The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ทุง มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานบุญมหาชาติ (บุญผะเหวด), พิธีเลี้ยงปีผีกลางบ้าน, วัดภูเขาดิน, พระพุทธรูปปูนปั้นประดับลวดลายบนผ้าสังฆาฏิ จีวรและรัดประคดในเขตเมืองหล่มสัก, ไก่ย่างวิเชียรบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารเพชบุระ ปีที่11 ฉบับที่ 11 _ออนไลน์

ทุง มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานบุญมหาชาติ (บุญผะเหวด), พิธีเลี้ยงปีผีกลางบ้าน, วัดภูเขาดิน, พระพุทธรูปปูนปั้นประดับลวดลายบนผ้าสังฆาฏิ จีวรและรัดประคดในเขตเมืองหล่มสัก, ไก่ย่างวิเชียรบุรี

วารสารศิลปวัฒนธรรม เพชบุระ เมษายน ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๖ ราย ๖ เดือน ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๑ ISSN ๒๒๒๙ - ๑๐๖๗


จ�ำนวนที่พิมพ ๑,๐๐๐ เลม เจ้าของ ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลศิลป วัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ ISSN ๒๒๒๙ - ๑๐๖๗ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย ดร.ธวัช พะยิ้ม ผูชวยศาสตราจารย ดร.พงศศิริ คิดดี ผูชวยศาสตราจารย ดร.ส�ำราญ ทาวเงิน บรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารยจันทรพิมพ มีเปยม ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารยขุนแผน ตุมทองค�ำ อาจารยใจสคราญ จารึกสมาน อาจารย ดร.สดุดี ค�ำมี ผูชวยศาสตราจารยปาริชาติ ลาจันนนท อาจารยสมคิด ฤทธิ์เนติกุล อาจารยสมศักดิ์ ภูพรายงาม อาจารยพีรวัฒน สุขเกษม ประสานงาน นายวิโรจน์ หุ่นทอง ฝ่ายวารสารออนไลน์ นางสาวจิรภา เหมือนพิมทอง ฝ่ายด�ำเนินการ นางนิภา พิลาเกิด นางสาวปวีณา บัวบาง นางสาวสุพิชญา พูนมี นางสาวมัลลิกา อุฤทธิ์ นางสาวณัฐวดี แกวบาง นางสาวกัญญาภัค ดีดาร ฝ่ายกราฟก/ภาพ นางสาวมนชยา คลายโศก นายพิทักษ จันทรจิระ ผลิตและเผยแพรโดย ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ๘๓ หมู่ ๑๑ ถ.สระบุรี - หลมสัก ต.สะเดียง อ.เมืองเพชรบูรณ จ.เพชรบูรณ ๖๗๐๐๐ โทรศัพท. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ โทรสาร. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ http://artculture.pcru.ac.th FB : ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พิมพที่ : ร้านเก้าสิบ ๘๘ หมู่ ๖ ต.ชอนไพร อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ ๖๗๐๐๐ โทร. ๐๘๙ - ๖๔๑๓๕๓๓


บทบรรณาธิการ วารสาร “ศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ” เปนวารสารที่ไดรวบรวม องคความรูทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปญญาท  องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ  เปนหลัก ทั้งดานประวัติศาสตร โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปหัตถกรรม ประเพณี วิถีชีวิตภูมิปญญาชาวบาน ต� ำนาน ความเชื่อ เครื่องมือ เครื่องใช อาหารการกินของชาวจังหวัดเพชรบูรณ วารสารฉบับนี้ได้ด�ำเนินมาถึงฉบับที่ ๑๑ กองบรรณาธิการมีความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้หยิบยกเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณมาน� ์ำเสนอในหลากหลายแงมุม ไม ่ว่ าจะเป ่นบทความ็ ทางประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตรชุมชนบ้านนาตะกรุด หรือจะเป็น เรื่อพระพุทธรูปส�ำริดในเมืองหล่มสัก ชีวประวัตินายเชื้อ สนั่นเมือง และ ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกหลากหลายที่ได้รวบรวมมาไว้ในวารสารฉบับนี้ กองบรรณาธิการหวังเปนอยางยิ่งวาผูอานทุกทานจะได  รับความรู   และเพลิดเพลินไปกับนานาสาระของบทความในวารสารฉบับนี้ และหวัง เปนอยางยิ่งวาวารสารฉบับนี้จะเปนแรงผลักดันใหเกิดการศึกษาคนควา ทางวิชาการและการอนุรักษมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัด เพชรบูรณสืบไป โอกาสนี้ กองบรรณาธิการขอขอบคุณผูเขียนบทความ ผูแนะน�ำ ขอมูล ผูทรงคุณวุฒิทุกทานที่กรุณาแสดงความคิดเห็นอันเปนประโยชน ตอคณะท�ำงาน ท�ำใหวารสาร “ศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ” ฉบับนี้ได  เผยแพร  ส�ำเร็จลุลวงมาไดดวยดี ผูชวยศาสตราจารยจันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม ผูอ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


๓ บทบรรณาธิการ ๖ ทุง มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ๑๘ งานบุญมหาชาติ (บุญผะเหวด) บ้านนาทราย ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ๓๖ พิธีเลี้ยงปีผีกลางบ้าน บ้านป่าเลา ต�ำบลป่าเลา อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๕๔ วัดภูเขาดิน ๖๖ พระพุทธรูปปูนปั้นประดับลวดลาย บนผ้าสังฆาฏิ จีวรและรัดประคด ในเขตเมืองหล่มสัก ๘๐ ไก่ย่างวิเชียรบุรี อาหารธรรมดาในความหมายทางการท่องเที่ยว สารบัญ


ทุง มรดกภูมิปัญาท้องถิ่น ผูเขียน : อาจารย์ ดร.สดุดี ค�ำมี รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม นางนิภา พิลาเกิด นักวิชาการวัฒนธรรม ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- ----------------------------- --------------------------------------------------------------- 6 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทุง ตุง หรือธง เปนสัญลักษณความเชื่อของ คนไทยและคนในดินแดนอุษาคเนย มีพื้นฐาน มาจากวัฒนธรรมของผี พราหมณและพุทธที่ หลอมรวมกันหรือภาษามาตรฐานของไทยเรียกวา “ธง” ภาคอีสาน เรียกวา “ธุง” ภาคเหนือ เรียกวา “ตุง” ชาวไทยใหญ เรียกวา “ต�ำขอน” ประเทศพมา เรียกวา “ตะขุน” ประเทศลาว เรียกวา “ทง” หรือ “ทุง” ใชเปนเครื่องประกอบ  พิธีกรรมส�ำคัญมาอยางยาวนานเชื่อวาสามารถใช ปองกันสิ่งไมดีที่มองไมเห็น หรือภูตผีวิญญาณที่ จะมารบกวนงานบุญหากเห็นทุงแลวจะถอยออก ไป พรอมกันนั้นยังเปนการบอกกลาวบวงสรวง เทพยดาในพื้นที่วามีการท�ำบุญและมีพิธีการ ส�ำคัญใหมาชวยปกปองคุมครอง


