The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by anansrewunna, 2023-09-26 08:24:43

รายงานการประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รายงานการประเมินโครงการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รายงานการประเมิน โครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ไพฑูรย์ มณีจันทร์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทพสถิตวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชัยภูมิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


ก ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ผู้ประเมิน ไพฑูรย์ มณีจันทร์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทพสถิตวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีที่ทำการพิมพ์2564 บทคัดย่อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิมี วัตถุประสงค์1) เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ ครูผู้สอน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2) เพื่อประเมินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนในด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ รูปแบบซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ผลการประเมินจะเป็นสารสนเทศสำหรับนำไปพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนเทพสถิตวิทยา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้สอน จำนวน 53 คน และนักเรียน จำนวน 279 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ฉบับที่ 1 มีค่าความ เชื่อมั่น 0.97 และฉบับที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมิน พบว่า 1. ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครูผู้สอน ที่มีต่อโครงการการ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า 1.1 ด้านบริบท (Context) ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม กรอบภาระหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน นโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ นวัตกรรมทางวิชาการและผลงานทางวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก


ข 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ซึ่งประกอบไปด้วยงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการ เรียนการสอน สิ่งพิมพ์ เอกสาร บุคลากร แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าและสิ่งอำนวยความ สะดวก โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 ด้านกระบวนการ (Process) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการบริหารต่างๆ การ นิเทศกำกับติดตาม การตรวจสอบ การรายงาน การวัดผลประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.4 ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งประกอบไปด้วย การปรับพฤติกรรมการเรียนการสอน ของครูผู้สอน นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ผลการประเมินระดับชาติ ผลงานทางวิชาการ ในด้าน ปริมาณและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิในด้านกระบวนการและด้านผลผลิต พบว่า 2.1 ด้านกระบวนการ ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมต่างๆ กระบวนการจัดการเรียนการ สอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.2 ด้านผลผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย การปรับพฤติกรรมการเรียนการสอนของ ครูผู้สอน นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ผลการประเมินระดับชาติ ผลงานทางวิชาการ ในด้าน ปริมาณและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุป โครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิสามารถนำไปใช้ในการ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีความหลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนส่งผล ให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ค กิตติกรรมประกาศ รายงานการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิฉบับ นี้ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพตนเองได้ตามแบบแผนการเรียนรู้ของตน เรียนรู้วิธีเรียน มี ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันจะนำไปสู่การเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขตามความมุ่ง หมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติต่อไป การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็น ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2)เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนในด้านกระบวนการและด้าน ผลผลิต ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบคุณคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคณะครู และ นักเรียน โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิที่ให้ความอนุเคราะห์ในการตอบ แบบสอบถามเพื่อการประเมินโครงการ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการจนประสบผลเป็นที่ น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และความร่วมมือในการให้ข้อมูลในการจัดทำการประเมินโครงการจนสำเร็จ ด้วยดีหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร คณะครูนักเรียนโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ และโรงเรียนอื่น ๆ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน พัฒนานักเรียนและการประเมินโครงการต่างๆ ในโอกาสต่อไป ไพฑูรย์ มณีจันทร์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทพสถิตวิทยา


สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ค สารบัญ ง สารบัญตาราง ช สารบัญภาพประกอบ ฌ บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ของการประเมิน 3 ขอบเขตของการประเมิน 3 ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย 3 รูปแบบของการประเมิน 4 ตัวแปรที่ศึกษา 4 ระยะเวลาในการประเมิน 4 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 กรอบแนวคิดการศึกษา 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7 ปรัชญาการศึกษาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 7 หลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 8 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 10 รูปแบบหรือระดับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 11 บทบาทของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 13 ข้อดีของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 15 แนวปฏิบัติของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 16 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 16 ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 24 วิเคราะห์ภาระงานของครูและภาระงานของโรงเรียน 25 ง


จ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 31 ความหมายของการประเมินผลการศึกษาและการประเมินโครงการ 32 ความสำคัญของการประเมินโครงการ 34 รูปแบบในการประเมินโครงการ 37 รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model 41 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 46 งานวิจัยภายในประเทศ 46 งานวิจัยต่างประเทศ 53 บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมินโครงการ 54 ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย 54 ประชากร 54 กลุ่มตัวอย่าง 54 กลุ่มเป้าหมาย 55 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 55 การสร้างเครื่องมือ 56 การเก็บรวบรวมข้อมูล 67 การวิเคราะห์ข้อมูล 58 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 59 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 59 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 59 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 60 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 60 ลำดับขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล 60 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 61 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 70 วัตถุประสงค์ของการประเมิน 70 วิธีดำเนินการประเมิน 70


ฉ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า สรุปผลการประเมิน 71 อภิปรายผล 72 ข้อเสนอแนะ 73 ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 73 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 74 บรรณานุกรม 75 ภาคผนวก 80 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 81 ภาคผนวก ข หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญ 83 ภาคผนวก ค เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล 89 ภาคผนวก ง หนังสือขอเผยแพร่ผลงาน 98 ภาคผนวก จ หนังสือตอบรับการเผยแพร่ผลงาน 114 ภาคผนวก ฉ ผลการหาค่า IOC ของแบบสอบถาม 135 ภาคผนวก ช ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 140 ประวัติผู้ประเมิน 143


สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของครูโดยตรง 25 2 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของครูโดยอ้อม 28 3 วิเคราะห์ภาระงานของโรงเรียน 29 4 จำนวนร้อยละเกี่ยวกับสถานะภาพ 61 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัด ชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิโดยรวมและรายด้าน 62 6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิด เห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านบริบท เป็นรายข้อ 63 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านปัจจัยนำเข้าจำแนกเป็นรายข้อ 64 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านกระบวนการ จำแนก เป็นรายข้อ 65 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับการประเมินความเหมาะสมตาม ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้าน ผลผลิตจำแนกเป็นรายข้อ 66 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยรวมและรายด้าน 67 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยาอำเภอเทพสถิตจังหวัดชัยภูมิสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านกระบวนการจำแนกเป็นรายข้อ 68 ช


ซ สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ หน้า 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1–6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านผลผลิตจำแนกเป็นรายข้อ 69


สารบัญภาพประกอบ ภาพประกอบที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดการศึกษา 5 2 วัฏจักรของกระบวนการวิจัยประเมินผล 32 3 ความสัมพันธ์ของขั้นตอนการปฏิบัติตามโครงการ 36 4 โครงสร้างการประเมินแบบ CIPP Model 42 ฌ


บทที่1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีผสมผสานกับการที่ประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มผ่อน ปรนกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับ ยอมเปิดประเทศรับอิทธิพลภายนอกมากขึ้น ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ ผลักดันให้นานาประเทศ สามารถรับรู้และถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็ว เป็น การก้าวสู่โลกยุคไร้พรมแดน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เข้ายุคดังกล่าว และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมคนให้รู้จักเลือกสรรคัดเอาแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์มาใช้ เพื่อช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศในการเตรียม คนดังกล่าวนั้นการศึกษาได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุก คนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดย ไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติสามารถ เชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ และที่สำคัญที่สุดคือการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาการศึกษาไป ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญซึ่งนำมาสู่กระบวนการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาอบรมตามเจตนารมณ์ และหลักการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ (อมรวิชช์ นาครธรรพ. 2544 : 6) สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดมิติใหม่ในวิธีคิดและวิธีการศึกษาที่ท้าทายหลาย ด้าน ที่มุ่งหวังให้เกิดปฏิรูปการเรียนรู้ให้เด็กไทย ดี เก่ง มีสุข ตามมาตรา 6 ว่าให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ เหมาะสมกับวัยและให้เกิดสมดุลย์ทั้งด้านสติปัญญา จิตใจ สุขภาพพลานามัย สังคมและประกอบ สัมมาชีพ สามารถพึงตนเองดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพและเกื้อกูลประโยชน์ต่อสังคมธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จะเป็นการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญต่อการเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องกับกระแสที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทิศทางการจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ จึงมีความจำเป็นที่บุคลากร ทางการศึกษาต้องปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งให้ ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพตนเองได้ตามแบบแผนการเรียนรู้ของตน เรียนรู้วิธีเรียน มีทักษะพื้นฐานที่


2 จำเป็นในการดำรงชีวิตในยุคของสังคมที่ซับซ้อนได้ โรงเรียนต้องสามารถจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้แบบแผนการเรียนรู้ ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเชิงบูรณา การจากเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียน ชุมชน และสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานจริง ครูอาจารย์ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะความชำนาญในการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมี ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะการดำรงชีวิต ทักษะทางสังคม ทักษะการคิดได้ ถึงการอ่านออกเขียนได้ ระดับสูงที่หมายถึง การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ประเมินสังเคราะห์สารสนเทศสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2539 – 2550) (สมาน อัศวภูมิ และคณะ. 2539 : 31 – 32) แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ในการจัดทำแผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาตินี้ได้ยึดความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก มี หลักการสำคัญคือ “ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม ภายใต้วิสัยทัศน์“มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพที่ดี มีความสุขในสังคม” โดยกำหนดยุทธศาสตร์และวางเป้าหมายที่สามารถตอบสนองการ พัฒนาที่สำคัญในด้านต่างๆ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ที่มุ่งหวังให้คนไทยมีคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและ การพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งตอบสนองการพัฒนาในด้านคุณภาพและด้านการตอบโจทย์บริบทที่ เปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ที่ มุ่งหวังให้มีการผลิตครูได้สอดคล้องกับความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และมี สมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการสอนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งตอบสนองการพัฒนา ด้านคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความ ต้องการในการพัฒนาประเทศ ที่มุ่งหวังให้กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการ แข่งขันของประเทศ และมีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งตอบสนองการพัฒนาในด้านคุณภาพ และด้านการตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ที่มุ่งหวัง ให้การบริการทางการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกวัย ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพบริบทและสภาพพื้นที่ ตอบสนองการพัฒนาในด้านการเข้าถึงการให้บริการและด้านความเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่มุ่งหวังให้คนไทยได้รับโอกาสใน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งตอบสนองการพัฒนาในการการเข้าภึง การให้บริการ ด้านความเท่าเทียมและด้านประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบ บริหารจัดการ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ที่มุ่งหวังให้มีการใช้ทรัพยากร


3 ทั้งทางด้านงบประมาณ และบุคลากรได้อย่างคุ้มค่า ไม่เกิดการสูญเปล่า และมีความคล่องตัว ซึ่ง ตอบสนองการพัฒนาในด้านประสิทธิภาพ การศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เป็นการ เรียนตามความต้องการของผู้เรียน ไม่ใช่เรียนตามความต้องการของครูของกระทรวงศึกษาธิการหรือ ทบวงมหาวิทยาลัยและให้ผู้เรียนมีบทบาทร่วมในการพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพของผู้จัดหรือ หน่วยงานที่จัดและตระหนักถึงสิทธิที่ประชาชนได้รับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รุ่ง แก้วแดง. 2541 : 46 –54) โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชัยภูมิ เป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่เปิดทำการเรียนการสอนในสองระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งทางโรงเรียนได้พยายามจัดการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความเชื่อมั่นเป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชนและทุก ฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตลอดทั้งเน้นให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเมื่อได้รับการ ประเมินจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยพยายามจัดให้มีโครงการที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนในการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ดังนั้น ผู้ประเมินในฐานะที่เป็นรอง ผู้อำนวยการโรงเรียนรับผิดชอบกลุ่มบริหารงานวิชาการ จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการดำเนินโครงการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียน โดยยึดรูปแบบการประเมินของ สพัฟเฟิล บีม (Danial L. Stufflebeam) หรือที่เรียกว่า CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมินโครงการ เพราะการประเมินตามรูปแบบนี้จะทำให้เห็นภาพรวมในการดำเนินงานได้ชัดเจนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำไปใช้เป็นข้อสนเทศเพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องในการ ดำเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายต่อไป วัตถุประสงค์ของการประเมิน 1. เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ ครูผู้สอน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2. เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนในด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ขอบเขตของการประเมิน 1. ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มเป้าหมาย 1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,094 คน (ข้อมูล 10 มิถุนายน 2564) จำแนกเป็น 1.1.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน 1.1.2 ครูผู้สอน จำนวน 53 คน


