The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by beebird1982, 2024-01-31 11:50:55

รายงานประจำปี 2566

รายงานประจำปี 2566

รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 1 รายงานประจำปี 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สมุทรสงคราม กรมส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 2 -+ ดาวน์โหลดเล่มรายงานประจำปี 2566 ได้จาก QR CODE นี้ ภาพ QR CODE


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 3 สารบัญ สารผู้บริหารหน่วยงาน 4 ทำเนียบบุคลากร 5 บทสรุปผู้บริหาร 6 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ 11 1.2 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน 12 1.3 แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 13 1.4 ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 15 ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ 2.1 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 21 2.2 ผลการดำเนินงาน/โครงการนอกแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 62 2.3 ผลการดำเนินงาน/โครงการตามนโยบายสำคัญ และการบูรณาการในระดับพื้นที่ 64 ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 3.1 กิจกรรมของหน่วยงาน 73 3.2 กิจกรรมที่หน่วยงานดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ 78 3.4 รางวัลที่หน่วยงานได้รับจากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ 88 ส่วนที่ 4 รายงานทางการเงิน 4.1 งบแสดงฐานะการเงิน 90 4.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน 91 4.3 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 92 ส่วนที่ 5 ภาคผนวกและ/หรือบรรณานุกรม 95


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 4 สารสหกรณ์จังหวัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มีภารกิจหลักในการเผยแพร่การสหกรณ์แก่บุคคล ทั่วไปตลอดจน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการด้านงานส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สามารถเข้าไปส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยเน้นหนัก ภารกิจด้านการสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งอย่างเต็มรูปแบบประกอบด้วย ระบบส่งเสริมสหกรณ์ การสร้าง เครือข่ายสหกรณ์ให้เข้มแข็ง การส่งเสริมศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ การผลักดันมาตรฐานสหกรณ์ สร้างความ เชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ รวมทั้งผลักดันให้สหกรณ์การเกษตรเป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ เพื่อทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมทั้ง มีนโยบายของรัฐบาลในการดูแลและส่งเสริมความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่สมาชิกสหกรณ์และ เกษตรกรทั่วไป ซึ่งเป็นการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยใช้ หลักการตลาดนำการผลิตเพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ปฏิบัติงาน ตามภารกิจ มุ่งมั่นในการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม สหกรณ์จำนวน 26 แห่ง (อยู่ระหว่างชำระบัญชี 2 แห่ง) กลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 กลุ่ม (อยู่ระหว่างชำระบัญชี 1 แห่ง) กลุ่มอาชีพ ในสังกัดสหกรณ์ จำนวน 5 แห่ง ให้มีความเข้มแข็งและให้บริการแก่สมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ได้ขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม และงานตามนโยบายของภาครัฐ อาทิเช่น งานส่งเสริม สหกรณ์ในพื้นที่แปลงใหญ่ ศูนย์การเรียนรู้การสหกรณ์ การยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์ การส่งเสริม ธรร มาภิบาลในสหกรณ์ การเสริมสร้างความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรเป็นองค์การระดับอำเภอ ซึ่ง โครงการต่างๆ เหล่านี้จะผลักดันให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความพร้อมในการรองรับนโยบายภาครัฐ มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกสหกรณ์ เกษตรกรและ ชุมชน ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร บุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สมุทรสงครามทุกท่าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนให้การปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ให้สำเร็จตามแผนงานและบรรลุตามวัตถุประสงค์ (นางทวีสุข เถลิงศักดาเดช) สหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มกราคม 2567


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 5


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 6 บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ( Annual Report) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามแผนงาน/ โครงการ ตามบทบาทภารกิจ และตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายใต้การดำเนินงานตามแผน ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยุทธศาสตร์จังหวัด และยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน รวมทั้ง รายงานด้านการเงิน ของหน่วยงาน และรองรับการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการประเมินผลความคุ้มค่าในการ ปฏิบัติภารกิจของกรมในระดับหน่วยงานตามยุทธศาสตร์ รายละเอียดผลการปฏิบัติงานดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมหน่วยงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มีโครงสร้างองค์กรประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหาร การจัดการสหกรณ์ กลุ่มตรวจการสหกรณ์ และกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 มีอัตรากำลังในการปฏิบัติงานแยกเป็น ข้าราชการ จำนวน 17 คน พนักงานราชการ 6 คน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รับงบประมาณจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ ทั้งสิ้น 3.87 ล้านบาท มีสหกรณ์ที่มีสถานะในการดำเนินกิจการ จำนวน 23 แห่ง และอยู่ ระหว่างชำระบัญชี จำนวน 2 แห่ง โดยมีปริมาณธุรกิจในภาพรวม จำนวน 5.125.17 ล้านบาท และผลการ ดำเนินงานในภาพรวม มีกำไรสุทธิ 196.10 ล้านบาท ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ทั้งหมดจำนวน 23 แห่ง สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 10 แห่ง สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 13 แห่ง แบ่งเป็น สหกรณ์ชั้น 1 จำนวน 9 แห่ง สหกรณ์ชั้น 2 จำนวน 7 แห่ง และสหกรณ์ชั้น 3 จำนวน 7 แห่งกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะในการ ดำเนินกิจการ จำนวน 1 แห่ง โดยมีปริมาณธุรกิจในภาพรวม จำนวน 1.11 ล้านบาท และผลการดำเนินงาน ในภาพรวมมีกำไรสุทธิ 0.05 ล้านบาท ผลการจัดชั้นกลุ่มอยู่ในระดับชั้น 2 ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานที่ได้รับใน ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 และสามารถสรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ดังนี้ ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้รับการจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 3.87 ล้านบาท แยกเป็น งบบุคลากร 1.70 ล้านบาท งบดำเนินงาน 1.99 ล้านบาท งบลงทุน 0.17 ล้านบาท ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ 5 แผนงาน 1 ผลผลิต 8 กิจกรรมหลัก ดังนี้ แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบประมาณได้ที่รับจำนวน 2.24 ล้านบาท ใช้สำหรับเป็น ค่าตอบแทนพนักงานราชการ จำนวน 6 ราย ค่าเช่าบ้าน และเงินประกันสังคม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 7 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1.20 ล้านบาท กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ ผลการดำเนินงาน สหกรณ์จำนวน 24 แห่ง มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 30,628 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วม ในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 22,728คน หรือคิดเป็นร้อยละ 74.20 มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ1.58 สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 23แห่ง สหกรณ์ผ่านมาตรฐานกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 56.52 สหกรณ์สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์และสิ่งก่อสร้าง ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 100 กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 148 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วม ในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 74.32 มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 62.24 กลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 แผนงานยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณที่ได้รับจำนวน 12,300 บาท กิจกรรมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯจำนวน 4 ครั้ง จำนวนงบประมาณ 9,100 บาท ผลการดำเนินงาน เข้าร่วม กิจกรรมคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ฯ จำนวน 4 ครั้ง และกิจกรรมขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง จำนวนงบประมาณ 3,200 บาท ผลการดำเนินงาน แนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคัดเลือก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรที่ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์และสามารถเป็นแบบอย่างได้ตาม แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์ จำนวน 1 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ครูสมุทรสงคราม จำกัด แผนงานยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณที่ได้รับจำนวน 8,000 บาท กิจกรรมหลักแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิก สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเพื่อให้ ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาหนี้ค้าชำระ และการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้าง รายได้ให้แก่สมาชิก โดยมีสหกรณ์ภาคการเกษตรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 สหกรณ์และ 1 กลุ่มเกษตรกร โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถจัดการหนี้ของตนเองได้ แผนงานยุทธศาสตร์ การเกษตรสร้างมูลค่า ประกอบด้วย 6 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนา เพื่อรักษาและยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 37,300 บาท ผลการ ดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดประชุมเพื่อจัดทำแผน/ขับเคลื่อน/ติดตาม การยกระดับความเข้มแข็ง โดยสหกรณ์ภาคการเกษตรได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ มีความเข้มแข็ง เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กร และด้านการดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร ส่งผลให้สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและมีผลประกอบการดีขึ้น 2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น กิจกรรมหลักส่งเสริมและ พัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร (ผลไม้) งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 125,800 บาท ผลการดำเนินงาน กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้า เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร(ผลไม้) ปีงบประมาณ 2566 โดยมีสหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด ได้รับสื่อวีดีทัศน์ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส้มโอ พันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม, สติ๊กเกอร์วอยด์เปลือกไข่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม คิดเป็นร้อยละ 3


