The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)

ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 41 วัตถุประสงค์ประโยชน์ และกิจกรรมที่สนใจ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ความต้องการได้รับความรู้ (27%) ต้องการเพื่อน (25%) ต้องการมีสังคม (24%) และต้องการเป็นจิตอาสา/อาสาสมัคร (24%) เช่นเดียวกับผู้สูงอายุมองว่าการที่ ตนนั้นเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมส่งผลให้ได้รับความรู้(36%) ได้รับการพัฒนาตนเอง (33%) และได้รับเพื่อน (31%) ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสนใจให้หน่วยงานจัดสูงที่สุด คือ กิจกรรมด้านอาชีพและรายได้ (54%) ตามมาด้วยกิจกรรมทางสุขภาพ (27%) และกิจกรรมจิตอาสา/อาสาสมัคร (19%) ข้อจำกัดของต่อการทำกิจกรรม ผู้สูงอายุนั้นไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน และบาง คนอาจเข้าร่วมได้บ้างบางกิจกรรม เนื่องจากมีข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดส่วนใหญ่นั้นมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพ (48%) ตามด้วย ปัญหาการเดินทาง (36%) และปัญหาการเงิน (16%) อารมณ์ความรู้สึกต่อตนเองในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุตำบล ดอนยายหอมส่วนใหญ่นั้นมีสภาวะทางอารมเป็นไปในทิศทางบวกในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ มีความสุข


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 42 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA (41%) และสบายใจ (39%) เมื่อถามถึงเหตุผลที่มาของความรู้สึกมีความสุขและสบายใจ พบว่า ผู้สูงอายุได้ พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุคนอื่น ๆ รวมไปถึงสถานการณ์ในครอบครัวที่มีมีปัญหา ได้เลี้ยงหลานและมีสัตว์เลี้ยงที่บ้าน แต่ก็ยังพบว่าผู้สูงอายุบางส่วนบอกว่ารู้สึกหงุดหงิด (10% ) และเหนื่อย (10%) ซึ่ง เป็นความรู้สึกในทางลบ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากสภาวะภายในครอบครัว เช่น ถูกตำหนิจากลูก รู้สึกว่าทำ อะไรก็ไม่ถูกใจคนในบ้าน มีภาระที่ต้องดูแลในครอบครัว บ้านมีสภาพผุพัง และมีปัญหาทางเศรษฐกิจ จึง สอบถามต่อไปถึงการรับมือของผู้สูงอายุต่อปัญหาที่พบ ผู้สูงอายุมีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันตามสภาพของ ปัญหา ทั้งการทำในปล่อยวางกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลาย พูดคุยปรึกษาคนในครอบครัว เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา และในส่วนของปัญหาทางเศรษฐกิจนั้น แก้ไขปัญหาโดยหารายได้เสริมและได้รับการ ช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ 5.4.2 การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) การคัดกรองภาวะสมองเสื่องในเบื้องต้นด้วยการวาดภาพนาฬิกาตามโจทย์ ที่ SMART DATA Team ประกาศ คือเวลา 21 นาฬิกา 25 นาที พบว่าผู้สูงอายุ ทั้ง 29 คนที่เข้าทดสอบ พบว่า มีภาวะเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมถึง 21 คน ตัวอย่าง “ผู้ผ่านการทดสอบ” ตัวอย่าง “ผู้ไม่ผ่านการทดสอบ”


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 43 5.4.3 โปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) ตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกาย การวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายด้วยการถ่ายภาพและประมวลผลผ่านโปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) มีค่าคะแนน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ A ค่าคะแนน 91 – 100 ระดับ B ค่าคะแนน 61 – 90 ระดับ C ค่าคะแนน 41 – 60 ระดับ D ค่าคะแนน 0 – 40 ผู้สูงอายุ จำนวน 26 คน มีค่าคะแนนอยูในระดับ C คือ รูปทรงของร่างกายมีความไม่ สมดุลเล็กน้อย และผู้สูงอายุ 3 คน มีค่าคะแนนในระดับ D คือ รูปทรงร่างกายไม่สมดุล ควรให้ความสำคัญ จากการตรวจวิเคราะห์ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาใกล้เคียงกัน คือ กล้ามเนื้อต้น ขาและกล้ามเนื้อก้น ทั้งสองส่วนไม่แข็งแรงจะทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุเกิดปัญหา เช่นกำลังในการก้าวเดิน ลดลงผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงเดินลากเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุสะดุดหกล้มได้ง่าย


