The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามโบราณราชประเพณี อันสะท้อนถึงความมั่งคั่งทางภูมิปัญญาด้านศิลปะทุกแขนง ซึ่งเกิดจากการสืบสานสั่งสม ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี จนงานทุกอย่างเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ และสมพระเกียรติยศสูงสุด พร้อมอัญเชิญพระเสด็จสู่สวรรคาลัย รวมถึงคติที่มา ตลอดจนเรื่องราวของผู้คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมงานสำคัญของแผ่นดิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Siriwan Siripirom, 2019-11-28 23:43:33

หัวใจของแผ่นดิน

นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามโบราณราชประเพณี อันสะท้อนถึงความมั่งคั่งทางภูมิปัญญาด้านศิลปะทุกแขนง ซึ่งเกิดจากการสืบสานสั่งสม ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี จนงานทุกอย่างเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ และสมพระเกียรติยศสูงสุด พร้อมอัญเชิญพระเสด็จสู่สวรรคาลัย รวมถึงคติที่มา ตลอดจนเรื่องราวของผู้คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมงานสำคัญของแผ่นดิน

จ. สุพรรณบรุ ,ี จ. ล�าปาง และ จ. สโุ ขทัย
หลังรับพุทธศาสนา “หินต้ัง” ที่เคยใช้ในการบูชาผีหรืออ�านาจ

เหนือธรรมชาติ กลายมาเป็น “ใบเสมาหินตั้ง” ปักก�าหนดเขต
พระอุโบสถ หรอื สถานทีท่ า� พิธกี รรมในพระพทุ ธศาสนา
สง่ ขวญั คืนแดนฟำ้

เช่ือกันแต่บรรพกาลว่าคนตายเพราะขวัญหายจากร่าง หาทาง
กลับไม่ถูก ต้องท�าพิธีเรียกขวัญโดยร้องร�าท�าเพลงให้ครึกคร้ืนเสียงดัง
ท่ีสุด เชื่อว่าขวัญจะกลับคืนร่างตามเสียงที่ได้ยิน คร้ันนานวันขวัญหาย
ถาวรจงึ ตอ้ งเชญิ ขวญั ไปเมอื งฟา้ เพอ่ื ไปอยใู่ นดนิ แดนเดยี วกบั บรรพบรุ ษุ
ซ่ึงอาจอยู่อกี ฝง่ั หนึ่งของห้วงน�า้ หรือบนยอดเขาสงู

บรรพบรุ ษุ ณ ดนิ แดนแห่งน้ันจะคอยคมุ้ ครอง ตราบทีล่ กู หลานยัง
รกั ษาความสัมพนั ธโ์ ดยตดิ ตอ่ กนั ผา่ นพธิ กี รรม หน่งึ ในนนั้ คือการท�าศพ

บางกลุ่มชาติพันธุ์เชื่อว่าขวัญคนตายต้องกลับถิ่นเดิมทางน�้า จึง
เอาศพใส่ภาชนะคล้ายเรือไปไว้ในแหล่งศักด์ิสิทธิ์ เช่น ถ้�า หรือเพิงผา
บางกลมุ่ ใชว้ ธิ สี ลกั รปู เรอื ไวบ้ นภาชนะสา� รดิ ใสศ่ พ ตวั อยา่ งโลงไมร้ ปู รา่ ง
คล้ายเรอื ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ ท่ีพบในถ้�า จ. แม่ฮ่องสอน คอื หลกั ฐาน
ทางโบราณคดีแสดงถงึ ความเชอื่ เร่ือง “สง่ ขวัญขน้ึ เมืองฟ้า ไปทางน�้า”

ประเพณีการท�าศพสมัยโบราณ พบโดยทั่วไปมีอยู่ ๒ แบบคือ
ฝงั ทง้ั โครงโดยใสห่ บี หรอื โลง กบั ปลอ่ ยใหเ้ นอ้ื หนงั หลดุ ลยุ่ แลว้ นา� กระดกู
มาใส่ไห เรยี กพธิ ีศพครั้งที ่ ๒

“การเรียกขวัญ” โดยการร้องร�าท�าเพลงสนุกสนาน เป็น
ความเช่ือดั้งเดิมของผู้คนท่ีนับถือศาสนาผีเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
เชอื่ กนั ว่าเคร่อื งประโคมงานศพด้วย ป ่ี ฆอ้ ง กลอง เวลานน้ั คอื
ตน้ แบบปพ่ี าทย์งานศพในปจั จบุ นั

หัวใจของแผน่ ดิน 51

วาดา ๑๑ ช้นั และการอัญเชญิ พระศพลงจากวาดา
เมือ่ “ขวัญ” หำย กลำยเปน็ “วญิ ญำณ”
สู่คติเปลีย่ นในพิธีกรรมท�ำศพ

