The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์
ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง
จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by noomsiri30, 2023-01-31 21:29:27

การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565

การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์
ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง
จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565

รายงานผลการวิจัย เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง สำนักงาน กศน.จังหวัดระยอง กระทรวงศึกษาธิการ


2 บทคัดย่อ ชื่อเรื่องวิจัย ประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ชื่อผู้วิจัย นางพัทธกานต์ วัฒนสหโยธิน ปีการศึกษา 2565 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ในการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้าน กระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน ประกอบด้วย ข้าราชการครูครูอาสาสมัครฯ ครู กศน.ตำบล ครูศูนย์การเรียนชุมชน และครู ปวช. ที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 13คน และนักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้ระบบห้องเรียน ออนไลน์ จำนวน 623 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยประชากร (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร (σ) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินการดำเนินงานประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ของผู้บริหารและครูผู้สอน ด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) เห็นด้วยในระดับมาก 2. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ตามความคิดเห็นของนักศึกษาศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 และเรียนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ พึงพอใจในระดับมาก 3. ปัญหาเกี่ยวกับโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยองปีงบประมาณ 2565 ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สรุปได้ว่าครูขาด ทักษะในการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ นักศึกษาใช้โทรศัพท์ต่างรุ่นกันทำให้มีปัญหาในการใช้ระบบที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ คือควรพัฒนาศักยภาพครูในการจัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่อง การปรับรูปแบบการนำสื่อ ในระบบห้องเรียนออนไลน์มาให้นักศึกษาใช้ในช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เช่น Facebook Line เพื่อให้นักศึกษาที่มี


3 ปัญหาในการเข้าใช้ Gmail ได้ใช้สื่อในห้องเรียนออนไลน์ พัฒนานักศึกษาแกนนำในด้านวิธีการใช้ Google Classroom และจัดระบบเพื่อนช่วยเพื่อนในการเรียนการสอน 4. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ตามความคิดเห็นของนักศึกษาศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และเรียนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์สรุปได้ว่า ขาดทักษะการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้ Google Classroom ของนักศึกษาต่างกัน ไม่สะดวกในการใช้งาน Gmail ข้อเสนอแนะคือพัฒนาทักษะการใช้งาน ระบบอินเทอร์เน็ต พัฒนาทักษะการใช้ Google Classroom ของนักศึกษา ปรับรูปแบบการนำสื่อในระบบห้องเรียน ออนไลน์มาให้นักศึกษาใช้ในช่องทางการสื่อสารอื่นๆ เช่น Facebook Line เพื่อให้นักศึกษาที่มีปัญหาในการเข้าใช้ Gmail ได้ใช้สื่อในห้องเรียนออนไลน์ และควรพัฒนาปรับปรุงเพิ่มความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ต


4 กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 สำเร็จได้ด้วยดี โดยได้รับความกรุณาให้โอกาสในการปรึกษาและ ช่วยเหลือ แนะนำแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อย่างดียิ่งจากนายเสกสรรค์รัตน์จินดามุข ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง ทำให้ผู้วิจัยได้รับแนวทางในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และประสบการณ์อย่างกว้างขวางในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง ที่ให้ความ ร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการจัดทำวิจัยครั้งนี้ จนบรรลุผลสำเร็จ ผู้วิจัยขอมอบคุณค่าและคุณประโยชน์ทั้งหมดของงานวิจัยฉบับนี้พึงมีต่อการโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ และการบริหาร ของสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของสถานศึกษา ให้สามารถการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป


5 สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย...................................................................................................... ................................................2 กิตติกรรมประกาศ.............................................................................................................. .........................................4 สารบัญ………................................................................................................................................................................5 บทที่ 1 บทนำ...............................................................................................................................................................6 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา...........................................................................................................6 วัตถุประสงค์การวิจัย........................................................................................................................................7 กรอบแนวคิดการวิจัย.......................................................................................................................................7 สมมติฐานการวิจัย............................................................................................................................................9 ขอบเขตของการวิจัย...................................................................................................... ..................................9 นิยามศัพท์เฉพาะ.............................................................................................................................................11 ประโยชน์ที่ได้รับ..............................................................................................................................................12 บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง....................................................................................................................................13 แผนการศึกษาชาติและนโยบาย.......................................................................................................................13 อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และนโยบายของ กศน.อำเภอปลวกแดง...................................................................17 แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการประเมินโครงการ............................................................................................20 การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.........................26 แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับระบบห้องเรียนออนไลน์............................................. ...............................................30 โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ กศน.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565...............................................35 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง...........................................................................................................................................40 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย............................................................................................................................................43 ประชากร………………….....................................................................................................................................43 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย...................................................................................................................................43 การสร้างเครื่องมือในการวิจัย...........................................................................................................................44 การเก็บรวบรวมข้อมูล.............................................................................................. ........................................44 การวิเคราะห์ข้อมูล...........................................................................................................................................45 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.........................................................................................................................45 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.....................................................................................................................................46 การวิเคราะห์แบบสอบถาม ชุดที่ 1 .................................................................................................................46 การวิเคราะห์แบบสอบถาม ชุดที่ 2 .................................................................................................................57 บทที่ 5 สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ..................................................................................................60 สรุปผลการวิจัย................................................................................................................................................61 อภิปรายผล......................................................................................................................................................66 ข้อเสนอแนะ........................................................................................................... .........................................70 บรรณานุกรม...............................................................................................................................................................71 ภาคผนวก....................................................................................................................................................................74


6 บทที่ 1 บทนำ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐต้องจัดให้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีความเจริญ งอกงามทุกด้าน เพื่อเป็นต้นทุนทางปัญญาที่สำคัญในการพัฒนาทักษะ คุณลักษณะและสมรรถนะในการประกอบ สัมมาชีพ และการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุขอันจะนำไปสู่เสถียรภาพ และความมั่นคงของสังคม และประเทศชาติที่ต้องพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศในเวทีโลกท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ภูมิภาคและโลก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัย และทักษะของประชากรใน ศตวรรษที่ 21 ที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับความท้าทายและมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุค 4.0 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ถือเป็นแผนแม่บทหลักในการ พัฒนาประเทศที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 มีหลักการสำคัญข้อที่ 2 คือ “ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสาหรับ คนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560–2564 : 4) แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้ “คนไทยทุกคนได้รับ การศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อ พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มี คุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลงเพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้3Rs ได้แก่ การอ่านออก (Reading) การเขียน ได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics) 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการ แก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะ ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้าน การสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้าน คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะ การเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) (แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 : ฉ) จากผลการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 พบว่าการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมสำคัญตามภารกิจต่อเนื่อง ข้อ 3 ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3.1 โครงการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตด้วย เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาการศึกษาทำให้ กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างหลากหลายช่องทาง สามารถตอบสนองความสนใจของ กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา สำนักงาน กศน. ได้เห็นความสำคัญในการผลิตสื่อเทคโนโลยีเพื่อ


7 การศึกษาที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่าน ช่องทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันทุกพื้นที่มุ่งดำเนินการขยายช่องทางเพื่อเพิ่ม โอกาสและการเรียนรู้ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถตอบสนองบริบทการศึกษาในยุค Thailand 4.0 รวมทั้งการผลิตสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเชิง สร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565:105) ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารหรือ ICT Information and Communication Technologies) มาใช้ในวงการศึกษากำลังได้รับความนิยมและความสนใจอย่างมาก และรัฐบาลมีนโยบายในการนำ ICT มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาในทุกด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาครูอาจารย์ และนักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้เข้าถึง แหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ในการผลิตสื่อด้าน ICT จะช่วยให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจ สนุกสนาน มีการค้นคว้าต่อยอดความรู้ และประสบการณ์จากความรู้ที่มีอยู่เดิม โดยมุ่งให้ความสำคัญกับผู้เรียนให้ได้ เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยนำกระบวนการเรียนรู้มาจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ นอกจากนั้นการจัดการ เรียนการสอนในปัจจุบันควรเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ แบบตลอดชีวิต การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และ สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น เพราะในปัจจุบันแหล่งความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งการนำ เทคโนโลยีเข้ามาร่วมจะสามารถส่งเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนมีความรู้รอบด้าน และสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ รวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ก็ยังสอดแทรกเนื้อหาสาระองค์ความรู้หลัก เป็นเป็นสำคัญ และการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มีฟังก์ชันการทำงานที่ สนับสนุนต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างการใช้ Google Education ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการเรียนการ สอนแบบออนไลน์ ที่จะนำมาช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการการคิด การทำงาน การสืบค้นข้อมูล และการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น สำหรับ Google Classroom เป็นฟังก์ชันบริการอีกรูปแบบหนึ่งในแอปพลิเคชั่นของ Google Education ที่เป็นระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้ง โปรแกรมเอง แต่ผู้ใช้ต้องมีบัญชีผู้ใช้งาน e-mail ของ Google เพื่อสำหรับการใช้งาน โดยที่ ใช้ Google Education ก็จะมีความหลากหลายที่จะนำมาใช้งาน เช่น Google drive เพื่อเป็นพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และ Google Classroom ที่สามารถนำมาจัดการเรียนการสอนเพื่อจัดการผู้เรียนในการ อัพโหลดเอกสารประกอบการสอน การจัดทำการบ้าน ใบงาน รวมทั้งทำแบบทดสอบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการสื่อสาร อำเภอปลวกแดง มีลักษณะชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นในชุมชนเมืองและ กระจายทั่วไปในพื้นที่เขตอำเภอปลวกแดง ประชากรประกอบอาชีพเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนผลไม้เลี้ยงสัตว์ ค้าขายมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง มีแหล่งการศึกษามีจำนวนมากประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 98% ศาสนาอื่นๆ 2 % การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดระยองรวมทั้งการ คมนาคมภายในตำบลหมู่บ้านสามารถสัญจรไปมาได้สะดวกสบายการโทรคมนาคมติดต่อสื่อสารสะดวกการ สาธารณูปโภคอยู่ในเกณฑ์ดีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง ดำเนินการจัดการ ศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งวิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใช้วิธีการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนมา พบกันโดยมีครูเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาข้อสรุป ร่วมกัน ซึ่งได้กำหนดให้นักศึกษามาพบกลุ่มสัปดาห์ละ 1 วัน จำนวน 20 ครั้งต่อภาคเรียน จากผลการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 พบว่ามีผู้เรียนบางส่วนไม่สามารถมาพบครูได้ตามกำหนด เนื่องด้วย ปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด – 19 การประกอบอาชีพที่ไม่สามารถหยุดงานมาเรียนได้ ซึ่ง ทำให้นักศึกษา กศน.บางส่วนขาดสอบ และในปัจจุบันสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีครอบคลุมในทุกพื้นที่ของอำเภอปลวก


8 แดง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จึงได้นำสื่อการเรียนการสอนในระบบ ห้องเรียนออนไลน์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับนักศึกษา กศน.ที่ไม่สามารถมาเรียนได้ตามกำหนด พบว่าทำให้นักศึกษา กศน.ไม่ขาดการติดต่อกับครู สามารถเรียนโดยใช้สื่อในระบบห้องเรียนออนไลน์ทำ สามารถเรียนและส่งงานตามที่ครูสั่งงาน ได้ ทำให้การเรียนการสอนเกิดความต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์มีความสำคัญอย่างมากในการเรียนการ สอนในยุคปัจจุบัน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง ตระหนักถึงความจำเป็นใน การพัฒนาบุคลการด้านการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนและสอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบแลการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จึงได้จัด โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ กศน.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนา รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้รูปแบบห้องเรียนออนไลน์2) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะในการสร้างห้องเรียนออนไลน์ สามารถจัด กระบวนการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้รูปแบบ ห้องเรียนออนไลน์ได้ จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จึงดำเนินการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เพื่อทราบผลการ ดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP ที่มีรูปแบบของการประเมินโครงการที่ครอบคลุมปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เพื่อนำผลของการประเมิน โครงการ เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ สำหรับใช้ประกอบ ในการจัดทำแผนการสอนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนา พัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้สถานศึกษามีแผนการสอนที่มีคุณภาพ และ เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป 2. วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อประเมินการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัด ระยอง ปีงบประมาณ 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ในการ ประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 3. กรอบแนวคิดการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของ Stufflebeam ในรูปแบบ ContextInput-Process-Product Model (CIPP Model) มาเป็นตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้


9 1) การประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context evaluation) 2) การประเมินทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ (Input evaluation) 3) การประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process evaluation) 4) การประเมินผลผลิตของโครงการ (Product evaluation) แสดงในภาพที่ 1.1 ดังนี้ 4. สมมติฐานการวิจัย 1) โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยใช้ ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 สามารถพัฒนาครูให้สร้างห้องเรียนออนไลน์ และนำไปใช้ในการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้กับนักศึกษา กศน.ได้ 2) นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองที่ ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สามารถเรียนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ได้ 5. ขอบเขตของการวิจัย 5.1 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู กศน.ในสังกัดของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และนักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านบริบท Context ด้านปัจจัยนำเข้า Input ด้านกระบวนการ Process ด้านผลผลิต Product 1. การวางแผน 2. การปฏิบัติ 1) การอบรมพัฒนาครู 2) การสร้างสื่อ 3) การจัดทำแผนการสอน 4) การสร้างระบบห้องเรียนออนไลน์ 5) การจัดการเรียนการสอนด้วย ระบบห้องเรียนออนไลน์ 3. การตรวจสอบประเมินผล 4. การปรับปรุงพัฒนา 1. แผนการ ศึกษาชาติและ นโยบาย 2. นโยบายของ สถานศึกษา 3. วัตถุประสงค์ ของโครงการ 4. เป้าหมายของ โครงการ 1. บุคลากร 1) ครู กศน. 2) นักศึกษา กศน. 2. งบประมาณ 3. วัสดุอุปกรณ์ 4. ประสิทธิภาพ การบริหาร จัดการ 1. ความรู้ความเข้าใจใน การจัดทำระบบห้องเรียน ออนไลน์ 2. การใช้ระบบห้องเรียน ออนไลน์ในการจัดการ เรียนการสอน 3. ความพึงพอใจที่มีต่อ การใช้งานระบบห้องเรียน ออนไลน์ของครูและ นักศึกษา การประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองจันทบุรีปีงบประมาณ 2562