4 1.1.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 1026 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)โดยกำหนดขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำแนกเป็น นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 279 คน 1.3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.3.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน 1.3.2 ครูผู้สอน จำนวน 53 คน 2. รูปแบบของการประเมินใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟิลปีม (Stufflebeam. 1985 : 151 – 40) เป็นกรอบในการประเมิน 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 3.1.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.1.2 ครูผู้สอน 3.1.3 นักเรียน 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และนักเรียน ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 4. ระยะเวลาการประเมินโครงการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การประเมิน หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการ ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ 2. การประเมินโครงการ หมายถึง การประเมินโครงการต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้จัดขึ้นใน ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 3. โครงการ หมายถึง โครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 5. ครูผู้สอน หมายถึง ครูและบุคลากรที่ทำการสอนในโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ


5 6. นักเรียน หมายถึง นักเรียนโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ที่กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 - 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 7. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่ง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้คิดค้น สร้างและสรุป ข้อความรู้ด้วยตนเอง กรอบแนวคิดการศึกษา จากความมุ่งหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อ ประกอบการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินแบบซิป (CIPP Model) ซึ่งประกอบไปด้วย การประเมินด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัย นำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ การประเมินด้านผลผลิต ซึ่งกรอบแนวคิดในการศึกษาแสดงได้ดัง ภาพประกอบที่ 1 ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดการศึกษา การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ - วัตถุประสงค์ของ โครงการ - การกำกับติดตาม โครงการ - การมีส่วนร่วม ของชุมชน - ภูมิทัศน์ สถานที่ แหล่งเรียนรู้ - การจัดสรร งบประมาณ - การจัดหาสื่อและ แหล่งเรียนรู้ - การมีส่วนร่วม ของผู้เรียน - การพัฒนา บุคลากร - ภูมิหลังของ ผู้เรียน - การวางแผน กิจกรรมการเรียน การสอน - การวัด ประเมินผล - การมีส่วนร่วม ของผู้เรียน - การนำความรู้ไป ใช้ - ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน - รางวัลผลงานที่ เกิดกับผู้เรียน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต


6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทำให้ทราบถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และ นักเรียนที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 2. เพื่อเป็นข้อสนเทศสำหรับโรงเรียน นำไปปรับปรุงการเรียนการสอน การปฏิบัติตาม โครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป


7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ศึกษาตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1. ปรัชญาการศึกษาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. หลักการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4. รูปแบบหรือระดับของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5. บทบาทของครูในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. ข้อดีของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 7. แนวปฏิบัติของโรงเรียนในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 8. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาการศึกษาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรี นิยมสาขาพัฒนนิยม (Progressivism) ซึ่งปรัชญาสาขานี้ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2524 : 87 – 88) ได้รวบรวมไว้ ปรัชญากลุ่มเสรีนิยม (Liberal View) เป็นกลุ่มปรัชญาที่มีแนวคิดไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่ ตายตัว ไม่ยึดแบบแผนแน่นอน ไม่ยึดมั่นกับมรดกทางวัฒนธรรมมากเกินไป โดยมีความคิดว่า การศึกษาควรคำนึงถึงความรู้ใหม่ ๆ ประสบการณ์ผู้เรียน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ยิ่งในสภาพ สังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนระบบสารสนเทศต่าง ๆ ดังนั้นปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยมจะเป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของการศึกษาไทย มากที่สุด ปรัชญาในกลุ่มนี้มี 2 สาขาใหม่ ๆ คือพิพัฒนนิยม (Progressivism) และ ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนนิยม (Progressivism Education) เฟื่องฟูมากในระหว่างปี 1910 – 1950 แนวคิดหลักของการศึกษาแบบพิพัฒนนิยมเป็นการศึกษาที่พัฒนาเด็กทุกด้านไม่เฉพาะ สติปัญญาเท่านั้น โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับสังคมมากขึ้นเด็กจะต้องพร้อมที่จะอยู่ในสังคมที่มีความ เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้อย่างดี


8 กระบวนการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญพอ ๆ กับเนื้อหาเรื่องของปัจจุบันมีความสำคัญมากกว่าอดีต หรืออนาคต จึงเรียกได้ว่ามีความเป็นเสรี (Liberal) มากกว่า ปรัชญาการศึกษาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า เป็นปรัชญาการศึกษาที่จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาการศึกษากลุ่มเสรีนิยมสาขาพัฒนนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นปรัชญาที่มีแนวคิดไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่ตายตัว ไม่ยึดแบบแผนแน่นอน ไม่ยึด มั่นกับมรดกทางวัฒนธรรมมากเกินไป โดยมีความคิดว่า การศึกษาควรคำนึงถึงความรู้ใหม่ ๆ ประสบการณ์ผู้เรียนและ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือพิพัฒนนิยม (Progressivism) และ ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) หลักการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทิศนา แขมมณี ได้เสนอหลักในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีคุณสมบัติดังนี้ (กรมสามัญศึกษา : เอกสารลำดับที่ 7/2541 SBN : 100410… คู่มือการบริหารและการจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นที่ สำคัญ. มีนาคม 2541 : 8 – 10) 1. ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้เป็นสำคัญ (Construct) ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจ สร้างความหมายของสาระข้อความรู้ให้แก่ตนเองค้นพบข้อความรู้ด้วยตนเอง 2. ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 3. ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วม (Participation) ในกระบวนการเรียนรู้ให้มาก ที่สุด 4. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้“กระบวนการ” (Process) ควบคู่ไปกับ “ผลงาน” (Product) 5. ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง (Application) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนการ สอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นสร้างและสรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างได้ผล การจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ควรยึดหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนการสอน ดังนี้ 1. การเรียนเป็นกระบวนการที่ควรเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวา ดังนั้นผู้เรียนจึงควรมีบทบาท รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 2. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแหล่งต่าง ๆ กันมิใช่จากแหล่งใดแหล่งหนึ่งเพียงแหล่งเดียว ประสบการณ์ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลถือว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ


9 3. การเรียนรู้ที่ดีจะต้องเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ จึงจะช่วยให้ผู้เรียนจดจำ และสามารถใช้การเรียนรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ได้ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบด้วยตนเองนั้น มีส่วน ช่วยให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งและจดจำได้ดี 4. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้นั้นมีความสำคัญหากผู้เรียนเข้าใจและมีทักษะในเรื่องนี้ แล้ว จะสามารถใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และคำตอบต่าง ๆ ที่ตนต้องการ 5. การเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ผู้เรียน คือ การเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ความเชื่อในหลักการเรียนรู้ทั้ง 5 ประการดังกล่าว ข้างต้น นำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน ดังนี้ 1. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างทั่วถึง และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความ พร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา 2. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ได้ พูดคุย ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง และผู้อื่นและการเรียนรู้ที่จะ ปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ 3. ยึดการค้นพบด้วยตนเอง เป็นวิธีการสำคัญการเรียนรู้โดยผู้สอนพยายามจัดการสอนที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ทั้งนี้เพราะการค้นพบความจริงใด ๆ ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนมักจะจดจำได้ดี และมีความหมายโดยตรงต่อผู้เรียนและเกิดความคงทนของความรู้ 4. เป็นกระบวนการ (Process) ควบคู่ไปกับผลงาน (Product) โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้คิดวิเคราะห์ถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผลงานมิใช่จะพิจารณาถึงผลงานแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพของผลงานขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกระบวนการ 5. เป็นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดหาแนวทางที่จะนำ ความรู้ ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจำวัน พยายามส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและพยายามติดตาม ผลการปฏิบัติของผู้เรียน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า เป็น กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นสร้าง และสรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้เพื่อให้การ เรียนรู้เป็นไปตามผลที่หวังไว้


10 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง แต่ละทฤษฎีที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิด สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ.2541:15 –27) 2. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข หมายถึง เด็กแต่ละคนได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์คน หนึ่งที่มีหัวใจและสมองทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละคน มีความคิด มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มี ความรู้สึกโกรธ เสียใจ หรือดีใจ มีความสามารถเฉพาะตัว มีจุดเด่น มีจุดด้อยที่แตกต่างไปจากคนอื่น ผู้เป็นครูควรจะเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาไม่ใช่ผู้ออกคำสั่ง 3. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีนักการศึกษาได้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามยุทธวิธี 4 ดาว ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 36 - 83) ยุทธวิธีที่ 1 วิธีการสอนแบบ 5 แฉก ได้แก่ เทคนิคการสอนของครู ในชั้นเรียนโดย กระบวนการ 5 อย่าง ได้แก่ การเรียนเป็นกลุ่ม การใช้คำถามเป็นสื่อให้คิด การให้เด็กทำกิจกรรม และสร้างผลงาน การช่วยให้เกิดจินตนาการด้วยการเสริมด้วยสื่อสายตาต่าง ๆ การเชื่อมโยงกับชีวิต ยุทธวิธีที่ 2 การสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการจัด สภาพแวดล้อมในห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด ยุทธวิธีที่ 3 การแนะแนวและจิตวิทยา โดยประสานกัลยาณมิตร 5 กลุ่ม ได้แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครูแนะแนวและนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ด้วยการประสานการทำงานอย่าง เป็นระบบ ยุทธวิธีที่ 4 การประเมินผล โดยการใช้การประเมินผลหลายลักษณะ ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด การคิดเป็นสิ่งสำคัญจึงได้มีการค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถ ดังกล่าว ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 แนว ดังนี้ 3.1 การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for Thinking) 3.2 การสอนการคิด (Teaching of Thinking) 3.3 การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about Thinking) 4. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย : ศิลปะ ดนตรี กีฬา ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ 4.1 หลักความเหมือน 4.2 หลักความแตกต่าง


11 4.3 หลักความเป็นฉัน จากทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถสรุปได้ว่า ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน โดยมีครู เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก รูปแบบหรือระดับของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทิศนา แขมณี (2543 : 9) ได้สรุปไว้ว่า การจัดกิจกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สุดมีรูปแบบวิธีดังนี้ 1. การสอนโดยบรรยาย (Lecture) 2. การสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration) 3. การสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment) 4. การสอนโดยใช้การนิรนัย (Deductive) 5. การสอนโดยใช้การอุปไนย (Inductive) 6. การสอนโดยใช้การทัศนศึกษา (Field Trip) 7. การสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) 8. การสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) 9. การสอนโดยการใช้บทบาทสมมุติ (Role Playing) 10. การสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง 11. การสอนโดยใช้เกม 12. การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) 13. การสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน (Learning Center) 14. การสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction) กรมวิชาการ (2544 ข : 10 – 85) ได้สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีดังนี้ 1. รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด ประกอบด้วย 1.1 การใช้กระบวนการแก้ปัญหา 1.2 การเรียนรู้ “ฉลาดรู้” 1.3 การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพความคิด 1.4 การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ 1.5 การสอนโดยใช้ชุดการสอน


12 1.6 การสอนตามแนวพุทธวิธี 1.7 การสอนตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 1.8 การสอนตามวิธีของเทนนีสัน 1.9 การสอนตามหลักการเรียนรู้ของกาเย่ 1.10 การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ 1.11 การสอนแบบโครงงาน 1.12 การสอนแบบโครงการ 1.13 การสอนแบบบูรณาการ 1.14 การสอนแบบรอบรู้ 1.15 การสอนแบบศูนย์การเรียน 1.16 การสอนแบบสืบสวนความ 1.17 การสอนแบบอุปนัย 1.18 การสอนแบบนรินัย 1.19 การสอนรายบุคคลหรือการเรียนด้วยตนเอง 2. รูปแบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2.1 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2.2 การสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม 2.3 การสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือ 2.4 การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ 2.5 การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ 2.6 การสอนแบบซินดิเคท 2.7 การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2.8 การสอนแบบสเตต 2.9 กิจกรรม QC หรือกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ 2.10 การสอนแบบซิปปา 3. รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรม และค่านิยม ประกอบด้วย 3.1 การใช้สถานการณ์จำลอง 3.2 การทำค่านิยมให้กระจ่าง 3.3 การปรับพฤติกรรม 3.4 การสร้างเสริมลักษณะนิสัย 3.5 การสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพ 3.6 การสอนแบบนาฏการ


