The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านนาตะกรุด, พระพุทธรูปสำริดในเขตเมืองหล่มสัก, อ่านชีวิตนายเชื้อ สนั่นเมือง(เพชรบูรณ์), วัดไตรภูมิ, ภาษาพื้นถิ่นบ้านนาตะกรุด, เมี่ยงหัวทูน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารเพชบุระ ปีที่10 ฉบับที่ 10_ออนไลน์

ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านนาตะกรุด, พระพุทธรูปสำริดในเขตเมืองหล่มสัก, อ่านชีวิตนายเชื้อ สนั่นเมือง(เพชรบูรณ์), วัดไตรภูมิ, ภาษาพื้นถิ่นบ้านนาตะกรุด, เมี่ยงหัวทูน

เพชบุระ ตุลาคม ๒๕๖๕ - มีนาคม ๒๕๖๖ ISSN ๒๒๒๙ - ๑๐๖๗ วารสารศิลปวัฒนธรรม ราย ๖ เดือน ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐


จ�ำนวนที่พิมพ ๑,๐๐๐ เลม เจ้าของ ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลศิลป วัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ ISSN ๒๒๒๙ - ๑๐๖๗ ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย ดร.ธวัช พะยิ้ม ผูชวยศาสตราจารย ดร.พงศศิริ คิดดี ผูชวยศาสตราจารย ดร.ส�ำราญ ทาวเงิน บรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารยจันทรพิมพ มีเปยม ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผูชวยศาสตราจารยขุนแผน ตุมทองค�ำ อาจารยใจสคราญ จารึกสมาน อาจารย ดร.สดุดี ค�ำมี ผูชวยศาสตราจารยปาริชาติ ลาจันนนท อาจารยสมคิด ฤทธิ์เนติกุล อาจารยสมศักดิ์ ภูพรายงาม อาจารยพีรวัฒน สุขเกษม ประสานงาน นายวิโรจน์ หุ่นทอง ฝ่ายวารสารออนไลน์ นางสาวจิรภา เหมือนพิมทอง ฝ่ายด�ำเนินการ นางนิภา พิลาเกิด นางสาวปวีณา บัวบาง นางสาวสุพิชญา พูนมี นางสาวมัลลิกา อุฤทธิ์ นางสาวณัฐวดี แกวบาง นางสาวกัญญาภัค ดีดาร ฝ่ายกราฟก/ภาพ นางสาวมนชยา คลายโศก นายพิทักษ จันทรจิระ ผลิตและเผยแพรโดย ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ๘๓ หมู่ ๑๑ ถ.สระบุรี - หลมสัก ต.สะเดียง อ.เมืองเพชรบูรณ จ.เพชรบูรณ ๖๗๐๐๐ โทรศัพท. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ โทรสาร. ๐๕๖ - ๗๑๗๑๔๐ http://artculture.pcru.ac.th FB : ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พิมพที่ : ร้านเก้าสิบ ๘๘ หมู่ ๖ ต.ชอนไพร อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ ๖๗๐๐๐ โทร. ๐๘๙ - ๖๔๑๓๕๓๓


บทบรรณาธิการ วารสาร “ศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ” เปนวารสารที่ไดรวบรวม องคความรูทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปญญาท  องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ  เปนหลัก ทั้งดานประวัติศาสตร โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปหัตถกรรม ประเพณี วิถีชีวิตภูมิปญญาชาวบาน ต� ำนาน ความเชื่อ เครื่องมือ เครื่องใช อาหารการกินของชาวจังหวัดเพชรบูรณ วารสารฉบับนี้ได้ด�ำเนินมาถึงฉบับที่ ๑๐ กองบรรณาธิการมีความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้หยิบยกเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบูรณมาน� ์ำเสนอในหลากหลายแงมุม ไม ่ว่ าจะเป ่นบทความ็ ทางประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตรชุมชนบ้านนาตะกรุด หรือจะเป็น เรื่อพระพุทธรูปส�ำริดในเมืองหล่มสัก ชีวประวัตินายเชื้อ สนั่นเมือง และ ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกหลากหลายที่ได้รวบรวมมาไว้ในวารสารฉบับนี้ กองบรรณาธิการหวังเปนอยางยิ่งวาผูอานทุกทานจะได  รับความรู   และเพลิดเพลินไปกับนานาสาระของบทความในวารสารฉบับนี้ และหวัง เปนอยางยิ่งวาวารสารฉบับนี้จะเปนแรงผลักดันใหเกิดการศึกษาคนควา ทางวิชาการและการอนุรักษมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาวจังหวัด เพชรบูรณสืบไป โอกาสนี้ กองบรรณาธิการขอขอบคุณผูเขียนบทความ ผูแนะน�ำ ขอมูล ผูทรงคุณวุฒิทุกทานที่กรุณาแสดงความคิดเห็นอันเปนประโยชน ตอคณะท�ำงาน ท�ำใหวารสาร “ศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ” ฉบับนี้ได  เผยแพร  ส�ำเร็จลุลวงมาไดดวยดี ผูชวยศาสตราจารยจันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม ผูอ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


๓ บทบรรณาธิการ ๖ ประวัติศาสตร์ชุมชน บ้านนาตะกรุด ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๑๖ พระพุทธรูปส�ำริด ในเขตเมืองหล่มสัก ๔๐ อ่านชีวิตนายเชื้อ สนั่นเมือง (เพชรบูรณ) ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๐ วัดไตรภูมิ ๘๐ ภาษาพื้นถิ่นบ้านนาตะกรุด ๙๔ เมี่ยงหัวทูน สารบัญ


ประวัติชุมชนบ้านนาตะกรุด ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผูเขียน : ผศ.จันทรพิมพ มีเปยม ผูอ�ำนวยการส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวมนชยา คลายโศก นักวิชาการวัฒนธรรม นางสาวจิรภา เหมือนพิมทอง นักวิชาการวัฒนธรรม ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- ----------------------------- --------------------------------------------------------------- 6 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บานนาตะกรุดชุมชนเกาแกกอตั้งมาประมาณ ๒๐๐ ป ตั้งอยู หมูที่ ๑, ๒ และ ๓ ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ ซึ่งค�ำวา “ตะกรุด” หมายถึงแหลงน�้ำหรือแหลงสุดของ แหลงน�้ำ และมีลักษณะล�ำน�้ำดวนคลองน�้ำสุด เปนการรวมกันของแหลงน�้ำที่มีอยูมากมาย หลายแหงตามชื่อเรียกของตนไมหลากหลาย ชนิดที่มีมากในบริเวณตะกรุดน�้ำนั้น ๆ ตลอดจน มีความอุดมสมบูรณเหมาะแกการเพาะปลูก ท�ำไรนา การท�ำมาหากินตั้งรกรากที่อยูอาศัย ของชาวบานที่อพยพจากศรีเทพนอยเพียง ไมกี่ครอบครัว จนเกิดเปนชุมชนที่มีความส�ำคัญ และเปนที่มาของชื่อเรียกค�ำวา บานนาตะกรุด จนถึงปจจุบัน


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 7 ประวัติความเปนมา จากเอกสารเรื่อง “เที่ยวที่ตาง ๆ ภาค ๓ เรื่องเที่ยวเมืองเพชรบูรณ” บันทึกโดยพระเจา บรมวงศเธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ กลาววา “...เที่ยวเมืองเพ็ชรบูรณที่พิมพ ในเลมนื้ ขาพเจาแตงไวครั้งไปตรวจราชการ มณฑลเพ็ชรบูรณเมื่อ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ ตรงกับปมะโรง พ.ศ. ๒๔๔๗ ...มีเมืองโบราณ อีกเมืองหนึ่งอยูใตเมืองวิเชียรบุรีลงมาขาง ฝงตะวันออกเหมือนกัน เมืองนี้เรียกวา เมือง ศรีเทพชื่อหนึ่ง อีกชื่อหนึ่งเรียกตามค�ำธุดงควา “เมืองภัยสาลี” อยูหางล�ำน�้ำสักขึ้นไปประมาณ ๑๕๐ เสน แลอยูที่ปาแดง จะไปดูไดไมยากนัก เมื่อจะลองจากเมืองเพ็ชรบูรณ ขาพเจาจึงได สั่งใหเอามาเดินมาคอยรับที่ทานาตะกรุดอัน เปนที่จะขึ้นไปสูเมืองศรีเทพ...” จากเอกสาร ดังกลาวท�ำใหทราบวา บานนาตะกรุดเริ่มมี มากอน พ.ศ. ๒๔๔๗ นับถึงปจจุบัน