10 อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ จำแนกเป็น 1) ครู กศน. จำนวน 13 คน 2) นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัด ระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ จำนวน 623 คน กำหนด กลุ่มตัวอย่างโดยในกรณีนี้ผู้วิจัยทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ใช้เกณฑ์โดยกำหนดเป็นร้อยละของประชากรในการ พิจารณา (ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543) ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักร้อย ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25% ในการวิจัยครั้ง นี้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากร้อยละ 25 ของประชากร 623 คน ได้กุล่มตัวอย่างจำนวน 156 คน 5.2 ตัวแปรที่ศึกษา 5.2.1 กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม แบ่งจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ครู กศน. จำนวน 13 คน 3) นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัด ระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ จำนวน 623 คน กำหนด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์โดยกำหนดเป็นร้อยละของประชากรในการพิจารณา (ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543) ถ้าขนาด ประชากรเป็นหลักร้อย ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25% ในการวิจัยครั้งนี้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากร้อยละ 25 ของ ประชากร 623 คน ได้กุล่มตัวอย่างจำนวน 156 คน 5.2.2 การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้าน กระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) นอกจากนี้ยังเป็นการหาแนวทางในการพัฒนาระบบโครงการ ขอบเขตด้านเนื้อหาจึงประกอบด้วย 1) การประเมินโครงการ 1.1) การประเมินด้านบริบทหรือด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) เป็นการ ประเมินสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ แผนการศึกษาชาติและนโยบายของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ และเป้าหมายของโครงการ 1.2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินสิ่งที่นำมาใช้ ระหว่างการดำเนินโครงการ ได้แก่ บุคลากร คือ ครู กศน. และนักศึกษา กศน. งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 1.3) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินการดำเนินงาน ของโครงการ ได้แก่ การวางแผนการปฏิบัติคือ 1) การอบรมพัฒนาครู 2) การสร้างสื่อ 3) การจัดทำแผนการสอน 4) การสร้างระบบห้องเรียนออนไลน์ 5) การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์ การตรวจสอบ ประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา 1.4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังจาก ที่ได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์ การใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ใน การจัดการเรียนการสอน และความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบห้องเรียนออนไลน์ของครูและนักศึกษา 2) แนวทางการพัฒนาโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เป็นวิธีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ของการดำเนินโครงการ ได้แก่ การพิจารณาในการส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาระบบห้องเรียนออนไลน์ ในการจัดการ


11 เรียนการสอนโดยใช้แอปพลิเคชั่นที่หลากหลาย และพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล 5.3 ขอบเขตด้านเวลา ขอบเขตด้านระยะเวลาในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย ปีงบประมาณ 2565 ระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2565 (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565) 6. นิยามศัพท์เฉพาะ ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะไว้ ดังนี้ 6.1 โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย ใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์หมายถึง โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนการ สอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้รูปแบบห้องเรียนออนไลน์2) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะในการสร้างห้องเรียนออนไลน์ สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้รูปแบบห้องเรียนออนไลน์ได้ 6.2 การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนิน โครงการอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาพิจารณาตามหลักการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในการตัดสินใจ ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน ดังนี้ 6.2.1 ด้านบริบท (Context) หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ แผนการศึกษาชาติและนโยบาย นโยบายของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ และเป้าหมายของโครงการ 6.2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ระหว่างการดำเนินโครงการ ได้แก่ บุคลากร คือ ครู กศน. และนักศึกษา กศน. งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 6.2.3 ด้านกระบวนการ (Process) หมายถึง การดำเนินงานของโครงการ คือ การวางแผน การ ปฏิบัติคือ 1) การอบรมพัฒนาครู 2) การสร้างสื่อ 3) การจัดทำแผนการสอน 4) การสร้างระบบห้องเรียนออนไลน์ 5) การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์ การตรวจสอบประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา 6.2.4 ด้านผลผลิต (Product) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ความรู้ความ เข้าใจในการจัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์ การใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน และความพึง พอใจที่มีต่อการใช้งานระบบห้องเรียนออนไลน์ของครูและนักศึกษา 6.3 แนวทางการปรับปรุงพัฒนา หมายถึง วิธีการดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของการ ดำเนินโครงการ 6.4 ระบบห้องเรียนออนไลน์ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยเนื้อหาของบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่ถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการ เรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (Google Apps for Education) ผู้เรียนสามารถ เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ 6.5 กลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถาม หมายถึง ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองปีงบประมาณ 2565 มีดังนี้


12 6.5.1 ครู กศน.อำเภอปลวกแดง หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษา นอกโรงเรียน ครูกศน.ตำบล ครูศูนย์การเรียนชุมชน และครูสอนคนพิการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง ในปีงบประมาณ 2565 6.5.2 นักศึกษา กศน. หมายถึง ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ 7. ประโยชน์ที่ได้รับ 7.1 ทำให้ทราบผลการดำเนินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร 7.2 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง สามารถนำข้อมูลเพื่อใช้เป็น แนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ของสถานศึกษาต่อไป รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการขยายผลไปยัง สถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีความสนใจในการตัดสินใจนำโครงการนี้มาใช้ในสถานศึกษา


13 บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 โดยทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุป เป็นแนวทางในการวิจัยดังนี้ 1. แผนการศึกษาชาติและนโยบาย 1.1 แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 1.2 นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และนโยบายของ กศน.อำเภอปลวกแดง 2.1 อำนาจหน้าที่ของ กศน.อำเภอปลวกแดง 2.2 โครงสร้างสถานศึกษา กศน.อำเภอปลวกแดง 2.3 ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา 3. แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการประเมินโครงการ 3.1 ความหมายของการประเมินโครงการ 3.2 ประโยชน์ของการประเมินโครงการ 3.3 ประเภทของการประเมินโครงการ 3.4 รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model 4.การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 5. แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับระบบห้องเรียนออนไลน์ 6. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ กศน.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองปีงบประมาณ 2565 7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แผนการศึกษาชาติและนโยบาย 1.1 แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ภูมิภาค และของโลก การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิวัติ อุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution) การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องเผชิญกับระบบเศรษฐกิจโลกที่มีการแข่งขันอย่างเสรีและไร้พรมแดน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ความท้าทายใหม่ในกระแสโลกาภิวัตน์รอบใหม่ของโลกคือ การก้าวเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตใน ทุกสิ่ง (Internet of things)ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ มีโปรแกรมใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมนุษย์ สามารถพกพาติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นได้จากจำนวน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของประเทศในแถบเอเชียการปฏิวัติดิจิทัลส่งผลให้การเคลื่อนย้ายตลาดทุน และตลาดเงินเป็นไปอย่างเสรีและรวดเร็วและทำให้ตลาดเงินของโลกมีความเชื่อมโยงกันเสมือนหนึ่งเป็นตลาดเดียวกัน (One World One Market) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในระดับ ภูมิภาคและระดับโลก เพื่อขยายตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศส่งผลให้เกิดระบบการค้าเสรีและการ


14 แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น รูปแบบการค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่การค้าผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องพบกันนอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักในกระบวนการผลิตทั้งหมด โดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารที่ผสมผสานกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิต ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและ บริการของประชาชนเปลี่ยนไป ผู้ผลิตสินค้าและการบริการจึงจำเป็นต้องปรับตัวสู่การพัฒนาบนฐานความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579ได้วิเคราะห์ปัญหาและความท้าทายที่เกิดจากระบบการศึกษา 1) คุณภาพของคนไทยทุกกลุ่มวัยยังมีปัญหา 2) การจัดการศึกษายังขาดคุณภาพและมาตรฐานในทุกระดับ 3) ระบบ การศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังเป็นจุดอ่อน 4) การบริหารจัดการศึกษาของ สถานศึกษายังไม่เหมาะสม และขาดความคล่องตัว 5) โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาที่ยังมีความเหลื่อมล้ำ 6) คนไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีวินัย ความซื่อสัตย์ สุจริต และการมีจิตสาธารณะ (แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579: 67-70) จากแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าโครงการจัดการศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ กศน. อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 สามารถส่งเสริมพัฒนาการศึกษาที่พัฒนาให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมี คุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลก ศตวรรษที่ 21มาจากการที่ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน คือ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และประชาชนสามารถ เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การจัดและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และ สื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ 1.2 นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. หลักการ กศน. เพื่อประชาชน “กศน. ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ” 2. ภารกิจสําคัญตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2.1 โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ติดตามและรายงานข้อมูลประชากรวัยเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษา พร้อมทั้งดําเนินการช่วยเหลือ และสนับสนุน ให้กลับเข้าสู่สถานศึกษาที่เหมาะสมตามบริบทต่อไป 2.2 โครงการ “กศน. ปักหมุด” สํารวจ ติดตาม ค้นหา และรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย คนพิการ พร้อม นํากลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการ ของคนพิการ อย่างแท้จริง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม อย่างมีคุณภาพ 2.3 โครงการสถานศึกษาปลอดภัย นําระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety Center ผ่านศูนย์ความ ปลอดภัย สํานักงาน กศน. มาใช้แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของนักศึกษา ครู และบุคลากร กศน. 2.4 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. จุดเน้นการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2565 3.1 ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ 1) น้อมนําพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริทุกโครงการ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์


15 2) ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่สนองตอบยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 3) ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย การเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ และอุดมการณ์ ความยึดมั่นในสถาบัน หลักของชาติ การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Social Media) รวมถึงการใช้กระบวนการจิตอาสา กศน. ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 4) ปรับปรุงหลักสูตรทุกระดับทุกประเภท ให้สอดรับกับการพัฒนาคน ทิศทางการพัฒนา ประเทศ สอดคล้องกับบริบท ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการและความหลากหลายของผู้เรียน/ผู้รับบริการ รวมถึง ปรับลดความหลากหลายและความซ้ำซ้อนของ หลักสูตร เช่น หลักสูตรการศึกษาสําหรับกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูง พื้นที่พิเศษและพื้นที่ชายแดน รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ 5) ปรับระบบทดสอบ วัดผล และประเมินผล โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง การประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ เพื่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ให้ความสําคัญกับการเทียบระดับ การศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ พัฒนาระบบการประเมิน สมรรถนะผู้เรียนให้ตอบโจทย์การ ประเมินในระดับประเทศและระดับสากล เช่น การประเมินสมรรถภาพผู้ใหญ่ ตลอดจนกระจายอํานาจไปยังพื้นที่ใน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 6) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเองครบวงจร ตั้งแต่การ ลงทะเบียนจนการประเมินผลเมื่อจบหลักสูตร ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการเรียนรู้ให้กับ กลุ่มเป้าหมายที่สามารถเรียนรู้ได้ สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน 7) พัฒนา Digital Learning Platform แพลตฟอร์มการเรียนรู้ของสํานักงาน กศน. ตลอดจนพัฒนาสื่อการ เรียนรู้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และให้มีคลังสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ง่ายต่อการ สืบค้นและนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ 8) เร่งดําเนินการเรื่อง Academic Credit-bank System ในการสะสมและเทียบโอน หน่วยกิตเพื่อการสร้าง โอกาสในการศึกษา 9) พัฒนาระบบนิเทศการศึกษา การกํากับ ติดตาม ทั้งในระบบ On-Site และ Online รวมทั้งส่งเสริมการ วิจัยเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาการดําเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3.2 ด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ 1) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จําเป็นสําหรับแต่ละช่วงวัย และการจัด การศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ 2) พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่เน้น New skill Upskill และ Reskill ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่มอาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology 3) ยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น “ส่งเสริม ความรู้ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และช่องทาง การจําหน่าย 4) ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็น Active Ageing Workforce และมี Life skill ในการ ดำรงชีวิตที่เหมาะกับช่วงวัย 5) ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้พิการ ออทิสติก เด็ก เร่ร่อน และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ 6) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลและทักษะด้านภาษา ให้กับบุคลากร กศน.และผู้เรียน เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ


16 7) ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน กศน. 8) สร้างอาสาสมัคร กศน. เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในชุมชน 9) ส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของบุคลากร กศน. รวมทั้งรวบรวมและเผยแพร่เพื่อให้หน่วยงาน / สถานศึกษา นำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 3.3 ด้านองค์กร สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ 1) ทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน สถานศึกษา เช่น สถาบัน กศน.ภาค สถาบันการศึกษาและพัฒนา ต่อเนื่องสิรินธร สถานศึกษาขึ้นตรงสังกัดส่วนกลาง กลุ่มสำนักงาน กศน.จังหวัดระยอง ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพ ราษฎรไทยบริเวณชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่ 2) ยกระดับมาตรฐาน กศน.ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ให้เป็น พื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญของชุมชน 3) ปรับรูปแบบกิจกรรมในห้องสมุดประชาชน ที่เน้น Library Delivery เพื่อเพิ่มอัตราการอ่านและการรู้ หนังสือของประชาชน 4) ให้บริการวิทยาศาสตร์เชิงรุก Science@home โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือนำวิทยาศาสตร์สู่ ชีวิตประจำวันในทุกครอบครัว 5) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ในรูปแบบ Public Learning Space Co-Learning Space เพื่อการสร้างนิเวศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคม 6) ยกระดับและพัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นสถาบันพัฒนาอาชีพระดับภาค 7) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม กศน. จังหวัดระยองให้มีประสิทธิภาพ 3.4 ด้านการบริหารจัดการคุณภาพ 1) ขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทบทวนภารกิจ บทบาทโครงสร้าง ของหน่วยงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย 2) ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการบริหารจัดการ และ การจัดการเรียนรู้ เช่น การปรับหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการจัดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง 3) ปรับปรุงแผนอัตรากำลัง รวมทั้งกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการนำคนเข้าสู่ตำแหน่ง การย้าย โอน และ การเลื่อนระดับ 4) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตำแหน่งให้ตรงกับสายงาน และ ทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 5) ปรับปรุงระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้มีความครอบคลุม เหมาะสม เช่น การปรับค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาของผู้พิการ เด็กปฐมวัย 6) ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลการ รายงานผลการดำเนินงาน ข้อมูลเด็กตกหล่นจากการศึกษาในระบบ เด็กเร่ร่อน ผู้พิการ 7) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ 8) ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ ๔.๐ และการประเมินคุณภาพและความ โปร่งใสการดำเนินงานของภาครัฐ (ITA) 9) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับข้าราชการและบุคลากรทุกประเภทในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประกาศ เกียรติคุณ การมอบโล่ / วุฒิบัตร 10) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน


17 จากนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่กล่าวมา ข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ กศน.อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เป็นกิจกรรมที่ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สามารถพัฒนา ศักยภาพผู้เรียนด้านทักษะและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) โดยการพัฒนาความรู้และ ทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้สามารถใช้ Social Media และ Application ต่างๆ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนมี ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2. อำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และนโยบายของ กศน.อำเภอปลวกแดง 2.1 อำนาจหน้าที่ของ กศน.อำเภอปลวกแดง กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา (2552:2-3) ข้อ 1 กำหนดให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เรียกโดยย่อว่า กศน.อำเภอ และศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต เรียกโดยย่อว่า กศน.เขต มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (3) ดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ (4) จัดส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ (5) จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) วิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ (8) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (9) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (10) ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (11) ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด (12) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 2.2 ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา (แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565 กศน.อำเภอ ปลวกแดง : 1) วิสัยทัศน์ “ผู้รับบริการอำเภอปลวกแดง ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21” พันธกิจ 1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับ การศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2 ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมี ส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของ ศูนย์การเรียนและแหล่งการเรียนรู้อื่นในรูปแบบต่าง ๆ 3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และ เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชน อย่างทั่วถึง 4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุก


18 รูปแบบ ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และ 5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อ มุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ตารางที่ 2.1 เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาด โอกาสทางการศึกษา รวมทั้ง ประชาชนทั่วไปของอำเภอปลวกแดง ได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานการศึกษาต่อเนื่อง และ การศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตาม สภาพ ปัญหา และความต้องการของ แต่ละกลุ่มเป้าหมาย 1. จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาชั้นพื้นฐานที่ได้รับการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่กำหนดไว้ 2. จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/เข้ารับ บริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับ สภาพ ปัญหา และความต้องการ 3. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป 4. จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา (ภาคีเครือข่าย : สถานประกอบการ องค์กร หน่วยงานที่มาร่วมจัด/พัฒนา/ ส่งเสริมการศึกษา) 5. จำนวนผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมด้านการรู้หนังสือและ การพัฒนาทักษะชีวิต 6. จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้ 7. จำนวนประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพระยะสั้น สามารถสร้างอาชีพเพื่อสร้าง รายได้ 2. ประชาชนในพื้นที่อำเภอ ปลวกแดง ได้รับการยกระดับ การศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และความเป็น พลปลวกแดงอันนำไปสู่การยกระดับ คุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้ชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่ ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม 1. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก การพัฒนาอาชีพตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการอบรมให้มีความรู้ ในอาชีพการเกษตรที่ เหมาะสมกับสภาพบริบท และความต้องการของพื้นที่/ชุมชน 3. จำนวนประชาชนได้รับการอบรมตามหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านอาชีพ (ระยะสั้น) สำหรับประชาชนในศูนย์อาเซียนศึกษา กศน. 4. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) 5. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ (ระยะสั้น) มีความรู้ในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ 6. ร้อยละของตำบล/แขวง มีปริมาณขยะลด 7. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือ เทียบเท่า ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า


19 เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3. ประชาชนในพื้นที่อำเภอปลวกแดง ได้รับ โอกาสในการเรียนรู้ และมีเจตคติทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนา คุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์ 1. จำนวนประชาชนที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2. จำนวนบุคลากร กศน. ตำบล ที่สามารถจัดทำคลังความรู้ได้ 4. ประชาชนในพื้นที่อำเภอปลวกแดง ได้รับ การสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 1. จำนวนหลักสูตรและสื่อออนไลน์ที่ให้บริการกับประชาชน ทั้ง การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย 2. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการ บริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย 3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการ/ข้าร่วม กิจกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจ/เจตคติทักษะ ตามจุดมุ่งหมายของ กิจกรรมที่กำหนด ของการศึกษาตามอัธยาศัย 5. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งใน และนอกพื้นที่อำเภอปลวกแดง ร่วมจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการ เรียนรู้ของชุมชน 1. จำนวน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่เข้าถึงบริการความรู้ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านช่องทางสื่อเทคโนโลยี ทางการศึกษา และเทคโนโลยีการสื่อสาร 2. สถานศึกษา มีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดทำ ฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนการ ดำเนินงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของ องค์การ 3. จำนวน ประชาชนได้รับความรู้ด้านการเกษตร จากรายการ โทรทัศน์/ CD/แอพพลิเคชั่น 6. สถานศึกษาและ กศน.ตำบล พัฒนา เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มา ใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน 1. จำนวน/ประเภทของสื่อ ที่มีการจัดทำ/พัฒนาและนำไปใช้เพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 2. จำนวน ครู กศน. ตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการ จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 7. สถานศึกษาและ กศน.ตำบล พัฒนาสื่อและ การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาและ พัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการ เปลี่ยนแปลงบริบท ด้านเศรษฐกิจ สังคม การ ปลวกแดงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของ ประชาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย 1. จำนวนครู กศน. ต้นแบบการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ สามารถเป็นวิทยากรแกนนำได้ 2. ร้อยละของครู กศน. สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน 3. ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านเกณฑ์การอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด 4. จำนวนผู้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดของโครงการสร้าง เครือข่ายดิจิทัลชุมชนระดับตำบล 5. จำนวนบุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่ม สมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย


20 เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 8. สถานศึกษาและ กศน.ตำบล มีระบบการบริหารจัดการที่ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 1. ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่มีระบบประกันคุณภาพภายในและมีการจัดทำรายงานการ ประเมินตนเอง 2. สถานศึกษา กศน. ที่สามารถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่ รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า/ตามแผนที่กำหนดไว้ 3. ร้อยละของคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของการดำเนินงานของหน่วยงาน 4. จำนวนระบบฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาของประเทศที่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยและ เป็นปัจจุบัน 9. บุคลากรของสถานศึกษาและ กศน.ตำบล ได้รับการพัฒนาเพื่อ เพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ก า รศึ ก ษ าน อ ก ระ บ บ แ ล ะ การศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมี ประสิทธิภาพ 1. จำนวน ครู กศน. ตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2. จำนวนบุคลากร กศน. ตำบล ที่สามารถจัดทำคลังความรู้ได้ 3.จำนวนบทความเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อต่าง ๆ 4. จำนวนหลักสูตรและสื่อออนไลน์ที่ให้บริการกับประชาชน ทั้งการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัยให้ประชาชน สามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผู้เรียนทั้งในระบบนอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการ ครูและ บุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการศึกษา จากอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง นโยบาย และทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษาของ กศน.อำเภอปลวกแดง มีหน้าจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนผู้ด้อย พลาด ขาดโอกาสทางการศึกษา และทหาร กองประจำการ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษา ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ จะ สามารถพัฒนาครูให้สามารถสร้างห้องเรียนออนไลน์ และนำไปใช้ในการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้กับนักศึกษา กศน.ได้ 3. แนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการประเมินโครงการ 3.1 ความหมายของการประเมินโครงการ โครงการ เป็นคำที่มีความหมายและสื่อความได้หลายอย่าง เช่น หมายถึง ความคิด แนวคิดกิจกรรม หรือ ผลรวมที่เกิดจากกิจกรรมที่ได้จัดวางไว้ในการวางโครงการนั้นๆ ความหมายของโครงการจึงมีมากมาย ซึ่งได้มีผู้ให้คำ จำกัดความของการประเมินโครงการไว้ ดังนี้ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2538 :96) อธิบายว่า ความหมายของโครงการมีการใช้อยู่


21 หลายนัยโดยจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานที่ใช้ อาจจะหมายถึงแผนย่อยที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน หรือกลุ่ม กิจกรรมที่จะดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ราชบัณฑิตยสถาน(2542 : 270) ได้ให้ความหมายของคำว่าโครงการไว้ว่า โครงการหมายถึง แผนหรือเค้า โครง ตามที่กะกำหนดไว้ ส่วนเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี(2544 : 104) ให้ความหมายของโครงการว่า โครงการ หมายถึง แผนงานที่กำหนดไว้ในลักษณะที่มิใช่งานประจำ แต่เป็นงานพิเศษที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องรีบดำเนินการให้ บรรลุวัตถุประสงค์ ภายในกำหนดเวลาที่แน่นอน และภายในวงเงินงบประมาณที่จำกัด ศิริชัย กาญจนวาสี (2547: 209) ได้ให้ความหมายว่า โครงการหมายถึง ชุดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายโดยมีระยะเวลาที่ดำเนินการที่แน่ชัด และทวีป ศิริรัศมี (2544 : 30) ได้กล่าวไว้ว่าโครงการหมายถึง กลุ่มกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มุ่งตอบสนองเป้าหมาย เดียวกันในแผนงานเดียวกัน โดยมีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจน และเป็นงานพิเศษที่ต่างจากงานประจำ Tyler (อ้างใน สมคิด พรมจุ้ย, 2544 : 43) ได้ให้ความหมาย การประเมิน คือการเปรียบเทียบพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2541: 20 ) ได้กล่าวถึง การ ประเมิน คือ กระบวนการใช้ดุลยพินิจ หรือค่านิยมและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในทรรศนะของ Stufflebeam (อ้างใน เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ ศรี,2544: 57) กล่าวว่า การประเมิน คือ กระบวนการของการระบุหรือกำหนดข้อมูลที่ต้องการรวมถึงการดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่จัดเก็บมาแล้วมาจัดทำให้เกิดเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ เพื่อนำเสนอสำหรับใช้ เป็นทางเลือก ในการประกอบการตัดสินใจต่อไป ส่วน Andersons (อ้างในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2545:8) ให้ความหมายของการประเมินว่าเป็น การบรรยายคุณลักษณะสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้คัดเลือกมาสำหรับใช้ศึกษาแล้วพิจารณาคุณลักษณะนั้นทั้งในด้านความ เหมาะสมและระดับของการยอมรับ ในขณะที่ Good(อ้างในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2545 : 8) กล่าวว่า การ ประเมินหมายถึง การค้นหาหรือตัดสินคุณค่าหรือจำนวนของบางสิ่งบางอย่างโดยใช้มาตรฐานของการประเมินรวมทั้ง การตัดสินใจโดยอาศัยเกณฑ์ภายในและ หรือเกณฑ์ภายนอก สำหรับนักวิชาการไทยก็ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการสอดคล้องกับความหมายดังที่กล่าวข้างต้น ดังที่ ประชุม รอดประเสริฐ (2529 : 73) ได้สรุปความหมายการประเมินโครงการไว้ดังนี้ 1. การประเมินโครงการ หมายถึง การตรวจสอบวัตถุประสงค์ของโครงการว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ กำหนดไว้หรือไม่ และบรรลุถึงเป้าหมายนั้นด้วยดี มากน้อยเพียงใด 2. การประเมินโครงการ เป็นกระบวนการในการพิจารณาวิเคราะห์ถึงคุณลักษณะและคุณภาพของโครงการ 3. การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือการใช้วิธีการวิจัยเพื่อหาข้อมูลที่เป็น จริง และมีความเชื่อถือได้ของโครงการ แล้วพิจารณาตัดสินใจว่าโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ 4. การประเมินโครงการ หมายถึง การประมาณค่าการดำเนินการของกิจกรรมใดๆอย่างมีระบบ เพื่อ ปรับปรุงการดำเนินงานนั้นทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต สำหรับ สงบ ลักษณะ (2530:27) ได้ให้คำนิยามไว้ 3 แนวทางดังนี้ แนวที่ 1 การประเมินโครงการ คือ กระบวนการรวบรวมข้อมูลให้ได้มาซึ่งการตัดสินความมีคุณค่า ของการดำเนินงาน และผลที่ได้รับ แนวที่ 2 การประเมินโครงการ คือ การดำเนินการให้ได้มาซึ่งการตัดสินประสิทธิผลที่เกิดขึ้นว่าการ ดำเนินงานทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้มากน้อยเพียงใด แนวที่ 3 การประเมินโครงการ คือ กระบวนการที่กำหนด รวบรวม และใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับโครงการ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2540 : 117) ให้ความหมายว่า การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด สารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ


22 สุพักตร์ พิบูลย์ และกานดา นาคะเวช (2548) ให้ความหมายของโครงการว่าเป็นกลุ่มของกิจกรรมที่เห็น ว่าเป็นทางเลือกในการยกระดับคุณภาพงานที่ได้รับการคัดสรรแล้วว่าเหมาะสมและน่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกา รบยกระดับคุณภาพงานปกติ โยมีจุดมุ่งหมาย เป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน และมีช่วงเวลาในการ ดำเนินงานที่แน่นอน อัญชลี ธรรมะวิธีกุล(2551) ให้ความหมายว่าการประเมินโครงการ คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบและนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการจาก ความหมายดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ 1) การประเมินโครงการเป็นกระบวนการที่จัดทำขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลความจริง (Fact) ที่เชื่อถือได้ 2) การประเมินโครงการจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ของโครงการ นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้ความหมายของการประเมินโครงการไว้หลายคน เช่น รัตนะ บัวสนธ์(2540 :9) ได้ให้ ความหมายว่า การประเมินโครงการ เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้น มา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ แล้วตัดสินใจให้คุณค่า ต่อข้อมูล หรือโครงการ สอดคล้องกับ วิไล แสงเหมือนขวัญ (2549: 43) ได้กล่าวว่า การประเมินโครงการเป็นกระบวนการพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ในปัจจุบันยอมรับว่า การประเมิน โครงการเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งในการบริหารโครงการ ของผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ เพราะการประเมิน โครงการ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศย้อนกลับ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใด และที่สำคัญ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน โครงการทั้งในปัจจุบัน และอนาคต จากความหมายของการประเมินโครงการที่มีผู้กล่าวไว้ข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าการประเมินโครงการ หมายถึงกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเป็นกระบวนการเชิงระบบเพื่อการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้น มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์นำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิผลของการ ดำเนินโครงการ การตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ ชี้บ่งถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการซึ่งจะ ช่วยให้ได้ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศย้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ เพื่อ นำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใด และช่วยให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการทั้งในปัจจุบัน และอนาคต กำหนดคุณค่าของโครงการ 3.2 ประโยชน์ของการประเมินโครงการ แอนเดอร์สัน และบอล (Anderson & Ball, 1978: 14-35 อ้างถึงในรัตนะ บัวสนธ์,2540: 18-19) ได้อธิบายบทบาทและประโยชน์ของการประเมินโครงการในด้านวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไว้หลายประการ คือ 1. เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำโครงการไปใช้ ซึ่งได้แก่ การประเมินว่า โครงการที่จัดทำขึ้นนั้นมี ความจำเป็นมากน้อย หรือมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ มีความเป็นไปได้หรือคุ้มค่ากับเงินทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เพียงไร โครงการเป็นที่ต้องการสำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือจะได้รับการสนับสนุนแค่ไหน รวมทั้งขนาดและขอบเขตการนำ โครงการไปใช้กว้างหรือแคบ เป็นต้น ข้อมูลจากการประเมินเหล่านี้จะช่วยในการนำมาประมวลสรุปตัดสินใจ สำหรับ ผู้บริหารหรือแหล่งทุนที่จะตัดสินใจอนุมัติการนำโครงการดังกล่าวไปดำเนินการใช้ต่อไป 2. เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโดยต่อเนื่องต่อไป หรือการขยาย โครงการ และการรับรองโครงการ ซึ่งได้แก่ การประเมินภายหลังจากโครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว (ตามระยะเวลาที่ กำหนดไว้) เป็นการประเมินเพื่อจะรู้ว่าโครงการดังกล่าวยังมีความจำเป็นต้องจัดให้มีอยู่อีกต่อไปหรือไม่ ผลที่ได้จาก


