The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารการสอนวิชาซักรีด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by duen_702, 2024-03-12 21:48:09

เอกสารการสอนวิชาซักรีด

เอกสารการสอนวิชาซักรีด

เอกสารการสอน วิชางานซักรีด 20701-2109 สาขาวิชาการโรงแรม ณัฎฐวีมล อำนวยพร แผนกวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช


2 เอกสารประกอบชุดการสอน วิชางานซักรีด 20701-2109 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม แผนกวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


3 บทที่ 1 โครงสร้างการบริหารงานแผนกซักรีด สาระสำคัญ โรงแรมเป็นองค์กรที่ใหญ่และมีพนักงานจำนวนมาก จึงต้องมีการจัดระบบการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เพื่อการทำงานที่คล่องตัว และในองค์กรทุกแห่งไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน จะต้องมีการจัดแผนภูมิองค์กรเพื่อ ประโยชน์นการบริหารงาน ทำให้มองภาพการบริหารและลำดับขั้นตอนการจัดองค์กรอย่างชัดเจน แผนกซักรีด จัดเป็นแผนกหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งในแผนภูมิองค์กร เพราะในโรงแรมประกอบด้วยผ้า นานาชนิดที่ต้องใช้งานเป็นประจำ แผนกซักรีดจึงเป็นแผนกที่รับผิดชอบผ้าเหล่านั้นให้เพียงพอต่อการใช้งาน อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังรับผิดชอบบริการซักรีดผ้าให้แขกอีกด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ทั่วไป 1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานแผนกซักรีด 2.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่และการปฏิบัติงาน 3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของพนักงานซักรีด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายแผนภูมิการบริหารงานแผนกซักรีดได้ 2. บอกตำแหน่ง หน้าที่และการปฏิบัติงานแผนกซักรีดได้ 3. อธิบายการประสานงานของแผนกซักรีดได้


4 สาระการเรียนรู้: ผู้จัดการแผนกซักรีด ( Laundry Manager ) หน้าที่รับผิดชอบ 1. Guest Laundry เสื้อผ้าและผ้าชนิดต่าง ๆ ทุกชนิดของลูกค้า 2. House Laundry ผ้าที่ใช้ในห้องพักโรงแรม เช่น ผ้าปูที่นอน ( Bedsheet ) ปลอกหมอน ( Pillowcase ) ผ้าคลุมเตียง ( Bedspread ) ม่าน ( Curtains ) ผ้าเช็ดตัว ( Bath towel ) ผ้าเช็ดหน้า ( Face towel ) ผ้าเช็ดมือ ( Hand towel ) และเสื้อคลุมก่อน/หลังอาบน้ำ ( Bathrobe ) ผ้าที่ใช้ในสถานบริการต่าง ๆ ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ผ้าปูโต๊ะ ( Table cloth ) ผ้าเช็ดปาก/มือ ( Napkin ) ผ้าเช็ดภาชนะ ( Service napkin ) ผ้าระบาย รอบโต๊ะบุฟเฟต์ ( Skirt ) ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หัวหน้าแผนกแม่บ้าน ( Executive Housekeeper ) ความสำมพันธ์กับแผนกอื่น ทุกฝ่ายทุกแผนก และลูกค้า การปฏิบัติงาน 1. ดูแลพนักงานซักรีดทุกคนให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแนวนโยบายของโรงแรม 2. ให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่พนักงานเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ และการบริการ อธิบายให้ พนักงานทราบถึงนโยบาย ภารกิจ วิธีการทำงานและมาตรฐานการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงาน สามารถบริการลูกค้าได้ตามมารฐานสูงสุด 3. จัดตารางการทำงานของพนักงานให้เพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณงานที่มีอยู่ในห้องซัก รีด 4. จัดทำแผนงานการปกิบัติงานประจำวันสำหรับพนักงานซักรีด เพื่อการทำงานของ พนักงานปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 5. ตรวจสอบคำขอใช้ผ้าสำหรับห้องพักลูกค้า และห้องบริการอื่น ๆ ของโรงแรม ( Rooms Division and F&B Division )


5 6. ตรวจสอบสต๊อคเครื่องใช้ เครื่องไม้เครื่องมือ แอะไหล่ต่าง ๆ ( Spareparts ) ในห้องซักรีด 7. ดูแลเครื่องใช้ในแผนกซักรีดจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตามผังที่กำหนด 8. วางแผนการป้องกันความชำรุดเสียหาย ที่จะเกิดต่อเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานซัก รีด โดยประสานงานกับฝ่ายช่า ( Engineering Division ) 9. ส่งรายงานให้หัวหน้าแผนกแม่บ้านทราบ เกี่ยวกับปัญหาการทำงานเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนค่าใช้จ่ายงานซักรีดพร้มทั้งเสนอความเห็นในการทำงานให้ดีขึ้น 10. ดูแลให้พนักงานใช้ผงซักฟอกน้ำยาเคมีต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะม และรู้จักใช้ น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะกับผ้าชนิดต่าง ๆ และรอยเปื้อน 11. ตรวจสอบข้อร้องเรียนของลูกค้า ( Guest Claim Liability ) ที่มีถึงแผนกซักรีด ประสานงานกับฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง 12. จัดประเมินผลการทำงานของพนักงานซักรีด พร้อมทั้งจัดทำคำแนะนำและกรอบ เวลาในการปรับปรุงการทำงาน 13. ติดต่อสื่อสารกับแผนกต่าง ๆของโรงแรมโดยใกล้ชิด เพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ 14. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าแม่บ้าน หัวหน้าพนักงานซักรีด ( Laundry Supervisor ) หน้าที่ความรับผิดชอบ ควบคุมงานซักรีดทั้งหมดของลูกค้า เครื่องแบบพนักงาน ผ้าต่าง ๆ ที่ใช้ ในห้องพักและห้องอาหารสถานบริการต่าง ๆ ของโรงแรม ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ผู้จัดการแผนกซักรีด ( Laundry Manager ) ความสัมพันธ์กับแผนกอื่น ทุกฝ่ายทุกแผนก และลูกค้า การปฏิบัติงาน 1 ควบคุมดูแลพนักงานซักรีดทุกคน แบ่งหน้าที่ได้ดังนี้ 1.1 พนักงานคัดเลือกผ้า/แยกประเภทผ้า ( Checkers )


6 1.2 พนักงานซักแห้ง ( Dry Cleaners ) 1.3 พนักงานซักผ้า ( Hand Washers ) 1.4 พนักงานรีดผ้า ( Ironers ) 1.5 พนักงานซักรีดทั่วไป ( Laundry Attendants ) 2. ให้คำแนะนำพนักงานต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานทุกหน้าที่ 3. ควบคุมการทำงานตามตารางเวลาที่กำหนด 4. ตรวจสอบงานซักรีดทั้งหมดของลูกค้า และการรับ-ส่ง เสื้อผ้าและผ้าต่าง ๆ ของลูกค้า ( Guest Service ) 5. ตรวจสอบงานซักรีดเครื่องแบบพนักงาน ( Staff Uniforms ) ก่อนส่งไปไว้ที่ห้องผ้า ( Linen Uniform Room ) 6. ตรวจสอบงานซักรีดผ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องพักและห้องอาหาร สถานบริการต่าง ๆ ของโรงแรม ( House Linen ) ก่อนส่งไปไว้ยังห้องผ้า ( Linen Room ) 7. ควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการซักรีด โดยประสานงานกับฝ่ายช่าง 8. ควบคุมการใช้ผงซักฟอกและน้ำยาเคมีต่าง ๆ ในรายละเอียดวิธีการใช้ 9. ควบคุมดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของแผนกซักรีด 10.ตรวจสอบข้อร้องเรียนของลูกค้า ( Guest Claim Liability ) ที่มีถึงแผนกซักรีด ประสานงานกับฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง 11. จัดประเมินผลการทำงานของพนักงานซักรีด พร้อมทั้งจัดทำคำแนะนำและกรอบ เวลาในการปรับปรุงการทำงาน 12. ติดต่อสื่อสารกับแผนกต่าง ๆของโรงแรมโดยใกล้ชิด เพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ


7 13. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าแผนกซักรีด หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน ( Linen & Uniform Room Supervisor ) หน้าที่ความรับผิดชอบ การควบคุมจัดการห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน คลังเก็บรักษาผ้าทุก ชนิดที่ใช้อยู่ภายในโรงแรม ผ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องพักและห้องอาหาร สถานบริการทกแห่งของโรงแรม และเครื่องแบบพนักงาน ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หัวหน้าแผนกแม่บ้าน ( Executive Housekeeper ) ความสัมพันธ์กับแผนกอื่น ทุกฝ่ายทุกแผนก การปฏิบัติงาน 1 ควบคุมพนักงานประจำห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงานให้ปฏิบัติงานตามนโยบายของ โรงแรม 2. ให้คำแนะนำอธิบายการปฏิบัติงาน ภาระงาน ลักษณะงาน วิธีการดำเนินงานและ มาตรฐานการให้บริการเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด 3. จัดทำตารางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานใหม่มีผู้ปฏิบัติงานเพียงพอและเหมาะสม ใน ส่วนงานห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน 4. งานประจำวัน 4.1 จ่ายผ้าที่อยู่ในสภาพดีให้กับแผนกที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเครื่องแบบพนักงาน ทุกแผนก 4.2 รับผ้าและเครื่องแบบพนักงานที่ใช้แล้วเพื่อเตรียมส่งซัก 4.3 ควบคุมจำนวนผ้าต่าง ๆ และเครื่องแบบพนักงานที่ถูกเบิกไป 4.4 ตรวจสอบจำนวนผ้าและเครื่องแบบที่รับผิดชอบ 4.5 ซ่อมแซมผ้าและเครื่องแบบและการทำเครื่องหมาย 4.6 ควบคุมจำนวนผ้าต่างๆและเครื่องแบบพนักงานทั้งหมดในห้องผ้า


8 5. ลักษณะที่ดีของห้องผ้า 5.1 กว้างพอที่จะบรรจุผ้าทุกชนิดและเครื่องแบบพนักงานโดยไม่แออัด 5.2 พื้นห้องแข็งแรงทำความสะอาดง่าย 5.3 สีของผนังและเพดานห้องควรทาด้วยสีสว่าง เช่น สีขาว ครีม 5.4 ห้องผ้าไม่ควรอับชื้น ระบายอากาศได้ดี และมีแสงสว่างเพียงพอ 5.5 ชั้นวางผ้าโปร่งเปิดตลอดทั้ง 4 ด้าน 5.6 มีเคาน์เตอร์กั้นบุคคลภายนอกไม่ให้เข้าไปภายในห้องผ้า 5.7 มีประตูปิดมิดชิด ใส่กุญแจได้ 5.8 มีอ่างล้างมือ 6. เวลาทำงานของห้องผ้า 08:00 – 17:00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด กุญแจห้องผ้าจะเก็บไว้ที่ แผนกแม่บ้าน ( กรณีฉุกเฉิน มีระเบียบในการเบิกผ้าหรือเครื่องแบบพนักงาน นอกเวลาทำงาน) 7. การขอเปลี่ยนผ้า วิธีดีที่สุดและไม่ทำให้ผ้าหาย คือเอาผ้าใช้แล้วแลกกับผ้าสะอาด ในทาง ปฏิบัติอาจไม่สะดวกในการทำงาน ดังนั้นควรมีผ้าสำรองเก็บไว้แต่ละชิ้นให้เพียงพอ โดยมีผ้าหมุนเวียนใช้ 3-4 ชุด 8. การคัดเลือกผ้า ก่อนส่งแผนกซักรีด พนักงานควรคัด/แยกผ้าสกปรกมากออกจากสกปรก ธรรมดา เช่น ผ้าเปื้อนคราบเลือด ไขมันและเศษอาหารเพื่อแผนกซักรีดจะได้ใช้น้ำยากำจัดครบสกปรกจากผ้า เสียก่อน 9. การรับผ้าสะอาด จากแผนกซักรีดจะนำผ้าสะอาดมาคืนห้องผ้าตามจำนวนที่สั่งซัก ก่อนที่ พนักงานห้องผ้าจะนำผ้าสะอาดวางบนชั้น ควรตรวจดู เช่น - รอยชำรุดผ้า - ความสกปรกต่าง ๆ


9 - รอบพับของผ้าแต่ละชนิดถูกต้องหรือไม่ ( เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดมปาก/มือ ฯลฯ ) 10. การตรวจนับผ้า ( Inventory ) มีความสำคัญมาก เพราะจะได้ทราบว่ามีผ้าเพียงพอที่จะ หมุนเวียนใช้หรือเปล่า ควรจะสั่งซื้อใหม่ได้หรือยัง ควรตรวจผ้าที่สูญหายด้วย การตรวจนับอาจทำทุกเดือน หรือ 3 เดือครั้งและต้องตรวจนับให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อ ป้องกันการสับสนด้านตัวเลขผ้าทุกชิ้นต้องถูกนับ รวมทั้งผ้าที่กำลังซักอยู่ที่แผนกซักรีดด้วย 11. การเก็บผ้า การเก็บผ้าที่ถูกวิธี จะทำให้ผ้ามีคุณภาพดี และมีอายุการใช้งานนาน เช่น - ผ้าที่ใช้นานๆครั้ง ควรมีผ้าสะอาดคลุมกันฝุ่น - ผ้าสำรองที่เก็บไว้ในห้องผ้าควรห่อไว้ด้วยกระดาษเดิมหลังจากการ ตรวจเช็ค แล้ว - ควรใช้ผ้าทุกชิ้นแบบหมุนเวียน - เพื่อให้การนับผ้าง่ายขึ้น ให้วางผ้าโดยเอาทางด้านพับออก 12. รายงานผ้าชำรุดให้หัวหน้าแผนกแม่บ้านทราบ 13. ประเมินผลพนักงานห้องผ้าและฝึกอบรมเป็นครั้งคราว 14. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าแผนกแม่บ้าน พนักงานเย็บผ้า ( Seamstresses ) หน้าที่ความรับผิดชอบ ซ่อมแซมเสื้อผ้าชำรุดของลูกค้าที่ส่งมาให้ซ่อม ซ่อมผ้าชำรุดของ โรงแรม คัดแปลงผ้าชำรุดให้เปลี่ยนสภาพเป็นผ้าที่ใช้งานอื่นได้ ซ่อมแซมและดัดแปลงแก้ไขเครื่องแบบพนักงาน ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน ( Linen & Uniform Room Supervisor ) ความสัมพันธ์กับแผนกอื่น ทุกฝ่ายทุกแผนก