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 8 3. โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรแบบ แปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 2,800 บาท ผลการดำเนินงาน ร่วมศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลและแนะนำส่งเสริมด้านการตลาดร่วมกับประธานกลุ่มแปลงใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาตลาด ให้แก่สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ รวมถึงถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดแก่กลุ่มแปลงใหญ่ รวมถึงหาตลาดให้แก่ แปลงใหญ่ โดยกลุ่มแปลงใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงคราม สามารถยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ 4. โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรกร กิจกรรมหลักส่งเสริมการแปรรูปสินค้า เกษตรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 51,000 บาท ผลการดำเนินงาน ร่วมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและแนะนำส่งเสริมด้านการวิเคราะห์ตลาด หรือการแปรรูป หรือการจัดทำบรรจุภัณฑ์ โดยให้การสนับสนุนการดำเนินงาน และการขับเคลื่อนงานด้านการตลาดในสหกรณ์การเกษตรนาเกลือ สมุทรสงคราม จำกัด และสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด 5. โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมหลักพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 20,100 บาท ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สมุทรสงคราม จัดอบรมต่อยอดเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด ทำให้สหกรณ์ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเข้มแข็งในองค์กรสหกรณ์ 6. โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร กิจกรรมหลัก ยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 9,000 บาท ผลการ ดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิต และจัดทำแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิต กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ประมงแม่กลองจำกัด ส่งผลให้สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ได้รับการส่งเสริม ให้มีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตเข้าสู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ฯ โดดเด่นในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดทำงานประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และกิจกรรมของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สมุทรสงคราม เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ต่อสมาชิก และประชาชนทั่วไป ตามนโยบายของรัฐบาล โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สมุทรสงคราม ได้มีงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด กิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เช่น การประชุมคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศ (AIC) , กิจกรรมอื่น ๆ เช่น กิจกรรม สาธารณประโยชน์ , การประชุมคณะกรรมการพิจารณาคำขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้เงินกู้ , กิจกรรม ให้บริการแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ (Field Day) ฯลฯ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือ ความรู้ที่ถูกต้องให้กับ สมาชิกและประชาชนทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่มีสำคัญอย่างยิ่ง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 9 ส่วนที่ 4 รายงานข้อมูลงบการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 เพื่อแสดงผลการดำเนินการด้านการเงินของสำนักงาน สหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ในรอบปีงบประมาณ 2566 ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ งบแสดงฐานะการเงิน, งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงิน บทวิเคราะห์ข้อมูลทางด้าน งบประมาณของหน่วยงาน ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมาพบปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงาน เนื่องจากมีการ โยกย้าย และบรรจุแต่งตั้งบุคลากรใหม่ จึงส่งผลกระทบต่อปฏิบัติงานในหน้าที่ ขาดความต่อเนื่อง รวมถึงการ ปฏิบัติงานแนะนำส่งเสริมสหกรณ์เป็นอย่างมาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามจึงได้มีการปรับ แนวทางในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการจัดอบรมพัฒนาบุคลากรให้แก่ บุคลากร สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นผลให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเป็นไปตามแผนงาน/โครงการที่ กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ซึ่งบุคลากรทุกท่านตั้งใจ ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 10 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 11 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริม" และพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง ทันต่อการเปลี่ยนแปลง" พันธกิจ ๑. พัฒนาคุณภาพและขยายการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และ ประชาชนทั่วไป ๒ ขยายเครือข่ายความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระบบสหกรณ์ . ๓ .ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ และการมีส่วนร่วม ๔ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านการบริหารจัดการ องค์ความรู้ ธุรกิจ และ . วัฒนธรรม ๕สนับสนุนและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง ความต้องการของสมาช .ิก และผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียภายใต้หลักการสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๖พัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญา . เศรษฐกิจพอเพียง ๗พัฒนาบุคลากรของสำนักงานฯ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความพร้อมรองรับการเ .ข้าสู่ประชาคม อาเซียน อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน 1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร 3. ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่ม เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 4. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 12 1.2 โครงสร้างและกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน 1) โครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม 2) กรอบอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม กรอบอัตรากำลัง เพศชาย เพศหญิง รวม 1) ข้าราชการ 4 13 17 2) ลูกจ้างประจำ - - - 3) พนักงานราชการ 1 5 6 รวม 5 18 23 หมายเหตุ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 13 1.3 แผนการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1) แผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1.1) แผนงานบุคลากรภาครัฐ รายการบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐกรมส่งเสริมสหกรณ์ 1.2) แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรองสนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตาม ศักยภาพ (อำนวยการ) กิจกรรมหลักการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (รายจ่ายเพื่อการลงทุน) 1.3) แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กิจกรรมหลักพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.4) แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ กิจกรรมหลักแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วย ระบบสหกรณ์ 1.5) แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาเพื่อรักษาและยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร (ผลไม้) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในสถาบันเกษตรกร โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรกร กิจกรรมหลักส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมหลักพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน กิจกรรมรองพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรตลอดห่วงโซ่อุปทาน โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร กิจกรรมหลักยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 14 2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับข้อมูล ย้อนหลัง 2 ปี (พ.ศ. 2564 - 2565) (จำแนกตามประเภทงบรายจ่าย) หน่วย : บาท งบรายจ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมงบประมาณ 3.97 3.92 2.86 งบบุคลากร 1.59 1.66 1.70 งบดำเนินงาน 2.21 2.06 1.99 งบลงทุน 0.17 0.20 0.17 งบอุดหนุน 0.00 0.00 0.00 งบรายจ่ายอื่น 0.00 0.00 0.00


