The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

00 รวมเล่มเพื่อพิมพ์ กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by phatthanan.sap, 2021-04-19 00:39:37

00 รวมเล่มเพื่อพิมพ์ กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ

00 รวมเล่มเพื่อพิมพ์ กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตร
และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

ดานดิจิทัล

โครงการศกึ ษาและจดั ทำกรอบแนวทางการรบั รองมาตรฐานหลักสูตร
การพฒั นาบุคลากรภาครฐั เพอื่ เตรยี มความพรอ มในการปรบั เปล่ียนไปสูองคกรดิจิทัล

สำนักงานคณะกรรมการดิจทิ ลั เพ่ือเศรษฐกิจและสังคมแหง ชาติ

โดย
มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยพี ระจอมเกลาธนบุรี







กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศกึ ษา เพือ่ พัฒนาบุคลากรภาครฐั ด้านดจิ ทิ ัล

สารบัญ

หนา้ ที่

บทสรปุ ผู้บริหาร 1
1. บทนำ� 4
2. การด�ำ เนินงานของทีป่ รึกษา 7
3. กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลักสูตรและการจดั การศึกษาเพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครฐั 8
ดา้ นดิจิทัล
3.1 การจัดทำ�กรอบแนวคดิ ในการประเมินเพอ่ื รบั รองหลกั สตู รฯ 9
3.2 แบบส�ำ รวจระดบั ความพรอ้ มและวฒุ ิภาวะขององคก์ รในการพัฒนาไปส่รู ฐั บาลดจิ ทิ ลั 12
(Digital Government Maturity Domain and Area: MDA)
3.3 ทักษะด้านดจิ ทิ ัลของข้าราชการและบคุ ลากรภาครฐั เพ่ือการปรบั เปล่ียนภาครฐั เปน็ 16
รฐั บาลดิจิทลั
3.4 แนวทางพัฒนากำ�ลังคนภาครฐั ใหม้ ที ักษะดา้ นดิจิทลั 21
3.5 มาตรฐาน ISO ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับการรับรองหลกั สูตรและการจดั การการอบรม 25
3.6 ผู้มีสว่ นไดส้ ่วนเสยี ในกระบวนการและสภาพแวดล้อมของการสร้างหลักสูตรฯ และ 27
การรบั รองหลกั สตู รฯ (eco-System)
3.7 แนวทางในการพัฒนาทักษะดา้ นดจิ ทิ ัลของข้าราชการและบคุ ลากรภาครฐั ในปัจจบุ ัน 29
3.8 คณุ สมบัติของสถาบนั อบรมฯ ทส่ี ามารถจดั อบรมได้ 31
3.9 กรอบแนวคิดการรับรองหลักสตู ร เพ่อื พัฒนาทักษะด้านดจิ ิทัลของขา้ ราชการและ 32
บุคลากรของหนว่ ยงานภาครฐั ฯ
3.10 การเทยี บหนว่ ยความสามารถจากองค์ความรอู้ ื่นได้ 35
3.11 การแตง่ ตงั้ และอบรมผเู้ ช่ียวชาญเพ่อื ทำ�การประเมินและรับรองหลักสตู ร 36
บรรณานุกรม 38
ภาคผนวก ก มาตรฐาน ISO 29993:2017 ก-1
ภาคผนวก ข มาตรฐาน ISO/TIS 17011 ข-1
ภาคผนวก ค หลกั เกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขการรบั รองระบบงานหนว่ ยรับรอง ค-1


หน้าท่ี i

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษา เพือ่ พฒั นาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล

สารบญั รปู หนา้ ท่ี

รปู ท่ี 1 กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สูตรและการจดั การการอบรมเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐ 2
ดา้ นดจิ ิทลั
รปู ที่ 2 ภาพกรอบแนวคิดในการออกแบบการรับรองหลักสตู รฯ 10
รูปที่ 3 วฒุ ิภาวะรฐั บาลดิจทิ ัล (Digital Government Maturity Model) 13
รูปท่ี 4 มติ แิ ละปัจจยั ในการวัดระดบั ความพรอ้ มและวุฒิภาวะขององค์กร 15
รปู ที่ 5 ทกั ษะดา้ นดิจิทลั ของข้าราชการและบคุ ลากรภาครฐั เพือ่ การปรบั เปล่ียนเปน็ รัฐบาลดจิ ิทลั 18
รปู ที่ 6 องคป์ ระกอบของทักษะดา้ นดิจิทลั ของขา้ ราชการและบคุ ลากรภาครัฐ 18
รูปที่ 7 หน่วยความสามารถของทักษะดา้ นดจิ ิทลั ของข้าราชการและบคุ ลากรภาครัฐ 20
รูปท่ี 8 สัดสว่ นของรูปแบบการเรยี นรู้และพฒั นาแบบ 70:20:10 พรอ้ มตวั อย่าง 24
รปู ที่ 9 กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สูตรและการจัดการการอบรมเพือ่ พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั 29
ดา้ นดจิ ทิ ลั

หน้าท่ี ii

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ทิ ลั

บทสรุปผบู รหิ าร

จากนโยบายของภาครัฐในการปรับเปลี่ยนไปสูรัฐบาลดิจิทัล ทำใหจำเปนตองมีการพัฒนาความรู
ดา นดจิ ิทลั ของขา ราชการและบคุ ลากรภาครัฐ สำนักงาน ก.พ. ไดเสนอรางแนวทางการพัฒนาทกั ษะดานดิจิทัล
ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลใหคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
โดยคณะรัฐมนตรีไดมีมติเห็นชอบในหลักการ (หนังสือเวียนที่ นร 0505/ว 493 ลงวันที่ 29 กันยายน 2560) [1]
ตอมาคณะกรรมการขาราชการพลเรือน ไดกำหนดทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อให
สวนงานที่เกี่ยวของไดใชเปนกรอบแนวทางในการพัฒนาขาราชการและบุคลากรภาครัฐ และไดดำเนินการแจง
เวียนหนังสือ เรื่องทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล
(หนังสือที่ นร 1013/ว 6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561) [2] ไปยังสวนราชการตาง ๆ เพื่อใหเปนไปตาม
มติ ครม. ที่ตองการใหทุกสวนราชการ หนวยงานของรัฐ องคกรกลางบริหารงานบุคคล และหนวยงาน
ที่เกี่ยวของ ไดใชเปนกรอบแนวทางในการพัฒนาขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เปนกลไกสำคัญในการพัฒนา
และเสรมิ สรางศกั ยภาพกำลงั คน

ตอมา ครม. มีมติใหกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับผิดชอบการรับรองกรอบหลักสูตร
ผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ
(หนังสือที่ นร 0505/39192 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562) [3] รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และใหคำแนะนำ
การปรับปรุงและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรใหเหมาะสมกับบริบทและกลุมเปาหมายการพัฒนา รวมทั้งสราง
ชุมชนเครือขายผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Community) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สดช.) จึงไดดำเนินโครงการ
ศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางในการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความ
พรอมในการปรับเปลี่ยนไปสูองคกรดิจิทัลขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี (มจธ.) เปนท่ี
ปรึกษาดำเนนิ งานโครงการดังกลาว ทป่ี รึกษา มจธ. ไดด ำเนนิ การศึกษาขอ มูลการรับรองหลกั สตู รดา นดิจิทัลใน
ตางประเทศ คือ ประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และประเทศอินเดีย และดำเนินการจัดใหมีการประชุม
Focus Group เพื่อรับฟงความคิดเห็น จากผูเกี่ยวของ จำนวน 6 ครั้ง เพื่อรับฟงความคิดเห็น ขอเสนอแนะจาก
ผูบริหาร ผูเชี่ยวชาญหรือผูท รงคุณวุฒิ รวมถึงหนวยงานฝกอบรมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อใหได (ราง) กรอบ
แนวคิดในการรบั รองหลักสูตรและการจดั การศึกษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดจิ ทิ ลั

ทปี่ รึกษา มจธ. ไดรวบรวม นำขอมูลท่ไี ดรบั มาวิเคราะหและเสนอกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตร
และการจดั การศกึ ษาเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ัล ดงั แสดงในรปู ท่ี 1

หนาที่ | 1

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล

รปู ที่ 1 กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สตู รและการจัดการการอบรมเพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ัล
กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรมเพื่อพัฒนาขาราชการและบุคลากร

ภาครัฐดา นดจิ ทิ ลั สรปุ สาระสำคัญไดดงั น้ี
1) ใหหนวยงานภาครัฐในระดับกรม ทำการประเมินความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนา
ไปสูรัฐบาลดิจิทัลตามแบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาล
ดิจิทัล (Digital Government Maturity Domain and Area : MDA) [4] และนำแนวทางการพัฒนา
ทักษะดานดิจทิ ัลสำหรับขาราชการและบคุ ลากรภาครฐั ไปใชเ พื่อการวางแผนการพัฒนาบุคลากรของ
หนว ยงาน โดยจดั ทำแผนพฒั นาบคุ ลากรใหสอดคลอ งกับทักษะดานดจิ ทิ ัล
2) ขาราชการหรือบุคลากรภาครัฐประเมินตนเองวายังขาดความรูความสามารถในดานใดตามท่ี
แนวทางการพฒั นาฯ ระบุ
3) ขาราชการและบคุ ลากรภาครัฐ วางแผนการพฒั นาตนเอง (Self-development Plan)
4) ขาราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถเลือกพัฒนาตนเองไดโดยการเลือกอบรมในหลักสูตรที่ไดการ
รับรองจาก สดช. โดยมีหลักสูตร 3 รูปแบบ คือ หลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรเฉพาะเรื่อง และหลักสูตร
ดานดิจิทัลอ่ืน ๆ ซง่ึ ในโครงการนี้ ไดม ีการจัดทำกระบวนการในการรับรองหลกั สูตรดานดิจิทัลสำหรับ
บุคลากรภาครัฐ เพื่อใหมั่นใจไดวาเมื่อผานการอบรม ตามหลักสูตรที่ไดรับการรับรองแลว บุคลากร
ภาครฐั จะสามารถปฏิบตั ิหนา ท่เี พอ่ื สนับสนุนหนว ยงานใหไ ปสเู ปา หมายเปนรฐั บาลดิจิทลั ได
5) ขา ราชการและบุคลากรภาครฐั สามารถนำความรูและทักษะที่ไดม าพัฒนาองคกรและมีความกาวหนา
ในอาชีพการงานตามแนวทางของการพัฒนาบคุ ลากรของหนวยงาน

หนาท่ี | 2

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ทิ ลั

สถาบันอบรมที่สามารถยื่นขอรับรองหลักสูตรฯ ควรเปนสถาบันในกลุมใดกลุมหนึ่ง ดังตอไปนี้
สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจ
ในการจัดอบรมหรือใหบริการที่เกี่ยวของกับการอบรม สถาบันอบรมเอกชนที่ไดรับการรับรองจาก
กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันที่ไดรับความเห็นชอบโดยสถาบัน หรือหนวยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย โดยให
สามารถจัดอบรมได

สวนกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและหนวยงาน
ภาครัฐฯ สรปุ สาระสำคัญไดดงั นี้

1) อางอิงกระบวนการในการรับรองหลักสูตรตามมาตรฐาน ISO 29993 [5] และ เกณฑ ASEAN
University Network Quality Fssurancd: AUN QA เพื่อเปนการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของ
กระบวนการการรบั รองหลกั สูตร

2) กำหนดใหมีรูปแบบของหลักสูตรได 3 ประเภท ไดแก หลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรเฉพาะเรื่อง และ
หลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งทำใหเกิดความยืดหยุนของการพัฒนาหลักสูตร และทำใหมีหนวยงาน
หรือสถาบันอบรมมาพัฒนาหลักสูตรและจัดการการอบรมไดมาก เพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา
ขาราชการและบุคลากรภาครฐั ท่ีมีจำนวนมากได

ที่ปรึกษา มจธ. เสนอวาควรใหมีการเทียบหนวยความสามารถไดดวย เพื่อชวยลดความซ้ำซอนในการรับ
การอบรม และเสนอวาควรมีการกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางในการเทียบความสามารถที่ชัดเจน 3 วิธี คือ
เทียบกับองคความรูขององคกรภาคเอกชน เทียบจากระบบการทดสอบความรูของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และ
เทียบจากหลักสูตรท่ีไดร บั การรับรองจาก สดช. แลว

ที่ปรึกษา มจธ. เสนอวา สดช. ควรมีการแตงตั้งผูเชี่ยวชาญ โดยผานความเห็นชอบของคณะกรรมการ
สงเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อมาชวย สดช. ทำการประเมินและรับรองหลักสูตร เนื่องจาก
มีหลักสูตรที่ประกอบดวยองคความรูอยูหลากหลายเปนจำนวนมาก จึงควรใชผูเชี่ยวชาญที่มีความรูดานตาง ๆ
ที่สอดคลองกับทักษะที่กำหนดมาชวย โดยควรมีการอบรมแนวทางและจุดประสงคของเกณฑในการประเมิน
หลักสตู รฯ ใหกับผูเ ชย่ี วชาญ เพ่ือทำใหเ กดิ ความชดั เจนและลดขอ ขดั แยงในการประเมนิ

ทั้งนี้ รายละเอียดของแนวปฏิบัติในการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม ที่ปรึกษา มจธ. ขอ
นำเสนอในเอกสารแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนา
บุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

หนา ท่ี | 3

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลักสตู รและการจดั การศกึ ษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ทิ ัล

1. บทนำ

รัฐบาลไดจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(พ.ศ. 2561-2580) [6] ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 สำหรับเปนแผน
แมบทหลักในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความสอดคลองกับยุทธศาสตรชาติ 20 ป
(พ.ศ. 2561-2580) [7] และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) [8]
หนึ่งในยุทธศาสตรสำคัญ คือ ปรับเปลี่ยนภาครัฐสูการเปนรัฐบาลดิจิทัลเปนการมุงเนนการใชเทคโนโลยีดิจิทัลใน
กระบวนการทำงานและการใหบริการภาครัฐ เพื่อใหเกิดการปฏิรูปกระบวนการทำงานและขั้นตอนการใหบริการ
ใหมีประสิทธิภาพ ถูกตอง รวดเร็ว อำนวยความสะดวกใหผูใชบริการ สรางบริการของรัฐที่มีธรรมาภิบาลและสามารถ
ใหบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ผานระบบเชื่อมโยงขอมูลอัตโนมัติ การเปดเผยขอมูลของภาครัฐท่ี
ไมกระทบตอสิทธิสวนบุคคลและความมั่นคงของชาติ ผานการจัดเก็บ รวบรวม และแลกเปลี่ยนอยางมีมาตรฐาน
ใหความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอรและขอมูล รวมไปถึงการสรางแพลตฟอรมการใหบริการ
ภาครัฐ เพื่อใหภาคเอกชนหรือนักพัฒนาสามารถนำขอมูลและบริการของรัฐไปพัฒนาตอยอดใหเกิดนวัตกรรม
บริการและสรา งรายไดใหกับระบบเศรษฐกจิ ตอ ไป

จากยุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580) นโยบายและแผนระดับชาติวาดวยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่กำหนดยุทธศาสตรที่เกี่ยวของในการเตรียมความพรอมใหบุคลากรทุก
กลุม มีความรูและทักษะที่เหมาะสมตอการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล เพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการแขงขันทางเศรษฐกิจของประเทศ พรอมปรับเปลี่ยนภาครัฐสูการเปนรัฐบาลดิจิทัล
เพอื่ สรางสังคมคุณภาพดว ยเทคโนโลยดี ิจทิ ัล คณะรัฐมนตรจี ึงไดพจิ ารณา เรือ่ ง รางแนวทางการพฒั นาทักษะดาน
ดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ที่สำนักงาน ก.พ. นำเสนอ ใน
การประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 และไดมีมติเห็นชอบในหลักการ (หนังสือเวียนที่ นร 0505/ว 493 ลงวันที่
29 กันยายน 2560) จากมติ ครม. ดังกลาว คณะกรรมการขาราชการพลเรือนจึงไดกำหนดทักษะดานดิจิทัลของ
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อใหทุกสวนราชการ หนวยงานของรัฐ องคกรกลางบริหารงานบุคคลและ
หนวยงานที่เกี่ยวของไดใชเปนกรอบแนวทางในการพัฒนาขาราชการและบุคลากรภาครัฐตอไป สำนักงาน ก.พ. จึง
ไดดำเนินการแจงเวียน ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐฯ ดังกลาว ไปยังสวนราชการตาง ๆ
(หนังสือที่ นร 1013/ว 6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561) เรื่อง ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล เพื่อใหเปนไปตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ตองการใหทุกสวนราชการ
หนวยงานของรัฐ องคกรกลางบริหารงานบุคคล และหนวยงานที่เกี่ยวของ ไดใชเปนกรอบแนวทางในการพัฒนา
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เปนกลไกสำคัญในการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพกำลังคน โดยมีสำนัก
งบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ กระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหนวยงานในสังกัด สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องคการมหาชน) และหนวยงานที่เกี่ยวของ
ทุกภาคสวน ใหการสนับสนุนการดำเนินงาน งบประมาณ และทรัพยากรที่เกี่ยวของตามรางแนวทางการพัฒนา