10 การปฏิบัติงาน 1 ควบคุมดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเย็บผ้า ส่วนหนึ่งของห้องผ้าและเครื่องแบบ พนักงาน เช่น จักรเย็บผ้า ( Sewing Machines ) จักรซิกแซก ( Zingzag ) เครื่องซ่อมชายผ้า ควรหยอด น้ำมันจักรทุกวันเมื่อเสร็จงาน ปัดฝุ่นเช็ดให้สะอาด ตรวจดูทุก่วนให้เรียบร้อย 2. ซ่อมแซมเสื้อผ้าและผ้าชำรุดของลูกค้าที่ส่งมาให้ซ่อม 3. ซ่อมแซมผ้าที่ใช้ในห้องพัก เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้า เช็ดมือ เสื้อคลุมก่อน/หลังอาบน้ำ ฯลฯ 4. ซ่อมแซมผ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก/มือ ผ้า บริการ ผ้าระบายโต๊ะบุฟเฟต์ ผ้ากันเปื้อนของพ่อครัวและพนักงานล้างจาน เป็นต้น 5. ดัดแปลงผ้าชำรุดเป็นผ้ากันเปื้อนและผ้าทำความสะอาด สำหรับแผนกแม่บ้านและฝ่าย อาหารและเครื่องดื่ม 6. ซ่อมแซมและดัดแปลงเครื่องแบบพนักงาน 7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงานมอบหมาย พนักงาน พนักงานห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน ( Linen & Uniform Room Attendants ) หน้าที่ความรับผิดชอบ รับผิดชอบในการจัดเก็บและส่งมอบผ้าทั้งหมดของโรงแรม ตลอดจน ดูแลจัดการเกี่ยวกับระบบสินค้าคงคลังของผ้า และวัสดุใช้สอยภายใน ห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน ผู้บังคับบัญชาโดยตรง หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน ( Linen & Uniform Room Supervisor ) ความสัมพันธ์กับแผนกอื่น ทุกฝ่ายทุกแผนก การปฏิบัติงาน 1 จัดทำรายงานของห้องผ้าส่งให้หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน 2. แยกประเภทนับจำนวนของผ้าและลงบันทึกจำนวนที่ต้องส่งซักรีด


11 3. ส่งผ้าที่ชำรุดให้พนักงานเย็บผ้าเพื่อจัดการซ่อมแซม 4. นำผ้าและเครื่องแบบใส่ถุงผ้านำส่งแผนกซักรีด 5. ตรวจสอบผ้าที่ส่งคืนมาเพื่อให้แน่ใจว่าสะอาดตามมาตรฐาน 6. พับผ้าต่าง ๆ และจัดเก็บเครื่องแบบ แยกประเภทและจัดวางให้เรียบร้อยหลังจาก ตรวจสอบจำนวนและประเภทแล้ว 7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องมือเครื่องใช้ของห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงานอยู่ในสภาพที่ ใช้การได้ และจัดวางไว้ในที่ที่ใช้สะดวก 8. ทำบัญชีสำรวจผ้าทุกชนิดภายในห้องผ้าและชั้นต่าง ๆ ควบคุมเครื่องแบบพนักงาน 9. รายงานปัญหาการซ่อมแซมและจำนวนผู้ที่สูญหายให้หัวหน้าห้องผ้าทราบ 10. รายงานปัญหาของเครื่องมือเครื่องใช้ หรือความเสียหายใด ๆ เกี่ยวกับงานห้องผ้าให้ หัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงานทราบ 11ใ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าห้องผ้าและเครื่องแบบพนักงาน สรุปงานแผนกซักรีด 1. การบริหาร ( Administration ) 1.1 เงินเดือนพนักงานและงบประมาณค่าใช้จ่ายในแผนก 1.2 การปฏิบัติงานประจำวัน 1.3 การปฏิบัติและการควบคุมบันทึกต่าง ๆ 1.4 งบประมาณและการเปลี่ยนอุปกรณ์ การใช้ของใหม่แทนของเก่า 1.5 การบำรุงรักษาและซ่อม 1.6 ติดต่อกับฝ่ายการบัญชีและการเงิน ฝ่ายช่างหรือวิศวกรรม ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม แผนกจัดซื้อ แผนกแม่บ้าน และแผนกบริการส่วนหน้า


12 1.7 แก้ไขและปรับปรุงตามข้อร้องเรียนหรือแนะนำของลูกค้า 1.8 เอกสารเผยแพร่ของโรงแรมกรณีที่รับจ้างจากบุคคลภายนอก 2. การเก็บและการนำส่ง ( Pick Up and Delivery ) 2.1 รับคำสั่งทางโทรศัพท์ 2.2 วิธีการเก็บ 2.3 ขั้นตอนการบันทึกรายละเอียดสิ่งของ 2.4 การคิดค่าบริการ 2.5 วิธีการขนส่ง 2.6 ลูกค้าที่จะจากไป 2.7 การบริการพิเศษ 3. การซักรีดผ้าให้ลูกค้า ( Guest Laundry ) 3.1 การแยกชนิดและการทำเครื่องหมาย 3.2 สูตรการซัก 3.3 การรีดและพับด้วยเครื่องจักร 3.4 การรีดด้วยมือ 3.5 การแยกชนิดการและการบรรจุหีบห่อ 4. การซักรีดของโรงแรม ( House Laundry ) ผ้าของแผนกแม่บ้าน ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องแบบพนักงานและงานพิเศษ เช่น การซักผ้าม่าน ผ้าคลุมเตียง เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอน คือ การแยกชนิดของผ้า การซัก การทำให้หมาดแอบแห้ง การรีดและการ พับ การเก็บ การจำหน่ายหมดสภาพ และการเพิ่มให้ครบจำนวน รวมทั้งการทดสอบ


13 5. หน้าที่พนักงานซักรีด ( Laundry Staff Duties ) 5.1 การแยกชนิดของผ้า และการทำเครื่องหมาย 5.2 การตรวจจุดสกปรกต่าง ๆ 5.3 วิธีการซักและสูตรการซักผ้า 5.4 การทำผ้าให้แห้ง 5.5 การรีดด้วยมือและการรีดด้วยเครื่องจักร 5.6 ผ้าชนิดพิเศษ เช่น ผ้าลูกไม้ แพร ผ้าขนสัตว์ 5.7 เครื่องแบบพนักงาน


14 บทที่ 2 การบริหารงานแผนกซักรีด สาระสำคัญ แผนกซักรีด จัดเป็นแผนกหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งในแผนภูมิองค์กร เพราะในโรงแรมประกอบด้วยผ้า นานาชนิดที่ต้องใช้งานเป็นประจำ แผนกซักรีดจึงเป็นแผนกที่รับผิดชอบผ้าเหล่านั้นให้เพียงพอต่อการใช้งาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแผนกซักรีดจะต้องเข้าใจภาระหน้าที่ การวางแผน และระบบการซักรีด หรือ OPL ให้ เข้าใจ จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ทั่วไป 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของแผนกซักรีด 2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนแผนกซักรีดหรือ OPL ( On-premise laundry ) 3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบซักรีด หรือ OPL ( On-premise laundry ) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายภาระหน้าที่ของแผนกซักรีดได้ 2. สรุปการวางแผนแผนกซักรีดได้ หรือ OPL ( On-premise laundry ) 3. อธิบายระบบซักรีดหรือ OPL ( On-premise laundry ) สาระการเรียนรู้ การซักรีดเป็นการทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากเส้นใยของเนื้อผ้า ซึ่งมีทั้งเส้นใยจากจาก ธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ ดังนั้น การซักฟอกจึงจำเป็นต้องมีวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของเส้นใยผ้าชนิด


15 นั้น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นใยผ้าถูกทำลายหรือเกิดความเสียหาย ทั้งนี้ข้อคำนึงที่สำคัญในการซักผ้านั้น คือ เลือกวิธีที่มีความประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย งานซักรีดในโรงแรมนั้น มีภาระหน้าที่หลัก ๆ คือ เพื่อทำให้ผู้ใช้บริการได้ “ผ้า” ไปใช้งาน ตามต้องการ โดยที่ผ้านั้นจะต้อง 1. ขาวและสะอาด – ความขาวและสะอาดนั้นถือว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้รับเพราะนั่น คือวัตถุประสงค์หลักในการซักรีด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายเข้ามามีบทบาทในการทำให้ผ้าขาวสะอาดใน งบประมาณที่ไม่มากนัก “ ความขาว “ หมายถึงผ้าขาว ซึ่งเป็นผ้าที่ใช้ในโรงแรมประมาณ 70-90% ของผ้า ทั้งหมด ถ้าผ้าไม่ขาวก็สามารถองได้ด้วยตาเปล่าของบุคคลทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของ ผู้รับผิดชอบที่ไม่ปฏิเสธได้ ส่วนคำว่า “ สะอาด “ หมายถึงผ้าที่ปราศจากสิ่งสกปรกหรือปนเปื้อน กลิ่นหรือ ความหม่นหมองทั้งปวง การรักษาผ้าให้ “ ขาวและสะอาด ” ถือเป็นข้อสังเกตพื้นฐานถึงความเจริญก้าวหน้าใน มาตรฐานของงานซักรีด 2. ทันเวลา – คือ กำหนดการสี่ต้องรีบนำผ้าไปซักรีดให้ทันการ ตามความต้องการของแต่ละ สถานการณ์ที่ต้องการจะใช้ เช่น ภายใน 3 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง เป็นต้น ตามปกตินั้น ช่วงเวลายิ่งสั้น ค่าใช้จ่ายในการซักรีดจะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้น โรงแรมจำเป็นต้องพิจารณาว่า สิ่งใดสำคัญกว่ากันระหว่างเวลากับ ค่าใช้จ่าย 3. งบประมาณ – เป็นเรื่องท่ำคัญที่สุดประการหนึ่งในการควบคุมงานซักรีดให้อยู่ใน เป้าหมายที่ต้องการในงบประมาณที่น้อยที่สุด ส่วนใหญ่นั้นผู้บริหารมักจะคำนึงถึงแต่ค่าใช้จ่ายที่สามารถ มองเห็นและจับต้องได้ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายประเภทที่จำเป็นต้องนำไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในแผนกซัก รีด ซึ่งในบางกรณี ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถมองห็นมักจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่มองเห็นได้ เช่น ค่าเสื่อมราคาของ เครื่อง่จักร ค่าดอกเบี้ยในการลงทุน ท่าใช้พื้นที่หรือค่าเสียโอกาส เป็นต้น การวางแผนกแผนกซักรีด หรือ OPL การสร้างระบบซักรีดที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ในรายละเอียดต่าง ๆ ที่โรงแรมนั้น ต้องการ ดังนี้น OPL จะเกิดผลดีที่สุด เมื่อมีการจัดให้เข้ากับความต้องการของโรงแรมที่ต้องการจะใช้ ประโยชน์จากแผนกซักรีด การวางแผนก่อนการสร้างแผนกซักรีดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันปัญหาที่ อาจตามมา เช่น ไม่มีที่เพียงพอในการทำงานภายในห้องซักรีด ไม่มีเครื่องมือเพียงพอในการซักรีดที่มีจำนวน


16 มากขึ้น มีท่อระบายอากาศและท่อระบายน้ำไม่เพียงพอ การซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์กระทำได้ยาก เพราะพื้นที่แคบ เป็นต้น หลักในการพิจารณาการวางแผนแผนกซักรีด หรือ OPL 1. จำนวนของผ้าที่ OPL จะรองรับได้มากที่สุดเท่าไหร่ ? โดยทั่ว ๆ ไปจำนวนของผ้าจะสามารถวัดออกมาได้จำนวนของหน่วยวัดน้ำหนัก เช่น ปอนด์ หรือ กิโลกรัม ซึ่งจำนวนของผ้าที่จะมาซักรีดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของจำนวนแขกที่เข้ามาพัก หรือ occupancy rate และจำนวนแขกที่มาใช้บริกาในแผนกอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้น OPL ควรมีการออกแบบให้สามารถ รองรับจำนวนของผ้าที่ต้องการจะซักให้มากที่สุด ของช่วงเวาที่ธุรกิจขายดีที่สุดในแต่ละวัน 2. จำนวนพื้นที่ของโรงแรมเท่าไรที่จะมาเป็นพื้นที่ของ OPL ? พื้นที่ในห้องซักรีดนั้นจะต้องมีการออกแบบให้สามารถที่จะวางเครื่องมือและอุปกรณ์ทุกชนิด ที่จำเป็นลงได้ โดยที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับพนักงานสามาระทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งมี พื้นที่มากพอที่จะแยกผ้าสะอาดและผ้าที่สกปรกออกจากกัน ปัจจัยหลักในการพิจารณาพื้นที่ ๆ ต้องการจะใช้ คือ ความต้องการของการซักรีดจำนวนของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ใส OPL และจำนวนผ้าที่จะเก็บไว้ในห้อง เสื้อผ้า นอกจากนี้ โรงแรมักจะเผื่อพื้นที่ว่างเอาไว้สำหรับการติดตั้งไฟฟ้า เครื่องจักร และระบบระบายของเสีย เพื่อเอาไว้ขยายออกไปอีกในกรณีที่มีความต้องการใน OPL เพิ่มขึ้นในอนาคต 3. ควรจะซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ ระดับจำนวนของผ้าที่ต้องการจะซัก จะสามารถเป็นตัวตัดินหรือปัจจัยสำคัญว่าโรงแรมต้อง ซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์เท่าไรและประเภทใดป้าง เพื่อจะได้สามารถตอบสนองความต้องการการซักรีดของ โรงแรมได้ ชนิดของผ้าที่จะซักเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการตัดสินใจว่า เครื่องมือและอุปกรณ์ชนิดไหนที่ ต้องการ เช่น โรงแรมมีกลุ่มลูกค้าที่เน้นในเรื่องการจัดเลี้ยงและห้องอาหาร อาจจำเป็นต้องมีการติดตั้ง เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการซักรีดผ้าเช็ดปากและผ้าคลุมโต๊ะมากขึ้น หรือ ในบางโรงแรมที่ใช้ผ้าลินินที่ไร้รอยยับ (no-iron sheets) จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องรีดผ้าแบบลูกกลิ้ง สำหรับปัจจัยในเรื่องของการประหยัดพลังงานและน้ำ เป็นอีกสิ่งหนึ่งต้องคำนึงถึง รวมทั้งเรื่องของ การติดตั้งไฟฟ้าและการระบายของเสียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอากาศและน้ำ การเลือกเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ถูกต้อง และจำเป็นต่อการทำงานนั้นจะช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก ในเรื่องเครื่องจักรอุปกรณ์และ


