The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-09-19 00:55:19

งานวิจัย65

งานวิจัย65

รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่า ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม อโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1


คำชี้แจง รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมที่ผู้รายงานได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนสอนนักเรียนจนประสบ ผลสำเร็จ จึงได้เป็นผลงานสำหรับเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจไว้สำหรับศึกษาค้นคว้า ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ วิชาวิทยาศาตร์2 ที่จัดทำขึ้นนี้มีจำนวน 4 เล่ม มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากเป็นการเพิ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้ว ยังช่วยให้เกิดการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน และมีความสุขในการเรียน สนใจเรียนมากขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ จะช่วยเป็น แนวทางให้คุณครูและผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนานักเรียน และพัฒนาสื่อการเรียนของ ท่านให้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับต่อไป อโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ก


กิตติกรรมประกาศ รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ ช่วยเหลืออย่างดียิ่ง จาก ท่านผู้อำนวยการ นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ให้การ สนับสนุนในการจัดทำผลงานวิชาการ ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ ตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่อง และ ให้กำลังใจ ตลอดจนรายงานเสร็จสมบูรณ์ ผู้รายงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมาไว้ ณ ที่นี้ ผู้รายงานขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ในการตรวจสอบเครื่องมือ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้แก่ 1) นางสาววรันต์ภรณ์ คังคะประดิษฐ์ ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเคมี โรงเรียนพระปฐม วิทยาลัย จ. จังหวัดนครปฐม 2) นางปิยะอนงค์ นิศาวัฒนานันท์ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์-เคมีโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 จ. นนทบุรี3) นางสาวนิพา สาริพันธ์ ครูวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-เคมี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ที่ได้ให้คำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อนครูในโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ทุกคนที่เป็นกำลังใจ ให้ความช่วยเหลือในการค้นคว้าข้อมูลและข้อแนะนำจนทำให้การศึกษาครั้ง นี้สำเร็จลงได้ด้วยดี ประโยชน์ที่พึงได้จากรายงานฉบับนี้ ผู้รายงานขอมอบคุณความดีนี้ แด่ บูรพาจารย์ ผู้มี พระคุณทุกท่าน คุณบิดามารดา ตลอดจนผู้มีส่วนช่วยเหลือในการศึกษาครั้งนี้ จนสำเร็จลุล่วงด้วยดีทุก ท่าน อโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ข


บทคัดย่อ อโนชา อุทุมสกุลรัตน์. (2565). รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพฯ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2,4 และ 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 98 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สถิติในการหาค่าประสิทธิภาพจากเกณฑ์ 80/80 (E1/E2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test Dependent Sample or Correlated sample และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน สรุปผลการศึกษา 1. ผลการทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) พบว่าประสิทธิภาพชุดกิจกรรมตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่า 86.35/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เห็น คุณคาในตนเองอยู่ในระดับสูง ค


สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก กิตติกรรมประกาศ ข บทคัดย่อ ค สารบัญ ง สารบัญตาราง จ สารบัญภาพ ฉ บทที่ 1 บทนำ 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 สมมติฐาน 2 ข้อตกลงเบื้องต้น 3 ขอบเขตการศึกษา 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 กรอบแนวคิดในการวิจัย 4 ประโยชน์ที่ได้รับ 4 บทที่ 2 เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 เอกสารเกี่ยวกับชุดกิจกรรม 6 ความหมายของชุดกิจกรรม 6 แนวคิดหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ประโยชน์ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 9 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 10 ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเอง 10 ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง 10 พัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเอง 12 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง 12 เอกสารเกี่ยวกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ 14 วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 14 ขั้นตอนในการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ 17 ง


สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า เอกสารเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ 18 ความหมายและประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 18 การวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม 20 เอกสารเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 21 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 21 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 22 เป้าหมายการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ 24 แนวปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ 28 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 26 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 35 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ 35 แบบแผนการทดลอง 35 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 36 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 36 การเก็บรวบรวมข้อมูล 38 การวิเคราะห์ข้อมูล 40 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 44 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 44 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 44 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 50 สรุป 51 อภิปรายผล 51 ข้อเสนอแนะ 52 บรรณานุกรม 53


สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ภาคผนวก 59 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 60 ภาคผนวก ข ตัวอย่างแบบประเมินของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 62 ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) 67 และค่าความเชื่อมั่น (rtt) ภาคผนวก ง คะแนนผลสัมฤทธิ์ 71 ภาคผนวก จ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 74


สารบัญตาราง ตาราง หน้า 1 แบบแผนการทดลอง 35 2 แสดงผลการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด 44 แบบโยนิโสมนสิการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ 45 ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุดกิจกรรม โดยใช้สถิติ t-test Dependent Sample 4 ค่าร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมที่ได้รับ 45 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการ จำแนกตามความคิดเห็น ที่สะท้อนอัตมโนทัศน์ที่มีต่อตนเอง (Self Concept) 5 บันทึกการลงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตาม 64 แนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ 6 บันทึกการลงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ประเมินแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 65 ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 7 ผลการวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่า 68 ความเชื่อมั่น (rtt) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 8 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโส 69 มนสิการ วิชาวิทยาศาสตร์2 9 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 72 ปีที่ 1 ก่อนเรียน และหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ วิชาวิทยาศาสตร์2 จ


สารบัญภาพ ภาพประกอบ หน้า 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย 4 2 แสดงขั้นตอนการวัดผลประเมินผล 23 ฉ


บทที่ 1 บทนำ ภูมิหลัง สืบเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โควิด-19 ที่แพร่ ระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2562 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาประเทศในด้าน ต่าง ๆ รวมทั้งด้านการจัดการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาจำเป็นต้องปิดเรียนเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการ แพร่ระบาดของโรค มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นรูปแบบทางไกลหรือออนไลน์และมีการ ปรับรูปแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทางไกลหรือออนไลน์ผลกระทบของ สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นต่อระบบการศึกษามีทั้งผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบ ผลกระทบที่เกิดขึ้นของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในชวงสถานการณการแพรระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 พบวา การเรียนการสอนออนไลน์สงผลต่อพัฒนาการด้านการศึกษาของ นักเรียน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบทางลบในระยะสั้นเทานั้น เชน การสร้างความกังวล ความเครียด ความแปลกแยกโดดเดี่ยว ภาวะซึมเศรา มีความคิดและความพยายามฆาตัวตาย หรือแม้แต่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ลดลง แต่ยังส่งผลกระทบระยะยาวต่อการพัฒนาการต่างๆ ของนักเรียน ในชวงตอไปของชีวิตอีกด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้เรียนเกิดปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss เช่น 1) เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านความรู้ และการเชื่อมโยงองค์ ความรู้ 2) เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ด้านเจตคติต่อการเรียนและวิชาที่เรียน 3) เกิดภาวะ ถดถอยทางการเรียนรู้ด้านทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการปฏิบัติ 4) การเปลี่ยนแปลงของ คุณลักษณะของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และ 5) สภาวะทางอารมณ์ สัมพันธภาพ และสุขภาพจิต ของผู้เรียน จากสถานการณ์ข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าการแก้ปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss เป็นเรื่องเร่งด่วนและได้เสนอให้ใช้กระบวนการหล่อหลอมทางสังคมใน ครอบครัว (family socialization) การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (active learning) การสร้างความ เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ของนักเรียนและผู้ปกครอง (active citizenship) รวมถึงการร่วมกันสร้างสรรค์ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ (co–creation of teaching and learning) เพื่อลดภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การเรียนการสอน แบบไฮบริด เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนที่หลอมรวมเอาข้อดีในการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนรู้ในห้องเรียน (Face-to-Face) เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว โดยเน้น การผสมผสานวิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน และ นักศึกษผู้เรียนกับผู้เรียน ผ่านเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และได้ใช้กระบวนการคิด (Thinking System) รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัย เชื่อว่าการเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งที่ฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ทั้งนี้มี งานวิจัยที่สะท้อนว่า แนวทางในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยการสร้างบรรยากาศใน


2 ห้องเรียนหรือความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดแก่ผู้เรียนไว้คือจะต้องให้ความคาดหวังในตัวผู้เรียนใน ระดับสูงและช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รับสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกแก่ผู้เรียนทุก คน พยายามให้คำอธิบายที่เกี่ยวกับเหตุผลหรือวัตถุประสงค์ในการตั้งเกณฑ์มอบหมายงานและกระทำ กิจกรรมทางการเรียน ผู้สอนจะต้องเรียนรู้ลักษณะพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน และให้ความเอาใจใส่ใน ลักษณะพิเศษนั้นๆ เห็นคุณค่าในความพยายามของผู้เรียนเท่าเทียมกับสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียนทุกคน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการยอมรับความผิดพลาดและการประสบความสำเร็จ โดยการให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ ด้วยตนเองจากประสบการณ์ในความผิดพลาดและประสบความสำเร็จของผู้เรียนเอง ให้การยอมรับ คุณค่าที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน มองผู้เรียนว่าเป็นมนุษย์ที่มีค่า แม้ว่าจะมีพฤติกรรมอย่างที่ครูไม่เห็น ด้วย ต้องแสดงความยินดีและชื่นชมในความสามารถและประสบความสำเร็จของผู้เรียน ส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีการประเมินพฤติกรรมของตนเองตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และบอกระดับความสำเร็จของ ตนเองได้สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัย เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกิดขึ้นเป็น ต้น (แรฟฟีนี อ้างถึงใน กิ่งเพชร ส่งเสริม, 2544 : 12-13) ดังนั้น ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การนํานวัตกรรมมาใชในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อไม่ให้ผู้เรียนพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้เรียนในรูปแบบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการซึ่งเป็นสื่อนวัตกรรม ที่ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงการร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม การสอนและการเรียนรู้ อันจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สูงขึ้น โดยมุ่งหวังจะพัฒนาระบบการเรียนการสอนใหมีประสิทธิภาพ เกิด ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนและมีความเหมาะสมกับผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ใหมีประสิทธิภาพตอไป วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3. เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมมติฐาน 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนและก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม มีการเห็นคุณค่าใน ตนเองของนักเรียนอยู่ใน ระดับสูง


3 ข้อตกลงเบื้องต้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นฉบับเดียวกัน ขอบเขตของการศึกษา 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2,4 และ 6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 98 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคมปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน 2. เนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้นำมาจากแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และ เอกสารต่างๆ ซึ่งได้คัดเลือกให้มีความเหมาะสมสำหรับการฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยมี ความยากง่ายเนื้อหา ที่สอดคล้องกับระดับความสามารถของนักเรียน โดยการวิเคราะห์จาก ผู้เชี่ยวชาญ 3. ตัวแปร 3.1 ตัวแปรต้น คือ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้จัดทำสร้างขึ้นจำนวน 4 เล่ม 3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ หมายถึง เครื่องมือที่ผู้ศึกษา สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ให้นักเรียนศึกษาและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ กำหนดไว้ในชุดกิจกรรม เช่น การกำหนดจุดประสงค์ของกิจกรรม การทดลอง การตั้งสมมติฐาน การตอบคำถาม การหาคำตอบของปัญหา การแสดงความคิดเห็น การปฏิบัติการทดลอง การ บันทึกผลการทดลอง การสรุปผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความรู้และการถ่ายทอดความรู้ และยัง รวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม โดยขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใช้ รูปแบบและแนวคิดของ สุมน อมรวิวัฒน์ ซึ่งมี 3 ขั้นตอนดังนี้


4 ขั้นที่1 ขั้นพัฒนาปัญญา หมายถึง การนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ โดยการ สังเกต ศึกษาหรือปฏิบัติตามสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง ซึ่งอาจเป็นข้อความ รูปภาพ กิจกรรมการทดลองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันที่กระตุ้นท้าทายให้นักเรียนฝึก ทักษะการคิดและการปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์ ขั้นที่2 ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด หมายถึง การฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ โดยใช้ทักษะที่เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ เช่นทักษะทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียน ฝึกสรุปประเด็นสำคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่าทางใดเหมาะสมที่สุด ขั้นที่ 3 ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง หมายถึง การให้นักเรียนได้ประเมินความรู้ความ เข้าใจและความสามารถของตนเอง ทั้งด้านทักษะกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้ สร้างสรรค์ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยชุดกิจกรรม จำนวน 4 เล่มดังต่อไปนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร เล่มที่ 2 เรื่อง การถ่ายโอนความร้อน เล่มที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศรอบตัว เล่มที่ 4 เรื่อง มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตาม แนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 4. การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่เกิดจากการประเมินตนเองว่า เป็นคนมีค่า มีความสำคัญ มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นตลอดจนสามารถควบคุมและ พัฒนาตนเอง สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรตน ตัวแปรตาม ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ได้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์E1 / E2 กำหนดเกณฑ์ผ่านที่ระดับ 80/80 จำนวน 4 เล่ม ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด แบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - การเห็นคุณค่าในตนเอง


5 2. ได้แนวทางสำหรับการพัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเองนักเรียนเพื่อการลด พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนได้


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการเห็นคุณค่าในตนเองนักเรียนโดยใช้ชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางและได้ นำเสนอตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้ 1. เอกสารเกี่ยวกับชุดกิจกรรม 1.1 ความหมายของชุดกิจกรรม 1.2 แนวคิดหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.3 ประโยชน์ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. เอกสารเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.1 ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.2 ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.3 พัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.4 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง 3. เอกสารเกี่ยวกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ 3.1 วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 3.2 ขั้นตอนในการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ 4. แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ 4.1 ความหมายและประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 4.2 การวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม 5. เอกสารเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.2 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.3 เป้าหมายการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ 5.4 แนวปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.1 งานวิจัยเกี่ยวกับชุดกิจกรรม 6.2 งานวิจัยเกี่ยวกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ 6.3 งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 1. เอกสารเกี่ยวกับชุดกิจกรรม 1.1 ความหมายของชุดกิจกรรม ชุดกิจกรรม ( Activity Packages ) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่แทนชื่อเดิมที่ เรียกว่า ชุดการสอน หรือ ชุดการเรียน ( Instructional Packages หรือ Learning Packages ) เพราะเป็นสื่อที่ครู