23 การดาเนินโครงการได้รับผลตอบแทนคุ้มค่ากับทุนที่สูญเสียไปมากน้อยเพียงใด และโครงการที่ดำเนินการไปนั้น ก่อให้เกิดผลข้างเคียง(side effects) ทั้งทางบวกและทางลบหรือไม่ 3. เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงการ ซึ่งเป็นการประเมินเมื่อโครงการ ได้มีการ นำไปดำเนินการใช้ระยะหนึ่ง หรือเป็นการประเมินในช่วงการดำเนินโครงการทั้งนี้โดยทำการประเมิน เพื่อที่จะ ปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ของโครงการอันได้แก่ 3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อที่จะรู้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้นั้น เมื่อมี การดำเนินโครงการไปชั่วขณะหนึ่ง มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ หรือได้รับการยอมรับสนับสนุนร่วมมือ จากกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด 3.2 เนื้อหาของโครงการ เป็นการพิจารณาว่า เนื้อหาสาระหรือกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้ใน โครงการมีความครอบคลุมเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ลำดับขั้นตอนของกิจกรรมเป็นไปตามลำดับ ที่จะเอื้อต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเพียงไรนอกจากนั้น ยังพิจารณาอีกว่า เนื้อหาสาระของโครงการ ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภูมิหลัง หรือพื้นเพเดิมของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการจากโครงการมากน้อยเพียงใด 3.3 วิธีการดำเนินโครงการ โดยพิจารณาว่า โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นมี กลุ่มเป้าหมายร่วมโครงการเป็นจำนวนเท่าไร ครบหรือไม่ครบตามที่กำหนดไว้ โครงการมีผู้ร่วมงานเพียงพอหรือไม่ เท่าไร โครงการมีการดำเนินงาน หรือดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างไรกลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมโครงการได้รับการเสริมแรง หรือ การสร้างแรงจูงใจอย่างไรทำนองนี้ เป็นต้น 3.4 สภาวะแวดล้อมของโครงการ หมายถึง การพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองหรือ ทางการบริหารของผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการว่า ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการหรือไม่ อย่างไร สัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานในโครงการมีลักษณะเช่นไรขัดแย้งกันหรือไม่ เป็นอุปสรรคต่อการที่จะ ดำเนินการต่อไปเพียงใด ทรัพยากรสนับสนุนอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการมีเพียงพอมากน้อยเพียงใด ตลอด กระทั่งการยอมรับหรือให้การสนับสนุนและการต่อต้านของสาธารณะที่มีต่อโครงการเป็นไปในทิศทางใดเหล่านี้ เป็นต้น 4. เพื่อที่จะได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนโครงการจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้แก่ การ พิจารณาความสนับสนุนโครงการสาธารณชน การปลวกแดงแหล่งเงินทุน รวมทั้งนักวิชาชีพอื่นๆ โดยต้องการรู้ว่า แหล่งดังกล่าวนี้มีแหล่งใดบ้างให้การสนับสนุนโครงการอย่างแท้จริง เมื่อมีการดำเนินโครงการอยู่ในขณะนั้น 5. เพื่อที่จะได้รับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขัดขวางต่อต้านโครงการจากแหล่งต่างๆ ในทางตรงกันข้าม กับวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการในข้อที่สี่ นอกจากเราจะต้องการรู้ถึงแหล่งที่ให้การสนับสนุนโครงการแล้ว ในการดำเนินโครงการใด ๆ ก็ตาม บางครั้งโครงการดังกล่าวนั้นก็จะได้รับการขัดขวางต่อต้าน ทำให้การดำเนิน โครงการไม่อาจเป็นไปได้โดยสะดวกและวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้อาจจะไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้น การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อพิจารณาว่า แหล่งใดบ้างที่ขัดขวางโครงการจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อจะได้ หาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดำเนินโครงการให้มีความเป็นไปได้โดยสะดวกต่อไป 6. เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานต่างๆ ซึ่งหมายถึง การได้รับความรู้ความเข้าใจ ในพื้นฐานอื่นที่นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ทำการประเมินแต่ทว่ามีผลต่อโครงการ ได้แก่ พื้นฐานด้านการศึกษา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวิทยา และด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น อัญชลี ธรรมะวิธีกุล (2552) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการประเมินโครงการไว้ ดังนี้ 1.ช่วยให้ได้ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดโครงการ การตรวจสอบความ พร้อมของทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการ 2. ประเมินปัจจัยหรือทรัพยากร (Input Evaluation) 3. ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ประเมินผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Product Evaluation) จากประโยชน์ของการประเมินโครงการที่มีผู้กล่าวไว้ข้างต้น สรุปได้ว่าการประเมินผลโครงการเป็นการ บ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการนั้นๆ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน ช่วยในการตัดสินใจนำโครงการไปใช้ ช่วย


24 ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโดยต่อเนื่องต่อไป และช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงการ ทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและสามารถนำข้อมูลไป ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติโครงการต่อไป 3.3 ประเภทของการประเมินโครงการ นักวิชาการหลายท่านได้แบ่งประเภทของการประเมินโครงการที่สำคัญดังนี้ กฤษดา กรุดทอง (2541, หน้า 30) จำแนกการประเมินโครงการออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การประเมินก่อนโครงการ (pre evaluation) 1.1 การประเมินความจำเป็น (need assessment) 1.2 การศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study) 2. การประเมินระหว่างโครงการ (on-going evaluation) 2.1 การติดตามโครงการ (project monitoring) 2.2 การประเมินผลงาน (performance evaluation) 2.3 การประเมินการปฏิบัติงานตามโครงการ (implement evaluation) 3. การประเมินหลังโครงการ (ex-post evaluation) 3.1 การประเมินผลระยะสั้น (intermediate evaluation) 3.2 การประเมินผลกระทบ (impact evaluation) 3.3 การประเมินผลตอบแทน(cost-benefit/cost effective evaluation) อุทัย บุญประเสริฐ (2543: 15) แบ่งประเภทของการประเมินโครงการโดยอาศัยวงจรของโครงการ (project life cycle) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การประเมินก่อนการดำเนินงาน (pre-evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดและเลือกทำโครงการซึ่งมักจะใช้การพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ คือ 1.1 ความเหมาะสมของการทำโครงการ ประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและ ความจำเป็นของการทำโครงการ (necds assessment) และการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibilty) โดยพิจารณา ความเป็นไปได้ทางเทคนิควิชาการ ความพร้อมในด้านการบริหารโครงการ ความพร้อมในด้านงบประมาณสนับสนุน เป็นต้น 1.2 การวิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการ(rate of return) ประกอบด้วยการวิเคราะห์ ค่าใช้จ่ายและผล (cost/benefit analysis) หรือการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับอัตถประโยชน์ (cost/utility analysis) ซึ่ง เป็นการพิจารณาว่าการจัดทำโครงการนั้นจะให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ซึ่งเป็นการพิจารณาโครงการในแง่ เศรษฐกิจสาหรับโครงการทางด้านการศึกษาจะเน้นเรื่องการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายกับประสิทธิผลมากกว่าค่าใช้จ่ายกับผล กำไร เพราะผลตอบแทนของโครงการทางการศึกษานั้นวัดออกมาในรูปของหน่วยเงินตราทำได้ยาก 2. การประเมินในระหว่างการดำเนินการ (implementation evaluation of processevaluation) เป็นการ ประเมินที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการปฏิบัติงานโครงการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบว่าการดำเนินงาน เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง อันจะได้แก้ไขทันท่วงที เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการประเมินโครงการในระหว่างดำเนินงานจึงเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการนั่นเองที่ จะต้องหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ บางท่านเรียกการประเมินนี้ว่าการประเมินเพื่อการ ปรับปรุงหรือการประเมินผลย่อย 3. การประเมินหลังการดำเนินงาน (post-evaluation or end project evaluation) เป็นการ ประเมินที่จัดขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานโครงการได้เสร็จสิ้นแล้ว การประเมินในลักษณะนี้จะเป็นการพิจารณาตอบคำถาม ในเรื่องต่อไปนี้ คือ 3.1 เป็นการตรวจสอบดูว่าการดำเนินงานโครงการสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงใด 3.2 เป็นการตรวจสอบดูว่ามีผลพลอยได้อย่างอื่นนอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ บ้างหรือไม่ ซึ่งเรียกว่าเป็นผลกระทบของโครงการ


25 จากที่กล่าวมาสามารถสรุปประเภทของการประเมินโครงการจำแนกออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ การประเมินก่อนดำเนินการ (pre-evaluation) การประเมินขณะกำลังดำเนินการ (on-going evaluation) การประเมินเมื่อ โครงการแล้วเสร็จ (end-of-projectevaluation) และการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ (post-project evaluation) 3.4 รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในปี ค.ศ. 1972 Stufflebeam และคณะ (อ้างใน เยาวดีวิบูลย์ศรี, 2539: 35) เขียนหนังสือเกี่ยวกับการ ประเมินชื่อว่า “Educational Evaluation and Decision Making” เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ของไทย เพราะได้ให้แนวคิดและวิธีการทางการวัดและประเมินผลการศึกษาที่น่าสนใจและทันสมัย Stufflebeam เขียนหนังสือเกี่ยวกับการประเมินและรูปแบบของการประเมินอีกหลายเล่มอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน การพัฒนาทฤษฎีการประเมินโดยกล่าวว่า การประเมิน คือ กระบวนการของการระบุหรือกำหนดข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่จัดเก็บมาได้นำมาจัดทำเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์เพื่อ นำเสนอสำหรับใช้เป็นทางเลือกในการประกอบการตัดสินใจต่อไป จากแนวคิดอย่างนี้ทำให้มีลักษณะที่จะแบ่งแยก บทบาทของการทำงานระหว่างฝ่ายประเมินกับฝ่ายบริหารออกจากกันอย่างเด่นชัด ฝ่ายประเมินมีหน้าที่ระบุ จัดหา และนำเสนอสารสนเทศให้กับฝ่ายบริหาร ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่เรียกหาและนำผลการประเมินที่ได้นั้นไปใช้ ประกอบการตัดสินใจ เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณีการประเมินตามโมเดลของ Stufflebeam สามารถสรุปการประเมินเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก กำหนดหรือระบุและบ่งชี้ข้อมูลที่ต้องการ ขั้นที่สอง จัดเก็บ รวบรวม และขั้นที่สามวิเคราะห์และจัดสารสนเทศ เพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่เรียกหาและนำผล การประเมินที่ได้นั้นไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องตามควรแก่กรณี ในการวิจัยเชิงประเมินโดยทั่วไปมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบของสเตค (Stake)สตัฟเฟิลบีม (Stufflebam) ไทเลอร์ (Tyler) โพรวัส (Provous) เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบจะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของโครงการที่ จะประเมิน ซึ่งนักประเมินจะเป็นผู้เลือก พิจารณารูปแบบตามความต้องการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินตามจุดประสงค์ ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความรู้ความสามรถและความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบต่างๆ ของผู้ประเมินด้วย ได้มี ผู้กล่าวถึงรูปแบบการประเมินโครงการไว้หลายท่าน ดังนี้ จำเนียร สุขหลาย และคณะ (2540 :208) ได้กล่าวถึงรูปแบบการประเมินว่า ในการใช้รูปแบบการ ประเมินนั้นควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการประเมิน คือการให้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ 2. ชนิดของการตัดสินใจที่แตกต่างกันต้องออกแบบการประเมินที่แตกต่างกันและควรใช้รูปแบบการ ประเมินที่มีประสิทธิผลและเป็นรูปแบบทั่วๆ ไป 3. ในกรณีที่รูปแบบการประเมินมีความแตกต่างกันในด้านเนื้อหา ควรใช้ขั้นตอนของการติดตามผล ดังนี้ คือการวิเคราะห์ การรวบรวม และการนำเสนอ 4. การตัดสินใจประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ ขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบเลือก และปฏิบัติ จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลจากการประเมิน ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างนักประเมินและตัดสินใจ 5. เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบในการตัดสินใจ การออกแบบประเมินจึงควรคำนึงถึงเกณฑ์ที่มีความตรง ภายใน ความตรงภายนอก ความเที่ยงและความเป็นปรนัย 6. การประเมินทำเป็นกระบวนการต่อเนื่องเป็นวัฎจักรใช้กับโครงการที่เป็นระบบ รูปแบบการประเมินเกิดขึ้นจากการที่นักประเมินต่างพยายามมุ่งที่เสนอสูตรสำเร็จต่างๆ ในการดำเนินการประเมินโครงการ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมรูปแบบการประเมิน (evaluation model) เป็นกรอบความคิดหรือแบบแผนที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนหรือกระบวนการของการประเมินซึ่งอาจจะมี ความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเบื้องต้นของการประเมิน ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนการประเมิน โดยทั่วไปนิยมแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ


26 1. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินใจ (decision-oriented evalution model) เป็นรูปแบบ การประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศสำหรับใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ได้แก่ รูปแบบการประเมินของ Alkin, Stufflebeam, Hammond และ Welch 2. รูปแบบการประเมินที่เน้นการตัดสินคุณค่า (judgmental evalution models) เป็นรูปแบบการ ประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศสำหรับกำหนดและวินิจฉัยคุณค่าของโครงการนั้นๆ ได้แก่ รูปแบบการประเมินของ Scriven, Stake และ Provus 3. รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย (objective-centered evalution models)เป็นรูปแบบ การประเมินที่เน้นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นจากโครงการว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ได้แก่ รูปแบบการประมินของ Tyler, Cronbach และ Kirkpatrick จากรูปแบบการประเมินโครงการดังที่กล่าวมาข้างต้นจะ เห็นว่า มีหลากหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมกับโครงการที่จะประเมิน จึงเป็น หน้าที่ของผู้ประเมินในการเลือกรูปแบบในการประเมินให้เหมาะสมกับโครงการ เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่มีคุณค่า เชื่อถือได้ต่อไป ซึ่งในการประเมินโครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ความดีครั้งนี้ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้รูปแบบจำลองซิปซึ่ง เป็นการประเมินเพื่อตัดสิน มาใช้ในการวิจัยเนื่องจากเป็นรูปแบบการประเมินที่สามารถครอบคลุมในการประเมิน โครงการทั้งในทุกด้านหลังโครงการได้สิ้นสุดแล้ว การประเมินโครงการ Stufflebeam (อ้างใน รัตนะ บัวสนธ์, 2540 : 110) ได้ แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ซึ่งหมายถึงการประเมิน เกี่ยวกับสิ่งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกโครงการแต่มีผลต่อ ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ เช่น จำนวนประชากร กระแสทิศทางของสังคมการปลวกแดงสภาพ เศรษฐกิจและปัญหาของชุมชน รวมทั้งนโยบายของหน่วยงานระดับบนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ซึ่งหมายถึง การประเมินเกี่ยวกับทรัพยากรที่ นำมาใช้ในการดำเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นกำลังคน งบประมาณและแหล่งเงิน ทุนสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาคาร สถานที่ เครื่องมือ และพัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมเพียงพอของทรัพยากรที่ใช้ ในการดำเนินการ รวมทั้งความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่ทำให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุหรือไม่ ตลอดจน เทคโนโลยีและช่วยให้เกิดการวางแผนการจัดกิจกรรมของโครงการได้อย่างเหมาะสม 3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ซึ่งหมายถึงการประเมินเกี่ยวกับวิธีการจัด กิจกรรมของโครงการ การนำปัจจัยเข้ามาใช้เหมาะสมมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน หรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือมีอุปสรรคใดเกิดขึ้นส่วนนี้ เป็นการประเมิน เพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ เพื่อทำการแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อบกพร่องนั้นๆ หาข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจที่จะสั่งการเพื่อการพัฒนางานต่างๆ ตลอดจนเป็นการบันทึกภาวะของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน 4. การประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น (Product Evaluation : P) ซึ่งหมายถึงการประเมินเกี่ยวกับผลที่ ได้รับทั้งหมดจากการดำเนินโครงการมีความสำเร็จประการใด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้หรือไม่ โดย การใช้เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขึ้นเป็นตัวบ่งชี้รวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) เป็นรูปแบบที่สามารถประเมินได้ครอบคลุม องค์ประกอบทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการประเมินตั้งแต่บริบทและสภาพแวดล้อม (context) ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (product)รูปแบบนี้จึงสามารถให้ข้อมูลค่อนข้างละเอียดแก่ผู้บริหารใน การประเมินโครงการต่างๆ ที่ให้ผู้บริหาร สามารถตรวจสอบหาข้อบกพร่องในการดำเนินได้ทุกขั้นตอน และแก้ไขได้ ทันเวลาผลจากการประเมินโครงการใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) จะช่วยในการตัดสินใจทำการเปลี่ยนแปลง หรือดำเนินโครงการต่อไป จึงทำให้รูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 4. การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4.1 หลักการ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด หลักการไว้ดังนี้


