เ ล่ ม ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ชุ ม ช น
PHATO
ตำบลพะโต๊ ะ อำเภอพะโต๊ ะ จังหวัดชุ มพร
พ ะ โ ต๊ ะ @ ชุ ม พ ร
Phato
ประวัติศาสตร์ชุมชน (LOCAL HISTORY)
ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
โดย
วิศวกรสังคม ตำบลพะโต๊ะ
มหาวิทยาลัย/สถาบัน ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โ ค ร ง ก า ร ย ก ร ะ ดั บ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ สั ง ค ม ร า ย ตำ บ ล แ บ บ บู ร ณ า ก า ร
(๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย)
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Table of contents
3 ขนาดและที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ 4-5
แม่น้ำ
ลักษณะภูมิอากาศ
6-8 ทรัพยากรธรรมชาติ
การคมนาคม
ประวัติความเป็นมา 11
ของชุมชน
32 โครงสร้างชุมชน โครงสร้างด้าน
เศรษฐกิจและอาชีพ
33
36 ความเชื่อ ประเพณี
และพิธีกรรม
สถานที่สำคัญ 37
41 การเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมและวัฒนธรรม
การดำเนินโครงการ 47
ยกระดับเศรษฐกิจ
และสังคมรายตำบล
แบบบูรณาการ
49 การพัฒนาสัมมาชีพ
และสร้างอาชีพใหม่
การสร้างและพัฒนา 54
56 การนำองค์ความรู้
ไปช่วยบริการชุมชน
การส่งเสริมด้านสิ่ง 57
แวดล้อม
Table of contents
01
TABLE OF CONTENTS
ขนาดและที่ตั้ง
ลักษณะภูมิประเทศ
แม่น้ำ
ลักษณะภูมิอากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติ
การคมนาคม
3 location
องค์การบริหารส่วนตำบลพะโต๊ะ จัดตั้งเป็นหน่วย
บริหารงานราชการท้องถิ่นตามพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน
ที่ 30 มีนาคม 2539 ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ทั้งหมด 225,879
ไร่ หรือ61.406 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่บ้านใน
เขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 17 หมู่บ้าน ที่ทำการองค์การ
บริหารส่วนตำบลพะโต๊ะ ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 7 ตำบล
พะโต๊ะ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดชุมพร ห่าง
จากที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะประมาณ3กิโลเมตรตามทางหลวง
หมายเลข4006
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และอำเภอท่าชนะ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1, 5 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1, 4 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร
4
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน มีลักษณะ
ภูมิประเทศเป็นทิวเขาต่อกันเป็นแนวยาวสลับซับซ้อน มีห้วย
ลำธารมาก มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน คือแม่น้ำหลังสวน มีที่ราบ
เล็กน้อย ได้แก่พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ พื้นที่ที่
เป็นที่ราบที่ใช้ทำการเพาะปลูกมีน้อย ส่วนมากเป็นที่ราบแถบเชิง
เขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเหล่านี้เหมาะแก่การเพาะปลูกอย่าง
ยิ่ง เพราะมีปุ๋ยในดินอย่างอุดมสมบูรณ์พื้นที่ป่าสงวนเป็นป่าดิบ
ชื้นส่วนมากขึ้นอยู่ตามที่ราบเชิงเขาและบนภูเขาสูง ลำน้ำที่สำคัญ
คือแม่น้ำหลังสวนซึ่งมีต้นน้ำจากภูเขายายหม่น ซึ่งเป็นเขากั้น
แดนระหว่างอำเภอพะโต๊ะกับอำเภอเมืองระนอง
แม่น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ตำบลพะโต๊ะ คือแม่น้ำ
หลังสวนซึ่งเป็นสายหลักและก่อกำเนิดแม่น้ำลำคลองหลายสาย
เช่น คลองแย คลองช้าง คลองหรั่ง คลองปะติมะ คลองทับขอน
คลองจาก ส่งผลประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภคในชีวิต
ประจำวันตลอดปี
5
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ได้รับอิทธิพลจากมรสุมทั้งสองฤดู คือมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่
เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากอิทธิพลมรสุมดังกล่าว พื้นที่ตำบลพะโต๊ะ
จึงได้รับปริมาณน้ำฝนมากทั้งสองฤดูโดยเฉพาะด้านมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น
ช่วงที่ได้รับฝนมากที่สุด จึงเกิดน้ำหลากและน้ำท่วมอย่างฉับพลันเป็นบริเวณกว้างแต่
ได้มีการระบายน้ำฝนไปยังพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งน้ำธรรมชาติลำห้วย ลำคลอง
ต่าง ๆ ฉะนั้นในฤดูฝนจึงมีปัญหาน้ำขังน้อยลง สามารถแบ่งฤดูได้ 3 ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้เป็นช่วงของฤดูมรสุมจะมี
ลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนทั่วไป
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และนำร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้เป็นระ
ยะๆ จึงทำให้ฝนตกมากตลอดฤดู
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวัน
ออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลง
ทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็น
6
natural resources
น้ำ
ตำบลพะโต๊ะ มีแหล่งแม่น้ำลำคลองในพื้นที่ซึ่งไหลมา
รวมกันกับแม่น้ำหลังสวนประกอบด้วย ฝาย จำนวน 9
แห่ง บ่อน้ำตื้น จำนวน 4 แห่ง บ่อโยก จำนวน 7 แห่ง
สระน้ำจำนวน 4 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่
ตำบลพะโต๊ะ คือแม่น้ำหลังสวนซึ่งเป็นสายหลักและก่อ
กำเนิดแม่น้ำลำคลองหลายสาย เช่น คลองแย คลองช้าง
คลองหรั่ง คลองปะติมะ คลองทับขอนคลองจาก ส่งผล
ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน
ตลอดปี
ป่าไม้
ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
พะโต๊ะ มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีค่าเศรษฐกิจ
มากมาย เช่น ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้หลุมพอ ไม้จำปา ฯลฯ
และเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้นซึ่งมีพื้นที่ป่าที่
เชื่อมพื้นที่ของจังหวัดระนองและจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่ง
เป็นช่วงปลายของเทือกเขาตะนาวศรี และอยู่ติดกับพื้นที่ป่า
สงวนแห่งชาติพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรงและป่า
แห่งชาติป่าละแม
natural resources
7
ภูเขา
ตำบลพะโต๊ะมีภูเขาสูงชัน มีลักษณะเป็นทิวเขาต่อกันเป็นแนวยาวสลับซับ
ซ้อน ด้วยลักษณะที่เป็นภูเขาที่สลับซับซ้อนนี้เองทำให้เกิดลำธารต่าง ๆ จำนวน
มากมาย
คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
พะโต๊ะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีสภาพป่า
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และน้ำตกที่สวยงาม ก่อให้เกิดกิจกรรมที่น่าสนใจ
สำหรับผู้ที่รักและชอบธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสน่ห์ของพะโต๊ะ คือกิจกรรมการเที่ยวป่าและ
ล่องแพ มีแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารไหลมารวมกันกับแม่น้ำหลังสวนมีต้นน้ำ
8
การคมนาคม noitatropsnarT
การคมนาคมของตำบลพะโต๊ะ ปัจจุบันมีทางหลวง
จังหวัดเลขที่ 4006 จากสามแยกวังตะกอ สายจากอำเภอ
หลังสวนตัดผ่านตำบลพะโต๊ะไปยังจังหวัดระนอง โดยมีระยะ
ทางจากประมาณ43 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงท้อง
ถิ่นตัดผ่านตำบล หมู่บ้านต่าง ๆ ทำให้การสัญจรไปมาทำได้
สะดวกกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก
การโทรคมนาคม(Telecommunications capacity)
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข(Telegraph office) 1 แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ(Other telecommunications
station) - แห่ง
การไฟฟ้า(Electricity authority)
ไฟฟ้าในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพะโต๊ะ อยู่
ในความรับผิดชอบและดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จังหวัดระนอง ในปัจจุบันสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่ว
ถึงทุกครัวเรือน
02
TABLE OF CONTENTS
ประวัติความเป็นมาชุมชนโครงสร้าง
ชุมชน
โครงสร้างด้านเศรฐกิจและอาชีพ
ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม
สถานที่สำคัญ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ
วัฒนธรรม
11
ประวัติความเป็นมาของชุมชน
เมืองพะโต๊ะเป็นเมืองโบราณในอาณาจักรศรีวิชัย มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุของ
ชาวจูเกาะ พ.ศ. 1766 และในพงศาวดารจีนราชวงศ์สูง พ.ศ. 1503- 1822 โดยแต่
เดิมเมืองพะโต๊ะมีชื่อว่า “เมืองปะตา” ที่แปลว่า ตกหรือเหว ซึ่งเป็นเพราะลักษณะ
ภูมิประเทศของอำเภอพะโต๊ะที่มีเทือกเขาซับซ้อนสลับกับที่ราบลุ่มมีสินค้าสำคัญ ได้แก่
หวาย ยางกิโนแดง ไม้ดำหอม หมาก และมะพร้าว
ในยุครัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปีพุทธศักราช 2399
พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง) ได้เป็นเจ้าเมืองหลังสวนจึงได้ยกฐานะ
บ้านพะโต๊ะตะวันออกเป็นหัวเมืองใย โดยให้ขุนภักดีราษฎร์ (ใย ภักดี) เป็นเจ้าเมือง
รวมทั้งยกฐานะบ้านพะโต๊ะตะวันตกเป็นเมืองทอย ซึ่งหัวเมืองทั้งสองมีหน้าที่ส่งอากร
เมืองหลังสวนเป็นประจำทุกปี โดยหัวเมืองใย(บ้านพะโต๊ะตะวันออก)และหัวเมือง
ทอย(บ้านพะโต๊ะตะวันตก)มีหน้าที่ในการปกครองดูแลทุกข์สุขของประชาชนและ
ควบคุมดูแลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกิดขึ้นในท้องที่ และในปี พ.ศ.2422 ได้มีการทำ
เหมืองแร่ดีบุกขึ้นที่บ้านปากทรงมีการนำคนจีนเป็นจำนวนมากเข้ามาทำเหมืองแร่ จึง
ทำให้อำเภอพะโต๊ะ กลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
สภาพพื้นที่ตำบลพะโต๊ะ ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนกับพื้นที่ราบ พะโต๊ะมี
ทั้งหมด 19 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านเขาตะเภาทอง หมู่ที่ 2 บ้านท่าไทร
หมู่ที่ 3 บ้านไสงอ หมู่ที่ 4 บ้านควน หมู่ที่ 5 บ้านบึงขุดหมู่ที่ 6 บ้านในหยาน หมู่
ที่ 7 บ้านท่าตีน หมู่ที่ 8 บ้านพะโต๊ะ หมู่ที่ 9 บ้านปากเลข หมู่ที่ 10 บ้านในจอก หมู่
ที่ 11 บ้านห้วยกุ้งทอง หมู่ที่ 12 บ้านตรัง หมู่ที่ 13 บ้านห้วยขอน หมู่ที่ 14 บ้านปะติ
มะ หมู่ที่ 15 บ้านในจูน หมู่ที่ 16 บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 17 บ้านศรีสมุทร หมู่ที่ 18 บ้าน
ประสานมิตร หมู่ที่ 19 บ้านปิยภูมิ
12
หมู่ที่ 1 บ้านเขาตะเภาทอง
มีพื้นที่ทั้งหมด 12000 ไร่ มีพื้นที่ทำการเกษตร 4200 ไร่ พื้นที่ ที่เหลือเป็นป่า
สงวนแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติมีหน่วยงานรับผิดชอบคือ หน่วยพิทักษ์
อุทยานแห่งชาติ นง.2 คลองแย มีครัวเรือนทั้งหมด 186 หลังคาเรือน มี
ประชากรทั้งหมด 668 คน เป็นพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลังสวน มีฝนตกตลอดปีและมีฝนชุกหนักตั้งแต่เดือน
พฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเมือง “ฝน 8 แดด 4” ตั้ง
อยู่ทางหลวงหมายเลข 4006 สายราชกรูด-หลังสวน ห่างจากที่ว่าการอำเภอ
พะโต๊ะ 7 กิโลเมตร จากศาลากลางจังหวัด 140 กิโลเมตร
-อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดกับหมู่ที่ 18
ทิศใต้ ติดกับหมู่ที่ 14
ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเมือง จังหวัดระนอง
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. น้ำตกเหวม่วง
2. โฮมสเตย์
3. จุดพายแพ
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. ทุเรียนทอด
2. มังคุด
3. กลุ่มเลี้ยงผึ้ง
4. น้ำหมัก
5. เครื่องจักรสาน
6. กล้วยฉาบ
- งานประเพณี
1.งานพายแพ
2. สงกรานต์
3. ทำบุญปีใหม่
13
หมู่ที่ 2 บ้านท่าไทร
บ้านท่าไทรสมัยก่อน เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเป็น
หมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำหลังสวน และมีต้นไทรใหญ่ตั้ง
อยู่ริมคลองในหมู่บ้าน ซึ่งจะมีชาวบ้านมานั่งพักผ่อนอยู่ที่ริมคลองต้นไทรใหญ่ จึง
เป็นที่มาของหมู่บ้านท่าไทร และเมื่อก่อนเป็นหมู่บ้านที่มีว่าการอำเภอ โรงพัก
โรงเรียน และวัดอยู่ในหมู่บ้าน ต่อมาได้มีน้ำท่วมเกือบทุกปี ชาวบ้านจึงได้ย้ายไป
อยู่กันที่อื่นเกือบหมด และส่วนที่นาถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งจำนวนมากจึงเป็นหมู่บ้านที่
มีประชากรน้อยมาจน ถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ 0.8 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล หมู่ที่ 2 จำนวนประชากรรวม
ทั้งสิ้น 36 คน 24 ครัวเรือน
- มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับคลองแม่น้ำหลังสวน
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 4
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 3
ทิศตะวันตก ติดต่อกับคลองแม่น้ำหลังสวน
- สถานที่ท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา วัดแหลมทราย
- ไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
14
หมู่ที่ 3 บ้านไสงอ
ชุมชนบ้านไสงอ แต่เดิมเป็นพื้นที่ว่างเปล่าต่อมามีผู้คนอพยพมามากจากอำเภอไชยา
เป็นพวกแรกที่มาตั้งถิ่นฐานเป็นคนนับถือศาสนาอิสลามมาหักล้างถางป่าเพื่อปลูกข้าว
ชื่อตาแจ๊ะบังเหม็ดพังเหรียงยายหนูพุกเป็นต้นและได้ย้ายไปถางที่อื่นและเป็นที่รกร้าง
จึงเรียกว่า“ ป่าไส” และในหนองน้ำมีพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งเรียกว่า“ หัวงอ” ผู้คนเริ่ม
อพยพเข้ามาหลายคนและได้จับจองพื้นที่งอ” ตั้งแต่บัดนั้นมาเพื่อปลูกข้าวผลไม้และ
พบ“ ป่าไส” และหนองน้ำนั้นมีหัวงอขึ้นอยู่มากมายจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า“ บ้านไสงอ”
ตั้งแต่บัดนั้นมา หมู่ที่ 3 ตำบลพะโต๊ะตั้งอยู่ในอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพรห่างจาก
อำเภอพะโต๊ะไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดชุมพรไปทางทิศใต้ 140
กิโลเมตร ประชากรรวมทั้งสิ้น 140 คนแยกเป็นชาย 24 คนหญิง 66 คน
- มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 11
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 4
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 6
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 2
- ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นพื้นที่ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
- ไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน
- งานประเพณีบ้านไสงอไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีเพียงประเพณีทั่วไป เช่น
งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
15
หมู่ที่ 4 บ้านควน
เดิมหมู่บ้านชื่อ คันธมาตุ บุปผาราม แปลว่า คนหรือภูเขา บุปผา แปลว่า ดอกไม้
รวมแปลว่า อาราม ยังมีวัดอีกแห่งหนึ่งเรียกว่าวัดนอกต่อมาวัดนอกได้ร้างไปชาว
บ้านร่วมใจได้ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ไปอยู่ที่บ้านควนกลาง เลยตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่า
คันธมาตุ บุปผารามหรือวัดควนดอกไม้ อดีตเจ้าอาวาสจำพรรษาบูรณะ เช่นหลวง
นวล หลวงพ่อวัน ต่อมาได้ร้างไปอีก ไม่นานหลวงพ่อนามได้ขึ้นมาบูรณะ หลังจาก
นั้นหลวงพ่อผ่องมาลาสิขา ต่อมาหลวงพ่อจำเริญท่านก็ได้ดับไปอีกหลวงพ่อมหา
คำรามหรือพระครูวรธรรมธาดา ดับไปเช่นกันและปัจจุบันมีพระอาจารย์มหาทัศนัย
ทสสนีโย และมีผู้ใหญ่บ้าน 8 คน 1.นายหีต เกิดสมบัติ 2.นาย
เรือง เกตุนิคม 3.นายพัฒน์ มีกูล 4.นายหีต กรดทอง 5.นายรวย แย้มจรัส 6.