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 7


8 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ในงานบุญประเพณีแตละเดือนของ ชาวอีสานมักจะประดิษฐ “ตุง” หรือ “ธง” หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสีสันบนผืนผา หรือใชวัสดุสิ่งอื่นเพื่อสื่อความหมายระหวาง มนุษยกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตาง ๆ ตามความเชื่อที่มี มาแตโบราณ “ทุง” มีความเปนมาจากเรื่องเลาเมื่อ ครั้งในอดีตวา มีพวกเหลามารปศาจขึ้นไป กอกวนเทวดาบนสวรรค จนท�ำใหเหลาเทวดา ตกใจกลัวเปนอยางมาก ท�ำใหเจาแหงสวรรค สราง “ทุง” ขึ้นมาเพื่อใหเหลาเทวดาไดมอง เห็น “ทุง” แลวเกิดความกล  าหาญไมหวาดกลัว  เหลามารปศาจอีกตอไป “ทุง” จึงเปนเหมือน ตัวแทนในการขับไลมารรายไปจากสวรรคนั้นเอง  ท�ำใหในกาลตอมามนุษยจึงไดประดิษฐ “ทุง” เพื่อเปนสื่อกลางในการติดตอระหวางมนุษยกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ การติดตอสื่อสารระหวางมนุษยกับ ผูที่ลวงลับไปแลว อีกทั้งเพื่อเปนพุทธบูชาและ เปนปจจัยการสงกุศลใหแกตนเองในชาติหนา จะไดเกิดบนสรวงสวรรคตอไป


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 9 “ทุง” จึงนับไดวาเปนเครื่องสักการะ เพื่อใช พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในบุญเฉลิมฉลอง หรือขบวนแหตาง ๆ การประดับประดาในงาน พิธีตาง ๆ เพื่อความสวยงามตระการตา โดยมี ความแตกตางกันตามความเชื่อในการประกอบ พิธีกรรมของทองถิ่น ซึ่งโดยทั่วไปทุงจะมีลักษณะ  คลายกับธงมีความยาวประมาณ ๑ – ๓ เมตร อาจทอดวยผ าฝายเปนลายขิด ลวดลายสัตว คน  ตนไม หรือพระพุทธรูป เพื่อถวายพระสงฆ เปนพุทธบูชา


10 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทุงจะมีลักษณะหอยยาวจากบนลงลาง เมื่อเขาไปในวิหารก็ จะเห็นทุงหลากหลาย ทุงเหลานี้ท�ำมาจากวัสดุตาง ๆ เชน ผา กระดาษ ธนบัตร เปนตน โดยมีขนาด รูปทรง ตลอดจนการตกแตงตางกันออกไป  ตามระดับความเชื่อ ความศรัทธา และฐานะทางเศรษฐกิจของผูถวาย คติความเชื่อเกี่ยวกับการถวายทุง การที่ชาวบานน� ำทุงมาถวายเปนพุทธบูชา ทั้งที่เปนการท�ำบุญ อุทิศสวนกุศลใหแกผูที่ลวงลับไปแลว หรือเปนการถวายเพื่อสงกุศล ผลบุญใหแกตนเองในชาติหน  าก็ดวยคติความเชื่อที่วาเมื่อตายไปแล  ว จะพนจากการตกนรกโดยอาศัยเกาะชายทุงขึ้นสวรรค จะไดพบพระ ศรีอริยเมตไตรย หรือจะไดถึงซึ่งพระนิพพาน จากความเชื่อนี้จึงมีการ  ถวายทุงที่วัดอยางนอยครั้งหนึ่งในชีวิตของตน ทุงผาโดยทั่วไปจะมีขนาดกวางตั้งแต ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร มีความยาวตั้งแต ๑ - ๖ เมตร โครงสรางของทุงประกอบดวยสวน หัว ตัว และหาง โดยมีไมไผสอดคั่นเปนระยะ ๆ และนิยมตกแตงดวย วัสดุตาง เชน เศษผา กระดาษ ไหมพรม เมล็ดฝกเพกา ท�ำเปนพูหอย ประดับตลอดทั้งผืน เรียกสวนตกแตงนี้วา ใบไฮ(ใบไทร) ใบสะหลี (ใบโพธิ์) สวย(กรวย) สวนหัวทุงมักท�ำเปนรูปโครงสรางปราสาท โดย ใชไมแผนใหญ หรือใชไมขนาดเล็กกวางประมาณ ๔ - ๕ เซนติเมตร เรียงติดตอกันหลายชิ้น แลวตอกันเปนโครง สวนหางทุงก็มักตกแตง ชายดวยการถักเปนตาขาย หรือเย็บเปนรูปหมอน หรือใชไมไผหอย ชายทุงเปนการถวงน�้ำหนัก


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 11 สวนทุงของอีสานนิยมทอเปนผืนยาว ๆ มีรูปสัตว หรือรูป ภาพตาง ๆ ตามความเชื่อบนผืนทุง เชน จระเข เสือ ตะขาบ นางเงือก  เทวดา และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีการดัดแปลงวัสดุธรรมชาติอื่นมา เปนทุงดวย เชน ลูกปดจากเมล็ดพืช ไมแกะรูปทรงตาง ๆ เปนตน ทุงมีชื่อเรียกตาง ๆ มากมายตามการใชงาน และรูปรางรูปทรง เชน ทุงราว ท�ำจากผาหรือกระดาษอาจเปนรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรืออื่น ๆ น�ำมารอยเรียงเปนราวแขวนโยง


12 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทุงไชย เปนเครื่องหมายของชัยชนะหรือ สิริมงคล ทอจากเสนดาย หรือ เสนไหมสลับสี บางครั้งใชไมไผคั่น นิยมใชลายประจ� ำยาม ลายปราสาท ลายเครือเถา ลายสัตว ลายดอกไม ทุงสิบสองราศี นิยมท�ำดวยกระดาษลักษณะของทุง  สิบสองราศี มีรูปนักษัตร หรือสัตว สิบสองราศีในผืนเดียวกันเชื่อวา ในครอบครัวหนึ่งอาจมีสมาชิก หลายคน แตละคนอาจมีการเกิด ในปตางกัน หากมีการน�ำไปถวาย เทากับวาทุกคนในครอบครัวไดรับ อานิสงสจากการทานทุงเทา ๆ กัน ถือวาเปนการสุมทาน ใชเปนทุง บูชาเจดียทรายในวันสงกรานต


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 13


14 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทุงเจดียทราย ใชปกประดับที่เจดียทรายท� ำจากกระดาษสีตาง ๆ ใหหลากสี ตัดฉลุลายดวยรูปทรงสวยงาม เมื่อ ไดทุงน�ำมารอยกับเสนดาย ผูกติดกับกิ่งไมหรือ กิ่งไผ ปกไวที่เจดียทรายในวัด ทุงตะขาบ ทุง จระเขเปนผาผืนที่มีรูปจระเข หรือตะขาบไว ตรงกลางเปนสัญลักษณในงานทอดกฐินใชแห น�ำขบวนไปทอดยังวัด บนความเชื่อเกี่ยวกับเจา แหงสัตวในทองถิ่นที่จะมาชวยปกปองคุ มครอง ในงานบุญกุศล บางแหงอาจมีรูปเสือที่เปนเจา แหงปารวมดวย


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 15 ทุงไสหมู หรือพวงมะโหตร เปนงานศิลปะประดิษฐที่เกิดจากการตัดกระดาษสีหรือกระดาษแกว สีตาง ๆ เมื่อใชกรรไกรตัดสลับกันเปนลายฟนปลาจนถึงปลายสุดแล ว คลี่ออกและจับหงายจะเกิดเปนพวงกระดาษสวยงาม น�ำไปผูกติดกับ คันไมไผหรือแขวนในงานพิธีตาง ๆ เชน ตกแตงปราสาทศพ ปกเจดีย ทราย ประดับครัวทาน และอื่น ๆ


