The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ebookcha, 2021-05-24 05:41:07

วิชาศิลปศึกษา ทช11003

art 11003

Keywords: ศิลปศึกษา ทช11003,กศน

43

ความสําคญั ของวฒั นธรรมและประเพณี

วฒั นธรรมเปน เรื่องทสี่ าํ คญั ยิ่งในความเปนชาติ ชาติใดท่ีไรเสียซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอัน
เปน ของตนเองแลว ชาตินั้นจะคงความเปนชาติอยูไมได ชาติท่ีไรวัฒนธรรมและประเพณี แมจะเปนผู
ชนะในการสงคราม แตในทีส่ ดุ ก็จะเปนผูถูกพิชิตในดานวัฒนธรรมและประเพณี ซ่ึงนับวาเปนการถูก
พิชติ อยา งราบคาบและสนิ้ เชิง ทั้งน้เี พราะผทู ถี่ ูกพิชติ ในทางวัฒนธรรมและประเพณีน้ันจะไมรูตัวเลยวา
ตนไดถกู พิชติ เชน พวกตาดทีพ่ ชิ ิตจนี ได และต้งั ราชวงศห งวนขน้ึ ปกครองจนี แตในที่สุดถูกชาวจีนซึ่ง
มีวัฒนธรรมและประเพณสี ูงกวากลืนจนเปน ชาวจีนไปหมดส้ิน ดังนั้นจึงพอสรุปไดวา วัฒนธรรมและ
ประเพณมี ีความสําคัญดังน้ี

1. วัฒนธรรมและประเพณีเปนส่ิงที่ช้ีแสดงใหเห็นความแตกตางของบุคคล กลุมคน หรือ
ชมุ ชน

2. เปน สงิ่ ทท่ี ําใหเหน็ วา ตนมีความแตกตา งจากสตั ว
3. ชว ยใหเ ราเขา ใจสิง่ ตาง ๆ ทเี่ รามองเห็น การแปลความหมายของส่ิงท่ีเรามองเห็นนั้นข้ึนอยู
กับวัฒนธรรมและประเพณีของกลุมชน ซ่ึงเกิดจากการเรียนรูและถายทอดวัฒนธรรม เชน คนไทย
มองเห็นดวงจนั ทรวามกี ระตายอยใู นดวงจันทร ชาวออสเตรเลียเหน็ เปนตาแมวใหญก ําลงั มองหาเหย่อื
4. วัฒนธรรมและประเพณเี ปน ตัวกาํ หนดปจจยั 4 เชน เครอ่ื งนงุ หม อาหาร ที่อยอู าศยั การรกั ษา
โรค ท่ีแตกตางกนั ไปตามแตล ะวัฒนธรรม เชนพืน้ ฐานการแตงกายของประชาชนแตละชาติ อาหารการ
กิน ลักษณะบานเรอื น ความเชือ่ ในยารกั ษาโรคหรอื ความเชอ่ื ในส่ิงลลี้ บั ของแตล ะ ชนชาติ เปน ตน
5. วัฒนธรรมและประเพณีเปนตัวกําหนดการแสดงความรูสึกทางอารมณ และการควบคุม
อารมณ เชน ผูชายไทยจะไมปลอ ยใหนา้ํ ตาไหลตอ หนาสาธารณะชนเมอื่ เสยี ใจ
6. เปน ตวั กําหนดการกระทําบางอยา งในชุมชนวาเหมาะสมหรือไม ซ่ึงการกระทําบางอยางใน
สังคมหน่ึงเปนทีย่ อมรบั วาเหมาะสมแตไมเปน ทยี่ อมรบั ในอีกสังคมหน่งึ เชนคนตะวันตกจะจบั มือหรือ
โอบกอดกันเพ่ือทักทายกันท้ังชายและหญิง คนไทยใชการยกมือบรรจบกันและกลาวสวัสดีไมนิยม
สัมผัสมือโดยเฉพาะกับคนท่ีมีอาวุโสกวา คนญ่ีปุนใชโคงคํานับ ชาวเผาเมารีในประเทศนิวซีแลนด
ทักทายดวยการ แลบล้นิ ออกมายาว ๆ เปน ตน
จะเหน็ ไดวา ผูส รา งวัฒนธรรมและประเพณีคือมนุษย สังคมเกิดขึ้นก็เพราะ มนุษย วัฒนธรรม
ประเพณี กับสังคมจึงเปนสิ่งคูกัน โดยแตละสังคมยอมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญหรือมี
ความซับซอน มากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณีมักจะมีมากข้ึนเพียงใดนั้น
วัฒนธรรมและประเพณีตาง ๆ ของแตละสังคมอาจเหมือนหรือตางกันสืบเนื่องมาจากความแตกตาง
ทางดา นความเชื่อ เชอ้ื ชาติ ศาสนาและถนิ่ ทีอ่ ยู เปนตน

44

ลกั ษณะของวฒั นธรรมและประเพณี
เพ่ือท่จี ะใหเ ขาใจถงึ ความหมายของคาํ วา "วัฒนธรรม" ไดอยางลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะ

ของวฒั นธรรม ซ่งึ อาจแยกอธิบายไดดังตอ ไปน้ี
1. วฒั นธรรมเปนพฤตกิ รรมที่เกิดจากการเรยี นรู มนุษยแตกตางจากสัตว ตรงที่มีการรูจักคิด มี

การเรยี นรู จดั ระเบียบชีวิตใหเจรญิ อยูดีกินดี มีความสุขสะดวกสบาย รูจักแกไขปญหา ซึ่งแตกตางไป
จากสัตวที่เกดิ การเรียนรโู ดยอาศยั ความจําเทานัน้

2. วัฒนธรรมเปนมรดกของสงั คม เนอ่ื งจากมีการถายทอดการเรียนรู จากคนรุนหน่ึงไปสูคน
รุน หนงึ่ ทัง้ โดยทางตรงและโดยทางออ ม โดยไมข าดชว งระยะเวลา และมนุษยใชภาษาในการถายทอด
วฒั นธรรม ภาษาจงึ เปนสญั ลักษณทใ่ี ชถ ายทอดวฒั นธรรมนนั่ เอง

3. วฒั นธรรมเปน วถิ ชี วี ติ หรอื เปน แบบแผนของการดาํ เนนิ ชวี ติ ของมนุษย มนษุ ยเ กดิ ในสงั คม
ใดกจ็ ะเรียนรูและซึมซับในวัฒนธรรมของสังคมท่ีตนเองอาศัยอยู ดังน้ันวัฒนธรรมในแตละสังคมจึง
แตกตางกัน

4. วฒั นธรรมเปนสิ่งที่ไมคงที่ มนุษยมีการคิดคนประดิษฐส่ิงใหม ๆ และปรับปรุงของเดิมให
เหมาะสมกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลงไป เพ่ือความเหมาะสมและความอยูรอดของสังคม เชน
สังคมไทยสมยั กอ นผหู ญิงจะทาํ งานบา น ผูช ายทํางานนอกบา นเพ่ือหาเลย้ี งครอบครัว แตปจจุบันสภาพ
สังคมเปล่ียนแปลงไป ทําใหผูหญิงตองออกไปทํางานนอกบาน เพ่ือหารายไดมาจุนเจือครอบครัว
บทบาทของผูหญิงในสงั คมไทยจึงเปลยี่ นแปลงไป

ประเพณีไทย นัน้ เปน ประเพณที ่ีไดอ ิทธิพลอยางสูงจากศาสนาพุทธ แตอิทธิพลจากศาสนาอ่ืน
เชน ศาสนาพราหมณและการอพยพของชาวตางชาติ เชน คนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทยดวย
เชนกัน

ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดตอกันมานั้น ลวนแตกตางกันไปตามความเชื่อ ความผูกพัน
ของผคู นตอพุทธศาสนา และการดาํ รงชวี ิตทส่ี อดประสานกบั ฤดูกาลและธรรมชาติอยางชาญฉลาดของ
ชาวบา นในแตละทอ งถนิ่ ทั่วแผน ดนิ ไทย เชน

ภาคเหนือ ประเพณีบวชลกู แกว ของคนไตหรอื ชาวไทยใหญทีจ่ งั หวัดแมฮองสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบงั้ ไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทําขวญั ขาวจงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
ภาคใต ประเพณแี หผ าขึน้ ธาตขุ องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนํามาซ่ึงการทองเท่ียว เปนที่รูจักและประทับใจแกชาติอื่น
นับเปนมรดกอันลํา้ คา ที่เราคนไทยควรอนุรักษแ ละสืบสานใหยิ่งใหญต ลอดไป

45

เกรด็ ความรู
เทศกาลคอื อะไร.................
เทศกาลคือชวงเวลาที่กาํ หนดไวเ พ่ือจดั งานบญุ และงานรนื่ เรงิ ในทองถิ่นเปนการเนนไปทกี่ ารกาํ หนดวัน
เวลา และโอกาสที่สงั คมแตล ะแหงจะจัดกจิ กรรมเพอ่ื เฉลิมฉลองโดยมีฤดูกาลและความเชื่อเปน ปจ จยั
สาํ คญั ท่ีทําใหเกดิ เทศกาลและงานประเพณี

46

โบราณสถานและวตั ถุ
โบราณสถาน หมายถึง สถานที่ท่ีเปนของโบราณ เชน อาคารสถานที่ที่มีมาแตโบราณ แหลง

โบราณคดี เชน เมืองโบราณ วังโบราณ คุมเกา เจดีย ฯลฯ แทบทุกจังหวัดในเมืองไทยมีแหลงโบราณ
สถานที่นาศึกษานาเรียนรูเพื่อสืบทอดความภาคภูมิใจในภูมิปญญาและความสามารถของบรรพบุรุษ
เชน เวยี งกุมกามท่ีเชียงใหม แหลง โบราณสถานทบ่ี า นเชียง พระนครคีรที จ่ี งั หวดั เพชรบุรี พระเจดียยุทธ
หัตถี พระเจดียท่ีสรางข้ึนเพ่ือเปนอนุสรณแหงกิจกรรมที่สําคัญตาง ๆ พระราชวังและพระตําหนัก
โบราณ ฯลฯ

เมอื งเกาจงั หวัดพระนครศรอี ยธุ ยา จดั เปน โบราณสถานทีส่ าํ คัญของไทย
ในโบราณสถานแตละแหงอาจมีโบราณวตั ถทุ ่มี คี ณุ คา เชน เคร่ืองใชต า ง ๆ เคร่อื งถวยชาม อาวธุ
เครือ่ งสกั การบชู า ฯลฯ ในทอ งท่ีตา ง ๆ อาจมีสง่ิ ที่เปน โบราณวัตถุ เชน เรอื โบราณ บา นโบราณ รูปสลัก
หรอื งานศลิ ปกรรมทม่ี ีมาแตโบราณ หรืองานทศี่ ิลปนแตโบราณไดส รา งสรรคไ ว เครือ่ งใชท ีเ่ คยใชม าแต
โบราณบางอยางกลายเปน สิง่ ทล่ี าสมยั ในปจจุบนั กอ็ าจจัดเปน โบราณวัตถุทม่ี ีคา เชน หนิ บดยา เครื่องใช
ในการอยูไฟของแมลูกออน เคร่ืองสีขาวแบบโบราณ จับปง กําไล ปนปกจุก อุปกรณท่ีใชในการ
ประกอบอาชีพแตโ บราณ ฯลฯ
โบราณวัตถุ หมายถงึ สงั หาริมทรัพย (ทรัพยท่ีไมยดึ ตดิ กับทด่ี ิน) ท่เี ปนของโบราณ ไมวาจะเปน
ส่งิ ประดิษฐห รือเปนสง่ิ ทีเ่ กดิ ขนึ้ ตามธรรมชาติ หรอื เปน สว นหน่ึงสวนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย
หรือซากสัตว ซ่ึงโดยอายุหรือโดยลักษณะแหงการประดิษฐ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของ
สังหาริมทรพั ยน น้ั เปน ประโยชนในทางศิลปะ ประวตั ศิ าสตร หรอื โบราณคดี

47

โบราณวตั ถุทบ่ี านบาตง อยทู ี่บานบาตง ตําบลบาตง อําเภอรือเสาะ จังหวดั นราธวิ าส

ประโยชนของโบราณสถานและโบราณวัตถุ สรุปไดด งั นี้
1. แสดงความเปน มาของประเทศ
ประเทศทีม่ ปี ระวัตศิ าสตรยาวนานกย็ อ มตองมโี บราณสถานและโบราณวัตถุที่มีอายุเกาแก

เชนกนั ดังนน้ั โบราณสถานและโบราณวัตถุจึงเปรียบเหมอื นหลักฐานแสดงความเปนมา ของชาติ
2. เปน เกียรติและความภาคภมู ิใจของคนในชาติ โบราณสถานและโบราณวตั ถุแสดงใหเห็นถึง

การพัฒนาท้ังดานสังคม สติปญญา และคุณภาพชีวิตของคนในอดีตของชาติ ดังนั้นชาติที่มี
โบราณสถานและโบราณวตั ถุมากและเกาแกคนในชาตยิ อ มมคี วามภูมิใจในการวิวัฒนาการดาน ตาง ๆ
ของชนชาตขิ องตน

3. เปนสิ่งที่โยงเหตุการณในอดีตและปจจุบันเขาดวยกัน โบราณสถานและโบราณวัตถุเปน
เหมอื นหลักฐานท่ผี านกาลเวลามา ทําใหค นในยคุ ปจจุบันสามารถไดรบั รูถ ึงอดตี ของชนชาติ ของตน
และสามารถนํามาปรับปรุง พัฒนา หรือแกไขขอบกพรองในเหตุการณปจจุบันหรือเลียนแบบและ
พัฒนาในสง่ิ ทด่ี ีงามตอไปได

4. เปนสิ่งที่ใชอ บรมจติ ใจของคนในชาติได โบราณสถานและบางแหงเปน สถานทท่ี ี่บอกถงึ การ
เสยี สละของบรรพบุรษุ บางแหง เปนที่เตอื นสตคิ นในชาติ และบางแหง ถอื วา เปนสถานทศี่ ักดสิ์ ทิ ธิ

โบราณสถานและโบราณวัตถุไมใชทรัพยากรธรรมชาติซ่ึงเกิดข้ึนไดเอง แตเปนทรัพยากร
วฒั นธรรมประเภทหนึง่ ทม่ี นุษยใชสติปญ ญาและความรูค วามสามารถสรางขึ้นในสมัยโบราณ สถานที่
และสิ่งของเหลาน้ันเมื่อตกทอดเปนมรดกมาถึงคนรุนเรา ก็กลายเปนโบราณสถานและ
โบราณวัตถุ เชน เดยี วกบั อาคารและวตั ถทุ ่เี ราสรา งข้นึ สมัยน้ี กจ็ ะเปนโบราณสถานและโบราณวัตถุของ
คนในอนาคตสืบตอไปแบบน้ีไมขาดตอน ฉะน้ันโบราณสถานและโบราณวัตถุจึงเปนหลักฐาน
ประวัติศาสตรประเภทหน่ึงที่บอกความเปนมาของบรรพบุรุษที่อยูในสังคมระดับตาง ๆ ต้ังแตกลุม
ชนขนาดเลก็ จนถึงหมบู านเมือง และประเทศชาติ ตอเน่อื งมาจนถงึ สมยั เรา ดังน้ันเราทุกคนควรรวมมือ
รวมใจดูแลโบราณสถานและโบราณวตั ถุ ไมท ําลาย ไมท าํ รายแกะ ขูดขีด ขุดเจาะโบราณสถาน และ

48

ไมเก็บซื้อขาย หรือแปลงแปรรูปโบราณวัตถุ และขอใหจําไววา “การอนุรักษโบราณสถานและ
โบราณวตั ถุเปนหนาท่ขี องทุกคน”

เกรด็ ความรู
โบราณสถานของไทยทไี่ ดข ึ้นทะเบียนมรดกโลกแลวมถี งึ 3 แหง คอื

1.อทุ ยานประวตั ศิ าสตรส ุโขทยั และเมอื งบรวิ าร (ศรีสชั นาลัย กําแพงเพชร) ผังเมอื งสุโขทยั มี
ลกั ษณะเปน รูปสเี่ หล่ียมผืนผา มีความยาวประมาณ 2 กโิ ลเมตร กวา งประมาณ 1.6 กโิ ลเมตร ภายในยงั
เหลอื รอ งรอยพระราชวงั และวัดอีก 26 แหง วัดทใ่ี หญทสี่ ดุ คอื วดั มหาธาตุ

2.อทุ ยานประวตั ิศาสตรพ ระนครศรอี ยธุ ยา
กรุงศรีอยุธยา เปน เมืองหลวงของชนชาติไทยในอดตี ตง้ั แต พ.ศ. 1893-2310 เปนอาณาจกั รซงึ่ มคี วาม
เจรญิ รุง เรอื งจนอาจถือไดวาเปน อาณาจกั รทร่ี งุ เรืองม่งั คงั่ ทสี่ ดุ ในภมู ภิ าคสวุ รรณภูมจิ ากการสํารวจพบวา
มโี บราณสถานกระจัดกระจายอยูไมตํ่ากวา 200 แหง

3.แหลงโบราณคดบี า นเชยี ง จังหวดั อดุ รธานีเปน แหลงโบราณคดสี าํ คญั แหงหนง่ึ ทท่ี าํ ใหร ับรู
ถงึ การดํารงชีวติ ในสมัยกอนประวัตศิ าสตรย อนหลงั ไปกวา 5,000 ป รองรอยของมนุษยใ นประเทศไทย
สมัยดงั กลา วแสดงใหเห็นถึงวฒั นธรรมทม่ี พี ฒั นาการแลว ในหลาย ๆ ดา น วัฒนธรรมบา นเชียงได
ครอบคลุมถงึ แหลง โบราณคดใี นภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื อีกกวา รอ ยแหง ซึง่ เปนบรเิ วณพนื้ ท่ีท่มี มี นุษย
อยูอาศยั หนาแนน มาตงั้ แตห ลายพันปแลว

