รายงานโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื'อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปี งบประมาณ ๒๕๖๖ เอกสาร นตป.ที ๔ /๒๕๖๖ กล ุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม
ก ก คํานํา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่ง ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และบทบาทการพัฒนาการศึกษา ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตาม ศักยภาพ โอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่ ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง องค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาระดับจังหวัด กำกับ ดูแล เร่งรัด นิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนางาน วิชาการและการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ภารกิจสำคัญในการกำกับดูแล เร่งรัด นิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา มีความสอดคล้อง กับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนบริบทของพื้นที่จังหวัดนครปฐม สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงได้จัดทำโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรม การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐมขึ้น เพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษาทั้งในด้านการบริหารจัด การศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล รวมถึงเพื่อสร างเครือขาย ความรวมมือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับจังหวัด ให้ สามารถเป็นกลไกกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา บริหารจัดการศึกษา รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านการ จัดการเรียนการสอนของครูเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและได้รับพัฒนา อย่างเหมาะสม เป็นผู้มีองค์ความรู้ตามศักยภาพ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเป็นคนดีของสังคม รายงานโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่จังหวัดนครปฐม จัดทำขึ้น เพื่อสรุป รวบรวม วิเคราะห์สังเคราะห์ กิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน และผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ โดยแบ่ง เนื้อหาออกเป็น 5 บท ทั้งนี้เพื่อรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ไปยังหน่วยงานทางการศึกษาและ สถานศึกษา รวมถึงผู้ที่มีความสนใจทั่วไป ขอขอบคุณท่านที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โครงการจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม
ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทสรุปผู้บริหาร ฉ บทที่ 1 บทนํา 1 ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดนครปฐม 1 ความเป็นมาและความสำคัญ 6 วัตถุประสงค์ 7 เป้าหมาย 7 ผลที่คาดว่าจะเกิด 8 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 8 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้รับผลประโยชน์ 8 นิยามศัพท์เฉพาะ 9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 11 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวขflอง 12 แนวคิดเกี่ยวกับการสอนงาน (Coaching) 12 แนวทาง หลักปฏิบัติและวิธีการในการเป็น Coach 13 ขั้นตอนการนิเทศแบบสอนแนะ 13 แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษา 21 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 22 บทที่ 3 วิธีการดําเนินโครงการ 24 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 24
ค กิจกรรมการดำเนินงานโครงการ Innovations For Thai Education(IFTE) 31 แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 32 ระยะเวลาการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 33 เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 38 บทที่ 4 ผลการดําเนินงานและการวิเคราะห&ขflอมูล 39 ผลการดำเนินงาน 39 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 41 ผลผลิตที่ได้รับ 42 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) 48 จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาในการดำเนินโครงการ 51 ปัญหาและอุปสรรค 51 ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นเพิ่มเติม 51 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและขflอเสนอแนะ 52 สรุปผลการดำเนินโครงการ 52 อภิปรายผล 54 ปัญหาอุปสรรค 55 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการดำเนินโครงการ 55 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 55 บรรณานุกรม 56 ภาคผนวก 57 คณะผูflจัดทํา 84
ง บทสรุปผู บริหาร รายงานโครงการ Innovations For Thai Education(IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม ฉบับนี้ จัดทําขึ้นเพื่อประมวลผลการดําเนินงานโครงการ ประจําป9งบประมาณ 256๖ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการไดBจัดสรรงบประมาณ ภายใตBแผนงานยุทธศาสตรGเพื่อสนับสนุนดBานการ พัฒนาและเสริมสรBางศักยภาพทรัพยากรมนุษยG วัตถุประสงค ของโครงการ (1) เพื่อสIงเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรูB และการนิเทศการศึกษารวมทั้งการยกระดับคุณภาพและ ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาอยIางบูรณาการรIวมกันของหนIวยงานที่เกี่ยวขBอง (๒) เพื่อพัฒนาศูนยGกลางขBอมูล สารสนเทศอยIางบูรณาการ ดBานนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาในระดับจังหวัด (๓) เพื่อสรBางเครือขIายความ รIวมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เปาหมาย (Output) ของโครงการ ไดBแกI (๑) มีรูปแบบ/แนวทางการ พัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรูB และการนิเทศการศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (๒) มีศูนยGกลางขBอมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และ การวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อใหBบริการขBอมูลดBานดBานนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา (๓) มีเครือขIายความรIวมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด โดยมี กลุfiมเปาหมาย ไดBแกI ศึกษานิเทศกGและผูBแทนหนIวยงานทางการศึกษาจาก สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และเขต 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ผูBแทน สถานศึกษาเอกชน องคGกรปกครองสIวนทBองถิ่น และคณาจารยGจากคณะศึกษาศาสตรGมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะ ครุศาสตรGมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนG ผูBบริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร ทางการศึกษา ผูBเรียนและผูBแทนจากสํานักงานศึกษาธิการภาค 2 และสถานศึกษา จํานวน 4๒ แหIง กิจกรรมการ ดําเนินงาน ประกอบดBวย (๑) กิจกรรมการประชุมชี้แจงสรBางการรับรูBแนวทางการดําเนินงานโครงการ (๒)กิจกรรม การประชุมปฏิบัติการเสริมสรBางศักยภาพ Supervisor Teams และโรงเรียนกลุIมเปXาหมายดBานการพัฒนารูปแบบ แนวทางการพัฒนานักเรียนและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (๓) กิจกรรมการจัดประชุมปฏิบัติการ นิเทศ ติดตามและประเมินผล ณ โรงเรียนกลุIมเปXาหมาย (๔) กิจกรรมการจัดประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรูB ถอดบทเรียนและคัดเลือกนวัตกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) (๕) กิจกรรมการจัดประชุมปฏิบัติการ วิเคราะหG สังเคราะหGงานวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมดBานการพัฒนานักเรียน การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรูB การนิเทศการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดและ(๖) กิจกรรมการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทํารายงานผลการ ดําเนินงานโครงการและเผยแพรIนวัตกรรม ผลการดําเนินงานโครงการ พบวIา สํานักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม และสถานศึกษา มีแนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โดยไดBนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป]นวิธี ปฏิบัติที่ดีทั้ง 3 ดBาน ไดBแกI ดBานการจัดการเรียนรูB ดBานการนิเทศติดตามและประเมินผล ดBานการบริหารจัดการ มี เครือขIายความรIวมมือในการนิเทศติดตามและประเมินผล การบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพของผูBเรียน สถานศึกษาที่ไดBรับการนิเทศ มีแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมที่สอดคลBองกับบริบทของสถานศึกษาในแตIละสังกัด มีศูนยGกลางขBอมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการ วิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อใหBบริการขBอมูลดBานดBานนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา ผูBบริหาร สถานศึกษาเล็งเห็นป`ญหาและสามารถวางแผนออกแบบนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ครูผูBรับการ นิเทศดBวยเทคนิคการโคBช (Coaching) และกระบวนการ PLC มีนวัตกรรมที่เกิดจากการจัดการเรียนรูB นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีทักษะที่จําเป]นในศตวรรษที่ ๒๑ สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม
1 บทที่ 1 บทนํา จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เส้นแวงที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 ฟิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่ เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทาง ถนนเพชรเกษม ระยะทาง 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี) ระยะทาง 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ ระยะทาง 62 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศใต ติดต่อกับอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครและอำเภอบางแพ จังหวัด ราชบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีและเขต ทวีวัฒนา เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ขอมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดนครปฐม
2 เขตการปกครอง จังหวัดนครปฐมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 904 หมู่บ้าน สำหรับการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 93 แห่ง ตารางที่ 1 แสดงการแบ'งเขตการปกครอง อําเภอ จํานวน ตําบล จํานวน หมู'บาน จํานวน เทศบาล นคร จํานวน เทศบาล เมือง จํานวน เทศบาล ตําบล จํานวน อบต. ระยะทาง จาก จังหวัด 1. เมืองนครปฐม 25 214 1 1 5 21 9 2. สามพราน 16 111 - 3 2 12 28 3. นครชัยศรี 24 108 - - 3 22 21 4. บางเลน 15 180 - - 4 15 55 5. กำแพงแสน 15 204 - - 1 15 33 6. ดอนตูม 8 69 - - 1 6 38 7. พุทธมณฑล 3 18 - - 2 2 40 รวม 106 904 1 4 18 93 - ประชากร จังหวัดนครปฐมมีประชากรจํานวนทั้งสิ้น 626,317 คน เป็นชาย จํานวน 301,033 คน หญิง จํานวน 325,284 คน ครัวเรือน จํานวน 377,570 ครัวเรือน การบริหารราชการ จังหวัดนครปฐม แบ่งส่วนการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนราชการบริหารส่วนกลางในจังหวัด (ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง) มีจำนวน 66 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานใน สังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จำนวน 48 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 4 หน่วยงาน และหน่วยงานอิสระจำนวน 14 หน่วยงาน 2. ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีจำนวน 32 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จำนวน 23 หน่วยงาน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 8 หน่วยงาน ระดับอำเภอ แบ่งเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 904 หมู่บ้าน
3 3. ส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง เทศบาลเมือง จำนวน 4 แห่ง เทศบาลตำบล จำนวน 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 93 แห่ง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ กรอบแนวคิดในการนิเทศ ขอบข่ายการนิเทศ ตัวชี้วัด และเป้าหมายในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา รายละเอียด ดังนี้ 1. ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชากรทุกคนมีสิทธิและโอกาสเสมอกันทางการศึกษา โดยได้รับการ จัดการเรียนรู้ ตลอดชีวิตที่หลากหลายอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 2. ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษ ที่ 21 3. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการพัฒนา บุคลากรให้มีประสิทธิภาพ 1. ประชากรทุกคน ได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา และเรียนรู้ตลอดชีวิตที่หลากหลายอย่าง ทั่วถึง มีคุณภาพ และพัฒนาสู่อาชีพ วิสัยทัศน นครแหงการเรียนรู คูคุณธรรม นําสูอาชีพ ใชวิถีชีวิตพอเพียง พันธกิจ เป$าประสงครวม
4 2. หน่วยงานทางการศึกษาจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานสอดคล้องกับการพัฒนา ทักษะในศตวรรษที่ 21 3. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็นบุคคลแห่งการ เรียนรู้ สอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ 4. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณภาพ ชีวิต จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา นครปฐม ปฐมนครแห่งความจงรักภักดี 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล คานิยมรวม ประเด็นยุทธศาสตร
5 อํานาจหนาที่ของสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 161/4 ถนนเพชรเกษม ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมาย กำหนดการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบายและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย และให้มี อำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ 1. รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการ ที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามหน้าที่ กศจ. มอบหมาย 2. จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ 3. สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ 4. จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา 5. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ 6. ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 7. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษา ทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา 8. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการ หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 9. ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา เพื่อการศึกษา 10. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน 11. ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติ ภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ ในจังหวัด โครงสรางภายในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีโครงสร้างภายในดังนี้
6 โครงสรางภายในสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ความเป6นมาและความสําคัญ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มีเป้าหมายด้านการเสริมสร้างศักยภาพและทรัพยากรมนุษย์ ที่ ม ุ่งให ้ค น ไท ย เป ็น ค น ด ี ค น เก ่ง ม ีค ุณ ภ าพ ม ีค วาม พ ร ้อ ม ส ำ ห รับ วิถ ีช ีวิตใน ศ ต ว รร ษ ท ี่ 21 ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ด้านการปฏิรูป การศึกษาภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้แก่ (1) ยกระดับคุณภาพการศึกษา (2) ลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษา (3) มุ่งความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (4) ปรับปรุงระบบ การศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้หน่วยงานการศึกษา ทุกระดับนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจากรายงาน สรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ พบว่า ในแผนแม่บทด้านการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งมีเป้าหมายให้วัยเรียน วัยรุ่น มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิดวิเคราะห์รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมืองมีความ กล้าหาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการแก้ปัญหาปรับตัวสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ประสิทธิผลผลการประเมินด้านทักษะอยู่ในระดับต่ำ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด มีหน้าที่สำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิชาการของ กระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด โดยการสั่งการ กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล การปฏิบัติงานของ ส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของ กระทรวง ตลอดจนปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยต้องอาศัยความ ร่วมมือกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน การสร้างเครือข่ายในการทำงานในแต่ละพื้นที่ จึงมีความสำคัญอย่าง ยิ่งต่อการพัฒ นาคุณ ภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
7 มีการพัฒนากระบวนการทำงานและสร้างนวัตกรรมในการทำงานให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบท และความต้องการของแต่ละพื้นที่ รองรับการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 จากเหตุผลและ ความจำเป็นดังกล่าว สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงได้จัดทำโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) ระยะที่ 3 ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยการนำผลการวิเคราะห์ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อ ยกระดับคุณภาพการศึกษา มาใช้ในการวางแผนการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงาน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ของบุคลากรในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒ นาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านการบ ริห าร จัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้มีทักษะ การเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ต่อไป 2. วัตถุประสงค; 3.1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาอย่างบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 เพื่อพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศอย่างบูรณาการ ด้านนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาในระดับ จังหวัด 3.3 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. เป<าหมายโครงการ ผลผลิต (Output) (1) มีรูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (2) มีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อให้บริการข้อมูลด้านด้านนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา (3) มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด ผลลัพธ์ (Outcome) (1) มีแนวทางการพัฒนานักเรียนหรือนวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ การศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในระดับพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ (2) มีข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา นวัตกรรมและการวิจัยทางการศึกษาในระดับจังหวัด ที่มี ความถูกต้อง ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) มีเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด
8 (4) มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา (5) มีการขยายผล เผยแพร่ นวัตกรรมการการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล (6) ผู้เรียนในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อมีความพร้อมในการเข้าสู่สังคมคุณภาพ 4. ผลที่คาดว'าจะเกิด สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดมีขอมูลสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ มีการบูรณาการด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลระหว่างสถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาในระดับจังหวัด มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อการพัฒนาคน ให้พร้อมเข้าสู่สังคมคุณภาพในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถรายงาน ผลการดําเนินงานแก-หน-วยงานที่เกี่ยวของและเผยแพร-ประชาสัมพันธ/แก-สาธารณชน 5. ดัชนีชี้วัดความสําเร็จ 5.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1) มีรูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 2) มีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อให้บริการข้อมูล ด้านด้านนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา 3) มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด อย่างน้อย 1 เครือข่าย 5.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) รูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียนหรือนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถนำไปใช้ได้จริงในระดับสถานศึกษา 2) ข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด มีความครอบคลุม ชัดเจน เป็น ปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3) เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงานโครงการ โดยเป็นคณะ Supervisor Teams ระดับจังหวัด 6. กลุ'มเป<าหมาย/ผูที่ไดรับผลประโยชน; 6.1 ผูบริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผูเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สพฐ. สช. อปท. ในจังหวัดนครปฐม
