The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อ2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อ2565

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อ2565

บันทึกข้อความ ส่วนราชการ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่ ........................................................... วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เรื่อง รายงานผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อนวัตกรรมและวิจัยในชั้นเรียน เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมให้ครูศึกษาและพัฒนางานวิจัย จำนวน 1 ฉบับ ข้าพเจ้านางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมได้รับ มอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนและพัฒนา งานวิจัย ประจำปีการศึกษา 2565 บัดนี้การจัดกิจกรรม ได้ดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น สำเร็จลุล่วงตาม วัตถุประสงค์ที่วางไว้ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. งานพัฒนาสื่อนวัตกรรมและวิจัย ได้ดำเนินการรวบรวมและจัดทำเอกสารรายงานผลการ ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมให้ครูศึกษาและพัฒนางานวิจัย จำนวน 1 เล่ม เพื่อเสนอผลการดำเนินจัดกิจกรรม โดย มีผลการจัดกิจกรรมดังนี้ 1.1 ในปีการศึกษา 2565 ครูมีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 71 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 99.31 ของจำนวนครูทั้งหมด 72 คน 1.2 การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูแบ่งเป็นประเภท ดังนี้ - วิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 67 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 93.06 - วิจัยเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์จำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.94 2. ดำเนินงานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัย นวัตกรรม การเรียนการสอน และส่งเสริม ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปี การศึกษา 2565 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินผลการบริหารโครงการ/กิจกรรม เท่ากับ 4.77 ผลการ ประเมินการบริหารโครงการ/กิจกรรมในระดับดีมาก ข้าพเจ้า จึงขอรายงานผลการดำเนินโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น และรายละ เอียดอ ื่ นๆ ตามเอกสารดังแนบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณา ลงชื่อ…………………………..………… (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) หัวหน้างานวิจัยสื่อนวัตกรรมฯ


ความเห็นของผู้บริหาร ................................................................................. ................................................................................. ................................................................................. ความเห็นของผู้บริหาร ................................................................................. ................................................................................. ................................................................................. ลงชื่อ ................................................ (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


คำนำ รายงานผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาวิจัยสื่อนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565การดำเนินงานตามกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครูคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาสื่อและ นวัตกรรมการ เรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ทันสมัยและเพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย การดำเนินงาน ตามกิจกรรมนี้ได้เสร็จสิ้นการดำเนินงานแล้ว คณะผู้รับผิดชอบการดำเนินงานจึงจัดทำ รายงานผลการ ดำเนินงานต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดท ี่ปรากฏในข้อมูลการรายงานผลการดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อนวัตกรรมประจำปีการศึกษา 2565 คณะผู้จัดทำ งานวิจัยพัฒนาสื่อ นวัตกรรม การเรียนการสอน


สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 เป้าหมาย 1.4 งบประมาณ 1.5 การติดตามและประเมินผล 1.6 ผลที่ได้รับจากกิจกรรม บทที่ 2 ความรู้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินงานกิจกรรม บทที่4 ผลการประเมินกิจกรรม บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก - ปฏิทินการติดตามการพัฒนาสื่อวิจัย ปีการศึกษา 2565 - ทำเนียบรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน - ทำเนียบกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 - คำสั่ง/ภาพการดำเนินงานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัย นวัตกรรม การเรียนการสอน และส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 1 1 1 1 2 2 3 21 22 24 25


บทที่ 1 บทนำ 1.1 หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ครูใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ และในการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมหนึ่งที่สำคัญคือ ครูผู้สอนต้องรู้จักนักเรียนเป็น รายบุคคล รู้ความต้องการ ความสามารถ จุดเด่นและจุดด้อย เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนได้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ ใช้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ งานวิจัยที่ครูทำขึ้นเป็นงานวิจัยเพื่อทดลองจัดกิจกรรม ทดลองสอนโดยใช้สื่อที่ตนสร้างขึ้น แล้ว นำไปทดลองใช้สอนกับนักเรียนในชั้นเรียนเพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นข้อสรุปได้ว่าสื่อที่ตนสร้างขึ้นใช้ได้ดีเพียงใด ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูต้องมีบทบาทมากกว่าเดิม คือวิจัยควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา ครูจึงต้องกลายเป็นครูนักวิจัยอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมจึงมีการส่งเสริมให้ครูผลิตและ พัฒนาสื่อการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดงบประมาณสนับสนุนครู เพื่อให้ครูสามารถผลิตสื่อและ นวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้ครูสร้างและพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน 2. เพื่อส่งเสริมให้ครูมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 3. เพื่อส่งเสริมให้ครูมีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในชั้นเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.3 เป้าหมาย เชิงปริมาณ ครูร้อยละ 100 มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ เชิงคุณภาพ ครูสามารถแก้ปัญหาชั้นเรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ 1.4 งบประมาณ รายละเอียดดังนี้ รายละเอียดการใช้งบประมาณ งบประมาณ จำแนกตามรายจ่าย ค่าใช้สอย ค่าตอบแทน ค่าวัสดุ 1. กิจกรรมส่งเสริมให้ครูศึกษาและ พัฒนางานวิจัย ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดทำ/ เอกสารสรุปรายงานวิจัยในชั้นเรียน 2. งานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัยและ นวัตกรรมของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 23,600 5,400 23,600 5,400


งบประมาณทั้งกิจกรรม เงินงบประมาณ (งบอุดหนุน) รวม ……29,000…….บาท 1.5 การติดตามและประเมินผล ตัวชี้วัดความสำเร็จของแต่ละกิจกรรม การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ 1. ครูมีการสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อการ จัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบร้อย ละ 100 2. ครูมีวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ใน วิชาที่ตนเองรับผิดชอบร้อยละ 99.31 1.นิเทศการสอน 2.รายงานการใช้สื่อนวัตกรรม 3. รายงานวิจัยในชั้นเรียน 1.แบบนิเทศแผนการ จัดการเรียนรู้ 2.แบบรายงานการใช้สื่อ นวัตกรรม 3.แบบประเมินงานวิจัยใน ชั้นเรียน 1.6 ผลที่ได้รับจากกิจกรรม ครูสามารถแก้ปัญหาชั้นเรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ 2


บทที่ 2 ความรู้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ความรู้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ครูผู้สอนในทุกระดับการศึกษาต่าง ตื่นตัว ขานรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ทั้งการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปกระบวนการ เรียนรู้แนวคิดในเชิงบวกมีการปรับเปลี่ยนเจตคติ การปฏิบัติตนเพื่อเตรียมตัวไปสู่ความเป็น “ครูนักวิจัย” มาก ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลให้บทบาทของครูผู้สอน ผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนแปรเปลี่ยนไปตาม เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคปัจจุบันทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ ข่าวสาร และสังคม ก่อให้เกิดสรรพวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่มากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนจึง จำเป็นต้องอาศัย “กลยุทธ์” หรือ “ยุทธศาสตร์” ในการพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมี ความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ ดั่งคำขวัญที่ว่า เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตามความคาดหวังของ หลักสูตรสังคม และประเทศชาติ แนวความคิดหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ก็คือ สอนดีต้องมีการวิจัยในชั้น เรียน โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวิจัย และแนวการจัดการศึกษา มาตรา 24(5) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดัง ข้อ 5 คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งกำหนดให้ผู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง วิทยาการต่าง ๆ และในมาตรา 30 ระบุให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา เพราะฉะนั้น การวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ ที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การวิจัยในชั้นเรียนก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอนในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ไทย 2.1 การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า คำที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน มีหลายคำได้แก่ 1) การวิจัย ปฏิบัติการ (action research) 2) การวิจัยในชั้นเรียน (classroom research) 3) การวิจัยของครู (teacher research) 4) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (classroom action research) 5) การวิจัยการเรียนการสอน (learning research) ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้ค าว่า การวิจัยในชั้นเรียน เพราะเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายและเป็นที่ รู้จักของครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียนได้มีนักวิชาการ นักวิจัยให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้ อุทุมพร จามรมาน (2537, หน้า 9) ให้ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ว่าเป็นการวิจัย ที่ทำโดยครู ของครู เพื่อครู เป็นการวิจัยที่ครูผู้ดึงปัญหาในการเรียนการสอนออกมาและครูผู้ซึ่งแสวงหาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้ ผลการวิจัยคือคำตอบที่ครูจะเป็นผู้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา ของชั้นเรียน ทิศนา แขมมณี (2540, หน้า 14) ให้ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่า หมายถึงการ