16 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ทุงใยแมงมุม เปนทุงที่ท�ำจากเสนดายเส นฝาย หรือเส  นไหม ผูกโยงกันคล  ายใยแมงมุม  นิยมใชแขวนตกแตงไว หน าพระประธาน หรือโดยรอบในงานพิธีกรรม  ใชในการปกปองคุมครองคลายกับทุงไชย ปจจุบัน ทุง หรือ ตุง ในมุมมองของคนรุนใหมอาจเห็นภาพ ไมชัดเจน ขาดความรูความเขาใจที่ถูกตอง แต ทุง หรือ ตุง ก็ยังอยูใน วิถีวัฒนธรรมความเชื่อของผูคนไทหลมและในแถบลุมน�้ำโขง และ ถือไดวา ทุง หรือ ตุง เปนมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณเฉพาะตาม  ความเชื่อถือของแตละทองถิ่นที่ไดรับการถายทอดมาจากบรรพบุรุษ จนกลายเปนมรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ำคาที่ควรแกการบันทึก ศึกษา ไวใหลูกหลานเรียนรูสืบไป


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 17 บรรณานุกรม ประเสริฐ เมืองเกิด. (๒๕๖๕). อายุ ๗๕ ป บานเลขที่ ๘๐ หมู ๘ ต�ำบลสะเดียง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๒ เมษายน. เปลี่ยน หมื่นราม. (๒๕๖๕). อายุ ๘๔ ป บานเลขที่ ๙/๑ หมู ๘ ต�ำบลสะเดียง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๒ เมษายน.


----------------------------------- --------------------------------------------------------------- ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- ผูเขียน : ผูชวยศาสตราจารยปาริชาติ ลาจันนนท ประธานหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลปและศิลปะการแสดง นายวิโรจน์ หุ่นทอง นักวิชาการวัฒนธรรม ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ 18 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บุญผะเหวด เกี่ยวของกับชาดกเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกที่แสดงบารมี ๑๐ ประการของ พระชาติสุดทายของพระพุทธเจาที่ทรงบ�ำเพ็ญ เพียรอันยิ่งใหญดวยวิธีบริจาคทาน หรือ ทานบารมี  ในชาติสุดทาย หรือมหาชาติของพระพุทธองค กอนที่จะมาเสวยชาติและตรัสรูเปนพระพุทธเจ า ในภาษาอีสานจะออกเสียง “พระเวส” เปน “ผะเหวด” จึงเรียกชื่อบุญนี้วา “บุญผะเหวด” บางก็เรียก “บุญมหาชาติ” เพราะเปนชาติกาล  ที่ส�ำคัญที่สุดของพระพุทธเจา และถือได  วาเปน  โอกาสที่ชาวพุทธจะไดรวมกันท�ำบุญฟงเทศน เรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก มีดวยกัน ทั้งหมด ๑๓ กัณฑ งานบุญมหาชาติ (บุญผะเหวด) บานนาทราย ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 19


20 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บานนาทราย ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอ หลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ เปนอีกชุมชนหนึ่ง ที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามฮีตตามคลอง หนึ่งใน ฮีตนั้นคือ งานบุญผะเหวด ซึ่งตรงกับเดือนสี่ หรือระหวางเดือน กุมภาพันธ - มีนาคม โดยมี ความเชื่อที่ยึดถือสืบทอดกันมาตั้งแตบรรพบุรุษ วา “หากไดฟงเทศนมหาชาติครบทั้งกัณฑ ๑๓ กัณฑจนจบภายในวันเดียวนั้น อานิสงฆจะ ดลบันดาลใหไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริย เมตไตรย ซึ่งเปนดินแดนแหงความสุขตาม คติพุทธนั่นเอง”


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 21 การก�ำหนดงานบุญมหาชาติ งานบุญมหาชาตินิยมจัดขึ้นสองวัน อยูในชวงเดือนสี่ระหวาง กุมภาพันธ - มีนาคม ของทุกปนิยมท�ำทุกปไมใหขาด แตละวัดจะ ก�ำหนดวันเทศนมหาชาติไมใหตรงกัน สมัยกอนนั้นจะต  องตกลงกันวา  ปนี้จะเทศนที่วัดใดกอน หากเริ่มที่วัดใดก็จะท� ำใบนิมนตหรือสลากนิมนต เขียนดวยใบลานไปนิมนตพระสงฆเจ  าหัววัด(เจ  าอาวาส) มาเทศนโดย  แบงเปนกัณฑ แลวแตวาทานจะรับเทศนในกัณฑใด ทานก็จะมาดวย ตัวทานเอง งานบุญผะเหวดของบานนาทรายจะจัดขึ้นทุกป  ป ละ ๑ ครั้ง  ชวงเดือน มีนาคม - เมษายน จะมีวันรวมเรียกวา “วันโฮม” ชาวบาน จะมาชวยกันจัดตกแตงสถานที่เพื่อจัดงานบุญผะเหวด โดยเตรียม เครื่องสักการะตาง ๆ เชน ดอกไมธูปเทียน ข  าวตอก อยางละ ๑,๐๐๐ อัน  เปนตน ตั้งศาลเพียงตาขนาดเล็กพรอมกับประดับธงขนาดใหญ เปน จ�ำนวน ๘ ทิศ รอบ ๆ ศาลาการเปรียญ เพื่อเปนที่วางเครื่องสังเวย ส�ำหรับประกอบพิธี ภายในศาลาการเปรียญจะแขวนผาที่มีภาพวาด เรื่องราวพระเวสสันดรทั้ง ๑๓ กัณฑ กอนเริ่มพิธีจะมีการเทศนมหาชาติและนิยมอัญเชิญพระอุปคุตมาปกปองภัยอันตรายทั้งปวง และ ใหโชคลาภแกชาวบานที่มารวมพิธี โดยมีความเชื่อวาผูใดฟงเทศน มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ จบภายในหนึ่งวันและจัดเตรียมเครื่องบูชา ไดถูกตองจะไดเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย แตถาหากตั้ง เครื่องบูชาไมถูกตองจะท�ำใหเกิดสิ่งไมดีตาง ๆ ตามมา จึงท�ำใหทุกคน ในหมูบานให  ความส� ำคัญกับประเพณีนี้เปนอยางมาก


