TABLE OF CONTENTS
การดำเนินงานโครงการยกระดับ
เศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณ
าการ
การพั ฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพ
ใหม่(การยกรับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น
ๆ)แม่น้ำ
การสร้างและพั ฒนา CREATIVE
ECONOMY (การยกระดับการท่อง
เที่ยว)
การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
(HEALTH CARE/เทคโนโลยีด้านต่าง
ๆ)
การส่งเสริมด้านสิ่ง
แวดล้อม/CIRCULAR
ECONOMY(การเพิ่ มรายได้หมุนเวียน
ให้แก่ชุมชน)
47
การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณา
การ
ระบบกลไกโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณา
การ ในพื้นที่บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย จังหวัด
สุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง จึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ เพื่อ
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ได้รับการจ้างงาน ประชาชน และหน่วยงานภายนอก
ดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาตำบล 5 กิจกรรมประกอบด้วย
1. กิจกรรมการผลิตวิศวกรสังคม
2. กิจกรรมวิศวกรสังคมเก็บรวบรวมข้อมูล
3. กิจกรรมวิศวกรสังคม ระดมความคิดเห็นเพื่อบูรณาการผสานองค์ความรู้
4. กิจกรรมวิศวกรสังคมร่วมกับทุกศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและชุมชนลงพื้นที่ยก
ระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชน
5. กิจกรรมวิศวกรสังคมร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชนทั้ง 82
ตำบลถือเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนโดยอาศัยความรู้และ
นวัตกรรมต่าง ๆจากมหาวิทยาลัยนอกจากนั้นยังดำเนินการเรื่องการประชาสัมพันธ์
โครงการทั้งในการปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยและภาคสนามในพื้นที่ที่รับผิด
ชอบทั้ง 82 พื้นที่ทางมหาวิทยาลัยได้มีแนวคิด “วิศวกรสังคม” ขึ้นมา ซึ่งคำว่า
วิศวกรสังคมนั้น จะสร้างให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์เป็นระบบมีเหตุและผล สามารถ
ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการ
บุคลากรในการพัฒนาประเทศ โดยมีคุณลักษณะหลัก 4 ประการ ได้แก่ มีทักษะ
การคิดวิเคราะห์เชิงเหตุและผล เห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย มีทักษะในการสื่อสาร
องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง
สามารถระดมทรัพยากรและสรรพกำลังในท้องถิ่นมาร่วมแก้ปัญหา และมีทักษะการ
สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาบนฐานข้อมูลชุมชน โดยประสานความร่วมมือกับภาคี
เครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน สร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชนในการ
สร้างสรรค์ พัฒนาท้องถิ่น และเพิ่มศักยภาพประชาชนให้สังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน
48
เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ
เศรษฐกิจโดยการนำเครื่องมือมาใช้ในชุมชน เช่น การจัดทำนาฬิกาชีวิต จัดทำไทม์ไลน์ชีวิต
สำรวจข้อมูลพื้นฐาน จปฐ. วิถีชีวิต ได้เข้าถึงชีวิตประจำวันของชาวบ้านเพื่อการแก้ปัญหาให้ตรง
จุดและรู้จักความเป็นอยู่ของชาวบ้านตำบลพะโต๊ะ
U2T มรส. ส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชน บูรณาการศาสตร์สร้างสัมมาชีพ ยกระดับคุณภาพ
ชีวิตมุ่งเน้นแก้ปัญหาความยากจนเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามศาสตร์ที่
มีอยู่สร้างสัมมาชีพช่วยบริการชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน 15 ครัวเรือนในพื้นที่ ตำบล
พะโต๊ะ ในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ University to Tambon
(U2T) สู่การบูรณาการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน
เพื่อสร้างความมั่นคงในการใช้ชีวิต เสริมองค์ความรู้สู่การสร้างรายได้ที่ยังยืน ซึ่งมหาวิทยาลัย
จะทำหน้าที่พัฒนาสร้างคนให้คนไปสร้างงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความ
ต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
โดยในครั้งนี้มหาวิทยาลัยได้สร้างหลักสูตรสัมมาชีพจากสาขาวิชาต่าง ๆเพื่อแก้ไข
ปัญหาความยากจน จากสาขาวิชาธุรกิจอาหาร คณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ หลักสูตรอาหาร