หนา ท่ี | 4

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดิจิทัล

ทกั ษะดา นดจิ ิทลั ของขาราชการและบุคลากรภาครฐั เพื่อการปรบั เปลี่ยนเปนรฐั บาลดจิ ทิ ลั

ตอมา คณะรัฐมนตรีมีมติใหสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องคการมหาชน) เปนผูรับผิดชอบ
ดำเนินการโครงการอบรมหลักสูตรผบู รหิ ารเทคโนโลยีสารสนเทศระดบั สงู ภาครัฐ พรอมมอบหมายใหกระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบรับรองกรอบหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ
และผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และใหคำแนะนำการ
ปรับปรุงและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรใหเหมาะสมกับบริบทและกลุมเปาหมายการพัฒนา รวมทั้งสราง
ชุมชนเครือขายผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Community) เพื่อขับเคล่ือนการพัฒนา
รฐั บาลดจิ ทิ ลั (หนงั สือท่ี นร 0505/39192 ลงวันท่ี 28 พฤศจิกายน 2562)

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอพิจารณา
การปรับปรุงบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบ รูปแบบและความสัมพันธ คุณสมบัติและการจัดตั้ง รวมทั้งกลไก
สนับสนุนการปฏิบัติงานของผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief
Information Officer : GCIO) ใหมีความเปนปจจุบันและรองรับภารกิจการเปนผูนำในการปรับเปลี่ยน
หนวยงานภาครฐั เปนรฐั บาลดิจิทลั (หนงั สือ นร 1013/ว3 ลงวนั ท่ี 30 มีนาคม 2563)[9]

จากมติของคณะรัฐมนตรีทั้ง 3 ครั้งดังกลาว สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
แหงชาติ (สดช.) ภายใตกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสงั คม ใหความสำคัญในการสรางความรูความเขาใจ
และเพื่อเปนการเตรียมความพรอมบุคลากรภาครัฐ ในการพฒั นาบคุ ลากรในองคกรใหม คี วามรูค วามสามารถ
พรอ มรับการเปล่ียนแปลงของเทคโนโลยีดจิ ทิ ัลดังกลาว จึงไดดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางใน
การรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพรอมในการปรับเปลี่ยนไปสูองคกร
ดิจิทัลขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรี (มจธ.) เปนที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการดังกลาว
เพื่อใหไดหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรดานดิจิทัลที่มีคุณภาพสอดคลองกับกรอบทักษะดานดิจิทัลฯ ที่กำหนด
และสามารถนำไปใชไดจริง สำหรับฝกอบรม ขาราชการ และบุคลากรขององคกรภาครัฐ ซึ่งถือเปนอีกหนึ่ง
กลไกท่ีสำคัญในการขับเคลื่อนบุคลากรใหมีความรู ความสามารถ เขาใจ และตระหนักรูในบทบาทหนาที่ท่ี
เปลี่ยนไป รวมถึงเขาใจในศักยภาพดานดิจิทัลท่ีจำเปนตอการปฏิบัติงาน และสามารถระบุสิ่งที่ตองดำเนินการ
เพื่อเตรียมความพรอมในการเปลี่ยนแปลงไปสูองคกรดิจิทัล ใหสอดคลองกับการเปลี่ยนแปลงดานเทคโนโลยี
ดจิ ิทัลท่เี ปน ไปอยา งรวดเรว็ ได

ขอบเขตงานของที่ปรึกษา มจธ. เพื่อใหไดกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ ตองทำการศึกษา
วิเคราะห การรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลของตางประเทศ
อยางนอย 3 ประเทศ ศึกษายุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580) ศึกษาสถานภาพปจจุบันของการจัดทำ
กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัลและ
การนำไปใชประโยชน พรอมทั้งวิเคราะหปญหาและอุปสรรค รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวของ รวมท้ัง
จัดการประชุมระดมสมอง (Focus Group) จำนวน 6 ครั้ง เพื่อรับฟงความคิดเห็น ขอเสนอแนะจากผูบริหาร

หนาที่ | 5

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ิทัล

ผูเชี่ยวชาญหรือผูทรงคุณวุฒิ รวมถึงหนวยงานฝกอบรมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อใหได (ราง) กรอบแนวคิด
ในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล และ (ราง) แนวทางปฏิบัติ
หลกั เกณฑ กลไก และการประเมนิ ผล การรับรองมาตรฐานหลกั สูตรการพฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

สำหรับรายงานฉบับนี้ ที่ปรึกษา มจธ. ขอเสนอกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัด
การศึกษาเพ่ือพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล ที่สรุปไดจากการระดมความคิดเห็น ขอเสนอแนะ จากประชุม
ระดมสมอง (Focus Group) จำนวน 3 ครั้ง โดยเสนอใหมีรูปแบบของหลักสูตรที่หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจ
ในการจัดฝก อบรม สถาบันการศึกษา หรอื สถาบนั อบรมเอกชน สามารถนำเสนอได 3 รูปแบบ ไดแ ก 1) หลกั สูตร
พื้นฐาน 2) หลกั สูตรเฉพาะเรอื่ ง และ 3) หลักสตู รดานดิจิทลั อน่ื ๆ โดยมรี ายละเอยี ดอธบิ ายในขอ 3

หนา ที่ | 6

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สูตรและการจัดการศึกษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดานดิจิทลั

2. การดำเนนิ งานของท่ปี รกึ ษา

การดำเนินงานของท่ปี รึกษา มจธ. ในโครงการน้ี แบง เปน 6 ระยะ ดงั น้ี
ระยะที่ 1 การศึกษาสถานภาพ และรูปแบบของหลักสูตรการอบรมดานดิจิทัล ที่มีอยูในปจจุบัน
ทง้ั ในประเทศและตา งประเทศ
ระยะที่ 2 การจดั ทำ (รา ง) กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สตู รและการจัดการศึกษา เพ่ือพฒั นาบคุ ลากร
ภาครฐั ดานดิจทิ ลั โดยใชก ระบวนการจดั ทำ Focus Group เพอื่ ระดมความคดิ เหน็ จากผมู สี ว นไดส ว นเสียทุกฝาย
ระยะที่ 3 การจัดทำ (ราง) แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองมาตรฐาน
หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล โดยใชกระบวนการจัดทำ Focus Group เพื่อระดมความคิดเห็น
จากผูมีสวนไดสวนเสียทุกฝาย ในการจัดทำรายละเอียดของกระบวนการในการรับรองหลักสูตร แนวปฏิบัติ
ในการควบคุมคณุ ภาพ และแนวทางการสง เสริมใหเ กดิ การจดั อบรมไดจรงิ
ระยะที่ 4 จัดทำรายงาน เพื่อนำเสนอขอมูล (ราง) กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทลั และ (ราง) แนวทางปฏบิ ตั ิ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล
ในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล แก สดช. สำหรับ
ใชใ นการประชมุ ผูเชีย่ วชาญเพ่อื ประเมนิ ความเหมาะสมของรา งรายงานท้งั 2 ฉบบั
ระยะที่ 5 จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ พรอมสื่อประชาสัมพันธ และจัดงานประชาสัมพันธโครงการ
โดย เชิญผูมีสวนไดสวนเสียมารับทราบ ถึงกรอบแนวคิดฯ และแนวปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผลฯ
ในการรบั รองหลักสูตรฯ ดงั กลา ว
ระยะที่ 6 ดำเนินการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ใหมีความพรอม
ในการปรบั เปลยี่ นไปสอู งคกรดจิ ิทลั ตามแนวทางปฏบิ ตั ิฯ และกระบวนการตรวจสอบการรับรองฯ 1 กระบวนการ

หนาที่ | 7

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

3. กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากร
ภาครฐั ดานดิจิทลั

ที่ปรึกษา มจธ. มีแนวคิดวาหลักสูตรที่จะนำมาใชในการอบรม ควรจะมีการรับรองมาตรฐานเพื่อใหเกิด
ความมั่นใจและคุณภาพทีใ่ กลเคยี งกนั ในการนำไปใชในการฝกอบรม กลาวคือ เปนการรับรองวาผูเขารับการอบรม
กับหลักสูตรที่ไดรับการรับรองจะมีทักษะตามผลลัพธการเรียนรู ที่ สดช. กำหนดและสามารถนำไปใชไดจริง
สอดคลองกับบริบทขององคกร และเพื่อใหสถาบันอบรมที่หลากหลายมีหลักเกณฑในการพัฒนาหลักสูตรและการ
จดั การอบรมทดี่ ีในระดับทีย่ อมรบั ได การรับรองหลกั สตู ร ควรมกี ารดำเนนิ การออกเปน 2 สว น คือ 1) สวนของการ
รับรองเนื้อหาหลักสูตร และ 2) สวนของการจัดการอบรมของหนวยงานที่จัดอบรมเพื่อประเมินทรัพยากรที่ใช
ประกอบการสอน โดยอาจมีการตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการในการรางแนวทางการรับรองฯ ที่มีรายละเอียด
เกี่ยวกับกำหนดเวลาการพิจารณาใหความเห็นชอบ หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาหลักสูตรและ
ออกหนังสือรับรองหลักสูตร เอกสารที่ใชยื่นขอรับรอง มีการกำหนดขั้นตอนการยื่นคำขอรับรองหลักสูตร การ
พิจารณาการยื่นคำขอ พรอมเอกสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดฝกอบรมตามหลักสูตร การตั้งคณะกรรมการ
ตรวจประเมินและรับรองหลักสูตร เอกสารที่ตองนำสง รายงานผลการรับรองการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หนาที่และ
ความรับผิดชอบของสถาบันฝกอบรม การติดตามประเมินผลหลังการรับรอง การเพิกถอนการรับรองหลักสูตร การ
อุทธรณ หรือกำหนดเอกสารสำหรับระบบมาตรฐานคุณภาพของกระบวนการการฝกอบรม การทบทวนและ
ปรับปรุงหลักสูตร การรับสมัคร คุณสมบัติผูเขารับการอบรม การคัดเลือกผูเขาอบรม การเขาเรียนและการสอน
การสอบและประเมิน การเก็บขอมูลยอนกลับจากผูเขาฝกอบรม และการติดตามคุณภาพ อาจตองมีการจัดทำและ
ออกประกาศที่เกี่ยวของ โดยอาศัย พ.ร.บ. การสงเสริมหรือพัฒนาทักษะที่เกี่ยวของ อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาในการ
ยกเวนภาษีสำหรับสถานประกอบการฝกอบรม หรือผูเขารับการอบรม ระเบียบวาดวยการจัดการศึกษาและการ
ประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ภายใตกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น รวมถึงมีการ
จัดทำคูมือปฏิบัติงานการรับรองหลักสูตร สำหรับสถานประกอบกิจการ หรืออาจทำเปนขอตกลงระหวางสถาน
ประกอบการผใู หก ารฝกอบรมกับหนว ยงานของรัฐที่เกี่ยวของ

ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยอางอิงจาก หนังสือที่ นร 0505/39192 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562
เรื่อง แนวทางการบริหารจดั การผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดบั สูงภาครฐั (Government Chief Information
Officer Management Guideline) ขอ 4 ระบุวา “มอบหมายใหกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รับผิดชอบรับรองกรอบหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผูชวยผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และใหคำแนะนำการปรับปรุงและแนวทางการพัฒนา
หลักสูตรใหเหมาะสมกับบริบทและกลุมเปาหมายการพัฒนา รวมทั้งสรางชุมชนเครือขายผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสงู ภาครัฐ (GCIO Community) เพอ่ื ขบั เคลอ่ื นการพฒั นารฐั บาลดจิ ิทลั

หนา ที่ | 8

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล

ทั้งนี้ ใหนำทักษะดานดิจิทัลฯ ที่คณะกรรมการขาราชการพลเรือนกำหนดมาใชเปนกรอบในการ
ออกแบบหลกั สตู รผบู ริหารเทคโนโลยสี ารสนเทศระดับสงู ภาครัฐดวย”

จากมติคณะรัฐมนตรีที่อางถึง สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สดช.) จึงมี
หนาที่ในการรับรองหลักสูตรฝกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ และมีบทบาทในการตรวจพิจารณา
ทั้งเนื้อหา วิธีการเรียนการสอน การประเมิน และผลลัพธการเรียนรูที่ระบุในหลักสูตรวาสอดคลองตามทักษะดาน
ดิจิทัลของขาราชการและบุคากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลหรือไม รวมทั้งดำเนินการใหมีความ
มั่นใจวาผูจัดการอบรมมีความสามารถในการดำเนินการอยางมีประสิทธิภาพ โดยจากการศึกษา วิเคราะหในเบื้องตน
การรับรองหลักสูตรฯ อาจแบงไดเปน 2 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การประเมินเพื่ออนุมัติหลักสูตรเพื่อใหดำเนินการสอน
ได และ 2) การรับรองหลกั สตู รใหสามารถจดั ใหม กี ารอบรมตามหลกั สูตรที่เสนอไดอยางตอเน่ือง โดยการประเมินเพ่ือ
อนุมัติหลักสูตรเพื่อใหดำเนินการสอนได เปนการประเมินเพื่อใหมั่นใจวา ผลลัพธการเรียนรู เนื้อหา กระบวนการ
การเรียนการสอน และวธิ กี ารประเมินผล สอดคลอ งกับมาตรฐานทักษะดานดิจิทลั ของขาราชการและบคุ ลากรภาครัฐ
เพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล โดยจะเนนวิเคราะหจาก เอกสารหลักสูตร ซึ่งมีองคประกอบ ไดแก
ชื่อหลกั สตู ร เนือ้ หา ผลลัพธก ารเรียนรู กระบวนการเรียนการสอน วิธปี ระเมินผล เปนตน

ในหัวขอถัดไปจะไดอธิบายถึงปจจัยและองคประกอบตาง ๆ ซึ่งเปนที่มาของกรอบแนวคิด
ในการประเมินรับรองหลักสูตร โดยในหัวขอ 3.1 อธิบายถึงภาพรวมและปจจัยตาง ๆ ที่ใชในการกำหนดแนวคิด
การประเมนิ เพือ่ รบั รองหลักสูตรฯ หวั ขอ ที่ 3.2 - 3.6 กลา วถงึ มาตรฐานและปจจัยตาง ๆ ทถี่ ูกนำมาใชรวม ในการ
ประเมิน และหวั ขอ ที่ 3.7 – 3.8 เปน แนวทางปฏบิ ตั ทิ ใี่ ชอยใู นปจจุบันในการพัฒนาบุคลากรและกรอบแนวคดิ ทีเ่ สนอ
ในโครงการนี้เพอ่ื การประเมนิ และรับรองหลกั สูตรฯ ตามลำดับ

3.1 การจดั ทำกรอบแนวคดิ ในการประเมินเพอ่ื รบั รองหลักสตู รฯ

การจัดทำกรอบแนวคิดในการประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรฯ ทางที่ปรึกษา มจธ. เริ่มดวยการศึกษา
ขอมูลจากเอกสารและรับฟงความคิดเห็นจากผูมีสวนไดสวนเสียจากกระบวนการประชุม Focus Group และ
ไดวเิ คราะหองคประกอบท่เี กีย่ วขอ งในการจัดทำหลกั สตู รและกระบวนการรับรองหลกั สูตร แบง ออกเปน 5 ปจ จยั
โดยมีภาพกรอบแนวคิดในการออกแบบการรบั รองหลักสูตรฯ ดงั แสดงในรปู ท่ี 2

หนา ที่ | 9

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สูตรและการจดั การศึกษาเพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ลั

รูปท่ี 2 ภาพกรอบแนวคิดในการออกแบบการรบั รองหลักสูตรฯ

จากรูปท่ี 2 แสดงภาพกรอบแนวคดิ ในการออกแบบการรบั รองหลักสตู รและการจดั การการอบรม เพือ่
พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล ซึ่งไดจากการจัดประชุม Focus Group แสดงใหเห็นถึงองคประกอบตาง ๆ ที่
เปน ปจจยั หลกั เกี่ยวของกับการรบั รองหลกั สตู ร ซง่ึ สามารถอธบิ ายความหมาย ไดด งั น้ี

