41 Dicision-Making Model มี 2 แบบคือ CIPP Model ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และ CSE Model ของอัลคิน (AlKin) ทั้งสองรูปแบบนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันมาก กล่าวคือ อธิบายความหมายของการประเมินว่า การประเมินหมายถึง กระบวนการจำแนก รวบรวม และ เสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของความมุ่งหมายความวางแผนการดำเนินงานและผล ของโครงการใดในโครงการหนึ่งเพื่อเป็นแนวในการตัดสินใจและเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องกับ โครงการ ส่วน CSE Model นั้นให้คำนิยามของการประเมินว่า หมายถึงกระบวนการพิจารณา ตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องเลือกข่าวสารที่เหมาะสมรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลอันจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและกิจกรรมประเมินผลแบบ CIPP Model ต่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับโครงการ กล่าวคือ 1. Context Evaluation จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับสภาพรวม ๆ ของ โครงการทั้งหมด รวมทั้งเรื่องของความมุ่งหมาย ปัญหาและอุปสรรค ข้อดีและข้อจำกัด จุดเด่น และจุดอ่อน และสภาพแวดล้อมของโครงการ 2. Input Evaluation จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับ สมรรถนะของโครงการ และแนวทางในการดำเนินโครงการให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้นในเรื่องนี้จึงประเมินเกี่ยวกับบุคคล งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ 3. Process Evaluation จะช่วยให้ข้อมูลในการติดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการว่าดำเนินไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่เพียงใด 4. Product Evaluation จะช่วยวัดและพิจารณาเกี่ยวกับการตัดสินใจเกี่ยวกับ โครงการว่าได้บรรลุตามความต้องการหรือไม่ ควรดำเนินโครงการต่อไปหรือปรับปรุงแก้ไขหรือยุติการ ดำเนินการ รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เสนอโดย สตัฟเฟิลบีม แห่งมหาวิทยาลัย Ohio state University สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความสนใจจากนักประเมินโครงการ อย่างมากในปัจจุบัน คำว่า CIPP ย่อมาจากคำว่า Context, Input, Process and Product เป็นรูปแบบการประเมินแบบ CIPP นั้นมีจุดหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่เหมาะสมในการประเมินนั้นมุ่งประเมินสิ่งที่ประเมิน 4 ประการคือ 1. บริบท (Context) เพื่อพัฒนาจุดมุ่งหมายของโครงการ 2. ปัจจัยเบื้องต้น (Input) ออกแบบโครงการ 3. กระบวนการ (Process) เพื่อประเมินขั้นตอนในการดำเนินการตามโครงการ 4. ผลผลิต (Product) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ตามโครงการ (ไชยยศ เรื่อง สุวรรณ. 2529 : 11)
42 โครงสร้างการประเมินแบบ (CIPP Model) ตามแนวความคิดของสุขุม มูลเมือง (2530 : 16) ดังแสดงในภาพประกอบ 4 ภาพประกอบ 4 โครงสร้างการประเมินแบบ CIPP Model รูปแบบการประเมินแบบ (CIPP Model) นี้ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2535 : 184 - 194) ได้กล่าวว่า แบบจำลอง (CIPP Model) ไม่เพียงแต่ประเมินว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เท่านั้นแต่ยังเป็นการประเมินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการอีกด้วยนัก ประเมินจะได้รับข้อดีข้อบกพร่องและประสิทธิภาพของโครงการที่จะประเมินโครงการเป็นอย่างดี ซึ่งนับ ได้ว่าเป็นการรับข่าวสารแบบสะสม แบบจำลอง เข้าใจง่าย สะดวกในการปฏิบัติ จึงเป็นที่นิยมอย่าง กว้างขว้าง แบบจำลอง CIPP Model จะประเมินในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) จะช่วยให้การตัดสินใจเกี่ยวกับ การวางแผนในการกำหนดวัตถุประสงค์มี 2 วิธี 1.1 Contingency Model เป็นการประเมินบริบทเพื่อหาโอกาสและแรงผลักดัน จากงานนอกระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลมาพัฒนาส่งเสริมโครงการให้ดีขึ้น การประเมิน Evaluation บริบท Context ปัจจัยนำเข้า Input กระบวนการ Process ผลผลิต Product เพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการ วางแผน เพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการกำหนด โครงการ เพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการดำเนินการ ตามโครงการ เพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการ วางแผน
43 1.2 Congruence Model เป็นการประเมินโดยการเปรียบเทียบระหว่างการปฏิบัติ จริง (Actual Result) กับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ทำให้ทราบว่า วัตถุประสงค์ไม่บรรลุเป้าหมาย 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เป็นการจัดหาข้อมูลเพื่อใช้ใน การตัดสินความเหมาะสมของแผนงานต่าง ๆ คือ 2.1 ความสามารถของหน่วยงานหรือตัวแทนในการตัดสินใจ 2.2 ยุทธวิธีที่ใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.3 การได้รับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ซึ่งจัดช่วยให้โครงการดำเนินไปได้ เช่น หน่วยงานที่จะช่วยเหลือ เวลา เงินทุน อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือ 3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เมื่อแผนงานดำเนินการได้รับ การอนุมัติและลงมือทำ การประเมินกระบวนการจำเป็นต้องได้รับเตรียมการ เพื่อให้ข้อมูล ย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้รับผิดชอบและผู้จัดดำเนินการทุกลำดับชั้น การประเมินกระบวนการมี วัตถุประสงค์ใหญ่อยู่ 3 ประการ คือ 3.1 เพื่อหาและทำนายข้อบกพร่องของกระบวนการหรือการดำเนินการตามขั้นตอนที่ วางไว้ 3.2 เพื่อรวบรวมสารสนเทศสำหรับผู้ตัดสินใจวางแผน 3.3 เพื่อเป็นรายงานสะสมถึงการปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น 4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดและแปล ความหมายของความสำเร็จ ไม่เฉพาะเมื่อสิ้นสุดวัฎจักรของโครงการเหล่านั้น แต่มีความจำเป็นยิ่งใน การปฏิบัติตามโครงการด้วย ยุทธวิธีการนำ CIPP Model ไปใช้นั้น สุขุม มูลเมือง (2530 : 17-19) ได้เสนอยุทธวิธีในการนำ CIPP Model ไปใช้ ยุทธวิธีการนำ CIPP Model ไปใช้ 1. การประเมินบริบท วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อหากลุ่มเป้าหมายและความต้องการของกลุ่ม 3. เพื่อหาโอกาสที่ต้องการสนองความต้องการ 4. เพื่อวินิจฉัยปัญหาได้ตามความต้องการนั้น ๆ เพื่อตัดสินใจว่า วัตถุประสงค์ที่ เหมาะสมของโครงการควรเป็นอะไร วิธีการ
44 โดยการใช้วิธีวิเคราะห์ระบบการสำรวจการศึกษาค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ แบบทดสอบ วินิจและวิธี Delphi Technique ความสัมพันธ์กระบวนการตัดสินใจ 1. เพื่อตัดสินเกี่ยวกับสถานที่จะทำโครงการ 2. เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ 3. เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา 4. เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนเปลี่ยนแปลงความต้องการและแสวงหา การ ตัดสินใจพื้นฐานเกี่ยวกับผลลัพธ์ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้า วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกำหนดประเมินสมรรถนะของโครงการ 2. หาทางเลือกยุทธวิธีในการดำเนินโครงการ 3. กำหนดการออกแบบ การดำเนินตามยุทธวิธี 4. กำหนดงบประมาณ 5. กำหนดระยะเวลา 6. กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ วิธีการ โดยการจัดอันดับคุณภาพการวิเคราะห์ทรัพยากร ยุทธวิธี การออกแบบ กระบวนการ ความเป็นไปได้ และในแง่เศรษฐกิจซึ่งคงใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าเอกสาร และจัดทำ การทดลองนำร่อง ความสัมพันธ์กระบวนการตัดสินใจ 1. เพื่อเลือกแหล่งความช่วยเหลือ 2. เพื่อเลือกยุทธวิธีในการแก้ปัญหา 3. เพื่อเลือกรูปแบบและกระบวนการเพื่อร่วมกิจกรรม และจัดหาการตัดสินใจ พื้นฐานในการดำเนินโครงการ 3. การประเมินกระบวนการ วัตถุประสงค์ เพื่อหาคาดคะเนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ขั้นตอนในการดำเนินงาน
45 2. ผลจากการดำเนินการตามการออกแบบ เพื่อที่จะหาข้อมูลและสารสนเทศใน การตัดสินใจเกี่ยวกับโปรแกรม (Program) และกิจกรรมต่าง ๆ 3. เพื่อตัดสิ้นใจกระบวนการ 4. เพื่อตัดสินใจกิจกรรมภายในกระบวนการ วิธีการ โดยการกำกับ (Monitoring) และติดตามเกี่ยวกับศักยภาพ อุปสรรคและ ความตื่นตัวในการทำงานของผู้รับผิดชอบ โดยการกำหนดข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสิน โปรแกรมของกิจกรรมต่าง ๆ และโดยการอธิบายกระบวนการที่กระทำอย่างจริง อย่างต่อเนื่อง และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่คาดหมายไว้ ความสัมพันธ์กระบวนการตัดสินใจ 1. เพื่อดำเนินการและขัดเกลารูปแบบ และกระบวนการ 2. เพื่อการควบคุมโครงการ 4. การประเมินผลผลิต วัตถุประสงค์ 1. เพื่อตัดสินผลผลิต 2. เพื่อหาความเกี่ยวพันธ์ระหว่างผลผลิตกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้าและ กระบวนการ 4. เพื่อแปลความหมายในแง่ของข้อ 1-3 วิธีการ 1. โดยการระบุการปฏิบัติและการวัดผลสัมฤทธิ์กำหนดไว้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตามจุดมุ่งหมาย 2. เปรียบเทียบกับผล กับเกณฑ์มาตรฐาน 3. เปลี่ยนโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ โดยพิจารณาทางด้านปริมาณและ คุณภาพ ความสัมพันธ์กระบวนการตัดสินใจ เพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อ แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ จากรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model จะเห็นได้ว่าเป็นการประเมินทั้งระบบ
