The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือการปรับปรุงตำแหน่งฐานข้อมูลรูปแปลงที่ดินเป็นมาตราส่วน 1 : 1000 ในบริเวณพื้นที่ระวางชนบทเดิมที่ได้เปลี่ยนสภาพเป็นเขตชุมชนหนาแน่น (ปี 2560)

กองเทคโนโลยีทำแผนที่ (KM ปี 2560)

Keywords: ด้านการรังวัดและทำแผนที่

คมูอื

การปรบัปรงุตำแหนงฐานขอมลูรปูแปลงทด่ีนิ
เปนมาตราสวน๑:๑๐๐๐ในบรเิวณพน้ืทร่ีะวางชนบทเดมิ

ทไ่ีดเปลย่ีนสภาพเปนเขตชมุชนหนาแนน

คํานํา

คู่มือการปฏิบัติงานปรับปรุงตําแหน่งฐานข้อมูลรูปแปลงท่ีดินเป็นมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ในบริเวณ
พ้ืนทร่ี ะวางชนบทเดิมท่ีได้เปล่ียนสภาพเป็นเขตชุมชนหนาแน่น เล่มน้ี เป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากข้าราชการ
กรมทด่ี นิ หลายๆ ท่าน นํามารวมไว้ ซ่ึงเป็นการดาํ เนนิ การจัดการความรู้ของกรมท่ีดิน

องค์ความรู้ที่ได้นํามารวบรวมไว้ในหนังสือคู่มือเล่มน้ี เป็นความรู้ที่รวมกันระหว่างความรู้ทางด้าน
ทฤษฎีท่ีเป็นระบบ และความรู้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นความรู้ที่สั่งสมในแต่ละตัวบุคคล
ทั้งในการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไข ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก สามารถ
นําไปใช้ ให้เกดิ ประโยชน์ต่อองค์กรไดต้ ลอดเวลา

กรมที่ดินหวังเป็นอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้จากหนังสือคู่มือเล่มนี้จะสามารถนําไปใช้
ประโยชน์ในการปฏิบัติงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนําไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและประสทิ ธิผล

กองเทคโนโลยีทําแผนท่ี
กองฝกึ อบรม
กรมทีด่ ิน กระทรวงมหาดไทย
กรกฎาคม ๒๕๖๐



สารบญั

เรือ่ ง หนา้

บทท่ี ๑ ความเปน็ มา ๑-๑
บทที่ ๒ ชนดิ ของระวางแผนท่ี ๒-๑
บทท่ี ๓ ปญั หาการใชร้ ะวางแผนที่ระบบพกิ ัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ ๓-๑
บทท่ี ๔ แนวทางการปฏิบตั ิงาน ๔-๑
บทที่ ๕ ขัน้ ตอนการดําเนินงาน ๕-๑
บทที่ ๖ การ Scan การสร้าง การแก้ไขขอ้ มลู และการตรวจสอบ ๖-๑
บทที่ ๗ การ Digitize และ การ Export ข้อมลู ดจิ ิทัล ๗-๑
บทท่ี ๘ การจัดเก็บขอ้ มูลระวาง ข้อมูลภาพลกั ษณ์ และขอ้ มลู รูปแปลงทดี่ ินในระบบดจิ ิทัล ๘-๑

ภาคผนวก
• แบบพิมพบ์ ญั ชเี ทียบเลขทด่ี ินเรยี งตามเลขท่ีดินเดิม
• แบบพมิ พ์บัญชเี ทยี บเลขทดี่ ินเรยี งตามเลขท่ดี นิ ใหม่
• แบบพมิ พบ์ ัญชีเทยี บเลขท่ีดินเรยี งตามเลขทโี่ ฉนดทีด่ ิน
• ระเบยี บคําสง่ั ท่เี ก่ียวขอ้ ง

- ระเบยี บกรมทด่ี ิน วา่ ด้วยการรังวดั สอบเขต แบง่ แยก และรวมโฉนดทดี่ นิ พ.ศ. ๒๕๒๗
- ระเบียบกรมท่ีดิน วา่ ด้วยการเขยี น การเกบ็ และการใช้ระวางแผนที่ระบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอม็

พ.ศ. ๒๕๓๐
- ระเบยี บกรมที่ดิน วา่ ด้วยการปรับปรงุ ระวางแผนทีร่ ะบบเดิมเปน็ ระบบพิกดั ฉาก ยู ที เอ็ม

พ.ศ. ๒๕๓๑
- ระเบียบกรมท่ดี นิ ว่าด้วยการสรา้ งระวางแผนทรี่ ะบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอ็ม และการใหเ้ ลขทดี่ ิน

ในระวางแผนท่ีคาบเก่ียวเขตจังหวดั หรอื สํานักงานท่ดี นิ พ.ศ. ๒๕๓๔
- ระเบียบกรมทด่ี ิน วา่ ด้วยการใชร้ ะวางแผนทีร่ ะบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอม็ ในการสรา้ งโฉนดทด่ี ิน

และการเก็บสารบบทด่ี ิน (ฉบบั ท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
- ระเบยี บกรมท่ีดิน ว่าด้วยการรงั วัดสอบเขต แบง่ แยก และรวมโฉนดที่ดิน (ฉบบั ท่ี ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
- ระเบียบกรมทดี่ นิ วา่ ดว้ ยการรงั วดั และทาํ แผนท่เี พ่ือเก็บรายละเอยี ดแปลงทด่ี นิ โดยวธิ ีแผนที่ชัน้ หน่ึง

ในระบบพกิ ัดฉาก ยู ที เอ็ม พ.ศ. ๒๕๔๒
- ระเบยี บกรมทด่ี ิน วา่ ดว้ ยการรงั วดั และการลงรปู แผนทใ่ี นระวางแผนที่ กรณีออกโฉนดทีด่ นิ

เฉพาะราย (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
- ระเบียบกรมทีด่ นิ วา่ ดว้ ยการรงั วัดสอบเขต แบ่งแยก และรวมโฉนดทด่ี นิ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔
- ระเบยี บกรมทดี่ นิ วา่ ด้วยการสร้างและการใชร้ ะวางแผนท่ี พ.ศ. ๒๕๔๗
- ระเบียบกรมท่ดี นิ วา่ ด้วยการยา้ ยรูปแผนท่ี โฉนดท่ีดนิ โฉนดตราจอง ตราจองทต่ี ราว่า

“ได้ทาํ ประโยชน์แลว้ ” และหนงั สือสําคญั สาํ หรับทห่ี ลวง ลงในระวางแผนที่ระบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอ็ม
พ.ศ. ๒๕๕๔



บทที่ ๑

ความเป็นมา

กรมที่ดินได้เริ่มมีการออกโฉนดที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ มาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนโดยทั่วไป
สว่ นมากจะรู้จกั โฉนดที่ดิน แตไ่ ม่ทราบว่าก่อนทจี่ ะเป็นโฉนดทีด่ ินไดน้ นั้ ตอ้ งมีการสํารวจรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่
เพ่ือสร้างระวางแผนท่ีเสียก่อน ท่ีดินที่ตั้งอยู่ในขอบเขตของระวางแผนที่ที่ได้สร้างขึ้นแล้วเท่าน้ัน จึงจะรังวัด
ดําเนินการออกโฉนดทีด่ นิ ใหไ้ ด้

กองเทคโนโลยีทําแผนที่มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบในภารกิจสําคัญภารกิจหนึ่ง ในการสร้างระวาง
แผนที่ภาคพืน้ ดิน และระวางแผนท่ีภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อใช้ในการสนับสนุนกระบวนการออกเอกสารสิทธิ
ให้แก่ประชาชนผู้มาขอรับบริการจากกรมที่ดิน และใช้สนับสนุนในกิจการต่างๆ ของหน่วยงานภายนอก เช่น
สํานักแก้ไขปัญหาการบุกรุกท่ีดินของรัฐ (สบร.) สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
กรมธนารักษ์ เป็นต้น รวมท้ังมีหน้าท่ีตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศให้ทันสมัย
จัดทาํ และจัดเกบ็ ขอ้ มลู ในระบบสารสนเทศทางภูมศิ าสตร์

นับตั้งแต่โครงการพัฒนากรมที่ดิน และเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินท่ัวประเทศให้แล้วเสร็จ ภายใน
๒๐ ปี ซ่ึงเริ่มโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผลทําให้กรมท่ีดินต้องเปลี่ยนระบบการสร้าง
ระวางแผนที่ จากระบบพิกัดฉากศูนย์กําเนิดท่ีใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม เพื่อให้ระวางแผนที่ของ
กรมท่ีดินเป็นระบบสากล เป็นระบบเดียวกันท่ัวประเทศ ในเวลาน้ันกรมที่ดินได้มีการสร้างระวางแผนท่ีระบบ
พิกดั ฉาก ยู ที เอ็ม ในเขตชนบทมาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ และระวางแผนท่ีในระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ในเขต
ชุมชนมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ไว้ แต่บัดน้ีระยะเวลาล่วงเลยมานานพอสมควรแล้ว บริเวณพ้ืนที่ที่เป็นเขตชนบทเดิม
หลายพื้นที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นเขตชุมชนแล้ว ทําให้ระวางแผนท่ีในเขตชนบทเดิมมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐
ไมส่ ามารถรองรับความต้องการของประชาชนที่มาขอรับบริการได้เนื่องจากรูปแผนที่เล็กมาก บางแปลงไม่มีรูปแผนท่ี
ปรากฏในระวางแผนท่ี ประชาชนผมู้ าขอรบั บรกิ ารไมส่ ามารถนาํ รปู แปลงทีด่ ินจากในระวางแผนที่ไปใช้ประโยชน์ได้
ประกอบกับในปัจจุบันกรมท่ีดินได้มีการดําเนินงานโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อจัดให้มฐี านขอ้ มูลทีด่ ินแห่งชาติท่ีถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย เป็นศูนย์กลางให้บริการภูมิสารสนเทศที่ช่วยให้
รัฐสามารถสนองความต้องการด้านข้อมูลที่ดินของรัฐ และเอกชนได้ทันความต้องการ โครงการดังกล่าวต้องมี
การนําเข้าข้อมูลที่ดิน ๓ องค์ประกอบ ประกอบด้วย ข้อมูลรูปแปลงท่ีดินที่ถูกนําเข้าจากระวางแผนที่ ข้อมูล
เกี่ยวกับทะเบียนที่ดินและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และข้อมูลภาพลักษณ์เอกสารสิทธิท่ีดิน ให้เป็น
ระบบดจิ ทิ ลั โดยสามารถเชื่อมโยงขอ้ มลู ท้ังสามส่วนให้ถูกต้องและสามารถใช้งานระบบข้อมูลที่ดินและแผนท่ี
รวมกนั ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ อีกท้ังเป็นการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศท่ีดิน ให้สามารถสนับสนุน การให้บริการ
ประชาชน หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน โดยเฉพาะสํานักงานที่ดินสามารถให้บริการประชาชน
ทีม่ าขอรับบรกิ ารเกิดความสะดวก รวดเร็ว มปี ระสิทธภิ าพ และมคี วามถูกตอ้ ง