8 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ กอนที่จะเกิดเปนบานนาตะกรุด ไดมีการ ยายถิ่นฐานมาจากบ  านใหญ เดิมคือบ  านศรีเทพน อย ในปจจุบัน ชาวบานได  อพยพเดินทางลัดเลาะมาตาม  ล�ำคลองบานและล� ำคลองหวยยาง ได  พากันเดินทาง  มา ๓ - ๔ พี่นอง และเมื่อมาถึงสถานที่ทายน�้ำ คือ สุดล�ำคลองพอดี ซึ่งค�ำวา “ตะกรุด” มีนัยความ หมายตามค�ำบอกเลาอยูหลายนัย ดังนี้ ประการแรก ตะกรุด หมายถึงแหลงน�้ำ คือแหลง สุดของแหลงน�้ำและมีลักษณะน�้ำดวนคลองน�้ ำสุดแบบนี้ อยูหลายแหง จึงไดเรียกชื่อวา ตะกรุดตาง ๆ ตาม แหลงน�้ำนั้น ๆ เชน ตะกรุดตะเขอยูที่หมู ๕ ตะกุดยอ  ตะกรุดแฟบ ตะกรุดไอแต และตะกรุดดางอยูที่หมู ๓  แตละชื่อของตะกรุดลวนเรียกตามตนไมที่มีมาก ในที่พื้นที่นั้น ๆ เชน บานตะกรุดจิกเพราะมีตนจิก ตะกรุดแฟบเพราะมีตนแฟบ ตะกรุดยอเพราะมี ตนยอ เพราะเหตุที่มีหลายตะกรุดจึงไดมาปรึกษา กันวาจะตั้งชื่อสถานที่นี้วาอยางไรดี จึงไดขอสรุป วาใหเรียกชื่อ  “นาตะกรุด” มาจนถึงทุกวันนี้ (เสมอ โตมะนิตย, ๒๕๖๔)


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 9 ประการที่สอง สาเหตุที่เรียกวา บานนาตะกรุด เพราะหมูบานนี้มีลักษณะพื้นที่เปนแองน�้ ำซึ่งไมลึกนัก เมื่อถึงฤดูฝนน�้ำจะเต็มแอง แองน�้ำนี้ ชาวบานเรียกวา  “ตะกรุด” ซึ่งแองน�้ำมีอยูมากมายในหมูบาน เมื่อ ถึงฤดูแลงน�้ำก็จะแหง แองแตละแองจะมีความยาว ประมาณ ๑๐ วา ตอเนื่องกันบางไมตอเนื่องกันบาง ดังนั้นค�ำวาตะกรุดจึงมีลักษณะคลายคลอง แต ความยาวความสั้นของตะกรุดนั้นเกิดขึ้นมาตาม ธรรมชาติ เชน ตะกรุดขาง ตะกรุดยอ ตะกรุดตะเข ตะกรุดครก ตะกรุดไอโซ ตะกรุดจิก เปนตน ซึ่ง สวนใหญชื่อตะกรุดตางจะเรียกตามชื่อของพรรณไม ที่มีอยูบริเวณนั้นเปนจ�ำนวนมากๆ เชน ตะกรุดยอ มาจากตนยอ ตะกรุดจิก มาจากตนจิก เปนตน (ปรุงศรี กลิ่นเทศ, มมป.) ประการที่สาม สาเหตุที่เรียกชื่อบานนาตะกรุด เพราะมีคนมาหาเครื่องรางของขลัง คือ “ตะกรุด” นางจีน ตะกรุดงามไดเลาไววา ในสมัยกอนบริเวณนี้ เปนพื้นที่ที่เคยเปนเมืองเกา ตอมาเมืองดังกลาวเกิด การลมสลาย มีชาวบานจากเมืองอื่นเข  ามาหาเครื่องราง  ของขลังของเกาที่มีคา เชน ตะกรุด และชาวบาน ไดเขามาตั้งบานเรือนจนกลายเปนหมูบานเรียกวา บานนาตะกรุด (ปรุงศรี กลิ่นเทศ, มมป.)


10 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ การอพยพของชาวบาน จากศรีเทพนอยซึ่งเปนคนดั้งเดิม คนเมืองศรีเทพลงมาที่นาตะกรุดเนื่องจากเกิดโรคระบาด โรคหา อหิวาตกโรค จึงหนีจากโรคไปตามปาเขาเพื่อตั้งรกราก ตั้งบานตั้งเมือง  ตามสถานที่ จากบานใหญเมืองศรีเทพแตกจึงมีการออกมา ตามต� ำนาน เรื่องเลามีอยูวา กอนที่เมืองเกาจะลม มีวัวอยูตัวหนึ่งถูกเสกยาพิษ เขาทองจากคนมีวิชา วัวตัวนี้รองอยูตลอด ๓ วัน ๗ วันเพื่อจะเขามา ในเมืองศรีเทพใหได วัวตัวนั้นรองจนเจาพอศรีเทพทนความร�ำคาญ ไมไหวจึงเปดประตูเมืองใหวัวเข  า เมื่อวัวเข  าไปในเมืองได  ก็ทองแตกตาย สุดทายจึงเปนเหตุใหยาพิษกระจายจึงท�ำใหคนเมืองศรีเทพลมสลาย แตกกระจาย (เสมอ โตมะนิตย, ๒๕๖๔) สภาพภูมิศาสตรและการคมนาคม สภาพทั่วไปเปนที่ราบสลับที่เนิน มีอาณาเขตติดตอดังนี้ ทิศเหนือ ติดตอกับ บานศรีเทพนอย ต�ำบลนาสนุน ทิศใต ติดตอกับ ต�ำบลคลองกระจัง ทิศตะวันออก ติดตอกับ บานโคกสะแกลาด ทิศตะวันตก ติดตอกับ บานทาไมทอง การคมนาคม สามารถเดินทางไดทุกฤดูกาล สะดวกทุกเสนทางในการเดินทางเขา หมูบาน การใช  ยานพาหนะจะเปนรถยนต รถจักรยานยนต ระยะทาง  หางจากอ�ำเภอศรีเทพ ๑๙ กิโลเมตร ------------------------------------ --------------------------------------------------------------- ------------------------------------ ---------------------------------------------------------------


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 11 ---------------------------------------------- ------------------------------------------------ -------------------------------------------------------------- ประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีปใหมที่วัดโพธิ์ทอง รวมถึงวันพอวันแมมีการสวมนต สะเดาะเคราะห ตักบาตรขาวสาร อาหารแหง นิมนตพระสามวัด เดินทั้งสองฝงของถนนตั้งแต บานนาตะกรุดหมูที่ ๑ - ๓ เดิน จนสุด ประเพณีนี้มีมากวา ๒๐ ป ประเพณีท�ำบุญกลางบาน จัดราวเดือน ๖ ของทุก ๆ ป ใน เชาวันแรกเลี้ยงอีตาเจ าบ านสงผี  แขกทายหมูบ  าน ตกเย็นสวดมนต  วันที่สอง ถวายอาหารใสบาตร ตอนเชา และทานขาวพรอมกัน ประเพณีสวดคาถาปลาชอน ถาฝนแลงจะมีการท�ำพิธีสวด คาถาปลาชอนใหฝนตก ถ าหาก ไมแลงก็ไมต้องท�ำพิธี คลายกับ พิธีแหนางแมว พิธีนี้จึงไมไดจัด ขึ้นทุกป ดูวาปไหนแลงก็จะจัด พิธีสวดคาถาปลาชอนขึ้น ประชากร มีประชากร ๒,๐๗๒ คน ชาย ๑,๐๑๖ คน หญิง ๑,๐๕๖ คน ๘๖๕ ครัวเรือน อาชีพ ประชากรประกอบอาชีพท�ำนา ท�ำไรและรับจาง แมน�้ ำที่ไหลผาน คือ แมน�้ำปาสัก ประเพณีสงกรานต จัดขึ้นทั้งหมด ๗ วัน วันสุดทาย ของสงกรานตจะมีการแหพระ ใหญศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเปน พระที่คนในหมูบานหลอขึ้นเอง ซึ่งหลอขึ้นที่บานนะตะกรุด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และจะแหรอบบาน ในวันที่ ๑๙ เมษายน ของทุกป (https://cuturl.cfd/PZYf2Y1, ๒๕๖๖)