49

กิจกรรม
1. ใหผูเรยี นเขยี นเรยี งความส้ัน ๆ ท่เี กย่ี วกับวฒั นธรรม ประเพณี หรอื เทศกาลทส่ี าํ คัญของ
จงั หวดั ของผูเรยี น จากนัน้ แลกเปล่ียนความคิดเหน็ กนั ในชน้ั เรียน
2. ใหผ เู รียนรวมกลุมกนั เพอ่ื ไปชมโบราณสถาน หรอื พพิ ิธภณั ฑ ในทองถิ่น จากนน้ั ให
แลกเปลี่ยนความคดิ เหน็ กนั ในชัน้ เรียน
3. จากท่เี รยี นมาในบทนี้ ใหผูเรียนตอบคําถามตอ ไปน้ี

3.1 ความสําคญั ของวัฒนธรรมและประเพณี
3.2 ผเู รียนจะสามารถอนรุ กั ษโบราณสถานและโบราณวัตถุไดอ ยางไร

50

บทที่ 2
ดนตรีพ้นื บา น

สาระสําคญั

รูเขาใจ มีคุณธรรม จริยธรรม ชื่นชม เห็นคุณคาความงาม ทางดนตรีพ้ืนบาน และสามารถ
วิเคราะหวพิ ากษ วจิ ารณไดอยา งเหมาะสม

ผลการเรียนรูที่คาดหวัง

มีความรู ความเขาใจ ในพ้ืนฐานของดนตรีพ้ืนบาน สามารถอธิบาย สรางสรรค อนุรักษ
วิเคราะห วพิ ากษ วิจารณเ ก่ียวกับความไพเราะของดนตรพี ้นื บา น ไดอ ยา งเหมาะสม

ขอบขา ยเน้อื หา

เรอ่ื งท่ี 1 ลกั ษณะของดนตรพี ้ืนบาน
เรื่องท่ี 2 ดนตรพี ้นื บานของไทย
เรอ่ื งที่ 3 ภมู ปิ ญญาทางดนตรี
เรอ่ื งท่ี 4 คุณคา ของเพลงพ้ืนบาน
เรอ่ื งที่ 5 พฒั นาการของเพลงพนื้ บาน
เรื่องที่ 6 คุณคาและการอนรุ ักษเพลงพน้ื บาน

51

เรอ่ื งที่ 1 ลักษณะของดนตรีพน้ื บาน

ลักษณะของดนตรีพ้ืนบาน คือ ดนตรีที่มีมาต้ังแตด้ังเดิมในกลุมสังคมทุกกลุมทั่วโลก เพลง
พน้ื บา นมกั จะเปน เพลงท่มี ีการรอ งประกอบกนั สวนมาก จึงเรียกกันอีกชื่อหน่ึงวา “เพลงพ้ืนบาน” หรือ
Folk song โดยปกตดิ นตรีพ้ืนบา นมกั จะมลี ักษณะดังน้ี

1. บทเพลงตา ง ๆ ตลอดจนวธิ ีเลน วิธรี อ ง มกั จะไดรับการถายทอดโดยการส่ังสอนกัน ตอ ๆ
มาดวยวาจา และการเลนหรือการรองใหฟง การบันทึกเปนโนตเพลงไมใชลักษณะดั้งเดิมของดนตรี
พ้ืนบาน อยางไรก็ตามในปจจุบันไดมีการถายทอดดนตรีพ้ืนบานโดยการใชโนตดนตรีกันบางแลว
ตวั อยางเพลงพนื้ บานของไทยท่ถี ายทอดกันมา เชน เพลงเรือ เพลงลําตัด จะเห็นไดวาเพลงเหลาน้ีมีการ
รองเลน กนั มาแตโบราณไมม ีการบันทกึ เปนตัวโนตและสอนกันใหร องจากตวั โนตแตอยา งใด

2. เพลงพ้นื บา นมกั เปนบทเพลงทีใ่ ชในการประกอบกิจกรรมตาง ๆ มิใชแตงขึ้นมาเพื่อใหฟง
เฉยๆ หรอื เพ่ือใหร สู ึกถงึ ศิลปะของดนตรีเปน สําคัญ จะเห็นไดวา เพลงกลอมเด็กมขี น้ึ มาเพราะตองการใช
รองกลอมเด็กใหนอน เพลงเก่ียวขาวใหรองเลนในเทศกาลเก่ียวขาว เนื่องจากเสร็จภารกิจสําคัญแลว
ชาวนาจึงตองการเลนสนุกสนานกนั หรอื เพลงเรือใชประกอบการเลน เรอื หนานาํ้ หลาก เปน ตน

3. รูปแบบของเพลงพน้ื บา นไมซ ับซอน มกั มีทํานองหลัก 2 – 3 ทาํ นองรองเลนกันไป โดยการ
เปล่ียนเนือ้ รอง จังหวะประกอบเพลงมักจะซา้ํ ซากไปเรือ่ ย ๆ อาจจะกลาวไดว า ดนตรีหรือเพลงพ้ืนบาน
เนน ทเ่ี นอ้ื รอ ง หรอื การละเลนประกอบดนตรี เชน การฟอนรําหรือการเตนรํา

4. ลกั ษณะของทํานองและจงั หวะเปนไปตามลักษณะของกิจกรรม หรือการละเลน เชนเพลง
กลอ มเด็กจะมีทาํ นองเย็น ๆ เร่ือย ๆ จังหวะชา ๆ เพราะจุดมุงหมายของเพลงกลอมเด็กตองการใหเด็ก
ผอนคลายและหลับกันในท่ีสุด ตรงกันขามกับเพลงรําวงจะมีทํานองและจังหวะสนุกสนานเร็วเราใจ
เพราะตองการใหทุกคนออกมารายรําเพอ่ื ความครึกครื้น

5. ลีลาการรองเพลงพื้นบานมักเปนไปตามธรรมชาติ การรองไมไดเนนในดานคุณภาพของ
เสียงสักเทา ใด ลลี าการรอ งไมไดใชเทคนิคเทาใดนัก โดยปกติเสียงที่ใชในการรองเพลงพ้ืนบานไมวา
ชาตใิ ดภาษาใด มักจะเปนเสียงที่ออกมาจากลาํ คอมไิ ดเ ปน เสยี งทีอ่ อกมาจากทองหรือศีรษะ ซ่ึงเปนลีลา
การรอ งเพลงของพวกเพลงศิลปะ

6. เคร่ืองดนตรที ี่ใชบรรเลงพ้นื บา นมีลกั ษณะเฉพาะเปนของทอ งถ่นิ น้นั ๆ เปนสว นใหญ ซ่งึ ส่ิง
นี้เปนเคร่ืองหมายหรือสัญลักษณที่ทําใหเราไดทราบวา ดนตรีพื้นบานที่ไดยินไดชมเปนดนตรีของ
ทอ งถน่ิ ใด หรือของชนเผาใด ภาษาใด ตัวอยางเชนดนตรีพ้ืนบานของชาวอีสานมักจะมีแคน โปงลาง
ทางภาคเหนือจะมีซึง สะลอ เปน ตน

เพลงพนื้ บานจะพบไดใ นทุกประเทศทวั่ โลก เปนเพลงที่มีผูศึกษาเก็บรวบรวมไว เนื่องจากเปน
วฒั นธรรมหนง่ึ ของชาติ เชน ประเทศฮังการี นักดนตรีศึกษา คือโคดายและบารตอด ไดรวบรวมเพลง

52

พืน้ บานของชาวฮงั การเี อาไว และนํามาใชสอนอนุชนรุนหลัง นอกจากน้ียังมีผูประพันธเพลงหลายคน
นําเอาทํานองเพลงพ้นื เมอื งมาทาํ เปน ทาํ นองหลกั ของเพลงทีต่ นประพนั ธ เชน บารต อด, ดโวชาด

ดนตรมี หี ลายประเภท บางประเภทไมตองการความรูความเขาใจมากนักก็สามารถเขาถึงและ
สนกุ สนานไปกบั ดนตรีได แตม ดี นตรบี างประเภททีม่ ีเน้อื หาสาระลกึ ซงึ้ ซึ่งผูที่จะเขาถึงตองศึกษาอยาง
จริงจัง ดนตรีประเภทนี้ไดแก ดนตรีศิลปะซ่ึงไดแก ดนตรีตะวันตกหรือดนตรีคลาสสิก และดนตรี
ประจําชาติตาง ๆ เน่ืองจากดนตรีประเภทนี้มีเน้ือหา ทฤษฎีตลอดจนการบรรเลง การรองการเลนที่
ละเอียดลึกซ้ึง ผูท่ีตองการเขาถึงหรือซาบซึ้งดนตรีประเภทน้ีจึงตองฟงดนตรีประเภทนี้อยางเขาใจ
การศกึ ษารายละเอยี ดตา ง ๆ ของดนตรี ไมว า จะเปนองคประกอบดนตรี ประวัติดนตรี หรือรูปลักษณะ
ของเพลงท่จี ะฟง จะทาํ ใหผูนน้ั มรี ากฐานการฟง เพลงนนั้ ๆ ดีขนึ้ อยา งไรก็ตามการศึกษาอยางเดียวเปน
การไมพ อเพียง ผูท่ีจะซาบซ้ึงในดนตรีประเภทนี้ได ควรฟงเพลงประเภทน้ีดวยเสมอ ความซาบซ้ึงใน
ดนตรีเปน สงิ่ ที่สอนใหเ กดิ ขึ้นไมได เพราะเปนความรูสึกท่ีเกิดข้ึนในจิตใจของแตละคน การสอนเปน
เพยี งการแนะแนว

ในการฟง เพลง โดยมกี ารศึกษาเน้ือหาสาระดนตรีไปดวยเพ่ือใหผูน้ันเกิดความรูสึกเม่ือไดฟง
เพลงโดยตัวของตวั เอง ดังนัน้ ความซาบซ้ึงในดนตรีจึงเปนเร่ืองของแตละบุคคลท่ีจะเรียนรูและพัฒนา
ไปดวย

ดนตรีพื้นบานเปน เสยี งดนตรีทีถ่ า ยทอดกันมาดวยวาจา ซึ่งเรียนรูผานการฟงมากกวาการอาน
และเปน สงิ่ ทพ่ี ูดตอ กันมาแบบปากตอปาก โดยไมมีการจดบันทกึ ไวเปน ลายลักษณอ กั ษรจึงเปนลักษณะ
การสืบทอดทางวัฒนธรรมของชาวบานต้ังแตอดีตเรื่อยมาจนถึงปจจุบันซึ่งเปนกิจกรรมการดนตรีเพื่อ
ผอนคลายความตงึ เครยี ดจากการทาํ งานและชวยสรา งสรรคค วามรนื่ เรงิ บันเทงิ เปน หมคู ณะและชาวบา น
ในทอ งถน่ิ น้ัน ซ่ึงจะทําใหเ กิดความรักสามคั คีกนั ในทองถ่นิ และปฏบิ ัตสิ ืบทอดตอมายังรุนลูกรุนหลาน
จนกลายมาเปน เอกลกั ษณทางพื้นบานของทอ งถ่นิ นน้ั ๆ สืบตอไป

53

เร่อื งท่ี 2 ดนตรพี ื้นบา นของไทย

ดนตรพี น้ื บา นของไทย สามารถแบงออกตามภมู ภิ าคตา ง ๆ ของไทยดังนี้
1. ดนตรพี ้นื บานภาคกลาง ประกอบดว ยเครือ่ งดนตรปี ระเภท ดีด สี ตี เปา โดยเครอ่ื งดีด ไดแ ก

จะเขและจองหนอง เครื่องสีไดแก ซอดวงและซออู เคร่ืองตีไดแก ระนาดเอก ระนาดทุม ระนาดทอง
ระนาดทุมเล็ก ฆอง โหมง ฉิง่ ฉาบและกรับ เครือ่ งเปาไดแก ขลุยและป ลักษณะเดนของดนตรีพ้ืนบาน
ภาคกลาง คือ วงปพาทยของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการ
พัฒนาจากดนตรปี แ ละกลองเปนหลกั มาเปน ระนาดและฆองวงพรอ มทง้ั เพม่ิ เครอ่ื งดนตรี มากข้นึ จนเปน
วงดนตรีท่ีมีขนาดใหญ รวมท้ังยังมกี ารขับรองทค่ี ลา ยคลงึ กบั ปพ าทยของหลวง ซึง่ เปนผลมาจากการถา ย
โอนโยงทางวฒั นธรรมระหวางวัฒนธรรมราษฎรและหลวง
เครอ่ื งดนตรีภาคกลาง

ซอสามสาย
ซอสามสาย เปนซอ ที่มีรูปรางงดงามท่ีสุด ซ่ึงมีใชในวงดนตรีไทยมาต้ังแตสมัยกรุงสุโขทัย

(พ.ศ. 1350) แลว ซอสามสายข้ึนเสียงระหวางสายเปนคูสี่ใชบรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องดวยองค
พระมหากษตั รยิ  ภายหลงั จงึ บรรเลงประสมเปน วงมโหรี

ซอดวง
ซอดวง เปน เครอ่ื งสายชนิดหน่ึง บรรเลงโดยการใชคันชักสี กลองเสียง ทําดวยไมเนื้อแข็ง ขึง

หนาดวยหนังงู มีชอง เสียงอยูดานตรงขาม คันทวนทําดวยไมเนื้อแข็ง ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มี

54

ลูกบิดข้นึ สาย อยตู อนบน ซอดว งใชส ายไหมฟนหรือสายเอ็น มี 2 สาย ขนาดตางกัน คันชักอยูระหวาง
สาย ยาวประมาณ 50 เซนตเิ มตร ซอดวงมเี สยี งแหลม ใช เปนเคร่อื งดนตรหี ลกั ในวงเครอ่ื งสาย

ซออู
ซออู เปนเครอ่ื งสายใชส ี กลองเสียงทาํ ดว ยกะโหลกมะพราว ขน้ึ หนาดวยหนงั วัว มีชองเสียงอยู

ดา นตรงขาม คนั ทวนทําดวยไมเ นื้อแข็ง ตอนบนมลี ูกบิดสําหรับขึงสาย สายซอทําดวยไหมฟน มีคันชัก
อยรู ะหวา งสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ 60 เซนติเมตร คันชักประมาณ 50 เซนติเมตร ซออูมีเสียง
ทมุ ต่าํ บรรเลงคแู ละสอดสลบั กบั ซอดว งในวงเครื่องสาย

จะเข
จะเข เปน เคร่ืองสาย ท่ใี ชบรรเลงดว ยการดดี โดยปกติมีขนาดความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร

และยาว 140 เซนติเมตร ตัวจะเขท ําดว ยไมเ นือ้ ออน ขดุ เปน โพรง มสี าย 3 สาย สายที่ 1-2 ทําดวยไหมฟน
สายที่ 3 ทําดว ยทองเหลอื ง วิธกี ารบรรเลงมอื ซา ย จะทําหนา ทก่ี ดสายใหเกิดเสียง สูง - ตํ่า สวนมือขวา
จะดีดท่สี ายดว ยวัตถุที่ทําจากงาสตั ว

55

ขลุย
ขลยุ ของไทยเปนขลยุ ในตระกูลรีคอรด เดอร คอื มีที่บังคับแบงกระแสลมทําใหเกิดเสียงในตัว

ไมใชขลุยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุยไทยมีหลายขนาด ไดแก ขลุยอู มีเสียงตํ่าที่สุด ระดับกลาง คือ
ขลุย เพยี งออ เสยี งสูง ไดแก ขลยุ หลีบ และยังท่มี ี เสยี งสูงกวาน้คี อื ขลุยกรวดหรอื ขลยุ หลบี กรวด อีกดว ย
ขลยุ เปนเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี

ป
ป เปนเครื่องเปาที่มีล้ิน ทําดวยใบตาล เปนเคร่ืองกําเนิดเสียง เปนประเภทล้ินคู (หรือ 4 ล้ิน)

เชนเดยี วกบั โอโบ ( Oboe) มหี ลายชนิดคือ ปน อก ปใน ปก ลาง ปม อญ ปไทยท่เี ดน ทส่ี ดุ คอื ปใ นตระกูล
ปใน ซึง่ มีรปู ด เปดบงั คบั ลม เพียง 6 รู แตสามารถบรรเลงไดถึง 22 เสียง และสามารถเปาเลียนเสียงคน
พดู ไดช ดั เจนอกี ดวย

56

ระนาดเอก
ระนาดเอก เปนระนาดเสยี งแหลมสงู ประกอบดวยลกู ระนาดทที่ าํ ดว ยไมไ ผบ งหรือไม เน้ือแข็ง

เชน ไมชิงชนั 21-22 ลูก รอ ยเขา ดว ยกันเปน ผืนระนาด และแขวนหัวทา ยท้งั 2 ไวบนกลองเสยี งทเี่ รียกวา
รางระนาด ซง่ึ มรี ปู รา งคลา ยเรอื ระนาดเอกทําหนา ที่นาํ วงดนตรีดว ยเทคนคิ การบรรเลงท่ปี ระณตี พิศดาร
มักบรรเลง 2 แบบ คือ ตีดวยไมแข็ง เรียกวา ปพาทย ไมแข็ง และตีดวยไมนวม เรียกปพาทย ไมนวม
ระนาดเอกเรียงเสียงตํ่าไปหาสูงจากซายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใชชันโรงผสมผงตะก่ัวติดไว
ดา นลา งทง้ั หัวและทา ยของลูกระนาด

ระนาดทุม
ระนาดทุม ทําดว ยไมไ ผ หรือไมเนื้อแขง็ มผี ืนละ 19 ลกู มรี ปู รางคลา ยระนาดเอกแตเตี้ยกวาและ

กวา งกวาเลก็ นอย ระนาดทมุ ใชบ รรเลงหยอกลอกบั ระนาดเอก

57

ฆอ งวงใหญ
ฆองวงใหญ เปนหลักของวงปพาทย และวงมโหรี ใชบรรเลงทํานองหลัก มีลูกฆอง 16 ลูก

ประกอบดว ยสว นสาํ คัญ 2 สวน คอื
ลูกฆอง : เปนสวนกําเนิดเสียงทําดวยโลหะผสม มีลักษณะคลายถวยกลม ๆ ใหญเล็กเรียง