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 44 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA หลังจากที่โปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) ได้วิเคราะห์สภาพร่างกายของผู้สูงอายุแล้ว ระบบจะ แนะนำท่าฝึกบริหารร่างกายที่กับผู้สูงอายุที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล เพื่อปรับและสร้างความสมดุลของ กล้ามเนื้อ ซึ่งผู้สูงอายุสามารถสแกน QR-Code หรือให้บุตรหลานช่วย สแกน QR-Code เพื่อเข้าไปศึกษาการ ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง 5.5 ปัญหาและอุปสรรค และการจัดการปัญหา 5.5.1 หน่วยงานติดภารกิจทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาจัดกิจกรรม กิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เป็นการดำเนินการร่วมกันหลายหน่วยงาน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีภารกิจประจำและมีภารกิจเร่งด่วน ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมข้อมูล ผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตามแผนได้จึงต้องแก้ปัญหาโดยการประสานทุก หน่วยงานเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรมในวันที่ทุกหน่วยงานมีความพร้อม 5.5.2 ผู้สูงอายุไม่เข้าใจข้อคำถามในแบบเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ คำถามในแบบเก็บข้อมูลทางสังคมฯ บางข้อยากต่อการทำความเข้าใจทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถ ตอบคำถามได้ SMART DATA Team จึงใช้วิธีการชักชวนผู้สูงอายุพูดคุยเพื่อให้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน ชีวิตประจำวันแทนการอ่านคำถามให้ผู้สูงอายุฟัง


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 45 5.5.3 ความคุ้นชินกับภาษาและสถานที่มีผลต่อการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) การบอกเวลาในการวาดภาพนาฬิกาสำหรับผู้สูงอายุบางคนอาจคุ้นชินกับภาษาพูดที่ไม่เป็น ทางการ รวมถึงสถานที่จัดกิจกรรมเป็นห้องประชุมที่อาจเกิดเสียงรบกวนจากฐานกิจกรรมอื่น จึงแก้ไขปัญหา โดยการทวนโจทย์หลายๆครั้ง และจัดฐานคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) ให้ ห่างจากฐานกิจกรรมอื่นที่ใช้เสียงดัง 5.5.4 ระยะเวลารอคอยในการตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายด้วยโปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) โปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) นั้นใช้เวลาในการถ่ายภาพพร้อมวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายต่อคน ประมาณ 10 - 15 นาที ทำให้ผู้สูงอายุสะสมอยู่ที่ฐานนี้จำนวนมาก อีกทั้ง ในฐานนี้มีจุดสำหรับถ่ายภาพและ วิเคราะห์ผลการตรวจฯ แยกจากกันทำให้ผู้สูงอายุเกิดความสับสนระหว่างจุดรอเพื่อถ่ายภาพกับจุดรอเพื่อฟัง ผลการวิเคราะห์ ดังนั้น SMART DATA Team ที่ประจำฐานจึงต้องคอยสังเกตให้คำแนะนำจัดลำดับสำหรับ ผู้สูงอายุ พร้อมชักชวนให้ผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมในฐานอื่นๆ หรือฐานนันทนาการระหว่างการรอเพื่อลดความ แออัดในฐานดังกล่าว 5.5.5 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษ ผู้สูงอายุบางคนมีความจำเป็นต้องนั่งวีลแชร์ เนื่องจากเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก จึงทำให้ ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ น้อย การจัดเจ้าหน้าที่ SMART DATA Team ช่วยอำนวยความ สะดวกในการเข้าฐานกิจกรรม ทำให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมได้สะดวกขึ้น