13 3.7 การแสดงบทบาทสมมุติ วรภัทร์ ภู่เจริญ (2544 : 124 – 125) ได้กล่าวถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการสอนที่ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิด “การเรียนการสอนแบบหลากหลาย” เทคนิคต่าง ๆ มีดังนี้ 1. การใช้เกม 2. สถานการณ์จำลอง/การเผชิญปัญหา 3. กรณีศึกษา หรือกรณีตัวอย่าง (Case Study) 4. บทบาทสมมุติ (Rote – play) 5. โปรแกรมสำเร็จรูป/คอมพิวเตอร์ช่วยสอน/ชุดการสอน 6. ศูนย์กลางการเรียน (Learning Center) 7. โครงการ (project) 8. ทำการทดลอง (Experiment) 9. ถาม – ตอบ/ปัจฉา – วิสัจนา 10. กลุ่มย่อย (Small – group) 11. แก้ปัญหา (Problem – solving) 12. สืบสวน ค้นคว้า (Inquiry) 13. การดูงาน (Field Trip) 14. สายการเรียนรู้ (Storyline) 14. เรียนเอง (Self Directed Leaning) 15. โยนิโสมนสิการ จากรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปได้ว่า การจัดการ เรียนรู้ที่จะเรียกว่า ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น วิธีสอนวิธีเรียนต้องหลากหลาย เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จาก ความสนใจของตนเอง ให้ลงมือปฏิบัติคิดวิเคราะห์สร้างความหมายข้อมูลรับรู้ข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะเหตุว่าไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ที่จะทำให้ผู้เรียน บรรลุเป้าหมายได้ทุกอย่างแต่ผู้สอนหรือครูต้องผสมผสานออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้ มากที่สุด บทบาทของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อแนวโน้มของการเรียนการสอนเปลี่ยนไป บทบาทของผู้เรียนเด่นชัดมากขึ้น บทบาทของ ครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนจะต้องปรับเปลี่ยนจากเดิม จากบทบาทที่มี ความสำคัญยิ่งในฐานะผู้บอกเล่าข้อความรู้ทั้งมวลแก่ผู้เรียน มาเป็นบทบาทในการสนับสนุนเสริมสร้าง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดความรู้มากที่สุด ดีที่สุด ได้ผลที่สุด


14 ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ดังที่ Bennet 1969, cited in Brendes and Ginnis, 1986 ได้ เปรียบเทียบบทบาทของครูรุ่นใหม่กับครูรุ่นเก่าไว้ดังนี้ ( กรมสามัญศึกษา. 2541 : 10 – 13 ) 1. บทบาทด้านการเตรียมการ ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมตนเอง ครูจะต้องเตรียมตนเองให้พร้อมสำหรับบทบาทของผู้เป็นแหล่ง ความรู้ ( Resource Person ) ซึ่งจะต้องให้คำอธิบายแนะนำ ให้ข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน รวมทั้งแหล่งความรู้ที่จะแนะนำให้แก่ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้ 1.2 การเตรียมแหล่งข้อมูล เมื่อบทบาทครูไม่ใช่ผู้บอกเล่ามวลความรู้อีกต่อไป ครูจึงต้อง เตรียมแหล่งข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนทั้งในรูปแบบของสื่อการเรียน ใบความรู้และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ จะใช้ประกอบกิจกรรมในห้องเรียน หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์สื่อห้องสมุด ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่างๆ และห้องพิพิธภัณฑ์ 1.3 การเตรียมกิจกรรมการเรียน บทบาทครูก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง คือการวาง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด ครูจะต้องวิเคราะห์จุดประสงค์การ เรียนรู้ เพื่อให้ได้สาระสำคัญและเนื้อหาความรู้อันจะนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ตามที่กำหนด 1.4 การเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เมื่อออกแบบหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ครู จะต้องพิจารณาและกำหนดว่าจะใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ใด เพื่อให้กิจกรรมการเรียนดังกล่าวบรรลุ แล้ว จัดเตรียมให้พร้อม 1.5 การเตรียมการวัดและประเมินผล บทบาทในเรื่องการเตรียมการอีกประการหนึ่ง คือ การเตรียมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น โดยการจัดให้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และวัดให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของกระบวนการ ( Process ) ผล ( Product ) ที่เกิดขึ้นทั้งด้านพุทธิ พิสัย ( Cognitive ) จิตพิสัย ( Affective ) และทักษะพิสัย ( Psychomotor ) โดยเตรียมวิธีการวัด และเครื่องมือวัดให้พร้อมก่อนทุกครั้ง 2. บทบาทด้านการดำเนินการ เป็นบทบาทขณะผู้เรียนดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย 2.1 การเป็นผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษา ( Help and Advisor ) คอยให้คำตอบเมื่อ ผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือ เช่น ให้ข้อมูลหรือความรู้ในเวลาที่ผู้เรียนต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้นั้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.2 การเป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง ( Supporter and Encourage ) ช่วยเหลือ สนับสนุนหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม หรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง


15 2.3 การเป็นผู้ร่วมกิจกรรม ( Active Participant ) โดยเข้าร่วมทำกิจกรรมในกลุ่ม ผู้เรียนพร้อมทั้งให้ความคิดและความคิดเห็น หรือเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขณะทำ กิจกรรม 2.4 การเป็นผู้ติดตามตรวจสอบ ( Monitor ) ตรวจผลการทำงานตามกิจกรรมของ ผู้เรียน เพื่อให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์ ก่อนให้ผู้เรียนสรุปเป็นข้อความที่ได้จากการเรียนรู้ 2.5 การเป็นผู้สร้างเสริมบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร โดยการสนับสนุนเสริมแรง และ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมทำงานกลุ่ม แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเต็มที่ ยอมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน และอภิปรายโต้แย้งด้วยท่วงท่านุ่มนวล ให้เกียรติกันอย่างเป็นมิตร โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มบรรลุสำเร็จ 3. บทบาทด้านการประเมินผล โดยการตรวจสอบว่า การจัดการเรียนการสอนบรรลุผลตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งในการวัดประเมินผล นอกจากครูจะเป็นผู้วัดผลแล้ว ผู้เรียนควรเข้า มามีบทบาทในการประเมินตนเองและกลุ่มด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้าขอสรุปรูปแบบและบทบาทของครูในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญนั้น ครูและนักเรียนจะต้องเปลี่ยนบทบาทในการปรับกระบวนการของการเรียนการสอนโดย สอดคล้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้มากที่สุด ข้อดีของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการเรียนรู้ หากครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องยึดหลัก แนวคิดดังที่ได้กล่าวมา การเรียนรู้ของผู้เรียนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก 1. ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพราะผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความคิด ความเห็น ประสบการณ์ และความชำนาญต่างๆ ติดตัวมาด้วยกันทุกคน อาจจะมากน้อยแตกต่างกัน การที่ให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จะเป็นสิ่ง สำคัญมากต่อพวกเขา 2. ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์ที่เรียนมาก่อนแล้ว เพราะการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น กิจกรรมในลักษณะปลายเปิดจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการเติม รายละเอียดลงไป ดังนั้น กรอบแนวคิดอันเดียวกันอาจจะมีรายละเอียดแตกต่างหลากหลายวิธี เมื่อผู้ คิดอยู่ต่างกลุ่มกัน ทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ขึ้นได้อีก 3. ผู้เรียนให้ความสนใจบทเรียนมากขึ้น เพราะผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมที่ครู มอบหมายและสนใจอยากรู้ว่าตนจะต้องทำอะไรบ้าง เพราะไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน


16 4. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่ม เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานทางด้าน เนื้อหาวิชา หรือประสบการณ์ต่างกัน ดังนั้น ในขณะร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ผู้เรียนแต่ละคนจะต้อง ตั้งใจฟังว่าเพื่อนพูดอะไร ผู้เรียนสามารถช่วยสอนหรือแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ในขณะทำงานร่วมกัน ผู้เรียนสามารถดึงเอาความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มารวมกันได้ 5. ผู้เรียนมีความสามัคคีกันในกลุ่ม เพราะในการทำงานร่วมกลุ่มกันนี้ ผู้เรียนจะต้อง ช่วยกันทำให้งานบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น ผู้เรียนจะต้องช่วยกันทำไม่ใช่แข่งขันกัน จากแนวคิดดังกล่าว สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ( พ.คร. ) เพื่อทำงานตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ.2540 – 2544 ) ในแผนปฏิบัติงานหลักที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การดำเนินงานของศูนย์ มีศาสตราจารย์สงบ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาประจำ โครงการ คณะทำงานได้สรุปหลักการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เอาไว้ ดังนี้ หลักของการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเพียงประการเดียวเท่านั้น คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และที่ว่ามีส่วนร่วมก็คือ จิตใจของเขาเข้าร่วม มิฉะนั้นจะไม่เกิดการเรียนรู้เลย การจัดการเรียนการ สอนที่เอื้อต่อหลักการจัดการข้างต้น คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( กรมสามัญ ศึกษา. 2541 : 13-14 ) ผู้ศึกษาค้นคว้าขอสรุปข้อดีของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น ได้พัฒนาความสามารถต่างๆ ตามความสามารถของ ตน ได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำ ปฏิบัติหรือศึกษาค้นคว้าตามความสนใจความสามารถของตนเองและ ได้แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กับเพื่อนสมาชิกภายในกลุ่ม แนวปฏิบัติของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ นั้น ผู้สอน จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยจะต้องเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ ทำกิจกรรมให้มากที่สุด หรือต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั่นเอง ดังนั้นผู้สอนควรได้มีความรู้และนำความรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีสอนไปใช้ โดย ผู้สอนต้องใช้ดุลยพินิจเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา จึงขอเสนอ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอภิปราย ( Discussion )


17 การเรียนการสอนแบบอภิปราย เป็นการนำเอาหัวข้อประเด็นหรือปัญหาที่ เกี่ยวข้องกับบทเรียนมาให้ผู้เรียนอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ การสอนแบบอภิปรายนี้ สามารถ นำไปใช้ได้ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย และเป็นกระบวนการที่มายากนัก จึงเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่าง แพร่หลาย การอภิปรายที่ยึดถือจำนวนผู้เรียนเป็นหลัก คือ การอภิปรายแบบกลุ่มใหญ่ และการ อภิปรายแบบกลุ่มย่อย ซึ่งในแต่ละกลุ่มยังมีรูปแบบที่แยกย่อยออกไปอีก ดังนี้ 1.1.1 ประเภทของการเรียนการสอนแบบอภิปราย 1.1.1.1 การอภิปรายแบบกลุ่มใหญ่ เป็นการอภิปรายที่ใช้สอนกับผู้เรียนได้ ทั้งชั้น ซึ่งมักใช้เมื่อเริ่มบทเรียนระหว่างการดำเนินการเรียนการสอนและท้ายชั่วโมง รูปแบบการ อภิปรายแบบกลุ่มใหญ่อาจจัดแยกออกเป็นรูปแบบต่างๆ กัน คือ การอภิปรายเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน การอภิปรายแบบซักถามทั้งชั้น การอภิปรายซักถามท้ายชั่วโมง เป็นต้น 1.1.1.2 การอภิปรายแบบกลุ่มย่อย เป็นการอภิปรายแบ่งกลุ่มผู้เรียนในชั้น ออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละประมาณ 5-6 คน หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ข้อวินิจฉัยของผู้สอน แล้วให้แต่ ละกลุ่มไปปฏิบัติกิจกรรมในกลุ่มของตน หรือบางครั้งอาจแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม อภิปรายและกลุ่มผู้ฟัง แล้วภายหลังมีการอภิปรายกลุ่มใหญ่ต่อท้ายเพื่อเป็นการสรุป 1.1.2 ขั้นตอนการสอนด้วยวิธีการอภิปราย แม้ว่าจะจัดได้หลายรูปแบบก็ตาม แต่ โดยทั่วไปหลักการหรือขั้นตอนของการสอนก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน และมีวิธีการที่ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป ดังนี้ 1.1.2.1 ขั้นเตรียมการอภิปราย - หัวข้อและรูปแบบ - ผู้สอน - ผู้เรียน 1.1.2.2 ขั้นดำเนินการอภิปราย - บอกหัวข้อหรือปัญหาการอภิปราย - เงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปราย - ดำเนินการอภิปราย 1.1.2.3 ขั้นสรุป - ผู้แทนกลุ่มสรุปผล - ผู้สอนสรุปอีกครั้ง 1.1.3 ข้อควรคำนึงในการจัดการสอนด้วยวิธีอภิปราย การจัดการเรียนการสอน ด้วยวิธีอภิปรายอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้