12 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ปราชญชาวบาน/ผูน�ำ/ บุคคลส�ำคัญของชุมชน - นายประเวศ ตะกรุดจันทร ผูใหญบาน - นางปรุงศรี กลิ่นเทศ ครูโรงเรียนบานนาตะกรุด  วัฒนธรรมประเพณีทองถิ่น การรายร� ำ และการละเลนพื้นบาน - นางทัศนีย เต็มเปยม การประดิษฐเศษวัสดุ เปนของใชจากเศษผากระดาษ และของเหลือใชอื่น ๆ - นางล�ำพวน มีเดช การทอผาดวยกี่กระตุก - นางชวย บุญแจง การทอผาดวยกี่กระตุก สถานที่ทองเที่ยว วัดโพธิ์ทอง มีชื่อเดิมวา วัดอุทุมพร สรางขึ้น  เมื่อป ๒๕๔๗ และเปนสถานที่จัดพิธีกรรมไหว ครู ครอบเศียร โดยมีโยมแสน โยมเมือง มาถวายที่ ใหตั้งแตรุนหลวงปูชม หลวงปู หลวงปูจ  อยกันทร  หลวงปูอั๋น และปจจุบันพระครูปลัดสุขเกษม สุขเขโม หรือพระอาจารยด�ำ วัดโพธิ์ทองแหงนี้ เปดใหเปนสถานที่ทองเที่ยวแล  ว ให  นักทองเที่ยว  ไดมาสักการะบูชา ดูดวง อาบน�้ำมนต ขอพร ปลุกเสกพระ แกบน สวนมากจะแกบนดวยไข และประทัด ผลไม และมีการสักยันต โดยมี คนนอกเขามาท� ำการสักยันต ไมใชพระอาจารย แตอยางใด ----- ---------------------------------------------------------------


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 13 ก�ำแพงหรือประตูทางเขาวัดโพธิ์ทอง สรางขึ้นหรือกอสรางที่ เขาพนมรุงจังหวัดบุรีรัมย ปนแบบศิลปะทางขอม พระอาจารยด� ำเปน ผูไปดูและศึกษาแบบ เมื่อปนเสร็จจึงไดท�ำการเคลื่อนยายก�ำแพงวัด มาที่จังหวัดเพชรบูรณ อ�ำเภอศรีเทพ ต�ำบลศรีเทพ หมู ๓ บานนาตะกรุด  แหงนี้ และประตูของก�ำแพงวัดสามารถเขาไปนั่งขางในได


14 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ หลวงพอหินเขียว  เปนพระที่แกะสลักดวยหินสีเขียว  ที่จังหวัดนครราชสีมา ไดท�ำการแกะสลักหลวงพอหิน เขียวมา ๑ ป พระอาจารยด�ำไดเดินทางไปดู เห็นวา ยังไมสวยเทาที่ควรจึงใหเริ่มแกะใหม หลังจากแกะสลัก  เสร็จแลวจึงไดเคลื่อนยายมาที่วัดโพธิ์ทองแหงนี้ในวัน วิสาขบูชา ในทุก ๆ ป ของวันวิสาขบูชานี้จึงตองมีการ ฉลองหลวงพอหินเขียว (https://cuturl.cfd/PZYf2Y1, ๒๕๖๖)


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 15 บรรณานุกรม จันทร ตะกรุดเงิน. (๒๕๖๔). อายุ ๗๔ ป บานเลขที่ ๗๗/๒ หมู ๒ บานนาตะกรุด ต� ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๑ มกราคม. จ�ำรัส ปานเงิน. (๒๕๖๔). อายุ ๖๔ ป บานเลขที่ ๖๑/๑ หมู ๑ บาน นาตะกรุด ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๑ มกราคม. เฉลียว ชวยดับโรค. (๒๕๖๔). อายุ ๖๖ ป บ านเลขที่ ๔๖/๒ หมู ๒  บานนาตะกรุด ต� ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๑ มกราคม. ณรงคศักดิ์ บุญชวย. (๒๕๖๔). อายุ ๖๗ ป บานเลขที่ ๑๑๒ หมู ๒ บานนาตะกรุด ต� ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๑ มกราคม. ประทีป มีเดช. (๒๕๖๔). อายุ ๗๓ ป บานเลขที่ ๓๕ หมู ๒ บาน นาตะกรุด ต�ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๒ มกราคม. ประยูร คุรุเจริญ. (๒๕๖๔). อายุ ๗๒ ป บานเลขที่ ๙๗/๑ หมู ๒ บานนาตะกรุด ต� ำบลศรีเทพ อ�ำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ. สัมภาษณ, ๒๒ มกราคม.


----------------------------------- --------------------------------------------------------------- ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- 16 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ เมืองหลมสักเปนชุมชนโบราณที่อยูในพื้นที่ลุม แมน�้ำปาสักตอนบน สันนิษฐานวาอาณาเขตของ เมืองครอบคลุมพื้นที่ในเขตอ�ำเภอหลมเกาและ อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ ภายในพื้นที่ ราบลุมของชุมชนโบราณไดมีการพบหลักฐาน ทางโบราณคดีและสถาปตยกรรมที่แสดงใหเห็น  ถึงความสัมพันธกันกับวัฒนธรรมลานชางใน ลุมแมน�้ำโขงเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ ภาคอีสาน แมแตวิถีชีวิต ภาษาและวัฒนธรรม ของชาวหลมสัก-หลมเกาในปจจุบันก็ยังคลาย กับผูคนในภาคอีสานและผูคนในประเทศลาว โดยเฉพาะอยางยิ่งชาวเมืองหลวงพระบางและ เวียงจันทน (ธีระวัฒน แสนค�ำ, ๒๕๕๖: ๑๙๕- ๒๑๖; วัฒนชัย หมั่นยิ่ง, ๒๕๕๔: ๘๔-๙๔) จึง ท�ำใหมีนักวิชาการและผูสนใจจ�ำนวนหนึ่งตั้ง ขอสังเกตและพยายามศึกษาเรื่องราวทาง ประวัติศาสตรของชาวหลมสัก-หลมเกา พระพุทธรูปส�ำริด ในเขตเมืองหล่มสัก ผูเขียน : ผศ.ดร. ธีระวัฒน แสนค�ำ อาจารยพิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีลานชาง


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 17 การที่บริเวณเมืองหลมสักเปนพื้นที่ ที่มีผูคนเขามาตั้งถิ่นฐานบานเรือนชานาน สันนิษฐานวาผูคนยุคแรก ๆ ที่เขามาสรางบาน แปงเมืองนั้นเปนชาวลานชางที่อพยพหนีภัย จากลุมแมน�้ำโขงขามเข ามาตั้งถิ่นฐานอยูในเขต  ลุมแมน�้ำพุงซึ่งเปนล�ำน�้ำสาขาส�ำคัญของแมน�้ำ ปาสัก ตลอดจนพื้นที่ลุมแมน�้ำปาสักตอนบน เนื่องจากเปนพื้นที่รอยตอของอาณาจักรลานชาง กับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาท�ำใหมีการพบรองรอย  โบราณสถานและศิลปวัตถุทางพระพุทธศาสนา เชน สิม (โบสถ) วิหาร ธรรมาสน พระพุทธรูป และเจดียโบราณซึ่งไดรับอิทธิพลศิลปะลานชาง กระจายอยูตามพื้นที่ราบลุมซึ่งเคยเปนบริเวณ ชุมชนโบราณระดับหมูบานมากอน


18 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธรูปหรือที่คนทองถิ่นในอ� ำเภอ หลมสักและอ�ำเภอหลมเกาเรียกวา “พระเจา”,  “รูปพระเจา”, “หลวงพอ” หรือ “หลวงปู” เปนสิ่ง  ที่ถูกสรางขึ้นเพื่อเปนตัวแทนของพระสัมมาสัม-  พุทธเจา ผู เปนศาสดาของพระพุทธศาสนา พระ-  พุทธรูปสรางขึ้นจากวัสดุหลายประเภท อาทิ ศิลา  ไม โลหะ อิฐ ปูน ดินเผา เขาสัตว เปนตน ตาม ความนิยมและทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยูใน ทองถิ่นนั้น ๆ มารังสรรคให  เกิดเปนงานพุทธศิลป  ที่มีความงดงามและเปนเอกลักษณเฉพาะของ ฝมือชาง (ศักดิ์ชัย สายสิงห, ๒๕๕๖: ๒-๖) พระพุทธรูปโบราณในเขตเมืองหลมสัก แตละองคตางก็มีความส�ำคัญที่แตกตางกัน เปน พระพุทธรูปที่มีคุณคาทางประวัติศาสตร และ พุทธศิลป เปนศูนยรวมศรัทธาของชาวบานใน ชุมชนหรือทองถิ่น โดยเฉพาะอยางยิ่งพระพุทธรูป  ที่หลอดวยโลหะส� ำริดดังจะเห็นไดวาพระพุทธรูป  ส�ำริดในเขตเมืองหลมสักหลายองคมีวัฒนธรรม ทองถิ่นที่เกี่ยวข  อง เชน การท� ำพิธีกรรมบวงสรวง สมโภช การอัญเชิญสรงน�้ำประจ�ำป วิธีการขอพร  เสี่ยงทาย และการสักการบูชา เปนตน ซึ่งมีความ  นาสนใจในมิติทางดานสังคมและวัฒนธรรม ทองถิ่น 