ภายหลังรับพุทธศาสนาความเช่ือเรื่อง “ขวัญ” เปลี่ยนไปเป็นเร่ือง
ของ “วญิ ญาณ” ทเ่ี กดิ มาเพอื่ ใชก้ รรม เมอ่ื หมดกรรมจงึ ไปเกดิ ใหม ่ พรอ้ มไป
กบั คตกิ ารทา� ศพทไี่ ดร้ บั อทิ ธพิ ลจากพทุ ธและพราหมณ ์ แตย่ งั คงม ี “เรอื นาค”
เพอื่ เปน็ พาหนะสง่ วญิ ญาณกลบั ไปสโู่ ลกเดมิ คอื บาดาล ความเชอื่ นย้ี งั คงสบื
เนอ่ื งตอ่ มาในกลุ่มคนบางกลุม่ และชนชั้นสูง

ในงานพระบรมศพพระเจ้าแผน่ ดิน สมยั กรงุ ศรอี ยุธยา มีการอญั เชญิ
พระอัฐิและพระสรีรางคารไปท�าพิธีทางน้�า ต่อมาเม่ือเกิดประเพณีออก
พระเมรุมาศ เรือนาคจึงเปล่ียนรูปเป็น “ราชรถ” โดยคงสญั ลกั ษณ์เรือนาค
ศักดิ์สทิ ธ ิ์ และคตคิ ืนสสู่ วรรคใ์ นรปู การจา� ลองเขาพระสเุ มรุ

ความเชอ่ื ดง้ั เดมิ ของผคู้ นสว่ นใหญใ่ นเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตเ้ ลอื นไป
สว่ นหนึ่งเพราะไรร้ ะบบกษตั ริย ์ เหลือเพยี งไมก่ ี่แหง่ ทีย่ งั สืบสานงานพระศพ
ในราชวงศ์ช้ันสูง เช่น กัมพูชา ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

52 หัวใจของแผน่ ดนิ

พระบาทสมเดจ็ พระนโรดม สหี น ุ มกี ารสรา้ งพระเมรมุ าศทเี่ รยี กพระเมรทุ อง
เหมือนกับไทย และมีพระราชพิธีคล้ายๆ กันหลายอย่าง เช่น ขั้นตอน
การเก็บพระบรมอัฐิ มีธรรมเนียมแต่โบราณ คือ แจงพระรูป ความ
หมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง
“วิธีเอาเถ้าถ่าน และกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมาเรียงล�าดับ
เป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทิศตะวันออก”
โดยกมั พูชาเรยี ก “แปรรูป”
หากแต่รูปรอยความเชื่อนี้ยังเห็นชัดเจนในพิธีกรรมศพของชาว
บาหลี ต้งั แต่สามญั ชนจนถงึ ชนช้นั สงู ยังคงใหค้ วามสา� คญั กบั พธิ กี รรมศพ
เป็นท่ีสุด โดยเฉพาะพิธีศพคร้ังที่ ๒
รูปแบบพิธีกรรมตามความเช่ือเดิมของชาวบาหลีแทบไม่เปล่ียน
โดยเฉพาะพิธีกรรมศพในราชวงศ์ชั้นสูง มีหลายอย่างคล้ายการท�าศพ
เจา้ นายของไทย เชน่ ในงานพระพธิ ศี พ รานอี ดิ า เดวา อากงุ อสิ ตร ี ปตุ รา
นอกจากเปน็ รานขี องอดตี กษตั รยิ แ์ หง่ กลงุ กงุ ยงั สบื สายจากราชวงศช์ น้ั สงู
เ มื่ อ สิ้ น พ ร ะ ช น ม ์
จึงได้รับการถวาย หนุ่ โคสีดา� สา� หรับบรรจุพระศพ

พระเกียรติยศสูง
สุด โดยการสร้าง
“วาดา” ๑๑ ชน้ั ใช้
อั ญ เ ชิ ญ พ ร ะ ศ พ
โดยวาดาน้ีมีหน้าท่ี
เป็นท้ังราชรถและ
พระเมรรุ วมกนั สรา้ ง
ดว้ ยโครงสรา้ งไมไ้ ผ่
ต่อกันข้ึนไปเป็น
ยอดสูง ต้ังอยู่บน
แครข่ นาดใหญ่

หวั ใจของแผ่นดนิ 53

ในการยกพระศพขนึ้ ไปบรรจบุ นยอด “วาดา” ตอ้ งสรา้ งทาง
เอยี งลาดชว่ งยาวดว้ ยไมไ้ ผท่ เี่ รยี กวา่ “บาเด” แลว้ ใชค้ นหลายคน
ชว่ ยกนั ค่อยๆ หามพระศพขึ้นไป

“วาดา” สรา้ งตามความเชอื่ เรอื่ งจกั รวาล ฐานเปน็ เตา่ รอ้ ยรดั
ดว้ ยนาควาสุกรี และอนนั ตนาคราช ดา้ นบนมหี นา้ กาลขนาดใหญ ่
สยายปกี แทนผืนป่าสูงตระหงา่ นและขนุ เขา เหนอื ข้ึนไปประกอบ
ดว้ ยหลงั คาหลายชนั้ สอ่ื ถงึ แดนสวรรคใ์ นชน้ั ตา่ งๆ ความสงู ๒๘ เมตร
น�้าหนัก ๖ ตนั ใช้คนสลับกนั หามคร้ังละ ๔๕๐ คน