วิจัยในบริบทของชั้นเรียนและมุ่งนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเป็นการนำ กระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาครูให้ไปสู่ความเป็นเลิศและมีความเป็นอิสระทางวิชาการ สุวิมล ว่องวาณิช (2544, หน้า 11) ได้สังเคราะห์นิยามเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแล้ว สรุปว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ ต้องทำอย่างรวดเร็ว น าผลไปใช้ทันทีและสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของตนเองให้ทั้งตนเอง และกลุ่มเพื่อนร่วมงานในโรงเรียนได้มีโอกาสอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวทางที่ได้ปฏิบัติ และนำ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป กรมวิชาการ (2542, หน้า 7) กล่าวว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการที่ครูศึกษา ค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนที่ตนรับผิดชอบ จุดเน้นของการวิจัยในชั้นเรียน คือ การ แก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการศึกษาและ วิจัยควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการสอนของตนเอง เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยให้ เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป ครุรักษ์ภิรมย์รักษ์ (2544, หน้า 4) กล่าวว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นบทบาทของครูในการแสวงหา วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทของชั้นเรียนโดยทำพร้อม ๆ กันไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนตามปกติ ด้วยกระบวนการที่เรียบง่ายและเชื่อถือได้ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน จากความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน สรุปได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนหมายถึง กระบวนการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้จริงเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาหรือ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการสอนในชั้นเรียน 2.2 ความสำคัญของวิจัยชั้นเรียน การวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เป็นวิจัยทางการศึกษารูปแบบหนึ่งที่มุ่งค้นหาคำตอบ คำอธิบาย แนวทางการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และการลงมือปฏิบัติของครูเพื่อแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนในด้านผลสัมฤทธิ์ คุณลักษณะ พฤติกรรม และทักษะกระบวนการ มีการดำเนินการ อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และเชื่อถือได้พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัยที่ได้อย่างสร้างสรรค์เพื่อ สร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) ครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการ สอน จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น “ครูนักวิจัย”การวิจัยชั้นเรียนมีเป้าหมายสูงสุดที่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และผล พลอยได้คือการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน สรุปความสำคัญของการวิจัยได้ดังนี้ 1. ช่วยพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2. ช่วยทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement)ที่เป็นประโยชน์ทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอน โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงผ่าน กระบวนการวิจัย 3. ช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตการทำงานอย่างเป็นระบบ เห็นภาพของงานตลอดแนว มีการตัดสินใจที่มี คุณภาพ ช่วยพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ(Professional Teacher) 4. เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional LearningCommunity)ที่เกิดจากการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ของการวิจัย 5. นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ (Quality Culture) ภายในองค์กรที่มีความรู้เป็นฐานของการ 4


พัฒนา (Knowledge-based development) 2.3 ความจำเป็นที่ครูต้องทำวิจัย เหตุผลเชิงนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ ที่ครูต้องทำวิจัย มีดังนี้ 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 กำหนดให้ครูต้องทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (มาตราที่ 30) และให้ครูใช้การวิจัยเป็นกิจกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนและครู (มาตราที่ 24 (5)) 2. มาตรฐานวิชาชีพครู คุรุสภากำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติงานในวิชาชีพครูต้องมีมาตรฐานความรู้ด้าน “การวิจัยทางการศึกษา” เป็นหนึ่งในมาตรฐานความรู้ของครู (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา) สาระความรู้ และในมาตรฐานความรู้ “การวิจัยทางการศึกษา” นี้ ครอบคลุม ”การวิจัยในชั้นเรียน”“การฝึกปฏิบัติการ วิจัย” และ“การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา” ด้วยและครูต้องมีสมรรถนะ “สามารถทำวิจัยเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน” 3. มาตรฐานของหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาว่าต้องให้บัณฑิตผ่านการปฏิบัติการสอนใน สถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนดังคณะกรรมการคุรุสภากำหนดไว้ทั้ง (1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และ (2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งการ ปฏิบัติการสอนดังกล่าว กำหนดให้ต้องฝึกทักษะและมีสมรรถนะในด้าน “การทำวิจัยในโรงเรียนเพื่อพัฒนา ผู้เรียน” 4. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชนกำหนดมาตรฐานคุณภาพครูในด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อย่างมีประสิทธิภาพไว้ว่า ในการปฏิบัติงานสอนนั้น ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านเน้นองค์รวมและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา ผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและ การสอนของตนเอง 5. มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2559) โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีจุดเน้นหนึ่งที่ให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งการตรวจสอบและประเมินความรู้ความ เข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยประเมินผู้เรียนจากสภาพจริงมีขั้นตอนตรวจสอบและ ประเมินอย่างเป็นระบบใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมาย และการจัดการ เรียนการสอน นักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ ผู้เรียนและผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง 5


2.4 กระบวนการวิจัย ครูนักวิจัยทุกคนควรทราบถึงกระบวนการวิจัย ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความรู้ที่มีลักษณะสำคัญคือ ใช้ ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific Method) ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดปัญหาวิจัยหรือหัวข้อวิจัย (a research topic) 2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย (research purposes) 3. กำหนดขอบเขตการวิจัย และ/หรือสมมติฐาน (research framework/research hypothesis) 4. ออกแบบการวิจัย (research design) 4.1 ออกแบบการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย (sampling techniques) 4.2 ออกแบบเครื่องมือวิจัย (research tool) 4.3 ออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) 5. เก็บรวบรวมข้อมูล (data collection) 6. วิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล (data analysis and data interpretation) 7. เขียนรายงาน (reporting the findings) 8. ตีพิมพ์เผยแพร่ (publishing) ในการจัดการเรียนรู้ของครูสามารถใช้กระบวนการวิจัยร่วมได้ (Teaching as Researching) โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงพัฒนาทั้งต่อนักเรียนและต่อตัวครูเอง ดังจะเห็นได้ จากตัวอย่างกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน เมื่อพิจารณาในระบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ จะพบว่าครูผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัย ร่วมกันกับขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนการสอนในปกติได้ ดังแผนภาพที่ 1 แผนภาพที่ 1 ระบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการร่วมกับการทำวิจัย (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพะเยาว์ ยินดีสุข, 2549) กระบวนการจัดการเรียนรู้5 ขั้นตอน (5 STEPs) (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์,2558) 1. ระบุคำถาม 1.1 สังเกตสิ่งเร้าเพื่อเกิดความสงสัย 6


1.2 ตั้งคำถามสำคัญ/คำถามหลัก 1.3 คาดคะเนคำตอบ/ตั้งสมมติฐาน 2. แสวงหาสารสนเทศ 2.1 วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล 2.2 รวบรวมข้อมูลทั้งหมดด้วยการทดลอง หรือวิธีเก็บข้อมูลต่างๆ 2.3 วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล 3. สร้างความรู้ 3.1 อภิปรายเพื่อสร้างคำอธิบายด้วยตัวนักเรียนเอง 3.2 เชื่อมโยงความรู้สู่คำอธิบายที่ถูกต้องโดยครู 4. สื่อสาร 4.1 เขียนเพื่อเสนอความรู้ที่ได้จากการสร้างด้วยตนเอง 4.2 นำเสนอด้วยวาจาหน้าชั้นเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ 5. ตอบแทนสังคม 5.1 นำความรู้ไปใช้หรือประยุกต์ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 5.2 สร้างผลงานหรือภาระงานเพื่อบริการสังคม กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ร่วมกับทักษะการ สื่อสาร และทักษะการประยุกต์ความรู้ ได้ผลงานไปตอบแทนสังคมเป็นการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้กับผู้เรียน 2.5 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยชั้นเรียน การออกแบบการวิจัยชั้นเรียนสำหรับครูนักวิจัยมีกิจกรรม 8 ขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญ ดัง แผนภาพที่ 2 แผนภาพที่ 2 ลำดับขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาวิจัย สภาพที่เป็นปัญหาการจัดการเรียนการสอนเกิดขึ้นมากมายและเกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะสอน หาก เราลองจำแนกแยกปัญหาออกมาแล้วจะพบว่ามีลักษณะต่างๆกันดังนี้ ลักษณะที่ 1 ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัญหาลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียน เช่น อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็นไม่เข้าใจเนื้อหา เรียนช้า บวกเลขไม่ได้ เป็นต้น ลักษณะที่ 2 ปัญหาเกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี เป็นต้น ปัญหาลักษณะนี้อาจส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะที่จำเป็นได้ ลักษณะที่ 3 ปัญหาเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ 7


พึงประสงค์ ผลกระทบของปัญหาลักษณะนี้อาจส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนและคุณลักษณะของผู้เรียน ในอนาคตได้ การเลือกปัญหามาทำวิจัย ปัญหาเหล่านั้นจะต้องเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้เรียนในด้านการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งปัญหาเป็นช่องว่างระหว่างการปฏิบัติจริงและจุดมุ่งหมายของการ จัดการเรียนการสอนหรือสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่คุณครูต้องการหาวิธีแก้ไขและพัฒนา ปัญหาการวิจัยจะต้อง มีความลึกซึ้งและใช้กระบวนการที่เป็นระบบในการแก้ไขปัญหา ลักษณะของปัญหาในชั้นเรียนควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นปัญหาที่คุพบจริงๆ ในการจัดการเรียนการสอน 2. ต้องมีความชัดเจนและแน่ใจว่าเป็นปัญหาที่แท้จริง อาจตรวจสอบด้วยวิธีการหลายๆอย่างเพื่อ ยืนยันสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นสอบถามจากนักเรียนโดยตรง เพื่อนนักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง หรือใช้ แบบสอบถาม เป็นต้น 3. ปัญหาต้องไม่เกิดจากการตัดสินตามความคิดของตัวผู้สอนเอง ควรระบุปัญหาที่เป็นพฤติกรรมที่ แสดงออกของนักเรียนแล้ววิจัยว่าเป็นเพราะเหตุใด ตัวอย่างเช่น นักเรียนไม่ส่งการบ้าน ปัญหาวิจัยที่คุณครู ควรระบุคือ นักเรียนมีพฤติกรรมไม่ส่งการบ้าน แล้วคุณครูค่อยวิเคราะห์ต่อไปว่าเหตุใดนักเรียนถึงมีพฤติกรรม เช่นนั้น 4. ต้องสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพในการทำวิจัยของครู ศักยภาพในที่นี้ หมายถึงความสามารถในการทำวิจัยหรือควบคุมงานวิจัยในชั้นเรียน ครูอาจจะแก้ไขปัญหาหรือไม่ได้เป็นผู้ แก้ไขปัญหาเด็กด้วยตนเอง แต่สามารถท าให้ผู้อื่นมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ลักษณะเช่นนี้ถือว่าครูมีศักยภาพที่ จะควบคุมงานวิจัยเช่นกัน การวิจัยจึงต้องเป็นความร่วมมือ (Collaborative) ระหว่างผู้ที่เห็นความส าคัญใน การพัฒนานักเรียนหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับนักเรียน เช่น ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครูหรือ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น 5. ต้องมีความสัมพันธ์หรือเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ ในการเลือกปัญหาวิจัยนั้น ครูจะต้องมีข้อมูล ของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และแน่นอนว่ามีหลายปัญหาด้วยกัน การเลือกปัญหาใดปัญหาหนึ่งนั้น การพิจารณา ความเชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลกับปัญหาอื่นจะช่วยให้ครูเลือกปัญหาที่มาแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรง ประเด็น และต้องวิเคราะห์ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาหรือไม่ และถ้ามีแล้วปัญหาสัมพันธ์กันอย่างไร และปัญหาได้รับอิทธิพลจากปัญหาใด ส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นอย่างไร เมื่อเราทราบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ครูต้องเลือกปัญหาที่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆมาแก้ไข เพราะเมื่อแก้ไขส าเร็จแล้วนอกจากจะเป็นการขจัดปัญหา นั้นแล้วผลที่ตามมาคือ ปัญหาอื่นๆ ก็จะถูกตัดวงจรการเกิดด้วย เรียกว่ายิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลย ทีเดียว การวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียน การวิเคราะห์สภาพปัญหาของผู้เรียน เป็นสิ่งส าคัญและจ าเป็น ส าหรับครูในการตัดสินใจว่าจะเลือกปัญหาใดมาท าวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงและสามารถแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ตรงจุด การวิเคราะห์สภาพปัญหาจึงเป็นการตีวงของปัญหาให้แคบและมีความชัดเจนขึ้น สุวิมล ว่อง วาณิช (2547) ได้เสนอแนวทางในการวิเคราะห์สภาพของปัญหาผู้เรียนโดยตั้งค าถามให้คุณครูตอบเกี่ยวกับ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นดังนี้ 8


1. สภาพปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร 2. ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นของใคร 3. ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อใครบ้าง 4. เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นที่เกิดพร้อมกันปัญหาใดส าคัญกว่า 5. ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไร 6. ใครคือผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหานั้น เมื่อคุณครูสามารถตอบค าถามได้ทั้ง 6 ข้อแล้วอาจเขียนบันทึกไว้ค าตอบที่ได้น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ ช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหาได้ดียิ่งขึ้นและสามารถเลือกปัญหามาท าวิจัยได้ คุณครูต้องฝึกปฏิบัติเป็นประจ า ช่วงแรกอาจเกิดความล าบากในการวิเคราะห์บ้าง คุณครูอาจขอค าปรึกษาจากเพื่อนครูหรือผู้เชี่ยวชาญได้ เมื่อ ฝึกฝนวิเคราะห์สภาพปัญหาบ่อยครั้งแล้วความช านาญก็จะเกิดขึ้น เมื่อเจอปัญหาครั้งต่อไปจะเกิดความ เชื่อมโยงโดยอัตโนมัติและท าให้เข้าใจสภาพปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น การตั้งคำถามการวิจัย เมื่อคุณครูได้ปัญหามาทำวิจัยแล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อไปก็คือการตั้งคำถามการวิจัย คำถามการวิจัยเป็น ประโยคหรือข้อความที่เขียนขึ้นมาเพื่อค้นหาคำตอบในปรากฏการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นนั่นเอง คำถามการวิจัย สามารถชี้ทิศทางหรือแนวทางในการวิจัยได้ กล่าวคือคำถามการวิจัยมีความสำคัญในเชิงหลักการกำหนด กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย ในการทำวิจัยท้ายสุดแล้วผู้วิจัยจะต้องตอบคำถามการวิจัยให้ครบงานวิจัยจึง จะถือว่าประสบผลสำเร็จ การตั้งคำถามการวิจัยในชั้นเรียนจะต้องมีความจำเพาะเจาะจงสังเกตได้ สามารถ สำรวจและกระทำการวิจัยได้ คำถามที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ตามแนวคิดของ สุวิมล ว่องวาณิช (2547) ดังนี้ คำถามระดับที่ 1 เป็นคำถามระดับพื้นฐาน เป็นคำถามที่มีความมุ่งหมายตอบว่า ใคร ทำอะไร และ ได้ผลย่างไร และเมื่อพิจารณาคำถามการวิจัยประเภทนี้ เป็นคำถามที่สังเกตผลจากกระบวนการวิจัยที่ไม่มี ความซับซ้อนอะไรตัวอย่างคำถามวิจัย เช่น “ใครเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในชั้นเรียนมากที่สุด” “เด็กชายแดง มีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง” คำถามระดับที่ 2 เป็นคำถามที่มีความลึกซึ้งและซับซ้อนกว่าคำถามเบื้องต้น เป็นการศึกษาความรู้สึก ของผู้ร่วมวิจัยในชั้นเรียนต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น “นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการประเมินตนเอง” การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนที่พบบ่อย คือ การสร้างนวัตกรรมทั้งที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ชุดฝึก วิธีการ สอน และวิธีการปรับพฤติกรรมวิธีการแก้ไขปัญหาที่น ามาใช้จะต้องมีความเหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาได้ อย่างแท้จริง ขั้นตอนที่2 การตั้งวัตถุประสงค์และชื่อเรื่องวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยเป็นข้อความที่แสดงว่าเราต้องการจะทำอะไรเพื่อตอบคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยจึงต้องเขียนตามลำดับและเป็นขั้นตอน การเขียนวัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับค าถามการวิจัยวัตถุประสงค์การวิจัย ครอบคลุมตัวแปรและ ประเด็นที่ต้องการศึกษาไม่ควรแยกย่อยจนเกินไปมีความชัดเจนและชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรการเขียน วัตถุประสงค์การวิจัยที่ดีจะต้อง SMART ได้แก่ มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) สามารถวัดได้Measurable) 9


ด าเนินการให้ส าเร็จได้(Attainable) ตรงกับสภาพความเป็นจริง (Realistic) และแสดงถึงช่วงเวลา (Time - Bound) การตั้งชื่อเรื่องวิจัย ชื่อเรื่องวิจัยเปรียบเสมือนหน้าตาหรือรูปร่างภายนอกที่คนจะเห็นจากงานวิจัยของครูเป็นล าดับแรก การเขียนชื่อเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนจะต้องอิงวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ท า มีลักษณะเขียนเป็นประโยคบอก เล่าและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้ภาษาที่ชัดเจน ไม่ฟุ่มเฟือยไม่ซ ้าซ้อนกัน ไม่กว้างหรือแคบ เกินไปจนไม่ได้สาระ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยจะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ จุดมุ่งหมาย ตัวแปร กลุ่มเป้าหมายและวิธีการ/นวัตกรรมที่น ามาศึกษาหรือแก้ไขปัญหาโดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายการวิจัย การก าหนดจุดมุ่งหมายการวิจัยควรระบุว่าต้องการจะท าอะไรโดยอาจจะอิงจากวัตถุประสงค์ของการ วิจัยก็ได้ จุดมุ่งหมายในการวิจัยที่พบบ่อยในงานวิจัยในชั้นเรียนประกอบด้วยค าหลักต่อไปนี้คือ การแก้ไขการ พัฒนาการแก้ปัญหา การศึกษา การเปรียบเทียบ เป็นต้น 2. ตัวแปร ในการวิจัยมักจะมีการกล่าวถึง“ตัวแปร” อยู่เสมอ ซึ่งความหมายของตัวแปรคือ คุณลักษณะที่ สามารถแปรค่าได้หลายค่า คุณลักษณะนั้นอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานที่ เป็นต้น หรืออาจจะ กล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่เรามุ่งสนใจศึกษาอยู่นั่นเอง เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการอ่านออกเสียง ของนักเรียน โดยคุณครูอาจจะสนใจศึกษาตัวแปรเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวแปรก็ได้ขึ้นอยู่กับปัญหา การวิจัยดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการศึกษาตัวแปรนั่นเอง ตัวแปรมีการจัดแบ่ง ไว้หลายประเภท ในที่นี้จะแบ่งประเภทตามความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งเป็นแบบที่รู้จักกันโดยทั่วไปในการวิจัย ชั้นเรียนดังนี้ 1) ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือ ส่งผลต่อตัวแปรอื่น 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรผลที่เกิดขึ้นจากการส่งผลของตัว แปรอิสระ 3) ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรอิสระที่ไม่ต้องการศึกษาหรือ ไม่ได้เลือกมาศึกษาผล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลการวิจัยหากคุณครูไม่ได้ควบคุมหรือก าจัด ออกไป 4) ตัวแปรแทรกสอด (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่สอดเข้ามาคั่นกลางระหว่าง ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยที่อาจจะได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอิสระก่อนแล้วจึงส่งผลต่อ ตัวแปรตาม ตัวแปรแทรกสอดผู้วิจัยมิได้ค านึงถึงไว้ล่วงหน้า แต่ถ้าควบคุมหรือออกแบบการ วิจัยให้ดีผู้วิจัยอาจน าตัวแปรแทรกสอดมาอธิบายได้ 10


3. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มนักเรียนที่ครูท าวิจัยเพื่อพัฒนา ส่งเสริมและแก้ปัญหา การวิจัยเชิงวิชาการอาจ เรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง การใช้ค าว่ากลุ่มเป้าหมายเนื่องจากลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการส่งเสริม พัฒนาและแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนของครูผู้สอนภายในห้องเรียนของตนไม่ต้องอาศัยการอ้างอิง จากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากร นอกจากนี้การท าวิจัยในชั้นเรียนยังเป็นการท าวิจัยแบบร่วมมือที่ครูผู้วิจัยถือว่า ผู้เรียนเป็นผู้ร่วมวิจัยมิใช่กลุ่มตัวอย่าง 4. วิธีการหรือนวัตกรรมที่น ามาศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เป็นการระบุว่าเราจะใช้วิธีการใด หรือนวัตกรรมอะไรมาส่งเสริมพัฒนา หรือแก้ไขปัญหา ในงานวิจัย ในชั้นเรียนที่พบบ่อยคือสื่อการสอน วิธีการจัดการเรียนรู้ และวิธีการปรับพฤติกรรมกล่าวโดยสรุป หลักการตั้ง ชื่อเรื่องวิจัยจะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ จุดมุ่งหมาย ตัวแปร กลุ่มเป้าหมาย และวิธีการ/ นวัตกรรมที่น ามาใช้ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนานวัตกรรม ส าหรับชั้นเรียนของครูนักวิจัยที่ต้องใช้หรือพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาผู้เรียนหรือการ พัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เป็นการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาตัวกระตุ้น หรือสื่อการเรียนรู้ และ/หรือการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ไม่มี ใครเคยท ามาก่อน เพื่อท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส ระบบประสาทมอเตอร์ ระบบ สมองเกี่ยวกับความจ า ความรู้สึกและอารมณ์ ยังผลให้เกิดปัญญาและจิตปัญญาซึ่งสามารถน าไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจ าวันและการท างานต่างๆ ให้ส าเร็จลุล่วงไปได้ ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและ นวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่ส าคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการ ผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมี ความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุด กระบวนการจัดการ ศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การด าเนินการปฏิรูป การศึกษาให้ส าเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จ าเป็นต้อง ท าการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบ ของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่น ามาใช้ว่ามีความเหมาะสมมาก น้อยเพียงใด นวัตกรรมที่น ามาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ (1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร (2) นวัตกรรมการเรียนการสอน (3) นวัตกรรมสื่อการสอน (4) นวัตกรรมการประเมินผล และ (5) นวัตกรรม 11


การบริหารจัดการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจ าเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญา ทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและ วิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรม ทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้ 1) หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการใน สาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี สามารถใช้ประโยชน์จากองค์ ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม 2) หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนอง แนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ด้านต่างๆ 3) หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและ ประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อน าไปสู่ความส าเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น 4) หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตร ในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียน รายบุคคล การจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) การพัฒนาวิธีจัดการเรียนรู้จ าเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบ โมดูล (Module Teaching) การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Group Process Teaching) การสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) การสอนโดยเพื่อนสอนเพื่อน (Peers Teaching)การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center) การสอนแบบบูรณาการ (Integrative Techniques)การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package) การสอนโดยให้ทางบ้าน ดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training) การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 12


3. นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ท าให้นักการศึกษาพยายามน าศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการ สอนใหม่ๆ จ านวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่างนวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) - มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module) - วีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) - การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี(Learning Environment Design) 4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและท าได้อย่าง รวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มา สนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่ - การพัฒนาคลังข้อสอบ (items bank) - การสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางปัญญา (Cognitive diagnostic test) - การทดสอบทางคอมพิวเตอร์แบบปรับเหมาะ (Computerized Adaptive Testing) - การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด - ฯลฯ 5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนวัตกรรม การศึกษาที่น ามาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมี ความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการ จัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้น ข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่ง จ าเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องท าเป็นกลุ่มเพื่อให้ สามารถน ามาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนในการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน 13


นวัตกรรมที่ครูนักวิจัยสร้างขึ้น มีขั้นตอนในการหาประสิทธิภาพอย่างง่ายๆ ดังนี้ 1. การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเบื้องต้น ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนใน วิชานั้นๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการสื่อความหมาย โดยน านวัตกรรมที่สร้างขึ้น พร้อมแบบ ประเมินที่มีแนวทางหรือประเด็นในการพิจารณาคุณภาพให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพ 2. น าข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อแนะน าจากผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุง แก้ไขหลัง จาก นั้นจึงน านวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ อาจเป็น 1 คน 3 คน 5 คน หรือ 10 คน แล้วแต่ความเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้แล้วมีการเก็บคะแนน ระหว่างปฏิบัติและคะแนนหลังการทดลองใช้นวัตกรรม เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมตามหลักการ 3. น าผลการทดลองใช้นวัตกรรมจากผู้เรียนกลุ่มเล็กตามข้อ 2 มาปรับปรุงข้อบกพร่องอีกครั้ง หนึ่ง ก่อนน าไปใช้จริงกับกลุ่มนักเรียนที่สอน การพิสูจน์ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน การหาประสิทธิภาพนวัตกรรมโดยทั่วไปจะใช้ทดลองกับผู้เรียนกลุ่มหนึ่งตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถใช้วิธีการหาประสิทธิภาพได้ดังต่อไปนี้ 1. วิธีบรรยายเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมจากการทดลองใช้กับกลุ่ม เล็กๆ โดยมีการบันทึกหรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดผลผู้เรียนด้วยเครื่องมือต่างๆ ทั้งก่อนและหลังการใช้ นวัตกรรมแล้วจึงน าข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการบรรยายเชิงคุณภาพเพื่อแสดงให้เห็นว่าหลังการใช้นวัตกรรม แล้ว ผู้เรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใด 2. วิธีนิยามตัวบ่งชี้ที่แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการ แล้วเปรียบเทียบข้อมูลก่อนใช้กับหลังใช้ นวัตกรรม เช่น ก าหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ (ว 306) เรื่อง พลังงานไฟฟ้า ไว้เป็นร้อยละ 60 แสดงว่าหลังจากใช้นวัตกรรมแล้วนักเรียนทุกคนที่เป็นกลุ่มทดลองจะต้องผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้คือร้อยละ 60 จึงจะถือว่านวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพ 3. วิธีค านวณหาอัตราส่วนระหว่างร้อยละของจ านวนนักเรียนที่สอบแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ (P1) ต่อ ร้อยละของคะแนนเต็มที่ก าหนดเกณฑ์การผ่านไว้ (P2 ) เช่น P1 : P2 = 80 : 60 หมายความว่าก าหนดเกณฑ์การผ่านไว้แล้ว ต้องมีจ านวนผู้เรียน 80% ของจ านวนผู้เรียนทั้งหมดผ่านเกณฑ์ (P1 ) และต้องผ่าน 60% ของจ านวนคะแนนเต็ม (P2 ) จึงจะมีประสิทธิภาพ 4.วิธีหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยใช้สูตร E1 / E2การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยวิธีนี้ ผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องกำหนด E1 และ E2 ไว้ล่วงหน้าก่อนทดลองนวัตกรรม เช่น 80/80 หรือ 90/90 โดยทั่วไปนิยมกำหนดเกณฑ์อยู่ในช่วง 70% - 90% ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของนวัตกรรมและการ วัดความสามารถของผู้เรียนโดยที่ E1 คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเต็มระหว่างการปฏิบัติจากการใช้ นวัตกรรม (Process) E2 คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเต็มหลังการใช้นวัตกรรม (Outcome) ขั้นตอนที่ 4 การเลือกประเภทของการวิจัย ในชั้นเรียนครูสามารถนำประเภทของการวิจัย (Research Type) มาใช้ในชั้นเรียนได้หลากหลายแบบ ตามเป้าหมายของการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ ของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้บรรยาย อธิบาย ทำนาย และ 14


ควบคุม ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ มีระเบียบวิธีการที่เป็นขั้นตอน กระบวนการที่ทำ อย่างเป็นระบบ ทำอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบยืนยันผลได้ มีความน่าเชื่อถือ หรือที่เรียกว่าใช้ “วิธีการทาง วิทยาศาสตร์ (Scientific Method)” ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดตัวอย่าง (Sampling Design) ประเภทของการสุ่ม (ใช้ความน่าจะเป็น/มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการวิจัยไปอนุมานถึงประชากร) 1. การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เป็นวิธีที่ประชากรแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกสุ่มมา เป็นกลุ่มตัวอย่างเท่าๆ กัน ประชากรจะต้องกำหนดเฉพาะลงไปว่าเป็นกลุ่มใด การสุ่มแบบนี้จะต้องกำหนดเลข ลำดับให้กับประชากรแต่ละหน่วย 2. การสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) วิธีนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยการอ่าน ข้ามทีละ n คน โดยจะต้องสุ่มเลขเริ่มต้นให้ได้เสียก่อน ซึ่งวิธีนี้จะคล้ายกับการสุ่มอย่างง่าย 3. การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เป็นวิธีที่ผู้วิจัยสามารถแบ่งประชากร ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้แน่นอน มีประโยชน์ช่วยให้ผู้วิจัยมีความมั่นใจว่าคุณลักษณะหรือตัวแปรที่สนใจศึกษาที่ อยู่ในประชากรนั้น ก็มีอยู่ในกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนที่เท่ากัน 4. การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster (Area) Random Sampling) เป็นวิธีที่ผู้วิจัยใช้ในการแบ่ง ประชากรออกเป็นกลุ่มตามเขตพื้นที่ (area) ซึ่งในแต่ละเขตพื้นที่จะมีประชากรที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ กระจายกันอยู่อย่างเท่าเทียมกัน แล้วสุ่มกลุ่มมาจำนวนหนึ่งด้วยวิธีการสุ่มที่เหมาะสม 5. การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) มีวิธีการสุ่ม 4 แบบที่อธิบายไว้แล้ว คือ การ สุ่มอย่างง่าย การสุ่มอย่างมีระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ในการทำวิจัยจริงๆ เราอาจจะ ใช้วิธีการสุ่มที่ซับซ้อนมากกว่านี้ โดยหลักแล้วจะต้องพิจารณาวิธีการสุ่มทั้ง 4 แบบนี้มาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยต้องการอย่างแท้จริง ประเภทของการเลือก (ไม่ใช้ความน่าจะเป็น/ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการวิจัยไปอนุมานถึง ประชากร ผลการวิจัยขึ้นอยู่กับบริบทที่ศึกษาเท่านั้น มักใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ) 1. การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือAccidental Sampling) เป็นการเลือก แบบไม่มีกฎเกณฑ์ อาศัยความสะดวกของผู้วิจัยเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่ให้ความร่วมมือกับ ผู้วิจัยในการให้ข้อมูลบางอย่าง 2. การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive หรือ Judgmental Sampling) เป็นการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างที่จะเป็นใครก็ได้ที่มีลักษณะตามความต้องการของผู้วิจัย โดยอาจจะกำหนดเป็นคุณลักษณะ เฉพาะเจาะจงลงไป 3. การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดคุณลักษณะ และสัดส่วนที่ต้องการไว้ล่วงหน้า 4. การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการ แนะนำของหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลไปแล้ว ส าหรับงานวิจัยชั้นเรียน ไม่นิยมศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มเนื่องจากเป็นงานวิจัยที่เน้น การพัฒนาผู้เรียนขณะที่ท าวิจัย ดังนั้นนักเรียนที่น ามาใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่เป็น “กลุ่มเป้าหมาย” ของ การพัฒนา ขั้นตอนที่6 การออกแบบเครื่องมือวิจัย 15