นายวาศน์ แน่งน้อย 7.นายสมโชค สุขสวัสดิ์ 8.นายโอภาส นบนุ่น (คนปัจจุบัน)
มีพื้นที่ 1.5 ตารางกิโลเมตรจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลหมู่
ที่ 4 ชาย 98 คน หญิง 95 คน 60 ครัวเรือน อาชีพหลักของชุมชน คือ
เกษตรกรรม
- มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่19
ทิศใต้ ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 3
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 5
- สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา วัดควนดอกไม้
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ไม้กวาดดอกอ้อ
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
16
หมู่ที่ 5 บ้านบึงขุด
หมู่บ้านก่อตั้งมา 50 กว่าปีแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2532 พายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งเดิมเป็น
พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย ได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุ
ไต้ฝุ่นและเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต และสร้างความเสียหายอย่างมากในพื้นที่
ของจังหวัดชุมพรทั้งยังส่งผลกระทบต่อจังหวัดใกล้เคียงตามชายฝั่งอ่าวไทย ตลอดจน
จังหวัดตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเมื่อ พ.ศ. 2540 พายุโซนร้อนซีต้ากระหน่ำ ทำให้
เกิดอุทกภัยเกิดน้ำท่วมหนัก จนบ้านเรือนของชาวบ้านในพื้นที่ต้องจมอยู่ใต้บาดาล
สร้างความเสียหายอย่างมาก เส้นทางการคมนาคม ทั้งสะพาน ทางรถยนต์และทาง
รถไฟ ถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง ไม่มีกระแสไฟฟ้า และไม่มีระบบสื่อสัญญาณเชื่อมโยง
หลังจากเกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2540 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์
เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจาก
อุทกภัยครั้งนี้ โดยที่บ้านเรือนของราษฎรในหมู่บ้านนี้ได้รับความเสียหายประมาณ 6-7
หลังคาเรือน น้ำพัดพาสัตว์เลี้ยงลอยหายไป และรัฐบาลได้มอบงบประมาณมาให้เพื่อ
ฟื้นฟูสิ่งต่าง ๆที่เสียหาย ชาวบ้านได้ร่วมมือช่วยกันทำถนนคอนกรีต ได้แก่ ถนนสาย
ดอยเจริญ ปากโศก มีประชากรจำนวน 195 คน 107 หลังคาเรือน ประชากรส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำสวน ผลไม้ เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด
-อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่8
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่19
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่4
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่9
- ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน
- ไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
17
หมู่ที่ 6 บ้านในหยาน
บ้านในหยานสาเหตุที่ตั้งชื่อ หมู่บ้านว่าในหยาน เรียกตามไม้ไผ่ชนิดหนึ่งคือ ไผ่หยาน
ซึ่งเมื่อก่อนในหมู่บ้านไม้ไผ่ชนิดนี้มีอยู่มากตามหมู่บ้าน คำว่า ในหยาน คือหมู่บ้านตั้ง
อยู่ลึกเข้าไปจากตัวอำเภอจึงเรียกว่าบ้านในหยาน มีคนเข้าอยู่ประมาณ ปี พ.ศ. 2430
เพราะว่าในหมู่บ้านมีที่สาธารณะของหมู่บ้านคือ ทุ่งสงวนสัตว์เลี้ยงและมีหลักฐานการ
แจ้งที่สำนักงานที่ดิน อำเภอพะโต๊ะ แจ้งไว้เมื่อปี พ.ศ. 2484 เนื้อที่ 1,500 ไร่ ตาม
หลักฐานการแจ้งชื่อ นายเขียน สังขโรทัย ซึ่งปัจจุบันสอบถามคนที่มีอายุในหมู่บ้านไม่รู้
จักนายเขียน สังขโรทัยจึงสันนิษฐานว่าน่าจะมีคนเข้ามาอาศัยก่อนปี พ.ศ. 2430 ใน
หมู่บ้านตระกูลที่เข้ามาอยู่ในรุ่นแรกๆ มีดังนี้
1. ตระกูลศรีสมยศ โดย นายปาน ศรีสมยศ ซึ่งเป็นพ่อตาของนายน้อย อินเกล้า
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
2. ตระกูลอินเกล้า โดยนายน้อย อินเกล้า อพยพมาจาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3. ตระกูลล้วนเล็ก โดยนายแจ้ง ล้วนเล็ก อพยพมาจาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จำนวนประชากร 580 คน เป็นผู้ชาย 310 คนและ ผู้หญิง 270 คน จำนวนครัว
เรือน 183 ครัวเรือน มีนายประภาส อินเกล้า เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันประชากรส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ได้แก่ ทำสวนผลไม้คือ มังคุด, ทุเรียน, เงาะ,
ลองกอง, กาแฟ, สวนน้ำมันปาล์ม, ยางพาราและรับจ้าง
- มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่9
ทิศใต้ ติดต่อกับพระรักษ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับปากทรง
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. จุดล่องแพประจำปีหมู่บ้าน
2. จุดเดินป่า
3. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. ไม้กวาดดอกอ้อ
2. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผลไม้
- งานประเพณี
1. งานกีฬาประจำปีหมู่บ้าน วันที่24-30มีนาคมของทุกปี
2. งานเทศกาลล่องแพ เดือนกุมภาพันธ์
3. สงกรานต์ เดือน เมษายน 4. ออกพรรษา เดือน ตุลาคม