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 19 ดังนั้น ผูเขียนจึงรวบรวมข  อมูลเบื้องต น ที่เกี่ยวกับพระพุทธรูปส�ำริดในเขตเมืองหลมสัก ที่เปนพระพุทธรูปที่มีความส�ำคัญทางดาน ประวัติศาสตรทองถิ่น มีคุณคาทางด  านพุทธศิลป  และมีความส�ำคัญทางดานวัฒนธรรมประเพณี ของคนในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งอยูภายในบริเวณอ�ำเภอ หลมเกา และอ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ มาน�ำเสนอ อันเปนการเผยแพรองคความรูทาง ดานประวัติศาสตรและศิลปกรรมทองถิ่นให พี่นองชาวจังหวัดเพชรบูรณและประชาชนทั่วไป  ไดศึกษาเรียนรู  อันจะน� ำไปสูความกาวหนาทาง วิชาการดานประวัติศาสตรและศิลปวัฒนธรรม  ของทองถิ่นจังหวัดเพชรบูรณตอไป


20 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ หลวงพอกูแกว วัดศรีสุมังค หลวงพอกูแกว วัดศรีสุมังค เปน พระพุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตัก กวาง ๕๔ เซนติเมตร ฐานกวาง ๕๗ เซนติเมตร ความสูงรวมฐาน ๘๔ เซนติเมตร ประดิษฐาน อยูภายในวัดศรีสุมังคบานศรีสุมังค ต� ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ หลวงพอกูแกว มีพุทธลักษณะประทับ  นั่งขัดสมาธิราบบนฐานหนากระดานเตี้ย ๆ พระพักตรปอมและใหญเมื่อเทียบกับพระวรกาย พระเนตรหรี่มองต�่ำ ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก และถี่ มีขอบไรพระศกเปนเสนชัดเจน พระรัศมี  เปนทรงกรวยคลายดอกบัวตูม พระโอษฐเล็ก พระนาสิกเล็ก สังฆาฏิพาดยาวจรดพระเพลา นิ้วพระหัตถคอนขางยาว พระหัตถขวาวาเหนือ  พระชานุขวาสวนพระหัตถซายวางเหนือ พระเพลา


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 21 ประวัติระบุวาพระพุทธรูปองคนี้ เดิมประดิษฐานอยูที่วัดกูแกว ซึ่งเปนวัดราง ทางทิศใตของวัดศรีสุมังคตอมาชาวบ านเกรง วาจะสูญหายจึงอัญเชิญมาเก็บรักษาไวที่ วัดศรีสุมังค และเปนพระพุทธรูศักดิ์สิทธิ์ที่ ชาวหลมเกาใหความเคารพศรัทธา หลวงพอกู  แกวมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งวา “หลวงพอพุทธ สัมฤทธิ์” (พระครูสิริพัชรมงคล, สัมภาษณ) เมื่อพิจารณาจากรูปแบบทางพุทธศิลป เทียบไดกับกลุมพระพุทธรูปส�ำริดศิลปะ ลานช างที่ก� ำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และถือเปนพระพุทธรูปโลหะองคใหญที่สุด ในเขตเมืองหลมสัก หลวงพอกูแกว วัดศรีสุมังค ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ์


22 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ หลวงพอพระเสี่ยง วัดทุงธงไชย หลวงพอพระเสี่ยง วัดทุงธงไชย เปนพระพุทธรูป ส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตักกวาง ๒๓ เซนติเมตร ฐานกวาง ๒๗ เซนติเมตร ความสูง รวมฐาน ๔๘ เซนติเมตร เรียกอีกชื่อหนึ่งวา “หลวงพอสัมฤทธิ์” ประดิษฐานอยูภายในวัด ทุงธงไชย ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัด เพชรบูรณ หลวงพอพระเสี่ยง วัดทุงธงไชย ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ์


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 23 พระเสี่ยงวัดทุงธงไชยมีพุทธลักษณะ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหนากระดาน พระพักตรเรียว พระเนตรหรี่ พระขนงโกงขมวด พระเกศาขนาดเล็กและถี่เหมือนหนามขนุน ขอบไรพระศกตัดตรง พระรัศมีเปนทรงกรวย คลายดอกบัวตูมพระโอษฐเล็ก พระนาสิกเล็ก พระกรรณแนบชิดกับพระเศียร สังฆาฏิพาดยา จรดพระนาภี พระหัตถขวาวางเหนือพระชานุขวา พระหัตถซายวางเหนือพระเพลา เมื่อพิจารณา จากรูปแบบทางพุทธศิลปเทียบไดกับกลุม พระพุทธรูปส�ำริดศิลปะลานชางที่ก�ำหนดอายุ ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ พระเสี่ยงวัดทุงธงไชยเปนพระพุทธรูป ส�ำคัญที่ชาวหลมเกาใหความเคารพศรัทธา เปนอยางมากเนื่องจากเปนพระพุทธรูปที่ใชใน การยกเสี่ยงทาย ทางวัดจะมีการอัญเชิญออก มาใหพุทธศาสนิกชนไดกราบไหวขอพรและยก อธิษฐานเสี่ยงทายเฉพาะในชวงเทศกาลแขงเรือ ประจ�ำปของวัดทุงธงไชยเทานั้น (พระอธิการ สมศักดิ์ วชิรญาโณ, สัมภาษณ)


24 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธรูปส�ำริด วัดทุงธงไชย (๑) ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ์


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 25 พระพุทธรูปส�ำริด วัดทุ่งธงไชย (๑) พระพุทธรูปส�ำริดวัดทุ่งธงไชย (๑) เปนพระพุทธรูปส� ็ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๐ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๔๔ เซนติเมตร ความสูง รวมฐาน ๘๖ เซนติเมตร ประดิษฐาน อยู่ที่วัดทุ่งธงไชย ต�ำบลหล่มเก่า อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ พระพุทธรูปส�ำริดวัดทุงธงไชย (๑) มีพุทธลักษณะใกลเคียงกับหลวงพอ  พระเสี่ยงวัดทุงธงไชย และเปนพระ พุทธรูปส�ำริดองคใหญที่สุดใน กลุมพระพุทธรูปโลหะวัดทุงธงไชย แตกตางเพียงแคมีการตกแตงเสน ของสังฆาฏิและมีการวางต�ำแหนง ขอบสบงไวตรงกลางต�ำแหนง พระเพลา ก�ำหนดอายุราวปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔


26 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ วัดทุงธงไชย (๒) พระพุทธรูปส�ำริดวัดทุงธงไชย (๒) เปน พระพุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตัก กวาง ๑๕.๕ เซนติเมตร ฐานกว  าง ๑๙ เซนติเมตร  ความสูงรวมฐาน ๓๔ เซนติเมตร ประดิษฐาน อยูภายในวัดทุงธงไชย ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอ หลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ พระพุทธรูปส�ำริดวัดทุงธงไชย (๒) มี พุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเอว ขันโดยชั้นลางเปนฐานหนากระดาน สวนชั้นบน  มีลักษณะคลายบัวลูกแก  วขนาดใหญ พระพักตร  คอนขางกลม พระเนตรหรี่ พระขนงโกง ขมวด พระเกศาขนาดเล็กและถี่เหมือนหนามขนุน ขอบไรพระศกตัดตรง พระรัศมีเปนทรงกรวย คลายดอกบัวตูมขนาดใหญ พระโอษฐเล็ก พระ  นาสิกเล็กพระกรณแนบชิดกับพระเศียร สังฆาฏิ ์ พาดยาวจรดพระนาภี พระหัตถขวาวางเหนือ พระชานุขวา สวนพระหัตถซายวางเหนือพระ เพลา เมื่อพิจารณาจากรูปแบบทางพุทธศิลป เทียบไดกับกลุมพระพุทธรูปส�ำริดศิลปะ ลานช างที่ก� ำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๒๓-๒๔