9 6.2 หน-วยงานการศึกษาและสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน และผูมีส-วนไดส-วนเสียกับหน-วยงานและ สถานศึกษา นิยามศัพท;เฉพาะ 1. นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูป ของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มี อยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิด แรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนประกอบด้วยนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรม ด้านการนิเทศติดตามและประเมินผล และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ 2. Supervisor Teams หมายถึง คณะนิเทศตามโครงการ Innovations For Thai Education(IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทาง การศึกษาในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยดำเนินการนิเทศ โดยใช้เทคนิคการ Coach และกระบวนการ PLC เพื่อพัฒนาครู และ ผู้บริหารสถานศึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด นครปฐม 3. คุณภาพของผู้เรียน หมายถึง ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ของ สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 4. ครูผู้สอน หมายถึง ครูผู้ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย 5. ผู้ชี้แนะ (Coach) หมายถึง ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ศึกษานิเทศก์ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ดำเนินการนิเทศติดตามเชิงพื้นที่ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ของโครงการ 6. โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครปฐม จำนวน 40 แห่ง ประกอบด้วย สถานศึกษา สังกัด สพป.นครปฐม เขต 1 จำนวน 10 แห่ง สังกัด สพป. นครปฐม เขต 2 จำนวน 13 แห่ง สังกัด สพม.นครปฐม จำนวน 6 แห่ง สังกัด สช. จำนวน 7 แห่ง และสังกัด อปท. จำนวน 4 แห่ง
10 7. แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับจังหวัด หมายถึง การนิเทศเป็นทีม โดยใช้เทคนิคการโค้ชและกระบวนการPLC ด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 7.1 ขั้นตกลงทำความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจของโครงการ หมายถึง การตกลงทำ ความร่วมมือและสร้างความเข้าใจโครงการ ระหว่างหน่วยงานและสถานศึกษา ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครปฐมเขต 1 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 7.2 ขั้นพัฒ นาทีมนิเทศด้านการพัฒ นาแนวทางการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching ) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา หมายถึง (1) พัฒนาทีมนิเทศโดยใช้เทคนิค การโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการPLC ด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษาสำหรับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) พัฒนาคู่มือการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษา 7.3 ขั้นร่วมสร้างแนวทางการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching )และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาหมายถึงศึกษานิเทศก์ และอาจารย์นิเทศร่วมกันสร้างกระบวนการการนิเทศ วาง แผนการนิเทศ ติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching) และกระบวนการ PLC ด้านการพัฒนานวัตกรรมทาง การศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ 7.4 ขั้นร่วมนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช(Coaching Teams) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษา หมายถึง ศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศลงปฏิบัติการนิเทศแบบเชิงพื้นที่ Face To Face และโรงเรียนนิเทศภายในด้วยเทคนิคการโค้ช(CoachingTeams)และกระบวนการPLCในโรงเรียน 7.5 ขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน หมายถึง ศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศก์ ให้การสะท้อนผล การปฏิบัติงานสอนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ระหว่างการนิเทศ และหลังการนิเทศ 8.เครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความร่วมมือของหน่วยงานในการพัฒนาครู ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ ดำเนินการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา ด้วย กระบวนการนิเทศติดตามโดยใช้เทคนิคการโค้ช(Coaching)และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้PLC ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครปฐม
11 ประโยชน;ที่คาดว'าจะไดรับ สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดมีขอมูลสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ มีการ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผลระหว่างสถานศึกษา และ หน่วยงานทางการศึกษาในระดับจังหวัด เพื่อการพัฒนาคนให้พร้อมเข้าสู่สังคมคุณภาพในศตวรรษที่ 21 เป็นไปตาม นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถรายงานผลการดําเนินงานแก-หน-วยงานที่เกี่ยวของ และ เผยแพร-ประชาสัมพันธ/แก-สาธารณชน
12 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวของ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนงาน (Coaching) คำว่า coaching นั้นมีคำแปลเป็นภาษาไทยหลายคำ เช่น การสอนงาน การชี้แนะ การให้คำ ชี้แนะ การสอนแนะ โดยมีนักวิชาการและหน่วยงานทางการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่า Coaching ไว้ ดังนี้ สุขฤทัย ฉิมชาติ (2556) ได้ให้ความหมายของการชี้แนะ (Coaching) หมายถึง กระบวนการให้การ ช่วยเหลือผู้ป่วยรายบุคคลเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการปฏิบัติในสิ่งที่ผู้ชี้แนะมีความรู้ มีประสบการณ์ มี ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี โดยผู้ชี้แนะเป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรค และพิจารณาทางเลือกในการ ปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมายด้านสุขภาพ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (2556) ได้ให้ความหมายของการสอนงาน (Coaching) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้สอนงานได้บอกรายละเอียดงาน สอนงานแนะนำให้เรียนรู้งาน และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง เพื่อให้ผู้รับการสอนงานมีความรู้ความชำนาญขึ้น ทำให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ถูกต้อง รวดเร็วและเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง ผู้สอนงานกับผู้รับการสอนงาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555) ได้กล่าวว่า Coaching หมายถึง การชี้แนะ สอนงานครูของตนเอง การสอนงานเป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรหรือครูของตน ทั้งนี้จะเรียกผู้สอน งานว่า “Coach” โดยปกติผู้เป็น Coach สามารถเป็นได้ทั้งผู้บริหารระดับสูง (Top Management Level) ผู้อำนวยการระดับกลาง (Middle Management Level ) และระดับต้น (Low Management Level) ส่วนผู้ ถูกสอนงานโดยปกติจะเป็นผู้บริหารปกติ จะเป็นครูที่อยู่ภายในทีม/กลุ่มงานเดียวกันเรียกว่า Coachee จากคำแปลของ Coaching ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าการสอนงาน หมายถึง กระบวนการที่ใช้ใน การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพโดยการชี้แนะหรือ สอนงานจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ (Coach)
13 แนวทางหลักปฏิบัติและวิธีการในการเป-นCoach สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555) ได้กล่าวว่า การสอนงานจะเกิดขึ้นได้ ผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศงานต้องมีความพร้อมด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเวลาใดที่แน่นอน เกิดขึ้น ได้ทุกเมื่อทุกเวลา ความพร้อม ได้แก่ 1. เรื่องเวลา ควรกำหนดเวลาให้พอดีกับเนื้อหาที่ต้องการจะสอนและถ่ายทอดได้อย่างเป็นระบบมี เหตุผล 2. อารมณ์ ควรมีสภาพจิตใจหรือสภาวะอารมณ์ที่ปกติพร้อมที่จะถ่ายทอดข้อมูล 3. สุขภาพร่างกาย เพราะการมีสภาพร่างกายที่พร้อมจะส่งผลต่อไปยังจิตใจ/ความคิด 4. ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ / ขอบเขตงานที่ต้องรับผิดชอบ โครงสร้างองค์กร วิสัยทัศน์ นโยบายต่าง ๆ ขององค์กร กลุ่มเป้าหมาย เช่น ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้เข้ารับการฝึก ผู้เรียนข้อมูลเกี่ยวกับครู ตนเอง หรือผู้มีส่วนร่วม 5. สถานที่ พิจารณาถึงจำนวนของผู้สอนและผู้รับการสอนและลักษณะอุปกรณ์ที่จะนำมาสาธิต 6. อุปกรณ์ / เครื่องมือว่าสามารถใช้การได้ / ทำงานได้ตลอดเวลาที่ทำการสาธิตหรือนิเทศ 7. เข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของครูที่เป็นผู้ใหญ่ด้วยว่า เขาจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อไร เช่น เขาอยากเรียนรู้ ได้ดีเมื่อเขาอยากเรียนหรือทำให้เขารู้ว่าถูกคาดหวังอะไร หรือเมื่อได้เอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้จริงและได้ผล 8. ความพร้อมของผู้สอนงานกับผู้ถูกสอนงาน ย่อมมีส่วนผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการสอน งานของหัวหน้างานประสบผลสำเร็จ ขั้นตอนการนิเทศแบบสอนแนะ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) ได้กล่าวว่า การนำเทคนิคการนิเทศแบบการ สอนแนะไปใช้ ผู้นิเทศควรมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้ 1. สร้างความไว้วางใจกับผู้รับการนิเทศ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น โดยการศึกษาข้อมูลของผู้รับ การนิเทศ เช่น จุดเด่น ผลงานเด่น อัธยาศัย การให้คำชมเชย การสร้างบรรยากาศที่ดี 2. ใช้คำถามที่เป็นเชิงของความคิดเห็น ไม่ทำให้ผู้ตอบจนมุมหรือเกิดความไม่สบายใจในการตอบ 3. เสนอแนะแนวทางแก้ไขหรือพัฒนางานในลักษณะการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน 4. นำข้อเสนอหรือแนวทางที่ร่วมกันคิดให้ผู้รับนิเทศปฏิบัติ โดยผู้นิเทศคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด หรืออาจต้องสาธิตให้ดู