เดิมทีหมู่ที่ 7 บ้านท่าตีนเป็นที่ทำการกิ่ง 18
อำเภอพะโต๊ะ ที่บ้านขี้หนอน หรือเรียกว่า
“ห้วยขี้หนอน” ในปัจจุบันนี้ ซึ่งตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 7 บ้านท่าตีน
เขตอิทธิพลของเสือวิไล แต่กิ่งอำเภอไม่
สามารถอยู่ได้ต้องหลบอิทธิพลของเสือวิไล -มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ไปตั้งกิ่งอำเภอที่บ้าน กำนันต่วน ใยภักดี ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 14
ซึ่งเป็นหมู่ที่ 2 ในปัจจุบัน บ้านท่าตีน ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 8
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน
คนสมัยก่อนใช้สัญจรทางน้ำโดยอาศัยเรือที่ ทิศตะวันตก ติดกับหมู่ที่ 15
ขุดจากต้นไม้ เป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์ไป - สถานที่ท่องเที่ยว
ด้วยไม้พันธุ์นานาชนิด มีประชากรมากและ 1. สุประดิษฐ์ทัวร์
อยู่ใกล้แม่น้ำ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบ 2. รุกขมรดกของแผ่นดิน สวนทุเรียน 200
อาชีพเกษตรกรรม ทำนาทำไร่ ครั้นเมื่อฤดู ปี
น้ำหลาก เกิดน้ำท่วมบ่อยๆ ชาวบ้านเลย 3. น้ำตกเหวเตย
อพยพหนีน้ำมาอยู่ที่ราบสูง เหลืออยู่ไม่กี่ - ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
หลังคาเรือนบ้านท่าตีน ตามประวัติความ 1. กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัตอาลี
เป็นมา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่อยู่ของ (ปลาไหลเผือก)
ชาวอิสลามและเป็นผู้มาตั้งรกราก ประกอบ 2. ตงกัตอาลีชนิดแคปซูล
อาชีพการทำเหมืองแร่ การค้าขายจะตั้ง 3. ยาเหลืองสมุนไพรแม่มะลิ
บ้านเรือนอยู่ริมคลอง เพราะตามหลักฐาน 4. ไม้กวาดดอกอ้อ
และคำเรียกชื่อ บางคำมีสำเนียงเป็นภาษา 5. ทุเรียนทอด
อิสลาม คนอิสลามเรียกทิศว่า “ประ” เช่น 6. ผลไม้กวน (ตามฤดูกาล)
ทิศตะวันออกเรียกว่า “ประออก” ทิศ - งานประเพณี
ตะวันตก เรียกว่า “ประตก” ทิศใต้เรียกว่า
“ประตีน” หรือ ท่านั้น ท่านี้ ต่อมาได้พูด 1. งานวัดประจำปี จัดขึ้นในเดือนเมษายน
เพี้ยนไปเป็นภาษาไทยว่า “ประตก” คือ ของทุกปี ที่วัดปะติมะ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่
“บ้านท่าตก” และประตีนก็ได้พูดเพี้ยนเป็น ได้สร้างวัดปะติมะ
“ท่าตีน” ดาโต๊ะ ก็คือ พะโต๊ะในปัจจุบัน
พื้นที่ทิศใต้บางส่วนอยู่ภายใต้การกำกับ
ดูแลของเทศบาลตำบลพะโต๊ะ บ้านท่าตีน
มีจำนวน 152 ครัวเรือน ประชากร 393
คน
19
หมู่ที่ 8 พะโต๊ะ
บ้านพะโต๊ะเดิมคือ พะโต๊ะตะวันตก เรียกว่าท่าตก มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายรุ่ง หนู
วงษ์ หมู่บ้านท่าตกเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอพะโต๊ะจากหมู่ที่ 2
บ้านท่าไทร มาตั้งในพื้นที่สงวนของทางราชการ หมู่ที่ 8 ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า
ดอนขุนริช เพราะเป็นที่ราบสูงพ้นจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วมไม่ถึง ต่อมาได้มีส่วน
ราชการ คือ สถานีตำรวจและสถานีอนามัย โรงพยาบาล ผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน ชื่อ
นายนพดล ฤทธิกุล อายุชุมชน 100 กว่าปีบ้านพะโต๊ะ มีประชากรรวมทั้งสิ้น
640 คน ประกอบอาชีพ ทำเกษตร ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ
- มีอาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ ๗
ทิศใต้ ติดต่อกับคลองแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับคลองแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับคลองแม่น้ำหลังสวน
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. ล่องแพพะโต๊ะ
2. เปิดเมืองกินฟรี
3. เดินวิ่งฝ่าทะเลหมอก
4. จุดกางเต็นท์ตอนเช้าชมทะเลหมอกตอนดึกชมทะเลดาว
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. น้ำมันมะพร้าว
2. ทุเรียนกวน
3. ตะกร้าสาน
- งานประเพณี
1.ประเพณีสงกรานต์
หมู่ที่ 9 บ้านปากเลข
20
หมู่ที่ 9 บ้านปากเลข
บ้านปากเลขมีประวัติความเป็นมามากกว่า 100 ปี จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในพื้นที่
ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ จากการให้ข้อมูลของนายขรรค์ชัย กิ่งน้ำฉ่า
ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน เล่าว่า ในอดีตผู้คนใช้การสัญจรทางน้ำมาตามลำคลองพะโต๊ะ เมื่อ
เดินทางมาถึงสามแยกที่เรียกกันว่า “ปากคลองเลข” (เลข คือ เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ
ชนิดหนึ่ง) โดยการพูดของคนภาคใต้เป็นการพูดที่รวดเร็วเน้นความเข้าใจเป็นหลัก จึงกลาย
เป็นคำพูดติดปากว่า “ปากเลข” ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนจึงเปลี่ยนเป็นการสัญจรทางบก
มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบว่า เดิมที โรงเรียนบ้านปากเลข ไม่ได้มีอาคารถาวรดัง
เช่นปัจจุบัน เป็นเพียงการเรียนการสอนตามบ้านเรือนของคนในชุมชน เรียกว่า“เรียนใต้ถุน
บ้าน” ต่อมาจึงได้มีการสร้างอาคารเรียนและก่อตั้งเป็นโรงเรียนบ้านปากเลข เมื่อ พ.ศ.