46 โครงการ นับตั้งแต่การวางแผน การกำหนดโครงการ การดำเนินการตามโครงการและประเมิน ผลสัมฤทธิ์ตามโครงการ ดังนั้นในการประเมินโครงการปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนชุมชนเมือง หนองสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร ผู้ศึกษาจึงเลือกใช้การประเมินแบบ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมิน ซึ่งสรุปประเด็นประเมินแต่ละด้านดังนี้ 1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) หมายถึง การประเมินความ เหมาะสมที่เกี่ยวกับสภาพรวม ๆ ของโครงการทั้งหมด การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและ สอดคล้องกับโครงการปฏิรูประบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ ภาระงานของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ศูนย์วิชาการห้องวิชาต่าง ๆ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามการปฏิบัติงาน นวัตกรรมทางวิชาการและผลงานทางวิชาการ 2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) หมายถึง การประเมิน การดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนที่เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนความพร้อมในการปรับ พฤติกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) หมายถึง การประเมิน การดำเนินการของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เกี่ยวกับ กระบวนการในการปรับพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนพฤติกรรมการเรียน การสอนของครูผู้สอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) หมายถึง การประเมินผล การดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เกิดขึ้นจาก การปรับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน การปรับพฤติกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอน และนักเรียนทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง การใช้ เวลาให้เกิดประโยชน์ กำหนดเป้าหมายและวางแผนในโรงเรียนอย่างมีระบบ มีคุณธรรมและการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปพัฒนาตนเอง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ อารีวรรณ สุยะราช (2529 : 65-68) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการและ ติดตามผลการเรียนการสอนของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยใช้การ ประเมินแบบ CIPP Model ผลการศึกษาพบว่า
47 1. ด้านสภาพแวดล้อม นโยบายในการนิเทศโรงเรียน สอดคล้องกับนโยบายของ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงคำ และสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ในด้าน วัตถุประสงค์ของโครงการตรงกับความต้องการของครู ความบกพร่องคือ ไม่ได้กำหนดจำนวนครั้ง ในการนิเทศในแต่ละโรงเรียนไว้ 2. ด้านปัจจัยพื้นฐาน บุคลากรที่นิเทศมีความพร้อมเหมาะสมอยู่ในระดับสูงด้านสื่อ และเครื่องมีประกอบการนิเทศ มีความพร้อมปานกลาง ควรส่งเสริมให้กลุ่มโรงเรียนผลิตทุกกลุ่ม ประสบการณ์ด้านงบประมาณนั้นมีจำนวนจำกัด และเบิกจ่ายเงินล่าช้า 3. ด้านกระบวนการนิเทศ ครูต้องให้นิเทศแบบสาธิต 4. ผลการนิเทศ และการติดตามการเรียนการสอนพบว่า พฤติกรรมการเรียนการ สอนของครูเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นคือ มีการใช้สื่อและหลักจิตวิทยาประกอบการสอนมากขึ้น ส่วนการใช้บริการใช้บริการห้องสมุดยังไม่เป็นที่พอใจ สุขุม ไทยวิรัช (2531 : 94-95) ได้ศึกษาเกี่ยวประเมินศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน พื้นที่จังหวัดหนองคาย โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประธานกลุ่ม โรงเรียนสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2531 เครื่องมีที่ใช้ในการ ประเมินได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไป และสภาพแวดล้อมความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อ สภาพและปัญหาทั่วไปของศูนย์วิชากลุ่มโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า งบประมาณค่าใช้สอยของกลุ่ม ในจำนวนจำกัด ครูไม่มาใช้สื่อ เพราะศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนตั้งอยู่ห่างไกล ส่วนงบประมาณการ จัดหาสื่อการเรียนการสินตามหลักสูตรล่าช้าขาดพาหนะและค่าใช้จ่ายในการบริหาร การคมนาคมไม่ สะดวก ขาดอาคารสถานที่เป็นเอกเทศ ครูเข้าร่วมผลิตสื่อที่ศูนย์วิชาการน้อย ครูผู้สอนไม่ได้ยืมสื่อ เพราะกลัวจะชำรุด ครูวิชาการสำนักงานต้องเป็นผู้ผสานงานของกลุ่มโรงเรียน นอกจากนั้นยังต้องทำ การสอนด้วย เป็นผลให้เกิดการกังวลไม่มีเวลาคิดสร้างสรรค์งานงานของศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน สมนึก จันทรักษ์ (2534 : ฉ) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนการ สอนวิชาการงานและอาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขต การศึกษา 3 โดยมุ่งเน้นการประเมินการเรียนการสอนของครูวิชาการงานและอาชีพ ในด้าน สภาพแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการเรียนการสอนด้านผลผลิต และสภาพปัญหาในการ จัดการเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านสภาพแวดล้อมพบว่า จุดประสงค์ของแผนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร และการจัดการเรียนเรียนการสอนสอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้อถิ่นในระดับปานกลางส่วน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมสอดคล้องกับเนื้อหาอยู่ในระดับมาก แผนการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ปฏิบัติจริง มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
48 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นพบว่า ความพร้อมของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน วิชาการงานและอาชีพได้แก่ เอกสารประกอบการสอน วารสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เสริมการเรียนการ สอน สถานที่ฝึกงานนอกโรงเรียน งบประมาณ และบุคลากร มีความพร้อมอยู่ในระดับน้อย 3. ด้านกระบวนการเรียนการสอน พบว่าครูปฏิบัติงานเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียน การสอนด้านการวางแผน และการใช้สถานที่ที่ใช้สอย และฝึกงานอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการ ดำเนินการสอนและการประเมินผลการเรียนปฏิบัติอยู่ระดับมาก 4. ด้านผลผลิตพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพการเรียนการสอนอยู่ใน ระดับมาก ส่วนปัญหาการจัดการเรียนการสอนใช้สถานที่สอนฝึกงาน และการประเมินผลการเรียนมี ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง สำเริง บุญญพิทักษ์กุล (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการ พัฒนาคุณภาพการประถมศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาระดับจังหวัดและระดับอำเภอ จำนวน 9 คน บุคลากรของโครงการจำนวน 155 คน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ จำนวน 8 คน ครูจำนวน 484 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6จำนวน 1,681 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ แบบสังเกต แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านสภาพแวดล้อมพบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายและ แผนงานของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร 2. ปัจจัยนำเข้าพบว่า ด้านบุคลากรของศูนย์วิชาการจังหวัด ความพร้อม 100 ส่วน บุคลากรของศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนมีความพร้อมร้อยละ 94 งบประมาณของศูนย์วิชาการ จังหวัด ส่วนใหญ่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ส่วนศูนย์วิชาการกลุ่มโรเรียนงบประมาณที่ได้รับอยู่ใน ระดับน้อย วัสดุอุปกรณ์ศูนย์วิชาการจังหวัด และศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนมีเพียงพออยู่ในระดับที่ พอใช้ ด้านการจัดการศูนย์วิชาการจังหวัดพิจิตร ยังจัดบุคลากรไม่ตรงตามงาน 3. ด้านการดำเนินงานพบว่า ศูนย์วิชาการจังหวัดพิจิตรดำเนินงานตามโครงการสำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 57 และการดำเนินงานตามกรอกภารกิจคิดเป็นร้อยละ 74 โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี มาก 4. ด้านสัมฤทธิ์ผลพบว่าด้านคุณภาพนักเรียน (ปีการศึกษา 2532) มีสัมฤทธิ์ ทางการเรียนผลเกณฑ์ที่หน้าพอใจอยู่ในระดับดี มี 2 กลุ่มประสบการณ์ คือ กลุ่มทักษะภาษาไทย ทักษะคณิตศาสตร์และกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ส่วนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ผ่านเกณฑ์ ที่น่าพอพอใจค่อนข้างต่ำ เพียงร้อยละ 45 เท่านั้น ด้านความคิดเห็นของครูผู้บริหารโรงเรียนและ ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอที่มีต่อศูนย์วิชาการ กลุ่มโรงเรียนเห็นว่าครูใช้หลักวิจัย