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 15 1.4 ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 1) ข้อมูลสารสนเทศสหกรณ์(จำแนกตามประเภทสหกรณ์)ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566ดังนี้ 1.1) จำนวนสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ (ถ้ามี) แยกตามสถานะสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์ จำนวนชุมนุมสหกรณ์ รวม ทั้งสิ้น Active Non-Active Active Non-Active ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิก สหกรณ์ ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกชุมนุม สหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร - 7 - - - - 7 สหกรณ์ประมง - 3 - - - - 3 สหกรณ์นิคม - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - 1 - - - 1 สหกรณ์บริการ - 6 - - - - 6 สหกรณ์ออมทรัพย์ - 5 2 - - - 7 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 2 - - - - 2 รวมทั้งสิ้น 23 3 0 0 0 26 1.2) จำนวนสหกรณ์(Active) และจำนวนสมาชิกสหกรณ์ ประเภท จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) สหกรณ์การเกษตร 7 6,326 สหกรณ์ประมง 3 494 สหกรณ์นิคม - - สหกรณ์ร้านค้า - - สหกรณ์บริการ 6 350 สหกรณ์ออมทรัพย์ 5 5,909 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 17,549 รวมทั้งสิ้น 23 30,628


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 16 1.3) จำนวนสหกรณ์(Active) แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. สหกรณ์การเกษตร - - 3 - - - - - - - - 4 สหกรณ์ประมง 1 - - - - - - - - - - 2 สหกรณ์นิคม - - - - - - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - - - - - สหกรณ์บริการ 1 - - - - - - - 2 - - 3 สหกรณ์ออมทรัพย์ - - - - 1 - - - 1 1 - 2 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - - - - - - - - - - - 2 รวมทั้งสิ้น 2 - 3 - 1 - - - 3 1 - 13 1.4) จำนวนสหกรณ์ (Active) แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ (เกณฑ์เดิม) ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 สหกรณ์การเกษตร 1 5 1 - สหกรณ์ประมง 1 - 2 - สหกรณ์นิคม - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - 1 สหกรณ์บริการ 1 2 2 - สหกรณ์ออมทรัพย์ 4 - 1 1 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1 - 1 - รวมทั้งสิ้น 9 7 7 2


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 17 1.5) จำนวนสหกรณ์(Active) และปริมาณธุรกิจสหกรณ์แยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่น ๆ รวม ปริมาณธุรกิจ สหกรณ์การเกษตร 7 25.83 33.37 7.21 2.95 1.64 - 71.00 สหกรณ์ประมง 3 7.41 32.10 78.62 - - 18.03 136.16 สหกรณ์นิคม - - - - - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - สหกรณ์บริการ 6 0.16 0.85 - - - 1.03 2.04 สหกรณ์ออมทรัพย์ 5 1,351.75 2,926.59 - - - - 4,278.34 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 2 194.77 442.86 - - - - 637.63 รวมทั้งสิ้น 23 1,579.92 3,435.77 85.83 2.95 1.64 19.06 5,125.17 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 1.6) จำนวนสหกรณ์(Active)และผลการดำเนินงานของสหกรณ์ (กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) สหกรณ์การเกษตร 6 3.90 1 0.15 สหกรณ์ประมง 2 1.89 1 0.30 สหกรณ์นิคม - - - - สหกรณ์ร้านค้า - - - - สหกรณ์บริการ 4 0.79 2 0.12 สหกรณ์ออมทรัพย์ 5 148.08 - - สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1 41.44 1 0.16 รวมทั้งสิ้น 23 196.10 5 0.73 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 18 2) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มเกษตรกร (จำแนกตามประเภทกลุ่มเกษตรกร) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ดังนี้ 2.1) จำนวนกลุ่มเกษตรกรแยกตามสถานะสหกรณ์ ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งสิ้น Active Non-Active ยังไม่เริ่ม ดำเนินการ ดำเนินการ เลิกกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร - 1 1 2 รวมทั้งสิ้น - 1 1 2 2.2) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเภท จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) จำนวนสมาชิก (ราย) กลุ่มเกษตรกร 1 148 รวมทั้งสิ้น 1 148 2.3) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active)แยกตามเดือนสิ้นปีทางบัญชีของกลุ่มเกษตรกร ประเภท เดือนสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. กลุ่มเกษตรกร - - - - - - - - - - - 1 รวมทั้งสิ้น - - - - - - - - - - - 1 2.4) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active)แยกตามผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร (เกณฑ์เดิม) ประเภท ผลการจัดระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 กลุ่มเกษตรกร - 1 - - รวมทั้งสิ้น - 1 - - 2.5) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active) และปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกรแยกตามประเภทธุรกิจ หน่วย : ล้านบาท ประเภท จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจแยกตามประเภทธุรกิจ รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต ให้บริการ และอื่น ๆ รวม ปริมาณธุรกิจ กลุ่มเกษตรกร 2 0.16 0.72 0.23 - - - 1.11 รวมทั้งสิ้น 2 0.16 0.72 0.23 - - - 1.11 หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 19 2.6) จำนวนกลุ่มเกษตรกร (Active)และผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร (กำไรสุทธิ/ ขาดทุนสุทธิ) ประเภท ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร กำไรสุทธิ ขาดทุนสุทธิ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) มูลค่า (ล้านบาท) กลุ่มเกษตรกร 1 0.50 - - รวมทั้งสิ้น 1 0.50 - - หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว 3) ข้อมูลสารสนเทศกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์(จำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์)ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ดังนี้ 3.1) จำนวนกลุ่มอาชีพแยกตามสถานะกลุ่มอาชีพ ประเภท Active Non-Active รวมทั้งสิ้น ดำเนินธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ เป็นครั้งคราว หยุด ดำเนินการ แจ้งยกเลิก กลุ่มแล้ว แต่ยังไม่ได้ แจ้งคืนเงินเข้า คลังจังหวัด แจ้งยกเลิกกลุ่ม และคืนเงินเข้า คลังจังหวัด เรียบร้อยแล้ว ติดตามไม่ได้ อาหารแปรรูป 3 3 7 - 3 1 17 ผ้าและเครื่องแต่งกาย - - 1 - - - 1 ของใช้/ของตกแต่ง/ ของที่ระลึก/เครื่องประดับ - - 2 - 1 - 3 เลี้ยงสัตว์ - - - - - - - บริการ - - - - - - - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - - - - - - - เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ - - - - - - - สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร/ยา - - - - - - - เพาะปลูก - - - - - - - ปัจจัยการผลิต - - 2 - - - 2 รวมทั้งสิ้น 3 3 12 0 4 1 23


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 20 ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติราชการ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 21 2.1 ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานและ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการดำเนินภารกิจพื้นฐานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ ➢ แผนงานพื้นฐาน แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 1) งานแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและกำกับการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.1) แนะนำส่งเสริมฯ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ 1. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ (อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อัมพวา บางคนที) จำนวน 28 แห่ง จำนวนสหกรณ์ 24 แห่ง และกลุ่ม เกษตรกร จำนวน 2 แห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 1,184,000 1,184,000 100 3. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มี ความเข็มแข็งตามศักยภาพ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน กระบวนการเลิกตามกฎหมาย แห่ง 28 28 100 2. จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของ สมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 63 44.00 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสถานะดำเนินการมีอัตราการ ขยายตัวของปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 96.15 4. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และ 2 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 91 16 69.56 5. กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ร้อยละ 30 1 100 6. สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 13 56.52 7. กลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 81 1 100 8. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชี ประจำปีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ร้อยละ 100 100 9. ผลการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีกำไรประจำปี ร้อยละ 100 80