27 1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้โดยเน้น การบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล และชุมชน สังคม 2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมี ความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 4.2 จุดหมาย หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมี คุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง เป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการจึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข 2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้ต่อเนื่อง 3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและตามทัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุข ตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และบูรณา การความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 4.3 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน 4.4 โครงสร้าง เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด ให้ สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย มีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จึงได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชการ 2551 ไว้ดังนี้ 1. ระดับการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้คือ 1.1 ระดับประถมศึกษา 1.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1.3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 สาระ ดังนี้ 2.1 สาระทักษะการเรียนรู้ เป็นสาระเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งเรียนรู้ การ จัดการความรู้ การคิดเป็น และการวิจัยอย่างง่าย 2.2สาระความรู้พื้นฐาน เป็นสาระเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.3 สาระการประกอบอาชีพ เป็นสาระเกี่ยวกับการมองเห็นช่องทาง และการตัดสินใจประกอบ อาชีพ ทักษะในอาชีพ การจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม และการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง 2.4 สาระทักษะการดำเนินชีวิต เป็นสาระเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสุขภาพ อนามัยและ ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ศิลปะและสุนทรียภาพ 2.5 สาระการพัฒนาสังคม เป็นสาระเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การปลวก แดงการปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หน้าที่พลปลวกแดงและการพัฒนาตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม


28 3. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนา ตนเอง ครอบครัวชุมชน สังคม 4. มาตรฐานการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้ 4.1 มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ ละสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4.2 มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนเรียน จบในแต่ละระดับ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 5. เวลาเรียน ในแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน 6. หน่วยกิต ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต หมายเหตุ วิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงานจำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต ตารางที่ 2.2 โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ สาระการเรียนรู้ จำนวนหน่วยกิต ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาบังคับ วิชาเลือก 1 ทักษะการเรียนรู้ 5 5 5 2 ความรู้พื้นฐาน 12 16 20 3 การประกอบอาชีพ 8 8 8 4 ทักษะการดำเนินชีวิต 5 5 5 5 การพัฒนาสังคม 6 6 6 รวม 36 12 40 16 44 32 48 หน่วยกิต 56 หน่วยกิต 76 หน่วยกิต กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 200 ชั่วโมง 200 ชั่วโมง 200 ชั่วโมง หมายเหตุ : วิชาเลือกในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จัดการทำโครงงานจำนวน อย่างน้อย 3 หน่วยกิต จากโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สำหรับรายวิชาเลือกนักศึกษาสามารถเลือกตามรายวิชาที่สำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำขึ้น หรือพัฒนาขึ้นได้ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การลงทะเบียนเรียนรายวิชา การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้ ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียน ละไม่เกิน 14 หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาค เรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต 4.5 วิธีการจัดการเรียนรู้


29 วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมี วิธีเดียว คือ “วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้ของตนเองตามรายวิชาที่ ลงทะเบียนเรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ภูมิปัญญา ผู้รู้ และสื่อต่าง ๆ 2) การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนมาพบกันโดยมีครูเป็น ผู้ดำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาข้อสรุปร่วมกัน 3) การเรียนรู้แบบทางไกล เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ โดยที่ผู้เรียนและครูจะสื่อสารกัน ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ หรือถ้ามีความจำเป็นอาจพบกันเป็นครั้งคราว 4) การเรียนรู้แบบชั้นเรียน เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดรายวิชา เวลาเรียน และ สถานที่ ที่ชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีเวลามาเข้าชั้นเรียน 5) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตาม ความต้องการ และความสนใจ จากสื่อเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือจากการฝึกปฏิบัติตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำความรู้และ ประสบการณ์มาเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 6) การเรียนรู้จากการทำโครงงาน เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำหนดเรื่องโดยสมัครใจ ตาม ความสนใจ ความต้องการ หรือสภาพปัญหา ที่จะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฏิบัติจริง และมีการสรุปผล การดำเนินการตามโครงการ โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และกระตุ้น เสริมแรงให้เกิดการเรียนรู้ 7) การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ สถานศึกษาสามารถออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ อื่น ๆ ได้ ตามความต้องการของผู้เรียนได้เรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนวิธีใด วิธีหนึ่งหรือหลายวิธีได้ความ ต้องการซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามรถเรียนรู้ ตามปรัชญาของการศึกษานอกโรงเรียน คิดเป็น โดยมีกระบวนการเรียนรู้ดังนี้ 1) กำหนดความต้องการ สภาพปัญหา โดยผู้เรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ให้ สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้โดยศึกษา และรวบรวมข้อมูลของตนเอง ข้อมูลของสภาพแวดล้อมใน ชุมชน สังคม และข้อมูลทางวิชาการ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย มีการระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูล และสรุปเป็นความรู้ มีการผสมสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เหมาะสมกับวัฒนธรรม และสังคม 4) ประเมิน และทบทวนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แล้วสรุปเป็นความรู้ใหม่พร้อมเผยแพร่ผลงาน 4.7 สื่อการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชน และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผู้เรียน ครู สามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ใกล้ตัวและข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการเรียนรู้ โดยใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้สื่อต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า น่าสนใจ ชวนคิด ชวนติดตาม เข้าใจง่าย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง และต่อเนื่องตลอดเวลา 4.8 การวัดและประเมินผลการเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน เป็นกระบวนการที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่แสดงถึงการพัฒนา ความก้าวหน้า ความสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาและเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ เกิดทักษะกระบวนการและค่านิยมที่พึงประสงค์ ซึ่งสถานศึกษาในฐานะเป็น


30 ผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา จะต้องจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน 4.8.1 การวัดและประเมินผลรายวิชา เป็นการประเมินผลการเรียนรายวิชา สถานศึกษาต้อง ดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพียงใด และต้องมีการประเมินผลรวมเพื่อทราบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร ดังนั้นการวัดและประเมินผลจึงต้องใช้เครื่องมือและวิธีการทาหลากหลายให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐาน การเรียนรู้และ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4.8.2 การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการประเมินสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อการพัฒนา ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม โดยพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลจากการปฏิบัติ กิจกรรมของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 4.8.3 การประเมินคุณธรรม เป็นการประเมินสิ่งที่ต้องการปลูกฝังในตัวผู้เรียน โดยประเมินจาก กิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านการพัฒนาตน การพัฒนางาน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การพัฒนาคุณภาพ ชีวิต การเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ และกิจกรรมในลักษณะอื่นๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อเสริมสร้าง คุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 4.8.4 การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนเข้ารับการ ประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ในภาคเรียนสุดท้ายของทุกระดับการศึกษาในสาระการเรียนรู้ที่ สำนักงาน กศน.กำหนด การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการเรียนของ ผู้เรียนสำหรับนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบต่อไป การประเมินดังกล่าวไม่มี ผลต่อการได้หรือตกของผู้เรียน 4.9 การจบหลักสูตร ผู้จบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใน แต่ละระดับการศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร ดังนี้ 1. ผ่านการประเมินและได้รับผลการตัดสินการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทั้ง 5 สาระการ เรียนรู้ และได้ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามโครงสร้างหลักสูตร 2. ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง 3. ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม 4. เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ 5. แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับระบบห้องเรียนออนไลน์ การปฏิรูปและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของประเทศไทยในปัจจุบัน มีการกำหนด วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการกำหนดรูปแบบการวางแผนการพัฒนาภายใต้การนำ ของรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าบริหาร ประเทศบนวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”(The department of research administrationand educational insurance, 2016) เพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การปรับทิศทางการ พัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นประเทศที่มีการขับเคลื่อนการแข่งขันกับ ตลาดโลกมากขึ้น Thailand 4.0 เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่จะนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากสภาพของ ปัญหาประเทศที่อยู่ในระดับประชากรที่มีรายได้ปานกลางปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และความไม่สมดุลของ ประชาชนในประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่การเปลี่ยนผ่าน ประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ด้วยการสร้างความ เข้มแข็งจากภายในควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลกตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก ระบบประชารัฐของการบริการจัดการรัฐบาลในยุคปัจจุบัน (Rojananan,2017) การศึกษาในยุค Thailand 4.0 ก็


31 เช่นเดียวกันที่จะต้องมีการปฏิรูประบบการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ จึงเป็นเหตุให้การศึกษาไทยต้อง พัฒนาเส้นทางสู่การศึกษา Thailand 4.0 โดยการนำเทคโนโลยีและเครื่องมือระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยในการพัฒนาและ ขับเคลื่อนการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการได้จัดส่งเสริมสนับสนุนโครงการสำคัญต่างๆ ที่เน้นการเรียนรู้และการ พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21เพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการศึกษา และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี การพัฒนานักวิจัยหลากหลายสาขาเพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ระบบการศึกษาในยุคThailand 4.0 เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนไป จากเดิมจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนมาเป็นการเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลา โดยการใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยในการเรียนรู้ได้มากขึ้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีความ สร้างสรรค์นวัตกรรม และการวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (The department of research administrationand educational insurance, 2016) การปฏิรูประบบโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศไทยเพื่อกำหนดทิศทางเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ในส่วนของการสนับสนุนด้านการศึกษาที่ต้องมี การพัฒนาการศึกษาโดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้และการเชื่อมโยงเทคโนโลยีการศึกษาและ นวัตกรรมให้ส่งเสริมและกำหนดเป็นทิศทางรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมที่ใช้ช่องทางการสื่อสารด้าน เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ต้องนำนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในทุกช่วงวัย เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีด้านการแพทย์ การใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจเป็นต้น การพัฒนาการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ระบบการศึกษาระดับประเทศและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับของโครงสร้างการปฏิรูป สังคมไทยให้เท่าเทียมกับประเทศที่กำลังพัฒนาในอาเซียนและเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น (Rohidsathan, 2016) เพิ่มโอกาสและช่องทางเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม และทุกช่วงวัย การ สร้างองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาและดิจิทัลในเชิงบูรณาการการเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าเทียมของประชาชน ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชนห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของรัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล มีข้อมูลองค์ความรู้ทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ในรูปแบบดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่ายและสะดวก และมีประชาชนที่รู้เท่าทัน ข้อมูลข่าวสาร และมีทักษะในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควรมีแนวทางใน การดำเนินการที่ประกอบด้วย(Lorsuwannarat,2009) - การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล - การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ รวมถึง ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลข่าวสารในสังคมดิจิทัลที่เปิดกว้างและเสรี - การสร้างคลังสื่อและแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างสะดวกผ่าน ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบแพร่ภาพ กระจายเสียงและสื่อหลอมรวม - การเพิ่มโอกาสการได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานของนักเรียนและประชาชน แบบทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล - การเพิ่มโอกาสการได้รับบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่ทันสมัยทั่วถึง และเท่าเทียม สู่สังคมสูงวัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยการ สนับสนุนความสามารถของผู้ใช้ที่มีความต้องการในการส่งสาร ข้อมูลและการกระจายข้อมูลให้สังคมได้รับรู้และเป็นผู้ ตัดสินในการเลือกช่องทางการให้ข้อมูลจากวิจารณญาณที่ตนเองตัดสินใจและเป็นผู้เลือกเอง (Phaserd, 2017) การ พัฒนาสังคมในยุคดิจิทัลต้องใช้ความสามารถและความใฝ่รู้ค่อนข้างสูงในการเรียนรู้กับนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆที่มีความ ล้าสมัยของเทคโนโลยีที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้าน ความรู้ความเข้าใจในบริบทของสังคมและสภาพแวดล้อมของทุกพื้นที่ที่ต้องมีการเลือกใช้สื่อทางสังคมอย่างเหมาะสม