ในการดําเนินการดังกล่าวข้างต้น กองเทคโนโลยีทาํ แผนท่ีได้ตรวจสอบพบว่า มีข้อมูลรูปแปลงที่ดิน
ที่นําเข้าจากระวางแผนที่ ข้อมูลเก่ียวกับทะเบียนท่ีดินและการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และข้อมูลภาพลักษณ์
เอกสารสิทธิทด่ี นิ ไม่สามารถเช่ือมโยงกันได้อย่างถูกต้องอยู่เป็นจํานวนมาก อันเน่ืองมาจากไม่มีรูปแปลงที่ดิน
ปรากฏอยู่ในระวางแผนที่ ด้วยเหตุว่าพ้ืนท่ีบริเวณเขตชนบทเดิมซ่ึงได้สร้างระวางแผนท่ีเป็นมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐
ใช้ในราชการหลายพื้นท่ี ได้เปล่ียนสภาพเป็นพื้นที่เขตชุมชนหนาแน่น เม่ือมีการรังวัดแบ่งแยกใหม่ปรากฏว่า

๑๑--2๒

รูปแผนที่แบ่งแยกมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถลงรูปแปลงท่ีดินในระวางแผนท่ีเป็นมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ ได้
ตามระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการสอบเขต แบ่งแยก และรวมโฉนดที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ หมวด ๔ ข้อ ๒๕
และระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการสอบเขต แบ่งแยก และรวมโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๒
ไม่ต้องลงที่หมายในระวางแผนท่ี ดังน้ันเมื่อนาํ ระวางแผนที่ดังกล่าวมาสแกนจึงไม่ปรากฏข้อมูลรูปแปลงที่ดิน
ดังกลา่ วในระวางแผนที่ ดังนนั้ เพื่อใหโ้ ครงการศูนย์ข้อมูลท่ีดินและแผนที่แห่งชาติในสํานักงานท่ีดิน (ระยะนําร่อง)
และโครงการศูนย์ข้อมูลที่ดินและแผนท่ีแห่งชาติในสํานักงานท่ีดิน (ระยะที่ ๑) มีความครบถ้วน ถูกต้อง
เป็นปัจจุบัน จึงมีความจาํ เป็นต้องดาํ เนินการปรับปรุงตําแหน่งฐานข้อมูลรูปแปลงที่ดินจากระวางแผนท่ี
มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ เปน็ ระวางแผนทม่ี าตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ ดงั กลา่ วต่อไป

๑๑--3๓

ภาพระวางแผนท่รี ะบบพิกดั ฉาก ยู ที เอม็  มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ หมายเลขระวาง 5438 IV 9252
ดําเนินการจัดสร้างตามระเบียบและใช้ในราชการตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รูปแผนที่สามารถเขียนเลขท่ีดิน
ประจาํ แปลงที่ดินไว้ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน แต่ต่อมามีการรังวัดใหม่ ปรากฏว่าเม่ือนาํ รูปแผนท่ีรังวัดใหม่
ลงท่ีหมายในระวางแผนท่ีแล้วมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถนาํ รูปแผนที่ลงท่ีหมายในระวางแผนที่ได้ ทําให้
ไม่ปรากฏรูปแผนที่ในระวางแผนที่หรือหากนํารูปแผนที่ลงที่หมายในระวางแผนที่ได้ก็ไม่สามารถเขียน
เลขท่ีดินประจําแปลงที่ดินได้ เป็นเหตุให้ขาดความถูกต้อง ชัดเจน และเปน็ ปัจจุบนั   ของรูปแปลงท่ดี ินในระวาง
แผนที่ จากภาพระวางแผนที่ 5438 IV 9252 มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เมื่อขยายเป็นมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
จะประกอบด้วยระวางแผนที่ จํานวน ๑๖ ระวาง

๑๑--4๔

ภาพพื้นท่ีส่วนหนึ่งในระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เดิม ก่อนการ
จัดสร้างเป็นระวางแผนท่ี 5438 IV 9252 – 3 มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ปรากฏรูปแผนที่เล็กมาก ไม่สามารถนํา
รูปแผนทลี่ งทห่ี มายและเขยี นเลขทด่ี ินประจาํ แปลงท่ดี ินในระวางแผนที่ได้ เม่ือไม่ปรากฏรูปแปลงท่ีดินในระวาง
แผนท่ี จึงมผี ลต่อเน่อื งกบั การนาํ เขา้ รูปแปลงทีด่ นิ ในระบบดิจทิ ลั ทาํ ใหข้ ้อมลู รปู แปลงที่ดิน ข้อมูลทะเบียนท่ีดิน
และขอ้ มูลภาพลักษณ์เอกสารสทิ ธทิ ดี่ ินไม่สามารถเชอื่ มโยงกันได้ทง้ั ๓ ข้อมลู

๑๑-5๕

ภาพระวางแผนที่ระบบพกิ ัดฉาก ยู ที เอ็ม 5438 IV 9252 – 3 มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ท่ีดําเนินการ
จัดสร้างและใช้ราชการอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏรูปแปลงทด่ี ินและเลขทดี่ นิ ประจาํ แปลงทดี่ นิ ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน
สะดวกต่อการตรวจสอบและค้นหาเลขที่ดินแปลงข้างเคียง การนําเข้ารูปแปลงที่ดินในระบบดิจิทัลสามารถ

๑๑--๖6

ดําเนินการได้ครบถ้วน ทําให้ข้อมูลรูปแปลงที่ดิน ข้อมูลทะเบียนที่ดิน และข้อมูลภาพลักษณ์เอกสารสิทธิ
ที่ดิน สามารถเช่ือมโยงกันได้ท้ัง ๓ ข้อมูล เกิดประสิทธิผลต่อการให้บริการประชาชนและหน่วยงานภายนอกที่มา
ขอรับบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว รองรับผู้ใช้บริการที่จะนําหลักฐานแผนที่ไปประกอบการดําเนินการ
ทางนติ ิกรรม ธุรกรรม หรือดา้ นอน่ื ๆ ได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

บทที่ ๒
ชนดิ ของระวางแผนท่ี

“ระวางแผนที่” หมายถึง แผนที่ระวางท่ีใช้สําหรับการลงที่หมายรูปแปลงที่ดินและรายละเอียดต่างๆ
มีขนาด ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร ใช้ในการออกโฉนดท่ีดิน มี ๒ ประเภท คือ ระวางแผนที่ภาคพื้นดิน และ
ระวางแผนทีภ่ าพถ่ายทางอากาศ

“ระวางแผนที่ต้นร่าง” หมายถึง ระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ซึ่งใช้วัสดุโปร่งแสง
ชนิดไมย่ ืดหด มรี ายละเอยี ดครบถ้วนสมบูรณ์ โดยจาํ ลองจากระวางเดินสาํ รวจ หรือเขยี นข้นึ จากหลักฐานแผนทเ่ี ดิม

“ระวางแผนท่ีแผ่นพิมพ์” หมายถึง ระวางแผนท่ีท่ีพิมพ์จากระวางแผนท่ีต้นร่าง โดยใช้วัสดุโปร่งแสง
ชนิดไมย่ ดื หดเชน่ เดียวกัน

“ระวางแผนท่ีคาบเกี่ยว” หมายถึง ระวางแผนท่ที สี่ รา้ งขึ้นเพ่ือลงทห่ี มายรปู แปลงทด่ี ินเพยี งบางสว่ น
ซ่ึงเป็นส่วนน้อยที่อยู่คาบเกี่ยวระวางแผนท่ีให้มีรูปแผนท่ีเต็มแปลง เนื่องจากไม่สามารถสร้างระวางแผนท่ี
ตามหลกั เกณฑ์ได้

“ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ” หมายถึง ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน
๑ : ๔๐๐๐ ขนาดของระวางคลุมเนื้อท่ีในที่ดิน ๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๔ ตารางกิโลเมตร ( ๒ กม. x ๒ กม.)
สําหรับงานออกโฉนดที่ดิน ระวางแผนที่ชนิดนี้สร้างจากภาพถ่ายทางอากาศที่มีการปรับแก้ความเอียง และ
มาตราส่วนของภาพถ่ายแล้ว ซ่ึงรวมหมายถึงระวางแผนที่ภาพถ่ายออร์โทสี และระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
เชงิ เลข

“ระวางขยายภาพถ่ายทางอากาศ” หมายถึง ระวางภาพถ่ายทางอากาศทีส่ รา้ งขนึ้ จากการขยาย
รายละเอยี ดภาพใหม้ ขี นาดใหญข่ นึ้ ในขนาดมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ หรอื มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ โดยประมาณ
โดยมิไดท้ ําการปรับแกค้ วามถกู ต้อง เพ่อื ใช้ประกอบกบั ระวางแผนทภ่ี าคพื้นดนิ สาํ หรบั ใชพ้ ิจารณาตรวจสอบ
รปู แปลงท่ดี นิ เท่าน้นั

ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ “เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา” หมายถึง ระวางแผนท่ี
ภาพถา่ ยทางอากาศทีจ่ ดั สร้างขนึ้ เพอ่ื สง่ ใช้ในราชการกรมทดี่ นิ ตามทไ่ี ด้รับการร้องขอจากจังหวัด ซึ่งพื้นท่ีจัดสร้าง
สว่ นใหญ่จะเป็นบริเวณท่มี กี ารจัดสรา้ งระวางภาคพื้นดนิ แลว้ เพ่ือใชใ้ นการพจิ ารณาออกโฉนดท่ีดิน ระวางแผนที่
ภาพถ่ายทางอากาศจะไม่มีตารางต่อเลขท่ีดินและเน้ือท่ีต่อท้ายระวางแผนท่ี และจะมีข้อความว่า “ห้ามใช้ใน
การรงั วดั ออกโฉนดท่ดี นิ ให้ใชป้ ระกอบการพิจารณาเท่านน้ั ” ปรากฏอยู่



บทท่ี ๓
ปัญหาการใชร้ ะวางแผนทีร่ ะบบพกิ ัดฉาก ยู ที เอม็ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐

ปัญหาการใชร้ ะวางแผนทีร่ ะบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอม็ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ สรปุ ไดด้ ังตอ่ ไปน้ี
๑. ระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เป็นระวางแผนที่มาตราส่วนเล็ก แปลงท่ีดินท่ีมี
ขนาดเนอื้ ท่นี ้อยรูปแผนทเ่ี ลก็ ไมส่ ามารถลงรายละเอยี ดของรูปแผนทีไ่ ด้ครบถว้ น ทาํ ให้ได้รูปแผนท่ไี มช่ ัดเจน
บางกรณไี มส่ ามารถเขยี นเลขทด่ี นิ ประจําแปลงได้ ทําใหไ้ มส่ ะดวกในการตรวจสอบคน้ หารูปแปลงที่ดิน อาจทาํ ให้
เกดิ ความคลาดเคล่อื น สับสน ขาดความน่าเชอ่ื ถอื ต่อประชาชนผู้ขอรบั บรกิ ารได้
๒. กรณีรูปแผนท่ีเล็กมาก ตามระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการรังวัด สอบเขต แบ่งแยก และ
รวมโฉนดท่ดี นิ พ.ศ. ๒๕๒๗ หมวด ๔ ข้อ ๒๕ ได้อนุโลมให้ไม่ต้องลงระวางแผนท่ี ทําให้ระวางแผนที่มาตราส่วน
๑ : ๔๐๐๐ ดงั กล่าว มีจํานวนรูปแปลงท่ดี ินไม่ครบถ้วน มีผลกระทบต่อการให้บริการประชาชนหรือหน่วยงานต่างๆ
ท่ีมาขอรับบริการ เช่น การขอถ่ายระวางแผนที่เพ่ือประกอบการขอราคาประเมินที่ดิน หรือขอตรวจสอบแนวเขต
ท่ดี นิ ตา่ งๆ
๓. อาจจะทาํ ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากการออกเอกสารสิทธิทับซ้อนกันได้ เนื่องจาก
ไม่สามารถตรวจสอบรูปแผนท่ีเอกสารสทิ ธทิ ่อี อกไวก้ อ่ นแลว้ จากระวางแผนทีไ่ ด้
๔. กรณปี ระชาชนยน่ื คาํ ขอรังวดั ในการแจ้งหมายขา้ งเคยี งอาจทาํ ให้การตรวจสอบชื่อเจ้าของท่ีดิน
ข้างเคียงมีความคลาดเคล่ือนตกหล่นได้
๕. เกดิ ความลา่ ชา้ ในการตรวจเรอื่ งรงั วดั ทีท่ ําการรังวัดเสรจ็ แลว้ เน่ืองจากรูปแผนท่ีในระวางแผนท่ี
มไี มค่ รบถ้วนทุกแปลง อาจเกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้ขอรงั วัด และกับทางราชการได้
๖. ขาดความนา่ เชอ่ื ถือสาํ หรับการใหบ้ ริการประชาชน หรือหน่วยงานที่มาติดต่อขอตรวจสอบหรือ
ขอคดั สาํ เนาระวางแผนท่ี เพือ่ ใช้ประกอบการพิจารณาต่างๆ
๗. ทาํ ให้เกดิ ข้อพิพาท โตแ้ ยง้ สิทธใิ นทด่ี นิ หรอื เกย่ี วกับแนวเขตในท่ีดนิ ได้
๘. อาจจะทําให้เกิดความเสียหายขึ้น ในกรณีขอตรวจสอบหลักทรัพย์ หรือเกี่ยวกับการเวนคืน
ท่ดี นิ ได้ เน่อื งจากรปู แปลงทด่ี ินในระวางแผนที่ไมถ่ กู ตอ้ งครบถว้ นสมบูรณ์



บทท่ี ๔

แนวทางการปฏิบตั ิงาน

แนวทางการปฏบิ ตั งิ าน
๑. การวางแผน
๑.๑ ให้หัวหน้าหน่วยท่ีรับผิดชอบ งานขยายระวางแผนท่ีประสานงานกับสํานักงานที่ดิน

พ้ืนที่ที่จะเข้าไปดําเนินการ เพื่อให้ได้ข้อมูลจํานวนระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
ท่ีจะสร้าง ปรมิ าณจาํ นวนโฉนดที่ดินทอ่ี ยู่ในระวางที่จะสร้างระวางแผนที่ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ ท้ังหมด

๑.๒ จดั สร้างระวางแผนท่ภี าพถา่ ยทางอากาศ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
๒. การเตรียมงานในส่วนกลาง

๒.๑ เบกิ และตรวจรับพัสดุ ครุภัณฑ์ แบบพิมพ์ เคร่ืองมือ เคร่ืองใช้ต่างๆ ท่ีจําเป็นต้องใช้
ในการปฏิบตั ิงานขยายระวางแผนที่

๒.๒ ทําประมาณการค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่แต่ละคน และรวมทั้งหน่วย ซึ่งจะต้องใช้
ตลอดระยะเวลาโครงการ

๒.๓ ยืมเงนิ ทดรองราชการ
๒.๔ เบิกระวางแผนที่ภาพถา่ ยทางอากาศ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
๓. การปฏิบัติงาน
๓.๑ ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดรูปแปลงที่ดินในระวางแผนท่รี ะบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เพ่ือให้ทราบจํานวนแปลงทดี่ ิน และจํานวนระวางแผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
ทจี่ ะต้องสร้าง เพอื่ เป็นขอ้ มูลในการปรบั เปา้ หมาย
๓.๒ ถา่ ยสําเนารูปแผนทโี่ ฉนดท่ดี นิ ทุกแปลงที่อยู่ในบริเวณพ้ืนท่ีระวางแผนที่ มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐๐ ที่จะสร้าง และขีดเส้นแบ่งระวางมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ทั้ง ๑๖ แผ่น ในระวางมาตราส่วน
๑ : ๔๐๐๐
๓.๓ ถา่ ยสาํ เนาระวางแผนท่ี มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ บริเวณท่เี ก่ยี วข้องกบั พ้นื ทดี่ าํ เนนิ การ
๓.๔ คัดแยกสําเนาโฉนดที่ดนิ เปน็ ระวางๆ ตามระวางแผนที่ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
๓.๕ ยอ่ หรือ ขยาย มาตราส่วนรูปแผนท่ที งั้ หมดใหเ้ ป็นมาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
๓.๖ นาํ รูปแผนท่ีท่ีได้ถ่ายเอกสารจากโฉนดที่ดิน หรือจากต้นร่างแผนที่ และรูปแผนที่
ทไ่ี ด้ย่อ – ขยาย เป็นมาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ แล้ว มาตอ่ กนั เป็นกล่มุ โดยใชเ้ ขตสาธารณประโยชน์ หรือแนวเขต
ของแปลงแมเ่ ดมิ เป็นกลมุ่
๓.๗ นํารูปแปลงทีด่ นิ ที่ต่อเปน็ กลุ่มแล้วจําลองในแผ่นโพลีเอสเตอร์ด้วยดินสอ เขียนเลขที่ดิน
ประจาํ แปลงไวท้ ุกแปลง
๓.๘ นาํ ระวางแผนท่ีต้นร่างแผ่นใสทาบกับระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐๐ ทจ่ี ะสร้าง
๓.๙ เขียนชอ่ื จังหวัด หมายเลขแผน่ หมายเลขระวาง แผน่
เม่ือดําเนินการตามข้ันตอนท่ีได้กล่าวมาแล้ว ให้จัดเก็บระวางแผนท่ีต้นร่างแผ่นใสไว้เพ่ือใช้
ในการลงท่ีหมายรปู แผนทตี่ ่อไป

๔๔--2๒

๓.๑๐ นํารูปแปลงท่ีดินที่ได้ทําการต่อเป็นกลุ่มไว้ ลงท่ีหมายในระวางแผนท่ีต้นร่างโดยอาศัย
ลวดลายมมุ เขตแปลงทด่ี ินจากระวางแผนท่ภี าพถ่ายทางอากาศ

๓.๑๑ ในกรณีระวางแผนท่ีมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เป็นระวางแผนท่ีภาคพ้ืนดิน รังวัดด้วยวิธี
แผนทีช่ ้ันหนงึ่ การลงทีห่ มายในระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ให้ลงท่ีหมายด้วยค่าพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
ทุกแปลง

๓.๑๒ ในกรณีระวางแผนท่ีมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ จัดสร้างข้ึนใหม่เพื่อการย้ายรูปแปลง
ท่ีดิน จํานวน ๒ ระวางติดต่อกนั ระวางหนึง่ มาจากระวางแผนทีภ่ าคพน้ื ดิน อกี ระวางหนง่ึ มาจากระวางแผนที่
ภาพถ่ายทางอากาศ ใหใ้ ช้ตาํ แหน่งพกิ ดั ฉากของที่ดินในระวางแผนที่ภาคพ้ืนดนิ เปน็ หลัก โดยให้นํารูปแปลง
ทีด่ นิ ที่ไดท้ าํ การต่อเปน็ กลมุ่ ไวข้ องระวางแผนทภ่ี าพถา่ ยทางอากาศ ลงท่ีหมายโดยอาศยั ลวดลายมมุ เขตแปลง
ทีด่ ินจากระวางแผนที่ภาคพืน้ ดนิ

ในกรณีท่ีค่าพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ท่ีมุมเขตของแปลงที่ดินท่ีดําเนินการกับแปลงข้างเคียง
ค่าพิกดั ฉากต่างกันเกินเกณฑ์ ให้แจง้ หวั หน้าฝา่ ยรังวัดเป็นผ้พู จิ ารณาดาํ เนนิ การ

๓.๑๓ เมือ่ ลงท่หี มายรปู แปลงทดี่ นิ ได้ครบถว้ นทุกแปลงในแต่ละระวางแผนที่แล้ว การขอต่อ
เลขทีด่ ินใหด้ าํ เนินการให้เลขที่ดินใหม่แต่ละระวางแผนท่ี โดยการให้เลขท่ีดินประจําแปลงท่ีดิน ให้ถือตามระวาง
ท่ีสร้างข้นึ ใหมแ่ ตล่ ะระวาง การใหเ้ ลขทดี่ นิ ให้เร่ิมจากเลขท่ีดิน ๑ ในทุกระวาง เร่ิมจากมุมบนซ้ายเรียงไปทางขวา
วนกลับทางซา้ ยและยอ้ นไปทางขวาอกี เช่นนจ้ี นหมดระวางแผนท่ี

๔. จดั พมิ พร์ ะวางแผนทแ่ี ผน่ พมิ พ์
จดั สง่ ระวางแผนทีต่ ้นรา่ งทไ่ี ดท้ าํ การตรวจสอบความถูกต้องและลงนามผู้ดําเนินการเรียบร้อยแล้ว

ให้งานพิมพ์ระวางแผนที่ของส่วนปรับปรุงระวางแผนที่จัดพิมพ์ระวางแผนที่แผ่นพิมพ์ระวางละ ๒ ชุด กรณี
ระวางคาบเกีย่ วสาํ นกั งานท่ีดินให้จัดพมิ พ์ระวางเพ่มิ ตามจํานวนสํานกั งานทด่ี ินท่คี าบเก่ยี ว

๕. จดั พิมพเ์ อกสารต่างๆ
๕.๑ บญั ชสี ารบัญที่ดิน (บทด. ๓๙ก)
๕.๒ บัญชีเทียบเลขทีด่ ินเรยี งตามเลขทดี่ นิ เดิมและใหม่
๕.๓ บญั ชเี ทยี บเลขท่ดี ินเรยี งตามเลขทโี่ ฉนดที่ดิน

๖. นําเข้าและจดั เกบ็ ขอ้ มลู ระวางแผนทแี่ ละขอ้ มูลภาพลักษณเ์ อกสารสทิ ธิ
ดําเนินการนาํ เขา้ ขอ้ มลู ระวางแผนท่ีในระบบดิจิทัล ดว้ ยวิธี Scan และ Digitize และนําเข้า

ภาพลกั ษณเ์ อกสารสทิ ธิแปลงท่ีดาํ เนินการปรับปรุงตําแหน่งฐานขอ้ มูลรูปแปลงที่ดนิ เปน็ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
รวมทง้ั จดั เกบ็ ข้อมลู เพ่ือจดั ส่งใหส้ ํานักเทคโนโลยสี ารสนเทศดําเนินการส่งใชใ้ นราชการต่อไป