17 แรงงานที่ใช้ในการทำงาน และเมื่อโรงแรมสามารถที่จะเลือกเครื่องจักรอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แล้ว ควรที่จะมีการ ติดตั้งให้เหมาะสมกับระบบการทำงานให้มากที่สุด รวมทั้งมีพื้นที่เพียงพอในระบบการทำงานที่ควรจะเป็น เนื่องจากการทำงานในห้องซักรีดนั้นมีบรรยากาศที่ค่อนข้างร้อนและมีความชื้นสูง จึงควรที่จะมีพื้นที่ว่างและ ระบบระบายอากาศสำหรับให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และพื้นที่ห้องในห้องซักรีดควรที่จะใช้วัสดุที่ไม่ลื่นและ ป้องกันน้ำและความชื้นต่าง ๆ ได้ รวมทั้งมีแสงสว่างที่เพียงพอในการตรวจสอบรอยเปื้อนและสิ่งสกปรกต่าง ๆ บนเนื้อผ้า การวางเครื่องจักรต่าง ๆ นั้นควรเหลือพื้นที่ออกจากกันและกันและผนังอย่างน้อย 2 ฟุตเพื่อใช้ใน การทำความสะอาดและซ่อมแซม 4. โรงแรมจะมีการให้บริการทางด้าน Valet Service หรือไม่ Valet Service คือ การบริการซักรีดให้กับแขกที่มาใช้บริการกับโรงแรม ในโรงแรมที่มีการ ให้บริการระดับสูง ( world-class service ) อาจมีความจำเป็นต้องมีบริการซักแห้งให้กับแขกที่มาเข้าพัก ( แต่ ในบางกรณีอาจใช้บริการซักรีดจากภายนอก เพราะต้นทุนในการลงทุนสูงเกินไป ) ซึ่งถ้าดรงแรมตัดสินใจว่าจะ มีการให้บริการซักรีดและซักแห้งให้กับแขกแล้ว จำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซัก แห้งเพิ่มขึ้น รวมทั้งพื้นที่ว่างที่จำเป็นสำหรับการทำงานของพนักงานแผนก Valet ต่างหาก นอกจากนี้ ยังต้อง มีการว่าจ้างพนักงานในแผนกนี้เพิ่มเติมในการทำงานส่วนของ Valet เท่านั้น เพื่อไม่ให้ก้าวก่ายการทำงานใน ส่วนของพนักงานซักรีดอื่นและป้องกันมิให้เสื้อผ้าของแขกปะปนกับการซักรีดผ้าลินินโรงแรม ข้อสังเกต ขนาดของโรงแรมและชนิดของการให้บริการ สามารถเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา ด้วย เช่น ถ้าโรงแรมมีขนาดเล็ก ( น้อยกว่า 150 ห้อง ) และมีการให้บริการจำนวนจำกัด อาจมีความต้องการ ในพื้นที่ของ OPL แค่ 400 – 500 ตารางฟุต แต่ถ้าเป็นโรงแรมขาดกลางและมีการให้บริการทางด้านอาหาร และเครื่องดื่มด้วย ก็อาจมีความต้องการใช้พื้นที่ 1500 – 2000 ตารางฟุต ระบบการทำงานของแผนกซักรีด หรือ OPL ขั้นตอนที่สำคัญในการซักรีดของแผนกซักรีด หรือ OPL ประกอบด้วย 1. การเก็บผ้าที่สกปรกหรือใช้แล้ว 2. การขนย้ายผ้าที่สกปรกหรือใช้แล้วมายังแผนกซักรีด 3. การคัดแยกผ้า


18 4. การซักผ้า 5. การล้างผ้า/การปั่นน้ำออกจากผ้า 6. การอบผ้า 7. การรีดผ้า 8. การพับผ้า 9. การเก็บผ้า 10. การขนย้ายผ้าไปยังสถานที่ ๆ ต้องการจะใช้


19 บทที่ 3 การใช้อุปกรณ์และสารเคมีกับงานซักรีด สาระสำคัญ ประสบการณ์ที่น่าประทับใจของการเข้าพักที่โรงแรมหรูต่างๆ อกจากเรื่องความสะดวกสบายและ การบริการที่ดีของพนักงานโรงแรมแล้ว เรื่องของความนุ่มสบายสะอาดสะอ้านของ ผ้าโรงแรม ทั้งผ้าปูเตียง, ผ้าขนหนูหรือผ้าอเนกประสงค์ต่างๆ เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความประทับใจอันดีให้กับลูกค้าได้ เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องทำความเข้าใจและรู้จักผ้าต่างๆ ของโรงแรมรวมทั้งชนิดของผ้าด้วย จุดประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อให้มีความรู้ประเภทของผ้าโรงแรมที่แผนกซักรีดต้องซักได้ถูกต้อง 2) เพื่อให้มีความรู้ขนิดของผ้าโรงแรมที่แผนกซักรีดต้องซักได้ถูกต้อง 3) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดูแลรักษาผ้าโรงแรมได้ถูกต้อง จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1) ระบุประเภทของผ้าโรงแรมที่แผนกซักรีดต้องซักได้ถูกต้อง 2) บอกขนิดของผ้าโรงแรมที่แผนกซักรีดต้องซักได้ถูกต้อง 3) อธิบายการดูแลรักษาผ้าโรงแรมได้ถูกต้อง สาระการเรียนรู้ ในแผนกซักรีดจะมีเครื่องมือเครื่องจักรในการซักรีดอยู่หลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เครื่องซักผ้า เครื่องสลัดผ้า เครื่องซักแห้ง เครื่องสป๊อตติ้ง เครืองรีดผ้า เครื่องปั้มหมายเลขผ้า เครื่องแพ็กผ้า และเครื่องอบผ้า


20 1. เครื่องซักผ้า เครื่องซักผ้า ( washer ) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านชินดหนึ่งซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรง ชีวิตประจำวันของคนในสังคมปัจจุบัน เครื่องซักผ้าเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำความสะอาด เสื้อผ้าแทนการใช้มือทำให้ประหวัดเวลาและแรงงานอย่างมาก เครื่องซักผ้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้กันอย่าง แพร่หลายทุกครัวเรือน ระบบการทำงานของเครื่องซักผ้า เครื่องซักผ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่อง ซักผ้าแบบกึ่งอันโนมัติและเครื่องซักผ้าแบบอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าแต่ละชนิดมีหลักการทำงานที่แต่กต่างกันดังนี้ 1.1 เครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติมีลักษณะเป็นเครื่องซักผ้าแบบถังตั้ง คือ ถังฝาปิดอยู่ด้านบน ประกอบด้วยถังสองถัง ถังหนึ่งสำหรับซักและอีกถังหนึ่งสำหรับปั่นแห้งหรือสลัดน้ำ ถังท้งสองใบจะตั้งอยู่ใน แนวตั้ง มีหลักการทำงาน คือ เครื่องจะดูดหรือปั้มน้ำเข้าเครื่อง จากนั้นจะซักผ้าโดยการหมุนถังซักไปมาเพื่อทำ ให้เกิดแรงเหวี่ยงภายในจนเกิดการกระแทกระหว่างผ้า ผงซักฟอก และน้ำเพื่อให้ผ้าสะอาด เมื่อซักเสร็จก็จะ ถ่ายน้ำออกเพื่อนำน้ำดีเข้ามาอีก ซึ่งระยะเวลาที่ซักกับจำนวนรอบที่เปลี่ยนน้ำแล้วแต่การตั้งค่าของผู้ใช้งาน นตอนสุดท้ายเรื่องซักผ้าจะถ่ายน้ำออกจนหมด จากนั้นผู้ใช้ต้องเปลี่ยนผ้าจากถังซักไปยังถังปั่นแห้ง ซึ่งจะหมุน ปั่นผ้าด้วยความเร็วสูงเพื่อสลัดน้ำที่อยู่ในผ้าออกเพื่อให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น 1.2 เครื่องซักผ้าแบบอัตโนมัติ เครื่องซักผ้าแบบอัตโนมัติที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องซักผ้าแบบถังตั้งและ เครื่องซักผ้าแบบถังนอน


21 1. เครื่องซักผ้าแบบถังตั้ง ลักษณะและระบบการทำงานเหมือนกับเครื่องซักผ้าแบบ กึ่งอัตโนมัติแต่มีการปั่นแห้งหรือสลัดน้ำในถังเดียวกับถังสำหรับซักผ้าโดยในถังซักจะประกอบด้วยถัง 2 ชั้น โดยถังด้านในจะหมุน ส่วนถังด้านนอกจะอยู่กับที่ เครื่องซักผ้าแบบนี้จะปั่นแห้งสลับไปกับการซักผ้า จึงรีดน้ำ ออกจากเนื้อผ้าได้มากกว่าเครื่องซักผ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ 2. เครื่องซักผ้าแบบถังนอนจะมีการซักผ้าและปั่นแห้งหรือสลัดน้ำในถังใบเดียวกัน โดยเครื่องซักผ้าแบบถังนอน ภายในเครื่องจะประกอบด้วยถัง 2 ชั้นติดตั้งอยู่ในแนวนอน ขณะทำงานถังด้าน นอกอยู่กับที่เพื่อใช้เก็บน้ำที่ดูดเข้ามา ส่วนถังในจะหึนไปมาเพื่อให้ผ้าถูกเหวี่ยงขึ้นข้างบนแล้วตกลงมากระแทก กับน้ำและผงซักฟอก เพื่อให้ผ้าสะอาด เครื่องซักผ้าแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้มอเตอร์ที่มีกำลังสูงเหมือนเครื่องซัก ผ้าแบบถังตั้ง เนื่องจากหลักของแรงดึงดูดช่วยในการซัก ส่วนประกอบของเครื่องซักผ้า ส่วนประกอบของเครื่องซักผ้าจะแตกต่างกันไปตามประเภท รุ่น และเครื่องหมายการค้าของเครื่องซักผ้า โดยในที่นี้จะขออธิบายส่วนประกอบของเครื่องซักผ้าประเภท กึ่งอัตงโนมัติ เนื่องจากสามารถเห็นส่วนประกอบของเครื่องซักผ้าได้ชัดเจนกว่าเครื่องซักผ้าประเภทอื่น ๆ 1. ที่ปรับระดับน้ำ ( water level knob ) มีหน้าที่สำหรับตรวจวัดระดับความสูงของน้ำที่อยู่ ในถังซัก หากเกินระดับที่ตั้งไว้ก็จะระบายออกทางท่อน้ำทิ้ง บางรุ่นมีระบบการตัดน้ำเข้าเครื่องอัตโนมัติ แต่ บางเครื่องไม่มีซึ่งผู้ใช้ต้องสังเกตและปิดน้ำเอง 2. หน้าปัด ( panel ) เป็นที่ติดตั้งสวิตซ์ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ประกอบด้วยแผง ปุ่มปรับวิธีการซัก ปุ่มปรับตั้งเวลาซัก ปุ่มปรับวิธีการปล่อยน้ำและปุ่มตั้งเวลาในการปั่นแห้ง 3. ที่กรองน้ำล้น ( overflow filter ) จะทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกหรือเศษผงต่างๆที่อยู่ใน เครื่องซักผ้า เมื่อะงซักหมุนจะทำให้น้ำล้นสูงเกินกว่าระดับที่กรองน้ำล้น ทำให้สิ่งสกปรกหรือเศษผงมาติดที่ ตะแกรงหรือที่กรองน้ำทิ้ง ( drain filter ) 4. ฝาปิดถังซัก ( washer lid ) เป็นชิ้นส่วนของเครื่องซักผ้าที่สามารถถอดออกได้ ทำหน้าที่ ปิดถังซักเพื่อป้องกันน้ำในถังซักและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการซักผ้า 5. ใบพัดหมุนซัก ( pulsator ) ทำหน้าที่ปั่นผ้าให้หมุนไปมาในถังซัก เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ระหว่างน้ำ เสือผ้า และผงซักฟอก จนทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากผ้า


