The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by memieho, 2021-05-06 03:28:56

Kurume

Kurume

ระบบรวบรวม เกบ็ ขน และการคัดแยกขยะเพื่อนาํ มาใชป้ ระโยชนข์ องเมืองครุ เุ มะ ประเทศญป่ี ุ่น

จากประสบการณ์อบรม ณ ประเทศญ่ีปุ่น หลักสูตร Waste Landfill Planning Assistance for
Thailand ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ดิฉันได้มีโอกาสศึกษาดูงานการจัดการขยะของเทศบาล ในจังหวัด
ฟุกุโอกะ ประเทศญ่ีปุ่น ดิฉันเห็นว่าเป็นความรู้ที่มีประโยชน์และสามารถนํามาปรับใช้ในพ้ืนที่ในประเด็นของ
รปู แบบการรวบรวม เก็บขน และการคัดแยกเพ่ือนาํ มาใชป้ ระโยชน์

เทศบาลเมืองคุรุเมะ จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น มีประชากร ๓o๖,๒๔o คน จากข้อกฎหมายของ
ประเทศญี่ปุ่นที่กําหนดให้มีการรีไซเคิล เทศบาลเมืองคุรุเมะจึงกําหนดจะจัดการขยะจําพวกภาชนะที่มาจาก
อาหารและพวก Packaging โดยเน้นการนํากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันอัตราการผลิตขยะ ๙๒๕
กรัม/คน/วัน ตั้งเปา้ หมายลดการผลิตขยะใน ๖ ปี ใหเ้ หลอื ๙๒o กรัม/คน/วนั

การบริหารจัดการระบบบรวบรวมและเก็บขนเดิมรถเก็บขนจะจัดเก็บท่ีอาคารสํานักงาน ปัจจุบันจ้าง
เอกชนดําเนินการ ตวั อาคารสาํ นกั งานจะใชป้ ระโยชน์เพอ่ื งานสาํ นักงานอย่างเดยี ว

ผบู รโิ ภค (ประชาชน)

เทศบาลรวบรวม รูปแบบการ Recycling 
และคัดแยกอีกครง้ั คัดแยกขยะ 
หนว ยงานรีไซเคิล

Recycling Society 

จากผังรูปแบบการคัดแยกขยะของเมืองคุรุเมะ เทศบาลฯจะกําหนดประเภทขยะที่จะนํามาใช้ใหม่
ดังนั้นต้องมีการแยกท่ีต้นทางให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการนํากลับมาใช้ใหม่ หรือเพื่อให้ง่ายต่อการกําจัดข้ัน
สุดท้าย คุรุเมะใช้สีและสัญลักษณ์ของเทศบาลเองในการกําหนดประเภทขยะ โดยเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๗ ใช้ถุง
อะไรก็ได้ ต่อมาแยกขวด/โลหะ และขยะรวมใส่ถุงอะไรก็ได้ ปี ค.ศ. ๑๙๘๙ เปลี่ยนเป็นถุงใสของเทศบาล ปี
ค.ศ. ๑๙๙๒ แยกกระดาษหนังสือพิมพ์ ปี ค.ศ. ๒oo๒ แยกขวดเพ็ท โฟม ปัจจุบันเทศบาลฯกําหนดแยกขยะ
เป็น ๑๘ ประเภท



ประชาชนผ้บู ริโภค เทศบาลฯ จัดอบรมให้ความรู้เก่ียวกับการแยกขยะให้ถูกประเภท และให้แยกขยะ
ภายในบ้าน ไม่อนุญาตให้แยกขยะ ณ สถานท่ีพักขยะ เพื่อประโยชน์ในการฝึกนิสัยและการเป็นแบบอย่างแก่
ลกู หลาน

ตัวอย่างวิธกี ารแยกและท้งิ ขยะ จาํ นวกขวด Pet
๑. ถอดฝา
๒. เทของเหลวออก
๓. บบี อดั ใหม้ ขี นาดเลก็