14 สำนักงานทดสอบทางการศึกษา (2553) ได้กล่าวว่า ขั้นตอนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเพิ่ม ศักยภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ สูงขึ้น มีขั้นตอนหลักสำคัญอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก2อนการใหคําชี้แนะ ขั้นตอนการเตรียมการให้คำชี้แนะ เป็นการเตรียมองค์ความรู้ในการนำไปใช้ในการชี้แนะ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นิเทศจะคอย แนะนำ ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากผู้ชี้แนะจะ เสนอแนะแล้ว ต้องให้ครูได้วิเคราะห์ตนเอง ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ในสภาวะ แวดล้อมต่างๆ สามารถแก้ปัญหาอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้หมดไป การให้คำชี้แนะจะช่วยให้ครู สามารถสะท้อนภาพปฏิบัติงานของครู เพื่อให้ตระหนักว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น จะต้องใช้วิธีการจัด กิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ ครู ขณะเดียวกันผู้ให้คำชี้แนะจะได้ข้อมูล ความรู้ที่จำเป็นซึ่งครูยังขาดอยู่ การให้คำชี้แนะที่มีประสิทธิภาพไม่ เพียงขึ้นอยู่กับทักษะของผู้นิเทศและความสามารถในการรับการนิเทศของครูเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบแวดล้อมหลายประการด้วยกัน ผู้ชี้แนะต้องเป็นผู้รักการอ่าน รักการแสวงหาความรู้ และต้องมี การขวนขวายหาข้อมูลความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลารวมทั้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ให้คำชี้แนะจะต้องมีความพร้อมก่อน การให้คำชี้แนะดังต่อไปนี้ 1.1 การสร้างองค์ความรู้ โดยผู้ทำหน้าที่ให้คำชี้แนะต้องสร้างองค์ความรู้เรื่องต่างๆ 1.1.1 การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น หลักสูตร และการออกแบบการเรียนรู้ 1.1.2 การวิจัยในชั้นเรียน 1.1.3 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน 1.1.4 การใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 1.1.5 เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.2การสร้างทีมงาน ปัจจัยที่สำคัญในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ คือ คน ซึ่งมีผลกระทบต่อบรรยากาศในการ ทำงานของกลุ่มว่าจะราบรื่นเป็นไปในทางสร้างสรรค์ การสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันละกัน การช่วยเหลือกันในการ แก้ไขปัญหา อุปสรรค และข้อยุ่งยากให้ผ่านพ้นไปได้นั้น ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ศักยภาพของคนในกลุ่ม เพื่อการทำงานร่วมกัน คิดร่วมกัน วางแผนร่วมกัน และแก้ปัญหาร่วมกันนับว่าเป็นการรวมพลังของทีมงาน ซึ่ง จะส่งผลสำเร็จในการทำงานมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การทำงานเป็นทีมจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลมากที่สุด การมีส่วนร่วมมี ความผูกพัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีมงานเป็นอย่างดี การสร้างทีมงานที่ประสบผลสำเร็จ มี แนวทางการสร้างทีมงานตามแนวของ Katzenbach Hohn R.and Smith Doglas ดังนี้
15 1.2.1 กำหนดทิศทางอย่างเร่งด่วน สมาชิกทีมต้องการความแน่นอนในการตั้งวัตถุประสงค์ และความคาดหวังของทีม ซึ่งต้องมีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่เป็นแนวทางในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ 1.2.2 การเลือกตั้งสมาชิกทีม ควรจัดให้อยู่บนพื้นฐานของทักษะและศักยภาพที่มีอยู่ ทีม จำเป็นต้องมีทักษะที่จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นภายใน 3 ประการ ได้แก่ ทักษะทางเทคนิคในหน้าที่การงาน ทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 1.2.3 การประชุมหรือพบปะกันครั้งแรก ต้องทำด้วยความพิถีพิถันตั้งใจ เพื่อสร้างความ ประทับใจให้เกิดขึ้นกำหนดระยะเวลาให้ทุกคนรู้แน่นอนและมีการย้ำเตือนโดยผู้นำทีมหรือผู้บริหารอาจใช้ อำนาจหน้าที่คอยดูแลภายในทีม 1.2.4 ตั้งกฎในทีมปฏิบัติให้ชัดเจน พัฒนาทีมที่แท้จริงโดยนำเกณฑ์มาช่วยให้พบกับ ความสำเร็จในเรื่องวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงาน จุดเน้นที่ควรสนับสนุน ได้แก่ การเปิดเผย จริงใจต่อกัน การสร้างให้เกิดความไว้วางใจกันและกัน การมีข้อตกลงร่วมกันอย่างเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน 1.2.5 จุดมุ่งหมายและความเหมาะสมในการปฏิบัติงานที่ตั้งขึ้น จะไม่ยึดติดกับผู้บริหาร แต่ จะตั้งขึ้นโดยสมาชิกมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามที่ได้ตั้งจุดมุ่งหมาย 1.2.6 สร้างความท้าทายให้กับกลุ่มในการทำงานด้วยการนำข้อมูลข้อเท็จจริงใหม่ๆ มาช่วย สนับสนุนการทำงานของสมาชิกในทีม 1.2.7 ให้เวลาแก่กันและกันให้มากที่สุด อาจเป็นเวลาตามที่นัดหมายกันไว้หรือไม่ได้นัดหมาย ก็ได้ 1.2.8 การใช้อำนาจบารมีให้เกิดประโยชน์ เช่น การได้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวก ความเอา ใจใส่ซึ่งกันและกัน การให้รางวัล 1.3 องค์ประกอบของทีมงานพัฒนาคุณภาพทีมงานพัฒนาคุณภาพที่มีประสิทธิภาพควรมีลักษณะ เป็นทีมงานที่ทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน มีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกน้อย สมาชิกแต่ละคนมีพฤติกรรม สนับสนุนซึ่งกันและกัน การติดต่อสื่อสารเป็นไปโดยเปิดเผยและสมาชิกทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น การทำงานเป็นทีมจะสมบูรณ์ได้จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องยาวนานเป็นที่พึง พอใจของสมาชิกทุกคน ทำให้สมาชิกสามารถรักษาสถานภาพที่ดีของทีมไว้ เพื่อพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า ต่อไป โดยสร้างพลังความสำเร็จของทีมจะต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างเป้าหมายร่วมกัน สร้างความภูมิใจและ ความเป็นเจ้าของและสร้างความศรัทธาและความไว้วางใจ ซึ่งองค์ประกอบของทีมงานพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย 1.3.1 ทีมนำ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่
16 การศึกษา ประธานเครือข่ายฯ ประธานศูนย์วิชาการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.3.2 ทีมทำ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ 1.4 การจัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในกระบวนการให้คำชี้แนะ ปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการบริหารการศึกษาโดยเฉพาะการ บริหารสถานศึกษา การมีข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ดี ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน จะทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ตัดสินใจได้ถูกต้อง แม่นยำ ทันกาลมากขึ้น โดยเฉพาะในการวางแผนการศึกษาและการยกระดับคุณภาพ การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากการปฏิบัติหน้าที่ในงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องใช้ ข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการโดยมีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน และสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลและระบบสารสนเทศที่ดี ควร ครอบคลุมองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดการศึกษา และต้องมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบง่ายต่อการนำไปใช้ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามนโยบายการจัดการศึกษา ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้ 1.4.1 ข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษาและ ชุมชน อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ในสถานศึกษา เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา 1.4.2 ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถานศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนรายบุคคล เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ NT O-NET แล้วยังต้องเก็บ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับด้านภูมิหลังทางครอบครัวและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ 1.4.3 ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวกับครูและการจัดการเรียนการสอน เช่น จำนวนครู คุณวุฒิ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ วิชาที่สอน ผลงานทางวิชาการ การจัดแผนการเรียน / ชั้นเรียน อุปกรณ์การสอน แหล่งข้อมูลเรียนรู้ ระเบียนสะสม ตารางสอน และผลการปฏิบัติงานของครู รวมถึงบุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ สามารถเป็นวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิหรือครูภูมิปัญญาไทย เป็นต้น ข้อมูลใน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ลักษณะของวิธีการสอน ตารางสอน การมีส่วนร่วมของนักเรียน การใช้ตำราเรียน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน การรายงานผลการเรียน การสอนซ่อมเสริม วิธีและการใช้เครื่องมือประเมิน การวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนนำไปพัฒนาผู้เรียน การพิจารณา กิจกรรมแนะแนวกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการวิจัยในชั้นเรียน 1.4.4 ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ซึ่งจัดเป็นหัวใจของงานด้าน การศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจและต้องการทราบข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็ว เชื่อถือได้ เช่น หลักสูตร แผนการสอน คู่มือการพัฒนาหลักสูตร การสำรวจความต้องการของชุมชน การใช้ ตำราเรียนของครูและนักเรียน การจัดทำคลังข้อมูล คลังข้อสอบที่เป็นระบบและปัจจุบัน 1.5 แผนการนิเทศและเครื่องมือการนิเทศ การวางแผนการให้คำชี้แนะจะต้องกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในการชี้แนะให้ครอบคลุม
