระดับน้อย โดยด้านที่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านบริการทางสังคมทั่วไป โดยผู้สูงอายุมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะม ากที่สุด สำหรับผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการความสะดวกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐมากที่สุด
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 18 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 5) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านรายได้และการมีงานทำ ส่งเสริมการ Upskill/Reskill ทางด้านอาชีพ, จัดบริการ Day Care 2. ด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมการดูแลสุขภาพทุกช่วงวัยอย่างมีระบบและยั่งยืน 3. ด้านการศึกษา/การ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร สร้างแหล่งเรียนรู้และช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลาย 4. ด้านที่อยู่อาศัย มีแผนชุมชน เรื่องบ้านมั่นคงและพื้นที่ปลอดภัยรองรับสังคมสูงวัย 5. ด้านนันทนาการ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้าน อาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ 6. ด้านกระบวนการยุติธรรม สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง สร้างศูนย์ให้ ความช่วยเหลือในชุมชน 7. ด้านบริการทางสังคมทั่วไป เสริมสร้างการรับรู้สิทธิ และสร้างนักเฝ้าระวังภัย ในชุมชน รองศาสตราจารย์ ดร.อำไพรัตน์ อักษรพรหม และคณะ (พ.ศ. 2562) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสามารถพึ่งพาตนเองทางการเงินและความต้องการฐานคุ้มครองทางสังคมของครอบครัวลำพัง ผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่น วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความสามารถในการพึ่งพาตนเองทาง การเงินและความต้องการฐานคุ้มครองทางสังคม 2) ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดสวัสดิการสังคมแก่ ผู้สูงอายุและเด็กของภาคีเครือข่ายในชุมชน ค้นหาทุนทางสังคมในชุมชนที่สามารถคุ้มครองทางสังคม และ 3) ให้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายและมาตรการทางสังคมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวลำพังผู้สูงอายุ และครอบครัวข้ามรุ่น ผลวิจัยพบว่า 1) ครอบครัวลำพังผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่น มีแหล่งรายได้ 3 ทาง ได้แก่ เงินจากการทำงานของผู้สูงอายุ เงินสวัสดิการภาครัฐ และเงินจากลูกหลานหรือพี่น้อง ครอบครัวลำพัง ผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่นที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 29.73 และ 37.04 ครอบครัวที่ มีรายจ่ายเกินกว่ารายรับมากที่สุด เป็นเงิน 3,410 และ 10,500 บาท ตามลำดับ วิธีบริหารการเงิน ได้แก่ ใช้ จ่ายเท่าที่มีรายได้ ใช้อย่างประหยัดตามความจำเป็น นำเงินเก็บสะสมไว้ก่อนวัยเกษียณทยอยออกมาใช้จ่าย และการปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ครอบครัวลำพังผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุน ฌาปนกิจสงเคราะห์ และกองทุนออมวันละบาท และไม่มีภาระหนี้สิน ครอบครัวข้ามรุ่นทุกครอบครัวเป็น สมาชิกกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ และกองทุนออมวันละบาท ส่วนน้อยที่ออมเพิ่มเติมกับธนาคารของรัฐเพื่อ การกู้ยืม ความต้องการฐานคุ้มครองทางสังคม ได้แก่บริการสังคม ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ และ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และ 2) ภาคีเครือข่ายการคุ้มครองทางสังคมในทุกพื้นที่เป้าหมายไม่มีการ จัดโครงการหรือกิจกรรมเฉพาะแก่ครอบครัวลำพังผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่น ครอบครัวทั้ง 2 ลักษณะที่ พึ่งพาตนเองได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนจัด เช่นเดียวกับ ครอบครัวทั่วไปครอบครัวที่ยากลำบากได้รับบริการสังคมเพิ่มเติมเป็นพิเศษ การจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ และเด็กของชุมชน มีปัจจัยหลักที่เอื้อ คือ อาสาสมัครหรือจิตอาสา และ ความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่ ความยากลำบากเกิดจากการขาดข้อมูลครอบครัวในชุมชน มีปัญหาจากการเบิกจ่ายงบประมาณตามระเบียบ กระทรวงการคลัง จำนวนอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุลดลง และญาติไม่ร่วมมือดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ทุน ทางสังคมในชุมชน ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มอาชีพที่มีความริเริ่มและเสียสละ กิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นโอกาสที่ ผู้สูงอายุได้รวมกลุ่มหารายได้ ภูมิปัญญาของคนในชุมชนประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ วัดเป็น