ส าหรับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะสอดคล้อง กับลักษณะการประเมินตามสภาพจริงใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์แบบประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน ผลงานนักเรียน ฯลฯ การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย หลักเกณฑ์การพิจารณาการเลือกเครื่องมือ/วิธีการเก็บข้อมูล (สุวิมล ว่องวาณิช, 2545) มีดังนี้ 1. กลุ่มผู้ที่ถูกวัด/ทดสอบ/ประเมิน 2. พฤติกรรมหรือลักษณะที่มุ่งวัด 3. จำนวนผู้ให้ข้อมูล 4. ลักษณะข้อมูลที่ต้องการใช้ในการวิจัย 5. ช่วงเวลาในการทำวิจัย 6. ประเด็นวิจัย สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย 1. การนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด อาจเป็นการนิยามตามทฤษฎีหรือการนิยามเชิงปฏิบัติการามเชิง ปฏิบัติการที่เฉพาะนำมาใช้ในการวิจัยครั้งนั้นๆ 2. การเขียนชื่อเครื่องมือวิจัย ให้สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ 3. ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย อาจแสดงเป็นลำดับข้อ หรือแผนภาพ (Flow Chart) แสดงแต่ละขั้นที่เกี่ยวโยงกัน 4. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย คุณลักษณะสำคัญของเครื่องมือคือต้องเชื่อถือได้และให้ ข้อมูลที่ถูกต้อง แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือก่อนนำไปใช้ เป็นการตรวจสอบความตรง (Validity) ที่นิยมใช้ดัชนี IOC (index of item-objective congruence) เป็นความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) พิจารณาเป็น รายข้อโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ค่า IOC แต่ละข้อต้องได้ 0.5 ขึ้นไป นอกจากนี้ต้องดูความ เป็นปรนัยของข้อความว่าเข้าใจได้ตรงกันหรือไม่สำหรับครูในโรงเรียนอาจกำหนดผู้เชี่ยวชาญภายในโรงเรียนที่ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาและเครื่องมือที่ใช้วัดผลได้ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือหลังนำไปทดลองใช้ (pilot study) เป็นการตรวจสอบความเที่ยง/ ความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือทั้งฉบับ ด้วยการนำไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ กลุ่มเป้าหมายแต่มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน จำนวนอย่างน้อย 30 คน สำหรับแบบทดสอบจำเป็นต้องมีความยาก ง่าย และอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อด้วย หมายเหตุ หากมีการยืมเครื่องมือนั้นจากหน่วยงานอื่นหรือจากนักวิจัยอื่น ต้องมีการแสดงหลักฐาน การขออนุญาตการใช้เครื่องมือ และควรมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือซ้ำอีกครั้งว่ามีความเหมาะสมที่ จะนำมาใช้ในงานวิจัยของตนมากน้อยเพียงใด เกณฑ์พิจารณาคุณภาพเครื่องมือวิจัย ความตรงเชิงเนื้อหา ใช้ค่า IOC รายข้อ ควรได้ 0.5 ขึ้นไปค่าความเที่ยง/ความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้ง ฉบับ ควรได้ 0.7 ขึ้นไปการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยประเภท แบบทดสอบ แบบวัด แบบประเมิน โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่ต้องจัดเตรียมมีดังนี้ 1. เค้าโครงการวิจัย (ชื่อเรื่องวิจัย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต นิยามศัพท์ ประโยชน์ กรอบแนวคิดการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย เป็นต้น) 2. คำอธิบายเกี่ยวกับการตรวจสอบว่าต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญทำอะไร อย่างไร 16


3. ตารางโครงสร้างเนื้อหา (table of specification) และตารางแสดงว่าข้อคำถามแต่ละข้อมุ่งวัดตัว แปรใด การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยชั้นเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในการวิจัย เพราะถ้าเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง สมบูรณ์จะทำให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือได้มากเช่นกัน ซึ่งแนวทางการเก็บรวบรวม ข้อมูลมีดังต่อไปนี้ 1. บันทึกการทำงาน (Field Note) เป็นการเขียนบันทึกสิ่งต่างๆที่พบเห็นขณะจัดการเรียนการสอน ตามที่กำหนดไว้ในแผนการวิจัย บันทึกนี้เป็นหลักฐานที่ดีกว่าและชัดเจนกว่าการจำในสมอง 2. บันทึกเหตุการณ์ (Logs) เป็นการเขียนบันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลังอย่างเป็น ระบบ 3. บันทึกความเห็น (Journals) เมื่อคุณครูได้พูดคุยกับเพื่อนครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆก็สามารถเขียน สรุปความคิดเห็นนั้นไว้ได้เช่นกัน 4. บันทึกประจำวัน (Diaries) เป็นการเขียนบันทึกความคิดเห็นของตนเองต่องานที่ทำว่าเป็นอย่างไร คุณครูควรบันทึกประจำวันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 5. การบอกเล่า (Verbal Report) หรือการรายงานด้วยการพูด เป็นกระบวนการคิดที่มีเสียงดัง (Think around) คือ เมื่อคุณครูขอให้ใครสักคนทำในบางสิ่งบางอย่าง คุณครูก็จะเล่าสิ่งนั้นให้เขาฟัง การทำ อย่างนี้จะทำให้คุณครูเองและผู้ที่ฟังระมัดระวังตัวมากขึ้น ทั้งในการอธิบายหรือให้ข้อเสนอแนะ นั่นหมายถึง ต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนพูดออกมานั่นเอง เมื่อได้มีการบอกเล่าแล้วคุณครูก็อาจนำไปบันทึกความเห็นหรือ บันทึกประจำวันด้วยก็ได้ 6. การสังเกตการสอน (Observation) คุณครูสามารถทำได้ตลอดเวลา แต่ต้องทำอย่างรัดกุมชัดเจน ควรระบุให้ชัดว่าต้องสังเกตอะไร 7. แบบสอบถาม (Questionnaires) ไม่ควรมีคำถามยาวมากเกินไป เพราะนักเรียนจะเบื่อ คำถาม ง่ายๆสั้นๆ เพียง 1-2 คำถาม อาจได้ข้อมูลจากนักเรียนมากมาย 8. การสัมภาษณ์ (Interview) อาจเป็นเรื่องง่ายที่สุดในการเก็บข้อมูลก็ได้ ไม่ต้องเป็นทางการมาก แต่ จะเป็นการดีหากคุณครูมีการเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า วิธีการคือ คุณครูอาจใช้เวลาสัก 10 นาที พูดคุยกับ นักเรียนกลุ่มเล็กๆเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่ครูทำขึ้นในชั้นเรียน 9. กรณีศึกษา (Case Studies) เป็นการดูนักเรียนเป็นรายบุคคล ค้นหาศักยภาพที่นักเรียนมี หรือ ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามศักยภาพมากที่สุด ขั้นตอนที่ 7 การเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานั้นเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) หรือข้อมูลเชิง คุณภาพ (คำสัมภาษณ์ ผลการสังเกต) เมื่อแยกได้แล้วก็ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือรายงานผลแต่ละส่วนของการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับลักษณะข้อมูล สถิติที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มที่ 1 สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) เช่น ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อย ละ สถิติวัดความสัมพันธ์ เป็นสถิติพื้นฐานที่ต้องใช้กับการวิจัยเกือบทุกเรื่อง กลุ่มที่ 2 สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้สรุปค่าสถิติไปยัง ค่าพารามิเตอร์ ใช้ในกรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมากจะใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่นักวิจัยตั้งไว้ 17