“National Policy” โดยมติ ครม. วันที่ 26 ก.ย. 2560 ใหความเห็นชอบรางแนวทางการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล เพื่อใหใชเปนกลไกสำคัญ
ในการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพกำลังคนภาครัฐ และใหสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
ระบบราชการ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหนวยงานใน
สังกัด สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องคการมหาชน) และหนวยงานที่เกี่ยวของทุกภาคสวน ใหการสนับสนุนการ
ดำเนินงาน งบประมาณ และทรัพยากรที่เกี่ยวขอ งตามรางแนวทางการพฒั นาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล (อางอิง : หนังสือเวียน ที่ นร 0505/ว 493 ลงวันที่ 29
กันยายน 2560) ใหสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องคการมหาชน) หรือ สพร. เปนผูรับผิดชอบดำเนินการ
โครงการอบรมหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ พรอมมอบหมายใหกระทรวงดิจิทัลเพ่ือ
เศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบรับรองกรอบหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผูชวย
ผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และใหคำแนะนำการปรับปรุงและแนว
ทางการพัฒนาหลักสูตรใหเ หมาะสมกับบรบิ ท และกลุมเปาหมายการพัฒนา รวมทั้งสรา งชมุ ชนเครอื ขายผูบ ริหาร
เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Community) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (อางอิง :
หนังสือที่ นร 0505/39192 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562) จากนโยบายดังกลาว สดช. จึงไดดำเนินการจัดหาท่ี
ปรึกษาเพอ่ื ดำเนินการจดั ทำโครงการน้ี โดยอา งองิ มติ ครม. และกรอบมาตรฐานตาง ๆ ดังทีจ่ ะไดก ลา วตอ ไป

หนาที่ | 10

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

“Maturity Model” คือ การวัดประเมินความพรอมดานดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงคใหหนวยงานภาครัฐ
มีการเชื่อมโยงขอมูลเขาดวยกัน (Connected Government) มีความโปรงใสและเปดเผยขอมูลที่เปนขอมูล
สาธารณะตามกฎหมาย (Open Government) เปนหนวยงานภาครัฐที่มีความคลองตัว สามารถใชระบบดิจิทัลได
อยางชาญฉลาดและเหมาะสมกับวัฒนธรรมขององคกร (Smart Government and Digital Culture) โดยมีการนำ
กรอบมาตรฐานการประเมิน 3 รูปแบบมาใช ไดแก 1) Digital Government Maturity Domain and Area : MDA
(ดังแสดงรายละเอียดในหัวขอ 0) 2) กรอบทักษะดานดิจิทัลที่จำเปนสำหรับขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อ
ปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล (มติคณะรัฐมนตรี ณ วันที่ 26 กันยายน 2560) (ดังแสดงรายละเอียดในหัวขอ 3.3 )
และ 3) มาตรฐาน ISO 29993:2017 (ขอเสนอจาก Focus Group) (ดังแสดงรายละเอียดในหัวขอ 3.5 ) ซึ่งใน
กระบวนการรับรองหลักสูตรฯที่เสนอในโครงการนี้ ไดระบุอยางชัดเจนวาผูพัฒนาหลักสูตรที่จะยื่นขอรับรองตอง
แจง ระดับความพรอมและวฒุ ภิ าวะขององคกรตนสงั กัดของผเู ขา รับการอบรม วาอยูในระดับใด ดงั แสดงใน สวนที่
3 ของแบบฟอรม ONDE-CA-001

“eco-System” หมายถึง ระบบนิเวศนแสดงความสัมพันธของผูมีสวนไดสวนเสียทุกฝาย ตั้งแตหนวย
ภาครัฐ ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ สถาบันอบรม มหาวิทยาลัย หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัด
ฝกอบรม หนว ยงานรับรองมาตรฐาน เปนตน (ดังแสดงรายละเอียดในหวั ขอ 3.6 )

“Dynamism” การมีพลวัตสูง กลาวคือ หลักสูตรฯ และการรับรองหลักสูตรดังกลาว ควรมีความยืดหยุน
และเนนเปนการสงเสริมใหเกิดการพัฒนาตนเองและหนวยงานมากกวา เนื่องจากเปนการอบรมที่ปจจุบันยังมิไดเปน
ขอกำหนดของสำนักงาน ก.พ. หรือหนวยงานภาครัฐอยางเปนทางการ แตเปนเพียงแนวทาง (Guideline) เพื่อให
หนวยงานภาครัฐ สามารถนำไปใชเ พ่ือกำหนดแผนพัฒนาบคุ ลากรดานดจิ ทิ ลั เพ่อื เปนกำลงั สำคญั ในการพัฒนาองคก รตอไป

“Certification Framework” คือ สวนที่เปนเนื้อหาหลักของโครงการฯ กลาวถึง รายละเอียดตาง ๆ
ของการรับรองหลักสูตร ขั้นตอนตาง ๆ เอกสารการประเมิน การขอรับการประเมิน ผูประเมินการอบรม เปนตน
โดยในเอกสารนี้จะเปนรายงานสวนของกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรฯ และจะกลาวถึงรายละเอียด
ในแนวปฏบิ ัติในการรบั รองหลกั สูตรฯ ในรายงานแยกอกี ฉบบั หนง่ึ อยา งละเอียดตอไป

“Customer Segment” ถือไดวาเปนสวนที่มีความสำคัญเปนอยางมาก ทั้งนี้ ลูกคา หมายถึง
ขาราชการ หรือ บุคลากรภาครัฐที่ตองเขารับการพัฒนาโดยหลักสูตรที่รับรอง รวมถึงหนวยงานภาครัฐ
ที่ตองการใชความรู ความสามารถ ประสบการณ ที่ขาราชการหรือบุคลากรที่สงไปพัฒนาในหลักสูตรนั้นและ
นำไปพัฒนาหนวยงานไดอยางมีประสิทธิภาพ โดยทางที่ปรึกษา มจธ. จะไดทำการวิเคราะหและเสนอ
เปน ความเห็นไวใ หใ นรายงานตอ ไป

หนาท่ี | 11

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ัล

3.2 แบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาลดิจิทัล
(Digital Government Maturity Domain and Area: MDA)

สำหรับองคกรภาครฐั ซึ่งเปนแกนหลักในการพัฒนาประเทศ ถกู เรง รดั ใหพฒั นาการบริการท่ีตอบสนอง
ความตองการของประชาชนผูใชบริการ (Citizen-Driven) พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ เพิ่มประสิทธิภาพ
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ รวมทั้งดำเนินงานบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ความโปรงใส ปราศจาก
การทุจริตและประพฤติมิชอบและสงเสริมใหเกิดการมีสวนรวมจากทุกภาคสวน โดยการจัดระบบองคกร
ใหมีความทันสมัย มีลักษณะเปดกวาง เชื่อมโยงถึงกัน กะทัดรัด (Open and Connected Government)
และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชอยางเต็มรูปแบบ ดังที่ปรากฏในยุทธศาสตรชาติ ระยะ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 2580)
ดานการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ที่กำหนดประเด็นการพัฒนาภาครัฐใหมี
ความทันสมัย ยืดหยุน เหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประเทศ พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการ
ใหทันสมัย ประกอบกับแผนแมบทภายใตยุทธศาสตรชาติ 23 ฉบับ ไดกำหนดแผนแมบทประเด็นการบริการ
ประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ โดยมีเปาหมายและตัวชี้วัดในระยะแรก (ภายในป พ.ศ. 2565) คือ ภาครัฐ
ท่ีมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเทามาตรฐานสากลและมีความคลองตัว โดยภาครัฐในภาพรวมตองมีวุฒิภาวะ
ดา นดิจทิ ลั ตาม Digital Government Maturity Model (Gartner) ระดบั 2 และหนว ยงานท่บี รรลผุ ลสัมฤทธิ์
อยางสูงตามเปาหมายดังกลาวตองมีสัดสวนไมนอยกวารอยละ 90 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามเปาหมาย
ดังกลาวใหบรรลุผลสำเร็จอยางมีประสิทธิภาพและเกิดผลอยางเปนรูปธรรม จึงมีความจำเปนอยางยิ่งท่ี
ทุกหนวยงานของรัฐตองดำเนินการรวมกัน คือ “การปรับเปลี่ยนภาครัฐเปนรัฐบาลดิจิทัล” (Digital
Government Transformation) ดวยการพัฒนาความพรอมของบุคลากร (People) การปรับเปลี่ยน
กระบวนงาน (Process) และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคสมัยเขามาปรับใช (Technology) โดยใน
ระยะเริ่มตน สวนราชการควรวิเคราะหและระบุทิศทางเปาหมายของการปรับเปลี่ยนองคกรเปนรัฐบาลดิจิทัล
ที่ชัดเจน (To be) และควรประเมินความพรอมและพัฒนาดานดิจิทัลขององคกร (As is) เพื่อประโยชนในการ
วางกลยุทธ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใหบริการและการทำงานของรัฐใหเกิดความสมดุลใหเปน “ภาครัฐของ
ประชาชนเพอื่ ประชาชนและประโยชนสว นรวม” อยา งแทจริง

ในการนี้ สำนักงาน ก.พ. ในฐานะหนวยงานที่มีภารกิจในการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ จึงไดรวบรวมองคความรูที่เกี่ยวของกับการปรับเปลี่ยนภาครัฐเปนรัฐบาล
ดิจิทัล มาประมวลและจัดทำเปน “แบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสู
รัฐบาลดิจิทัล” (Digital Government Maturity Domain and Area : MDA) เพื่อเปนสื่อการเรียนรู (Learning
Material) สำหรับหนวยงานภาครัฐในการวิเคราะหและสำรวจความพรอมขององคกรในการพัฒนาไปสู
การเปนรัฐบาลดิจิทัลดวยตนเอง โดยไดนำระดับวุฒิภาวะดานดิจิทัลตาม Digital Government Maturity
Model (Gartner) มาใชเปน กรอบในการพฒั นาเคร่อื งมอื ดงั กลาว ดงั น้ี

หนาท่ี | 12

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สตู รและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดิจิทลั

3.2.1 วฒุ ิภาวะการปรับเปลี่ยนเปนรฐั บาลดจิ ทิ ัล
ในการพัฒนาหนวยงานของรัฐตามวุฒิภาวะดานดิจิทัลตามแผนแมบทภายใตยุทธศาสตรชาติ สำนักงาน
ก.พ. ไดจัดทำรายละเอียดระดับวุฒิภาวะหนวยงานภาครัฐซึ่งมีเปาหมายสำหรับการพัฒนาหนวยงานภาครัฐไปสู
การเปนรัฐบาลดิจิทัลในระยะการพัฒนาไปสูการเปนรัฐบาลเปดและเชื่อมโยง (Developing stage) และระยะ
ตอเนื่อง โดยไดเชื่อมโยงแนวทางการพัฒนากระบวนงาน (Process) และเทคโนโลยี (Technology) ขององคกร
กับการสรางและพัฒนากำลังคนภาครัฐ (People) ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 กันยายน 2560
เร่อื ง รา งแนวทางการพัฒนาทกั ษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครฐั เพื่อปรบั เปลย่ี นเปน รฐั บาลดิจิทลั
และตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 เมษายน 2562 รับทราบแผนปฏิบัติการดานการสรางและพัฒนากำลังคนภาครัฐ
เชิงกลยุทธเพื่อการไปสูดิจิทัลไทยแลนด วุฒิภาวะเปาหมายจำแนกระดับพัฒนาการขององคกร ออกเปน 4
ระยะ ไดแ ก 1) ระยะกอนระยะเร่มิ แรก (Pre-Early) 2) ระยะเรม่ิ แรก (Early) 3) ระยะกำลงั พัฒนา (Developing)
และ 4) ระยะสมบรู ณ (Mature) ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 3 วฒุ ิภาวะรฐั บาลดิจทิ ัล (Digital Government Maturity Model)

(ทมี่ า: เอกสารเผยแพรสำนกั งาน ก.พ. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/ocsc.pdf)

หนา ที่ | 13

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สตู รและการจัดการศกึ ษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดา นดจิ ิทัล

3.2.2 รายละเอียดแบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาล
ดิจิทลั (Digital Government Maturity Domain and Area: MDA)

วัตถปุ ระสงค
เพื่อใหมีแนวทางและวิธีการปรับเปลี่ยนภาครัฐเปนรัฐบาลดิจิทัล สำหรับใชในการพัฒนาบริการและ
ระบบบริหารงานภาครัฐใหทัน (ตรง) สมัย เปนภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชนสวนรวม
และพัฒนาภาครัฐไปสูการเปนรัฐบาลเชื่อมโยงเสมือนเปนองคกรเดียวและเปดภาคประชาชนและภาคสวนอื่น
รวมสรางนวัตกรรมการบริการและการทำงานใหกับชุมชน สังคม และประเทศ โดยมีภาครัฐเปนฐาน
(Platform) การตอยอดการสรางคุณคารวมกัน ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาประเทศ
ไปสคู วามมน่ั คง มั่งคัง่ และยั่งยนื
ประโยชนท ไี่ ดร บั
1) ผูที่เกี่ยวของมีความเขาใจที่ตรงกันเกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และวิธีการปรับเปลี่ยนภาครัฐ

เปน รัฐบาลดิจทิ ลั
2) ผูบริหารสวนราชการ ผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของภาครัฐ ทีมขับเคลื่อนการ

เปล่ยี นแปลง และผูท เ่ี กีย่ วของ มีเครื่องมือชว ย (Tool Kit) วิเคราะหร ะดับความพรอมและวฒุ ภิ าวะของ
องคกร รวมทั้งมีขอแนะนำเบื้องตน (How to) สำหรับการวางแผน กำหนดแนวทาง และพัฒนา
องคกรไปสูการเปนรัฐบาลดิจิทลั ทีส่ อดคลองกับบริบทปจจุบัน
3) หนวยงานของรัฐ สามารถระบุระดับความพรอมและพัฒนาการดานดิจิทัลขององคกร และมีแนวทาง
อางองิ ในการพฒั นาองคกรใหเ กิดความสมดลุ
4) ขาราชการ บุคลากรภาครัฐและผูที่สนใจ มีสารสนเทศอางอิงเพื่อการศึกษาและสรางความเขาใจ
เก่ยี วกับแนวทางการปรบั เปลยี่ นภาครัฐเปน รัฐบาลดิจทิ ลั
โครงสรางของแบบสำรวจ ระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาลดิจิทัล
ประกอบดว ย 4 สว นหลกั ดงั แสดงในรูปท่ี 4 มีรายละเอยี ดดังน้ี

สว นที่ 1 ขอ มูลการตอบแบบประเมิน
สว นท่ี 2 ขอมูลหนวยงาน
สวนท่ี 3 ความคดิ เห็นของหนว ยงานในการปรับเปลย่ี นเปนรัฐบาลดิจทิ ัล
สวนที่ 4 มิติและปจจัยในการวัดระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการ

พฒั นาไปสรู ฐั บาลดจิ ทิ ลั

หนา ท่ี | 14

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สูตรและการจัดการศกึ ษาเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจิทัล

รูปที่ 4 มิตแิ ละปจจยั ในการวดั ระดับความพรอมและวุฒภิ าวะขององคกร

(ท่ีมา: เอกสารเผยแพรส ำนักงาน ก.พ. https://www.ocsc.go.th/digital_hr/mda)

ระดับวุฒิภาวะดานดิจิทัลของหนวยงานภาครัฐ คำนวณจากความครบถวนของการดำเนินงาน
ในระดับพัฒนาการดานดิจิทัลระดับหนึ่ง ๆ ตามที่ระบุไวในโมเดลวุฒิภาวะรัฐบาลดิจิทัล ตามสูตรคาเฉลี่ย
ของนำ้ หนกั ในแตล ะประเด็นท่เี ลอื ก ดังนี้

ระดบั วฒุ ิภาวะดานดจิ ทิ ัลของหนว ยงานภาครัฐ มีคา คะแนนอยรู ะหวา ง 1 - 4 ไดแก
1) ระยะกอ นระยะเร่ิมแรก (Pre-Early)
2) ระยะเริ่มแรก (Early)
3) ระยะกำลังพัฒนา (Developing)
4) ระยะสมบรู ณ (Mature) หรือระยะมวี ุฒภิ าวะ ระยะกา วหนา

แบบประเมินระดับวุฒิภาวะดานดิจิทัลของหนวยงานภาครัฐนี้ ไดมีการขอความรวมมือกับหนวยงาน
ภาครัฐระดับกรมบางหนวยงานเพื่อเขารับการประเมินตามความสมัครใจ การประเมินเปนการตอบคำถาม
ตามแบบฟอรม และนำขอมูลที่ไดมาทำการประเมินตามสูตรที่ระบุขางตน ความถูกตองของขอมูลจึงขึ้นอยูกับ
ผูใหข อ มูลของแตล ะหนว ยงาน แตเ น่อื งจากแบบประเมินไดร ะบถุ ึงกลมุ ตวั แทนของหนวยงานเปนองคคณะมิใช
เปนบคุ คลเพียงคนเดยี วจึงทำใหขอ มลู ท่ีไดมีความนา เชอื่ ถือพอสมควร

หนาท่ี | 15

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครฐั ดา นดิจทิ ลั

จากนั้น ตามที่ สำนักงาน ก.พ. ไดกำหนดแนวทางในการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐไว หนวยงานที่ไดประเมินตนเองแลว จะสามารถนำผลที่ไดจากการประเมินไปใชในการวางแผน
การพัฒนาบุคลากรของตนไดตามกรอบทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยน
เปน รฐั บาลดิจิทัล ตอ ไป