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 22 ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ กิจกรรมที่ดำเนินการ 9. ส่งเสริมและพิจารณาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อพิจารณา คัดเลือกและส่งรายชื่อเป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่น แห่งชาติ แห่ง 3 1 33.33 10. ตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจระดับจังหวัด ร้อยละ 25 แห่ง 6 6 100 11. ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ร้อยละ 15 แห่ง 4 4 100 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ 1. สหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 23 แห่ง มีสมาชิกทั้งหมด 30,628 คน ผลการ ดำเนินงาน สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 22,728 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 74.20 มีปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.58 สหกรณ์ที่นำมาจัดเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 23 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 13 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 56.52 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 16 แห่ง หรือคิดเป็น ร้อยละ 69.56 สหกรณ์สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์และสิ่งก่อสร้าง ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ 100 2. กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 148คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำ ธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 74.32 มีปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 62.24 กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในระดับชั้น 2 คิดเป็นร้อยละ 100 5. ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานโครงการ เนื่องจากมีการโยกย้าย และบรรจุแต่งตั้งบุคลากรใหม่ จึงส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ขาดความต่อเนื่อง รวมถึงการปฏิบัติงานแนะนำส่งเสริมสหกรณ์เป็นอย่างมาก 6. แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มีการปรับแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล โดยการจัดอบรมพัฒนาบุคลากรให้แก่บุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นผล ให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีเป็นไปตามแผนงาน/โครงการ ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ซึ่งบุคลากรทุกท่านตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ 2) งานกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ 2.1) การตรวจการสหกรณ์โดยชุดตรวจสอบระดับจังหวัด ร้อยละ 25 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ 1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้การดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี 2. เพื่อป้องกันปัญหาข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น เป้าหมาย 6 แห่ง พื้นที่ดำเนินงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ 14,400 บาท ผลการเบิกจ่ายได้ร้อยละ 100 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 14,400 14,400 100


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 23 3. ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มอบหมายกลุ่มตรวจการสหกรณ์ รับผิดชอบ การตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ร้อยละ 25 ซึ่งได้ดำเนินการดังนี้ 3.1 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม จัดชุดตรวจการสหกรณ์ในรูปแบบคณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ประจำจังหวัด 3.2 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัด จัดทำแผนการเข้าตรวจการสหกรณ์เป้าหมายตามที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 3.3 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัด เข้าตรวจสอบสหกรณ์ตามแผนที่กำหนด โดยเข้า ตรวจสอบแต่ละครั้ง ตรวจสอบครบทุกประเด็นตามรายการที่กำหนดในแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบเฉลี่ยสหกรณ์ละ 3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสหกรณ์ 3.4 เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้ว ให้สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจสอบสหกรณ์ต่อ นายทะเบียนสหกรณ์ผ่านกลุ่มตรวจการสหกรณ์ เพื่อวิเคราะห์รายงานการตรวจสอบก่อนนำเสนอนายทะเบียน สหกรณ์เพื่อพิจารณา จำนวนสหกรณ์ที่คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดตรวจสอบในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีจำนวน 6แห่ง 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรสงคราม จำกัด 2. สหกรณ์ประมงบางจะเกร็ง - บางแก้ว จำกัด 3. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่กลอง จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. สมุทรสงคราม จำกัด 5. สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงปลาสลิดแพรกหนามแดง จำกัด 6. สหกรณ์เคหสถานเจริญมั่งมีมั่นคง จำกัด 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จำนวนสหกรณ์ได้รับการตรวจสอบโดยชุดตรวจการสหกรณ์ระดับจังหวัด จำนวน 6แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ที่ได้รับการตรวจสอบ ได้รับคำแนะนำสามารถแก้ไขปัญหาข้อสังเกต จากการตรวจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภาพประกอบการตรวจการสหกรณ์โดยคณะตรวจการสหกรณ์ระดับจังหวัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 24 2.2) กิจกรรมตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์สหกรณ์ ร้อยละ 15 1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้การดำเนินงานเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี 2. เพื่อป้องกันปัญหาข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น เป้าหมาย 4 แห่ง ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ พื้นที่ดำเนินงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 4,100 4,100 100 3. ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม มอบหมายกลุ่ม ตรวจการสหกรณ์ รับผิดชอบการตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ร้อยละ 15 ของสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินการ 3.1 สหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ มอบหมายคณะผู้ตรวจการ สหกรณ์ ตรวจสอบสหกรณ์ที่ได้คัดเลือกจากการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ เรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1. สหกรณ์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดการทุจริต 2. สหกรณ์ที่มีเรื่องร้องเรียน 3. สหกรณ์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดข้อบกพร่อง 3.2 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม เข้าตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนาย ทะเบียนสหกรณ์ และเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้ว ได้สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจการสหกรณ์ต่อนาย ทะเบียนสหกรณ์เพื่อพิจารณา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีจำนวน 4 แห่ง 1. สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด 2. สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม จำกัด 3. สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จำกัด 4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบางนกแขวก จำกัด 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จำนวนสหกรณ์ได้รับการตรวจสอบโดยชุดตรวจการสหกรณ์ระดับจังหวัด จำนวน 4แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ที่ได้รับการตรวจสอบ เมื่อมีเหตุผิดปกติในสหกรณ์ ได้รับการแก้ไข ทันเวลา ยับยั้งการเกิดข้อบกพร่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภาพประกอบการตรวจการสหกรณ์โดยคณะตรวจการสหกรณ์ระดับจังหวัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 25 2.3) กิจกรรมการจัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นำผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง วิเคราะห์สถานภาพสหกรณ์ รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี ข้อมูลการวิเคราะห์สหกรณ์จากนักการเงินประจำจังหวัด มาพิจารณากำหนด แนวทางการตรวจการสหกรณ์ร่วมกัน 2. เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ สามารถดำเนินการตรวจสอบสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป้าหมาย ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พื้นที่ดำเนินโครงการ จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 2,500 2,500 100 3. ผลการดำเนินงานกลุ่มตรวจการสหกรณ์จัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้ตรวจการสหกรณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 14 คน ประเด็นต่างๆ ที่ประชุมดังนี้ 1. แจ้งคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ สส 9/2565 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2565 2. ชี้แจงระบบการตรวจการสหกรณ์ 3. การวิเคราะห์สถานภาพ/ความเสี่ยงของสหกรณ์ 4. ข้อสังเกตรายงานการสอบบัญชี/ข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีปีก่อนๆ 5. คัดเลือกสหกรณ์เป้าหมายจะตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ร้อยละ 15 ของ จำนวนสหกรณ์ทั้งหมด (4 แห่ง) โพยพิจารณาให้ความสำคัญ ดังนี้ 5.1 สหกรณ์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดการทุจริต 5.2 สหกรณ์ที่มีเรื่องร้องเรียน 5.3 สหกรณ์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดข้อบกพร่อง 6. วิธีการรายงานผลการตรวจสหกรณ์ 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าประชุม จำนวน 14 คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้ตรวจการได้รับทราบระบบการตรวจการสหกรณ์ 2. ผู้ตรวจการสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจและกำหนดแนวทางการตรวจการสหกรณ์ได้ 3. ผู้ตรวจการสหกรณ์สามารถเขียนรายงานผลการตรวจสอบ ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อ นายทะเบียนสหกรณ์ ภาพการจัดประชุมการซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 26 2.4) การติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียน สหกรณ์ให้ได้รับการแก้ไขแล้วเสร็จ 2. เพื่อป้องกันปัญหาข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต เป้าหมาย สหกรณ์อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข 2 แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส. สมุทรสงคราม จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรสงคราม จำกัด พื้นที่ดำเนินงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ 1,000 บาท ผลการเบิกจ่ายได้ร้อยละ 100 ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 1,000 1,000 100 3. ผลการดำเนินงาน ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 สหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ มอบหมายกลุ่มตรวจการ สหกรณ์ ตรวจสอบสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง 3.2 กลุ่มตรวจการสหกรณ์เข้าติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องเดิม รายงาน ความคืบหน้าต่อนายทะเบียนสหกรณ์ แล้วรายงานผ่านระบบตรวจการสหกรณ์ ทางเว็บไซด์กรมส่งเสริมสหกรณ์ 3.3 กลุ่มตรวจการสหกรณ์เข้าติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องใหม่ และ รายงานความคืบหน้าต่อนายทะเบียนสหกรณ์ แล้วรายงานผ่านระบบตรวจการสหกรณ์ ทางเว็บไซด์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1.สหกรณ์ได้รับการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จ จำนวน 1 แห่ง 2.สหกรณ์อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง จำนวน 1 แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1.สหกรณ์การเกษตรเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส. สมุทรสงคราม จำกัด ที่ได้รับการชดใช้ความเสียหาย ครบจำนวนและได้รับติดตามแนะนำส่งเสริมการดำเนินการจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด อย่างใกล้ชิดเพื่อ ป้องกันการเกิดการทุจริต 2. สหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ได้ออกคำสั่ง ม.20 และ ม.22(1) ปัจจุบันสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสมุทรสงคราม จำกัด อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง ตลอดจนได้รับการ แนะนำส่งเสริมให้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ภาพการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่อง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 27 2.5) การจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.) 1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพิจารณาข้อบกพร่อง ข้อร้องเรียนในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรและ ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียน เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขและติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่อง และข้อร้องเรียนเพื่อให้ได้ข้อยุติ 2. เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง เรื่องร้องเรียนของสหกรณ์ให้เป็นสอดคล้อง ตามข้อกำหนดของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. ผลักดันให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ให้แล้วเสร็จ เป้าหมาย จัดประชุมคณะทำงานฯ จำนวน 4 ครั้ง พื้นที่ดำเนินงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 11,400 11,400 100 3. ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงครามมอบหมายกลุ่มตรวจการสหกรณ์ รับผิดชอบจัดประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง (จกบ.) โดยดำเนินการการจัดประชุมทั้งสิ้น จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 27 ธันวาคม 2565 ครั้งที่ 2 วันที่ 16 มีนาคม 2566 ครั้งที่ 3 วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ครั้งที่ 4 วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะทำงานตามคำสั่งจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ 1082/2559 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2559 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนสหกรณ์ มุ่งเน้นประเด็น ดังนี้ 1. การติดตามการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของแต่ละสหกรณ์ 2. กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องให้เป็นไปและสอดคล้องตามข้อกำหนดของกรม ส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เมื่อดำเนินการประชุมเสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง กลุ่มตรวจการสหกรณ์ในฐานะเลขานุการคณะทำงาน จะเป็น ผู้บันทึกรายงานการประชุม และรายงานการประชุมต่อคณะกรรมการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไข ข้อบกพร่องของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทราบทุกครั้งภายใน 15 วัน หลังประชุม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 28 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จัดประชุมฯ ทั้งสิ้น จำนวน 4 ครั้ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับคำแนะนำ แนวทางในการดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งอาญาและ ทางแพ่ง การดำเนินการตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับ การประสานงาน ความช่วยเหลือ จากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร เจ้าพนักงานสอบสวน อัยการ ทำให้การดำเนินคดีตามกฎหมายเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทำให้ สหกรณ์ได้รับการชดใช้จากผู้กระทำผิด มูลค่าความเสียหายลดลงมาก 2. ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2566 สามารถแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องได้เสร็จสมบูรณ์ จำนวน 1 สหกรณ์ รูปภาพประกอบคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง (จกบ.)