18 1.1.3.1 การกำหนดหัวข้อการอภิปราย เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้า หัวข้อการอภิปรายมีประโยชน์ หรือเป็นที่น่าสนใจต่อผู้อภิปรายแล้ว การอภิปรายจะลุล่วงไปได้ด้วยดี จะมีคุณค่าและประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง การเลือกหัวข้อเพื่อการอภิปรายนั้นอาจเลือกใน รูปแบบของประเด็นปัญหาก็ได้ ซึ่งจะต้องให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด ในที่นี้ใคร่เสนอแนว ทางการเลือกหัวข้อการอภิปราย ดังนี้ - หัวข้อในการอภิปราย ต้องเป็นที่น่าสนใจและท้าทายสำหรับผู้เรียน ผู้สอนต้องคำนึงถึงความสำคัญในข้อนี้ให้มากที่สุด - หัวข้อในการอภิปรายต้องเหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน - หัวข้อในการอภิปรายต้องเป็นหัวข้อที่ผู้อภิปรายสามารถหาเหตุผลมา ถกเถียงโต้แย้งกันได้ - หัวข้อในการอภิปรายต้องมีเป้าหมายกำหนดแน่นอน มิใช่เป็นการ อภิปรายแบบเลื่อนลอย การกำหนดหัวข้อในการอภิปรายนั้น แยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ หัวข้อเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หัวข้อที่เกี่ยวกับคุณค่า หัวข้อที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล และ หัวข้อเกี่ยวกับ นโยบาย 1.1.3.2 บทบาทของครูผู้สอน คุณลักษณะของครูผู้สอนที่จะทำให้การเรียน การสอนแบบอภิปรายมีคุณค่าอย่างสมบูรณ์ ควรมีลักษณะบางประการ ดังนี้ - มีความสามารถในการเลือกหัวข้อหรือประเด็นในการอภิปราย - มีใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นจากการอภิปราย หรือมีน้ำใจเป็น ประชาธิปไตย - มีอารมณ์ขันในบางครั้งและมีความเป็นทางการเมื่อจำเป็น - มีความสามารถในการจัดการอภิปรายนับตั้งแต่การวางแผนการสอน จนถึงการดำเนินการอภิปราย 1.1.3.3 บทบาทของผู้เรียน การเรียนการสอนแบบอภิปรายจะมีคุณค่าหรือไม่ นั้นมิใช่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับบทบาทที่มีประสิทธิภาพของ ผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งบทบาทของผู้เรียนคงจะมี ดังนี้ - ผู้เรียนต้องเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการอภิปราย - ผู้เรียนจะต้องร่วมในการอภิปราย โดยร่วมอภิปรายหรือแสดงความ คิดเห็นในกลุ่ม 1.1.3.4 การจัดสถานที่ การสอนแบบอภิปรายจะมีประสิทธิภาพเพียงใด การ จัดสถานที่ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้


19 - จัดแบบวงกลมหรือครึ่งวงกลม แบบนี้เหมาะกับการอภิปรายและระดม ความคิดแบบเวียนปัญหา หรืออภิปรายแบบอิสระ แต่โดยทั่วไปอาจใช้กับการอภิปรายทุกประเภท - จัดแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือแบบตัวยู - จัดเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสมกับกลุ่มหรือคณะผู้เรียน ค่อนข้างมาก - แบบตัวที เหมาะกับการอภิปรายที่ผู้เสนอรายงานเป็นกลุ่มจะได้ตั้งแถว เดียวกันสะดวกแก่การเตรียมและประสานงานอภิปราย 1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำถาม การเรียนการสอนโดยใช้คำถาม เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนคำถามให้ผู้เรียนตอบ อาจ ตอบเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อย หรือตอบทั้งชั้น การตอบใช้วิธีพูดตอบ ผู้สอนพิจารณาคำตอบ แล้วให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือถามคนอื่น หรือกลุ่มอื่น จนกว่าจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องเหมาะสม 1.2.1 ประโยชน์ที่ผู้เรียนได้จากวิธีการสอนโดยใช้คำถาม 1.2.1.1 ได้มีโอกาสฝึกฝนกระบวนการในการคิด เพราะการตอบคำถามผู้ตอบ จะต้องหาคำตอบที่ถูกต้อง และการที่จะได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องนั้นต้องอาศัยกระบวนการคิดอย่างมี เหตุผล คิดอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ 1.2.1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผล 1.2.1.3 ทบทวนความเข้าใจของตนเองภายหลังที่ได้เรียนไปแล้ว 1.2.1.4 เปลี่ยนแปลงและยอมรับเจตคติใหม่ๆ 1.2.1.5 ฝึกการนำเสนอข้อมูลหรือมโนมติที่ได้เรียนรู้ไปแล้วมาใช้ประโยชน์ 1.2.1.6 ประเมินความรู้และความสามารถของตนเองในความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว 1.2.1.7 ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนชั่งคิดชั่งถาม 1.2.2 แนวการสอนโดยใช้คำถาม สำหรับขั้นตอนการสอนโดยใช้คำถามสรุป ได้ดังนี้ 1.2.2.1 ขั้นการวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรวางแผนล่วงหน้าว่าจะใช้คำถาม ในการสอนอย่างใด เพื่อวัตถุประสงค์ใด และรูปแบบคำถามก็จะเป็นแนวใด ทั้งนี้ผู้สอนต้องพิจารณา จากเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนประกอบด้วย 1.2.2.2 ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรเตรียมตัวอย่างคำถามที่ใช้ในการเรียนการ สอน โดยสร้างคำถามเหล่านั้นอย่างมีหลักเกณฑ์


20 1.2.2.3 ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนควรใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจ สร้างคำถามใหม่นอกเหนือจากที่เตรียมมาแล้ว แต่ต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 1.2.2.4 ขั้นสรุปและประเมินผล ในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนมติ หรือเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้อย่างแท้จริง ผู้สอนอาจใช้คำถามเพื่อสรุปบทเรียนได้ รวมทั้งประเมิน ว่าการเรียนการสอนมีผลอย่างไร โดยการใช้คำถามกับผู้เรียน 1.2.3 ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการสอนโดยใช้คำถาม 1.2.3.1 ถามให้ตอบอย่างทั่วถึง พยามยามให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ให้มากที่สุด 1.2.3.2 กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 1.2.3.3 เตรียมคำถามต่างๆ ไว้ล่วงหน้า โดยใช้คำถามหลายประเภท อาจใช้ กรอบแนวคิดการตั้งคำถามพื้นฐานอันได้แก่ ใครทำอะไร เมื่อใด ที่ไหน อย่างไร และทำไม 1.2.3.4 ให้เวลาในการคิด ไม่เร่งรัด หรือคาดคั้นเอาคำตอบมากเกินไป 2.3.5 ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจคำถาม หรือเป็นเรื่องที่คิดซับซ้อนควรตั้งคำถามใหม่ที่ทำ ให้เข้าใจดีขึ้น หรือช่วยให้แนวทางที่สามารถตอบคำถามเดิมได้ 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีอภิปรายกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม เป็นเทคนิคเบื้องต้นของการจัดกิจกรรมกลุ่มทุกประเภทเพราะการ ทำงานร่วมกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์กันและการอภิปรายกลุ่มต้องมีองค์ประกอบ คือ ประธานหรือผู้นำอภิปราย เลขานุการกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มในแต่ละกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนในกลุ่มต้อง ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ถูกต้องตามบทบาท คือ 1.3.1 หน้าที่ของประธานหรือผู้นำอภิปราย 1.3.1.1 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ไม่ให้การประชุมกลุ่มเกิดความตึงเครียด 1.3.1.2 ต้องพยายามทำให้สมาชิกได้แสดงออกโดยทั่วถึง ไม่ควรให้คนใดคนหนึ่ง พูดตลอดเวลา 1.3.1.3 ต้องควบคุมขอบเขตการพูดไม่ให้ออกนอกเรื่องโดยไม่จำเป็น และต้อง ประมาณเวลากับงานที่ต้องทำ 1.3.1.4 ต้องสร้างบรรยากาศที่ดีเมื่อมีการขัดแย้งเกิดขึ้น 1.3.1.5 ควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อความกระจ่างในบางเรื่องที่กลุ่มยังไม่ชัดเจน 1.3.2 หน้าที่ของเลขานุการกลุ่ม 1.3.2.1 เตรียมการประชุมล่วงหน้า


21 1.3.2.2 จดรายงานการประชุมให้เรียบร้อย และตรงตามความเป็นจริง มีใจความ สำคัญครบถ้วน 1.3.2.3 สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ประชุมแก่สมาชิกได้ 1.3.2.4 ก่อนเลิกการประชุม ควรทบทวนสิ่งที่จดรายงานไปให้สมาชิกทราบว่า ถูกต้อง ผิดพลาด หรือไม่ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง 1.3.3 หน้าที่ของสมาชิก 1.3.3.1 การแสดงความคิดเห็นของสมาชิกต้องไม่ข่มขู่ คุกคามสมาชิกด้วยกัน 1.3.3.2 สมาชิกทุกคนต้องมีวินัยในตัวเอง พูดในสิ่งที่เหมาะสม ควรแก่การ รับฟัง 1.3.3.3 ยึดหลักแห่งการร่วมมือ ช่วยกันให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม และยินดีใน ความสำเร็จร่วมกัน ไม่อิจฉาริษยากลั่นแกล้งกัน 1.3.3.4 ทุกคนมีความรู้สึกรับผิดชอบต่องานที่จะอภิปราย คือ ต้องเตรียมหา ข้อมูลเพื่อแสดงให้สมาชิกได้รับทราบร่วมกัน 1.3.3.5 ไม่ควรพูดนอกเรื่องและผูกขาดการพูดคนเดียว ต้องฟังคนอื่นพูดบ้าง 1.3.3.6 ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ เมื่อมีสิ่งที่ตนไม่พอใจ 1.3.3.7 ต้องเข้าใจว่าผลสำเร็จของงานกลุ่มนั้น เป็นผลสำเร็จร่วมกัน มิใช่ผลงาน ของคนใดคนหนึ่ง 1.3.4 การสอนโดยวิธีการอภิปรายกลุ่ม การอภิปรายกลุ่มเป็นเทคนิคเบื้องต้นที่ จำเป็นสำหรับการทำงานกลุ่ม หรือ ทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก ซึ่งต้องเตรียมการดังนี้ 1.3.4.1 ครูเตรียมหัวข้อเพื่อมอบหมายให้นักเรียนเตรียมการอภิปรายกลุ่ม แต่ละกลุ่มอาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้ 1.3.4.2 แบ่งกลุ่มนักเรียนไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่จำนวนมาก ควรมีขนาดไม่เกิน 10 – 12 คน เพื่อให้มีการอภิปรายร่วมกันทุกคน ให้สมาชิกทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่าง ทั่วถึง 1.3.4.3 ก่อนมอบหมายการอภิปรายกลุ่ม ครูชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการ อภิปรายว่าจะต้องประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ และสมาชิกกลุ่ม 1.3.4.4 มอบหมายหัวข้อเรื่องสำหรับอภิปรายให้กลุ่ม พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ประกอบในกรณีที่จำเป็น หรือหนังสือเอกสารประกอบเพื่อค้นข้อมูลที่จำเป็นก็จะต้องมี 1.3.4.5 กำหนดเวลาให้นักเรียนอภิปรายให้เหมาะสมกับความยากง่ายของหัวเรื่อง