และโภชนาการ หลักการประกอบอาหาร สุขาภิบาลและกฎหมายอาหาร อาหารไทย ขนมไทย
อาหารนานาชาติ เบเกอรี่ อาหารเพื่อสุขภาพ การบริหารและวางแผนในธุรกิจอาหาร จากคณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชา เทคโนโลยีการประมง ได้แก่ หลักสูตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สาขาวิชา ชีววิทยา ได้แก่ หลักสูตรการผลิตปุ๋ยชีวภาพ การทำก้อนเชื้อเห็ด การผลิตชีวภัณฑ์
ควบคุมโรคพืช สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและโภชนาการ ได้แก่การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักและ
ผลไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญชาติ
การแปรรูปเครื่องดื่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแปรรูป การยืดอายุ
ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GHP,GMP) สาขาวิชา
เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักสูตรการปลูกผักด้วยระบบหมุนเวียนบ่อเลี้ยงปลาด้วย
พลังไฟฟ้าโซลาร์เซลล์
คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชา นิติศาสตร์ ได้แก่ หลักสูตรการให้ความรู้ทางด้าน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ และกฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้อง วิทยาลัยนานาชาติ
การท่องเที่ยว สาขาวิชา อุตสาหกรรมบริการ วิชาเอกการโรงแรม ได้แก่หลักสูตรส่งเสริมอาชีพ
การทำขนมไทย ส่งเสริมอาชีพผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และการแปรรูป ส่งเสริมอาชีพการทำเครื่องแกง
และอาหารแปรรูปพร้อมทาน คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ได้แก่หลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชา จิตรกรรม
ได้แก่ หลักสูตรการเขียนสีน้ำมันบนภาชนะต่าง การเขียนภาพทั่วไป สาขาวิชา การเมืองการ
ปกครอง ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสำนักจัดการทรัพย์สิน ในหลักสูตรการ
จำหน่ายน้ำดื่มราชพฤกษ์ รวมกว่ากว่า 30 หลักสูตร
ทั้งนี้ตำบลพะโต๊ะได้สำรวจความต้องการของครัวเรือนยากจน 15 ครัวเรือน ให้
สอดคล้องกับระบบกลไกเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ตามจุดประสงค์และเป้าหมายสู่
ตำบลความพอเพียงและยั่งยืนต่อไป
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกรับ49
สินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) การยกระดับผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี (ต้นปลาไหลเผือก)
ตามที่ประเมินได้ กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลีถือเป็นอาชีพหนึ่งที่
สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในตำบลปังหวานซึ่งการทำผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทย
ผสมตงกัสอาลีนั้นเกิดมาจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆร่วมกันทำผลิตภัณฑ์
กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลีขึ้นมา เพื่อสร้างรายได้ใช้ในการดำเนินชีวิต โดย
การทำผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลีนั้นต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์
โดยการตากแดดธรรมชาติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
ในการบรรจุเพื่อการจำหน่ายนั้น ยังไม่ได้คุณภาพ เก็บผลิตภัณฑ์ในระยะยาวไม่ได้
เนื่องจากชาวบ้านนั้นขาดความรู้ทางด้านการถนอมอาหาร และการทำบรรจุภัณฑ์ จึง
ต้องมีการจัดกิจกรรม การยกระดับผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลีให้ได้
รับ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้ และเป็นแนวทางยกระดับของ
ผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลีให้มีมาตรฐาน และมีคุณภาพที่ดีขึ้น มี
ความทันสมัย ในการจัดทำกิจกรรมดังกล่าวนี้ผู้ดำเนินงานได้เชิญวิทยากร ที่มีความรอบรู้
ทางด้าน ผลิตภัณฑ์ กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี บรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ เช่น การสร้างเพจ การกระจายข่าว การทำบรรจุภัณฑ์มาให้ความรู้แก่ชาว
บ้าน ซึ่งในการดำเนินงานมีชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และจาการประเมินนั้น
ถือว่าชาวบ้านมีความสนใจ และมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี
(ต้นปลาไหลเผือก) ผงกล้วยดิบชนิดแคปซูล และแยมมังคุด และส่งเสริมการขาย
ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลสื่อออนไลน์ สามารถส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด
ผลิตภัณฑ์ของสินค้าในชุมชน ให้มีผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจแก่ตลาดมากขึ้น อีกทั้งผล
ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีตรา และฉลากสินค้า
ใหม่ให้แก่ชุมชน มีบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ให้ความดึงดูดลูกค้ามากขึ้น และมีช่องทางการ
ขายเพิ่มมากขึ้น
50
การออกแบบเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ผงกล้วยดิบชนิด
แคปซูล
ตามที่ประเมินได้ ในพื้นที่ตำบลพะโต๊ะมีการปลูกกล้วย
เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะออกผลผลิตตลอดทั้งปี เมื่อได้
ผลผลิตจากการปลูกกล้วยนั้นก็จะเป็นการนำกล้วยมาวาง
ขายกันในชุมชน ซึ่งชาวบ้านกลุ่มเล็กๆได้ตั้งกลุ่ม “แปรรูป
ผลิตผลทางการเกษตรละวัสดุอื่นๆในท้องถิ่น” ทั้งนี้การทำ
แพ็คเกจหรือลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นการใส่แคปซูลและใส่ถุง
ซิบ เนื่องจากชาวบ้านจึงขาดความรู้ในการออกแบบ
แพ็คเกจผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และการนำกล้วยมาแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เราจึงได้เชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านนี้มาให้ความรู้เกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ ผงกล้วย
ดิบแคปซูล บรรจุภัณฑ์ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น
การสร้างเพจ การกระจายข่าว การทำบรรจุภัณฑ์ มาให้
ความรู้แก่ชาวบ้าน ซึ่งในการดำเนินงานมีชาวบ้านที่สนใจ
เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และจากการประเมินนั้นถือว่าชาว
บ้านมีความสนใจ และมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์
ไทยผสมตงกัสอาลี (ต้นปลาไหลเผือก) ผงกล้วยดิบชนิด
แคปซูล และแยมมังคุด และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ด้วย
เทคโนโลยีดิจิตอลสื่อออนไลน์ สามารถส่งเสริมและพัฒนา
ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของสินค้าในชุมชน ให้มีผลิตภัณฑ์ที่มี
ความน่าสนใจแก่ตลาดมากขึ้น อีกทั้งผลประโยชน์จากการ
เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีตรา
และฉลากสินค้าใหม่ให้แก่ชุมชน มีบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ให้
ความดึงดูดลูกค้ามากขึ้น และมีช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น
51
การออกแบบเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แยมมังคุด
ตามที่ประเมินได้ ในพื้นที่ตำบลพะโต๊ะมีการปลูกมังคุดเป็นเป็นอาชีพเดิมอยู่แล้ว ซึ่ง
เป็นกลุ่มชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีถ้าจะตั้งกลุ่มขึ้นมาเรียกว่า “กลุ่มแปรรูปผลิตผล
ทางการเกษตรละวัสดุอื่น ๆในท้องถิ่น” ซึ่งจะได้น้ำผึ้งตามฤดูกาล เมื่อได้ผลผลิตจาก
การปลูกมังคุดนั้นก็จะเป็นการนำมังคุดมาวางขายกันในชุมชน ทั้งนี้การทำแพ็คเกจหรือ
ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นการใส่ขวดโหล เนื่องจากชาวบ้านจึงขาดความรู้ในการออกแบบ
แพ็คเกจผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และการนำมังคุดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เราจึง
ได้เชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้มาให้ความรู้เกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์แยมมังคุด
บรรจุภัณฑ์ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น การสร้างเพจการกระจายข่าวการทำบรรจุ
ภัณฑ์ มาให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ซึ่งในการดำเนินงานมีชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมเป็น
จำนวนมาก และจากการประเมินนั้นถือว่าชาวบ้านมีความสนใจ และมีความรู้ความ
เข้าใจมากขึ้น
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี (ต้น
ปลาไหลเผือก) ผงกล้วยดิบชนิดแคปซูล และแยมมังคุด และส่งเสริมการขาย
ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลสื่อออนไลน์ สามารถส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด
ผลิตภัณฑ์ของสินค้าในชุมชน ให้มีผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจแก่ตลาดมากขึ้น อีกทั้ง
ผลประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวนั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีตรา และฉลาก
สินค้าใหม่ให้แก่ชุมชน มีบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ให้ความดึงดูดลูกค้ามากขึ้น และมีช่อง
ทางการขายเพิ่มมากขึ้น
52 Mushroom Cultivation
การทำก้อนเห็ด
ตามที่ประเมินได้ ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ทำให้หลายครอบครัวไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตประจำวันได้
อย่างมีความสุข เนื่องจากมีรายได้ต่อเดือนไม่สมดุลกับราย
จ่าย กล่าวคือ รายจ่ายที่ต้องจ่ายในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
การ"เพาะเห็ด" เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ สามารถสร้างราย
ได้ที่ดีและยังมีการลงทุนไม่สูง ทั้งในเรื่องของสถานที่ที่ใช้ก็ไม่
จำเป็นต้องมีมาก เพียงแค่โรงจอดรถ ในบ้านก็สามารถ
บันดาลให้เป็นที่เพาะเห็ดได้แล้ว แค่ผ่านการอบรมในเรื่องของ
การเพาะเห็ดอย่างถูกต้องตามหลักการก็ สามารถทำการเพาะ
เห็ดได้ การส่งเสริมให้เกษตรกร"เพาะเชื้อเห็ด"และ"เพาะ
เห็ด"จำหน่ายในท้องถิ่น ของ ตนเอง โดยเฉพาะเห็ดที่ทำการ
เพาะในถุงพลาสติกเช่น เห็ดนางฟ้า โดยเน้นปฏิบัติจริง
มากกว่าทฤษฎีเพื่อให้ ชาวเกษตรกรสามารถกลับไปประกอบ
อาชีพการเพาะเห็ดด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีดังนั้นจึงได้มีการ
จัดกิจกรรม การอบรมการเพาะเห็ดโดยได้เชิญวิทยากรที่มี
ความรู้มาช่วยแนะนำมีการแบ่ง ออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ
ประกอบด้วย การผลิตก้อนเชื้อเห็ดด้วยมือเปล่า รวมถึงการ
ผลิตก้อน เชื้อเห็ดด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมที่
ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดได้คุณภาพและรวดเร็วขึ้น นอกการเพาะเห็ด
แล้ว ยังมีการฝึกการนึ่งก้อนเชื้อเห็ด การหยอดเชื้อข้าวฟ่าง
การบ่มก้อนเชื้อเห็ด การเปิดดอกก้อนเชื้อเห็ด การสร้างโรง
เรือน การปรับอุณหภูมิ และเทคนิคที่ทำให้เห็ดออกดอก
จำนวนมาก ๆจะเน้นมากที่สุดคือการปฏิบัติจริง และในการ
อบรมครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากมี
การตอบรับที่ดี และชาวบ้านให้ความสนใจกันอย่างมาก
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ (ยังไม่สามารถจัดกิจกรรมได้)
53
การเลี้ยงปลาในบ่อสำเร็จ
ตามที่ประเมินได้ ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้
หลายครอบครัวไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตประจำวันได้ อย่างมีความสุข
เนื่องจากมีรายได้ต่อเดือนไม่สมดุลกับรายจ่าย กล่าวคือ รายจ่ายที่
ต้องจ่ายในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน การ"เลี้ยงปลา" เป็นอีกหนึ่ง
อาชีพที่น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้ที่ดีและยังมีการลงทุนไม่สูง ทั้ง
ในเรื่องของสถานที่ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องมีมาก เพียงแค่ใช้บ่อสำเร็จรูปใน
การเลี้ยงได้แล้ว แค่ผ่านการอบรมในเรื่องของการเลี้ยงปลาอย่างถูก
ต้องตามหลักการก็สามารถทำการเลี้ยงปลาได้ การส่งเสริมให้
เกษตรกร"เลี้ยงปลา"และจำหน่ายในท้องถิ่น ของ ตนเอง โดยเน้น
ปฏิบัติจริงมากกว่าทฤษฎีเพื่อให้ ชาวเกษตรกรสามารถกลับไป
ประกอบอาชีพการเลี้ยงด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดีดังนั้นจึงได้มีการจัด
กิจกรรม การอบรมการเลี้ยงปลาโดยได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้มาช่วย
แนะนำมีการแบ่ง ออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆประกอบด้วย การทำบ่อ
สำเร็จรูป รวมถึงการเลี้ยงปลา ด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรกล
อุตสาหกรรมที่ทำให้การเลี้ยงได้คุณภาพและรวดเร็วขึ้น นอกการเลี้ยง
ปลาแล้ว ยังมีการปรับอุณหภูมิ และเทคนิคที่ทำให้ปลามีเนื้อคุณภาพ
จะเน้นมากที่สุดคือการปฏิบัติจริง และในการอบรมครั้งนี้ถือว่าประสบ
ผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการตอบรับที่ดี และชาวบ้านให้
ความสนใจกันอย่างมาก
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ (ยังไม่สามารถจัดกิจกรรมได้)
54 การสร้างและพัฒนา Creative Economy
น้ำตกคลองหรั่ง หมู่ 14 บ้านปะติมะ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (การยกระดับการท่องเที่ยว)