32 และความเสมอภาคในการเข้าถึงสื่อทุกช่องทางได้อย่างเท่าเทียมของทุกกลุ่มวัย การสร้างโอกาสการรับรู้และการ เข้าถึงข้อมูล โอกาสทางการศึกษาการพัฒนาศักยภาพในการเลือกใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง และการสร้างรายได้ให้กับตนเอง รวมทั้งการวิเคราะห์สื่อเพื่อการตัดสินใจในการดำรงชีวิตประจำวันให้เหมาะสม การ สร้างโอกาสทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด (เทคโนโลยีการศึกษาใน ยุค Thailand 4.0 :308-309) มุมมองทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึง ทรัพยากรการเรียน การเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัว และเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสาหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกใน ศตวรรษที่ 21 แอพพลิเคชั่น“Google classroom” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Google Apps for Education จึงเป็น เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการทางานเพื่อให้ผู้สอนมีเวลาที่ติดต่อสื่อสารกับ ผู้เรียนมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้เรียนก็มีเวลาค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นชุดเครื่องที่มี การผสานรวมแอพพลิเคชั่นของ Google ไว้หลากหลาย อาทิ Google Doc, Google drive, Google slide และ Gmail ไว้ด้วยกัน ผู้สอนจึงสามารถสร้างและรวบรวมงานโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษ และใช้งานนั้นในชั้นเรียนต่างๆ โดยสามารถเลือกว่าจะให้ผู้เรียนทำงานอย่างไร ทำเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างครูและ นักเรียน และผู้สอนสามารถติดตามว่าผู้เรียนคนใดทางานเสร็จแล้วบ้าง และใครยังทำงานไม่เสร็จ ตลอดจนแสดงความ คิดเห็นให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้อยู่ในห้องเรียน และผู้เรียนสามารถดูรายการงานของ ชั้นเรียนที่กำลังทำอยู่และที่ทำเสร็จแล้ว แสดงความเห็น ปรับเปลี่ยนและทำงานร่วมกันเป็นทีม มองเห็นภาวะผู้นำและ ผู้ตามของผู้เรียนในชั้น ที่สำคัญผู้สอนสามารถวัดประเมินชิ้นงานตามสภาพจริง สามารถดูคะแนนทั้งหมดของงาน ส่วน ผู้เรียนสามารถดูคะแนนของตนเองสำหรับงานที่ทำเสร็จแล้ว จากความสำคัญที่กล่าวข้างต้น ในปี 2011 มีนักศึกษา 16 ล้านคน จาก 146 ประเทศ ได้ใช้ Google Apps for Education ส่วนในประเทศไทย เริ่มที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้ Google Apps for Education นี้ (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ, 2015) Google Apps for Education (Google Inc,2014)นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา ที่ช่วยเสริม ประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับการจัดการะบบการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี สร้างการเรียนรู้แบบ ทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกรูปแบบของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ภายใต้ การจัดเก็บ รวบรวม และบันทึกข้อมูลบนคลาวด์ ด้วย GoogleDrive มีการติดต่อสื่อสารผ่านทาง Gmail สามารถ กำหนดเวลาเรียน และตารางนัดหมายร่วมกันได้ด้วย GoogleCalendar ทำกิจกรรมกลุ่มได้ในเวลาเดียวกันบนแฟ้ม เอกสารเดียวกันได้ด้วย Googledocs สร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายผ่านทาง GoogleSites อีกทั้งครูยังสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบริหารชั้นเรียนด้วยการใช้ GoogleClassroom ดังนี้ 1) Gmail ให้พื้นที่สำหรับการจัดเก็บข้อมูล ถึง 30GB มีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ มีป้ายกำกับและตัวกรองช่วยทำให้ข้อมูลมีระเบียบ ทั้งกล่องจดหมายไม่ใช่ เพียงเรื่องของการติดต่อหรือสื่อสารแบบการส่งข้อความเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ ข้อความเสียง และวิดีโอแชท ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถดูได้ว่าใครออนไลน์อยู่และติดต่อได้ทันที2) Calendar ปฏิทินที่ช่วยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนจัดการ เวลาของตน ประยุกต์ใช้ในการกำหนดเวลาเรียนและตารางนัดหมายได้ด้วยการแบ่งปันปฏิทินร่วมกันกับผู้ที่กำหนด สามารถวางปฏิทินหลายรายการซ้อนกันเพื่อดูว่าใครจะว่างเมื่อใด ทั้งยังใช้ส่งข้อความเชิญร่วมกิจกรรมตาม กำหนดการในปฏิทินและจัดการการตอบรับได้ 3) Classroom เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการ มอบหมายงาน สร้าง ตรวจ และให้คะแนนงาน สามารถตรวจสอบผู้เรียนได้ว่าทำงานเสร็จตามกำหนดนัดหมายหรือไม่ และแสดงความ คิดเห็นได้โดยตรงรวมทั้งการตัดเกรดได้ในที่เดียวกัน ผู้เรียนสามารถเปิดดูเนื้อหาของชั้นเรียนได้ ติดตามงานและ ตรวจสอบวันครบกำหนดงานได้เพียงล็อกอินเข้าสู่ห้องเรียน และค้นหางานของตนเองได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งงานทั้งหมด จะถูกจัดเก็บอยู่ในแฟ้มงานภายใน Drive 4) Drive พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ ในรูปแบบของข้อความเสียง


33 และวิดีโอ ทำให้เข้าถึงข้อมูลจากที่ใดก็ได้ไม่จำกัดอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ Mac, PC, Android หรือ อุปกรณ์ iOS บนพื้นที่เดียวสำหรับข้อมูลฉบับปัจจุบันที่บันทึกไว้ สามารถแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้ที่กำหนดได้โดย ประยุกต์ใช้ในการสร้างเอกสารและตอบกลับความคิดเห็นในเอกสารเดียวกันบนแฟ้มเอกสารเดียวกันได้แม้จะไม่ได้อยู่ ที่เดียวกันได้ทั้งรูปแบบของเอกสาร ตาราง และงานนำเสนอ โดยเข้าถึงไฟล์จากที่ใดก็ได้5) Sites พื้นที่ทำงานใช้ แบ่งปันสำหรับชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถสร้างเว็บไซต์ของโครงการได้ โดยที่ไม่ต้องเขียนรหัสให้ยุ่งยาก ทำงานได้ง่าย เหมือนการทำเอกสาร สามารถเปิดใช้งานได้ทุกแห่งด้ายเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ Mac, PC และ Linux ได้ การจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนแบบออนไลน์ หรือที่เรียกว่า E-Learning นั้นเป็นการจัดการเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้ ศุภชัย สุขะนินทร์ และ กรกนก วงศ์พานิช (2545:19) กล่าวว่า E-Learning คือการเรียนทางไกลเป็นการ เรียนที่ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีมาใช้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต อาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตช่วย เป็นการบริการการศึกษาที่ ไร้ขอบเขต สามารถที่จะทำกิจกรรมในห้องเรียนแบบออนไลน์ได้ และเป็นที่นิยมเพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ระยะทางและสถานที่สอน นอกจากนั้นยังสามารถตอบสนองต่อศักยภาพและความสามารถของนักเรียนได้ดีอีกด้วย กล่าวโดยสรุปการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบออนไลน์ (E-Learning) คือการเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถ และความต้องการในการพัฒนาของตน โดยเนื้อหาบทเรียนจะประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือ มัลติมีเดีย มีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระห่างผู้เรียนด้วยกันทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม องค์ประกอบของการพัฒนาบทเรียน E-Learning ในการพัฒนาบทเรียน E–Learning สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมที่มุ่งหวังให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4ส่วน ได้แก่(ณัฎฐสิตา ศิริรัตน์, 2548:4) 1. เนื้อหาบทเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในลักษณะใด เนื้อหาก็ต้องถือว่าสำคัญที่สุด ดังนั้นแม้ว่า จะพัฒนาให้เป็นบทเรียน E–Learning ก็จะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาเป็นอันดับแรก 2. ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก E–Learning Management Systemทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร และการกำหนดลำดับเนื้อหาในบทเรียน แล้วส่งผ่านเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผลในแต่ละบทเรียนควบคุมและ สนับสนุนการให้บริการแก่ผู้เรียน 3. การติดต่อสื่อสาร ความโดดเด่นและความแตกต่างของ E–Learning ก็คือ การนำรูปแบบ ของการ ติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way communication) มาใช้ประกอบในการเรียน เพื่อสร้างความน่าสนใจและ ความตื่นตัวของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างบทเรียนก็อาจจะมีแบบฝึกหัดเป็นคำถามเพื่อเป็นการทดสอบใน บทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับยังระบบในทันที ลักษณะแบบนี้จะทำให้การ เรียนในระบบน่าสนใจและรักษาเวลาในการเรียนได้เป็นไปตามที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม และสามารถช่วยให้ผู้เรียน ได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับผู้สอน ระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วม ชั้นเรียนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร อาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 3.1ซิงโครนัส (Synchronous) เป็นการเรียนการสอนที่มีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดตัวบุคคล มีการกำหนด ตารางเวลาหรือตารางสอน และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดทำสื่อ ตั้งแต่การนำเสนอบทเรียนของผู้สอน มีการนำเสนอโดยใช้ เครื่องมือช่วยผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านทาง วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Conferencing) หรือรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน ทางระบบการ Chat หรือบันทึกการสอนทั้งหมดแล้วใส่ในวีดีโอเซิร์ฟเวอร์เพื่อเรียกดูในภายหลังก็ได้ 3.2อะซิงโครนัส (Asynchronous) เป็นการติดต่อสื่อสารที่นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ โดยมี บทเรียนและเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนการสอนอยู่บน Web มีการสร้างโฮมเพจรายวิชา มีการให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนรู้แบบออนไลน์ เครื่องมือที่ช่วยได้แก่ระบบอีเมล์(e-mail) ที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์กับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง มีเว็บ บอร์ด (web-board) ที่ใช้ประโยชน์ในเรื่องการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อคิดเห็นระหว่างกันและกันได้


34 4. การสอบ/วัดผลการเรียน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ E–Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ โดยรูปแบบอาจจะแตกต่างกันไป กล่าวคือ ในบางวิชาต้องมีการวัดระดับความรู้(Pre-test) ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน/หลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุดซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรแล้ว ก็ควรจะมีการสอบย่อยท้ายบทและการสอบใหญ่ ก่อนที่ จะจบหลักสูตรเพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพในการเรียน (ณัฎฐสิตา ศิริรัตน์, 2548:5) ประโยชน์ของการเรียนด้วยรูปแบบ E–Learning มี ดังนี้ 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อ Multimedia อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และคลัง ความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสนับสนุนการเรียนการสอนของผู้สอนและผู้เรียน 2. เกิดเครือข่ายของความรู้ คลังความรู้ที่สร้าง และจัดเก็บบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจะเป็น เครือข่ายที่มวลมนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันและกันได้ เป็นความรู้ที่ทันสมัยกว่าในตำราทั่วไปเพราะความรู้บน เครือข่ายมีการปรับปรุง (Update) เป็นประจำเพราะสามารถดำเนินการได้ง่ายและรวดเร็ว 3. เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ สืบค้นวิชาความรู้ต่าง ๆได้ด้วย ตนเองโดยอาศัยสื่อและ IT ทางการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษา 4. สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาระหว่างชนบทกับปลวกแดงการลงทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาใน ชนบทโดยฝึกอบรมครูอาจารย์ให้มีความรู้ด้าน IT มีสื่อการเรียนการสอน Multimediaมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และมีอุปกรณ์ IT ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าไปศึกษาหาความรู้ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กในชนบทได้เรียนรู้ เช่นเดียวกับเด็กในปลวกแดงเพิ่มโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เท่าเทียมกันได้ 5. ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน เนื่องจากมีคลังความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้บริการคนทั่ว โลกซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ 6. สอดคล้องและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากเป็นการนำ IT มาส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาใน ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (สุรศักดิ์ ปาเฮ, 2553:435) ข้อดีของการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนด้วยบทเรียนE–Learning นี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาด้วย ตนเองหรือจากบุคคลและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้สถานการณ์ที่ ผู้สอนจัดเตรียมไว้ โดยเน้นการพัฒนาการคิด การวางแผน การแก้ปัญหา การสืบเสาะหาความรู้ ทักษะทางสังคม การ ประเมินผลการเรียนของตนเองรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าสู่ระบบการเรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ผู้เรียนมี อิสระในการเลือกเรียนได้สอดคล้องกับความสนใจของตนเองและการใช้ศักยภาพของตนเองในการเรียนได้อย่างเต็มที่ 1. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ กฤษณา สิกขมาน (2554) กล่าวว่า การเรียนการสอนออนไลน์ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการ ออกแบบ การเรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบ มีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนไว้ อย่างชัดเจน จัดการเรียนการสอนตามหลักทฤษฎีทางการศึกษา หลักการเรียนการรู้และจิตวิทยาการศึกษา การ ถ่ายทอดความรู้ การนาเสนอเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และถ่ายทอดกลยุทธ์การสอนใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันเน้นไปที่การใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ผู้เรียน สามารถเข้าถึงและเรียนรู้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา เนื้อหาบทเรียนของอีเลิร์นนิ่งจะอยู่ในรูปแบบสื่อผสม อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Multimedia) ซึ่งออกแบบไว้ในลักษณะซอฟต์แวร์รายวิชา (Courseware) ประกอบด้วย สื่อผสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สำคัญ คือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอน ได้ การบริหารจัดการอีเลิร์นนิ่งใช้ซอฟต์แวร์ประเภทบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System : LMS) ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการอย่างอัตโนมัติเกือบทุกขั้นตอนแทนการปฏิบัติด้วยมือ ตั้งแต่ขั้นตอนการ ลงทะเบียนเรียนจนถึงขั้นตอนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน


35 2. องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (2557 : 11-17) แบ่งองค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ออกเป็น 6องค์ประกอบ 1) เนื้อหาและสื่อการเรียน 2) ระบบนำส่งสารสนเทศและการสื่อสาร 3) ระบบการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางการเรียน 4) ระบบการวัดและการประเมินผล 5) ระบบสนับสนุนการเรียน 6) ผู้สอนและผู้เรียน สรุปได้ว่า ระบบห้องเรียนออนไลน์คือ การเรียนการสอนออนไลน์ ที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการ ออกแบบการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบผู้ใช้ควบคุมข้อมูลด้วยตนเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ สามารถเชื่อมต่อได้ ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ภายใต้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทุกอย่างจะมีการบันทึกลงในระบบคลาวด์โดย อัตโนมัติ อีเมล เอกสาร ปฏิทิน และไซต์ จะสามารถเข้าถึงและแก้ไขได้จากคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บ เล็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้เรียนและครูผู้สอนสามารถทำงานร่วมกันได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีการใช้ทรัพยากรในการ เรียนร่วมกัน ผู้สอนสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจัดการระบบการเรียนการสอนและออกแบบการใช้งานได้ตามความ เหมาะสมของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการศึกษา เช่น การติดต่อสื่อสาร การ กำหนดเวลาของชั้นเรียน และการเขียนรายงานหรือเรียงความ ซึ่งสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเอกสารได้ ทันที มีการควบคุมและการแบ่งปันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเรียนรู้ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ (2554: 301) ได้ศึกษาเรื่องการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วย อินเทอร์เน็ตแอพพลิเคชั่น โดยทำการทดลองกับผู้เรียนจำนวน 41 คน ในรายวิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ปีการศึกษา 2553 ครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ การเรียนรู้ในชั้นเรียน (แบบเผชิญหน้า) และการเรียนรู้จากกรณีปัญหาโดยนำซอฟต์แวร์และเครื่องมือแบบออนไลน์ที่ เหมาะสมมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองแบบ จากผลการทดลองกระบวนการเรียนรู้เชิงผสมผสาน 2.0 พบว่า นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหา การบริหารจัดการและการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์แล้ว ยังสามารถช่วยลด ปัญหาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ด้วยการแบ่งปัน และการเข้าถึงแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่ม และผู้สอนแบบออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ วิจารณ์ การแบ่งปัน การนำเสนอ และการสื่อสารร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพอินทิรา พาลีนุด และคณะ (2554:360) ได้ ศึกษาเรื่องการทดสอบหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนแบบ E-Learning โดยผ่าน ระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนแบบ E-Learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์สูงกว่าก่อนการเรียน มีค่า t เท่ากับ -4.35 ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 2) นักศึกษาที่เรียนแบบ E-Learning มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษา ที่เรียนในห้องเรียนปกติ ซึ่งมีค่า t เท่ากับ 7.61 ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 3) ผู้เรียนที่เรียนแบบ E-Learning มีความคงทนในการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าร้อย ละ 30 และ 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนแบบ E-Learning มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ มาก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การเรียนแบบ E-Learning โดยผ่านระบบสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ สามารถใช้ใน การจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พรศักดิ์ หอมสุวรรณและคณะ (2565:243) ได้ศึกษาเรื่องระดับความพึงพอใจระบบการจัดการเรียน การสอนแบบออนไลน์ผ่านกูเกิ้ลคลาสรูมภายในวิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ จากผลการวิจัยพบว่า1. ด้าน ส่วนการติดต่อกับผู้ใช้งาน Google Classroom นั้นมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมากที่สุด ซึ่งมีความสอดคล้องกับ งานวิจัยของ อภิรักษ์ และ อุมาพร (2559 หน้า 79-85) เนื่องจากตัวโปรแกรม เมนู ของ Google Classroom มีความ เรียบง่ายต่อการใช้งาน และสามารถเข้าถึงได้หลากหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะใช้งานทาง เว็บเบราว์เซอร์ หรือ แอปพลิเค