2494 บ้านปากเลข มีพื้นที่ 3,000 ไร่ 135 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 476 คน อาชีพ
หลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน -สถานที่ท่องเที่ยว
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 10 1. ล่องเรือคายัค
ทิศใต้ ติดกับคลองพะโต๊ะ 2. ชมสวนผลไม้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 15 3. มาลินล่องแพ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลปากทรง - ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1.เครื่องแกง
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีเพียงประเพณีทั่วไป เช่น งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
21
หมู่ที่ 10 บ้านในจอก
เดิมชื่อหมู่บ้าน บ้านในเจาะ เนื่องจากมีการขุดเจาะดินจากภูเขาเพื่อการทำเหมือง
แร่ดีบุก ประกอบกับมีคลองไหลผ่านหมู่บ้าน ชื่อคลองเจาะ ลักษณะของคลองเจาะ
มีที่ราบริมคลองเพียงเล็กน้อย ราษฎรได้เข้ามาอยู่อาศัยทำกินอยู่บริเวณสองริม
ฝั่งคลองเจาะ ลักษณะเหมือนเจาะเข้าไปอยู่ลึกมากจึงเรียกว่า บ้านในเจาะ ได้ออก
เสียงชื่อหมู่บ้านผิดเพี้ยนไปจากเดิมเป็น“บ้านในจอก”ตั้งแต่นั้นมา บ้านในจอกมี
พื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3,000 ไร่ 273 ครัว
เรือน ประชากร 779 คน อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม ผู้ใหญ่บ้านคน
แรกคือ นายเบี้ยว นุ้ยสอน
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปากทรง
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่9
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่14
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่15
-สถานที่ท่องเที่ยว
1.เขาสามเหลี่ยม
-ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. หมูกระจก แม่สายทอง
2.ขนมจีนหลากสี
3. กระเป๋าสาน
4. ไม้กวาดดอกอ้อ
-ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีเพียงประเพณีทั่วไป เช่น งานบวช งานขึ้นต้น
บ้านใหม่ เป็น
22
หมู่ที่ 11 บ้านห้วยกุ้งทอง
บ้านห้วยกุ้งทอง ตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อพ.ศ.2520 ขึ้นอยู่กับตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร ในสมัยนั้นโดยมีนายจำเริญ มณีพร้อย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก คำว่า
ห้วย หมายถึง ระหว่างทิวเขาสลับซับซ้อนตรงกลางเป็นร่องน้ำไหลมาจากทิวเขา
สำนักจวง คือเป็นทิวเขาที่สูงอยู่ในเขตระหว่างหมู่ที่ 11 กับหมู่ที่ 3 บ้านไสงอมี
สายน้ำผ่านหมู่ที่ 11 สู่แม่น้ำหลังสวนและมีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยนานาชนิดคือมีปลากุ้ง
และสัตว์น้ำอื่น ๆ ฯลฯ คำว่ากุ้ง หมายถึง ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมห้วยยอดของ
ไม้ชนิดนั้นมีรสเปรี้ยวมากชาวบ้านนิยมใช้ยอดมาปรุงอาหาร (แกงส้มกุ้ง) และเรียกไม้
ชนิดนั้นว่าต้นส้มกุ้ง คำว่าทอง หมายถึง การบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นเปรียบเสมือนมีอู่ข้าวอู่ทองหรือที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ในบ่อ
เงินบ่อทองและคำว่า ห้วย คำว่า กุ้ง คำว่า ทอง มารวมกันแล้วเรียกกันจนติดปาก
ว่าห้วยกุ้งทองจนกระทั่งผู้ก่อตั้งหมู่บ้านมีชื่อว่าห้วยกุ้งทองจนถึงปัจจุบันนี้ มีพื้นที่
4000 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขต อบต. ประชาการประมาณ 276 คน อาชีพหลัก
ของชุมชน คือ เกษตรกรรม
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ตรงข้ามหมู่ที่ 1
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 3
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 17 และอำเภอละแม
ทิศตะวันตก ตรงข้ามหมู่ที่ 7
- ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. จักรสาน
2. ผูกไม้กวาด
3. ขุดเรือ
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
23 จากนั้นนายชำนาญ ง้วนชู ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่
บ้านคนต่อมา โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 10 มกราคม
หมู่ที่ 12 บ้านตรัง 2522 และได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2
พฤศจิกายน 2541 หลังจากนั้น นายนิวัตทิพย์ บุญ
เดิมได้มีนายเกลือนซึ่งเป็นคนพื้นเพจากหลังสวน ทรัพย์ ได้ดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคน
ได้ทำเรือขึ้นมาเพื่อรับส่งสินค้าจากพะโต๊ะไป ปัจจุบัน โดยมีนายประสงค์ สาทะกิจ และนายจำลอง
หลังสวน เส้นทางนี้นายเกลือนได้ล่องเรือขึ้นลง ตั้งประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีนายโสภณ จันทร์
เป็นประจำ เกิดพอใจในพื้นที่ในแถบนี้มากจึงได้ ลำภู เป็นรองนายกอบต. นายอรุณ ปฐมพรหมมา
รวบรวมสมัครพรรคพวกญาติพี่น้องมาปลูกบ้าน และนางสุกัญญา อาจศรี เป็นสมาชิกอบต. ประวัติ
อยู่ในบ้านตรัง (ปัจจุบัน) นายเกลือนได้บุกเบิกป่า บ้านตรังตำนานเล่าขานกันมาคือบ้านกลางต่อมาได้
พร้อมกับพรรคพวกประมาณ 3-4 หลังคาเรือน กลายเป็นบ้านกรังเพื่อความสวยงามจึงได้เปลี่ยนเป็น
นับเป็นกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านตรังตอน บ้านตรัง มีพื้นที่ 3801 ไร่ 38010 ตารางกิโลเมตร
นั้น และนับเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย มีจำนวนประชากรในพื้นที่ 566 คน 226 หลังคา
ทรัพยากรธรรมชาติมากมายอีกทั้งสัตว์ป่าก็ชุกชุม เรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการ
การทำมาหากินก็สะดวก ต่อมาไม่นานชาวบ้าน เกษตร เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และ
เกิดเป็นไข้น้ำล้มตายกันเกือบทั้งบ้านส่วนที่เหลือก็ สวนผลไม้
กลับไปอาศัยอยู่ที่หลังสวนเหมือนเดิมทิ้งสวนทิ้งไร่ -อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
จนเป็นป่าอีกครั้ง นานนับ 10 ปี ได้มีนายคล้อย ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำหลังสวน
ซึ่งนับเป็นน้าหลวงของนางทรัพย์ ปฐมพรหมมา
ได้พาญาติพี่น้องมาอยู่อีกครั้ง ทิศใต้ ติดกับเขตป่าละแม
ตอนนั้นบ้านตรังยังรวมอยู่กับหมู่ที่ 1 ซึ่งมีผู้ใหญ่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ 5 ตำบลพระรักษ์
มิตร ฤทธิเดชเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่เพราะหมู่บ้าน ทิศตะวันตก ติดกับหมู่ 17 ตำบลพะโต๊ะ
ตรังเป็นเส้นทางที่ไกลไปมาไม่สะดวกเท่าที่ควร จึง - สถานที่ท่องเที่ยว
ได้ลงความเห็นให้นายคล้อยเป็นผู้ใหญ่บ้าน นับ 1. น้ำตกศรีตรัง
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านตรัง โดยทำ
อาชีพเกษตรกรปลูกผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด 2. สถานที่ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
และมะพร้าว เพื่อนำไปขายในตลาดหลังสวน แต่ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช
ต่อมาคนในหมู่บ้านเกิดเป็นไข้ป่ากันมาก จะพาไป นครินทร์
หาหมอก็ไม่สะดวกเพราะยังต้องใช้เรือลำเลียง
คนไข้จึงได้ทิ้งสวนทิ้งได้กลับไปหลังสวน ต่อมาไม่ 3. สวนใหญ่นานรีสอร์ท
นานได้มีนางหีบไม่ทราบนามสกุลที่แน่นอน แต่ 4. ทุ่งเลี้ยงหญ้า มีพื้นที่ 300-400 ไร่ ของกรม
ปัจจุบันคือนางพรหมได้รวมสมัครพรรคพวกญาติพี่ ป่าไม้ (กำลังสร้าง)
น้องมาอาศัยพร้อมด้วยนางชิดนางซับมีพรรคพวก -ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
พี่น้องประมาณห้าถึงหกหลังคาเรือนได้ลงความ 1. ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน
เห็นว่าจะต้องคัดเลือกผู้นำหมู่บ้านขึ้นมาอีกครั้งจึง 2. มีภูมิปัญญาชาวบ้าน การทำเครื่องจักรสาน เช่น
ได้มีมติให้ นายส้วน เพชรนาค ลาออกจาก กรอมสอยมังคุด ไซดักปลา
ตำแหน่ง -ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