49 วิทยาประกอบการสอนในระดับมาก ส่วนพฤติกรรมการสอนอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการนิเทศติดตามผลเห็นว่าผู้นิเทศระดับจังหวัดปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศอยู่ในระดับปานกลาง นิคม ชมพูหลง (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประถมศึกษา เกี่ยวกับศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model กลุ่ม ตัวอย่างได้แก่เจ้าหน้าที่บริหารการประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ ประธานกลุ่มโรงเรียน ครูผู้สอน และหัวหน้าสำนักงานกลุ่มโรงเรียน สังกัดนักงานกานประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ในปี การศึกษา 2533 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่บริหารการประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ประธานกลุ่ม โรงเรียน ครูผู้สอน และหัวหน้ากลุ่มโรงเรียน ที่มีต่อศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนโดยภาพรวมเห็นด้วย ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า 1.1. ด้านบริบท จุดมุ่งหมายของโครงการ สภาพความจำเป็นความต้องการและ ลักษณะเด่น ลักษณะด้อยของโครงการอยู่ในระดับมาก 1.2. ด้านปัจจัยนำเข้า อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง 1.3. ด้านกระบวนการ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากรอำนวยการ และควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง 1.4. ด้านผลิต ผลของการวางแผนในการใช้หลักสูตรผลการสอนและการฝึกอบรม ผลของการออกแบบและการผลิต ผลของการให้คำแนะนำปรึกษาและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจ ของศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2. เจ้าหน้าที่บริหารการประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ ประธานกลุ่มโรงเรียนครูผู้สอน และหัวหน้าสำนักงานกลุ่มโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนโดยภาพรวมแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 โดยประธานกลุ่มโรงเรียนและหัวหน้าสำนักงานกลุ่มโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างจากเจ้าหน้าที่บริหารการประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนอย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ .05 3. เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ประธานกลุ่มโรงเรียนและหัวหน้าสำนักงานกลุ่มโรงเรียนมี ความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตแตกต่างจากเจ้าหน้าที่บริหารการ ประถมศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาลัย หงส์ทอง (2535 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการ สนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้การประเมิน
50 แบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียนในปีการศึกษา 2534 เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ด้านบริบท ด้านปัจจัย เบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า 1.1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนสอนมีความคิดเห็นเห็นโครงการ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา เป็นราบด้าน พบว่า ด้านบริบทอยู่ในระดับสูงมากกว่าด้านอื่น ๆ และด้านปัจจัยเบื้องต้นอยู่ในระดับ ต่ำกว่าทุกด้าน 1.2. ด้านบริบท จากชุมชนที่ศึกษา พบว่า การแสดงความคิดเห็นต่อแนวทาง ประชาธิปไตย ค่อนข้างอิสระบนความระมัดระวัง เพราะเกรงกลัวต่อสภาพของตน 1.3. ด้านปัจจัยเบื้องต้น จากชุมชนที่ศึกษา พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นไม่เพียงพอต่อ การดำเนินการ 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ด้านบริบท ด้านปัจจัย เบื้องต้นและกระบวนการ พบว่าอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ จากชุมชน ที่ศึกษาพบว่าการ ทำงานเกี่ยวกับกระบวนการทำงานไม่ต่อยชัดเจน แต่บุคลากรในหน่วยงานมองเห็นชัดเจน 3. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียนที่เกี่ยวข้อง 3.1. ด้านบริบทของโครงการไม่แตกต่างกัน 3.2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3.3. ด้านกระบวนการของโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ด้านบริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านผลผลิตของโครงการไม่แตกต่าง กัน อุดมศักดิ์ นิกรพิทยา (2535 : บทคัดย่อ) ได้ทำการประเมินโครงการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2534 โดยใช้ รูปแบบการประเมิน CIPP Model ประเมิน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่ากระบวนการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพที่ดำเนินการ โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมในระดับปานกลาง ถึงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า 1. เมื่อเริ่มฝึกสอน อาจารย์นิเทศ และครูพี่เลี้ยงเห็นว่านักเรียนฝึกประสบการณ์ วิชีพมีความรู้ความสามารถ ทักษะด้านการเรียนการสอนและการทำหน้าที่ของครู อยู่ในระดับ ปานกลาง
51 2. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ประสานงานโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศเห็นว่า โรงเรียนมีวัสดุที่จำเป็นสำหรับทำสื่อการเรียนการสอน มีสื่อการสอนที่มีคุณภาพหรืออยู่ในสภาพดี มี หนังสืออ่านประกอบเพียงพออยู่ในระดับปานกลาง 3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพเห็นว่า ความสม่ำเสมอของการนิเทศของครูพี่ เลี้ยงอยู่ในระดับปานกลาง ของอาจารย์นิเทศก็อยู่ในระดับน้อย 4. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ประสานงานโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศเห็นว่า ลักษณะการประสานงานต่อไปนี้ ดำเนินการได้ในระดับปานกลางคือ การประสานงานระหว่าง โรงเรียนกับวิทยาลัย เป็นไปอย่างมีระบบ ตัวแทนของวิทยาลัยรับทราบปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาอย่างสม่ำเสมอ มีการประสานงานที่ดีระหว่างอาจารย์นิเทศกับครูพี่เลี้ยง 5. เมื่อใกล้จะสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อาจารย์และครูพี่เลี้ยงเห็นว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความรู้ ความสามารถ และทักษะต่อไปนี้อยู่ในระดับมาก คือ มี ความรู้ในเนื้อหาวิชาชีพสอน มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และพัฒนาการเกี่ยวกับผู้เรียน มีทักษะใน การใช้สื่อการสอน มีทักษะในการนำเข้าสู่บทเรียน มีทักษะในการอธิบาย มีทักษะในการใช้คำถาม มีทักษะในการสรุปบทเรียนและมีความสามารถในการประเมินผลในห้องเรียน 6. เมื่อใกล้จะสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อาจารย์นิเทศและครูพี่เลี้ยงเห็นว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความตั้งใจในการสอน มีความรับผิดชอบในการทำงาน พูดเสียงดัง ฟังชัด มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่ายในโรงเรียน และมีบุคลิกภาพเหมาะสมที่เป็นครู อยู่ในระดับ มาก 7. เมื่อใกล้จะสิ้นสุดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพมี เจตคติต่อการฝึกอยู่ในระดับดี คือ ชอบและสนใจวิชาที่สอน ชอบครูพี่เลี้ยง-อาจารย์นิเทศที่ช่วยให้ กำลังใจและข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะการสอน และโครงการพิเศษในโรงเรียนให้คุณประโยชน์ แก่ตนเองและโรงเรียน พัชรวิชญ์ วิเศษ (2536 : บทคัดย่อ) ได้ทำการประเมินโครงการขยายโอกาสทาง การศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ผลการศึกษาพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลางเพื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อม ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าความสอดคล้องระหว่างแผนการ เรียนการสอนกับหลักสูตรมีความสอดคล้องอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านปัจจัยเบื้องต้นเห็นว่าความ เพียงพอทางด้านงบประมาณ ครูผู้สอนวิชาชีพ หนังสือหรือเอกสารประกอบการเรียน สื่อการสอน และสถานที่ที่ใช้สอนหรือฝึกงานมีความเพียงพออยู่ในระดับน้อย
52 2. ความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาชีพ โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่าด้านสภาพแวดล้อม ครูผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่าความสอดคล้องระหว่างแผนการ เรียนการสอนกับหลักสูตร และความสอดคล้องระหว่างการเรียนการสอนกับปฏิบัติการจริงมีความ สอดคล้องอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านปัจจัยเบื้องต้น เห็นว่า ความเพียงพอทางด้านครูผู้สอน วิชาชีพ งบประมาณ สื่อการสอน หนังสือหรือเอกสารประกอบการเรียน และสถานที่ใช้สอนหรือ ฝึกงาน มีความเพียงพออยู่ในระดับน้อยมาก ส่วนปัญหาที่พบคือโรงเรียนได้รับการร่วมมือจาก สมาคม มูลนิธิและหน่วยงานภาคเอกชนอยู่ในระดับน้อย และสัดส่วนด้านกระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน เห็นว่าครูผู้สอนวิชาชีพมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดำเนินการสอน การวัดผล และการประเมินผลอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบคือปัญหาด้านสถานที่ที่ใช้สอนหรือฝึกงานมีไม่ เพียงพอ และมีการใช้สถานที่เหลือแหล่งประกอบการอยู่ในระดับน้อย 3. ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีความศรัทธาและเชื่อมั่นในระดับมากกับการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีพของโรงเรียน และมีความต้องการที่จะให้ลูกออกไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว 4. นักเรียน เห็นว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งที่ครูปฏิบัติมากที่สุด คือ ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนให้นักเรียนทราบก่อนเรียนในเนื้อหาใหม่ และเมื่อนักเรียนมีปัญหาใน การเรียน นักเรียนสามารถปรึกษาครู ส่วนปัญหาที่พบคือ ความรู้ความสามารถของวิทยากร ภายนอก และนอกสถานที่ที่ใช้สอนหรือฝึกงานมีความเหมาะสมกับเนื้อหาอยู่ในระดับน้อย และส่วน เจตคิดของนักเรียนที่มีต่ออาชีพ โดยส่วนรวมจะเห็นด้วยในระดับปานกลาง ไชยยศ เรื่องสุวรรณ (1987 : 2877-A) ได้ศึกษาการประเมินโปรแกรมปริญญาตรี เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมินกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยอาจารย์ นิสิต บัณฑิต และผู้บังคับบัญชาของนิสิตเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. ด้านบริบท นักศึกษาและนิสิตมีปัญหาตรงกันคือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และสื่อการเรียนการสอนไม่ดีพอ ขณะที่จุดเด่นของโปรแกรมนี้คือ การได้พัฒนาโปรแกรมการเรียน การสอน ประโยชน์และการได้ปฏิบัติจริง ส่วนจุดอ่อนคือ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก และสื่อการ เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ตัวหลักสูตรโดยทั่วไปดี ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกยัง ไม่ดีพอ พื้นฐานการเข้าเรียนของนิสิตยังไม่ดี จุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชาควรมรการปรับปรุงบางส่วน 3. ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยทั่วไปดี แต่ในบางด้านเห็นว่า ควรมีการปรับปรุง