ดังตอ่ ไปน้ี ๗. สง่ ระวางแผนที่และเอกสารต่างๆ ใชใ้ นราชการ
เมื่อจัดพิมพ์ระวางและเอกสารต่างๆ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องแล้วต้องส่งใช้ราชการ
๗.๑ ฝา่ ยรงั วดั สาํ นักงานทีด่ นิ จังหวดั / สาขา / ส่วนแยก
๗.๑.๑ ระวางแผนทีแ่ ผน่ พิมพ์ พร้อมใบแทรก (ถา้ ม)ี ๑ ชดุ
๗.๑.๒ ระวางแผนทภ่ี าพถ่ายทางอากาศ ๑ ชุด
๗.๑.๓ สารบัญท่ดี นิ (บทด. ๓๙ ก) ๑ ชดุ
๗.๑.๔ บัญชเี ทียบเลขท่ีดนิ เรียงตามเลขทด่ี ินเดมิ และใหม่ อย่างละ ๑ ชดุ

๔๔--3๓

๗.๒ ฝา่ ยทะเบยี น สาํ นกั งานทีด่ นิ จังหวัด / สาขา / ส่วนแยก
๗.๒.๑ บญั ชเี ทียบเลขทดี่ นิ เรยี งตามเลขท่ดี นิ เดมิ ๑ ชดุ
๗.๒.๒ บัญชเี ทียบเลขทด่ี นิ เรียงตามเลขท่โี ฉนดที่ดนิ ๑ ชดุ

๗.๓ ฝ่ายควบคุมและรักษาหลักฐานที่ดิน สํานักงานที่ดินจังหวัดหรือสํานักมาตรฐานและ
ส่งเสริมการรังวัด หรอื ศูนย์ควบคมุ และรักษาหลักฐานทีด่ ิน

๗.๓.๑ ระวางแผนท่ตี ้นร่าง พรอ้ มใบแทรก (ถา้ ม)ี ๑ ชดุ
๗.๓.๒ ระวางแผนทแ่ี ผน่ พมิ พ์ พร้อมใบแทรก (ถา้ มี) ๑ ชดุ
๗.๓.๓ ระวางแผนท่ภี าพถ่ายทางอากาศ ๑ ชดุ
หมายเหตุ
“บัญชีเทียบเลขที่ดินเรียงตามเลขท่ีดินเดิม” หมายถึง แบบพิมพ์ซึ่งแสดงการเปรียบเทียบเลขท่ีดิน
จากระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วนเดิม กับระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ โดยเรียงตามระวางแผนท่ี มาตราสว่ นเดิม (ภาคผนวก)
“บัญชีเทียบเลขที่ดินเรียงตามเลขที่ดินใหม่” หมายถึง แบบพิมพ์ซึ่งแสดงการเปรียบเทียบเลขท่ีดิน
จากระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ กับระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราสว่ นเดิม โดยเรยี งตามระวางแผนท่ีใหม่ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ (ภาคผนวก)
“บัญชเี ทยี บเลขท่ดี ินเรียงตามเลขทโ่ี ฉนดทีด่ ิน” หมายถึง แบบพมิ พซ์ ่ึงแสดงการเปรียบเทียบเลขท่ีดิน
จากระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ กับระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ โดยเรยี งตามเลขทโี่ ฉนดทด่ี ิน (ภาคผนวก)



บทท่ี ๕
ขน้ั ตอนการดาํ เนินงาน

ข้ันตอนท่ี ๑ ตรวจสอบข้อมูล รายละเอียดรูปแปลงที่ดินในระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐

๑. กรณีท่ีสาํ นกั งานทีด่ นิ มกี ารบนั ทกึ ข้อมูลรายละเอียดแปลงทีด่ นิ
๑.๑ ตรวจสอบจาํ นวนระวางแผนทรี่ ะบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอม็ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐
๑.๒ นาํ บัญชีเรียงเลขทโ่ี ฉนดทีด่ ิน ตรวจสอบข้อมูลกับโฉนดทดี่ ินแต่ละแปลงให้ข้อมูลถูกต้อง

ตรงกนั โดยตรวจสอบให้ไดข้ อ้ มลู ดังน้ี
๑.๒.๑ เลขท่โี ฉนดท่ีดนิ ตามอําเภอ ท้งั ในและนอกวงเล็บ
๑.๒.๒ เลขทด่ี นิ ตามระวางและมาตราส่วน
๑.๒.๓ เลขหน้าสํารวจ ตามตาํ บล ท้ังในและนอกวงเลบ็
๑.๒.๔ เน้อื ท่ีดนิ
๑.๒.๕ แยกจากโฉนดที่ดิน เลม่ หน้า

โดยทาํ คําส่ังผู้รบั ผดิ ชอบให้ชดั เจนและลงชอ่ื ผ้ตู รวจ ผ้คู ัดในบัญชีฯ ด้วย ถ้าพบข้อมลู ในบัญชีฯ
ผดิ พลาดให้ขีดฆ่าด้วยหมึกสีแดง และเขียนแก้ไขให้ถูกต้อง ในการขีดฆ่าดังกล่าวให้ขีดฆ่าเป็นเส้นตรงโดยให้เห็น
ของเดิม

ถ้าข้อมูลตกหล่นทั้งแปลงให้คัดลอกข้อมูลโฉนดที่ดินทั้งแปลงลงในแบบพิมพ์ ค้นข้อมูล
พรอ้ มทัง้ ลงนามผู้คัด ผู้ตรวจ ส่งสาํ นักเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแกไ้ ขและเพ่ิมเติมข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วนต่อไป
ถ้าเลขโฉนดท่ีดินซ้ํา หรือเลขหน้าสํารวจซ้ํา หรือหาโฉนดที่ดินไม่พบให้ทําบันทึกแจ้งให้สํานักงานท่ีดินทราบ
เพื่อตรวจสอบขอ้ เท็จจริง และแก้ไขให้ถูกต้องตอ่ ไป

๒. ตรวจสอบระวางแผนท่ีท่ีจะดําเนินการว่าเป็นระวางแผนที่ภาคพื้นดิน หรือเป็นระวางแผนท่ี
ภาพถ่ายทางอากาศ

- ถ้าเป็นระวางแผนท่ีภาคพ้ืนดิน ซ่ึงทาํ การรังวัดโดยการโยงยึดออกจากหมุดหลักฐาน
เสน้ โครงงานแผนท่ี หรอื หมุดดาวเทียม ให้เจา้ หนา้ ที่ทาํ การถา่ ยสาํ เนาตน้ ร่างและรายการคํานวณเนื้อท่ีมาประกอบ
การปฏบิ ตั ิงาน

- ถ้าเป็นระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งทําการรังวัดโดยวิธีแผนที่ชั้นสอง ยึดโยง
จากถาวรวัตถุ หรือลวดลายที่ปรากฏชัดเจนในระวางแผนที่ ให้เจ้าหน้าท่ีทําการถ่ายสําเนารูปแผนที่กระดาษบาง
(ร.ว. ๙) หรอื ตน้ ร่าง หรอื รูปแผนทห่ี ลงั โฉนดทีด่ นิ มาประกอบการปฏบิ ัตงิ าน

ขัน้ ตอนท่ี ๒ การถา่ ยสําเนาตน้ รา่ งแผนทีห่ รือรปู แผนท่ีโฉนดทีด่ ิน
การปฏบิ ตั ิงานปรับปรุงระวางแผนที่จําเป็นต้องใช้หลักฐานแผนท่ี สําหรับปฏิบัติงานในข้ันตอนต่างๆ
หลายขั้นตอน แตเ่ นือ่ งจากกรมทดี่ ินไดม้ รี ะเบยี บหา้ มมิใหน้ าํ เอกสารของสาํ นกั งานที่ดนิ ออกจากสาํ นกั งานท่ีดิน
จึงจําเป็นต้องขอถ่ายสําเนารูปแผนที่โฉนดที่ดิน หรือต้นร่างแผนที่ หรือรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว. ๙)
จากรูปแผนท่ีหลังโฉนดที่ดิน จะทาํ ให้ได้รูปแผนท่ีที่ถ่ายสําเนาถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน โดยถ่ายเท่าที่จําเป็น
ต่อการปฏิบัติงานอย่างประหยัด และคัดหลักฐานทางทะเบียนที่ดิน เช่น ชื่อ ระวางแผนที่ เลขที่ดิน
เลขหน้าสํารวจ และเนื้อที่ ลงในสาํ เนาโฉนดท่ดี นิ ตามระวางแผนท่มี าตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ ทจ่ี ะดําเนินการ

๕๕--2๒

จัดการขีดเส้นแบ่งระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ทั้ง ๑๖ ระวาง ลงในระวางแผนที่
มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐

ข้นั ตอนที่ ๓ การมอบหมายงานปรับปรุงฐานขอ้ มูลรูปแปลงท่ดี ินแกเ่ จ้าหนา้ ที่
๑. ให้จัดแบ่งงานให้แก่เจ้าหน้าท่ีแต่ละคน ตามจาํ นวนโฉนดท่ีดินและเป้าหมาย โดยจัดแบ่ง
ให้สัมพันธ์กันระหว่างจํานวนโฉนดที่ดินและระวางแผนที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการต่อริม และจัดทําคําสั่ง
มอบหมายงานใหช้ ัดเจน
๒. จัดทาํ บัญชีและสารบัญเทียบระวางแผนท่ีพร้อมจัดทํา Chart แสดงผลงานของเจ้าหน้าที่
แตล่ ะคนเพื่อควบคมุ งานและตรวจสอบความก้าวหน้าของงานไวแ้ ต่ละสาย
๓. รายงานเปา้ หมาย และความคืบหน้าของงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคนในแบบฟอร์มการรายงาน
ของเจา้ หนา้ ท่ีทกุ เดอื น เพือ่ ใชก้ าํ กบั ควบคมุ และการประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงานท้ังการเล่ือนระดับ และการพิจารณา
ขอข้ึนเงนิ เดอื นประจาํ ปี
ข้ันตอนท่ี ๔ จดั แยกสําเนาโฉนดท่ีดินเป็นระวางๆ ตามระวางแผนท่ี มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
เมือ่ ไดท้ าํ การขีดเส้นแบ่งระวางแผนท่ี มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ทั้ง ๑๖ ระวาง ในระวางมาตราส่วน
๑ : ๔๐๐๐ เรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบจากรูปแผนที่ท่ีปรากฏในระวางแผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐
ว่าระวางใดที่จะต้องขอสร้างระวางแผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ หรืออาจจะต้องสร้างท้ัง ๑๖ ระวาง จากน้ัน
คัดแยกรูปแผนท่ีกระดาษบาง (ร.ว. ๙) หรือรายการรังวัด (ต้นร่าง) หรือรูปแผนที่หลังโฉนดที่ดินตามท่ีปรากฏ
ในระวางแผนที่ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ ทข่ี ีดเส้นแบง่ ระวางแผนทีไ่ ว้
ขนั้ ตอนท่ี ๕ การยอ่ หรือขยายมาตราสว่ นรูปแผนที่ท้ังหมดใหเ้ ป็นมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
๑. การยอ่ หรือขยายรปู แผนที่