อยางไรก็ตาม ที่ปรึกษา มจธ. ขอเสนอให สดช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงเสริมและ
พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการพิจารณาหลักเกณฑดังกลาวทุกป เพื่อความทันสมัยและ
สอดคลอ งกบั การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสงั คม

3.3 ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐเปน
รฐั บาลดิจิทัล

เพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่อางถึง (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว6 ลงวันท่ี
18 พฤษภาคม 2561) สำนักงาน ก.พ. ไดรวมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องคการมหาชน) หรือ สคช. จัดทำ
รายละเอียดทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล โดยนำ
องคประกอบทักษะดานดิจิทัลตามที่ระบุในมติคณะรัฐมนตรี วันท่ี 26 กันยายน 2560 และกรอบการจัดทำ
คุณวุฒิวิชาชีพของ สคช. มาปรับใชในการจัดทำทักษะดานดิจิทัล ในการนี้ไดมีการศึกษาวิเคราะหขอมูล
ที่เกี่ยวของทางทฤษฎีและแนวปฏิบัติที่ดใี นตางประเทศ มีการเชิญขาราชการและบคุ ลากรซึง่ เปนกลมุ เปาหมาย
ของการพัฒนา จำนวนมากกวา 20 คน มาประชุมรวมกัน จำนวนมากกวา 40 ครั้ง เพื่อจัดทำและกลั่นกรอง
ในรายละเอียดทักษะดานดิจิทัล รวมทั้งไดมีการสัมภาษณเพื่อรับฟงความคิดเห็นจากผูบริหารสวนราชการ
เพอ่ื ถอดบทเรียนจากประสบการณ ขัน้ ตอนและกระบวนการดำเนินงานทส่ี ำคญั ดว ย

สำนักงาน ก.พ. ไดนำทักษะดานดิจิทัลที่จัดทำขึ้นดังกลาว เสนอคณะกรรมการขาราชการพลเรือน (ก.พ.)
พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 เพื่อกำหนดเปนทักษะดานดิจิทัล สำหรับขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐ โดยคาดหวังใหบุคลากรภาครัฐ สวนราชการ หนวยงานของรัฐ และหนวยงานที่เกี่ยวของไดใชเปนแนวทางใน
การพัฒนากรอบความคิดและทักษะที่จำเปนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานและการใหบริการของ
หนวยงานใหมคี วามทันสมัยเปนองคก รท่ีสรางสรรคนวัตกรรมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช มกี ารเชือ่ มโยงขอมูลการ
ทำงานและการใหบริการขามหนวยงานในลักษณะ Interoperability รวมทั้งมีการสรางและพัฒนารัฐบาลแบบเปดท่ี
ใหประชาชนเขามามีสวนรวมในกระบวนการทำงาน การตัดสินใจ และสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได
ท้งั น้ีเพ่อื นำไปสูการเปน รัฐบาลดิจทิ ลั ซ่ึงมคี ณุ ลักษณะสำคัญ 3 ประการ ดงั น้ี

1) รัฐบาลแบบเปดและเชอื่ มโยงกนั (Open and Connected Government) ซงึ่ มุง เนนใหเกิด
(1) การบูรณาการกระบวนงานและขอมูลระหวางหนวยงานภาครัฐ เพื่อสรางคุณคารวมกัน

ระหวา งหนวยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน
(2) การเปดเผยและใหบริการขอ มูลทีเ่ ปนประโยชนแกประชาชน
(3) การมีสว นรวมของภาคสวนตาง ๆ ทั้งรฐั เอกชน และประชาชนในการบริหาร จัดการภาครฐั

2) รัฐบาลที่มีความทันสมัยและยึดประชาชนเปนศูนยกลาง (Smart Government for Citizen)

หนา ที่ | 16

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สตู รและการจัดการศึกษาเพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ลั

ซ่ึงมุง เนน ใหเ กิด
(1) การปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อนำไปสูองคกรที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนำ

เทคโนโลยีมาใชใ หเกดิ ประโยชนส ูงสดุ
(2) การพัฒนาการใหบริการประชาชนและการอำนวยความสะดวกของภาครัฐสูความเปนเลิศ

ตรงกับความตอ งการของประชาชน (Personalized Public Services) โดยการสรางสรรค นวัตกรรม
(Innovation)
3) วฒั นธรรมดจิ ทิ ลั ภาครฐั (Digital Culture) ซง่ึ ประกอบดว ย

(1) การรเิ ร่มิ สรา งสรรคสง่ิ ใหม ๆ เพอื่ ประชาชน
(2) ความพรอมในการปรบั ตัว คลอ งแคลว วอ งไว ปรบั เปลย่ี นรวดเรว็ (Agility)
(3) การทำงานรวมกัน (Collaboration)
(4) การใชข อมลู เพือ่ การตัดสนิ ใจ (Data Driven)
(5) มีธรรมาภิบาล (Digital Governance)

ในการนี้ เพื่อใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถนำทักษะดานดิจิทัลดังกลาวไปใชสำหรับ
การพัฒนาบคุ ลากรไดต รงตามเจตนารมณของการจัดทำ สำนกั งาน ก.พ. จงึ ไดจ ัดทำ “คูมือ แนวทางการนำทักษะ
ดา นดจิ ทิ ัลของขา ราชการและบคุ ลากรภาครัฐไปใชในระดบั องคกรและระดับบคุ คล” ประกอบดว ย 5 สว น ไดแก

1) หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013.4/ว6 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เรื่อง ทักษะดานดิจิทัล
ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล ที่สวนราชการและ
หนวยงานของรัฐ รวมถึงขาราชการและบุคลากรภาครัฐ สามารถนำไปประกอบการวางแผนเพ่ือ
พัฒนาทักษะดานดิจิทัลของบุคลากรได ดังแสดงในรูปที่ 5 ซึ่งทักษะดานดิจิทัลฯ นี้ประกอบดวย
ความสามารถ ความรู ประสบการณ คุณลกั ษณะ และสมรรถนะ สามารถคนหารายละเอียดเพิม่ เตมิ
ไดจ ากเอกสารดงั กลา วขางตน หรือในเว็บไซตข องสำนกั งาน ก.พ.

หนา ท่ี | 17

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลกั สูตรและการจดั การศกึ ษาเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ิทลั

รูปที่ 5 ทักษะดา นดิจทิ ัลของขา ราชการและบคุ ลากรภาครัฐเพ่อื การปรับเปล่ียนเปน รฐั บาลดิจทิ ัล

(ทม่ี า: เอกสารเผยแพรส ำนักงาน ก.พ.

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/00_khuumuuethaksadaandicchithalkhngkhaaraachkaaraelabukhlaakrphaakhratht.pdf)

2) แนวทางการนำทักษะดานดิจิทัลไปปรับใช ซึ่งอธิบายวิธีการในการนำทักษะดานดิจิทัลดังกลาวไป
ประยกุ ตใชท ั้งในระดบั องคก รและระดบั บุคคล ดังแสดงในรปู ที่ 6

รูปที่ 6 องคประกอบของทักษะดา นดิจทิ ลั ของขา ราชการและบุคลากรภาครฐั

(ทม่ี า: เอกสารเผยแพรส ำนกั งาน ก.พ.

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/00_khuumuuethaksadaandicchithalkhngkhaaraachkaaraelabukhlaakrphaakhratht.pdf)
หนาที่ | 18

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ัล

3) คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการนำทักษะดานดิจิทัลไปปรับใช โดยการอธิบายเทคนิค วิธีการและ
แนวทางในการนำทกั ษะดานดิจิทัลดังกลาวไปประยกุ ตใ ชท ้งั ในระดับองคก รและระดับบคุ คล

4) แบบฟอรมการวางแผนพัฒนาทกั ษะดานดิจทิ ลั ในระดบั องคกร (Human Resource Development
Planning Template) และระดบั บุคคล (Individual Development Plan Template)

5) รูปแบบการเรียนรูและพัฒนาแบบ 70 : 20 : 10 (Blended learning) ซึ่งสวนราชการและ
หนวยงานของรัฐ รวมทั้งขาราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถนำไปปรับใชประกอบการวางแผน
พัฒนาทักษะดานดิจิทัลได โดยที่ปรึกษา มจธ. ไดมีการศึกษาขอมูลจากการบูรณาการเครือขายเพื่อ
การพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ สวนของการสงเสริมการพัฒนาอยาง
ยง่ั ยนื 70 : 20 : 10 โดยสามารถอธิบายไดด งั น้ี
(1) สวนของ 70 และ 20 เปนสวนที่ใช Online Learning หรือ On The Job Learning เปน
องคประกอบหลกั โดยใหเ นนการเรยี นรจู ากการทำงานจรงิ
(2) สว นของ 10 และ 20 (บางสวน) เปน In-class learning หมายถงึ การเรียนในหองเรียนโดยมีผูสอน
อาจใชวิธีการบรรยายหรือทำแบบฝกหัดหรือฝกปฏิบัติกับเครื่องมือในหองปฏิบัติการ ซึ่งหมาย
รวมถงึ ทกั ษะทมี่ ีความซับซอนสงู

รายละเอียดของรูปแบบการเรียนรูแบบ 70 : 20 : 10 (Blended learning) ไดอธิบายไวในหัวขอ 3.4
แนวทางพัฒนากำลังคนภาครัฐใหมที ักษะดานดิจทิ ัล

นอกจากนี้ ในปจจุบัน ไดมีการขยายหนวยความสามารถของทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐ เพื่อใหครอบคลุมขาราชการในตำแหนง CIO ในระดับกระทรวงและระดับกรม (หนังสือ
เพิ่มเติมจากสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 1013/ว6 ลงวันที่ 18 พ.ค. 2561 เรื่องทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลเพิ่มเติม) ไดแก ทักษะดานดิจิทัลของผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ในระดับกระทรวง และในระดับกรม รวมถึงผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับสงู ภาครฐั ดงั แสดงในรูปที่ 7 และมีรายละเอยี ดดงั น้ี

หนาที่ | 19

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศกึ ษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดิจิทัล

รปู ที่ 7 หนวยความสามารถของทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครฐั

(ทีม่ า: เอกสารเผยแพรส ำนักงาน ก.พ.

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/00_khuumuuethaksadaandicchithalkhngkhaaraachkaaraelabukhlaakrphaakhratht.pdf)

1) ทกั ษะดา นดิจทิ ัลของผบู ริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดบั สูงภาครฐั
ก. ทักษะดานดิจิทัลของผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกระทรวง (Ministry Chief

Information Officer : MCIO)
บทบาทและพฤตกิ รรมท่คี าดหวงั
เปนผูประสานสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของกระทรวง โดยเสนอแนะเปาหมาย

และทิศทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับกระทรวงที่ชัดเจน ประสานเชื่อมโยง พัฒนาความรวมมือ กำกับ
ดูแลเทคโนโลยี (รวมทั้งขอมูล) ภายในกระทรวงใหมีความมั่นคงปลอดภัย ไดมาตรฐาน และคำนึงถึงความเปน
สวนบุคคล รวมทั้งติดตามสถานการณเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ บรรลุเปาหมาย และเปนไปบนพื้นฐาน
หลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความตองการที่แทจริงของประชาชนและผูรับบริการ ทุกภาคสวน และ
เพ่ือการพฒั นาที่ตอเน่อื งและยง่ั ยืน

ข. ทักษะดานดิจิทัลของผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม (Department Chief
Information Officer : DCIO)

หนา ท่ี | 20

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลกั สูตรและการจัดการศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดา นดจิ ทิ ลั

บทบาทและพฤตกิ รรมทีค่ าดหวงั
เปนผูขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระดับกรม โดยสงเสริมและผลักดันใหมีการปรับรูปแบบ
การบริการและทำงานภาครัฐใหมีความทันสมัย รวดเร็ว โปรงใส เชื่อมโยงอยางเปนเครือขายทั้งภายใน และ
ภายนอกภาครัฐ พัฒนาและนำสงนวัตกรรมบริการที่ขับเคลื่อนโดยความตองการที่แทจริงของประชาชน
ผูรับบริการ บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการใชประโยชนรวมกัน กำกับดูแลการพัฒนาเทคโนโลยี รวมท้ัง
เชื่อมโยงระบบงานและขอมูลทั้งภายในและระหวางหนวยงาน ใหเกิดประโยชนอยางสรางสรรค มีความ
เหมาะสม ไดมาตรฐาน มน่ั คง ปลอดภยั และคำนงึ ถงึ ความเปน สวนบคุ คล เพือ่ การพัฒนาทตี่ อ เน่ืองและยง่ั ยนื

2) ทกั ษะดานดจิ ิทัลของผูชว ยผูบรหิ ารเทคโนโลยสี ารสนเทศระดบั สูงภาครัฐ
ก. ทักษะดานดิจิทัลของผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ระดับกระทรวง กรม (Ministry

and Department Chief Information Officer Assistant)
บทบาทและพฤติกรรมท่ีคาดหวัง
เปนผูชวยผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกระทรวง กรม ในการปรับเปลี่ยนไปสู

การเปนรัฐบาลดิจิทัล โดยใหการสนับสนุนการกำหนดเปาหมาย แนวทางการพัฒนาภาครัฐระดับกระทรวง
กรม การจัดทำแผนงาน โครงการงบประมาณ และบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนเปน
องคกรดิจิทัล การจัดทำสถาปตยกรรมองคกร การพัฒนานวัตกรรมดานกระบวนการและรูปแบบธุรกิจ
ดำเนินงาน เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการทำงาน การบริการ ระบบนิเวศ และวัฒนธรรมองคกรภาครัฐ ใหมี
ความทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรม และขอมูลมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุดและคำนึงถึงธรรมาภิบาล
ความมั่นคงปลอดภัย ความเปนสวนบุคคล พัฒนาและบริหารจัดการระบบงาน ขอมูล โครงสรางพื้นฐานดาน
ดิจิทัลของหนวยงาน ใหเกิดการบูรณาการเชื่อมโยง และใชประโยชนรวมกัน รวมทั้งประสาน สนับสนุนการพัฒนา
ความรวมมือดา นดิจิทลั เพือ่ เชือ่ มโยงการทำงานและขอมูลทง้ั ภายในและภายนอกหนวยงาน

จากการศึกษาเอกสาร ทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐ
เปนรฐั บาลดจิ ทิ ัล (หนังสือสำนกั งาน ก.พ. ท่ี นร 1013/ว6 ลงวันท่ี 18 พฤษภาคม 2561) พบวาในเชงิ เน้อื หามีความ
กวางครอบคลุมหัวขอจำนวนมาก แตในบางสวนที่เปนเนื้อหาดานเทคโนโลยียังขาดความลึกซึ้ง และมิไดมี
รายละเอียดแยกองคความรูแยกกันในแตล ะกลุมของบคุ ลากร เชน ถาเปนหัวขอเดยี วกัน ผูบริหารระดับสงู และนัก
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจจำเปนตองใชความรูในระดับหรือความลึกซึ้งที่ตางกัน ดังนั้น ควรคำนึงถึงประเด็น
เหลา น้ีดว ย

3.4 แนวทางพัฒนากำลงั คนภาครัฐใหม ีทกั ษะดา นดจิ ทิ ัล

ตามที่ไดระบุไวใน มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 กันยายน 2560 เรื่อง แนวทางการพฒั นาทักษะดานดิจิทลั
ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล กำหนดแนวทางการพัฒนากำลังคน
ภาครฐั ใหม ีทักษะดานดิจทิ ัลทส่ี ำคัญไว ดังน้ี

1) กำหนดให “การพัฒนาคนเพื่อสรางและพัฒนาระบบดิจิทัล” และ “การสรางและพัฒนาคนใหเทา กนั

หนา ท่ี | 21

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสูตรและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดจิ ทิ ลั

และสามารถใชเทคโนโลยีอยา งรอบรู” ซึ่งเปน ประเด็นหลักในการพัฒนา
2) ใหมีการจัดการพัฒนากำลังคนแบบบูรณาการโดยการนำของผูบริหาร ผูอำนวยการ ผูปฏิบัติงานและ

นักเทคโนโลยสี ารสนเทศ มาเรยี นรู และเตมิ เตม็ ซ่ึงกนั และกนั เพือ่ สรา งระบบดจิ ิทัลของหนวยงาน
3) กำหนดใหเ ปนหนาทข่ี องขา ราชการและบคุ ลากรภาครัฐในการพัฒนาตนเองแบบ 70:20:10
4) ใหมีการปรบั รูปแบบการพฒั นา โดยนำแนวทางจดั การเรียนรูแบบผสมผสานมาใช และในการฝกอบรม

ใหล ดการบรรยาย และเพมิ่ การเรยี นรแู บบอื่นในสดั สว น 50:50

เพื่อใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งสวนราชการและหนวยงานภาครัฐสามารถนำทักษะ
ดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐเปนรัฐบาลดิจิทัล ไปปรับใชได
อยางเหมาะสม สำนักงาน ก.พ. ไดจัดทำแนวทางการดำเนินงานเพื่อเปนคำแนะนำสำหรับ (1) สวนราชการและ
หนว ยงานของรัฐ และ (2) ขา ราชการและบุคลากรภาครัฐ โดยมีเปาหมาย ดงั นี้