22 6. ถังซัก ( spin washer ) สำหรับใส่ผ้าที่ต้องการซัก ภายในจะประกอบด้วยใบพัด ที่ปรับ ระดับน้ำ และที่กรองน้ำล้น 7. ตัวถัง ( cabinet ) มักทำจากเหล็กเคลือบสารกันสนิมและฉนวนป้องกันไฟฟั้ดวงจร 8. ฝาปิดถังปั่นแห้ง ( spin dryer lid ) เนื่องจากเวลาใช้งานกังปั่นแห้งจะหมุนด้วยความเร็ว ฝาปิดถังปั่นแห้งจึงมี 2 ชั้น แบ่งเป็นฝาชันในและฝาชั้นนอก ฝาชั้นในจะทำหน้าที่ปิดไม่ให้ผ้ากระเด็นออก จากถงปั่นแห้ง ในขณะที่ฝาชั้นนอกจะทำหน้าที่ป้องกันฝาชั้นในอีกครั้งหนึ่ง ออกจากถังซักและถังปั่นแห้ง เมื่อ เปิดวาวล์ 9. ท่อน้ำทิ้ง ( drain hose ) ทำหน้าที่ระบายน้ำหรือสวิตซ์ระบายน้ำออก น้ำจะไหลออกทาง ท่อน้ำทิ้งนี้ 10. ถังปั่นแห้ง ( spin dryer basket ) ทำหน้าที่ปั่นผ้าด้วยความเร็วสูงเพื่อให้น้ำที่อยู่ในผ้า หลุดออกจนทำให้ผ้าแห้ง ด้านข้างของถังปั่นจะเป็นรูโดยรอบเพื่อให้น้ำหลุดกระเด็นไปรวมกันภายนอกถังปั่น แห้ง 11. ฝาสำหรับการซักด้วยมือ ( hand washing comer ) ไว้สำหรับอำนวยความสะดวกเมื่อ ผู้ใช้ต้องการขยี้หรือซักผ้าในจุดที่สกปรก ก่อนนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้าตามปกติ 12. มอเตอร์ ( motor ) อยู่ด้านในของเครื่องซักผ้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของเครื่องซักผ้า เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ถังซักและถังปั่นแห้งหมุนตามความต้องการของผู้ใช้ ความเร็วของมอเตอร์ที่ใช้ งานจะขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องซักผ้า โดยเครื่องซักผ้าแบบถังตั้งจะต้องใช้มอเตอร์ที่มีแรงขับในการหมุน มากกว่าเครื่องซักผ้าแบบถังนอน การติดตั้งเครื่องซักผ้า ก่อนติดตั้งลูกล้อของเครื่องซักผ้าจะถูกถอดออกและใส่ไว้ในตัวเครื่อง ซักผ้า เพื่อความสะดวกในการบรรจุและขนส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการติดตั้งเครื่องซักผ้าให้นำลูกล้อมาแล้วประกอบ กับฐานของเครื่องซักผ้า ดังนี้ 1. วางเครื่องซักผ้าในแนวนอน 2. ใส่ลูกล้อของเครื่องซักผ้าเข้าไปยังรูที่อยู่บริเวณฐานของเครื่องซักผ้า 3. ดันลูกล้อเข้าไปจนสุด สังเกตได้ว่าจะได้ยินเสียงดังกริ๊ก แสดงว่าลูกล้อเข้าล็อกเรียบร้อย


23 4. ยกเครื่องซักผ้าให้ตั้งขึ้น ทดลองเลื่อนเครื่องซักผ้าไปมาว่าติดขัดหรือไม่ 5. การติดตั้งเครื่องซักผ้าควรตั้งในที่เรียบและสม่ำเสมอ ไม่ตากแดดหรือถูกน้ำ เนื่องจาก เครื่องซักผ้าอาจเป็นสนิมทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ 6. ตำแหน่งการติดตั้งเครื่องซักผ้าไม่ควรตั้งติดผนัง ควรตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อยด้านละ 15 ซม. และห่างจากด้านบนอย่างน้อย 30 ซม.เพื่อให้สามารถระบายควาร้อนได้ดี 7. เครื่องซักผ้าที่มีระบบอบแห้งหรือปั่นแห้ง ในขณะทำงานจะมีความร้อนสูง ดังนั้นจึงควร ติดตั้งไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท ระบายความร้อนได้ดี 8. ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าของเครื่องซักผ้ารวมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และไฟฟ้าที่ใช้ต้องตรง ตามประเภทของเครื่องซักผ้าที่บอกไว้ในคู่มือการติดตั้งเครื่องซักผ้า โดยปกติจะใช้กระแสไฟฟ้า 220 v เหมือน เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป 9. ต้องติดตั้งสายดินให้ถูกต้องและอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดซึ่งอาจเกิดจาก กระแสไฟฟ้ารั่ว โดยสายดินมีลักษณะเป็นสีเขียวอยู่ทางด้านหลังของเครื่องซักผ้า 10. ในขณะติดตั้งเครื่องซักผ้าอาจมีน้ำไหลออกมาทางท่อน้ำทิ้ง ซึ่งเป็นน้ำที่ทางโรงงานใช้ใน การทดสอบเครื่องหลงเหลือตกค้างอยู่ ไม่ใช่อาการผิดปกติของเครื่องซักผ้า ข้อควรระวังในการใช้เครื่องซักผ้า 1. ต้องดึงปลั๊กไฟฟ้าออกทุกครั้งหลังใช้เครื่องซักผ้า 2. การใส่ผ้าในถังปั่นแห้งต้องใส่ผ้าสมดุล ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งของถังปั่นแห้ง และอย่า ลืมปิดฝาในของถังปั่นแห้งทุกครั้งก่อนปั่นแห้ง 3. เมื่อเปิดฝาปั่นแห้ง ภายใน 15 นาที ถังปั่นแห้งจะต้องหยุด ถ้าไม่หยุดแสดงว่าระบบเบรกมี ปัญหาให้รีบปิดเครื่องและส่งซ่อม 4. ในขณะที่เครื่องซักผ้ากำลังทำงาน ไม่ควรยื่นมือหรืออวัยวะเข้าไปใต้เครื่องถังซักผ้าและถัง ปั่นแห้ง เพราะจะทำให้เกิดอันตรายและอาจทำให้เครื่องซักผ้าเสียหายได้


24 5. ก่อนซักผ้าต้องตรวจดูสิ่งของต่าง ๆ เช่น เศษเหรียญ เศษผงต่าง ๆ ออกจากเสื้อผ้าเพื่อ ไม่ให้สิ่งของเหล่านั้นหล่นไปอดตันหรือไปขีดข่วนทำความเสียหายแก่ถังซักและถังปั่นแห้งได้ 6. ตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำที่ใช้กับเครื่องซักผ้าอย่าให้อุณหภูมิสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส และระวังอย่านำของร้อนบางบนเครื่องซักผ้า 7. ปิดฝาถังซักและฝาปั่นแห้งทุกครั้งเอใช้งานเครื่องซักผ้า เพื่อป้องกันสิ่งของต่างๆหล่นเข้าไป ในเครื่องซักผ้า หรือเสื้อผ้ากระเด็นออกมานอกเครื่องซักผ้า 8. ระวังอย่าให้น้ำฉีดรดหน้าปัดหรือตัวเครื่องของเครื่องซักผ้า เพราะอาทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร 9. อย่าใช้น้ำมันเบนซินหรือทินเนอร์เช็ดล้างเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้เครื่องซักผ้าระเบิด หรือไฟใหม่ได้ 10. เลือกใช้ผงซักฟอกชนิดใช้กับเครื่องซักผ้าเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพในการซัก ผงซักฟอก ไม่จับตัวเป็นก้อนจนทำให้เสื้อผ้าเล่อะเป็นคราบ 11. เมื่อเสื้อผ้าหลุดหรือหล่นออกนอกถังปั่นแห้ง ให้ปฏิบัติดังนี้ - ถอดปลั๊กไฟฟ้า - ถอดสกรูที่ยึดตรงขอบฝาครอบถังปั่นแห้ง - ยกฝาครอบถังปั่นแห้งขึ้นแล้วนำผ้าที่หลุดหรือหล่นนั้นออกมา - ติดสกรูใส่ที่ยึดตรงขอบฝาครอบถังปั่นแห้ง - ห้ามใช้ถังปั่นแห้ง หากยังไม่ติดสกรูที่ยึดตรงขอบฝาครอบถังปั่นแห้ง การทำความสะอาดเครื่องซักผ้า 1. ต้องดึงปลั๋กไฟฟ้าออกทุกครั้งก่อนทำความสะอาดเครื่องซักผ้า 2. ถอดล้างตัวกรองน้ำทิ้งเพื่อทำความสะอาด 3. ถอดตัวกรองใยผ้าที่อยู่ด้านบนของใบพัดออกเพื่อนำเศษผ้าหรือเศษด้ายออก


25 4. ควรปล่อยน้ำดีใส่ถังซักหรือถังปั่นแห้งก่อนเลิกใช้เครื่องซักผ้า เพื่อล้างความ สะอาดคราบผงซักฟอกที่ค้างอยู่ในเครื่องซักผ้าออก 5. ใช้ผ้าสะอาดที่นุ่มๆ เช็ดหน้าปัดและตัวถังเครื่องซักผ้า 6. ไม่ควรใช้ผ้าเคมี วัสดุมีคม น้ำยาเคมี น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำมันใดๆเช็ดถู เครืองซักผ้า 2. เครื่องสลัดผ้า เป็นเครื่องที่มีหน้าที่สลัดน้ำที่ผ่านในขั้นตอนการซักแล้วออก ราคาถูก รวดเร็ว แต่ข้อเสีย คือ เปลืองพื้นที่และเพิ่มภาระงาน 3. เครื่องซักแห้ง เป็นเครื่องที่รวมเอาระบบการซักผ้า การสลัดผ้า การอบผ้าและการกลั่นน้ำมันมาใช้ใหม่ พร้อมกัน เป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง มีขนาดตั้งแต่ 5-100 ปอนด์ แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ ขนาด 30 ปอนด์ ซักแห้ง การซักทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยไม่ใช้น้ำในการซัก แต่ใช้ของเหลวชนิดอื่นแทนน้ำใน ขั้นตอนการซัก นิยมใช้ซักผ้าเครื่องนุ่มห่มที่อาจเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการซักด้วยน้ำร่วมกับสบู่หรือ ผงซักฟอก ของเหลวที่นิยมใช้กันในกิจการซักแห้งส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันเปอร์คลอโรเอิลีน หรือ เพิร์ด


26 ไฮโดรคาร์บอน และ ซิลิโคน ทั้งนี้ในการใช้ของเหลวแทนน้ำนี้ จำเป็นต้องใช้เครื่องซักผ้าชนิดที่ถูกออกแบบมา เป็นการเฉพาะในการซัก เพราะอาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้หากนำมาซักด้วยมือแบบการซักผ้าทั่วไป 4. เครื่องสป๊อตติ้ง เป็นโต๊ะดูดลมเล็ก ๆ ที่มีการพ่นลมและน้ำออกมาเฉพาะที่บนรอยเปื้อนของผ้า เพื่อช่วยใน การขจัดรอยเปื้อน 5. เครื่องรีดผ้า เราสามารถแงเครื่องรีดผ้าออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 5.1 แบบรีดเสือผ้าและรีดผ้าชิ้นเล็ก ๆ ประกอบด้วยเครื่องรีดผ้า 4 ชนิดดังนี้ 1) เตารีดไฟฟ้า ( เตารีดด้านหน้า ) ให้ความร้อนที่ผิวหน้าสูง สามารถรีดผ้าหนา และผ้าที่เรียบยากได้เป็นปกติ ส่วนประกอบ คือ


27 1. มือจับ 2. สายไฟ 3. ปุ่มควบคุม เทอร์โมสตัด ( ปุ่มปรับความร้อน ) 4. หลอดไฟ 5. ฝาครอบ 6. พื้นเตารีด 7. เนมเพลท 2) เตารีดไอน้ำ คือ เตารีดที่ใช้แรงดันไอน้ำในการช่วยให้ผ้าเรียบ สวย เตารีดไอน้ำ สามารถรีดผ้าได้รวดเร็ว แต่อาจจะกินไฟมากกว่าเตารีดแบบแห้งทั่วๆไป เตารีดไอน้ำมีหลายประเภท ซึ่ง อาจจะจำแนกได้ดังนี้ 1. เตารีดไอน้ำแบบเติมน้ำที่ตัวเตารีด จุน้ำได้น้อย และแรงดันไอน้ำจะไม่สูงนัก เพราะความร้อนอยู่ที่แผ่นรีดไม่ได้อยู่ที่น้ำฃ 2. เตารีดไอน้ำแบบมีฐานเติมน้ำ จะมีที่เป็นที่เก็บน้ำเฉย ๆ และชนิดที่มีหม้อต้มอยู่ ภายนอก แบบแรกคล้ายเตารีดไอน้ำธรรมดา ส่วนแบบที่มีหม้อต้มอยู่ภายนอกจะทำน้ำให้ร้อนแล้วพ่นผ่านเตารี ทำให้แรงดันสูงช่วยให้รีดผ้าได้ลื่นขึ้น เพราะมีแรงดันไอน้ำช่วยดันเวลารีดผ้า และสามารถทำตัวเป็นเครื่องพ่น น้ำแบบกลาย ๆ


28 3. เตารีดไอน้ำแบบมีงวงพ่นไอน้ำ หมายถึง stream press มีลักษณะเหมือน เครื่องดูดฝุ่นแต่ใช้พ่นน้ำ อันนั้นใช้พ่นน้ำให้ผ้าที่ไม่เหมาะกับการรีดให้เรียบขึ้น เช่น ชุดราตรี เสื้อกำมะหยี่ เพื่อ มิให้เสื้อผ้าเหล่านั้นขึ้นเงา และการรีดเป็นการรีดในแนวตั้ง เช่น ชุดที่แขวนอยู่บนราว หรือหุ่นโชว์ การดูแลรักษา เตารีดแห้งธรรมดาไม่ต้องการดูแลอะไรมากนัก แต่เตารีดไอน้ำจะต้องทำความสะอาด เช่น ถ่ายน้ำออกจากเครื่องและคอยขจัดตะกรันที่จะเกาะรูพ่นไอน้ำซึ่งเรียนกว่า ตะกรัน ซึ่งเตารีดปัจจุบันทำได้ สะดวก เตารีดไอน้ำบางรุ่นสารถดูแลรักษาได้เองง่าย ๆ แต่บางรุ่นอาจจะต้องให้ผู้ชำนาญในการดูแลแก้ไข ปัญหาตะกรัน 3) เครื่องปั้มผ้าหรือเครื่องเพรส ( press ) เป็นเครื่องรีดผ้าขนาดใหญ่เท่าโต๊ะ ทำงาน สามารถทำการรีดได้รวดเร็ว 4) เครื่องเป่าหุ่น ( Form Finisher ) เป็นโครงเหล็กและมีผ้าพิเศษหุ้มพร้อมท่อพ่น ไอน้ำติดอยู่ วิธการใช้ คือนำเอาผ้าที่ต้องการรีดมาสวมใส่ลงในหุ่นนี้ เครื่องเป่าหุ่นจะพ่นไอน้ำลงบนผ้า ทำให้ผ้า แห้งและเรียบอย่างรวดเร็ว เมหาะกับเสือที่เสียทรงง่าย เช่นเสื้อยืด