53 งานวิจัยต่างประเทศ ไทเออร์ (Thyer. 1996 : 13-23) ได้ทำการประเมินการดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอนในโรงเรียนของครูระดับประถมศึกษาและอนุบาล ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 350 คน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินการเรียนการสอน ผล การศึกษาพบว่า ครูไม่ทรายถึงยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งมีข้อเสนอแนะจากครูว่าต้องการได้รับคำแนะนำในการดำเนินการที่มากขึ้น คริสตี้ (Cristy. 1977 : 6257 -A) แห่งมหาวิทยาลัยบอลสเตท ได้ทำการประเมิน หลักสูตรบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโทของเซนต์ฟรานซิส คอลเลจ (Saint Francis College) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาในระดับปริญญาโทของ มหาวิทยาลัยโดยใช้รูปแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ผู้ที่สำเร็จ การศึกษาระหว่าง ค.ศ. 1962 – 1972 จำนวน 500 คน ผู้ที่กำลังศึกษา จำนวน 300 คน และ บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ประจำอยู่ในบัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยการหาความถี่ สัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วใช้เทคนิคการเรียงลำดับ (Rank Orders) ของข้อมูลตามลำดับความสำคัญ ผลการประเมินในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์ใน การนำมาปรับปรุงโปรแกรมการศึกษาในโอกาสต่อไป บูธ ( Booth. 1997 : 2467-A ) ได้ศึกษารูปแบบและการจัดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพใน ออสเตรเลีย พบว่าโรงเรียนที่เป็นตัวแทนในการศึกษาได้เอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เด็ก และเยาวชนส่วนใหญ่ร่วมมือกับโรงเรียน บุคลากรทางการศึกษาจะอยู่ในพื้นที่ และโรงเรียนส่วนใหญ่ จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นๆ มีการจัดโอกาสให้เด็กได้มีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการมีวิถีชีวิต ที่ส่งเสริมสุขภาพ ( Healthy Life-Style ) การดำเนินงานในลักษณะนี้ก็นำไปสู่รูปแบบโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งจะเป็นแนวทางของการมองสุขภาพแบบองค์รวม หลักของความเสมอภาคและการ สร้างความเข้มแข็ง ถึงกระนั้นก็จะมีความแตกต่างในแนวคิดของรูปแบบ องค์ประกอบสำคัญคือ รูปแบบของหลักสูตร บรรยากาศทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ นโยบายและการปฏิบัติของ โรงเรียน การจัดบริการสุขภาพของโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้าน ชุมชน รูปแบบ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความเบ็ดเสร็จ มีการจัดการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นที่ ยอมรับโดยทั่วไป ได้มีการศึกษาในออสเตรเลียอยู่บ้างซึ่งพยายามอธิบายความสัมพันธ์ของกิจกรรมกับ รูปแบบหรือการประเมินกิจกรรมที่ดำเนินการไปในการศึกษา ( Interventions ) แต่แนวคิดและการดำเนินการในโรงเรียนได้ก้าวหน้าไปกว่าการศึกษาและเครื่องมือ ประเมินไปมากแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเครื่องมือในการศึกษาที่ถูกต้องขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสนับสนุนการพัฒนาและการดำเนินการของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนให้บรรลุ
54 อย่างมีประสิทธิผล จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่ารูปแบบของการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้กันมากรูปแบบหนึ่ง และเป็นรูปแบบที่ทำให้เห็นการประเมิน ทั้งระบบ ข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากการประเมินจะมีประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการพัฒนา ปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการประเมินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญครั้งนี้
54 บทที่ 3 วิธีดำเนินการประเมินโครงการ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ในครั้งนี้ ผู้ประเมิน กำหนดแนวทางการประเมินโดยแบบจำลองการประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam) มีการดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. การสร้างเครื่องมือ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิตจังหวัดชัยภูมิ (ข้อมูล 10 มิถุนายน 2564) จำนวน 1094คน ประกอบด้วย 1.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน 1.2 ครูผู้สอน จำนวน 53 คน 1.3 นักเรียน จำนวน 1,026 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง การประเมินในครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยผู้ ประเมินได้ดำเนินการดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ผู้ประเมินใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยเปิด ตาราง อาร์ วี เครจซี่ และ ดับเบิ้ลยู มอร์แกน (R.V. Krejcie & D.W. Morgan) ได้ขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างนักเรียน จำนวน 279 คน และสุ่มตัวอย่างนักเรียนโดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดเงื่อนไขใน
55 การเลือก คือ นักเรียนสามารถตอบแบบสอบถามด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยได้กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น จำนวน 279 คน 3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประเมินใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มเป้าหมายโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยถือว่ากรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน เทพสถิตวิทยาในปัจจุบันเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดทั้งหมด จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเพื่อสอบถามผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิมีจำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ 1. แบบสอบถามฉบับที่ 1 ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถาม สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ เพศ และอายุ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบ ตรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอนที่มีต่อ โครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ในด้านการประเมินบริบท การประเมิน ปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 50 ข้อ 2. แบบสอบถามฉบับที่ 2 ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถาม สอบถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ และระดับชั้น แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบ ตรวจรายการ (Check List) ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ในด้านการประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 25 ข้อ ลักษณะเครื่องมือ ฉบับที่ 1 ตอนที่ 2 และฉบับที่ 2 ตอนที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีการของลิเคอร์ท (บุญชม ศรีสะอาด, 2545: 99-100) มี 5 ระดับ คือ มากที่สุด, มาก, ปานกลาง, น้อย และน้อยที่สุด มีเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ มีเกณฑ์การผ่าน ≥ 3.50 ขึ้นไป
56 การสร้างเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิผู้ประเมินได้ดำเนินการ สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินขึ้นเอง โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 1. ศึกษาจากเอกสารบทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการการส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ศึกษาบทความและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการตามแนว CIPP Model 3. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับวิธีและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการกำหนดหรือออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามจากหนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยของคะแนน การประเมินตามเกณฑ์การประเมินที่ปรับปรุงจาก บุญชม ศรีสะอาด (2545 : 103) ดังนี้ ระดับน้ำหนักคะแนน การแปลความหมาย 4.51 – 5.00 เหมาะสม มากที่สุด 3.51 – 4.50 เหมาะสม มาก 2.51 – 3.50 เหมาะสม ปานกลาง 1.51 - 2.50 เหมาะสม น้อย 1.00 – 1.50 เหมาะสม น้อยที่สุด 5. สร้างแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ 5.1 นายวานิส เพียนอก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหนองบัวระเหววิทยาคาร 5.2 นายอมร ชัยวิเชียร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร 5.3 นายประวิทย์ พลอยดำตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม
57 5.4 ว่าที่ร้อยตรีชุมพร วงษ์พัฒน์ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ 5.5 นางสาวจิรัฐิติกาล สุทธานุชตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางอำพันธ์วิทยาคม 6. เกณฑ์การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยหาค่า IOC (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2551 : 63 - 64) ดังนี้ ให้คะแนน +1 ถ้าแน่ใจว่าคำถามวัดได้ตรงตามเนื้อหา ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าคำถามวัดได้ตรงตามเนื้อหา ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าคำถามวัดได้ไม่ตรงตามเนื้อหา 7. นำแบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจให้คะแนนมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: Index of Item-Objective Congruence) ระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด ซึ่ง ได้ข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องแต่ละข้อ ทั้ง 2 ฉบับ อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 8. นำแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับไปทดลองใช้(Try Out) กับคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม อำเภอเทพสถิต สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิจำนวน 50 คน ซึ่งแบ่งเป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ครูผู้สอน จำนวน 15 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน แล้วนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดย ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach)ซึ่งค่าความเชื่อมั่น ฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.97ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.98 9. นำแบบสอบถามปรับปรุงแก้ไขตามผลการวิเคราะห์ทดลองใช้(Try Out) แล้วพิมพ์ แบบสอบถามฉบับจริงเพื่อนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. นำแบบสอบถามแจกให้กลุ่มตัวอย่าง เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูล 2. เก็บรวบรวมแบบสอบถาม โดยผู้ศึกษาขอรับแบบสอบถามด้วยตนเองพร้อมกับ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแบบสอบถาม และได้รับแบบสอบถามที่กรอกข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วนกลับคืนมาทั้งหมด 347 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
58 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยเทียบ กับเกณฑ์ดังนี้(บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 163) ด้านบริบท 4.51 – 5.00 หมายความว่า เหมาะสม มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายความว่า เหมาะสม มาก 2.51 – 3.50 หมายความว่า เหมาะสม ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายความว่า เหมาะสม น้อย 1.00 – 1.50 หมายความว่า เหมาะสม น้อยที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า 4.51 – 5.00 หมายความว่า ดำเนินการ มากที่สุด 3.51– 4.50 หมายความว่า ดำเนินการ มาก 2.51 – 3.50 หมายความว่า ดำเนินการ ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายความว่า ดำเนินการ น้อย 1.00 – 1.50 หมายความว่า ดำเนินการ น้อยที่สุด ด้านกระบวนการ 4.51 – 5.00 หมายความว่า ปฏิบัติได้ดี มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายความว่า ปฏิบัติได้ดี มาก 2.51 – 3.50 หมายความว่า ปฏิบัติได้ดี ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายความว่า ปฏิบัติได้ดี น้อย 1.00 – 1.50 หมายความว่า ปฏิบัติได้ดี น้อยที่สุด ด้านผลผลิต 4.51 – 5.00 หมายความว่า ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายความว่า ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ มาก 2.51 – 3.50 หมายความว่า ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายความว่า ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ น้อย 1.00 – 1.50 หมายความว่า ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ น้อยที่สุด
59 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้สถิติ ดังนี้ 1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 ค่าดัชนีความสอดคล้อง เพื่อหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้สูตรการหาสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้อง IOC (Index of Concordance) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 99) สูตร IOC = N R เมื่อ IOC แทน ค่าดัชนีความสอดคล้อง R แทน ผลรวมของคะแนนจากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 1.2 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ ค่า โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 99) สูตร = 2 2 1 1 i t K S K S − − เมื่อ แทน ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม K แทน จำนวนข้อคำถาม 2 i S แทน ความแปรปรวนของคะแนนข้อที่ i 2 t S แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ 2 i S แทน ผลรวมความแปรปรวนรายข้อ 2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 ค่าความถี่ (Frequency) 2.2 ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 104 ) สูตร = F x 100
60 เมื่อ แทน ค่าร้อยละ F แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงเป็นร้อยละ แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด 2.3 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 105 ) สูตร = เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม แทน จำนวนประชากร 2.4ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 106) สูตร SD. . = ( ) ( ) 2 2 1 N X X N N − − เมื่อ SD. . แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) 2 X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง 2 X แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง N แทน จำนวนคน
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการประเมินโครงการในครั้งนี้ ผู้ประเมินขอเสนอ ตามลำดับดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้กำหนดความหมายของสัญลักษณ์ไว้ ดังนี้ดังนี้ แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้ประเมินทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ค่าสถิติของข้อมูล ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อหาความถี่และร้อยละ ตอนที่ 2 วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 2.1 วิเคราะห์ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาชัยภูมิ เป็น รายด้านและรายข้อ 2.2 วิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนเทพสถิต วิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ เป็นรายด้าน และรายข้อ
61 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินได้ดำเนินการตามหัวข้อ ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยแสดงจำนวน และร้อยละ ดัง แสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 แสดงจำนวนและร้อยละเกี่ยวกับสถานภาพ จากตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพ พบว่า เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 4.33 เป็นครูผู้สอน จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 15.27 และนักเรียน จำนวน 279 คน คิดเป็นร้อยละ 80.40 ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 2.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอนที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ในด้านบริบท ด้าน ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวม รายด้าน และรายข้อ โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังตารางที่ 5 – 9 ข้อมูลทั่วไป จำนวน (คน) ร้อยละ สถานภาพ 1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ครูผู้สอน 3. นักเรียน 15 53 279 4.33 15.27 80.40 รวม 347 100
62 ตาราง 5 แสดงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิโดยรวมและรายด้าน ด้าน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ครูผู้สอน รวม X S.D. แปลผล X S.D. แปลผล X S.D. แปลผล บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต 4.34 4.29 4.32 4.14 0.39 0.42 0.43 0.39 มาก มาก มาก มาก 3.86 3.93 3.87 3.85 0.62 0.63 0.64 0.62 มาก มาก มาก มาก 3.95 3.98 3.93 3.88 0.59 0.62 0.62 0.66 มาก มาก มาก มาก รวม 4.27 0.40 มาก 3.88 0.62 มาก 3.94 0.61 มาก จากตาราง 5 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชัยภูมิตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้าน ปัจจัยนำเข้า ( = 3.98) รองลงมาได้แก่ ด้านบริบท ( = 3.95) ด้านกระบวนการ ( = 3.93) และ ด้านผลผลิต( = 3.88)ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามตัวแปรสถานภาพ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ด้านบริบท ( = 4.34) รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ ( = 4.32) ด้าน ปัจจัยนำเข้า ( = 4.29) และด้านผลผลิต ( = 4.14) ตามลำดับ ครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการ ประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอ เทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ด้าน ปัจจัยนำเข้า ( = 3.93) รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ ( = 3.87) ด้านบริบท ( = 3.86) และ ด้านผลผลิต ( =3.85) ตามลำดับ