เน่ืองจากการสร้างระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม สําหรับใช้ในราชการกําหนดให้
บริเวณพ้ืนที่เขตชุมชนสร้างระวางแผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ และบริเวณพื้นที่เขตชนบทให้สร้างระวางแผนที่
มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐

มาตราสว่ นที่ใช้สําหรบั การเขยี นรูปแผนท่หี ลังโฉนดที่ดนิ มี มาตราส่วน ๑ : ๕๐๐ ๑ : ๑๐๐๐
๑ : ๒๐๐๐ และมาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ ดงั น้ัน ในการปฏิบัตงิ านจงึ ต้องย่อ หรอื ขยายมาตราส่วนรูปแผนท่ี
ให้รูปแผนท่ีท้ังหมดมีมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ก่อนจะนํารูปแผนที่ไปลงที่หมายในระวางใหม่ การย่อ – ขยาย
รูปแผนที่ด้วยเคร่ืองถ่ายเอกสารให้ใชไ้ ม้บรรทัด Scale จับระยะตรวจสอบด้วย แต่ถ้าพ้ืนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐
ที่จะดาํ เนินการสร้างรูปแผนท่ีเกิดจากการรังวัดภาคพ้ืนดิน ก็ให้นาํ ค่าพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ของรูปแปลงที่ดิน
มาลงที่หมายในระวางแผนท่ี มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ไดโ้ ดยตรง

๒. การขยายระวางแผนท่ภี าพถ่ายทางอากาศ
เนือ่ งจากระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศทมี่ ใี ชใ้ นราชการมีอยู่ ๒ มาตราส่วน คือระวางแผนที่

ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ เป็นบริเวณท่ีอยู่ในเขตชุมชน ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เป็นบริเวณอยู่ในเขตชนบท แต่เนื่องจากสภาพพ้ืนที่ในปัจจุบันความเจริญขยายพ้ืนที่
เข้าไปในเขตชนบทอย่างมากและรวดเร็ว ทําให้รูปแปลงท่ีดินในระวางแผนท่ีภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน
๑ : ๔๐๐๐ เล็กมาก จนไม่สามารถลงที่หมายรูปแปลงที่ดินในระวางแผนท่ีได้ จึงจําเป็นต้องสร้างระวางแผนท่ี
มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ เพื่อการลงรูปแปลงท่ีดิน และจําเป็นต้องใช้ระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐๐ เป็นแผนที่ฐาน จึงต้องขอขยายระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในเขตชนบทเป็นมาตราส่วน

๕๕--3๓

๑ : ๑๐๐๐ โดยการขอขยายให้พจิ ารณาพ้ืนท่ีที่มีรูปแปลงท่ีดินหนาแน่น และควรขยายเต็มขอบเขตภูมิประเทศ
ที่เปน็ สาธารณะกนั้ เพอ่ื มิให้มกี ารต่อริมรูปแปลงโฉนดท่ดี ินตา่ งมาตราสว่ นกัน
หมายเหตุ : การพิจารณาขอขยายระวางแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ให้พิจารณาวางแผนก่อนการดําเนินการ
การปรับปรงุ ตําแหน่งฐานข้อมลู รูปแปลงที่ดนิ ฯ

ขน้ั ตอนท่ี ๖ การนํารูปแปลงทด่ี นิ มาตอ่ รูปแผนที่เป็นกลุ่มแปลง
ในการปรบั ปรงุ ตําแหน่งฐานข้อมลู รูปแปลงทด่ี ิน เพอ่ื ขยายระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ ถ้าเป็นกรณีระวางแผนทมี่ าตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เปน็ ระวางแผนทีภ่ าคพน้ื ดนิ กใ็ ห้ทําการ
ขยายระวางแผนท่ีเป็นมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ และทําการลงที่หมายรูปแปลงท่ีดินโดยใช้ค่าพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม
ลงท่ีหมายได้โดยตรง ส่วนกรณีท่ีเป็นระวางแผนท่ีภาพถ่ายทางอากาศการลงท่ีหมายในระวางแผนที่ มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐๐ ไม่อาจสามารถทาํ ได้โดยตรง จาํ เปน็ ตอ้ งนํารูปแผนทีม่ าต่อกันเปน็ กล่มุ แปลง โดยมวี ธิ กี าร ดงั น้ี
๑. นํารูปแผนท่ีท่ีได้ถ่ายเอกสารจากรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว. ๙) หรือต้นร่างแผนที่ หรือ
โฉนดที่ดินที่ได้ย่อหรือขยายเป็นมาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ แล้ว มาต่อกันเป็นกลุ่มโดยใช้เขตสาธารณประโยชน์
หรอื แนวเขตของแปลงแมเ่ ดมิ เปน็ เขตแบ่งกลมุ่
หมายเหตุ : รปู แผนทีท่ ีไ่ ด้ถ่ายเอกสารจากรูปแผนท่ีกระดาษบาง (ร.ว. ๙) และรายการรังวัด (ต้นร่าง) เป็นเอกสาร
รูปแปลงท่ีดินเหมาะต่อการย้ายรูปแปลงท่ีดินจากระวางแผนท่ี มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ มาลงท่ีหมายในระวางแผนที่
มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ เน่ืองจากมกี ารลงพิกัดตําแหนง่ ของที่ดินไว้
๒. การต่อกลุ่มไม่ควรต่อให้มีขนาดของกลุ่มใหญ่มากนัก เพราะจะทําให้เกิดการเบี่ยงเบนของ
ทิศทางรูปแผนที่
๓. นํารูปแผนท่ีท่ีต่อกลุ่มแล้ว จําลองในแผ่นโพลีเอสเตอร์ด้วยดินสอดํา เขียนเลขท่ีดินประจํา
แปลงท่ดี นิ กาํ กบั ไว้ทุกแปลง
๔. หลักเขตที่ดินแปลงใด ได้ทําการรังวัดโยงยึดหลักเขตมุมบล็อกไว้แล้ว ให้วงหมุดและเขียน
หมายเลขหลกั เขตทดี่ ินไวด้ ้วย
๕. นํารูปแผนท่ีต่อกลุ่มเทียบกับสําเนาระวางแผนท่ีเพ่ือจัดเส้นขอบระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก
ยู ที เอ็ม โดยประมาณลงในแผ่นโพลีเอสเตอร์ แล้วเขียนหมายเลขระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม กํากับไว้
เพ่อื ใชใ้ นการลงท่ีหมายในระวางแผนทร่ี ะบบพิกดั ฉาก ยู ที เอ็ม
ขัน้ ตอนท่ี ๗ การสรา้ งระวางแผนทต่ี น้ ร่างแผ่นใส และระวางเพ่ือส่งบันทึกข้อมลู
การสร้างระวางแผนที่ต้นร่างแผ่นใสระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ให้ใช้แบบพิมพ์ระวางแผนที่
ที่ส่วนปรับปรุงระวางแผนท่ีได้จัดสร้างเป็นระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ มาดําเนินการจัดทําเป็นระวางแผนที่
ตน้ รา่ ง ให้ดาํ เนินการดังน้ี
นําระวางแผนท่ีต้นร่างแผ่นใสทาบกับระวางแผนท่ีรูปถ่ายทางอากาศระวางเดียวกันกับระวางแผนท่ี
ต้นร่างที่ได้จัดสร้าง (ปรากฏตามรปู )
เมื่อดาํ เนินการตามข้ันตอนตามท่ีได้กล่าวมาแล้ว จัดเก็บระวางแผนที่ต้นร่างแผ่นใสไว้เพื่อใช้
ในการลงทีห่ มายรปู แผนท่ตี ่อไป

๕๕--4๔

ข้ันตอนที่ ๘ การลงที่หมายรูปแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ในระวางแผนที่มาตราส่วน
๑ : ๑๐๐๐

๑. เม่ือช่างรังวัดเก็บรายละเอียดได้ลงท่ีหมายหมุดหลักเขต ท่ีได้รังวัดรายละเอียดลงในระวางแผนท่ี
ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอม็ ให้นาํ รูปแผนทีแ่ ปลงทดี่ นิ ที่ได้ทําการต่อกลุ่มไว้ลงท่ีหมายในระวางแผนท่ี โดยให้หมุด
หลักเขตที่ไดล้ งท่ีหมายไวแ้ ล้ว เป็นหมุดบังคับความถูกต้องกับลวดลายที่ปรากฏในระวางแผนท่ีภาพถ่ายทางอากาศ
หากมีความคลาดเคลื่อนเล็กนอ้ ยให้เฉลย่ี ลง

๒. ในกรณีท่ีมีรูปแผนท่ีเป็นอย่างอ่ืน เช่น หนังสือสําคัญสําหรับท่ีหลวง โฉนดตราจอง หรือ
ตราจองที่ตราว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ถ้ามีหลักฐานรายละเอียดให้ลงที่หมายในระวางแผนที่ได้ ให้ดําเนินการ
เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน รูปแผนที่แปลงใดที่ไม่สามารถนํามาลงที่หมายในระวางแผนที่ได้ ให้ทําบันทึกแจ้งให้
สํานกั งานท่ดี ินทราบ แล้วรายงานในบญั ชีขอ้ บกพร่องฯ (ปผ.๐๓)

๓. เมื่อดาํ เนินการลงทหี่ มายรปู แผนที่เสรจ็ แลว้ ใหเ้ ขยี นเลขทดี่ ินเดิมเปน็ เลขอารบคิ ดว้ ยดินสอดาํ
ลงในแปลงทดี่ นิ ส่วนหมายเลขหลักเขตไมต่ ้องเขยี น

๔. กรณีระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เดิมลงที่หมายไว้ไม่เป็นปัจจุบัน ให้ตรวจสอบข้อมูล
ทางทะเบียน หากมีการจดทะเบียนไว้ถูกต้อง ให้นํารูปแผนท่ีหลังโฉนดที่ดิน หรือรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว. ๙)
มาใช้ในการต่อรูป กรณีที่สาํ นักงานท่ีดินลงระวางไว้ผิดพลาด เมื่อได้ตรวจสอบหลักฐานแน่ชัด ให้ทําบันทึก
แจ้งสาํ นกั งานทด่ี นิ ทราบเพ่ือตรวจสอบ

๕. เม่ือนาํ รูปแผนที่ลงที่หมายในระวางแผนที่แล้ว ปรากฏว่ารูปแผนท่ีในโฉนดที่ดินทับกัน
เกินเกณฑเ์ ฉล่ยี หรอื ในระวางแผนทีม่ าตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ มีเลขท่ดี ินแตห่ าโฉนดท่ีดนิ ไม่พบ เม่อื ไดต้ รวจสอบแล้ว
ให้แจง้ สํานกั งานทดี่ นิ เพ่อื ตรวจสอบ เม่ือได้รบั แจ้งประการใดแล้ว ใหด้ ําเนินการแกไ้ ขใหถ้ ูกต้องตอ่ ไป ถ้าหาก
ไม่สามารถหาหลักฐานแกไ้ ขได้ ใหเ้ ขียนเลขทด่ี นิ เดมิ และระวางมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ กาํ กับไว้