29 5.2 แบบรีดผ้าผืน ซึ่งใช้เครื่องมือรีดผ้าที่เราเรียกว่า เครื่องรีดผ้าผืนหน้ากว้างหรือเครื่องรีด ลูกกลิ้ง ( Flatwork ironer ) มีลูกกลิ้งตั้งแต่ 1-5 ลูก วางในแนวนอน ลูกกลิ้งจะหมุนไปเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ มี ความร้อนผ่านในลูกกลิ้ง ทำให้ร้อนเหมือนผิวเตารีด 6. เครื่องปั้มหมายเลข เป็นเครื่องที่ให้อักษรและตัวเลขที่ควบคุม ชนิดและปริมาณผ้าตามที่แผนกกำหนด เพื่อการ บันทึกผลงาน ป้องกันการสับสนควบคุมงบประมาณ ปรับปรุงงานและป้องกันการทุจริต การบันทึกเป็นการ บันทึกชั่วคราวลงบนกระดาษพิเศษ ( ไฟเบอร์โรล ) ที่มีหลายสี หรือกระดาษกาวพิเศษที่เรียกว่า เทอร์โมซีล 7. เครื่องแพ็กผ้า เป็นเครื่องที่คอยจัดพลาสติกหรือกระดาษ ที่จะคลุมผ้าที่ผ่านการซักแห้งแล้ว ก่อนส่งให้ลูกค้า เพื่อความสวยงาม มีทั้งแบบห่อในแนวตั้งและแนวอื่น ๆ


30 8. เครื่องอบผ้า เป็นเครื่องที่ทำให้ผ้าแห้ง โดยการใช้ความร้อน มีหลายชนิดหลายประเภท โดยการแบ่งตาม ประเภทของพลังงานที่ใช้หรือการใส่ผ้า 9. สารเคมีที่ใช้ในงานซักรีด 9.1 ผงซักฟอก เป็นสารซักล้างที่ผลิตขึ้นมาใช้แทนสบู่ มีสารลดแรงตึงผิวชนิด สังเคราะห์และ(หรือ)ชนิดธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเกลือโซเดยมซัลโฟเนตของไฮโดรคาร์บอน สำหรับใช้ซักผ้าครอบคลุมถึง ผงซักฟอกที่มีลักษณะเป็นผง เม็ดเล็กๆ หรือเกล็ด อัดขึ้นรูป กึ่งแช็งกึ่งเหลว เท่ง หรือลักษณะอื่น แต่ไม่ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดเหลว ชนิดของผงซักฟอก แบ่งตามสารลดแรงตึงผิวได้ 4 ประเภท 1. ผงซักฟอกประเภทแอนอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นไอออนลบ สามารถชำระล้างคราบ สกปรกประเภทดินโคลนออกจากผ้าฝ้ายและเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ มีฟองมาก และจะทำงานได้ ดีในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง


31 2. ผงซักฟอกประเภทแคทอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นไอออนบวก 3. ผงซักฟอกประเภทนันอิออนิก มีสารลดแรงตึงผิวเป็นสารที่ไม่เกิดการแตกตัวเป็นไอออน มี ฟองน้อย ทำงานได้ดีในทุกสภาพน้ำ ไม่จำเป็นต้องเติมสารที่ทำให้น้ำอ่อน ดังเช่นประเภทแอนอิออนนิก สาร ประเภทนันอิออนิกนี้จะมีความสามารถในการชำระคราบไขมันออกจากพอลิเอสเตอร์และเส้นใยสังเคราะห์ อื่นๆได้ดีเป็นพิเศษ 4. ผงซักฟอกประเภทแอมโฟเทอริก มีสารลดแรงตึงผิวที่สามารถแตกตัวเป็นได้ทั้งไอออน บวกและไอออนลบ


32 ส่วนประกอบของผงซักฟอก 1. สารลดความตึงผิว มีประมาณร้อยละ 12-30 เป็นสารทำให้วัสดุเปียกน้ำได้ง่าย ทำให้สิ่ง สกปรกหลุดออกมาเป็นอนุภาคเล็กๆ แล้วสารจะล้อมรอบสิ่งสกปรกเล็กๆเอกไว้ในสารลดความตึงผิว ส่วนมาก จะเป็นสารประกอบของเกลือโซเดียมอัลคิลซัลเฟต และโซเดียมอัลคิลอะริลซัลฟอเนต 2. ฟอสเฟต มีประมาณร้อยละ 30-50 ได้แก่ เตตระโซเดียมฟอสเฟต หรือโซเดียมไตรพอลิ ฟอสเฟต สารนี้ช่วยรักษาสภาพน้ำให้เป็นเบส ช่วยกระจายน้ำมัน สิ่งสกปรกออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จนสามารถ แขวนลอยได้ในน้ำและปรับสภาน้ำกระด้างให้กลายเป็นน้ำอ่อน 3. ซิลิเกต มีประมาณร้อยละ 5-10 ได้แก่ โซเดียมซิลิเกต ช่วยทำหน้าที่ป้องกันสนิมของ ชิ้นส่วนอลูมิเนียมที่เป็นส่วนประกอบของเสื้อผ้า เช่น ซิป กระดุม และยังช่วยยึดสิ่งสกปรกเอาไว้ไม่ให้กลับไป จับเสื้อผ้า 4. สารเพิ่มความสดใส ( optical brightening agents ) ช่วยดูดแสงอุลตร้าไวโอเลตไว้ทำให้ เกิดการเรืองแสงสะท้อนเข้าตา ผ้าดูขาวสะอาด ได้แก่ผงฟอกนวล 5. สารเพิ่มฟอง ( suds booster ) เป็นสารที่จะทำให้เกิดฟองกับน้ำได้ดีสำหรับผงซักฟอกซัก ด้วยมือ 6. โซเดียมคาบอกซีเมทิลเซลลูโลส มีประมาณร้อยละ 0.5-1 สารนี้ป้องกันการเกิดตะกอนใน สารซักฟอก ประโยชน์และโทษผงซักฟอก


33 ประโยชน์ของผงซักฟอกคือทำความสะอาดเสื้อผ้า ส่วนโทษคืออาจทำให้เกิดอาการระคาย เคืองผิวหนังที่สมัมผัสกับผงซักฟอกได้ และมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้ ถ้าสะสมอยู่ในแหล่งน้ำมาก ๆ 9.2 เคมีเสริมด่าง ด่างเสริมการซักเพิ่มประสิทธิภาพในการซักผ้าที่เปื้อนไขมันมาก ๆ เช่น ผ้า ปูโต๊ะ ผ้ากันเปื้อน เครื่องแบบพ่อครัว ฯลฯ 9.3 สารฟอกขาว ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว คือผลิตภัณฑ์ สำหรับฟอกจางสีของวัสถุ (ให้ กลายเป็นสีขาว หรือ กลายเป็นไม่มีสี ) ซึ่งนิยมใช้ในการฟอก เสื้อผ้า สิ่งทอ กระดาษ ไม้ หรือวัสดุใด ๆ ที่ ต้องการให้มีสีขาว หรือไม่มีสี นอกจากการฟอกขาวแล้ว ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ด้วย ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่ม Chlorine Bleach เช่น - สารระลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ ( Sodium hypochlorite Solution ) 4-10% ( ใน สารละลาย โซเดียมไฮโปคลอไรต์ ( Sodium hypochlorite Solution ) จะมีการเติม โซเดียมไฮดรอกไซต์ ( Sodium hydroxide ) เล็กน้อย ให้มี pH สูงกว่า 10เพื่อลดการ สลายตัว - แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ ( Calcium hypochlorite ) ที่เป็นของแข็ง ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่ม Chlorine Bleach มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ระคายเคียงต่อผิวหนัง ตา และระบบทางเดินหายใจ ยังสามารถสายตัวเป็นก๊าซคลอรีน เมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นกรด ควรอ่านฉลากก่อนการใช้งาน เพื่อจะได้ทราบถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อย่างเหมาะสมและ ปลอดภัย เก็บผลิตภัณฑ์นี้ให้ห่างจากมือเด็กเล็ก และห่างจากสารที่เป็นกรด ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์ภายในบ้านชนิดอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำที่เป็นกรด ผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโรเนีย เช่น น้ำยาล้าง กระจก ยาล้างแผลและผลิตภัณฑ์ย้อมผม เนื่องจากจะทำปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง หรือ ทำให้เกิดสารพิษอื่น ซึ่งเป็นอันตรายมากขึ้นอีก ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่ม Oxygen Bleach เช่น - สารลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ ( Hydrogen peroxide ) - โซเดียม เปอร์บอเรต ( Sodium perborate ) ที่เป็นของแข็ง - โซเดียม เปอร์คาร์บอเนต ( Sodium percarbonate ) ที่เป็นของแข็ง - โซเดียม เปอร์ออกโซไดซัลเฟต ( Sodium peroxodisulfate ) ที่เป็นของแข็ง


34 ผลิตภัณฑ์สำหรับฟอกขาว กลุ่ม Oxygen Bleach เป็นสารที่สามารถสลายตัวให้ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด็ (Hydrogen peroxide ) และ/หรือ ออกซิเจน ซึ่งช่วยในการเผาใหม้ของสารอินทรีย์ หรือการช่วยให้เกิดการระเบิด ควรอ่านฉลากก่อนการใช้งาน เพื่อจะได้ทราบถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อย่างเหมาะสมและ ปลอดภัย เก็บผลิตพัณฑ์นี้ให้ห่างจากมือเด็กเล็ก และห่างจากสารอินทรีย์ทุกชนิด ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับ ผลิตพัณฑ์ภายในบ้านชนิดอื่น ๆ เนื่องจากจะทำให้ปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเกิดการระเบิด หรือ เกิด การลุกติดไฟ 9.4 ผงล้างผ้า ใช้สำหรับขจัดสารเคมีตกค้างบนผ้า รวมทั้งขจัดคราบสกปรก และสนิมเหล็ก ออกจากเนื้อผ้าได้ในเวลาเดียวกัน ปลอดภัยต่อผ้าทุกชนิด สามารถใช้ได้ทั้งผ้าขาวและผ้าสี 9.5 ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม คือ น้ำยาที่เติมลงไปในน้ำล้างผ้า เพื่อให้เสื้อผ้ามีเนื้อนุ่ม ส่วนประกอบสำคัญ สารที่นำมาละลายน้ำทำเป็นน้ำยาปรับผ้านุ่มจะเป็นกล่มของ wax derivative ต้องมีหมู่ โซ่อัลคิลที่ยาวอาจจะเชื่อมต่อกับหมู่ที่ประจุบวก ( ซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด ) เนื่องจากว่าวัสดุส่วนใหญ่เมื่ออยู่ในน้ำ จะแสดงประจุลบออกมาในสภาวะที่เป็นกลาง หรือ ด่าง ซึ่งกลุ่มนี้ก็ถือว่าเป็นสับเซตของ Cationic surfactant หรืออาจจะหมู่ที่แสดงประจุเป็นลบก็ได้ ถือว่าเป็นสับเซตของ Anionic surfactant หรืออาจจะมี หมู่ละลายน้ำแต่ไม่แสดงประจุออกมา อันนี้ก็ถือว่าเป็นสับเซตของ non-ionic surfactant หรืออาจจะเป็น อิมัลซันของ Wax เอง โดยที่อาจจะเป็น Macroemulsion หรือ Microemulsion ก็ได้ หรืออาจจะเป็น อิมัลซันของ Silicone oil โดยที่อาจจะเป็น Macroemulsion หรือ Microemulsion โดยสรุป สารปรับความนุ่มบนผ้าจะต้องมีโซ่ไขมันยาว ๆ เพื่อทำตัวเหมือนการหล่อลื่นหรือลดแรง เสียดทานของวัสดเอง เลยทำให้ความนุ่มลื่นเพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องประจุก็ขึ้นอยู่กับหมู่แทนที่ ถ้ามีประจุบวกด้วยก็ สามารถที่จะจับกับประจุลบของเส้นใยได้ ทำให้เส้นใยพองฟูดูนุ่มขึ้น เนื่องจากว่ามันจะหันส่วนไขมันออกนอก ผิวผ้า แต่ถ้าแบบไม่มีประจุการเกาะมันก็จะเกาะอยู่ข้างๆกับเส้นใยด้วยพันธะไฮโดรเจน ดังนั้นสารกลุ่มนี้จะ เพิ่มความนุ่มแบบลื่นมากกว่านุ่มฟู