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 29 2.6) การชำระบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์สามารถถอนชื่อได้ ร้อยละ 25 ของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างชำระบัญชี เป้าหมาย การชำระบัญชีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีสหกรณ์ที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชี จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ 3แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง ดังนี้ 1) สหกรณ์ออมทรัพย์พลังใจ จำกัด 2) ร้านสหกรณ์ชุมชนวัดสาธุ จำกัด 3) สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานพรีแพค จำกัด 4) กลุ่มเกษตรกรทำนาวัดประดู่ พื้นที่ดำเนินงาน จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 2,000 2,000 100 3. ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ ผลการดำเนินการ 1) สหกรณ์ออมทรัพย์ พลังใจ จำกัด - ขั้นที่ 6 (คดี) อยู่ระหว่างการจัดการทรัพย์สิน - ศาลมีคำพิพากษาแล้วให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินกู้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่ผู้ชำระบัญชี ดำเนินการติดตาม สืบทรัพย์เพื่อบังคับคดีจากลูกหนี้ตามคำพิพากษา 2) ร้านสหกรณ์ชุมชน วัดสาธุ จำกัด - ขั้นตอนที่ 6 (คดี) อยู่ระหว่างการจัดการทรัพย์สิน - ผู้ชำระบัญชีทำหนังสือรายงานต่อนายทะเบียนสหกรณ์ว่า ตามคำพิพากษาศาล จังหวัดสมุทรสงคราม หมายเลขคดีดำ ที่ ผบ.1568/2561 และคดีหมายเลขแดง ที่ ผบ.649/2562 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ร้านสหกรณ์ชุมชนวัดสาธุ จำกัด มีหนี้สิน ต่อโจทก์ จำนวน 231,529.66 บาท ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ชำระบัญชีสหกรณ์ชดใช้ เงินตามมูลหนี้ที่ฟ้องคดี แต่ทรัพย์สินของทางสหกรณ์ที่มีนั้น ไม่เพียงพอต่อการชำระ หนี้ ผู้ชำระบัญชีจึงยื่นคำขอจำหน่ายเป็นหนี้สูญต่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (กรม ส่งเสริมสหกรณ์) ขอให้ยกหนี้คงค้างทั้งหมด จำนวน 212,512.66 บาท แล้ว ซึ่งอยู่ ระหว่างรอผลการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในเรื่องของการจำหน่ายหนี้สูญ 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ พนักงาน พรีแพค จำกัด - สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานพรีแพค จำกัด ได้เลิกกิจการตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2566 และผู้ชำระบัญชีได้ดำเนินการตามขั้นตอนการชำระบัญชี ซึ่งผู้สอบได้รับรอง บัญชีที่ชำระตามมาตรา 87 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 นายทะเบียนสหกรณ์จึง อนุมัติถอนชื่อออกจากทะเบียน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 และผู้ชำระบัญชีได้ส่ง มอบบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารทั้งหลายแก่นายทะเบียนสหกรณ์แล้วเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 30 สหกรณ์ ผลการดำเนินการ 4) กลุ่มเกษตรกร ทำนาวัดประดู่ ขั้นตอนที่ 7 ส่งรายงานการชำระบัญชีและรายการย่อตามมาตรา 87 ให้ผู้สอบ บัญชีตรวจสอบ - ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ของกลุ่มเกษตรกรทำนาวัดประดู่ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกกลุ่มเกษตรกร และเลือกตั้งให้นางวันวิกา แก้วอำรัตน์ นักวิชาการสหกรณ์ปฏิบัติการ เป็นผู้ชำระบัญชีกลุ่มเกษตรกรทำนาวัด ประดู่ - ผู้ชำระบัญชีได้ส่งงบชำระบัญชีและรายการย่อตามมาตรา 87 ให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างผู้สอบบัญชีรับรองงบดังกล่าว 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ขั้นตอนของการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ในการ พิจารณาการจำหน่ายหนี้สูญใช้ระยะเวลานาน 6. แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ ผู้ชำระบัญชีต้องติดตามผลการดำเนินการและรายงานต่อนายทะเบียนสหกรณ์ตามระยะเวลาที่กำหนด 3) งานส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 1.วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ ผลจากการจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์จะ สะท้อนให้เห็นว่าสหกรณ์มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร มีศักยภาพที่จะอำนวยบริการอันเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ซึ่ง เป็นเจ้าของสหกรณ์ได้ดีเพียงใด มีความสามารถในการบริหารจัดการมากน้อยเพียงใด 2) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสหกรณ์ โดยนำผลการจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์เป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในการใช้แบ่งระดับสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริง และสอดคล้องกับความต้องการของสหกรณ์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งก้าวหน้าแก่สหกรณ์และผลักดันให้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พัฒนาและสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่อไป 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย : สหกรณ์ จำนวน 24 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2แห่ง พื้นที่ดำเนินงาน : สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม 3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสำเร็จ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เชิงปริมาณ 1) สหกรณ์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 80 ของสหกรณ์ที่นำมาจัดมาตรฐาน 2) กลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 90 ของกลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดมาตรฐาน เชิงคุณภาพ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาและยกระดับสู่มาตรฐาน มีการบริหารงานที่มี ประสิทธิภาพ สามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ให้บริการสมาชิกได้ตรงตามความต้องการ 5. งบประมาณที่ได้รับ - ไม่มี –