22 1.3.4.6 ให้ประธานลุ่มหรือตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลของการอภิปรายกลุ่ม เมื่อ หมดเวลาที่กำหนดให้เสนอผลการอภิปรายว่า หัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษา และอภิปรายร่วมกัน นั้น มติของกลุ่มให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือมีมติกันอย่างไร 1.3.4.7 ในกรณีที่กลุ่มใดอภิปรายแล้วหาข้อยุติไม่ได้ หรือมีปัญหาเกิดขึ้นจากการ อภิปรายกลุ่ม ครูควรหยิบยกเอาประเด็นนั้นมาศึกษาร่วมกันทั้งชั้นเรียน 3.4.8 ครูช่วยสรุปบทเรียนจากผลการอภิปรายกลุ่มของนักเรียน และเพิ่มเติมใน เรื่องที่นักเรียนยังขาดบกพร่องไป หรือไม่ได้กล่าวถึง เพื่อให้เนื้อหาของบทเรียนนั้นสมบูรณ์ 1.4 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซินดิเคท การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซินดิเคท มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ดังนี้ 1.4.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ครูแจกแผ่นเกม หรือ กรณีตัวอย่างให้นักเรียนทุกคนทำ ใช้เวลา 1 นาที ครู และนักเรียนถามถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องที่จะเรียน 1.4.2 ขั้นกิจกรรม 1.4.2.1 ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 6-7 คน แล้วให้แต่ละ กลุ่มเลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม 1.4.2.2 ให้เลขานุการกลุ่มมารับชุดการเรียนการสอน 1.4.2.3 แต่ละกลุ่มประชุมวางแผน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเพื่อปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย 1.4.2.4 ให้ทุกกลุ่มดำเนินการศึกษาค้นคว้า ปรึกษา และอภิปรายในกลุ่มของ ตนเอง 1.4.2.5 แต่ละกลุ่มเก็บรวบรวมข้อมูลประเด็นสำคัญตามบัตรกำหนดงาน และ เขียนรายงานกลุ่ม 1.4.2.6 ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มรายงานหน้าชั้น 1.4.2.7 เปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นซักถามและเสนอความคิดเห็น 1.4.2.8 ครูสรุปให้คำแนะนำ และอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนไม่ได้ กล่าวถึงและแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง 1.4.2.9 ให้นักเรียนจดบันทึกความรู้เพิ่มเติมในสมุดนักเรียน 1.5 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการระดมความคิด


23 การสอนโดยใช้การระดมความคิด ( Brainstorming ) คือการให้ผู้เรียนได้แสดง ความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะผู้เรียนเสนอมานั้น มีการบันทึกความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทั้งหมด 1.5.1 ข้อดีของการเรียนการสอนแบบระดมความคิด 1.5.1.1 วิธีนี้ใช้ได้ดีเมื่อผู้สอนต้องการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใน ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง 1.5.1.2 ช่วยให้ได้ความคิดที่กว้างขวาง ได้แนวคิดใหม่ก่อนที่จะนำมาจัด ประเภทและประเมิน 1.5.1.3 ทุกคนมีโอกาสได้พูดแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี มีความสบายใจ 1.5.1.4 ช่วยให้สามารถตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ดี 1.5.2 ข้อจำกัด หรือจุดด้อยของการเรียนการสอนแบบระดมความคิด 1.5.2.1 อาจใช้เวลามาก และมีความคิดที่ใช้ไม่ได้ 1.5.2.2 ผู้ไม่คุ้นเคยกับวิธีนี้จะไม่ค่อยเสนอแนวคิดที่แปลกใหม่ในระยะแรกๆ 1.5.3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนโดยใช้การระดม ความคิด 1.5.3.1 จะต้องให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจว่าในการระดมความคิดนั้น ต้องการ ให้เสนอความคิดให้ได้มากที่สุด โดยเสนอได้อย่างเสรี ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของคนอื่น การเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา ความคิดเห็นที่เสนอมานั้นอาจเป็นการ ปรับปรุงแนวคิดของคนอื่น ๆ ก็ได้ 1.5.3.2 ในการระดมความคิดจะต้องดำเนินการไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ความ คิดเห็นของคนอื่นที่เสนอไปแล้ว ไม่ควรมีลักษณะผูกขาดเกินไป และไม่ควรบังคับให้ทุกคนเสนอความ คิดเห็น 1.5.3.3 ทำการจดบันทึกแนวความคิดทุกอย่างที่ผู้เรียนเสนอมาลงบนกระดาน ดำหรือแผ่นกระดาษที่เตรียมไว้ ให้ทุกคนได้มองเห็นและเก็บไว้เพื่อจัดหมวดหมู่ สรุปและประเมินผล ต่อไป 1.5.3.4 ควรจัดที่นั่งแบบครึ่งวงกลม เพื่อสะดวกต่อการประเมิน 1.5.3.5 หลังจากระดมความคิดแล้ว ควรมีการจัดหมวดหมู่อภิปรายทบทวน ความคิดทั้งหมดนั้น เพื่อตัดสินใจว่าวิธีใดบ้างที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้


24 1.5.3.6 โดยทั่วไปจะให้เสนอแนะความคิดด้วยปากเปล่า แต่ถ้าหากเป็นกลุ่ม ใหญ่อาจให้ผู้เรียนเขียนใส่กระดาษแล้วรวบรวมไว้ ( ไมตรี ศรีษะภูมิ และคณะ, 2539 : 1-10 ) 2. ลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 ได้รวบรวมลักษณะการจัดการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้ 1. เห็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน อย่าให้เกิดความรู้สึกว่า ใครต่ำต้อยกว่ากัน 2. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้กระทำจริง 3. ไม่ควรมีบรรยากาศการใช้อำนาจข่มขู่ หลีกเลี่ยงการลงโทษ ไม่ตำหนิจุดด้อย แต่ ต้องชื่นชมจุดเด่น ( พยายามนำข้อดีของผู้เรียนขึ้นมาชื่นชม ส่วนข้อบกพร่องไม่ยกขึ้นมาตำหนิเจาะจง แต่ต้องหาวิธีบอกโดยไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกว่าถูกลงโทษ ) 4. หลีกเลี่ยงในการให้ทำตามแบบ ในกรณีที่ต้องการฝึกให้ผู้เรียนเกิดความคิด สร้างสรรค์ 5. เสริมศักยภาพแต่ละคนให้ได้มากที่สุด คือมีกิจกรรมอย่างหลากหลาย 6. เน้นการมีส่วนร่วม ( ผู้เรียนมีส่วนร่วมที่จะเลือกกิจกรรมใดๆ มาปฏิบัติให้บรรลุ วัตถุประสงค์ มีส่วนร่วมที่จะประเมินผลงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ ต่างๆ ครูมีส่วนร่วมในการเตรียมกิจกรรม ร่วมเป็นที่ปรึกษาร่วมประเมินผล ) 7. การทดสอบเพื่อพัฒนาศักยภาพมีความสำคัญเท่าๆ กับการทดสอบเพื่อผ่าน จุดประสงค์ในระหว่างภาคให้ผู้เรียนทุกคนได้บรรลุแต่ละจุดประสงค์ด้วย 8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกในสิ่งที่เขาพอใจที่จะศึกษา เพื่อบรรลุจุดประสงค์ บทบาทของครูในการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ 1. คืนความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (ให้โอกาสผู้เรียนได้ศึกษาอย่างอิสระ ) 2. จัดสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด 3. คอยช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไขปัญหาให้กำลังใจ 4. ร่วมประเมินผลงาน 5. สร้างบรรยากาศให้น่าเรียน การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี เต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ( ไม่ข่มขู่ ไม่แสดงอำนาจ ไม่ผรุสวาท ไม่บังคับ ) 6. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน ( แม้จะไม่เห็นด้วยก็ต้องรับฟัง ไม่สกัดกั้นความ คิดเห็นของผู้เรียน )


25 7. ให้โอกาสผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ บทบาทของผู้เรียนในการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ 1. ต้องเข้าใจบทบาทของตัวเองว่าเป็นเจ้าของการเรียนรู้ 2. เลือกกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง 3. เรียนโดยปฏิบัติด้วยตนเอง 4. ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 5. ประเมินผลงานของตนเองตลอดเวลา 6. เกิดความคิดสร้างสรรค์ จากการลงมือกระทำด้วยตนเอง 7. มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ 8. สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนและครู 9. สดชื่น แจ่มใส มีความเชื่อมั่นในตนเอง รับผิดชอบ ( สมาน อัศวภูมิ และคณะ, 2539 : 10-11 ) 3. วิเคราะห์ภาระงานของครูและภาระงานของโรงเรียน ภาระงานของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังแสดงด้วยตาราง 1 - 3 ( กรมสามัญศึกษา. 2541 : 17-24 ) ตาราง 1 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของครูโดยตรง งานฝ่าย ขั้นตอนการทำงาน ภาระงานของครูที่ ควรจะทำ ภาระงาน/กิจกรรมที่ นักเรียนควรมีส่วนร่วม ผลที่คาดว่าจะเกิด กับนักเรียน วิชาการ วางแผนการสอน 1. สรุปผลการ เรียนปีที่ผ่านมา 2. วิเคราะห์ จุดประสงค์การ เรียนรู้ที่มีแนวโน้ม ว่านักเรียนไม่ผ่าน นักเรียน(ตัวแทน)ร่วม พิจารณา 1. ความเหมาะสมของ กิจกรรมที่ใช้ 2. ความเหมาะสมของ การมอบหมายให้นักเรียน เกิดความภาคภูมิใจ ได้ร่วมคิดร่วม วางแผน


26 ตาราง 1 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของครูโดยตรง (ต่อ) งานฝ่าย ขั้นตอนการ ทำงาน ภาระงานของครูที่ ควรจะทำ ภาระงาน/กิจกรรมที่ นักเรียนควรมีส่วนร่วม ผลที่คาดว่าจะเกิด กับนักเรียน วิชาการ จุดประสงค์ 3. สำรวจสื่อที่มีอยู่ ในห้องสมุด 4. วิเคราะห์ปัญหา การสอนในภาค เรียน นักเรียน การเตรียมการ สอน 1. จัดทำกิจกรรม การสอน กิจกรรม หรือวิธีสอนที่ครู ควรจะใช้ เช่น 1.1 ให้เรียนจาก สถานการณ์จริง 1.2 ให้เรียนโดย ใช้โครงการ 1.3 ฝึกทักษะโดย การปฏิบัติ 1.4 ปฏิบัติงาน เป็นรายบุคคล 1.5 แบ่งกลุ่มปฏิบัติ 1.6 ตั้งคำถาม ช่วยกันตอบ 1.7 ทำแบบฝึกหัด เป็นกลุ่มเรียนจาก ห้องสมุด 2. การวางแผนและ การประเมินผลการ เขียนแผนการสอน นักเรียน(ตัวแทน)ร่วม พิจารณาความเหมาะสม ของ 1. วิธีวัด 2. เครื่องมือวัด 3. เกณฑ์การวัด 4. การประเมินผล 1. เกิดความภาคถูมิ ใจเมื่อได้ร่วมคิดร่วม วางแผน 2. เห็นคุณค่าของ การวัดและประเมิน