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 46 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA บทที่ 6 ปัจจัยความสำเร็จข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 6.1 ปัจจัยความสำเร็จ 6.1.1 ผู้บริหารให้ความสำคัญกับงานด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ผู้บริหารในตำบลดอนยายหอม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในตำบล รวมไป ถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ โดยมี การจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุได้เข้าร่วมเป็นประจำ ทั้งกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพ กิจกรรมด้านสุขภาพ กิจกรรมที่พัฒนาความสัมพันธ์ของคนทุกช่วงวัย 6.1.2 ผู้สูงอายุมีความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอมนั้น มีความสนใจในการร่วมกิจกรรมทางสังคมและการเข้าร่วม กลุ่มกิจกรรมต่างๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้รับความร่วมมืออย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 6.1.3 มีหน่วยงานในการเชื่อมประสานทำให้เกิดการบูรณาการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ทำหน้าที่ในการเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานให้เกิด การบูรณาการระหว่างเทศบาลตำบลดอนยายหอมและองค์การบริหารส่วนตำบลดอนยายหอม เนื่องจากการ ดำเนินการขององค์กรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะในพื้นที่ความรับผิดชอบ ของตนเอง รวมถึงข้อจำกัดในด้านของงบประมาณ ดังนั้นแล้วการดำเนินการร่วมกัน จะต้องมีหน่วยงานที่คอย เชื่อมประสานและมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน รวมไปถึงการบูรณาการไปยังหน่วยงานภายนอก พื้นที่ 6.1.4 การบูรณาการร่วมกันในทุกขั้นตอนของทุกภาคส่วน เนื่องจาก การดำเนินการในทุกขั้นตอนของกิจกรรมนั้น มีการดำเนินการร่วมกันในรูปแบบของทีม ซึ่งเป็นผู้แทนที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน และมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน เช่น ด้านสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา รวมไปถึงผู้แทนจากชมรมผู้สูงอายุ 6.1.5 การกำหนดวันจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วม การกำหนดวันในการจัดกิจกรรมร่วมกับพื้นที่ต้องมีความเหมาะสมกับบริบทของผู้สูงอายุ ในพื้นที่ หากทำกิจกรรมในวันที่ 1 หรือ 16 ของทุกเดือน ซึ่งเป็นวันที่ออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 47 บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 7.1 การขับเคลื่อน Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA จากการดำเนินกิจกรรมข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA โดยอาศัยทฤษฎีโปรแกรม (Program Theory) ในการอธิบาย กล่าวคือ ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องทราบถึงปัญหาของชุมชน ดังนั้นจึงควรมีการประเมินความต้องการ (Need Assessment) เพื่อทราบถึง ความต้องการ ปัญหา ข้อจำกัด และสภาพแวดล้อมของชุมชน นำไปสู่การหาทางออกในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันจากผลการประเมินหรือการวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้รับ พร้อมทั้งได้นำแนวคิดกิจกรรมส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยเก็บข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ด้วยกิจกรรม ฐานเก็บข้อมูลเพื่อสร้างบรรยากาศการเก็บข้อมูลที่ต่างออกไป ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความผ่อนคลาย สามารถให้ ข้อมูลโดยไม่เกิดความกดดัน และด้วยการบูรณาการของหลายภาคส่วนจึงเป็นที่มาของ Model ข้อมูล ผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ซึ่งคำว่า “SMART” มาจาก Social (สังคม), Monitoring (การติดตาม), Activity (กิจกรรม), Recreation (นันทนาการ) และ Tools (เครื่องมือ) โดย Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ประกอบด้วย