ตามลําดบั เสียง ตํ่าสูง ดานบนมีตุมนูนข้ึนมาใชสําหรับตี และใตตุมอุดไวดวยตะก่ัวผสมชันโรง เพื่อ
ถวงเสียงใหสูงตา่ํ ตามตอ งการ

เรือนฆอง : ทําดวยหวายขนาดเสนผาศูนยกลางประมาณ 1 น้ิวเศษ ขดเปนวง และยึดไวดวยไม
เน้ือแขง็ กลงึ เปน ลวดลายคลายลกู กรง และมไี มไ ผ เหลาเปนซ่ี ๆ ค้ํายันใหฆองคงตัวเปน โครงสรางอยู
ได การผกู ลกู ฆอ งแขวนเขา กับเรือนฆอง ผูกดวยเชือกหนังโดยใชเงอ่ื นพิเศษ

ฆองวงเล็ก
ฆอ งวงเล็ก มขี นาดเล็กกวา แตเ สยี งสงู กวา ฆองวงใหญม ีวิธตี เี ชนเดยี วกับฆองวงใหญ แตดําเนิน

ทาํ นองเปน ทางเกบ็ หรอื ทางอ่ืนแลว แตก รณี บรรเลงทํานองแปรจากฆอ งวงใหญ ฆองวงเล็กมี 19 ลกู

58

โทนรํามะนา
โทน : รูปรางคลายกลองยาวขนาดเล็ก ทําดวยไม หรือดินเผา ขึงดวยหนังดึงใหตึงดวยเชือก

หนังตวั กลองยาวประมาณ 34 เซนตเิ มตร ตรงกลางคอด ดานตรงขามหนากลองคลายทรงกระบอกปาก
บานแบบลําโพง ตรงเอวคอดประมาณ 12 เซนตเิ มตร ใชต คี กู ับรํามะนา

ราํ มะนา : เปนกลองทําดวยไมข ึง หนังหนาเดียวมีเสนผาศูนยกลางประมาณ 22 เซนติเมตร ใช
ในวงเคร่อื งสาย

กลองแขก
กลองแขก เปน กลองท่ีตีหนาทบั ไดท ั้งในวงปพาทย มโหรแี ละบางกรณีวงเครอื่ งสายกไ็ ด

ตีดวย มือทงั้ 2 หนา คหู นึง่ ประกอบดวยตวั ผู (เสยี งสูง) และตวั เมีย (เสียงตาํ่ )

59

กลองสองหนา
กลองสองหนา เปนช่อื ของกลองชนิดหน่ึง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งใน เปงมางคอก

ขงึ ดว ยหนงั เลียดรอบตวั ใชใ นวงปพ าทยห รอื มโหรบี างกรณี

2. ดนตรีพ้นื บานภาคเหนือ ในยุคแรกจะเปน เครื่องดนตรีประเภทดีด ไดแก ทอนไมกลวงท่ี
ใชป ระกอบพธิ ีกรรมในเร่ืองภูตผปี ศ าจและเจาปา เจาเขา จากนั้นไดมกี ารพฒั นาโดยนําหนังสัตวมาขึงท่ี
ปากทอนไมกลวงไวกลายเปนเครื่องดนตรีที่เรียกวากลอง ตอมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให
แตกตางออกไป เชน กลองท่ีขึงปดดวยหนังสัตวเพียงหนาเดียว ไดแก กลองรํามะนา กลองยาว กลอง
แอว และกลองท่ีขึงดวยหนังสัตวท้ังสองหนา ไดแก กลองมองเซิง กลองสองหนา และตะโพนมอญ
นอกจากนย้ี ังมีเคร่อื งตีทีท่ าํ ดว ยโลหะ เชน ฆอง ฉง่ิ ฉาบ สว นเคร่ืองดนตรีประเภทเปา ไดแก ขลุย ยะเอ
ปแน ปม อญ ปส รุ ไน และเครอื่ งสี ไดแ ก สะลอลกู 5 สะลอลูก 4 และสะลอ 3 สาย และเคร่ืองดีด ไดแก
พิณเปยะ และซึง 3 ขนาด คือซึงนอย ซึงกลาง และซึงใหญ สําหรับลักษณะเดนของดนตรีพื้นบาน
ภาคเหนือ คือมีการนําเคร่ืองดนตรีประเภท ดีด สี ตี เปา มาผสมวงกันใหมีความสมบูรณและไพเราะ
โดยเฉพาะในดา นสาํ เนยี งและทํานองท่ีพลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุมนวลออนละมุนของธรรมชาติ
นอกจากน้ียังมกี ารผสมทางวัฒนธรรมของชนเผา ตาง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสํานักทํา
ใหเกิดการถายโยง และการบรรเลงดนตรีไดทั้งในแบบราชสํานักของคุมและวัง และแบบพื้นบานมี
เอกลกั ษณเฉพาะถนิ่

60

เคร่ืองดนตรีภาคเหนอื

สะลอ
สะลอ หรือทะลอ เปน เคร่ืองสายบรรเลงดว ยการสี ใชคันชักอิสระ ตัวสะลอท่ีเปนแหลงกําเนิด

เสียงทํา ดวยกะลามะพรา ว ตดั และปดหนา ดว ยไมบ าง ๆ มชี องเสียงอยูด า นหลัง คนั สะลอทาํ ดวย ไม
สกั หรือไมเนอ้ื แขง็ อ่ืน ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลูกบิดอยูดานหนานิยม ทําเปนสอง
สาย แตที่ทําเปนสามสายก็ มีสาย เดิมใชสายไหมฟน ตอมาทําดวยลวดหรือสายเบรกจักยานซึ่ง
สันนิษฐานวา คาํ วา สะลอ มาจาก คําวาสายลอหรือสายเบรกจกั รยานในภาษาทางเหนือ และเรียกกลาย
มาเปนสะลอในทีส่ ุด สะลอมี 3 ขนาด คอื สะลอ เลก็ สะลอกลาง และสะลอใหญ 3 สาย

ซงึ

ซึง เปนเคร่อื งสายชนิดหนงึ่ ใชบรรเลงดวยการดีด ทําดวยไมสักหรือไมเน้ือแข็ง มีชองเสียงอยู
ดา นหนา กาํ หนดระดับเสยี งดว ยนมเปน ระยะ ๆ ดีด ดวยเขาสัตวบ าง ๆ มสี ายทาํ ดว ยโลหะ เชน ลวด หรือ
ทองเหลือง (เดมิ ใชสายไหมฟน) 2 สาย

61

ขลุย
เชน เดยี วกับขลุยของภาคกลาง

ป
ป เปน ปล น้ิ เดียวท่ีตัวลน้ิ ทาํ ดว ยโลหะเหมอื นล้นิ แคน ตัวปทําดวยไมซางท่ีปลายขางหน่ึงฝงลิ้น

โลหะไวเ วลาเปา ใชป ากอมลิน้ ท่ปี ลายขา งน้ี อกี ดานหนงึ่ เจาะรู บังคบั เสียงเรยี งกัน 6 รู ใชปดเปดดวยน้ิว
มอื ทั้ง 2 นวิ้ เพ่ือใหเกดิ ทาํ นองเพลง มี 3 ขนาด ไดแก ขนาดใหญเ รยี ก ปแ ม ขนาดรองลงมาเรียก ปกลาง
และขนาดเลก็ เรยี ก ปก อย นิยมบรรเลงประสมเปน วงเรียก วงจุมป หรือปจมุ หรอื บรรเลงรวมกับซึงและ
สะลอ

ปแ น
ปแ น มลี ักษณะคลา ยปไ ฉน หรือปชวา แตมีขนาดใหญกวา เปนปประเภทล้ินคูทําดวยไม เน้ือ

แข็ง มีรูบงั คบั เสียง เชนเดียวกับปใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆอง กลอง ตะหลดปด และกลอง
แอว เชน ในเวลาประกอบการฟอน เปน ตน มี 2 ขนาด ไดแก ขนาดเล็กเรียก แนนอย ขนาดใหญ เรียก
แนหลวง

62

พณิ เปย ะ
พิณเปยะ หรือ พิณเพยี ะ หรอื บางทีก็เรียกวา เพยี ะ หรอื เปย ะ กะโหลกทําดวยกะลามะพรา ว เวลา

ดีดเอากะโหลกประกบตดิ ไวกบั หนา อก ขยับเปด-ปด เพ่ือใหเกดิ เสียงกงั วานตามตอ งการ สมัยกอ นหนุม
ชาว เหนอื นิยมเลนดีดคลอการขับรองในขณะไปเก้ียวสาวตามหมูบานในยามค่ําคืน ปจจุบันมีผูเลนได
นอ ยมาก

กลองเตงถ้ิง
กลองเตงถงิ้ เปนกลองสองหนา ทําดวยไมเนื้อแข็ง เชน ไมแดง หรือไมเน้ือออน เชน ไมขนุน

หนากลองขึงดวยหนังวัว มีขาสําหรับใชวางตัวกลอง ใชประสมกับเครื่องดนตรีอ่ืน ๆ เพื่อเปนเคร่ือง
ประกอบจงั หวะ

63

ตะหลดปด
ตะหลดปด หรอื มะหลดปด เปน กลองสองหนา ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร หนากลอง

ขึงดว ยหนงั โยงเรงเสยี งดวยเชือกหนัง หนาดา นกวา งขนาด 30 เซนตเิ มตร ดานแคบขนาด 20 เซนติเมตร
หนุ กลองทาํ ดวยไมเนือ้ แข็งหรือเนอื้ ออ น ตีดวยไมหมุ นวม มีขจี้ า (ขา วสกุ บดผสมขี้เถา ) ถว งหนา

กลองต่ึงโนง
กลองต่ึงโนง เปนกลอง ที่มีขนาดใหญท่ีสุด ตัวกลองจะยาวมากขนาด 3-4 เมตรก็มี ใชตีเปน

อาณตั ิสัญญาณประจาํ วัด และใชในกระบวนแหก ระบวนฟอนตาง ๆ ประกอบกบั ตะหลดปด ปแน ฉาบ
ใหญ และฆองหุย ใชตีดว ยไม เวลาเขา กระบวน จะมีคนหาม

64

กลองสะบดั ชยั
กลองสะบัดชัยโบราณ เปนกลองทมี่ มี านานแลวนับหลายศตวรรษ ในสมยั กอนใช ตยี ามออกศกึ

สงคราม เพอื่ เปน สริ มิ งคล และเปนขวัญกําลงั ใจใหแกเหลาทหารหาญในการตอ สูใหไ ด ชยั ชนะ ทาํ นอง
ทีใ่ ชใ นการตี กลองสะบัดชยั โบราณมี 3 ทาํ นอง คอื ชยั เภรี ชยั ดถิ ี และชนะมาร

3. ดนตรีพนื้ บา นภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื (อสี าน) มีววิ ัฒนาการมายาวนานนับพันป เริ่มจาก
ในระยะตน มีการใชว สั ดทุ อ งถิ่นมาทาํ เลียนเสียงจากธรรมชาติ ปา เขา เสยี งลมพดั ใบไมไ หว เสียงน้ําตก
เสียงฝนตก ซ่ึงสวนใหญจะเปนเสียงส้ันไมกอง ในระยะตอมาไดใชวัสดุพ้ืนเมืองจากธรรมชาติมาเปา
เชน ใบไม ผวิ ไม ตนหญา ปลอ งไมไผ ทาํ ใหเ สยี งมีความพลิ้วยาวขน้ึ จนในระยะที่ 3 ไดน าํ หนังสัตวและ
เครอื่ งหนังมาใชเปน วัสดเุ คร่ืองดนตรีท่ีมีความไพเราะและรูปรางสวยงามขึ้น เชน กรับ เกราะ ระนาด
ฆอง กลอง โปง โหวด ป พณิ โปงลาง แคน เปน ตน โดยนาํ มาผสมผสานเปน วงดนตรพี ื้นบานภาคอสี าน
ท่มี ีลกั ษณะเฉพาะตามพืน้ ที่ 3 กลุม คอื กลมุ อสี านเหนือ และอสี านกลางจะนยิ มดนตรหี มอลําทม่ี ีการเปา
แคนและดีดพณิ ประสานเสียงรว มกับการขับรอง สวนกลมุ อีสานใตจะนยิ มดนตรซี ่งึ เปน ดนตรีบรรเลงท่ี
ไพเราะของชาวอสี านใตท ่ีมเี ช้อื สายเขมร นอกจากน้ียงั มวี งพิณพาทยและวงมโหรดี ว ย ชาวบานแตละ
กลมุ ก็จะบรรเลงดนตรเี หลา น้ีกนั เพอ่ื ความสนุกสนานคร้ืนเครงใชประกอบการละเลน การแสดงและ
พิธกี รรมตาง ๆ เชน ลําผีฟาที่ใชแ คนเปา ในการรักษาโรค และงานศพแบบอีสานท่ีใชวงตุมโมงบรรเลง
นบั เปน ลกั ษณะเดน ของดนตรพี ื้นบานอีสานทแ่ี ตกตา งจากภาคอนื่ ๆ

65

เครือ่ งดนตรภี าคอีสาน

หืน
หืน เปน เครื่องดนตรีกึ่งดีดก่งึ เปาอยางหนึ่งมที ้งั ทที่ าํ ดว ยไมไ ผแ ละโลหะเซาะรองตรงกลางเปน

ลนิ้ ในตัว เวลาเลน ประกบหนื เขากบั ปาก ดดี ท่ีปลายขา งหนงึ่ ดวยน้ิวหวั แมมอื หรอื นว้ิ ช้ี อาศยั กระพงุ ปาก
เปนกลอ งเสยี ง ทําให เกิดเสยี งสูงตาํ่ ตามขนาดของกระพงุ ปากทท่ี าํ สามารถดดี เปน เสียงแทค ลา ยเสยี งคน
ออกเสยี งสระ เคร่อื งดนตรนี ี้มเี ลน กนั ในพวกชนเผา มเู ซอ เรียกช่อื วา เปย ะ

เครื่องดนตรีชนิดนี้มิไดมีเฉพาะในประเทศไทยเทานั้น แตมีในทุกสวนของโลก เชน แถบ
มองโกเลยี ปาปว นิวกนิ ี อฟั ริกา และยโุ รป นับเปน เครอ่ื งดนตรีโบราณช้นิ หนึ่งทน่ี า ศึกษาอยางยิง่

แคน
แคนเปน เครื่องดนตรีที่เปน ทีร่ ูจกั มากทีส่ ุดของชาวอีสานเหนือ และอสี านกลางไมรวมอีสานใต

ทมี่ ีอิทธพิ ลเขมร แคนเปน เคร่ืองดนตรีสมบูรณแบบท่สี ดุ ทีม่ ปี ระวัตคิ วามเปนมายอนหลังไปหลายพันป
แคนทํา ดว ยไมซาง มลี นิ้ โลหะ เชนดีบกุ เงนิ หรือทองแดงบาง ๆ ประกอบไวในสวนที่ประกอบอยูใน
เตาแคน แคนมีหลายขนาด เชน แคน 7 แคน 9 ขาง ๆ เตาแคน ดานบนมีรูปดเปดบังคับเสียง เวลา เปา
เปา ท่เี ตา แคนดานหนา ใชม อื ทงั้ สอง ประกอบจับเตาแคนในลกั ษณะเฉียงเล็กนอ ย แคนเปนเคร่ืองดนตรี
ทบี่ รรเลงไดทง้ั ทาํ นองเพลงประสานเสยี ง และใหจังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดาร
มาก

66

ระบบเสียงของแคน เปนท้งั ระบบ ไดอะโทนคิ และเพนตะโทนิค มีขั้น คูเสียงท่ีเลนไดทั้งแบบ
ตะวันตก และแบบไทยรวมทง้ั คเู สียงระดบั เดียวกันอีกดว ย

โหวด
โหวด เปนเครื่องเปาชนิดหน่ึงท่ีไมมีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เปาผานไมรวกหรือไมเฮี้ย (ไมกู

แคน) หรือไมไ ผ ดานรู เปดของตัวโหวดทําดวยไมรวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลําดับตามความสูงตํ่า
ของเสียง) ติดอยูรอบกระบอกไมไผท่ีใชเปนแกนกลาง ติดไวดวยขี้สูด มีจํานวน 6-9 เลา ความยาว
ประมาณ 25 เซนตเิ มตร เวลาเปาจะหมุนไปรอบ ๆ ตามเสียงที่ตองการ

พณิ
เปนเครอื่ งดนตรีท่ีบรรเลงดวยการดีด มี 2-3 สาย แตขึ้นเปนสองคู โดยข้ึนคู 5 ดีดเปนทํานอง

เพลง ตัวพิณและคันทวนนิยมแกะดวยไมชิ้นเดียวกัน มีนมสําหรับต้ังเสียง สายพิณนิยมทําดวยโลหะ
โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทําดว ยเขาสัตวแ บน ๆ เหลาใหบ างพอทีจ่ ะดีด สะบัดได

67

โปงลาง
โปงลางเปนเครื่องดนตรีประเภทท่บี รรเลง ทาํ นองดว ยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย

บรรเลงรวมกนั กบั แคน พิณและเครอ่ื งประกอบจังหวะ หรอื บรรเลงเดย่ี ว ตวั โปงลางทาํ ดว ยทอ นไมแ ขง็
ขนาดตา ง ๆ กันเรียงตามลาํ ดบั เสียงรอ ยดว ยเชือกเปนลูกระนาด ปลายขางเสียงสูงผูกแขวนไวกับกิ่งไม
และ ขางเสยี งตาํ่ ปลอยทอดเย้ืองลงมาคลอ งไวก ับหัวแมเทาของผูบรรเลง หรือคลองกับวัสดุ ปกติ ผูเลน
โปงลางรางหน่ึงมี 2 คน คอื คนบรรเลง ทํานองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคูประสาน ไมที่ตี
โปงลางทําดวยไมเน้ือแข็งเปนรูปคลาย คอนตีดวยมือสองขาง ขางละอัน ขนาดของโปงลางไมมี
มาตรฐานแนนอน

จะเขกระบอื
เปนเครื่องดนตรีสําคัญช้ินหน่ึงในวงมโหรีเขมร เปนเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน

มี 3 สาย สมัยกอ นสายทาํ จากเสน ไหมฟน ปจ จุบนั ทําจากสายเบรคจักรยาน การบรรเลงจะใชมือซายกด
สายบนเสียงทต่ี องการ สว นมือขวาใชสําหรบั ดีด

68

กระจบั ป
เปนเคร่อื งดนตรปี ระเภทดดี โดยใชกระทที่ ําจากเขาสัตว กลอ งเสียงทําดว ยไมขนนุ หรอื ไมส ัก

สวนปลายสดุ มรี ู 2 รู ใชใสลกู บดิ และรอ ยสาย เมอ่ื บรรเลงจะตั้งขนานกบั ลาํ ตัว มือขวาจบั กระสาํ หรบั ดดี
มือซายกดที่สายเพื่อเปลย่ี นระดับเสยี ง

ซอกนั ตรมึ
เปน เคร่ืองสายใชสี ทําดวยไม กลองเสียงขึงดวยหนังงู มีชองเสียงอยูดานตรงขามหนาซอ ใช

สายลวดมี 2 สาย คันชกั อยูระหวางสาย คันซอยาวประมาณ 60 เซนตเิ มตร มลี กู บดิ อยูต อนนอกซอใชรัด

69

ดว ยเชอื ก ขนาดของซอแตกตา งกันไปตามความประสงคข องผูสราง โดยทว่ั ไปมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก
เรยี ก ตรัวจี้ ขนาดกลางเรยี ก ตรัวเอก ขนาดใหญเ รยี ก ตรัวธม

กลองกนั ตรมึ
เปนเครอ่ื งหนงั ชนิดหนงึ่ ทาํ ดวยไมขดุ กลวง ขงึ หนา ดานหนึง่ ดวยหนังดึงใหตึงดวยเชือก ใชดี

ประกอบจังหวะในวงกันตรึม

ปไสล หรือปไ ฉน
ใชบรรเลงในวงกันตรมึ เปน ปป ระเภทลิน้ คูเชนเดยี วกับปใ น

70

กรบั คู
กรับคู เปน กรบั ทาํ ดว ยไมเ นื้อแข็ง ลกั ษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แตขนาด เล็ก

กวา ใชประกอบจงั หวะดนตรใี นวงกันตรึม กรับคชู ดุ หนง่ึ มี 2 คู ใชข ยบั 2 มือ

4. ดนตรีพื้นบานภาคใต มีลักษณะเรียบงายมีการประดิษฐเคร่ืองดนตรีจากวัสดุใกลตัวซ่ึง
สนั นิษฐานวา ดนตรพี ืน้ บา นดัง้ เดิมของภาคใตนา จะมาจากพวกเงาะซาไกท่ีใชไมไผลําขนาดตาง ๆ กัน
ตัดออกมาเปนทอนสั้นบางยาวบาง แลวตัดปากของกระบอกไมไผใหตรงหรือเฉียงพรอมกับหุมดวย
ใบไมห รือกาบของตนพชื ใชต ปี ระกอบการขบั รอ งและเตนราํ จากน้นั กไ็ ดม กี ารพฒั นาเปนเครื่องดนตรี
แตร กรบั กลองชนิดตา ง ๆ เชน รํามะนา ท่ไี ดร บั อทิ ธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุกที่ใช
บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซงึ่ ไดร บั อิทธพิ ลมาจากอนิ เดียตลอดจนเคร่ืองเปา เคร่ืองสี รวมทั้งความ
เจริญทางศิลปะการแสดงและดนตรขี องเมืองนครศรีธรรมราช จนไดช่ือวาละครในสมัยกรุงธนบุรีน้ัน
ลวนไดรบั อทิ ธพิ ลมาจากภาคกลาง นอกจากนี้ยงั มกี ารบรรเลงดนตรีพ้นื บานภาคใตประกอบการละเลน
แสดงตา ง ๆ เชน ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลงุ ที่มเี คร่อื งดนตรีหลกั คอื กลอง โหมง ฉ่งิ และเครอ่ื งดนตรี
ประกอบผสมอนื่ ๆ ดนตรลี เิ กปาที่ใชเครือ่ งดนตรีรํามะนา โหมง ฉ่ิง กรับ ป และดนตรีรองเง็งท่ีไดรับ
แบบอยา งมาจากการเตนรําของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาต้ังแตสมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีท่ี
ประกอบดว ย ไวโอลิน รํามะนา ฆอง หรอื บางคณะก็เพ่ิมกีตารเขาไปดวย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เปนท่ีนิยม
ในหมูชาวไทยมุสลมิ ตามจังหวดั ชายแดน ไทย – มาเลเซีย ดงั นัน้ ลักษณะเดนของดนตรีพ้ืนบานภาคใต
จะไดรับอิทธิพลมาจากดินแดนใกลเคียงหลายเช้ือชาติ จนเกิดการผสมผสานเปนเอกลักษณเฉพาะที่
แตกตา งจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเร่ืองการเนนจงั หวะและลลี าท่เี รงเรา หนักแนน และคกึ คกั เปน ตน

71

เครือ่ งดนตรีภาคใต

ทับ
ทับ เปน เครือ่ งดนตรที ี่มีความสาํ คญั ในการใหจ งั หวะควบคุมการเปลีย่ นแปลงจังหวะและ เสริม

ทาราํ ของการแสดงโนราใหดีเยย่ี ม ตวั ทบั มีลกั ษณะคลา ยกลองยาว แตมีขนาดเล็กกวา มาก ยาวประมาณ
40-50 เซนติเมตร ทาํ ดว ยไมแกน ขนนุ หุม ดวยหนงั เชน หนังคา ง หนังแมว ตรึงหนัง ดวยเชือกดายและ
หวาย ทับใบหน่ึงจะมีเสียงทมุ เรยี กวา "ลกู เทงิ " สวนอีกใบหนึ่งจะมีเสียงแหลมเรียกวา "ลกู ฉับ"

กลองโนรา
กลองโนรา ใชประกอบการแสดงโนราหรือหนงั ตะลุง โดยท่ัวไปมีขนาดเสนผาศูนยกลางของ

หนากลองทั้ง 2 ดา น ประมาณ 10 นวิ้ และมสี วนสูงประมาณ 12 นว้ิ กลองโนรานิยมทําดว ยแกน ไมข นนุ
เพราะเชือ่ วาทาํ ใหเสยี งดี หนงั ทหี่ ุมกลองใชห นังววั หรอื ควายหนมุ ถาจะให ดตี องใชหนงั ของลูกววั หรือ
ลกู ควาย มหี มุดไมหรือภาษาใตเ รยี กวา "ลกู สัก" ตอกยดึ หนังหมุ ใหต งึ มขี าทงั้ สองขาทาํ ดวยไมไผมเี ชอื ก
ตรงึ ใหต ิดกับกลอง และมี ไมตีขนาดพอเหมาะ 1 คู ถา เปนกลองทใี่ ชประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี
ขนาดเลก็ กวา ขนาดเสน ผา ศูนยกลางประมาณ 6 นว้ิ และมสี วนสงู ประมาณ 9 น้ิว

72

โหมง กบั ฉ่งิ
โหมง เปน เครอื่ งดนตรที ม่ี สี วนสําคญั ในการขบั บท ท้งั ในดา นการใหเ สียงและใหจังหวะ เพราะ

โนราหรอื หนังตะลงุ ตอ งรองบทใหกลมกลืนกับเสียงโหมง ซ่ึงมี 2 ระดับ คือ เสียงทุมและเสียงแหลม
โดยจะยึดเสียงแหลมเปนส่ิงสําคัญ เรียกเสียงเขาโหมง สวนไมตีโหมงจะใชยางหรือ ดาย ดิบหุมพัน
เพอื่ ใหม ีเสยี งนมุ เวลาตี

ฉง่ิ เคร่ืองดนตรีชนดิ นม้ี ีความสําคัญตอการขับบท ของโนราหรือหนังตะลงุ ผูท่ีตฉี ิ่งตอ งพยาม ตี
ใหล งกับจงั หวะที่ขบั บท สมัยกอ นนยิ มใชฉิง่ ขนาดใหญ มีเสนผาศนู ยกลางประมาณ 2 น้ิว สวนปจจุบนั
ใชฉ งิ่ ขนาดเลก็ มเี สนผา ศูนยก ลางประมาณ 1.5 น้ิว ทาํ ดวยทองเหลอื งชนดิ หนา

ป
เครื่องดนตรีชนิดน้ีมีความสําคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผูชม ใหเกิดความรูสึกเคลิบเคลิ้ม

และทําใหผแู สดงรายรําดวยลีลา ที่ออ นชอย ตัวปท าํ ดว ยไมเนื้อแข็ง หรือใชแกนไม บางชนิด เชน ไม
กระถิน ไมมะมวง ไมร ัก หรอื ไมมะปริง สว นจําพวกปท าํ ดวยแผน ทองแดงและลิ้นปทําดวยใบตาล ซึ่ง
นยิ มใชใบของตนตาลเดีย่ วกลางทุง เพราะเชือ่ วาจะทําใหปมีเสียงไพเราะ

73

แตระพวงหรือกรบั พวง

แตระพวงหรือกรับพวง เปนเคร่ืองประกอบจังหวะทําจากไมเน้ือแข็งขนาด 0.5x 2 x 6 น้ิว

นาํ มาเจาะรหู ัวทาย รอยเชือกซอนกนั ประมาณ 10 อัน ที่แกนหลงั รอ ยแตระทาํ ดว ยโลหะ

74

เร่ืองที่ 3 ภมู ปิ ญญาทางดนตรี

คุณคา ทางดนตรี
ดนตรีเปนผลงานสรางสรรคของมนุษยท่ีสื่อถึงอารมณความรูสึกนึกคิดที่มีตอสิ่งแวดลอม
ธรรมชาติ วิถีชีวิต จึงสะทอนใหเห็นถึงความเปนอยูลักษณะนิสัย ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนภูมิ
ปญญาของผูคนทองถน่ิ ตา ง ๆ ในยุคสมยั ตาง ๆ กัน ดงั นน้ั ดนตรีจงึ เปน หลกั ฐานทางประวัติศาสตรอยา ง
หนึ่งที่สามารถนําไปอางอิงได และนับไดวาเปนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณคาควรไดรับการ
บาํ รงุ รักษา เพื่อคงความเปนเอกลักษณข องชาติตอไป
การที่ดนตรีสามารถถายทอดอารมณความรูสึกตาง ๆ ตลอดจนนําไปประยุกตใช
ในชวี ติ ประจําวนั จงึ มีประโยชนแ ละชวยพัฒนาอารมณค วามรสู กึ หลายประการ

ประโยชนของดนตรี
1. ชว ยทําใหเกิดความสนกุ สนาน เพลดิ เพลิน ปลดปลอยอารมณไมใหเครียด ผอนคลายอารมณ
ได
2. ชว ยทําใหจิตใจสงบ และมสี มาธิในการทํากจิ กรรมตาง ๆ ไดอ ยางมปี ระสทิ ธิภาพ
3. ชว ยพฒั นาดา นการเรียนรู โดยนําไปบูรณาการกับวิชาอน่ื ๆ ใหเ กิดประโยชน
4. ชวยเปนสื่อกลางในการเช่ือมความสัมพันธอันดีและใชเปนกิจกรรมทํารวมกันของ
ครอบครัวหรือเพอ่ื นฝูง เชน การรองเพลงและเตนราํ ดว ยกนั

การอนุรักษผลงานทางดนตรี
ผลงานทางดนตรีท่ีถกู สรา งข้ึนมาโดยศิลปนในยุคสมัยตาง ๆ ซ่ึงแสดงถึงภูมิปญญาของบรรพ
บุรษุ และศลิ ปนทั้งหลาย และบง บอกถงึ ความมอี ารยธรรมแสดงถึงเอกลกั ษณป ระจาํ ชาติ จึงมีคุณคาควร
แกก ารอนรุ ักษแ ละสบื ทอดพฒั นาใหค งอยู เพือ่ สรา งความภาคภมู ิใจและเปน มรดกทางวัฒนธรรมตอ ไป
การอนรุ กั ษแ ละสืบทอดผลงานทางดนตรมี หี ลายวิธี นกั เรียนสามารถทําไดโดยวิธงี ายๆ ดังนี้
1. ศกึ ษาคนควาความเปนมาของวงดนตรปี ระเภทตางๆ ท่ีนาสนใจ
2. รวบรวมหรอื จดบันทึกเกีย่ วกบั ผลงานทางดนตรีของศิลปนท่ีนาสนใจ เพ่ือใชเปนขอมูลใน
การศึกษาหาความรตู อ ไป
3. ถามีโอกาสใหไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑเกี่ยวกับงานดนตรี เพื่อดูขอมูลหรือเร่ืองราวเก่ียวกับ
ดนตรแี ละวิวัฒนาการทางดนตรี
4. เขา รวมกจิ กรรมทางดนตรี เชน การแสดงดนตรี การจดั งานราํ ลึกถงึ ศิลปน

75

5. ถา มโี อกาสไดเ รียนดนตรี โดยเฉพาะดนตรีพื้นบา นควรใหค วามสนใจและตัง้ ใจเรียนเพือ่ สืบ
ทอดงานดนตรตี อ ไป

6. ใหความสนใจเร่อื งราวเกีย่ วกับดนตรใี นทองถิ่นของตนเองและทอ งถน่ิ อนื่

แกน แท...เพลงพื้นบา น
เพลงพนื้ บา นเปน งานของชาวบา นซ่งึ ถายทอดมาโดยการเลาจากปากตอปาก อาศัยฟงและการ

จดจํา ไมมกี ารจดบนั ทึกเปน ลายลักษณอักษร ขอ ท่ีนาสังเกตก็คือ ไมวาเพลงพื้นบานจะสืบทอดมาตาม
ประเพณี ทั้งนีม้ ไิ ดห มายความวา เพลงทกุ เพลงจะมตี น กําเนดิ โดยชาวบา นหรือการรองปากเปลาเทานั้น
ชาวบานอาจไดร ับเพลงบางเพลงมาจากราชสาํ นกั แตเ มอื่ ผานการถายทอดโดยการรองปากเปลา และการ
ทอ งจํานาน ๆ เขา กก็ ลายเปน เพลงชาวบา นไป เชนเดียวกบั กรณขี องเพลงรําโทนท่ีผูวิจัยไดทําการศึกษา
กเ็ ปนอกี ลกั ษณะหน่งึ ทีไ่ ดผ สมผสานระหวางทวงทํานองแบบทอ งถิ่น แตมีลีลาการดําเนินทํานองที่เปน
แบบพื้นเมอื ง

ลกั ษณะของเพลงพ้นื บา นมคี วามเรยี บงาย
ลักษณะเดนที่สุดของเพลงพื้นบาน คือ มีความเรียบงาย ฟงแลวเขาใจทันที ถาจะมีการ

เปรียบเทยี บแฝงสัญลักษณอยางไร กส็ ามารถแปลความหมายไดโ ดยไมยากนกั เชน
“พอพีค่ วํา่ มือไป นองก็หงายมือมา...” “พี่นกึ รักแมตากลมเอย...”
ฟงกันแคน ี้ หนมุ สาวกเ็ ขา ใจแลววาผูรองหมายถึงอยางไร ความเรียบงายในท่ีน้ีไมใชเรียบงาย

อยางมกั งา ย แตเปน ความเรยี บงา ยที่สมบรู ณอกี ดว ย คอื ท้ังงา ยและคมคาย สวยงามไปในตวั โดยอัตโนมัติ
ถาเปนนยิ าม ก็เปนนยิ ามทรี่ ูจกั เลอื กหยิบคําสละสลวยมาเรียงกันเขา ถึงจะนอยคําแตคนอานก็สามารถ
มองเห็นภาพและไดร บั รูรส รูบ รรยากาศหมด ในชวี ติ ประจาํ วนั บางทีเราอาจพบคนบางคนพูดอะไรเสีย
ยืดยาว วกวน และฟงเขาใจยาก ในขณะทถี่ า ใหอกี คนสบั เรียงคาํ พดู ใหม และตดั ทอนถอยคําที่ไมจําเปน
ออกไปเราจะฟงเขา ใจเรว็ กวา เพลงพ้นื เมอื งเปรียบเสมอื นคนประเภทหลังนี้

ความเรียบงายในการรองและการเลน
เพลงพื้นบานยังคงยึดถือลักษณะด้ังเดิมของมนุษยเอาไว ขอน้ีอาจจะทําใหเราเห็นวาเพลง

พน้ื บา นขาดการปรับปรุงและขาดวิวัฒนาการ ที่จริงการรองเพลงท่ีมีเคร่ืองดนตรีประกอบมาก ๆ ก็
ไพเราะอยางหน่ึง และขณะเดียวกันผูรองเพลงโดยไมมีเครื่องดนตรีชวย หรือมีชวยเพียงนอยช้ิน
อยา งเชนผเู ลน กตี า ร เลนแอวเคลาซอ ก็สามารถสรางความไพเราะไดเชนกัน จึงเปนทางสองทางที่เรา
ตดั สนิ วา จะเลือกอยางไหน

เพลงพื้นบานไดเลือกทางของตัวเองในแบบหลัง เพราะสภาพการดําเนินชีวิตมาชวยเปน
ตัวกําหนด ดังน้นั จงึ ไมเ ปน การยากเลยที่จะเหน็ ชาวบานหรือชาวเพลง “ทาํ เพลง” โดยไมตองตระเตรียม

76

อะไรเปนการใหญโตนกั สิ่งท่จี ะชวยใหเ พลงไพเราะ นอกจากขึ้นอยูกับการใชถอยคําแลวเขาไดใชมือ
หรือเครอ่ื งประกอบจงั หวะงา ย ๆ เชน กรบั ฉิ่ง กลอง เหลาน้ีเพียงเล็ก ๆ นอย ๆ มาชวย บางทีก็ไมใช
เลย