22 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บุญมหาชาติวันแรก ในวันแรกนั้นชาวบ้านนาทรายจะมีการจัดให้มีกิจกรรมตาง ๆ่ มากมาย เช่น พิธีอัญเชิญพระอุปคุต ขบวนแห่พระเวสเข้าเมือง พิธี เจริญพระพุทธมนตเย็น เทศน ์ บารมีสามสิบทัศ เทศน ์ กัณฑ ์ มาลัยหมื่น ์ มาลัยแสนเป็นต้น พิธีอัญเชิญพระอุปคุต วันแรกของงานบุญเปนวันรวมต้องมีการประกอบพิธีอัญเชิญ ็ พระอุปคุต ที่มีความเชื่อว่าพระอุปคุตเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์เดช ป้องกันภูตผีปีศาจไม่ให้มารบกวนภายในงานนั้นได้ การนิมนต์พระ อุปคุตนั้น ประกอบด้วยพระสงฆ์และญาติโยมน�ำขันดอกไม้ และ เครื่องอัฏฐะบริขาร เช่น เสื่อ อาสนะ ร่ม บาตร ตาลปัตร กระโถน แก้วน�้ำ ฯลฯ ไปยังฝายพิมเสนที่ท้ายหมู่บ้าน ประกอบพิธีไหว้พระ รับศีลเสร็จแล้วมัคนายกจะเป็นผู้กล่าวอัญเชิญพระอุปคุต แล้วให้ คนใดคนหนึ่งลงไปงมหินในฝายน�้ำนั้นสมมุติว่าหินนั้นเป็นพระอุปคุต มีโฉลกว่า งมครั้งที่ ๑ แล้วให้ตะโกนถามคนบนฝั่ งว่า “นี่แม่นบ่ แม่น พระอุปคุตบ่” คนบนฝั่ งตอบว่า “บ่แม่น ยังบ่แม่นเทื่อ” งมครั้งที่ ๒ แล้วให้ตะโกนถามคนบนฝั่ งว่า “นี่แม่นบ่ แม่น พระอุปคุตบ่” คนบนฝั่ งตอบว่า “บ่แม่น ยังบ่แม่นเทื่อ” งมครั้งที่ ๓ แล้วให้ตะโกนถามคนบนฝั่ งว่า “นี่แม่นบ่ แม่น พระอุปคุตบ่” คนบนฝั่ งตอบว่า “แม่นแล้วแม่นพระอุปคุตแล้วสาธุ” ตีฆ้องสามครั้ง โห่สามครั้ง แล้วก็แห่เข้าวัดอย่างสนุกสนานน�ำมา ประดิษฐานไว้ที่หอเพียงตาในบริเวณใกล้ศาลาที่จะเทศน์นั้น


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 23 การแหพระเวสสันดรเขาเมือง การแหพระเวสเขาเมืองนิยมจัดขึ้นกอนวันเทศน ๑ วันชาวบ าน จะจัดเตรียมสถานที่ใกลกับล� ำหวยของหมูบ  าน โดยการปลูกกระทอม  ไว ๑ หลัง ภายในมีเครื่องใชไมสอยประกอบดวย โองน�้ำกิน ๑ โอง เมื่อถึงเวลาประมาณบายโมง หลังจากที่ไดอัญเชิญพระอุปคุตขึ้นมา จากล�ำหวยแลวนั้น จึงเริ่มประกอบพิธีเชิญพระเวสสันดรเขาเมือง โดยมีสิ่งของที่ใชในการเชิญ คือ ขันหาขันแปด ขันหมากเบ็ง ๑ คู พัด จามร ทุง รม โดยมีชาวบานรับบทแตงตัวเปนองคพระเวสสันดร พระนางมัทรี กัณหา ชาลี ชูชก พระเจากรุงสญชัย และพระนางผุสดี  แลวสมมุติเหตุการณบริเวณตรงนั้นวา เปนจุดรวมพลกันเพื่อไปเชิญ องคพระเวสสันดรกลับเขาเมือง โดยใหผูท�ำหนาที่รับบทเปนพระเจา กรุงสญชัยพูดกลาวสนทนากับพระเวสสันดรใหเดินทางกลับเขาเมือง


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 25 หลังจากที่พระเวสสันดรยอมเดินทาง กลับเขาเมืองแล  วจึงเริ่มแหขบวน ซึ่งในอดีตนั้น  พระเวสสันดรกับพระนางมัทรีจะนั่งมาบนหลังชาง  ตามดวยชูชกน�ำเถาวัลยผูกขอมือกัณหาและ ชาลีเดินตาม ขบวนจะแหใกลหรือไกลแลวแต ความสะดวกและความสนุกสนานของชาวบาน ขบวนจะแหไปตามถนนของหมูบานมุงหนา ตรงไปยังวัดที่จัดงาน ในขบวนแหพระเวสสันดรเขาเมือง สิ่งที่จะขาดไมไดเลย คือ ผาพระเวส เปนผาที่ วาดภาพเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดกตั้งแต ตนจนจบ น� ำไปรวมในขบวนแหนั้นดวยเชนกัน 


26 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พิธีเจริญพระพุทธมนตเย็น เทศนบารมีสามสิบทัศ และเทศนกัณฑมาลัย หมื่นมาลัยแสน ชวงเย็น ทางวัดจะมีการประกอบพิธี เจริญพระพุทธมนตเย็น เทศนบารมีสามสิบทัศ และเทศนกัณฑมาลัยหมื่น มาลัยแสน รูปแบบ การเทศนนั้นจะเปนเอกลักษณเฉพาะทองถิ่น เทานั้น สวนการเทศนมาลัยหมื่น มาลัยแสนนั้น เปนการเลาเรื่องปฐมเหตุแหงการฟงเทศน มหาชาติที่พระมาลัยเถระไดถามกับพระศรีอริย-  เมตไตรยโพธิสัตวเกี่ยวกับอานิสงคของการ ท�ำบุญตาง ๆ เนื้อเรื่องพิศดารมีมากจะไมน�ำมา เลาในที่นี้ ในชวงตอนกลางคืนนั้นก็จะมีการ ละเลนสนุกสนานรวมกันรองร�ำท�ำเพลง กลุม ผูเฒาผูแกก็จะนอนกันที่วัด หรือบางกลุม ก็พา กันตีกลองออกเดินแหไปตามหมูบานเพื่อขอ สิ่งของตาง ๆ รวมถึงเงินปจจัย สุดแลวแตใคร จะรวมท�ำบุญเพื่อจะไดน�ำมาประกอบอาหาร เลี้ยงดูผูที่มารวมงาน


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 27 วันที่สอง วันเทศนพระเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ เชาวันที่สอง ชาวบานมารวมตัวกัน ที่ศาลาการเปรียญเพื่อฟงพระเทศนสังกาสหลวง เปนกัณฑแรก เมื่อพระภิกษุสงฆที่จะเทศนขึ้นสู ธรรมมาสน จึงจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และจุดธูปเทียนบูชากัณฑเทศน มัคนายกจะ น�ำกลาวค�ำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนากัณฑ มหาสังกาส พระภิกษุสามเณรก็จะเริ่มเทศนตั้ง แตกัณฑสังกาส คือการบอกศักราช กลาวถึง อายุกาลของพระพุทธศาสนาที่ลวงมาตามล�ำดับ ตอมาเปนการเทศนพระเวสสันดรชาดกเริ่มกัณฑ แรก คือ กัณฑทศพร และเทศนเรียงตามล�ำกับ ไปเรื่อย ๆ จนถึงนครกัณฑเปนกัณฑสุดทาย โดยมีเนื้อหาเรื่องยอแตละกัณฑดังตอไปนี้


28 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กัณฑที่ ๑ ทศพร เปนกัณฑที่พระอินทรประสาทพรแก พระนางผุสดี กอนที่จะจุติลงมาเปนพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญทาวสักกะเทวราช สวามี ทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พรอมใหพร ๑๐ ประการ คือ ใหได อยูในปราสาทของพระเจ  าสิริราชแหงนครสีพี ขอให   มีจักษุด�ำดุจนัยนตาลูกเนื้อ ขอใหมีคิ้วด�ำสนิท ขอใหพระนามวาผุสดี ขอใหมีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริยทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให มีครรภที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ ขอใหมี ครรภงามอยารูด� ำและหยอนยาน ขอใหมีเกศาด� ำสนิท ขอใหมีผิวงาม  และขอสุดทายขอใหมีอ�ำนาจปลดปลอยนักโทษได กัณฑที่ ๒ หิมพานต เปนกัณฑที่พระเวสสันดรบริจาค ทานชางปจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค  นจึงขับไลให  ไปอยูเขาวงกต  พระนางเทพผุสดีไดจุติลงมาเปนราชธิดาของพระเจามัททราช เมื่อ เจริญชนมได ๑๖ ชันษา จึงได  อภิเษกสมรสกับพระเจ  ากรุงสญชัยแหง  สีวิรัฐนคร ตอมาไดประสูติพระโอรสนามวา “เวสสันดร” ในวันที่ ประสูตินั้นไดมีนางชางฉัททันตตกลูกเปนชางเผือกขาวบริสุทธิ์จึงน�ำ มาไวในโรงชางตนคูบารมี ใหนามวา “ปจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดร เจริญชนม ๑๖ พรรษา ราชบิดาก็ยกราชสมบัติใหครอบครองและ ทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชธิดาราชวงศมัททราช มีพระโอรส ๑ องคชื่อ ชาลี ราชธิดาชื่อกัณหา พระองคไดสรางโรงทาน บริจาคทาน แกผูเข็ญใจ ตอมาพระเจากาลิงคะแหงนครกาลิงครัฐไดสงพราหมณ มาขอพระราชทานชางปจจัยนาคพระองคจึงพระราชทานช  างปจจัยนาค  แกพระเจากาลิงคะ ชาวกรุงสญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอก  พระนคร


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 29 กัณฑที่ ๓ ทานกัณฑ เปนกัณฑที่พระเวสสันดรทรงแจก มหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ กอนที่พระเวสสันดร พรอมดวยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอ พระราชทานโอกาสบ�ำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การใหทานครั้งยิ่งใหญ  อันไดแก ชาง มา โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณตาง ๆ รวม ทั้งสุราบานอยางละ ๗๐๐ กัณฑที่ ๔ วนประเวศ เปนกัณฑที่สี่กษัตริยเดินดงบาย พระพักตรสูเขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริยจึงแวะ เขาประทับพักหนาศาลาพระนคร กษัตริยผูครองนครเจตราชจึงทูล เสด็จครองเมือง แตพระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกต ไดพบศาลาอาศรมซึ่งทาววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของทาว สักกะเทวราช กษัตริยทั้งสี่จึงทรงผนวชเปนฤๅษีพ�ำนักในอาศรมสืบมา กัณฑที่ ๕ ชูชก เปนกัณฑที่ชูชกไดนางอมิตดามาเปนภรรยา  และหมายจะไดโอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเปนทาส ในแควน กาลิคะมีพราหมณแกชื่อ ชูชก พ�ำนักในบานทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตาม  เมืองตาง ๆ เมื่อไดเงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงน� ำไปฝากไวกับพราหมณ  ผัวเมียแตไดน�ำเงินไปใชเปนการสวนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยก นางอมิตดาลูกสาวใหแกชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยูรวมกับชูชก ไดท�ำ หนาที่ของภรรยาที่ดี ท� ำใหชายในหมูบานเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมูบานจึงเกลียดชังและรุมท�ำรายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึง เดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเปนทาสรับใช เมื่อเดินทางมาถึงเขา วงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผูรักษาประตูปา


30 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กัณฑที่ ๖ จุลพน เปนกัณฑที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสูอาศรมจุตดาบส ชูชกไดชูกลักพริกขิงแกพรานเจตบุตร อางวาเปนพระราชสาสนของพระเจ  ากรุงสญชัย จึงได  พาไปยังต นทาง ที่จะไปอาศรมฤๅษี กัณฑที่ ๗ มหาพน เปนกัณฑปาใหญ ชูชกหลอกลออจุต  ฤๅษีใหบอกทางสูอาศรมพระเวสสันดรแลวก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกไดพบกับอจุตฤๅษี ชูชกใชคารมหลอกลอจน อจุตฤๅษีจึงใหที่พักหนึ่งคืนและบอกเส  นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร  กัณฑที่ ๘ กัณฑกุมาร เปนกัณฑที่พระเวสสันดรทรงให ทานสองโอรสแกเฒาชูชก พระนางมัทรีฝนรายเหมือนบอกเหตุแหง การพลัดพราก รุงเชาเมื่อนางมัทรีเข  าปาหาอาหารแล ว ชูชกจึงเข  าเฝา้ ทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซอนตัวอยูที่สระ พระเวสสันดร จึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แลวจึงมอบใหแกชูชก กัณฑที่ ๙ กัณฑมัทรี เปนกัณฑที่พระนางมัทรีทรงไดตัด ความหวงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแกชูชก พระนางมัทรีเดินเขาไปหาผลไม  ในป  าลึก จนคล  อยเย็นจึงเดินทางกลับ  อาศรม แตมีเทวดาแปลงกายเปนเสือนอนขวางทาง จนค�่ำเมื่อกลับถึง อาศรมไมพบโอรส พระเวสสันดรไดกลาววานางนอกใจ จึงออกเที่ยว  หาโอรสและกลับมาสิ้นสติตอเบื้องพระพักตร พระองคทรงตกพระทัย


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 31 ลืมตนวาเปนดาบสจึงทรงเขาอุมพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อ พระนางมัทรีฟนจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอก ความจริงวาไดประทานโอรสแกชูชกแลว หากชีวิตไมสิ้นคงจะไดพบ นางจึงไดทรงอนุโมทนา กัณฑที่ ๑๐ สักกบรรพ เปนกัณฑที่พระอินทรจ�ำแลงกาย เปนพราหมณมาขอพระนางมัทรี แลวถวายคืนพรอมถวายพระพร ๘ ประการ ทาวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเปนพราหมณเพื่อทูลขอพระนาง  มัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนา เพื่อรวมทานบารมีใหส�ำเร็จพระสัมโพธิญาณ เปนเหตุใหเกิดแผนดิน ไหวสะทาน ทาวสักกะเทวราชในรางพราหมณจึงฝากพระนางมัทรีไว ยังไมรับไปตรัสบอกความจริงและถวายคืนพรอมถวายพระพร ๘ ประการ  กัณฑที่ ๑๑ มหาราช เปนกัณฑที่เทพเจาจ�ำแลงองคท�ำนุ บ�ำรุงขวัญสองกุมารกอนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี เมื่อเดินทางผาน ปาใหญชูชกจะผูกสองกุมารไวที่โคนตนไม สวนตนเองปนขึ้นไปนอน บนตนไม  เหลาเทพเทวดาจึงแปลงกายลงมาปกปองสองกุมาร จนเดิน  ทางถึงกรุงสีพี พระเจากรุงสีพีเกิดนิมิตฝนตามค�ำท�ำนายยังความปติ ปราโมทยเมื่อเสด็จลงหนาลานหลวงตอนรุงเช  าทอดพระเนตรเห็นชูชก  พากุมารนอยสององค ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานคาไถคืน ตอมาชูชกก็ดับชีพตักษัยดวยเพราะเดโชธาตุไมยอย ชาลีจึงได  ทูลขอให   ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจานครลิงคะ  ไดโปรดคืนชางปจจัยนาคแกนครสีพี