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 48 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA Input (ปัจจัยนำเข้า) ทรัพยากรที่สามารถรวบรวมได้ทั้งจากในพื้นที่และนอกพื้นที่ตำบลดอนยายหอม เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนฯ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ บุคลากรSMART DATA Team งบประมาณ สถานที่ วิทยากรให้ความรู้ และสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ ส่วนทรัพยากรที่เป็นนามธรรมนั้น ได้แก่ องค์ความรู้ ซึ่ง ทรัพยากรเหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนงานดังกล่าว Tools (เครื่องมือ) เครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อน Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ต้องมีความ สอดคล้องกับผู้สูงอายุและบริบทของพื้นที่ มีจำนวน 4 เครื่องมือ ได้แก่ 1) แบบทางสังคมของผู้สูงอายุตามบริบทพื้นที่ ซึ่งจัดทำโดย SMART DATA Team 2) แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น Clock Drawing Test (CDT) 3) โปรแกรม Yukamiru วิเคราะห์โครงสร้างร่างกาย 4) กิจกรรมนันทนาการ Process (กระบวนการ) การดำเนินงาน Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ในการแก้ไขปัญหาหรือ สนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอมอย่างครอบคลุมนั้นต้องอาศัย จำเป็นอย่างยิ่งใน การบูรณาการจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก จึงได้มีการสร้าง SMART DATA Team ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลดอนยายหอม หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานทีม พม. จังหวัดนครปฐม และภาคีเครือข่าย นำไปสู่การสร้างและออกแบบกระบวนการจัดเก็บ


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 49 ข้อมูล ทั้งในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ขั้นตอนและวิธีการจัดเก็บข้อมูล การจัดทำคู่มือสำหรับการเก็บข้อมูล และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน Output (ผลผลิต) ผลผลิตที่ได้รับจากกระบวนการขับเคลื่อน Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA นั้น ได้แก่ ทีมงาน SMART DATA กระบวนการเก็บข้อมูล คู่มือการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม รวมถึงผลการถอดบทเรียนการดำเนินงาน Outcome (ผลลัพธ์) ผลลัพธ์ของ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะสั้น (6 เดือน) ผู้สูงอายุตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองในมิติสังคมและ สุขภาพระดับบุคคล โดยภายหลังการจัดเก็บข้อมูลนั้นได้มีการพูดคุยกับผู้สูงอายุเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคม ซึ่ง ผู้สูงอายุได้ร่วมกันคิดและหาแนวทางการดึงผู้สูงอายุอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมเนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ของการ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และในมิติสุขภาพผู้สูงอายุสามารถทราบถึงผลการประเมินด้านสุขภาพของตนได้ ในทันที และสามารถนำเอาคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ 2) ระยะกลาง (6 เดือน – 1 ปี) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่จัดเก็บ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นตำบลดอนยายหอม ได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุสามารถ นำไปเป็น แนวทางการ จัดบริการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกอาชีพ การส่งเสริม เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ กิจกรรมเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของผู้สูงอายุ เป็นต้น 3) ระยะยาว (1 ปีขึ้นไป) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลดอนยายหอมสามารถจัดบริการหรือกิจกรรม ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในพื้นที่ได้ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสม ที่ดีขึ้นในที่สุด 7.2 การขยายผล ข ย า ย ผล Model ข้ อ มู ล ผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย อำเภอ บ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีพร้อหน่วยงาน ทีม พม. จังหวัดกาญจนบุรี (One Home) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 โดยได้นำเสนอ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เพื่อเก็บข้อมูลด้านสังคมและสุขภาพของผู้สุงอายุผ่าน ฐานกิจกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย ได้แลกเปลี่ยนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ โดยได้วางแผนใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติสุขภาพ และมิติหสิ่งแวดล้อม


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 50 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ซึ่งข้อมูลของผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามแผน โดย แนวทางการเก็บข้อมูลของผู้สูงอายุและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ของตำบลบ่อพลอย ดำเนินการโดยอาสาสมัคร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ลงสำรวจ และเก็บข้อมูลตามบ้านเรือนของสมาชิกในตำบล ส่วนใหญ่เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ข้อมูลทั่วไปของ กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับฟังการนำเสนอ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลอย ได้ให้ความสนใจกับการเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุผ่านฐานกิจกรรม โดยไม่ต้องลงไปเก็บข้อมูลตามบ้านของผู้สูงอายุหรือกลุ่มเป้าหมายและมีความพร้อมในการร่วมบูรณาการการ ขับเคลื่อนพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) โดยใช้Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ปรับใช้กับการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในพื้นที่ต่อไป ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาญจนบุรี มีความเห็นว่า การเลือกใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลของผู้สูงอายุที่มีเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้นทำให้ได้ผลการเก็บข้อมูลที่ แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้สูงอายุโดยตรง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดเก็บข้อมูล ของผู้สูงอายุระดับจังหวัด เพื่อนำผลไปต่อยอดในการวางแผนการจัดบริการทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ และนำไปบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดประเด็นผู้สูงอายุได้ ซึ่งถือเป็นบทบาทการขับเคลื่อน