เพลงกลอมเด็ก และเพลงพาดควายรอ งปากเปลา ใชก ารเอ้อื นเสียงใหเ กดิ บรรยากาศและอารมณ
เพลงเตนกํารําเคียว ใชรวงขา วเคยี ว ซ่ึงมอี ยแู ลวในขณะเกยี่ วขาว มาประกอบการรอ งราํ
เพลงเรือใชกรบั ฉ่งิ เสยี งรองรบั ของลกู คู ชว ยใหเกิดความครึกครืน้
เพลงฉอย เพลงพวงมาลยั ใชเ พียงการปรบมอื ชวย
ลําตดั ใชร ํามะนา
สิ่งทส่ี ําคญั สาํ หรับเพลงทีร่ องกันหลาย ๆ คน คือ การอาศัยเสียงรองรับ รองกระทุง สอดเพลง
ของลูกคู ซึง่ จะชวยใหเ พลงน้ันสนุกสนานครึกคร้ืนอยางย่ิง เพยี งเทานเ้ี องทเี่ พลงพ้ืนเมอื งตอ งการ
การเนน ความสนกุ สนานเปน หลัก
เพลงพืน้ เมอื งของเราจึงมกั เนนอยสู องอยา ง ซ่ึงจะออกมาในรูปของการใชคําสองแงสองงาม การ
เวน เสียซึ่งเรื่องทที่ ุกขมาก ๆ การใชคําสองแงสองงาม อยางเชนเพลงฉอยของโรงพิมพวัดเกาะ เมื่อฝาย
ชายเกรนิ่ ฝา ยหญิงไดยินเสยี งกร็ อ งตอบออกมาวา
“พี่เอยพีม่ าถงึ จะมาพง่ึ ของรกั แมหนยู งั หนัก น้ําใจ
ไอตรงแองในหอผา พ่ีเอย แกอยาไดหมาย
พ่พี ึ่งเงนิ จะกอง พ่พี ึ่งทองจะให
พีจ่ ะพง่ึ อีแปะ จนใจนอ งแกะไมไ หว (เอชา)”
ชายวา
“ทาํ ไมกับเงินกับทอง สมบัตเิ ปน ของนอกกาย
พีจ่ ะพึ่งหนังมาหมุ เน้ือ จะไดตดิ เปน เยอื่ เปนใย (เอชา)
การเวน เสียซง่ึ เรอ่ื งทีท่ กุ ขมากๆ ระหวางความสนุก กบั ความทุกข คนเราตองเลือกเอาอยางแรก
กอนเสมอ บทเพลงของชาวบานกเ็ ชนกัน เม่ือเทียบเนื้อหาในตัวเพลงแลว สวนที่กลาวถึงเรื่องราวแหง
ความทุกขมีเปอรเซ็นตนอ ยวา ดานความสนกุ มาก และบางครงั้ ความทุกขท ี่นาํ มารองก็เปน การสมมุติข้ึน
เพยี งเพื่อเปล่ียนและคนั่ อารมณค นฟง เทาน้ัน เหมือนอยา งเพลงเรือตอนท่ีผวั เกากลบั บา น เมือ่ มาถงึ บานก็
ตอ งหดหูใ จท่ีบานรกรา งเพราะไมมีใครดูแล ในขณะท่ีพรรณนาความเปลี่ยนแปลงความเหงาหงอย ซ่ึง
พอ เพลงสามารถจะเรยี กความสงสารจากคนฟง ได พอเพลงก็ยังอดใสล ักษณะข้ีเลน เขาไปไมได เชน
“.............................................
พิศดคู รอบครวั มันใหช่ัวลามก มันชา งสกปรกไมรูจกั หาย
หมอ ขา วก็กลิง้ หมอ แกงกก็ ล้ิง ฝาละมีตฉี งิ่ อยูทีข่ างครวั ไฟ
ไอค รกกะบากก็เลนละคร สากกะเบือก็นอนเปนไข
.............................................”

77

การมรี ูปแบบท่ีคลายคลึงกนั
ชาวบางแพ จังหวัดราชบุรี รอ งเพลงฉอยใหฟ งตอนหนงึ่ เขาลงทา ยบทเพลงวา
“เรามาเลน กันเสยี แตล มปาก พอเลกิ แลว เรากจ็ ากกนั ไป...”
ในขณะเดยี วกันชาวบานบางลกู เสอื ซึง่ อยูไกลออกไปถึงจังหวัดนครนายกรองเพลงระบําบาน

นาของเขาในบทเกรน่ิ วา
“เอยพ่ีมาวันน้ี กช็ วนแมเ ลน ระบํา วากนั คน (แมเอย ) ละคําไมเ ปน ไร
เราเลนกนั กนั ก็แตล มปาก พอเลกิ แลวเราก็จาก จากแมจากกนั ไป...”
ทําไมชาวเพลงตางถิน่ จึงรองเพลงดวยถอ ยคาํ ท่คี ลายคลึง หรอื เกอื บจะเหมือนกันท้งั ๆ ท่ีอยูหาง

กันคนละทิศทาง ตัวอยางที่นํามาไมใชเร่ืองบังเอิญ มีบทเพลงของตางถิ่นตางเพลงท่ีรองคลายคลึงกัน
มากมาย สิ่งน้ีเมื่อนํามาเปรียบเทียบและศึกษาดูแลวจะช้ีใหเราเห็นวา เพลงพ้ืนเมืองในลุมแมนํ้า
เจาพระยา และลุมนํ้าใกลเคียงไดสรางรูปแบบท่ีมีหลายสิ่งหลายอยางรวมกันขึ้น ดวยการแลกเปลี่ยน
ถา ยทอดระหวางคนตอ คน หรือระหวา งคณะตอ คณะ จนกระท่ังทกุ อยา งประสมกนั อยางสนิท

รูปแบบรว มของเพลงพน้ื บาน แยกกวา ง ๆ ไดเปน ดานเน้ือหา และการเรยี งลาํ ดบั เร่ืองดานถอยคาํ
ดา นเนื้อหาและการเรียงลําดบั เรอ่ื ง เนือ่ งจากเพลงพนื้ เมืองยังแยกไดออกเปนเพลงโตตอบอยาง

สนั้ และเพลงโตตอบอยางยาวอีก และเนื้อหารปู แบบของเพลง 2 พวกอาจแยกไดดวยเพื่อความสะดวก
เราจงึ แยกพิจารณาเชนกนั

เพลงโตตอบอยางยาว ไดแกเพลงเรอื เพลงระบําบานไร เพลงพวงมาลยั เพลงเหยย เพลงหนาใย
เพลงเตนกําราํ เคยี ว เพลงอีแซว เพลงระบาํ บา นนา เพลงพาดควาย เพลงเทพทอง เพลงปรบไก ลาํ ตัด เพลง
แอว เคลาซอ เพลงฉอ ย เพลงเหลา นสี้ วนมากเปนเรื่องของผเู ลนท่ีมคี วามชาํ นาญ คอื
พอ เพลงแมเพลงอาชีพ ถึงไมเ ปนเพลงอาชีพกต็ อ งเปน ผทู ่ีเลน จนสามารถโตต อบกับใครไดน าน ๆ ไมมี
การจบกลางคนั เพราะหมดไสหมดเพลง การทจ่ี ะรอ งใหไดน าน ๆ จงึ ตอ งสรางเรอ่ื งหรอื สรา งชดุ การ
เลน ข้ึน ดังนนั้ เราจงึ มีชุดใหญข องเพลงเหลา นีเ้ ปนตนแบบคอื ชดุ รักหนาพาหนี ชดุ สขู อ ชดุ ชิงชู ชดุ ตี
หมากผัว เปนตน แบบแผนของเพลงโตต อบอยา งยาวที่เกือบทุกเพลงตองมี คือ การเริ่มเพลงดว ยบทไหว
ครู เม่อื ไหวค รูแลว จึงมกั เปน บทเกรน่ิ เรียกหาหญงิ ใหม าเลนเพลง แลว จงึ เปน การโตต อบ หรือทเี่ รยี ก
กันวา “การประ” จะวากนั คนื ยงั รงุ หรอื สักครง่ึ คืนก็ตามใจ

เพลงโตตอบอยางสั้น หรือเพลงเน้ือส้ัน ไดแกเพลงพิษฐาน เพลงระบํา เพลงเตนกํารําเคียว
เพลงสอคอลาํ พวน เพลงชกั กระดาน เพลงแบบนม้ี กั เปน เพลงสัน้ ๆ เหมาะสําหรับผูท่ีไมใชเพลงอาชีพรอง
กันคนละสหี่ า วรรค คนละทอนสัน้ ๆ ก็ลงเพลงเสีย เปน เพลงทเ่ี ปดโอกาสใหท ุกคนไดรวมสนุกกันอยางงาย
ๆ ถาเรารวมเพลงกลอมเด็กดวยก็เปนเพลงส้ันเชนกัน ใคร ๆ ก็พอจะรองได เพลงเนื้อส้ัน
จงึ ไมจ าํ เปน ตอ งมีพิธรี ตี องในการรอง หรอื ตอ งใชการสรา งบทชุดใหญเขา มากําหนดเรียงลําดับการเลน
แตอ ยางใด เม่อื จะเลน ก็ตั้งวงเขา หรือรอ งไปเลย

78

การมีเนื้อหาที่คลายคลึงกนั ทําใหพอเพลงคนหน่งึ หยบิ ถอ ยคําจากเพลงนีไ้ ปใสในอีกเพลงหน่ึง
โดยไมรูตวั ขอ ท่ีเราตอ งไมลมื คือ พอ เพลงคนหนงึ่ ๆ มักจะรอ งเพลงไดหลายทํานอง นอกเหนือไปจาก
เพลงทเ่ี ขาถนัดการแลกเปลยี่ นถอยคําจึงทําไดงายมาก ดังน้ันเราอาจพบการวางลําดับคําหรือการใชคํา
บรรยายระหวา งเพลงตอเพลงในจังหวะพอ ๆ กัน สงิ่ นมี้ าจากการตกทอดในใจของชาวเพลงนน้ั เอง

ในอีกดา นหนง่ึ เพลงพนื้ เมอื งหลายชนิดใชก ลอนอยา งหนง่ึ ซึง่ สัมผัสดวยสระเดียวกนั หมดใน
วรรคทายของบท เชน ลงไปกไ็ อไปเร่อื ย ลงอาก็อาไปเรอื่ ย ศัพทท างเพลงเรยี กวา กลอนไล กลอนลา
กลอนลี กลอนลู ฯลฯ ตวั อยา งเชน เพลงเรือ เพลงฉอย เพลงเตน กํารําเคียว เพลงพวงมาลัย เปนตน รปู
แบบอยา งนคี้ งเกดิ ขนึ้ เพราะหาสัมผสั งา ยสะดวกในการดันเพลง เพราะการดนั เพลงนนั้ หากฉนั ทลกั ษณ
ยากไป กค็ งรองคงฟงกันยาก สระท่ีนยิ มนาํ มาใชกนั มากทสี่ ดุ ไดแ ก สระไอ

เร่อื งท่ี 4 คุณคาของเพลงพื้นบาน

เพลงพ้ืนบานเปนมรดกทางวรรณกรรม ชาวบานนิรนามไดแตงเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้
อาจจะมาจากความเปน คนเจาบทเจากลอนและความอยูไ มสขุ ของปาก แตบังเอิญหรือบางที่ไมใชความ
บังเอิญ เพลงของเขาไพเราะและกินใจชาวบานคนอื่น ๆ ดวย ดังน้ันเพลงดังกลาวจึงไดแพรกระจาย
ออกไปเร่ือย ๆ และในท่ีสุดไมมีใครรูวาใครเปนคนแตงเพลงบทนั้น และแตงเม่ือใด เพลงพ้ืนบานถูก
รอยกรองขึน้ ดวยคําท่เี รยี บงา ยแตกนิ ใจ สงิ่ นีเ้ องที่ทําใหเ พลงพ้ืนบา นมคี า เพราะนน่ั เปน ศิลปะอยางหนึ่ง
อยางแทจริง

ครงั้ หนงึ่ พระเจาวรวงศเ ธอ กรมหมืน่ พิทยาลงกรณ ทรงเลาวา ไดทรงแตงบทเลนเพลงช้ันบท
หน่งึ แลวประทานใหช าวชนบทซึ่งอานหนังสือไดนําไปรอง แตทรงสังเกตวา จากกิริยาท่ีชาวบานคน
นน้ั แสดงออกมา ถา หากปลอยใหเขาแตงเองนา จะเรว็ กวาบทที่นพิ นธเสียอกี ทรงถามวา มันเปนอยางไร

คําตอบท่ีลวนแตเปนเสียงเดียวกันคือ มันเต็มไปดวยคํายากทั้งนั้น ถึงตอนเก้ียวพาราสีผูหญิง
ชนบทที่ไหนเขาจะเขาใจ และไมรูวาจะรองตอบไดอยางไร เรื่องน้ีจะเปนบทแสดงใหเห็นวา เพลง
พนื้ บา นนั้นใชค าํ งา ย แตไ ดความดไี มจาํ เปน ตองสรรหาคํายากมาปรงุ แตง เลย

ประเภทของเพลงพ้ืนบา น
เรามีหนทางท่จี ะแบงประเภทเพลงพ้ืนบา นออกไดเ ปนพวก ๆ เพอื่ ความสะดวกในการพิจารณา

ไดห ลายวธิ ี เชน การแบง ตามความส้นั –ยาวของเพลง เชน เพลงสนั้ ไดแ ก เพลงระบาํ เพลงพิษฐาน เพลง
สงฟาน เพลงสําหรับเด็ก เพลงชักกระดาน เพลงเขาทรง เพลงแหนางแมว เพลงฮินเลเล เปนตน สวน
อยา งเนอ้ื ยาว ไดแก เพลงฉอ ย เพลงเรือ เพลงอีแซว เปนตน

79

การแบงตามรปู แบบของกลอน คือ จัดเพลงทม่ี ฉี นั ทลักษณเหมือนกันอยูในพวกเดียวกัน เรา
จะจัดใหเ ปนสามพวก คอื พวกกลอนสมั ผัสทาย คือ เพลงท่ีลงสระขางทายสัมผัสกันไปเรื่อย ๆ ไดแก
เพลงฉอย เพลงลําตัด เพลงระบําชาวไร เพลงระบําบานนา เพลงหนาใย เพลงอีแซว เพลงสงคอ
ลาํ พวน เพลงเทพทอง ลงกลอนสัมผสั ทายเหมือนกัน แตเวลาลงเพลงเมื่อใดตองมีการสัมผัสระหวาง
สามวรรคทายเก่ียวโยงกนั เชน เพลงเรอื เพลงเตนกําราํ เคียวเพลงขอทาน เพลงแอว เคลา ซอ

พวกท่ีไมคอยเหมือนใคร แตอาจคลายกันบาง เชน เพลงสําหรับเด็ก เพลงระบํา เพลง
พษิ ฐาน เพลงสงฟาง เพลงชกั กระดาน เพลงเตน กาํ ราํ เคียว เพลงพาดควาย เพลงปรบไก เพลงเหยย

การแบงเปน เพลงโตต อบและเพลงธรรมดา เพลงรองโตตอบ ไดแก เพลงฉอย เพลงอีแซว ฯลฯ
สวนเพลงอีกพวก คือ เพลงที่เหลือ ซึ่งเปนเพลงที่รองคนเดียว หรือรองพรอมกัน หรือไมจําเปนตอง
โตต อบกัน เชน เพลงสาํ หรับเดก็ เพลงขอทาน เพลงชกั กระดาน เพลงสงฟาง (มักจะเปนเพลงส้ันๆ) เปน
ตน

การแบง อธิบาย เราไดเ ลอื กการแบง วิธีนี้ เพราะเหน็ วาสามารถสรางความเขาใจสอดคลองกัน
ไดดี เพลงแตละเพลงมคี วามเกย่ี วเนอ่ื งกันตามลําดับ เพลงที่เลนตามเทศกาลและฤดูกาล เชน หนาน้ํา
หรือหนากฐิน ผาปา เลน เพลงเรอื เพลงหนาใย ถดั จากหนากฐินเปนหนาเก่ียว เลนเพลงเกี่ยวขาว เพลง
สงคอลําพวน เพลงสงฟาง เพลงชกั กระดาน เพลงเตน กาํ รําเคยี ว ถดั จากหนา เกี่ยว เปนชว งตรุษสงกรานต
เลนเพลงพิษฐาน เพลงระบําบานไร เพลงพวงมาลัย เพลงเหยย เพลงท่ีเลนไดทั่วไปโดยไมจํากัด
ชว งเวลา ไดแกเ พลงสาํ หรับเด็ก เพลงอีแซว เพลงระบําบานนา เพลงพาดควาย เพลงปรบไก เพลงเทพ
ทอง ลาํ ตัด เพลงแอวเคลา ซอ เพลงขอทาน เพลงฉอ ย

การแบงภมู ภิ าคเพลงพน้ื บา น
ภาคกลาง

1. เพลงปฏิพากย เปนการรองโตตอบกันระหวางหญิงชาย ทั้งการเก้ียวพาราสี เรียกตัวเอก
ของทั้งฝายหญิงชายวา “พอเพลง แมเพลง” ซึ่งเปนบุคคลท่ีมีประสบการณสูง จึงทําใหการแสดงมี
รสชาติไมกรอยไป เพลงในลักษณะน้ีมีหลายแบบ ซึ่งลวนตางกันทั้งลีลา ลํานํา และโอกาส อาจมี
ดนตรีประกอบ พรอมกันน้ันก็มีการรายรําเพื่อเนนคําขับรองดวย เชน ลําตัด เพลงฉอย เพลงอี
แซว เพลงพวงมาลยั เพลงเรอื เพลงเหยอย เพลงชา เจา หงส ฯลฯ

2. เพลงการทาํ งาน ยง่ิ เปน ลักษณะของชาวบานแท ๆ มากขึ้น การใชเพลงชวยคล่ีคลายความ
เหน็ดเหนื่อยเปนความฉลาดท่ีจะสามารถดําเนินงานไปไดอยางสนุกสนาน โดยเฉพาะงาน
เกษตรกรรม มีการรองโตตอบกันบาง บางครั้งก็แทรกคําพูดธรรมดา เพ่ือลอเลียนยั่วเยาไปดวย
เชนเพลงเกี่ยวขาว เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงสงคาํ ลําพวน เพลงพานฟาง โดยใชการตบมือ
เขาจังหวะอยางสนกุ สนาน

80

ภาคเหนอื
มกี ารขับรอ งและขบั ลาํ อีกแบบหนึ่ง โดยการใชถ อยคาํ สําเนียง และทํานอง ซึ่งคลอเคลาดวย