(Hypothesis Testing) หรือ การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ (Test of Significance) หลักการเลือกสถิติให้เหมาะสม 1. วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อบรรยายข้อมูล (กรณีทำกับประชากรทั้งหมดใช้สถิติบรรยาย) หรือ สรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังค่าประชากร (กรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างต้องใช้สถิติบรรยายและสถิติ อ้างอิง) 2. จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีกี่กลุ่ม 3. ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอยู่ในระดับใด นามบัญญัติ เรียงอันดับ อันตรภาค อัตราส่วน 4. ตัวแปรที่ใช้มีกี่ตัวแปร การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ 1. การนำเสนอโดยใช้กราฟแสดงแนวโน้ม 2. การนำเสนอการเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้แผนภูมิแบบต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยธรรมชาติลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพที่วิเคราะห์แล้วจะอยู่ในลักษณะคำบรรยาย จากข้อมูลที่ รวบรวมมาในรูปของคำบอกเล่า การสัมภาษณ์ บันทึกจากการสังเกตของครู หรือบันทึกของผู้เรียน เป็นต้น ขั้นตอนที่8 การเขียนรายงานวิจัย การรายงานผลการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ให้เป็นระบบ ชัดเจนและเชื่อถือได้ สำหรับการวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) มีหลักการสำคัญคือ การแสดงหลักฐานหรือข้อมูลประกอบ เพื่อให้เห็นที่มาของการสรุปผลการวิจัย ตัวอย่างหัวข้อที่เขียนในรายงาน 2.6 การเผยแพร่และใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยในชั้นเรียน 1. การเขียนรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยเป็นการนำเสนอความรู้ข้อค้นพบออกสู่สาธารณชน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดประ โยชน์ในวงกว้างแล้ว ยังแสดงถึงความรู้ ความสามารถเชิงวิชาการของครูโดยทั่วไปพบว่า มีการเขียนใน 2 รูปแบบ คือ 1.1 รายงานวิจัยแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งเหมาะกับครูนักวิจัยในระยะเริ่มต้นที่ยังมีทักษะในการวิจัยไม่ มาก มุ่งเสนอข้อค้นพบตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นมากกว่าการยึดรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยที่เป็นสากล ไม่เน้น คำศัพท์ทางวิชาการ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญ หาวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การ วิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัยการนำเสนองานวิจัยชั้นเรียนแบบไม่เป็นทางการ มีข้อดีในแง่ความต้องการใช้ ผลการวิจัยอย่างรวดเร็ว มุ่งน าเสนอภาพความมีชีวิตชีวาของชั้นเรียนจากผลการแก้ปัญหาของครู อย่างไรก็ดี ในการนำเสนอรายงานวิจัยแบบไม่เป็นทางการนี้มักพบจุดอ่อนที่ไม่แสดงหลักฐาน ขั้นตอนกระบวนการวิจัย อย่างชัดเจน เพื่อยืนยันข้อสรุปจากการวิจัย อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและการนำผลวิจัยไปใช้ หากครูมี ทักษะความชำนาญมากขึ้น ควรเขียนรายงานวิจัยในรูปแบบเป็นทางการ เพื่อให้ ถูกต้องตามหลักการ เป็น สากลในกลุ่มวิชาชีพมากขึ้นยกระดับเป็นงานวิจัยเชิงวิชาการได้เช่นกัน 1.2 รายงานวิจัยแบบเป็นทางการ มีลักษณะเหมือนรายงานวิจัยเชิงวิชาการทั่วๆ ไป ที่ใช้กันในหมู่ นักวิจัย มักนำเสนอในรูป 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย 18


- วัตถุประสงค์การวิจัย - ขอบเขตการวิจัย - กลุ่มประชากร/กลุ่มตัวอย่าง - เนื้อหา - ตัวแปร - ระยะเวลา - ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย - แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - กรอบแนวคิดในการวิจัย บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย - รูปแบบการวิจัย - ขั้นตอนการดำเนินการ - เครื่องมือการวิจัย - การเก็บรวบรวมข้อมูล - วิธีวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ - สรุปผลการวิจัย - อภิปรายผลการวิจัย - ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก โดยสรุป หลักการเขียนรายงานการวิจัยที่ดี ครูนักวิจัยควรตระหนักถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของ เนื้อหาสาระ แสดงหลักฐานที่สะท้อนการแสวงหาความรู้ เป็นกระบวนการ เป็นระบบ สาระที่นำเสนอจะต้อง เป็นข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือน ตรงไปตรงมา ตอบค าถามการวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้ภาษาที่ อ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่วกวน ชัดเจน ก่อให้เกิดสารสนเทศที่มีคุณค่าต่อการน าไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาผู้เรียนได้ แท้จริง 2. คุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียน คุณภาพของงานวิจัยในชั้นเรียนอยู่ที่กระบวนการวิจัยและคุณค่าของข้อค้นพบโดยมุ่งด าเนินงานให้ สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนตามธรรมชาติจริง โดยไม่มุ่งควบคุมสถานการณ์ห้องเรียน และมีเป้า หมายต่างจากวิจัยเชิงวิชาการ (Academic Research) ดังนั้นการประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนจึงไม่ เหมาะสมในการนำมาตรฐานการวิจัยเชิงวิชาการมาใช้ตัดสินประเมิน อย่างไรก็ดีงานวิจัยชั้นเรียนที่มีมาตรฐาน ควรมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 2.1 สร้าง ผลิตความรู้ให้กับสาขาวิชา 2.2 มีความเหมาะสมในแง่การแสวงหาความรู้ โดยมีคำถามการวิจัยนำไปสู่การวางแผนออกแบบเพื่อ หาคำตอบ 2.3 วิธีการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล 19


2.4 คุณค่าของการศึกษาค้นคว้านำไปสู่การปรับปรุงการปฏิบัติทางการศึกษา(คุณค่าภายนอก) และมี จรรยาของการวิจัย (คุณค่าภายใน) 2.5 สามารถสรุปผลโดยรวมให้เป็นที่เข้าใจได้ โดยมีความสมดุลระหว่างคุณภาพของเทคนิควิธีการ คุณค่าการศึกษาค้นคว้า กับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และคำนึงถึงการใช้ความรู้เชิงทฤษฎีมาอธิบายข้อมูล 20


บทที่ 3 วิธีดำเนินงานกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมให้ครูศึกษาและพัฒนางานวิจัย ปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นที่โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม โดยมีขั้นตอนดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ขั้นเตรียมงาน (PLAN) 1. กำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนางานวิจัยสื่อและนวัตกรรม ให้การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการพัฒนา ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพได้อย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิผล มีประสิทธิภาพที่สุดในชั้น เรียน 2. กำหนดวิธีการหาข้อมูล ศึกษาปัญหาอุปสรรค และประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้แก่ การเข้าเยี่ยมชั้น เรียน การสังเกต ปรึกษาหารือ ประเมินผลงานทางวิชาการของโรงเรียน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ แบบนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้แบบ รายงานการใช้สื่อนวัตกรรม แบบประเมินงานวิจัยในชั้นเรียน แบบบันทึกการส่งงานวิจัย 4. ประชุมกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ (DO) 1. สำรวจปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้ และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู 2. ครูดำเนินการแก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยใช้การวิจัยในใช้เรียน 3. ติดตามผลการดำเนินการ 4. ครูจัดทำรายงานวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตรวจสอบ ( CHECK) 1. ประเมินจากแบบบันทึกผลการการรายสื่อนวัตกรรม 2. สรุปรายงานผลการดำเนินงานการสร้างสื่อนวัตกรรมและวิจัยในชั้นเรียนโดยหัวหน้ากลุ่มสาระ ฯ ของแต่ละกลุ่มสาระ ฯ ขั้นรายงาน (ACTION) 1. สรุปรายงานผลการด าเนินงาน 2. นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป


บทที่ 4 ผลการประเมินกิจกรรม 4.1 การประเมินกิจกรรม รายการประเมิน ระดับคะแนน 5 4 3 2 1 1. ด้านสภาพแวดล้อมของกิจกรรม/กิจกรรม 1.1 กิจกรรม/กิจกรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน 1.2 กิจกรรม/กิจกรรมสอดคล้องกับ นโยบาย เป้าหมายของโรงเรียน 1.3 กิจกรรม/กิจกรรมสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา 2. ด้านความพอเพียงของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม 2.1 ความเหมาะสมของงบประมาณ 2.2 ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ 2.3 ความเหมาะสมของสถานที่ ที่ใช้ดำเนินงาน 2.4 ความพึงพอใจของบุคลากร 2.5 ความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินงาน 3. ด้านความเหมาะสมของกระบวนการจัดกิจกรรม/กิจกรรม 3.1 ความเหมาะสมของระยะเวลาดำเนินงานแต่ละกิจกรรม 3.2 วิธีการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนสอดคล้องกับเป้าหมาย 4. ด้านความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดกิจกรรม 4.1 ปฏิบัติกิจกรรมได้ครบถ้วนตามลำดับที่กำหนด 4.2 ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม/กิจกรรม 4.3 ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวม 50 12 รวม (ผลรวมทุกช่อง) 62 ค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินผลการบริหารโครงการ (คะแนนผลรวม ÷ 13) = 4.77 คะแนนเฉลี่ย 4.00 - 5.00 แสดงว่าการดาเนินงานอยู่ในระดับ ดีมาก คะแนนเฉลี่ย 3.00 - 3.99 แสดงว่าการดาเนินงานอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 2.00 - 2.99 แสดงว่าการดาเนินงานอยู่ในระดับ พอใช้ คะแนนเฉลี่ย 1.50 - 1.99 แสดงว่าการดาเนินงานอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 แสดงว่าการดาเนินงานอยู่ในระดับ ควรปรับปรุงเร่งด่วน สรุปผลการประเมินกิจกรรม/กิจกรรม ระดับดีมาก ระดับดี ระดับพอใช้ ระดับปรับปรุง 4.2. สรุปผลการประเมิน ผลการประเมินกิจกรรมหลังการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับ…ดีมาก….และมีคะแนน เฉลี่ยในแต่ละด้านดังนี้คือ 1) การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์


