The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ม.ปลาย ทช31002 สุขศึกษา พลศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by goi.porntip, 2021-01-04 01:52:14

ม.ปลาย ทช31002 สุขศึกษา พลศึกษา

ม.ปลาย ทช31002 สุขศึกษา พลศึกษา

Keywords: ทช31002,สุขศึกษา พลศึกษา,สุขศึกษา,พลศึกษา

หนงั สือเรียนสาระทกั ษะการดาเนินชีวติ

รายวชิ า สุขศึกษา พลศึกษา

(ทช31002)

ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย
(ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560)

หลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาข้นั พ้ืนฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551

สานกั งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั
สานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ

ห้ามจาหน่าย

หนงั สือเรียนเล่มน้ีจดั พิมพด์ ว้ ยเงินงบประมาณแผน่ ดินเพ่ือการศึกษาตลอดชีวติ สาหรับประชาชน
ลิขสิทธ์ิเป็นของ สานกั งาน กศน. สานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารทางวชิ าการลาดบั ท่ี 14 /2555

หนงั สือเรียนสาระทกั ษะการดาเนินชีวติ

รายวชิ า สุขศึกษา พลศึกษา (ทช31002)

ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย
ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560

ลิขสิทธ์ิเป็นของ สานกั งาน กศน. สานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารทางวชิ าการลาดบั ท่ี 14/2555

คํานาํ

กระทรวงศึกษาธิการไดประกาศใชหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551 เม่อื วนั ท่ี 18 กันยายน พ.ศ. 2551 แทนหลักเกณฑแ ละวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
ตามหลักสูตรการศึกษาข้นั พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซ่ึงเปนหลักสูตรท่ีพัฒนาขึ้นตามหลักปรัชญาและ
ความเช่ือพ้ืนฐานในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนท่ีมีกลุมเปาหมายเปนผูใหญมีการเรียนรูและสั่งสม
ความรูและประสบการณอยา งตอเน่ือง

ในปง บประมาณ 2554 กระทรวงศกึ ษาธิการไดก าํ หนดแผนยทุ ธศาสตรในการขบั เคลื่อนนโยบาย
ทางการศกึ ษาเพอื่ เพิม่ ศักยภาพและขีดความสามารถในการแขงขนั ใหป ระชาชนไดมีอาชพี ทส่ี ามารถสราง
รายไดที่มั่งคั่งและม่ันคง เปนบุคลากรท่ีมีวินัย เปยมไปดวยคุณธรรมและจริยธรรม และมีจิตสํานึก
รับผิดชอบตอตนเองและผูอน่ื สาํ นกั งาน กศน. จึงไดพ จิ ารณาทบทวนหลกั การ จุดหมาย มาตรฐาน ผลการ
เรียนรูท่ีคาดหวัง และเนื้อหาสาระ ท้ัง 5 กลุมสาระการเรียนรู ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ
การศึกษา ขั้นพนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ใหมคี วามสอดคลองตอบสนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
ซ่งึ สงผลใหต อ งปรับปรุงหนังสือเรียน โดยการเพิ่มและสอดแทรกเนื้อหาสาระเก่ียวกับอาชีพ คุณธรรม
จริยธรรมและการเตรยี มพรอ ม เพอ่ื เขา สปู ระชาคมอาเซียน ในรายวิชาที่มีความเกี่ยวของสัมพันธกัน แต
ยังคงหลักการและวิธีการเดิมในการพัฒนาหนังสือที่ใหผูเรียนศึกษาคนควาความรูดวยตนเอง ปฏิบัติ
กิจกรรม ทําแบบฝกหัด เพ่ือทดสอบความรูความเขาใจ มีการอภิปรายแลกเปล่ียนเรียนรูกับกลุม หรือ
ศกึ ษาเพิ่มเติมจากภูมิปญญาทอ งถนิ่ แหลง การเรยี นรแู ละสื่ออ่นื

การปรับปรุงหนังสือเรียนในครั้งน้ี ไดรับความรวมมืออยางดีย่ิงจากผูทรงคุณวุฒิในแตละ
สาขาวชิ า และผูเก่ยี วของในการจัดการเรียนการสอนท่ีศึกษาคนควา รวบรวมขอมูลองคความรูจากส่ือ
ตา ง ๆ มาเรยี บเรียงเนอื้ หาใหค รบถวนสอดคลอ งกบั มาตรฐาน ผลการเรียนรูที่คาดหวัง ตัวชี้วัดและกรอบ
เน้อื หาสาระของรายวชิ า สาํ นกั งาน กศน.ขอขอบคุณผมู ีสวนเก่ยี วขอ งทุกทานไว ณ โอกาสน้ี และหวังวา
หนงั สอื เรยี น ชุดนจ้ี ะเปน ประโยชนแ กผ เู รียน ครู ผสู อน และผูเกีย่ วขอ งในทุกระดับ หากมีขอ เสนอแนะ
ประการใด สาํ นกั งาน กศน. ขอนอมรับดว ยความขอบคุณยงิ่

สารบญั หนา

คํานํา 1
คาํ แนะนาํ การใชแบบเรียน 2
โครงสรางรายวิชา 5
บทท่ี 1 การทาํ งานของระบบในรางกาย 11
13
เร่อื งที่ 1 การทํางานของระบบยอยอาหาร 16
เรื่องท่ี 2 การทํางานของระบบขับถาย 24
เรอ่ื งท่ี 3 การทํางานของระบบประสาท 28
เรอ่ื งที่ 4 การทาํ งานของระบบสบื พันธุ 29
เรอ่ื งที่ 5 การทาํ งานของระบบตอมไรท อ 30
เรื่องที่ 6 การดแู ลรักษาระบบของรางกายท่สี ําคญั 34
บทที่ 2 ปญ หาเพศศกึ ษา 35
เร่อื งท่ี 1 ทกั ษะการจดั การปญ หาทางเพศ 37
เร่อื งท่ี 2 ปญหาทางเพศในเด็กและวัยรนุ 43
เรื่องที่ 3 การจัดการกบั อารมณ และความตอ งการทางเพศ 44
เรื่องที่ 4 ความเชือ่ ท่ผี ดิ ๆ ทางเพศ 50
เรื่องท่ี 5 กฎหมายทีเ่ กย่ี วขอ งกับการละเมดิ ทางเพศ 54
บทที่ 3 อาหารและโภชนาการ 62
เรอ่ื งที่ 1 โรคขาดสารอาหาร 63
เรอ่ื งที่ 2 การสุขาภิบาลอาหาร 67
เร่อื งที่ 3 การจัดโปรแกรมอาหารใหเ หมาะสมกับบุคคลในครอบครวั 77
บทที่ 4 การเสริมสรา งสขุ ภาพ 78
เรื่องที่ 1 การรวมกลุมเพ่ือเสรมิ สรา งสุขภาพในชมุ ชน 80
เร่ืองที่ 2 การออกกาํ ลงั กายเพอ่ื สขุ ภาพ
บทท่ี 5 โรคทถี่ า ยทอดทางพนั ธกุ รรม
เรอ่ื งท่ี 1 โรคทีถ่ ายทอดทางพันธกุ รรม
เรือ่ งที่ 2 โรคทางพันธุกรรมทีส่ าํ คัญ

บทที่ 6 ความปลอดภยั จากการใชยา 87

เรอ่ื งท่ี 1 หลกั การและวิธกี ารใชยาทถ่ี กู ตอง 88

เรอ่ื งท่ี 2 อันตรายจากการใชยา 90

เรื่องที่ 3 ความเชอ่ื เก่ยี วกบั การใชยา 96

บทท่ี 7 ผลกระทบจากสารเสพตดิ 101

เรอ่ื งที่ 1 ปญหาการแพรร ะบาดของสารเสพติดในปจ จุบนั 102

เรอ่ื งที่ 2 แนวทางการปองกันการแพรร ะบาดของสารเสพติด 105

เร่ืองท่ี 3 กฎหมายท่เี กี่ยวกับสารเสพติด 108

บทท่ี 8 ทกั ษะชีวิตเพื่อสขุ ภาพจิต 112

เรอ่ื งท่ี 1 ความหมาย ความสาํ คัญของทกั ษะชวี ติ 113

เร่ืองที่ 2 ทักษะการตระหนกั ในการรูตน 115

เรื่องท่ี 3 ทกั ษะการจดั การกบั อารมณ 118

เรื่องท่ี 4 ทักษะการจดั การความเครยี ด 120

บทที่ 9 อาชพี จําหนา ยอาหารสําเรจ็ รปู ตามสขุ าภบิ าล 123

เร่อื งท่ี 1 การถนอมอาหารโดยใชค วามรอนสงู 124

เรอื่ งที่ 2 การถนอมอาหารโดยใชความเย็น 128

เร่อื งท่ี 3 การถนอมอาหารโดยการทาํ แหง 129

เรื่องท่ี 4 การถนอมอาหารโดยการหมกั ดอง 132

เรื่องท่ี 5 การถนอมอาหารโดยการใชร งั สี 132

เรื่องที่ 6 อาชพี จาํ หนา ยอาหารสําเร็จรปู ตามหลักสขุ าภิบาล 135

เรื่องท่ี 7 การจัดตกแตง รานและการจัดสินคา อาหารสาํ เรจ็ รปู ตามหลกั สขุ าภิบาล 136

เรือ่ งท่ี 8 พฤตกิ รรมผูบริโภคกับชองทางการจําหนายอาหารสําเร็จรปู 140

เรื่องที่ 9 การบรหิ ารจดั การธรุ กิจ 143

เรื่องที่ 10 การกาํ หนดราคาขาย 144

เรื่องท่ี 11 คุณธรรมในการประกอบอาชพี 145

เรื่องที่ 12 หนวยงานสงเสรมิ และสนับสนุนในประเทศไทย 146

บรรณานกุ รม

คาํ แนะนาํ การใชห นังสือเรียน

หนังสือเรียนสาระทักษะการดําเนินชีวิต รายวิชาสุขศึกษา พลศึกษา รหัส ทช 31002
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปนหนังสือเรียนที่จัดทําขึ้น สําหรับผูเรียนท่ีเปนนักศึกษาการศึกษา
นอกระบบในการศึกษาหนังสือเรียนสาระทักษะการดําเนินชีวิต รายวิชาสุขศึกษา พลศึกษา ผูเรียน
ควรปฏบิ ตั ิดังน้ี

1. ศึกษาโครงสรางรายวิชาใหเขาใจในหัวขอและสาระสําคัญ ผลการเรียนรูที่คาดหวังและ
ขอบขา ยเนอื้ หาของรายวชิ าน้นั ๆ โดยละเอยี ด

2. ศึกษารายละเอียดเน้ือหาของแตละบทอยางละเอียด และทํากิจกรรมตามที่กําหนดแลว
ตรวจสอบกับแนวคาํ ตอบของกิจกรรม ถาผูเ รียนตอบผิดควรกลับไปศึกษาและทําความเขาใจในเนื้อหา
น้นั ใหมใหเขาใจ กอนที่จะศึกษาเรือ่ งตอ ๆ ไป

3. ปฏบิ ัตกิ ิจกรรมทายเรื่องของแตละเร่ือง เพื่อเปนการสรุปความรู ความเขาใจของเนื้อหาใน
เรอื่ งนั้น ๆ อีกคร้งั และการปฏบิ ตั กิ ิจกรรมของแตล ะเนอื้ หา แตล ะเรื่อง ผูเรียนสามารถนําไปตรวจสอบกับ
ครูและเพ่ือน ๆ ทีร่ วมเรียนในรายวิชาและระดบั เดียวกันได

4. หนงั สอื เรียนเลมนมี้ ี 9 บท
บทที่ 1 เรื่อง การทํางานของระบบในรางกาย
บทที่ 2 เรื่อง ปญหาเพศศกึ ษา
บทที่ 3 เรอ่ื ง อาหารและโภชนาการ
บทที่ 4 เรอ่ื ง การเสรมิ สรางสขุ ภาพ
บทท่ี 5 เรอื่ ง โรคทถ่ี ายทอดทางพันธกุ รรม
บทที่ 6 เรื่อง ปลอดภัยจากการใชย า
บทท่ี 7 เร่ือง ผลกระทบจากสารเสพตดิ
บทท่ี 8 เรือ่ ง ทกั ษะชวี ติ เพอ่ื สุขภาพชีวติ
บทท่ี 9 อาชพี จําหนายอาหารสําเร็จรูปตามสขุ าภบิ าล

โครงสรางรายวิชา สขุ ศกึ ษา พลศึกษา
ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย
(ทช31002)

สาระสําคัญ

ศกึ ษา ฝก ปฏิบัติ และประยกุ ตใชเกี่ยวกับสุขศึกษา พลศึกษา เรื่องเก่ียวกับระบบตาง ๆ ของรางกาย
เปาหมายชีวิต ปญหาเกี่ยวกับเพศศึกษา อาหารและโภชนาการ เสริมสรางสุขภาพ โรคท่ีถายทอดทาง
พันธุกรรม ปลอดภัยจากการใชยา ผลกระทบจากสารเสพติด อันตรายรอบตัว และทักษะชีวิต
เพอ่ื สขุ ภาพจติ เพอ่ื ใชประโยชนใ นการวางแผนพัฒนาสขุ ภาพของตนเองและครอบครัว นําไปประยกุ ตใช
ในชวี ิตประจาํ วนั ในการดาํ เนินชีวติ ของตนเอง และครอบครวั ไดอยางเหมาะสม ปลอดภัย

ผลการเรียนที่คาดหวัง

1. อธบิ ายการทาํ งานของระบบตา ง ๆ ในรา งกายไดถ กู ตอง
2. วางแผนเปา หมายชีวิต ตลอดจนเรอื่ งปญหาเก่ยี วกับเพศศกึ ษาได
3. เรยี นรเู ร่อื งการวางแผนในการสรางเสรมิ สขุ ภาพเกย่ี วกบั อาหาร
4. อธบิ ายถงึ โรคที่ถายทอดทางพันธกุ รรมได
5. วางแผนปองกนั เกย่ี วกับอุบัติเหตุ อุบตั ภิ ยั ไดอ ยางถกู ตอ ง
6. มีความรูในการพฒั นาทักษะชวี ติ ใหด ีได

ขอบขายเนอ้ื หา

บทท่ี 1 เรื่อง การทํางานของระบบในรางกาย
บทที่ 2 เรื่อง ปญหาเพศศึกษา
บทท่ี 3 เร่ือง อาหารและโภชนาการ
บทที่ 4 เรือ่ ง การเสรมิ สรางสุขภาพ
บทที่ 5 เรอ่ื ง โรคทถี่ า ยทอดทางพันธุกรรม
บทท่ี 6 เร่อื ง ความปลอดภัยจากการใชย า
บทท่ี 7 เรอ่ื ง ผลกระทบจากสารเสพติด
บทที่ 8 เร่ือง ทักษะชวี ิตเพ่อื สุขภาพจิต
บทที่ 9 อาชพี จาํ หนา ยอาหารสาํ เร็จรูปตามสุขาภบิ าล

1

บทที่ 1
การทาํ งานของระบบในรา งกาย

สาระสาํ คญั

พัฒนาการของมนุษยจะเกิดการเจริญเติบโตอยางเปนปกติ หากการทํางานของระบบตาง ๆ
ในรางกายเปนไปอยางราบร่ืนไมเจ็บปวย จึงจําเปนตองเรียนรูถึงกระบวนการทํางาน การปองกันและ
การดูแลรักษาใหระบบตา ง ๆ เปน ไปอยา งมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรูทคี่ าดหวงั
1. เขาใจการทํางานของระบบตา งๆ ในรา งกาย
1.1. การทํางานของระบบยอยอาหาร
1.2. การทาํ งานของระบบขบั ถา ย
1.3. การทาํ งานของระบบประสาท
1.4. การทํางานของระบบสบื พันธุ
1.5. การทาํ งานของระบบตอ มไรท อ
2. สามารถดูแลรกั ษาปองกนั ความผดิ ปกติของระบบอวัยวะสําคัญ 5 ระบบ รวมทั้งสรางเสริม
และดาํ รงประสทิ ธภิ าพได

ขอบขา ยเนื้อหา

เรื่องท่ี 1 การทาํ งานของระบบยอยอาหาร
เรอ่ื งที่ 2 การทํางานของระบบขบั ถาย
เรอื่ งท่ี 3 การทาํ งานของระบบประสาท
เรอ่ื งท่ี 4 การทาํ งานของระบบสบื พันธุ
เรื่องที่ 5 การทาํ งานของระบบตอ มไรทอ
เร่ืองท่ี 6 การดแู ลรกั ษาระบบของรา งกายที่สําคัญ

2

การทาํ งานของระบบตาง ๆ ในรางกาย

การทํางานของระบบอวัยวะตาง ๆ ภายในรางกาย เปนไปโดยธรรมชาติอยางมีระเบียบและ
ประสานสัมพนั ธก นั โดยอัตโนมัติ จึงเปนเร่ืองที่เราตองศึกษา เรียนรูใหเขาใจเก่ียวกับวิธีการสรางเสริม
และการดาํ รงประสทิ ธภิ าพการทํางานของระบบอวยั วะเหลา นั้นใหใชงานไดนานทีส่ ดุ

ระบบอวัยวะของรางกาย ทําหนาทแ่ี ตกตา งกนั และประสานกนั อยา งเปนระบบ ซ่ึงระบบที่สําคัญ
ของรา งกาย 5 ระบบ มีหนาที่และอวัยวะทเ่ี กีย่ วขอ ง ดังน้ี

เรือ่ งท่ี 1 การทํางานของระบบยอ ยอาหาร

มนุษยเปนผูบริโภคโดยการรับประทานอาหารเพ่ือใหรางกายเจริญเติบโต ดํารงอยูไดและ
ซอมแซมสวนทสี่ ึกหรอ มนษุ ยจงึ มรี ะบบการยอยอาหารเพ่ือนําสารอาหารแรธาตุและน้ําใหเปนพลังงาน
เพื่อใชในการดํารงชีวิต

การยอ ยอาหารเปน กระบวนการเปลยี่ นแปลงสารอาหารทมี่ ขี นาดใหญใ หเลก็ ลงจนรา งกายดูดซึม
ไปใชได การยอ ยอาหารมี 3 ข้นั ตอน คือ

1) การยอ ยอาหารในปาก เปนกระบวนการยอ ยอาหารในสว นแรก อวัยวะทเี่ กี่ยวของกับการยอ ย
อาหาร ไดแก ฟนและตอมน้ําลาย ทางเดินอาหารเริ่มตั้งแตปาก มีฟนทําหนาที่บดอาหาร ตอมน้ําลาย
จะหลั่งนํ้าลายมาเพือ่ ยอยแปง ในน้ําลายมเี มือกชวยในการหลอล่ืนอาหารใหกลืนไดสะดวก การหล่ังนํ้าลาย
อาศยั รสและกลน่ิ อาหาร เมอื่ อาหารถูกบดเคยี้ วในปากแลว จะเขา สูหลอดอาหารโดยการกลืน

2) การยอยอาหารในกระเพาะอาหาร เปนอวยั วะท่ีอยูตอ จากหลอดอาหาร ใตก ระบงั ลมดานซา ย
ดานลางตดิ กับลําไสเ ล็ก มลี ักษณะเปน กระพุงรูปตวั เจ (J) ผนังกัน้ เปนกลามเน้ือเรียบ ยืดหดไดดี การยอย
ในกระเพาะอาหาร ผนังกระเพาะอาหารมกี ลามเน้ือแขง็ แรง ยืดหยุนและขยายความจุไดถึง 1,000 – 1,200
ลูกบาศกเ ซนตเิ มตร มกี ลา มเนอ้ื หรู ูด 2 แหง คือ กลามเนื้อหูรูดที่ตอกับหลอดอาหารและกลามเน้ือหูรูดท่ี
ตอ กับลาํ ไสเ ล็ก ผนังดานในของกระเพาะอาหารมีตอ มสรางเอนไซมส ําหรับยอ ยอาหาร เมื่ออาหารเคล่ือน
ลงสกู ระเพาะอาหารจะกระตุนใหมีการหลั่งเอนไซมออกมา ซ่ึงประกอบดวย กรดไฮโดรคอลิก (HCL)
ชวยเปลี่ยนเพปซโิ นเจนและไทรเรนนิน จากผนังกระเพาะใหเปนเพปซินและเรนนิน พรอมท่ีจะทํางาน
ชว ยยอ ยโปรตนี นอกจากนี้ยังสรางนา้ํ เมอื กมีฤทธิ์เปนดา ง (base) เคลือบกระเพาะอาหาร กรดในกระเพาะ
อาหารจะทาํ ลายแบคทเี รยี ท่ีตดิ มากบั อาหาร อาหารจะอยูในกระเพาะอาหารประมาณ 30 นาที ถงึ 3 ชัว่ โมง
ขึ้นอยกู ับชนดิ ของอาหาร โปรตนี จะถกู ยอ ยในกระเพาะอาหารโดยเอนไซมเพปซนิ กระเพาะอาหารมีการ
ดดู ซึมสารบางสว นได เชน สามารถดดู ซึมแอลกอฮอลไ ดดีถึงรอยละ 30-40

3

3) การยอ ยอาหารในลําไส ลาํ ไสเล็กอยูตอจากกระเพาะอาหาร มีลักษณะเปนทอที่ขดซอนกัน
ไปมาในชอ งทอ ง ยาวประมาณ 5-7 เมตร ลําไสเล็กจะผลิตเอนไซมเพ่ือยอยโปรตีน คารโบไฮเดรตและ
ไขมัน

การยอยอาหารในลําไสเล็ก อาหารจะเคลือ่ นจากกระเพาะอาหารผานกลามเนือ้ หรู ดู เขา สูลาํ ไสเลก็
การยอยอาหารในลําไสเ ล็กเกิดจากการทํางานของอวัยวะ 3 ชนิด คือ ตับออน ผนังลําไสเล็กและตับจะหลั่ง
สารออกมาทํางานรว มกนั