ปซอ เรียกวา รากซอหรือขอซอสําหรับ “ซออูสาว” ไดแก การรองโตตอบกันระหวางหญิงชาย ซ่ึง
มักจะใชคาํ กลอนที่แตงไวแลวจดจํามารอง บางโอกาสเทาน้ันท่ีรองดนอยางฉับไว ซ่ึงจะตองเปนผูมี
ประสบการณสูง การรองเปนเร่ืองเชิงขับลํานํา มักใชเรื่องพระลอ เร่ืองนอยไจยา
เปนตน วิธีรองใชเอ้ือนตามทํานองแลวหยุดในบางตอน แตเรื่องยังติดตอกันตลอดไป การแตงคํา
กลอนของภาคเหนือมีหลายแบบ เชน แบบ “คําร่ํา” มีลักษณะเปนรายที่สัมผัสอักษรกันไปตลอด มี
การถายทอดกันแบบ “มุขปาฐะ” แลว จดจาํ กันตอ มาหลายสํานวน จนบางสํานวนเขา ขั้นเปนวรรณกรรม
พื้นบาน
ภาคอสี าน

มเี พลงขับขานในลักษณะตาง ๆ อยูเปนอันมาก เชน กลอนลํา ที่หมอลํากลอนจดจํา และใช
เปน บทขับรอง แสดงคูกับการเปาแคน กลอนสูขวัญ ซ่ึงวิวัฒนาการมาจากพิธีพราหมณ ก็มีอยูหลาย
แบบ สุดแตจะทําขวัญอะไร เชน สูขวั ญบาวสาวกินดอง สูขวัญเด็ก สูขวัญหลวงฯลฯ
นอกจากน้ัน ยังมี “ผะหญา” หรือ “ผญา” ซ่ึงเปนการขับรองดวยวลีหนึ่ง ๆ ที่ไมอาศัยคําคลองจอง แต
อาศยั พนื้ ฐานจากคําพูดทใี่ ชพ ูดประจาํ วนั ผูกเปน ผญาส้นั ๆ ไดก ลายเปนแบบอยางฉันทลักษณที่เขาข้ัน
วรรณกรรมพื้นบาน เชน ผญาเร่อื งทาวฮุง
ภาคใต

มีเพลงกลอนใชรอง ใชขับลําที่สําคัญแสดงปฏิภาณของกวีคือ “เพลงบอก” แมวาจุดประสงค
แหงเน้ือความของเพลงบอกจะบอกเรื่องราว หรือขาวคราวใหผูคนทราบในเร่ืองตาง ๆ แตก็มีวิธีรอง
ประกอบการแสดง ไมใหเบอ่ื ฟง ซ่ึงมอี ยู 2 แบบคอื รอ งแบบส้นั ๆ แลวมลี กู คูรับกับ รอ งแบบยาว (อยาง
รา ยยาว) แลวมลี กู ครู บั คณะเพลงบอกจะมีตัวพอเพลง หรือแมเพลง ลูกคู และมีฉ่ิง กรับ ป ขลุย และ
ทับ (กลอง) ไมม ีการรํา เพราะคนฟง มุงฟง กลอนบอกเทาน้ัน

บัญญตั แิ ปดประการของเพลงพ้ืนบานในประเทศไทย
1. เพลงพื้นบานของไทยสวนใหญเลนกันในหมูหนุมสาว แบงออกเปน 2 กลุม คือ

ชายกลมุ หนึ่ง หญงิ อีกกลมุ หนึง่ การวา เพลงพน้ื บา นน้ีหนไี มพนเกี้ยวพาราสเี รือ่ งรัก ๆใคร ๆ สว นมากใช
รอง โต ต อบกั น ด วย ก ลอน สด เม่ื อฝ า ย ชา ย ร อง เพ ลง นํ า กอน โ ด ย ปร ะ เพณี ย อมไ ด รั บ
การตอบสนองจากกลุมฝายหญิง คํารองจากฝายหญิงไดแสดงออกถึงการตอนรับและรองเพลงใน
คํากลอน ซ่งึ แสดงออกถึงการปกปองตนเองอยางสุภาพตามลกั ษณะของกุลสตรีไทยแบบด้ังเดมิ

การวา กลอนสดโตต อบกันระหวางชายหญิงนี้ คนไทยทุกกลุมทั้งทอี่ ยใู นและนอกราชอาณาจกั ร
ไทยถือเปนขนบประเพณีเหมือน ๆ กัน ปฏิบัติสืบตอกันมาหลายช่ัวอายุคน ปรากฏวามีประเพณีหาม

81

หนมุ สาวพบปะกนั สองตอ สองแตเม่ือจะใชคาํ กลอนพูดจากันแลวอนุญาตใหเกี้ยวพาราสีกันไดโดยไม
ตอ งออ มคอม

ในภาคเหนือ ภาคอีสาน มีคําพูดใชโตตอบกันระหวางหนุมสาวเปนคําปรัชญาของทองถิ่น
เรยี กวา ผะหญา (ในศิลาจารกึ สมัยสุโขทยั จารึกวา ประญา) ในภาคอสี านสมยั กอนท่ีจะไดรับการพัฒนา
เหมอื นสมยั นี้มกี ารรักษาขนบประเพณีน้ีเครงครดั มาก หนุมสาวท่ไี มปะทะคารมเปน คาํ ปรัชญาท่ีเปนคํา
กลอนกจ็ ะไดรับการตาํ หนิจากสังคมวา ขี้ขลาดตาขาว ไมกลาลงบวง หนุมสาวท่ีไมไดแตงงาน เพราะ
โตต อบกลอนสดไมเ ปนเรียกวา ตกบว ง

2. การวาเพลงพื้นบานของไทยแสดงออกถึงความสามัคคี ร่ืนเริงตามแบบแผนวัฒนธรรม
โบราณของไทยท่สี ืบทอดตดิ ตอกนั มาหลายช่วั อายคุ น เปน การแสดงออกของศลิ ปนเพอ่ื ศิลปะโดยแท

3. การวาเพลงพ้นื บา นของไทยฝา ยชายมีผูนําในการวาเพลงเรยี กวา พอ เพลง ในทํานองเดียวกัน
ผนู ําในการวาเพลงของฝา ยหญิงก็เรยี กวา แมเพลง

พอเพลงและแมเพลงสวนมากก็จะเปนญาติผูใหญของหนุมสาวท้ังสองฝายน่ันเอง เปนส่ิง
ธรรมดาท่ีท้ังพอ เพลงและแมเ พลงยอมหาโอกาสเสริมทักษะความรเู กีย่ วกับชีวิตคู และเร่ืองเพศสัมพันธ
เร่อื งตา ง ๆ เหลาน้ีมีอยูพ รอ มในคํารอ งอันฉลาดแหลมคมของบทกลอนของเพลงพ้ืนบาน จึงกลาวไดวา
คนไทยมกี รรมวธิ ีการสอนใหห นุมสาวรเู รือ่ งเพศสมั พันธในอดีตอันยาวนานแลว จากประเพณีการเลน
เพลงพื้นบา นของไทยนจ้ี ะเห็นวา คนไทยเรารจู ักการสอนเพศศกึ ษาแกเยาวชนมากอ นฝายตะวนั ตก โดย
ปราศจากขอ สงสัย

4. กอนที่จะประคารมกันเชิงบทเชิงกลอน ผูอาวุโสนอยกวาจะแสดงความคารวะผูอาวุโส
มากกวา จะวาเปนกลอนขออภัยลวงหนา วาหากลวงเกินดวยกาย วาจา ใจ ประการใด ก็ขอใหอภัยดวย
ฯลฯ เมอื่ คารวะคูแขงผูอาวโุ สกวาแลว ผูวา เพลงก็ไมล มื หนั หนา ไปทางผรู วมฟง ออกตวั ถอมตัว ดวย
ความสภุ าพออนโยนวา หากการวา กลอนสดจะขลกุ ขลักไมสละสลวย หรือไมถึงใจผูฟงก็ขอไดโปรด
ใหอภยั ดว ย จะเห็นไดวาแกน แทข องคนไทยสุภาพออนโยนเปน ชาตเิ ผา พนั ธุที่ถอ มตัวเสมอ

5. เม่ือผานพธิ กี ารออกตวั ถอมตัว ตามประเพณีแลว ก็จะประจนั หนากนั ทักทายกันดว ยคาํ ขมขวญั
กนั

6. เมอ่ื มโี อกาสวาเพลงพืน้ บานกันระหวา งชายหญงิ โดยประเพณีจะอนญุ าตใหฝายหญิงโตตอบ
เปนคํากลอนสดกับฝายชายอยางเต็มท่ี เธอจะวากลอนสดแสดงความรักความเกลียดชังใครไดอยาง
เปดเผย โดยไมถือวาเปนการทําตนเสื่อมเสียเลย โดยขนบประเพณีเดิมสืบเน่ืองมาแตดึกดําบรรพ
อนญุ าตใหส ตรเี พศแสดงออกซึง่ สทิ ธเิ สรีภาพทัดเทียม หรอื ลํ้าหนา ผูชาย

7. เมื่อการเลน เพลงพ้นื บา นจบสิน้ ลงแลว มีประเพณอี นั ดงี ามของไทยโบราณท่ีควรนํามา สดุดี
ณ ทน่ี ี้ คอื ผวู า เพลงพื้นบา นทีร่ ตู ัววา มีอาวโุ สนอยกวา จะไปแสดงคารวะขอขมาลาโทษผูที่มีอาวุโสสูง
กวา ในกรณีที่อาจมีการวากลอนสดลวงเกินไปบาง ผูใดรูตัววายังวาเพลงพื้นบานกลอนสดยังไมได
มาตรฐาน ก็จะใฝห าความรูความชาํ นาญจากผทู ีช่ ํานาญกวา การเตรียมการ การฝก ซอม ใชเวลาวางจาก

82

การทาํ ไร ไถนา หนมุ ก็จะไปกราบขอเรยี นจากพอเพลง ในทํานองเดียวกันสาวก็จะไปหาความรูความ
ชํานาญจากแมเ พลง เนอื่ งจากมีการฝกซอ มกันไวล วงหนาหลายเดอื น เมือ่ วันสําคัญไดมาถงึ แมฝ า ยหญงิ
จะมคี วามกระดากอายอยูบาง แตความพรอมทําใหเธอกลาประจันหนากับชายหนุมท่ีจะสงคําถาม คํา
เก้ยี วพาราสี และเธอกพ็ รอมที่จะตอบโตเ ปน กลอนสดทุกรูปแบบ

แบบอยา งเพลงพ้นื บานท่ีขับขานออกมาจากปากของคนหนึง่ กรอกเขารูหขู องผูท่ีต้ังใจรับฟงจะ
อยูในความทรงจําอยางแนนแฟน แมมีอิทธิพลอารยธรรมจากแหลงอื่นเขามาปรากฏ แบบอยาง
ขนบประเพณอี ืน่ อาจผนั ผวนคลอ ยตามไปไดไมยาก แตแบบอยางเพลงพื้นบานท่ีขับขานออกจากปาก
เขา รูหูแลวเขาไปเจือปนในสายเลือดนนั้ เรอื่ งท่ีจะหนั เหโนมเอียงใหต ามปรากฏการณใหม ๆ ไมใชของ
งายนกั

เรือ่ งที่ 5 พัฒนาการของเพลงพ้ืนบาน

1. ความเปนมาของเพลงพ้ืนบานไทย
การสืบหากาํ เนดิ ของเพลงพ้ืนบานของไทยยงั ไมสามารถยตุ ิลงไดแ นน อน เพราะเพลงพนื้ บาน
เปนวัฒนธรรมทส่ี บื ทอดกนั มาปากตอปาก ไมม ีการบันทกึ เปนลายลักษณ แตคาดวาเพลงพื้นบานคงเกิด
มาคูกับสังคมไทยมาชานานแลว เชน เพลงกลอมเด็กก็คงเกิดข้ึนมาพรอม ๆ กับการเล้ียงดูลูกของ
หญงิ ไทย การศกึ ษาประวตั ิความเปนมาและการพัฒนาการของเพลงพื้นบานไทย พอสรุปไดดังน้ี

1.1 สมัยอยธุ ยา ในสมัยอยุธยาตอนตน มกี ารกลาวถงึ “การขับซอ” ซ่งึ เปนประเพณีของ
ชาวไทยภาคเหนอื ปรากฏในวรรณคดี ทวาทศมาส และลลิ ติ พระลอ และกลาวถึง “เพลงรองเรือ ซึ่ง
เปนเพลงทีช่ ายหญิงชาวอยุธยารองเลนในเรือ มีเครอื่ งดนตรีประกอบปรากฏใน กฎมณเทียรบาล ท่ีตรา
ขน้ึ สมยั พระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยอยธุ ยาตอนปลาย ในรัชกาลพระเจา บรมโกศ มกี ารกลาวถงึ “เพลง
เทพทอง” วาเปน เพลงโตต อบที่เปนมหรสพชนิดหนึ่งในงานสมโภชพระพุทธบาทสระบุรี ปรากฏใน
ปณุ โณวาทคําฉนั ท ของพระมหานาควัดทา ทราย

1.2 สมัยรัตนโกสินทร สมัยรัตนโกสินทรเปนสมัยท่ีมีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพ้ืนบาน
ชนิดตาง ๆ มากท่ีสุด ต้ังแตรัชกาลท่ี 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เปน “ยุคทอง” ของเพลงพ้ืนบานที่เปนเพลง
ปฏิพากยจ ะเหน็ จากการปรากฏเปนมหรสพในงานพระราชพิธีและมีการสรางเพลงชนิดใหม ๆ ข้ึนมา
เชน เพลงฉอ ย เพลงอแี ซว เพลงสง เคร่ือง ซึ่งเปนทนี่ ิยมของชาวบานไมแ พม หรสพอน่ื

ในสมัยรัตนโกสนิ ทรตอนตนมีหลักฐานวา เพลงเทพทอง เปนเพลงปฏพิ ากยเกา ท่ีสุดท่ีสืบทอด
มาจากสมัยอยุธยา มีการกลาวถึงในฐานะเปนมหรสพเลนในงานพิธีถวายพระเพลิงพระชนกและ
พระชนนีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก และเพลงปรบไก มีการกลาวไวในจารึกวัด

83

พระเชตุพนฯ วาเปนมหรสพชนดิ หนง่ึ ที่เลนในงานฉลองวัดในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากน้ียังมีการอางถึง
เพลงทงั้ สองในวรรณคดอี ีกหลายเลม เชน บทละครอณุ รุท อเิ หนาและขุนชา งขนุ แผน เปน ตน

ในรชั กาลพระบาทสมเด็จพระนง่ั เกลาเจา อยูห วั มีการกลาวถึงเพลงปฏิพากย ในโคลงพระราช
พธิ ีทวาทศมาส (ราชพิธีสิบสองเดือน) วา ในงานลอยกระทงมกี ารเลน สกั วา เพลงคร่ึงทอน เพลงปรบไก
และดอกสรอ ย เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา เจาอยูหัว การละเลน พนื้ บานตาง ๆ ท่ีเคย
รุง โรจนมาแตรชั กาลตน ๆ เริ่มซบเซาลง เพราะเกิดกระแสความนิยม “ แอวลาว ” ข้ึน โดยเฉพาะใน
หมชู นชั้นสูง รัชกาลที่ 4 ทรงเกรงวาการละเลน พื้นบา นของไทยจะสญู หมด จงึ ทรงออกประกาศหามเลน
แอวลาวตอ ไป

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯให
ชาวบา นเลน เพลงพื้นบานถวายใหทอดพระเนตรในขณะท่ีประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ.
2426 จงึ นบั เปน ครัง้ แรกที่ไดม กี ารนําเพลงชาวบา นมาเลนถวายพระมหากษตั รยิ ใ หทอดพระเนตร และ
ในรชั สมัยนีก้ ารละเลน พนื้ บา นยงั เปน ท่ีนยิ มอยูโดยเฉพาะทางดา นศิลปะการแสดง ท่ีเปน มหรสพ นอกจาก
จะมีโขน ละคร หุน หนังใหญ หนังตะลงุ แลว ยังมลี เิ กและลําตดั เกดิ ขึ้นใหม และแพรไปยังชาวบานตาม
ทอ งที่ตา ง ๆ อยางรวดเรว็ ดว ย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลาเจาอยหู วั ทรงสง เสรมิ เพลงพืน้ บานโดยทรงบรรจุบท
รอ งท่ีใชทํานองเพลงปรบไกไ วในพระราชนิพนธเรื่องศกุนตลา สํานวนที่เปนบทละคร รวมทั้งไดทรง
พระราชนิพนธเร่ืองพระหันอากาศและนางอุปโกศา ไวเปนเคาโครงเร่ืองสําหรับแสดงลิเก และโปรด
เกลา ฯ ใหม ีการแสดงลิเกในการสมโภชพระตําหนักชาลมี งคลอาสน ในพ.ศ. 2460 ดวย ในสมัยน้ีเพลง
พ้ืนบานยังคงเปนท่ีนิยมของชาวบาน ไดแก เพลงสงเคร่ืองหรือเพลงทรงเครื่อง และเพลงฉอย เปน
ตน โดยเฉพาะเพลงฉอ ยนยิ มเลนกันทวั่ ไป และในสมัยนี้มีการนําเพลงพ้ืนบานมาตีพิมพเปนหนังสือ
เลม เชน เพลงระบาํ ชาวไรข องนายบศุ ย เพลงเรือชาวเหนือของนายเจรญิ เปนตน

การแสดงเพลงฉอยในรายการทีว”ี คุณพระชว ย” (ภาพ www.daradaly.com)

อยางไรกต็ ามในชว งสงครามโลกครั้งท่ี 2 อิทธพิ ลของวัฒนธรรมและระบบทุนนยิ มแบบ
ตะวนั ตกทาํ ใหเกิดสงิ่ บนั เทงิ แบบตะวันตกอยา งหลากหลาย เชน เพลงไทยสากล เพลงราํ วง เพลงลกู ทุง