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 19 ที่พักพิงของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง พื้นที่ป่าเป็นแหล่งอาหารและหารายได้ คนในชุมชนเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันดุจ เป็นเครือญาติ และกองทุนการออมในชุมชน 3) ผลการระดมสมองได้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายและมาตรการ ทางสังคมที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวลำพังผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่น ที่จัดทำตามหลักการของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ฐานข้อมูลครอบครัวของชุมชนประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เสริมความสามารถ พึ่งพาตนเองทางการเงิน และยุทธศาสตร์เติมเต็มความคุ้มครองทางสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย และรองศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ(พ.ศ. 2560) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาเครือข่าย และประเมิน เครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน และผู้ให้บริการ จำนวน 45 คน ในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สระแก้ว และจังหวัดตราด เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาผลการวิจัย การศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน กลุ่มอาสาสมัคร และวัด กิจกรรมที่มีจะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสนับสนุนทางสังคมและ การมีส่วนร่วม เมื่อวัดผลผู้สูงอายุในด้านการรับรู้คุณค่าในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า คะแนนเฉลี่ย การรับรู้คุณค่าในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่า ดีขึ้นและมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และในผู้ให้บริการ การรับรู้คุณค่าในตนเอง และการรับรู้ พลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณค่าในตนเอง และการรับรู้พลังอำนาจ ระหว่างก่อนการทดลองและหลัง การทดลอง พบว่า ดีขึ้น และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการประเมินเครือข่าย ทางสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า กระบวนการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมที่ใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสนับสนุนทางสังคมและการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งที่ทำให้เครือข่ายเกิดการขยายเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ มีการ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายที่เป็น ประโยชน์การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ และควร ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง วิลาสินี โยธิการ ได้ทำการศึกษาเรื่อง กิจกรรมเสริมคุณค่าและความสุขให้ผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กับผู้สูงอายุหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุพื้นที่ศึกษา คือ โรงเรียนผู้สูงอายุ ที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจัดขึ้น 5 แห่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ที่ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์กลุ่มบุคลากรโรงเรียนผู้สูงอายุที่ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ใช้การสนทนากลุ่ม และ 3) แบบสอบถามกลุ่มผู้สูงอายุ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 20 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการแบบจำเพาะเจาะจงผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุมี กระบวนการในการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ 1) การจัดทำหลักสูตรการเรียน จะอ้างอิงหมวดวิชาต่างๆ ใน คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านชีวิตและสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญา ด้านนันทนาการ และด้านเศรษฐกิจ โดยปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและ ทรัพยากรในพื้นที่ 2) การคัดเลือกผู้สอน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้สอน/วิทยากรความสะดวกใน การติดต่อประสานงาน และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาที่กำหนดได้ 3) การดำเนินการสอน จะเน้น การรวมกลุ่มของผู้สูงอายุเพื่อมาพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุ ได้ใช้ศักยภาพ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และ 4) การประเมินผล ยังไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ บริบท ซึ่งวิธีการประเมินผลเป็นภาคปฏิบัติ เช่น การสนทนา การแสดงออกของผู้สูงอายุ หรือเป็นการประเมิน โดยใช้แบบสอบถาม/แบบทดสอบ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโรงเรียนมาจาก 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยจากผู้สูงอายุ ได้แก่ ความพร้อมของผู้สูงอายุด้านร่างกายและจิตใจ การเดินทาง การติดภารกิจส่วนตัว การสื่อสารและการปรับตัวของผู้สูงอายุ 2) ปัจจัยจากโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ งบประมาณ สถานที่ตั้ง ความพร้อมของอาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียน การประชาสัมพันธ์และบุคลากรที่ไม่เพียงพอในการ ขับเคลื่อนงาน และ 3) ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ ข้อจำกัดทางศาสนา การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่และชุมชนในการจัดกิจกรรมทั้งการตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผลของโรงเรียน ผู้สูงอายุหลังจากผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุแล้ว มีผลเปลี่ยนแปลงให้ผู้สูงอายุเห็น คุณค่าตนเองในระดับมาก และมีความสุขโดยรวมทางกายจิตใจ สังคม และปัญญาในระดับมากเช่นกัน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 21 บทที่ 4 กิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA กิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA นั้น เป็นการจัดเก็บข้อมูลด้านสังคม ของผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งคำถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จะเป็นคำถามที่เกิดจากกระบวนการออกแบบร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกพื้นที่ ที่ปฏิบัติงานด้านสังคมและงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้แทนของผู้สูงอายุตำบล ดอนยายหอม เพื่อการสะท้อนข้อมูลด้านสังคมของผู้สูงอายุได้ตรงกับบริบทของพื้นที่โดยเฉพาะ นอกจากนี้การ จัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะ ยังประกอบไปด้วยการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเนื่องจากความสัมพันธ์กับช่วง วัยของผู้สูงอายุโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมักแสดงพฤติกรรม จากความจำ คำนวณ ตัดสินใจ จินตนาการ และภาษาบางอย่างออกมาผิดปกติ เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้น บุคลิกภาพจะเปลี่ยนไป และความแข็งแรงโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะถดถอยลงตามช่วงวัย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในผู้สูงอายุ ส่งผลให้รู้สึกอ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เป็นสาเหตุที่ทำให้พลัดตก หกล้มได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในที่สุด การดำเนินกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม จะ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 4.1 SMART DATA Team SMART DATA Team เกิดขึ้นจากการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทั้งภายใน และ ภายนอกพื้นที่ตำบลดอนยายหอม โดยได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Lab) ตำบลดอนยายหอม เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง SMART DATA Team ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ - เทศบาลตำบลดอนยายหอม - องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม - ผู้แทนผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยายหอม - มหาวิทยาลัยคริสเตียน - มหาวิทยาลัยศิลปากร - หน่วยงาน พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) จังหวัดนครปฐม
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 22 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 4.2 เครื่องมือข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA เครื่องมือข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ (SMART DATA) ซึ่งได้ถูกออกแบบและคัดเลือกผ่านการ ประชุมร่วมกันระหว่าง SMART DATA Team ประกอบด้วย 4 เครื่องมือ ได้แก่ 4.2.1 แบบเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ แบบเก็บข้อมูลทางสังคมที่ SMART DATA Team ร่วมกันออกแบบให้มีความ เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อทราบถึงปัญหา ความต้องการ ข้อจำกัด รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 การประเมินทางสังคม 1. สถานการณ์การอยู่อาศัย 2. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม 3. ผลกระทบทางสังคม 4.2.2 แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) คัดกรองภาวะสมองเสื่องในผู้สูงอายุเบื้องต้นด้วยการวาดภาพหน้าปัดนาฬิกา สะท้อน การทำงานของสมองอย่างเป็นระบบ หูฟังคำสั่ง สมองคิดประมวลผล สั่งการร่างกายให้วาดภาพตามโจทย์ด้วย การระลึกความจำถึงหน้าปัดนาฬิกา 4.2.3 โปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) ตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกาย โปรแกรมการตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดจากความไม่สมดุลของโครงสร้างของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่จะก่อให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหว ของผู้สูงอายุได้ในอนาคต 4.2.4 อุปกรณ์กิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยการกระตุ้นและพัฒนาปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้ การรับรู้การสั่งงานของสมอง ประสานความสัมพันธ์กับระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการกระตุ้น การเคลื่อนไหวของร่างกาย พัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวาไปพร้อมกับการบริหารกล้ามเนื้อ ขา น่อง สะโพก
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 23 บทที่ 5 กระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA 5.1 แผนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA การขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART : DATA ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม ดำเนินการในระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 มีรายละเอียด ดังนี้ ขั้นตอนการดำเนินงาน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. 1. คัดเลือกพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) 2. กำหนดประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายและ One Home 3. รวมรวบผลงานวิชาการด้านการพัฒนา สังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เพื่อจัดทำ Model 4. นำเสนอ Model ในการขับเคลื่อนด้านการ พัฒนาสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 5. พัฒนาศักยภาพบุคลกร เพื่อขับเคลื่อน พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) 6. ปรับปรุง Model เพื่อนำไปทดลองใช้ใน พื้นที่ตำบลดอนยายหอม 7. ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลทางสังคม ผู้สูงอายุตามบริบทและกิจกรรมการจัดเก็บ ข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม 8. จัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมผ่าน กิจกรรมฐานเก็บข้อมูลทางสังคม 9. ออกแบบแนวทางการจัดกิจกรรมที่ เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม พร้อมติดตามประเมินผล รับฟังข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Lab)