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 27 พระพุทธรูปส�ำริดวัด ทุงธงไชย (๒) ต�ำบลหลมเกา อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ์


28 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ หลวงพอพระเสี่ยง วัดศรีภูมิ หลวงพอพระเสี่ยงวัดศรีภูมิ เปนพระ พุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตักกว าง ๒๓ เซนติเมตร ฐานกวาง ๒๙ เซนติเมตร ความ  สูงรวมฐาน ๓๗ เซนติเมตร ประดิษฐานอยูภาย ในวัดศรีภูมิ บานติ้ว ต� ำบลบานติ้ว อ� ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ พระเสี่ยงวัดศรีภูมิถือเปน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบานติ้วและละแวก ใกลเคียงใหความเคารพศรัทธาเปนอยางมาก โดยนิยมมาอธิษฐานยกเสี่ยงทายในชวงงาน เทศกาลประจ�ำปของวัด (พระครูสิริพัชรากร, สัมภาษณ) หลวงพอพระเสี่ยง วัดศรีภูมิ ต�ำบลบานติ้ว อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ์


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 29 หลวงพอพระเสี่ยงวัดศรีภูมิมีพุทธลักษณะพระพักตรรูปไข มีเสนขอบไรพระศก ขมวดพระเกศาเล็กและถี่ พระรัศมีทรงกรวย พระกรณยาวแนบพระเศียร พระขนงโกง พระ เนตรเรียวเหลือบลงต�่ำ พระนาสิกและพระโอษฐ เล็ก พระหัตถและนิ้วพระหัตถใหญและปลายนิ้ว พระหัตถเทากัน กลางฝาพระบาทขวามีภาพ ธรรมจักร สังฆาฏิเปนแผนใหญ ยาวลงมาจรด พระนาภี คาดรอบพระองคดวยผารัดอก ตรง กลางเปนลายประจ�ำยาม ประทับนั่งบนฐาน กระดานประดับลวดลายกลีบบัว ดานหนามี รองรอยที่พยายามท�ำเปนลวดลายคลายผ าทิพย  เมื่อพิจารณาจากพุทธลักษณะของ หลวงพอพระเสี่ยงวัดศรีภูมิสามารถเทียบไดกับ พระพุทรูปส�ำริดศิลปะพื้นบานหลายองคใน ภาคอีสานซึ่งหลอขึ้นในชวงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ สันนิษฐานวาหลวงพอพระเสี่ยงวัดศรีภูมิ อาจจะถูกหลอขึ้นในชวงที่พระครูสังวรธรรม คุตสุวิสุทธคณีสังฆวาหะ (หลวงปูเหงา) อดีต เจาคณะจังหวัดหลมสัก อดีตเจาอาวาสวัดศรี ภูมิ ซึ่งครองวัดตั้งแตชวงตนพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เรื่อยมาจนกระทั่งมรณภาพ


30 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ หลวงพอโคตวงษา วัดศรีภูมิ หลวงพอโคตวงษา วัดศรีภูมิ เปนพระ พุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตักกว าง ๓๐ เซนติเมตร ฐานกวาง ๓๑ เซนติเมตร ความสูง  รวมฐาน ๕๒ เซนติเมตร ประดิษฐานอยูภายใน วัดศรีภูมิ บานติ้ว ต�ำบลบานติ้ว อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ หลวงพอโคตวงษา วัดศรีภูมิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหนา กระดาน พระพักตรเรียว พระเนตรหรี่ พระขนง โกง ขมวดพระเกศาขนาดเล็กและถี่เหมือนหนาม ขนุน ขอบไรพระศกตัดตรง พระรัศมีเปนทรง กรวยคลายดอกบัวตูม พระโอษฐเล็ก พระนาสิก  เล็ก พระกรรณแนบชิดกับพระเศียร สังฆาฏิ พาดยาวจรดพระนาภี พระหัตถขวาวางเหนือ พระชานุขวาสวนพระหัตถซายวางเหนือพระ เพลา กลางฝาพระบาทขวาและฝาพระหัตถ ซายมีภาพวงกลม


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 31 บริเวณฐานดานหนามีการจารึกขอความดวย อักษรธรรม ระบุวาสรางขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ กลาวถึงบุคคลผูสรางชื่อ “โคตวงษา” สันนิษ ฐานวานาจะเปนชื่อในสุพรรณบัตรตามจารีต การหดสรงหรือเถราภิเษกในวัฒนธรรมลานชาง ของพระครูสังวรธรรมคุตสุวิสุทธคณีสังฆวาหะ (หลวงปูเหงา) อดีตเจ  าคณะจังหวัดหลมสัก อดีต  เจาอาวาสวัดศรีภูมิ กอนที่จะได  รับพระราชทาน  สมณศักดิ์จากราชส�ำนักกรุงเทพฯ (พระสมุห ไพรศาล ภทฺทมุนี, สัมภาษณ) หลวงพอโคตวงษา วัดศรีภูมิ ต�ำบลบานติ้ว อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ์


32 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธนิมิตมงคล วัดศรีฐานปยาราม พระพุทธนิมิตมงคล วัดศรีฐานปยาราม เปน พระพุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตัก กวาง ๒๓ เซนติเมตร ฐานกว  าง ๒๘ เซนติเมตร  สวนฐานที่เปนโลหะช�ำรุดจึงมีการสรางฐานไม แกะสลักซอมแซมท�ำใหองคพระมีความสูง รวมฐาน ๖๗ เซนติเมตร ประดิษฐานอยูภายใน วัดศรีฐานปยาราม บานวังบาล ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ พระพุทธ นิมิตมงคลถือเปนพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ ชาววังบาลและละแวกใกลเคียงให ความเคารพ ศรัทธาเปนอยางมาก พระพุทธนิมิตมงคล วัดศรีฐานปยาราม ต�ำบลวังบาล อ�ำเภอหลมเกา จังหวัดเพชรบูรณ์


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 33 พระพุทธนิมิตมงคลมีพุทธลักษณะ พระพักตรรูปไข มีเสนขอบไรพระศก ขมวดพระ  เกศาเล็กและถี่ พระรัศมีเปลวเปนกลีบบัวงอน ซอนกัน พระกรรณกาง พระขนงโกง พระเนตร เรียวเหลือบลงต�่ำ พระนาสิกและพระโอษฐเล็ก พระหัตถและนิ้วพระหัตถใหญและปลายนิ้ว พระหัตถเทากัน สังฆาฏิเปนแผนใหญ ยาวลงมา จรดพระนาภี มีลวดลายพันธุพฤกษาประดับบน สังฆาฏิและขอบจีวรประทับนั่งบนฐานบัวงอนและ มีผาทิพยดานหนา ดานหลังมีจารึกอักษรธรรม จากการอานเบื้องตนของพระสมุหไพรศาล ภทฺทมนี เจาอาวาสวัดทากกแก พบวาจารึกข อมูล เกี่ยวกับการสรางเมื่อป  พ.ศ. ๒๓๙๐ และมีฐาน  ไมแกะสลักรองรับอีกชั้นหนึ่ง (พระสมุหไพรศาล  ภทฺทมุนี, สัมภาษณ ส�ำหรับประวัติการสรางพระพุทธนิมิต  มงคลนั้น เนื่องจากมีการประดับลวดลายบน สังฆาฏิและชายจีวรเชนเดียวกับพระพุทธรูป ประธานองคเกาภายในสิมวัดศรีฐานปยาราม จึง มีเรื่องเลาสืบตอกันมาวาพระพุทธนิมิตมงคลเปน พระพุทธรูปที่หลอขึ้นมาเพื่อจ�ำลองพระพุทธรูป ประธานองคเกาเพื่อใชในการเสี่ยงทายและสรงน�้ ำ ในวันสงกรานต (พระครูปริยัติพัชรกิจ, สัมภาษณ)