- สวนราชการและหนวยงานของรัฐสามารถนำทักษะดานดิจิทัลไปใชในการพัฒนาบุคลากร
ในสังกัดใหมีทักษะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและการพัฒนาองคกรใหมีความทันสมัยเปน
องคก รท่สี รา งสรรคน วัตกรรม โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใชป ระโยชนสงู สุด

- ขาราชการและบุคลากรภาครัฐสามารถนำทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ
ไปวางแผนและดำเนินการพัฒนาตนเองรวมถึงผูอ่ืนใหเทาทันบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก
ประเทศ ภาครฐั และเปน สว นหนง่ึ ของการปรบั เปล่ียนภาครัฐเปนรัฐบาลดจิ ิทลั ได

ในการนี้ สวนราชการและหนวยงานของรัฐและขาราชการและบุคลากรภาครัฐ อาจกำหนดทักษะ
ดานดิจิทัลเพิ่มเติมหรือปรับปรุงใหมีความเหมาะสมและสอดคลองกับหนาที่ความรับผิดชอบของบุคคล และ
บริบทขององคก ร นอกเหนอื จากทักษะดา นดิจทิ ัลท่ีสำนักงาน ก.พ. กำหนดไวเ ปน แนวทางตามเง่อื นไขทีก่ ำหนดได
(อา งองิ ตามเอกสาร “ทักษะดานดจิ ิทัลทจี่ ำเปนสำหรบั ขา ราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรบั เปลี่ยนเปนรัฐบาล
ดิจิทัล” ภายใตแนวทางพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาล
ดิจทิ ัลตามมตคิ ณะรัฐมนตรี วนั ท่ี 26 กนั ยายน 2560 : ฉบับปรับปรงุ ครัง้ ท่ี 1 มถิ ุนายน 2562)

แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ (มติคณะรัฐมนตรี วันที่
26 กันยายน 2560) ในขอ 4.8 แนวทางพัฒนากำลังคนภาครัฐใหมที ักษะดานดิจทิ ัล กำหนดไวด ังน้ี

“ขอ 4.8.3 กำหนดใหเปนหนาที่ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐในการนำรูปแบบการเรียนรู
และ พัฒนาแบบ 70:20:10 (รอยละ 70 เรียนรูดวยตนเองและจากการปฏิบัติงาน รอยละ 20 เรียนรู
จากผูอื่น และรอยละ 10 เรียนรูจากการฝกอบรม) มาปรับใชในการเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
ของตนเอง และใหการสง เสรมิ และสนบั สนุนการพฒั นาผใู ตบงั คบั บัญชาและผรู ว มงาน เพือ่ ใหรเู ทาทันและ
สามารถนำเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาใชป ระโยชนใ นการปฏบิ ัตงิ านไดอ ยางเตม็ ท”่ี

“ขอ 4.8.4 กำหนดใหสวนราชการและหนวยงานของรัฐ หนวยงานที่รับผิดชอบงานดานการ
บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และหนวยงานที่มีภารกิจดานการจัดฝกอบรมและพัฒนาขาราชการ
และบุคลากรภาครัฐ รวมถึงหนวยงานที่เกี่ยวของ สงเสริมและสนับสนุนการเรียนรูรวมทั้งจัดดำเนินการ

หนา ที่ | 22

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสูตรและการจดั การศึกษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ทิ ลั

เพื่อใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐแตละกลุมไดรับการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลตามที่ ก.พ. กำหนดตาม
ขอ 4.7.2 ทั้งนี้ เพื่อใหสามารถดำเนินบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังตามขอ 4.6 ในการขับเคลื่อน
ภาครฐั ไปสกู ารเปนรฐั บาลดจิ ิทัลไดอยางมปี ระสิทธิภาพ”

ในการสงเสริม สนับสนุน และดำเนินการเพื่อใหขาราชการมีทักษะดานดิจิทัลตามที่กำหนด
สวนราชการและหนวยงานของรฐั ควรจดั ทำแผนพัฒนาทักษะดานดิจทิ ัลและทกั ษะท่จี ำเปนของขาราชการและ
บคุ ลากรภาครัฐในระดบั องคก รโดยดำเนินการตามขน้ั ตอน ดังตอ ไปนี้

1) วเิ คราะห และระบุภาพรวมความตองการพฒั นาทักษะดานดจิ ิทลั ของบคุ ลากร
วิเคราะห และระบุภาพรวมความตองการพัฒนาทกั ษะดานดิจิทลั ของบคุ ลากรภายในหนวยงาน (Gap
Analysis) โดยสงเสริมและสนับสนุนใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐในสังกัด ประเมินศักยภาพและ
ความพรอมเรื่องทักษะดานดิจิทัลเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลของตนเอง และนำขอมูลดังกลาวมา
วิเคราะหเปรียบเทียบทักษะดานดิจิทัลที่บุคลากรในสังกัดมีในปจจุบัน กับทักษะดานดิจิทัลที่จำเปนสำหรับการ
พัฒนาองคกรไปสูการเปนรัฐบาลดิจิทัล มาประกอบการวางแผนการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของบุคลากร
ระหวางป พ.ศ. 2561-2565 ทั้งในสวนของการพัฒนาเพื่อการปฏิบัติงานในปจจุบัน และการพัฒนาเพื่อการ
ปฏบิ ตั ิงานในอนาคต
2) จัดทำแผนการพัฒนาทกั ษะดา นดิจทิ ัลของขาราชการและบคุ ลากรของหนว ยงาน
โดยนำความตอ งการพัฒนาทักษะดา นดิจทิ ลั ของบคุ ลากรในสังกัดในภาพรวมมาวิเคราะห และจำแนก
บุคลากรออกเปนกลุมตามกลมุ ขาราชการและบุคลากรภาครัฐและตามความจำเปนเรงดวนในการพฒั นาทักษะ
ดา นดิจทิ ลั แลว จดั ทำแผนการพัฒนาระยะตาง ๆ เชน ระยะ 1 ป ระยะ 3 ป หรือระยะ 5 ป เปน ตน โดยพจิ ารณา
ใหสอดคลอ งกบั

(1) วิสัยทัศนแ ละพนั ธกจิ ขององคก ร
(2) เปา หมายการพัฒนาทักษะดา นดิจิทลั และบริบทการปรับเปลย่ี นเปนรฐั บาลดิจทิ ลั ของหนว ยงาน
(3) ความพรอ มของหนวยงาน และพ้นื ฐานทกั ษะดา นดจิ ทิ ลั ของบคุ ลากรในสังกดั
(4) ประเด็นการพัฒนากำลังคนภาครัฐใน “การสรางและพัฒนาคนใหเทาทันและสามารถใช
เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานไดอยางรอบรู” และ “การพัฒนาคนเพื่อสรางและพัฒนา ระบบ
เทคโนโลยีดิจทิ ลั ของหนว ยงาน”

หนาที่ | 23

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครฐั ดานดิจิทัล

ในกรณีที่สวนราชการ หนวยงานของรัฐพบวามีรายการทักษะดานดิจิทัลที่ตองจัดเตรียม พัฒนาใหกับ
บุคลากรในสังกัดคอนขางมาก อาจระบุประเด็นที่เปนจุดเนนการพัฒนาในระดับหนวยงาน (Theme) เปนรายป
เพื่อใชเปนกรอบการพัฒนาในภาพรวมของหนวยงาน โดยพิจารณาถึงเปาหมาย การปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาล
ดจิ ิทลั ในภาพรวมของหนวยงานประกอบ

3) กำหนดรูปแบบและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาบุคลากรภาครัฐแตละกลุม
ในแตละชว งเวลา

โดยนำรูปแบบการเรียนรแู ละพัฒนาแบบ 70 : 20 : 10 มาปรับใช ในการน้ีใหคำนึงถึงเปาหมายและผลลัพธ
ของการพฒั นาทค่ี าดหวัง รวมถงึ จดั สรรและใชทรัพยากรที่มอี ยูใหเกิด ประโยชนส ูงสุดตามที่แสดงในรูปท่ี 8

รปู ท่ี 8 สัดสวนของรปู แบบการเรยี นรแู ละพัฒนาแบบ 70:20:10 พรอ มตัวอยา ง

(ทม่ี า: เอกสารเผยแพรส ำนกั งาน ก.พ.

https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/00_khuumuuethaksadaandicchithalkhngkhaaraachkaaraelabukhlaakrphaakhratht.pdf)

จากรูปที่ 8 รูปแบบการเรียนรู 70% ของทักษะดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐฯ จะไดมา
จากการเรียนรูดวยตนเองและจากการปฏิบัติงาน (on-the-job training) เพื่อใหมั่นใจวาความรูที่ไดสามารถ
นำไปใชในการพัฒนางานและหนวยงานตนสังกัดไดอยางแทจริง ในสวน 20% ของทักษะฯ จะไดจากการ
เรียนรูจากผูอื่นและการสอนงาน ซึ่งอาจเปนการสอนงาน (Coaching) โปรแกรมพี่เลี้ยง (Mentoring
Program) ที่หนวยงานไดจัดทำขึ้น โดยอาจใชผูที่มีความเชี่ยวชาญภายในหนวยงานเอง หรือผูเชี่ยวชาญจาก
ภายนอกก็ได และสุดทาย คือ สวน 10% ที่กำหนดใหเปนการเรียนรูจากการฝกอบรม ดวยวิธีการฝกอบรม
ในหองเรียน (Classroom Training) การประชุม/สัมมนา (Meeting/Seminar) หรือการใหทุนการศึกษา
(Scholarship)

หนาท่ี | 24

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจทิ ลั

ดังนั้นจากขอมูลขางตน การอบรมที่กลาวถึงในโครงการนี้จะครอบคลุมเพียง สวนของ 10% หรือ
อาจเปนบางสวนของ 20% และ 70% เทานั้น แตการอบรมไมสามารถครอบคลุมเนื้อหาตามความ
ตองการที่กำหนดทั้งหมดที่กำหนดไวไดตามตัวชี้วัดทั้งหมด อยางไรก็ตาม เปนหนาที่ของ หนวยงานตน
สังกัดที่จะตองกำหนดตัวชี้วัดที่ เหมาะสมแกบุคลากรของตนเพื่อประเมินผลในระยะยาวหลังจากผานการ
อบรมตามหลกั สตู รทไี่ ดรับการรับรองแลว

3.5 มาตรฐาน ISO ทีเ่ กี่ยวขอ งกบั การรับรองหลักสตู รและการจดั การการอบรม

3.5.1 มาตรฐาน ISO 29993:2017 สำหรบั ผใู หบ รกิ ารดา นการเรียนรู
ISO 29993:2017 Learning services outside formal education – Service requirements เปน ระบบ
มาตรฐานสำหรับองคกรที่ใหบริการดานการเรียนรู อาทิ การฝกอบรมเชิงวิชาชีพ การฝกอบรมภายในองคกร และ
การใหบริการฝก อบรมภายนอก (รายละเอียดมาตรฐาน ดงั แสดงในภาคผนวก ก)
ขอกำหนดของมาตรฐาน ISO 29993:2017 เปนขอกำหนดสำหรับบริการดานการเรียนรู
นอกเหนอื จากการศึกษาอยางเปน ทางการ รวมทงั้ การเรยี นรตู ลอดชวี ิต เชน การศกึ ษาดานวชิ าชีพ อาชีวศกึ ษา
การฝก อบรมภายในบรษิ ัท และการฝกอบรมโดยผูใ หบรกิ ารการฝก อบรม (Learning Service Provider: LSP)
เปนตน ซึ่งมที ง้ั การเรียนรูแบบตัวตอตัว การเรียนรผู านส่ือเทคโนโลยีตาง ๆ และการเรียนรทู ี่ผสมผสานทั้งสองแบบ
ดงั กลาวเขา ดว ยกนั
แดเนียล กราฟ ประธานคณะกรรมการวิชาการของไอเอสโอ ISO/TC 232 ซึ่งเปนทีมผูพัฒนา
มาตรฐานดังกลาว รวมกับ สถาบันมาตรฐานแหงชาติของประเทศเยอรมัน (DIN) กลาววามาตรฐาน ISO
29993 ทำใหผูใหบริการดานการเรียนรู ไดรับประโยชนจากการพัฒนาคุณภาพ และมีการจัดเตรียมมาตรฐาน
ที่ไดรับการยอมรับในระดับนานาชาติซึ่งทำใหมาตรฐานในประเทศ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมไปถึง
โรงเรียนในทองถิ่นมีความสอดคลองและเปนไปในทางเดียวกัน นอกจากนี้ ยังทำใหผูเรียนรูไดรับประโยชน
จากการมีขอมูลที่ชดั เจนเก่ยี วกบั ส่งิ ทคี่ าดหวงั จากการอบรมดวย
มาตรฐาน ISO 29993: 2017 ใหความสำคัญกับผูเรียนท่ี ควรจะไดรับขอมูลทางเลือก จากผูใหบริการ
ดา นการเรยี นรู ทชี่ ดั เจนรวมไปถงึ สิ่งทีค่ าดหวงั จากการเรียน/อบรม ตลอดจนทำใหรูจักสถาบันผูใหบรกิ ารมากข้นึ ดวย
ISO 29993: 2017 ไมเพียงแตจะเปนประโยชนสำหรับโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
ที่ใหบริการทางการศึกษาซึ่งเปนสวนหนึ่งของระบบการศึกษาอยางเปนทางการเทานั้น แตยังเปนประโยชน
สำหรับองคกรดานการศึกษาและการเรียนรูที่ตองการใชมาตรฐานเปนเครื่องมือในการประเมินตนเองและ
สะทอนใหเห็นภาพขององคก รของตนดวย โดยมีเนอื้ หาตวั อยา งทสี่ ำคัญพอสงั เขป ดงั น้ี

หนาท่ี | 25

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจดั การศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล

ตัวอยา งรายละเอียดหัวขอในการออกแบบหลักสตู รอบรมที่สอดคลอ งกับเกณฑม าตรฐาน
ISO29993 บางสว น

- ผลของการวิเคราะหค วามตองการของผูมสี ว นไดสวนเสยี (needs analysis) เพอ่ื ใหทราบถึง
แนวคิดและทม่ี าของหลกั สตู รอบรม

- วัตถุประสงคและเปา หมายของหลักสูตร
- จำนวนผูเ รียนและอตั ราสวนระหวา งผสู อนและผเู รยี น
- ผลลพั ธก ารเรยี นรทู ่ีคาดหวัง
- รายละเอยี ดหัวขอการอบรม
- สมรรถนะและความสามารถ ของผูเขา อบรมท่สี อดคลองกบั หวั เร่อื ง และ จดุ ประสงคของการอบรม

เม่อื ผานการอบรม
- กระบวนวิธใี นการเรียนการสอน และ วธิ ีการประเมินการเรยี นรู
- จำนวนช่ัวโมงท่ใี ชใ นการเรยี นรูแ ละการแบง ช่วั โมง ตามกระบวนวิธีในการสอน เชน จำนวน

ชว่ั โมงท่บี รรยายในหอ งเรยี น จำนวนชั่วโมงทีใ่ หเรียนดว ยตนเองผานระบบออนไลน จำนวน
ชวั่ โมงที่ใหฝ กปฏิบัตใิ นหอ งปฏบิ ตั กิ ารโดยมผี ชู ว ยหรอื ผูสอน จำนวนช่ัวโมงทีใ่ หท ำการศกึ ษา
คน ควาดว ยตนเอง เปนตน
- กระบวนการ ทรพั ยากร ความรบั ผดิ ชอบ เพ่ือใหเกิดการเรียนรอู ยา งมีคณุ ภาพ (ถา ม)ี
- ชนิดและรายละเอยี ดของประกาศนยี บตั รทจ่ี ะไดรบั เม่ือผานการอบรม
- แนวทางของการติดตามและประเมนิ ผลระหวา งการเรียนและหลงั จบหลกั สตู ร (ถาม)ี
เหตุผลในการนำมาตรฐาน ISO 29993:2017 มาประยุกตใหสอดคลองกับบริบทของประเทศไทย
เพื่อทำใหกระบวนการประเมินและรับรองหลักสูตรฯ เปนไปไดอยางมีคุณภาพ แตอยางไรก็ตาม เพื่อให
สามารถนำไปปฏิบัติไดจริง อาจตองมีการปรับเปลย่ี น เอกสารบางอยา งใหเหมาะสมกับบรบิ ทของประเทศและ
สถาบันอบรมดวย ดังจะไดเสนอรายละเอียดในแนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล
การรบั รองมาตรฐานหลกั สตู รการพฒั นาบุคลากรภาครฐั ดา นดิจิทลั