24
หมู่ที่ 13 ห้วยขอน
จากการเล่าขานของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านว่า เดิมมีลำห้วยใหญ่และขอนไม้ในลำห้วย
ใหญ่ ชาวบ้านผู้บุกเบิก และคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้
ว่า “บ้านห้วยขอน” มาจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านห้วยขอน แยกมาจากหมู่ที่ 1 ตำบล
พะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2520 มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 4 คน คน
แรก คือ นายเชาวลิตร แดงศรีธรรม ดำรงตำแหน่งนานถึง 17 ปี คนที่สอง คือ นาย
อาดูร สงบุญรอด ดำรงตำแหน่งนานถึง 10 ปี คนที่สาม คือ นายนิโรจน์ ทิพย์บุญ
ทรัพย์ ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน คือ นายทินกร อำพันมณี หมู่ที่
13 ห้วยขอน มีจำนวนครัวเรือน 115 ครัวเรือน มีประชากร 398 คน ผู้ชาย 197 คน
และมีผู้หญิง 201 คน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกร อาชีพ
เสริม ได้แก่ ค้าขาย และ เลี้ยงสัตว์
-อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดกับหมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์
ทิศใต้ ติดกับหมู่ที่ 12 และ แม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดกับหมู่ที่ 16 ตำบลพะโต๊ะ
ทิศตะวันออก ติดกับหมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์
-ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
-ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. เครื่องจักรสาน
2. ทุเรียนทอด
-บ้านห้วยขอนไม่มีประเพณีในชุมชน แต่มีประเพณีทั่วไป เช่น งานบวช วันสงกรานต์
วันขึ้นบ้านใหม่ วันพระใหญ่
25
หมู่ที่ 14 บ้านปะติมะ
ที่มาของชื่อหมู่บ้านด้วยเหตุผลว่าทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีคลองปะติมะเป็นแนวกั้นระหว่าง
หมู่บ้านกับพื้นที่หมู่ 5 บ้านท่าคืนตำบลพะโต๊ะจึงใช้ชื่อคลองปะติมะเป็นชื่อของหมู่บ้านในสมัย
ก่อนได้มีตั้งหลายคณะหลบหนีการกวาดล้างของทางราชการเข้ามาอาศัยอยู่คณะที่มีชื่อเสียง
มากคืออั้งยี่เจ้าฟ้าดอกมะเดี่ยและต่อมาได้เกิดโรคไข้ห่าหรือใช้น้ำระบาดผู้คนล้มตายจำนวนมาก
ส่วนที่เหลือได้อพยพไปอยู่ที่อื่นจากประวัติที่เล่าต่อ ๆ กันมาพื้นที่แถบนี้ตั้งเดิมเคยเป็นถิ่นที่อยู่
อาศัยของชาวมุสลิม และสันนิษฐานว่าเชื่อคลองมาจากภาษาของมุสลิมโดยคำว่าปะหมายถึงพ่อ
ต๊ะหมายถึง แม่ ฉะนั้นชื่อคลองปะติมะน้ำ จะหมายถึง คลองพ่อคลองแม่ หรืออีกนัยหนึ่งว่า
เป็นคลองสายหลัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าตลกขบขันเกี่ยวกับบ้านปะติมะว่าในอดีตที่การ
คมนาคมยังไม่สะดวกมีครอบครัวชาวมุสลิมอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยการเดินทางก็ใช้การเดิน
เท้าใช้เวลาเดินทางนาน ๆ ก็เหนื่อยอ่อนเป็นธรรมดาประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วย
ภูเขา ทำให้การเดินทางลำบากมุสลิมครอบครัวนี้อุ้มลูกจูงหลานพร้อมกับสัมภาระมากมาย เมื่อ
เหนื่อยอ่อนก็ทำให้หงุดหงิดพาลทะเลาะกันเมื่อเดินทางมาถึงคลองแห่งนี้ก็หยุดพัก แต่ก็ยังไม่
วายทะเลาะกันฝ่ายผู้เป็นพ่อก็เกิดบันดาลโทสะตบดีผู้เป็นแม่ลูก ๆ ต่างก็เข้าห้ามปรามปะดีมะ
ตรงคลองนั่นเองนับ แต่นั้นมาคลองเล็ก ๆ แห่งนี้ก็ได้ชื่อว่าคลองปะดีมะและต่อมาก็เพี้ยนไปว่า
ปะดิมะมาจนทุกวันนี้บ้านปะติมะแยกมาจากบ้านเขาตะเภาทองหมู่ที่ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะ
เมื่อ พ.ศ. 2530 โดยผู้นำในขณะนั้นคือ นายมิตร ฤทธิเดช และต่อมาได้มีการเลือกผู้นำ
หมู่บ้านขึ้น เมื่อปีเดียวกันโดย นายสุคนธ์ ลิมปรัชดาวงศ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกจน
กระทั่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ได้เกษียณอายุเป็นเวลา 25 ปีเศษและนายสุรัตน์ ลิมปรัช
ดาวงศ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงปัจจุบันราษฎร
ส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากหลายพื้นที่เช่น อำเภอหลังสวน อำเภอละแม จังหวัดลพบุรี จังหวัด
จันทบุรี และ จังหวัดทางภาคอีสานพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน เป็นเขตป่าสงวนป่าอนุรักษ์
อุทยานแห่งชาติที่ นง. 2 ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรเช่น สวนกาแฟ ปาล์ม
น้ำมัน ยางพารา หมากมะพร้าว และ สวนผลไม้เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง ลางสาด เงาะ
ขนุน ฯลฯ
26
หมู่ที่ 14 บ้านปะติมะ
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. น้ำตกคลองหรั่ง
2. น้ำตกเหวพร้าว
3. น้ำตกเหวเตย
4. ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เดินป่า, ตั้งแคมป์
5. ท่องเที่ยววิถีเกษตร ช้อป ชิม ชม ผลไม้ตามฤดูกาล
6. ล่องแพไม้ไผ่/ล่องแก่ง
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. ข้าวเหนียวกวน
2. กาละแม
3. ขนมขี้มอด
4. ทุเรียนทอด
5. ทุเรียนกวน
6. แยมมังคุด
7. มังคุดกวน
8. น้ำมังคุด
9. มังคุด
10. ผงกล้วยดิบ
11. เต้าส้อ
12. ไม้กวาด
13. กระเป๋า
14. กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง น้ำยาล้างจาน น้ำซักผ้า น้ำยาล้างจาน
- ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
27
หมู่ที่ 15 บ้านในจูน
เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านในจูนปี พ.ศ. 2526 ตอนนั้นนายธงชัย แสงสวัสดิ์ ซึ่งเป็นคน
เพชรบุรี ได้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน หลังจากนั้นจึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาปี
พ.ศ. 2532 นายธงชัย แสงสวัสดิ์ จึงเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก หมู่ที่ 15 มีการผลัก
ดันแหล่งท่องเที่ยว คือ เขาพ่อตาจีนจอด ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานน้ำตกหงา
วอยู่ ที่จังหวัดระนองหมู่ที่ 15 แยกจากหมู่ที่ 8 เขตสุขาภิบาล ตำบลพะโต๊ะ มีพื้นที่
18 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 91 ครัวเรือน ผู้ชาย 151 คน และผู้หญิง 163 คน
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม และสวน
ผลไม้
-อาณาเขตหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 7
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 9
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 8
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขาพ่อตาจีนจอด
-สถานที่ท่องเที่ยว
1.เขาพ่อตาจีนจอด
-ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ในชุมชน
-ไม่มีประเพณีเฉพาะของชุมชน มีแต่ประเพณีทั่วไป
28
หมู่ที่ 16 คลองช้าง
เดิมชื่อเป็นบ้านห้วยขอน ในปี พ.ศ. 2542 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นบ้านคลองช้าง และได้
แยกออกจากหมู่ 13 ที่ได้ชื่อคลองช้างเพราะมีคลองและมีช้างมาเล่นน้ำ ผู้ใหญ่บ้านคน
แรก คือ นายเจือ จันทรธรรมผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันชื่อ นายอติ พุทธิปิลันธน์
-อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 13
ทิศใต้ ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 18
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 13
-สถานที่ท่องเที่ยว
1.ดอยตาพัน
-ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. กล้วยเล็บมือนางอบแห้ง
2. ทุเรียนทอด
-ไม่มีประเพณีในชุมชน แต่มีประเพณีทั่วไป เช่น งานบวช วันสงกรานต์ วัน
ขึ้นบ้านใหม่ วันพระใหญ่
29
หมู่ที่ 17 บ้านศรีสมุทร
ชุมชนบ้านศรีสมุทรเป็นชุมชน 1 ใน 19 หมู่บ้านของตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร หมู่บ้านศรีสมุทร หมู่ที่ 17 ตั้งหมู่บ้านเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.