ในการถวายเพลงิ พระศพจะอัญเชิญพระศพไวใ้ นห่นุ โคสีดา�
โดยหุ่นโคจะถูกเผาพร้อมไปกับพระศพ เช่ือกันว่าจะพาดวงพระ
วญิ ญาณสู่สวรรค ์ จากนัน้ จงึ เกบ็ พระอฐั ิ และน�าพระอังคารไปลอย
ทะเลท่ีหาดจุมไป คงความหมายของการส่งดวงวิญญาณกลับสู่
ดนิ แดนบรรพบุรษุ ทีจ่ ากมา
54 หัวใจของแผ่นดนิ

รปู รอยเรอื นำคและเขำพระสุเมรใุ นวนั น้ี
ยุคแรกท่ีมีการออกพระเมรุมาศ สมัยกรุงศรีอยุธยา

สนั นษิ ฐานวา่ เรม่ิ ในรชั สมยั พระเจา้ ปราสาททอง (ราว พ.ศ. ๒๑๘๑)
ซ่ึงรับเอาประเพณีเขมรมาหลายอย่าง แต่แทนท่ีจะสร้างด้วยศิลา
ขนาดใหญ่ เช่น นครวัด กลับท�าเป็นเคร่ืองไม้เน้นความอลังการ
เวลาน้ันราษฎรทวั่ ไปยังคงเผาศพบนเชิงตะกอนแบบง่ายๆ

สมยั ตน้ รตั นโกสนิ ทร ์ สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาสรุ สงิ หนาท
กรมพระราชวงั บวรสถานมงคลในรชั กาลที ่ ๑ มพี ระราชด�ารสิ รา้ ง
เมรุปูนถาวรท่ีวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย ข้ึนเป็นคร้ังแรก
แลว้ มาสรา้ งถวายวงั หลวงทว่ี ดั อรณุ ราชวรารามอกี แหง่ หนงึ่ เพอื่ เปน็
ท่ีเผาศพผู้มีบรรดาศักด์ิช้ันรองจากท่ีเคยท�าที่เมรุกลางเมือง
แตเ่ มอ่ื ถงึ คราวใชง้ านจรงิ เจา้ ของงานกลบั ปลกู เมรผุ า้ ขาวขนึ้ ตา่ งหาก
ไม่ยอมใช้เมรุปูน เนื่องจากเห็นว่าเป็นท่ีเผาศพสาธารณะ
มาต้ังแต่แรก จงึ ไมส่ มควรทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ
เขา้ ไปพระราชทานเพลงิ ตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั
รชั กาลท ่ี ๓ โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งเมรปุ นู อกี แหง่ ไวท้ ว่ี ดั สระเกศ และใช้
เผาศพเร่ือยมา จนกระทงั่ มกี ารสร้างเมรุปนู ท่ีวัดเทพศิรินทราวาส
จงึ เปลย่ี นมาใชง้ านทีน่ ี ่ สบื เนื่องมาจนถงึ ปัจจุบนั

ส�าหรบั คนท่วั ไปท่มี ีฐานะ และตอ้ งการทา� ศพคล้ายเจา้ นาย
จะใช้วิธีสร้าง “เมรุลอย” ซึง่ ถอดได้ในการเผาศพ ส่วนชาวบ้าน
ท่มี ฐี านะรองลงมา ยังคงเผาศพบนเชิงตะกอน ประดับด้วยเคร่ือง
แกะสลักเป็นลวดลาย เช่น แทงหยวก คร้ันหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐
พิธีกรรมศักด์ิสิทธ์ิเร่ิมคลายตัวลง ชนชั้นกลางมีบทบาทสูงขึ้น
ต้องการเผาศพบนเมรุเช่นเจ้านาย จึงเลียนแบบสร้างเมรุไว้ตาม
วัดตา่ งๆ แมแ้ ต่รถเชิญศพก็ยงั ตกแต่งเปน็ รปู นาค ซงึ่ เป็นรูปรอย
ความเช่ือเนอ่ื งมาจากเรอื นาคศักด์ิสิทธิ์

หัวใจของแผ่นดนิ 55

ทกุ วนั นี้การเผาศพบนเมรุ คอื ส่ิงทแี่ สดงฐานะและเชดิ ชูคณุ
งามความดขี องผทู้ ่ีลว่ งลบั และยงั คงสัญลักษณ ์ “เขาพระสุเมร”ุ
อันหมายถึง ภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์
ช้ันดาวดงึ ส์ ทปี่ ระทับของพระอินทร์ เปน็ ทีม่ าของการสง่ วญิ ญาณ
สสู่ วรรคใ์ นพธิ ีเผาศพ
56 หวั ใจของแผน่ ดิน


Click to View FlipBook Version