ตับออ น (Pancreas) ทาํ หนา ท่ีสรา งฮอรโ มนควบคมุ ระดบั นาํ้ ตาลในเลอื ดและเอนไซมในการยอ ย
อาหาร เอนไซมท ่สี รางขึ้นจะอยใู นรปู ทีย่ ังทาํ งานไมได ตองอาศยั เอนไซมจากลําไสเปลี่ยนสภาพที่พรอม
จะทํางานได ซ่ึงเปน เอนไซมสาํ หรับยอ ยโปรตนี นอกจากนน้ั ยงั สรางเอนไซมสําหรับยอยคารโบไฮเดรต
และไขมันอีกดว ย นอกจากนยี้ ังสรา งสารโซเดียมไฮโดรเจนคารบ อเนตมีฤทธิ์เปน (base) เพือ่ ลดความเปน
กรดจากกระเพาะอาหาร

ผนงั ลาํ ไสเล็ก จะผลติ เอนไซมเพอื่ ยอ ยโปรตนี คารโบไฮเดรตและไขมัน ลําไสเล็กแบงออกเปน
3 สว น คือ

- ลาํ ไสเล็กสวนตน หรือเรียกวา ดโู อดินัม (Duodenum)
- ลาํ ไสเ ลก็ สว นกลาง หรือ เรียกวา เจจนู ัม (Jejunum)
- ลําไสเ ลก็ สวนปลาย หรือเรียกวา ไอเลียม (Ileum)
ตบั (Liver) ทําหนา ท่สี รา งน้าํ ดีเก็บไวใ นถงุ น้าํ ดี นา้ํ ดมี ีสวนประกอบสาํ คัญ คือ นํา้ ดชี วยใหไขมัน
แตกตัวและละลายนา้ํ ได ทําใหเอนไซมลิเพสจากตับออนและลําไสเล็กยอยไขมันใหเปนกรดไขมันและ
กลเี ซอรอล
การดูดซึม ลําไสเ ปนบรเิ วณท่ีมกี ารดูดซมึ ไดดที ส่ี ดุ ผนังดานในลําไสเล็กเปนคลื่นและมีสวนย่ืน
ออกมาเปนปุมเล็ก ๆ จํานวนมากเรยี กวา วิลลัส (villus) ที่ผิวดานนอกของเซลลวิลลัสมีสวนท่ีย่ืนออกไป
อีก เรียกวา ไมโครวิลไล (microvilli) เพื่อเพมิ่ พืน้ ทใ่ี นการดูดซมึ ภายในวิลลัสแตล ะอนั มเี สนเลือดและเสน
นาํ้ เหลือง ซงึ่ จะรับอาหารทยี่ อยแลวทซ่ี มึ ผา นผนังบลุ าํ ไสเ ล็กเขา มา

4

สารอาหารเกือบทุกชนิดรวมท้ังวิตามินหลายชนิดจะถูกดูดซึมที่บริเวณดูโอดินัม สําหรับลําไส
เล็กสว นเจจูนมั จะดดู ซึมอาหารพวกไขมนั สวนของไอเลียมดดู ซึมวติ ามนิ บี 12 และเกลือนํ้าดี สารอาหาร
สวนใหญแ ละนํา้ จะเขาสเู สนเลือดฝอย โมโนแซก็ คาไรด กรดอะมโิ นและกรดไขมนั จะเขาสเู สน เลือดฝอย
เขา สเู สน เวน (vein) ผานตบั กอ นเขา สหู วั ใจ โมโนแซ็กคาไรดท ถ่ี ูกดูดซึมถามมี ากเกินความตองการจะถูก
สงั เคราะหใ หเ ปน ไกลโคเจนเกบ็ ไวท ่ตี ับและกลามเน้ือ ไกลโคเจนในตบั อาจเปล่ยี นกลับไปเปน กลโู คสได
อกี กลโู คสกจ็ ะนํามาสลายใชในกิจกรรมตาง ๆ ของเซลล

สวนไขมันจะเขาไปในกระแสเลือดถูกนําไปใชในดานตาง ๆ ใชเปนแหลงพลังงานซึ่งเปน
สวนประกอบของเยื่อหุม เซลลและโครงสรางอื่นๆ ของเซลล บางสวนเปลี่ยนไปเปนกลูโคส ไกลโคเจน
และกรดอะมิโนบางชนดิ สว นที่เหลือจะเก็บสะสมไวในเซลลท่ีเก็บไขมัน ซึ่งมีอยูทั่วรางกายใตผิวหนัง
หนาทอง สะโพกและตนขา อาจสะสมท่ีอวัยวะอื่น ๆ อีก เชน ไต หัวใจ เปนตน ทําใหประสิทธิภาพ
ของการทํางานของอวัยวะเหลานีล้ ดลง

กรดอะมิโนที่ไดรับจากอาหาร จะถูกนําไปสรางเปนโปรตีนใหมเพ่ือใชเปนสวนประกอบของ
เซลลเ น้อื เยอ่ื ตาง ๆ ทาํ ใหรา งกายเจริญเติบโตหรือมกี ารสรางเซลลใหม รา งกายจะนาํ ไขมันและโปรตีนมา
ใชเ ปน แหลงพลงั งานไดใ นกรณีทีร่ างกายขาดคารโบไฮเดรต โปรตีนทเ่ี กินความตอ งการของรางกายจะถกู
ตับเปลยี่ นใหเ ปน ไขมันสะสมไวในเนอ้ื เยื่อ การเปล่ยี นโปรตีนใหเ ปนไขมันจะมกี ารปลอยกรดอะมิโนบาง
ชนดิ ท่ีเปน อันตรายตอ ตับและไต ในกรณีที่ขาดอาหารพวกโปรตนี จงึ เปน ปญ หาทีส่ าํ คญั อยา งย่งิ เน่ืองจาก
การเปลย่ี นแปลงกระบวนการทางเคมี เซลลต อ งใชเอนไซมซ่ึงเปน โปรตนี ท้ังสน้ิ

อาหารทเ่ี หลือจากการยอยและดดู ซมึ แลว จะผา นเขา สูลาํ ไสใหญ เซลลท บ่ี ผุ นงั ลําไสใหญสามารถ
ดดู นํ้า แรธ าตุและวิตามนิ จากกากอาหารเขา กระแสเลอื ด กากอาหารจะผานไปถงึ ไสตรง (rectum) ทายสุด
ของไสตรงคือ ทวารหนักเปนกลามเนื้อหูรูดที่แข็งแรงมาก ทําหนาที่บีบตัวชวยในการขับถาย จาก
การศึกษาพบวา อาหารท่ีรับประทานเขา ไปจะไปถงึ บรเิ วณไสต รงในชั่วโมงท่ี 12 กากอาหารจะอยใู นลาํ ไส
ตรงจนกวา จะเตม็ จงึ จะเกิดการปวดอุจจาระ และขบั ถา ยออกไปตามปกติ

ภาพลําไสใหญ

5

เร่ืองท่ี 2 การทํางานของระบบขบั ถา ย

ระบบขบั ถาย
การขับถายเปนกระบวนการกําจัดของเสียท่ีรางกายไมตองการออกมาภายนอกรางกาย เรียกวา

การขบั ถายของเสีย อวัยวะที่เก่ียวของกับการกําจัดของเสีย ไดแก ปอด ผิวหนัง กระเพาะปสสาวะ และ
ลาํ ไสใหญ เปนตน

ปอด เปน อวยั วะหน่ึงในรา งกายทมี่ ีความสาํ คัญอยา งยิง่ ในสตั วม ีกระดกู สันหลัง ใชในการหายใจ
หนาทห่ี ลกั ของปอดก็คือการแลกเปล่ียนกาซออกซิเจนจากส่ิงแวดลอมเขาสูระบบเลือดในรางกาย และ
แลกเปลยี่ นเอากา ซคารบ อนไดออกไซดออกจากระบบเลือดออกสูสิ่งแวดลอม ทํางานโดยการประกอบ
กันข้ึนของเซลลเปนจํานวนลานเซลล ซ่ึงเซลลที่วาน้ีมีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเปนถุง
เหมือนลูกโปง ซงึ่ ในถุงลูกโปงนเี้ องทมี่ ีการแลกเปล่ยี นกาซตา ง ๆ เกิดขึน้ นอกจากการทํางานแลกเปล่ียน
กา ซแลวปอดยงั ทาํ หนาที่อ่นื ๆ อีก

คําวา ปอดในภาษาองั กฤษ ใชค ําวา lung มนุษยมีปอดอยใู นทรวงอก มีสองขาง คือ ขวาและซาย
ปอดมีลักษณะนม่ิ รา งกายจงึ มกี ระดกู ซ่โี ครงคอยปกปอ งปอดไวอกี ชัน้ หนง่ึ ปอดแตล ะขา งจะมถี งุ บาง ๆ
2 ชั้นหุม อยู เรยี กวา เยื่อหุมปอด เยอ่ื หุม ปอดทเี่ ปนถุงบาง ๆ 2 ช้ันน้ีเรียกวา เย่ือหุมปอดชั้นใน และเย่ือหุม
ปอดชนั้ นอก เย่อื หมุ ปอดชัน้ ในจะแนบตดิ ไปกับผิวของปอด สวนเย่ือหุมปอดช้ันนอกจะแนบติดไปกับ
ชอ งทรวงอกระหวางเยื่อหมุ ปอด 2 ช้นั บาง ๆ นี้จะมีชองวาง เรียกวา ชองเย่ือหุม ในชองเยื่อหุมปอดจะมี
ของเหลวคอยหลอล่ืนอยู เรียกวา ของเหลวเย่ือหุมปอด ของเหลวนี้จะชวยใหเย่ือหุมปอดแตละชั้นสไลด
ไปมาระหวางกนั ไดโดยไมเสียดสกี นั และของเหลวเย่ือหุมปอดก็ยงั ชว ยยดึ เย่อื หุมปอดทง้ั สองชนั้ ไวไมให
แยกจากกันโดยงาย ปอดขา งซายน้ันมีขนาดเล็กกวาปอดขางขวา เพราะปอดขางซายตองเวนที่เอาไวให
หัวใจอยใู นทรวงอกดวย

การทํางานของปอด
การแลกเปลี่ยนกาซและการใชออกซิเจน เม่ือเราหายใจเขา อากาศภายนอกจะเขาสูอวัยวะของ

ระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดท่ีผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู ดังน้ัน อากาศจึงมีโอกาส
ใกลช ดิ กับเม็ดเลือดแดงมาก ออกซิเจนก็จะผานผนังนี้เขาสูเม็ดเลือดแดง และคารบอนไดออกไซดก็จะ
ออกจากเมด็ เลือดผานผนงั ออกมาสูถ ุงลม ปกตใิ นอากาศจะมีออกซเิ จนอยรู อ ยละ 20 แตอ ากาศท่ีเราหายใจ
มีออกซเิ จนอยรู อยละ 13

การกําจดั ของเสยี ทางปอด
การกําจดั ของเสยี ทางปอด กําจดั ออกมาในรูปของน้ําและกาซคารบอนไดออกไซด ซึ่งเปนผลท่ี

ไดจ ากกระบวนการหายใจ โดยนํา้ และกาซคารบอนไดออกไซดแพรออกจากเซลลเขาสูหลอดเลือดและ
เลือดจะทําหนาที่ลําเลียงไปยังปอด แลวแพรเขาสูถุงลมที่ปอด หลังจากน้ันจึงเคลื่อนผานหลอดลมแลว
ออกจากรายกายทางจมูก ซ่ึงเรียกวา กระบวนการ Metabolism

6

7. ผิวหนงั
ผิวหนังของคนเปนเน้ือเยื่อที่อยูชั้นนอกสุด ที่หอหุมรางกายเอาไว ผิวหนังของผูใหญคนหน่ึง
มีเน้ือที่ประมาณ 3,000 ตารางน้ิว ผิวหนังตามสวนตาง ๆ ของรางกาย จะหนาประมาณ 14 มิลลิเมตร
แตกตา งกนั ไปตามอวัยวะ และบริเวณท่ีถูกเสียดสี เชน ผิวหนังท่ีศอกและเขา จะหนากวาผิวหนังท่ีแขน
และขา

โครงสรา งของผวิ หนงั
ผิวหนังของคนเราแบงออกไดเ ปน 2 ช้นั คอื หนังกาํ พรา และหนงั แท
1. หนังกําพรา (Epidemis) เปนผิวหนังท่ีอยูชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไป

ดว ยเซลล เรียงซอนกันเปนชั้น ๆ โดยเริ่มตนจากเซลลชั้นในสุด ติดกับหนังแท ซึ่งจะแบงตัวเติบโตข้ึน
แลว คอย ๆ เล่ือนมาทดแทนเซลลท ีอ่ ยชู ั้นบนจนถงึ ชน้ั บนสดุ แลว กก็ ลายเปน ขไี้ คลหลดุ ออกไป

นอกจากนี้ ในชั้นหนังกําพรายังมีเซลล เรียกวา เมลานิน ปะปนอยูดวย เมลานินมีมาก
หรือนอยข้ึนอยูกับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทําใหสีผิวของคนแตกตางกันไป ในช้ันของหนังกําพราไมมี
หลอดเลอื ด เสน ประสาท และตอ มตาง ๆ นอกจากเปน ทางผา นของรเู หง่อื เสน ขนและไขมันเทานัน้

2. หนังแท (Dermis) เปน ผิวหนังทอ่ี ยูชั้นลา ง ถดั จากหนังกําพรา และหนากวาหนังกาํ พรา
มาก ผวิ หนงั ชั้นนี้ประกอบไปดว ยเนอื้ เยอื่ คอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย
เสน ประสาท กลามเนือ้ เกาะเสน ขน ตอมไขมนั ตอมเหง่อื และมขี ุมขนกระจายอยูทว่ั ไป

หนาทขี่ องผวิ หนัง
1. ปองกนั และปกปดอวัยวะภายในไมใหไ ดร ับอนั ตราย
2. ปองกนั เช้ือโรคไมใ หเขาสรู า งกายโดยงา ย
3. ขับถายของเสียออกจากรางกาย โดยตอ มเหง่ือทาํ หนาที่ ขับเหงอื่ ออกมา
4. ชวยรักษาอุณหภูมขิ องรางกายใหค งท่ี โดยระบบหลอดเลอื ดฝอยและการระเหยของเหง่ือ
5. รับความรูสกึ สัมผัส เชน รอ น หนาว เจ็บ ฯลฯ
6. ชวยสรา งวิตามินดีใหแกร า งกาย โดยแสงแดดจะเปลย่ี นไขมันชนดิ หนึ่งที่ผิวหนังใหเปน
วิตามนิ ดีได
7. ขบั ไขมนั ออกมาหลอเล้ียงเสนผม และขน ใหเ งางามอยเู สมอและไมแ หง

7

การดแู ลรักษาผิวหนงั
ทุกคนยอมมีความตองการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไมเปนโรคและไมเหี่ยวยนเกิน

กวา วยั ฉะนัน้ จงึ ควรดูแลรักษาผิวหนงั ตวั เอง ดงั นี้
1. อาบนาํ้ ชาํ ระรา งกายใหส ะอาดอยูเ สมอ โดย
1.1 อาบนาํ้ อยางนอ ยวันละ 2 คร้ัง ในเวลาเชา และเยน็ เพ่อื ชว ยชําระลางคราบ
เหงอื่ ไคลและความสกปรกออกไป
1.2 ฟอกตัวดว ยสบูทมี่ ีฤทธ์ิเปนดางออ น ๆ
1.3 ทําความสะอาดใหท วั่ โดยเฉพาะบริเวณใตร ักแร ขาหนีบ ขอพบั อวยั วะเพศ
งา มนวิ้ มือ นว้ิ เทา ใตค างและหลงั ใบหู เพราะเปน ท่ีอับและเกบ็ ความชน้ื
อยไู ดนาน
1.4 ในขณะอาบนํ้า ควรใชนิ้วมือ หรอื ฝา มือ ถตู ัวแรง ๆ เพ่อื ชวยใหร า งกายสะอาด
และยงั ชวยใหการหมุนเวียนของเลือดดขี ้ึน
1.5 เม่อื อาบนํา้ เสรจ็ ควรใชผ า เชด็ ตวั ท่ีสะอาด เช็ดตวั ใหแ หง แลวจงึ คอ ยสวมเสอ้ื ผา
2. หลังอาบนํ้า ควรใสเสื้อผาท่ีสะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เชน
ถา อากาศรอนกค็ วรใสเ ส้ือผา บาง เพือ่ ไมใ หเ หงอ่ื ออกมาก เปนตน
3. กินอาหารใหถูกตองและครบถวนตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารท่ีมี
วิตามินเอ เชน พวกน้าํ มันตับปลา ตบั สตั ว เนย นม ไขแ ดง เครื่องในสัตว มะเขือเทศ
มะละกอ รวมท้ังพืชใบเขียวและใบเหลือง วิตามินเอจะชวยใหผิวหนังชุมช้ืน
ไมเ ปนสะเก็ด ทาํ ใหเล็บไมเปราะและยงั ทาํ ใหเ สนผมไมร ว งงา ยอกี ดวย
4. ดื่มนํ้ามาก ๆ เพอ่ื ทาํ ใหผิวหนังเปลง ปลั่ง
5. ออกกําลงั กายสมํ่าเสมอ เพ่อื ชวยใหการหมุนเวียนของเลือดดขี น้ึ
6. ควรใหผ ิวหนงั ไดร ับแสงแดดสม่ําเสมอ โดยเฉพาะเวลาเชา ซึง่ แดดไมจดั เกินไป และ
พยายามหลีกเลย่ี งการถกู แสงแดดจา เพราะจะทําใหผ วิ หนังเกรยี มและกรานดาํ
7. ระมดั ระวังในการใชเครอ่ื งสําอาง เพราะอาจเกดิ อาการแพหรือทําใหผิวหนังอักเสบ
เปน อนั ตรายตอผิวหนงั ได หากเกิดอาการแพต อ งเลิกใชเคร่อื งสาํ อางชนิดนั้นทนั ที
8. เมื่อมสี ่ิงผิดปกติใด ๆ เกิดขน้ึ กับผวิ หนงั ควรปรกึ ษาแพทย

8

ระบบขบั ถายปสสาวะ
อวยั วะทเี่ กีย่ วขอ งกับระบบขบั ถายปสสาวะมี ดงั นี้
1. ไต (Kidneys) มอี ยู 2 ขา ง รูปรางคลายเมล็ดถั่วแดง อยูทางดางหลังของชองทองบริเวณเอว

ไตขางขวามักจะอยตู าํ่ กวา ขา งซา ยเลก็ นอย ในไตจะมหี ลอดไต (Nephron หรือ Kidney Tubule) ประมาณ
1 ลานหลอด ทาํ หนา ทีก่ รองปสสาวะออกจากเลอื ด ดงั นัน้ ไตจึงเปน อวัยวะสําคัญท่ีใชเปนโรงงานสําหรับ
ขับถายปส สาวะดวยการกรองของเสีย เชน ยเู รีย (Urea) เกลือแร และนาํ้ ออกจากเลือดที่ไหลผานเขามาให
เปน นํ้าปส สาวะแลวไหลผา นกรวยไตลงสทู อ ไตเขาไปเกบ็ ไวทีก่ ระเพาะปสสาวะ

2. กรวยไต (Pelvis) คือ ชองกลวงภายในทม่ี รี ปู รางเหมอื นกรวย สว นของกนกรวยจะติดตอกับ
กา นกรวย ซึ่งกา นกรวยกค็ อื ทอ ไตนั่นเอง

3. ทอไต (Ureter) มีลักษณะเปนทอออกมาจากไตท้ัง 2 ขาง เช่ือมตอกับกระเพาะปสสาวะ
ยาวประมาณ 10 – 12 น้ิว จะเปนทางผานของปส สาวะจากไตไปสกู ระเพาะปส สาวะ

4. กระเพาะปสสาวะ (Urinary Bladder) เปนท่ีรองรับน้ําปสสาวะจากไตท่ีผานมาทางทอไต
สามารถขยายได ขับปสสาวะไดประมาณ 1 ลิตร แตถาเกิน 700 ซีซี (ลูกบาศกเซนติเมตร) อาจเปน
อันตรายได เมอื่ มนี ้าํ ปส สาวะมาอยูใ นกระเพาะปสสาวะมากข้ึนจะรูส กึ ปวดปส สาวะ

5. ทอปสสาวะ (Urethra) เปน ทอท่ีตอ จากกระเพาะปสสาวะไปสอู วยั วะเพศ ซ่ึงของเพศชายจะ
ผา นอยูกลางองคชาต ซึ่งทอน้ีจะเปนทางผานของปสสาวะเพ่ือท่ีจะไหลออกสูภายนอก ปลายทอจึงเปน
ทางออกของปส สาวะ ทอ ปส สาวะของเพศชายยาว 20 เซนตเิ มตร ของเพศหญงิ ยาว 4 เซนตเิ มตร

9

กระบวนการขบั ถา ยปส สาวะ
กระบวนการทํางานในรางกายของคนเราจะทําใหเกิดของเสียตาง ๆ ออกจากเซลลเขาสูหลอด