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 51 7.3 ข้อเสนอแนะ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลดอนยายหอม ร่วมบูรณาการกับสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ 3 1.1) จัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมตามผลการศึกษา - โครงการหรือกิจกรรม “กันล้ม” จากผลการตรวจวิเคราะห์โครงสรางร่างกายดวย โปรแกรมยูกามิรุ (Yukamiru) ที่พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อสะโพกและต้นขาส่งผลให้ เกิดการทรงตัวผิดปกติ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย จึงควรจัดโครงการหรือกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ และจัดบริการในการดูแลสภาพแวดล้อมในที่พักอาศัยและสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ - โครงการหรือกิจกรรม “กันลืม” จากผลของการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องตน Clock Drawing Test (CDT) ผู้สูงอายุนั้นอยู่ในวัยที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ การดำเนินชีวิตในระยะยาว จึงควรมีโครงการหรือกิจกรรมในเชิงการป้องกันและชะลอการเกิดภาวะสมอง เสื่อม - โครงการหรือกิจกรรม “กันจน” จากผลการเก็บขอมูลทางสังคมของผู้สูงอายุตาม บริบทพื้นที่ ผู้สูงอายุต้องการที่ทำกิจกรรมทางสังคมเพื่อการได้มีเพื่อน สังคม และชอบที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับ การฝกอาชีพ อีกทั้ง ผู้สูงอายุจะมีต้นทุนทางสังคม มีต้นทุนทางภูมิปัญญา สามารถถ่ายทอดความรู ประสบการณ์ของตนเองใหกับผู้อื่นได้ ดั้งนั้น การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้ร่วมกลุ่มจัดกิจกรรมด้วยตนเอง สามารถสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณคาในตนเองด้วย - โครงการหรือกิจกรรม “กันเอง” พบว่าผู้สูงอายุชายเข้าร่วมกิจกรรมน้อยกว่า ผู้สูงอายุหญิง และชอบที่จะทำกิจกรรมจิตอาสา ดั้งนั้น หากมีการจัดกิจกรรมทางสังคมควรมีการผสมผสาน ระหว่างกิจกรรมจิตอาสาพร้อมกับกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อดึงผู้สูงอายุชายให้เข้าร่วมกิจกรรม 1.2) จัดเก็บข้อมูลทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลให้ครอบคลุม Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA เป็นการจัดเก็บข้อมูลของผู้สูงอายุ กลุ่มทดลอง เพียงจำนวน 29 คน เป็นตัวแทนของผู้สูงอายุตำบลดอนยายหอม หากมีการจัดเก็บข้อมูลของ ผู้สูงอายุครอบคลุมทั้งตำบลจะสามารถเห็นถึงผลสะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุใน ภาพรวม 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมบูรณาการกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 นำ Model ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA ไปปรับรูปแบบกิจกรรมในฐานต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายได้ตามความเหมาะสม


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 52 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA 3) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ สนับสนุนให้มีการจัดเก็บข้อมูลทางสังคมของกลุ่มเป้าหมายตามบริบทของพื้นที่และจัดทำ เกณฑ์การประเมินทางสังคมเพื่อจำแนกผู้สูงอายุตามสภาพปัญหาทางสังคมและความต้องการสวัสดิการ เพื่อ นำไปสู่จัดทำนโยบาย