32 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กัณฑที่ ๑๒ ฉกษัตริย เปนกัณฑที่ทั้งหกกษัตริยถึงวิสัญญี ภาพสลบลงเมื่อไดพบหน าณอาศรมดาบสที่เขาวงกตพระเจ  ากรุงสญชัย  ใชเวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโหร องของทหาร ทั้ง ๔ เหลา พระเวสสันดรทรงคิดวาเปนขาศึกมารบนครสีพี จึงชวน พระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพ พระราชบิดาจึงไดตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริยได พบหนา กันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหลาทัพ ท�ำใหปาใหญสนั่น ครั่นครืนทาวสักกะเทวราชจึงได  ทรงบันดาลให  ฝนตกประพรมหกกษัตริย  และทวยหาญไดหายเศราโศก กัณฑที่ ๑๓ นครกัณฑ เปนกัณฑที่หกกษัตริยน�ำพยุหโยธา เสด็จนิวัติพระนครพระเวสสันดรขึ้นครองราชยแทนพระราชบิดา พระเจากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร อม ทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสูสีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งใหชาว เมืองปลอยสัตวที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกวา รุงเชาประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองคจะประทานสิ่งใด  แกประชาชน ทาวโกสีหไดทราบจึงบันดาลใหมีฝนแกว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหนาแขง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือใหขนเขาพระคลังหลวง ในกาลตอมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธ ราชธรรมบานเมืองรมเย็นเปนสุขตลอดพระชนมายุ


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 33 การเทศนนั้นพระภิกษุสงฆจะสับเปลี่ยน กันขึ้นเทศนทั้งวันโดยที่ไดรับใบนิมนตมาจากวัด อื่นบางจากวัดเราบางสลับกันไป เมื่อทานเทศน เสร็จแลวจะมีเจาภาพบูชากัณฑเทศนน�ำตนกัณฑ ถวายใหแกทานไปหรือมีปจจัยจะถวายทานเปน พิเศษ เรียกวา การแถมสมภาร วัฒนธรรมไทหลมนั้นจะมีกัณฑพิเศษเพิ่ม เขามา คือ กัณฑกุมาร มีสองกัณฑ กุมารตน กุมาร ปลาย และกัณฑฉลองเปนกัณฑสุดทาย การเทศน  พระเวสแบบไทหลมโบราณนั้นเรียกวา “ล�ำพระเวส” เปนการอานหนังสือใบลานตัวอักษรธรรม ซึ่ง มีอยูหลายท�ำนองแตละกัณฑท�ำนองก็แตกตาง กันไปมีความไพเราะจับใจเมื่อไดยินเสียงเทศน แบบโบราณนั้นเหมือนไดกลิ่นไอความเปนโบราณ มาก ๆ ซึ่งทุกวันนี้จะหาผูเทศนแบบโบราณอยาง ที่วานี้ยากเสียแลว ระหวางที่พระเทศนอยูนั้น เพื่อ  มิใหเปนการงวงเหงาหาวนอนบางครั้งก็มีการน�ำ หมากขี้อนซึ่งเก็บมาจากทุงนามีลักษณะเปนขน คลายขนเมน น� ำมาขวางกันไปมาติดผมเผ  ายุงเหยิง  อยางสนุกสนานหรือไมก็น�ำอาขาวพันกอนและ เงินเหรียญหวานเปนนัยวาเปนฝนโบกขรพรรษ ตกลงมานั่นเอง


34 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ สาระส�ำคัญ บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คือ งาน มหากุศล ใหร� ำลึกถึงการบ�ำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแกตัว เพื่อผลคือประโยชนสุข อันไพศาลของมวลชนมนุษยชาติ เปนส�ำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแตโบราณ จึงถือเปนเทศกาลที่ ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจรวมกระท�ำบ�ำเพ็ญ และได อนุรักษสืบทอดเปนวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุนหลัง ที่ควรเห็นคุณคาและอนุรักษเปนวัฒนธรรมสืบไป นอกจากนี้ยังเปนการสังสรรค ระหวางญาติ พี่นองจากแดนไกลสมกับค�ำกลาวที่วา “กินขาวปุน เอาบุญผะเหวด ฟงเทศนมหาชาติ” ถึงแมวาปจจุบันความเจริญจะเขามาสูบาน นาทราย ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ มากเพียงใดก็ตาม แตความเปนวัฒนธรรมทองถิ่นที่ยัง คงฝงรากลึกอยูในจิตใจของผูคนในชุมชน ที่มีการด� ำเนิน วิถีชีวิตตามหลักฮีตสิบสองคลองสิบสี่ยังคงเหนียวแนน จนเปนเอกลักษณที่มีเสนหจนท�ำใหกลุมผู  คนที่หลั่งไหล  มาจากทั่วสารทิศที่เดินทางเขามาไดสัมผัสถึงกลิ่นไอ ความเปนวัฒนธรรมที่โดดเดนของชุมชนจนเกิดความ หลงไหลในมนตเสนหอยางไมรูลืม


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 35 บรรณานุกรม สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เลม ๙. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทย พานิชย, ๒๕๔๒. สัมภาษณ์ เชา วันคง. (๒๕๖๐). อายุ ๗๕ ป  บ านเลขที่ ๘๑ บ  านนาทราย หมู ๒  ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๘ กุมภาพันธ. เปลื้อง นันทะกูล. (๒๕๖๐). อายุ ๘๑ ป บ านเลขที่ ๑๒๒ บ านนาทราย หมู ๒ ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๘ กุมภาพันธ. พัด ใจเมธา. (๒๕๖๐). อายุ ๘๗ ป บานเลขที่ ๖๒ บานนาทราย หมู ๒ ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๘ กุมภาพันธ. เพชร จันทรเกิด. (๒๕๖๐). อายุ ๗๒ ป บ านเลขที่ ๗๑ บ านนาทราย  หมู ๓ ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๘ กุมภาพันธ. เพียง ขัดมัน. (๒๕๖๐). อายุ ๗๘ ป บานเลขที่ ๙๐ บานนาทราย หมู ๒ ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๑๘ กุมภาพันธ.


การกอตั้งชุมชนของผูคนในอดีตจะนิยมเลือก พื้นที่ใกลกับแหลงน�้ำและปาไมกอนสิ่งอื่น ๆ เพราะวาน�้ำนั้นมีความส�ำคัญเปนอันดับแรก หากเลือกตั้งอยูไกลจากแหลงน�้ำจะท�ำให ไมสะดวกในการท�ำมาหากิน ซึ่งชาวบานในอดีต  นิยมประกอบอาหารที่มีวัตถุดิบจากปลาเพราะ วาเปนสิ่งที่หามาไดโดยงาย และมีความอุดม สมบูรณเปนอยางมาก ดังค�ำกลาวโบราณที่วา “ในน�้ำมีปลา ในนามีขาว” พิธีเลี้ยงปผีกลางบาน บานปาเลา ต�ำบลปาเลา อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ ผู้เขียน : อาจารยอังคณา จันทรแสงสี อาจารยประจ�ำสาขาวิชานาฏศิลปและศิลปะการแสดง นายวิโรจน หุนทอง นักวิชาการวัฒนธรรม นางสาวณัฐวดี แกวบาง นักวิชาการวัฒนธรรม ------------------------------------ --------------------------------------------------------------- ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- 36 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


ความส�ำคัญรองลงมาจากแหลงน�้ำ คือปาไม  เพราะมีประโยชนทั้งการน� ำไมมาสราง ที่อยูอาศัย เปนที่หาอาหารเชน พืชผัก ผลไม เห็ด หนอไม ไขมดแดง และสัตวอื่น ๆ การรักษา  ปาของคนในอดีตมีความฉลาดเปนอยางมาก แทนที่จะมอบใหคนดูแลรักษาแตไมมอบให เพราะถาคนรูจักและเขาใจคนวาชอบแตได ไมชอบเสีย และไมซื่อตรง แอบลักลอบท�ำการ เอาประโยชนสวนตนจึงมอบใหผีปกปกรักษาป า สรางที่อยูให  ผี เรียก ศาลกลางบ าน แล วประกอบ  พิธีเชิญผีปูยาตายายที่ลวงลับไปแลวใหมาสิง สถิตย คอยเฝาดูแลปาและปกปกรักษาลูกหลาน  ซึ่งในแตละปจะมีการเลี้ยงผีเพื่อเสริมสร  างขวัญ  ก�ำลังใจและความสามัคคีของคนในหมูบาน วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 39