3.5.2 มาตรฐาน ISO/IEC 17011
การจะทำใหเกิดความมั่นใจวา กระบวนการการทำงานของ สดช. ในการประเมินรับรองหลักสูตรฯ
ตามโครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางการรับรองมาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพ่ือ
เตรียมความพรอมในการปรับเปลี่ยนไปสูองคกรดิจิทัลนี้ มีมาตรฐานเชื่อถือได จึงจำเปนตองมีระบบการ
ตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment) เขามาเปนกลไก โดยที่มาตรฐานที่มีการยอมรับกันอยาง
กวางขวางสำหรับงานการตรวจสอบและรับรอง คือ อนุกรม ISO 17000 ที่ใชเพื่อแสดงใหเห็นถึงการเปนไป
ตามขอกำหนด (Conformity Assessment) ทงั้ ในสว นทีเ่ ก่ียวขอ งกบั ผลิตภณั ฑ กระบวนการ และระบบ
เนื่องจาก สดช. มีภารกิจในการประเมินรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรม (ทำหนาที่เปน
หนวยงานรับรองระบบงาน และหนวยรับรอง) ดังนั้น สดช. ควรเลือกใช ISO/TIS 17011[12] รายละเอียด

หนาที่ | 26

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดานดจิ ิทลั

ดังแสดงในภาคผนวก ข เพราะเปนมาตรฐานที่ใชในการตรวจรับรองระบบงานของหนวยงานรับรองระบบงาน
มาตรฐาน ISO/TIS 17011 นี้ ระบุขอกำหนดเกี่ยวกับความสามารถ การดำเนินการอยางสม่ำเสมอ และความ
เปนกลางของหนวยรับรองระบบงานในการตรวจประเมินและรับรองหนวยตรวจสอบรับรอง โดยใน
รายละเอียดของมาตรฐาน ISO/TIS 17011 นี้ระบุถึง คำศัพทและบทนิยาม ขอกำหนดทั่วไป ขอกำหนด
โครงสราง ขอกำหนดกระบวนการ ขอกำหนดระบบการจดั การ เปน ตน

ดังนั้น เพื่อใหผูยื่นขอรับการประเมินรับรองหลักสูตรฯ รวมถึงผูที่เกี่ยวของในกระบวนการประเมิน
รับรองหลักสูตรฯ ไดเขาใจถึงขั้นตอนตาง ๆ ไดอยางครบถวนและสอดคลองกัน ที่ปรึกษาฯ จึงไดจัดทำ
“หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไขการรบั รองหลักสูตรและการจัดการการอบรมเพือ่ พัฒนาทักษะดานดิจิทัลของ
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ” โดยอางอิงขอมูลรายละเอียดตัวอยางจาก ISO/TIS 17011 “หลักเกณฑ
วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองระบบงานหนวยรบั รอง” ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม (สมอ.)[13]
รายละเอยี ดดังแสดงในภาคผนวก ค ไวเปน รา งให สดช. นำไปใชประกาศใหผ ูทเี่ กีย่ วขอ งทราบตอไป

3.6 ผูมีสวนไดสวนเสียในกระบวนการและสภาพแวดลอมของการสรางหลักสูตรฯ และ
การรับรองหลกั สตู รฯ (eco-System)

ตามทไ่ี ดกลา วไวใ นหัวขอ ท่ี 3.1 เก่ยี วกับผูม สี ว นไดสวนเสยี ในกระบวนการรบั รองหลักสูตรจำนวนมาก
ท้งั หนว ยงานภาครฐั ภาคเอกชน รวมถึงขาราชการและบคุ ลากรภาครัฐอ่นื ๆ โดยมีผเู ก่ียวของหลัก ดงั นี้

หนวยงานภาครัฐทเี่ กี่ยวขอ งโดยตรง ไดแ ก
- สำนักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ไดดำเนินการจัดทำรางแนวทาง

การพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให
ขาราชการ บุคลากรภาครัฐ สวนราชการและหนวยงานที่เกี่ยวของไดนำไปใชเปนแนวปฏิบัติ ซึ่งใน
การนี้ สำนักงาน ก.พ. ไดนำ “รางแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล” เสนอสำนักงาน ก.พ. พิจารณาและใหความเห็นชอบใน
การประชมุ ครง้ั ท่ี 4/2560เมือ่ วนั ที่ 19เมษายน 2560และครัง้ ท่ี 6/2560 เมือ่ วนั ที่ 12 มถิ นุ ายน 2560 และ
และสำนกั งาน ก.พ. มมี ตใิ หนำรา งแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ดังกลา ว เสนอคณะรัฐมนตรี
ตอ ไป และสำนกั งานปลัดนายกรฐั มนตรี ไดพิจารณาเห็นชอบดวยกบั “รางแนวทางการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล” ที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอ (อางอิงจาก หนังสือ ที่ นร 0105/8936 ออก ณ วันที่ 26 กันยายน 2560 โดย
สำนักงานปลัดสำนกั นายกรฐั มนตร)ี
- สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องคการมหาชน) หรือ สคช. รับผิดชอบดำเนินการศึกษาและจัดทำ
รายละเอียดทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ รวมทั้งจัดการประเมินทักษะ
ดา นดจิ ทิ ลั ใหแกขาราชการและบุคลากรภาครัฐ

หนาที่ | 27

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสตู รและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดิจิทลั

- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องคการมหาชน) หรือ สพร. เดิม คือ สำนักงานรัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส (องคการมหาชน) ตามเอกสารตนเรื่อง รับผิดชอบดำเนินการจัดเตรียมหลักสูตร
การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาขาราชการและบุคลากรภาครัฐตาม
รา งแนวทางการพฒั นาทักษะดา นดิจิทัลทก่ี ำหนด

- สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สดช. รับผิดชอบรับรอง
กรอบหลักสูตรผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผูชวยผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสูงภาครัฐ รวมทั้งติดตาม ประเมินผล และใหคำแนะนำการปรับปรุงและแนว
ทางการพัฒนาหลักสูตรใหเหมาะสมกับบริบทและกลุมเปาหมายการพัฒนา รวมทั้งสรางชุมชน
เครือขายผูบริหารเทคโนโลยีสาสรสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO Community) เพื่อขับเคลื่อนการ
พัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ัล

- หนวยงานภาครัฐทเ่ี กย่ี วของอื่น ๆ เชน
 สำนกั งานมาตรฐานผลติ ภณั ฑอ ุตสาหกรรม
 สำนกั งานสภานโยบายการอุดมศกึ ษา วิทยาศาสตร วจิ ัยและนวตั กรรมแหง ชาติ
 สำนกั งานพฒั นาวิทยาสตรแ ละเทคโนโลยีแหงชาติ
 สำนักงานอยั การสูงสุด
 กรมบังคบั คดี
 กรมการขนสงทางบก
 มูลนิธสิ ถาบนั วิจัยและพัฒนาองคกรภาครัฐ (IRDP)
 สำนกั สริ ิพฒั นา สถาบันบัณฑติ พัฒนบรหิ ารศาสตร
 สำนกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

- หนวยงานเอกชนตาง ๆ ซึ่งมีสวนเก่ยี วขอ งในกระบวนการไดใน 3 รปู แบบ ไดแก
1) เปน ผจู ัดการอบรม หลกั สูตรการพัฒนาทักษะดานดจิ ิทลั ฯ
2) เปนเจาของเทคโนโลยีหรือมาตรฐาน และมีระบบการสอบและมอบประกาศนียบัตร
(Certificate) ที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความสอดคลองกับแนวทางการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลที่ไดรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เชน TOGAF, COBIT 5, COSO, ISO,
Microsoft, Huawei, CISCO เปนตน

3) เปนหนวยงานชวยในการรับรองหลักสูตร โดยเปนสวนหนึ่งของหนวยงานที่ทำหนาที่
รวมกับ สดช. ในการเขาไปติดตาม และตรวจประเมินคุณภาพของสถาบันอบรมที่ไดรับ
อนุญาตใหจัดอบรมตามหลกั สูตรที่ไดรับการรับรองโดย สดช. แลว

3.7 แนวทางในการพัฒนาทักษะดา นดิจทิ ัลของขาราชการและบคุ ลากรภาครฐั ในปจ จบุ นั

หนา ที่ | 28

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสตู รและการจัดการศกึ ษาเพ่อื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดจิ ิทลั

จากการศึกษา วิเคราะหขอมูลแนวทางในการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐ ที่ปรึกษา มจธ. จึงเสนอกรอบแนวคิดในการรับรองหลักสูตรและการจัดการการอบรมเพื่อพัฒนา
บุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ัล ดังแสดงในรปู ท่ี 9

รูปที่ 9 กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสตู รและการจดั การการอบรมเพ่อื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดจิ ิทลั

จากรูปที่ 9 แสดงถึงความเชื่อมโยงของกระบวนการในการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการ ใน
ปจจุบัน จากมติคณะรัฐมนตรีดังกลาวขางตน ทำใหเกิดโครงการศึกษาและจัดทำกรอบแนวทางการรับรอง
มาตรฐานหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรภาครัฐเพื่อเตรียมความพรอมในการปรับเปลี่ยนไปสูองคกรดิจิทัล
ซึ่งแมวาในปจจุบันยังไมมีกระบวนการรับรองหลักสูตรดานดิจิทัลเพื่อการพัฒนาขาราชการที่ไดรับการรับรอง
ตามมติคณะรัฐมนตรที ี่ไดประกาศแลวตามแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจทิ ัลฯ อยางไรก็ตามสำนักงาน ก.พ.
ไดมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาทกั ษะดานดิจิทัลของขาราชการและบคุ ลากรภาครฐั โดยที่ปรึกษาฯ ไดสรปุ
ออกมาเปนกระบวนการได 5 ขน้ั ตอน โดยมีรายละเอยี ดดังตอไปนี้

1) ใหหนวยงานภาครัฐในระดับกรม ไดนำแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลสำหรับขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐไปใช เพื่อการวางแผนการพัฒนาบุคลากรของหนวยงานโดยการจัดทำแผนพัฒนา
บุคลากรใหส อดคลอ งกบั ทักษะดานดจิ ทิ ัล

2) จากนั้น ขาราชการหรือบุคลากรภาครัฐทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล
ตามแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ แลวทำการประเมินตนเองวายังขาดความรูความสามารถ
ในดานใด ตามที่แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ระบุ ขาราชการและบุคลากรภาครัฐ สามารถ
เขาทำการประเมินความรูเทียบกับแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัล ผานระบบประเมินทักษะ
ดิจิทัลสำหรับขาราชการและบุคลากรภาครัฐ (Digital Government) [10] ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

หนา ท่ี | 29

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสตู รและการจัดการศึกษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดจิ ิทลั

(องคก ารมหาชน) หรอื สามารถใชร ปู แบบการประเมนิ ตามทหี่ นว ยงานกำหนดได
3) หลังจากไดผ ลการประเมินแลว ขา ราชการและบคุ ลากรภาครฐั สามารถวางแผนการพฒั นาตนเอง

(Self-development Plan) ซึ่งสามารถทำการคนหาขอมูลและสมัครเรียน Online Course
ไดที่ https://learn.ocsc.go.th/? [11] โดยไดมีการรวบรวมหลักสูตรที่สอดคลองกับแนวทางการ
พัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลตาม
หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว 6 วันที่ 18 พฤษภาคม 2561 มุงเนนการสงเสริมให
ขาราชการและบุคลากรภาครัฐมีการพัฒนาและเรียนรูดวยตนเองจากแหลงการเรียนรูแบบ
ออนไลนและการปฏิบัติงานจริงเปนหลัก ซึ่งในปจจุบันมีหลายหนวยงานที่มีการพัฒนาหลักสูตร
และเผยแพรองคความรูทางออนไลนและเปดใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐไดเขาไปศึกษา
หาความรแู ละนำมาฝก ปฏิบตั ใิ นการทำงานจรงิ โดยไมเสียคา ใชจา ย เชน
- ระบบบทเรียนออนไลนแบบเปดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Course) พัฒนาโดย

มหาวิทยาลัยไซเบอรไทย (Thailand Cyber University)
- ระบบการเรยี นรู Online ผานอินเทอรเนต็ ของสถาบนั พฒั นาบคุ ลากรดา นดิจทิ ลั ภาครัฐ (Thailand

Digital Government Academy) สำนักงานพฒั นารัฐบาลดิจิทลั (องคก ารมหาชน) หรือ สพร.
- หลกั สูตรการอบรมออนไลน (e-Learning) สำนักงาน ก.พ.
- https://ocsc.chulaonline.net/main/default52.asp
- http://learn.ocsc.go.th/
- โครงการสงเสริมการเรียนรูผานสื่ออิเล็กทรอนิกส (E-Learning) ของสำนักงานคณะกรรมการ

พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
- ระบบ Chula MOOC เปน ตน
4) จากนั้น ขาราชการ และบุคลากรภาครัฐ สามารถนำความรู และทักษะที่ไดมาพัฒนาองคกร และ
มีความกาวหนา ในอาชพี การงานตามแนวทางของการพัฒนาบุคลากรของหนวยงาน
อยางไรกต็ าม ในปจ จบุ นั ไดม กี ารจัดหลกั สตู ร Government Chief Information Officer (GCIO) ที่ สดช. จัด
ใหก บั หนวยงานภาครฐั โดย สดช. เปน ผจู ดั หางบประมาณในการจดั อบรมใหท ัง้ หมด ทงั้ นี้หลักสูตรดังกลาว ยังไมไดเ ขา
สูกระบวนการรับรองหลักสูตรตามเกณฑที่ สำนักงาน ก.พ. กำหนด อยางเปนทางการ และจากการสอบถามจากท่ี
ประชุม Focus Group พบวามีอีกหลายหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีการจัดอบรม
หลกั สตู รท่ีเก่ยี วของกบั การพัฒนาทักษะดา นดจิ ทิ ัลฯ แตย งั มิไดม กี ารเทียบผลลัพธการเรียนรูของหลักสูตรดังกลาวกับ
แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัลแตอยางใด
เนื่องจากไมไ ดม ีการกำหนดเปน เกณฑหรือการบงั คบั ใชอ ยางเปนรปู ธรรม

3.8 คณุ สมบตั ิของสถาบันอบรมฯ ท่ีสามารถจัดอบรมได

หนาท่ี | 30

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สูตรและการจดั การศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดา นดจิ ิทลั

มาตรฐานและคุณภาพของสถาบันอบรมเปนปจจัยที่สำคัญในการจัดการการอบรมใหสัมฤทธิ์ผล
เน่อื งจากเปนหนวยงานท่ีตองรับผดิ ชอบในการอบรม ตัง้ แตการพฒั นาหลกั สูตร ดำเนนิ การขออนุมัติจัดการอบรม
จัดอบรม และประเมินผลการอบรมไปจนถึงการปรับปรุงหลักสูตรดวย โดยสถาบันอบรมที่สามารถ
ยื่นขอรับรองหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและหนวยงานภาครัฐฯ เปนสถาบันหรือ
หนว ยงานในกลุมใดกลุม หนึง่ ดังตอไปนี้

(1) สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม หรือ
กระทรวง ศกึ ษาธกิ าร (สามารถตรวจสอบสถานะไดท ่ี http://www.mua.go.th/university-2.html)

(2) หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม หรือใหบริการที่เกี่ยวของกับการอบรม เชน สถาบัน
พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล (Thailand Digital Government Academy หรือ TDGA )
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (Office of Public sector Development
commission : OPD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ (National Science and
Technology Development Agency : NSTDA) เปนตน

(3) สถาบันอบรมเอกชนทีไ่ ดร บั การรับรองจากกระทรวงศึกษาธกิ าร
(4) สถาบันที่ไดรับความเห็นชอบโดยสถาบันหรือหนวยงานที่มีอำนาจตามฎหมาย โดยใหสามารถจัด

อบรมในหัวขอเฉพาะได โดยสถาบันที่จะยื่นขอรับการรับรองหลักสูตรตองสงหลักฐานและ
รายละเอียด เพือ่ เปน หลกั ฐานประกอบในการพจิ ารณา ดงั นี้
o ดานกายภาพ ไดแก อาคาร สถานที่ พื้นที่ใชสอยที่จะใชในการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมทุก

ประเภทมีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนผูสอนจำนวนผูเขารับการอบรมในแตละ
หลกั สูตรและมเี ครอ่ื งมอื อปุ กรณสนบั สนนุ การเรยี นการสอนท่ีเหมาะสมและเพียงพอ
o ดานวิชาการ โดยแสดงหลักฐานวาผูเขารับการอบรมจะไดรับการบริหารการศึกษาที่ดี สามารถ
แสวงหาความรูไดอยางมีคุณภาพ สถาบันตองมีการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล ทั้งในดานการวางแผนการรับผูเขารับการอบรม การจัดกิจกรรม การเรียนการสอน
การประเมินการอบรมผลการเรียนรู การประกันคุณภาพ การเรียนการสอน และการพัฒนา
ปรับปรงุ การบริหารวิชาการ

3.9 กรอบแนวคิดการรับรองหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและ

หนาท่ี | 31

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สูตรและการจัดการศกึ ษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ัล

บุคลากรของหนวยงานภาครฐั ฯ

กรอบแนวคิดการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชกาและบุคลากรของ
หนว ยงานภาครัฐ ทีเ่ สนอในโครงการน้อี าจสรปุ ได ดังน้ี