เลือด เชน ยูเรีย (Uria) แอมโมเนีย (Ammonia) กรดยูริก (Uric Acid) เปนตน แลวเลือดพรอมของเสีย
ดงั กลาว จะไหลเวยี นมาท่ีไต ในวนั หน่งึ ๆ จะมเี ลอื ดไหลผานไตเปน จํานวนมาก โดยเลือดจะไหลเวียนสู
หลอดเลือดยอ ยทีอ่ ยูใ นไต ไตจะทําหนาท่กี รองของเสยี ทอ่ี ยใู นเลือด รวมท้งั น้าํ บางสวนแลว ขับลงสูทอไต
ซึง่ เราเรยี กนํ้าและของเสียท่ถี ูกขบั ออกมานี้วา “นํ้าปส สาวะ” เมื่อมีนํ้าปสสาวะผานเขามา ทอไตจะบีบตัว
เปน ระยะๆ เพ่อื ใหน้ําปส สาวะลงสูกระเพาะปสสาวะทีละหยด จนมีนํ้าปสสาวะอยูในกระเพาะปสสาวะ
ประมาณ 200 – 250 ซีซี กระเพาะปสสาวะจะหดตวั ทําใหรูส กึ เร่ิมปวดปสสาวะ ถามีปริมาณนํ้าปสสาวะ
มากกวาน้ีจะปวดปสสาวะมากข้ึน หลงั จากนั้นนา้ํ ปส สาวะจะถกู ขบั ผานทอปสสาวะออกจากรางกายทาง
ปลายทอปสสาวะ ในแตล ะวันรางกายจะขับนํ้าปสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร แตท้ังนี้ขึ้นอยูกับ
ปริมาณนาํ้ ท่ีเขาสูรา งกาย จากอาหารและนํ้าดืม่ ดวยวา มมี ากนอ ยเพียงใด ถามปี ริมาณน้ํามากนํ้าปสสาวะก็
จะมมี าก ทําใหต อ งปส สาวะบอ ยครงั้ แตถ าปรมิ าณน้าํ เขาสรู า งกายนอยหรือถูกขับออกทางเหงื่อมากแลว
จะทําใหนาํ้ ปส สาวะมนี อยลงดวย

การเสริมสรา งและดํารงประสทิ ธภิ าพการทํางานของระบบขบั ถา ยปสสาวะ
1. ด่ืมนํ้าสะอาดมากๆ อยา งนอยวนั ละ 6 – 8 แกว จะชวยใหร ะบบขับถา ยปส สาวะดีข้ึน
2. ควรปอ งกันการเปนน่ิวในระบบทางเดินปสสาวะโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานผักท่ีมีสาร

ออกซาเลต (Oxalate) สูง เชน หนอ ไม ชะพลู ผกั แพรว ผกั กระโดน เปนตน เพราะผักพวกนี้จะทําใหเกิด
การสะสมสารแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ในไตและกระเพาะปสสาวะได แตควร
รับประทานอาหารประเภทเนอื้ สตั ว นม ไข ถ่ัวตาง ๆ เพราะอาหารพวกนี้มีสารฟอสเฟต (Phosphate) สูง
จะชว ยลดอตั ราของการเกดิ น่ิวในระบบทางเดินปสสาวะได เชน นิ่วในไต น่ิวในทอไต นิ่วในกระเพาะ
ปสสาวะ เปน ตน

3. ไมควรกล้ันปสสาวะไวนานจนเกินไป เพราะอาจทําใหเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดิน
ปส สาวะได

4. เม่ือมีอาการผิดปกตเิ ก่ียวกบั ระบบทางเดนิ ปสสาวะควรรบี ปรกึ ษาแพทย

ระบบขับถายของเสียทางลาํ ไสใ หญ
รางกายมนษุ ยม กี ลไกตาง ๆ คลา ยเคร่ืองยนต รา งกายตอ งใชพ ลังงาน การเผาผลาญพลังงานจะ

เกิดของเสีย ซ่งึ ของเสยี ทร่ี างกายตอ งกาํ จดั ออกไปมีอยู 2 ประเภท
1. สารทเี่ ปน พิษตอ รางกาย
2. สารทม่ี ีปริมาณมากเกินความตอ งการ

10

ระบบการขับถา ย เปน ระบบทรี่ างกายขบั ถายของเสยี ออกไป ของเสียในรูปแกส คอื ลมหายใจ
ของเหลว คือ เหงอ่ื และปส สาวะของเสียในรูปของแขง็ คอื อจุ จาระ เชน

- อวยั วะทเ่ี กี่ยวของกบั การขับถา ยของเสียในรปู ของแข็ง คอื ลาํ ไสใ หญ (ดรู ะบบยอย

อาหาร)

- อวยั วะทเ่ี กี่ยวของกับการขับถายของเสียในรูปของแกส คือ ปอด (ดูระบบหายใจ)
- อวัยวะทเ่ี กี่ยวของกับการขบั ถายของเสียในรูปของเหลว คอื ไตและผวิ หนัง
- อวยั วะทเ่ี กี่ยวของกับการขับถายของเสียในรปู ปส สาวะ คอื ไต หลอดไตและ

กระเพาะปสสาวะ
- อวยั วะท่เี ก่ยี วของกับการขับถายของเสยี ในรูปเหงอื่ คือ ผวิ หนงั ซง่ึ มีตอมเหงือ่ อยใู น

ผวิ หนังทาํ หนา ทีข่ บั เหงอื่
การยอ ยอาหารจะสน้ิ สดุ ลงบริเวณรอยตอระหวางลาํ ไสเล็กกับลําไสใหญ ลําไสใหญยาว
ประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเสนผาศูนยกลางประมาณ 2.5 นิ้ว เนื่องจากอาหารท่ีลําไสเล็กยอยแลวจะเปน
ของเหลว หนา ท่ขี องลําไสใหญค รงึ่ แรก คือ ดดู ซึมของเหลว น้ํา เกลือแรและนํ้าตาลกลูโคสท่ียังเหลืออยู
ในกากอาหาร สวนลําไสใ หญค ร่ึงหลังจะเปนทพี่ กั กากอาหารซ่ึงมลี กั ษณะกึ่งของแข็ง ลาํ ไสใ หญ
จะขับเมือกออกมาหลอล่ืนเพื่อใหอุจจาระเคล่ือนไปตามลําไสใหญไดงายข้ึน ถาลําไสใหญดูดน้ํามาก
เกนิ ไป เน่อื งจากการอาหารตกคางอยูในลําไสใ หญห ลายวนั จะทาํ ใหกากอาหารแข็ง เกดิ ความลําบาก
ในการขับถาย ซ่ึงเรียกวา ทองผูก โดยปกติกากอาหารผานเขาสูลําไสใหญประมาณวันละ 300 - 500
ลกู บาศกเ ซนติเมตร ซง่ึ จะทําใหเกิดอจุ จาระประมาณวันละ 150 กรัม

สาเหตขุ องอาการทอ งผกู
1. กินอาหารทมี่ ีกากอาหารนอย
2. กนิ อาหารรสจัด
3. การถายอุจจาระไมเ ปน เวลาหรือกลนั้ อจุ จาระตดิ ตอกันหลายวนั
4. ดื่มน้าํ ชา กาแฟ มากเกนิ ไป
5. สบู บุหรีจ่ ัดเกินไป
6. เกิดความเครียด หรอื ความกังวลมาก

11

เร่อื งท่ี 3 การทาํ งานของระบบประสาท

ระบบประสาท
ระบบประสาท (Nervous System)
การทํางานของระบบประสาทเปนกระบวนการท่ีสลับซับซอนมาก และเปนระบบที่มี

ความสมั พันธก บั การทํางานของระบบกลามเนอื้ เพือ่ ใหร า งกายสามารถปรับตัวใหเขากับสภาพแวดลอม
ทัง้ ภายในภายนอกรางกาย ระบบประสาทน้สี ามารถแบงแยกออก 3 สว น ดังน้ี

1) ระบบประสาทสว นกลาง (Central nervous system : CNS) ระบบสวนนี้ ประกอบดวย
สมอง และไขสันหลงั (Brain and Spinal cord) ซึง่ มหี นา ทีด่ งั ตอ ไปนี้

หนาท่ขี องสมอง
1) ควบคุมความจําความคดิ การใชไ หวพริบ
2) ควบคุมการเคลอ่ื นไหวของกลา มเนื้อ โดยศนู ยควบคุมสมองดานซายจะไป ควบคุมการ
ทาํ งานของกลามเนื้อดา นขวาของรา งกาย สว นศนู ยควบคมุ สมองดานขวาทาํ หนา ที่ควบคมุ การทาํ งานของ
กลามเนอ้ื ดา นซา ยของรางกาย
3) ควบคมุ การพดู การมองเหน็ การไดยนิ
4) ควบคมุ การเผาผลาญอาหาร ความหิว ความกระหาย
5) ควบคุมการกลอกลกู ตา การปด เปด มา นตา
6) ควบคุมการทํางานของกลามเนอ้ื ใหท ํางานสัมพันธกนั และชวยการทรงตวั
7) ควบคมุ กระบวนการหายใจ การเตน ของหัวใจ การหดตัวและขยายตัวของเสน เลือด
8) สําหรับหนาทข่ี องระบบประสาททมี่ ตี อ การออกกาํ ลงั กาย ตองอาศยั สมองสว นกลางโดย
สมองจะทําหนาที่นึกคดิ ท่ีจะออกกําลังกาย แลว ออกคําสั่งสงไปยังสมองเรียกวา Association motor areas
เพ่อื วางแผนจดั ลําดบั การเคลือ่ นไหว แลวจึงสงคําสั่งตอไปยังประสาทกลไก (Motor area) ซ่ึงเปนศูนยท่ี
จะสงคําส่ังลงไปสูไ ขสันหลัง
หนาทข่ี องไขสนั หลัง
1) ทาํ หนาท่สี ง กระแสประสาทไปยังสมอง เพือ่ ตคี วามและสัง่ การ และในขณะเดยี วกันก็รับ
พลงั ประสาทจากสมองซงึ่ เปนคําสั่งไปสูอวยั วะตา ง ๆ
2) เปนศูนยกลางของปฏิกิริยาสะทอน (Reflex reaction) คือ สามารถท่ีจะทํางานไดทันที
เพื่อปองกนั และหลีกเลี่ยงอนั ตรายทอ่ี าจจะเกิดข้ึนกับรางกาย เชน เม่ือเดินไปเหยียบหนามที่แหลมคมเทา
จะยกหนีทันทโี ดยไมตอ งรอคาํ ส่ังจากสมอง
3) ควบคุมการเจรญิ เติบโตของอวัยวะตางๆ ท่ีมีเสนประสาทไขสันหลังไปสูอวัยวะตาง ๆ
ซึ่งหนาท่ีน้เี รียกวา ทรอพฟค ฟง ชั่น (Trophic function)

12

1) ระบบประสาทสวนปลาย (Peripheral nervous system : PNS) ระบบประสาทสวนปลาย
เปน สว นทแี่ ยกออกมาจากระบบประสาทสว นกลาง คอื สวนทแี่ ยกออกมาจากสมองเรียกวา เสนประสาท
สมอง (Cranial nerve) และสวนท่แี ยกออกมาจากไขสันหลัง เรียกวา เสนประสาทไขสันหลัง (Spinal nerve)
ถาหากเสนประสาทไขสันหลังบริเวณใดไดรับอันตราย จะสงผลตอการเคล่ือนไหวและความรูสึกของ
อวัยวะที่เสนประสาทไขสันหลังไปถึง ตัวอยางเชน เสนประสาทไขสันหลังบริเวณเอวและบริเวณกน
ไดร บั อันตราย จะมผี ลตอ อวัยวะสวนลาง คือ ขาเกือบทั้งหมดอาจจะมีอาการของอัมพาตหมดความรูสึก
และเคลอ่ื นไหวไมได

2) ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system : ANS) ระบบประสาทอัตโนมตั สิ ว น
ใหญจ ะทาํ หนาทีค่ วบคุมการทาํ งานของอวยั วะภายในและทํางานอยูนอกอํานาจจิตใจ แบงการทํางานได
ออกเปน 2 กลมุ ดงั น้ี

1) ซิมพาเทติก (Sympathetic divison) ทาํ หนาที่เรงการทํางานของอวัยวะภายในใหทํางาน
เร็ว หนักและแรงขึ้น รวมทั้งควบคุมการแสดงทางอารมณมีผลทําใหหัวใจเตนเร็วข้ึน ความดันเลือด
เพม่ิ ขน้ึ ตอมตา งๆ ทาํ งานเพิม่ ข้นึ รวมทั้งงานทต่ี องทําในทนั ทที นั ใด เชน ภาวะของความกลัว ตกใจ โกรธ
และความเจบ็ ปวด หรอื เปนการกระทําเพือ่ ความปลอดภัยของรางกายในภาวะฉกุ เฉนิ ประสาทสวนน้ีออก
จากเสนประสาทไขสนั หลงั บรเิ วณอกและบรเิ วณเอว

2) พาราซมิ พาเทติก (Parasympathetic divison) โดยปกติแลว ประสาทกลุมน้ีจะทาํ หนาที่ร้ัง
การทํางานของอวัยวะภายใน หรือจะทํางานในชวงท่ีรางกายมีการพักผอน ประสาทสวนน้ีมาจาก
เสน ประสาทกนกบและจากสมอง

ในการทํางานท้ัง 2 กลุม จะทํางานไปพรอม ๆ กัน ถากลุมหน่ึงทํางานมาก อีกกลุมหนึ่งจะ
ทํางานนอ ยลงสลับกันไปและบางทีชว ยกนั ทํางาน เชน ควบคุมระดับน้ําในรางกาย ควบคุมอุณหภูมิของ
รางกายใหอยใู นระดับปกติ รวมทง้ั ควบคมุ การทาํ งานของอวัยวะภายในและตอมตาง ๆ ใหทํางานอยางมี
ประสทิ ธิภาพและเหมาะสม

13

เรอ่ื งที่ 4 การทาํ งานของระบบสืบพันธุ

ระบบสบื พนั ธุ
การสืบพนั ธุเปน ส่ิงที่ทําใหมนุษยดาํ รงเผาพนั ธุอ ยไู ด ซึ่งตองอาศัยองคประกอบสาํ คัญ เชน

เพศชายและเพศหญิง แตละเพศจะมโี ครงสรา งของเพศ และการสบื พันธซุ ึง่ แตกตา งกัน
1) ระบบสืบพนั ธขุ องเพศชาย
อวัยวะสบื พันธุของเพศชายสวนใหญจ ะอยภู ายนอกลําตวั ประกอบดว ยสวนทส่ี าํ คัญ ๆ ดงั น้ี
1.1 ลงึ คหรือองคชาต (Penis) เปน อวัยวะสืบพันธุของเพศชาย รูปทรงกระบอก อยูดานหนา

ของหัวเหนา บริเวณดานหนาตอนบนถึงอัณฑะ มีลักษณะยื่นออกมา ประกอบดวยกลามเน้ือที่เหนียว
แตม ลี กั ษณะนุม และอวยั วะสว นนส้ี ามารถยืดและหดได โดยท่ัวไปแลวลึงคจะมีขนาดปกติยาวประมาณ
5 – 6 เซนติเมตร และมีเสนผานศูนยกลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่บริเวณตอนปลายลึงคจะมี
เสนประสาทและหลอดเลือดมาเลี้ยงอยเู ปน จํานวนมาก จงึ ทาํ ใหร สู กึ ไวตอการสัมผัส เมื่อมีความตองการ
ทางเพศเกิดขึน้ ลงึ คจ ะแขง็ ตัวและเพม่ิ ขนาดข้ึนประมาณเทา ตัว เนอ่ื งมาจากการไหลคั่งของเลือดท่ีบริเวณ
นม้ี ีมาก และในขณะที่ลึงคแข็งตัวนั้น จะพบวาตอมเล็ก ๆ ท่ีอยูในทอปสสาวะจะผลิตน้ําเมือกเหนียว ๆ
ออกมา เพื่อชว ยในการหลอลืน่ และทําใหต วั อสจุ สิ ามารถไหลผา นออกสภู ายนอกได

1.2 อัณฑะ (Testis) ประกอบดวย ถงุ อัณฑะ เปน ถุงที่หอหุมตอมอัณฑะไว มีลักษณะเปน
ผิวหนังบาง ๆ สคี ลํา้ และมีรอยยน ถุงอณั ฑะจะหอ ยตดิ อยูก ับกลามเน้ือชนิดหน่ึงและจะหดหรือหยอนตัว
เม่อื อณุ หภูมขิ องอากาศเปล่ยี นแปลง เพือ่ ชว ยรักษาอุณหภมู ภิ ายในถุงอัณฑะใหเหมาะสมกับการสรางตัว
อสุจิ ตอมอัณฑะมีอยู 2 ขาง ทําหนาท่ีผลิตเซลลสืบพันธุเพศชายหรือเชื้ออสุจิ (Sperm) มีลักษณะรูปราง
คลายกับไขไ กฟ องเลก็ ๆ มีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 – 3 เซนตเิ มตร และหนักประมาณ
15 - 30 กรัม โดยปกติแลวตอมอัณฑะขา งซายจะใหญกวา ตอมอณั ฑะขางขวาเล็กนอย ตอมอัณฑะท้ังสอง
จะบรรจอุ ยภู ายในถงุ อณั ฑะ (Scrotum)

ภายในลกู อณั ฑะจะมีหลอดเลก็ ๆ จาํ นวนมาก ขดเรยี งกนั อยเู ปน ตอน ๆ เรียกวา หลอดสราง
เชอื้ อสุจิ (Seminiferous tubules) มีหนาทผ่ี ลิตฮอรโ มนเพศชายและตวั อสจุ ิ สว นท่ีดา นหลงั ของตอมอณั ฑะ
แตละขาง จะมกี ลมุ ของหลอดเลก็ ๆ อกี มากมายขดไปขดมา ซ่งึ เรียกวา หลอดเก็บตัวอสุจิหรือกลุมหลอด
อสุจิ (Epididymis) ซึง่ ทาํ หนา ทเ่ี ก็บเชื้ออสุจชิ ัว่ คราว เพ่ือใหเช้ืออสุจิเจรญิ เติบโตไดเต็มท่ี

1.3 ทอ นําตัวอสุจิ (Vas deferens) อยเู หนอื อณั ฑะ เปนทอ ยาวประมาณ 18 น้วิ ฟุต ซง่ึ ตอ มา
จากทอพกั ตวั อสุจิ ทอนี้จะเปน ชองทางใหตัวอสจุ ิ (Sprem) ไหลผานจากทอ พักตัวอสจุ ไิ ปยงั ทอ ของถงุ เก็บ
อสุจิ

1.4 ทอพักตัวอสุจิ (Epidymis) อยูเหนือทอนําตัวอสุจิ ทอนี้มีลักษณะคลายรูปดวงจันทร
ครงึ่ ซกี ซ่ึงหอยอยตู ิดกับตอมอัณฑะสวนบนคอนขา งจะใหญเรียกวา หัว(Head) และจากสวนหัวจะเปนตัว (Body)
และเปนหาง (Tail) นอกจากนี้ ทอนี้ยังประกอบดวยทอท่ีคดเคี้ยวจํานวนมาก เม่ือตัวอสุจิถูกสรางข้ึน
มาแลว จะถูกสง เขา สทู อ น้ี เพอื่ เตรยี มท่ีจะออกมาสูทอปส สาวะ

14

1.5 ตอมลกู หมาก (Prostate gland) มีลกั ษณะคลายลูกหมาก เปนตอมที่หุมสวนแรกของ
ทอปส สาวะไวแ ละอยใู ตกระเพาะปส สาวะ ตอมนที้ ําหนาทห่ี ลั่งของเหลวท่ีมีลักษณะคลายนม มีฤทธ์ิเปน
ดางอยา งออน ซึ่งขับออกไปผสมกับนํ้าอสุจิท่ีถูกฉีดเขามาในทอปสสาวะ ของเหลวดังกลาวน้ีจะเขาไป
ทาํ ลายฤทธ์ิกรดจากน้ําเมอื กในชอ งคลอดเพศหญิง เพื่อปอ งกันไมใ หตัวอสุจิถูกทาํ ลายดวยสภาพความเปน
กรดและเพ่อื ใหเ กิดการปฏสิ นธิขน้ึ

เซลลสืบพันธุเพศชายซึ่งเรียกวา “ตัวอสุจิหรือสเปรม” นั้น จะถูกสรางขึ้นในทอผลิตตัวอสุจิ
(Seminiferous tubules) ของตอมอัณฑะ ตัวอสุจิ มีรูปรางลักษณะคลายลูกออดหรือลูกกบแรกเกิด
ประกอบดวยสวนหัวซ่ึงมีขนาดโต สวนคอคอดเล็กกวาสวนหัวมาก และสวนของหางเล็กยาวเรียว
ซง่ึ ใชใ นการแหวกวา ยไปมา มขี นาดลาํ ตัวยาวประมาณ 0.05 มลิ ลเิ มตร ซงึ่ มีขนาดเล็กกวา ไขของเพศหญิง
หลายหม่ืนเทา หลังจากตวั อสจุ ิถกู สรา งขึ้นในทอผลิตตัวอสุจิแลวจะฝงตัวอยูในทอพักตัวอสุจิจนกวาจะ
เจริญเต็มที่ ตอจากนนั้ จะเคล่อื นทไ่ี ปยังถุงเก็บตัวอสุจิ ในระยะน้ีตอมลูกหมากและตอมอื่น ๆ จะชวยกัน
ผลิตและสงของเหลวมาเล้ียงตัวอสุจิ และจะสะสมไวจ นถึงระดับหน่ึง ถาหากไมม ีการระบายออกดวยการ
มเี พศสัมพันธ รา งกายก็จะระบายออกมาเอง โดยใหนํา้ อสจุ ิเคล่อื นออกมาตามทอปสสาวะในขณะที่กําลัง
นอนอยู ซงึ่ เปน การลดปริมาณน้าํ อสจุ ใิ หน อ ยลงตามธรรมชาติ

ตัวอสุจปิ ระกอบดว ยสว นหัวทีม่ นี ิวเคลยี สอยูเ ปนทเ่ี กบ็ สารพนั ธุกรรม ปลายสดุ ของหัวมีเอนไซม
ยอยผนังเซลลไขห รอื เจาะไขเ พ่อื ผสมพันธุ ถดั จากหวั เปนสว นของหางใชใ นการเคลอื่ นทข่ี องตัวอสจุ ิ