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 53 เอกสารอ้างอิง กชกร สังชาติ. (2526). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. ภาควิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัย บูรพา. การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. เขมิกา ยามะรัต. (2527). ความพึงพอใจในชีวิตของคนชรา ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการบำนาญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บรรลุ ศิริพานิช. (2533). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรืองแก้วการพิมพ์. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย และรองศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (พ.ศ. 2560). รองศาสตราจารย์ ดร.อำไพรัตน์ อักษรพรหม และคณะ. (2562). ความสามารถพึ่งพาตนเอง ทางการเงินและความต้องการฐานคุ้มครองทางสังคมของครอบครัวลำพังผู้สูงอายุและ ครอบครัวข้ามรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิลาสินี โยธิการ. (พ.ศ.2564). กิจกรรมเสริมคุณค่าและความสุขให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3. (2564). รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการ ทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขต กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. นครปฐม: สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3. Burnside, I. (1988). Nursing and The Aged: A self-care Appoach. 3rd ed. New York: Eliopoulos, C. (1992). Gerontological Nersing. 3rd ed. Philadelphia: J.B. Lippincott. McGraw-Hill. Robert J. Havighurst. (1953). Human Development and Education. Walker, S.N., Sechrist, K. R. and Pender, N. J. (1987). The health promoting lifestyle profile: Development and psychometric characteristics. Nursing Research, 36(2), 76–81.


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 54 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ภาคผนวก ภาคผนวก


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 55 ภาคผนวก ก พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab)


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 56 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ความเป็นมาพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-11 มีบทบาทภารกิจในการขับเคลื่อนนโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมสู่การปฏิบัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้าน วิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานบริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ให้บริการในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชนและประชาชน โดยการนำนโยบายจาก ส่วนกลางไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี ๒๕๖๖ โดยขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางสังคม โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้จากการสังเคราะห์ งานวิจัยหรือวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 1 – 11 (สสว.1-11) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคีเครือข่ายมา ทดลองปฏิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม สร้างการมีส่วนร่วม โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่และสร้างการ มีส่วนร่วมของกลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล หน่วยงาน พม.จังหวัด (One Home) องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดเป็น Model ที่เหมาะสมกับปัญหาทางสังคมที่เกิด ขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ แผนการดำเนินงานพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ขั้นตอนการดำเนินงาน ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1. รวมรวบผลงานวิชาการ ด้านการพัฒนาสังคม ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 2. กำหนดประเด็นปัญหา เชิงประเด็น/กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ร่วมกับ One Home สถาบันการศึกษา และเครือข่ายและกำหนด พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการ ทางสังคม


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 57 ขั้นตอนการดำเนินงาน ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 3. ทดลองในพื้นที่ปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Lab) เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 4. ติดตามประเมินผล เพื่อ พัฒนารูปแบบ (Model) การแก้ไขปัญหาทางสังคมใน พื้นที่ 5. มีรูปแบบ (Model) การ แก้ไขปัญหาทางสังคมใน พื้นที่ อย่างน้อย 1 เรื่อง 6. ถอดบทเรียน และจัดทำ องค์ความรู้ (KM) 7. ปรับปรุงและพัฒนา รูปแบบ (Model) และนำ กลับไปใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Lab) 8. สรุปผลการดำเนินงานใน การนำรูปแบบ (Model) ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ . เผยแพร่ผลงานวิชาการใน รูปแบบดิจิทัลผ่านช่องทาง ต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ช่องทาง 10. นำเสนอรูปแบบ (Model) ต่อ สนง.พมจ. / One Home / ภาคี เครือข่ายในพื้นที่เพื่อใช้ ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา ในพื้นที่


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 58 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA ภาคผนวก ข คู่มือข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 59


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 60 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 61


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 62 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 63


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 64 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 65


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 66 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 67


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 68 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 69


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 70 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 71


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 72 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 73


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 74 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 75


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 76 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 77


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 78 | ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ: SMART DATA


สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ข้อมูลผู้สูงอายุอัจฉริยะ : SMART DATA | 79 คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางเบญจมาส แก่นเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ณัฏฐพัชร สโรบล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้จัดทำ นางสุภรณ์ วัฒนจัง นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ นางสาวพีรภาว์ ลิมปนวัสส์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการ นางสาวมรินทราณ์ ลอตระกูล นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นางสาวภาสินี สวยงาม นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ นายกิตติ์ธเนศ ทองสว่างเสนีย์ เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน นางสาวพัชชาพลอย พวงสำลีกุล นักพัฒนาสังคม นายเอกลักษณ์ ขมิ้นทอง เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม


Click to View FlipBook Version