17 ชัดเจน ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ใช้กระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผนการชี้แนะหานวัตกรรมที่ เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาซึ่งทำให้สามารถร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาและร่วมกันพัฒนาอย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินการยกระดับคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น แผนการให้คำชี้แนะจะต้องมุ่งพัฒนาเจาะลึกและเป็นแผนให้คำชี้แนะที่สามารถนำไปใช้ในการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา แผนและเครื่องมือการชี้แนะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพ การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบของแผนการให้คำชี้แนะ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประเด็นการให้คำชี้แนะ/กิจกรรม ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น หลักสูตรการออกแบบการเรียนรู้ การ วิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่องอื่นที่ เกี่ยวข้อง ระยะเวลา ผู้ชี้แนะ / ผู้รับการให้คำชี้แนะ สื่อ / เครื่องมือและสรุปประเมินผลการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 การดําเนินการใหคําชี้แนะ ขั้นตอนการดำเนินงานให้คำชี้แนะเป็นขั้นตอนที่ผู้ชี้แนะหรือศึกษานิเทศก์ ช่วยให้ครูนำ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่หรือที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามศักยภาพความสามารถของครู แต่ละคน เป็นการพัฒนากลุ่มครูจำนวนน้อยหรือรายบุคคลอย่างเข้มข้น ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เช่น การ สังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน พิจารณาผลงานนักเรียนร่วมกับครู เป็นการพัฒนาในบริบทการทำงานใน สถานศึกษา ขั้นตอนการให้คำชี้แนะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1 การศึกษาต้นทุนเดิม เป็นขั้นที่ศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะทำความเข้าใจวิธีคิด วิธีการทำงาน และผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานของคุณครูว่าอยู่ในระดับใด เพื่อเป็นข้อมูลในการต่อยอดประสบการณ์ในระดับ ที่เหมาะสมกับครูแต่ละคน ซึ่งในขั้นนี้อาจใช้วิธีการต่างๆ กันไปตามสถานการณ์ ได้แก่ 2.1.1 การให้ครูบอกเล่า อธิบายวิธีการทำงานและผลที่เกิดขึ้น 2.1.2 การพิจารณาร่องรอยการทำงานร่วมกัน เช่น แผนการสอน ชิ้นงานของผู้เรียน 2.1.3 การสังเกตการณ์สอนในชั้นเรียน 2.2 การให้ครูประเมินการทำงานของตนเอง เป็นขั้นที่ช่วยให้ครูได้ทบทวนการทำงานที่ผ่านมาของ ตนเอง โดยใช้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การสอนที่เพิ่งสอนจบไปแล้ว ชิ้นงานที่นักเรียนทำเสร็จมาใช้ ประกอบการประเมิน จัดให้ครูมีโอกาสได้ “นึกย้อนและสะท้อนผลการทำงาน” ช่วยให้ครูได้ทบทวนและ ไตร่ตรองว่าตนเองได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจไปสู่การปฏิบัติอย่างไร มีอุปสรรคปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง คำถามที่มัก ใช้กันในขั้นที่มี 2 คำถามหลัก ได้แก่ “อะไรที่ทำได้ดี..” “จะให้ดีกว่านี้ ถ้า…” 2.3 ขั้นต่อยอดประสบการณ์ เป็นขั้นที่ศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะมีข้อมูลจากการสังเกต การ ทำงานและฟังครูอธิบายความคิดตนเอง แล้วจึงลงมือต่อยอดประสบการณ์ในเรื่องเฉพาะนั้นเพิ่มเติม ซึ่ง ศึกษานิเทศก์หรือผู้ชี้แนะต้องอาศัยปฏิภาณในการวินิจฉัยให้ได้ว่าครูต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด หากไม่
18 แน่ใจก็อาจใช้วิธีการสอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติมในขั้นต่อยอดประสบการณ์มักมีการดำเนินการใน 2 ลักษณะ ดังนี้ 2.3.1 เมื่อพบว่าคุณครูมีความเข้าใจที่ผิดพลาดบางประการหรือมีปัญหาจำเป็นต้องแก้ไข ปรับความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา 2.3.2 เมื่อพบว่าคุณครูเข้าใจหลักการสอนดี แต่ยังขาดประสบการณ์การออกแบบการเรียน การสอน ก็จำเป็นเพิ่มเติมความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผลการใหคําชี้แนะ การสรุปผลการให้คำชี้แนะเป็นขั้นตอนที่ศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะเปิดโอกาสให้ครูได้สรุปผลการ ให้คำชี้แนะเพื่อให้ได้หลักการสำคัญไปปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองต่อไป มีการวางแผนที่ จะกลับมาชี้แนะร่วมกันอีกครั้งว่าความรู้ความเข้าใจใหม่ที่ได้รับการชี้แนะครั้งนี้ จะเกิดผลในทางปฏิบัติเพียงใด รวมไปถึงการตกลงร่วมกันเรื่องให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น หาเอกสารมาให้ศึกษา ประสานงานกับบุคคลอื่น ๆ แนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นต้น การทำ AAR หรือการตรวจสอบผลหลังปฏิบัติงาน ย่อมาจากคำว่า After Action Review ซึ่งเป็น เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการทบทวนความรู้ที่ได้หลังจากการให้คำชี้แนะ (Coaching) เสร็จสิ้นแต่ละครั้ง เน้น การแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ไม่มีถูก-ผิด เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด โดยศึกษานิเทศก์หรือ ผู้ให้คำชี้แนะ ควรกระตุ้นให้ครูตอบคำถามให้กับตัวเอง ได้แก่ 1) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการนิเทศคืออะไร 2) สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร 3) ทำไมสิ่งที่คาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจึงแตกต่างกันเพราะเหตุใด และ 4) สิ่งที่ได้ เรียนรู้และวิธีการลดหรือแก้ไขความแตกต่างคืออะไร เมื่อศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะได้ทำการให้คำชี้แนะให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษาในแต่ละ เรื่องเพื่อให้เห็นภาพของความสำเร็จในการให้คำชี้แนะ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำ AAR เพื่อให้ได้คำตอบ ตามข้อคำถามดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ครูผู้บริหารสถานศึกษาได้รับรู้ผลการชี้แนะในครั้งนี้เป็นอย่างไร แต่ผล ที่ได้รับนั้นไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพราะเมื่อเวลาผ่านไปย่อมทำให้เกิดปัญหาใหม่ได้ตลอดเวลา การทำ AAR ควรคำนึงถึงหลักในการดำเนินการ ได้แก่ 1) ควรทำ AAR ทันทีหลังจากจบสิ้นการให้คำ ชี้แนะ 2) ไม่มีการกล่าวขอโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน โดยให้มีบรรยากาศเป็นกันเอง 3) คอยอำนวย ความสะดวกกระตุ้น ตั้งคำถามให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษาได้แสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะ 4) ควรถามตัวเอง ว่าสิ่งที่ได้รับคืออะไร 5) หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร 6) ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่างกัน และ 7) จดบันทึกเพื่อเตือนความจำว่าวิธีการใดบ้างที่ศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว 3.1 การสรุปผลการให้คำชี้แนะ ขั้นตอนต่อมาหลังจากศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะได้ดำเนินการทำ AAR แล้ว คือ สรุปผลการ ให้คำชี้แนะที่ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอนหรือผู้บริหารสถานศึกษาได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การจัดการเรียนรู
19 แบบคละชั้น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ตามแนว ทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนและควรสรุปผลการให้คำชี้แนะในประเด็นต่างๆ เช่น 1) ระดับการรับรู้ในเนื้อหา สาระ รายละเอียดของวิธีการจัดการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) การใช้สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และ 4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 3.2 การวางแผนการให้คำชี้แนะครั้งต่อไป การให้คำชี้แนะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ครูได้ค้นพบพลังหรือวิธีการทำงานสามารถพึ่งพา ความสามารถของตนเองได้ เป้าหมายของการให้คำชี้แนะ คือ ให้ครูสามารถพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองการให้คำชี้แนะของศึกษานิเทศก์ หรือผู้ให้คำชี้แนะเพียงครั้งเดียว จึงไม่สามารถบรรลุผลได้ ศึกษานิเทศก์หรือผู้ให้คำชี้แนะจำเป็นต้องวางแผนการให้คำชี้แนะในครั้งต่อไปร่วมกับครูและผู้บริหาร สถานศึกษาเพื่อเชื่อมโยงต่อยอดการจัดการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องตามบริบทของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ที่เป็นรูปธรรม ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษาซึ่งสถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้ 3.2.1วางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยผู้ให้คำชี้แนะและสถานศึกษาวางแผนการทำงานร่วมกัน ได้แก่ (1) การจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาให้มองเห็นทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ จำเป็นอย่างมีระบบ มีแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีโครงการกิจกรรมรับรอง (2) การกำหนดสภาพความสำเร็จ ของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจนเป็นรูปธรรม (3) การกำหนดวิธีการดำเนินงานที่มีหลักการ มีผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการ เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ และ (4) ควรส่งเสริมให้ เกิดการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารสถานศึกษา บิดามารดา ผู้ปกครอง บุคลากรในชุมชน โดยเฉพาะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ซึ่งมีบทบาทในการกำกับ ติดตาม และให้ความเห็นชอบต่อแผนการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาซึ่งจะช่วยให้การคุณภาพการจัดการศึกษาบรรลุผลตามเจตนารมณ์ 3.2.2 นำเสนอผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) หลังจากสถานศึกษาได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและ ทำให้สถานศึกษามีคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น เพื่อให้เกิดความภูมิใจในการปฏิบัติงาน สถานศึกษาควรคัดเลือก ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ นำเสนอและเผยแพร่ โดยมีประเด็นที่ควรนำเสนอ ได้แก่ 1) ชื่อผลงาน Best Practice 2) หลักการ / แนวคิด / ทฤษฎี 3) วัตถุประสงค์ 4) กลุ่มเป้าหมาย 5) การดำเนินการ 6) ปัจจัยสู่ ความสำเร็จ และ 7) ผลการดำเนินการ 3.2.3สรุปรายงานผลการวิจัย ครู และผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนรู้จากการร่วมการ