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 31 6. ผลการดำเนินงาน 1) จัดประชุมร่วมกับกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 จำนวน 1 ครั้ง เพื่อศึกษา วิเคราะห์ผลการจัดระดับ มาตรฐานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในปีที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และมีการรายงานผลการดำเนินโครงการตามกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ประเมินปัญหาและอุปสรรค ในที่ประชุมประจำเดือน จำนวน 12 ครั้ง 2) ประเมินมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปี 2566 2.1) สหกรณ์ที่นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 23 แห่ง (เนื่องจากมีสหกรณ์เลิกระหว่างปี 1 แห่ง จึงนำมาจัดมาตรฐานเพียง 23 แห่ง ) - สหกรณ์ผ่านมาตรฐานกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 56.52 - สหกรณ์ไม่ผ่านมาตรฐานกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 43.48 2.2) กลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง (เนื่องจากมีกลุ่มเกษตรกรเลิกระหว่างปี 1 แห่ง จึงนำมาจัดมาตรฐานเพียง 1 แห่ง) - กลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 3) ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 56.52 น้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80) 7. ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับ เชิงปริมาณ - สหกรณ์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 56.52 ของสหกรณ์ที่นำมาจัดมาตรฐาน - กลุ่มเกษตรกรผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเกษตรกรที่นำมาจัดมาตรฐาน เชิงคุณภาพ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาและยกระดับสู่มาตรฐาน มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ให้บริการสมาชิกได้ตรงตามความต้องการ 8. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรค สหกรณ์ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 56.52 น้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ต้องไม่น้อยกว่าร้อย ละ 80) เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบกับสมาชิกโดยตรง ต้นทุนการประกอบอาชีพสูง ราคา ผลผลิตตกต่ำ ค่าครองชีพสูง มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ถูกตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับหนี้ค้างจำนวนมากส่งผลให้สหกรณ์ประสบผลขาดทุน ประกอบกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ปรับหลักเกณฑ์การจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์ โดยสหกรณ์ที่ผ่านมาตรฐาน จะต้องไม่ตก มาตรฐานในข้อใดข้อหนึ่ง จาก 7 ข้อ ถึงจะผ่านมาตรฐานสหกรณ์ส่งผลให้สหกรณ์ที่มีผลการประเมินในระดับดี มาก และระดับดี ที่ตกมาตรฐานข้อใดข้อหนึ่ง จาก 7 ข้อ ถือว่าไม่ผ่านมาตรฐาน 9. แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ ชี้แจงหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐานให้สหกรณ์รับทราบ เพื่อนำไปกำหนดแผนงาน/กิจกรรมของ สหกรณ์เพื่อยกระดับให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ผลการจัดระดับมาตรฐานในแต่ละข้อร่วมกับ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและผู้แทนสหกรณ์เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริง เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แนะนำให้สหกรณ์สร้างการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ของสมาชิก เร่งรัดติดตามหนี้จากสมาชิก โดย อาจส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก เพื่อเพิ่มรายได้ให้สมาชิกสามารถชำระหนี้กับสหกรณ์ได้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 32 ภาพถ่ายประชุมวิเคราะห์ผลการจัดระดับมาตรฐานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 4) งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่นแห่งชาติ 1. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ วัตถุประสงค์: เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานดีเด่น ให้ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไป ได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างแนวทางในการปฏิบัติงาน และเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจ ในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย : สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานสหกรณ์ ชั้นความเข้มแข็งใน ระดับ 1 และมีเสถียรภาพทางการเงินตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ในจังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่ดำเนินงาน : สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานสหกรณ์ ชั้นความเข้มแข็ง ในระดับ 1 และมีเสถียรภาพทางการเงินตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ภาคการเกษตร 2 แห่ง และสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 6 แห่ง 3. เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสำเร็จ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงครามที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำหนด และประสงค์ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ มีผล คะแนนรวมเข้ารับการการพิจารณาคัดเลือกในระดับภาคได้ ดังนี้ (1) สหกรณ์ภาคการเกษตรอย่างน้อย 1 สหกรณ์ (2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรอย่างน้อย 1 สหกรณ์ (3) กลุ่มเกษตรกรอย่างน้อย 1 กลุ่ม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 33 4. ผลสัมฤทธิ์/ผลที่คาดว่าจะได้รับ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกมีความภาคภูมิใจ และมีขวัญกำลังใจในการพัฒนางาน ให้มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและส่วนรวม และเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของสถาบัน เกษตรกรให้มีประสิทธิภาพขึ้นยิ่งขึ้น 5. งบประมาณที่ได้รับ - ไม่มี – 6. ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด และประสงค์ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก เป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566/2567 ดังนี้ 1. พิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น มีคุณสมบัติตาม หลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และร่วมส่ง ผลงาน เพื่อรับการพิจารณาคัดเลือก โดยมีสหกรณ์ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ สาธารณสุข จำกัด 3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ระดับจังหวัด ตาม คำสั่งจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ 887/2565 ลงวันที่ 29 เมษายน 2565 เพื่อพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่กรม ส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 4. แนะนำ ส่งเสริม สหกรณ์ในการจัดทำแบบประเมินตามเอกสารที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 5. ตรวจสอบเอกสาร และจัดเตรียมข้อมูลของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือก พิจารณา 6. จัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ระดับจังหวัด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพิจารณาคัดเลือกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรดีเด่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเสนอเข้ารับ การพิจารณาคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นระดับภาค ประจำปี 2566 ต่อไป ผลการพิจารณาสหกรณ์ที่ผ่านการ คัดเลือกจำนวน 1 แห่ง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด โดยมีคะแนนรวมทั้งสิ้น 921.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.10 และรายงานข้อมูลให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อส่งเข้ารับการพิจารณาเป็น สหกรณ์ดีเด่นในระดับภาคต่อไป 7. จัดส่งข้อมูล เอกสาร ของสหกรณ์ที่ผ่านการคัดเลือกฯ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ทราบ 8. จัดทำเกียรติบัตรเพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏต่อสาธารณชนทั่วไป และเป็นตัวอย่างแก่ สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์อื่นๆ มอบให้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด โดยท่านรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามเป็นผู้ลงนามในเกียรติ บัตร และจะมีพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับการคัดเลือก ในงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2567 จังหวัดสมุทรสงคราม ที่จะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 34 7.ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้รับ เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น และมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน และมีผลคะแนนสามารถส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาในระดับภาคได้ มีจำนวน 1 แห่ง คือ สหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงคราม จำกัด ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ เชิงคุณภาพ สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างแนวทางในการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างให้เกิดขวัญ กำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - เนื่องจากจังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดขนาดเล็ก และมีจำนวนสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบเพียง 24 แห่ง และเลิกระหว่างปี 1 แห่ง เหลือสหกรณ์ที่มีสถานะดำเนินงาน 23 แห่ง จึงมีสหกรณ์ที่เข้าหลักเกณฑ์ และสนใจส่งผลงานเข้าประกวดค่อนข้างน้อยมาก ประกอบกับไม่มีรางวัลให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับการคัดเลือก จึง ไม่จูงใจให้สหกรณ์ส่งผลงานเข้ารับการประกวด 8. แนวทางแก้ไข หรือข้อเสนอแนะ กรมส่งเสริมสหกรณ์ควรมีการจัดสรรงบประมาณเป็นรางวัลให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อให้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรนำไปพัฒนางานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจ าปี2566