ข้อห้ามสาํ หรับการทิง้ ขยะ ไดแ้ ก่
- ขยะเผาได้ทหี่ า้ มปะปนไปเผา ได้แก่ ขวดแก้ว กระป๋อง เครือ่ งแกว้ และโลหะ
- ขยะห้ามทิ้งปนตะกร้าใส่ขวด Pet ได้แก่ แชมพู/ พลาสติกใส่นํ้ามัน ถ้าไม่มีสัญลักษณ์ขวด Pet ต้อง
ใส่ประเภทขยะท่ีเผาได้ แต่ถ้าเป็นขวด Pet ท่ีใส่อะไรข้างในหรือนําไปตัดทําอย่างอื่น ต้องใส่ขยะเผาได้ และ
ห้ามเอาปากกาเมจิกเขียน ถา้ จะนําไปรไี ซเคิล
- ขยะโลหะต้องเป็นโลหะส่วนใหญ่ร้อยละ ๘o เป็นโลหะมขี นาด ๕ เซนตเิ มตรขึน้ ไปจนขนาดที่ใส่ถุงได้
- ขยะจําพวกหลอดไฟ ปรอทวัดไข้ ต้องทิ้งใส่ถุงพลาสติกใสเพ่ือให้มองเห็นข้างใน และไม่ทิ้งปนกับถุง
ใสข่ ยะทีเ่ ผาไหมไ้ ด้
- ขยะที่นําไปรีไซเคิลได้ จะเตรียมตะกร้าแยกประเภทไว้ให้ เช่น แก้ว พลาสติก ขวดใส ขวดสีชา และ
ขวดสีอื่น ๆ การท้งิ ต้องไมใ่ ส่ถุงพลาสตกิ ใหว้ างในตะกร้าไดเ้ ลย

สมาคมรีไซเคิล (หน่วยงานรีไซเคิล) ภายในสมาคมจะมีหลายบริษัทเป็นสมาชิก เม่ือมีขยะท่ีต้องการ
ให้นาํ ไปรไี ซเคิลเทศบาลฯ จะแจ้งสมาคมให้แจ้งบริษัทสมาชิกมาประมูลสินคา้ บรษิ ทั ท่จี ะรบั ของไปรไี ซเคลิ ต้อง
ชนะการประมูล รายได้จะเขา้ เทศบาลฯ สว่ นหนึง่ ขึน้ กบั สัญญาระหวา่ งเทศบาลฯ กบั สมาคม

การรวบรวมและเกบ็ ขน : ขยะในพ้ืนท่รี บั บริการ ๒oo ตนั /วนั แบง่ ขยะตามประเภท ๑๘ ประเภท รถ
เกบ็ ขนขยะแบ่งตามประเภท เช่น กําหนดเก็บขยะรีไซเคลิ รถเก็บขนขยะรไี ซเคลิ จะวง่ิ ๕ คัน ตามประเภทขยะ
รีไซเคิลท่ีกําหนด การกําหนดประเภทและวัน เวลา สถานท่ีเก็บเป็นของ
แต่ละเทศบาลฯ กําหนด การแบ่งงานการเก็บรวบรวมขยะของเจ้าหน้าท่ีจะ
ดําเนินงานช่วงเช้า หลังจากนั้นจะพักท่ีศูนย์ฝังกลบขยะและทํางานช่วงบ่าย
ไม่มีการทํางานช่วงกลางคืน การจัดการขยะจากอพาร์ทเมนต์ ของประเทศ
ญ่ีปุ่น กฎหมายไม่กําหนดบังคับเรื่องการจัดการว่าต้องมีที่พักขยะหรือ

สถานท่ีรวบรวมขยะ จะเป็นการดําเนินการโดยคุยกันว่าจะมีที่พักขยะบริเวณใด เป็นการรวมกลุ่มกันประมาณ
๓o ครัวเรือนต่อ ๑ จุด ถ้าอยู่ห่างกันและจํานวนครัวเรือนไม่ถึงก็กําหนดจุดพักขยะ
ร่วมกนั

• กรณีตัวอย่างแมนช่ัน จากภาพจะกําหนดตารางและแจ้งผู้อาศัยให้
ปฏบิ ตั ติ ามดังน้ี
- ขยะเผาไดจ้ ัดเกบ็ ทุกวนั องั คารและศุกร์
- ขยะรีไซเคลิ ทุกวนั พฤหัสบดีที่ ๒ กับ ๔ ของเดือน
- ขยะเศษผ้า กระดาษ ทุกวนั พฤหสั บดีที่ ๑ กบั ๓ ของเดือน

  ถุงกับลังท่ีใส่ขยะ ทางเทศบาลฯ เตรียมให้ก่อนเวลาเก็บ แต่มีบางแห่งท่ี
สถานที่รับของเทศบาลฯ ไว้และเมื่อถึงเวลาจะนํามาบริการ เทศบาลฯ จะให้เงินใน
การรับดําเนินการ ๘oo เยน/ครั้ง เป็นค่าช่วยบริการดูแลทรัพย์สินของหลวง (กรณีน้ี
แมนชันดูแลให)้