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 24 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 5.2 ขั้นตอนการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 5.2.1 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่เทศบาล ตำบลดอนยายหอม เนื่องจาก เทศบาลตำบลดอนยายหอมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เทศบาลตำบล ดอนยายหอมมีประชากรสูงอายุ จำนวน 1,510 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ในเทศบาลตำบลดอนยายหอมทั้งสิ้น 6,472 คน อีกทั้ง เทศบาลตำบลตำบลดอนยายหอมเป็นพื้นที่ดำเนิน กิจกรรมการบูรณาการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ใน ปีงบประมาณ 2564 – 2565 เป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนในตำบล หน่วยงาน พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) มีการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 5.2.2 การประชุมหารือขับเคลื่อนงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตำบลดอนยาย หอมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และหารือแนว ทางการขับเคลื่อน โครงการขับเคลื่อนพื้นที่ ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ซึ่งในการ ประชุมดังกล่าว พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลดอนยายหอม ได้แก่ รายได้ไม่ เพียงพอต่อการดำรงชีพ ที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม และขาดข้อมูลผู้สูงอายุที่จะนำไปใช้ในการวางแผน จัดสวัสดิการ ร่วมกับเทศบาลตำบลดอนยายหอม และหน่วยงาน One Home จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ณ เทศบาลตำบลดอนยายหอม จากปัญหาที่พบของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบล ดอนยายหอม สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จึงได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและ ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ โดยการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดู ครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 3 2) ความสามารถพึ่งพาตนเองทางการเงินและความต้องการฐานคุ้มครอง ทางสังคมของครอบครัวลำพังผู้สูงอายุและครอบครัวข้ามรุ่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อำไพรัตน์ อักษร พรหม และคณะ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 25 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีปัญหาและ ความต้องการเกี่ยวกับรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ที่ อยู่อาศัยไม่เหมาะสม และขาดข้อมูลผู้สูงอายุที่จะนำไปใช้ ในการวางแผนจัดสวัสดิการ จึงได้เกิดแนวคิดในการ พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการพัฒนาต่อยอด กิจกรรมเดิมที่พื้นที่ดำเนินการอยู่แล้ว ส่งเสริมให้เกิด กิจกรรมใหม่ นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเทศบาลตำบลดอนยายหอมนั้นได้ขับเคลื่อนงาน ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง จึงมีศักยภาพและทุนทางสังคมจากหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายภายในและภายนอก พื้นที่รวมดำเนินการ อาทิ เทศบาลตำบลดอนยายหอม ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลดอนยายหอม ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนเทศบาลตำบลดอนยายหอม มหาวิทยาลัยคริสเตียน และหน่วยงาน พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) นำทุนและศักยภาพจากหน่วยงานภายในและภายนอกมาร่วมดำเนินการ 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาศักยภาพ พัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบบริการ จัดสวัสดิการกองทุน และพัฒนา ฐานข้อมูลและบริการ 5.2.3 การขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Lab) แบบมีส่วนร่วมเพื่อ ค้นหาแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรมในการ แก้ไขปัญหาทางสังคมที่เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย ได้ดำเนินการนำเสนอ (ร่าง) Model : การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในระดับ พื้นที่เทศบาลตำบลดอนยายหอมให้กับ กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุจากเทศบาลตำบล ดอนยายหอม เพื่อร่วมพิจารณาให้ความเห็น ในการนำ (ร่าง) Model ดังกล่าวมาใช้ในการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) พบว่า ผู้สูงอายุให้ความสนใจ (ร่าง) Model ดังกล่าว และได้รับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้สูงอายุ เนื่องจากเทศบาล เคยจัดกิจกรรมในลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น กิจกรรมฝึกอาชีพ โดยผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการทำ กิจกรรมร่วมกันมากกว่าที่จะนำไปต่อยอดสร้างรายได้ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ เทศบาลตำบล ดอนยายหอม 5.2.4 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลกร สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 3 เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เทศบาลตำบลดอนยายหอมอย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งได้พัฒนากิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 26 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ทางสังคมของผู้สูงอายุให้ตรงตามบริบทพื้นที่ ดำเนินการออกแบบขั้นตอน วิธีการ แบบสอบถาม เพื่อใช้ในการ จัดเก็บข้อมูลทางสังคมโดยตรงผ่านกิจกรรมการเก็บข้อมูลในรูปแบบรูปแบบของฐานกิจกรรมการเก็บข้อมูล ทางสังคม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 5.2.5 การหารือร่วมกับนายกเทศมนตรี ตำบลดอนยายหอมและเจ้าหน้าที่ เพื่อกำหนดแผน ดำเนินงานการขับเคลื่อนกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุ อัจฉริยะ : SMART DATA โดยเทศบาลตำบลดอนยาย หอมเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ จึงมีความเห็นว่าในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม นั้นจะเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมควรจะดำเนินการ ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนยายหอมทั้ง 9 หมู่บ้าน จึง ได้เสนอแนวทางการขยายพื้นที่ดำเนินการ โดยร่วมบูรณาการกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม ใน การดำเนินการดังกล่าว ซึ่งนายกเทศมนตรีตำบลดอนยายหอมและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลดอนยายหอม ได้ ดำเนินการประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม พร้อมกันนี้ได้ประสานไปยังมหาวิทยาลัย คริสเตียน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอมเข้าร่วมบูรณาการ เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 ณ เทศบาล ตำบลดอนยายหอม 5.2.6 การหารือร่วมกับองค์การบริหารส่วน ตำบลดอนยายหอม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ในการ ขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ใน พื้นที่ตำบลดอนยายหอม โดยใช้Model ข้อมูผู้สูงอายุ อัจฉริยะ: SMART DATA ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนยายหอม เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับ ผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลไปสู่การวางแผนการพัฒนา บริการที่เหมาะสมต่อไป เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 27 5.2. 7 การประชุมเชิง ปฏิบัติการออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลทาง สังคมผู้สูงอายุตามบริบทและกิจกรรมการ จัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เพื่อ ขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม โดยเกิด การบูรณาการร่วมกันพร้อมจัดตั้ง SMART DATA Team ระหว่างหน่วยงานภายในพื้นที่ ตำบลดอนยายหอม ได้แก่ เทศบาลตำบลดอน ยายหอม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนยายหอม มหาวิทยาลัยคริสเตียน รวมถึงตัวแทนผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม และหน่วยงานภายนอกพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร หน่วยงานทีม พม. จังหวัดนครปฐม (One Home) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลดอนยายหอม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพัชร สโรบล จากคณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิทยากร
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 28 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 5.2.8 การประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรม ฐานเก็บข้อมูลทางสังคม เพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ ด้านสังคมและสุขภาพ วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลดอนยายหอม โดยมี ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพัชร สโรบล จากคณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น วิทยากร 5.2.9 การประชุมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อออกแบบแนวทางการจัดกิจกรรม ที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม พร้อมติดตามประเมินผล รับฟังข้อเสนอแนะในการ ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ร่วมกับ SMART DATA Team วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลดอนยายหอม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐพัชร สโรบล จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นวิทยากร