20 อบรมและนำความรู้ความสามารถ ทักษะไปจัดการเรียนรู้และได้รับการชี้แนะจากศึกษานิเทศก์หรือผู้ชี้แนะ จน มีผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม ครู ผู้บริหารสถานศึกษาควรสรุปผลการทำงานเป็นรายงาน ผลการวิจัย ซึ่งทำให้ได้ทั้งเป็นแบบไม่เป็นทางการและเป็นทางการ เช่น (1) การเขียนรายงานการวิจัยแบบไม่ เป็นทางการ ตามประเด็นที่สำคัญ เช่น ชื่อเรื่อง / ประเด็นที่ทำการวิจัย ที่มาของปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการ พัฒนา วัตถุประสงค์ / เป้าหมายการวิจัย วิธีการหรือขั้นตอนสำคัญของ การแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ผลการ แก้ไขหรือพัฒนา ข้อเสนอแนะ (2) การเขียนรายงานการวิจัยแบบเป็นทางการ มีองค์ประกอบของรายงานการ วิจัย เช่น ส่วนหน้าของเอกสารประกอบด้วย ปก คำนำ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ (ความสำคัญ / ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตที่ศึกษา นิยามศัพท์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ) บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีดำเนินการ (ประชากร/กลุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล) บทที่ 4 ผล การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ รวมทั้งส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก สรุปได้ว่า การสอนงาน เป็นกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และ ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการชี้แนะหรือสอนงานจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ (Coach) ทั้งนี้มีขั้นตอนสำคัญของการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการก่อนการสอนแนะ 1.1 การสร้างองค์ความรู้ 1.2 การสร้างทีมงาน 1.3 การจัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในกระบวนการให้การ สอนแนะ 1.4 การวางแผนการนิเทศและจัดทำ / จัดหาเครื่องมือการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการสอนแนะ 2.1 การศึกษาต้นทุนเดิม 2.2 การให้ผู้รับการนิเทศประเมินการทำงานของตนเอง 2.3 การต่อยอดประสบการณ์ ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผลการสอนแนะ 3.1 การสรุปผลการสอนแนะ 3.2 การวางแผนการสอนแนะครั้งต่อไป
21 แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษา ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) นวัตกรรมทาง การศึกษา หมายถึง การนำสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เข้ามาใช้ ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำ ให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน ประกอบด้วย นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรม ด้านการนิเทศติดตามและประเมินผล และ นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ องค@ประกอบของนวัตกรรม 1. เป็นสิ่งใหม่ 2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ 3. เป็นประโยชน์ ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร 4. เป็นที่ยอมรับ 5. มีโอกาสในการพัฒนา นวัตกรรมภายใต้โครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย นวัตกรรมการศึกษา 3 ด้าน ดังนี้ 1. นวัตกรรมดานการบริหารจัดการ หมายถึง นวัตกรรมทางการบริหาร เป็นเรื่องของการคิดค้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการ ตลอดจนกระบวนการจัดการ องค์การใหม่ ที่ส่งผลให้ระบบการทำงาน การผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการให้บริการขององค์การมี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น การบริหาร องค์การในลักษณะ โครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์ การใช้แนวคิด Balanced Score Card ในการวางแผน และประเมินผลงานของ องค์การ การจัดการความรู้เพื่อ การพัฒนาองค์การ การพัฒนารูปแบบการดำเนิน ธุรกิจใน ลักษณะที่เป็น Open Business Models เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวคิดของการพัฒนานวัตกรรม แบบเปิด (Open Innovation) ก็จัดได้ว่าเป็นลักษณะของนวัตกรรมทางการบริหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ดำเนินงานขององค์การหรือธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า นวัตกรรม ทางการบริหาร เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับนโยบาย โครงสร้างองค์การ ระบบ รูปแบบ และกระบวนการจัดการในองค์การ 2. นวัตกรรมดานการจัดการเรียนรู หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละ สถานการณ์ นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้ แบบร่วมมือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์และชุดการสอนเป็นต้น
22 3. นวัตกรรมดานการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล หมายถึง เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อการนิเทศ ติดตามและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว โดยการนำสิ่งใหม่ๆ หรือปรับปรุง ต่อยอด พัฒนาสิ่งเดิม ๆ ให้ประสบความสำเร็จและได้ผลดี โดยการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน ที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่า มีปัญหาหรือ มีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผล สมควรที่จะต้องปรับปรุง แก้ไข อาจทำได้โดย การให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรณีที่ผลงานยังไม่ถึงขั้นน่าพอใจหรือได้ดำเนินการ ปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้วยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการสมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์ หาจุดที่ควรพัฒนา หลังใช้นวัตกรรมเข้ามานิเทศ ชุมชนแห2งการเรียนรูทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) วิจารณ์ พานิช (2556) กล่าวว่า PLC ของครู คือการรวมตัวกันจัดการความรู้ของครู คือเป็น KM ครู นั่นเอง เป็นกลไกช่วยสนับสนุนให้ครูสร้างความรู้ขึ้น และนำความรู้ไปใช้ทำหน้าที่ครู เพื่อให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ ชนิด “รู้จริง” (mastery) PLC ครูมีเป้าหมายร่วมกันที่ผลต่อศิษย์ให้เกิด Learning Outcome ดีขึ้นและผลต่อ ตัวครูเอง ให้เก่งขึ้น มีความสุขขึ้น ก้าวหน้าขึ้น “หัวปลา”(เป้าหมาย) ของ PLC ครู และยุทธศาสตร์การบรรลุ หัวปลาต้องถูกต้อง เวลานี้ Learning Outcome คือ 21st Century Skills ซึ่งเป็นทักษะชุดหนึ่ง การเรียน ของศิษย์จึงต้องเรียนโดยการปฏิบัติ โดยครูทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) หรือ โค้ช (ครูฝึก) PLC ครู จึงต้องมีเป้าหมายเรียนรู้วิธีทำหน้าที่ครูฝึก แก่ศิษย์ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2559) กล่าวว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้ว่า ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการ เรียนรู้และคุณภาพของผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมมือกัน ช่วยเหลือ สนับสนุนและ ส่งเสริมซึ่งกันและกันทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562) กล่าวว่า PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์ แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมเรียนรู้ที่ครู เป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแล สนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการ ทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชน โดยกิจกรรมของชุมชนแห่งวิชาชีพในโรงเรียน ควรประกอบด้วย 1. การมีโอกาสเสวนาใคร่ครวญ (Reflective dialogue) ระหว่างกัน 2. การเปิดกว้างให้มีการปฏิสัมพันธ์ในหมู่ครูผู้สอนมากขึ้นเพื่อลดความรู้สึกโดดเดี่ยว Deprivatization) ในงานสอนของครู 3. การรวมกลุ่มเพื่อเน้นเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียน
23 4. การร่วมมือร่วมใจกันในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 5. การแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เป็นค่านิยมและปทัสถานร่วม (Shared values and norms) จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC สามารถสรุปได้ว่า “ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ” PLC คือ การพัฒนาคุณภาพครู โดยส่งเสริมความร่วมมือกันของครู รวมถึงการเปิดโอกาสให้ครู ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระวิชา ด้านประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน ที่มี ประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในด้านการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้การพัฒนาทักษะและคุณลักษณะควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งสำนักพัฒนาครูครูและบุคลากร การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานไว้ ดังนี้ 1. การรวมกลุ่ม PLC รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการเดียวกัน เช่นครูกลุ่มสาระเดียวกัน ครูที่ สอนในระดับชั้นเดียวกัน เป็นต้น 2. ค้นหาปัญหาความต้องการ 1) ร่วมกันเสนอปัญหา/ความต้องการ 2) จัดกลุ่มปัญหา 3) จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วน 4) เลือกปัญหาเพียง 1 ปัญหา โดยการพิจารณาร่วมกัน 3. ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา 1) เรื่องเล่าเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่แก้ปัญหาได้สำเร็จ 2) ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ 3) ร่วมกันตัดสินใจเลือกรูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา 4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา ออกแบบกิจกรรมตามวิธีการ/นวัตกรรมที่กลุ่มเลือก 5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะนำเสนอกิจกรรมการแก้ปัญหา ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ให้ ข้อเสนอแนะ 6. นำสู่การปฏิบัติ /สังเกตการอสน 1) นำกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา 2) ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการสอน เป็นต้น 7. สะท้อนผล 1) สรุปผลการนำรูปแบบ/วิธีการ ในการนำไปแก้ปัญหา 2) อภิปรายผลการแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางในการพัฒนา
24 บทที่ 3 วิธีการดําเนินโครงการ การดำเนินงานตามโครงการ Innovations For Thai Education(IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม ดำเนินการในปีงบประมาณ 2564 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – วันที่ 30 กันยายน 2564 โดยจัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหา และดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้สถานศึกษา จัดทำต้นแบบรูปแบบนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ รายละเอียดการ ดำเนินงาน มีดังนี้ การสรางเครือขายความรวมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณาจารย์จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ใน การดำเนินการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศติดตามด้วยใช้เทคนิคการโค้ช (Coaching) และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครปฐม ดำเนินการติดตามเชิงพื้นที่ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการ คัดเลือกจากทุกสังกัดในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย คณะกรรมการ ดังนี้ 1. คณะกรรมการอํานวยการ ประกอบดวย 1.1 ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประธานกรรมการ 1.2 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรรมการ นครปฐม เขต 1 1.3 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรรมการ นครปฐม เขต 2 1.4 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กรรมการ 1.5 นายปัญญา บูรณะนันทสิริ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กรรมการ 1.6 ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม กรรมการ
25 1.7 ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรรมการ จังหวัดนครปฐม 1.8 นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ กรรมการและ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เลขานุการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 1.9 นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการและ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยเลขานุการ มีหนาที่ กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และอำนวยความสะดวก การดำเนินงานโครงการ Innovations For Thai Education(IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ 2. คณะกรรมการดําเนินงาน ประกอบดวย 2.1 นายปัญญา บูรณะนันทสิริ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประธานกรรมการ 2.2 นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2.3 นางมารศรี เหล่าบุญชัย กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2.4 นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2.5 นายไชยากาล เพชรชัด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2.6 นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ กรรมการและ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เลขานุการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2.7 นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการและ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยเลขานุการ มีหนาที่ 1. สร้างการรับรู้แนวทางการดำเนินงานโครงการ IFTE ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้การพัฒนารูปแบบ/แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย 2. เสริมสร้างศักยภาพคณะนิเทศ Supervisor Teams และโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายด้านการสร้าง และ พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา
26 3. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และคัดเลือกนวัตกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา ระดับจังหวัด เพื่อนำเสนอผลงาน ร่วมกับระดับสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 และระดับชาติ รวมถึงจัดให้มีการประชุมเสวนาทางวิชาการแนวทางการ พัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับจังหวัด 4. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการและเผยแพร่นวัตกรรม 3. คณะกรรมการผูทรงคุณวุฒิ ประกอบดวย 3.1 ผูทรงคุณวุฒิดานการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4) อาจารย์ ดร.อุบลวรรณ ส่งเสริม อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 5) ดร.มณกาญจน์ ทองใย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ข้าราชการบำนาญ 3.2 ผูทรงคุณวุฒิดานการจัดการเรียนรู 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ ชนะสิทธิ์ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล อาจารย์สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3) อาจารย์ ดร.จำรัส อินทลาภาพร อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 4) ดร.เกษมสันต์ มีจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจินดาราม 5) นางสาวพัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ข้าราชการบำนาญ 3.3 ผูทรงคุณวุฒิดานการบริหารจัดการศึกษา
27 3.3.1 ระดับประถมศึกษา 1) ดร.ฐิดาภรณ์ เพ็งหนู ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดใหม่สุคนธาราม (ปิ่นรัตนราษฎร์) 2) นายสมพงษ์ ปัญญาจิรวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองทางหลวง 3) นายเอนก อัคคีเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลำเหย 4) นางลภัสรดา ทิพย์แก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ 3.3.2 ระดับมัธยมศึกษา 1) นายปัญญา บูรณะนันทสิริ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2) นางสุปราณี อยู่ฤกษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม 3) นายอรรฐพนธ์ ศรีโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 4) นางนิรมล วิบูลมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม มีหนาที่ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อเสนอแนะในการพัฒนานวัตกรรม รูปแบบ แนวทางการพัฒนา ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการ ร่วมนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผล เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรมในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา นวัตกรรมในระดับจังหวัด 4. คณะกรรมการจัดทําสารสนเทศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับ จังหวัด นวัตกรรม และงานวิจัยทางการศึกษา ประกอบดวย 4.1 นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4.2 นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4.3 นางมารศรี เหล่าบุญชัย กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4.4 นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4.5 นายไชยากาล เพชรชัด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4.6 นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการและ
28 ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เลขานุการ 4.7 นางสาววรรษมน ปทุมารักษ์ กรรมการและ เจ้าพนักงานธุรการ ผู้ช่วยเลขานุการ มีหนาที่ รวบรวมข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมทางการศึกษา และการวิจัยทางการศึกษา 5. คณะกรรมการนิเทศติดตาม และประเมินผล (Supervisor Teams ) ประกอบดวย 5.1 คณะนิเทศชุดที่ 1 (Supervisor Teams 1) ด้านนวัตกรรมการนิเทศติดตามและประเมินผล 5.1.1 นิเทศ ติดตาม สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) นางมารศรี เหล่าบุญชัย ประธานกรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2) นางพัตรา เมฆประยูร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) นายเมธี อ้นทอง กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 4) นางสินีนาฏ จันทวาท กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทะเลบก 5) นายธวัฒน์ ประภาวิทย์ กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดงิ้วราย 6) นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และเลขานุการ 5.1.2 นิเทศ ติดตาม สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 1) นางสาวอำพรรณ น้อยนารถ ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) นางสาลิณี ธวัฒน์อธิชัย กรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 4) นางอุบล สุรสาคร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม 5) นางสาวมณีรัตน์ รูปคมสัน กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม 6) นางกรุณา ธูปแพ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ ข้าราชการบำนาญ 7) นายไชยากาล เพชรชัด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และเลขานุการ
29 5.2 คณะนิเทศชุดที่ 2 (Supervisor Teams 2) ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 5.2.1 สถานศึกษาระดับประถมศึกษา 1) นายเกษมสันต์ มีจันทร์ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจินดาราม 2) นางสาวนิภารัตน์ เชื้อชาย กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) นางสาวสุรีพร พันยุโดด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 4) นายรัตนชัย เอี่ยมพิทักษ์พร กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไทร 5) นางรัสพัทธ์ บุญขจาย กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนราษฏร์บำรุงวิทยา 6) นายอนุภาพ บุญกวิน กรรมการ ครู โรงเรียนอนุบาลนครปฐม 7) นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และเลขานุการ 5.2.2 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1) นางจันทรพิมพ์ รัตนเดชกำจาย ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนบางเลนวิทยา 2) นางพรสวรรค์ ตันมงคลกาญจน กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 3) นางสาวดวงเดือน รื่นนาค กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านหลวง 4) นางนวลรัตน์ กุลจิตติรัตน์ กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกพระเจดีย์ 5) นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และเลขานุการ 5.3 คณะนิเทศชุดที่ 3 (Supervisor Teams 3) ด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการ 5.3.1 สถานศึกษาระดับประถมศึกษา 1) นางสาวฐิดาภรณ์ เพ็งหนู ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดใหม่สุคนธาราม (ปิ่นรัตนราษฎร์) 2) นายสมพงษ์ ปัญญาจิรวุฒิ กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองทางหลวง 3) นายเอนก อัคคีเดช กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลำเหย 4) นางลภัสรดา ทิพย์แก้ว กรรมการ /2) นายสมพงษ ...