63 ตาราง 6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านบริบท เป็นรายข้อ จากตาราง 6 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชัยภูมิ ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากทุก ข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดนโยบายวางแผนโครงการ ของโรงเรียน ( = 4.08) มีการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่ ให้น่าอยู่ น่าเรียน และมีความปลอดภัย ( = 4.05) ชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนปัจจัยด้านต่าง ๆ แก่โรงเรียน ( = 4.03) ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่กำหนดโดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ( = 3.61) ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านบริบท ระดับ X S.D. แปล ผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 โรงเรียนได้ส่งเสริมการจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด สื่อICT มีการกำหนดนโยบายวางแผนโครงการของโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินกิจกรรมได้ตามแผนที่กำหนดโดยเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประชุมคณะครูคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ให้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาบุคลากร กำกับติดตามดูแลผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ครูแนะแนวจัดกิจกรรมสนับสนุนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมทางวิชาการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนปัจจัยด้านต่าง ๆ แก่โรงเรียน เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรให้รู้สึกมีความสุขในการทำงาน ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรร่วมจัดนิทรรศการและประกวดแข่งขันทางวิชาการ เปิดโอกาสให้บุคลากรมีโอกาสในการกำหนดแผนนิเทศภายในโรงเรียน มีการปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสถานที่ ให้น่าอยู่ น่าเรียน และมีความปลอดภัย อาคารเรียน ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย มีสื่อการสอนและจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ 3.82 4.08 3.79 3.61 3.83 3.99 3.99 3.92 3.99 4.03 4.02 3.99 4.00 4.05 4.01 0.76 0.77 0.84 0.87 0.85 0.78 0.75 0.74 0.78 0.82 0.78 0.78 0.73 0.79 0.75 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก รวม 3.95 0.59 มาก
64 ตาราง 7 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านปัจจัยนำเข้า จำแนกเป็นรายข้อ จากตาราง 7 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความร่มรื่นและความสวยงามในบริเวณโรงเรียน ( = 4.05) จัดอบรม ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง( = 4.03) จัดสรรงบประมาณตาม แผนงานสนับสนุนในการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ( = 4.01) ตามลำดับข้อที่ค่าเฉลี่ย ต่ำสุดคือ จัดให้มีแหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( = 3.79) ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านปัจจัยนำเข้า ระดับ X S.D. แปล ผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 จัดสรรงบประมาณตามแผนงานสนับสนุนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ จัดให้มีแหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ มีการจัดหาอุปกรณ์ในการจัดสภาพห้องเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน จัดเตรียมอุปกรณ์ในห้องสมุดเพื่อให้นักเรียนจัดและบริการได้สะดวก มีการจัดหาวัสดุ –อุปกรณ์สื่อต่างๆ ไว้ให้บริการครู บุคลากร นักเรียน และผู้ที่ เกี่ยวข้อง จัดหาอุปกรณ์ในการเตรียมสถานที่ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและทำงานนอกเวลา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความร่ม รื่นและความสวยงามในบริเวณโรงเรียน วางแผนอัตรากำลังข้าราชการครูต่อนักเรียนตามเกณฑ์ที่สพฐ.กำหนด ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดอบรม ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 4.01 3.79 3.99 3.94 3.99 3.98 4.05 4.00 3.99 4.03 0.82 0.77 0.73 0.79 0.78 0.78 0.85 0.74 0.76 0.82 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก รวม 3.98 0.62 มาก
65 ตาราง 8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านกระบวนการ จำแนกเป็นรายข้อ จากตาราง 8 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการสำรวจคัดกรอง และปรับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน( = 4.05) นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัด กิจกรรมการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง( = 4.03) นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและสรุป องค์ความรู้ของตนเอง( = 4.02) ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือก วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 3.69) ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านกระบวนการ ระดับ X S.D. แปล ผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ครูมีกิจกรรมให้นักเรียนทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมก่อนเข้าสู่บทเรียน ครูกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายนักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มและลงมือปฏิบัติจริง ครูใช้สื่อการสอนที่หลากหลายนักเรียนมีส่วนร่วมฝึกปฏิบัติจริง ครูใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายโดยยึดความแตกต่างของแต่ละบุคคล นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและสรุปองค์ความรู้ของตนเอง นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผลงานของตนเองและของเพื่อน นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ครูสนับสนุนให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ มีการสำรวจคัดกรองและปรับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของผู้เรียนและของเพื่อน นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดประสงค์และออกแบบการเรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่าง กว้างขวางและทั่วถึง 4.00 3.85 3.95 3.98 3.97 3.73 4.02 3.95 3.69 4.01 3.89 4.05 3.99 3.75 4.03 0.82 0.76 0.76 0.79 0.82 0.78 0.79 0.73 0.78 0.82 0.78 0.85 0.75 0.76 0.81 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก รวม 3.93 0.62 มาก
66 ตาราง 9 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับการประเมินความเหมาะสมตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ด้านผลผลิตจำแนกเป็นรายข้อ จากตาราง 9 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ใน ระดับมาก 8ข้อและอยู่ในระดับปานกลาง 2 ข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีการประเมินผลการเรียนของตนเอง ( = 4.03) นักเรียนได้นำผลการประเมินมา ปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ( = 4.00) นักเรียนสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข ( = 3.97) ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีผลงาน เกียรติบัตรที่ได้จากการเข้า ร่วมแข่งขันทักษะวิชาการในระดับต่างๆ ( = 3.45) 2.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่มีต่อ โครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิในด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวม รายด้าน และรายข้อ โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดังตารางที่ 10 – 12 ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านผลผลิต ระดับ X S.D. แปลผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 นักเรียนสามารถวางแผนการทำงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่นได้ นักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการเรียนรู้ก่อนศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักเรียนสามารถวิเคราะห์สังเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่ฟังและอ่านอย่างมีเหตุผล นักเรียนมีการประเมินผลการเรียนของตนเอง นักเรียนได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET, NT, บรรลุตามเป้าหมาย นักเรียนมีผลงาน เกียรติบัตรที่ได้จากการเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการในระดับต่างๆ นักเรียนนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน 3.85 3.95 3.81 3.86 4.03 4.00 3.97 3.49 3.45 3.83 0.79 0.88 0.87 0.83 0.78 0.79 0.85 0.71 0.78 0.82 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง มาก รวม 3.88 0.66 มาก
67 ตาราง 10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยรวมและรายด้าน ด้าน นักเรียน X S.D แปลผล กระบวนการ ผลผลิต 3.89 3.82 0.79 0.73 มาก มาก รวม 3.86 0.74 มาก จากตาราง 10 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านกระบวนการ ( = 3.89) และด้านผลผลิต ( = 3.82) ตามลำดับ
68 ตาราง 11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 – 6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยาอำเภอเทพสถิตจังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านกระบวนการ จำแนกเป็นรายข้อ จากตาราง 11 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการสำรวจคัด กรองและปรับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน ( = 4.02) ครูมีกิจกรรมให้นักเรียนทบทวนความรู้และ ประสบการณ์เดิมก่อนเข้าสู่บทเรียน ( = 4.01) ครูใช้สื่อการสอนที่หลากหลายนักเรียนมีส่วนร่วมฝึก ปฏิบัติจริง ( = 4.00) ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนด จุดประสงค์และออกแบบการเรียนรู้ ( = 3.70) ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านกระบวนการ ระดับ X S.D. แปลผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 ครูมีกิจกรรมให้นักเรียนทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิมก่อนเข้าสู่บทเรียน ครูกำหนดขอบข่ายของเนื้อหาในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียน ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มและลงมือปฏิบัติจริง ครูใช้สื่อการสอนที่หลากหลายนักเรียนมีส่วนร่วมฝึกปฏิบัติจริง ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายเหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆทั้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน นักเรียนได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและสรุปองค์ความรู้ของตนเอง นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผลงานของตนเองและของเพื่อน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ครูสนับสนุนให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน มีการสำรวจคัดกรองและปรับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของผู้เรียนและของเพื่อน นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดประสงค์และออกแบบการเรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.01 3.75 3.85 4.00 3.87 3.73 3.88 3.95 3.75 3.99 3.89 4.02 3.98 3.70 3.89 0.63 0.76 0.66 0.79 0.62 0.78 0.69 0.73 0.78 0.72 0.78 0.75 0.65 0.76 0.81 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก รวม 3.89 0.79 มาก