27 ตาราง 1 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของครูโดยตรง (ต่อ) งานฝ่าย ขั้นตอนการทำงาน ภาระงานของครูที่ ควรจะทำ ภาระงาน/กิจกรรมที่ นักเรียนควรมีส่วนร่วม ผลที่คาดว่าจะเกิด กับนักเรียน วิชาการ การวัดผลและ ประเมินผล ทำการวัดผลและ ประเมินผลตามที่ วางแผนเอาไว้แล้ว แจ้งผลให้นักเรียน ทราบ เช่น - การตรวจ แบบฝึกหัด - ตรวจรายงาน - ตรวจผลงาน การจัดบอร์ด - สังเกตการ อภิปราย - สังเกตการ ปฏิบัติ - ทดสอบ นักเรียนควรจะมีโอกาส 1. ได้ตอบคำถาม ระดับสูง 2. ได้ทำงานกลุ่ม 3. ได้ออกไปนำเสนอ ผลงาน 4. ได้วิจารณ์ผลงาน เพื่อน 5. ได้ทำหน้าที่ประธาน เลขานุการ สมาชิกของ กลุ่ม 6. เป็นผู้นำการอภิปราย 7. ให้คะแนนผลงานของ เพื่อน 8. ออกมาพูดหรือแสดง ความรู้สึกหรือความ ภาคภูมิใจที่ได้รับจากการ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย 1. ความเป็น ประชาธิปไตย 2. ความเป็นผู้นำ และผู้ตาม 3. การกล้า แสดงออก 4. ความคิด สร้างสรรค์ สอนจบหลักสูตร (แต่ละรายวิชา) 1. ควรให้นักเรียน วิจารณ์ผลการ จัดการเรียนการ สอน 2. วัดเจตคติของ นักเรียนที่มีต่อ ผู้สอน ให้วิจารณ์การสอนตาม สภาพข้อเท็จจริงโดยใช้ แบบความเรียง 1. ฝึกการวิจารณ์ 2. ฝึกกระบวนการ คิดการเขียน


28 ตาราง 2 วิเคราะห์ภาระงานในการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนของครูโดยอ้อม ภาระงานของครูโดยอ้อม ภาระงาน/กิจกรรมที่นักเรียนควรมีส่วนร่วม 1. กิจกรรมหน้าเสาธง 1. ให้กล่าวนำสวดมนต์ร้องเพลงชาติ 2. ให้อ่านคำขวัญ คำกลอนที่ชนะเลิศการประกวด 3. ให้พูดถึงผลงานของนักเรียน/กลุ่ม ที่นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียน 2. กิจกรรมสวนสวยโรงเรียนงาม 1. มอบหมายให้นักเรียนทุกคนรับผิดชอบต้นไม้ ดอกไม้ และทำ ความสะอาด 3. กิจกรรม สอร. 1. นักเรียนจะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อจัดทำ สอร. อย่างจริงจัง 2. สอร. ที่เน้นการบริการ เช่น ซ่อมรถ บริการล้างรถ บริการตัด ผม บริการตกแต่งบริเวณ บริการเดินสายไฟในบ้าน 3. สอร. ที่เป็นการจัดการ คือ เป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้ ซื้อ เช่น จำหน่ายเครื่องสำอาง จำหน่ายเครื่องดื่ม ภายในบริเวณ โรงเรียน 4. กิจกรรมตามระเบียบที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โรงเรียนพิจารณาจัดกิจกรรมตามความเหมาะสม โดยทุกกิจกรรม ต้องคำนึงว่า “ให้นักเรียนมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ” 5. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น 5.1 แข่งขันกีฬา 5.2 แข่งขันทางวิชาการ 5.3 การพัฒนาโรงเรียน และชุมชน 5.4 การจัดงานวันสำคัญ 5.5 การเข้าค่ายพักแรม 5.6 การรณรงค์ต่อต้านโรค เอดส์ ยาเสพติด 5.7 การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม 5.8 การส่งเสริมประชาธิปไตย 5.9 กิจกรรมอื่น ๆ


29 ตาราง 3 วิเคราะห์ภาระงานของโรงเรียน ภาระงานของโรงเรียน แนวปฏิบัติที่มุ่งเน้น 1. วางแผนการบริหารงานที่สนับสนุนการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. รายงานการประชุมเพื่อรับทราบนโยบาย 2. คำสั่งแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ 3. จัดทำเอกสารคู่มือ 4. แบบฟอร์มต่าง ๆ 5. เอกสารประชาสัมพันธ์ 6. รายงานสำรวจข้อมูล 7. โครงสร้างกำหนดไว้ในธรรมนูญโรงเรียน 2. จัดสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมใน โรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนการสอน 1. สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบสวยงาม 2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการรักษาบริเวณ 3. มีคำสั่งแบ่งงานรักษาพื้นที่ตามระดับชั้นหรือหมวดหมู่สี 3. จัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุดเป็น แหล่งค้นคว้า 1. มีหลักฐานการรณรงค์ให้ใช้ห้องสมุด หรือตารางจอง 2. มีโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการอ่านค้นคว้าด้วย ตนเอง 3. มีรายงานการสำรวจการใช้ห้องสมุดและความ ต้องการหนังสือประเภทต่าง ๆ 4. จัดห้องโสตฯ ให้มีบรรยากาศส่งเสริมการ เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. มีตารางการจองและการใช้ห้องโสตฯ 2. มีหลักฐานการสำรวจความต้องการในการใช้อุปกรณ์ ห้องโสตฯ 5. พัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ 1. แผนการสอนของครูมีกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติ มากกว่า 60% 2. หลักฐานการพัฒนาสื่อการสอนมีหลากหลาย 3. มีการกำหนดแนวทางการสอนและการประเมินผลที่ เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม 4. มีการอบรมพัฒนาครูผู้สอนเพื่อทำผลงานทาง วิชาการ 5. ครูใช้วีสอนหลากหลายให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ


30 ตาราง 3 วิเคราะห์ภาระงานของโรงเรียน (ต่อ) ภาระงานของโรงเรียน แนวปฏิบัติที่มุ่งเน้น 6. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน กิจกรรม 1. มีการทำงานกลุ่มบริษัท เช่น อสร. 2. จัดรายวิชาเลือกสนองความต้องการของผู้เรียนและ สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น 3. แนวการจัดการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียน เป็นผู้เลือก 4. การจัดตั้งสหกรณ์และกิจกรรมต่าง ๆ อย่าง หลากหลาย 7. สร้างวินัยให้แก่นักเรียน 1. ควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การแต่งกาย การทำความเคารพ ความสุภาพอ่อนน้อม 2. ใช้หลักเมตตามากกว่าการดุด่าให้นักเรียนเคยชินต่อ การปฏิบัติ 3. รางวัลที่นักเรียนควรได้รับ เช่น การยกย่อง ชมเชย 8. มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ 1. ข้อตกลงหรือแนวปฏิบัติ ปรัชญาของโรงเรียนในการ ปฐมนิเทศ หรือเข้าค่ายเปิดเรียน 9. พัฒนาโรงเรียนเชิงระบบ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการ 2. รายงานสังเกตการณ์สอนและปรับพฤติกรรม 3. นักเรียนมีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรมการสอนของ ครู 4. มีกรอบการพัฒนาโรงเรียน 5. มีรายงานการพัฒนาอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง 10. ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 1. หลักฐานการเลือกหัวหน้าหรือประธานสภานักเรียน 2. หลักฐานการแก้ปัญหาด้วยวิธีแห่งปัญญา 3. การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรใน โรงเรียน 11. การประเมินผลที่เน้นการประเมินผลจาก สภาพจริง 1. หลักฐานแฟ้มสะสมงาน (Port Folio) 2. สรุปผลการเรียนและการปรับปรุงโดยตัวนักเรียน 3. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและสนใจในการเรียนของ นักเรียน


31 ตาราง 3 วิเคราะห์ภาระงานของโรงเรียน (ต่อ) ภาระงานของโรงเรียน แนวปฏิบัติที่มุ่งเน้น 12. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยนักเรียนมีส่วน ร่วม 1. โครงการพัฒนาห้องสุขา โรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ 2. นักเรียนฝึกหัดการตรวจร่างกาย 3. บันทึกการปฏิบัติกิจกรรม 4. รายงานผลการเยี่ยมบ้านนักเรียน 5. กำหนดพื้นที่การมีส่วนร่วมในด้านอนามัยโรงเรียน 13. จัดประชาสัมพันธ์หรือนิทรรศการการจัด กิจกรรมของโรงเรียนต่อชุมชน 1. เอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม 2. ประกาศแผนการพัฒนาโรงเรียนแก่ชุมชน 14. นำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบกระบวนการ เรียนการสอนอย่างหลากหลาย 1. จัดห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้า 2. จัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ 3. ห้องปฏิบัติการทางภาษา 4. โรงฝึกงานอาชีพ อาคารประกอบ 5. จัดวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อการเรียน 15. มีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและเป็น ระบบ 1. หลักฐานการสำรวจปัญหาเพื่อพัฒนาองค์กร 2. กิจกรรมแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์กร 3. การร่วมมือและมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ จากภาพถ่าย วิดิทัศน์ หรือรายงาน แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินโครงการ การประเมิน เป็นกิจกรรมที่มนุษย์กระทำอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องการตัดสินใจ เลือกระหว่าง สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งหลายอย่างในการเลือกนั้น มนุษย์จำเป็นต้องการต้องใช้หลักเกณฑ์ต่างๆใน การตัดสินใจถ้าการตัดสินใจนั้นเป็นการกระทำเพื่อตนเองแน่นอนตัวผู้เลือกก็เป็นผู้ตั้งเกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน เอาเองถ้าเป็นบริษัทการค้า เกณฑ์ก็คงจะเป็นเรื่องการหากำไรสูงสุด แต่ถ้าเป็นเรื่องของรัฐบาลหรือ สังคมส่วนรวมเกณฑ์ก็ย่อมจะเปลี่ยนไปผลประโยชน์จะตกเป็นของใครจะเป็นของรัฐบาลหรือประชาชน ส่วนรวม ฯลฯ เกณฑ์ที่ใช้จะต้องไม่เป็นแต่เพียงความคิด ความต้องการของผู้บริหารเท่านั้น แต่ต้อง รวมแนวความคิดและผลประโยชน์ของสาธารณชนเข้ามาด้วย เกณฑ์ดังกล่าวอาจกระทบกระเทือนต่อ ผู้บริหารแม้ในที่สุดอาจขัดต่อความเชื่อของผู้ประเมินเองก็ได้เกณฑ์นั้นๆจะได้มาอย่างไร และจะมี แนวทางผนวกหรือประสานผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆอย่างไร ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและ


32 เป็นความรับผิดชอบอันหนักของผู้ประเมินที่จะต้องทำให้งานประเมินที่จะมิใช่เป็นเพียงแต่การให้ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เท่านั้นแต่จะต้องก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายควบคู่ไปด้วย นั่น คือ งานประเมินต้องมีแนวคิดและวิธีการที่เหมาะสมถูกต้องและชอบธรรมนั่นเอง (นิศา ชูโต. 2527 :1-3) ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2529 : 143) ได้สรุปขั้นตอนของการวิจัยประเมินผลออกเป็น 5 ขั้นตอนซึ่งเรียกว่าวัฏจักรของกระบวนการศึกษาค้นคว้าประเมินผล ดังภาพประกอบ 2 ภาพประกอบ 2 วัฏจักรของกระบวนการวิจัยประเมินผล ความหมายของการประเมินผลการศึกษาและการประเมินโครงการ การวัดและการประเมินทางการศึกษาเป็นสิ่งซึ่งต้องทำควบคู่กันไป และมีความสำคัญต่อ ระบบการศึกษามาก เป็นตัวชี้ให้ทราบถึงสถานการณ์ของระบบการณ์ศึกษาเป็นต้นว่าทราบความ เหมาะสมของหลักสูตร ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนความสามารถของผู้สอนผลสัมฤทธิ์ของ ผู้เรียน ฯลฯ การวัดและการประเมินผลจึงต้องจัดอยู่ในแผนการศึกษาที่ต้องกระทำ ความหมายของการประเมินทางการศึกษา มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆกันแต่โดยสาระแล้ว คล้ายคลึงกัน เช่น พจน์ สะเพียรชัย (2519 : 72) กล่าวว่า การประเมินทางการศึกษาคือ กระบวนการในการตัดสินคุณค่าของกิจกรรมทางการศึกษาที่อาศัยวิธีการที่มีระบบแบบแผนในการ รวบรวมข้อมูลหลักฐาน และเหตุผลประกอบการพิจารณาตัดสินว่า กิจกรรมทางการศึกษานั้นๆดี หรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมประการใด 1. การกำหนดปัญหา เป้าประสงค์และ วัตถุประสงค์ของนโยบาย/แผนงาน/ โครงการ 5. การเปรียบเทียบ สรุป และเสนอแนะ 2. การวางแผนการศึกษาค้นคว้า ประเมินผลและการเลือกรูปแบบ การศึกษาค้นคว้าประเมินผล 4. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง สถิติและเชิงตรรกะ 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อน ระหว่าง และ/หรือ หลังโครงการเสร็จสิ้น