7 นำมาใช้ประกอบการสอน และเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเอง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงขอใช้คำว่า “ ชุดกิจกรรม” แทนชื่อต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของชุดกิจกิจกรรมไว้ ดังนี้ แคปเฟอร์ และแคปเฟอร์ (Kapfer and Kapfer. 1972 : 3 – 10 ) ได้ให้ความหมายของชุด การเรียนหรือชุดกิจกรรมเป็นรูปแบบการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนซึ่งประกอบด้วยคำแนะนำที่ให้ นักเรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนจนบรรลุพฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้และเนื้อหาที่นำมาสร้างเป็นชุด การเรียนนั้นได้มาจากขอบข่ายของความรู้ที่หลักสูตรต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาจะต้องตรงและ ชัดเจนที่จะสื่อความหมายให้ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมตามเป้าหมายของการเรียน กู๊ด ( Good. 1973 : 306 ) ได้อธิบายถึงชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรมคือ โปรแกรมทางการสอน ทุกอย่างที่จัดไว้โดยเฉพาะ มีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน คู่มือครู เนื้อหา แบบทดสอบ ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนไว้อย่างชัดเจน ชุดกิจกรรมนี้ครู เป็นผู้จัดให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ศึกษาและฝึกฝนตนเอง โดยครูเป็นผู้แนะนำเท่านั้น นารีรัตน์ ฟักสมบูรณ์ ( 2541 : 26 ) ให้ความหมายของชุดการเรียนการสอนหรือชุดกิจกรรมว่า คือ สื่อการเรียนหลายอย่างประกอบกันจัดเข้าเป็นชุด ( Package ) เรียกว่าสื่อประสม ( Multi – Media ) เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะใช้สำหรับให้ผู้เรียน เรียนเป็นรายบุคคล แล้วยังใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบอื่นหรือใช้สำหรับการเรียนเป็นกลุ่มย่อย เนื้อทอง นายี่ ( 2544 : 12 ) ได้ให้ความหมายของชุดกิจกรรมว่า ชุดของการเรียนหรือการฝึก ที่ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด และองค์ประกอบอื่นที่ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยที่ ผู้สร้างได้รวบรวมและจัดอย่างเป็นระเบียบไว้ในกลุ่มและชุดกิจกรรมนี้จะสร้างขึ้น เพื่อสนองวัตถุประสงค์ หนึ่งวัตถุประสงค์ใด โดยมีชื่อเรียกตามการใช้งานนั้น ๆ เช่น ถ้าสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาโดยมี วัตถุประสงค์จะให้ครูใช้ประกอบการสอน โดยเปลี่ยนบทบาทของครูให้พูดน้อยลง นักเรียนร่วมกิจกรรม มากขึ้น เรียกว่า “ชุดกิจกรรมสำหรับครู” ( Instructional Package ) แต่ถ้าให้ผู้เรียนเรียนจากชุด กิจกรรมนี้ โดยที่ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ระหว่างประกอบกิจกรรมในลักษณะนี้ เรียกว่า “ ชุดกิจกรรม” ( Learning Package ) เพชรรัตดา เทพพิทักษ์ ( 2545 : 30 ) กล่าวว่า ชุดกิจกรรม คือ ชุดการเรียน หรือ ชุดการ สอนนั่นเอง ซึ่งหมายถึง สื่อการสอนที่ครูเป็นผู้สร้างประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิดและ องค์ประกอบอื่นเพื่อให้นักเรียนศึกษาและประกอบปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือและมีการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ในการประกอบการเรียน เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความสำเร็จ จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า ชุดกิจกรรม หมายถึง สื่อการเรียนการสอน ประเภทสิ่งพิมพ์และกิจกรรม ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ครูเป็นผู้จัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับ ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง โดยมีครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น 1.2 แนวคิดหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและทำกิจกรรม ตามขั้นตอนนั้น มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงแนวคิด หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมไว้ดังนี้


8 อุดมลักษณ์ นกพึ่งพุ่ม (2545 : 11) สรุปได้ดังนี้ 1. กฎของธอร์นได้เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัด ซึ่งกล่าวว่า สิ่งใดก็ตามที่มีการฝึกหัดหรือกระทำ บ่อย ๆ ย่อมทำให้ผู้ได้รับการฝึกมีความคล่อง สามารถทำได้ ทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ในทางตรงกัน ข้ามสิ่งใดที่ไม่ได้รับการฝึกหัดหรือทอดทิ้งไปนาน ย่อมจะทำให้การเรียนรู้นั้นไม่คงทนถาวรหรือไม่เกิดการ เรียนรู้เลย 2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรคำนึงว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ ความถนัด ความสามารถ และความสนใจแตกต่างกัน ดังนั้นในการสร้างชุดกิจกรรมจึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสม คือ ไม่ง่าย และไม่ยากเกินไป และควรมีหลายๆ แบบ 3. การจูงใจผู้เรียน โดยการจัดชุดกิจกรรมจากง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการฝึกและช่วยยั่วยุให้คิดตามต่อไป 4. ใช้ชุดกิจกรรมสั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย บุญเกื้อ ควรหาเวช (2545 : 31) ได้กล่าวถึงการนำชุดกิจกรรมมาใช้นั้นต้องอาศัยแนวคิดหลักการ ต่างๆ 5 ประการ 1. แนวคิดตามหลักจิตวิทยา เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยจัดให้ผู้เรียนมีอิสระในการ เรียนตามความสามารถและอัตราในการเรียนของแต่ละคน 2. แนวคิดที่จะเปลี่ยนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง มาเป็นแบบให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้สื่อประสมที่ตรงตามเนื้อหา โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ 3. แนวคิดที่จะจัดระบบการผลิต การใช้สื่อการสอนในรูปแบบของสื่อประสม โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปลี่ยนจากการใช้สื่อช่วยครูมาเป็นใช้สื่อเพื่อช่วยผู้เรียนในการเรียนรู้ 4. แนวคิดที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ สภาพแวดล้อม โดยนำสื่อการสอนมาร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน 5. แนวคิดที่ยึดหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้ มาจัดสภาพการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรม ด้วยตนเองมีผลทันทีว่าตอบถูกหรือ ตอบผิดมีการเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจและความต้องการที่จะเรียนต่อไปได้เรียนรู้ทีละน้อย ๆ ตามลำดับขั้นตามความสามารถและความสนใจของแต่ละคน สุภัสสรา สนธิ์เจริญ (2550 : 25) ได้สรุปแนวคิดหลักจิตวิทยาของการจัดทำชุดกิจกรรมว่า ชุดกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนนั้น ต้องยึดหลักและดำเนินการตามหลักจิตวิทยา ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ตามความสามารถจากง่ายไปซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับประกอบกับผู้เรียนสามารถรู้ถึงผลกากระทำ ของตนเอง เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม เร้าความสนใจด้วยสื่อหลากหลายชุดกิจกรรม จึงน่าจะนำมาใช้ เพื่อช่วยให้การเรียน การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องใช้แนวคิด หลักจิตวิทยาของชุดกิจกรรมเกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัด ความแตกต่างระหว่างบุคคล การจูงใจผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมจากง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน การใช้ชุดกิจกรรมสั้น ๆ เพื่อไม่ให้ เกิดความเบื่อหน่าย ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนตามความสามารถและอัตราในการเรียนของแต่ละคนศึกษา ได้ด้วยตนเอง โดยนำสื่อการสอนมาร่วมกับกระบวนการกลุ่มซึ่งมีครูเป็นผู้แนะนำ ชุดกิจกรรมจึงน่าจะ นำมาใช้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


9 1.3 ประโยชน์ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น ได้มีผู้ศึกษาและสรุป ประโยชน์ของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ สุมาลี โชติชุ่ม (2544 : 29 - 30) ได้สรุปประโยชน์ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ 1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้ใช้ความสามารถตามความต้องการของตน ช่วยให้ทุกคนประสบ ความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ตามอัตราการเรียนรู้ของผู้นั้น 2. ฝึกการตัดสินใจแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และทำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและ สังคม 3. ช่วยให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาและประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีลักษณะเป็นนามธรรม สูง ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการบรรยายได้ดี 4. ทำให้การเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์และบุคลิกภาพของครูผู้สอน 5. ช่วยสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้กับผู้สอน 6. เร้าความสนใจของผู้เรียนไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน 7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน สุคนธ์ สินธพานนท์ (2551 : 89 - 90) ได้เขียนถึงประโยชน์ของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ แต่เด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน การให้ผู้เรียนได้จัดทำชุดฝึกเหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคลใช้เวลาแตกต่างกันไป ตามการเรียนรู้ของแต่ละคนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดกำลังใจใน การเรียนรู้ นอกจากนั้นยังเป็นการซ่อมเสริมให้ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2. ชุดฝึกช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่คงทน ชุดฝึกสามารถให้ผู้เรียนได้ฝึกทันที หลังจากจบ บทเรียนนั้นๆ การเรียนนั้นๆ หรือให้มีการฝึกซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อความแม่นยำ ในเรื่องที่ต้องการฝึก หรือเน้นย้ำให้ผู้เรียนทำชุดการฝึกเพิ่มเติมในเรื่องที่ทำผิด 3. ชุดฝึกสามารถเป็นเครื่องมือในการวัดผลหลังจากที่ผู้เรียนเรียนจบบทเรียนในแต่ละครั้ง ผู้เรียน สามารถตรวจสอบความรู้ของตนเองได้ เมื่อไม่เข้าใจและทำผิดในเรื่องใดๆ ผู้เรียนก็สามารถซ่อมเสริม ตัวเองได้ จัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าทั้งของครูผู้สอนและผู้เรียน ผู้เรียนไม่มีปมด้อยที่ตนทำผิด และ สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง 4. เป็นสื่อที่ช่วยเสริมบทเรียนหรือหนังสือเรียนหรือคำสอนของครูผู้สอน ชุดการฝึกที่ครูผู้สอน จัดทำขึ้น เพื่อฝึกทักษะการเรียนนอกเหนือจากความรู้ในหนังสือหรือบทเรียน เช่น ชุดฝึกทักษะการคิด ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นผู้ที่รู้จักคิดเป็นนำไปสู่การแก้ปัญหา ต่างๆ ในการดำเนินชีวิตต่อไป 5. ชุดฝึกรายบุคคลที่ผู้เรียนสามารถนำไปฝึกเมื่อไรก็ได้ไม่จำกัดเวลาสถานที่ นอกจากนี้ยังช่วยให้ ผู้เรียนทำแบบฝึกได้ตามความต้องการของตน โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นหรือเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง


10 6. ลดภาระการสอนของครูผู้สอน ไม่ต้องฝึกทบทวนความรู้ให้แก่ผู้เรียนตลอดเวลา ไม่ต้องตรวจ งานด้วยตนเองทุกครั้ง นอกจากกรณีที่ชุดการฝึกนั้นเป็นการฝึกทักษะการคิดที่ไม่มีเฉลยตายตัวหรือมีแนว เฉลยที่หลากหลาย 7. เป็นการฝึกความรับผิดชอบของผู้เรียน การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการทำชุดฝึกตามลำพังโดย มีภาระให้ทำตามที่ได้รับมอบหมาย จัดได้ว่าเป็นการสร้างเสริมการทำงานให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิต 8. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ การที่ผู้เรียนได้ทำชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ ที่มีรูปแบบ หลากหลายทำให้ผู้เรียนสนุกเพลิดเพลิน เป็นการท้าทายให้ลงมือปฏิบัติตามชุดการฝึก ดังนั้นหลักการของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีความสะดวกในการใช้ทั้งการสอนเพิ่มเติม และสอน ซ่อมเสริมให้กับผู้เรียน ตลอดจนเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 2.1 ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเอง คำว่า “การเห็นคุณค่าในตนเอง” (Self Esteem) นักวิชาการบางท่านใช้คำว่าความนับถือ ตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง หรือความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้ แบรี่ (Bary, 1984 : 62) ได้ให้ความหมายการเห็นคุณค่าในตนเองว่า หมายถึงความรู้สึกของ บุคคลที่มีต่อตนเอง เป็นการให้คุณค่าแก่ตน ประเมินตนว่ามีความสำคัญและมีคุณค่า คอสินี (Corsini, 1999 : 877) ได้ให้ความหมายการเห็นคุณค่าในตนเองว่า หมายถึงเจตคติ เกี่ยวกับการยอมรับตนเอง ความพอใจในตนเองและความนับถือตนเอง ปุริมาพร แสงพยับ (2553 : 33) ให้ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเองว่า หมายถึง การ ประเมินตนเองตามความรู้สึกของตน ว่าตนเป็นคนมีคุณค่า มีความสามารถ มีความสำคัญ สามารถประสบ ผลสำเร็จในการทำงาน มีความเชื่อมั่นในตนเอง นับถือตนเอง ยอมรับตนเองและบุคคลอื่น การเห็นคุณค่า จากคนในสังคมที่มีต่อตน ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา ศักยภาพของตนเอง ดังนั้นผู้รายงานจึงสรุปความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นความรู้สึกของบุคคลที่เกิด จากการประเมินตนเองว่าเป็นคนมีค่า มีความสำคัญ มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นตลอดจน สามารถควบคุมและพัฒนาตนเอง สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมได้ 2.2 ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญต่อทุกช่วงชีวิตของมนุษย์ บุคคคลที่เห็นคุณค่าในตัวเอง ต่ำหรือมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง ก็เปรียบเสมือนเป็นคนพิการทางบุคลิกภาพ เช่นเดียวกับการพิการทาง ร่างกาย ซึ่งทำให้ประสบความล้มเหลวในชีวิตทุกๆ ด้าน การเห็นคุณค่าในตนเองจึงมีความสำคัญต่อทุกคน ทุกช่วงชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมี คุณค่าและสามารถบ่งชี้คุณภาพชีวิตของบุคคลได้ว่าเป็นอย่างไร การเห็นคุณค่าในตนเองยังเป็นปัจจัย สำคัญในการปรับตัวทางอารมณ์ทางสังคมและทางการเรียนรู้ เป็นจุดเริ่มต้นของการรับรู้ชีวิตที่มีผลต่อ ความคิด ความปรารถนา ค่านิยม อารมณ์และการตั้งเป้าหมายในชีวิตของแต่ละบุคคลอันมีผลต่อการ แสดงพฤติกรรม จนกระทั้งกลายเป็นลักษณะของบุคลิกภาพและการประสบความสำเร็จหรือความ