2534 โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายจีรพล แสงแจ่ม จากนั้นได้สร้างสำนักสงฆ์
คลองจากปี พ.ศ. 2536-2537 ปัจจุบันมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายประยูร สุปันดี โดยได้
รับการแต่งตั้งวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2507 มีครัวเรือนทั้งหมด 202 หลังคาเรือน
มีประชากรทั้งหมด 480 คน เป็นพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 11
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 12
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับป่าละแม
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. น้ำตกคลองจาก
2. จุดกางเต้นท์ชมวิว
3. โฮมสเตย์บ้านชาวสวน
4. ค่ายลูกเสือของตำบลพะโต๊ะ
5. เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชมสัตว์
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. ไม้กวาดดอกอ้อ
2. ขนมโรตีกรอบ
3. เย็บตับใบจาก
- งานประเพณี
1. ประเพณีสวดกลางบ้าน
2. ประเพณีสงกรานต์
3. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
30
หมู่ที่ 18 บ้านประสานมิตร
ความเป็นมาชื่อประสานมิตรเนื่องจากสมัยก่อนไม่มีถนนเข้าหมู่บ้านชาวบ้านจึงร่วม
แรงร่วมใจกันขุดถนนเข้าหมู่บ้านด้วยเหตุนี้จึงนำความประสานสามัคคีของชาวบ้าน
มาตั้งชื่อหมู่บ้านประสานมิตร โดยมีผู้ใหญ่ บุญเตือน ชนะปักษ์ เป็นผู้ใหญ่คนแรก
ได้ 1 สมัย และผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาชื่อ นายกรีธา สุขศิริ เป็นผู้ใหญ่บ้านมาถึง
ปัจจุบันชุมชนบ้านประสานมิตรประกอบด้วยคนที่เข้ามาอยู่จากหลากหลายพื้นที่
ส่วนมากมาจากอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัด
นครศรีธรรมราช และภาคอีสาน ปัจจุบันหมู่บ้านประสานมิตรมีครัวเรือนทั้งหมด 151
ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 526 คน เป็นผู้ชาย 255 คน และเป็นผู้หญิง 271
คน ประชากรทั่วไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม 145 ครัวเรือน ทำการค้าขาย 4
ครัวเรือน และรับราชการ 2 ครัวเรือน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านการ
ศึกษาของสมาชิกในชุมชนบ้านประสานมิตรนั้นสามารถอ่านออกเขียนได้ทุกคน
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 1 - ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ทิศใต้ ติดต่อกับแม่น้ำหลังสวน 1. น้ำยาล้างจาน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 16 2. เครื่องแกงส้ม
ทิศตะวันตก ติดต่อหมู่ที่1 3. ทุเรียนทอด
- สถานที่ท่องเที่ยว 4. ไวน์มังคุด
1. ล่องแพแลหมอก 5.ปุ๋ยหมักชีวภาพ
2. จุดกางเต้นท์ชมวิว - งานประเพณี
3. โฮมสเตย์บ้านชาวสวน 1. ประเพณีสวดกลางบ้าน
2. ประเพณีสงกรานต์
3. ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
31
หมู่ที่ 19 บ้านปิยะภูมิ
บ้านปิยะภูมิแยกตัวออกมาจากหมู่ที่ 6 บ้านในหยาน เมื่อปี พ.ศ.2538 โดยอดีต ท่านนาย
อำเภอวีระ ศรีวัฒนตระกูล นายอำเภอพะโต๊ะสมัยนั้นได้เป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่าบ้านปิยะภูมิแปลความ
หมายได้ว่า “แผ่นดินอันเป็นที่รัก” แต่ชาวบ้านและคนส่วนใหญ่ในอำเภอพะโต๊ะเรียกว่า บ้าน
หลางตาง คำว่า หลางตาง เป็นไม้เนื้ออ่อนชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่มากในหมู่บ้านครั้งอดีตชาวบ้านจึง
เรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อต้นไม้ว่า หลางตาง ซึ่งปัจจุบันไม้หลางตางมีอยู่จำนวนน้อยสาเหตุการ
ทำลายของชาวบ้านหมู่บ้านหลางตาง เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางป่า สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับ
สับซ้อนเนื้อที่ในหมู่บ้านหลางตาง (ทั้งลุ่มแม่น้ำ) รวม 55,250 ไร่ พื้นที่ทำกิน 4,550 ไร่ ชาว
บ้านหลางตางส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร กาแฟ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ
- อาณาเขตของหมู่บ้าน/ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 5
ทิศใต้ ติดต่อกับท่าชนะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับละแม
ทิศตะวันตก ตรงข้ามกับหมู่ที่ 6
- สถานที่ท่องเที่ยว
1. เดินป่า
2. ล่องแพ
3. จุดแคมป์ปิ้งทั้งริมแม่น้ำและในป่า
- งานประเพณี
1. ประเพณีผ้าป่ากาแฟ
2. ประเพณีไหว้ลาน
3. ประเพณีไหว้ศาลตาปู่
4. ประเพณีไหว้สวน
- ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
1. การทำไม้กวาดดอกอ้อ
2. การทำเรือ
3. การเลี้ยงจิ้งหรีด
4. การทำบายศรี
5. การทำปลาร้า
6. การเลี้ยงไหม
32 erutcurtS ytinummoC
33
Economic structure
and career
โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ
การเกษตร
พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 52,610 ไร่ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบด้วย การทำสวนกาแฟ ทำสวนปาล์ม
น้ำมัน ทำสวนผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลางสาด ลองกองกล้วย เงาะ
สวนยางพารา ฯลฯ
34
การประมง
การประมงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
พะโต๊ะ ไม่มีอาชีพทำการประมงในเชิงธุรกิจเป็น
อาชีพหลัก เนื่องจากมีพื้นที่แหล่งน้ำเฉพาะแหล่งน้ำ
ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่ประชาชน
สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเกษตร
การปศุสัตว์
เกษตรกรในพื้นที่ตำบลพะโต๊ะส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์
เพื่อเป็นอาชีพเสริมและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัว
เรือนและจำหน่ายสัตว์ที่เลี้ยงกันมาก ได้แก่ ไก่พื้น
เมือง โคเนื้อ และสุกร สำหรับไก่พื้นเมืองที่เลี้ยง
เพื่อจำหน่าย ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
การบริการ
มีโรงเรียน 4 แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็ก 2 แห่ง มี
รีสอร์ทในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง มีค้าร้านจำหน่าย
ปุ๋ยและอุปกรณ์ทางการเกษตร จำนวน 3 ร้าน
การท่องเที่ยว
พะโต๊ะมีสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น น้ำตก