34 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ พระพุทธโคดมบรมเสฎฐา วัดศรีสะอาด พระพุทธโคดมบรมเสฎฐา วัดศรีสะอาด เปน พระพุทธรูปส�ำริด ปางมารวิชัย ขนาดหนาตักกวาง ๔๑ เซนติเมตร ประดิษฐานอยูภายในวัดศรีสะอาด ต�ำบล ตาลเดี่ยว อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ พระพุทธโคดมบรมเสฎฐา วัดศรีสะอาด พุทธ ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหนากระดาน เตี้ย ๆ พระพักตรกลม พระเนตรเบิก พระขนงโกงขมวด พระเกศาขนาดเล็กและถี่ ขอบไรพระศกเปนเสนโคง พระรัศมีเปนทรงกรวยคลายดอกบัวตูมแปดเหลี่ยม ดานหนาตรงกลางพระรัศมีมีอุนาโลม พระโอษฐใหญ ริมพระโอษฐนูนชัดเจน พระนาสิกเล็ก พระกรรณใหญ และกางสังฆาฏิพาดยาวจรดพระนาภี พระหัตถขวาวาง เหนือพระชานุขวาสวนพระหัตถซายวางเหนือพระเพลา  เนื่องจากสวนพระศอมีรองรอยการถูกตัดจึง มีความเปนไปไดวาพระเศียรปจจุบันอาจจะถูกหลอ ขึ้นใหมจึงท�ำใหไมสมสวนกับพระวรกาย บริเวณฐาน ดานหนามีการจารึกขอความดวยอักษรธรรม ยังไมได รับการอานแปลอยางเปนทางการ พระสมุหไพรศาล ภทฺทมุนี เจาอาวาสวัดทากกแก ซึ่งไดท�ำการอาน เบื้องตนอธิบายวาขอความที่พอจะอานไดกลาวถึง


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 35 “พระพุทธโคดมบรมเสฎฐา” ท�ำใหกลายมาเปนชื่อของพระพุทธรูป (พระสมุหไพรศาล ภทฺทมุนี, สัมภาษณ) สวนชาวบานนิยมเรียกชื่อ วา “หลวงพอยิ้ม” ตามลักษณะของพระพักตร (พระครูสิริพัชรโสภิต, สัมภาษณ) ฐานบริเวณดานหลังมีหวงวงกลมติดอยู สันนิษฐานวาท�ำ ขึ้นเพื่อเปนที่ส�ำหรับปกกานฉัตรถวายองคพระ เมื่อพิจารณาจาก รูปแบบทางพุทธศิลปสันนิษฐานวานาจะสรางขึ้นราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๔-๒๕ พระพุทธโคดมบรมเสฎฐา วัดศรีสะอาด ต�ำบลตาลเดี่ยว อ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ์


36 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บทสงทาย เมืองหลมสักแมวาจะเปนเมืองโบราณในวัฒนธรรมลานชาง ที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตรสืบเนื่องมาตั้งแตพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ แตตามชุมชนโบราณตาง ๆ ของเมืองมีการส�ำรวจพบพระพุทธรูป ที่หลอดวยโลหะส�ำริดจ�ำนวนนอยมากเมื่อเทียบกับเมืองโบราณใน วัฒนธรรมลานชางรวมสมัยในเขตลุมแมน�้ำโขง ซึ่งมีการส�ำรวจพบ พระพุทธรูปโลหะโดยเฉพาะอยางยิ่งพระพุทธรูปส�ำริดทั้งขนาด ตางๆ จ�ำนวนมาก ในขณะที่พระพุทธรูปโบราณภายในเมืองหลมสัก สวนใหญเปนพระพุทธรูปปูนปน จากการส�ำรวจพระพุทธรูปส�ำริดในเขตเมืองหลมสักพบวา พระพุทธรูปสวนใหญมีขนาดเล็ก ลักษณะทางพุทธศิลปคอนขางมี เอกลักษณเฉพาะความเปนทองถิ่น เชน พระรัศมีเปนทรงกรวยคล าย ดอกบัวตูม ประทับนั่งบนฐานหนากระดานเตี้ย ๆ บางองคมีจารึกที่ฐาน  ซึ่งหากเทียบรูปแบบทางพุทธศิลปกับพระพุทธรูปส�ำริดศิลปะลานชาง ที่พบในชุมชนโบราณตามลุมแมน�้ำโขงจะเห็นความแตกตางของงาน ศิลปกรรมอยางชัดเจน สะทอนใหเห็นพัฒนาการเชิงชางที่เกิดขึ้น ภายในทองถิ่นเมืองหลมสักไดเปนอยางดี


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 37 อยางไรก็ดี ในการเก็บขอมูลพระพุทธรูปส�ำริดในเขตเมือง หลมสักยังมีขอจ� ำกัดหลายอยาง เชน พระพุทธรูปส�ำริดบางสวนถูกเก็บ รักษาไวเปนอยางดี ไมอนุญาตให  ส� ำรวจและเผยแพรขอมูล พระพุทธรูป  บางองคมีการสรางหรือการบูรณปฏิสังขรณโดยฝ  มือชางพื้นบ  าน ท� ำให ลักษณะทางพุทธศิลปอาจมีความแตกตางไปจากลักษณะทางพุทธศิลป ของพระพุทธรูปที่สรางขึ้นรวมสมัยในเมืองหลวงหรือถิ่นก� ำเนิดลักษณะ พุทธศิลปนั้นได สวนหนึ่งไมสามารถสืบคนประวัติความเปนมาของ พระพุทธรูปไดชัดเจน เนื่องจากเปนพระพุทธรูปที่มีความเกาแก มีอายุ  การสรางมาชานาน ถูกเคลื่อนยายจากที่ประดิษฐานเดิม รวมไปถึง ความขาดแคลนของเอกสารหลักฐานประวัติศาสตร ขอมูลทางดาน โบราณคดีและความชัดเจนทางดานศิลปกรรม จึงท�ำใหขอมูลที่น�ำ เสนอในบทความนี้ เปนเพียงขอมูลและขอสันนิษฐานเบื้องตน ควรที่ จะไดรับการศึกษาวิเคราะหทางดานพุทธศิลปอยางลุมลึกตอไป


38 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ บรรณานุกรม ธีระวัฒน์ แสนค�ำ. (๒๕๕๖). “เมืองหล่มสัก: ชุมชนโบราณวัฒนธรรม ล้านช้างที่ถูกลืม”. ใน ไพโรจน ไชยเมืองชื่น และภูเดช แสนสา ์ (บรรณาธิการ). หมุดหมายประวัติศาสตรล์านนา. ้ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก. ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (๒๕๕๗). ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน. วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (๒๕๕๔). “ภาษาถิ่นของอ�ำเภอหล่มสัก”. ใน ศิลป วัฒนธรรมเพชบุระ. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๕). เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะ ลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๕๖). พระพุทธรูปในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชา ประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ์


วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 39 สัมภาษณ์บุคคล พระครูปริยัติพัชรกิจ. (๒๕๖๖). เจ้าอาวาสวัดศรีฐานปิยาราม ต�ำบล วังบาล อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๒๒ มกราคม. พระครูสิริพัชรมงคล. (๒๕๖๑). เจ้าอาวาสวัดศรีสุมังค์ ต�ำบลหล่มเก่า อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๑๘ สิงหาคม. พระครูสิริพัชรโสภิต. (๒๕๖๑).เจ้าอาวาสวัดศรีสะอาด ต�ำบลตาลเดี่ยว อ�ำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๙ มิถุนายน. พระครูสิริพัชรากร. (๒๕๖๑). เจ้าอาวาสวัดศรีภูมิ ต�ำบลบ้านติ้ว อ�ำเภอ หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๙ มิถุนายน. พระสมุห์ไพรศาล ภทฺทมุนี. (๒๕๖๑). เจ้าอาวาสวัดท่ากกแก ต�ำบล ตาลเดี่ยว อ�ำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๑๘ สิงหาคม. พระอธิการสมศักดิ์ วชิรญาโณ. (๒๕๖๖). เจ้าอาวาสวัดทุงธงไชย ต� ่ำบล หล่มเก่า อ�ำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. สัมภาษณ์, ๒๑ มกราคม.