84

เปนตน เพลงพ้นื บานจงึ เรมิ่ หมดความนิยมลงทลี ะนอ ย ประกอบกบั ตอ งเผชิญอปุ สรรคในสมยั รัฐบาล
จอมพล ป. พบิ ูลสงคราม ที่ออกพระราชกฤษฎีกากาํ หนดวฒั นธรรมแหงชาติ พ.ศ. 2495 ควบคุม
การละเลนพน้ื บานทําใหขาดผูเลน และผสู ืบทอดเพลงปฏพิ ากยจ ึงเส่อื มสญู ลงในทสี่ ุด

เพลงพ้นื บา นตาง ๆ เร่ิมกลบั ฟน ตัวอกี ครั้งหนึ่งและกลายเปนของแปลกใหมที่ตองอนุรักษและ
ฟน ฟู ในชวง ประมาณ พ.ศ. 2515 เปนตนมา หนวยงานทั้งของรัฐและเอกชน รวมท้ังบุคคลที่สนใจได
พยายามสงเสริมใหมีการศึกษาคนควาอยางเปนระบบ รวมทั้งสนับสนุนใหเผยแพรเพลงพื้นบานให
กวางขวางข้ึน เพลงพ้ืนบานโดยเฉพาะเพลงปฏิพากยจึงไดกลับมาเปนท่ีนิยมอีกคร้ังหนึ่ง แตเปนใน
ลกั ษณะของงานแสดงเผยแพร มใิ ชในลกั ษณะของการฟนคืนชวี ิตใหม

2. พัฒนาการรปู แบบและหนา ท่ขี องเพลงพนื้ บาน เพลงพนื้ บานของไทยมกี ารพัฒนาสรุปได
ดังน้ี

2.1 เพลงพ้ืนบานที่เปนพิธีกรรม เพลงพ้ืนบานของไทยกลุมหน่ึงเปนเพลงประกอบ
พิธีกรรมซ่ึงมบี ทบาทชดั เจนวาเปน สว นหนึ่งของพิธกี รรมน้ัน ๆ เชน เพลงในงานศพและเพลงประกอบ
พิธีรักษาโรค นอกจากเพลงกลุมดังกลาวแลวยังมีเพลงพื้นบานอีกกลุมหนึ่งที่แมการแสดงออกใน
ปจ จุบันจะเนนเรอ่ื งความสนุกสนานรื่นเริง แตเมื่อพินิจใหลึกซึ้งจะพบวามีความสัมพันธกับความเช่ือ
และพิธีกรรมในอดีต และยังเปนสวนหนึ่งของพิธีกรรมน้ัน ๆ ดวยเพลงพื้นบานดังกลาวไดแก เพลง
ปฏิพากยและเพลงประกอบการละเลนของผูใหญ ท่ีปรากฏในฤดูกาลเก็บเกี่ยวและเทศกาลตรุษ
สงกรานต

สงั คมไทยแตด้งั เดิม ชาวบา นสว นใหญเปน ชาวนาชาวไร มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทํามาหากิน
เกี่ยวเนื่องกบั ธรรมชาติ ความอดุ มสมบูรณข องพืชพันธุธญั ญาหารเปนปจ จัยสําคัญทีส่ ุดในการ ยงั ชีพ คน
ไทยจึงไดสรางพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับความเจริญงอกงามขึ้น เพื่อขอใหผีสางเทวดาอํานวยส่ิงที่ตน
ตอ งการ หรอื มฉิ ะนั้นก็สรางแบบจําลองขึ้นเพ่ือบังคับใหธรรมชาติเปนไปตามที่ตองการ เชน สรางนา
จําลอง เรยี กวา ตาแรกหรือตาแฮก ( ภาคอีสาน ) แลวดํากลาลงในนา 5-6 กอ เชื่อวาถาบํารุงขาวในนา
แรกงอกงาม ขาวในนาทัง้ หมดก็งอกงามตามไปดว ย

85

การทาํ พธิ ีดํานาตาแฮกหรอื การแฮกนา

พิธีกรรมท่เี กยี่ วกับความเจริญงอกงามท่ีเห็นไดชัดท่ีสุด ไดแก พิธีกรรมในฤดูกาลเก็บเกี่ยว
และในเทศกาลตรุษสงกรานต

เพลงพื้นบานในฤดูกาลเก็บเกยี่ ว
พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกที่สําคัญอยูในชวงฤดูกาลเก็บเกี่ยวและกอนเริ่มฤดูกาล

เพาะปลกู ในโอกาสดังกลา วน้ีนอกจากจะปรากฏพธิ กี รรมอยูท ุกขัน้ ตอนแลวยังมีการเลนเพลง พ้ืนบาน
ดวย

กอนเร่ิมฤดูกาลเพาะปลูกในแตละป ชาวนาจะทําพิธีสูขวัญเคร่ืองมือเคร่ืองใชใน
การเพาะปลูก เชน ควาย ไถ คราด เปนตน ซึ่งในพิธีกรรมน้ัน ๆ จะมีการรองบทสูขวัญ ซึ่งเปนเพลง
ประกอบพิธี นอกจากน้ีถาฝนไมตกตองตามฤดูกาล ชาวนาจะจัดพิธีกรรมขอฝนขึ้น ซึ่งจะทํากัน
ทุกภาค (ยกเวนภาคใตที่ไมมีปญหาเร่ืองฝน) และทํากันดวยวิธีการตาง ๆ เปนตนวา ชาวนา
ภาคกลางจะจัดพิธีแหนางแมวและพิธีปนเมฆ (ปนดินเหนียวเปนรูปอวัยวะเพศชาย หรือปนหุน
รูปคนชายหญงิ สมสูกนั ) โดยมเี พลงแหน างแมวและเพลงปน เมฆรองประกอบ ชาวนาภาคเหนอื และภาค
อีสา นจะ จัด พิธีแหน างแมวและ แหบ้ั งไ ฟ โ ดยมี เซ้ิ งแห นา งแม วและเซ้ิงแหบั้ งไฟ เป น
เพลงประกอบพิธี เมอ่ื ไดจัดพธิ กี รรมเหลา น้ีข้นึ ชาวบา นจะอบอนุ ใจ เชอ่ื วาฝนจะตกลงมา ขาวในนาก็จะ
งอกงาม

86

รองเลน เพลงเตน กํารําเคียว
เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเก่ียวพืชผล ชาวนาจะจัดพิธีกรรมสูขวัญขาวสูขวัญลานและสูขวัญยุง เพื่อ
ขอบคุณผีสางเทวดาที่ใหผลผลิต ในขณะเดียวกันก็ปดรังควานผีรายท่ีจะทําใหผลผลิต
เสียหาย นอกจากนภี้ าคกลางยงั มีการรองเลน เพลงเตน กํารําเคียว เพลงรอ ยชงั่ และเพลงเกย่ี วขาว เปนการ
รองรําเพอ่ื เฉลิมฉลองผลผลิตที่ได ดงั นน้ั เพลงทีร่ อ งในฤดกู าลเก็บเกยี่ วในแงหนึ่งเปนการรองเพ่ือความ
สนุ ก เพ ลิ ดเพ ลิ น แต อี ก แง หนึ่ ง ก็ เป นก า ร ร อง เพื่ อเฉ ลิ มฉ ลอง ค วา ม อุ ด ม สม บู ร ณ ข อง
พชื พันธธุ ัญญาหาร
เพลงพื้นบา นในเทศกาลตรุษสงกรานต
หลังจากผานการทํางานในทุงนาอยางหนักมาเปนเวลาคอนป เมื่อถึงชวงฤดูรอนซึ่งเปนเวลา
หลังเก็บเกี่ยว ก็จะถึงเทศกาลรื่นเริงประจําปคือเทศกาลตรุษสงกรานต ซึ่งเปนเทศกาลเลนสนุกท่ี
เกี่ยวเนอื่ งกับพิธีกรรมเพอ่ื ความอดุ มสมบรู ณ สงกรานตเ ปน เทศกาลสาํ คัญของเพลงพื้นบานเพราะเพลง
พื้นบานไทยสวนใหญโดยเฉพาะเพลงพ้ืนบานภาคกลางรองเลนอยูในเทศกาลนี้ เพลงรองเลนในวัน
สงกรานตแบง ออกไดเปน 2 ประเภทคือ เพลงปฏพิ ากยและเพลงประกอบการละเลน ของผูใ หญ

การรอ งเลนเพลงปฏพิ ากย

87

เพลงปฏิพากย มีทั้งเพลงโตตอบอยางสั้นรองเลนตอนบาย เชน เพลงพิษฐานและเพลงระบํา
บานไร และเพลงโตต อบอยางยาว เชน เพลงพวงมาลยั และเพลงฉอ ย เปนตน เนื้อหาของเพลงจะปรากฏ
เรือ่ งเพศมากมาย ซ่ึงแสดงรองรอยวาในระยะตนเพลงเหลานี้นาจะเก่ียวเน่ืองกับพิธีกรรมความเชื่อ
โดยเฉพาะความเชอื่ เร่ืองเพศกบั ความอุดมสมบรู ณ วามคี วามสัมพันธก นั

เพลงประกอบการละเลนของผใู หญ แบง ออกเปน 2 กลุม กลุมหนึง่ เปน เพลงประกอบ
การละเลนของหนุมสาวทเ่ี ลนกนั ในตอนบาย เชน เพลงระบาํ อีกกลุมหนึ่งเปน เพลงประกอบการละเลน
เขา ทรงผีตาง ๆ นยิ มเลน กนั ในตอนกลางคนื ไดแก เขา ทรงแมศ รี ลิงลม นางควาย ผกี ระดง นางสาก เปน
ตน การละเลน กลุม หลังนี้เปนการละเลน กึ่งพิธกี รรม ซงึ่ สะทอนความเชือ่ ดง้ั เดมิ เกยี่ วกับการนับถือผีสาง
เทวดา เช่อื วา มผี ีสถิตอยแู ละรูค วามเปนไปของธรรมชาติ จงึ เชิญผี มาสอบถามปญ หาเกีย่ วกบั การทํามา
หากนิ เชิญผีพยากรณด นิ ฟาอากาศ

เมือ่ พิจารณาเพลงพ้นื บานของไทยท่รี อ งเลนเพ่ือความสนุกนานในเทศกาลแลว อาจสรุปไดวา
ในระยะแรกเพลงพน้ื บา นน้ัน ๆ คงเปนสวนหน่ึงของพิธีกรรมเพื่อความเจริญงอกงาม ตอมาเม่ือความ
เชอ่ื ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความเขาใจตอความหมายดั้งเดิมก็แปรเปลี่ยนเปนเพลงท่ีรองเลน
สนุกตามประเพณแี ตเ พยี งอยางเดียว

2.2 เพลงพน้ื บานทเี่ ปนการละเลน
จากบทบาทดงั้ เดมิ ซึ่งเคยเปน สว นหนงึ่ ของพิธกี รรม เพลงพ้ืนบานท่ีรองในเทศกาลไดคลี่คลาย
เหลอื เพียงบทบาทในดา นการบันเทงิ เปนการละเลน ที่สังคมจัดขน้ึ เพือ่ รวมกลมุ สมาชิกในสงั คมและเพ่ือ
ยา้ํ ความสัมพนั ธข องกลมุ จงึ มลี กั ษณะการรองเลนเปนกลุม หรือเปน วง เพลงในลานนวดขา ว เพลงท่ีรอง
เลนในเทศกาลสงกรานต เทศกาลออกพรรษา เพลงเจรียงท่รี อ งในงานบุญของชาวสุรินทร ลว นเปน เพลง
ทเ่ี กดิ จากการรวมกลุมชายหญงิ เพ่ือประโยชนใ นการทาํ งานและแสวงหาความสนุกเพลิดเพลนิ รว มกนั
เพลงพน้ื บา นที่เปนการละเลน เชน เพลงปฏพิ ากยเปนเพลงของกลุมชาวบานทุกคนมีสวนรวม
ในการรอ งเลน ผลดั กนั ทําหนา ทเ่ี ปนผรู องและลกู คู สว นใหญเ ปนเพลงสัน้ ๆ ทีร่ องงาย ไมจ ําเปน จะตอง
ใชศิลปนผูมีความสามารถโดยเฉพาะ เพลงพ้ืนบานที่เปนการละเลนจึงเปนเพลงของชาวบานอยาง
แทจ รงิ

2.3 เพลงพืน้ บานทีเ่ ปน การแสดง
เพลงพ้ืนบานที่เปนการแสดง หมายถึงเพลงพ้ืนบา นทม่ี ีลกั ษณะการรอ งการเลน เปนการแสดง มี
การสมมุติบทบาท ผูกเร่ืองเปนชุด ทําใหการรองยืดยาวขึ้นดังนั้นผูรองจําเปนจะตองเปนบุคคลที่มี
ความสามารถเปน พิเศษ เชน มคี วามจําดี มีปฏิภาณ ฝปากดี มีความสามารถในการสรางสรรคเน้ือรอง
เปน ตน คณุ สมบัติเชนน้ีชาวบานไมสามารถมีไดทุกคน จึงทําใหเกิดการแบงแยกระหวางกลุมคนรอง
และคนฟง ข้นึ

88

คนท่ีรองเกงในหมูบานหนึ่ง ๆ มักจะเปนที่รูจักของคนทั้งในหมูบานเดียวกัน และหมูบาน
ใกลเ คยี ง คนประเภทน้ีถาไมมีพรสวรรคมาแตกําเนิดก็มักจะเปนผูที่มีใจรักและฝกฝนมาอยางดี สวน
ใหญจะเสาะแสวงหาครูเพลงและฝากตัวเปนลูกศิษย เมื่อมีงานบุญงานกุศลที่เจาภาพตองการความ
บันเทิง ก็จะมีการวาจางไปเลนโตคารมประชันกัน ทําใหเกิดมีการประสมวง คือนําพอเพลงแมเพลง
ฝปากดมี ารวมกลุมกนั เขาเปน กลมุ รบั จางแสดงในงานตาง ๆ จากเพลงที่รอ งเลนตามลานบาน ลานวดั ได
กลายมาเปนเพลงท่รี อ งเลนในโรงหรอื บนเวที ในระยะหลังมีการตกแตงฉากเหมือนโรงลิเก และตั้งแต
สมัยรัชกาลท่ี 5 เปน ตน มา การแสดงเพลงพืน้ บานภาคกลางไดร บั อิทธิพลของละครนอกและละครรอง
มาก จึงไดป รับการแสดงคลายละครนอกมากขึ้น เชน มีการรองประสมวงพิณพาทยและแตงกายแบบ
ละครนอก กลายเปนการแสดงที่เรียกวา เพลงสงเคร่ืองหรือเพลงทรงเครื่อง สวนทางภาคอีสานใน
ระยะเวลาใกลเคียงกันก็นิยมนํานิทานมารองเลนเปนเรื่องเรียกวา ลําพื้น และกลายเปน ลําหมูและลํา
เพลนิ ไปในท่สี ุด ทางภาคเหนือเพลงพืน้ บา นที่เปนการแสดง ไดแก การขับซอเมือง ซอเก็บนก จะเห็น
ไดวาเพลงพืน้ บา นไดพฒั นาจากเพลงของกลมุ ชนเปนเพลงการแสดงและเพลงอาชีพในที่สุด

เพลงพนื้ บานท่ีเปน การแสดงของไทยเปน มหรสพทไ่ี ดรับความนิยมอยางมากในชวง รัชกาลที่
5-7 จนกระท่งั หลังสมยั สงครามโลกครั้งท่ี 2 เปนตนมา ก็เร่ิมซบเซาและถึงคราวเสื่อมและนับวันจะยิ่ง
หายไปจากสังคมไทย อยา งไรก็ตามการฟนฟู ดวยการศึกษาและเผยแพรในชวงป 2515 เปนตนมาของ
นักวิชาการและผูสนใจ ทําใหเพลงพ้ืนบานที่เปนการแสดงกลับมาเปนท่ีนิยมอีก ครั้งหน่ึง เพลง
พ้ืนบานบางเพลงไดร ับการปรบั รปู แบบเปนเพลงลูกทุง เชน เพลงแหล เพลงลิเก เพลงฉอย เพลงอีแซว
หมอลํา เปนตน ซ่ึงบันทึกลงแถบเสียงจําหนายท่ัวประเทศ เชน เพลงแหลบวชนาคของ ไวพจน เพชร
สพุ รรณ เพลงฉอยกับขาวเพชฌฆาต ของขวัญจิต ศรีประจันต เพลงอีแซวชุดหมากัด ของเอกชัย ศรีวิชัย
เพลงอีแซว 40 เพลง อีแซว 41 ของเสรี รงุ สวาง เปนตน ทําใหเพลงพ้ืนบานเหลาน้ียังเปนที่รูจักของคน
รุนปจจบุ นั ไมถ กู ลืมเหมอื นเพลงพน้ื บานอ่นื ๆ อีกจาํ นวนมาก

เรอื่ งที่ 6 คณุ คาและการอนุรักษเ พลงพน้ื บา น

เพลงพืน้ บานเปน มรดกทางปญ ญาของทอ งถนิ่ และของชาติจงึ มีคุณคาควรแกก ารอนุรักษ ซ่ึงจะ
กลาวพอสงั เขปดงั น้ี

1. คุณคา ของเพลงพ้นื บา น
เพลงพ้นื บา นเปน สมบัติของสงั คมทไี่ ดสะสมตอเน่อื งกันมานาน จึงเปน สว นหน่ึงในวถิ ชี ีวติ ของ
คนไทยและมีคุณคา ตอสงั คมอยา งยิ่ง เพลงพน้ื บานมีคุณคา ตอ สังคม 5 ประการ ดังนี้

89

1.1 ใหความบนั เทงิ เพลงพื้นบานมีคุณคาใหความบนั เทิงใจแกคนในสังคมต้ังแตอดีต

จนถงึ ปจ จบุ ัน โดยเฉพาะในสมัยท่ียังไมมีเครื่องบันเทิงใจมากมายเชนปจจุบันนี้ เพลงพ้ืนบานเปนส่ิง

บันเทิงชนิดหน่ึงซ่ึงใหความสุขและความรืน่ รมยแ กคนในสงั คม ในฐานะท่ีเปนการละเลนพื้นบานของ

หนมุ สาวและในฐานะเปนสวนสําคัญของพิธีกรรมตาง ๆ เพลงพื้นบานจึงจัดเปนสิ่งบันเทิงท่ีเปนสวน