15

2) ระบบสบื พนั ธุข องเพศหญิง
อวยั วะสบื พันธขุ องเพศหญงิ สว นใหญจะอยภู ายในลําตวั ประกอบดว ยสวนท่ีสาํ คญั ๆ ดงั น้ี
2.1 ชองคลอด (Vagina) อยูสว นลางของทอง มีลักษณะเปนโพรงซง่ึ มคี วามยาว

3 – 4 นิว้ ฟุต ผนงั ดา นหนาของชอ งคลอดจะติดอยูกบั กระเพาะปสสาวะ สวนผนังดานหลังจะติดกับสวน
ปลายของลําไสใหญ ซ่ึงอยูใกลทวารหนัก ท่ีชองคลอดน้ันมีเสนประสาทมาเล้ียงเปนจํานวนมาก
โดยเฉพาะอยา งย่งิ ที่บริเวณรอบรเู ปดชองคลอด นอกจากน้ี รูเปดของทอปสสาวะในเพศหญิงน้ันจะเปด
ตรงเหนอื ชองคลอดข้นึ ไปเลก็ นอ ย

2.2 คลิทอริส (Clitoris) เปนปุมเล็ก ๆ ซึ่งอยูบนสุดของรูเปดชองคลอด มีลักษณะ
เหมือนกบั ลงึ ค (Penis) ของเพศชายเกือบทุกอยาง แตขนาดเล็กกวาและแตกตางกันตรงท่ีวาทอปสสาวะ
ของเพศหญิงจะไมผานผากลางคลิตอริสเหมือนกับในลึงค ประกอบดวยหลอดเลือดและเสนประสาท
ตา งๆ มาเลย้ี งมากมายเปนเนอื้ เยอื่ ท่ยี ดื ไดห ดไดแ ละไวตอความรสู ึกทางเพศ ซงึ่ เปรยี บไดก บั ปลายลึงคของ
เพศชาย

2.3 มดลูก (Uterus) เปน อวยั วะท่ปี ระกอบดว ยกลามเน้ือ และมีลกั ษณะภายในกลวง มีผนัง
หนาอยูระหวางกระเพาะปสสาวะซ่งึ อยขู า งหนา และสวนปลายลําไสใหญ (อยูใกลทวารหนัก) ซ่ึงอยูขาง
หลังไขจ ะเคลอื่ นตวั ลงมาตามทอ รังไข เขาไปในโพรงของมดลูก ถาไขไดผสมกับอสุจิแลวจะมาฝงตัวอยู
ในผนงั ของมดลูกท่หี นาและมเี ลอื ดมาเล้ยี งเปนจํานวนมาก ไขจ ะเจรญิ เติบโตเปนตัวออ นตรงบรเิ วณนี้

2.4 รังไข (Ovary) มีอยู 2 ตอม ซึ่งอยูในโพรงของอุงเชิงกราน มีรูปรางคอนขางกลมเล็ก
มนี ้าํ หนกั ประมาณ 2 – 3 กรัม ขณะท่ียังเปนตัวออนตอมรังไขจะเจริญเติบโตในโพรงของชองทองและเมื่อ
คลอดออกมาบางสว นจะอยูใ นชอ งทอ ง และบางสวนจะอยใู นอุงเชิงกราน ตอมาจะคอย ๆ เคลื่อนลดลงต่ําลง
มาอยูในอุงเชิงกราน นอกจากน้ี ตอ มรงั ไขจ ะหลง่ั ฮอรโ มนเพศหญงิ ออกมาทาํ ใหไขสกุ และเกิดการตกไข

2.5 ทอนาํ ไข (Fallopain tubes) ภายหลังท่ีไขหลุดออกจากสวนท่ีหอหมุ (Follicle) แลวไข
จะผา นเขา สูทอ รังไข ทอนี้ยาวประมาณ 6 – 7 เซนตเิ มตร ปลายขางหน่ึงมีลกั ษณะคลายกรวยซ่งึ อยูใกลกับ
รังไข สวนปลายอกี ขางหนึ่งนนั้ จะเรียวเลก็ ลงและไปติดกับมดลูก ทอรังไขจะทําหนาที่นําไขเขาสูมดลูก
โดยอาศยั การพัดโบกของขนที่ปากทอ (Fimbriated end of tube) ซึ่งทําหนาท่ีคลายกับน้ิวมือจับไขใสไป
ในทอ รงั ไขและอาศยั การหดตวั ของกลามเนอ้ื เรยี บ

16

เซลลสืบพันธุเพศหญิงหรือไขนั้น สรางโดยรังไข ไขจะเร่ิมสุกโดยการกระตุนของฮอรโมนจากตอม
พิทูอิทารี เพื่อเตรียมท่ีจะสืบพันธุตอไป รังไขแตละขางจะผลิตไขสลับกันขางละประมาณ 28 – 30 วัน
โดยผลิตครั้งละ 1 ใบ เม่ือไขสุกจะหลุดออกจากรังไขมาตามทอรังไข ในระยะน้ีผนังมดลูกจะมีเลือด
มาหลอเล้ยี งเยือ่ บุมดลูกมากขึน้ เพอื่ เตรยี มรอรับไขท่จี ะไดรับการผสมแลว จะมาฝงตัวลงทีเ่ ยอื่ บมุ ดลูกตรง
ผนังมดลกู นแ้ี ละเจรญิ เตบิ โตเปน ทารก แตถา ไขไมไ ดร ับการผสมจากตัวอสุจิ ไขจะสลายตัวไปพรอมกับ
เย่ือบมุ ดลกู และจะออกมาพรอ มกบั เลอื ด เรยี กวา ประจาํ เดอื น

เร่อื งที่ 5 การทาํ งานของระบบตอ มไรทอ

ระบบตอ มไรท อ
ในรา งกายของมนษุ ยม ีตอมในรา งกาย 2 ประเภท คอื
1) ตอ มมีทอ (Exocrine gland) เปนตอมท่ีสรางสารเคมีออกมาแลวสงไปยังตําแหนงออกฤทธิ์

โดยอาศัยทอลําเลียงของตอมโดยเฉพาะ เชน ตอมนํ้าลาย ตอมสรางเอนไซมยอยอาหาร ตอมนํ้าตา
ตอมสรา งเมือก ตอ มเหง่อื ฯลฯ

2) ตอมไรทอ (Endocrine gland) เปนตอมที่สรางสารเคมีข้ึนมาแลวสงไปออกฤทธ์ิยังอวัยวะ
เปา หมาย โดยอาศัยระบบหมนุ เวยี นเลือด เนื่องจากไมมีทอลําเลียงของตอมโดยเฉพาะ สารเคมีน้ีเรียกวา
ฮอรโมน ซึง่ อาจเปน สารประเภทกรดอะมโิ น สเตรอยด

ตอ มไรท อมีอยูหลายตอมกระจายอยใู นตาํ แหนง ตา งๆ ทว่ั รา งกาย ฮอรโ มนท่ผี ลติ ขน้ึ จากตอ ม
ไรทอมีหลายชนิด แตละชนิดทํางานแตกตางกัน โดยจะควบคุมการทํางานของอวัยวะตาง ๆ อยาง
เฉพาะเจาะจง เพื่อใหเกิดการเจริญเติบโต กระตุนหรือยับย้ังการทํางาน ฮอรโมนสามารถออกฤทธ์ิได
โดยใชป รมิ าณเพียงเล็กนอย ตอมไรท อทส่ี าํ คัญ มี 7 ตอ ม ไดแก

2.1 ตอ มใตสมอง (Pituitary gland)
ตําแหนงท่ีอยู ตอมใตสมองเปนตอมไรทอ อยูตรงกลางสวนลางของสมอง (hypophysis)
ตอมน้ีขับสารที่มีลักษณะขุนขาวคลายเสมหะ จึงเรียกวา ตอม พิทูอิตารี (pituitary gland) ตอมใตสมอง
ประกอบดว ยเซลลท ีม่ รี ปู รา งแตกตา งกันมากชนิดทส่ี ุด
ขนาดและลกั ษณะท่วั ไป ตอ มใตสมองของเพศชายหนกั ประมาณ 0.5 – 0.6 กรัม ของ
เพศหญงิ หนักกวา เลก็ นอย คือประมาณ 0.6 – 0.7 กรมั หรอื บางรายอาจหนักถงึ 1 กรัม

17

ตอ มใตสมอง แบงออกเปน 3 สว น คือ ตอมใตสมองสวนหนา (anterior lobe) ตอมใตสมอง
สวนกลาง (intermediate lobe) และตอมใตสมองสวนหลัง (posterior lobe) ตอมใตสมองท้ังสามสวนน้ี
ตางกันที่โครงสราง และการผลติ ฮอรโ มน

ฮอรโ มนท่ผี ลติ จากตอมใตสมองมีหนาท่คี วบคุมการเจริญเตบิ โตของรา งกาย การทํางานของ
ตอ มไทรอยด ตอมหมวกไต การทาํ งานของไต และระบบสบื พนั ธุ

2.1 ตอมไทรอยด (thyroid)
ตอ มไทรอยดม ีลักษณะเปน พู 2 พู อยูสองขางของคอหอย โดยมีเย่ือบาง ๆ เชื่อมติดตอถึงกัน

ได ตอมน้ีถือไดวาเปนตอมไรทอที่ใหญท่ีสุดในรางกาย มีเสนเลือดมาหลอเล้ียงมากท่ีสุดมีนํ้าหนักของ
ตอ มประมาณ 15 – 20 กรมั ตอ มไทรอยดมีเสนเลือดมาเล้ียงมากมาย ตอมไทรอยดผลิตฮอรโมนท่ีสําคัญ
ไดแ ก

1) ฮอรโ มนไธรอกซิน (thyroxin hormone) ทาํ หนาท่ีควบคุมการเผาผลาญสารอาหารกระตุน
การเปลี่ยนไกลโคเจนไปเปนกลโู คสและเพิ่มการนํากลูโคสเขาสูเซลลบุทางเดินอาหาร จึงเปนตัวเพ่ิมระดับ
น้ําตาลกลูโคสในเลือด

ความผดิ ปกติเก่ยี วกับระดับฮอรโมนไธรอกซิน
(1) คอหอยพอกธรรมดา (Simple goiter) เปนลักษณะท่ีเกิดข้ึนโดยตอมขยายใหญ
เนอ่ื งจากตอ มใตสมองสว นหนา สราง ไทรอยดส ตมิ ูเลติง ฮอรโมน ( thyroid-stimulating hormone )
เรยี กยอ ๆ วา TSH ทาํ หนาที่กระตุนตอ มไทรอยดใ หหล่งั ออรโมนเปนปกติ) มากระตุนตอมไทรอยดมาก
เกนิ ไป โดยทต่ี อ มนไ้ี มสามารถสรางไธรอกซนิ ออกไปยบั ย้งั การหล่งั TSH จากตอ มใตส มองได
(2) คอหอยพอกเปนพิษ (Toxic goiter) เกดิ ขึ้นเนื่องจากตอ มไทรอยดสรางฮอรโมนมาก
เกนิ ไป เพราะเกดิ ภาวะเนือ้ งอกของตอม
(3) คอหอยพอกและตาโปน (Exophthalmic goiter) เกิดขึ้นเน่ืองจากตอมไทรอยดสราง
ฮอรโมนมากผดิ ปกติ เพราะไดรบั การกระตนุ จาก TSH ไทรอยดสติมูเลติง ฮอรโมน (thyroid-stimulating
hormone เรยี กยอ ๆ วา TSH) มากเกนิ ไปหรือภาวะเนอ้ื งอกของตอมก็ได คนปวยจะมีอัตราการเผาผลาญ
สารอาหารในรา งกายสูง รางกายออ นเพลีย น้ําหนกั ลดท้ัง ๆที่กินจุ หายใจแรงและเร็ว ตอบสนองตอสิ่งเราไดไว

18

อาจเกดิ อาการตาโปน (exophthalmos) จากการเพ่มิ ปริมาณของนา้ํ และเน้อื เย่ือทอ่ี ยหู ลงั ลกู ตา โรคน้ีพบใน
หญงิ มากกวา ในชาย

(4) คริตินซิ มึ (Cretinnism) เปน ความผิดปกตขิ องรางกายท่ีเกดิ จากตอมไทรอยดฝ อ ใน
วัยเด็ก หรือพิการตั้งแตกําเนิด ทําใหการเจริญเติบโตของกระดูกลดลง รางกายเต้ีย แคระแกร็น การ
เจริญเติบโตทางจติ ใจชาลงมีภาวะปญญาออ น พุงยน่ื ผิวหยาบแหง ผมบาง

(5) มิกซีดมี า (Myxedema) เกดิ ขนึ้ ในผใู หญ เนื่องจากตอมไทรอยดหลงั่ ฮอรโ มนออกมา
นอยกวาปกติ ผูปวยจะมีอาการสําคัญ คือ การเจริญท้ังทางรางกายและจิตใจ ชาลง มีอาการชัก ผิวแหง
หยาบเหลือง หัวใจ ไตทํางานชาลง เกิดอาการเฉ่ือยชา ซึม ความจําเส่ือม ไขมันมาก รางกายออนแอ
ตดิ เชอ้ื งาย โรคน้ีพบในเพศหญิงมากกวา เพศชาย

2) ฮอรโมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) เปนฮอรโมนอีกชนิดหนึ่งที่มาจากตอมไทรอยด
ทําหนาท่ีลดระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติใหเขาสูระดับปกติโดยดึงแคลเซียมสวนเกินไปไวที่
กระดูก ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเปนส่ิงควบคุมการหล่ังฮอรโมนน้ีและฮอรโมนนี้จะทํางาน
รวมกบั ฮอรโ มนจากตอ มพาราไธรอยดและวติ ามนิ ดี

2.2 ตอ มพาราไธรอยด (parathyroid gland)
ตอมพาราไธรอยดเปนตอมไรทอที่มีน้ําหนักนอยมาก ติดอยูกับเนื้อของตอมไธรอยดทาง

ดา นหลัง ในคนมขี า งละ 2 ตอ ม มีลกั ษณะรปู รา งเปน รปู ไขข นาดเลก็ มสี นี ํ้าตาลแดงหรือน้ําตาลปนเหลือง
มนี า้ํ หนักรวมทั้ง 4 ตอม ประมาณ 0.03 – 0.05 กรมั

ฮอรโ มนทีส่ าํ คัญที่สรางจากตอมน้ี คือ พาราธอรโมน (Parathormone) ฮอรโมนนี้ทําหนาท่ี
รกั ษาสมดุลของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในรางกายใหคงที่ โดยทํางานรวมกับแคลซิโตนิน เน่ืองจาก
ระดับแคลเซียมในเลอื ดมีความสําคัญมาก เพราะจาํ เปนตอ การทาํ งานของกลามเนื้อประสาทและการเตน
ของหวั ใจ ดังนนั้ ตอมพาราธอรโมนจึงจัดเปนตอมไรทอทมี่ คี วามจําเปนตอ ชวี ติ

2.3 ตอมหมวกไต (adrenal gland)
ตอ มหมวกไต อยเู หนอื ไตทง้ั 2 ขาง ลักษณะตอมทางขวาเปน รปู สามเหล่ยี ม สวนทางซายเปน

รูปพระจันทรครึ่งเสย้ี ว ตอ มน้ีประกอบดวยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ อะดรีนัลคอรเทกซ (adrenal cortex) เปน
เนื้อเยื่อช้ันนอกเจริญมาจากเนื้อเยื่อช้ันมีโซเดิรม (Mesoderm) และอะดีนัลเมดุลลา (adrenal medulla)
เนอ้ื เยือ่ ชั้นในเจริญมาจากสว นเนื้อเย่อื ช้ันนวิ รลั เอกโตเดิรม (neural ectoderm) ดังนน้ั การทํางานของ
ตอมหมวกไตชัน้ เมดุลลาจงึ เก่ยี วของกับระบบประสาทซมิ พาเธตกิ ซง่ึ ผลิตฮอรโมนชนดิ ตาง ๆ ดงั นี้

19

1) อะดรีนลั คอรเ ทกซ ฮอรโ มนจากอะดรีนลั คอรเทกซ ปจ จุบันนพี้ บวา อะดรีนลั คอรเ ทกซ
เปนตอมไรทอ ท่สี ามารถสรา งฮอรโมนไดมากท่ีสุดกวา 50 ชนิด ฮอรโมนที่ผลิตขึ้นแบงออกเปน 3 กลุม
ตามหนา ที่ คอื

(1) ฮอรโมนกลูโคคอรติคอยด (Glucocorticoid) ทําหนาท่ีควบคุมเมตาบอลิซึมของ
คารโบไฮเดรตเปนสําคญั นอกจากนยี้ ังควบคมุ เมตาบอลิซมึ ของโปรตนี และไขมัน รวมท้ังสมดุลเกลือแร
ดวยแตเปนหนาที่รอง การมีฮอรโมนกลูโคคอรติคอนดนี้มากเกินไป ทําใหเกิดโรคคูชชิ่ง (Cushind’s
syndrome) โรคน้ีจะทําใหหนากลมคลา ยพระจนั ทร (moon face) บริเวณตน คอมีหนอกยนื่ ออกมา (buffalo
hump) อาการเชนนี้อาจพบไดในผูปวยท่ีไดรับการรักษาดวยยาที่มีคอรตโคสเตรอยดเปนสวนผสม
เพ่อื ปองกนั อาการแพห รืออกั เสบติดตอกันเปน ระยะเวลานาน

(2) ฮอรโมนมิเนราโลคอรติคอยด (Mineralocorticiod) ทําหนาท่ีควบคุมสมดุลของน้ํา
และเกลือแรใ นรา งกาย ฮอรโมนที่สําคัญ คือ อัลโคสเตอโรน ซึ่งควบคุมการทํางานของไตในการดูดนํ้า
และโซเดียมเขา สูเสน เลือด ทั้งยังควบคุมสมดลุ ของความเขม ขนของฟอสเฟตในรางกายดว ย

(3) ฮอรโมนเพศ(Adrenalsex hormone) สรางฮอรโมนหลายชนดิ เชน แอนโดรเจน
เอสโตรเจน แตม ปี รมิ าณเลก็ นอย เมอ่ื เทยี บกบั ฮอรโมนเพศจากอณั ฑะและไข

3) อะดรนี ลั เมดลั ลา ฮอรโ มนจากอะดรีนลั เมดลั ลา ประกอบดว ยฮอรโมนสาํ คญั 2 ชนดิ คือ อะด
รนี ลั นาลนี หรือเอปเนฟรนิ และนอรอะดรีนาลนิ หรือนอรเ อปเ นฟริน ปกตฮิ อรโมนจาก

อะดรีนัลเมดัลลาจะเปน อะดรีนาลินประมาณรอยละ 70 และนอรอ ะดรีนาลินเพียงรอยละ 10 ในผูใหญจะ
พบฮอรโ มนท้ังสองชนดิ แตใ นเดก็ จะมเี ฉพาะนอรอ ะดรนี าลินเทา นัน้

(1) อะดรีนาลนิ ฮอรโ มน (Adrenalin hormone) หรือฮอรโมนเอปเนฟริน (Epinephrine)
ฮอรโมนอะดรีนาลินเปนฮอรโมนที่หล่ังออกมาแลวมีผลใหน้ําตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น นอกจากน้ียัง
กระตุน ใหห ัวใจเตนเร็ว ความดนั เลือดสงู ทําใหเ สนเลอื ดอารเตอรีขนาดเล็กทอี่ วัยวะตาง ๆ ขยายตัว สวน
เสนเลือดอารเตอรีขนาดเล็กที่บรเิ วณผวิ หนังและชอ งทองหดตวั

(2) นอรอะดรีนาลินฮอรโมน (Noradrenalin hormone) หรือฮอรโมนนอรเอปเนฟริน
(noepinephrine) ฮอรโมนนอรอะดรีนาลนิ จะแสดงผลตอ รา งกายคลายกับผลของอะดรีนาลินฮอรโมน แต
อะดรีนาลนิ ฮอรโ มนมผี ลดกี วา โดยฮอรโมนชนิดนี้จะหล่ังออกมาจากปลายเสนประสาทซิมพาเทติกได
อกี ดว ยฮอรโ มนน้ีจะทําใหความดนั เลือดสูงข้นึ ทําใหหลอดเลือดอารเตอรีที่ไปเล้ียงอวัยวะภายในตาง ๆ
บีบตวั

2.4 ตับออน ภายในเน้ือเย่ือตับออนจะมีไอสเลตออฟแลงเกอรฮานสเปนตอมเล็ก ๆ ประมาณ
2,500,000 ตอ ม หรอื มจี าํ นวนประมาณรอยละ 1 ของเนือ้ เยือ่ ตบั ออนทงั้ หมด ฮอรโ มนผลติ จาก
ไอสเลตออฟแลงเกอรฮานสท ีส่ ําคัญ 2 ชนดิ คอื

20

1) อินซูลิน (Insulin) สรางมาจากเบตาเซลลที่บริเวณสวนกลางของไอสเลตออฟแลงเกอร
ฮานส หนา ท่ีสําคญั ของฮอรโ มนนี้ คือ รักษาระดบั นาํ้ ตาลในเลือดใหเ ปน ปกติ เมอื่ รา งกายมีน้าํ ตาลในเลือด
สูงอินซลู ินจะหลง่ั ออกมามากเพื่อกระตุนเซลลตับ และเซลลกลามเน้ือนํากลูโคสเขาไปในเซลลมากขึ้น
และเปล่ยี นกลโู คสใหเ ปน ไกลโคเจนเพอื่ เก็บสะสมไว นอกจากน้ีอินซูลินยังกระตุนใหเซลลทั่วรางกายมี
การใชก ลูโคสมากขน้ึ ทาํ ใหระดับนํา้ ตาลในเลอื ดลดลงสรู ะดับปกติ ถา กลมุ เซลลทสี่ รางอินซลู ินถูกทําลาย
ระดับนา้ํ ตาลในเลอื ดจะสูงกวา ปกตทิ ําใหเ ปน โรคเบาหวาน