35 ในกรณีที่ประจุลบ ส่วนที่ชอบน้ำก็จะถูกประจุลบของเส้นใยผลักออก สารกลุ่มนี้จะให้ความนุ่มที่มี่ ประสิทธิภาพ แต่ว่าผลดีก็คือ ทำให้ผ้าที่นุ่มนี้สามารถดูดความชื้นได้ดีขึ้น พวกนี้โรงงานผ้าขนหนูชอบใช้เพราะ จะได้ผ้าขนหนูที่นุ่ม แล้วยังซึมน้ำได้ดีอยู่ ในกรณีของ Wax และ Silicone oil แบบนี้มักจะให้ความนุ่มลื่น เว้นแต่มีการดัดแปรทางเคีก็จะทำให้ ผิวสัมผัสเปลี่ยนไปตามความต้องการ พวกนี้จะให้ความคงทนสูงกว่าแบบข้างต้น เนื่องจากตัวสารเองนั้นไม่ สามารถระลายน้ำหลุดออกมาได้ง่าย หรือ ไม่ก็สามารถทำปฏิกิริยากับเส้นใยได้ ถ้าอบด้วยอุณหภูมิ-เวลาที่ เหมาะสม 9.6 ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบไขมันจากอาหาร คุณสมบัติขจัดคราบไขมันจากอาหาร คาบน้ำมัน น้ำมัน(สปา) ที่เกาะติดบนเนื้อผ้า คืนความ สะอาดให้เส้นใย ไม่ทิ้งคราบจับบนผ้าหลักการซักผ้า วิธีใช้ สามารถใช้น้ำยาขจัดคราบไขมันควบคู่กับผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าได้ อัตราส่วนน้ำยา ขจัดคราบไขมัน ½ ของผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้า แล้วซักด้วยน้ำเย็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดคราบ หรือใช้แช่ผ้า 20-30 นาที แล้วนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้าตามปกติ 9.7 แป้งลงผ้า ใช้กับผ้าฝ้าย ลิน ผ้าใยกัญชง ไหม (เฉพาะผ้าสีอ่อน) ผ้าป่านมัสลิน ลงแป้งอ่อน ๆ นำไปรีดจะ มีความมันเงามาก ไม่ควรลงแป้งที่เสื้อผ้าผู้ชายมากเกินไปเพราะเวลาเหงื่อออกจะมีกลิ่นแป้งนิยมลงแป้งกับชุด ทหาร ชุด รด.ชุดกุ๊ก ( แป้งจะเคลือบเป็นแผ่นฟิล์มที่ผิวผ้า ช่วยป้องกันสิ่งสกปรกติดผ้าได้ดี และขจัดสิ่งสกปรก ออกง่ายโดยการซักแป้งออก) ผ้าเช็ดปาก ทำให้ลดการใช้น้ำยารีผ้าเรียบ สมัยก่อนใช้น้ำข้าวในการลงแป้ง (หุง ข้าวแบบเช็ดน้ำ) ผ้าที่จะนำมาลงแป้งต้องมีความเปียกชีนเสมอกัน การลงแป้งกับเครื่องซักผ้า เมื่อปรับผ้านุ่แล้ว ผสมแป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะพูน ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร ให้ เข้ากัน ใช้ความร้อนจากเตาไมโครเวฟนาน 5 นาที หรือใช้การตั้งไฟคนเบาๆ ให้เป็นสีใสๆนำไปผสมน้ำให้ ละลาย เทลงในช่องน้ำยาปรับผ้านุ่ม เติมน้ำตามอีกสัก 1 แก้ว เดินเครื่อง สลัดตาก เครื่องที่ใช้ควรเป็นเครื่องที่ ใช้ในการลงแป้งโดยเฉพาะ ทุกครั้งหลังการใช้ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนเพื่อละลายไขมันและสิ่งสกปรก อุดตันตามเครื่อง


36 การลงแป้งด้วยมือ ซักตามปกติ น้ำสุดท้ายไม่ต้องใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม แต่ใช้การลงแป้งแทน การละลายแป้งในน้ำให้ละลายกลายเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อป้องกันการด่าง หลังลงแป้งแล้วพับผ้าบีบไล่น้ำ ซับ ด้วยผ้าเช็ดตัว สะบัด ตากพอหมาดรีดให้เรียบผ้าที่ผ่านการลงแป้งไม่มีปัญหาเรื่องการกินตัว หรือถูกแมลงกัด กิน 9.8 เคมีขจัดรอบเปื้อนเฉพาะจุด 9.10 น้ำมันซักแห้ง น้ำมันซักแห้ง เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ( Hydrocarbon ) มีคุณสมบัติพิเศษในการ ขจัดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้า ทำให้เสื้อผ้าที่ซักโดยน้ำมันชนิดนี้มีสีสดใสดูใหม่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วย บำรุงรักษาเส้นใยผ้าให้คงทนเหมาะสมสำหรับ ผ้าไหม ขนสัตว์ เรยอน หรือผ้าที่หดเมื่อโดนน้ำและผ้าสีตก วิธีใช้แช่ผ้าลงในน้ำมัน ลูบเบาๆ และนำขึ้นซับโดยผ้าขนหนูแห้งและสะอาดพอหาด แล้วนำ ผ้านั้นไปตากในที่ลมโกรก ไม่ควรโดนแสงแดด ผู้ใช้ควรสวมถุงมือในโตร และใช้ผ้าปิดปาก/จมูกที่สามารถกรอง อากาได้ ปริมาณการใช้ อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อผ้าและความหนา ปริมาณน้ำมันซักแห้ง ต้องมากพอที่จะท่วมผ้าแต่ละชิ้นในขณะแช่ น้ำม้นนี้สามารถใช้ซ้ำได้จนน้ำมันเปลี่ยนสีเข้มจึงไม่ควรใช้งาต่อ


37 บทที่ 4 ผ้าและเครื่องใช้ประเภทผ้า 1. การผลิตผ้า การผลิตผ้า คือ การทำให้เป็นผืนกว้างยาว ทำได้หลายวิธี จะแยกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ คือ 1. สิ่งทอผลิตขึ้นมาตามลำดับขั้นของขบวนการผลิตผ้าจากเส้นใยเป็นเส้นด้าย แล้วจึงทำเป็นผืนผ้าโดย การทอ การทอ คือ การใช้เส้นด้าย 2 หมู่ มาขัดกันเป็นมุมฉากซึ่งกันและกัน ด้าย 2 หมู่ที่ใช้ทอหมู่หนึ่งซึ่งไป ตามยาวของผ้าเรียกว่า ด้ายยืน อีกหมู่หนึ่งขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทำให้เป็นผืนเรียก ด้ายพุ่ง เวลาทอผ้า เมื่อสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้ออกมาจนถึงเนริมสุดของด้ายยืน จึงกลับวกสอดเข้าไปใหม่ทำให้มีริมผ้า เป็นเส้นตรงทั้งด้ายนืนและด้ายพุ่ง แนวเส้นตรงที่ด้ายทั้งสองหมู่ขัดกันเรียกว่า เกรนผ้า วิธีทอผ้าแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.1 การทอมาตรฐาน ได้แก่ ทอธรรมดา ทอลายสอง และทอต่วน ลายขัด ( Plain Weave ) ลายขัดเป็นลายที่ทำได้ง่ายที่สุดในกระบวนการทอทั้งหมด เกิดจากการขัดกันของเส้นด้ายพุ่ง และด้ายยืน โดยขัดขึ้นลงเป็นแนวเดียวกันสลับกันไปตลอดหน้ากว้างของผืนผ้าการสลับเส้นด้ายนั้นจะเป็นไป โดยจำนวนเท่า ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ด้ายพุ่ง 1 ด้ายยื่น 1 ( ขึ้น-ลงสลับกันไป) หรือถ้าให้ด้ายพุ่ง 2 ด้ายยืนก็ ต้อง 2 เท่ากัน จำนวนของด้ายพุ่งและด้ายยืนจะดต้องเท่ากันตลอด ลายสอง (Twill Weave ) ลายสองเป็นการทอที่ทำให้เกิดลวดลายในแนวของเส้นทแยง มุมทแยงนั้นจะมีได้ตั้งแต่ 14 , 45 , 75 องศา ตามลำดับ แต่โดยทั่วไปนั้นถือว่า 45 องศา ของแนวทะแยงเป็นลายที่ทำใช้กันมากที่สุด เส้นด้ายยืนจะข้ามด้ายพุ่ง 1 เส้น ลอดใต้ด้ายพุ่ง 2 เส้น เรียกว่า 1:2 มุมทะแยงจะแตกต่างกันตามจำนวนด้าย พุ่งที่ขัดกันเป็นเส้นทะแยง เรียกว่า เส้นด้ายลอย (Float)


38 ลายต่วน ( Satin or Sateen Weave ) การทดลายต่วน คือ การทอที่มีเส้นด้ายลอย ( Float ) ที่มีความยาวมากทำไห้ด้ายยืนชิดกัน มากขึ้น ทำให้ผืนผ้ามีความเรียบมันมาก ลายต่วนจะดูคล้ายลายสองที่ถูกตัดขาดออกไป เรียกอีกชื่อนหนึ่ง Broken Twill หรือลายสองที่ขาดออกจากกัน เส้นลอยที่ยาวจะทำให้เนื้อผ้ามีความมันขึ้นและสะท้อนแสงได้ดี แต่ทั้งนี้ก็ทำให้เนือผ้าถูกเกี่ยวกระตุกได้ง่ายไม่เหมือนกับผ้าทอลายขัดหรือลายสอง การทอลายต่วนโดยมากจะกำหนดไว้ว่า จะเป็นต่วนด้ายพุ่ง หรือต่วนด้ายยืน ถ้าใช้เส้นด้าย พุ่งเป็นเส้นลอย (Float) จะเรียกว่า Sateen Weave แต่ถ้าใช้เสน้นด้ายยืนเป็นเส้นลอย จะเรียกว่า Satin Weave ลายพิเศษ ( Decorative Weave ) การทอแบบนี้เรียกว่า การทอแบบแฟนซี ( Fancy Figure and Design Weave ) ทำได้โดย ออกแบบและจัดดูว่าด้ายพุ่งและด้ายยืนจะขัดประสานกันอย่างไร ให้เกิดลวดลายขึ้นมา การพอผ้าลักษณะนี้จะ อาศัยการผสมผสานลวดลายพื้นฐาน 3 แบบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างผ้าที่ทอด้วยลักษณะแบบี้ก็มีเช่น ผ้าด็อบบี้ ( Dobby ) แจ็คคาร์ด ( Jacquard ) ลีโน ( Leno ) กำมะหยี่ ( Pile ) รวมจนถึงผ้าที่มีจำนวนด้ายยืนและด้ายพุ่ง เพิ่มมากว่าปกติ และผ้าทอ 2 ชั้นอีกด้วย ( Double Cloth Weave ) 1.2 การทอพลิกแพลง ได้แก่ ทดขน ทอยกดอก ทอยกดอกเล้ก ๆ และทอตาสี่เหลี่ยม 1.3 การทอตกแต่ง คือ การแตกแต่งด้วยลวดลายสวิฟเวล ( Swivel ) การตกแต่งด้วย ลวดลายเป็นจุดห่าง ๆ เส้นด้ายตัด การตกแต่งด้วยการปักคดกริช และการตกแต่งแบบปักญี่ปุ่น 2. สิ่งไม่ทอ ได้จากเส้นใย หรือจากน้ำยาทำเป็นแผ่น หรือเป็นผืน มิใช่ผ้าแต่เป็นวัตถุที่ใช้แทนผ้าได้ เช่น แผ่นยางและแผ่นพลาสติก ซึ่งเรียกกันว่า ผ้าย่าง และผ้าพลาสติกใช้ทำเสื้อผ้าธรรมดาไม่ได้ นอกจากเสือ ฝน ใช้ทำร่ม ผ้ากันเปื้อน ถุงใส่เสื้อ เครื่องใช้ในโรงพยาบาล 3. ผ้าอัดและผ้าที่ไม่ใช้วิธีทอ คือ ผ้าที่ผลิตเป็นผืนโดยการอัดให้ติดกันด้วยวิธีเชิงกลและทางเคมีการ อัดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การอัดเส้นด้ายให้ติดกัน การอัดเส้นใยให้ติกกัน อัดโดยไม่ใช้เส้นใย เช่น อัด พลาสติก และการอัดชนสัตว์ให้ติดกัน


39 การอัดผ้าขนสัตว์ คือ การนำเส้นใยมาสานให้ติดเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ให้เส้นใยเรียกตัวกันไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ความหนาตามต้องการแล้วส่งเข้าเครื่องจักรสำหรับอัดโดยใช้ ความร้อนและความชื้นช่วย แผ่นเส้นใยจะถูกส่งเข้าไปในแผ่นเหล็กทีเคลื่อนไหวไปมาขัดสีเขย่าและกดแผ่นเส้น ใยให้เนื้อแน่นติดกัน ขนสัตว์เมื่อโดยความร้อน ไอน้ำแรงเขย่าเซลล์ภายนอกจะขยายตัวเมื่อทิ้งไว้ให้เย็น เส้นใย จะยึดติดกันแน่นเป็นแผ่น เช่น ผ้าสักหลาดที่ใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม กางเกง สูท กระโปรง เสื้อกันหนาว 4. ผ้าทัก คือ การถักโดยใช้เข็มทำให้เส้นด้ายเป็นห่วงคล้องกันเช่นเดียวกับการถักไหมพรมที่เรียกว่า ถักนิดต เครื่องถักนิตสามารถผลิตผ้าได้เร็วกว่าเครื่องจักทอธรรมดา 2-5 เท่า การถักนิตมี 2 วิธี 4.1 นิตด้ายพุ่ง คือ การถักแบบธรรมดาใช้ด้ายเส้นเดียว ถักเหมือนถักนิตด้วยือ นางครั้งก็จะ ถักเป็นวงกลม ให้ถักเสื้อไหมพร ถุงเท้า ถุงมือ 4.2 นิตด้ายยืน คือ การถักที่ใช้เครื่องจักร ห่วงของด้าย จะพันขึ้นไปในแนวตั้งหรือแนวด้าย ยืน ใช้ด้ายหลายเส้นพร้อมกันเหมือนการทอ เมื่อขาดจะไม่หลุดเป็นแถว ไม่ใคร่ยึด หรือหดากนัก มีเนื้อ ละเอียด เนื้อผ้าเหมือนการถักโคเวท์ หรือลูกไม้ 2. ชนิดของผ้า 2.1 ผ้าฝ้าย ( Cotton ) เป็นผ้าชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักกันดีมาแต่ครั้งโบราณกาล และอาจ นำมาตกแต่งให้สวยงามด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายหลายอย่าง เช่น การทำให้ย่นหรือการ ยืด การใช้สารตกแต่งอื่น ๆ เพื่อทำให้เนื้อแน่นและเพิ่มน้ำหนัก การใช้สารกันน้ำ การทำให้มันวาว การทำให้ เป็นผ้าแก้ว และการทำให้โปร่งใสเป็นบางแห่ง ( Seethrough ) การชุบด้วยด่างเพื่อทำให้เกิดความมันวาว เหมือนกับแพรเทียม ซึ่งเรียกว่า Mercerization ตลอดจนอาจนำไปทอยกดอกหรือทำเป็นผ้าลูกไม้ชั้นดี ราคา แพง เป็นต้น ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วผ้าฝ้ายเป็นผ้าที่มีพื้นิวโปร่งอากาซึมเข้าได้ง่าย จึงเป็นผ้าที่ใส่ได้สบายๆ และ ทำความสะอาดได้โดยง่าย เหมาะสำหรับประเทศที่มีอากาศร้อน เช่น ประเทศไทย ผ้าฝ้ายเมื่อนำไปตกแต่งแล้วจะมีชื่อเรียกทางการค้าแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีอยู่มากมายหลาย ชนิดได้แก่ ผ้าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผ้าป่าน ( Voile ) ผ้าลูกไม้ ( Lace ) ผ้ากำมะหยี่ ( Velveteen ) ผ้าเดนิม ( Denim ) ผ้าป๊อบปลิน ( Poplin ) ผ้าแพรโปร่ง ( Tulle ) ผ้าปิเก้ ( Pigue ) และผ้าใบก็จัดอยู่ในประเภทผ้า ฝ้ายทั้งนั้น และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น เสื้อทำงาน เสื้อใส่เล่นอยู่กับบ้าน เสื้อสปอร์ต และเสื้อใส่ ในงานกลางคืน ตลอดจนใช้ในการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน ผ้าฝ้ายจึงเป็นผ้าที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไปเป็น อย่างดีและง่ายต่อการตัดเย็บ