เมื่อรถขยะมาถึง เจ้าหน้าที่จะแยกประเภทขยะก่อนขนสู่รถ โดยรถเก็บขน
จะแบ่งช่องรับขยะตามประเภท เช่น ขวดขาว ขวดสีชา ขวดสี ด้านข้างรถ
มีป้ายบอกให้ถอดฝาขวด กรณีขวดใสมีสีจะแยกใส่ประเภทขวดสี (สีเขียว)
และกําหนดเป็นประเภทของขวดเคร่ืองดื่มเท่าน้ันไม่รับขวดยาหรือ
ประเภทอ่ืน เม่ือเทขยะเข้าช่องแล้วรถจะยกขยะเทจากจุด
รับใส่ตัวรถซ่ึงแยกส่วนรับขยะตามประเภทท่ีกําหนด และ
บริเวณด้านข้างรถมีช่องเก็บของท่ีท้ิงผิดแยกไว้ไปทิ้งที่ศูนย์
กําจัด

ตวั อยา่ งท่สี ง่ ผิดวนั จะแจง้ เตอื นให้ใส่ถงุ ตามเวลากําหนดและไม่เก็บขนไป
กําจัดให้ ไม่เสยี ค่าปรบั เปน็ การแจง้ เตือน เมื่อเจา้ ของเห็นก็จะเก็บไปและจดั ส่งตาม
วนั และเวลาท่ีกาํ หนด

ปัญหาที่พบในการกองขยะ คือ ระหว่างที่ขยะรอการเก็บขน จะมีกามา
จกิ /คุย้ ขยะ เทศบาลฯ ยงั แก้ปัญหาไม่ได้ บางแห่งนําตาข่ายมาคลุม บางคร้ังทดลอง
เรยี งเป็นแถวปิดไม่ให้เห็นขยะดา้ นใน

การแยกขยะของเจ้าหน้าที่ ณ อาคารสํานักงาน
เพ่ือศึกษาองค์ประกอบของขยะ เพื่อเตรียมการวางแผน
รับมือกับปริมาณและประเภทขยะในอนาคต โดย
ดําเนินการเป็นงานประจํา ทําเดือนละ ๑ คร้ัง ระยะเวลา
๑ ปี ศึกษาองค์ประกอบจากขยะท้ังคัน แบ่งการศึกษาเป็น
ขยะจากในเขตเมือง และเขตนอกเมอื ง

สถานที่เก็บวัสดุรีไซเคิล : วัตถุประสงค์หลักของการมีสถานที่เพื่อสร้างจิตสํานึกให้กับประชาชน เป็น
สถานท่ีเก็บวัสดุรีไซเคิลเพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมก่อนจําหน่าย และเพ่ือเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของ
ประชาชนในพ้ืนท่ีเก่ียวกับการจัดการขยะของเทศบาลฯ การบริหารจัดการเก่ียวกับวัสดุรีไซเคิล กรณีท่ี
เทศบาลฯ ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการนําวัสดุไปรีไซเคิล เทศบาลฯ จะคุยกับสมาคมให้บริหารงบประมาณสมดุล
กันระหว่างของที่มีรายได้กับของท่ีต้องจ่าย (Pet เดิมเทศบาลจ่ายค่านําไปกําจัดให้กับหน่วยงานภายนอก
ต่อมามีมูลค่าเพิ่มขึ้น มีรายได้เข้ามาส่วนโลหะ ปัจจุบันจ่ายให้กับหน่วยงานที่มารับเพ่ือนําไปกําจัด เนื่องจาก
ไม่มมี ูลคา่ )

ขยะท่ีเผาไหม้ได้ถูกกําจัดโดยเผาในเตาเผาเมืองคุรุเมะ ท่ีมี
ระบบควบคุมมลพิษไม่ให้ก่อผลกระทบสู่ภายนอก ความร้อนที่ได้ใช้
เป็นพลังงานความร้อนให้แก่บ่อน้ําร้อนท่ีเปิดให้บริการแก่ประชาชน
ปัจจุบันกําลังก่อสร้างเตาเผาใหม่เน่ืองจากเตาเผาท่ีใช้อยู่เก่าและอายุ
การใชง้ าน ๒o ปี

 
 

 
 

นางอรอนงค อุทัยหงษ 
นักวิชาการสิง่ แวดลอมชํานาญการ 

2 กุมภาพันธ 2558


Click to View FlipBook Version