2) กลูคากอน (Glucagon) เปนฮอรโมนที่สรา งจากแอลฟาเซลล ซึ่งเปนเซลลอ กี ประเภทหนึ่ง
ของไอสเ ลตออฟแลงเกอรฮานส กลคู ากอนจะไปกระตุนการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับและกลา มเนอ้ื
ใหน ้าํ ตาลกลูโคสปลอยออกมาในเลอื ดทาํ ใหเ ลอื ดมีกลูโคสเพ่ิมข้นึ

2.5 รงั ไข (Ovaries) ตอมอวยั วะสืบพันธขุ องเพศหญิงซ่ึงอยูท่ีรังไขจะสรางฮอรโมนที่สําคัญคือ
เอสโตรเจน (estrogens) และโปรเจสเตอโรน (progesterrone)

ฮอรโ มนเอสโตรเจน มีหนาที่สําคัญในการควบคุมลักษณะของเพศหญิง คือ ลักษณะการมี
เสียงแหลม สะโพกผาย การขยายใหญของอวัยวะเพศและเตานม การมีขนข้ึนตามอวัยวะเพศและรักแร
นอกจากนี้ยงั มสี ว นในการควบคุมการเปล่ียนแปลงท่ีรังไขและเยอ่ื บมุ ดลูกอกี ดว ย

ฮอรโมนโปรเจสเตอโรน เปนฮอรโมนที่สรางจากสวนของอวัยวะเพศ คือ คอรปส ลูเตียม
และบางสวนสรา งมาจากรกเมอื่ มีครรภ นอกจากน้ยี งั สรางมาจากอะดรนี ัล คอรเ ทกซ ไดอีกดวย ฮอรโมน
ชนิดน้ีเปนฮอรโมนที่สําคัญที่สุดในการเตรียมการตั้งครรภ และตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ
มบี ทบาทโดยเฉพาะตอเย่ือบุมดลกู ทาํ ใหมีการเปลย่ี นแปลงทรี่ งั ไขและมดลกู การทาํ งานของฮอรโมนเพศ
นี้ยังอยูภายใตการควบคุมของฮอรโมน ฟอลลิเคิล สติมิวเลดิง ฮอรโมน (follicle stmulating hormone
เรียกยอ ๆ วา FSH ) และ ลูนิไนซิง ฮอรโ มน ( luteinging hormone เรียกยอ ๆ วา LH ) จากตอมใตสมอง
สว นหนา อกี ดวย

2.6 อณั ฑะ (Testis) ตอ มอวัยวะสืบพันธุข องเพศชายซ่งึ อยทู ่อี ัณฑะจะสรา งฮอรโ มนที่สําคัญท่ีสุด
คือ เทสโตสเตอโรน (testosterone) ซึ่งจะสรางขึ้นเมื่อเริ่มวัยหนุม โดยกลุมเซลลอินเตอรสติเซียล
สตมิ ิวเลติง ฮอรโมน ( interstitial cell stimulating hormone เรียกยอ ๆ วา ICSH) จะไดรับการกระตุนจาก
ฮอรโมนจากตอมใตสมองสวนหนา คือ LH หรือ ICSH นอกจากสรางเทสโทสเตอโรนแลวยังพบวา
อนิ เตอรเ ซลลสติเซยี ลยงั สามารถสรางฮอรโ มนเพศหญิง คอื เอสโตรเจน (estrogen) ไดอ ีกดว ย

ฮอรโมนน้ีทําหนาที่ควบคุมลักษณะท่ีสองของเพศชาย (secondary sex characteristic) ซ่ึงมี
ลักษณะสําคัญ คือ เสียงแตก นมขึ้นพาน ลูกกระเดือกแหลม มีหนวดขึ้นบริเวณริมฝปาก มีขนขึ้นบริเวณ
หนา แขง รักแรและอวัยวะเพศ กระดูกหัวไหลกวางและกลามเน้ือตามแขน ขา เติบโตแข็งแรงมากกวาเพศ
ตรงขา ม

21

ความผดิ ปกตเิ ก่ยี วกบั ฮอรโ มน ที่พบมดี งั น้ี
(1) ถาตัดอัณฑะออก นอกจากจะเปนหมันแลว ยังมีผลใหลักษณะตางๆ ท่ีเก่ียวกับเพศไม
เจรญิ เหมือนปกติ
(2) ถา ระดบั ฮอรโมนสูงหรือสรางฮอรโ มนกอ นถึงวัยหนุมมาก เน่ืองจากมีเน้ืองอกท่ีอัณฑะ
จะทําใหเกิดการเติบโตทางเพศกอนเวลาอันสมควร (percocious puberty) ไมวาจะเปนลักษณะทางเพศ
และอวยั วะสบื พนั ธุ

22

ตอมไรทอ ตา ง ๆ ทสี่ ําคญั พรอ มชอ่ื ฮอรโมนและหนา ท่ี

ตอมไรทอ หนา ท่ี

ตอ มใตสมอง

ไธโรโทรฟน (Thyrotrophin) ควบคุมการทาํ งานของตอมไทรอยด

คอรด โิ คโทรฟน (Corticotrophin) ควบคุมปริมาณสารจากตอมหมวกไต

โกนาโดโทรฟน (Gonadotrophin) ควบคุมสารตอมอวัยวะเพศ

โกรทฮอรโมน (Growth hormone) ควบคุมการเจรญิ เตบิ โตของรางกาย

วาโซเปรซซนิ (Vasopressin) ควบคุมปรมิ าณนา้ํ ทขี่ บั ออกจากไต

โปรแลกติน (Prolactin) กระตนุ การสรา งน้าํ นม

ออกซโิ ตซนิ (Oxytocin) กระตนุ การหดตัวของกลามเนอื้ มดลูกขณะเดก็ เกดิ

ตอ มไทรอยด หล่ังฮอรโมน

ไธรอกซนิ (Thyroxin) ควบคุมอตั ราการเปลย่ี นอาหารเปน ความรอนและพลังงานใน

การควบคุมการเจริญเติบโตตามปกติ และการทํางานของ

ระบบ

ตอมพาราไธรอยด หลงั่ ฮอรโ มน

พาราธอรโ มน (Parathormone) กระตุนใหกระดูกปลอยแคลเซียมออกมาและควบคุมระดับ

ของแคลเซียมในเลอื ด

ตอมหมวกไต ประกอบดวยสว น

คอรเ ทกซ (cortex) และเมดลุ ลา ผลติ จากสวนเมดลุ ลา ฮอรโมนนี้จะเพมิ่ กาํ ลังใหก ับระบบ

(medulla) หลั่งฮอรโมน ประสาทซิมพาเธตกิ ในการรบั ความรสู กึ กลวั โกรธ และ

ตนื่ เตน

อะดรีนาลิน และนอรอ ะดรนี าลิน สารสเตอรอย (steroid) ผลติ จากคอรเทกซ ชวยในการปองกัน

(Adrenalin and Noradrenalin) การตกใจ

คอรติโซน (Cortisone) สว นคอรเทกซ ชวยควบคุมสมดุลเกลอื แรต า ง ๆ และนํา้

ในรางกาย

อลั โดสเตอโรน (Aldosterone)

ตบั ออ น

อนิ ซูลิน (Insulin) ควบคุมการใชนํา้ ตาลของรา งกาย

รงั ไข (ตอ มอวัยวะสืบพนั ธุเพศหญงิ )

เอสโตรเจน (estrogen) ควบคมุ ลกั ษณะเพศหญิงตอนวยั รุน หยดุ การเจรญิ ของกระดูก

และกระตนุ มดลกู รับการตกไข

โปรเจสเตอโรน (progesterone) เตรยี มมดลกู สําหรบั การตง้ั ครรภระหวา งต้งั ครรภ รกจะผลิตฮอรโ มน

23

ตอมไรท อ หนาที่

สําหรับการเจรญิ ของทารกและปรับตวั แมสําหรบั การตง้ั ครรภ

อัณฑะ (ตอ มของอวัยวะสบื พันธุเพศชาย)

เทสโตสเตอโรน (testosterone) ควบคมุ ลกั ษณะเพศชายตอนวัยรุน

ตารางสรปุ หนาทแ่ี ละอวยั วะท่เี กยี่ วขอ งของระบบตา งๆ ในรา งกาย

ระบบ หนา ท่ี อวัยวะที่เกีย่ วขอ ง

ระบบหอ หมุ รางกาย หอหมุ และปกปองรางกาย ผวิ หนัง ขน เลบ็

ระบบยอ ยอาหาร ยอยอาหารจนสามารถดูดซึมเขา ปาก ฟน ลิ้น ตอมนํ้าลาย หลอดอาหาร

รา งกาย กระเพาะอาหาร ลําไสใหญ ทวารหนัก ตับ

ตับออ น ถุงนํา้ ดี

ระบบตอ มไรท อ ผลติ ฮอรโมน ตอมใตสมอง ตอมไทรอยด ตอมหมวกไต

รังไข อัณฑะ

ระบบไหลเวียนเลือด ลําเลียงกาซ สารอาหาร ของเสีย หัวใจ เสนเลือด มาม ทอน้ําเหลือง ตอม

และน้าํ เหลอื ง ฮอรโมนและสารเคมีเขาและออก นํ้าเหลือง

จากรางกาย

ระบบประสาท รับและสงความรูสึก ควบคุมการ สมอง เสนประสาท อวัยวะรับความรูสึก

ทํางานของอวัยวะตา งๆ ไดแ ก ตา หู จมูก ปาก ลิน้ ฟน ผวิ หนงั

ระบบหายใจ รับออกซเิ จนเขา สูรางกายและปลอย จมกู หลอดลม ปอด

คาร บอน ไดออก ไซด ออก จา ก

รางกาย

ระบบกลา มเนื้อ การเคล่ือนไหวท้ังภายในและ กลามเน้ือตางๆ เชน กลามเน้ือเรียบ

ภายนอกรางกาย กลามเนื้อลาย กลามเน้อื หวั ใจ

ระบบโครงกระดกู เปน โครงสรา งใหก บั รา งกาย กระดูกช้ินตางๆ ท่ีประกอบเปนแกนกลาง

และระบบของรางกาย ระบบโครงกระดูก

รวมกับระบบกลา มเน้อื เรียกวา

“ระบบเคล่อื นไหว”

ระบบสืบพันธุ ผลติ เซลลสืบพนั ธุแ ละควบคมุ กลไก อัณฑะ ตอมลูกหมาก รังไข มดลกู

สบื พันธุ อวยั วะเพศ

ระบบขบั ถาย กําจัดและกรองของเสียออกจาก ปอด ไต ทอไต กระเพาะปสสาวะ ผิวหนัง

รา งกาย ลาํ ไสใหญ

24

กจิ กรรม
1. ดวู ดี ที ัศนใ นแผน VCD เร่ืองการทํางานของระบบอวัยวะตา งๆ ของรา งกาย และสรปุ

สาระสาํ คญั จากเนื้อเร่ือง ประมาณ 10 บรรทดั
2. จงอธบิ ายการทํางานของระบบตา งๆ ในรางกาย ทสี่ าํ คญั ตอ รา งกายตามลําดบั มา 3 ระบบ

พรอ มบอกเหตผุ ลวาเพราะเหตใุ ดจึงมีความสําคญั

เร่อื งท่ี 6 การดแู ลรกั ษาระบบของรางกายทส่ี าํ คญั

ระบบตางๆ ของรา งกายที่ทาํ งานปกติ จะทําใหมนษุ ยดํารงชีวิตอยูไดอยางมีความสุข หากระบบ
ของรา งกายระบบใดระบบหนึง่ ทํางานผดิ ปกตไิ ปจะทาํ ใหร างกายเกดิ เจบ็ ปว ย มีความทุกขท รมาน และไม
สามารถประกอบภารกจิ ตาง ๆ ไดอ ยา งเต็มความสามารถ ดังนนั้ ทุกคนควรพยายามบาํ รงุ รักษาสุขภาพให
แข็งแรงสมบูรณอ ยเู สมอ

วิธกี ารดแู ลรกั ษาระบบของรา งกายท่ีสาํ คญั มีดังน้ี
1. ระบบยอ ยอาหาร

1.1 รบั ประทานอาหารทสี่ ะอาดและมีคุณคา ทางโภชนาการ
1.2 หลีกเลี่ยงการรบั ประทานอาหารรสจดั และรอนเกนิ ไป
1.3 เคยี้ วอาหารใหล ะเอยี ด
1.4 ดื่มนํา้ ใหเ พยี งพอ อยางนอ ยวันละ 6 – 8 แกว
1.5 ไมอ อกกําลังกายหรอื ทาํ งานหนกั ทันทีหลังรับประทานอาหารเสรจ็ ใหมๆ
1.6 พักผอ นใหเพียงพอ
1.7 ขบั ถา ยใหเ ปนเวลาทุกวัน
1.8 หลีกเลย่ี งปจจยั ทที่ าํ ใหเกดิ ความเครียด
1.9 ทําจติ ใจใหรา เริงแจม ใสอยเู สมอ
1.10ออกกําลงั กายสมา่ํ เสมอ
2. ระบบขับถาย
2.1 รบั ประทานอาหารทสี่ ะอาดและมคี ุณคา ทางโภชนาการ
2.2 ไมร บั ประทานอาหารทมี่ ีรสจัด
2.3 รบั ประทานผักและผลไมหรอื อาหารทีม่ ีกากอาหารอยางสม่ําเสมอ
2.4 รับประทานน้ําใหเ พียงพอ อยา งนอยวันละ 6 – 8 แกว
2.5 ออกกาํ ลังกายอยา งสม่ําเสมอ
2.6 พกั ผอนใหเ พียงพอ
2.7 หลีกเล่ยี งสิ่งทที่ าํ ใหเ กดิ ความเครียด

25

2.8 รักษาความสะอาดของรางกายอยูตลอดเวลา
2.9 ขบั ถายใหเปนปกติทุกวัน
2.10 ทําจติ ใจใหรา เริงแจมใสอยเู สมอ
3. ระบบประสาท

3.1 รับประทานอาหารประเภทที่ชวยสงเสริมและบํารุงประสาท อาหารท่ีมีวิตามินบีมาก ๆ
เชน ขาวซอมมือ รําขาว ไข ตับ ยีสต ผักสีเขียว ผลไมสด และนํ้าผลไม เปนตน ควร
หลีกเลีย่ งอาหารประเภทแอลกอฮอล ชา กาแฟ เปนตน

3.2 พักผอนใหเพียงพอกับความตองการของรางกายแตละวัย ไมเครงเครียดหรือกังวล
เกินไป ควรหลีกเล่ียงจากสถานการณท่ีทาํ ใหไมส บายใจ

3.3 ออกกาํ ลังกายสม่ําเสมอ ซึ่งเปน หนทางท่ีดใี นการผอ นคลาย
3.4 ไมควรใชอ วยั วะตา ง ๆ ของรา งกายมากเกินไป อาจทําใหประสาทสวนน้ันทํางานหนัก
เกนิ ไป เชน การทาํ งานหนา จอคอมพวิ เตอรนานเกินไป อาจทําใหประสาทตาเสอื่ มได เปน ตน
3.5 ควรหมั่นฝกการใชสมองแกปญหาบอย ๆ เปนการเพ่ิมพูนสติปญญาและปองกันโรค
ความจาํ เสอ่ื มหรือสมองเส่ือม
4. ระบบสืบพันธุ

4.1 เพศชาย
1) อาบนาํ้ อยา งนอ ยวนั ละ 2 ครั้ง และใชสบูฟอกชําระลางรางกายและอวัยวะสืบพันธุ
ใหส ะอาด เช็ดตวั ใหแหง
2) สวมเส้ือผาใหสะอาด โดยเฉพาะกางเกงในตองสะอาด สวมใสสบายไมรัดแนน
เกินไป
3) ไมใ ชส ว มหรอื ที่ถา ยปสสาวะทผ่ี ิดสขุ ลกั ษณะ
4) ไมเทยี่ วสาํ สอน หรอื รวมประเวณีกับหญงิ ขายบรกิ ารทางเพศ
5) หากสงสัยวา จะเปน กามโรค หรือมีความผิดปกติเก่ียวกับอวัยวะสืบพันธุตองรีบไป
ปรกึ ษาแพทย ไมค วรซอื้ ยารับประทานเพือ่ รกั ษาโรคดว ยตนเอง
6) ไมควรใชยาหรือสารเคมีตางๆ ชวยในการกระตุนความรูสึกทางเพศ ซ่ึงอาจเปน
อนั ตรายได
7) ไมหมกมุนหรือหักโหมเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธมากเกินไป เพราะอาจเปน
อนั ตรายตอ สุขภาพทั้งทางรางกายและจติ ใจ ควรทาํ กิจกรรมนันทนาการ การเลนกฬี าหรอื งานอดิเรกอื่น ๆ
เพือ่ เปน การเบนความสนใจไปสกู ิจกรรมอืน่ แทน
8) ระวงั อยาใหอ วัยวะสบื พันธถุ กู กระทบกระแทกแรงๆ เพราะจะทําใหชํ้าและเกิดการ
อักเสบเปนอนั ตรายได

26

4.1. เพศหญงิ
1) รักษาความสะอาดอวัยวะเพศอยางสม่ําเสมอ โดยเฉพาะเวลาอาบนํ้า ควรสนใจทํา

ความสะอาดเปนพิเศษ เชน ลาง เช็ดใหแหง โดยเฉพาะในชวงที่มีประจําเดือน ควรใชนํ้าอุนทําความ
สะอาดสว นทเ่ี ปรอะเปอ นเลือด เปนตน

2) หลังจากการปสสาวะและอุจจาระเสรจ็ ทุกครัง้ ควรใชน ํ้าลา งและเช็ดใหส ะอาด
3) ควรสวมเสื้อผาท่ีสะอาดรัดกุม กางเกงในตองสะอาด สวมใสสบาย ไมอับหรือรัด
แนน เกนิ ไป และควรเปล่ียนทุกวัน
4) รักนวลสงวนตัว ไมควรมเี พศสมั พันธก อนแตง งาน
5) ไมควรใชย ากระตุนหรือยาปลกุ ประสาทกับอวยั วะเพศ
6) การใชสว มหรือทีถ่ า ยปสสาวะอจุ จาระทกุ ครงั้ จะตองคาํ นงึ ถึงความสะอาดและ
ถกู สขุ ลักษณะ
7) ควรออกกาํ ลังกายหรอื ทาํ งานอดเิ รกเพ่ือเบนความสนใจของตนเองไปในทางอื่น
8) ขณะมปี ระจําเดอื นควรใชผ าอนามยั อยา งเพยี งพอและควรเปลย่ี นใหบ อ ยตามสมควร
อยา ปลอยไวนานเกินไป
9) ในชวงมีประจําเดือน ไมควรออกกําลังกายประเภทที่ผาดโผนและรุนแรง แตการ
ออกกําลังกายเพียงเบาๆ จะชวยบรรเทาอาการเจบ็ ปวดหรืออาการอดึ อัดลงได และควรพักผอนนอนหลับ
ใหเพียงพอ ทาํ จิตใจใหแจมใส
10) ควรจดบนั ทึกการมีประจําเดือนไวทุกๆ เดือน การท่ีประจําเดือนมาเร็วหรือชาบาง
เลก็ นอ ยไมถือเปนการผดิ ปกตแิ ตอ ยางไร แตถ ามีประจําเดอื นเร็วหรือชา กวาปกติมากกวา 7 – 8 วันข้ึนไป
ควรปรกึ ษาแพทย
11) ในชว งทม่ี ีประจําเดือน ถามอี าการปวดท่ที อ งนอย อาจใชกระเปาน้ํารอนหรือผาหม
มาวางทที่ องนอยเพอ่ื ใหความอบอนุ และอาจรบั ประทานยาแกปวดไดตามสมควร
12) ถามีอาการผิดปกติในชวงท่ีมีประจําเดือน เชน มีอาการปวดมาก มีเลือดออกมาก
หรือมีเลอื ดไหลออกในชว งทีไ่ มมีประจําเดอื น ควรรีบปรึกษาแพทยทนั ที
13) ระวังอยาใหอวัยวะสืบพันธุถูกกระทบกระแทกแรงๆ เพราะจะทําใหช้ํา เกิดการ
อกั เสบและเปนอนั ตรายได
14) ถาหากมีการเปล่ียนแปลงท่ีผิดปกติของอวัยวะเพศ หรือสงสัยวาจะเปนกามโรค
ควรรีบไปรับการตรวจและปรึกษาแพทยทันที
5. ระบบตอมไรท อ
5.1 รับประทานอาหารทีส่ ะอาดและมีคุณคาทางโภชนาการ
5.2 ดม่ื น้ําสะอาดใหเ พยี งพอ
5.3 ออกกําลังกายอยางสมํา่ เสมอ

27

5.4 พักผอนใหเ พยี งพอ
5.5 หลกี เลย่ี งสิ่งท่กี อใหเ กิดความเครยี ด
5.6 หลกี เลี่ยงจากสภาพแวดลอมท่ีอยอู าศยั ท่ีสกปรกและอยใู นชมุ ชนแออัด
5.7 เมือ่ เกิดอาการเจบ็ คอหรอื ตอ มทอนซลิ อักเสบตอ งรีบไปใหแ พทยตรวจรักษา
5.8 เมื่อรูสึกตัววาเหนื่อย ออนเพลีย และเจ็บหนาอก โดยมีอาการเชนน้ีอยูนาน ควรไปให
แพทยต รวจดูอาการ เพราะหวั ใจอาจผดิ ปกติได