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 35 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตร ➢แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 1. โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน โครงการอบรมต่อยอดเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ จังหวัดสมุทรสงคราม ปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจ ชุมชน 1. วัตถุประสงค์/กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจแก่สหกรณ์ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มเป้าหมาย สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด พื้นที่ดำเนินโครงการ ห้องประชุมสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 20,100 บาท 20,100 บาท 100 3. กิจกรรม จัดอบรมต่อยอดเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ (1) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ประมง แม่กลองจำกัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 16 คน (2) ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 1 วัน วันที่ 28 มิถุนายน 2566 (3) ผลการดำเนินการ - สหกรณ์ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน สร้างความเข้มแข็งในองค์กรสหกรณ์ 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์สามารถให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในรูปแบบเงินเฉลี่ยคืนในธุรกิจเกษตรมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่าง น้อยร้อยละ 3 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน สร้างความเข้มแข็งในองค์กรสหกรณ์


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 36 กพส. 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข เนื่องจากสหกรณ์ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจแปรรูปและรวบรวม ซึ่งสหกรณ์มีแนวคิดที่จะทำธุรกิจแปรรูป จากปลาทะเลเป็นลูกชิ้นปลา แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากขาดบุคลากร สถานที่และอุปกรณ์ อีกทั้งสมาชิกและกรรมการสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของแพปลาและบางรายมีการทำแปรรูปที่เป็นของสมาชิก เองทำให้มีเวลาน้อย และสินค้าอาหารทะเลสดในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทำให้ ปริมาณอาหารทะเล(ปลาทะเล)ไม่เหลือเพียงพอที่จะนำมาแปรรูป การที่จะผลักดันให้สหกรณ์มาดำเนินธุรกิจ แปรรูปและรวบรวมจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ซึ่งการจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปส่วนใหญ่สหกรณ์จะรับซื้อมา จากสมาชิก ภาพกิจกรรมอบรมฯ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 37 2) โครงการยกระดับสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิต และจัดทำแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่ง ผลิตเข้าสู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปจังหวัดสมุทรสงคราม ปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการยกระดับ สถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 1. วัตถุประสงค์/กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่ง ผลิตเข้าสู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย : สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด พื้นที่ดำเนินโครงการ : ห้องประชุมสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 8,000 บาท 8,000 บาท 100 3. กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิต และจัดทำแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิต (1) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ ประมงแม่กลองจำกัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 20 คน (2) ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 1 วัน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 (3) ผลการดำเนินการ - บุคลากร สมาชิกของสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด มีองค์ความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตเข้าสู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปที่มี ประสิทธิภาพ - สหกรณ์มีชุดข้อมูลความต้องการสินค้าเกษตร/ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถใช้ในการบริหาร จัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตเข้าสู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปด้วยระยะเวลาที่น้อยลงและค่าใช้จ่ายที่ ลดลง 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์มีแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิต จำนวน 1 แผน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตเข้า สู่กระบวนการรวบรวมและแปรรูปที่มีประสิทธิภาพ 5. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข สหกรณ์มีแนวคิดที่จะทำการพัฒนาสินค้าอาหารทะเลโดยการแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ เช่น ปลาเค็ม ลูกชิ้นปลา แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสหกรณ์ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ที่จะมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งปัจจุบันวัตถุดิบทางทะเลมีปริมาณลดลงจากแต่ก่อนมาก ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมในทะเล ทำให้วัตถุดิบ ที่จะนำมาแปรรูปมีน้อยลง


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 38 ภาพกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 39 3) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อติดตาม และสนับสนุนการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานด้านการตลาดในแปลงใหญ่ 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ แปลงใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงครามที่จดทะเบียนจัดตั้งในปี 2564 (ทุกแปลงในจังหวัดไม่ใช่แปลงสหกรณ์) จำนวน 1 แปลง คือ แปลงใหญ่ไข่ไก่ อำเภอเมืองฯ จ.สมุทรสงครามแปลงกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ 3. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 2,800 2,800 100 4. ผลการดำเนินงาน - ร่วมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและแนะนำส่งเสริมด้านการตลาดร่วมกับประธานกลุ่มแปลงใหญ่ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาตลาดให้แก่สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ รวมถึงถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดแก่กลุ่ม แปลงใหญ่ รวมถึงหาตลาดให้แก่แปลงใหญ่ -ร่วมบูรณาการในการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ 5. ผลสำเร็จ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สนับสนุนการดำเนินงาน และการขับเคลื่อนงานด้านการตลาดในแปลงใหญ่ในจังหวัด สมุทรสงครามที่จดทะเบียนจัดตั้งในปี 2564 (ทุกแปลงในจังหวัดไม่ใช่แปลงสหกรณ์) จำนวน 1 แปลง คือ แปลงใหญ่ไข่ไก่ อำเภอเมืองฯ จ.สมุทรสงคราม แปลงกลุ่มสินค้าปศุสัตว์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ กลุ่มแปลงใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงคราม สามารถยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ 6. ปัญหา/อุปสรรค ผลผลิตมีจำนวนน้อยส่งผลให้สมาชิกไม่ได้รวบรวมจำหน่าย 7. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา -


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 40 ภาพกิจกรรม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 41 4) โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร 1. วัตถุประสงค์ 1 เพื่อพัฒนาความรู้เกษตรด้านการพัฒนากระบวนการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า 2 เพื่อสร้างเครือข่ายตลาดแปรรูปสินค้าเกษตรให้กับสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง 3 เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์สินค้าของสถาบันเกษตรกรให้เป็นที่รู้จักและสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด 4 เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดแปรรูปสินค้าเกษตรให้กับสถาบันเกษตรกร 2. กลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ คณะกรรมการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสงคราม จำกัด และสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด 3. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 51,000 51,000 100 4. ผลการดำเนินงาน ร่วมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและแนะนำส่งเสริมด้านการวิเคราะห์ตลาดหรือการแปรรูป หรือการจัดทำ บรรจุภัณฑ์ 5. ผลสำเร็จ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สนับสนุนการดำเนินงาน และการขับเคลื่อนงานด้านการตลาดในสหกรณ์การเกษตรนาเกลือ สมุทรสงคราม จำกัด และสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์การเกษตรนาเกลือสมุทรสงคราม จำกัด และสหกรณ์การเกษตรนาเกลือบางแก้ว จำกัด สามารถยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ 6. ปัญหา/อุปสรรค วัตถุดิบของสหกรณ์มีไม่เพียงพอในการแปรรูปสินค้า 7. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา ส่งเสริมให้สหกรณ์เพิ่มผลผลิตในเพียงพอต่อการแปรรูปสินค้า


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 42 กบส. ภาพกิจกรรม


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 43 6) โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรักษาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับชั้น 1 อย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อผลักดันและยกระดับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง ระดับชั้น 2 ขึ้นสู่ระดับชั้น 1 เป้าหมาย บุคลากรของสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง ๆ ละ 20 คน ดังนี้ รุ่นที่ 1 สหกรณ์การเกษตรไม้ผลสมุทรสงคราม จำกัด รุ่นที่ 2 สหกรณ์การเกษตรผสมผสานแพรกหนามแดง จำกัด รุ่นที่ 3 สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด พื้นที่ดำเนินโครงการ ห้องประชุมของสหกรณ์แต่ละแห่ง 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 37,300 37,300 100 3. ผลการดำเนินงาน สหกรณ์ภาคการเกษตรได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการ บริหารจัดการองค์กร และด้านการดำเนินธุรกิจได้อย่างครบวงจร 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. ร้อยละ 100 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถรักษาความเข้มแข็งอยู่ในระดับชั้น 1 2. ร้อยละ 60 ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย สามารถยกระดับความเข้มแข็งจากระดับชั้น 2 ขึ้นสู่ ระดับชั้น 1 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น 2. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นและมีผลประกอบการดีขึ้น ภาพกิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 44 สหกรณ์การเกษตรผสมผสานแพรกหนามแดง จำกัด สหกรณ์การเกษตรไม้ผลสมุทรสงคราม จำกัด


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 45 7) โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์ - เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ของสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ เกษตรกร เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ - เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ของสถาบันเกษตรกรให้เกิดการยอมรับและ เป็น ที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น - เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าอัตลักษณ์ สำหรับการเตรียมความพร้อมการทำการตลาดเชิงรุก เป้าหมาย - สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด - สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด พื้นที่ดำเนินงานโครงการ - สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม - สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 125,800 125,800 100 3. ผลการดำเนินการ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้น ถิ่นในสถาบันเกษตรกร(ผลไม้) ปีงบประมาณ 2566 3.1 จัดทำฐานข้อมูลสหกรณ์ โดยสำรวจข้อมูลพื้นฐานการผลิตและจำหน่ายสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส้มโอ ขาวใหญ่สมุทรสงคราม ของสหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด และรายงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ตามแบบรายงานที่กำหนด 3.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สินค้าอัตลักษณ์ ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม ของสหกรณ์การเกษตร บางคนที จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง งบประมาณ แห่งละ 36,000 บาท โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แต่ละแห่ง ดังนี้ - จัดทำสื่อวีดีทัศน์ คลิปยาว จำนวน 1 คลิป , คลิปสั้น จำนวน 2 คลิป เบิกจ่ายงบประมาณ 28,000 บาท บอกเล่าเรื่องราวผลไม้อัตลักษณ์ (ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม) จุดดี จุดเด่นของผลไม้อัตลักษณ์พื้น ถิ่น กระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว และการตลาด และนำเข้าประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต และช่องทาง อื่นๆ - จัดทำสติ๊กเกอร์วอยด์เปลือกไข่ จำนวน 4,400 ดวง เบิกจ่ายงบประมาณ 8,000 บาท เป็นสติ๊กเกอร์ วอยด์เปลือกไข่ ติดลงบนผลส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตร อัตลักษณ์ของสถาบันเกษตรกรให้เกิดการยอมรับและเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 46 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด ได้รับสื่อวีดีทัศน์ เพื่อ ประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม, สติ๊กเกอร์วอยด์เปลือกไข่ โดยสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม คิดเป็นร้อยละ 3 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด , สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด สามารถรวบรวมผลผลิตของ สมาชิกสหกรณ์สินค้าเกษตรอัตลักษณ์ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่สมุทรสงคราม และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้าน ราคาได้เพิ่มขึ้น ภาพกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร(ผลไม้)


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 47


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 48 ภาพสื่อประชาสัมพันธ์สื่อวีดีทัศน์ โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในสถาบันเกษตรกร(ผลไม้) สติ๊กเกอร์วอยด์เปลือกไข่


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 49 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการดำเนินภารกิจยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ ➢ แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 1) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/พื้นที่ดำเนินโครงการ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจให้กรรมการ ฝ่ายจัดการ และทีมปฏิบัติการของสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกร ในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วย ระบบสหกรณ์ 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระ และการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก เป้าหมาย ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย 1. ประธานกรรมการสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อสหกรณ์ (ทีมปฏิบัติการของสหกรณ์) 2. เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม (ทีมโค้ช) วิทยากร และผู้สังเกตการณ์ พื้นที่ดำเนินโครงการ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม 2. งบประมาณที่ได้รับ ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 6,800 6,800 100 3. ผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารคุณภาพหนี้ อย่างยั่งยืนในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเพื่อให้ ความรู้ เกี่ยวกับการบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไข ปัญหาหนี้ค้าชำระ และการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก โดยมีสหกรณ์ภาคการเกษตรเข้าร่วม โครงการ จำนวน 8 สหกรณ์และ 1 กลุ่มเกษตรกร 4. ผลลัพธ์ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจในการบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืน จำนวน 40 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้ และส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถจัดการหนี้ของตนเองได้


รายงานประจำปี (Annual Report) พ.ศ. 2566 WE ARE HOPE เรา คือ ความหวังของเกษตรกร หน้า 50 ภาพกิจกรรม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารคุณภาพหนี้อย่างยั่งยืน ในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร”


Click to View FlipBook Version