11 ล้มเหลวทั้งในชีวิต ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะพัฒนาบุคคลไปสู่การเป็นบุคคลที่ สมบูรณ์ได้ในที่สุด (พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548) สอดคล้องกับปรีชา ธรรมา (2547) ได้กล่าวถึง ลักษณะต่างๆ ของการเห็นคุณค่าในตนเองทั้งระดับสูงและระดับต่ำ บ่งบอกให้ทราบถึงบุคลิกภาพที่ต่างกัน อย่างชัดเจน อันเป็นผลจากพัฒนาการของแต่ละคน บุคคลใดที่มีลักษณะของการเห็นคุณค่าในตนเอง ระดับสูงนับว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับการพัฒนาตนให้ก้าวไปสู่ขั้นถัดไป คือการบรรลุถึง ศักยภาพสูงสุดแห่งตน (Self-actualization) อันเป็นพัฒนาการที่เกิดจากการตอบสนองความต้องการขั้น สูงสุดตามแนวทัศนะของมาสโลว์ ส่วนผู้ที่มีลักษณะของการเห็นคุณค่าในตนเองระดับต่ำแสดงว่าเป็นผู้ที่มี พื้นฐานไม่มั่นคงที่เอื้อต่อการพัฒนาตนแล้วยังเป็นผู้ที่มีอุปสรรคขัดขวางทำให้การพัฒนาตนเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ป.มหาขันธ์ (2536) ได้สรุปการ เห็นคุณค่าในตนเองที่มีผลกระทบต่อด้านต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การเห็นคุณค่าในตนเองกับการเรียนการเห็นคุณค่าในตนเองจัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่สุดที่มีต่อความสำเร็จในการเรียนนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาสูง มีความเฉลียวฉลาดแต่ถ้าหากไม่มีการ เห็นคุณค่าในตนเองแล้วนักเรียนจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนเลย เนื่องจากเมื่อนักเรียนเห็นคุณค่า ในตนเองต่ำจะไม่พึงพอใจในสภาพที่โรงเรียน สภาพการเรียนและผลการเรียนของตน นักเรียนจะไม่มีแรง กระตุ้น ไม่มีความสนใจในการเรียน หากแต่จะให้ความคิดและการกระทำส่วนใหญ่ในการแก้ปัญหา เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความกลัว และความวิตกกังวล ส่วนนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาปานกลาง แต่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเรียน 2. การเห็นคุณค่าในตนเองกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนักเรียนที่มีการเห็นคุณค่าใน ตนเองสูงจะเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี แต่นักเรียนที่ขาดการเห็นคุณค่าในตนเองมักจะแสดงความก้าวร้าว หรือไม่ก็หลบหลีกการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น กล่าวคือ บางครั้งก็ต้องการข่มขู่ผู้อื่นทั้งนี้เพื่อทดแทน การขาดความนับถือตนเอง ลักษณะเช่นนี้ทำให้นักเรียนไม่พอใจที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใดโดยเชื่อ อย่างฝังใจว่าผู้อื่นจะคิดต่อตนเหมือนกับที่ตนคิดต่อตนเอง เช่น นักเรียนที่คิดว่าตนเองไร้ค่า ไร้ ความสามารถก็จะมองว่าผู้อื่นคิดต่อตนเช่นนี้ด้วยความคิดของนักเรียนที่ขาดความเคารพตนเอง จะเป็น เสมือนรั้วที่กั้นไม่ให้คนอื่นเข้าถึงตัวได้ง่าย 3. การเห็นคุณค่าในตนเองกับความสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ามี ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล (เช่น กังวลว่าผู้อื่นจะติว่างานของเราไม่ดี ผู้อื่นไม่ยอมรับผลงานของตน) ดังนั้นถ้านักเรียนยังต้องพึ่งพาผู้อื่น ยังต้องแสวงหาคํายกย่องชมเชย แสวงหาการยอมรับจากผู้อื่น นักเรียน ยิ่งจะต้องทำตามความต้องการของผู้อื่นมากขึ้น การที่นักเรียนยังขึ้นอยู่กับผู้อื่นนี้ทำให้ไม่สามารถกระทำ สิ่งใดอย่างสร้างสรรค์ได้ 4. การเห็นคุณค่าในตนเองกับความสำเร็จในชีวิตการเห็นคุณค่าในตนเองมิได้เป็นเพียง ความคิดหรือความรู้สึกที่บุคคลเก็บเอาไว้ในใจเท่านั้น แต่มีอิทธิพลต่อวิธีที่บุคคลคิดทำและพูดในทุกๆ แง่ รวมทั้งกิริยาท่าทางที่แสดงออกมาความสัมพันธ์ที่ มีต่อผู้อื่นและความสำเร็จในชีวิต เพราะการเห็นคุณค่า ในตนเองเกี่ยวข้องกันเป็นวงจร การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นองค์ประกอบสำคัญของพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ เช่น การกล้า แสดงออก การเป็นคนว่องไว ส่วนบุคคลที่ประสบความล้มเหลว ทางด้านการศึกษาและด้านสังคมมีความ ผิดปกติทางจิต อันธพาลและอาชญากรมักจะเป็นบุคคลที่ขาดการเห็นคุณค่าในตนเอง (สุใจ ตั้งทรงสวัสดิ์,


12 2532) การเห็นคุณค่าในตนเองยังมีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของบุคคลมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และเป็นพลังทางด้านจิตใจที่ช่วยให้บุคคลสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ศศิกานต์ธ นะโสธร, 2529) สอดคล้องกับ (สุใจ ตั้งทรงสวัสดิ์, 2532) บุคคลที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองจะเป็นบุคคล ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความเข้มแข็งมีความสามารถ มีศักยภาพ มีประโยชน์ และมีความสำคัญต่อสังคม ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลนั้นไม่มีการเห็นคุณค่าในตนเอง เขาก็มักจะมี ความวิตกกังวล มีปมด้อย อ่อนแอช่วยตนเองไม่ได้ รับรู้ตนเองในทางที่ไม่ดีท้อแท้ใจ คิดว่าตนเองไม่มี ประโยชน์สิ้นหวัง ประเมินคุณค่าในตนเองต่ำกว่าผู้อื่นซึ่งจะส่งผลต่อการปรับตัวของบุคคลนั้นๆ ด้วย นอกจากนี้บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ มีแนวโน้มที่จะโทษผู้อื่น มีสภาพจิตใจไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถ ยอมรับการวิจารณ์จากผู้อื่นและปฏิเสธการวิจารณ์นั้นทั้งนี้เพราะการวิจารณ์ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองด้อยลง และไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น ทำให้เขาขาดความมั่นใจในตนเองและไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต สรุปได้ว่าบุคคลที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่า ตนมีคุณค่า มีความ เข้มแข็ง มีความสามารถ มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อสังคม ในทางตรงข้าม บุคคลที่ไม่มีการเห็น คุณค่าในตนเองจะรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย ช่วยตนเองไม่ได้รับรู้ตนเองในทางที่ไม่ดีคิดว่าตนไม่มีประโยชน์ สิ้นหวังประเมินตนเองต่ำกว่าผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลต่อการปรับตัวของบุคคลนั้นๆด้วย 2.3 พัฒนาการของการเห็นคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นกระบวนการของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และจะ เปลี่ยนแปลงไปตามวัย ระดับวุฒิภาวะ สิ่งแวดล้อม และประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่ง กระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบๆตัว โดยมีจุดเริ่มต้น มาจากครอบครัว ก่อนที่จะขยายออกสู่สังคมภายนอก การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา การดูแล เอาใจใส่ การให้การยอมรับบุตรมาตั้งแต่เยาว์วัย สัมพันธภาพของบิดามารดาและบุคคลอื่นๆที่มีความสำคัญต่อเด็ก ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองทั้งสิ้น ซึ่งประสบการณ์จากการมีสัมพันธภาพกับ บุคคลสำคัญของเด็ก จะส่งผลให้เด็กพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองไปตลอดชีวิต โดยเด็กจะประเมิน ตนเองจากภาพสะท้อนที่คนอื่นผู้ซึ่งมีความสำคัญต่อตัวเขากระทำต่อเขาและเปรียบเทียบตนเองกับคน อื่นๆ ฉะนั้นหากบุคคลรับรู้ตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับในด้านที่ดีจะส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง แต่ถ้าหากบุคคลรับรู้ตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับในด้านที่ไม่ดีจะเป็นการบั่นทอนคุณค่าแห่งตนของ บุคคลให้ลดต่ำลง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า พัฒนาการการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลเกิดจากการประเมินเชิงสะท้อน ของผู้อื่นผ่านทางภาษาพูดและภาษาท่าทาง หรืออาจเกิดจากการเปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นเหตุให้บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกเห็นคุณค่าของตนเองในระดับที่แตกต่างกัน 2.4 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง คูเปอร์สมิธ (Coopersmith, 1981 : 127 - 129) พบว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพล ต่อการเห็นคุณค่าในตนเองมี 2 ประเภท คือ องค์ประกอบภายในตนและองค์ประกอบภายนอกตน ซึ่ง สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้ 2.4.1 องค์ประกอบภายในตน หมายถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีผลทำให้การเห็น คุณค่าในตนเองของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย


13 1) ลักษณะทางกายภาพ - มีความสัมพันธ์ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง อันได้แก่ความ งามด้วยรูปกาย ความแข็งแรงของร่างกาย ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวของบุคคลที่มีลักษณะทาง กายภาพที่ดีจะมีความพึงพอใจและเห็นคุณค่าในตนเองมากกว่าบุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพที่ด้อย 2) ความสามารถทั่วไป สมรรถภาพ และผลงาน ซึ่งลักษณะทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์ ระหว่างกัน และช่วยส่งเสริมให้บุคคลเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง โดยเป็นตัวชี้บอกถึงความถี่ของ การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในสิ่งที่กระทำ ซึ่งจะมีเรื่องสติปัญญาเข้ามาเป็นตัวสนับสนุนด้วย 3) ภาวะทางอารมณ์ เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกพอใจ ความรู้สึกเป็นสุข ความรู้สึกวิตกกังวลที่อยู่ในตัวบุคคล ทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ซึ่งเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และส่งผลต่อการประเมินตนเองของบุคคล 4) ค่านิยมส่วนตัว บุคคลจะประเมินตนเองกับสิ่งที่ตนให้คุณค่าที่สอดคล้องกับอุดมคติ ของตน และยังมีแนวโน้มที่จะใช้เกณฑ์ค่านิยมของสังคมเป็นตัวตัดสินคุณค่าของตน ถ้ามีความสอดคล้อง กันการเห็นคุณค่าในตนเองก็จะสูงขึ้น 5) ระดับความมุ่งหวัง การตัดสินคุณค่าของตนเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบ ผลการปฏิบัติและความสามารถของตนเองกับระดับเกณฑ์ความสำเร็จที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะประสบการณ์การ ได้รับความสำเร็จจะนำไปสู่ความมุ่งหวังต่อความสำเร็จในครั้งต่อๆไป การสามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์หรือ ดีกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้จะนำไปสู่การมองตนเองว่ามีคุณค่า 6) เพศ สังคมและวัฒนธรรมโดยส่วนใหญ่มักจะให้ค่านิยมที่ดีต่อเพศชายโดย เพศชาย มักจะได้รับมอบหมายตำแหน่งที่มีอำนาจในสังคม ในขณะที่เพศหญิงได้รับตำแหน่งและ บทบาททางสังคม ที่ด้อยกว่า และเพศหญิงที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงจะประสบความสำเร็จในการเรียนมากกว่าเพศชาย ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง 2.4.2 องค์ประกอบภายนอกตน หมายถึง สภาพแวดล้อมที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ส่งผลให้ บุคคลเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย 1) ความสัมพันธ์กับครอบครัว บิดามารดา ภูมิหลังหรือประสบการณ์ทางครอบครัวของ บุคคลมีส่วนในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคล ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งที่ มีอานุภาพมาก ซึ่งความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญในชีวิต พ่อแม่ยอมรับในตัวเด็ก ให้ความ รักความอบอุ่น ให้กำลังใจ ให้สิทธิเสรีภาพในการกระทำแก่เด็กโดยมีการกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน เน้น รางวัลมากกว่าการลงโทษ 2) โรงเรียนและการศึกษา ประสบการณ์ที่โรงเรียนมีส่วนสนับสนุนต่อจากบ้านโรงเรียน มีหน้าที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในทักษะ ความสามารถ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ตลอดจนช่วยนักเรียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับจากครูและเพื่อน 3) สถานภาพทางสังคม ได้แก่ตำแหน่งการงาน บทบาททางสังคม วงศ์ตระกูล สถานภาพทางเศรษฐกิจ สถานที่อยู่อาศัย ทำให้บุคคลได้รับการปฏิบัติต่อกันแตกต่างกันออกไป เกิดการ เปรียบเทียบตนเองกับบุคคลอื่น ทำให้เกิดผลต่อการมองเห็นคุณค่าในตนเอง 4) สังคมและเพื่อน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนทำให้บุคคลเกิดการประเมินและ เปรียบเทียบตนกับผู้อื่นในเรื่องทักษะ ความสามารถ ความถนัด ทำให้เกิดการยอมรับหรือไม่ยอมรับ ซึ่งจะ ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง


14 จากที่กล่าวมาในข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่า ในตนเอง นั้น มีทั้งองค์ประกอบภายในตนและองค์ประกอบภายนอกตน การส่งเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง จะต้องได้รับการร่วมมือ ทั้งในส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เพื่อน สถานศึกษา และตัวเด็กเอง โดยเฉพาะในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา การให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่และการให้การ ยอมรับบุตร มีความสำคัญและส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กเป็นอย่างยิ่ง 3. เอกสารเกี่ยวกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ 3.1 วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ การคิดเป็นกระบวนการทางปัญญา ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน การรู้จักคิด หรือ การคิดเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีคิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน ( ประยุทธ์ ปยุตฺโต . 2549 : 23 ) วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือการนำเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในทางปฏิบัติวิธีคิดแบบโยนิโส มนสิการว่าโดยหลักการก็มี 2 แบบ ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต . 2549 :38 – 39) กล่าวว่า โยนิโสมนสิการแม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี แต่โดยหลักการมี 2 แบบ คือ โยนิโสมนสิการที่มุ่ง กำจัดอวิชชาโดยตรง ซึ่งเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ตามเป็นจริง และโยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัดหรือบรรเทาตัณหา มักเป็นข้อปฏิบัติขั้นต้น ๆ ซึ่งมุ่ง พัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป วิธีโยนิโสมนสิการ มีทั้งหมด 10 แบบ ดังนี้ 1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผลให้รู้จักสภาวะ ที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไข ด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ส่งผล สืบทอดกันมาซึ่งเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน มีแนวปฏิบัติ 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ เช่น “เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีเพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อไม่มีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงไม่มีเพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” วิธีที่ 2 คิดแบบสอบสวนหรือตั้งคำถาม เช่น “เมื่ออะไรหนอมีอยู่ อุปาทานจึงมี” 2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบหรือกระจายเนื้อหา เป็นการคิดที่มุ่งให้มองและรู้จัก สิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันตามความเป็นจริงเป็นการแยกแยะสิ่งทั้งหลายออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ และจัดประเภทหรือจัดหมวดหมู่ขององค์ประกอบย่อย ๆ นั้นอย่างชัดเจนวิธีคิดแบบนี้สามารถเรียกว่า วิธี คิดแบบวิเคราะห์ 3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทันความ เป็นไปของสิ่งทั้งหลายซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมัน ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุ ปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้นจะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยวิธีคิดแบบสามัญลักษณ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 คือ รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดย สอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติเป็นท่าทีแห่งปัญญา


15 ขั้นที่2 คือ แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดย สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน แล้วแก้ไขทำการ จัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น 4. วิธีคิดแบบอริยสัจจ์ หรือคิดแบบแก้ปัญหา จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่งเพราะ สามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมดวิธีคิดแบบอริยสัจจ์มีลักษณะทั่วไป 2 ประการ คือ ประการที่ 1 เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจาก ผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น 2 คู่ คือ คู่ที่ 1 ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหาเป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการ สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหาเป็นจุดที่ต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นจากปัญหาได้ คู่ที่ 2 นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหาเป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไข สาเหตุเพื่อบรรลุจุดหมายคือภาวะสิ้นปัญหา อันได้แก่ความดับทุกข์ ประการที่ 2 เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่องตรงไปตรงมามุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำ ต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิตใช้แก้ปัญหาไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อ สาระสำคัญของหลักอริยสัจจ์ คือ การเริ่มต้นจากปัญหาหรือความทุกข์ที่ประสบ โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาหรือความทุกข์นั้นให้ชัดเจนแล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ไข ขั้นที่ 1 ทุกข์ คือ สภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ขั้นที่ 2 สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ได้แก่ เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกัน มาจนปรากฏเป็นสภาพ ๆ บีบคั้น ขั้นที่ 3 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ หมดหรือปราศจาปัญหา เป็นจุดหมายที่เราต้องการโดยเรามีหน้าที่ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือ บรรลุ ขั้นที่ 4 มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์หรือวิธี แก้ปัญหาเพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหาสิ่งที่พึงกระทำคือ กำหนดวางวิธีการ แผนการ และรายการสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งจะช่วยให้แก้ไข สาเหตุของปัญหาได้สำเร็จ โดย สอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ 5. วิธีคิดแบบอรรถสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย คือ พิจารณาให้ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ธรรม กับ อรรถ หรือ หลักการ กับ ความมุ่งหมาย โดยตามความหมาย ของ ธรรม แปลว่า หลัก หรือ หลักการ คือหลักความจริง หลักความดีความงาม รวมทั้งหลักคำ สอนที่จะประพฤติปฏิบัติและการกระทำได้ถูกต้อง คำว่า อรรถ แปลว่า ความหมาย ความมุ่งหมาย จุดหมายประโยชน์ที่ต้องการ หรือสาระที่พึงประสงค์ เป็นความคิดที่มีความสำคัญมาก เมื่อจะลงมือ


16 ปฏิบัติหรือทำการตามหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลตรงตามความมุ่งหมาย ไม่กลายเป็นการ กระทำที่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยหรืองมงาย 6. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก เป็นการมองสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริงอีก แบบหนึ่ง ซึ่งเน้นการยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้น ๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกด้าน ทั้งด้านดีด้านเสีย และเป็นวิธี คิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติ การคิดแบบนี้มีลักษณะที่พึงย้ำ 2 ประการ 6.1 การที่จะชื่อว่ามองเห็นตามเป็นจริงนั้น จะต้องมองเห็นทั้งด้านดี ด้านเสีย หรือทั้งคุณและโทษของสิ่งนั้นๆ ไม่ใช่มองแต่ด้านดีหรือคุณอย่างเดียวและไม่ใช่โทษหรือด้านเสียอย่างเดียว 6.2 เมื่อจะแก้ปัญหา ปฏิบัติ เพียงรู้คุณโทษ ข้อดีข้อเสียของสิ่งที่เป็นปัญหา หรือภาวะที่ไม่ต้องการเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ จะต้องมองเห็นทางออก มองเห็นจุดหมายและรู้ว่า จุดหมายหรือที่จะไปนั้น คืออะไร คืออย่างไร ดีกว่า และพ้นจากข้อบกพร่อง จุดอ่อนโทษส่วนเสีย ของสิ่งหรือภาวะที่เป็นปัญหาอยู่นี้อย่างไร ไม่ต้องขึ้นต่อคุณโทษ ข้อดีข้อเสียแบบเก่าอีกต่อไป 7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนาคือการใช้ สอยหรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา เป็นขั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลสหรือตัดทางไม่ให้ กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อ ๆ ไปวิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจำวันเพราะเกี่ยวข้อง กับการบริโภคใช้สอยปัจจัย 4 และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพราะเรามีความต้องการ และเห็นว่าสิ่งนั้น ๆ จะสนองความต้องการของเราได้ สิ่งใดสามารถสนองความต้องการเราได้ สิ่งนั้นก็มี คุณค่าแก่เรา หรือที่เรานิยมเรียกว่ามันมีประโยชน์ คุณค่านี้จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ตามชนิดของ ความต้องการคือ ประการที่ 1 คุณค่าแท้ หมายถึง ความหมายคุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่ง ทั้งหลาย ในแง่ที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง หรือที่มนุษย์นำมาใช้แก้ปัญหาของตน เพื่อความ ดีงามความดำรงอยู่ด้วยดีของชีวิต หรือเพื่อประโยชน์สุขของทั้งของตนเองและผู้อื่น ประการที่ 2 คุณค่าพอกเสริม หรือ คุณค่าเทียม หมายถึง ความหมายคุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์พอกเพิ่มให้แก่สิ่งนั้น เพื่อเสริมราคาเสริมขยายความมั่นคงยิ่งใหญ่ ของตัวตนที่ยึดถือไว้ คุณค่านี้อาศัยตัณหาเป็นเครื่องตีราคาหรือวัดราคา วิธีคิดแบบนี้ใช้พิจารณาในการเข้าเกี่ยวข้องปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ทั่ว ๆ ไปไม่ว่าจะเป็น การบริโภคใช้สอยการซื้อหาหรือการครอบครอง โดยมุ่งให้เข้าใจและเลือกเสพคุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์ กับชีวิตอย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและผู้อื่น คุณค่าแท้นี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ อย่างแท้จริงแล้วยังเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามของกุศลธรรม เช่น ความมีสติ เป็นต้น ทำให้พ้นจาก ความเป็นทาสของวัตถุ เพราะเป็นการเกี่ยวข้องด้วยปัญญาและมีขอบเขตอันเหมาะสม มีความพอเหมาะ พอดี ต่างจากคุณค่าพอกเสริมด้วยตัณหา ซึ่งไม่ค่อยเกื้อกูลแก่ชีวิตบางทีเป็นอันตรายแก่ชีวิตทำให้เกิด อกุศลธรรม เช่น ความโลภ ความมัวเมา ความริษยา มานะทิฏฐิ ตลอดจนการยกตนข่มผู้อื่น เจริญขึ้นไม่มีขอบเขตและเป็นไปเพื่อการแก่งแย่งเบียดเบียน 8. วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรมหรือวิธีคิดแบบกุศลภาวนาเป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือ บรรเทาและขัดเกลาตัณหา หลักการทั่วไปของวิธีคิดนี้มีอยู่ว่า ประสบการณ์คือสิ่งที่ได้ประสบหรือได้รับรู้ อย่างเดียวกัน บุคคลผู้ประสบหรือรับรู้ต่างกันอาจมองเห็นและคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง สุดแต่โครงสร้างของจิตใจหรือแนวทางความเคยชินต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องปรุงจิต คือ สังขารที่ผู้นั้นได้สั่งสมไว้


17 หรือุดแต่การทำใจในขณะนั้น ๆ วิธีคิดแบบเร้ากุศลนี้ มีความสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดความคิด และการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ในขณะนั้น ๆ 9. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบัน เป็นเพียงการมองอีกด้านหนึ่ง ของการคิดแบบอื่น ๆ ลักษณะความคิดชนิดที่อยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิด ด้วยอำนาจปัญญา ถ้าคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญาแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไป อยู่ในขณะนี้หรือเป็นเรื่องล่วงไปแล้ว หรือเป็นเรื่องของกาลภายหน้าก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนั้น 10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท เป็นวิธีคิดที่เชื่อมโยงกับวิธีพูด เพราะก่อนจะพูดต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช + วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออกเป็น จำแนก หรือ แจกแจง วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน วิภัชชวาท จึงแปลว่า การพูดแยกแยะ พูดจำแนก หรือพุดแจกแจง หรือแสดงคำสอนแบบวิเคราะห์ลักษณะสำคัญ ของความคิดและการพูดแบบนี้ คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน จากที่กล่าวมาผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่า การคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการ ทางความคิด ซึ่งการคิดแบบโยนิโสมนสิการทั้ง 10 ประเภทนั้นเป็นเครื่องมือในการฝึกการใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธีคิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผินทำให้ เกิดปัญญาที่บริสุทธิ์เป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และยังเอื้อประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์อีกด้วย 3.2 ขั้นตอนในการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการประกอบด้วยขั้นตอนในการคิดและความสามารถหลายๆ ประการ ซึ่งต้องได้รับการฝึกฝนเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจึงทำให้คิดเป็นหรือรู้จักคิดได้ที่กล่าวกันว่า ความคิดเป็นตัวชี้นำและควบคุมการปฏิบัตินั้น ที่แท้แล้วกระบวนการคิดต่างหากที่เป็นเครื่องมือควบคุม การกระทำ (Bourne Jr.; Ekstrand; & Dominowski,1971 อ้างถึงใน (วัลนิกา ฉลากบาง, 2548) โดยมี จุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหา จากนั้นกระบวนการคิดก็จะดำเนินการไปจนกระทั่งได้ข้อยุติของปัญหา กระบวนการ คิดจึงหยุด ดังนั้น กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการและ การแก้ปัญหาจึงเป็นกระบวนการที่มี ความสัมพันธ์สอดคล้องกันและส่งเสริมซึ่งกันและกันเพราะกระบวนการคิดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ ความสามารถในการตัดสินใจ (สุมน อมรวิวัฒน์,2531) อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกระบวนการคิดแบบ โยนิโสมนสิการกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์หรือบางทีเรียกว่าวิธีแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ จะพบว่ามี ความแตกต่างกันตรงที่ วิธีแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ไม่แยกการหาสาเหตุเป็นขั้นหนึ่งต่างหาก แต่แฝง ไว้ในขั้นการตั้งสมมติฐาน และแม้ทั้งสองวิธีจะมีเป้าหมายที่การแก้ปัญหา แต่วิธีแก้ปัญหาตาม กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ จะเป็นวิธีที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ก่อปัญหาสืบเนื่องต่อไป ด้วยเหตุดังกล่าว จึงควรนำกระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการไปฝึกเพื่อเพิ่มพูนและเสริมสร้าง ความสามารถในการตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาหรือความสามารถในการรู้จักคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการใช้โยนิโสมนสิการขั้นพื้นฐาน ในทัศนะของพระธรรมปิฎก จัดลำดับให้สัมพันธ์และเชื่องโยงกัน โดยวิธีคิดแบบอริสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหาเป็นวิธีหลัก วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบของวิธีคิดแบบ


18 สืบสาวเหตุปัจจัย วิธีคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม และวิธีคิดแบบคุณโทษ ทางออกเป็นส่วนที่ต่อเนื่อง หรือส่วนขยายพระธรรมปิฎก ดังนี้ (วัลนิภา ฉลากบาง, 2548) 1. การกำหนดปัญหา คือ การทำความเข้าใจในปัญหา ตระหนักถึงการมีอยู่ของปัญหา และนิยามปัญหาได้แม่นยำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา 2. การสืบสาวสาเหตุของปัญหา คือ การพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาและ วิเคราะห์แยกแยะได้ว่าสาเหตุใดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหา 3. การตั้งสมมติฐาน คือ การนำข้อมูลที่วิเคราะห์แยกแยะแล้วมาเชื่อมโยงหา ความสัมพันธ์เพื่อกำหนดจุดหมายและทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดเพื่อใช้ทดสอบต่อไป ความสามารถที่ต้องใช้คือ การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลที่มีอยู่เพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้ 4. การรวบรวมและพิจารณาข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่าง ๆ ให้ครอบคลุมปัญหาหรือข้อโต้แย้งรวมถึงการดึงความรู้ จากประสบการณ์เดิมมาใช้แล้วพิจารณาความ น่าเชื่อถือและความพอเพียงของข้อมูล 5. การตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ ตีความ เปรียบเทียบแยกแยะเพื่อ ประเมินว่าเป็นความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 6. การสรุปผล คือ การตัดสินใจเลือกแนวทางที่สมเหตุสมผลและชอบธรรมที่สุดจาก ข้อมูลและหลักฐานที่มีโดยใช้เหตุผลเป็นสำคัญ แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกจะต้องประเมินความน่าเชื่อถือ จากการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การนำหลักการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการมาเป็น แนวทางในการสอนนั้นสามารถให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการคิด โดยให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธีคิดอย่างมี ระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ มีการตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม 4. แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ 4.1 ความหมายและประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา 4.1.1 ความหมายของนวัตกรรม (Innovation) นวัตกรรม(Innovation) ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติของ คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการ ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation คาว่า Innovation เพื่อต้องการเน้น ความหมายของคำว่าทำใหม่หรือสร้างใหม่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมายสิ่งที่ทำใหม่ว่า “นวกรรม” และต่อมาภายหลังกระทรวงศึกษาได้กาหนดให้ใช้คาว่า “นวัตกรรม” แทน ซึ่งเป็นคำที่ใช้มา จนทุกวันนี้ ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามไว้ว่า เป็นสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือ แปลกไปจากเดิม อาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546) ซึ่งจาก การศึกษาพบว่ามีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับบริบทขององค์กร ดังนั้น ความใหม่จึง จัดว่าเป็นองค์ประกอบหลักของคำว่า นวัตกรรม ในขณะที่สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้สรุปไว้ ว่า นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและ สังคม นวัตกรรมเป็นกระบวนการทางสังคมที่ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม มีการนำความคิดดี ๆ มา ก่อให้เกิดประโยชน์ Hughes (อ้างถึงใน ถวัลย์มาศจรัส & พรพรต เจนสุวรรณ, 2556) กล่าวว่าเป็นการ นำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพิจารณามาเป็นขั้น ๆแล้ว โดยเริ่มมา ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลอง ปฏิบัติก่อน (Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา


19 ซึ่งมีแนวคิดสอดคล้องกับ Martins and Terblanche (2003) ที่กล่าวว่านวัตกรรมเกิดจากการนำ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้เพื่อสร้างบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากแนวคิดของนักวิชาการข้างต้นจึงขอสรุปความหมายของนวัตกรรมได้ว่านวัตกรรม หมายถึง แนวคิด หลักปฏิบัติหรือวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือ บางส่วนหรืออาจจะเคย ใช้ในสังคมอื่น ๆ ได้ผลแล้วจึงนำมาใช้ใหม่ในอีกสังคมหนึ่ง หรือเป็น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยมี เคยปฏิบัติมาแต่เดิมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น 4.1.2 ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา (Education innovation) นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา นักการศึกษาได้ อธิบาย ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาว่าหมายถึง ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิ ปัญญาเดิมหรือ จากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพื่อปรับปรุงการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียน สามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรม เหล่านั้นและประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ซึ่งต้องการใช้เวลาทดลองเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพอันจะ นาไปสู่การยอมรับที่จะนาไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางต่อไป จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง วิธีการทางความคิดของการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ หรือการกระทำที่ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ หรือเป็นการ พัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วนั้น เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งหวังที่จะ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น 4.1.3 ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาอาจแบ่งได้ดังต่อไปนี้กรมวิชาการ (2536 : 4) ได้แบ่งประเภท ของนวัตกรรมทางการศึกษาตามเนื้องาน ออกเป็น 6 ประเภท คือ 1) นวัตกรรมทางด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน 2) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ 3) นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ การสอนด้วยบทเรียน แบบโปรแกรม การสอนซ่อมเสริม การใช้ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง 4) นวัตกรรมทางด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทป เสียง สไลด์ วีดีโอ และวิทยุโทรทัศน์ 5) นวัตกรรมทางด้านการวัดและประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม การวัดผล ก่อน เรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อสอบ 7) นวัตกรรมทางด้านการบริหารงานการศึกษา เช่น การใช้ทฤษฎีจัดระบบในการ บริหาร การใช้คอมพิวเตอร์จัดระบบข้อมูล การใช้ทฤษฎี MBO


20 สนอง อินละคร (2544 : 8) นำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ใช้จัดกิจกรรมการ เรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในยุคปฏิรูปการเรียนรู้ว่า ได้แก่ 1) การเรียนแบบร่วมมือ (Co-operation Learning) 2) การเรียนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) 3) การเรียนโดยใช้แผนที่ความคิด (Mapping Method) 4) การเรียนโดยการทำโครงการหรือโครงงาน (Project Method) 5) การสอนโดยใช้สื่อประสม (Multimedia Learning) 6) การเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้(4 MAT System) 7) การสอนโดยใช้รูปแบบ CIPPA Model 8) การเรียนโดยการบูรณาการ (Integrated Learning) 9) การสอนโดยใช้สตอรี่ไลน์(Storyline Method) 10) การสอนโดยใช้การพัฒนาความคิด 11) การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 12) การสอนโดยใช้บทเรียนส าเร็จรูป 13) การสอนโดยใช้บทเรียนโมดูล กิดานันท์มลิทอง (2540 : 256) กล่าวว่าในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมาย หลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กาลังเผยแพร่ นวัตกรรมการศึกษาที่กา ลังเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในวงการศึกษา สามารถนามาใช้เป็นนวัตกรรมการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพทั้งนวัตกรรมในลักษณะของวัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีได้แก่ 1) สื่อประสม 2) สื่อหลายมิติ 3) ซีดีและดีวีดี 4) ความเป็นจริงเสมือน 5) อินเทอร์เน็ต 6) เว็บเพื่อการศึกษา 4.2 การวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของมนุษย์ที่จะนาไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ สามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่จะอยู่ในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรืออาจเป็นกระบวนการหรือวิธีการก็ได้บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความคิดแบบ อเนกนัย (divergent thinking) คือ คิดหลายทิศทาง หลายแง่มุม คิดได้กว้างไกลซึ่งจะน าไปสู่การคิด ประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่รวมทั้งคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาได้ นิวเวลล์ ชอว์ และซิมป์สัน (Newell, Shaw and Simpson, 1963) ได้กล่าวถึงผลผลิต


21 ของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1. เป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และมีคุณค่าในการใช้ประโยชน์ 2. เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการใช้กระบวนการความคิดในระดับสูง 3. เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาที่คลุมเครือไปสู่ความชัดเจน ความคิดสร้างสรรค์แสดงออกได้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ลักษณะทางกระบวนการ หมายถึง ความรู้สึกไวต่อปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ และนาผล ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสิ่งใหม่ต่อไป 2) ลักษณะของบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีคุณลักษณะความ อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น กล้าคิด มีจินตนาการ และ 3) ลักษณะทางผลิตผล หมายถึง คุณภาพ ของผลงานที่เกิดขึ้น โดยคุณภาพของผลผลิตความคิดสร้างสรรค์นั้นแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตามแนวคิด ของเทเลอร์ (Tayler, 1964) ดังนี้ 1. ขั้นที่ 1 การแสดงออกอย่างอิสระ ในขั้นนี้ไม่จ าเป็นต้องอาศัยความคิดริเริ่ม แต่เป็น การแสดงออกอย่างอิสระ 2. ขั้นที่ 2 เป็นการผลิตผลงานโดยใช้ทักษะบางประการ โดยผลงานนั้นไม่จ าเป็นต้อง เป็นสิ่งใหม่ 3. ขั้นที่ 3 เป็นขั้นการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงความคิดใหม่ของบุคคลโดยไม่ได้ลอกเลียนมา จากใคร 4. ขั้นที่ 4 ขั้นคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์เป็นขั้นที่สามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นโดย ไม่ซ ้าแบบใคร 5. ขั้นที่ 5 เป็นขั้นของการพัฒนาผลงานในขั้นที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. ขั้นที่ 6 เป็นขั้นความคิดสร้างสรรค์สูงสุด สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงได้ 5. เอกสารเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เอกสารเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นคุณลักษณะเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของบุคคลที่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านต่างๆ และประสบการณ์ อันเป็นผลจากการ เรียนการสอนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและแนวทางในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนี้ 5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement) เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ใน การจัดการศึกษานักศึกษาได้ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเป็นดัชนีประการหนึ่งที่สามารถบอกถึงคุณภาพการศึกษาดังที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็น ความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับประสบการณ์จากกระบวนการเรียนการ สอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การสร้างเครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มี ผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ สมพร เชื้อพันธ์ (2547, หน้า 53) สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์


22 หมายถึงความสามารถ ความสำเร็จและสมรรถภาพด้านต่างๆ ของผู้เรียนที่ได้จากการเรียนรู้อันเป็นผลมา จากการเรียนการสอน การฝึกฝนหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถวัดได้จากการทดสอบด้วย วิธีการต่างๆ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548, หน้า 125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหมายถึงขนาดของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน ปราณี กองจินดา (2549,หน้า 42) กล่าว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและ ประสบการณ์เรียนรู้ทาง ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน อนาตาซี(1970: 107 อ้างถึงใน ปริยทิพย์บุญคง, 2546: 7) กล่าวไว้พอสรุปได้ว่าผลสัม ฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านสติปัญญาและองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญา ได้แก่องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจสังคมแรงจูงใจและองค์ประกอบที่ไม่ใช้สติปัญญาด้านอื่น ไอแซงค์อาโนลด์และไมลี(อ้างถึงใน ปริยทิพย์ บุญคง, 2546: 7) ให้ความหมายของคำว่า ผลสัมฤทธิ์หมายถึงขนาดของความสำเร็จที่ได้จากการทำงานที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างมากซึ่งเป็นผล มาจากการกระทำที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถทั้งทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนจึงเป็นขนาดของความสำเร็จที่ได้จากการเรียนโดยอาศัยความสามารถเฉพาะตัวบุคคลผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนอาจได้จากกระบวนการที่ไม่ต้องอาศัยการทดสอบ เช่นการสังเกตหรือการตรวจการบ้านหรือ อาจได้ในรูปของเกรดจากโรงเรียน ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนและระยะเวลานานพอสมควรหรือ อาจได้จากการวัดแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั่วไปซึ่งสอดคล้องกับ ไพศาล หวังพานิช (2536: 89) ที่ ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่า หมายถึงคุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการ เรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหรือ การสอบจึงเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถของบุคคลว่าเรียนแล้วมีความรู้เท่าใดสามารถวัดได้โดย การใช้แบบทดสอบต่างๆ เช่นใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ข้อสอบวัดภาคปฏิบัติสามารถวัดได้ 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. การวัดด้านปฏิบัติเป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติโดยทักษะของ ผู้เรียนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถดังกล่าวในรูปของการกระทำจริงให้ออกเป็นผลงานการ วัดต้องใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ 2. การวัดด้านเนื้อหาเป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหาซึ่งเป็น ประสบการณ์เรียนรวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆ สามารถวัดได้โดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์จาก ความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงผลการวัด การเปลี่ยนแปลงและ ประสบการณ์การเรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาแล้วว่าเกิดการเรียนรู้เท่าใดมีความสามารถชนิดใดโดย สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ในลักษณะต่างๆ และการวัดผลตามสภาพจริงเพื่อบอกถึง คุณภาพการศึกษาความหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสามารถวัดได้โดยการแสดงออกมา ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 5.2 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2546:7) ได้เสนอกระบวนการ วัดผล และประเมินผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ไว้อย่างมีระบบ ที่ประกอบด้วย การกำหนด