36 ชันบนมือถือ 2. ด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงของ Google Classroom นั้นมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก ด้วยตัวของ Google Classroom เองเป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้มีระบบความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในระดับสูงอยู่แล้วนั่น แต่ด้วยตัวแอปพลิเคชันเองยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาทำให้ส่วนของ กำหนด สิทธิ์การใช้งานยังไม่ครอบคลุม มีเพียงระดับนักเรียนและครูเท่านั้น ซึ่งยังขาดในส่วนของผู้ดูและองค์กร 3. ด้านการ จัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom นั้นมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก ซึ่งผู้ที่ตอบแบบสอบถามในด้าน นี้คือกลุ่มผู้เรียนเท่านั้น หากดูจากหัวข้อย่อยในตัวแบบสอบถาม ข้อที่ได้ระดับความพึงพอใจมากที่สุดมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ 1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน 2) การมอบหมายงาน เป็นผลมากจากความสะดวกในการที่สามารถดาว โหลดเก็บไว้ทุกเวลา และช่วยแก้ปัญหาการตามบทเรียนย้อนหลังสำหรับผู้ขาดเรียน ส่วนในด้านการมอบหมายงาน Google Classroom มีฟังก์ชันรองรับด้านนี้ชัดเจนด้วยการแจ้งเตือนก่อนที่จะสิ้นสุดวันกำหนดส่ง โดยจะขึ้นแสดงให้ เป็นบนหน้าจอหลักของผู้เรียน ส่วนหัวข้อที่ได้ความพึงพอใจต่ำสุดได้แก่ การช่วยประหยัดเวลาเรียน ซึ่งแสดงให้เป็น ถึงความจำเป็นครูผู้สอนที่ยังคงมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการสรุปบทเรียน หรือแนะนำ มากกว่าให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว 4.ด้านการดำเนินการและการออกแบบการเรียนการสอน นั้นมี ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมากที่สุด ผู้ที่ตอบคำถามในส่วนนี้คือครูอาจารย์ที่สร้างแผนการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ผลการประเมินออกมามีค่าเฉลี่ยในระดับสูงมาก เป็นเพราะความง่ายและสะดวกในการเตรียบ บทเรียน สื่อ และมอบหมายงาน เพียงแค่ครูสร้างและอัพโหลดไว้บนห้องเรียน จากนั้นนักเรียนสามารถเข้ามาดู หรือ ส่งงานได้เอง และยังสามารถแสดงผล รายงานความเคลื่อนไหวในการทำงานของนักเรียนได้ ซึ่งรวมไปถึงการตรวจ และให้คะแนนแบบทดสอบด้วย และเมื่อการเรียนการสอนจบลงยังสามารถเก็บห้องเรียนที่เคยสร้างไว้นำมาใช้หรือ ปรับปรุงใหม่ในปีถัดไป 5.ด้านการบริหารติดตามการจัดการเรียนการสอน นั้นมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมาก ถือได้ ว่าเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดจากทั้ง 5 ด้าน โดยผู้ตอบแบบสอบถามด้านนี้คือกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาและ หัวหน้างานหลักสูตรเนื่องมาจากในส่วนการการมอนิเตอร์หรือติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนการสอน ทำได้ยาก ไม่มีส่วนของฟิลเตอร์ที่ใช้ในการคัดกรองและแบ่งส่วนของสาขาวิชาต่างๆ ทุกห้องเรียนทุกวิชาจะถูกแสดง รวมกัน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง ส่วนจุดแข็งที่เห็นได้ชัดที่สุดของ Google Classroom คือการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน ทั้งค่ากระดาษในการพิมพ์สื่อ การติดต่อประสานงานกับนักศึกษาที่ ออกฝึกประสบการณ์ ที่สำคัญ บริษัท Google เปิดให้ใช้งาน Google Classroom ฟรีสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อกับ การศึกษาทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆสำหรับการนำมาใช้งาน และให้ข้อเสนอแนะการนำผลวิจัยไปใช้ดังนี้ Google Classroom เป็นแอปพลิเคชั่นที่ง่ายต่อการใช้งานฟังชั่นไม่เยอะ เมนูไม่ยุ่งยาก รองรับได้หลากหลายอุปกรณ์ ช่วย ประหยัดเวลาในการสร้างแผนการสอนให้ผู้สอนได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในห้องเรียน นักเรียนสามารถใช้เวลาว่างเข้าไปทบทวนหรือศึกษาได้ด้วยตัวเอง เหมาะแก่สถานศึกษาทุกระดับโดยเฉพาะอาชีวะ ศึกษาที่มาการส่งนักศึกษาออกไปฝึกประสบการณ์ ในแง่ของด้านการบริหารยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และสื่อการเรียนการสอนได้อย่างมาก และตัว Google Classroom ยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆในการดำเนินการ เพราะทาง บริษัท Google มีนโยบายส่งเสริมด้านการศึกษาอยู่แล้วจึงเปิดให้บริการฟรีแก่สถาบันการศึกษาทุกประเทศ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ งานวิจัยส่วนใหญ่จะนำแบบจำลองของ CIIP Model มาใช้เป็น รูปแบบการประเมิน ซึ่งเป็นการประเมินที่มีระบบขั้นตอน ที่ต่อเนื่อง สามารถทราบถึงความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆ ในการ ดำเนินการโครงการ ตลอดจนผลการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการโครงการต่อไป ผู้วิจัยจึงนำรูปแบบการประเมินของ Stufflebeam เรียกว่า CIPP Model มาประยุกต์ใช้ สำหรับการประเมินโครงการจัดการศึกษา หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา


37 นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565ซึ่งครอบคลุม 4ด้าน ดังนี้ ด้านบริบท หรือด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ แผนการศึกษาชาติและนโยบาย นโยบายของสถานศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ และเป้าหมายของโครงการด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการประเมินสิ่งที่นำมาใช้ระหว่างการดำเนินโครงการ ได้แก่ บุคลากร คือ ครู กศน. และนักศึกษา กศน. งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินการ ดำเนินงานของโครงการ ได้แก่ การวางแผนการปฏิบัติคือการอบรมพัฒนาครู การสร้างสื่อ การจัดทำแผนการสอน การสร้างระบบ ห้องเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์ การตรวจสอบประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาด้าน ผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ ระบบห้องเรียนออนไลน์การใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบ ห้องเรียนออนไลน์ของครูและนักศึกษา


38 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ในการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ผู้วิจัยใช้วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับ ดังนี้ 1. วิธีการวิจัย 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิธีการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประเมิน(Evaluation research)เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ จัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียน ออนไลน์ โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 โดยใช้แนวคิดของ Stufflebeam ในรูปแบบ Context-Input-Process-Product Model (CIPP Model) มาเป็นตัวแปรที่ศึกษา ผู้วิจัยได้เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Methods) โดยใช้ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ในการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้จัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์ และ นักศึกษาผู้ใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 2. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู กศน. สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน และ นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ จำนวน 156 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ โดยกำหนดเป็นร้อยละของประชากรในการพิจารณา (ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543) ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักร้อย ควรใช้ กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25% ในการวิจัยครั้งนี้กำหนดกลุ่มตัว จากร้อยละ 25 ของประชากร 623 คน ได้กุล่มตัวอย่าง จำนวน 156 คน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารหนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ชุด มีดังนี้ 3.1 ชุดที่ 1 แบบสอบถามสำหรับ ครู กศน. มี 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เพื่อประเมินข้อมูลด้าน บริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) มีลักษณะเป็น มาตรประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้


39 5 หมายถึง เห็นด้วยในระดับมากที่สุด 4 หมายถึง เห็นด้วยในระดับมาก 3 หมายถึง เห็นด้วยในระดับปานกลาง 2 หมายถึง เห็นด้วยในระดับน้อย 1 หมายถึง เห็นด้วยในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามเป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ 3.2 ชุดที่ 2 แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา กศน. มี 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 มีลักษณะเป็นมาตร ประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดังนี้ 5 หมายถึง พึงพอใจในระดับมากที่สุด 4 หมายถึง พึงพอใจในระดับมาก 3 หมายถึง พึงพอใจในระดับปานกลาง 2 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อย 1 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามเป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ 4. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 4.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ระบบห้องเรียนออนไลน์ 4.2 กำหนดกรอบงานที่จะศึกษา โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากแนวคิดของ Stufflebeamในรูปแบบ Context-Input-Process-Product Model (CIPP Model) และได้นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ 4.3 ร่างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดที่กำหนด 4.4 นำแบบสอบถามที่ได้รับการแก้ไขเสร็จแล้ว มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ และปรับปรุงให้ เหมาะสม 4.5 นำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไขแล้วจัดพิมพ์เครื่องมือฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลกับ กลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนด 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 5.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม 5.1.1 ผู้วิจัยดำเนินการแจ้งให้ครูผู้สอน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่เรียนโดยใช้ ระบบห้องเรียนออนไลน์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมแบบสอบถามในสถานศึกษา 5.1.2 ผู้วิจัยส่งแบบสอบถาม ให้ครูผู้สอน จำนวน 13 ฉบับ และนักศึกษา ทีลงทะเบียนเรียนในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปลวกแดง จังหวัด ระยอง ที่เรียนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ จำนวน 156 ฉบับ


40 5.1.3 การเก็บรวบรวม ผู้วิจัยรับแบบสอบถามกลับคืนด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนครบ จากครูผู้สอน จำนวน 13 ฉบับ และนักศึกษา จำนวน 156 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 6. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าและประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูปโดยดำเนินการ ดังนี้ 6.1 ชุดที่1 แบบสอบถามสำหรับ ครู กศน. ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ประเภทแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อประเมินข้อมูลด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประเภทมาตรประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยประชากร (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร (σ) โดยมีเกณฑ์ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ของ เบสท์ (Best 1981: 179-187) ดังนี้ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับมาก 2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับน้อย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยองปีงบประมาณ 2565 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open – end Form) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยนำเสนอในรูปการบรรยายเป็นความเรียง 6.2 ชุดที่2 แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา กศน. ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ประเภทแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของนักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และเรียนโดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ประเภทมาตรประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้ การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีเกณฑ์ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best 1981: 179-187) ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง พึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง พึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง พึงพอใจในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง พึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 เป็น แบบสอบถามปลายเปิด (Open – end Form) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยนำเสนอในรูปการ บรรยายเป็นความเรียง


41 7. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติ ดังนี้ 7.1 สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยประชากร (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร (σ) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 7.2 หาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรง (IOC) และความเที่ยง (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค (Cronbach) 7.3 ทดสอบสมมติฐาน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


42 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเริ่มจากการกำหนดสัญลักษณ์ ที่ใช้ใน การวิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์ตามลำดับ ดังนี้ สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการเสนอผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้กำหนดความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ (µ) แทน ค่าเฉลี่ยประชากร (σ) แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร ( ) แทน ค่าเฉลี่ย (S.D.) แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน N แทน จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย เรื่อง การประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ผู้วิจัยขอนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามชุดที่1 (เก็บข้อมูลวันที่ 20 ตุลาคม 2565) แบบสอบถามสำหรับครู กศน. จำแนกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามตามเครื่องมือ ตารางที่ 4.1 จำนวนและร้อยละข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (N=13) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน(คน) ร้อยละ 1. บทบาทหน้าที่ของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้าราชการครู 2 15.38 ครู กศน.ตำบล 6 46.15 ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน 1 7.69 ครูศูนย์การเรียนชุมชน 3 23.08 ครู ปวช. 1 7.69 2. เพศ ชาย 0 0 หญิง 13 100.00 3. ระดับการศึกษา ปริญญาตรี 11 76.92 สูงกว่าปริญญาตรี 3 23.08


43 ตารางที่ 4.1 (ต่อ) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน(คน) ร้อยละ 4. อายุ 21 – 30 ปี 6 46.15 31 – 40 ปี 4 30.77 41 – 50 ปี 2 15.38 51 ปี ขึ้นไป 1 7.69 จากตารางที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น ครู กศน.ตำบล คิดเป็นร้อยละ 100.00 เป็นเพศหญิง มี การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 76.92 และมีอายุ ระหว่าง 31 – 40 ปีคิดเป็นร้อยละ 30.77 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นการประเมินโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565ของครูกศน. ที่มีต่อโครงการ ประกอบด้วยด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2.1 ด้านบริบท (Context) ตารางที่ 4.2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความเห็นของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามต่อการดำเนินงาน โครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย ใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านบริบท (Context) (N=12) รายการ μ σ ระดับ 1) แผนการศึกษาชาติและนโยบาย 1. สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 4.46 0.66 มาก 2. สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4.54 0.52 มากที่สุด 3. สอดคล้องกับการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยี ดิจิทัลเพื่อการศึกษา 4.62 0.51 มากที่สุด 4. สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ “คนไทย ทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข” 4.38 0.65 มาก เฉลี่ยรวม 4.50 0.50 มากที่สุด 2) นโยบายของสถานศึกษา 5. สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 4.62 0.65 มากที่สุด 6. สอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4.77 0.60 มากที่สุด