- ตรงตามวัตถุประสงค์ ร้อยละ…100….. 2) ผลการปฏิบัติงาน ……เป็นไปตามแผนที่กำหนด………………. 3) การใช้จ่ายงบประมาณ ………………………………………………………………………………………….. จำนวนและร้อยละของค่าใช้จ่ายงบประมาณ ที่ รายการค่าใช้จ่าย จำนวนเงิน ร้อยละ ที่ตั้งไว้ ที่ใช้ไป 1 2 กิจกรรมส่งเสริมให้ครูศึกษาและพัฒนางานวิจัย ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดทำ/เอกสารสรุป รายงานวิจัยในชั้นเรียน งานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัยและ นวัตกรรมของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 23,600 5,400 - - 0 0 รวม - - 0 การดำเนินการเบิกจ่ายเงิน ( ) ตรงตามที่ประมาณการไว้ ( ) ไม่ตรง ตามที่ประมาณการไว้ ( ) ไม่ได้ใช้เงินตามที่ประมาณการไว้ 4) การประเมินผลกิจกรรม ร้อยละ …100…….. 5) ผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน - ผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน ร้อยละ…100……… 23


บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ การดำเนินงาน โครงการวิจัยสื่อนวัตกรรม ปีการศึกษา 2564 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 5.1 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลการประเมิน ผลการประเมินกิจกรรมหลังการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับ ดีมาก และมี ค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านดังนี้คือ 1.ด้านประสิทธิผล 1.1 เชิงปริมาณ 1) ครูโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมร้อยละ 93.06 นำปัญหาที่พบในชั้นเรียนมาหาวิธีการ แก้ไขปัญหาอย่างมีระบบผ่านกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน มีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มีการออกแบบการวัด และประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น 2) นักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ร้อยละ 100 มีคุณภาพตามศักยภาพ 1.2 เชิงคุณภาพ 1) ครูมีความรู้เข้าใจให้ความสำคัญต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และนำผลการทำวิจัยในชั้น เรียน มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) นักเรียนได้รับความประสบการณ์ที่ดีจากครูและมีผลการเรียนดีขึ้น 5.2 ปัญหาและอุปสรรค 1) มีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูน้อย 5.3 แนวทางในการแก้ไข 1) ควรมีการกำหนดเวลาที่แน่ชัดในการส่งผลงาน 2) ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในการตรวจผลงานวิจัยในชั้นเรียน ในแต่ละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ก่อนส่งมายังกลุ่มงานพัฒนาวิจัย สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา 5.4 ข้อเสนอสำหรับการดำเนินการกิจกรรม ( ) ควรดำเนินการต่อ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาครู สู่ห้องเรียน ( ) ควรดำเนินการต่อแต่ต้องปรับปรุง……………………………………………… ( ) ยกเลิกการดำเนินงานในปีต่อไปเนื่องจาก......................................... ( ) อื่น ๆ……………………………


เอกสารอ้างอิง ขจิต ฝอยทอง. (2544). “การวิจัยในชั้นเรียน : ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ”. , วารสารวิชาการ, 3,(11)7. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงาน. (2547). วิจัยแผ่นเดียว : เส้นทางสู่คุณภาพการอาชีวศึกษา . กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. (2543). เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. ชลบุรี:งามช่าง. ทิศนา แขมมณี. (2538) . เส้นทางสู่งานวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์. เทคนิคนราธิวาส, วิทยาลัย. (2545). เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การวิจัยในชั้นเรียน. วิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส. (สำเนา). พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พะเยาว์ ยินดีสุข. (2549). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ เรียนการสอนแบบบูรณาการ.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตนา แสงบัวเผื่อน. (2550). การวิจัยในชั้นเรียน ไม่ยากอย่างที่คิด . วารสารวิชาการ 10 ,(7)86-88. วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542).การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร:การศาสนา. สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ศึกษาธิการ, กระทรวง, กรมวิชาการ. (2543). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : การศาสนา. อนงค์พร สถิตย์ภาคีกุล. (2543). “5 คำถามน่ารู้กับการวิจัยในชั้นเรียน” .วารสารวิชาการ, 4,(7)63-64. อุทุมพร จามรมาน.(2537). การวิจัยของครู. กรุงเทพมหานคร : ฟันนี่


ภาคผนวก - ปฏิทินการติดตามการพัฒนาสื่อวิจัย ปีการศึกษา 2565 - ทำเนียบรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน - คำสั่ง/ภาพการดำเนินงานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัย นวัตกรรม การเรียน การสอน และส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565


ปฏิทินการติดตามการพัฒนาสื่อวิจัย ปีการศึกษา 2565


ทำเนียบรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน


ทำเนียบรายงานการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1 การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ3R รวมกับเทคนิคผังความคิด นางสาวปนัดดา หงษ์ทอง 2 การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ประกอบการจัดการเรียนรู้โดย ใช้วรรณคดีเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม นางสาวอมรา ขอดสันเทียะ 3 การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวรัชนี คตกฤษณ์ 4 การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความ โดยใช้เทคนิคดอกบัวบาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวเกศินี เที่ยงชุดติ 5 การพัฒนาชุดการเรียน เรื่องการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวนันทิดา กรับทอง 6 การพัฒนาทักษะการอ่านตีความจากบทความ ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ด้วยรูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบการใช้คำถาม (Questioning Method) นายเชาว์วัฒน์ ดีดอม 7 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการตั้งคำถาม 5W1H ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวมาลินี ศรีไชยแสง 8 การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวธนัฏฐา ถมทอง 9 การพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีความสัมพันธ์ ระหว่างคำถามและคำตอบ (QAR) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายศุภณัฐ อนุพจน์มนตรี 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1 การเปรียบเทียบคะแนนสอบย่อยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 ที่ ได้จากการเรียนแบบปกติกับการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน นายอิทธิกร ภู่สาระ 2 การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส และความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) นายธีระ ลี้ศิริสรรพ์ 3 การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชันตาม กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา นายสรณ ปัทมพรหม 4 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง กราฟของ ฟังก์ชันก าลังสอง โดยใช้แบบฝึกทักษะ นางจิตติมา ยศเรืองสา 5 การแก้ปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวกจำนวนเต็ม ของนักเรียน นางสาวชลธิรา เมืองใจ


ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมโดยใช้แผ่นสี2 สีในการ สอนซ่อมเสริม 6 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องการคูณทศนิยม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวอรนุช เทพอัครพงศ์ 7 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องความคล้ายของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายชวลิต สิงห์โต 8 การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง และความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) นายฑนันชัย คชเคลื่อน 9 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องสมการก าลังสอง ตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาววราภรณ์ แซ่ตัน 10 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ด้วยชุดแบบฝึกทักษะ นางสาวกมลนัทธ์ แกล้วทนงค์ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 6E Learning ร่วมกับชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องงานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นางกณิการ์ พัฒรากุล 2 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โดยใช้ แบบฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้า นายสุรจักริ์ แก้วม่วง 3 การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ด้วยวิธีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการใช้ชุด กิจกรรมการเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ นางสมศรี คงสุวรรณ 4 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง งานและกำลัง นางกนกวรรณ แก้วม่วง 5 การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโมเมนตัม และการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยแบบฝึกทักษะการ แก้ปัญหาโจทย์ในการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ 2 เรื่องโมเมนตัมและการชน นายศิริชัย พงษ์พฤษพรรณ์ 6 การศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ 7 พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (Co-5STEPs Collaborative Learning Process) เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดตามแนวคิดของ Bloom’s taxonomy เรื่อง วงจรไฟฟ้า รายวิชา ว23102 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นางสาวชุติมา รอดสุด 8 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active นายธงวุฒิ จันทร์เพชร


ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย Learning) ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านสื่อผสม รายวิชาชีววิทยา 2 รหัสวิชา ว30242 เพื่อแก้ปัญหาการเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบ น้ำเหลืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม 9 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการแพร่ ด้วย รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม นางสาวหทัยรัตน์ มะโต 10 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เรื่อง ทรงกลมฟ้า ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายวารุต ขำเจริญ 11 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์ฟิสิกส์ 6 โดยใช้รูปแบบ KAMOL MODEL รายวิชา ฟิสิกส์ 6 เรื่อง ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นายชูเกียรติ นิลโคตร 12 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การคํานวณสูตรอย่างง่าย และสูตรโมเลกุล นางสาวอารียา มีแก้ว 13 การศึกษาผลสัมฤทธิ์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดย Google Classroom นางสาวขวัญหล้า เกตุฉิม 14 - นางสาวพรศรี เจริญวัย 15 การศึกษาผลการใช้สื่อการสอนออนไลน์ เรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความ รับผิดชอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม นางสาวกาญจนา คงทน 16 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ที่เรียนด้วยการเรียนแบบกลุ่มตาม แนวคิดของเคิร์ท เลวิน และการเรียนแบบโครงงาน ตามแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ นายอรรถพล ภูทอง 4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกฎหมายแพ่ง โดยใช้วิธีการสอนแบบ 4MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวณัฐรินีย์ สมนึก 2 การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/8 โดยใช้วิธีเสริมแรงด้วยรางวัล นางสาววานิดา เสน่หา 3 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยใช้แบบฝึกทักษะทางการเรียน นางสาวฐมน ม่วงนา 4 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชากฎหมายน่ารู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องคดีอาญา นายสมานชัย ริดจันดี


ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย 5 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับรูปแบบการสอนปกติ นายอนุศักดิ์ ติรสถิตย์ 6 การใช้กลวิธีแบบสืบสอบในการสอนวิชาประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นางสาววิมลมาศ ฟูบินทร์ 7 เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติ ธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดการ เรียนรู้กับการสอนปกติ นางสาวภรณี สืบเครือ 8 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายปรัชญานันท์ พันธเสน 9 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องลักษณะ ภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวสุภาวดี พงประสิทธิ์ 10 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีวินัยต่อการเรียน มีความขยันอดทนใฝ่ต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนและการส่งงานของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 นายอรรถกิตติ์ มีเงิน 11 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา2 (ส21103) เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/2 โรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม นางสาวกานดา ร่วมเกตุ 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงตัวคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นโดยใช้บัตรคำศัพท์ คำกริยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาววิไลวรรณ บุญเพิ่ม 2 เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบ ฝึกการอ่านข่าว (Reading news) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม นางสาวกนกวรรณ พิมพ์ศรวงษ์ 3 การศึกษากลยุทธ์ในการเรียนภาษาจีน รายวิชา จ32204 ภาษาจีนรอบรู้ 2 ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายเปรมณัช สถิตมั่นวิวัฒน์ 4 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง1 โดยใช้เทคนิคการสอน แบบ KWL Plus นายปิยวัช สีกันหา 5 การพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนสุวรรณรามวิทยาคม นางสาวชัชชฌาณีญา ชวาลปัญญาวงศ์ 6 การพัฒนาทักษะการอ่านตัวอักษรจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกการอ่านตัวอักษรจีน นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย 7 การศึกษาผลการจดจำตัวอักษรฮิรางานะ โดยใช้เกมการ์ดอูโน่ (UNO) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวนลพรรณ สุพรรณพานิชย์


ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย 8 เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบ ฝึกการอ่านข่าว (Reading news) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม นายราเชนทร์ พวงพวา 9 เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้แบบ ฝึกการอ่านข่าว (Reading news) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สุวรรณารามวิทยาคม นางสาวณัชธิดารัตน์ ภูศรี 10 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Active & Passive voice โดยใช้ เกม Wordwall ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม นางสาวปวีณา ข้ามสมุทร 11 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการเรียนการ สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เรื่องการพัฒนาทักษะการ ฟังและพูด นายสพลเชษฐ์ จันทร์อบ 6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 1. การพัฒนาทักษะการจำแนกการละครไทย ระหว่าง ละครนอก และละคนใน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาตม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 นางสาวรังษิยา ชูขันธ์ 2. กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ศิลปะ 6 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศิลป์ สูงขึ้น นางสุภัทรา อินต๊ะคำ 3. การพัฒนาทักษะการเรียนปฏิบัติฆ้องวงใหญ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นายเอกนรินทร์ ชั่งจัตตุรัตน์ 4. การอ่านโน้ตสากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณา รามวิทยาคม ว่าที่ร้อยตรีทวีศักดิ์ ยิ้มแย้ม 5. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันตก นางสาววรารัตน์ คำฤาชัย 7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ 1 พัฒนาทักษะการเย็บผ้าด้วยมือ โดยการใช้ชุดการสอนมัลติมีเดียเรื่องการเย็บ ผ้าด้วยมือ หน่วยที่ 4 เรื่อง เสื้อผ้าน่าใช้เนื้อหาการเย็บผ้าด้วยมือเพื่อการ ซ่อมแซมเสื้อผ้าเบื้องต้น ชั้น ม.4 กรณีศึกษาเฉพาะในโรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม นางสาวจุรีย์พร ด้วงชอุ่ม 2 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการงานอาชีพ 5 เรื่องขนมมงคล และความพึงพอใจขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยการใช้สื่อ Power Point นางสาวรุ่งทิวา วงค์ษา 3 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา การงานอาชีพเรื่อง การจัดและ ตกแต่งบ้าน โดยใช้สื่อการสอนพาวเวอร์พ้อยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นางสาวปานตะวัน คันธะเนตร


ลำดับ ที่ ชื่องานวิจัย ผู้วิจัย 8. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 1. การเปรียบเทยบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา 2 เรื่องภัยจากสารเสพ ติดของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อประสมกับ การสอนด้วยวิธีปกติ นางสาวบุปผา กาลพัฒน์ 2. การพัฒนาผสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาโดยใช้วิธีการเรียนการสอน แบบใช้สื่อวีดีทัศน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องกติกาบาสเกตบอล นางสาวชลิสา ชำนาญวารี 3. การพัฒนาแบบฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีผลต่อทักษะการอันเดอร์ลูก วอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสุวรรณาราม วิทยาคม นางสาวกัลยา ทองโชติ 4. การพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวโดยใช้บันไดลิง ในกีฬาแบดมินตัน ของ นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายนันทกรณ์ หนูดี 5. ผลของการฝึกการเคลื่อนไหวเบื้องต้นแบบสถานีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม นายณัฐสุชน บัวมีธูป 9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 การเสริมแรงเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบ นางสาวหทัยรัตน์ ทับเปรม 2 การปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักเรียนวิชาแนะแนวระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอบแบบร่วมแรงร่วมใจและการเสริมแรง นางสาวสุจิรดา โพธิ์เทศ *****************


สรุปผลการส่งรายงานการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนครู ทั้งหมด จำนวนครู ที่ส่งงานวิจัย ร้อยละของครู ที่ส่งงานวิจัย 1. ภาษาไทย 9 9 100 2. คณิตศาสตร์ 10 10 100 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16 15 93.75 4. สังคมฯ 11 11 100 5. ภาษาต่างประเทศ 11 11 100 6. ศิลปะ 5 5 100 7. การงานอาชีพฯ 3 3 100 8. สุขศึกษาฯ 5 5 100 9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2 2 100 รวม 72 71 99.31 จากตารางพบว่าจำนวนครูทั้งหมด 72 คน จำนวนครูที่ส่งงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 99.31


ทำเนียบกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565


ทำเนียบกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1. นางสาวปนัดดา หงษ์ทอง -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 2. นางสาวอมรา ขอดสันเทียะ -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 3. นางสาวรัชนี คตกฤษณ์ -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 4. นางสาวเกศินี เที่ยงชุดติ -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 5. นางสาวนันทิดา กรับทอง -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 6. นายเชาว์วัฒน์ ดีดอม -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 7. นางสาวมาลินี ศรีไชยแสง -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30 8. นางสาวธนัฏฐา ถมทอง -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 9. นายศุภณัฐ อนุพจน์มนตรี -การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -การอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 32 30


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 1. นายอิทธิกร ภู่สาระ -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 2. นายธีระ ลี้ศิริสรรพ์ -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 3. นายสรณ ปัทมพรหม -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 4. นางจิตติมา ยศเรืองสา -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 5. นางสาวชลธิรา เมืองใจ -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 6. นางสาวอรนุช เทพอัครพงศ์ -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 7. นายชวลิต สิงห์โต -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 8. นายฑนันชัย -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 9. นางสาววราภรณ์ แซ่ตัน -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง 10. นางสาวกมลนัทธ์ แกล้วทนงค์ -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็มของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 -การพัฒนาทักษะการบวก ลบ คูณ และหารทศนิยมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 10 8 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1. นางกณิการ์ พัฒรากุล -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 2. นางสมศรี คงสุวรรณ -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 3. นายสุรจักริ์ แก้วม่วง -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 4. นางกนกวรรณ แก้วม่วง -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 5. นางสาวชุติมา รอดสุด -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 6. นายธงวุฒิ จันทร์เพชร -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 7. นางสาวหทัยรัตน์ มะโต -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 8. นายวารุต ขำเจริญ -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 9. นายศิริชัย พงษ์พฤษพรรณ์ -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 12


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 20 10.นายชูเกียรติ นิลโคตร -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 11.นางสาวพรศรี เจริญวัย -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 20 12.นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการ เรียนรู้Learning loss EP2 -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 10 20 13.นางสาวขวัญหล้า เกตุฉิม -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการ เรียนรู้Learning loss EP2 -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 10 20 14.นางสาวกาญจนา คงทน -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการ เรียนรู้Learning loss EP2 -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 10 20 15.นายอรรถพล ภูทอง -การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสีย การเรียนรู้ Learning loss การแก้ปัญหาภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการ เรียนรู้Learning loss EP2 -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The Development of student's Collaboration skills) 12 10 20 16.นางสาวอารียา มีแก้ว -การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) -การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียน (The 12 20


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง Development of student's Collaboration skills) 4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1. นางสาวณัฐรินีย์ สมนึก -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 2. นางสาววานิดา เสน่หา -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด 0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 3. นางสาวฐมน ม่วงนาพูล -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 4. นายสมานชัย ริดจันดี -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด 0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 5. นายอนุศักดิ์ ติรสถิตย์ -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 30


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 6. นางสาววิมลมาศ ฟูบินทร์ -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 7. นางสาวภรณี สืบเครือ -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 8. นายปรัชญานันท์ พันธเสน -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 9. นางสาวสุภาวดี พงประสิทธิ์ -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 10. นายอรรถกิตติ์ มีเงิน -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ 30


ลำดับที่ ชื่อเรื่องการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวนชั่วโมง วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 11. นางสาวกานดา ร่วมเกตุ -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ย ใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 1 ปีการศึกษา 2565 -“นักเรียนมีปัญหาเรื่องการไม่ส่งงานซึ่งอาจมีผลทำให้ติด0 ของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒ น ธ รรม ”โด ยใช้ ก ระ บ วน ก าร PLC (Professional Learning Community) ภาคเรียนี่ 2 ปีการศึกษา 2565 30 30 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1. นางสาววิไลวรรณ บุญเพิ่ม -การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใข้แบบฝึก ทักษะ Zeroless -การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใช้สื่อประเภทเกม (Games Corner) 30 30 2. นางสาวกนกวรรณ พิมพ์ศรวงษ์ -การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใข้แบบฝึก ทักษะ Zeroless -การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใช้สื่อประเภทเกม (Games Corner) 30 30 3. นายเปรมณัช สถิตมั่น วิวัฒน์ -การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใข้แบบฝึก ทักษะ Zeroless -การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใช้สื่อประเภทเกม (Games Corner) 30 30 4. นายปิยวัช สีกันหา -การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใข้แบบฝึก ทักษะ Zeroless -การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนกลุ่มอ่อนโดยใช้สื่อประเภทเกม (Games 30 30


Click to View FlipBook Version