33 บรรดล สุขปิติ (2524 : 5) กล่าวว่า การประเมินทางการศึกษาหมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจลงสรุปคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่เจริญก้าวหน้าในตัวนักเรียนว่า มีคุณค่า เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพดีระดับใด ทั้งนี้ย่อมอาศัยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักในการเปรียบเทียบ กูด (Good. 1973 : 220) กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการค้นหาหรือ ตัดสินคุณค่าหรือจำนวนของบางสิ่งบางอย่างโดยใช้มาตรฐานของการประเมินรวมทั้งการตัดสินโดย อาศัยเกณฑ์ภายในและหรือเกณฑ์ภายนอก เชส (Chase. 1978 : 7) กล่าวว่า การประเมินเป็นการนำจำนวนที่ได้จากการวัด มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์เพื่อตัดสินคุณค่าของจำนวนที่สังเกตได้ เซอร์ทเซอร์และลินเดน (Shertzer & Linden. 1979 : 13) กล่าวว่า การ ประเมิน หมายถึง การมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การตัดสินความเพียงพอของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeem. 1985 : 159) กล่าวว่า การประเมินเป็น กระบวนการวิเคราะห์ รวบรวม และการอำนวยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับ ทางเลือกต่าง ๆ ซูแมน (Schuman. 1987 : 29 – 31) กล่าวว่า การประเมินเป็นการเปรียบเทียบ ผลการปฏิบัติงานจริง (Actual Results) กับผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected rustle) ซึ่งเป็นการ วัดความสำเร็จจากการดำเนินงาน โดยพิจารณาจุดมุ่งหมายและเป็นการศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับผลลัพธ์ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมบางประเภทที่มุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ความหมายของการประเมินโครงการ มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ เวคิน นพนิตย์ (2531 : 2) กล่าวว่า การประเมินโครงการเป็นการศึกษาว่า แผนงานหรือโครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ทั้งในระหว่างการปฏิบัติงานตามแผน เพื่อส่งข้อมูล ย้อนกลับไปยังโครงการและภายหลังจากที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และการประเมินผลยังมีความ ครอบคลุมไปถึงการประเมินความเหมาะสมของแผนงานและโครงการ เพื่อช่วยตัดสินใจในการวางแผน และโครงสร้างในขั้นต่อ ๆ ไปอีกด้วย นิศา ชูโต (2527 : 9) ให้คำนิยามของการประเมินโครงการ หมายถึง กิจกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ความหมายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความต้องการหาแนวทาง วิธีการ ปรับปรุง วิธีการจัดเก็บเกี่ยวกับโครงการ และหาผลที่แน่ใจว่าจะเกิดจากโครงการ เพื่อเป็นการเพิ่ม คุณภาพและประสิทธิภาพของโครงการให้ดียิ่งขึ้น สมพร แสงชัย (2520 : 3) กล่าวว่า การประเมินโครงการ หมายถึง 1. การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนที่ตั้งไว้ 2. การควบคุมและเร่งรัดการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน 3. การศึกษาในทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขแผนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น


34 4. การศึกษาแผนการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการของ โครงการประสบผลหรือไม่ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2537 : 87) กล่าวว่า การประเมินโครงการเป็นการตัดสิน คุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับตัดสินคุณค่า ประชุม รอดประเสริฐ (2537 : 73) ให้ความหมายของการประเมินโครงการไว้ว่า เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินโครงการ เพื่อพิจารณาบ่งชี้ให้ ทราบจุดเด่นและจุดด้อยของโครงการนั้นอย่างมีระบบ แล้วตัดสินว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนั้นเพื่อ การดำเนินการต่อไป ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือล้มเลิกการดำเนินการโครงการนั้น จากความหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าในการประเมินโครงการทางการศึกษาโดยทั่วไป จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. ผลการวัด (Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามี ปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณา 2. เกณฑ์การพิจารณา (Criteria) ในการที่จะตัดสินหรือสรุปว่าสิ่งใดดีแล้วใช้ได้ หรือไม่ได้นั้น จะต้องมีเกณฑ์หรือมาตรฐานสำหรับใช้เปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด 3. การตัดสินใจ (Decision) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผล การวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งนี้การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการใช้วิจารณญาณ พิจารณาอย่างถี่ถ้วนทุกแง่มุม และกระทำอย่างยุติธรรมโดยอาศัยสภาพและความเหมาะสมต่าง ๆ ประกอบ ความสำคัญของการประเมินโครงการ การพัฒนาทางด้านวัตถุได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ผลของการพัฒนาทางวัตถุ ก่อให้เกิดผลสะท้อนหรือผลกระทบทางจิตใจมนุษย์ จึงทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีโครงการเพื่อพัฒนา ทางด้านจิตใจมนุษย์ ควบคู่กันไปโครงการที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาการเกษตร การสาธารณสุข ความมั่นคงปลอดภัยและอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความเจริญดังกล่าวต้องใช้จ่ายทรัพยากร เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นเงินวัสดุ อุปกรณ์และกำลังคน โครงการบางโครงการมีประโยชน์มากและ เห็นคุณค่าได้อย่างชัดเจน โครงการบางโครงการเมื่อทำไปแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การตัดสินใจว่า โครงการใดมีประโยชน์และมีคุณค่าหรือไม่ต้องทำการประเมินโครงการ (ประชุม รอดประเสริฐ. 2529 : 74) การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายและสำคัญตามความคิดเห็นของนักวิชาการ หลายท่าน ดังนี้ มิตเชอร์ (วิเชียร บุตรสมบัติ. 2540 : 43-44 อ้างอิงมาจาก Mitzer 1982 : 594-595) กล่าวว่า การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. เพื่อแสดงผลการพิจารณาถึงคุณค่าของโครงการ


35 2. เพื่อให้ผู้ตัดสินใจมีการตัดสินใจที่ถูกต้องขึ้น 3. เพื่อการบริการข้อมูลแก่ฝ่ายการเมือง เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย นอกซ์ (Knox. 1972 : 199) กล่าวว่า การประเมินโครงการมีความมุ่งหมาย เฉพาะดังต่อไปนี้ 1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ชัดเจนของโครงการ อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของ การตัดสินใจ ว่าลักษณะใดของโครงการมีความสำคัญที่สุดซึ่งจะต้องทำการประเมินเพื่อหา ประสิทธิภาพประสิทธิผลและข้อมูลชนิดใดที่ต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อการวิเคราะห์ 2. เพื่อรวบรวมหลักฐานความเป็นจริง และข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่ การพิจารณาหาประสิทธิภาพของโครงการ 3. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การสรุปผลโครงการ 4. เพื่อตัดสินใจข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใดที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ 5. เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น มอร์ซุนต์ (Morsund. 1973 : 9) ได้กล่าวถึง ความมุ่งหมายของการประเมิน โครงการดังนี้ 1. เพื่อให้ทราบว่าการปฏิบัติงาน ตามโครงการบรรลุตามที่กำหนดไว้หรือไม่ 2. เพื่อทราบว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นเป้าหมายที่ปฏิบัติได้จริงหรือไม่และเป็น เป้าหมายที่มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด รอสซี และ ฟรีแมน (Rossi and Freeman. 1982 : 15) กล่าวว่า การประเมินโครงการมีความมุ่งหมายตามเหตุผล ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อพิจารณาถึงคุณค่าและการคาดคะเนคุณประโยชน์ของโครงการ 2. เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและบริหารโครงการ 3. เพื่อเป็นการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขการดำเนินโครงการ 4. เพื่อเป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียหรือข้อจำกัดของโครงการเพื่อการตัดสินใจใน การตัดสินในโครงการเพื่อการตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายหรือไม่ สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต (2528 : 124) ได้กล่าวการประเมินโครงการมีความสำคัญ ยิ่งต่อการประเมินโครงการ ในการปฏิบัติงานโครงการไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. การวางแผน 2. การปฏิบัติตามแผน 3. การประเมินโครงการ


36 ซึ่งอาจแสดงได้ตามภาพประกอบ 3 การวางแผน ภาพประกอบ 3 ความสัมพันธ์ของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามโครงการ สมาน กอแก้วทองดี (2536 : 1) ได้กล่าวว่า การประเมินโครงการเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ผลของการประเมินไม่ใช่จะชี้ให้เห็นความสำเร็จของการดำเนินงานที่ เกิดขึ้นตามที่คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าเท่านั้นแต่ยังชี้ให้เห็นผลกระทบของโครงการที่มีต่อชุมชน การ ประเมินจะมีประโยชน์ยิ่งต่อผู้บริหารโครงการที่จะบริหารให้การดำเนินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยง และขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น ขยายหรือปรับโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรืออาจจะ ระงับโครงการที่จำเป็น สมบูรณ์ ตันยะ (2536 : 13-14) ได้สรุปความมุ่งหมายของการประเมินดังนี้ 1. เพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินที่ค้นหาส่วนที่บกพร่องหรือปัญหาเป็นการ ตรวจสอบความพร้อม ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงานซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมตัว บุคคล ทรัพยากร งบประมาณ ฯลฯ 2. เพื่อปรับปรุงเป็นการประเมินระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่า จุดมุ่งหมายตรงกับที่ต้องการ ประโยชน์และเป็นที่ยอมรับหรือไม่ วิธีดำเนินการ สภาพแวดล้อม บุคลากร เหมาะสมและจะช่วยให้บรรลุตามจุดหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อใช้ผลของการประเมินในการ ปรับปรุงการดำเนินงานให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป 3. เพื่อตัดสินหาข้อสรุป เป็นการประเมินผลเพื่อพิจารณาว่าการดำเนินงาน นั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ การประเมินเพื่อมุ่งหมายนี้ปกติจะประเมินเมื่อสิ้นสุด การดำเนินงานแล้ว นอกจากนั้นยังสรุปให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการประเมินโครงการต่อผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยชี้ให้เห็นว่าจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานนั้นเหมาะสมและเป็นไปได้ เพียงใด 2. ทำให้ทราบว่า การดำเนินงานนั้นบรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ 3. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุงและดำเนินงาน การประเมินโครงการ การปฏิบัติตามแผน


37 4. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีคุณภาพประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นหลักในการ ปรับปรุงในการดำเนินงาน 5. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นหลักในการ ปรับปรุงในการดำเนินงาน 6. ช่วยให้ข้อสนเทศ แก่ผู้บริหารในการดำเนินงาน 7. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีที่เหมาะสมในการดำเนินงานครั้งต่อไป เยาวดี วิบูลย์ศรี (2536 : 75) กล่าวว่าความมุ่งหมายของการประเมินโครงการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารในการปรับปรุงโครงการ โครงการที่ดำเนินไปโดยไม่มีการป้อนกับจากผู้ที่ เกี่ยวข้องกับโครงการก็ย่อมไม่สามารถที่ตอบคำถามว่า โครงการสามารถดำเนินไปได้หรือประสบ ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ข้อจำจัด ปัญหา ในการปฏิบัติเป็นอย่างไร ดังนั้น การดำเนินการ ประเมินโครงการก็เป็นวิธีการที่ทำให้มีการป้อนกลับของข้อมูล จากความสำคัญดังกล่าว พอสรุปได้ว่า การประเมินโครงการเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน มากกว่าการวางแผน กล่าวคือ ในขณะที่การวางแผนเป็นการคาดคะเนไว้แต่การประเมินโครงการ เสาะแสวงหาข้อเท็จจริงที่เกิดจากการประเมินโครงการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนและการเสาะแสวงหา ข้อเท็จจริงนั้น จะต้องแสวงหาทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ฉะนั้นประเมินโครงการจึงมีความ ยากลำบากอยู่ในตัวที่ผู้ประเมินจะต้องพยายามเสาะแสวงหาข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อที่จะ นำไปใช้ในการบริหารโครงการให้บรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต้องการต่อไปนี้ รูปแบบในการประเมินโครงการ มีผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ (Approach) ในการประเมินเอาไว้มากมายหลายแบบ แต่ละแบบมีแนวความคิด ทฤษฏีเหตุผล และวิธีการประเมิน ที่มีผู้นิยมสนับสนุนและนำไปใช้เป็น แบบอย่าง (Model) ในการประเมินตามความเชื่อของแต่ละบุคคลในกลุ่มอาชีพความเหมาะสมกับ สภาพการณ์ของปัญหาที่จะประเมินต่าง ๆ กันไป นิศา ชูโต (2527 : 15-26 : อ้างมาจาก House.1980:23) ได้กล่าวถึง รูปแบบการประเมินที่สำคัญ ๆ และนิยมใช้สรุปสาระสำคัญดังนี้ 1. แบบการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis Approach) มุ่งถึงผลที่จะได้ จากโครงการและพยายามหาความเกี่ยวข้องของรูปแบบ แผนงาน ที่วางไว้ ในโครงการเกี่ยวกับการ บ่งชี้ต่าง ๆ ข้อมูลต่าง ๆ ผลที่เกิดจากโครงการจะต้องวัดได้ในเชิงปริมาณและสาเหตุที่เป็นเรื่องของ เหตุและผล นิยมใช้ในการวัดผลโครงการทางด้านบริการสังคม 2.แบบยืดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐาน (The Behavioral Objectiveor Goal-Based Approach) ถือว่าวัตถุประสงค์ของโครงการคือเกณฑ์ในการวัดของโครงการผู้ ประเมินจากวัตถุประสงค์ของโครงการ ตั้งไว้เป็นเกณฑ์ความแตกต่าง ระหว่างวัตถุประสงค์ที่วางไว้