หนง่ึ ในวิถชี วี ิตของชาวบาน

เพลงพน้ื บานใหค วามเพลิดเพลินแกสมาชกิ ของสงั คม เพลงกลอ มเด็กเปนเพลงท่ีผูรองตองการ

ใหเ ดก็ ฟงเพลินจะไดหลับไวขึน้ ในขณะเดียวกันผรู อ งเองก็เพลิดเพลินผอนคลายอารมณเครียดไปดวย

ในตัว เพลงรอ งเลน และเพลงประกอบการละเลนของเด็กเปนเพลงสนุก ประกอบดวยเสียง จังหวะและ

คาํ ทเ่ี รา อารมณ เดก็ ๆ จงึ ชอบรอ งเลน เยาแหยก นั เพลงปฏพิ ากยเ ปน เพลงที่มเี นอ้ื หาสนกุ เพราะเปนเร่ือง

ของการเก้ียวพาราสี เร่ืองของความรัก การประลองฝปากระหวางชายหญิง ย่ิงเพลงปฏิพากยท่ีเปน

มหรสพก็ยง่ิ สนกุ ใหญเพราะเปน สิ่งบันเทิงท่ีเต็มไปดวยโวหาร ปฏิภาณ และโวหารสังวาสที่เรียกเสียง

หัวเราะจากผฟู ง นอกจากนัน้ เพลงพ้นื บานยังมจี งั หวะคกึ คกั เราใจ มีลลี าสนกุ เวลารอ งมที า ทางประกอบ

มีการรําท้งั รําอยางสวยงามและรํายั่วเยาที่เปนอิสระ เพลงพ้ืนบานในแงน้ีจึงมีบทบาทเพ่ือความบันเทิง

เปน สาํ คัญ

ปจจุบนั แมวาเพลงพ้ืนบา นบางชนิด เชน เพลงกลอมเด็ก เพลงประกอบการละเลน จะสูญหาย

และลดบทบาทไปจากสังคมไทยแลว แตเพลงปฏิพากยบ างเพลงไดพ ฒั นารูปแบบเปนการแสดงพ้ืนบาน

หรอื มหรสพพื้นบานท่ีสรางความสนุกสนานเพลิดเพลินใจแกผูชม ซึ่งชาวบานก็ยังนิยมอยูมาก ดังจะ

เห็นไดจ ากการมีคณะเพลงหลายคณะที่รับจา งไปแสดงเพ่ือสรางความสุขความสาํ ราญแกช าวบานท่ัวไป

ตัวอยางเพลงอแี ซวทีม่ คี วามไพเราะและความหมายลกึ ซง้ึ กินใจทําใหผ ูฟ งเพลิดเพลิน เชน

( ช ) ตัง้ ใจหมายมองรักแตน องหมายมา บพุ เพบญุ พาโปรดจงไดอภัย

เรอื นผมสมพักตรพน่ี ร้ี กั หลายแรม รกั ยิม้ รักแยม รักแมม เี ยอื่ ใย

ดหู ยาดเย้มิ ทุกอยา งนับแตยา งเจอหญงิ ความสวยทุกสงิ่ พี่ไมแ กลงปราศรัย

เอียงโสตฟง สารฟง พี่ขานบอกขา ว พเ่ี ปนหนุม นอนหนาวโอแ มห นนู อนไหน

ใหพแี่ นบนอนหนอ ยแมหนูนอยอยา หนี ถา ไดแนบอยางนพ้ี ่ไี มหา งนางใน

ใหพ ี่จูบแกม หนอยหนูนอ ยอยา แหนง พอใหพีม่ ีแรงสักหนอ ยเปนไร

( ญ ) ใหพ่ีจบู หนอ ยวา หนนู อยยงั แหนง นองหวาดระแวงพม่ี นั ชายปากไว

ปากหวานขานวอนฟงสนุ ทรประวิง กลัวไมร ักหญงิ จรงิ หญงิ สังเกตรใู จ

พอแรกเจอะรจู ักบอกวา รักลวงโลก พมี่ นั ชายหมายโชคทําใหหญงิ เฉไฉ

ใครเชือ่ เปนชั่วตอ งพาตวั ตกตาํ่ คบคนหลงคํายอมมีขอระคาย

ข้เี กยี จรําคาญกลัวเปน มารสงั คม พอไดเดด็ ดอกดมกลวั จะไมเ สียดาย

( บวั ผนั สุพรรณยศ 2535 : ภาคผนวก )

90

1.2 ใหก ารศกึ ษา เพลงพ้ืนบา นเปน งานสรางสรรคท ถ่ี ายทอดความรูสกึ นึกคิดของ
กลุมชน จงึ เปน เสมือนส่ิงทบี่ นั ทึกประสบการณของบรรพบุรษุ ที่สง ทอดตอ มาใหแ กล ูกหลาน เพลง
พื้นบา นจงึ ทาํ หนาทบี่ นั ทึกความรูและภมู ิปญ ญาของกลมุ ชนในทอ งถิ่นมใิ หส ญู หาย ขณะเดยี วกนั ก็มี
คุณคา ในการเสรมิ สรา งปญญาใหแ กชมุ ชนดวยการใหการศึกษาแกคนในสังคมท้ังโดยทางตรงและโดย
ทางออ ม

การใหก ารศกึ ษาโดยทางตรง หมายถงึ การใหค วามรูแ ละการสัง่ สอนอยาง
ตรงไปตรงมา ทัง้ ความรทู างโลกและความรทู างธรรม เชน ธรรมชาติ ความเปนมาของโลกและมนษุ ย
การดําเนนิ ชวี ติ บทบาทหนาที่ในสงั คม วัฒนธรรมประเพณี วรรณกรรม กฬี าพ้ืนบาน คตธิ รรม เปน
ตน

1.3 จรรโลงวัฒนธรรมของชาติ การจรรโลงวัฒนธรรมหมายถึงการพยงุ รักษาหรือ

ดํารงไวข องแบบแผนในความคดิ และการกระทําท่ีแสดงออกถึงวิถีชีวิตของคนในสังคม ท่ีมีความเปน

ระเบยี บ ความกลมเกลียวกาวหนา และความมศี ลี ธรรมอนั ดีงาม

บทบาทของเพลงพ้ืนบานท่ีเปนการแสดงวามีบทบาทเดนเปนพิเศษในการควบคุมและรักษา

บรรทัดฐานของสงั คม การชแ้ี นะระเบยี บแบบแผน ตลอดจนการกําหนดพฤตกิ รรมทเี่ หมาะสมในสังคม

นน้ั เพราะผทู ่ีเปน พอ เพลงและแมเพลง นอกจากจะเปน ผมู ีน้าํ เสยี งดีโวหารดแี ลว ยังตองมีความรูในเร่ือง

ตา ง ๆ และมีประสบการณช ีวติ พอทีจ่ ะโนม นาวจิตใจผูคนใหคลอยตามดวย จึงจะไดรับความนิยมจาก

ประชาชน

แมวา เพลงพ้ืนบา นสว นใหญจะมีเนือ้ หาเปน เรอ่ื งของความรักและแทรกเร่ืองเพศ แตเน้ือเพลง

เหลานี้มิไดใ หเฉพาะความสนกุ สนานเทา นั้น ยังไดแทรกคําสอนหรือลงทายดวยการสอนใจท่ีแสดงให

เห็นถึงคุณคาของแบบแผนความประพฤติท่ีสังคมยอมรับ หรือแสดงใหเห็นผลเสียของการฝา

ฝน เชน เพลงตบั สขู อ ท่ีฝายหญงิ กลา ววา ไมยินยอมใหฝายชายพาหนีเพราะจะทําใหไดรับความอับอาย

และตนจะตอ งแตงงานเพ่ือทดแทนพระคุณของบิดามารดา เพลงตับหมากผัวหมากเมีย ท่ีกลาวถึงการ

สํานึกตัวและรูสึกทุกขใจของสามีท่ีนอกใจภรรยา และเพลงตับชิงชู ท่ีกลาวถึงการพาผูหญิงหนี ดัง

ตัวอยางน้ี

แมฉนั เลยี้ งมาหวังจะไดแ ทนคณุ น่ีกลับมาเทลงใตถนุ ทําใหท อพระทยั

ไอเ รอ่ื งพานะคุณพม่ี ันกด็ ีสาํ หรบั แก สาํ หรบั พอและแมง ้ันจะเลยี้ งเรามาทาํ ไม

เลีย้ งตั้งแตเด็กหวังจะไดแ ตง ไดต บ แกจะมาลกั พาหลบไมอ ายเขาบางหรอื ไร

พอ แมเ ลย้ี งมาหวังจะกนิ ขนั หมาก ไมไดใหอ ดใหอ ยากเลีย้ งเรามาจนใหญ ...

91

1.4 เปนทางระบายความคับขอ งใจ เพลงพ้นื บานเปนทางระบายความคบั ของใจอนั

เนอ่ื งจากความเหน็ดเหน่ือยเม่ือยลาจากกิจการงานและปญหาในการดํารงชีพ รวมท้ังความเก็บกดอัน

เนอื่ งมาจากจารตี ประเพณี หรือกฎเกณฑข องสงั คม เชน ความคบั ของใจในเร่อื งการประกอบอาชีพ การ

ถกู เอารดั เอาเปรียบจากสังคม การประสบปญหาเศรษฐกิจตกต่าํ เปน ตน เพราะการเลนเพลงหรือการชม

การแสดงเพลงพื้นบา นจะทําใหผูชมไดห ยดุ พกั หรือวางมอื จากภารกจิ ตาง ๆ ลง เปนการหลีกหนีไปจาก

สภาพชีวิตจริงชว่ั ขณะ ทาํ ใหผ อ นคลายความเครงเครยี ดและชว ยสรางกําลงั ใจที่จะกลบั ไปเผชิญกับชีวิต

จรงิ ไดตอไป

ตวั อยางเชน เพลงกลอ มเด็กภาคอสี านจะมีเนื้อหาที่กลาวถึงอารมณวาเหวในการแบกรับภาระ

ครอบครัวของผูเปนแม และการถูกเหยียดหยามจากสังคมของแมมายแมรางที่ปราศจากสามีคุมครอง

เชน

นอนสาเดอ หลา นอนสาแมสิกอม ( นอนเสยี ลกู นอ ย นอนเสยี แมจ ะกลอม )

แมสิไปเ ข็นฝาย เดย๋ี นหงายเอา พอ ( แมจะไปปน ฝาย เดือนหงายหาพอ )

เอาพอมาเกยี วหญา มุงหลังคาใหเจายู ( หาพอมาเกยี่ วหญา มุงหลังคาใหล ูกอยู )

ฝนสิฮ้ําอแู กว สิไปซ น ยไู ส ( ฝนจะร่วั รดอแู กว จะไปซอนอยไู หน )

คนั้ เพินไดก น๋ิ ชนิ้ เจา กะเหลยี วเบงิ ตา ( เม่อื เขาไดกนิ เนอ้ื ลกู ก็เหลยี วดตู า )

ค้นั เพนิ ไดก น๋ิ ปา เจากะสิเหลยี วเบิงหนา ( เม่อื เขาไดก นิ ปลา ลูกกเ็ หลียวดูหนา )

มูพนี องเฮยี้ นใกเพ่นิ กะซัง ( พวกพี่นองเรอื นใกลเขากช็ ัง )

นอกจากนี้เพลงพนื้ บา นยงั ชวยระบายความเก็บกดทางเพศและขอหามตามจารีตประเพณีของ
สังคมดวย เปนรปู แบบหนึ่งของการระบายความเก็บกดและโตตอบความคับของใจ โดยซอนไวในรูป
ของความขบขนั เสียงหวั เราะของผูชมในขณะน้ันแสดงถึงอารมณรวมกับศิลปน จึงเปนเสียงของชัย
ชนะในการละเมิดกฎเกณฑไ ดโ ดยไมถ กู ลงโทษ ในอดตี สังคมไทยเปนสังคมทป่ี ด กน้ั เรือ่ งการแสดงออก
ทางเพศ ดงั ปรากฏวามคี านิยมหลายประการเกย่ี วกบั ความประพฤติของหญิงไทย เชน ใหรักนวลสงวน
ตวั อยา ชงิ สกุ กอนหาม เปนตน คานยิ มเหลา น้ีจงึ เปน มโนธรรมท่คี อยยับย้ัง และคอยตกั เตอื นไมใ หมีการ
แสดงออกทไ่ี มงามในเรือ่ งเพศ ปจจุบันแมวาคานิยมเหลานี้จะลดนอยลง ไมเครงครัดในการถือปฏิบัติ
เชนอดตี แตคนไทยสวนใหญโดยเฉพาะคนไทยในชนบทก็ยังคงรักษาและปฎิบัติตามคานิยมน้ีอยูเปน
จํานวนมาก เพลงพนื้ บานจงึ เปน ทางออกทางหนึ่งทส่ี ังคมไทยไดเปดโอกาสใหผูรองและผูชมไดระบาย
อารมณเ กี่ยวกับความรักและ เร่ืองเพศไดอยางเต็มที่ เชน การกลาวถึงเร่ืองเพศอยางตรงไปตรงมาการ
พดู จาและแสดงทาทางไมสภุ าพ การนําเรอ่ื งราวทางศาสนา และหลักธรรมมาลอ เลียน การนําบุคคลและ
องคกรตาง ๆ มาเสียดสีประชดประชัน เปนตน เหลาน้ีลวนเปนการละเมิดคานิยมของสังคม เปนการ
ระบายความเกบ็ กดและความรูสกึ กา วรา ว จงึ เทากบั เปนการสนองความพงึ พอใจของผูรองและผฟู ง ชวย
ใหความเครง เครียดผอนคลายลง ตัวอยางเชน เพลงอแี ซวตอ ไปนี้

92

ช. ไมตอ งทา หรอกนอ งเน้อื ทองของพี่ รูปรา งอยางนจ้ี ะทา พ่ไี ปทําไม

รไู หมรูไหมวาพ่ชี ายของนอง พไ่ี มเคยเปน รองรองใคร

นอ งจะมาสูจะบอกใหร ูเสยี กอ น เฉพาะไอเ น้ือออนออ นจะสไู ดยงั ไง

ขนาดกาํ แพงเจ็ดชัน้ พยี่ ังดันเสยี จนพัง ก็ไอผานุง บางบางจะทนไดย ังไง

ญ. เอา ..จะดนั ก็ดันฉันก็ไมก ลัว เอาซติ วั ตอตวั วนั นฉี้ ันสตู าย

บอกกาํ แพงไมตองถึงเจด็ ชัน้ ถา หากจะดนั เอาตรงน้กี ็ได

เอา..ยังงั้นฝา มอื ของฉนั ตนั ตนั แข็งดกี ็ลองดันใหม นั ทะลใุ หไ ด

ช. บอกวาฝา มือแลว ตันตนั ใครจะบา ไปดันดันกนั ไมได

ขนาดขูแบบนย้ี ังไมก ลัวเลย โอแมค ุณเอยใจกลาเหลือหลาย

ขนาดแมว ัวติดหลมยังลอ ซะลม ทั้งยนื พวกคณุ ตวั ยงั คนื คืนเงินให ฯ

ญ. โอโฮโมไปมากฉันไมอ ยากจะฟง เอาลองดูใหด งั กันกใ็ หไ ด

ขนาดแมวัวติดหลมยังลอ ซะลมทัง้ ยืน พวกคณุ ตวั ยงั คืนเงนิ ให

น่ีแกยังไมรจู กั แลว ขวัญจติ เฮย…ยาคุมออกฤทธ์เิ อาอยูเ มอื่ ไร

บอกผูช ายทุกช้ันท่ีฉนั ผา นมา ขนาดทหารแนวหนาฉันยังสูได

ไมว า ตาํ รวจทหารลอกนั ท้งั กรม ฉนั ลอ ทหารเปนลมไปตั้งหลายนาย

(ขวัญจิต ศรปี ระจนั ตและไวพจน เพชรสุพรรณ , การแสดง)

1.5 เปน ส่ือมวลชนชาวบาน ในอดีตชาวบานสวนใหญมีปญหาความยากจน ดอยการศึกษา
และอยูหางไกลความเจริญ สื่อมวลชนบางประเภท เชน หนังสือพิมพ วิทยุและโทรทัศน ไมสามารถ
เขาถงึ ไดง าย เพลงพ้ืนบานจึงมีบทบาทในการกระจายขา วสาร และเสนอความคดิ เห็นตาง ๆ

สมัยกอ นยังไมม เี ครอื่ งมอื สอ่ื สารมวลชน ชาวบานใชว ฒั นธรรมพื้นบานประเภทท่ใี ชภาษา และ
ประเภทประสมประสาน เปน เครื่องสื่อสารแทน เชน เพลงกลอมเด็กภาคใต ใหความรูและความคิดใน
ลกั ษณะการชแี้ นะแนวทาง หรือการแสดงทรรศนะแกม วลชน หรือชาวบาน

บทบาทประการหนงึ่ ของเพลงพ้ืนบา นวา เปน ส่อื มวลชนกระจายขาวสารในสังคมจากชาวบาน
ไปสูชาวบาน และจากรฐั บาลไปยงั ประชาชน นอกจากนเี้ พลงพนื้ บานยังแสดงถึงทรรศนะของชาวบาน
ท่มี ีตอเหตุการณที่เกิดข้นึ ในบานเมอื งดวย

ปจจุบันส่ือมวลชนไดพัฒนากาวหนาไปมาก สื่อมวลชนบางประเภท เชน วิทยุโทรทัศน ทํา
หนา ทีก่ ระจายขาวสารไดมปี ระสิทธิภาพยง่ิ กวาเพลงพื้นบา น เพลงพนื้ บานบางชนดิ จึงลดบทบาทไปจาก
สังคมไทย แตเพลงพื้นบานบางชนิด เชน หมอลํา ลําตัด เพลงอีแซวและเพลงฉอย ยังคงมีบทบาทใน
ฐานะเปนสื่อมวลชนชาวบานอยมู าก ท้งั น้ีเน่ืองมาจากไดมีการพัฒนารูปแบบและเน้ือหาของเพลงใหมี


Click to View FlipBook Version