ผูเขียนสอนรายวิชาประวัติศาสตรทองถิ่นมายาวนานนับ ๒๐ ป นอกจากกิจกรรมการเรียนการสอนแลว ผูเขียนยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ ทองถิ่นด  านตางๆ โดยเฉพาะประวัติศาสตรและวัฒนธรรมของชาวเมือง  เหนือตอนลางอันประกอบไปดวย จังหวัดทั้ง ๙ คือ พิษณุโลก สุโขทัย  อุตรดิตถ ตาก ก�ำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค อุทัยธานี และเพชรบูรณ หนึ่งในกิจกรรมอันหลากหลายไดแกโครงการท  องถิ่นศึกษา ซึ่งผู  เขียน  เริ่มด�ำเนินงานมาตั้งแต พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยท�ำการเก็บรวบรวมขอมูล ดานประวัติศาสตร ภูมิศาสตร วัฒนธรรม ภูมิปญญา บุคคลส� ำคัญและ อื่นๆ ของจังหวัดทั้ง ๙ โดยเฉพาะขอมูลจากเอกสารทองถิ่น ผลงาน ส�ำคัญของโครงการ คือ การจัดพิมพเผยแพรบันทึกของคนทองถิ่นเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๒ จากการเก็บรวบรวมเอกสารทองถิ่นของจังหวัดทั้ง ๙ ผูเขียนไดมี โอกาสอานเอกสารส�ำคัญ คือ บรรดาหนังสืองานศพบุคคลส�ำคัญของ แตละจังหวัดจ�ำนวนมาก หนังสือประเภทนี้มีลักษณะเปนบันทึกสวน ตัวเขียนโดยผูวายชนมเอง หรืออาจเปนชีวประวัติที่เขียนโดยลูกหลาน  ผูเกี่ยวของ อานชีวิต นายเชื้อ สนั่นเมือง (เพชรบูรณ) (พ.ศ.๒๔๔๙-๒๕๓๓) ผู้เขียน : รศ.ดร.จิราภรณ สถาปนะวรรธนะ อาจารยประจ�ำภาควิชาประวัติศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร ------------------------------------ --------------------------------------------------------------- ----------------------------------- --------------------------------------------------------------- 40 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


เอกสารดังกลาวนับวามีประโยชนอยาง มาก ส�ำหรับการศึกษาประวัติศาสตรสังคมไทย ในระดับปจเจกบุคคลเราสามารถมองเห็นวิธีคิด ระบบคุณคา การใหความหมายตอสิ่งตาง ๆ ของ  เจาของบันทึกในระดับสังคม เราไดเห็นภาพ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมของยุคสมัยที่ทาน เหลานั้นมีชีวิตอยู นับเปนการเติมเต็มใหชีวิต แกภาพที่ไดจากบันทึกของทางราชการ ดวย ปรากฏในบันทึกของหลวงนรัตถรักษา ขุนเพง ลิมปะพันธุ และนายเชื้อ สนั่นเมือง เปนตน เนื่องจากบทความของผูเขียนตีพิมพ ในวารสารของส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ ผูเขียนจึงคัด เลือกเรื่องของนายเชื้อ สนั่นเมือง แหงเพชร บูรณ มาท�ำการศึกษา ขอมูลทั้งหมดน� ำมาจาก บันทึกของพอ ซึ่งเปนอัตประวัติของทาน ตีพิมพ ครั้งแรกในหนังสืออนุสรณงานพระราชทาน เพลิงศพ พ.ศ. ๒๕๓๔ ตีพิมพซ�้ำในบันทึก ของคนทองถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยได  รับอนุญาต  จากทางครอบครัว (รศ.พรรณี เหมือนวงศ) ผูเขียนใครขอขอบพระคุณซ�้ ำอีกครั้งและส�ำหรับ งานเขียนนี้ หากมีขอบกพรองใด ๆ ก็ขออภัย ตอทางครอบครัวไว ณ ที่นี้ วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 41


หนังสืออนุสรณงานพระราชทานเพลิง ศพนายเชื้อ สนั่นเมือง ไดกลาวสรุปประวัติของ  ทานไววา เปนชีวิตที่นาสนใจมาก ค� ำกลาวที่มิได เกินจริงเลย เมื่ออานชีวิตของทานอยางละเอียด ทั้งที่มีผูกลาวถึงและรวมทั้งที่ทานเขียนไวดวย ตนเอง ชีวิตของคนคนหนึ่งที่มิไดเกิดในตระกูล  สูงสง ฟนฝาอุปสรรคชีวิตมาไดดวยคุณธรรม แหงตน อุปการะเลี้ยงดูครอบครัวขนาดใหญได อยางดี เปนทั้งครู นักบริหาร นักการเมือง ผาน เหตุการณส�ำคัญของบานเมืองทั้งการปฏิวัติ รัฐประหาร สงครามและความขัดแยง ตลอด จนยุคโชติชวงชัชวาล เจริญวัยมาครบ ๘๔ ป ชีวิตของเขายอมไมธรรมดาจริง ๆ 42 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


ครอบครัว หากเปรียบเทียบกับชาวชนบทโดย ทั่ว ๆ ไป นายเชื้อ สนั่นเมือง ถือก�ำเนิดมาใน ตระกูลชนชั้นน�ำของอ�ำเภอบัวชุม (ขึ้นกับ เพชรบูรณในเวลานั้น ปจจุบันขึ้นอยูกับอ�ำเภอ ชัยบาดาล ลพบุรี) บิดามารดาของทานมาจาก ชนชั้นปกครองระดับเจาเมือง หากแตชีวิต ผันแปร เมื่อบิดาปวยตองลาออกจากราชการ และถึงแกกรรมในเวลาตอมา ทานเลาไวเกี่ยวกับความล�ำบากของ มารดาที่ตองเลี้ยงดูบุตร-ธิดา ๖ ชีวิต โดยล� ำพัง แตสิ่งที่ท�ำใหครอบครัวด�ำเนินชีวิตตอไปได คือ การชวยเหลือเกื้อกูลกันในหมูพี่นอง พี่สาว พี่ชาย ชวยแมท�ำนา ตัวทานไดรับการอุปการะ จากพี่ชายคนโตดานการศึกษาท�ำใหตองจาก ครอบครัวที่วิเชียรบุรีมาอยู ณ ตัวเมืองเพชรบูรณ อันเปนสถานที่ท�ำงานของพี่ชายคนโต การ ชวยเหลือเกื้อกูลในหมูญาติโดยเฉพาะทาง ดานการศึกษา นับเปนคุณธรรมที่เราเห็นอยูได   โดยทั่วไปในครอบครัวไทย วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 43


เมื่อทานเจริญวัย จบการศึกษา และสรางครอบครัวของตนเอง  ผูเขียนคิดวาทานคงไดรับความประทับใจสวนหนึ่งมาจากมารดาของ ทาน คือการแสวงหาผูหญิงเกงและแกรงที่สามารถดูแลครอบครัวได ไมแพชาย คงเห็นไดจากคูชีวิตของทานมีพื้นฐานมาจากตระกูลดี มี การศึกษารวมสรางครอบครัวขนาดใหญกับทาน ที่ใหวัดจากจ�ำนวน บุตรชาย ๔ คน ธิดา ๗ คน การดูแลครอบครัวที่ใหญขนาดนี้ หากฝาย มารดามิไดเกงและแกรงจริง คงไมสามารถน� ำพาสมาชิกในครอบครัว ทุกคนไปสูการเปนคนที่มีคุณภาพโดยเฉพาะดานการศึกษา รวมทั้ง การดูแลครอบครัวในชวงระยะเวลาที่หัวหนาครอบครัวตองจากไป ไกลดวยภาระหนาที่การงาน เนื่องจากผูเขียนยังไมมีโอกาสไดขอมูลเกี่ยวกับคูชีวิตของ ทานจากทางอื่น นอกจากที่ระบุไวในหนังสือของทาน จากขอมูลที่มี อยูท�ำใหทราบวาทานสมรสกับธิดาของลูกผู  ดีมีตระกูลทัดเทียมกับทาน  นางสาววิเชียร สินธุโกมล เปนธิดาของขุนรักษรัตนากร (เต สินธุโกมล  สรรพกร จังหวัดหลมสัก) (ขณะนี้คืออ�ำเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ) เขาใจวาภรรยาของทานคงมาจากครอบครัวที่มีฐานะมั่นคง เธอได  รับ การศึกษา และประกอบอาชีพเปนครู นับตั้งแตเริ่มตนชีวิตสมรส เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ระหวางเวลา พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๙๘ ทั้งคูมีบุตร - ธิดา รวม ๑๑ คน ใครขอระบุนามพรอมวุฒิการศึกษา เพื่อยืนยันวาทั้งคูได  ชวยกันอบรม  เลี้ยงดูลูก ๆ ใหเปนคนมีคุณภาพของสังคมจริง ๆ 44 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