40 2.2 ผ้าลินิน ( Linen ) ผ้าลินินมีหลายชนิดด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและลวดลาย การทอ ผ้าลินินแท้ ๆ นั้นได้มาจากเส้นใยของลำต้นลินิน ( Flax ) เป็นผ้าที่มีราคาแพงและสวยงามมาก แต่ลินินตา ท้องตลาดที่มีราคาถูก ๆ เช่น ลินินรีมเขียวนั้น ไม่ใช้ผ้าลินินแท้ แต่เป็นผ้าฝ้ายที่นำไปตกแต่งให้ดูสวยงามขึ้น เรียกกันทั่วไปว่า ผ้าลินิน 2.3 ผ้าไหม ( Silk ) ผ้าใหมเป็นผ้าที่สวยงามมาก ผ้าไหมแท้นั้นได้มาจากรังไหม ( Cocoen ) โดยปกติแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไหมป่า ( Monovolting ) ซึ่งออกไข่เพียงปีละครั้งเดียว เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ อาศัยตามต้นไม้ในป่า เช่น ต้นโอ๊ค ฯลฯ มีมากในประเทศจีนและอินเดีย และไม อีกชนิดหนึ่งเป็นไหมที่เลี้ยงกันตามบ้าน ( Polyvolting ) อาจออกไข่ได้ปีละหลายๆครั้ง ถ้าหากว่ามีการเลี้ยง อย่างดีก็จะได้รับไหมที่ดีและสวยงาม เมื่อนำเอาไปสาวเป็นเส้นไหมแวจะได้เส้นใยที่สวยงามมาก ผ้าที่ทอจาก เส้นไหมอาจจะมีการเรียกชื่อต่างกันออกไปตามท้องถิ่น เช่น ผ้าไหมจีน ผ้าไหมญี่ปุ่น ผ้าไหมอิตาลี่ และผ้าไหม ไทยเป็นต้น เช่น ผ้าแพร วีฟอง ( Chiffon ) ผ้าซาติน ( Satin ) ผ้าไหมยกดอกเงินหรือทอง ( Brocade ) ผ้า จากใยไหมแฝด ( Doupion Silk ) ผ้าออร์แกนซ่า ( Organza ) ผ้าทาฟต้า ( Taffeta ) และผ้ากำมะหยี่ไหม ( Velvet ) หรือผ้าแพรบางชนิดก็เป็นผ้าที่ผลิตขึ้นจากส่วนผสมของเส้นไหมแทบทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ดีผ้าที่เป็นผ้า ไหมแท้ ๆ นั้นนับว่าเป็นผ้าที่มีคุณสมบัติพิแศษ คือ มีความเหนียว ความมันวาว และสดใสมีความลื่นต่อกา รสมัผัสและเมื่อเสียดสีจะทำให้เกิดเสียงดังขึ้น เรียกว่าเสียงส่ายไหม ( Scroop ) ซึ่งเป็นคุณสมบัติตาม ธรรมชาติที่ไม่มีในเส้นใยชนิดอื่น และอาจนำไปตกแต่งให้สวยงามและทนทานได้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงมีผ้นิยมาก 2.4 ผ้าขนสัตว์ผ้าชนิดนี้ได้มาจากผมหรือขนสัตว์ เช่น แพะ แกะ และสัตว์ในตระกูลอูฐ ผ้าที่ รู้จักกันเป็นส่วนมากคือ ผ้าโมแฮร์ ( Mohair ) ผ้าแคชเมียร์ ( Cashmere ) และผ้าขนอูฐ ( Camel hair ) 2.5 ผ้าขนแกะ ( Wool ) ผ้าขนแกะแม้จะเป็นผ้าขนสัตว์อื่น ๆ แต่ก็ต่างจากขนสัตว์ธรรมดา เพราะเป็นเกล็ดซ้อนกัน มีความแน่นและอ่อนนุ่มกว่า นิยมมากในการนำไปตัดเย็บเสือผ้า เพราะไม่เพียงแต่จะ มีความอ่อนนุ่มและอบอุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นผ้าที่อากาศผ่านเข้าออกได้ด้วย ผ้าชนิดนี้อาจจะผลิตขึ้นโดยวิธีการ ถัก การทอ หรือการอัดเป็นผืนผ้า มีคุณสมบัติที่ดีพอๆ กัน นอกจากชนาดและน้ำหนักของผ้าอาจจะมีขนาด แตกต่างกันไป ตั้งแต่ผ้าที่มีชาดเบาที่สุดจนกระทั้งหนักที่สุด และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามกรรมวิธีการ ผลิต และผ้าที่น่าสนใจ คือ ผ้าที่ใช้ในการผลิตผ้าย่น ผ้าลูกไม้ และปรเภทไหมพรมชนิดต่าง ๆ 2.6 เส้นใยประดิษฐ์( Man Made Fibers ) ใยประดิษฐ์ซึ่งในสมัยหนึ่งเรียกว่า เส้นใย สังเคราะห์ ( Synthetic Fibers ) ได้แก่ เส้นใยที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาจากวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนเส้นใยธรรมชาติ


41 เส้นใยประดิษฐ์อาจสังเคราะห์ได้จากเศษหรือวัสดุธรรมชาติซึ่งมีเซลลูโลสเป็นพื้นฐานหรืออาจจะใช้กรรมวิธี สังเคราะห์ทางเคมีโดยตรงก็ได้ เส้นใยประดิษฐ์ชนิดแรก ได้แก่เส้นใยไหมเทียม ( Artificial Silk ) ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเส้นใยไหมแท้มีความสวยงามมาก แต่หายากและมีราคาแพง จึงได้ ประดิษฐ์เส้นใยไหมเทียมขึ้น แม้ว่าจะมีคุณสมบัติไม่ดีเท่า แต่ก็ได้มีผู้พยายามดัดแปลง และปรับปรุงวิธีกรทำให้ ได้เส้นใยที่มีคุณภาพที่ดีขึ้นบางอย่างอาจจะทนทานดีกว่าเส้นใยไหมแท้เสียอีก ซึ่งเราเรียกชื่อสมัยใหม่ว่า เร ยอน ( Rayon ) เส้นใยไหมเทียและเส้นใยประดิษฐ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอาจจะแงออกได้อย่าง กว้าง ๆ ดังนี้ 2.6.1 เนใยประดิษฐ์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนเส้นใยพืช ( Regencrated Cellulose Fibers ) เส้นใยเหล่านี้มีพืนฐานมาจากเซลลูโลสของเบื่อไม้และเศษฝ้ายมี 3 ชนิด ด้วยกันตาม กรรมวิธีทำให้แต่กต่างกัน คือ 1) วิสโคสเรยอน ( Viscose Rayon ) หรือที่เรียกกันในท้องตลาดบ้านเรา เรียกว่า ไหมจามมะรีหรือด้ายมัน 2) คิวปราโมเนียม เรยอน ( Cupramonium Rayon ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คิวปราโมเนีม 3) อาซิเตดเรยอน ( Acetate Rayon ) หรือเรียกสั้นๆว่า อาซิเตด 2.6.2 เส้นใยประดิษฐ์ที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนเส้นใยขนสัตว์ ( Regenerated Protien Fibers ) เส้นใยพวกนี้ผลิตขึ้นเพื่อทำขนสัตว์เทียม ทั้งนี้เพราะขนสัตว์แท้นั้นหายาก และมีราคาแพงมาก จึงมีผู้คิดทำเส้นใยขนสัตว์เทียมขึ้น ซึ่งราคมถูกกว่าขนสัตว์แท้ๆ ได้นำมาผสมกับขนสัตว์ แท้ เส้นใยเหล่านี้ทำขึ้นจากโปรตีนของสัตว์และพืช เส้นใยที่สำคัญๆ 3 ชนิดคือ 1) เส้นใยเคซิน ( Casein ) ทำจากหางนม 2) เส้นใยอาดีล ( Ardill ) ทำจากถั่วเหลือง 3) เส้นใยอาลาแลค ( Arlalac ) ทำจากถั่วลิสง 2.6.3 เส้นใยสังเคราะห์ ( Synthetic Fibers ) เป็นเสนใจที่มิได้ผลิตขึ้นจาก องค์ประกอบที่มาจากพืชหรือสัตว์ที่กล่าวมาทั้ง 2 ชนิด แต่ทำขึ้นจากการสังเคราะห์สารทางเคมี


42 ( Synthetic ) โดยแท้และอาศัยผลิตภัณฑ์จากการกลั่นถ่านหินและน้ำมัน เส้นใยประเถทนี้แบ่งออกได้เป็น หลายชนิดดังนี้ 1) โพลีเอสเตอร์ ( Polyester ) ผ้าชนิดนี้มีขายตามท้องตลาด แต่มักจะ เรียกชื่อต่างกันไป เช่น ผ้าโพลีเอสเตอร์ของอเมริกาเรียกว่า เดครอน ( Dacron ) ของญี่ปุ่นเรียกว่า เทโทรอน ( Tatoron ) และของอังกฤษเรียกว่า เทริลีน ( Terylene )ฯลฯ 2) โพลีอะไมด์ ( Polyamided ) ผ้าชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป ถ้าเป็น ผ้าอิมริกาเรียกว่า ไนลอน ( Nylon ) ถ้าเป็นผ้าของเยอรมันเรียกว่า เปอร์ลอน ( Perlon ) ฯลฯ 3) สารประกอบที่มีต้นกำเนิดจากำวำโพลีไวนิล (Polyvinyl Derivative) ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น - โพลีไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinyl Chloride ) หรือที่เรียกว่า พี.วี.ซี. ( P.V.C ) - ไวนิลคลอไรด์ ( Vinyl Chloride ) เส้นใยชนิดนี้ได้แก่ พวกวินยอน ( Vinyon ) ซึ่งเป็นผ้าที่มีความทนทานต่อสารเคมีเป็นเลิศ จึงนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม เช่น การทำผ้า กรอง 3. เครื่องใช้ประเภทผ้า โรงแรมแต่ละแห่งใช้เงินจำนวนมากทีเดียวเกี่ยวกับการตกแต่งทั้งโรงแร แล้วมอบให้แผนก แม่บ้านดูแลรักษาและรับผิดชอบทั้งหมด ไม่ว่าเป็นห้องพัก ห้องอาหาร ห้องประชุม ฯลฯ 3.1 เครื่องใช้ประเภทผ้าประจำห้องอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใประเภทผ้าสำหรับห้องอาหารและเครื่องดื่ม มัยก่อนใช้ผ้าขาว แต่ก็ไม่ควรใช้ กับโต๊ะที่มีขนาดใหญ่เกินไป ต้องให้ง่ายแก่การซักรีด ปัจจุบันนิยมใช้สีเพื่อให้ดูหรูหรา มีชีวิตชีวากว่าสีขาวและ ไม่เป็นทางการมากเกินไป การเลือกใช้ผ้าปูโต๊ะควรเลือกใช้สีต่างกันระหว่างโต๊ะในภัตตาคารและโต๊ะที่ระเบียง เป็นต้น ผ้าที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันนอกจากผ้าฝ้ายแท้ ฝ้ายผสม อาจมีผ้าไหมหรือผ้าใย สังเคราะห์ ฯลฯ มักจะเป็นผ้าสีเรียบๆไม่มีลวดลาย ซักแล้วไม่ต้องรีดหรือรีดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การซักรีดผ้า ปูโต๊ะอาหารและเครื่องดื่มต้องรีบซัก ทำให้แห้งพบวางไว้ในรถจนกว่าจะนำไปใช้


43 3.2 เครื่องใข้ประเภทผ้าประจำห้องพัก เครื่องใช้ประเภทผ้าประจำห้องพัก เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าคลุม เตียงรวมทั้งผ้ากันเปื้อนสำหรับที่นอน ปัจจุบันนิยมใช้ผ้าประเภทฝ้ายผสมหรือใยสังเคราะห์ เพราะซักแล้วรีด เพียงเล็กน้อยส่วนผ้าฝ้ายแท้ ๆ ไม่ค่อยใช้แม้คุณภาพดีแต่ราคาสูงเกินไป ผ้าฝ้ายผสมยิ่งซักยิ่งมีกำลังต้านทานแรงดึงได้มาก ปัจจุบันสารอื่นผสมทำให้สามารถ ซักรีดธรรมดาหรือต้มก็ได้ เกี่ยวกับการซักรีดผู้ผลิตควรให้ข้อแนนำรายละเอียดได้เมื่อเปรียบเทียบจากการซัก รีดแล้วเห็นว่าฝ้ายธรรมดาใช้ประมาณ 200 ครั้ง ก็อาจเสื่อสภาพ ถ้าเป็นผ้าฝ้ายผสมอาจซักได้มากครั้งกว่า ผล การซักนี้ ทำให้จำนวนการใช้ผ้าลดลงประมาณหนึ่งในสาม รายจ่ายก็ลดลงตามไปด้วย ตัวอย่างเครื่องใช้ประเภทผ้าประจำห้องพัก ได้แก่ ผ้าปูที่นอน คุณสมบัติของผ้าฝ้ายผสมหลังจากผ่านการนอนแล้วมักจะไม่ค่อยยับ ทำ ให้พนักงานทำความสะอาดไม่ค่อยเปลี่ยน ซึ่งแม่บ้านประจำชั้นต้องควบคุมตรวจตราอยู่เสมอ เพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแลของแม่บ้านประจำชั้นและแม่บ้าน การเลือกซื้อ เครื่องใช้ประเภทผ้าเหล่านี้ควรกำหนดสีและชนาดให้ต่างกันพนักงานจะได้หยอบใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น ขนาดผ้าปูที่ นอนสำหรับเตียงเดี่ยวสำหรับเยงขนาดกลาง และเตียงขนาดใหญ่เป็นต้น