๖. เม่ือดําเนินการลงที่หมายในระวางแผนท่ีแล้ว ปรากฏว่า มีรูปแปลงท่ีดินยังไม่ได้ย้ายรูปแปลง
ทด่ี นิ จากระวางศนู ย์กาํ เนิดเดิมมาเป็นระวางแผนทีร่ ะบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ก็ให้ดําเนินการย้ายรูปแปลงที่ดินตาม
ระเบยี บกรมท่ีดนิ วา่ ด้วยการปรับปรงุ ระวางแผนท่ีระบบเดิมเปน็ ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม พ.ศ. ๒๕๓๑

๗. การลงท่ีหมายโฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า “ได้ทําประโยชน์แล้ว” และหนังสือสําคัญ
สาํ หรบั ที่หลวง ในระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการย้ายรูปแผนท่ี
โฉนดท่ีดิน โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า “ได้ทําประโยชน์แล้ว” และหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง ลงใน
ระวางแผนทร่ี ะบบพิกัดฉาก ยู ที เอม็ พ.ศ. ๒๕๕๔

เมื่อพบข้อบกพร่องต่างๆ เกี่ยวกับแปลงที่ดิน ซ่ึงสํานักงานที่ดินจะต้องตรวจสอบแก้ไข ให้รีบ
ดําเนินการทันทที ี่พบ เพ่อื ท่ีจะดาํ เนนิ งานใหแ้ ล้วเสรจ็ เป็นระวาง ๆ ไป

ขั้นตอนที่ ๙ การให้เลขทีด่ นิ ใหม่
๑. เมื่อลงที่หมายรูปแผนที่ในระวางแผนที่ใหม่ระวางใดเสร็จแล้ว ให้เปลี่ยนเลขที่ดินเดิม
เป็นเลขท่ีดินใหม่ การให้เลขท่ีดินให้เร่ิมจากเลขที่ดิน ๑ ในทุกระวางและทุกมาตราส่วน เร่ิมจากมุมบนซ้าย
เรียงไปทางขวาวกกลับมาทางซ้าย แล้วย้อนไปทางขวาอีกเช่นนี้จนหมดระวาง โดยการให้เลขที่ดินประจําแปลง
ให้ถือตามระวางที่สรา้ งขนึ้ ใหม่แต่ละระวาง
๒. ในการให้เลขที่ดินทุกครั้ง ให้ตรวจสอบกับสํานักงานที่ดินเสียก่อนว่าได้มีการให้เลขที่ดิน
ไปถึงเลขที่ดินสุดทา้ ยทีเ่ ทา่ ไร แล้วจึงใหเ้ ลขที่ดนิ ต่อไปให้ถกู ตอ้ ง

๕๕--5๕

๓. เมื่อให้เลขท่ีดินในระวางแผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม แล้ว ให้ใส่ข้อมูลระวางใหม่เลขท่ีดิน
ใหม่ในบัญชีเรียงเลขท่ีดินที่ดําเนินการในขั้นตอนที่ ๒ และในสําเนาโฉนดท่ีดินของแปลงนั้น ๆ เพ่ือส่งไปนําเข้า
ข้อมูล ทะเบียนทีด่ นิ

๔. ในการให้เลขที่ดินใหม่ ให้ดําเนินการตามระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการต่อเลขที่ดิน
เลขหน้าสํารวจ เลขโฉนดท่ีดนิ การเขียนชอื่ ตาํ บล อาํ เภอ และการประทบั ตรา พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๙
มนี าคม ๒๕๕๔ (มกี ารลงรปู แปลงทด่ี ินเพิม่ เติมในระวางแผนที่ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐ ท่ีมีใชใ้ นราชการแลว้ )

๕. ในกรณีส่งระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม เพื่อบันทึกข้อมูล ให้เขียนเลขที่ดินเดิม
ของมาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ ดว้ ยดินสอดํา เขียนเลขที่ดินใหมใ่ นระบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอ็ม มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
ด้วยหมึกสีน้ําเงินและวงเล็บเลขโฉนดที่ดินประจําแปลง พร้อมทั้งคัดลอกข้อมูลลงในบัญชีคุมการให้เลขที่ดิน
เพ่ือตรวจสอบ

ขน้ั ตอนท่ี ๑๐ การตรวจสอบ
เมื่อดําเนินการตามขั้นตอนที่ ๙ การให้เลขที่ดินใหม่ในระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม เสร็จแล้ว
ให้ตรวจสอบรูปแผนที่ เน้ือที่ การให้เลขท่ีดิน รวมทั้งการขีดเขตตําบลให้ถูกต้อง การขีดเขตตําบลให้ตรวจสอบ
จากโฉนดท่ีดินหรือสารบบท่ีดินว่าที่ดินอยู่ในเขตตําบลใด เม่ือครบถ้วนแล้วให้ขีดเขตตําบลลงในระวางแผนท่ี
แลว้ เขยี นช่ือตําบลไว้ทีข่ อบระวาง
ข้นั ตอนท่ี ๑๑ การเขยี นรายละเอยี ดในระวางแผนท่ี
นําระวางแผนที่ซ่ึงได้ดาํ เนินการสร้างระวางแผนท่ีต้นร่างเสร็จและตรวจสอบแล้ว มาเขียน
รายละเอียดต่างๆ ดังนี้
๑๑.๑ เขียนเครอ่ื งหมายแสดงหมุดหลักฐานแผนท่ี

- หมดุ หลกั ฐานแผนท่ี วงกลมรัศมี ๓ มม. เขยี นช่อื และหมายเลขประจําหมดุ ด้วยหมกึ สีดํา
- หมุดกลาง วงกลมรศั มี ๒ มม. ด้วยหมกึ สดี าํ
- ขีดเสน้ ตรงจากหมดุ ถงึ หมดุ และเขียนระยะกาํ กับไวด้ ว้ ยหมึกสีนํา้ เงิน
๑๑.๒ เขยี นชื่อจังหวัด หมายเลขระวางแผนท่ี ตามระบบพกิ ัดฉาก ยู ที เอ็ม ด้วยเลขอารบิค
๑๑.๓ เขียนหมายเลขโซนลงในระวางแผนที่ มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ โดยเขียนตามโซน
เดิมของระวางแผนท่ี มาตราสว่ น ๑ : ๔๐๐๐ และตอ้ งตรวจสอบกับแผนท่ีภูมิประเทศด้วยว่าระวางแผนที่ มาตรา
ส่วน ๑ : ๔๐๐๐ เดิมถกู ต้องหรือไม่
๑๑.๔ เขียนมาตราส่วนของรูปแผนท่ใี นระวางแผนที่
๑๑.๕ วงหมุดแสดงตําแหน่งหลักเขต รัศมี ๑ มม. บริเวณใดมีวงหมุดซ้อนกันให้เลือกจุด
ทเ่ี ปน็ มมุ เขตหรอื เขตแยกวงหมดุ เต็มวงกลม สว่ นข้างเคยี งที่ทับกบั วงหมดุ เพียงบางส่วนอย่าให้มีวงกลมซอ้ นกนั
ไมต่ ้องเขียนชื่อและหมายเลขประจาํ หมุด
๑๑.๖ ขีดแนวเขตโดยรอบแปลงที่ดินทุกแปลง เส้นที่ขีดต้องใช้สีดํา ขนาดความกว้างของเส้น
๐.๒ มม.
๑๑.๗ เขียนเลขที่ดินประจําแปลงด้วยเลขไทย ตามเลขที่ดินที่ให้ใหม่ไว้แล้วกลางแปลงที่ดิน
ในแนวราบ เว้นแตก่ รณีจาํ เปน็ ตวั เลขต้องเขยี นให้ชดั เจนอา่ นง่าย
๑๑.๘ เขียนเลขท่ดี ินขา้ งเคยี งและชอ่ื ทสี่ าธารณประโยชน์ เช่น ทางสาธารณประโยชน์ คลอง...
ทท่ี ําเลเล้ยี งสตั ว์ เป็นตน้

๕๕--6๖

การเขียนชือ่ ทส่ี าธารณประโยชน์ตอ้ งเขียนตามทิศทางอยา่ ให้กลบั หวั ดงั น้ี
- ถ้าทิศทางที่จะเขียนอยู่ระหว่างภาคของทิศ ๐o- ๙๐o และ ๑๘๐o - ๒๗๐ o ให้เขียน
ทแยงไปทางทศิ เหนือจากซา้ ยไปขวา
- ถ้าทิศทางที่จะเขียนอยู่ระหว่างภาคของทิศ ๙๐ o - ๑๘๐ o และ ๒๗๐ o - ๓๖๐ o
ให้เขยี นทแยงไปทางทศิ ใต้จากซา้ ยไปขวา
- ถา้ ทิศทางที่จะเขยี นอย่ใู นภาคของทศิ ๙๐ o และ ๒๗๐ o ใหเ้ ขียนแนวราบจากซา้ ย
ไปขวา
- ถ้าทศิ ทางท่ีจะเขียนอยู่ในภาคของทิศ ๐ o และ ๓๖๐ o ให้เขียนในแนวดิ่งจากบน
ลงล่างหรอื จากล่างขึน้ บน โดยพิจารณาเลอื กเขยี นใหห้ ันไปในทางทศิ ทางเดยี วกนั กับบรเิ วณใกล้เคียง
๑๑.๙ เขียนเขตตําบล อําเภอ จังหวัด (ถา้ มี) ดงั น้ี
เขตตําบล + - + - + - + - +
เขตอาํ เภอ + - . + - . +
เขตจังหวัด - . - . - . –
๑๑.๑๐ เขียนช่ือตาํ บล อําเภอ ท่ีใต้เส้นขอบระวางด้านล่าง ถ้ามีมากกว่า ๑ ตําบล หรือ
๑ อาํ เภอ ให้เขียนชอื่ ตาํ บล และอาํ เภอ ไว้ทบี่ ริเวณขอบระวางด้านต่าง ๆ ตามความเป็นจริง
๑๑.๑๑ เขียนค่าตัวคูณมาตราส่วน โดยให้ดูจากบัญชีแสดงค่าตัวคูณมาตราส่วนแนบท้ายระเบียบ
กรมที่ดิน ว่าด้วยการรังวัดทําแผนท่ีเพื่อเก็บรายละเอียดแปลงที่ดินโดยวิธีการรังวัดช้ันหนึ่ง ในระบบพิกัดฉาก
ยู ที เอ็ม พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๑.๑๒ สารบัญระวางติดต่อ ให้ดูจากสารบัญระวางแผนที่แล้วนํารายละเอียดมาเขียนลงใน
ระวางแผนที่
๑๑.๑๓ บริเวณใดที่แปลงที่ดินคร่อมโซน พ้ืนที่ส่วนใหญ่อยู่ในโซนใดให้ลงท่ีหมายในระวางโซนนั้น
และลงทีห่ มายใหเ้ ต็มแปลงและใหเ้ ขยี นดงั น้ี
ระวางแผนที่โซนที่ ๔๗ เขียนว่า “บริเวณนี้ใหล้ งทห่ี มายในระวางแผนที่ โซนที่ ๔๘”
ระวางแผนทโ่ี ซนที่ ๔๘ เขียนว่า “บริเวณน้ีให้ลงที่หมายในระวางแผนท่ี โซนที่ ๔๗”
๑๑.๑๔ เขียนช่ือผู้ทาํ การย้ายรูปแปลงที่ดิน ผู้ทําการรังวัดรายละเอียด ผู้ตรวจการลงที่หมาย
หัวหนา้ หนว่ ยปรับปรงุ ระวางแผนท่ี พร้อมทง้ั ลงวัน เดอื น ปี กาํ กับไว้ด้วย
ขั้นตอนท่ี ๑๒ การเขียนใบแทรกระวาง
ให้เขียนเลขทดี่ ิน เลขหนา้ สํารวจ และเนอ้ื ทดี่ ้วยเลขไทย ดว้ ยหมึกสีดํา เนอ้ื ท่ีเศษของวา ให้ใช้
ทศนิยมหนงึ่ ตําแหน่ง
ข้นั ตอนที่ ๑๓ การจดั ทาํ บญั ชีข้อมลู ทะเบยี นทด่ี ินเรยี งตามเลขท่ดี นิ (ระบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอ็ม)
ปัจจุบันจะพมิ พ์มาจากขอ้ มลู ในคอมพวิ เตอร์
ให้เขียนรายละเอียดเก่ียวกับโฉนดท่ีดินทุกแปลงลงในบัญชีเลขที่ดิน คือหมายเลขระวางในระบบเดิม
เลขที่ดินเดิม หน้าสํารวจ ตําบล หมายเลขโฉนดท่ีดิน เน้ือท่ี ช่ือผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยเรียงตั้งแต่เลขท่ีดินเดิม
เลขท่ี ๑ ไปจนถึงเลขที่ดนิ สุดทา้ ยในระวางเดิมจนครบทกุ แปลง
นําบัญชีเทียบเลขท่ีดินมาเขียนรายการเพ่ิมเติม เพ่ือเทียบว่าท่ีดินแปลงใดเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในระวาง
แผนท่ีระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ระวางใด โดยนําระวางแผนท่ีซ่ึงได้เขียนรายละเอียดต่างๆ ในระวางแผนท่ี
เสร็จแล้ว ว่าเลขที่ดินเดิมแปลงใดได้เปล่ียนเป็นเลขที่ดินใหม่เลขที่เท่าใด แล้วเขียนเลขที่ดินใหม่ ลงในช่องบรรทัด