๑. นายประชุม สนั่นเมือง ประกอบอาชีพอิสระ ๒. ด.ช.ปรีชา สนั่นเมือง ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓ ขวบ ๓. นางสุชาดา พานิชกุล ค.บ.อาจารย์โรงเรียนมัธยมวัดบึงทอง หลาง ๔. นางสดุดี บุญญพันธุ์ ป.ม.กศ.บ. อาจารย์โรงเรียนวัดสังเวช ๕. นางฉวีวรรณ วรเพียร ค.บ. (จุฬาฯ) อาจารย์โรงเรียนมัธยม วัดบึงทองหลาง ๖. รองศาสตราจารย์พรรณี เหมือนวงศ์ วท.บ.พยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัย ๗. นางศรีสมร ยอทซ์ กศ.บ.M.Ed (Copenhagen) เจ้าหน้าที่ ธนาคาร Den Danske Bank, Denmark ๘. ร.ต.ท. พรชัย สนั่นเมือง วศ.บ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือนักบินการบินไทย ๙. นายสมชาย สนั่นเมือง วิศวกรรมส�ำรวจ บธ.บ. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราชกองวางแผนโครงการการทองเที่ยวแห ่ งประเทศไทย ่ ๑๐. รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิง กอบกาญจน์ ทองประสม วท.บ. (จุฬาฯ) (เกียรตินิยม) ทบ.(เกียรตินิยม) Master of Science (Oral Medicine) Umiversity of London อาจารย์ภาควิชา เวชศาสตรช์องปาก คณะทันตแพทย ่ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ์ ๑๑. น.ส.รจนา สนั่นเมือง บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ศศ.บ. (สังคมวิทยามนุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 45


ยังมีขอมูลบางประการที่ระบุถึงคุณสมบัติของคูชีวิต นอกจาก  ความเปนครู แมบาน แลวภรรยาของทานยังมีความสามารถพิเศษ อีกหลายดาน เชน เปนชางทอผาเพื่อน�ำผามาตัดเย็บใหแกลูกๆ เปน ชางท�ำขนมใหลูกน�ำไปขาย เปนแมคาซื้อ-ขายสินคาอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะในชวงระยะเวลายากล�ำบากของครอบครัว ระหวางการ เดินทางไปท�ำหนาที่ศึกษาธิการ ของจังหวัดลานชาง พ.ศ. ๒๔๘๖ นอกจากนี้เธอยังท�ำหนาที่หัวหนาครอบครัวดูแลลูกๆ เพียงล�ำพังที่ ลานชาง ระหวางที่หัวหนาครอบครัวเดินทางไปท�ำหนาที่สมาชิกสภา ผูแทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๘๙ นับวานาเสียดายที่ผูเขียนรูขอมูลนอยมาก หากสมาชิก ครอบครัวผูใดมีโอกาสไดอานบทความนี้ และจะกรุณากลาวขอมูล เกี่ยวกับภรรยาของนายเชื้อ สนั่นเมือง มาใหแกผูเขียนก็จะเปน พระคุณยิ่ง ผูเขียนคาดเดาไว  วาข  อมูลทางฝายภรรยาคงชวยสนับสนุน  ค�ำกลาวที่วา “เบื้องหลังความส�ำเร็จของบุรุษ ครึ่งหนึ่งมาจากสตรี ผูอยูเคียงกาย” 46 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


การศึกษา นายเชื้อ สนั่นเมือง นับวาโชคดีที่เกิดมาใน ครอบครัวที่เห็นความส�ำคัญของการศึกษา พี่ชายของทานก็ไดเลาเรียนจนถึงระดับเขารับ ราชการ เปนเสมียนทั้ง ๒ คน ตัวทานเองเจริญวัย ในชวงที่บิดาถึงแกกรรมไปแลวแตด  วยการสนับ  สนุนของครอบครัว ทานก็ไดรับการศึกษาไป ตามระบบ โดยศึกษาระดับประถมศึกษา-มัธยม ศึกษาที่เพชรบูรณ และเดินทางมาศึกษา ณ โรงเรียนประจ�ำมณฑลพิษณุโลก จนจบชั้นมัธยม ปที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๖๗ ตอมาทานสามารถสอบประโยคครูมูล นับเปน จุดเริ่มตนของการรับราชการครูครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ โรงเรียนประจ�ำมณฑลพิษณุโลก ดังจะไดกลาวรายละเอียดในหัวข  อการงานตอไป  ชีวิตดานการศึกษาของนายเชื้อ สนั่นเมือง สะทอนให  เห็นถึงคุณลักษณะของครอบครัวไทย  หลายประการ วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 47


ประการแรก ครอบครัวเกษตรกรโดยทั่วไปตองพึ่งแรงงาน สมาชิกในครอบครัวเปนหลักแตก็ไมเปดโอกาส แกลูกชายที่เรียนเกงหัวดี ใฝใจดานการศึกษา เลาเรียนการที่ครอบครัวไทยมีแนวนิยมปฏิบัติ เชนนี้ ท�ำใหชางเผือกมีโอกาสปรากฏตัวใน สังคมไทย นายเชื้อมิไดโอ อวดตัวเองวาเรียนเกง  หัวดี แตจากการที่ทานสอบประโยคครูประถม ที่ผูสอบตองสมัครสอบวิชาชุดตามเกณฑที่ ก�ำหนดไดเปนที่ ๑ ของประเทศและได  รับรางวัล จากกระทรวงศึกษาธิการเปนเงิน ๖๐ บาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ สนับสนุนขอสังเกตประการ แรกของผูเขียน ประการตอไป ในยุคที่ความเจริญดานการศึกษายังกระจุกตัว อยู ณ บริเวณศูนยกลาง ผูหวังความเจริญ กาวหนาดานนี้ยอมพาตนเองมาสูจุดที่ตนตั้ง ความหวังไวดวยการเขาระบบอุปถัมภของ พี่นอง ญาติมิตร ดังที่นายเชื้อไดเลาไวเกี่ยวกับ การจากบานที่วิเชียรบุรี มาอาศัยอยูกับพี่ชาย ที่ตัวเมืองเพชรบูรณ เพื่อเรียนหนังสือ ผูเขียน รูสึกประทับใจในขอเขียนตรงนี้ จึงขอคัดลอก มาตรง ๆ 48 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


“การอยูกับพี่ชายใหญ ๖ ป นับวามีความสุข ถึงแมพี่จะเปนคนเขมงวดกวดขัน แตก็มีความปรารถนาดีใหตัวในทางดีงาม ทั้งความประพฤติและการเลาเรียน พอตองชวยท�ำงานบาน นับแตหาบน�้ำ จากล�ำน�้ำปาสักมาใชสอยฤดูหนาวตองชวยปลูกผัก หอม กระเทียม และตักน�้ำมารดผักตลอดฤดู บางครั้งตองออกไป ตกเบ็ด ลงเบ็ด หาปลามาชวยครอบครัว เพราะพี่มีเงินเดือนนอย” และเมื่อเดินทางไปสูพิษณุโลกเพื่อเรียนตอโรงเรียนประจ�ำ มณฑล ทานก็ไดรับการอุปการะจากบรรดาญาติมิตรที่เปนข าราชการ ชั้นผูใหญประจ� ำมณฑลหลายทาน แนวปฏิบัติที่ผูใหญให  ความอุปการะ  แกเด็กตางจังหวัดมาพักอาศัย เพื่อการศึกษาเลาเรียน ยังมีอยูใหเห็น  แมในสังคมปจจุบัน ด  วยโอกาสเชนนี้ เราจึงได  เห็นคนส� ำคัญในสังคม หลากหลายอาชีพ ลวนมีผู  อุปการะเกื้อกูลในระยะเริ่มต  นของชีวิตโดย  เฉพาะดานการศึกษา ดังกรณีของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี  เดินทางมาจากจังหวัดตรัง มาพักอาศัย ณ วัดแหงหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อการศึกษาเลาเรียน วารสารศิลปวัฒนธรรมเพชบุระ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๐ 49


ประการสุดทาย ครอบครัวไทยสงเสริมแนวปฏิบัติ “สงตอ”  หรืออาจเรียกเปนภาษาอังกฤษวา “Pay it forward” เมื่อครอบครัว เสียสละสงเสียพี่ใหได เปนหลักแล  ว พี่ก็ชวยสงเสียอุปการะน  องตอ และ  สงตอ ๆ กัน ดังเชนนายเชื้อ ไดเลาไววาเมื่อเปนครูแลว ก็น�ำนองชาย คนเล็กมาอยูดวยที่พิษณุโลก เพื่อสนับสนุนใหเรียนตอ นี่ก็เปนสิ่งที่ ปฏิบัติกันอยูในครอบครัวไทย 50 ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ


Click to View FlipBook Version