กิจกรรม
1. จงสรุปความสําคัญและอธิบายการทํางานของระบบอวัยวะในรางกาย 4 ระบบ พรอม

แผนภาพประกอบ
2. การดูแลรักษาระบบยอยอาหารควรทาํ อยา งไร เพราะอะไร จงอธิบายพรอมใหเ หตผุ ล

28

บทท่ี 2
ปญหาเพศศกึ ษา

สาระสาํ คัญ

มีความรูความเขาใจเก่ียวกับปญหาทางเพศ มีทักษะในการสื่อสารและตอรองเพื่อทําความ
ชวยเหลอื เกย่ี วกับปญหาทางเพศได สามารถอธิบายวิธีการจัดการกับอารมณและความตองการทางเพศได
อยางเหมาะสม เขาใจถึงความเชื่อท่ีผิดเก่ียวกับเร่ืองเพศท่ีสงผลตอสุขภาพทางเพศ ตลอดจนเรียนรูถึง
กฎหมายทเี่ ก่ยี วขอ งกับการลวงละเมดิ ทางเพศและกฎหมายคุมครองเดก็ และสตรี

ผลการเรยี นรูท ีค่ าดหวัง

1. เรียนรูทกั ษะการสือ่ สารและตอ รองเพ่ือขอความชวยเหลอื เก่ียวกบั ปญ หาทางเพศได
2. เรยี นรูการจดั การกับอารมณแ ละความตองการกบั ปญหาทางเพศไดอ ยางเหมาะสม
3. เรยี นรูและสามารถวิเคราะหความเช่อื เร่อื งเพศทสี่ งผลตอ ปญหาทางเพศไดอ ยางเหมาะสม
4. เรยี นรูแ ละสามารถวเิ คราะหอทิ ธิพลสอื่ ที่สง ผลใหเ กดิ ปญ หาทางเพศได
5. อธิบายกฎหมายท่เี กยี่ วขอ งกับการลวงละเมดิ ทางเพศไดอยางถกู ตอ ง

ขอบขา ยเนอื้ หา

เรอ่ื งที่ 1 ทักษะการจดั การปญหาทางเพศ
เรอ่ื งที่ 2 ปญหาทางเพศในเด็กและวยั รุน
เรอื่ งที่ 3 การจดั การกบั อารมณแ ละความตองการทางเพศ
เรื่องท่ี 4 ความเช่ือที่ผิด ๆ ทางเพศ
เรอื่ งท่ี 5 กฎหมายท่ีเกี่ยวขอ งกับการละเมดิ ทางเพศ

29

เรอื่ งท่ี 1 ทกั ษะการจดั การปญหาทางเพศ

พัฒนาการเร่ืองเพศในเด็กและวัยรุน เกี่ยวของกับชีวิต ต้ังแตเด็กจนโต การที่บุคคลไดเรียนรู
ธรรมชาติ ความเปนจริงทางเพศ จะชวยใหมีความรู มีทัศนคติ สามารถปรับตัวตามพัฒนาการของชีวิต
อยางเหมาะสม และมีพฤติกรรมถูกตองในเรื่องเพศ สามารถสอนไดต้ังแตเด็กยังเล็ก สอดแทรกไปกับการ
สง เสรมิ พฒั นาการดานอน่ื ๆ พอ แมควรเปน ผสู อนเบอ้ื งตน เมอ่ื เขาสูโ รงเรยี น ครูชว ยสอนใหสอดคลองไป
กบั ท่บี าน เมอื่ เด็กเร่ิมเขา สูวัยรุน ควรสง เสริมใหเ ดก็ เรียนรพู ฒั นาการทางเพศที่ถูกตองและรูวิธีจัดการกับ
อารมณความตอ งการทางเพศเพอื่ ปอ งกันปญ หาทางเพศทอี่ าจเกิดตามมา

พัฒนาทางเพศกับการพฒั นาบคุ ลกิ ภาพ
พัฒนาการทางเพศ เปนสวนหน่ึงของพัฒนาการบุคลกิ ภาพท่ีเกดิ ขึ้นตงั้ แตเ ด็กและมีความตอเน่ือง

ไปจนพัฒนาการเต็มที่ในวัยรุน หลังจากนั้นจะเปนสวนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวตลอดชีวิต
โดยเม่อื ส้ินสุดวัยรุนจะมกี ารเปล่ยี นแปลงตอ ไปนี้

1. มคี วามรูเ รื่องเพศตามวยั และพัฒนาการทางเพศ ตง้ั แตการเปลี่ยนแปลงของรางกายไปตามวัย
จิตใจ อารมณแ ละสังคม ท้งั ตนเองและผอู ืน่ และเรียนรูความแตกตางกันระหวา งเพศ

2. มเี อกลักษณท างเพศของตนเอง ไดแก การรับรเู พศตนเอง บทบาททางเพศและพฤติกรรมทาง
เพศ มคี วามพึงพอใจทางเพศหรือความรูสกึ ทางเพศตอเพศตรงขา มหรอื ตอเพศเดียวกัน

3. มพี ฤติกรรมการรกั ษาสุขภาพทางเพศ การรจู ักรางกายและอวัยวะเพศของตนเอง ดูแลรักษา
ทาํ ความสะอาด ปองกันการบาดเจ็บ การตดิ เชือ้ การถูกลวงละเมดิ ทางเพศและการปอ งกนั พฤติกรรมเส่ียง
ทางเพศ

4. มีทักษะในการสรางความสัมพันธกับผูที่จะเปนคูครอง การเลือกคูครอง การรักษา
ความสัมพันธใหยาวนานการแกไขปญหาตาง ๆ ในชีวิตรวมกันมีทักษะในการส่ือสารและ
การมคี วามสมั พนั ธทางเพศกบั คคู รองอยา งมคี วามสขุ มีการวางแผนชีวติ และครอบครัวที่เหมาะสม

5. เขาใจบทบาทในครอบครัว ไดแก บทบาทและหนาท่ีสําหรับการเปนลูก การเปนพ่ี – นอง
และสมาชกิ คนหนึง่ ในครอบครัว หนาที่และความรับผิดชอบการเปนพอแมท่ีถูกตองตามกฎหมาย และ
ขนบธรรมเนยี มประเพณีและศลี ธรรมของสังคมที่อยู

6. มีทัศนคติทางเพศที่ถูกตอ ง ภูมใิ จ พอใจในเพศของตนเอง ไมรังเกียจหรือปดบัง ปดกั้นการ
เรียนรูทางเพศที่เหมาะสม รูจักควบคุมพฤติกรรมทางเพศใหแสดงออกถูกตอง ใหเกียรติผูอื่น ไมลวง
ละเมดิ ทางเพศตอ ผูอ ืน่ ยบั ยง้ั ใจตนเองไมใหม ีเพศสัมพนั ธกอ นวยั อันควร

30

เรื่องที่ 2 ปญหาทางเพศในเด็กและวยั รุน

ปญ หาทางเพศในเดก็ และวยั รุน แบง ตามประเภทตา งๆ ไดด ังนี้
1. ความผิดปกตใิ นเอกลักษณท างเพศ
เดก็ มีพฤตกิ รรมผดิ เพศ เด็กรสู กึ วาตนเองเปนเพศตรงขามกับเพศทางรางกายมาตั้งแตเด็ก และมี
พฤติกรรมทางเพศเปน แบบเดียวกับเพศตรงขา ม ไดแก

 การแตง กายชอบแตงกายผดิ เพศ เดก็ ชายชอบสวมกระโปรงและรงั เกยี จกางเกง เด็กหญิง
รังเกยี จกระโปรงแตชอบสวมกางเกง เด็กชายชอบแตง หนา ทาปาก ชอบดูแมแ ตงตัวและเลยี นแบบแม

 การเลน มักเลน เลยี นแบบเพศตรงขา ม หรือชอบเลนกับเพศตรงขาม เด็กชายมักไมชอบ
เลนรุนแรงชอบเลน กบั ผหู ญิงและมักเขา กลุม เพศตรงขา มเสมอ เปน ตน

 จินตนาการวาตนเองเปน เพศตรงขามเสมอแมใ นการเลน สมมตุ ิก็มักสมมตุ ิตนเองเปน เพศ
ตรงขามเดก็ ชายอาจจิตนาการวาตวั เองเปนนางฟา หรือเจา หญิง เปน ตน

 พฤตกิ รรมทางเพศ เดก็ ไมพ อใจในอวยั วะเพศของตนเอง บางคนรูสึกรังเกียจหรือแสรง
ทําเปนไมมีอวัยวะเพศหรือตองการกําจัดอวัยวะเพศออกไป เด็กหญิงจะยืนปสสาวะ เด็กชายจะน่ังถาย
ปสสาวะเลยี นแบบพฤติกรรมทางเพศของเพศตรงขา มโดยตัง้ ใจและไมไดตงั้ ใจ

อาการตา ง ๆ เหลา น้เี กดิ ข้ึนแลว ดําเนินอยางตอเนื่อง เด็กอาจถูกลอเลียน ถูกกีดกันออกจากกลุม
เพื่อนเพศเดยี วกัน เดก็ มักพอใจในการเขา ไปอยกู บั กลมุ เพือ่ นตา งเพศ และถายทอดพฤติกรรมของเพศตรง
ขามทีละนอ ย ๆ จนกลายเปนบุคลกิ ภาพของตนเอง

เม่ือเขาสูวัยรุน เด็กมีความรูสึกไมสบายใจเก่ียวกับเพศของตนเองมากข้ึน และตองการ
เปลยี่ นแปลงเพศตนเอง จนกลายเปนบุคลกิ ภาพของตนเอง

2. รกั รวมเพศ (Homosexualism)
อาการ เร่ิมเห็นชัดเจนตอนเขาวัยรุน เม่อื เร่มิ มคี วามรูสึกทางเพศ ทาํ ใหเกิดความพึงพอใจทางเพศ
(sexual orientation) โดยมีความรสู ึกทางเพศ ความตองการทางเพศ อารมณเ พศกบั เพศเดียวกัน
รักรวมเพศยังรูจักเพศตนเองตรงตามท่ีรางกายเปน รักรวมเพศชายบอกตนเองวาเปนเพศชาย
รักรวมเพศทเี่ ปนหญิงบอกเพศตนเองวา เปน เพศหญิง
การแสดงออกวาชอบเพศเดยี วกัน มีทั้งแสดงออกชัดเจนและไมช ัดเจน
กิริยาทาทางและการแสดงออกภายนอก มีท้ังท่ีแสดงออกชัดเจนและไมแสดงออก ขึ้นอยูกับ
บุคลิกของผูนัน้ และการยอมรบั ของสงั คม
ชายชอบชาย เรยี กวา เกย (gay) หรือตุด แตว เกยยงั มปี ระเภทยอย เปนเกยคิง และเกยควีน เกยคิง
แสดงบทบาทภายนอกเปน ชาย การแสดงออกทางเพศ (gender role) ไมค อ ยเปนหญงิ จงึ ดูภายนอกเหมือน
ผูชายปกตธิ รรมดา แตเกยควนี แสดงออกเปน เพศหญงิ เชน กิรยิ าทาทาง คําพดู ความสนใจ กจิ กรรมตาง ๆ
ความชอบตา ง ๆ เปน หญิง

31

หญิงชอบหญิง เรียกวา เลสเบี้ยน (lesbianism) การแสดงออกมี 2 แบบเชนเดียวกับเกย เรียกวา
ทอมและดี้ ดี้แสดงออกเหมือนผูหญิงทั่วไป แตทอมแสดงออก (gender role) เปนชาย เชน ตัดผมสั้น
สวมกางเกงไมส วมกระโปรง

ในกลุมรักรวมเพศ ยังมีประเภทยอยอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความพึงพอใจทางเพศไดทั้งสองเพศ
เรียกวา ไบเซกซวล (bisexualism) มีความรูสกึ ทางเพศและการตอบสนองทางเพศไดท ง้ั สองเพศ

สาเหตุ ปจจุบนั มหี ลกั ฐานสนบั สนุนวา สาเหตุมีหลายประการประกอบกัน ทงั้ สาเหตุทางรางกาย
พนั ธุกรรม การเลี้ยงดู และสิ่งแวดลอมภายนอก

การชวยเหลือ พฤติกรรมรกั รวมเพศเมือ่ พบในวยั เด็ก สามารถเปลี่ยนแปลงได โดยการแนะนําการ
เล้ียงดู ใหพอแมเพศเดียวกนั ใกลช ดิ มากขนึ้ พอ แมเพศตรงขามสนิทสนมนอยลง เพื่อใหเกิดการถายทอด
แบบอยา งทางเพศท่ถี กู เพศ แตตองใหม ีความสมั พนั ธด ีๆ ตอ กนั สง เสรมิ กจิ กรรมเหมาะสมกบั เพศ เด็กชาย
ใหเลนกีฬาสงเสริมความแข็งแรงทางกาย ใหเด็กอยใู นกลุมเพอ่ื การเรยี นรูเพศเดยี วกัน

ถารวู าเปนรักรวมเพศตอนวัยรุน ไมสามารถเปล่ียนแปลงแกไขได การชวยเหลือทําไดเพียงให
คาํ ปรกึ ษาแนะนําในการดาํ เนนิ ชวี ิตแบบรักรว มเพศอยางไร จึงจะเกิดปญหานอยท่ีสุด และใหคําแนะนํา
พอ แมเพ่อื ใหท าํ ใจยอมรบั สภาวการณน ี้ โดยยังมคี วามสมั พนั ธท ี่ดกี ับลูกตอไป

การปอ งกนั การเล้ียงดู เร่ิมตัง้ แตเลก็ พอแมมีความสัมพนั ธท ีด่ ีตอกนั พอหรอื แมท่เี พศเดยี วกนั กบั เดก็
ควรมคี วามสมั พันธท ่ดี ีกบั เดก็ และควรแนะนาํ เกี่ยวกบั การคบเพื่อน รวมทง้ั สงเสริมกจิ กรรมใหต รงตามเพศ

3. พฤติกรรมกระตนุ ตนเองทางเพศในเดก็ และการเลน อวัยวะเพศตนเอง
อาการ กระตนุ ตนเองทางเพศ เชน นอนคว่ําถไู ถอวัยวะเพศกบั หมอนหรือพ้นื
สาเหตุ เด็กเหงา ถกู ทอดทงิ้ มโี รคทางอารมณ เด็กมักคนพบดว ยความบังเอิญ เมื่อถูกกระตุนหรือ
กระตุน ตนเองทอี่ วยั วะเพศแลวเกิดความรูส กึ เสียว พอใจกบั ความรสู กึ นั้น เดก็ จะทาํ ซา้ํ ในทีส่ ุดติดเปนนสิ ยั
การชว ยเหลือ
1. หยุดพฤติกรรมนั้นอยางสงบ เชน จับมือเด็กออก ใหเด็กนอนหงาย บอกเด็กส้ันๆ วา
“หนไู มเ ลน อยา งน้นั ” พรอ มใหเ หตผุ ลที่เหมาะสมจงู ใจ
2. เบีย่ งเบนความสนใจ ใหเดก็ เปลย่ี นทา ทาง ชวนพูดคุย
3. หากจิ กรรมทดแทน ใหเ ด็กไดเ คลือ่ นไหว เพลิดเพลิน สนุกสนานกบั กจิ กรรมและสังคม
4. อยาใหเ ดก็ เหงา ถูกทอดทิง้ หรอื อยตู ามลําพัง เด็กอาจกลับมากระตุนตนเองอกี
5. งดเวนความกาวรา วรนุ แรง การหา มดวยทา ที่นากลวั เกินไปอาจทําใหเด็กกลัวฝงใจมีทัศนคติ
ดานลบตอเรอ่ื งทางเพศ อาจกลายเปนเกบ็ กดทางเพศ หรอื ขาดความสุขทางเพศในวยั ผใู หญ

32

4. พฤติกรรมกระตนุ ตนเองทางเพศในวัยรุน หรือการสาํ เรจ็ ความใครดวยตัวเอง(Masturbation)
สาเหตุ พฤติกรรมกระตุนตนเองทางเพศในวัยรุนเปนเร่ืองปกติ ไมมีอันตราย ยอมรับไดถา

เหมาะสมไมมากเกินไปหรือหมกมุนมาก พบไดบอยในเด็กที่มีปญหาทางจิตใจ ปญญาออน เหงา
กามวปิ รติ ทางเพศ และสงิ่ แวดลอมมกี ารกระตนุ หรอื ย่ัวยุทางเพศมากเกนิ ไป

การชวยเหลือ ใหความรูเร่ืองเพศทีถ่ ูกตอง ใหกาํ หนดการสาํ เรจ็ ความใครด วยตัวเองใหพ อดไี ม
มากเกินไป ลดสงิ่ กระตุน ทางเพศไมเหมาะสม ใชกิจกรรมเบนความสนใจ เพ่ิมการออกกําลังกาย ฝกให
เดก็ มีการควบคุมพฤติกรรมใหพอควร

5. พฤติกรรมทางเพศท่วี ิปริต (Paraphilias)
อาการ ผูปวยไมสามารถเกดิ อารมณเพศไดก ับสิ่งกระตนุ ทางเพศปกติ มีความรสู ึกทางเพศได

เม่อื มีการกระตนุ ทางเพศทแ่ี ปลกประหลาดพสิ ดาร ทไ่ี มม ีในคนปกติ ทาํ ใหเ กิดพฤติกรรมใชส่งิ
ผดิ ธรรมชาติกระตนุ ตนเองทางเพศ มหี ลายประเภทแยกตามสงิ่ ท่ีกระตนุ ใหเ กดิ ความรสู ึกทางเพศ

ประเภทของ Paraphilia
1. เกิดความรูสึกทางเพศจากการสมั ผัส ลูบคลาํ สูดดมเส้ือผา ชดุ ชนั้ ใน Fetishism
2. เกดิ ความรูสึกทางเพศจากการโชวอวยั วะเพศตนเอง Exhibitionism
3. เกดิ ความรูส กึ ทางเพศจากการไดถ ูไถ สัมผสั ภายนอก Frotteurism
4. เกดิ ความรสู ึกทางเพศจากการแอบดู Voyeurism
5. เกิดความรสู กึ ทางเพศทาํ ใหผูอื่นเจบ็ ปวด ดว ยการทํารายรางกาย หรอื คาํ พูด Sadism
6. เกิดความรูสึกทางเพศจากการทําตนเอง หรือใหผูอ่ืนทําใหตนเองเจ็บปวด ดวยการทําราย
รางกายหรอื คาํ พดู Masochism
7. เกิดความรสู ึกทางเพศกบั เดก็ (Pedophilia)
8. เกดิ ความรูสกึ ทางเพศกบั สัตว (Zoophilia)
9. เกดิ ความรูส กึ ทางเพศจากการแตงกายผดิ เพศ (Transvestism)

สาเหตทุ กี่ อ ใหเกิดความผิดปกตทิ างเพศ คือ
1. การเลีย้ งดูและพอ แมป ลกู ฝงทศั นคติไมดตี อ เร่ืองทางเพศทีพ่ อ แมปลกู ฝงเด็ก ทาํ ใหเด็กเรียนรู
วาเร่ืองเพศเปนเร่ืองตองหาม ตองปดบัง เลวรายหรือเปนบาป เด็กจะเก็บกดเรื่องเพศ ทําใหปดกั้นการ
ตอบสนองทางเพศกับตวั กระตนุ ทางเพศปกติ
2. การเรียนรู เม่ือเด็กเร่มิ มคี วามรูส ึกทางเพศ แตไมสามารถแสดงออกทางเพศไดตามปกติ เด็ก
จะแสวงหาหรือเรยี นรูด วยตัวเองวา เม่ือใชต ัวกระตนุ บางอยางทําใหเกิดความรูสึกทางเพศได จะเกิดการ
เรียนรูแ บบเปนเงื่อนไขและเปนแรงเสรมิ ใหม พี ฤตกิ รรมกระตุนตวั เองทางเพศดวยส่ิงกระตนุ นนั้ อีก