เร่ิมตนจากใหสถาบันอบรมมคี ุณสมบัตติ ามทกี่ ำหนดขางตน สามารถออกแบบและเสนอหลักสตู รฯ ใน
รูปแบบ “หลักสูตรที่มุงเนนผลลัพธการเรียนรู” หรือ “Outcome Based Education (OBE)” เพื่อยื่นขอรับรอง
กับ สดช. ได โดยมีเปาหมายที่จะใหขาราชการและบุคลากรภาครัฐมีทักษะความรูเทียบเทากับเอกชน และ
สามารถนำความรูที่ไดจากการอบรมไปใชในการปฏิบัติงานในหนวยงานตนสังกัดอยางมีประสิทธิภาพ ดังน้ัน
สถาบันอบรมที่จัดการอบรม ตองสงรายงานการจัดการการอบรมเพื่อขอรับการรับรอง ดังรายละเอียดที่จะ
นำเสนอในรายงาน “แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการประเมินผล การรับรองมาตรฐานหลักสูตรการ
พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล” โดยเสนอใหการรับรองมีอายุ 3 ป ทั้งหลักสูตรและการจัดการการอบรม และ
ควรมีการติดตามผลลัพธการเรียนรูของผูเรียนวาสามารถนำไปใชประโยชนไดมากนอยเพียงใด เพื่อนำผลท่ี
ไดม าใชในการปรับปรุงการประเมินผลลัพธของหลกั สูตรตอไป

ดวยกรอบแนวคิดดังกลาว การใชวิธีการประเมินและรับรองหลักสูตรจึงตองเปนไปอยางตอเนื่อง โดย
ผลการประเมินผลลัพธของหลกั สูตร อาจจะตองถกู นำไปใชใ นการปรับปรงุ รูปแบบของหลกั สตู รและยังสามารถ
เปนขอ มลู ปอ นกลบั ใหกับผวู างนโยบายตอ ไปดว ย

3.9.1 ประเมนิ หลักสูตรโดยอา งองิ แนวทางของมาตรฐาน ISO 29993:2017
ในชวงแรกของการรับรองหลักสูตรฯ ที่ปรึกษาฯ ขอเสนอใหใชเครื่องมือในการประเมินที่อางอิงจาก
มาตรฐานที่เปนที่ยอมรับและจัดใหมีรูปแบบของหลักสูตรที่หลากหลาย ยืดหยุนเพียงพอที่จะสามารถนำความรู
ดานดิจิทัลที่จำเปนตอหนวยงานมาใชในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐได โดยเสนอใหมีการนำกรอบมาตรฐาน
ISO 29993:2017 เปนแนวทางที่ใชอางอิงในกระบวนการการรับรองหลักสูตร เพื่อใหเปนมาตรฐานที่ยอมรับ
ทั้งจากทุกฝาย เพื่อใหสามารถมีหลักสูตรการอบรมที่ไดรับการรับรองและเกิดการพัฒนาขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐไดอยางจริงจัง โดยจะแสดงรายละเอียดในเอกสาร แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ กลไก และการ
ประเมินผลการรบั รองหลกั สตู รการพัฒนาบคุ ลากรภาครัฐดา นดจิ ทิ ัลตอไป

3.9.2 ประเภทของหลักสตู ร
เพื่อใหเกิดความยืดหยุนในการจัดทำหลักสูตรฯ เพื่อใชในการพัฒนาทักษะดิจิทัลใหกับขาราชการและ
บุคลากรภาครัฐจำนวนกวาสามลานคนทั่วประเทศ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ที่ปรึกษา มจธ. จึงขอเสนอใหมี
รูปแบบของหลักสูตรที่หนวยงานภาครัฐที่มีพันธกิจในการจัดอบรม สถาบันการศึกษา หรือสถาบันอบรมเอกชนอื่น
สามารถนำเสนอได 3 รปู แบบดังน้ี

1) หลักสูตรพื้นฐาน โดยหลักสูตรฯ ที่ตองการยื่นขอรับการรับรองในกลุมนี้ จะตองมีความ

หนา ท่ี | 32

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลักสตู รและการจัดการศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจิทลั

สอดคลองกับแตละกลุมของบุคลากรตามเกณฑที่ สดช. กำหนด โดยในเอกสารหลักสูตรตองมี
การระบุถึงบทบาทของผูเขารับการอบรมที่เหมาะสมและระดับความพรอมและวุฒิภาวะของ
องคกร (Digital Government Maturity Domain and Area : MDA) ดงั ตัวอยาง
- หลักสูตรพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของผูปฏิบัติงานดานเทคโนโลยี (Technologist)

ในหนวยงานที่มกี ารพัฒนาการดานดิจทิ ัลระยะเริ่มแรก
- หลักสูตรพัฒนาทักษะดา นดจิ ิทัลของผบู รหิ ารเทคโนโลยสี ารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO)

หลักสูตรในรูปแบบนี้จะตองมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหนวยความสามารถ (Unit of Capability : UoC)
และหนวยความรู (ทั้งพื้นฐานและที่จำเปน) อยางครบถวนตามที่ระบุในเกณฑฯ แตจะพิจารณา
สวนที่เปนรายละเอียดของหนวยความสามารถ (UoC) เปนสำคัญ เพื่อใหการจัดทำหลักสูตร
เปนไปไดอยางยืดหยุนและคลองตัวนั้นหมายความวารายละเอียดที่ระบุอยูในความสามารถยอย
(Element of Capability : EoC) และ/หรือ เกณฑการปฏิบัติงาน (Performance Criteria : PC)
อาจยกเวน ไดบ างสว น
2) หลักสูตรเฉพาะเรื่อง โดยหลักสูตรที่ตองการยื่นขอรับการรับรองในรูปแบบนี้ ตองมีความ
สอดคลองกับหนวยความสามารถอยางนอยหนึ่งหนวยตามเกณฑที่ สดช. กำหนด โดยอาจมี
ความสอดคลองกับหนวยความสามารถไดมากกวาหนึ่งหนวยความสามารถและตองประกอบกับ
หนวยความรูที่มีความสอดคลองกันดวย นอกจากนี้ หลักสูตรจะตองระบุถึงบทบาทของผูเขา
รบั การอบรมทีเ่ หมาะสม และระดับความพรอ มและวุฒภิ าวะขององคกร (MDA) ดงั ตัวอยา ง
- หลักสูตรการวิเคราะหขอมูล (Data Analytics) เพื่อตีความและหาขอสรุปที่เปนประโยชน
ตอการตัดสินใจ (สอดคลองกับหนวยความสามารถ DT600) โดยตองประกอบดวยองคความรู
เกยี่ วกับหลักการสำคญั เกย่ี วกับขอมลู การเลอื กใชและการตีความขอมูล (Data Literacy) เปน
องคป ระกอบหลกั เปน ตน
- หลักสูตรการจัดทำและกำกับการใชงานสถาปตยกรรมองคกร (Enterprise Architecture)
เพื่อรองรับการเปลี่ยนผานสูรัฐบาลดิจิทัล (สอดคลองกับหนวยความสามารถ DT200 และ
DT300) โดยตองประกอบดวยองคความรูเกี่ยวกับสถาปตยกรรมองคกรและการกำกับดูแล
เปนองคป ระกอบหลักดวย เปน ตน
หลักสูตรเฉพาะเรื่องนี้อาจจะเปนหลักสูตรระยะสั้นที่ทำใหผูเขารับการอบรมสามารถอบรมไดใน
ระยะเวลาทรี่ วดเร็ว (วนั หรือ สปั ดาห) เพอ่ื ใหส ามารถนำความรู ความสามารถและทกั ษะท่ไี ดไปใช
ในงานไดอยางทันทวงทีและมีประสิทธิภาพ โดยจะตองมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหนวยความสามารถ
(Unit of Capability : UoC) และหนวยความรู (ทั้งพื้นฐานและท่ีจำเปน) อยางครบถวนตามที่ระบุ
ในเกณฑฯ แตจะพจิ ารณาสว นทเี่ ปนรายละเอียดของหนว ยความสามารถ (UoC) เปนสำคญั เพื่อให
การจัดทำหลักสูตรเปนไปไดอยางยืดหยุนและคลองตัวนั้นหมายความวารายละเอียดที่ระบุอยูใน

หนาที่ | 33

กรอบแนวคิดในการรับรองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพอ่ื พัฒนาบคุ ลากรภาครฐั ดา นดิจิทัล

ความสามารถยอย (Element of Capability : EoC) และ/หรือ เกณฑการปฏิบัติงาน (Performance
Criteria : PC) อาจละไวไดบ างสว น
3) หลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ โดยหลักสูตรในรูปแบบนี้เปนหลักสูตรกลุมที่มีความยืดหยุนสูง เนน
เพื่อใหเกิดการนำไปประยุกตใชกับหลักสูตรที่มีการดำเนินการอยูแลวหรือมีการปรับปรุงเพียง
เล็กนอย เพื่อใหสอดคลองกับบางสวนที่สำคัญของเกณฑ เพื่อใหผูเขารับการอบรมหรือหนวยงาน
ภาครัฐสามารถนำความรูไปใชในการพัฒนาหนวยงานของตนเองไดอยางทันทวงที โดยหลักสูตรใน
รูปแบบนี้จะสอดคลองกับ “แนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครัฐเพือ่ การปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล” เพียงบางสวนเทานั้น และอาจมีการขามเทียบกันใน
หลายหนวยความสามารถเพื่อใหเกิดความนาสนใจและบูรณาการ ซึ่งผูเขารับการอบรมสามารถ
เลือกอบรมไดแตจะเทียบหนวยความรูและหนวยความสามารถไดตามที่ทาง สดช. รับรองเทานั้น
ดงั ตวั อยาง
- หลักสูตรผูบริหารระดับสูงของหนวยงานภาครัฐ (CEO/CXO) ซึ่งประกอบดวย หัวขอ

การบรรยายที่ครอบคลุมเนื้อหาบางสวนของหนวยความสามารถยอย (Element of
Capability : EoC) ที่ DTr101 “กำหนดเปาหมายและแผนงานการเปลี่ยนผานสูรัฐบาล
ดิจิทัล” และ DTr102 “การสรางกลยุทธเพื่อเปลีย่ นผานสูวัฒนธรรมการทำงานแบบดิจิทัล”
เปนตน
- หลักสูตรนักบริหารระดับกลาง ซึ่งประกอบดวย หัวขอการบรรยายที่ครอบคลุมเนื้อหา
บางสวนของหนวยความสามารถยอย (Element of Capability : EoC) ที่ SPM101
“การวิเคราะหความพรอมของการปรับสูองคกรดิจิทัล” และ SPM304 “การจัดเตรียม
ทรพั ยากรเพื่อการบูรณาการสำหรับองคก รดจิ ิทลั ” เปนตน
- หลักสูตรสถาปตยกรรมองคกร สำหรับบุคลากรภาครัฐ ซึ่งประกอบดวย เนื้อหาท่ี
ครอบคลุมหนวยความสามารถ (UoC) DT200 “จัดทำสถาปตยกรรมองคกร (Enterprise
Architecture) เพื่อรองรบั การเปล่ียนผานสูรฐั บาลดิจิทลั ” และ DT300 “กำกับการใชงาน
สถาปต ยกรรมองคก ร (Enterprise Architecture)
ดว ยรูปแบบของหลักสตู รดานดิจิทัลอ่นื ๆ น้ี จะทำใหเ กิดประโยชนทัง้ ผูเขารบั การอบรม สถาบัน
อบรมและองคกรภาครัฐที่ทำใหเกิดพลวัตของการอบรมขึ้นไดอยางแทจริง กลาวคือ การ
เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็วทำใหกรอบการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ท่ีมีความกวาง
และครอบคลุมเนื้อหาจำนวนมาก ซ่งึ สว นใหญเปน เน้ือหาดานการบริหารองคกรแตอาจไมครอบคลุม
เนื้อหาดานเทคโนโลยีในเชิงลึก รวมถึงเนื้อหาดานดิจิทัลท่ีเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วดวย ดังน้ัน
การจัดทำหลักสูตรรูปแบบนี้ทำใหผูพัฒนาหลักสูตรสามารถนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหมซึ่งมี
เนื้อหาในเชิงลึกมากกวาที่กำหนดในกรอบการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ทำใหเกิดความยืดหยุน
และทำใหบุคลากรภาครัฐสามารถไดรับความรูใหม ๆ ที่มีความทันสมัยเทียบเทากับบุคลากร

หนา ท่ี | 34

กรอบแนวคดิ ในการรบั รองหลักสตู รและการจดั การศึกษาเพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

ภาคเอกชน สอดคลองกับในโครงการ กลุม Re-skills Up-skills and New-Skills ของรัฐบาลใน
ปจจุบัน โดยเนื้อหาของหลักสูตรควรมีการปรับปรุงใหทันสมัย สอดคลองกับกฎระเบียบที่
ปรับเปลย่ี นไป เชน พ.ร.บ. วา ดว ยการกระทำผิดเก่ียวกบั คอมพวิ เตอร พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. คุมครอง
ขอมลู สว นบคุ คล พ.ศ. 2562 พ.ร.ก. วา ดวยการประชมุ ผา นสอ่ื อิเลก็ ทรอนิกส พ.ศ. 2563 เปน ตน

นอกจากนี้หลักสูตรฯ ในแตละรูปแบบจะตองมีการระบุถึงระดับของความซับซอนที่สอดคลองกับวุฒิภาวะ
ขององคกรและกลุมบุคลากรที่เหมาะสม เชน เปนหลักสูตรพื้นฐานที่เหมาะสมกับบุคลากรในกลุม “ผูทำงาน
ดานนโยบายและวิชาการ” และ “ผูทำงานดานบริการ” ที่ทำงานอยูในองคกรที่มีวุฒิภาวะใน “ระยะเริ่มแรก” หรือ
เปนหลักสูตรเฉพาะที่เหมาะสมกับบุคลากรในกลุม “ผูบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ และผูชวย
ผบู รหิ ารเทคโนโลยสี ารสนเทศระดับสูงภาครฐั ” ทที่ ำงานอยใู นองคก รที่มวี ุฒิภาวะใน “ระยะกำลงั พฒั นา” เปน ตน

3.10 การเทียบหนวยความสามารถจากองคค วามรอู นื่ ได

การเทียบหนวยความสามารถเปนอีกแนวทางหนึ่งท่ีจะชวยลดความซ้ำซอนในการอบรม สำหรับผูที่มี
ความรู ความสามารถตามแนวทางการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ และเพื่อใหมั่นใจไดวา ขาราชการ หรือ
บุคลากรขององคกรภาครัฐดังกลาวมีความสามารถจริง จึงควรตองมีการกำหนดมาตรฐานหรือแนวทาง
ในการเทียบความสามารถทีช่ ัดเจนดวย

3.10.1 เทยี บกบั องคความรขู ององคกรภาคเอกชน
เนื่องจากทักษะดิจิทัลเปนทักษะที่เปนสากล มีองคกรเอกชนจำนวนมากที่เปนเจาของผลิตภัณฑและ
มีเทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงกรอบมาตรฐานตาง ๆ ในการทำงานดานดิจิทัลที่มีคุณภาพ ทางที่ปรึกษา มจธ.
จึงเสนอแนวทางใหมีการเทียบองคความรูกับหนวยความสามารถในเอกสารกรอบพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ ได
โดยเทียบกบั องคกรอสิ ระทเ่ี ปนเจา ของมาตรฐานตาง ๆ เชน
- Enterprise Governance ตามกรอบของ COSO
- IT Governance ตามกรอบของ COBIT 5
- The Open Group Architecture Framework (TOGAF)
- ISO 9001 Quality Management
- ISO/IEC 2000 IT Service Management
- ISO/IEC 27001 IT Security Technique
- Information Technology Infrastructure Library (ITIL) เปนตน
โดยในบางองคความรูที่จำเปนตอ งใชเปนความรูทีเ่ กี่ยวของกับเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑตาง ๆ ดานดิจิทลั
เชน Microsoft Office certifications อาจเทียบไดกับหนวยความสามารถ UoC ของ DLit200 “ใชงานเครื่องมือ
ดานดิจิทัลหรือแอปพลิเคชันขั้นตนสำหรับการทำงาน” หรือ Exam MS-700: Managing Microsoft Teams
อาจเทยี บไดกับหนวยความสามารถของ EoC ของ DLit301 “ทำงานรว มกนั แบบออนไลน” เปน ตน

3.10.2 เทียบจากระบบการทดสอบความรขู องสถาบนั คณุ วฒุ วิ ชิ าชีพ

หนา ท่ี | 35

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสูตรและการจดั การศกึ ษาเพอ่ื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ิทัล

ในปจจุบันสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องคการมหาชน) หรือ สคช. กำลังอยูในระหวางดำเนินการพัฒนา
ระบบการทดสอบความสามารถ ตามแนวทางการพัฒนาดานดิจิทัลของขาราชการ และบุคลากรภาครัฐฯ ซึ่งจาก
การประชุมระดมความคิดเห็นไดทราบจากผูแทนของ สคช. วาระบบสามารถใชทดสอบไดแยกตามหนวย
ความสามารถ (UoC) ที่ตองการ ซึ่งทำใหสามารถใชเปนสวนหนึ่งในการทดสอบเพื่อเทียบความรูได กลาวคือ
ถา สามารถผานการทดสอบในหนวยความสามารถใดแลวก็สามารถนำมาเทียบ โดยยกเวน ไมตอ งเรียนในหนวย
ความรดู ังกลาวได