บานปาเลา ต�ำบลปาเลา อ�ำเภอเมือง เพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ เปนหมูบานหนึ่ง ที่ชาวบานใหความเคารพนับถือตอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเพื่อเปนเครื่องยึด เหนี่ยวจิตใจของผูคนในหมูบาน และไดมีกา รสราง “ศาลตาปู” ปจจุบันตั้งอยูทางทิศเหนือ ของหมูบาน พิธีเลี้ยงผีกลางบานจะจัดเปนประจ�ำ ทุกปตรงกับ วันขึ้น ๖ ค�่ำ เดือน ๖ โดยมีราง ทรง (ชาวบานเรียกกันวา “คาบ”) เปนผูประ สานกับผูน�ำหมูบานเพื่อประกาศเสียงตามสาย ใหลูกบานทราบขาววาจะมีพิธีเลี้ยงผีกลางบา นวันไหน และเชิญชวนใหชาวบานรวมบริจาค เงินทอง ขาวของตามศรัทธา เพื่อจะไดน�ำเงิน ไปซื้อเครื่องเซนไหวมาใชในวันงาน ประกอบ ไปดวย หัวหมู ไก เหลา บุหรี่ ยาสูบ หมากพลู น�้ำอัดลม น�้ำเปลา ขนมหวาน ดอกไม ธูปเทียน และเสื้อผาเครื่องแตงตัวของรางทรง


เครื่องเซน เครื่องไหว  ที่แปรเปลี่ยนต ามยุคสมัย กอนวันงานผูน�ำหมูบาน จะออกเดินทางเรี่ยไรทุนทรัพยจาก ชาวบาน เพื่อจะจัดเตรียมหาซื้อเครื่องเซนไหวไวใหพรอม จากอดีต ถึงปจจุบันไดมีการปรับเปลี่ยนเครื่องเซนไหวตามความสะดวกของ ยุคสมัย โดยมีผูเฒาผูแกในหมูบานชวยกันตรวจตรา และคอยใหค�ำ ปรึกษา บวกกับความรวมแรงรวมใจของชาวบานทุกครัวเรือน เครื่องเซนไหวหลัก ๆ ประกอบดวยอาหารจ�ำพวกเนื้อสัตว เชน หัวหมู ไกตม (ซึ่งตองเปนไกที่ถูกฆาโดยไมเชือดคอไก และ หาม ผาอกของไกเด็ดขาด โดยจะตองเปนการฆาแบบการทุบให  ไกตายแล ว ลวงเอาเครื่องในของไกนั้นออกมาลางท�ำความสะอาดผานทวารหนัก แลวจึงยัดเครื่องในเขาไปไวดังเดิม ชาวบานใหเหตุผลวาไกจะไดดู เหมือนเปนไกทั้งตัวโดยที่อวัยวะของไกนั้นยังครบทุกสวนนั่นเอง) นอกจากนี้ ยังมีอาหารคาวหวานที่ชาวบานเตรียมมา ประกอบ  ดวย บัวลอย ขนมต ม ข าวเกรียบ หรือขนมขบเคี้ยวที่มีขายตามร านคา ขาวเหนียว ขาวสาร น�้ำอัดลม ยาสูบ หรือ บุหรี่ เหลา หรือ เบียร และสิ่งที่ขาดไมไดคือ ดอกไม ธูป เทียน เหลา สมัยกอนชาวบานจะตมเอง แตปจจุบันกฎหมายเขม งวดมากขึ้น ชาวบานที่ตมเองเกรงจะถูกต�ำรวจจับจึงไมนิยมตม หัน มาซื้อเหลา ๔๐ ดีกรีแทน จนถึงปจจุบันนี้เพิ่มเบียรเขามาในพิธีตาม ความเหมาะสม เหลือเพียงแตบุหรี่ที่ยังมักนิยมใชเปนยาเส  นที่ชาวบ าน ปลูกกันเองมารวมดวย โดยน�ำยาเสนที่ตากไวจนแหงแลวมามวน กับใบตองแหง ในอดีตอาจมีกัญชาดวย ผูอาวุโสประจ�ำหมูบานย�้ำวา 42 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


ของเซนไหวทุกอยางที่ท� ำมาในพิธีนั้น หามมีการกินกอนเด็ดขาด หรือ  แมกระทั่งชิมก็ไมได  การจะกินของเซนไหว  ได นั้นต  องหลังจากประกอบ  พิธีเสร็จแลว ความละเมียดละไมนี้สะทอนใหเห็นภาพความเอาใจใส ในรายละเอียด เสมือนลูกหลานปรนนิบัติแกพอแมปูยาตายายเพื่อ แสดงถึงความกตเวทิตาคุณอีกทางหนึ่ง ขันคายรางทรง ๑. ขัน ๕ ขัน ๘ ๒. กรวยหมาก ๑ คู ๓. เทียน ๔. ไขไกดิบ ๕. เทียนน�้ำมนต ๖. เหลา เบียร ๗. ดาย ๑ ใน ๘. ยาสูบ ๑ ซอง ๙. บายศรีปากชาม ๑๐. เงินคาคาย จ�ำนวน ๙๙ บาท ๑๑. คาคายน�้ำมนต ๑๒ บาท ๑๒. ดาบประจ�ำตัว ๑ คู


เมื่อถึงวันงานพิธีเลี้ยงผีกลางบาน ซึ่ง ตรงกับวันขึ้น ๖ ค�่ำ เดือน ๖ ชาวบานจะเดินทาง  มารวมตัวกันที่ศาลของหมูบานตั้งแตเช  ามืดโดย  จะชวยกันจัดวางเครื่องเซนไหวที่ไดเตรียมไว โดยจะมีแมนางแตง (ชาวบานป  าเลาเรียกแมนาง  แตงวา นางปากหวาน) และมีรางทรงคอยเปน ผูก� ำกับอยูตลอดเวลา ระหวางการจัดวางเครื่อง เซนไหวอยู ชาวบานที่เดินทางมาถึงจะน�ำขนม หวาน ขาวเรียงขาวแตน ขาวเกรียบกุง ผลไม น�้ำแดง และเหลา มารวมในพิธี หลังจากที่จัดวางเครื่องเซนไหวเสร็จ เปนที่เรียบรอยแลว ชาวบานมากันโดยพรอม เพียง จากนั้นรางทรงจึงเริ่มประกอบพิธีโดยยก ขันครูบอกกลาวระลึกถึงครูบาอาจารย แลว บอกกลาวเชิญผีเจาบานรวมถึงผีตนอื่น ๆ ที่ อาศัยอยูในหมูบาน ใหมารับเครื่องเซนไหว ซึ่ง เวลาที่ผีมารับเครื่องเซนไหวนั้นสวนใหญจะเข า ประทับที่รางทรง แลวลุกขึ้นแตงตัวตามใจชอบ  ตอดวนการฟอนร�ำและนั่งลงกินเครื่องเซนไหว ตาง ๆ ที่จัดวางไว ทั้งนี้อาจจะผีบางตนที่เปน ปูยาตายายของคนในหมูบานที่เสียชีวิตไปแลว มาประทับทรงก็จะหันมาทักทายพูดคุยสอบถาม ถึงสารทุกขสุขดิบของลูกหลานนั่นเอง