๕๕--7๗

เดียวกับเลขที่ดินเดิม ส่วนหมายเลขแผ่น หมายเลขระวางแผ่น และมาตราส่วน ให้คัดลอกจากระวางแผนท่ี
เขยี นลงในชอ่ งบรรทัดเดียวกนั ดวั ย

ขัน้ ตอนที่ ๑๔ การจดั ทาํ สารบญั ที่ดิน (บทด. ๓๙ ก)
การจดั ทาํ สารบัญทด่ี นิ (บทด. ๓๙ ก) เม่ือย้ายรูปแปลงโฉนดท่ีดินหมดทั้งระวางแล้ว จึงทําการ
ให้เลขที่ดินใหม่ในระวาง โดยถือตามระวางแผนท่ีท่ีสร้างข้ึนใหม่แต่ละระวาง การให้เลขที่ดินให้เริ่มต้นจาก
เลขท่ีดิน ๑ ตามลาํ ดับไปทกุ ระวาง
เม่ือใหเ้ ลขทดี่ นิ ใหม่ครบทกุ แปลงแล้ว ให้เทียบว่าเลขที่ดินแปลงใดท่ีเขียนเลขอารบิค (เลขท่ีดินเดิม)
ด้วยดินสอไว้ ได้เปล่ียนไปเป็นเลขที่ดินใหม่ (เลขไทย) เลขท่ีเท่าใด ให้เขียนเลขที่ดินใหม่ ลงในบัญชีเลขท่ี
ดนิ ช่องบรรทัดเดียวกัน ส่วนหมายเลขแผ่น หมายเลขระวางแผ่น และมาตราส่วน ให้คัดลอกจากระวางแผนท่ี
เพ่อื จัดพมิ พ์บญั ชีเทียบเลขที่ดนิ และสารบัญทด่ี นิ ด้วยคอมพวิ เตอรเ์ พอ่ื สง่ ให้สํานกั งานทดี่ ินใช้ในราชการตอ่ ไป
ในบริเวณใดท่ีทําการสร้างระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๑๐๐๐ เสร็จแล้ว ใหห้ ัวหน้าหน่วยรวบรวม
ระวางแผนทดี่ งั กลา่ วส่งให้สว่ นปรับปรุงระวางแผนท่ี เพือ่ จัดพมิ พส์ ง่ หนว่ ยงานทเี่ กยี่ วขอ้ งใช้ในราชการตอ่ ไป
ขัน้ ตอนท่ี ๑๕ การนาํ รปู แปลงท่ดี ินจากระวางแผนทรี่ ะบบพกิ ดั ฉาก ยู ที เอม็ มาตราสว่ น ๑ : ๑๐๐๐
เขา้ ในระบบดจิ ิทัล (ดาํ เนนิ การตามบทที่ ๖ – ๘)



 

บทที่ ๖
การ Scan การสรา้ ง การแก้ไขข้อมลู และการตรวจสอบ

การนําเข้าข้อมูลระวางแผนที่รูปแปลงที่ดินในระบบดิจิทัล เป็นการแปลงข้อมูลระวางแผนที่
ให้เป็นภาพดิจิทัล โดยใช้เคร่ืองกราดภาพสําหรับรังวัดด้วยภาพที่มีความละเอียดสูง ถูกต้องตามตําแหน่ง
และรายละเอียดของโทนสีภาพ จะจัดเก็บภาพเป็นไฟล์นามสกุล .Tif เพื่อนําภาพระวางแผนที่รูปแปลงที่ดิน
ไปใชป้ ระโยชน์ในการตรึงคา่ พกิ ดั และทาํ การ Digitize ผา่ นโปรแกรมภูมิสารสนเทศ ตามข้ันตอน ดังนี้

ระวางแผนท่ี
นําเขา้ เครอ่ื ง Scan ระวางแผนท่ี

ขอ้ มลู แผนทรี่ ูปแปลงท่ีดิน
.Tif

 

๖๖--2๒ 

 

การ Rectify

การ Rectify หมายถึง การนาํ ภาพทไ่ี ม่มคี ่าพิกดั มาทําการตรงึ หมุด ๔ มมุ เพ่อื ทําให้ภาพนั้น
มีคา่ พกิ ดั สามารถนําไปใชใ้ นงานทางด้านภูมิสารสนเทศ
วิธีการ Rectify โดยใสค่ า่ พกิ ัด

๑. เปดิ ภาพท่ีจะทําการ rectify เข้ามา โดยคลิกที่ Add Data แล้วเข้าไปยังโฟลเดอร์งาน จากน้ัน
คลิกเลอื กทภ่ี าพ >คลิก Add จะไดด้ งั ภาพ

๒. ซมู ภาพไปที่มมุ ซา้ ยลา่ ง โดยใช้ Zoom in แล้วใช้เครอื่ งมอื Pan ในการเลือ่ นภาพ หรอื จะใช้
ป่มุ Scroll wheel บนเมาส์ ในการซูมเขา้ ซมู ออก กไ็ ด้

 

  ๖๖- -๓3 

๓. คลิกคาํ ส่ัง Add Control Points บนแถบเครอื่ งมอื Georeferencing เพอ่ื ทําการ rectify

๔. ลาก Cursor ไปวาง ณ จดุ มมุ ซา้ ยลา่ งของระวาง โดยให้ cursor อยูใ่ นตาํ แหนง่ ตรงกลางของมุม แล้วจึงทํา
การวางจุด โดยคลกิ ซา้ ย ๑ ครัง้ แล้วตามดว้ ย คลกิ ขวา ๑ คร้ัง จะปรากฏหน้าตา่ งข้นึ มา ให้เลือก Input x, y

๕. ใส่คา่ พกิ ัด X , Y ตามตัวเลขทปี่ รากฏทขี่ อบระวาง (โดยปกติ ค่า X จะนอ้ ยกวา่ คา่ Y )

 

๖๖- -๔4 

 

๖. ใสค่ ่าพิกัดให้ครบท้งั ๔ มมุ ระวาง ดว้ ยวิธเี ดียวกนั โดยจะตอ้ งใส่คา่ พิกดั ให้ถูกต้องท้งั ๔ มมุ ระวางด้วย เช่น
มุมซ้ายล่าง : X = 666000 , Y = 1534500
มุมซ้ายบน : คา่ Y จะเพ่ิมขน้ึ อกี 500 เน่ืองจากเป็นระวาง 1 : 1000
ส่วนคา่ X จะคงเดิม ดงั นน้ั X = 666000, Y = 1550000
มุมขวาบน : ทงั้ ค่า X และ Y จะบวกเพิม่ ขนึ้ อีก 500
ดังนั้น X = 666500, Y = 1550000
มุมขวาลา่ ง : คา่ X จะเพิ่มขึน้ 500 สว่ นค่า Y คงเดิม
ดงั นั้น X = 66500, Y = 1534500

เมอื่ ทาํ การ Rectify โดยการตรึงหมุด ๔ มมุ และใส่ค่าพกิ ดั เสรจ็ แลว้ ใหท้ าํ การตรวจค่า Total RMS Error
โดยไปทีห่ น้าต่าง Link Table แลว้ ดูทีม่ มุ บนดา้ นขวา ซ่งึ โดยทวั่ ไปคา่ ไม่ควรเกนิ ๐.๕
๗. ทาํ การบันทกึ งาน โดยคลิกท่ี Georeferencing>เลอื ก Rectify

 

๖๖-5- ๕ 

 

๘. ทําการเลอื กท่เี ก็บ Output Location : โดยคลิกที่ จากนนั้ ไปทําการเลอื กโฟลเดอรท์ ีใ่ ช้เกบ็ งาน
โดยไม่ต้องคลิกเข้าไปในโฟลเดอร์ ( สร้างโฟลเดอร์ขน้ึ มาใหมไ่ ด้ โดยใชช้ ่ือ rec ) แลว้ คลกิ add

Name : ทาํ การตั้งชอ่ื โดยเพ่ิม -1m1 เข้าไปตอ่ ท้าย, Format : เลือกเป็น TIFF แลว้ กด save

๙. เปดิ ภาพเขา้ ไปตรวจสอบ โดยไปเปดิ index ทเี่ ป็น Shape file ในโฟลเดอร์ R4000 และภาพท่ีไดท้ ําการ
rectify ไปแลว้ เข้ามา ถา้ ภาพซ้อนทบั กนั พอดี แสดงว่า rectify ถูกต้อง สามารถนําไปใชใ้ นการ Digitize ต่อไป

 

๖๖--6๖ 

 

ตัวอย่าง: ภาพแสดงการซ้อนทบั ระหวา่ งภาพท่ที ําการRectify และ Index

 