ตามที่ประเมินได้ ในตำบลพะโต๊ะนั้นถือได้ว่าเป็นตำบลที่มีธรรมชาติ ที่มีป่า ภูเขา ที่
สวยงาม มีความร่มรื่นเย็นสบาย จากสายธารน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นแหล่งสะสมน้ำ
ใต้ดินบนภูเขาสูง ไหลมารวมตัวกันเป็นธารน้ำ ที่ชื่อว่าน้ำตกคลองหรั่ง ที่มีโครงสร้าง
ของผาหิน มี สภาพผืนป่ารอบข้างก็ยังเป็นตัวช่วยให้น้ำตกเกิดความงดงามน้ำตกที่
ไหลลงมาท่ามกลางผืนป่าดงดิบนั้น บริเวณของน้ำตกก็จะชุ่มชื้น เขียวขจี มีพืชเล็ก ๆ ที่
อาศัยละออง น้ำตกงอกงามขึ้นปกคลุมพื้นที่สวยงาม และสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ให้แก่ผู้คนที่ชอบธรรมชาติ ได้มาเยี่ยมชมความสวยงามชอบความสงบ ได้ชื่นชม
ธรรมชาติและเสียงสายน้ำที่ไหลลงจากน้ำตก แต่ทั้งนี้เนื่องจากน้ำตกเหนือเหวนั้นยัง
ขาดการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว น้อยคนหนักที่จะรู้จักที่นี่
ดั้งนั้นเราจึงเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่สวยงาม และยังคงยึดถือความธรรมชาติ โดยสร้างตลาดน้ำเพื่อจุดดึงดูด
และเป็นสถานที่เช็คอิน ให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยว และทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนใน
ชุมชน โดยการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆของชาวบ้านมาวางขายเช่น ผงกล้วยดิบผลิตภัณฑ์
กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี และอื่นๆและเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคน
รู้จักจึงมีการสร้างเพจ การทำสื่อ วีดีโอ เพื่อโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยว
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และได้วางแผน
เป้าหมายในการดำเนินการอย่างชัดเจน ชาวบ้านพร้อมต่อยอดกิจกรรมให้เป็นจริงตามที่
โครงการได้จัดขึ้นขึ้น ชาวบ้านได้มีความรู้ความสามารถในการดำเนิน และการเรียนรู้การ
ทำงานได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น
55
ลานกางเต็นท์ หมู่11 บ้านห้วยกุ้งทอง ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ตามที่ประเมินได้ ในตำบลพะโต๊ะนั้นถือได้ว่าเป็นตำบลที่มีธรรมชาติ ที่มีป่า ภูเขา ที่
สวยงาม มีความร่มรื่นเย็นสบาย จากสายธารน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำหลาย
สายมารวมตัวกันเป็นธารน้ำ ที่ชื่อว่าแม่น้ำพะโต๊ะ มี สภาพแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และ
เหมาะแก่การตั้งแคมป์ บริเวณของแม่น้ำมีจุดเล่นน้ำเยอะ มีธรรมชาติที่เขียวขจี มีพืชเล็ก
ๆ และสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้แก่ผู้คนที่ชอบธรรมชาติ ได้มาเยี่ยมชมความสวยงาม
ชอบความสงบ ได้ชื่นชมธรรมชาติและเสียงสายน้ำที่ไหลลงจากแม่น้ำ แต่ทั้งนี้เนื่องจาก
ลานกางเต็นท์ หมู่ 11 ยังขาดการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว น้อยคนหนักที่จะรู้จักที่นี่
ดังนั้นเราจึงเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่สวยงาม และยังคงยึดถือความธรรมชาติ โดยสร้างตลาดน้ำเพื่อจุดดึงดูด
และเป็นสถานที่เช็คอิน ให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยว และทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนใน
ชุมชน โดยการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆของชาวบ้านมาวางขายเช่น ผงกล้วยดิบผลิตภัณฑ์
กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี และอื่นๆและเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนรู้จัก
จึงมีการสร้างเพจ การทำสื่อ วีดีโอ เพื่อโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยว
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ จากการจัดกิจกรรมได้รับผลตอบรับจากชาวบ้านอย่างดี
และชาวบ้านในชุมชนพร้อมใจกันสานต่อกิจกรรมให้เป็นจริงตามฝัน ชาวบ้านในชุมชนมี
ความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจกัน
56
- พัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ไทยผสมตงกัสอาลี (ต้นปลาไหลเผือก) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
ผงกล้วยดิบชนิดแคปซูล และแยมมังคุด และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ด้วย (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ)