44 ปลอกหมอน ถ้าแผนกแม่บ้านจัดทำเองก็ควรเผื่อเย็บตะเข็บให้กว้างกว่าขนาดของ หมอนประมาณ 2 ถึง 3 นิ้ว ยาวกว่าขนาดของหมอนประมาณ 2 ถึง 4 นิ้วก่อนใช้ควรทดสอบว่าตะเข็บไม่ปริ ผ้ารองและผ้าปิดผ้าห่ม ควรจะเป็นผ้าที่ใช้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นผ้า สำหรับป้องกันไม่ให้ผ้าห่มสกปรก ไม่ต้องซักผ้าห่อมบ่อยๆ และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ห่มผ้าสะอาดอยู่เสมอ ปัจจุบันใช้ผ้าปูที่นอนแทนหรือเย็บเป็นปลอกสำหรับผ้านวม ( Duvet, Duvet Case ) ผ้าห่ม ปัจจุบันนิยมใช้ชนิดมีน้ำหนักเบา ซักทำความสะอาดง่ายอบแห้งได้นุ่มนิ่ม มักจะเป็นแบบที่ผลิตออกมาเลยไม่ใช้การทอ ไม่เป็นลูก ไม่ย่นง่าย แต่ซักยากมักจะย่นง่าย เก็บรักษายาก เช่น มีแมลงกินผ้ารบกวนอยู่เสมอ โรงแรมส่วนมากไม่นิยมผ้าห่มที่ขมวดปลายหรือชลิบด้วยผ้าชนิดมันหรือต่วน เพราะขาดง่าย ผ้าห่มไฟฟ้าลูกค้ามักจะกลัวมากกว่าเกี่ยวกับความปลอดภัย หากโรงแรมจะต้องมีมาตรการป้อง กนและหมั่นตรวจบ่อยๆว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้หรือไม่ วิธีตรวจก็คือให้พนักงานนำผ้าผืนใหม่เปลี่ยนแล้วนำผืน เก่ามาตรวจ


45 บางโรงแรมที่หรูๆจะมีผ้าห่มอีกผืนวางไว้ที่ปลายเตียงเพื่อลูกค้าคนใดต้องการเพิ่ม จากที่ให้แล้วอีกหนึ่งผืนก็ได้ ผ้าคลุมเตียง ปัจจุบันมักนิยมใช้แบบใยสังเคราะห์ไม่ค่อยบับย่นหรือเปื้อนง่ายเตียง ในปัจจุบันมีสองชั้นทำให้ผ้าคลุเตียงเล็กลงได้โดยไม่ต้องปิดถึงพื้น เพื่อซ่อนให้เตียงการซักรีดก็ทำได้ง่ายขึ้นเนื้อ ที่ใช้เก็บผ้าคลุมเตียงก็ลดน้อยลงด้วย เตียง ที่มีผ้าคลุมทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าทุกอย่างสะอาดจริงๆ ดูมีค่าแตกต่างกันไปตาม ลักษณะของผ้าที่นำมาทำเป็นผ้าคลุมเตียง เช่น ผ้าฝ้ายผสมคล้ายๆผ้าสักหลาด หรือผ้าที่ค้ายขนสัตว์ ผ้าฝ้าย ผสมใยสังเคราะห์ เป็นต้น


46 ผ้ากันเปื้อนสำหรับที่นอน นิยมใช้ผ้าที่ไม่ดูดน้ำ คราบเปื้อนไม่ฝังตัว ซักง่าย แห้งเร็ว ไม่ติดไฟง่าย จะต้องมีที่ยึดมุมให้ขึงตึงอยู่กับที่ผ้ากันเปื้อนสำหรับที่นอนนี้ควรเปลี่ยนทุกครั้งเมื่อแขก คืนห้องพัก ที่นอน ที่นอนชนิดดีต้องคืนรูปเมื่อนั่งที่ริมขอบที่นอน มีอายุการใช้งานได้นาน พอสมควรที่จะนอนจะยืดหดก็เฉพาะตรงที่มีน้ำหนักกดอยู่ บริเวณอื่นจะคงรูปและให้ความสมดุลได้ดี ส่วนมาก แม่บ้านจะพิจารณากันตรงที่ใช้งานได้นานกว่ากันมากกว่าจะพิจารณาว่าขดลวดสปริงข้างในที่นอนชนิดไหนจะ ดีกว่ากัน เช่น ขดลวดแบบใดให้ความสบายมากกว่า ไม่ต้นแรงกด ปลอดภัยเวลานอน ไม่ทำให้ขอบที่นอนแตก ไม่เป็นฉนวนไฟฟ้า คืนรูปง่าย ควรมีปลอกหุ้มชั้นหนึ่งก่อน จะเป็นผ้าฝ้ายก็ได้เพื่อป้องกันไม่ให้ที่นอนเสียหาย เพราะสัมผัสกับปริงมากจนเกินไป ผ้าที่นำมาเย็บเป็นที่นอนก็ควรใช้ผ้าชนิดดี ราคาย่อมแพงแต่ประหยัดได้ดีกว่าที่นอน ราคาถูกควรเป็นแบบกันน้ำได้ ไม่ติดไฟง่าย มีวิธีทำความสะอาดไว้พร้อม มีการรับประกันถ้าเสียหายสามารถ ส่งซ่อมแซมได้ ปัญหาการกลับที่นอน แม้บ้านจะต้องให้พนักงานทั่วไปรู้ว่าควรกลับที่นอนบ้าง ตอน ดูดฝุ่นเมื่อกลับแล้วจะต้องลงบันทึกไว้จะได้ไม่ต้องทำซ้ำ หมอน ตัวหมอนควรใช้ผ้าที่ทนทาน ควรมีปลอกรองชั้นหนึ่งก่อน ควรใช้วัสดุที่กัน น้ำได้ ไม่ขึ้นราง่าย ถ้าติดซิปจะสะดวกขึ้น ควรทนน้ำทนไฟได้ด้วย ลักษณะของหมอนที่ดีต้องไม่มีน้ำหนักมาก เพราะถ้าหนักมากหมายถึงวัสดุข้างในไม่ดี หมอนต้องยืดหยุ่นได้คือเมื่อกดลงไปพอถอนมือขึ้นจะคงรูปทันที ผ้าในห้องอาบน้ำ ผ้าที่ใช้ในห้องอาบน้ำมีอยู่หลายชนิด เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว รวมทั้งผ้ากันลื่นในอ่างอาบน้ำด้วย ความหนาของผ้าเช็ดตัวอาจวัดราคาห้องพักแต่ละห้องได้ ผ้าเช็ดตัวสมัยนี้


47 มักจะผสมใยสังเคราะห์ล้างทำให้ไม่หด สารถลดน้ำหนักของผ้าลง และช่วยในการซักรีดได้มาก สมัยก่อนใช้สี ขาวเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันนิยมผ้าสี แต่ฏมีโรงแรมบางแห่งหันกลับมาใช้สีขาวเหมือเดิม เพราะมองดูสะอาดตา ให้ความสดชื่นและไม่ต้องกังวลเรื่องสีตกด้วย ผ้าเช็ดตัวที่จะใช้ได้นานควรเป็นผ้าเรียบร้อยทุกด้าน ไม่หลุดง่าย ผ้าทอสองชั้นแม้ว่าจะหนักแต่ก็ซึมซับน้ำได้ดีกว่า ผ้าเช็ดหน้า ควรใช้ผ้าที่มีโครงสร้างเบาบาง มักจะมีในโรงแรมที่มีราคาแพง พรมเช็ดเท้าหน้าอ่างอาบน้ำ จะต้องวางอยู่หน้าอ่างอาบน้ำ จะมีน้ำหนักไม่ต้อง เปลี่ยนทุกวันก็ได้


48 ผ้าม่านอ่างอาบน้ำ ควรเป็นผ้าชนิดที่ทนควาชื้นได้ดี จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่อมน้ำไม่ ติดเชื้อง่าย ไม่ควรมีตะเข็บเพราะน้ำอาจจะขังอยู่ตามรอยตะเข็บ เวลาอาบต้องให้ชายผ้าอยู่ในอ่างเสมอเพื่อ ป้องกันไม่ใหน้ำไหลนอกเปือนพื่นบริเวณนอกอ่างอาบน้ำ การจัดวางผ้าในห้องอาบน้ำ ผ้าเช็ดตัวโรงแรมบางแห่งนิยมพับเรียบร้อยวางไว้ใน ตะกร้า หรือพับวางไว้นบตะแกรงเหนือราวผ้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าที่ยังไม่ได้ใช้เปียกชื้น ส่วนผ้าเช็ดมือ อาจจะวางหรือแขวนไว้ต่างหากใกล้บิเวณอ่างล้างหน้าหรืออ่างล้างมือก็ได้


49 บทที่ 5 การทำความสะอาดผ้า สาระสำคัญ เวลาไปพักตามโรงแรมเรามักรู้สึกถึงความสะอาด เรียบร้อยของที่พักเหล่านั้น เนื่องจากส่วนหนึ่งมีแม่บ้าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำความสะอาดพวกเขาทำความงานความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีความรู้ และเทคนิคในการทำความสะอาดผ้า ที่ผู้เรียนควรศึกษาเป็นตัวอย่างทั้งนี้เพื่อการทำงานต่อไปในอนาคต จุดประสงค์ทั่วไป 1) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของรอยเปื้อน 2) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลบรอยเปื้อนและขจัดคราบ 3) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ในเนื้อผ้า 4) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการซักเปียกและซักแห้ง จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1) แยกประเภทของรอยเปื้อนได้ 2) อธิยายวิธีการลบรอยเปื้อนและขจัดคราบ 3) บอกสัญลักษณ์ในเนื้อผ้า 4) อธิบายวิธีการซักเปียกและซักแห้ง สาระสำคัญ 1. ประเภทของรอยเปื้อน เมื่อทราบว่ารอยเปื้อนเกิดจากอะไรแล้ว จะได้ตัดสินใจว่าควรลบรอยเปื้อนด้วยน้ำ หรือน้ำมัน รอยเปื้อนที่ต้องลบด้วยน้ำมัน แบ่ออกตามชนิดของสารดังนี้ 1.1 อัลบูมิน ได้แก่ เลือด ไข่ นม ครีม ไอศรีม เจลาติน กาวน้ำ 1.2 น้ำตาล ได้แก่ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่องดื่ต่าง ๆ และสุรา 1.3 แทนนิน ได้แก่ กาแฟ ชา หญ้า ยาสูบ เบียร์ 1.4 สีย้อม ได้แก่ น้ำหมึก น้ำผลไม้ที่มีสี


50 2. วิธีการลบรอยเปื้อน 1. การละลาย คือ สารอย่างหนึ่งละลายในสารอีกอย่างหนึ่ง เช่น น้ำตาลละลายในน้ำ 2. การหล่อลื่น คือ การที่รอยเปื้อนหลุกออกจากผ้า เช่น การซัก 3. ปฏิกิริยาทางเคมี คือ การใช้น้ำยาเคมีทำปฏิกิริยากับรอยเปื้อน เกิดสารใหม่ที่ไม่มีสี 4. การย่อย คือ การใช้เอนไซม์ไปย่อยสิ่งสกปรกทำให้หลุดออกจากผ้าได้ ข้อควรระวัง 1. ใช้สารลบรอยเปื้อนผสมน้ำ ทดลองกับผ้าด้านในก่อนลบรอยเปื้อนด้านนอก 2. ไม่ควรใช้สารฟอกสี เช่น คลอรีน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ บนผ้าสี 3. อย่ารีดรอยด่างด้วยความร้อน ความร้อนจะทำให้รอยด่างติดทน 4. ควรใช้กระดาษซับหรือผ้าไว้ข้างล่างรอยเปื้อนในระหว่างที่ทำการลบรอยเปื้อน เพื่อซับ น้ำยาและสีสกปรกให้หลุดออก 5. ปฏิบัติตามคำแนะนำของฉลากที่ติดมากับผลิตภัณฑ์ 6. ควรใช้สารเคมีชนิดอ่อน ลบหลายๆ ครั้ง ดีกว่าใช้สารเคมีเข้มข้นครั้งเดียว 3. วิธีขจัดคราบรอยเปื้อนต่าง ๆ คราบรอยเปื้อนบางอย่างซักออกง่าย บางอย่างซักออกยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นรอย เปื้อนจากสารเคมีต่างๆนั้น มักจะซักออกยาก เรามีวิธีง่ายๆที่จะกำจัดรอยเปื่อนต่าง ๆ เหล่านี้ 1. สีทาบ้านหรือน้ำยาขัดเงาหยดเปื้อน : ให้รีบถอดออกซักก่อนสีจะแห้ง แล้วใช้ฟองน้ำชุบ ทินเนอร์ทาบริเวณรอยเปื้อนโดยเร็ว ขณะที่ยังเปียกอยู่ จากนั้นแช่ในน้ำอุ่นแล้วซักด้วยผงซักฟอกให้หมดคราบ 2. ยาแดงใส่แผล : ใช้ผ้าชุบแอมโมเนีย หรือน้ำส้มสายชูก็ได้ เช็ดถูบนรอยเปื้อนหลายๆครั้ง แล้วจึงซักด้วยผงซักฟอก รอยเปื้อนยาแดงจะหายไปโดยง่าย


Click to View FlipBook Version