69 ตาราง 12 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ที่มีต่อโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านผลผลิต จำแนกเป็นรายข้อ จากตาราง 12 พบว่า การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญโรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาชัยภูมิ ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อยู่ใน ระดับมาก 8 ข้อและอยู่ในระดับปานกลาง 2 ข้อ โดยเรียงลำดับข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีการประเมินผลการเรียนของตนเอง ( = 4.05) นักเรียนสามารถทำงานเป็นทีม ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ( = 3.99) นักเรียนนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ( = 3.94) ตามลำดับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ นักเรียนมีผลงาน รางวัล เกียรติบัตรที่ได้จากการเข้า ร่วมแข่งขันทักษะวิชาการในระดับต่างๆ ( = 3.43) ข้อ การประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านผลผลิต ระดับ X S.D. แปลผล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 นักเรียนสามารถวางแผนการทำงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่นได้ นักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการเรียนรู้ก่อน ที่จะศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่ฟังและอ่านอย่างมีเหตุผล นักเรียนมีการประเมินผลการเรียนของตนเอง นักเรียนได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน O-NET บรรลุตามเป้าหมาย นักเรียนมีผลงาน รางวัล เกียรติบัตรที่ได้จากการเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการ ในระดับต่างๆ นักเรียนนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน 3.83 3.85 3.81 3.86 4.05 3.93 3.99 3.47 3.43 3.94 0.79 0.78 0.67 0.63 0.78 0.81 0.75 0.71 0.68 0.72 มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง มาก รวม 3.82 0.73 มาก
70 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิผู้ประเมิน ได้ดำเนินการสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะตามลำดับ ต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการประเมิน 2. วิธีดำเนินการประเมิน 3. สรุปผลการประเมิน 4. อภิปรายผล 5. ข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการประเมิน 1. เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ครูผู้สอนด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2. เพื่อประเมินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียนในด้านกระบวนการและด้านผลผลิต วิธีดำเนินการประเมิน การดำเนินการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียน เทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ดำเนินการตามขั้นตอนพอสังเขป ดังนี้ 1. ผู้ประเมินได้ประสานงานโดยแจ้งกำหนดการ ขั้นตอนการประเมินโครงการ และการ เก็บรวบรวมข้อมูลให้กลุ่มตัวอย่างทราบ 2. ผู้ประเมินได้แจกแบบสอบถามฉบับที่ 1 แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน พร้อมทั้งนัดหมายวัน เวลา เก็บแบบสอบถามคืน 3. ผู้ประเมินได้แจกแบบสอบถามฉบับที่ 2 แก่ นักเรียน พร้อมทั้งนัดหมายวัน เวลา เก็บ แบบสอบถามคืน 4. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา ถ้าฉบับใดที่ไม่สมบูรณ์ขอ ความอนุเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามฉบับนั้นให้ดำเนินการกรอกข้อมูลแบบสอบถาม ให้สมบูรณ์
71 5. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมดไปดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สรุปผลการประเมิน จากการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 สรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ ดังนี้ 1. ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครูผู้สอน ที่มีต่อโครงการในด้าน บริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า 1.1 ด้านบริบท (Context) ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม กรอบภาระหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน นโยบาย แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ นวัตกรรมทางวิชาการและผลงานทางวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ซึ่งประกอบไปด้วยงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการ เรียนการสอน สิ่งพิมพ์ เอกสาร บุคลากร แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 ด้านกระบวนการ (Process) ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการบริหารต่างๆ การ นิเทศกำกับติดตาม การตรวจสอบ การรายงาน การวัดผลประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.4 ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งประกอบไปด้วย การปรับพฤติกรรมการเรียนการ สอนของครูผู้สอน นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ผลการประเมินระดับชาติ ผลงานทางวิชาการ ใน ด้านปริมาณและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีต่อโครงการในด้าน กระบวนการและด้านผลผลิต พบว่า 2.1 ด้านกระบวนการ ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมต่างๆ กระบวนการจัดการเรียนการ สอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.2 ด้านผลผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย การปรับพฤติกรรมการเรียนการสอนของ ครูผู้สอน นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ผลการประเมินระดับชาติ ผลงานทางวิชาการ ในด้าน ปริมาณและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
72 อภิปรายผล จากการประเมินโครงการการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพ สถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ มีประเด็นที่ นำมาอภิปรายผล ดังนี้ 1. ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นฐานและครูผู้สอนที่มีต่อโครงการการ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษาที่เน้นสรุปว่า การ จัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมี ความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม ตามศักยภาพ (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ 2544 : 6) จึงทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริหาร โรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ (นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ 2545: 49)ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยของศุทธิดา ทองชอุ่ม (2548 : 75) ที่ได้ศึกษาบทบาทใน การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สงขลา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติตามบทบาทในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สมาน แก้วคำไสย์ (2545 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนต่อการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนนย์กลาง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด ร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีการปฏิบัติตามบทบาทต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลางโดยรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ ธวัช แก้วมณีชัย (2542 : 98) ยังได้ทำการวิจัย เรื่องการประเมินโครงการปฏิรูปการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีบทบาทในการวางแผน สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เอื้อต่อ การจัดการเรียนการสอน จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ทุกชนิดอย่า เพียงพอ จะต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด จะต้องใช้การประเมินผลตามสภาพจริง จึงจะทำให้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนเทพสถิตวิทยา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
73 ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อาลัย หงส์ทอง (2535 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน ประถมศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียนในปี การศึกษา 2534 เครื่องมือที่ใช้การรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามผลการศึกษาพบว่าความ คิดเห็นนักเรียน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้นและกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ 1.1 โรงเรียนควรเตรียมความพร้อมให้กับครูผู้สอนที่ทำการเรียนการสอนตามโครงการ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดประชุมสัมมนาหรือส่งครูผู้สอนเข้ารับ การอบรมในโอกาสต่างๆ ในด้านการปรับปรุงและแนวปฏิบัติในด้านการเรียนการสอน เพื่อให้บุคลากร มีความพร้อมในการปรับวิสัยทัศน์ ปรับแนวความคิด ความเชื่อและพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน ซึ่งมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมากมาย 1.2 โรงเรียนควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้รับทราบและให้การสนับสนุนในด้านทรัพยากรและ งบประมาณ เพราะการศึกษาตามแนวโน้มปัจจุบัน ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริหารการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในขณะนี้ 1.3 โรงเรียนควรติดตาม ตรวจสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และปรับปรุงแก้ไขทันทีเมื่อมีข้อบกพร่อง เพื่อให้การดำเนินการจัดการ เรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นที่พึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและ ชุมชน 1.4 โรงเรียนควรจัดอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้ หลากหลายและเหมาะสม เพียงพอในการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด 1.5 โรงเรียนควรประเมินโครงการอื่นๆ อีกและควรประเมินเป็นระยะในแต่ละปี การศึกษาเพื่อกระตุ้นในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