เทคโนโลยีดิจิตอลสื่อออนไลน์ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการส่งเสริมการขายและการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ การนำองค์ความรู้ด้านการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์
และด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดเกิดขึ้นแก่ชุมชน คนในชุมชนได้รับความรู้ในการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ ทำให้การว่างงานในชุมชนลดลง คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
- ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกคลองหรั่ง หมู่ 14 บ้านปะติมะลาน
กางเต็นท์ หมู่ 11 บ้านห้วยกุ้งทอง ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อ
พัฒนาช่องทางการขายหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปชุมชนตามแนววิถีใหม่
(new normal) การนำองค์ความรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการเพื่อยก
ระดับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและตลาดการค้าสินค้าชุมชน
เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน เนื่องจากกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอนชุมชนจะ
เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์โดยตรง
- พัฒนาสัมมาชีพเดิม และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่โดยการทำก้อนเชื้อเห็ด
การเลี้ยงปลาในบ่อสำเร็จ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนตำบลพะโต๊ะ
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
มีการบริหารจัดการทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพตาม
แนวทางการจัดการทฤษฎีใหม่ อีกทั้งการนำองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมมา
ประยุกต์ใช้ในชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและนำไปสู่การมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแก่ชุมชน ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ช่วยลดอัตราการ
ว่างงาน และยังเป็นช่องทางการสร้างรายได้เสริม
- ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัด
ชุมพร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามายกระดับด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ
การพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและ
การจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการมาประยุกต์ใช้
เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน เนื่องกระบวนการดำเนินงานชุมชนจะเข้ามามีส่วน
ร่วมในการพัฒนาแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
57
การส่งเสริมด้านสิ่แวดล้อม
/Circular Economy
(การเพิ่มรายได้หมุนเวียน
ให้แก่ชุมชน)
ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการล่อง
เรือเก็บขยะในแม่น้ำพะโต๊ะ
ตามที่ประเมินได้ ในตำบลพะโต๊ะ มีแม่น้ำ ลำธารที่
สวยงาม และมีนักท่องเที่ยวมาล่องเรือกันจำนวน
มาก ชาวบ้านจึงตั้งกลุ่มช่วยการเก็บขยะในแม่น้ำ
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ กิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลง
เป็นการจัดกิจกรรมในชุมชน และการบริหารจัดการ
ขยะในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือ และ
ความสามัคคีกันดีมาก
ส่งเสริมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการปลูก
ป่าในน้ำตกคลองหรั่ง
ตามที่ประเมินได้ ในตำบลพะโต๊ะ มีการธรรมชาติที่
สวยงาม และมีนักท่องเที่ยวเริ่มเข้ามากันอย่างต่อ
เนื่อง โดยมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้มีการจัดกลุ่มปลูก
ป่ารักษาทรัพยากรธรรมชาติอยู่แล้วในชุมชน ซึ่งมี
การปลูกป่าตลอดมา เนื่องจากยังขาดพันธุ์ไม้มา
ปลูกจำนวนมาก โดยนำพันธุ์ไม้มาจากต้นน้ำพะโต๊ะ
และนำมาปลูกที่อุทยานน้ำตกคลองหรั่งเพื่อรักษา
ธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้า
มาเยอะขึ้นและไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติที่
สวยงาม
**ผลลัพธ์ที่ได้รับ ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมใน
การปลูกป่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวและยังสามารถเพิ่ม
พื้นที่ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ภาพรวม
กิจกรรม
GALLERY PAGE
GALLERY PAGE
GALLERY PAGE
GALLERY PAGE