44 ตารางที่ 4.2 (ต่อ) รายการ μ σ ระดับ 7. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และ เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัด การศึกษา 4.69 0.48 มากที่สุด เฉลี่ยรวม 4.69 0.50 มากที่สุด 3) วัตถุประสงค์ของโครงการ 8. มีสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 4.69 0.63 มากที่สุด 9. มีความสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาด้านการศึกษา ในปัจจุบัน 4.46 0.66 มาก 10. สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา 4.69 0.63 มากที่สุด 11. สอดคล้องกับสภาพความต้องการของครูและนักศึกษา 4.31 0.63 มาก 12. มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ 4.54 0.52 มากที่สุด 13. มีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 4.62 0.51 มากที่สุด 14. มีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน 4.46 0.66 มาก เฉลี่ยรวม 4.54 0.50 มากที่สุด 4) เป้าหมายของโครงการ 15. ส่งผลให้ครูได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในการ สร้างห้องเรียนออนไลน์ 4.85 0.38 มากที่สุด 16. ส่งผลให้ครูนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้ 4.77 0.44 มากที่สุด 17. กิจกรรมและการดำเนินงานมีความชัดเจนและ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4.77 0.44 มากที่สุด 18. การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จ มีความ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 4.77 0.44 มากที่สุด 19. ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์ สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการ ดำเนินการของโครงการ 4.54 0.52 มากที่สุด เฉลี่ยรวม 4.74 0.36 มากที่สุด เฉลี่ยรวมทั้งหมด 4.63 0.12 มากที่สุด จากตารางที่ 4.2 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูกศน.อำเภอปลวกแดง มีความเห็นต่อการดำเนินงาน โครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านบริบท (Context) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ( =4.63, σ.=0.12) เมื่อพิจารณาราย ข้อย่อยพบว่า แผนการศึกษาชาติและนโยบายพบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50, σ=0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าสอดคล้องกับการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.51) รองลงมาสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและ


45 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ.=0.52) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข” มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.38, σ =0.65) รายการ μ σ ระดับ 1) บุคลากร 1. ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนให้แก่บุคลากรในหน่วยงานได้เรียนรู้ 4.85 0.38 มากที่สุด 2. ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถและวิสัยทัศน์ในการพัฒนา โครงการ 4.85 0.38 มากที่สุด 3. ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ สามารถตอบคำถามหรือข้อ สงสัยเกี่ยวกับโครงการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน 4.62 0.51 มากที่สุด 4. ครูมีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน 4.31 0.75 มาก 5. ครูมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงาน ของโครงการ 4.54 0.66 มากที่สุด 6. นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการใช้อินเทอร์เน็ต 3.92 0.64 มาก 7. นักศึกษามีความพร้อมในการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ 3.92 0.64 มาก เฉลี่ยรวม 4.43 0.43 มาก 2) งบประมาณ 8. งบประมาณที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการมีความเหมาะสเพียงพอ 4.08 0.49 มาก 9. มีการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการ 4.38 0.65 มาก 10. มีการจัดทำเอกสารสรุปรายการใช้จ่ายงบประมาณของ โครงการอย่างชัดเจน 4.38 0.65 มาก 11. การดำเนินโครงการมีความเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับ จัดสรร 4.31 0.63 มาก เฉลี่ยรวม 4.29 0.56 มาก 3) วัสดุอุปกรณ์ 12. สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการ ดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสม 4.08 0.64 มาก 13. สื่อ วัสดุและครุภัณฑ์เพียงพอในการดำเนินโครงการ 4.15 0.69 มาก เฉลี่ยรวม 4.12 0.65 มาก 4) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 14. ความสามารถในการบริหารจัดการโครงการของผู้บริหาร 4.54 0.52 มากที่สุด 15. การให้ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบและ ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ 4.46 0.52 มาก 16. บุคลากรในสถานศึกษามีความมุ่งมั่น ทุ่มเท อุทิศตนในการร่วมกิจกรรม 4.54 0.52 มากที่สุด 17. การกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเหมาะสม 4.38 0.51 มาก 18. ความพร้อมในการอำนวยความสะดวกเมื่อเกิดปัญหาในการจัดกิจกรรม 4.31 0.48 มาก 19. สาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการมีความชัดเจนสามารถ ปฏิบัติได้ 4.46 0.52 มาก เฉลี่ยรวม 4.45 0.40 มาก เฉลี่ยรวมทั้งหมด 4.32 0.15 มาก


46 นโยบายของสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, σ =0.50) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.77, σ=0.60) รองลงมาส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, σ=0.63) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.65) วัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.50) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565และสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษามากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, σ=0.63) รองลงมามีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.51) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือสอดคล้องกับสภาพความต้องการของครูและนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.31, σ=0.63) เป้าหมายของโครงการพบว่า โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.74, σ=0.36) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่งผลให้ครูได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในการสร้างห้องเรียนออนไลน์มากที่สุด มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.85, σ=0.38) รองลงมาส่งผลให้ครูนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ได้กิจกรรมและการดำเนินงานมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การประเมินผลโครงการ และตัวชี้วัดความสำเร็จ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.77, σ=0.44) และผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการ ดำเนินการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.52) 2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตารางที่ 4.3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความเห็นของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามต่อการ ดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (N=13) จากตารางที่ 4.3 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูกศน.อำเภอปลวกแดง มีความเห็นต่อการดำเนินงาน โครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยรวมระดับมาก ( =4.32, σ=0.15) เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า บุคลากร พบว่าโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.43 , σ= 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูกศน.อำเภอปลวกแดง มีความเห็นว่าผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนให้แก่บุคลากรใน หน่วยงานได้เรียนรู้และผู้บริหารมีความรู้ความสามารถและวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโครงการมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( =4.85, σ=0.38) รองลงมาผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ สามารถตอบคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับ โครงการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.62, σ=0.51) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือนักศึกษามีความ พร้อมในการใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการใช้อินเทอร์เน็ต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.92, σ=0.64) งบประมาณ พบว่าโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.29 , σ=0.56) เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อพบว่า มีการจัดทำเอกสารสรุปรายการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการอย่างชัดเจนและมีการวางแผนการใช้จ่าย งบประมาณตามโครงการมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.38, σ=0.65) รองลงมาการดำเนินโครงการมี ความเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.31, σ=0.63) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ งบประมาณที่ใช้สำหรับดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.08, σ=0.49)


47 วัสดุอุปกรณ์ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.12, σ=0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สื่อ วัสดุและครุภัณฑ์เพียงพอในการดำเนินโครงการมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.15, σ=0.69) รองลงมา สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( =4.08, σ=0.64) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.45, σ=0.40) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อย่อยพบว่าความสามารถในการบริหารจัดการโครงการของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษามีความมุ่งมั่น ทุ่มเท อุทิศตนในการร่วมกิจกรรมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.52) รองลงมาการให้ ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ และสาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการมีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.52) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือความพร้อมในการอำนวยความสะดวกเมื่อเกิดปัญหาในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( =4.31, σ=0.48) 2.3 ด้านกระบวนการ (Process) ตารางที่ 4.4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความเห็นของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามต่อการดำเนินงาน โครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดย ใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านกระบวนการ (Process) (N=13) ตารางที่ 4.4 รายการ μ σ ระดับ 1) การวางแผน 1. มีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน 4.54 0.52 มากที่สุด 2. มีการมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน 4.54 0.52 มากที่สุด 3. มีการร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน 4.46 0.52 มาก 4. มีการตรวจสอบการวางแผน 4.46 0.52 มาก 5. การกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม ต่างๆ ในโครงการมีความชัดเจน 4.38 0.51 มาก เฉลี่ย 4.48 0.45 มาก 2) การปฏิบัติ 2.1) การอบรมพัฒนาครู 6. การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) 4.54 0.52 มากที่สุด 7. การบริหารจัดการและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ออนไลน์ 4.62 0.51 มากที่สุด 8. ทักษะด้านดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.46 0.52 มาก 9. การปฏิบัติการจัดทำแผนการสอน หลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4.62 0.51 มากที่สุด 10. การปฏิบัติการจัดทำสื่อวิดีทัศน์ 4.62 0.51 มากที่สุด เฉลี่ย 4.57 0.46 มากที่สุด


48 2.2) การสร้างสื่อ μ σ ระดับ 11. การบันทึกข้อมูลบนคลาวด์ ด้วย Google Drive 4.38 0.65 มาก 12. การติดต่อสื่อสารผ่านทาง Gmail 4.31 0.63 มา ก 13. การจัดทำแบบทดสอบด้วย Google docs 4.54 0.52 มากที่สุด 14. การจัดทำแบบทดสอบด้วย Google Form 4.62 0.51 มากที่สุด 15. สร้างเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ทาง Google Sites 4.62 0.51 มากที่สุด 16. การบริหารชั้นเรียนด้วยการใช้ Google Classroom 4.69 0.48 มากที่สุ ด เฉลี่ย 4.53 0.49 มากที่สุด 2.3) การจัดทำแผนการสอน 17. จัดทำแผนการสอนโดยใช้สื่อในระบบห้องเรียน ออนไลน์ 4.69 0.48 มากที่สุด ตารางที่ 4. 4 (ต่อ) รายการ μ σ ระดับ 18. แผนการจัดการเรียนรู้กระตุ้นความสนใจได้ดี 4.62 0.51 มากที่สุด 19. เนื้อหาตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 4.62 0.51 มากที่สุด 20. กิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะการใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ให้กับนักศึกษา 4.54 0.52 มากที่สุด 21. สื่อการสอนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา 4.54 0.5 2 มากที่สุด เฉลี่ ย 4.60 0.48 มากที่สุด 2.4) การสร้างระบบห้องเรียนออนไลน์ 22. การใช้สื่อในการสร้างชั้นเรียน 4.38 0.51 มาก 23. สามารถเข้าถึงเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างรวดเร็ว 4.54 0.52 มากที่สุด 24. การเชื่อมโยงเมนูในหน่วยการเรียนรู้เข้าถึงได้ง่าย ไม่ สับสน 4.38 0.51 มาก 25. มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล 4.31 0.48 มาก 26. รูปแบบของระบบห้องเรียนออนไลน์กระตุ้นความ สนใจได้ดี 4.31 0.63 มาก 27. เนื้อหาของแต่ละบทเรียนครบถ้วนสมบูรณ์กะทัดรัด ชัดเจน 4.46 0.52 มา ก 28. เนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ด้วย ตนเอง 4.31 0.63 มาก 29. ภาษาที่ใช้ในเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน 4.23 0.44 มาก เฉลี่ย 4.37 0.43 มาก


49 2.5) การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียน ออนไลน์ μ σ ระดับ 30. ครูสามารถจัดทำสื่อการสอนด้วยระบบห้องเรียน ออนไลน์ได้ 4.54 0.66 มากที่สุด 31. ครูสามารถจัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์ได้ 4.69 0.48 มากที่สุด 32. ครูสามารถใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ในการจัดการ เรียนการสอนได้ 4.69 0.48 มากที่สุด 33. แบบทดสอบสอดคล้องและตรงประเด็นกับเนื้อหา 4.46 0.66 มาก 34. เนื้อหาและแบบทดสอบกระตุ้นให้เรียนรู้ด้วยตนเอง 4.54 0.52 มากที่สุด เฉลี่ย 4.58 0.51 มากที่สุด 3) การตรวจสอบประเมินผล 35. การกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการ ประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม 4.46 0.51 มาก 36. มีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินโครงการอย่าง เหมาะสมและต่อเนื่อง 4.38 0.51 มาก 37. วิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริงสามารถทำ ได้ตามแผน 4.31 0.48 มาก 38. มีการรายงานผลการนิเทศติดตามผลการดำเนิน โครงการ 4.23 0.44 มาก เฉลี่ย 4.35 0.43 มาก 4) การปรับปรุงและการพัฒนา 39. การวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมเพื่อหาแนวทางพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 4.23 0.44 มาก 40. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ ห้องเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่อง 4.46 0.52 มาก เฉลี่ย 4.35 0.43 มาก เฉลี่ยรวม 4.48 0.11 มาก จากตารางที่ 4.4 พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและครูกศน.อำเภอปลวกแดง มีความเห็นต่อการดำเนินงาน โครงการจัดการศึกษาหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2565 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยรวมระดับมาก ( =4.48, σ=0.11) เมื่อ พิจารณารายข้อพบว่า การวางแผน พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.48, σ=0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน มีการมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( =4.54, σ=0.52) รองลงมามีการร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน มีการตรวจสอบการวางแผน มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.52) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่การกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก( =4.38, σ=0.51) การปฏิบัติการอบรมพัฒนาครู พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.57, σ=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อบรมการบริหารจัดการและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์อบรมปฏิบัติการ


50 จัดทำแผนการสอน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบ ห้องเรียนออนไลน์และอบรมปฏิบัติการจัดทำสื่อวิดีทัศน์ ด้วยโปรแกรม Wondershare Filmora มากที่สุด มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.51) รองลงมาอบรมการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.52) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่อบรมการบริหารจัดการและออกแบบกระบวนการ เรียนรู้ออนไลน์อบรมปฏิบัติการจัดทำแผนการสอน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.52) การปฏิบัติการสร้างสื่อ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, σ=0.49) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การบริหารชั้นเรียนด้วยการใช้ Google Classroom มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( =4.69, σ=0.48) รองลงมาการจัดทำแบบทดสอบด้วย Google Form และสร้างเว็บไซต์บทเรียนออนไลน์ ทาง Google Sites มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.51) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่การติดต่อสื่อสารผ่าน ทาง Gmail มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.31, σ=0.63) การปฏิบัติการจัดทำแผนการสอนโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, σ=0.48) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า จัดทำแผนการสอนโดยใช้สื่อในระบบห้องเรียนออนไลน์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( =4.69, σ=0.48) รองลงมาแผนการจัดการเรียนรู้กระตุ้นความสนใจได้ดีและเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์การ เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, σ=0.51) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมทักษะ การใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ให้กับนักศึกษาและสื่อการสอนมีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ในรายวิชา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.52) การปฏิบัติการสร้างระบบห้องเรียนออนไลน์ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.37, σ=0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าสามารถเข้าถึงเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.52) รองลงมาเนื้อหาของแต่ละบทเรียนครบถ้วนสมบูรณ์กะทัดรัด ชัดเจน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.52) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ภาษาที่ใช้ในเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก( =4.23, σ=0.44) การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.58, σ=0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าครูสามารถจัดทำระบบห้องเรียนออนไลน์ได้ ครูสามารถ ใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนได้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, σ=0.48) รองลงมาครูสามารถจัดทำสื่อการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์ได้และเนื้อหาและแบบทดสอบกระตุ้นให้เรียนรู้ ด้วยตนเองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, σ=0.66) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่แบบทดสอบสอดคล้องและตรง ประเด็นกับเนื้อหามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.66) การตรวจสอบประเมินผล พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.35, σ=0.43) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสมมาก ที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.51) รองลงมามีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินโครงการอย่าง เหมาะสมและต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.38, σ=0.51) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่มีการรายงานผลการ นิเทศติดตามผลการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.23, σ=0.44) การปรับปรุงและการพัฒนาพบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.48, σ=0.11) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบห้องเรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่องมากที่สุด มี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, σ=0.52) รองลงมาการวิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมเพื่อหาแนวทางพัฒนาปรับปรุง แก้ไขในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.23, σ=0.44)


Click to View FlipBook Version