33

การชว ยเหลอื
ใชหลกั การชวยเหลือแบบพฤตกิ รรมบําบดั ดังนี้
1. การจัดการส่ิงแวดลอม กําจัดสิ่งกระตุนเดิมท่ีไมเหมาะสมใหหมด หากิจกรรมทดแทน
เบ่ียงเบนความสนใจ อยาใหเด็กเหงาอยูคนเดียวตามลําพัง ปรับเปลี่ยนทัศนคติทางเพศในครอบครัว
ใหเ ห็นวา เร่อื งเพศไมใ ชเรอ่ื งตองหา ม สามารถพดู คุยเรยี นรไู ด พอ แมควรสอนเรอ่ื งเพศกับลูก
2. ฝกการรูตัวเองและควบคุมตนเองทางเพศ ใหรูวามีอารมณเพศเม่ือใด โดยส่ิงกระตุนใด
พยายามหามใจตนเองทจี่ ะใชส งิ่ กระตุนเดิมทผ่ี ิดธรรมชาติ
3. ฝกการสรางอารมณเ พศกับตัวกระตุนตามปกติ เชน รูปโป – เปลือย แนะนําการสําเร็จความ
ใครท ีถ่ ูกตอ ง
4. บันทึกพฤติกรรมเม่ือยังไมสามารถหยุดพฤติกรรมได สังเกตความถี่หาง เหตุกระตุน
การยบั ยง้ั ใจตนเอง ใหร างวลั ตนเองเมือ่ พฤตกิ รรมลดลง
การปองกัน การใหความรูเรอื่ งเพศทีถ่ ูกตองตง้ั แตเด็กดว ยทศั นคตทิ ่ีดี
6. เพศสัมพันธในวยั รนุ
ลักษณะปญ หา มีพฤตกิ รรมทางเพศตอ กันอยา งไมเ หมาะสม มีเพศสัมพนั ธกนั กอ นวยั อนั ควร
สาเหตุ
1. เดก็ ขาดความรกั ความอบอุน ใจจากครอบครวั
2. เด็กขาดความรูส ึกเหน็ คุณคา ตนเอง ไมประสบความสําเร็จดานการเรียน แสวงหาการยอมรับ
หาความสขุ และความพงึ พอใจจากแฟน เพศสัมพนั ธแ ละกิจกรรมที่มีความเส่ยี งตาง ๆ
3. เด็กขาดความรูและความเขาใจทางเพศ ความตระหนักตอปญหาที่ตามมาหลังการมี
เพศสัมพนั ธ การปอ งกนั ตัวของเด็ก ขาดทกั ษะในการปอ งกนั ตนเองเร่ืองเพศ ขาดทักษะในการจัดการกับ
อารมณท างเพศ
4. ความรูและทัศนคติทางเพศของพอแมท่ีไมเขาใจ ปดก้ันการอธิบายเรื่องเกี่ยวกับเพศ
ทําใหเ ดก็ แสวงหาเองจากเพ่อื น
5. อทิ ธิพลจากกลุมเพ่ือน รับรูทัศนคติท่ีไมควบคุมเรื่องเพศ เห็นวาการมีเพศสัมพันธเปนเรื่อง
ธรรมดา ไมเกิดปญ หาหรอื ความเส่ยี ง
6. มกี ารกระตนุ ทางเพศ ไดแ ก ตวั อยา งจากพอ แม ภายในครอบครัว เพ่อื น ส่ือย่ัวยุทางเพศตาง ๆ
ท่ีเปน แบบอยางไมด ีทางเพศ
การปองกัน
การปอ งกันการมเี พศสมั พนั ธใ นวยั รุน แบง เปนระดบั ตา ง ๆ ดังน้ี
1. การปองกันระดับตนกอนเกิดปญหา ไดแก ลดปจจัยเสี่ยงตางๆ การเลี้ยงดูโดยครอบครัว
สรางความรกั ความอบอุนในบา น สรางคณุ คาในตัวเอง ใหค วามรแู ละทศั นคติทางเพศท่ีดี มีแบบอยางท่ดี ี

34

2. การปองกนั ระดบั ที่ 2 หาทางปองกันหรือลดการมีเพศสัมพนั ธในวัยรุนท่ีมีความเสี่ยงอยูแลว
โดยการสรา งความตระหนักในการไมม เี พศสมั พันธใ นวยั เรยี นหรอื กอ นการแตง งาน หาทาง
เบนความสนใจวัยรนุ ไปสูก จิ กรรมสรางสรรค ใชพลังงานทางเพศท่ีมีมากไปในดานท่ีเหมาะสม

3. การปองกันระดบั ท่ี 3 ในวัยรุนทห่ี ยดุ การมีเพศสัมพันธไมได ปองกันปญหาที่เกิดจากการมี
เพศสมั พันธ ปอ งกนั การตั้งครรภและโรคติดตอทางเพศ โดยการใหความรูทางเพศ เบี่ยงเบนความสนใจ
หากจิ กรรมทดแทน

เร่ืองที่ 3 การจดั การกับอารมณและความตอ งการทางเพศ

ถึงแมวาอารมณทางเพศเปนเพียงอารมณหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแลวหายไปได แตถาหากไมรูจัก
จัดการกับอารมณเพศแลว อาจจะทาํ ใหเ กดิ การกระทาํ ทีไ่ มถูกตอ ง กอใหเกิดความเสยี หายเดือดรอนแกตนเอง
และผูอืน่ ดังนนั้ ผเู รียนควรจะไดเ รยี นรูถึงวิธีการจัดการกบั อารมณท างเพศอยา งเหมาะสม ไมต กเปนทาสของ
อารมณเ พศ ซึง่ การจัดการกบั อารมณท างเพศอาจแบงตามความรุนแรงไดเปน 3 ระดบั ดังน้ี
ระดับที่ 1 การควบคมุ อารมณท างเพศ อาจทําได 2 วธิ ี คือ

1. การควบคุมจติ ใจตนเอง พยายามขม ใจตนเองมิใหเ กดิ อารมณทางเพศไดหรือถาเกิด
อารมณทางเพศใหพ ยายามขม ใจไว เพอ่ื ใหอ ารมณท างเพศคอ ย ๆ ลดลงจนสสู ภาพอารมณท่ปี กติ

2. การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเรา ส่ิงเราภายนอกที่ย่ัวยุอารมณทางเพศหรือยั่วกิเลสยอมทําใหเกิด
อารมณทางเพศได ดังน้ัน การตัดไฟเสียแตตนลม คือ หลีกเล่ียงจากส่ิงเราเหลาน้ันเสียจะชวยใหไมเกิด
อารมณไ ด เชน ไมดูสอื่ ลามกตา ง ๆ ไมเทยี่ วกลางคนื เปน ตน
ระดับท่ี 2 การเบย่ี งเบนอารมณทางเพศ

ถาเกิดอารมณทางเพศจนไมอาจควบคุมไดควรใชวิธีการเบ่ียงเบนใหไปสนใจสิ่งอ่ืนแทนที่จะ
หมกมนุ อยกู บั อารมณท างเพศ เชน ไปออกกําลังกาย ประกอบกิจกรรมนันทนาการตางๆ ใหสนุกสนาน
เพลิดเพลนิ ไปทํางานตางๆ เพือ่ ใหจ ิตใจมงุ ทงี่ าน ไปพูดคุยสนทนากับคนอนื่ เปน ตน
ระดับท่ี 3 การปลดปลอ ยหรอื ระบายอารมณทางเพศ

ถาเกิดอารมณทางเพศระดับมากจนเบ่ียงเบนไมได หรือสถานการณนั้นอาจทําใหไมมีโอกาส
เบี่ยงเบน อารมณทางเพศก็ปลดปลอย หรือระบายอารมณทางเพศดวยวิธีการท่ีเหมาะสมกับสภาพของ
วยั รนุ ซ่ึงสามารถทาํ ได 2 ประการ คือ

1. โดยการฝนนนั่ ก็คอื การฝนเปยก (Wet Dream) ในเพศชาย ซง่ึ การฝนน้ีเราไมส ามารถบงั คับให
ฝน หรือไมใหฝ นได แตจ ะเกิดข้ึนเองเมื่อเราสนใจหรือมีความรูสึกในทางเพศมากจนเกินไปหรืออาจเกิด
การสะสมของนํา้ อสุจมิ ีมากจนลนถงุ เก็บน้าํ อสุจิ ธรรมชาติจะระบายน้าํ อสุจิออกมาโดยการใหฝนเกยี่ วกับ
เร่ืองเพศจนถึงจุดสุดยอด และมีการหลั่งนํ้าอสุจิออกมา

2. การสําเร็จความใครด ว ยตนเองหรอื อาจเรยี กอกี อยางหนึง่ วาการชว ยเหลอื ตวั เอง(Masturbation)
ทาํ ไดทง้ั ผหู ญงิ และผชู าย ซง่ึ ผูชายแทบทุกคนมักมีประสบการณในเรื่องนี้แตผูหญิงน้ันมีเปนบางคนท่ีมี

35

ประสบการณในเรื่องน้ี การสาํ เร็จความใครด ว ยตนเองเปนเรื่องธรรมชาติของคนเรา เม่ือเกิดอารมณทาง
เพศจนหยดุ ยงั้ ไมได เพราะการสําเร็จความใครดวยตนเองไมทําใหตนเองและผูอ่ืนเดือดรอน แตไมควร
กระทําบอ ยนัก

เรือ่ งท่ี 4 ความเช่อื ทีผ่ ิดๆ ทางเพศ

ความคิดผดิ ๆ นน้ั ความจรงิ เปน แคค วามคิดเทาน้ัน ถา ยงั ไมไดก ระทํา ยอ มไมถือวาเปนความผิด
เพราะการกระทํายงั ไมเ กดิ ขน้ึ โดยเฉพาะความเชอ่ื ผิด ๆ เกยี่ วกบั เร่ืองเพศน้ัน ถาคิดใหม ทําใหมเสีย ก็จะ
ไมเกิดผลรายในการดําเนินชวี ติ ประจําวัน เรือ่ งราวเกี่ยวกบั เพศไดรบั การปกปดมานานแลว จนขา วลอื และ
ความเชื่อผดิ ๆ แตโ บราณ ยงั คงไดร ับการรํา่ ลอื ตอเนอื่ งยาวนานมาจนถงึ ยคุ ปจ จบุ ัน ตอไปน้ีเปนความเช่ือ
ผิด ๆ ความเขา ใจผิด ๆ ทางเพศ ทีอ่ งคก ารอนามยั โลกไดต ีพมิ พไ ว มีดังนี้

1. ผชู ายไมค วรแสดงอารมณและความรสู ึกเกีย่ วกบั ความรกั
เพราะคาํ รํา่ ลือท่ีวา ผูชายไมควรแสดงอารมณแ ละความรูสกึ เก่ียวกับความรักให

ออกนอกหนา ไมอยา งน้นั จะไมเ ปน ชายสมชาย ผูชายจึงแสดงออกถึงความรักผานการมีเพศสัมพันธ จน
เหมอื นวา ผชู ายเกิดมาเพอ่ื จะมีเซ็กส ทง้ั ๆ ที่ตอ งการจะระบายความรักออกไปเทา นัน้ เอง แทจ ริงแลว ผชู าย
สามารถจะแสดงอารมณรกั ออกมาทางสีหนาแววตา การกระทําอะไรตอมิอะไรไดเชนผูหญิง และการมี
เพศสัมพันธก็เปนสวนหน่ึงของการบอกรักดวยภาษากายเทานั้น การแสดงความรักท่ีซาบซึ้งแบบอื่น
ผชู ายทําไดเชน เดยี วกับหญิงและหญงิ กต็ องการดวย

2. การถกู เน้อื ตองตวั จะนาํ ไปสกู ารมีเซ็กส
เพราะความเช่ือที่วา ถาผูหญิงยอมใหผูชายถูกเนื้อตองตัวแลว แสดงวาตัวเองมีใจกับเขา

เขาจึงพยายามตอไปที่จะมีสัมพันธสวาทที่ลึกซ้ึงกวานั้นกับเธอ เปนความเขาใจผิดแท ๆ เพราะบางครั้ง
ผหู ญงิ แคตองการความอบอนุ และประทับใจกบั แฟนของเธอเทาน้ัน โดยไมไดคดิ อะไรเลยเถิดไป
ขนาดนัน้ เลย การจบั มอื กนั การโอบกอดสัมผัสกายของกันและกัน แทที่จริงเปนการถายทอดความรักที่
บริสทุ ธิ์ ที่สามารถจะสัมผสั จบั ตอ งได โดยไมจําเปน จะตองมกี ารรว มรักกนั ตอไปเลย และไมค วรทีฝ่ ายใด
ฝา ยหนง่ึ จะกดดันใหอ ีกฝา ยตองมีเซ็กสด ว ย

3. การมเี พศสัมพนั ธทร่ี นุ แรงจะนาํ ไปสกู ารสขุ สมทมี่ ากกวา
เปน ความเขาใจผิดกันมานานนักแลว วา ผูชายท่ีมีพละกําลังมาก ๆ จะสามารถมีเพศสัมพันธ

กับหญิงสาวไดรวดเร็วรุนแรงและทําใหเธอไปถึงจุดสุดยอดไดงาย รวมทั้งมีความเขาใจผิดเสมอ ๆ วา
อาวธุ ประจํากายของฝายชายทีใ่ หญเทานน้ั ที่จะทําใหผ ูหญิงมีความสขุ ได แทจ รงิ แลวการมสี ัมพนั ธส วาทท่ี
อบอนุ เนนิ่ นานเขาใจกัน ชวยกันประคับประคองนาวารักใหผานคล่ืนลมมรสุมสวาทจนบรรลุถึงฝงฝน
ตางหาก ทนี่ ําความสขุ สมมาสูค นทงั้ สองไดม ากกวา สมั พนั ธสวาทจงึ ควรท่จี ะเกิดขึน้ ในบรรยากาศที่แสน
จะผอนคลายและโรแมนติก

36

4. การมีความสมั พันธทางเพศก็คือการรว มรกั
เปนความเขาใจผดิ อยางยงิ่ และสมควรไดร บั การแกไ ขใหถกู ตองเพราะเซก็ สก ็คือ การรวมรัก

การแสดงความรักผานภาษากาย เปนสัมผัสรักท่ีคนสองคนถายทอดใหแกกันจากการสัมผัสทางผิวกาย
สว นไหนกไ็ ด ไมใ ชเ ฉพาะสว นนั้นเทา นน้ั

5. ผชู ายควรเปนผนู าํ ในการรวมรกั
เร่อื งน้ยี งั คงเปน ความเช่ือผดิ ๆ ไมว ารักผูห ญงิ หรือผูช ายที่มีหัวอนรุ กั ษน ยิ ม มักจะคิดเสมอ ๆ

วาการจะมีอะไรกันนั้นผูชายตองเปนคนกระทําและผูหญิงเปนฝายรองรับการกระทํานั้น แทจริงแลว
การรว มรกั เปน กระบวนการทค่ี นสองคนสามารถปรับเปลี่ยนเปนฝายนํา ในการกระทําไดโดยเสมอภาค
ซึ่งกนั และกนั

6. ผหู ญิงไมควรจะเปนฝายเรม่ิ ตนกอน
ตามที่เลาแจงแถลงไขในขอที่ผานมาจะเห็นไดวา เซ็กสเปนการส่ือสาร 2 ทางระหวาง

คน 2 คน ทจ่ี ะรว มมือกันบรรเลงบทเพลงแหงความพิศวาส ซึง่ ตอ งผลดั กันนาํ ผลดั กนั ตามและตอ งชวยกัน
โล ชว ยกนั พายนาวารักไปยงั จดุ หมายปลายทางแหง ความสขุ สมรวมกนั

7. ผูชายนึกถึงแตเ รอื่ งเซก็ สตลอดเวลา
มีคํากลาวผิด ๆ ที่พูดกันตอเน่ืองมาวา ผูชายนึกถึงแตเร่ืองของการมีเพศสัมพันธที่เรียกกัน

ส้ันๆ วาเซก็ ส อยตู ลอด ท้ัง ๆ ทค่ี วามเปน จริงคอื ผูชายไมไ ดคดิ ถึงเรื่องเซ็กสอยูตลอดเวลา เขาคิดถึงเร่ือง
อ่ืนอยูเหมือนกัน ไมวาจะเปนเรื่องงาน เร่ืองครอบครัว เพียงแตผูชายพรอมจะมีเซ็กสเสมอและไมได
หมายความวา เม่ือเขาพรอมทจ่ี ะมเี ซ็กสแ ลว เขาจําเปน จะตองมีเสมอไป

8. ผูหญงิ ตอ งพรอมเสมอทจ่ี ะมเี ซก็ สเม่อื สามตี องการ
ที่จริงในยคุ นี้ไมมีความจาํ เปนแบบนั้นเลย ในอดีตอาจจะใชแ ตไมใชใ นยคุ ไอทีแบบน้ที ีผ่ ูชาย

และผหู ญิงเทาเทียมกัน และการจะมเี ซ็กสก ันก็เปนกิจกรรมรวมท่คี นสองคนจะตองใจตรงกันกอน ไมใช
แคฝ ายใดฝายหนง่ึ ตอ งการแลว อกี ฝา ยจะตองยอม

9. เซ็กส เปนเรอื่ งธรรมชาตไิ มต อ งเรียนรู
ผเู ฒาผแู กมักจะพยายามพดู เสมอ ๆ วา เพศศึกษาไมสําคัญ ทําไมรุนกอน ๆ ไมตองเตรียมตัว

ในการเรยี นรเู ลย ก็สามารถทจ่ี ะมีเซก็ สก ันจนมีลกู เต็มบานมีหลานเต็มเมืองได การเตรียมตัวที่ดียอมมีชัย
ไปกวาคร่งึ เรอ่ื งราวเก่ยี วกับความสมั พนั ธของคนสองคนก็เชน กัน สามารถเรยี นรูวิธกี ารทจี่ ะเพ่ิมความสขุ
ใหแกก นั และกันไดกอ นท่จี ะเกิดเหตกุ ารณน นั้

อิทธพิ ลของสอ่ื ตอปญหาทางเพศ
ปจจุบันส่ือมีอิทธิพลตอการดําเนินชีวิตของทุกคนเทียบทุกดานรวมถึงดานปญหาทางเพศดวย

เพราะสอื่ มีผลตอพฤตกิ รรมการตัดสนิ ใจของคนในสังคม ทุกคนจงึ ตอ งบรโิ ภคขา วสารอยตู ลอดเวลา เชน
การชมรายการขาวทางทีวีทกุ เชา การอานหนงั สือพิมพ หรือเลนอินเตอรเน็ต ซ่ึงบางคนอาจจะใชบริการ

37

รับขา วสารทาง SMS เปนตน สื่อจึงกลายเปน สง่ิ ทมี่ อี ิทธิพลตอ ความคดิ และความรูสึกและการตัดสินใจท่ี
สาํ คญั ของคนในสังคมอยา งหลกี เลี่ยงไมไ ด

จากปจจัยดังกลาวอิทธิพลของสื่อจึงยอ มทจ่ี ะกอ ใหเ กดิ การเปลยี่ นแปลงไดใ นทุก ๆ ภาคสว นของ
สงั คมไมวาจะเปน สงั คมเมืองหรอื แมแ ตในสงั คมชนบทกต็ าม ซึ่งการเปล่ียนแปลงน้ันยอมที่จะเกิดขึ้นได
ท้ังทางทีด่ ขี ึน้ และทางที่แยลง และสง่ิ สําคัญสื่อคอื ส่งิ ที่มอี ิทธพิ ลโดยตรงตอทกุ ๆ คนในสงั คมไมวาจะเด็ก
วัยรุนหรือกระท่ังผูใหญ อิทธิพลของส่ือที่นับวันจะรุนแรงมากข้ึน ไมวาจากสภาพเศรษฐกิจ
การเปลยี่ นแปลงของสังคม เน่ืองมาจากความพยายามในการพัฒนาประเทศใหมีความเจริญกาวหนาใน
ดานตาง ๆ เพ่ือใหทัดเทียมกับนานาประเทศ กอใหเกิดวัฒนธรรมที่หล่ังไหลเขามาในประเทศไทย
โดยผานสื่อ ทง้ั วทิ ยุ โทรทศั น ส่ิงพมิ พแ ละอนิ เตอรเน็ต สื่อจึงกลายเปนสิ่งที่มีอิทธิพลตอการดําเนินชีวิต
และนําพาไปสูป ญหาและผลกระทบหลาย ๆ ดา น ของชีวิตแบบเดิม ๆ ของสังคมไทยใหเปล่ียนแปลงไป
ซึ่งลวนมาจากการรับสื่อและอิทธิพลสื่อยังทําใหเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เชน ขาวอาชญากรรม
ขาวสงคราม ภาพยนตรห รือละครทีเ่ นอ้ื หารุนแรง ตอ สกู นั ตลอดจนสือ่ ลามกอนาจาร ซึ่งสงผลใหเด็กและ
คนที่รับส่ือจิตนาการตามและเกิดการเลียนแบบ โดยจะเห็นไดบอยคร้ังจากการท่ีเด็กหรือคนที่กอ
อาชญากรรมหลายคดี โดยบอกวาเลยี นแบบมาจากหนัง จากส่ือตาง ๆ แมกระท่ังการแตงกายตามแฟชั่น
ของวัยรุน การกออาชญากรรม การกอม็อบ การใชความรุนแรงในการแกปญหา ความรุนแรงทางเพศ
ทเี่ กิดขน้ึ อยูใ นสงั คมไทยขณะนีส้ ว นใหญเปนผลมาจากอทิ ธิพลของส่ือ

ส่อื มวลชนจึงมคี วามสําคัญอยางยิ่งตอการเขาไปมีบทบาทและมีอิทธิพลตอการดําเนินชีวิตของ
คนในสังคม มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา บางสิ่งเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว แตบางส่ิงคอย ๆ
จางหายไปทลี ะเล็กละนอ ย จนหมดไปในที่สุด เชน การท่ีประเทศกาวหนาทางเทคโนโลยีการส่ือสารทํา
ใหขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมคนไทย ทั้งสังคมเมืองและสังคมชนบท มีการเปล่ียนแปลงอยางรวดเร็ว
แตจากการที่เราไมส ามารถปฏิเสธการรับขาวสาร ความบนั เทิงจากส่ือได แตเ ราสามารถเลอื กรบั ส่ือทดี่ ี
มปี ระโยชนไมรนุ แรง และไมผดิ ธรรมนองคลองธรรมได

เรือ่ งท่ี 5 กฎหมายท่เี กย่ี วของกบั การละเมดิ ทางเพศ

คดีความผดิ เกยี่ วกับเพศ โดยเฉพาะความผดิ ฐานขม ขนื กระทําชําเรา ถือเปน ความผิดท่รี ุนแรงและ
เปนที่หวาดกลัวของผูหญิงจํานวนมาก รวมท้ังผูปกครองของเด็ก ไมวาจะเปนเด็กหญิงหรือเด็กชาย
ย่งิ ปจ จุบนั จากขอมลู สถิติตาง ๆ ทําใหเราเหน็ กนั แลววา การลวงละเมิดทางเพศนั้นสามารถเกิดข้ึนไดกับ
คนทุกเพศ ทุกวยั กฎหมายท่ีบัญญตั ไิ วเพื่อคุมครองผหู ญิงและผูเ สยี หายจากการลวงละเมดิ ทางเพศ
มบี ัญญัติอยูในลกั ษณะความผดิ เกีย่ วกบั เพศ ดงั นี้