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 29 5.3 กระบวนการกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมผ่าน กิจกรรมฐานเก็บข้อมูลทางสังคม โดยนำทฤษฎีโปรแกรมเข้ามาใช้ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ตำบลดอนยายหอม จำนวน 29 คน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 30 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 1) ลงทะเบียนและรับป้ายชื่อคล้องคอ เจ้าหน้าที่ SMART DATA Team และผู้สูงอายุ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและได้รับ ป้ายชื่อคล้องคอ ซึ่งป้ายชื่อคล้องคอของเจ้าหน้าที่จะมีการระบุชื่อและหน่วยงานที่สังกัด เพื่ออำนวยความ สะดวกให้กับผู้สูงอายุทั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละฐาน รวมไปถึงการสอบถามข้อมูล ป้ายชื่อคล้องคอสำหรับผู้สูงอายุนั้นจะมีสีสันแตกต่างกันซึ่งไม่มีนัยยะในการแบ่งสีเพียงแต่ให้ ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเลือกสีที่ตนต้องการ โดยบนแผ่นป้ายจะมีการระบุรหัสประจำตัวของผู้สูงอายุเรียงลำดับ ตามการลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจะไปสอดคล้องกับข้อมูลใน แบบเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตาม บริบทพื้นที่และ แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) ที่จะมีการระบุรหัส ประจำตัวเช่นเดียวกัน เนื่องจากต้องการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และในป้ายชื่อคล้องคอมีช่องให้ทำ เครื่องหมายการผ่านฐานกิจกรรมทั้ง 4 ฐาน ซึ่งมีการสร้างแรงจูงใจ ความท้าทายและความสนุกสนานใน การร่วมกิจกรรมแต่ละฐาน โดยผู้ที่สามารถผ่านฐานกิจกรรมเร็วที่สุด 10 คนแรกจะได้รับรางวัลพิเศษ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 31 2) กิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ก่อนเริ่มกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ได้มีพิธีเปิดและการชี้แจง กิจกรรมแต่ละฐานให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทราบ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรม
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 32 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ฐานที่ 1 แบบเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ “แบบเก็บ ข้อมูลทางสังคมตามบริบทพื้นที่ตำบลดอนยายหอม” ผ่านการออกแบบร่วมกันโดย SMART DATA Team และผู้สูงอายุ เพื่อให้ตรงกับบริบทของพื้นที่มากที่สุด ซึ่งฐานนี้จะใช้การพูดคุยเพื่อบอกเล่าเรื่องราวใน ชีวิตประจำวันกับ SMART DATA Team ประจำฐาน ซึ่ง มาจากเทศบาลตำบลดอนยายหอม องค์การบริหาร ส่วนตำบยลดอนยายหอม หน่วยงานทีม พม. จังหวัด นครปฐม (One Home) “ฐานซักไซ้ไล่เลียง” ชื่อฐานที่ผู้สูงอายุใช้เรียก จากการที่เจ้าหน้าที่ใช้วิธีการชักชวน ให้พูดคุยเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แทนการอ่านแบบสอบถามทีละข้อ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 33 ฐานที่ 2 แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในเบื้องต้นด้วยการวาดภาพหน้าปัดนาฬิกาตามโจทย์ ที่ SMART DATA Team กำหนด เช่น เวลา 10 นาฬิกา 10 นาที, เวลา 21 นาฬิกา 25 นาที, 11 นาฬิกา 15 นาที เป็นต้น ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ต้องเป็น “หน้าปัดนาฬิกา” เพราะว่านาฬิกาประกอบด้วยรูปทรงและ สัญลักษณ์พื้นฐาน คือ วงกลม ตัวเลข และเส้นตรงหรือลูกศร ซึ่งสามารถวาดได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะทางศิลปะ อาศัยเพียงความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา โดยสามารถสะท้อนการทำงานของสมองได้อย่างเป็นระบบ หูฟังคำสั่ง สมองคิดประมวลผล แล้วสั่งการร่างกายให้วาดภาพนาฬิกาตามโจทย์มีการระลึกความจำถึงหน้าปัดนาฬิกา อย่างไรก็ดี การวาดหน้าปัดนาฬิกาเป็นเพียงแบบทดสอบคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงเท่านั้น ไม่ สามารถชี้ชัดหรือตัดสินอาการเจ็บป่วยได้ในทันที เพราะการวินิจฉัยแยกโรคมีขั้นตอนการวิเคราะห์อย่างเป็น ระบบตามหลักทางการแพทย์ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลรอบด้านอื่น ๆ ประกอบ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 34 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ฐานที่ 3 ตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายด้วยโปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) โปรแกรมตรวจโครงสร้างร่างกายยูกามิรุ(Yugamiru) เป็นโปรแกรมการตรวจวิเคราะห์ โครงสร้างร่างกายจากประเทศญี่ปุ่นโดยการถ่ายร่างกายจำนวน 3 ภาพ ประกอบด้วย ภาพยืนตรง ภาพจาก ด้านข้างลำตัว และภาพในลักษณะย่อเข่า เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากความไม่สมดุลของโครงสร้างของระบบ กระดูกและกล้ามเนื้อที่จะก่อให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุได้ในอนาคต