คลองหรั่ง น้ำตกเหวเตย น้ำตกเหวม่วง น้ำตก
ศรีตรัง น้ำตกปะติมะ น้ำตกเหวพร้าว และมีการ
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เดินป่าธรรมชาติ ชมดอกบัว
ผุด แคมป์ปิ้ง ล่องแก่ง และล่องแพ พร้อมชมทะเล
หมอกในตอนเช้า
35
อุตสาหกรรม
มีอู่ซ่อมรถจำนวน 4 แห่ง
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
มีร้านค้าจำหน่ายปุ๋ยและอุปกรณ์ทางการ
เกษตร จำนวน 3 ร้าน มีลานรับซื้อ
ปาล์มน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง มีแหล่ง
ผลิตน้ำดื่มจำหน่าย จำนวน 2 แห่ง
แรงงาน
การใช้แรงงานในภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่
จะใช้แรงงานภายในครัวเรือน โดย เฉลี่ย
ครัวเรือนละ 2-3 คนต่อครัวเรือน สำหรับ
เกษตรกรรายใหญ่จะใช้แรงงานคนจาก
ต่างด้าว สัญชาติพม่า
36
การนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลพะโต๊ะ ส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ สถาบันและองค์กรทาง
ศาสนา ประกอบด้วย วัด จำนวน 1 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำทุเรียนกวน ทุเรียนทอด มังคุดกวน กล้วยเล็บมือนางอบ
แห้งการทำ ไม้กวาดจากดอกอ้อ การทำสะตอดอง การจักรสารเข่ง และอื่น ๆ
ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาใต้
ประเพณีและงานประจำปี
- งานพายแพ
- สงกรานต์
- ทำบุญปีใหม่
- งานกีฬาประจำปีหมู่บ้าน วันที่24-30มีนาคมของทุกปี
- งานเทศกาลล่องแพ เดือนกุมภาพันธ์
- สงกรานต์ เดือน เมษายน
- ออกพรรษา เดือน ตุลาคม
- งานวัดประจำปี จัดขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี ที่วัดปะติมะ เพื่อระลึกถึง
เหตุการณ์ที่ได้สร้างวัดปะติมะ
- ประเพณีสวดกลางบ้าน
- ประเพณีผ้าป่ากาแฟ
- ประเพณีไหว้ลาน
- ประเพณีไหว้ศาลตาปู่
- ประเพณีไหว้สวน
- ประเพณีแข่งขันเรือยาว
- ประเพณีทอดผ้าป่ากาแฟหลางตาง
LANDMARK37
หมู่ที่ 1 บ้านเขาตะเภาทอง
- น้ำตกเหวม่วง
- โฮมสเตย์
- จุดพายแพ
หมู่ที่ 2 บ้านท่าไทร
- สถานที่ท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา วัดแหลมทราย
หมู่ที่ 4 บ้านควน
- สถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา วัดควนดอกไม้
หมู่ที่ 6 บ้านในหยาน
- จุดล่องแพประจำปีหมู่บ้าน
- จุดเดินป่า
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
หมู่ที่ 7 บ้านท่าตีน
- สุประดิษฐ์ทัวร์
- รุกขมรดกของแผ่นดิน สวนทุเรียน 200 ปี
- น้ำตกเหวเตย
หมู่ที่ 8 พะโต๊ะ
- ล่องแพพะโต๊ะ
- เปิดเมืองกินฟรี
- เดินวิ่งฝ่าทะเลหมอก
- จุดกางเต็นท์ตอนเช้าชมทะเลหมอกตอนดึกชมทะเลดาว
หมู่ที่ 9 บ้านปากเลข
- ล่องเรือคายัค
- ชมสวนผลไม้
- มาลินล่องแพ
หมู่ที่ 10 บ้านในจอก
- เขาสามเหลี่ยม
38
หมู่ที่ 12 บ้านตรัง
- น้ำตกศรีตรัง
- สถานที่ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง
นราธิวาสราชนครินทร์
- สวนใหญ่นานรีสอร์ท
- ทุ่งเลี้ยงหญ้า มีพื้นที่ 300-400 ไร่ ของกรมป่าไม้ (กำลังสร้าง)
หมู่ที่ 14 บ้านปะติมะ
- น้ำตกคลองหรั่ง
- น้ำตกเหวพร้าว
- น้ำตกเหวเตย
- ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เดินป่า, ตั้งแคมป์
- ท่องเที่ยววิถีเกษตร ช้อป ชิม ชม ผลไม้ตามฤดูกาล
- ล่องแพไม้ไผ่/ล่องแก่ง
หมู่ที่ 15 บ้านในจูน
- เขาพ่อตาจีนจอด
หมู่ที่ 16 คลองช้าง
- ดอยตาพัน
หมู่ที่ 17 บ้านศรีสมุทร
- น้ำตกคลองจาก
- จุดกางเต้นท์ชมวิว
- โฮมสเตย์บ้านชาวสวน
- ค่ายลูกเสือของตำบลพะโต๊ะ
- เดินป่า เที่ยวน้ำตก ชมสัตว์
หมู่ที่ 18 บ้านประสานมิตร
- ล่องแพแลหมอก
- จุดกางเต้นท์ชมวิว
- โฮมสเตย์บ้านชาวสวน
หมู่ที่ 19 บ้านปิยะภูมิ
- เดินป่า
- ล่องแพ
- จุดแคมป์ปิ้งทั้งริมแม่น้ำและในป่า
39
LANDMARK
สถานที่สำคัญ
40
41 noitidnoc laicos
สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 6 แห่ง
3. สาธารณสุข
- โรงพยาบาลประจำอำเภอ 1 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 17 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง
- สำนักงานสาธารณะสุขอำเภอ 1 แห่ง
- สำนักงานส่วนมาลาเรีย 1 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ที่พักสายตรวจ 2 แห่ง
42
สภาพทางเศรษฐกิจ
1. อาชีพประชากรส่วนใหญ่ของตำบลพะโต๊ะ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น
- การทำสวนกาแฟ
- การทำสวนปาล์มน้ำมัน
- การทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด
ลางสาด ลองกอง กล้วย
- เงาะ ส้มโชกุน
- การทำสวนยางพารา
2. หน่วยธุรกิจในเขต เทศบาล. / อบต.
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่
จำนวน 2 แห่ง
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก
จำนวน 8 แห่ง
- มีธนาคาร 2 แห่ง ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์ และธนาคารออมสิน
- มีสหกรณ์ 1 แห่ง คือ สหกรณ์อำเภอ
พะโต๊ะ
- มีร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง (เซเว่น-อี
เลฟเว่น)
43
การบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลพะโต๊ะ ปัจจุบันมีทางหลวงจังหวัดเลขที่ 4006 จาก
สามแยกวังตะกอ สายจากอำเภอหลังสวนตัดผ่านตำบลพะโต๊ะไปยังจังหวัดระนอง
โดยมีระยะทางจากประมาณ43 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงท้องถิ่นตัด
ผ่านตำบล หมู่บ้านต่าง ๆ ทำให้การสัญจรไปมาทำได้สะดวกกว่าแต่ก่อนเป็นอัน
มาก
2. การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
3. การไฟฟ้า
ไฟฟ้าในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพะโต๊ะ อยู่ในความรับผิดชอบและ
ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง ในปัจจุบันสามารถให้บริการได้
ครอบคลุมทั่วถึงทุกครัวเรือน
4. แหล่งน้ำธรรมชาติ
ตำบลพะโต๊ะ มีแหล่งแม่น้ำลำคลองในพื้นที่ซึ่งไหลมารวมกันกับแม่น้ำ
หลังสวนประกอบด้วย ฝาย จำนวน 9 แห่ง บ่อน้ำตื้นจำนวน 4 แห่ง บ่อโยก
จำนวน 7 แห่ง สระน้ำจำนวน 4 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ตำบล
พะโต๊ะ คือแม่น้ำหลังสวนซึ่งเป็นสายหลักและก่อกำเนิดแม่น้ำลำคลองหลายสาย
เช่น คลองแย คลองช้าง คลองหรั่ง คลองปะติมะ คลองทับขอนคลองจาก ส่งผล
ประชาชนมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวันตลอดปี
03