๖๖--7๗ 

 

การสร้าง การแกไ้ ขข้อมลู และการตรวจสอบ

๑. ข้นั ตอนการสรา้ ง shapefile
ขั้นตอนการสร้าง shapefile จะต้องสร้าง Fields ข้อมูลเพ่ิมใน ArcMap ทีละ Fields เป็นอีก
ขั้นตอนของการสร้างข้อมูล เป็นข้อมูล Personal Geodatabase ซึ่งเป็นไฟล์นามสกุล .mbd

เปน็ การสรา้ งข้อมูล โดยการสร้าง Fields ตรวจสอบ การทํางานผิดพลาดของข้อมูลเพียงครง้ั เดียว และเปลี่ยนไฟล์
นามสกลุ .mbd เป็น .shp โดยไม่ตอ้ งสรา้ ง Fields เพ่มิ สามารถทาํ ไดด้ ังนี้

๑.๑ คลกิ ขวาท่ี Folder ที่ต้องการเก็บข้อมลู ไปที่ New จากน้นั เลือก Personal Geodatabase

๒. ทําการสรา้ ง Feature Dataset
Feature Dataset คือ จัดการกับข้อมลู ที่มคี ่าพิกดั เดยี วกันใหอ้ ย่ใู นชุดขอ้ มลู เพ่อื นําไปสู่การสร้าง

Topology , Network Dataset , Terrain Dataset , Geometric Network
๒.๑ คลกิ ขวาที่ Personal Geodatabase ไปท่ี New จากน้ันเลอื ก Feature Dataset

 

๖๖--8๘ 

 

๒.๒ จะมกี ลอ่ งขอ้ ความ ให้ตัง้ ชื่อตามที่ต้องการ จากน้ัน กด Next

๒.๓ โปรแกรมจะให้เลือกพิกัดทางภูมิศาสตร์ ให้เลือกใช้ Indian_1975_UTM_Zone_47N จากนั้นกด Next
เป็นการเสรจ็ สน้ิ การสร้าง Feature Dataset

 

๖--9๙ 

 

๓. การสรา้ ง Feature Class และ Shapefile
คอื การเก็บขอ้ มลู สญั รปู (Feature) ทวั่ ไปทม่ี ีลักษณะเหมอื นกนั หรือมคี ุณสมบัติเดียวกัน โดยแต่ละ

feature จะแทนลักษณะเชิงพื้นที่แบบเดียวกัน ได้แก่ ข้อมูลจุด (Point) ข้อมูลเส้น (Line) และข้อมูลพื้นที่
(Polygon) รวมทง้ั ข้อมูลเชงิ คุณลักษณะ หรอื ข้อความ (Annotation) สามารถทําไดด้ ังนี้
๓.๑ คลิกขวาที่ Feature Dataset ไปที่ New จากนน้ั เลอื ก Feature Class

๓.๒ ในช่อง NewFeature Class จะให้ตง้ั ชอื่ ขอ้ มูล shapefile สามารถตงั้ ชือ่ ตามที่ตอ้ งการได้ จากนัน้ ในชอ่ ง
Type of features stored in this feature class ใหเ้ ลอื ก Polygon Features จากนน้ั กด Next

 

๖๖--1๑0๐ 

 

๓.๓ จะขึ้นหน้าต่างให้ใส่ Fields Name (ตารางข้อมูล) และ Data Type ในส่วนน้ีจะสร้างหัว Fields ในตาราง
Attribute เพื่อทําการใส่ข้อมูล PolygonLine หรือ Point ที่ต้องการ ในการลงระวาง โปรแกรม UDM
ใช้ Fields Name (ตารางข้อมลู ) ดงั นี้

Fields Name Data Type

UTMMAP1 Text
UTMMAP2 Long Integer
UTMMAP3 Text
UTMMAP4 Text

UTMSCALE Long Integer
UTMPARNO Long Integer
TYPENO Long Integer
CREATE_DATE Date

MODIFY_DATE Date
REMARK Text

 

๖๖--1๑1๑ 

 

๔. การตรวจสอบ Topology
๔.๑ คลิกขวาที่ Feature Dataset ไปที่ New จากนั้นเลอื ก Topology

๔.๒ จะปรากฏ New Topylogy ให้กด Next

 

๖๖--1๑2๒ 

 

๔.๓ ในส่วนน้ีให้ตั้งช่ือ Topology ตามที่ต้องการ ในช่อง Enter a Cluster tolerance ให้ใส่ค่า 0.01 Meters
จากนน้ั กด Next

๔.๔ ใหท้ ําเครอ่ื งหมาย / เพ่อื เลือกช้ันขอ้ มูลทตี่ อ้ งการตรวจสอบ Topology จากนัน้ กด Next

 

๖๖--1๑3๓ 

 

๔.๕ ในสว่ นนี้ ช่อง Enter the number of ranks ให้ใส่คา่ เป็น 1 จากนนั้ กด Next

๔.๖ ใหเ้ ลอื ก Add Rule เราสามารถเลือกไดท้ ีละคร้งั จากนน้ั กด Next
๔.๖.๑ ใหเ้ ลอื ก เป็น Must Not Overlap
๔.๖.๒ ใหเ้ ลือก เปน็ Must Not Have Gaps

 

๖๖--1๑4๔ 

 

๔.๗ ในช่อง Summary ในสว่ นนจ้ี ะแสดงข้อมลู ทีไ่ ด้ทาํ การตัง้ คา่ เอาไว้ จากนั้นกด Finish

๔.๘ ช้ันข้อมูล Topology สามารถนํามาใช้ตรวจสอบการซ้อนทับของ Polygon ได้โดยคลิกท่ี เม่ือกดแล้ว
จะแสดงส่วนที่ซ้อนทับ ใหท้ ําการแก้ไขต่อไป

 

  ๖๖--1๑5๕ 

การตรวจสอบหมดุ ซอ้ น เมื่อกดแล้วจะปรากฏหมุดที่อยู่ในแปลงที่ดิน สามารถทําการลบหมุดหรือ
๑. โดย คลิกที่
เพิ่มหมดุ ได้

๒. ถา้ หากหมดุ ซอ้ นกันจะเปน็ สดี าํ เขม้ ให้ Zoom เขา้ ไปเพ่ือทําการลบหมดุ

 

  ๖๖--1๑6๖ 

๓. การลบหมดุ ใหเ้ ลอื ก เครอ่ื งมอื แล้วคลกิ ทีเ่ ส้นทต่ี อ้ งการลบหมุด เส้นจะขึ้นเปน็ สีชมพแู สดงว่าไดเ้ ลอื ก
เส้นน้นั แลว้

๔. จากนน้ั ใหเ้ ลอื กหมดุ ทต่ี อ้ งการลบ คลิกขวา เลอื ก Delete Vertex

 

๖๖-1- ๑7๗ 

 

๕. การเพ่ิมหมุด ให้เลือก เคร่ืองมือ แล้วคลิกที่เส้นที่ต้องการเพิ่มหมุดเหมือนการลบหมุด คลิกขวา เลือก
Insert Vertex หมุดกจ็ ะเพม่ิ ให้อัตโนมตั ิ

 

๖๖--1๑๘8 

 

การแก้ไขแปลงท่ีดินทีอ่ ยบู่ ริเวณรมิ ขอบระวาง
การตอ่ ริมขอบระวาง

เน่ืองจากการ Digitize แปลงท่ีดินที่อยู่บริเวณขอบระวางไม่สามารถทําให้เต็มแปลงท่ีดินได้ จึงต้อง
นําภาพอีกระวางมาทําการ Digitize ด้วยเพ่ือให้แปลงท่ีดินสมบูรณ์และอยู่ในระวางที่พื้นท่ีส่วนใหญ่ของแปลงที่ดิน
นน้ั อยู่ ในการตอ่ แปลงทีด่ นิ ท่ีอยบู่ ริเวณริมขอบระวางมีขั้นตอนดังต่อไปน้ี
๑. นาํ เข้าชั้นข้อมูลรูปแปลงที่ดินทั้ง ๒ ระวาง ที่ต้องการต่อแปลงที่ดิน จะสังเกตได้ว่าแปลงที่ดินอยู่ระหว่าง
ระวางทั้งสอง ทําใหร้ ูปแปลงไมส่ มบูรณ์

๒. ขั้นตอนแรกใหไ้ ปทเี่ ครอ่ื งมือ Editor สามารถเปิดเครอื่ งมอื Editor ได้จากแถบเครื่องมือ Customize ไปท่ี
Toolbar เพื่อเริ่ม Start Editing

 

๖๖--1๑9๙ 

 

๓. เลือกแปลงที่มีพนื้ ทีน่ ้อยกวา่ เน่อื งจากพืน้ ท่สี ว่ นใหญอ่ ยใู่ นอกี ระวางหนึ่ง เพอ่ื ทาํ การรวมแปลง

๔. ทาํ การ Copy แปลงที่เลือกไว้ แล้วกด Paste เพือ่ วางข้อมลู จะข้ึนขอ้ ความให้เราเลอื กระวางที่ต้องการยา้ ย

 

๖๖--2๒0๐ 

 

๕. จะเหน็ ไดว้ ่าแปลงทอ่ี ยู่อีกระวางได้ย้ายมาอย่รู ะวางเดยี วกันแลว้

๖. จากน้ันใหท้ าํ การรวมแปลง โดยเลอื กแปลงท้ัง ๒ แปลง ไปท่ี Editor เลอื ก Merge

 

๖๖-2- 1๒๑ 

 

๗. เม่ือกดแล้ว เลือกแปลงท่ีต้องการรวม ให้เลือกแปลงท่ีมีข้อมูลถูกต้อง เน่ืองจากแปลงท่ีมาจากอีกระวาง
จะมขี ้อมลู ของระวางน้ัน จึงต้องทาํ การเลือกแปลงท่ตี ้องการรวม เพื่อทข่ี อ้ มูลเดิมไม่หายไป

๘. เมอื่ รวมแล้วจะไดแ้ ปลงทด่ี ินทสี่ มบรู ณ์ ใหท้ ําการลบแปลงที่อยู่ในแปลงเดมิ

 

๖๖--2๒2๒ 

 

การแกไ้ ขแปลงที่ดินไม่ตรงกนั
หากรูปแปลงท่ีดินระหว่างแปลงไม่ตรงกัน เน่ืองจากการลงระวางหรือการ Digitize ด้วยมือเดิม

คลาดเคล่ือน ให้ทําการแก้ไขขอ้ มูลกอ่ น เพ่อื ให้ง่ายตอ่ การต่อแปลงรมิ ระวาง

๑. ให้เลือก เพอื่ ทําการลบหมดุ หรือย้ายหมดุ คลิกที่เสน้ จะขนึ้ ขอ้ ความใหก้ ด Yes

 

๖๖- -๒2๓3 

 

๒. ในช่อง Select Topology ใหเ้ ลอื กระวางท่ตี อ้ งการแก้ไข จากนั้นกด OK

๓. ใหท้ าํ การคลกิ ที่เสน้ จากนั้นเลือกหมุดทตี่ ้องการย้าย ลากใหต้ รงกับเสน้ อกี ระวางหน่งึ

 


Click to View FlipBook Version