74 2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เพื่อศึกษาว่าบทบาทของ ผู้บริหารสถานนศึกษามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหรือไม่ และสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป้นสำคัญให้มีประสิทธิภาพต่อไป 2.2 ควรมีการศึกษาบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน เป็นต้น เพื่อศึกษาบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นและศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะ สามารถนำข้อมูลที่ ได้มาปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อไป
75 บรรณานุกรม
76 บรรณานุกรม กรมวิชาการ. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). 2544 . ________. แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 12 (พุทธศักราช 2560 – 2664). กรุงเทพฯ : โรง พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2560. จรรยา สุวรรณทัต. “ทิศทางในการพัฒนาเด็กตามหลักพัฒนาการ” ในเอกสารการ ประชุมปฏิบัติการ เรื่อง โครงสร้างแนวการจัดประสบการณ์. กรุงเทพ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง การประเมินหลักสูตร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2533. ทิศนา แขมณี. 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. ธวัช แก้วมณีชัย. การประเมินโครงการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครพนม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542. นิคม ชมพูหลง. การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการประถมศึกษาเกี่ยวกับศูนย์ วิชาการกลุ่มสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. ปริญญา นิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2534. นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์และคณะ. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, 2545. นิศา ชูโต. การประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : ธรรมสารการพิมพ์, 2527. บรรดล สุขปิติ. การประเมินผลและการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2524. ประชุม รอดประเสริฐ. การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์, 2537. _________. “การบริหารโครงการ : ศาสตร์ความรู้ของผู้บริหาร,” วัดผลการศึกษา. 9(25) : 39 – 43 ; พฤษภาคม – สิงหาคม 2530. ประดินันท์ อุปรมัย. การศึกษาเชิงประเมินระบบหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาในวิทยาลัย ครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. การวิจัยและประเมินผล : หลักการและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร, 2529.
77 พจน์ สะเพียรชัย. “การประเมินผลการศึกษา” ใน รายงานการประชุมวิจัยการศึกษา ประจำปี2519. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2519. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิค การสอน. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์, 2544. ไมตรี ศรีษะภูมิ และคณะ. แนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. อุบลราชธานี : หจก.อุบลยงสวัสดิ์ ออพเซท, 2539. เยาวดี วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ ม.ป.ท., 2536. รุ่ง แก้วแดง. ปฎิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มติชน, 2541. วรภัทร์ ภู่เจริญ. การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น), 2544. เวคิน นพนิตย์. การประเมินผลงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ร่มเกล้า, 2531. ศึกษานิเทศก์, หน่วย, กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10. คู่มือการบริหารและการ จัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. อุบลราชธานี : ม.ป.ท., 2541. ศุทธิดา ทองชอุ่ม. บทบาทในการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตร(บริหารการศึกษา) : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๘. สมนึก จันทรักษ์. การประเมินผลการเรียนการสอนตามโครงการขยายโอกาสทาง การศึกษาตอนต้น เขตการศึกษา 3 : ศึกษาเฉพาะกรณีวิชาการงานและอาชีพ. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย, 2534. สมพร แสงชัย. การประเมินทางการศึกษา. นครราชสีมา : วิทยาลัยครูนครราชสีมา, 2532. สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต. “การบริหารโครงการพัฒนาของอำเภอ,” เทศาภิบาล. 80(4) : 124 – 127 ; เมษายน 2526. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. รวมบทความทางการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. สมาน กอแก้วทองดี. “แนวทางหารประเมินโครงการ,” พัฒนาชุมชน. 22(8) : 29 – 36 ; 6 สิงหาคม 2536.
78 สมาน แก้วคำไสย์. บทบาทผู้บริหารต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, 2545. สมาน อัศวภูมิ และคณะ. แนวคิดและแนวปฏิบัติของโรงเรียนในการจัดการเรียนการ สอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. (ฉบับปรับปรุง) อุบลราชธานี : หน่วย ศึกษานิเทศก์ กรม สามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 , 2539. สุขุม ไทยวิรัฐ. การประเมินศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน ท้องที่จังหวัดหนองคาย. หนองคาย : สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย, 2531. อารีวรรณ สุยะราช. การประเมินโครงการนิเทศและติดตามผลการเรียนการสอนของ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2529. อาลัย หงส์ทอง. การประเมินโครงการสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 2536. อินทร์ ศรีคุณ. การประเมินผลการศึกษา. นครราชสีมา : วิทยาลัยครูนครราชสีมา, 2522. Booth, Katherine Toth. Role Expectations Held by Professional School Personnel for the Role of the School Library Media Specielist, “Dissertation Abstracts International.” 37 : 2467-A ; November, 1997. Chase, C. J. Measurement for Educational Evaluation. 2 nd ed. Massachusetts : Addison-wesley Publishing Company, 1978. Cristy, Marian V. Faicloth. An Apprisal of the Graduate Program Learning to the Master’s Degree at Saint Francis College, Fort Wayne Indiana, “Dissertation Abstracts International.” 37 : 6257-A ; April, 1977. Good, C.V. Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill Book company, 1973. Knox, A lan B. “Continuous Program Evaluation,” in Reading in Curriculum Evaluation. Iowa : wa. C. Brown Company Publidhers, 1972. Mitzel, Harol E. Encyclopedia of Education Research V. 2. 5 th ed. New York : The Free Press, 1982.
79 Morsund, Jonet P. Evaluation : An Introduction of Research Design. California : Books & Cole, 1973. Schuman, Edward A. Evaluation Research : Principle and Pracetice im Puplic Service and Social Action Programs. New York : Ruge Sage Foundation,1978. Shertzer, B & Linden, J.D. Fundamentals of Individual Appraisal. Boston : Houghton Mifflin Comprny, 1979. Stufflebeem, Daniel L. and Anthony J. Shinkfield. Systematic Evaluation. Boston : Kluwep - Nilhoff Publishing, 1985. Thyer S. “The Health School’s Strategy : Implications and Allied Health Professionals.” Collegian. 3(2) : 13-23 ; Apirl, 1996.
ภาคผนวก
81 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
82 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 1. นายวานิส เพียนอก ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัด โรงเรียนหนองบัวระเหววิทยาคาร วุฒิการศึกษา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 2. ดร. อมร ชัยวิเชียร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัด โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร วุฒิการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 3. นายประวิทย์ พลอยดำ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัด โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม วุฒิการศึกษา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 4. ว่าที่ร้อยตรีชุมพร วงษ์พัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัด โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ วุฒิการศึกษา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา 5. ดร. จิรัฐิติกาล สุทธานุช ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัด โรงเรียนบางอำพันธ์วิทยาคม วุฒิการศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ภาคผนวก ข หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญ
84
85
86
87
88