23 จุดมุ่งหมาย และวิธีการวัดผลประเมินผล การสร้างเครื่องมือ และการดำเนินการตามที่วางแผนไว้ ขั้นตอนที่เป็นไปได้ในการวัดผลประเมินผล แสดงได้ดังแผนภาพ 1 ความรู้ความคิด กระบวน การเรียนรู้ เจตคติ โอกาสการเรียนรู้ ภาพที่2 แสดงขั้นตอนการวัดผลประเมินผล ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2546:7) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่เริ่มจากการกำหนด จุดมุ่งหมาย ด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจประกอบด้วย ความรู้ความคิด กระบวนการเรียนรู้ เจตคติและโอกาสใน การเรียนรู้ ต่อจากนั้นจึงกำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายทั้งการประเมินจากการทดสอบด้วย ข้อสอบ และการประเมินตามสภาพจริงจากการปฏิบัติงานและผลงานของผู้เรียน ทั้งนี้จะต้องกำหนด เกณฑ์ ที่สามารถนำไปใช้ประเมินได้อย่างเที่ยงตรง การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใน ปัจจุบัน เป็นการประเมินตามสภาพจริงมากกว่า การประเมินจากการทดสอบด้วยข้อสอบ เนื่องจาก การประเมินตามสภาพจริงช่วยสะท้อนถึงสมรรถภาพของผู้เรียนได้ครอบคลุมทุกด้าน ดังนั้นในการวัดประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะต้องวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และเจตคติ กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ กำหนดวิธีการวัดผลประเมินผล ประเมินจากแบบทดสอบ ประเมินตามสภาพจริง ผลที่ได้จากการประเมินนำมาตัดสินระดับคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดเพื่อสรุป ความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้


24 5.3 เป้าหมายการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ การประเมินสมรรถภาพของผู้เรียนมีเป้าหมายและแนวปฏิบัติเดียวกับการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์โดยเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนครอบคลุมทั้งความรู้ความคิด กระบวนการเรียนรู้ด้านการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา การสื่อสารและการนำความรู้ไปใช้ รวมทั้ง คุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยมีรายละเอียดของเป้าหมายแนวปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้ บลูม (Bloom อ้างถึงใน สุรางค์ โค้วตระกูล, 2541 : 272-273) แห่งมหาวิทยาลัย ชิคา โก และผู้ร่วมงานได้จัดกลุ่มของวัตถุประสงค์ของการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน 1. พุทธิพิสัย (cognitive domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับ ความรู้ ความคิดและ การนำความรู้ไปใช้ 2. จิตพิสัย (affective domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับด้านความรู้สึก อารมณ์ และทัศนคติซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม 3. ทักษะพิสัย (psychomotor domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการใช้ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การประสานงานของการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น การเขียน การอ่าน การพูด การวิ่ง เป็นต้น โดยบลูมและคณะได้แบ่งการวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัยออกเป็น 6 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1. ความรู้ (knowledge) บลูม ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1.1 ความรู้ที่เกี่ยวกับความจริงเฉพาะต่าง ๆ โดยมีความรู้เกี่ยวกับคำจำกัด ความของสิ่งต่างๆ เช่น คำจำกัดความของคำว่า นาม กริยา เป็นต้น 1.2 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่จะใช้เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับ การแบ่งประเภทหรือการจัดกลุ่มตัวอย่าง เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตยและการปกครองแบบ อัตตาธิปไตย เป็นต้น 2. ความเข้าใจ (comprehension) หมายถึง การมีความเข้าใจในความรู้ที่เรียน โดย สามารถอธิบายด้วยคำพูดของตนเอง หรืออาจจะสามารถแปลความหมาย (translation) หรือ ตีความหมาย (interpretation) ได้หรืออาจจะบอกผลตามการกระทำได้ 3. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (application) หมายถึง ความสามารถจะนำสิ่งที่เรียนรู้ มาใช้ในประสบการณ์ชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเรียนเกี่ยวกับการหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าใน ห้องเรียน สามารถที่จะหาพื้นที่ของสนามที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้ 4. การวิเคราะห์ (analysis) หมายถึง ความสามารถที่จะแบ่งสิ่งที่เรียน ที่ต้องเรียนรู้ ออกเป็นส่วนย่อยและแสดงความสัมพันธ์ของส่วนย่อยเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น สามารถที่จะหยิบยกข้อความ จริงเหล่านั้นได้หรือสามารถจะวิเคราะห์ว่าประโยคใดเป็นความจริงและประโยคใดเป็นความคิดเห็นเฉย ๆ 5. การสังเคราะห์ (synthesis) หมายถึง ความสามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่เรียนรู้หรือ ประสบการณ์เข้าเป็นส่วนรวมเป็นสิ่งใหม่ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนสามารถจะเขียนเรียงความเรียบเรียง ประสบการณ์ที่ได้จากการไปเยี่ยมสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าหรือประสบการณ์ของตนเองตอนโรงเรียนปิด เทอมหรือการเขียน term paper เกี่ยวกับวิชาที่เรียน


25 6. การประเมินผล หมายถึง ความสามารถที่จะใช้ความรู้ที่เรียนมาในการตัดสินใจ วินิจฉัยคุณค่าของสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือประสบการณ์จากการอ่านหรือการฟังมีความสามารถในการใช้เกณฑ์ การประเมินตัดสินใจเลือก บลูม (Bloom อ้างถึงใน วรรณทิพา รอดแรงค้า, 2544:8) แบ่งการประเมินการศึกษา ด้านพุทธิพิสัยของ ที่ใช้เป็นแนวในการประเมินผลการเรียนการสอน ออกเป็น 3 ด้าน คือ ความรู้ การใช้ ความรู้ และการขยายความรู้ ซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้มีความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของ บลูม (Bloom) ดังนี้ 1. ด้านความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ บลูม (Bloom) ได้แก่ ด้านความรู้ความจำ 2. ด้านการใช้ความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบลูม (Bloom) ได้แก่ด้าน ความเข้าใจและการนำไปใช้ 3. ด้านการขยายความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบลูม (Bloom) ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผล พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2545 : 110-113) ได้กล่าวถึงผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ซึ่งวัดได้จากพฤติกรรม 4 ด้าน ดังนี้ 1. พฤติกรรมด้านความรู้ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงว่า ผู้เรียนมีความจำด้านต่าง ๆ ที่ได้รับจากการค้นคว้า ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากการอ่านหนังสือ และการฟังคำบรรยาย เป็นต้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 9 ประเภท คือ 1.1 ความรู้เกี่ยวกับความจริงเดี่ยว 1.2 ความรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์หรือมโนคติ 1.3 ความรู้เกี่ยวกับหลักการและกฎวิทยาศาสตร์ 1.4 ความรู้เกี่ยวกับข้อตกลง 1.5 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของปรากฏการณ์ต่าง ๆ 1.6 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งต่าง ๆ 1.7 ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ 1.8 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์วิทยาศาสตร์ 1.9 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี 2. พฤติกรรมด้านความเข้าใจ หมายถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนใช้ความคิดที่สูงกว่า ความรู้ - ความจำ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 2.1 ความเข้าใจข้อเท็จจริง วิธีการ กำหนดเกณฑ์หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ คือเป็นการบรรยายในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากที่เคยเรียน 2.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลความหมายของข้อเท็จจริง คำศัพท์ มโนทัศน์ หลักการและทฤษฎีที่อยู่ในรูปของสัญลักษณ์อื่นได้ 3. พฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้เรียน แสวงหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งการดำเนินการต้องอาศัยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์


26 4. พฤติกรรมด้านการนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้เรียนนำความรู้ มโนทัศน์ หลักการ กฎ ทฤษฎีตลอดจนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการ แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้ โดยสามารถแก้ปัญหาได้อย่างน้อย 3 ประเภท คือ 1) แก้ปัญหาที่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ในสาขาเดี่ยวกัน 2) แก้ปัญหาที่เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์สาขาอื่น 3) แก้ปัญหาที่นอกเหนือจากเรื่องของวิทยาศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2546 : 11-15) จึงกำหนด เป้าหมาย การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิธีการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งการ ทดสอบด้วยข้อสอบและการประเมินจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงสมรรถภาพของผู้เรียนนั้น มี เป้าหมายสำคัญที่ต้องการวัดประเมินผล จำแนกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ความรู้ความคิด หมายถึง ความรอบรู้ในหลักการ ทฤษฎี ข้อเท็จจริง เนื้อหา หรือ แนวคิดหลัก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบลูม (Bloom) ถือว่าสิ่งใดก็ตามที่มีปริมาณอยู่จริงสิ่งนั้นสามารถ วัดได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าว ซึ่งผลการวัดจะเป็นประโยชน์ในลักษณะ ทราบและประเมินระดับความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ในเนื้อหาที่ ต้องการวัด (knowledge) คุณลักษณะของพฤติกรรม (traits) และองค์ประกอบ (components) ซึ่ง จำแนกตัวองค์ความรู้ในเนื้อหาที่ต้องการวัดและคุณลักษณะของพฤติกรรมออกตามความเชื่อ เช่น ระดับ ความรู้ ความสามารถ มี 6 ระดับ ดังนี้ 1.1 ความจำ คือสามารถจำเรื่องต่าง ๆ ได้ เช่น คำจำกัดความ สูตรต่าง ๆ วิธีการ เช่น ผู้เรียนสามารถบอกชื่อสารอาหาร 5 ชนิดได้ ผู้เรียนสามารถบอกชื่อธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ของโปรตีนได้ครบถ้วน 1.2 ความเข้าใจคือ สามารถแปลความ ขยายความและสรุปใจความสำคัญได้ 1.3 การนำไปใช้คือ สามารถนำความรู้ ซึ่งเป็นหลักการ ทฤษฎี ฯลฯ ไปใช้ใน สภาพการณ์ที่ต่างออกไปได้ 1.4 การวิเคราะห์คือ สามารถแยกแยะข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ ออกเป็น ส่วนย่อย เช่น วิเคราะห์องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ หลักการดำเนินการ 1.5 การสังเคราะห์ คือ สามารถนำองค์ประกอบ หรือส่วนต่าง ๆ เข้ามารวมกัน เป็นหมวดหมู่อย่างมีความหมาย 1.6 การประเมินค่า คือ สามารถพิจารณาและตัดสินจากข้อมูล คุณค่าของ หลักการโดยใช้มาตรการที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือตัวเองกำหนดขึ้น การประเมินโดยการทดสอบด้วยข้อสอบไม่สามารถวัดประเมินผลความรู้ ความคิดใน ส่วนของการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินการแสดงออกของผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงให้มาก ยิ่งขึ้น 2. กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการ กระบวนการคิด การจัด การเผชิญสถานการณ์ การประยุกต์ความรู้ การลงมือปฏิบัติจริง ที่แสดงออกถึงทักษะเชาวน์ปัญญา และทักษะปฏิบัติ ใช้วิธีการสังเกตจากพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนที่มีพัฒนาการอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้


27 2.1 การรับรู้ โดยใช้ประสาทสัมผัสเพื่อรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ 2.2 เตรียมความพร้อม คือ มีความพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติ มีการวางแผนการ ปฏิบัติ 2.3 การตอบสนอง คือ การลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำหรือตามแผนที่วางไว้ 2.4 การฝึกฝน คือ การฝึกฝนทักษะเพื่อความชำนาญ 2.5 ปฏิบัติจนจำได้ คือ การฝึกฝนจนทำได้เองโดยอัตโนมัติ 2.6 การเชื่อมโยงทักษะ คือ การประยุกต์หรือใช้ทักษะที่ฝึกฝนไว้ให้สัมพันธ์กับ ทักษะอื่น หรือใช้ร่วมกับทักษะอื่น 3. เจตคติ เป็นจิตสำนึกของบุคคลที่ก่อให้เกิดลักษณะนิสัยหรือความรู้สึกทางจิตใจ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนควรได้รับการประเมินเจตคติ 2 ส่วน คือเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจต คติต่อวิทยาศาสตร์ ด้วยการสังเกตคุณลักษณะของผู้เรียนที่ใช้ระยะเวลานานพอสมควรและมีการประเมิน อย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปพฤติกรรมการแสดงออกผู้เรียนด้านเจตคติมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้ 3.1 การรับรู้ ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกสนใจและรับรู้ข้อสนเทศหรือ สิ่งเร้าด้วยความตั้งใจ 3.2 ตอบสนอง ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกตอบสนองต่อข้อสนเทศหรือ สิ่งเร้าอย่างกระตือรือร้น 3.3 เห็นคุณค่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกแสดงความรู้สึกชื่นชอบและมี ความเชื่อเกี่ยวกับคุณค่าของเรื่องที่จะเรียนรู้ 3.4 จัดระบบ ผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออก ในการจัดระบบ จัดลำดับ บูรณาการเจตคติกับคุณค่า เพื่อนำไปใช้หรือปฏิบัติได้ 3.5 สร้างคุณลักษณะ เลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นคุณลักษณะหรือนิสัยของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษาหา ความรู้ หรือการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สึก ของผู้เรียน ที่มีต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ความพอใจ ศรัทธาและซาบซึ้ง เห็นคุณค่า และประโยชน์ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ คุณลักษณะที่บ่งชี้ ทางวิทยาศาสตร์ทั้งด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยคุณลักษณะ ต่อไปนี้ 1. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่คาดหวังจะได้รับ การพัฒนาในตัวผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ คุณลักษณะของเจตคติทาง วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 1.1 ความสนใจใฝ่รู้หรือความอยากรู้อยากเห็น 1.2 ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ 1.3 ความซื่อสัตย์ 1.4 ความประหยัด 1.5 ความใจกว้าง ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1.6 ความมีเหตุมีผล