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 35 ฐานที่ 4 กิจกรรมนันทนาการ แนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในครัวเรือน เช่น การนำขวดน้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตร มากรอกน้ำหรือทรายเพื่อใช้เป็นดัมเบล เพื่อบริหารกล้ามเนื้อแขน และใช้ตาราง 9 ช่อง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้นและพัฒนาปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้ การรับรู้การสั่งงาน ของสมอง ประสานความสัมพันธ์กับระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย พัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวาไปพร้อมกับการบริหารกล้ามเนื้อ ขา น่อง สะโพก ไปพร้อมกัน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 36 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 5.4 การติดตามประเมินผล วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อออกแบบแนว ทางการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม พร้อมติดตาประเมินผล รับฟังข้อเสนอแนะใน การดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ร่วมกับ SMART DATA Team ณ ห้อง ประชุมเทศบาลตำบลดอนยายหอม โดยได้มีการนำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้ 5.4.1 การเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 29 คน โดยขอนำเสนอผลการเก็บข้อมูล 3 ลำดับแรกในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไป ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 24 คน (83%) ส่วน ผู้สูงอายุชายเข้าร่วมกิจกรรมเพียง 5 คน (17%) โดยมีอายุ 60-69 ปี จำนวน 17 คน (59%) อายุ 70-79 ปี จำนวน 11 คน (38%) และอายุ 80 – 89 ปี จำนวน 1 คน (3%) ในส่วนของสถานภาพนั้น พบว่า ผู้สูงอายุ อยู่ในสถานภาพสมรส จำนวน 15 คน (52%) หม้าย จำนวน 8 คน (27%) โสด จำนวน 4 คน (14%) และหย่า จำนวน 2 คน (7%) และในด้านของการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวน
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 37 18 คน (62%) ระดับปริญญาตรี 3 คน (10%) และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ระดับ ปวส. ระดับละ 2 คน (ระดับละ 7%) ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษานั้นมีจำนวน เพียง 2 คน (7%) อาชีพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ประกอบอาชีพ (41%) และเป็นแม่บ้าน (33%) ส่วนผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพส่วนใหญ่นั้นประกอบอาชีพเกษตรกร (19%) รายได้ต่อเดือน เมื่อดูในส่วนของรายได้ต่อเดือน พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำที่สุด คือ ไม่มีรายได้ (10.34%) และผู้สูงอายุมีรายได้สูงที่สุด คือ 100,000 บาท (3.45%) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นมีรายได้ 600 บาท (17.24%)
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 38 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 2) การประเมินทางสังคม การอยู่อาศัย ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับบุตรมากที่สุด (44%) ตามมาด้วยอาศัยอยู่กับ หลาน (29%) และคู่สมรส (27%) เมื่อถามถึงความสัมพันธ์ต่อคนที่อาศัยอยู่ร่วมด้วยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ดี มาก (46%) และผู้สูงอายุชอบที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลื่อนมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว (82%) ภาระในการดูแล ผู้สูงอายุในตำบลดอนยายหอมส่วนใหญ่มีภาระในการดูแล (72%) และเป็นภาระเกี่ยวกับการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบ้าน (41%) ตามมาด้วยการภาระในการดูแลสัตว์ เลี้ยง (33%) และภาระในการดูแลบ้าน(ห่วงบ้าน) (26% ) สอดคล้องกับงานวิจัยของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 3 เรื่องรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดู
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 39 ครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ต้องมีภาระในการเลี้ยงดู ครอบครัว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในความดูแลไม่มีอาชีพ/รายได้ โดยผู้สูงอายุมีแหล่งที่มาของรายได้หลักจาก เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม ของผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนความรู้และข้อมูลข่าวสาร (40%) ตามมาด้วยการสนับสนุนทางอาชีพ และรายได้ (37%) และการสนับสนุนทางการเงิน ทรัพย์สินและสิ่งของ (23%) สอดคล้องกับงานวิจัย ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 เรื่องรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับ ผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ผู้สูงอายุได้รับความ ช่วยเหลือจากภาครัฐ ได้แก่ ได้รับความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล/ รพ.สต. มากที่สุดในด้านการรักษาพยาบาล รองลงมาเป็น อบต./ เทศบาล ในด้านสิ่งของ/ เงินทอง และหน่วยงานกระทรวง พม. ในด้านการให้คำปรึกษา และข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ตำบลดอนยายหอมนั้นมีการจัดกิจกรรมทาง สังคมอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้สมาชิกใน ตำบลได้มีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ และกิจกรรมที่ไม่ สร้างรายได้ดังนี้
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 40 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA กิจกรรมสร้างรายได้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพ/ประกอบอาชีพ (40%) รองลงมา คือ กิจกรรมร่วมกลุ่มอาชีพ (30%) และกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น (30%) ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุบางคนสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี กิจกรรมไม่สร้างรายได้เป็นกิจกรรมที่มีผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมในสัดส่วนที่ ใกล้เคียงกัน ได้แก่ กิจกรรมประเพณีท้องถิ่น/ศาสนา (36%) กิจกรรมจิตอาสา (34%) และกิจกรรมท่องเที่ยว (30%)