38 กับโครงการทำได้จริงคือ ผลของโครงการความสำเร็จของโครงการคือ ไม่มีความแตกต่างกันหรือ แตกต่างกันน้อยมากระหว่างวัตถุประสงค์กับสิ่งที่ทำได้จริง 3.แบบยืดการตัดสินใจเป็นหลัก (Decision-Making Approach) ให้ความสำคัญและ สนใจตรงจุดระดับการตัดสินใจ และสร้างสภาพของสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าถ้าตัดสินใจแบบนั้นแบบนี้ โอกาส อะไรน่าจะเกิดขึ้นบ้าง จากนั้นก็จะเก็บข้อมูลทำการวิเคราะห์และเสนอผลให้แก่ผู้ตัดสินใจ ผู้ประเมินจะต้อง สรรหาทางเลือกให้แก่ผู้ตัดสินใจหลาย ๆ ทางซึ่งท้ายสุดผู้บริหารเท่านั้นจะต้องเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะใช้ทางเลือกใด 4. แบบอิสระจากวัตถุประสงค์ (Goal-Free Approach) เป็นการประเมินทุก อย่างที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด (Actual Effects) และเปรียบเทียบความสำคัญของผลเหล่านี้ว่า ต้องกับความต้องการหรือไม่ 5. แบบศิลปวิจารณ์ (Art Criticism Approach) กระบวนการวิจารณ์เป็นอย่าง การประเมินที่ทำโดยผู้เชียวชาญ มีแบบแผนและหลักเกณฑ์เหล่านี้มีพื้นฐานทางความคิด มีทฤษฏีที่ เชื่อถือได้และส่วนเห็นพ้องต้องกันบ้าง แม้ว่าจะไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิงในกลุ่มของผู้ชำนาญในศาสตร์ สาขานั้น ๆ 6. การตรวจสอบทางวิชาชีพ (The Professional Review Approach) คือ การประเมินที่อาศัยกลุ่มของบุคคลที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้น ๆ เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานและคุณค่า ของคนในอาชีพเดียวกันนั้นเอง 7. แบบกึ่งกฎหมาย (Quasi-Legal Approach) ได้นำกระบวนการซักฟอกและ การพิจารณาคดีของสารและระบบลูกขุนมาใช้ในการประเมินปัญหาสำคัญ 8. กรณีศึกษาเฉพาะกรณี (The Case-Study Approach) มุ่งสร้างความเข้าใจ แก่ผู้รับฟัง (Audience) เกี่ยวกับโครงการอย่างละเอียดในทุก ๆ ด้านจึงตัดสินประเด็นปัญหาว่า บุคคลที่รู้จักโครงการมีความเห็นเกี่ยวกับโครงการอย่างไร จึงใช้ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมศึกษา สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโครงการในสภาพปกติตามธรรมชาติ การสัมภาษณ์บุคคลถือว่าเป็น กระบวนการศึกษาแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative) อินทร์ ศรีคุณ (2522 : 30) ได้กล่าวถึงรูปแบบการประเมินว่า รูปแบบการ ประเมินนั้นสามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากความคล้ายคลึงและความแตกต่าง กันดังนี้ 1. กลุ่มที่มีนักประเมินแสดงบทบาทเป็นผู้ตัดสิน (Judgmentak role) ได้แก่ รูปแบบการประเมินของ ครอนบาค สโครเวน และ สเตค (Cronbach,Scriven and Stake) 2. กลุ่มที่ยึดการศึกษาค้นคว้าสั่งการเป็นหลัก (Decision management Approaches of Evenluation) ได้รูปแบบการประเมินของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) 3. การยึดถือวัตถุประสงค์เป็นหลัก (Decision-Objective Plan) ได้แก่รูปแบบ ของไทเลอร์ แฮมมอนด์ โพรวัสและบลูม (Tyler, Hammond, Provus and Bloom)


39 ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 144-122 ; อ้างอิงมาจาก Comrad and Wilson. 1985 : 20-30) กล่าวว่า ถ้าพิจารณาแนวทางของการประเมินที่หน่วยต่าง ๆ ใช้ใน การประเมินโครงการทางการศึกษาทั้งหลาย จะพบว่า มีรูปแบบการประเมินที่นิยมใช้กัน 4 รูปแบบดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ (Goal-Based Model) ผู้ปูพื้นฐานการ ประเมินรูปแบบนี้คือ ไทเลอร์ (Tyler) รูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์เป็นรูปแบบการ ประเมินที่เก่าที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในการประเมินโครงการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษา ประยุกต์ไปใช้เป็นแนวพื้นฐานในการคิดรูปแบบอื่น ๆ อีกหลายรูปแบบเพื่อเป็นหลักในการประเมิน โครงการศึกษาต่าง ๆ ว่าบรรลุจุดหมายมากน้อยเพียงใด ตามทัศนะรูปแบบการประเมินตามวัตถุประสงค์ การประเมิน หมายถึง กระบวนการอธิบายวัตถุประสงค์และจุดหมายของโครงการ กำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานแล้วใช้ เครื่องมือต่าง ๆวัดผลดำเนินงานโครงการองค์ประกอบที่สำคัญของการประเมินโครงการตามรูปแบบนี้ คือ วัตถุประสงค์ของโครงการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินใจในการรวบรวมและการแปร ข้อมูลที่ได้มา รวมทั้งการพิจารณาตัดสินในเรื่องคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้จากโครงการด้วย การ วางแผนประเมินโครงการหรือหลักสูตรตามแนวนี้ ทำได้หลายวิธีแต่ละวิธีจะพิจารณาดำเนินการ ตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.1 แจ้งวัตถุประสงค์และจุดหมายของโครงการให้ชัดเจน 1.2 กำหนดองค์ประกอบหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินงานของโครงการ 1.3 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่จะใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ 1.4กำหนดเทคนิคและกระบวนการในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โครงการ 1.5 รวบรวมข้อมูล 1.6 เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อนำไปสู่การพิจารณา การตัดสินใจเรื่องคุณค่าหรือประโยชน์ของโครงการเผยแพร่การประเมินโครงการ 2. รูปแบบการประเมินแบบการตอบสนอง (Responsive Model) รูปแบบ การประเมินโครงการลักษณะนี้ พัฒนามาจากการประเมินของ สโคร์เจน (Scriven) ซึ่งประเมินโดยยึด จุดมุ่งหมายและผลข้างเคียง (SideEffect) เป็นหลักของ สเตค (Stake) ได้พัฒนารูปแบบการประเมิน ขึ้นมาจากแนวความคิดของ สคริเวน เรียกว่า Responsive Model โดยมีนักประเมินโครงการหลาย คนให้การสนับสนุนตามแนวคิดนี้ เช่น กูบา (Guba) , ลินดอล์น (Lincoln) การประเมินโครงการ ลักษณะนี้เน้นที่กิจกรรมมากกว่ามุ่งหมายของโครงการและนอกจากนั้นยังให้ความความสนใจกับปัญหาและ สิ่งเกี่ยวข้องต่าง ๆ กับผู้ใช้บริการโครงการนั้นด้วย หรือกล่าวอีกในหนึ่งว่า การประเมินรูปแบบ Responsive Model ก็เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของผู้จัดทำโครงการ การประเมินรูปแบบของ Responsive Model มีขั้นตอนการประเมินดังนี้


40 1. สัมภาษณ์ผู้ร่วมกิจกรรมของโครงการ เช่น ผู้ใช้บริการ ผู้ดำเนินงานและผู้ที่ เกี่ยวข้องเป็นต้น 2. กำหนดขอบข่ายของโครงการ 3. สำรวจกิจกรรมของโครงการ 4. ทบทวนความมุ่งหมายที่แท้จริงของโครงการและเรื่องอื่น ๆ จากผู้ร่วมโครงการ 5. รวบรวมปัญหาและข้อโต้แย้งต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงการ 6. กำหนดข้อมูลที่ต้องการจากปัญหาและข้อโต้แย้ง 7. เลือกผู้สังเกตการณ์และผู้พิจารณาตัดสิน 8. รวบรวมข้อมูล 9. จัดเตรียมศึกษาเฉพาะกรณี 10. สรุปปัญหาและข้อโต้แย้ง 11. เสนอผลการประเมิน 3. รูปแบบการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship Model) การประเมินโครงการแบบนี้ความแตกต่างจากรูปแบบการเมินทั้ง 2 รูปแบบที่กล่าว มาแล้วไอส์เนอร์ (Eisner) ได้เสนอแนวคิดของการประเมินตามรูปแบบนี้นิยมนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติใน การประเมินโครงการทางการศึกษาหรือหลักสูตรกันมาก การประเมินตามรูปแบบนี้ เน้นที่บทบาท ของผู้ประเมินซึ่งจะเป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับโครงการนอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างจาก 2 รูปแบบที่กล่าวมา คือ 1. การประเมินตามรูปแบบนี้ไม่ได้ยึดจุดมุ่งหมาย ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาและ รูปแบบต่าง ๆ และไม่ได้จัดประเมินโดยอาศัยการติดสินใจเดี่ยวกับโครงการแต่เป็นการประเมินโดย ผู้เชี่ยวชาญ 2. การประเมินตามรูปแบบนี้ผู้ใช้เชี่ยวชาญเป็นเครื่องมือ พื้นฐานในการวัด รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผลการประเมินจะขึ้นอยู่กับผู้ชำนาญ 3. การประเมินตามรูปแบบนี้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อโครงการของผู้ ประเมินซึ่งก็คือผู้ชำนาญนั่นเอง การประเมินตามรูปแบบ Connoisseurship Model ผู้ชำนาญเป็นผู้กำหนด แนวทางด้วยตนเอง นับตั้งแต่กระบวนการรวบรวมเอกสารเพื่อศึกษาหรือสังเกตหลังจากนั้นผู้ชำนาญก็ จะพิจารณาตัดสินใจด้วยการทำความเข้าใจลักษณะและคุณภาพของโครงการจากเอกสารที่รวบรวมมา ได้จากการสรุปผล การประเมินเป็นแนวคิดเห็นของผู้ชำนาญเองทั้งสิ้น 4. รูปแบบการประเมินเพื่อตัดสินใจ (Dicision-Making Model) เป็นการประเมิน เพื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นจุดหมายของโครงการหรือปัญหาข้อโต้แย้งต่าง ๆ ในการ ประเมินโครงการต้นแบบของการประเมินตามรูปแบบการประเมินโครงการเพื่อตัดสินใจ


Click to View FlipBook Version