28 1.7 การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 2. เจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ผู้เรียนมีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย คุณลักษณะของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2.1 พอใจในประสบการณ์เรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 2.2 ศรัทธาและซาบซึ้งในผลงานทางวิทยาศาสตร์ 2.3 เห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.4 ตระหนักในคุณและโทษของการใช้เทคโนโลยี 2.5 เรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน 2.6 เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ 2.7 ตั้งใจเรียนวิทยาศาสตร์ 2.8 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม 2.9 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงผลดี และผลเสีย คุณลักษณะต่าง ๆ ตามที่กล่าวนี้เห็นได้จากพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ซึ่ง สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินผลจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนจากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้สอน ต้องสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ บันทึกพฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียนอย่าง ต่อเนื่อง และนำไปใช้ปรับปรุงเพื่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ผลการประเมินของผู้สอนและผู้เรียนมา พิจารณาถึงความสอดคล้อง ความสมเหตุสมผลก่อนจะนำผลที่ได้ไปใช้ลงข้อสรุปเป็นข้อมูลการพัฒนาด้าน เจตคติ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการตัดสินผลสัมฤทธิ์รายภาค รายปีหรือช่วงชั้น ดังนั้นในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการวัด ความรู้ความคิดของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้เนื้อหา ผู้รายงานได้จำแนกพฤติกรรมด้านความรู้ความคิดในการ วัดผลและประเมินผล ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการสร้าง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5.4 แนวปฏิบัติในการวัดผลประเมินผลการเรียนทางวิทยาศาสตร์ การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใช้แนวการประเมินผลตามสภาพจริงด้วย การประเมินอย่างหลากหลายให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน โดย (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 2546 : 16) กำหนดวัตถุประสงค์สำคัญประกอบด้วย 1. วินิจฉัยผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความคิด กระบวนการเรียนรู้ด้านการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การนำความรู้ไปใช้ การใช้เทคโนโลยี รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนด้านจิต วิทยาศาสตร์และโอกาสของผู้เรียน เพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ 2. ตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ ของสาระ การเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ชี้บ่งคุณภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 3. รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อมี ข้อสนเทศที่สมบูรณ์ทันต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน


29 วิทยาศาสตร์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ได้ มาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเท่าทันกับนานาชาติ การประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นการ ประเมินสมรรถภาพของผู้เรียน ที่จะต้องมีเครื่องมือการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งวิธีการประเมิน กิจกรรม เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ผู้สอนต้องให้ความสำคัญและ กำหนดสาระสำคัญของการประเมินไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนการ จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวัยที่เกี่ยวข้อดังต่อไปนี้ 6.1 งานวิจัยเกี่ยวกับชุดกิจกรรม งานวิจัยต่างประเทศ วิวาส (Vivas. 1985 : 603) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ การออกแบบพัฒนา และการประเมินค่า ของการรับรู้ทางความคิดของนักเรียนเกรด 1 ในประเทศเวเนซูเอล่า โดยใช้ชุดการสอนจาการศึกษา เกี่ยวกับความเข้าใจในการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ความคิด ด้านความพร้อมในการเรียน ด้านความคิด สร้างสรรค์ ด้านเชาวน์ปัญญา และด้านการปรับตัวทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเกรด 1 จากโรงเรียนเรนีสกัวเนียร์ เขตรัฐมิลันด้า ประเทศเวเนซูเอล่า จำนวน 214 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3 ห้องเรียน จำนวน 114 คน ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอน กลุ่มควบคุม 3 ห้องเรียน จำนวน 100 คน ได้รับการสอนปกติ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนมีความสามารถเพิ่มขึ้น ในด้นความคิด ความพร้อมในการเรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้นเชาวน์ปัญญาและด้านการปรับตัว ทางสังคม หลังจากได้รับการสอนด้วยชุดการสอนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ วิลเลียม (William. 1999 : 40-62) ได้ศึกษาการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเรื่องจำนวนกับการคิด ในใจ ด้วยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดในใจ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนเกรด 8 จำนวน 13 คน โดยแบ่งกลุ่มทดลอง 183 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 230 คนและครูเข้าร่วมในการศึกษาจำนวน 6 คน กลุ่มทดลองใช้ชุดการสอน 83 บทเรียน เรื่อง จำนวน กลุ่มควบคุมใช้การสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์การคิดในใจ โดยวัดก่อนเรียนและหลังเรียนทั้งสองกลุ่ม และแบบสัมภาษณ์กระบวนการคิดของนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 9 คน โดยสัมภาษณ์ทั้งก่อนและหลังการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า ชุดการสอนที่ใช้มีผล ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ด้านการคิดในใจแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มทดลอง พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพียง เล็กน้อยในกระบวนการคิดในใจของนักเรียนก่อนและหลังการอนโดยใช้ชุดการสอน สัทเทอร์เฟียลฟ์(Satterfielf. 2001 : Online)ได้ทำการศึกษาการใช้ชุดการสอนเรขาคณิตโดยใช้ โปรแกรม Sketchpad Version 3 เป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อให้เห็นถึงโครงสร้าง ของวิชาเรขาคณิตและเป็นสื่อที่จะอธิบายการเรียนในห้องเรียน ผลการทดลองพบว่า ชุดการสอนช่วยให้ นักเรียนเกิดการพัฒนาการคิดในรูปแบบทางเรขาคณิตและเป็นสิ่งที่สร้างความถูกต้องแม่นยำในการคิด ของนักเรียนด้วย


30 งานวิจัยในประเทศ กรรณิการ์ ไผทฉันท์ ( 2541 : 103 ) ได้ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมตามวิธีการวิจัย ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม ในชุดกิจกรรมชุมนุม วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณาการของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมตามวิธีวิจัยกับการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมตามวิธีวิจัยกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 ชลสีต์ จันทาสี ( 2543 : บทคัดย่อ ) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์กับการสอนตามคู่มือครูผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับ การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์กับการสอนตามคู่มือครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สุมาลี โชติชุ่ม ( 2544 : บทคัดย่อ ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเชาวน์ อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมเชาวน์ อารมณ์กับการสอนตามคู่มือครูผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ที่ส่งเริมเชาวน์อารมณ์กับการสอนตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนที่ส่งเสริม เชาวน์อารมณ์ กับการสอนตามคู่มือครูมีเชาวน์อารมณ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ กับเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุด การเรียนที่ส่งเสริมเชาวน์อารมณ์กับการสอนตามคู่มือครูมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พรศรี ดาวรุ่ง (2548 : บทคัดย่อ)ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยชุดกิจกรรมแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดอย่างมี วิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษางานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ พอสรุปได้ว่าการสอนโดยใช้ชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่พบได้ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ อีกทั้งชุดกิจกรรมยังถือเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นวิธีในการปลูกฝังความ รับผิดชอบในตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง และยังช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครู มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำผู้วิจัยสนใจที่จะสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องวิทยาศาสตร์ เพื่อการสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาต่อไป


31 6.2 งานวิจัยเกี่ยวกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ งานวิจัยในประเทศ เมื่อรู้จักนำวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการไปใช้ในการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีความคิดและมีทัศนะ ที่ลึกซึ้งกว้างไกล ในการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ จากแนวคิดดังกล่าวได้มีผู้ทำการวิจัย โดยนำหลักการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการมาทดลองสอนหลายท่าน เช่น พจนารถ บัวเขียว (2535 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการวิเคราะห์ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยการสอนแบบแก้ปัญหาที่ใช้วิธีคิด แบบโยนิโสมนสิการ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยธรรมกับบุคคลของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความสามารถในการวิเคราะห์ ของตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการวิเคราะห์ตนเองของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อารมณ์ กัณฑศรีวิกรม ( 2536 : บทคัดย่อ ) ศึกษาผลการสอนโดยการสร้างศรัทธาและโยนิโส มนสิการโดยใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออกที่ดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนโดยสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการโดยใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก มีคะแนนความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมสูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความสามารถในการตัดสินใจเรื่อง สิ่งแวดล้อมสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 สำรอง บุตรโท ( 2543 : บทคัดย่อ ) ศึกษาผลการสอนหลักธรรม เรื่องทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ด้วยวิธีสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ ในด้าน (1) ความรู้ใน หลักธรรม (2) พฤติกรรมการปฏิบัติตาม หลักธรรม (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการปฏิบัติตามหลักธรรม และ (4) ความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อการเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพับ และโรงเรียน บ้านก่อ จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 20 คน ได้มาโดยเลือกใช้กลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนด้วยวิธีสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ แบบทดสอบความรู้หลักธรรม แบบประเมิน พฤติกรรมการปฏิบัติตามหลักธรรมเรื่องทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ และแบบ ประเมินความพึงพอใจของ นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ และ การทดสอบค่าทีผลการวิจัยที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ (1) นักเรียนมีความรู้และ พฤติกรรมการ ปฏิบัติตามหลักธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความรู้กับ พฤติกรรมการปฏิบัติ ตามหลักธรรม มีความสัมพันธ์กัน โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .77 และ มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยวิธีสร้างศรัทธาและโยนิโส มนสิการอยู่ในระดับมากที่สุด สิริมา กลิ่นกุหลาบ ( 2546 ) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการตัดสินใจ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนคุณธรรมที่ส่งเสริมการเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยชุดการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับชุดการสอนแบบกระบวนการกระจ่างค่านิยม ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบโยนิโสมนสิการกับชุดการสอนแบบกระบวนการกระจ่างค่านิยม


32 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบโยนิโสมนสิการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีความสามารถในการตัดสินใจ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษางานวิจัยภายในประเทศ พอสรุปได้ว่า การสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นวิธีการ สอนที่สอดคล้องกับเจตนารมของหลักสูตรปัจจุบัน ที่เน้นการแก้ปัญหาเป็น เน้นการคิดการปฏิบัติจริงเป็น หลักใหญ่ สามารถส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีขั้นตอน 6.3 งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง งานวิจัยต่างประเทศ ลินน์ (Lynn, 1991) ได้ศึกษาโปรแกรมในการเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองการฝึกทักษะ สังคม เพื่อลดความวิตกกังวลในเด็กทุพพลภาพในเด็กชาย โรงเรียนมัธยมจำนวน 13 คนแ ล ะ มี ก า ร ให้ ความรู้และทักษะแก่ผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กพัฒนาความรู้สึกและเห็นคุณค่าในตนเองใช้เวลาฝึก 8 เดือน ผลการวิจัยพบว่า เด็กทุพพลภาพมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้น มีความวิตกกังวลลดลง และ เพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญ สมิธ (Smith, 2005 : 1402-B) ได้ศึกษาผลการใช้กลุ่มประคับประคองในโรงเรียนต่อการเห็น คุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนสังคมของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตำบลในเขต ภาคตะวันตกเฉียงใต้จำนวน 37 คน โดยได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มประคับประคอง ระยะเวลา 10 สัปดาห์ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มประคับประคองสามารถสามารถพัฒนาคุณค่าในตนเองและการสนับสนุน ทางสังคมในระดับปานกลางและมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกัน และไม่มีรายงานผลว่ามีการเปลี่ยนแปลง การเห็นคุณค่าในตนเองหรือการสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยในประเทศ สมพร จำรัสเฟื่องฟู (2549 : บทคัดย่อ) ศึกษาการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าใน ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอรุโณทัย จังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่าง 5 คน ผลการศึกษา พบว่าหลังท ากิจกรรมกลุ่ม นักเรียนมี30 จำนวน 5 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ความรู้สึกเห็นคุณค่าใน ตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 นภัสนันท์ สินสุ (2549 : บทคัดย่อ) ศึกษาการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของผู้สูงอายุ ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง จำนวน 15 คน โดยใช้ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองและกิจกรรมกลุ่ม 10 กิจกรรม ผลการวิจัยพบว่าหลังการทำกิจกรรมกลุ่ม ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ลักษณา สกุลทอง (2550 : บทคัดย่อ) ศึกษาการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้โปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดกลางจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินกิจกรรมและโปรแกรมฝึกการคิด แบบโยนิโสมนสิการ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกการคิดแบบโยนิโสมนสิการเพื่อ


33 พัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า การพัฒนาคุณค่าในตนเองสามารถ กระทำได้หลายวิธี ซึ่งการจัดกิจกรรมกลุ่มและ กิจกรรมการประมวลพฤติกรรม จัดเป็นวิธีการหนึ่งที่ สามารถนำหลักการของพลังกลุ่มมาใช้เพื่อให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ภายในกลุ่มที่มีการเปิดเผยตนเอง มีการให้การยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถเข้าใจในความคิดและ ความรู้สึกของผู้อื่นอย่างแท้จริง สมาชิกได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลย้อนกลับตลอดจนสามารถ นำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างบุคคลรวมทั้งวิธีการปรับตัวให้เข้า กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยมีความเชื่อว่ากิจกรรมกลุ่ม สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าใน ตนเอง ความเข้าใจตนเองการลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้เรียนได้ และจะช่วยให้การเห็นคุณค่าใน ตนเองเพิ่มขึ้น มีความมั่นคงทางจิตใจ อันเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตที่เข้มแข็งในสังคมต่อไป 6.4 งานวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ดังนี้ นิลมณี พิทักษ์และคณะ (มปป.) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด โดยใช้ โครงงาน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนจ านวน 10 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการเรียนรู้ที่เน้น ทักษะการคิดโดยโครงงาน 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่แบบบันทึกการประเมิน คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูแบบประเมิน พฤติกรรมด้านทักษะการคิดของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการ เรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด โดยใช้โครงงาน ต้องด าเนินการให้ความรู้เชิงหลักการแนวคิดเกี่ยวกับทักษะการ คิด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญโดยใช้โครงงาน การผลิตสื่ออุปกรณ์ประกอบการ สอน จากนั้นจึงพัฒนาความรู้จากที่อบรมมาจัดเตรียมเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดโดย โครงงาน เมื่อกลุ่มเป้าหมายสามารถเขียนแผนการัดการเรียนรู้แล้วจัดกิจกรรมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างบุคคลโดยมีผู้วิจัยให้ค าปรึกษาแก้ไขพร้อมที่จะน าไปปฏิบัติการในชั้นเรียน น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (2560) พัฒนานวัตกรรมการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชา 468310 เทคนิคการนำเสนอและการจัดนิทรรศการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรม การสอนแบบผสมผสานและพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชา 468310 เทคนิค การน าเสนอและการจัดนิทรรศการ หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) ด้านความรู้และทักษะทางปัญญาและด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและ ความรับผิดชอบ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) นวัตกรรมการสอนแบบ ผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินโครงการ


34 นิทรรศการ และ 4) แบบประเมินการท างานร่วมกันผลการวิจัยดังนี้ 1. นวัตกรรมฯประกอบด้วย 1) องค์ประกอบ 7 องค์ประกอบได้แก่ 1.1) ผู้สอน1.2) ผู้เรียน 1.3) คู่มือการเรียน 1.4) ประมวลรายวิชา 1.5) ระบบบริหารการเรียนการสอนออนไลน์1.6) แบบ ประเมินความรู้และทักษะทางปัญญา 1.7) แบบ ประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 2) ขั้นตอนของนวัตกรรมการเรียนการ สอน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 2.1) ขั้นเตรียมการ 2.2) ขั้นการ เรียนการสอน และ 2.3) ขั้น ประเมินผล 2. ผลการพัฒนาผลการเรียนรู้1) ด้านความรู้และทักษะทางปัญญา พบว่าค่าเฉลี่ยของความรู้ และ ทักษะทางปัญญาอยู่ที่ ร้อยละ 84.66 แสดงว่านักศึกษามีความรู้และทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับดี มาก 2) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 อยู่ในระดับดี


บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการเห็น คุณค่าในตนเองของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โดยผู้ศึกษาดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ประชากร 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2,4 และ 6 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 98 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคมปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน แบบแผนการทดลอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ซึ่งดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลอง One Group Pretest – Posttest Design (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543:59 - 60) ซึ่งมีแบบแผน ทดลองดังนี้ ตารางที่1 แบบแผนการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง สอบก่อนเรียน การทดลอง สอบหลังเรียน E1 T1 X1 T2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง E แทน กลุ่มทดลองที่ได้จากการสุ่ม T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง X 1 แทน ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ


36 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ จำนวน 4 เล่ม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือในการศึกษา ตามลำดับดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ 1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการ จัดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม 1.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งใน การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ของสุมน อมรวิวัฒน์ ซึ่งมี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การหาความรู้ ขั้นที่ 2 สร้างความรู้ ขั้นที่ 3 ซึมซับความรู้ 1.3 ศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จากคู่มือครูและหนังสือเรียน วิชาวิทยาศาสตร์เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.4 นำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ทางการสอนวิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบเกี่ยวกับความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ภาษาที่ใช้ แล้วนำมาปรับปรุงแกไขด้านภาษา และรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาซึ่งเป็นความรู้เพิ่มเติม 1) นางสาวนิพา สาริพันธ์ ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์-เคมี วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น 2) นางปิยะอนงค์นิศาวัฒนานันท์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกีฬานคร นนท์วิทยา 6 อ.เมืองนนทบุรีจ.นนทบุรี 3) นางสาววรันต์ภรณ์ คังคะประดิษฐ์ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สาขาวิชาเคมี โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ. นครปฐม 1.5 นำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการที่ปรับปรุงแก้ไข แล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาประสิทธิภาพของชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยดำเนินการ ดังนี้ 1.5.1 ทดลองเป็นรายบุคคล เพื่อดูความเหมาะสมของกิจกรรม เวลาที่ใช้ และปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเวลาในแต่ละชุดให้มากขึ้น และปรับการใช้ ภาษาให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน 1.5.2 ทดลองกลุ่มเล็ก 5 คน เพื่อหาข้อบกพร่องของชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขด้านกิจกรรม ในแต่ละสถานการณ์


37 1.5.3 ทดลองภาคสนาม นำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบ โยนิโสมนสิการ ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับเด็ก 30 คน แล้วนำมาปรับปรุงด้านคำถามท้าย กิจกรรม และกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ พิจารณาจากการตอบคำถามท้ายกิจกรรมในแต่ละชุด ตามเกณฑ์ มาตรฐาน 80 / 80 80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ตอบคำถามท้าย กิจกรรมในแต่ละชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80 % 80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบ โยนิโสมนสิการได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 80 % ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ ทั้ง 4 เล่ม รวมเฉลี่ยมีค่าประสิทธิภาพ 86.35/82.00 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ในการสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้ 2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลวิธีการสร้างแบบทดสอบและการ เขียนข้อสอบสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.2 ศึกษาผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านความรู้ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2.3 สร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีจำนวนข้อสอบ 30 ข้อ วิธีการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์กระทำ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางการ สอนวิทยาศาสตร์จำนวนและเชี่ยวชาญทางการวัดผลจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบลักษณะการใช้คำถาม ตัวเลือก ความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรมที่ต้องการวัด ความถูกต้องด้านภาษา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขด้านความสอดคล้อง ระหว่างจุดประสงค์และพฤติกรรมที่ต้องการวัด รวมถึง การใช้ภาษาทั้งคำถามและตัวเลือก ทำการคัดเลือกข้อสอบที่มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ( Content Validity ) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC ) เท่ากับ 0.5 หรือมากกว่า 0.5 ขึ้นไป 2) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการเรียนเนื้อหาดังกล่าวมาแล้วจำนวน 50 คน


38 3) นำกระดาษคำตอบที่นักเรียนตอบแล้วมาตรวจให้คะแนนโดยข้อที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดหรือตอบเกิน 1 คำตอบให้ 0 คะแนน เมื่อตรวจรวมคะแนนเรียบร้อยแล้วนำมา วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ หาค่าความยาก ( p ) และอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นเป็นรายข้อโดยใช้เทคนิค 27 % ของ จุง เตห์ ฟาน เลือกข้อ ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปจำนวน 40 ข้อ 4) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่คัดเลือกไว้ไปทดสอบ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการเรียนเนื้อหาดังกล่าวมาแล้ว จำนวน 50 คน เพื่อหาค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยคำนวณจากสูตร KR – 20 ของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน ( พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540 : 123 ) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89 5) นำแบบทดสอบไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริงต่อไป 3. แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน 3.1 แบบทดสอบคุณคาในตนเอง Rubin’s Self Esteem Scale (อ้างถึงใน กรม สุขภาพจิต, 2547) ประกอบด้วยข้อความ 62 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอน เป็นข้อความ เกี่ยวกับอัตมโนทัศน์(self concept) จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง (selfesteem scale) จำนวน 10 ข้อ เป็นการประเมินอัตมโนทัศน์ (self concept rating) จำนวน 22 ข้อ ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบทดสอบข้อมูลสำเร็จรูปของ Rubin’s Self Esteem Scale 3.2 ผู้วิจัยนําแบบทดสอบการเห็นคุณคาในตนเอง Rubin’s Self-Esteem Scale ไปทดสอบกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมหลังการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยแบบทดสอบด้วย ข้อความ 62 ขอ แบงออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ความคิดเห็นต่อข้อความที่สะท้อนอัตมโนทัศน์ที่มีต่อตนเอง (Self Concept) แบบทดสอบคุณคาในตนเอง Rubin’s Self-Esteem Scale ตอนที่ 1 เป็นการทด สอบการมองอัตมโนทัศน การมองอัตมโนทัศน คือ การรับรูการมองตนเอง เป็นความรูสึกนึกคิดที่มีต อตนเองวาตนเองเป็นอย่างไร ขอคําถามมีจำนวน 30 ขอ เป็นแบบเลือกรับหรือ ปฏิเสธ ตอบโดยกา เครื่องหมาย X (กากบาท) ลงบนคําวา “ใช” หรือ “ไม่ใช” ขอละเครื่องหมาย ในแต่ละขอมีการให คะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของข้อความ ดังนี้ - เมื่อข้อความมีลักษณะทางบวก ได้แก ขอ 5, 6, 7, 9, 11, 12, 14, 15, 21, 24, 26, 28 และ 30 ถ้าตอบ “ใช” ได้2 คะแนน ถ้าตอบ “ไม่ใช” ได้1 คะแนน - เมื่อข้อความมีลักษณะทางลบ ได้แก ขอ 1, 2, 3, 4, 8, 10, 13, 16, 17, 18, 19,


39 20, 22, 23, 25, 27 และ 29 ถ้าตอบ “ใช” ได้1 คะแนน ถ้าตอบ “ไม่ใช” ได้2 คะแนน ตอนที่ 2 ความรูสึกเห็นคุณคาในตนเอง (Self – Esteem Scale) แบบทดสอบการมองเห็นคุณคาในตนเอง Rubin’s Self-Esteem Scale ตอนที่ 2 เป็นการวัดความรูสึกเห็นคุณคาในตนเอง ซึ่งหมายถึง ความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง เป็นขอสันนิษ ฐานจุดอ่อน จุดแข็ง ความเจริญงอกงามเกี่ยวกับพฤติกรรมตามปกติของตน ซึ่งสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ ความรูสึก มีคุณคายังเกี่ยวของกับความเชื่อมั่นของตนเองวาสามารถ ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยความเพียรพยายามของตนเอง ซึ่งคนเราจะเห็นคุณคาในตนเองได้ตองเกิดจาก ความสำเร็จที่เป็นไปตามที่เราคาดหวังไวและการได้รับ การยอมรับจากผู้อื่น คุณคาในตนเองได้ จากการเรียนรูจากผู้อื่นเป็นสวนสะทอนใหบุคคลอื่นเห็นคุณคาในตัวเรา แบบทดสอบความรูสึกเห็น คุณคาในตนเองมีจำนวน 10 ขอ เป็นแบบ rating scale 4 ระดับ (ก - ง) ดังนี้ ก. เห็นด้วยอย่างยิ่ง ข. เห็นด้วย ค. ไม่เห็นด้วย ง. ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ตอบโดยการทำเครื่องหมาย (วงกลม) ลอม รอบตัวอักษร ขอละ 1 เครื่องหมาย แต่ละขอมีการใหคะแนนแตกต่างกันตามลักษณะ ของ ข้อความ ดังนี้ - เมื่อข้อความมีลักษณะทางบวก ได้แก ขอ 31, 32, 34, 36 และ 37 ถ้าตอบ “ก” หรือ “ข” ได้ 2 คะแนน ถ้าตอบ “ค” หรือ “ง” ได้ 1 คะแนน - เมื่อข้อความมีลักษณะทางลบ ได้แก ขอ 33, 35, 38, 39 และ 40 ถ้าตอบ “ก” หรือ “ข” ได้ 1 คะแนน ถ้าตอบ “ค” หรือ “ง” ได้ 2 คะแนน การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ 1. สุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นกลุ่มทดลอง ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องการเลือกแบบ เจาะจง 2. แนะนำขั้นตอนการทำกิจกรรมและบทบาทของนักเรียนในการเรียนการสอน 3. ทดสอบก่อนเรียน( Pretest ) จำนวน 1 ชั่วโมงใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง 4. ดำเนินการสอนโดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนเองกับกลุ่มทดลองดำเนินการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ 5. เมื่อสิ้นสุดการสอนตามกำหนดแล้วจึงทำการทดสอบหลังเรียน ( Posttest ) โดยใช้ แบบทดสอบวัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบก่อนเรียน นำแบบวัดการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโส


40 มนสิการให้นักเรียนตอบแบบสอบถาม แสดงความคิดเห็นตามระดับความคิดเห็น ของตนเอง รวมใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 60 ชั่วโมง 6. ตรวจผลการสอบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดการเห็นคุณค่าใน ตนเองของนักเรียน แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐานต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติพื้นฐาน 1.1 หาค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน(พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540:137) n x x = เมื่อ x แทน คะแนนเฉลี่ย X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด n แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มทดลอง หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( 1) ( ) 2 2 − − = N N N X X S เมื่อ S แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน 2 X แทน ผลรวมของกำลังสองของคะแนน 2 ( X) แทน กำลังสองของผลรวมของผลรวมคะแนน N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง หาค่าความแปรปรวน ( Variance ) จากสูตร N(N 1) N X ( X) S 2 2 2 − − = เมื่อ S 2 แทน ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด 2 X แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง


41 N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง 2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 2.1 หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างขอคำถามกับพฤติกรรมที่ต้องการวัดของ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจทางการเรียนโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540:117) จากสูตร N R IOC = IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับผลการ เรียนรู้ที่คาดหวัง R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 2.2 หาค่าความยากง่าย ( p ) และค่าอำนาจจำแนก ( r ) ของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ ( Item Analysis ) โดยใช้เทคนิค 27 % ของ จุง เตห์ ฟาน ( พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540 : 131 ) 2.3 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ สูตร K.R. 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน ( พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540 : 131 ) จากสูตร − − = 2 t tt S pq 1 n 1 n R เมื่อ Rtt แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ n แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ P แทน สัดส่วนของผู้ที่ทำได้ในข้อหนึ่งๆ หรือ จำ นวนคนท ้ ง ั หมด จำ นวนคนท ี่ตอบถ ู ก q แทน สัดส่วนของผู้ที่ทำผิดในข้อหนึ่งๆ คือ 1-P 2 t S แทน คะแนนความแปรปรวนของเครื่องมือฉบับนั้น


Click to View FlipBook Version