รายชื่อผีที่เขาประทับทรงคาบ (แตละปจะมีผีจ�ำนวนไม เท ากัน หรือผีบางตนอาจจะไมมาเลยก็ได) ๑. ตาปูหรือปูใหญ เปนผีเจาบาน ๒. ตาโต เปนผีเจาที่บานปาเลา ๓. ตาดวง เปนผีที่คอยดูแลวัวควายใหชาวบานซึ่งชาวบาน ใหความเคารพนับถือกันมากเวลาน�ำวัวควายออกไปเลี้ยงตาม ทองทุงนามักจะบอกกลาวฝากฝงใหคอยดูแลวัวควายอยูเปนประจ�ำ อาศัยอยูพื้นที่เขตติดตอกับบานหนองนารี เเละบานพล�ำ ๔. ตาขุน เปนเจาที่บานปาเลาอีกองคหนึ่งดูแลรักษาพื้นที่ เขตติดตอกับบานปาเเดง ๕. เจาพอหิมโมนดูแลรักษาเขื่อนปาเลาเเละเขตพื้นที่ ใกลเคียง  ๖. เจาพอหิมพาน ดูแลรักษาเขื่อนปาเลาเปนพี่ของเจาพอ หิมโมน ๗.เจาพอวังตาเหล็ก ดูแลรักษาพื้นที่กอนถึงเขื่อนปาเลา ๘. เจาพอวังโคง ดูแลรักษากอนถึงเขื่อนปาเลา ๙. ปูเขาเขียว ดูแลรักษาเขาปาเลา ๑๐. เจาปูซับกี่ ดูแลรักษาเขาปาเลา ๑๑. ยาซับกี่ ดูแลรักษาเขาปาเลา ๑๒. ปูสมอเเคลง ดูแลรักษาเขาปาเลา ๑๓. เจาพอดินด�ำ ดูแลรักษาเขาปาเลา ๑๔. เจาพอดินเเดง ดูแลรักษาเขาปาเลา 46 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


๑๕. เจาพอหงษยน  ดูแลรักษาบานโนนซึ่งเปนพื้นที่ตั้งหมูบ าน เกา กอนที่จะลมสลายไป เขตพื้นที่ติดตอกับบานปาเเดง ๑๖. เจาพอนาเกน  รักษาพื้นที่เขตติดกับบานไร ต� ำบลสะเดียง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ ๑๗. เจาพอทองด� ำ เจาเเมทองค� ำ อาศัยอยูที่เสาไมต นตะเคียน  ที่ตกน�้ำมันตั้งอยูบริเวณหนาโรงเรียนบานปาเลา ๑๘. ตาขุนสุด เปนผีที่ดลบรรดาลใหน�้ำทาอุดมสมบูรณ ๑๙. เเมนางเเถเเรเเท เปนผีปาที่ชอบมาแอบดูผูชายโสดใน หมูบานเพื่อน�ำไปท�ำเปนสามี ๒๐. เเมนางน�้ำเซาะทราย เปนผีปาที่ชอบมาแอบดูผูชายโสด ในหมูบานเพื่อน�ำไปท�ำเปนสามี ๒๑. เจาพอหลักเมือง อาศัยอยูที่ศาลเจาพอหลักเมือง ต�ำบล ในเมือง อ�ำเภอเมืองเพชรบูรณ จังหวัดเพชรบูรณ ๒๒. เจาพอปนปก ๒๓. เจาพอรมเขียว ๒๔. เจาพอกาปมณี วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 47


เมื่อกลุมผีที่อาศัยอยูภายในหมูบาน มารับเครื่องเซนไหวจนเปนที่พอใจแล  ว จากนั้น  ก็จะมีการเชิญผีปาผีเขาผีหวยหนองคลองบึง ผีเจาพอเจ  าเเมเเละผีที่ถูกผีป  าผีเขาน� ำไปอยูดวย มารับเครื่องเซนไหว เเละมีการพูดคุยสอบถาม ถึงฝนฟาน�้ำทาในปนี้วาเปนอยางไร หลังจากที่ พูดคุยสอบถามกันเสร็จแลว จึงรวมกันน�ำชาง มาไกที่วางไวภายในศาลออกมาอาบน�้ำ และ ท�ำการร�ำคลองชางคลองมาคล องไก ตอจากนั้น  จึงเปนการผูกแขนใหกับลูกหลานที่มารวมงาน สวนชาวบานบางสวนก็จะขอด  ายผูกแขนนกลับ  ไปผูกใหกลับลูกลานที่ไมสามารถเขามารวมใน งานได


การสงผี  ถือวาเปนขั้นตอนสุดทายของการเลี้ยงผีกลางบาน โดยมีการตั้งขบวนแหไป ซึ่งประกอบไปดวยรางทรงถือดาบฟอนร�ำ เดินน�ำหนาพรอมโปรยขาวตอกดอกไม ตามดวยกลุมชาวบานที่รวม ไปในขบวนหาบไมกับถุงพลาสติกซึ่งอดีตชาวบานจะน�ำหวดนึงขาว เกา ๆ มาใช เเตในปจจุบันหันมาใชเปนถุงพลาสติกเเทน ซึ่งภายในถุง ดังกลาวจะประกอบไปดวย ขาวด�ำ ขาวเเดง ขาวขาว กุงพลา ปลาย�ำ หมากพลู ยาสูบ พริก เกลือ มะเขือ ปลารา เเละยังมีการน�ำดินมา ปนเปนรูปคนในบ านตามจ� ำนวนที่มีเพื่อเปนตัวเเทนของคนในครอบครัว ใสไวในถุงนั้นดวย และยังมีการปนดินเปนสัตวเลี้ยงตามจ�ำนวนที่มีใน บานนั้นด  วย ในระหวางการแหขบวนสงผีอยูนั้นจะมีการตีฆ  องตีกลอง  รองร�ำกันไปตลอดเสนทาง เมื่อขบวนแหเดินไปถึงยังบริเวณทางแยก ชาวบานก็จะมีการยิงปนสงสัญญานใหชาวบานรูวาขบวนไดเเหมาถึง บริเวณนั้นแลวเพื่อเปนการบอกใหชาวบานพากันหลบไมออกมา นอกบาน ซึ่งตรงทางแยกแตละที่รางทรงจะน�ำมีดดาบที่ถือมาดวย วาดกรีดไปกับพื้นดินเพื่อไมใหบรรดาผีตาง ๆ ไดแวะเขาไปตามทาง แยกท�ำอันตรายใหเกิดกับลูกหลานที่อาศัยอยูในบาน เมื่อขบวนแหเดินทางถึงปายทางเขาหมูบ  าน (ชาวบ  านป าเลา เรียกบริเวณนั้นวา บนโนน) ชาวบานจะพากันโยนไมกับถุงพลาสติก ที่หาบมาทิ้งไวมุมใดมุมหนึ่งเพื่อใหเปนเสบียงในการเดินทางของกลุม ผีระหวางทาง สวนรางทรงก็จะโยนดาบลงไปเพื่อเปนการสงผีใหออก จากรางกายของตนเองจึงถือไดวาเปนการเสร็จสิ้นพิธีการเลี้ยงผี กลางบานในปนี้นั่นเอง 50 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


Click to View FlipBook Version