3.10.3 เทียบจากหลักสูตรท่ีไดร ับการรับรองจาก สดช. แลว
อีกแนวทางหนึ่งที่ควรจะตองดำเนินการ คือ เทียบความรูระหวางหลักสูตรในรูปแบบตาง ๆ ที่เสนอ
ไดแก การเทียบหนวยความรูจากหลักสูตรดานดิจิทัลอื่น ๆ ไปยังหลักสูตรเฉพาะเรื่อง และการเทียบความรู
จากหลกั สูตรเฉพาะเรอ่ื งไปยังหลักสตู รพ้ืนฐาน โดยใชแ นวคดิ การเรียนรตู ลอดชีวิตเปนพนื้ ฐาน ซึง่ การเทียบหนวย
ความสามารถน้ีจะทำใหการนำความรไู ปสูการใชง านจรงิ ทำไดอ ยา งกวา งขวางและมปี ระสิทธิภาพ

3.11 การแตง ต้ังและอบรมผูเชี่ยวชาญเพื่อทำการประเมนิ และรบั รองหลักสูตร

ในการประเมินหลักสูตรการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลสำหรับขาราชการและบุคลากรภาครัฐ ซึ่งมีองค
ความรูจำนวนมาก ทางหนวยงานผูรับผิดชอบ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพือ่ เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
จึงควรตองใชผูเชี่ยวชาญที่มีความรูความสามารถในดานตาง ๆ ที่สอดคลองกับทักษะที่กำหนด รวมเปน
ผูประเมินและรับรองหลักสูตร โดยทางที่ปรึกษา มจธ. ไดเสนอใหจัดทำรายชี่อผูเชี่ยวชาญดานดิจิทัล (Pool list)
ทีท่ าง สดช. สามารถเชญิ มารว มเปน กรรมการในการประเมนิ และรับรองหลักสูตรได

อยางไรก็ตาม เกณฑและแนวทางการประเมินหลักสูตรการพัฒนาทักษะดานดิจิทัลฯ นั้น ควรมีแนวทาง
และจุดประสงค รวมถึงกรอบการพิจารณาที่มีความชัดเจนและเทาเทียมกัน ดังนั้น จึงควรจัดใหมีการอบรม
ถึงแนวทางและจุดประสงคของเกณฑในการประเมินหลักสูตรฯ ใหกับผูเชี่ยวชาญเพื่อความชัดเจนและลดขอขัดแยง
ในการประเมนิ

โดยควรกำหนดใหผ ทู ่ี สดช. จะเชิญใหเปนผเู ชี่ยวชาญในการประเมินหลกั สตู รจำเปน ตองผา นหลกั สตู ร
การอบรมดังกลาวนี้กอน โดยเนื้อหาของหลักสูตรจะไดกลาวถึงตอไปในเอกสาร แนวทางปฏิบัติ หลักเกณฑ
กลไก และการประเมินผล การรบั รองมาตรฐานหลักสตู รการพฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดานดิจิทัล

นอกจากนี้ การจัดใหมีหนวยงานรับรองมาตรฐานเพื่อทำหนาที่ในการตรวจประเมินรับรอง
การจัดการการอบรม (ตามหลักสตู รท่ีไดร บั การรบั รองจาก สดช. แลว ) ถอื เปนอกี แนวทางหนงึ่ ท่ไี ดร บั จากที่ประชุม
Focus Group เพื่อใหการประเมินรับรองหลักสูตรเปนไปไดอยางรวดเร็วทันตอการนำไปใชพัฒนาทักษะ
ของขาราชการและบุคลากรภาครัฐ อยางไรก็ตาม จากการศึกษาเพิ่มเติมและความเห็นของผูเชี่ยวชาญ
มีความเห็นวาในระยะแรกของการประเมิน อาจยังไมเหมาะสมที่จะใชหนวยงานรับรองมาตรฐานฯ เปนผูรับรอง
เนื่องจากเนื้อหาของหลักสูตรอาจมีความลึกเชิงเทคนิค ตองใชผูเชี่ยวชาญเฉพาะดานเทานั้นในการประเมิน
หลักสูตร ดังนั้นที่ปรึกษา มจธ. จึงขอเสนอให สดช. ใชระบบผูเชี่ยวชาญที่ไดรับการแตงตั้ง (Pool list) และ

หนา ที่ | 36

กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สูตรและการจัดการศกึ ษาเพ่อื พฒั นาบคุ ลากรภาครัฐดา นดิจทิ ลั

ผานการอบรมฯ เทานั้น ในการประเมินเพียงอยางเดียวกอน โดยอาจนำผลลัพธจากการประเมินหลักสูตรฯ
ทั้งหมด หลังจากระยะเวลา 1 ป มาเพื่อทำการวิเคราะห และปรบั ปรงุ กระบวนการตอไป

หนา ท่ี | 37

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลักสตู รและการจัดการศึกษาเพอ่ื พัฒนาบุคลากรภาครฐั ดา นดจิ ิทัล

บรรณานกุ รม

[1] สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). หนังสือที่ นร 0505/ว493 เรื่อง รางแนวทางการพัฒนาทักษะ
ดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเปนรัฐบาลดิจิทัล, สืบคนเมื่อ 18 มกราคม
2564. จาก. https://www.soc.go.th/wp-content/uploads//slkupload/v60_493%20(1).pdf
[2] สำนกั งาน ก.พ.. (2561). หนังสอื ที่ นร 1013/ว 6 เร่ือง ทักษะดา นดิจิทลั ของขาราชการและบุคากรภาครัฐ
เพือ่ การปรับเปลี่ยนเปน รฐั บาลดิจทิ ลั , สบื คนเมือ่ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/03_hnangsuuesamnakngaan_k.ph_.pdf
[3] สำนักงาน ก.พ.. (2562). หนังสือที่ นร 0505/39192 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline) หนาท่ี 35,
สืบคนเม่อื 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w363_30_miikh._63_gcio_echp
haaasngmaadwy_.pdf
[4] สำนักงาน ก.พ.. (2560). แบบสำรวจระดับความพรอมและวุฒิภาวะขององคกรในการพัฒนาไปสูรัฐบาล
ดิจิทัล (Digital Government Maturity Domain and Area : MDA), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/mda_220762_v3.pdf
[5] International Organization for Standardization (2017). มาตรฐาน ISO 29993:2017 Learning
services outside formal education – Service requirements, สบื คนเม่อื 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.iso.org/standard/70357.html
[6] สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติวาดวย
การพัฒนาดจิ ิทัลเพือ่ เศรษฐกจิ และสังคม (พ.ศ. 2561-2580), สืบคน เมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF
[7] สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). ยุทธศาสตรชาติ (พ.ศ. 2561-2580), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม
2564. จาก. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
[8] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2565), สบื คน เมือ่ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?filename=develop_issue&nid=6420

หนา ท่ี | 38

กรอบแนวคดิ ในการรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจทิ ลั

บรรณานกุ รม (ตอ)

[9] สำนักงาน ก.พ.. (2563). หนังสือที่ นร 1013/ว 3 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผูบริหารเทคโนโลยี
สารสนเทศระดบั สูงภาครฐั , สบื คน เม่อื 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w363_gcio_.pdf
[10] สำนักงาน ก.พ.. (2562). ระบบประเมินทักษะดิจิทัลสำหรับขาราชการและบุคลากรภาครัฐ (Digital
Government), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก. https://dg-sa.tpqi.go.th/home/index.php
[11] สำนักงาน ก.พ.. (2562). แหลงคนหาขอมูลหลักสูตร OCSC Learning Space, สืบคนเมื่อ 18 มกราคม
2564. จาก. https://learn.ocsc.go.th/?
[12] ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5125 (พ.ศ. 2561). มอก. 17011–2561, สืบคนเมื่อ 18 มกราคม
2564. จาก. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/078/T_0025.PDF
[13] หลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไข การรับรองระบบงานหนวยรับรอง (พ.ศ. 2561). สำนักงานมาตรฐาน
ผลติ ภณั ฑอ ุทสาหกรรม (สมอ.), สืบคนเมื่อ 18 มกราคม 2564. จาก.
https://www.tisi.go.th/data/pdf/onsc/cb/processing/quality/quality03.pdf

หนา ท่ี | 39







กรอบแนวคิดในการรับรองหลกั สูตรและการจดั การศึกษาเพ่อื พฒั นาบุคลากรภาครฐั ดานดจิ ทิ ลั

ISO 29993:20017

เอกสารแปล ISO 29993:20017 (บางสว น)

4. ขอ มูลท่ัวไปทส่ี ถาบนั ฝก อบรมตอ งเตรยี ม
4.1 ขอมูลท่วั ไปทจ่ี ำเปนสำหรบั ผเู รียน ผูสนใจ เพอื่ ใชใ นการตดั สินใจลงทะเบียนเรียน
4.2 ขอมูลของสถาบันอบรม ตองสามารถเขาถึงได ทันสมัย ถูกตอง ชัดเจน ซึ่งอยางนอยตองประกอบดว ย
ขอมลู ตอไปน้ี
4.2.1 ชือ่ สถาบนั ท่อี ยูของสำนักงานใหญ รายละเอียดการติดตอ ทต่ี ัง้ ซง่ึ มีการจัดใหบ รกิ ารอบรม
4.2.2 ช่ือผบู รหิ ารหลัก
4.2.3 อธบิ ายบริการการอบรมทีใ่ หบ รกิ ารโดยสถาบันอบรม
4.2.4 คุณวุฒแิ ละคุณสมบัติของผูดูแลหลกั สตู ร
4.2.5 กระบวนวธิ ใี นการเรยี นการสอน
4.2.6 อธบิ ายถึงสภาพของสถานท่ี สภาพของการเรยี น และทรัพยากรทมี่ เี พอื่ สนับสนนุ การเรียน
4.2.7 ประกาศนยี บัตรหรือวฒุ ทิ ่ีไดห ลังจากเรยี นจบในแตล ะหลักสูตร

5. การเขียนขอเสนอเพ่อื เปดการอบรม
5.1 เปนขอเสนอที่สงใหกับผูเรียนหรือองคกรที่สนใจ เพื่อยืนยันการตัดสินใจและการจัดหา จัดจาง
บรกิ ารการอบรมในหลกั สูตรทต่ี องการ
5.2 การที่จะยื่นขอเสนอ สถาบันอบรม (ผูยื่นขอเสนอจะตองมีขั้นตอนและเขาใจถึงความตองการของ
ผูเรียน ทง้ั ในมิตขิ องเนอ้ื หาและการสงมอบ ซง่ึ ขอเสนอน้ี ตองมีรายละเอยี ดอยา งนอ ยดงั น้ี
5.2.1 จุดประสงคและเปาหมายของการบริการอบรม
5.2.2 ความสามารถของสถาบันอบรมที่สอดคลองกับความตองการของผูเรียนหรือองคกร (เชน
เอกสารรับรองผลงานจากหนวยงานลูกคาที่เคยใชบริการ คุณลักษณะทางเทคนิคตาง ๆ ของ
หลักสตู รและการอบรม ขอมูลของผสู อน ตวั อยางรายละเอยี ดหัวขอ ในการอบรม เปน ตน )
5.2.3 กระบวนวิธใี นการสอนและการประเมนิ ผลที่ใชในหลักสตู รทเ่ี สนอ
5.2.4 ราคา ขอ กำหนดและขอจำกดั ตา ง ๆ ( Terms and conditions)

6. ขอมูลทต่ี อ งเตรียมเพ่ือประกอบในกระบวนการจัดซ้อื จดั จา ง
6.1 กอนเริ่มดำเนินการจัดซื้อจัดจาง บริการอบรม ทุกฝาย ทั้งสถาบันอบรมและผูเรียน หรือองคกรที่ซ้ือ
บริการอบรม จะตอ งทราบถงึ ขอ มูลตอ ไปนี้
6.1.1 หวั ขอการอบรมและจดุ ประสงคข องการอบรม
6.1.2 ความรูห รือความสามารถทต่ี อ งมีกอ นท่จี ะเขาเรียนในหลักสตู ร
6.1.3 วนั เวลา สถานท่ี ทีจ่ ัดการอบรม รวมถงึ ตารางการอบรมอยางละเอียด

ภาคผนวก ก - 1

กรอบแนวคิดในการรบั รองหลกั สตู รและการจัดการศึกษาเพ่อื พัฒนาบุคลากรภาครัฐดา นดิจิทัล

6.1.4 จำนวนชั่วโมงที่ใชในการสอนและการแบงชั่วโมงตามกระบวนวิธีในการสอน เชน จำนวน
ชั่วโมงที่บรรยายในหองเรียน จำนวนชั่วโมงที่ใหเรียนดวยตนเองผานระบบออนไลน จำนวน
ชั่วโมงที่ใหฝกปฏิบัติในหองปฏิบัติการโดยมีผูชวยหรือผูสอน จำนวนชั่วโมงที่ใหทำการศึกษา
คน ควาดวยตนเอง เปน ตน

6.1.5 กระบวนวิธีในการเรียนการสอนและวิธีการการประเมินทีใ่ ชประเมนิ
6.1.6 คาใชจายในการอบรม คาใชจายในการสอบ (ถามี) คาอุปกรณการเรียน (ถามี) รวมถึง

คา ใชจ ายอ่ืน ๆ รวมถงึ วธิ ีในการจายและขอ กำหนดในการจายเงนิ อยา งละเอยี ด
6.1.7 นโยบายการยกเลกิ ถอน และการคนื เงนิ
6.1.8 ขั้นตอนในการรับความคิดเห็นหรือผลตอบรับจากผูเรียน ความพึงพอใจ ความไมพึงพอใจ

รวมถงึ ระบบการจดั การกับขอรองเรยี นของผูเรยี น
6.1.9 ประวัติโดยยอ คุณวุฒิ ประสบการณของผูสอน ในการอบรม เชน ประกาศนียบัตร หรือ

ประสบการณทำงาน ประสบการณการสอน เปนตน

7. การวิเคราะหค วามตองการ (Need Analysis)
7.1 การเขาใจความตองการของผูเรียนเปนสิ่งที่สำคัญในการใหบริการการอบรม เพราะนั่นแสดงวา
จดุ ประสงค โปรแกรม เน้อื หา วิธีการการประเมิน สอดคลอ งกับความตอ งการ
7.2 กอนที่จะสงมอบบริการการอบรม ความตองการของผูเรียนจะตองถูกวิเคราะหโดยผูเชี่ยวชาญ เพ่ือ
ใหบ รกิ ารการอบรมเปนไปไดอยา งมปี ระสทิ ธิผลภายใตกรอบของบริการการอบรมท่รี ะบุไว
7.3 ผลลัพธการเรยี นรูทีไ่ ดจากการอบรม จะตอง
7.3.1 มรี ายละเอียดท่ีชัดเจน สามารถประเมินผลได ผูเรียนสามารถเขา ใจและนำไปใชไ ดจริง
7.3.2 ควรมีการระบุใหชัดเจนถึงความสอดคลองกับทักษะดานดิจิทัลของขาราชการและบุคลากร
ภาครฐั เพอื่ การปรับเปลย่ี นเปนรัฐบาลดิจทิ ัลของ สำนักงาน ก.พ.
7.4 การวเิ คราะหความตองการ จะตองระบุถงึ
7.4.1 เปา หมายและความตองการของผูเ รยี น และองคกรของผเู รียน (หรอื ผูส นับสนนุ )
7.4.2 ความสามารถหรือสมรรถนะทีต่ อ งการในกรอบเวลาทีช่ ดั เจน
7.4.3 เปาประสงคของการอบรมในเนื้อหาที่สอดคลองกับระดับความสามารถที่ผูเรียนตองการ เม่ือ
สำเรจ็ ครบตามหลกั สตู ร
7.4.4 ระดบั ความสามารถของผเู รียน กอนเริ่มเรยี น (การใชงานทดสอบกอ นเรียน)
7.4.5 ขอมูลอื่น ๆ เพื่อทราบถึงพื้นฐานและสถานะของผูเรียน (เชน อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ประวัติ
การอบรม ส่ิงทเ่ี รยี นกอนหนา ประวัตกิ ารทำงาน ภาษาทใี่ ช ระดบั ความรดู า นดิจทิ ัล เปน ตน)
7.5 ในเนอ้ื หาของการอบรมท่เี ก่ยี วของกับการทำงาน ผทู ่สี นใจจะตอ งถูกแนะแนววา จะสามารถนำความรู
ที่ไดไปใชในการทำงานไดอยางไรในสถานที่ทำงานจริง รวมถึงการพิจารณาการประเมินความสำเร็จ
ทีเ่ ปนไปไดดว ย

ภาคผนวก ก - 2


Click to View FlipBook Version