มาตรา 276 ผูใดขมขืนกระทําชําเราหญิงซึ่งมิใชภริยาตน โดยขูเข็ญประการใด ๆ โดยใชกําลัง
ประทุษราย โดยหญงิ อยูในภาวะท่ไี มสามารถขัดขืนได หรือโดยทําใหหญิงเขาใจผิดคิดวาตนเปนบุคคล
อ่ืน ตองระวางโทษจําคุกตั้งแตส่ีปถึงยี่สิบปและปรับต้ังแตแปดพันบาทถึงส่ีหม่ืนบาท ถาการกระทํา

38

ความผิดตามวรรคแรกได กระทําโดยมีหรือใชอาวุธปนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยรวมกระทําความผิด
ดวยกัน อันมีลักษณะเปนการโทรมหญิงตองระวางโทษจําคุกตั้งแตสิบหาปถึงยี่สิบปและปรับตั้งแต
สามหม่ืนถึงสี่หมนื่ บาท หรอื จําคุกตลอดชีวติ

มาตรา 277 ผูใดกระทําชําเราเด็กหญิงอายุไมเกินสิบหาป ซึ่งมิใชภริยาตน โดยเด็กหญิงน้ันจะ
ยินยอมหรือไมก ต็ าม ตอ งระวางโทษจาํ คุกต้ังแตส่ีปถึงยส่ี บิ ปและปรบั ตง้ั แตแ ปดพนั บาทถงึ สห่ี ม่นื บาท ถา
การกระทําความผิดตามวรรคแรกเปน การกระทาํ แกเ ด็กหญิงอายุยังไมถึงสิบสามป ตองระวางโทษจําคุก
ตั้งแตเจ็ดปถ งึ ยีส่ ิบปแ ละปรับต้ังแตห นึ่งหมนื่ ส่ีพนั บาทถึงสี่หม่นื บาท หรอื จําคุกตลอดชีวิต ถาการกระทํา
ความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองไดกระทําโดยรวมกระทําความผิดดวยกันอันมีลักษณะเปนการ
โทรมหญิงและเดก็ หญิงนน้ั ไมย ินยอม หรอื ไดกระทําโดยมอี าวุธปนและวัตถุระเบิด หรือโดยใชอาวธุ ตอง
ระวางโทษจําคกุ ตลอดชวี ิต ความผิดตามทบี่ ญั ญัติไวในวรรคแรก ถา เปน การกระทําที่ชายกระทํากับหญิง
อายุต่ํากวาสิบสามป แตยังไมเกินสิบหาป โดยเด็กหญิงน้ันยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตใหชายและ
หญิงนัน้ สมรสกัน ผูก ระทําผดิ ไมต องรับโทษ ถา ศาลอนุญาตใหส มรสในระหวางทีผ่ กู ระทําผิดกาํ ลงั
รับโทษในความผดิ น้ันอยู ใหศ าลปลอยผูก ระทาํ ผิดนัน้ ไป

มาตรา 277 ทวิ ถา การกระทําความผดิ ตามมาตรา 276 วรรคแรก หรือมาตรา 277 วรรคแรก หรือ
วรรคสอง เปนเหตุใหผถู กู กระทํา

(1) รับอันตรายสาหัส ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกต้ังแตสิบหาปถึงยี่สิบปและปรับตั้งแต
สามหม่นื บาทถึงส่ีหมืน่ บาท หรอื จําคุกตลอดชีวติ

(2) ถงึ แกค วามตาย ผกู ระทาํ ตอ งระวางโทษประหารชวี ติ หรอื จําคุกตลอดชวี ิต
มาตรา 277 ตรี ถาการกระทําความผิดมาตรา 276 วรรคสองหรือมาตรา 277 วรรคสาม เปนเหตใุ ห
ผูถกู กระทํา
(1) รับอันตรายสาหัส ผูก ระทําตองระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชวี ิต
(2) ถึงแกค วามตาย ผูกระทาํ ตอ งระวางโทษประหารชวี ิต

โดยสรุป การจะมคี วามผิดฐานกระทําชําเราได ตองมีองคป ระกอบความผิดดังนี้
1. กระทาํ ชาํ เราหญิงอน่ื ท่มี ใิ ชภรรยาตน
2. เปนการขมขนื บังคบั ใจ โดยมกี ารขเู ข็ญ หรือใชกําลงั ประทษุ รา ย หรอื ปลอมตัวเปนคนอ่ืนท่ี

หญิงชอบและหญิงไมสามารถขดั ขืนได
3. โดยเจตนา
ขอ สังเกต
กระทําชําเรา = ทําใหของลับของชายลวงลํ้าเขาไปในของลับของหญิง ไมวาจะลวงล้ําเขาไป

เลก็ นอ ยเพียงใดก็ตามและไมว า จะสําเร็จความใครหรือไมกต็ าม
การขมขนื = ขม ขนื ใจโดยท่ีหญงิ ไมสมัครใจ

39

การขมขนื ภรรยาของตนเองโดยทีจ่ ดทะเบยี นสมรสแลวไมเปนความผิด
การรวมเพศโดยที่ผูหญิงยินยอมไมเปนความผิด แตถาหญิงน้ันอายุไมเกิน 13 ป แมยินยอมก็มี
ความผิด
การขมขนื กระทาํ ชาํ เราผูท่ีอยูภายในปกครองของตนเอง เชน บุตร หลาน ลูกศิษยท่ีอยูในความ
ดแู ล ตอ งรับโทษหนกั ขนึ้
มาตรา 278 ผูใดกระทําอนาจารแกบุคคลอายุกวาสิบหาป โดยขูเข็ญดวยประการใด ๆ
โดยใชก ําลังประทษุ รา ย โดยบุคคลน้นั อยใู นภาวะทไี่ มสามารถขดั ขนื ไดห รอื โดยทําใหบ คุ คลนั้นเขา ใจผิด
วาตนเปนบุคคลอ่ืน ตองระวางโทษจาํ คุกไมเกินสบิ ป หรือปรับไมเ กินสองหม่นื บาท หรือท้งั จาํ ทั้งปรบั
มาตรา 279 ผูใดกระทําอนาจารแกเด็กอายุไมเกินสิบหาป โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไมก็ตาม
ตอ งระวางโทษจาํ คุกไมเ กนิ สิบป หรอื ปรบั ไมเ กนิ สองหมน่ื บาท หรอื ท้ังจาํ ท้ังปรบั ถา การกระทําความผิด
ตามวรรคแรก ผกู ระทาํ ไดกระทําโดยขูเข็ญดวยประการใด ๆ โดยใชกําลังประทุษรายโดยเด็กน้ันอยูใน
ภาวะที่ไมสามารถขัดขืนได หรือโดยทําใหเด็กนั้นเขาใจผิดวาตนเปนบุคคลอ่ืน ตองระวางโทษจําคุก
ไมเ กินสิบหา ป หรอื ปรบั ไมเกินสามหม่นื บาท หรือท้ังจาํ ทัง้ ปรบั
มาตรา 280 ถา การกระทาํ ความผิดตามมาตรา 278 หรอื มาตรา 279 เปน เหตุใหผ ถู กู กระทาํ
(1) รับอนั ตรายสาหสั ผกู ระทาํ ตอ งระวางโทษจาํ คุก ตง้ั แตหาปถึงย่ีสิบปแ ละปรบั ต้ังแตหนึ่งหมื่น
บาทถงึ ส่หี มน่ื บาท
(2) ถงึ แกความตาย ผูก ระทาํ ตองระวางโทษประหารชีวติ หรอื จาํ คกุ ตลอดชวี ติ
การจะมีความผดิ ฐานทาํ อนาจารได ตอ งมอี งคป ระกอบ คอื
1 ทาํ อนาจารแกบคุ คลอายเุ กินกวา 13 ป
2 มีการขมขู ประทุษรา ย จนไมสามารถขดั ขนื ได หรือทําใหเ ขาใจวาเราเปน คนอน่ื
3 โดยเจตนา

ขอสังเกต
อนาจาร = การทําหยาบชา ลามกใหเ ปน ท่ีอบั อายโดยทหี่ ญงิ ไมสมคั รใจ หรอื โดยการปลอมตัวเปน
สามีหรือคนรัก การทําอนาจารกับเด็กอายุไมเกิน 13 ป แมเด็กยินยอมก็เปนความผิด ถาทําอนาจารกับ
บุคคลใดแลวบคุ คลนั้นไดร บั อนั ตรายหรือถงึ แกความตายตอ งไดรับโทษหนักข้นึ
การทําอนาจารไมจําเปนตองทํากับหญิงเสมอไป การทําอนาจารกับชายก็ถือเปนความผิด
เชน เดยี วกันไมวาผูก ระทําจะเปน หญงิ หรอื ชายก็ตาม ความผิดท้ังการขมขืนกระทําชําเราและการกระทํา
อนาจารนี้ ผกู ระทําจะไดร ับโทษหนักขน้ึ กวาท่ีกาํ หนดไวอกี 1 ใน 3 หากเปนการกระทําผิดแก
1. ผูสบื สันดาน ไดแ ก บุตร หลาน เหลน ลอ่ื (ลกู ของหลาน) ทีช่ อบดวยกฎหมาย
2. ศษิ ยซ่ึงอยูใ นความดแู ล ซง่ึ ไมใ ชเ ฉพาะครูที่มหี นาทีส่ อนอยางเดียว ตองมีหนา ที่ดูแลดว ย

40

3. ผอู ยใู นความควบคุมตามหนา ทรี่ าชการ
4. ผูอยูในความปกครอง ในความพิทกั ษ หรอื ในความอนุบาลตามกฎหมาย
นอกจากน้ี ยงั มีมาตราอื่น ๆ ทเ่ี กี่ยวขอ งอกี ไดแก
มาตรา 282 ผูใดเพื่อสนองความใครของผูอื่น เปนธุระจัดหา ลอไป หรือพาไปเพื่อการอนาจาร
ซง่ึ ชายหรอื หญงิ แมผ นู น้ั จะยินยอมกต็ าม ตองระวางโทษจําคกุ ตง้ั แตหนง่ึ ปถงึ สิบปและปรับตง้ั แต
สองพนั บาทถึงสองหมน่ื บาท ถา การกระทําความผิดตามวรรคแรกเปนการกระทําแกบ ุคคลอายุเกินสิบหา
ป แตยังไมเ กนิ สิบแปดป ผกู ระทําตอ งระวางโทษจําคุกตั้งแตสามปถึงสิบหาปและปรับต้ังแตหกพันบาท
ถึงสามหม่ืนบาท ถาการกระทําความผิดตามวรรคแรกเปนการกระทําแกเด็กอายุยังไมเกินสิบหาป
ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกตั้งแตหาปถึงยี่สิบปและปรับต้ังแตหนึ่งหม่ืนบาทถึงส่ีหมื่นบาท ผูใดเพื่อ
สนองความใครของผูอ่ืน รับตัวบคุ คลซง่ึ ผูจ ดั หา ลอ ไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม
หรอื สนับสนุนในการกระทาํ ความผดิ ดังกลา วตอ งระวางโทษตามทีบ่ ญั ญตั ไิ วใ นวรรคแรก วรรคสอง หรอื
วรรคสาม แลว แตกรณี
มาตรา 283 ผูใดเพื่อสนองความใครของผูอื่น เปนธุระจัดหา ลอไป หรือพาไปเพ่ือการอนาจาร
ซ่ึงชายหรือหญิง โดยใชอ ุบายหลอกลวง ขเู ข็ญ ใชกาํ ลังประทุษราย ใชอํานาจครอบงาํ ผิดคลองธรรม หรือ
ใชวธิ ขี มขืนใจดวยประการอ่ืนใด ตองระวางโทษจาํ คกุ ตง้ั แตหา ปถ ึงย่ีสิบปและปรับตั้งแตหนึ่งหม่ืนบาท
ถงึ สห่ี มื่นบาท ถาการกระทาํ ตามความผดิ ตามวรรคแรก เปนการกระทาํ แกบ ุคคลอายุเกินสิบหาปแตยังไม
เกินสบิ แปดป ผกู ระทาํ ตอ งระวางโทษจําคุกตั้งแตเ จด็ ปถึงยส่ี บิ ปแ ละปรบั ตั้งแตหนึ่งหม่ืนส่ีพนั บาทถึง
สห่ี ม่นื บาท หรอื จาํ คุกตลอดชีวิต ถาการกระทําผดิ ตามวรรคแรกเปน การกระทาํ แกเดก็ อายยุ งั ไมเกินสิบหา
ป ผูก ระทําตองระวางโทษจาํ คุกตง้ั แตส ิบปถึงย่สี ิบปแ ละปรบั ต้ังแตส องหม่ืนบาทถึงส่หี ม่ืนบาท หรือจาํ คุก
ตลอดชีวิต หรอื ประหารชีวิต ผูใ ดเพือ่ สนองความใครข องผูอ ่นื รับตวั บคุ คลซึง่ มีผูจัดหา ลอไป หรือพาไป
ตามวรรคแรก วรรคสอง หรือวรรคสาม หรือสนับสนุนในการกระทําความผิดดังกลาว ตองระวางโทษ
ตามทบ่ี ัญญตั ิไวในวรรคแรก วรรคสอง หรอื วรรคสามแลวแตก รณี

มาตรา 283 ทวิ ผูใ ดพาบคุ คลอายุเกินสบิ หาปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเพื่อการอนาจาร แมผูนั้น
จะยนิ ยอมก็ตาม ตอ งระวางโทษจาํ คกุ ไมเ กนิ หา ปหรอื ปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาทหรอื ท้ังจําท้ังปรับ ถาการ
กระทาํ ความผดิ ตามวรรคแรก เปน การกระทําแกเ ดก็ อายุยงั ไมเกินสิบหาป ผูกระทําตองระวางโทษจําคุก
ไมเ กนิ เจด็ ปหรือปรับไมเกนิ หนึง่ หม่นื ส่พี นั บาท หรอื ท้ังจาํ ทง้ั ปรับ ผูใดซอนเรนบุคคลซึ่งถกู พาไปตามวรรค
แรกหรือวรรคสอง ตองระวางโทษตามที่บัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสองแลวแตกรณี ความผิดตาม
วรรคแรกและวรรคสาม เฉพาะกรณีท่กี ระทาํ แกบุคคลอายุเกนิ สบิ หาป เปนความผดิ อันยอมความได

มาตรา 284 ผูใดพาผูอ่ืนไปเพื่อการอนาจาร โดยใชอุบายหลอกลวง ขูเข็ญ ใชกําลังประทุษราย
ใชอาํ นาจครอบงาํ ผดิ คลองธรรมหรือใชว ธิ ขี มขนื ใจดว ยประการอื่นใด ตองระวางโทษจําคุกตั้งแตหนึ่งป

41

ถงึ สิบปแ ละปรบั ตั้งแตสองพันบาทถงึ หนึ่งหมนื่ บาท ผใู ดซอนเรนบุคคลซึ่งเปนผูถูกพาไปตามวรรคแรก
ตองระวางโทษเชนเดียวกบั ผูพ าไปน้ัน ความผดิ ตามมาตรานี้ เปน ความผดิ อันยอมความได

มาตรา 317 ผูใดปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไมเกินสิบหาปไปเสียจากบิดามารดา
ผูป กครอง หรอื ผดู แู ล ตองระวางโทษจําคุกต้งั แตสามปถ งึ สบิ หา ปแ ละปรับตง้ั แตห า พนั บาทถึงสามหมื่นบาท
ผูใดโดยทุจริต ซื้อ จําหนาย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ตองระวางโทษเชนเดียวกับ
ผูพ รากนน้ั ถาความผิดตามมาตราน้ีไดกระทําเพื่อหากําไร หรือเพื่อการอนาจาร ผูกระทําตองระวางโทษ
จําคุกต้งั แตหา ปถ ึงย่สี บิ ปแ ละปรบั ตั้งแตห นง่ึ หม่นื บาทถงึ สีห่ มนื่ บาท

มาตรา 318 ผูใดพรากผูเยาวอายุกวาสิบหาปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเสียจากบิดามารดา
ผูปกครอง หรอื ผดู แู ล โดยผูเยาวน น้ั ไมเ ตม็ ใจไปดว ย ตองระวางโทษจําคุกตัง้ แตส องปถ ึงสบิ ปแ ละปรับตั้ง
แตสพี่ นั บาทถงึ สองหม่ืนบาท ผูใดโดยทุจรติ ซื้อ จาํ หนา ย หรือรบั ตัวผเู ยาว ซ่ึงถูกพรากตามวรรคแรกตอง
ระวางโทษเชนเดียวกับผูพรากน้ันถาความผิดตามมาตรานี้ไดกระทําเพ่ือหากําไร หรือเพื่อการอนาจาร
ผกู ระทําตองระวางโทษจาํ คกุ ตงั้ แตสามปถ งึ สิบหา ปแ ละปรับตง้ั แตหาพนั บาทถงึ สามหม่ืนบาท

มาตรา 319 ผูใดพรากผูเยาวอายุกวาสิบหาปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเสียจากบิดามารดา
ผูปกครองหรอื ผดู แู ลเพ่ือหากาํ ไรหรอื เพื่อการอนาจาร โดยผูเยาวน้ันเต็มใจไปดวย ตองระวางโทษจําคุก
ตงั้ แตสองปถงึ สบิ ปแ ละปรับตงั้ แตส พ่ี ันบาทถึงสองหม่ืนบาท ผูใดกระทําทุจริต ซ้ือ จําหนาย หรือรับตัว
ผเู ยาวซ ึง่ ถกู พรากตามวรรคแรกตองระวางโทษเชนเดียวกับผูพรากน้ันผูใดจะมีความผิดฐานพรากผูเยาว
ความผดิ น้ันจะตอ งประกอบดว ย

1. มกี ารพรากบุคคลไปจากการดแู ลของบิดามารดา ผดู ูแล หรือผูปกครอง
2. บคุ คลท่ีถกู พรากจะเตม็ ใจหรอื ไมก ต็ าม
3. ปราศจากเหตผุ ลอันสมควร
4. โดยเจตนา

ขอสงั เกต
การพรากผเู ยาว = การเอาตวั เดก็ ทอ่ี ายุยงั ไมครบบรรลุนิติภาวะไปจากความดูแลของบิดามารดา

ผปู กครอง หรอื ผูด ูแลไมว าเดก็ นั้นจะเต็มใจหรอื ไมก็ตาม
การพรากผเู ยาวอ ายุไมเ กนิ 13 ป แตไมเ กนิ 18 ป โดยผูเยาวไมเต็มใจเปนความผิด ผูท่ีรับซื้อหรือ

ขายตวั เดก็ ทพ่ี รากฯ ตอ งรบั โทษเชนเดียวกับผูพราก ผูทีพ่ รากฯ หรือรบั ซ้ือเดก็ ทถ่ี ูกพรากฯ ไปเปนโสเภณี
เปน เมียนอยของคนอ่ืน หรือเพ่อื ขม ขืนตอ งรบั โทษหนกั ข้นึ

การพรากผูเ ยาวอายเุ กิน 13 ป แตไมเกนิ 18 ป แมผ ูเยาวจ ะเต็มใจไปดวย ถานาํ ไปเพ่ือการอนาจาร
หรอื คากําไรเปนความผิด เชน พาไปขมขืน พาไปเปนโสเภณี เปน ตน

42

คาํ แนะนําในการไปติดตอ สถานตี ํารวจ
การแจงความตาง ๆ
เพอ่ื ความสะดวก รวดเร็วและถูกตองตามกฎหมายและระเบยี บของทางราชการ เมอ่ื ทานไปติดตอ

ที่สถานีตํารวจ ทานควรเตรียมเอกสารที่จําเปนติดตัวไปดวย คือ บัตรประจําตัวประชาชน
หรอื หลักฐานตา ง ๆ ท่ีเกย่ี วกับเร่อื งทจ่ี ะแจง โดยนาํ ไปแสดงตอเจา หนาท่ีตํารวจ เชน เส้ือผาของผู
ถูกขมขืน ทมี่ คี ราบอสุจิ หรือรอยเปอ นอยางอน่ื อันเกดิ จากการขม ขนื และส่ิงของตาง ๆ ของผูตองหาท่ีตก
อยใู นท่เี กดิ เหตุ ทะเบยี นบา นของผเู สยี หาย รปู ถา ย หรือทอี่ ยูของผูตองหาตลอดจนหลักฐานอ่นื ๆ (ถาม)ี
การแจง พรากผูเยาว หลักฐานตาง ๆ ควรนําไปแสดงตอเจาหนาที่ตํารวจคือ สูจิบัตรของผูเยาว ทะเบียน
บา นของผูเยาว รปู ถายผเู ยาวใบสาํ คญั อ่ืนๆ ท่ีเกย่ี วกบั ผเู ยาว (ถา ม)ี

หมายเหตุ ในการไปแจง ความหรือรองทุกขตอพนักงานสอบสวนน้ัน นอกจากนําหลักฐานไป
แสดงแลว ถา ทา นสามารถพาพยานบคุ คลท่ีรูเหน็ หรือเกี่ยวของกับเหตุการณไปพบเจาพนักงานสอบสวน
ดว ยจะเปนประโยชนแกท านและพนกั งานสอบสวนเปนอยา งมาก เพราะจะสามารถดําเนินเร่ืองของทาน
ใหแ ลว เสรจ็ ไดเ ร็วขน้ึ

กิจกรรม
อธบิ ายคาํ ถามตอ ไปน้ีในชัน้ เรียน
1. พัฒนาการทางเพศมกี ข่ี ้ันตอน อะไรบา ง
2. อารมณท างเพศอาจแบง ตามความรนุ แรงไดเ ปน 3 ระดบั มีอะไรบา ง
3. มีวิธจี ดั การอารมณทางเพศอยางไรบาง
4. การจะมคี วามผดิ ฐานทาํ อนาจารได ตองมีองคประกอบอะไรบา ง
5. ตามขอกฎหมายการพรากผเู ยาวหมายถึงอะไร


Click to View FlipBook Version