30 ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ 5) นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ กรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ศธจ.นครปฐม และเลขานุการ 6) นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และผู้ช่วยเลขานุการ 5.3.2 สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 1) นางสุปราณี อยู่ฤกษ์ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม 2) นายอรรฐพนธ์ ศรีโพธิ์ กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนภปร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3) นางนิรมล วิบูลมงคล กรรมการ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม 4) นางศศิธร ศรีพรหม กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 5) นายยุทธนา หิรัญ กรรมการ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม 6) นายไชยากาล เพชรชัด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และเลขานุการ หนาที่ 1. วางแผนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล พร้อมจัดทำเครื่องมือนิเทศ ติดตาม 2. นิเทศ ติดตาม และประเมินผล เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล 3. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผล จัดทำรายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล เพื่อรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งประสานงานกับสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การติดตาม และประเมินผล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 6. คณะกรรมการสังเคราะหJ วิจัย นวัตกรรม การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการเรียนรู การ บริหารจัดการ ประกอบดวย 6.1 นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6.2 นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6.3 นางมารศรี เหล่าบุญชัย กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6.4 นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 6.5 นายไชยากาล เพชรชัด กรรมการ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม
31 6.6 นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา กรรมการและ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยเลขานุการ 6.7 นางสาววรรษมน ปทุมารักษ์ กรรมการและ เจ้าพนักงานธุรการ ผู้ช่วยเลขานุการ 6.8 นางสาวพิชญ์สินี ฉิ่งทองคำ กรรมการและ เจ้าพนักงานธุรการ ผู้ช่วยเลขานุการ มีหนาที่ 1. สังเคราะห์ วิจัยนวัตกรรม การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและ ประเมินผลของสถานศึกษาในจังหวัด 2. สรุปผลการสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรม การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตาม และประเมินผลของสถานศึกษาในจังหวัด 7. คณะกรรมการฝMายการเงิน 7.1 นางธรรศญา กรอธิพงศ์ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 7.2 นางลำดวล ไพบูลย์ กรรมการ นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ 7.3 นางสาวรภัสศา คชาพรรธน์ กรรมการ นักวิชาการเงินและบัญชี 7.4 นางสาวจันทิมา วัฒนโชติกุล กรรมการ นักจัดการงานทั่วไป 7.5 นางสาวนิชาภา ดิษฐบรรจง กรรมการ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน และเลขานุการ มีหนาที่ ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณตามระเบียบกระทรวงการคลัง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้ กิจกรรมการดําเนินงานโครงการ 1. ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เผยแพร่ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. จัดประชุมชี้แจงสรางการรับรู้แนวทางการดำเนินงานโครงการ IFTE ปีงบประมาณ 2564 4. จัดประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพ Supervisor Teams และโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายด้านการ สร้างและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้และการนิเทศติดตามและประเมินผล 5. จัดประชุมปฏิบัติการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การ จัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผลและการดำเนินงานโครงการ ณ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
32 6. จัดประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและคัดเลือกนวัตกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศติดตามและประเมินผลระดับจังหวัด 7. ร่วมจัดประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน คัดเลือกนวัตกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศติดตามและประเมินผลกับสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 2 8. จัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผล ของสถานศึกษาในจังหวัด 9. จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการและเผยแพร่นวัตกรรม ผ่านช่องทาง ต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์ บทความ วารสาร หนังสือราชการ แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผล แนวทางการนิเทศติดตาม นิเทศเป็นทีม โดยใช้เทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน (PLC) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นตกลงทำความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจของโครงการ หมายถึง การตกลงทำความร่วมมือ และสร้างความเข้าใจของโครงการ ระหว่างหน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. ขั้นพัฒนาทีมนิเทศด้านการพัฒนาแนวทางการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching)และ กระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา หมายถึง 1) พัฒนาทีมนิเทศโดยใช้เทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนาคู่มือการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) พัฒนาคู่มือนิเทศการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทาง Active Learning 3. ขั้นร่วมสร้างแนวทางการนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams)และกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา หมายถึง ศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศก์ร่วมกันกำหนดขั้นตอน กระบวนการการนิเทศ วางแผนการนิเทศ ติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการPLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่
33 4. ขั้นร่วมนิเทศติดตามด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการ เรียนรู้ในโรงเรียน PLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา หมายถึง ศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศลงปฏิบัติการ นิเทศแบบเชิงพื้นที่แบบ Face To Face และโรงเรียนนิเทศภายในด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching Teams) และ กระบวนการPLC ในโรงเรียน ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจขัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผล และ นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ 5. ขั้นการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน หมายถึง ศึกษานิเทศก์และอาจารย์นิเทศก์ ให้การสะท้อนผลการ ปฏิบัติงานสอนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ระหว่างการนิเทศและหลังการนิเทศ ระยะเวลาการนิเทศ ติดตามและประเมินผล กำหนดการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การนำรูปแบบแนวทางการนิเทศของสถานศึกษาในแต่ละ สังกัด ในเดือน 17 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2564 ดังนี้ กําหนดการนิเทศ ติดตามและประเมินผล โรงเรียนในโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปVงบประมาณ 2564 นวัตกรรมด านการจัดการเรียนรู โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 1. โรงเรียนวัดทุงสีหลง 22 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 22 มิถุนายน 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.มารุต พัฒผล ผศ.ดร.จำรัส อินทลาภาพร ดร.เกษมสันต์ มีจันทร์ Supervisor Teams 2 (คณะที่ 1) 1. นางสาวนิภารัตน์ เชื้อชาย 2. นายรัตนชัย เอี่ยมพิทักษ์พร 3. นายอนุภาพ บุญกวิน 4. นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ 5. นางสาวจุรีพร แจflงธรรมมา 2. โรงเรียนราษฎร บํารุงวิทยา
34 โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 3. โรงเรียนกําแพงแสนวิทยา 23 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) ผูทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.มารุต พัฒผล ผศ.ดร.จำรัส อินทลาภาพร Supervisor Teams 2 (คณะที่ 2) 1. นางจันทรพิมพ รัตนเดชกําจาย 2. นางพรสวรรค ตันมงคลกาญจน 3. นางสาวดวงเดือน รื่นนาค 4. นางนวลรัตน กุลจิตติรัตน 5. นางสาวจุรีพร แจflงธรรมมา 4. โรงเรียนวัดบางปลา 23 มิถุนายน 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) 5. โรงเรียนวัดโคกพระเจดีย 24 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) ผูทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.มารุต พัฒผล นางสาวพัชรี ยันตรีสิงห์ Supervisor Teams 2 (คณะที่ 2) 1. นางจันทรพิมพ รัตนเดชกําจาย 2. นางสาวสุรีพร พันยุโดด 3. นางสาวดวงเดือน รื่นนาค 4. นางนวลรัตน กุลจิตติรัตน 5. นางสาวจุรีพร แจflงธรรมมา นวัตกรรมด านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 1. โรงเรียนวัดลําเหย 7 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 7 กรกฎาคม 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ ผศ.ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน Supervisor Teams 1 (คณะที่ 1) 1. นางมารศรี เหล่าบุญชัย 2. นางพัตรา เมฆประยูร 3. นางสินีนาฏ จันทวาท 2. โรงเรียนวัดทะเลบก
35 โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 4. นายธวัฒน์ ประภาวิทย์ 5. นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร 3. โรงเรียนคลองทางหลวง 1 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 1 กรกฎาคม 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ ผศ.ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน Supervisor Teams 1 (คณะที่ 1) 1. นางมารศรี เหล่าบุญชัย 2. นายเมธี อ้นทอง 3. นางสินีนาฏ จันทวาท 4. นายธวัฒน์ ประภาวิทย์ 5. นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร 4. โรงเรียนวัดงิ้วราย 5. โรงเรียนอํานวยวิทย นครปฐม 30 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 30 มิถุนายน 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.อุบลวรรณ ส่งเสริม ดร.มณกาญจน์ ทองใย Supervisor Teams 1 (คณะที่ 2) 1. นางสาวอำพรรณ น้อยนารถ 2. นางสาลิณี ธวัฒน์อธิชัย 3. นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ 4. นางกรุณา ธูปแพ 5. นายไชยากาล เพชรชัด 6. โรงเรียนอนุบาลแสงอรุณ 7. โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม 29 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 29 มิถุนายน 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ ผศ.ดร.ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย ดร.มณกาญจน์ ทองใย Supervisor Teams 1 (คณะที่ 2) 1. นางกรุณา ธูปแพ 2. นางอุบล สุรสาคร 3. นางสาวมณีรัตน์ รูปคมสัน 4. นางสาวรัตนา ศิริชยานันท์ 5. นายไชยากาล เพชรชัด 8. อนุบาลเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย
36 นวัตกรรมด านการบริหารจัดการ โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 1. โรงเรียนอนุบาลนครปฐม 28 มิถุนายน 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 28 มิถุนายน 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ / Supervisor Teams 3 (คณะที่ 1) 1. นางสาวฐิดาภรณ เพ็งหนู 2. นายสมพงษ ป5ญญาจิรวุฒิ 3. นายเอนก อัคคีเดช 4. นางลภัสรดา ทิพย แกflว 5. นางกุลธิดา ป5ญญาจิรวุฒิ 6. นางสาวจุรีพร แจflงธรรมมา 2. โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย 3. โรงเรียนบflานอflอกระทิง 5 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 5 กรกฎาคม 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ/ Supervisor Teams 3 (คณะที่ 1) 1. นางสาวฐิดาภรณ เพ็งหนู 2. นายสมพงษ ป5ญญาจิรวุฒิ 3. นายเอนก อัคคีเดช 4. นางลภัสรดา ทิพย แกflว 5. นางกุลธิดา ป5ญญาจิรวุฒิ 6. นางสาวจุรีพร แจflงธรรมมา 4. โรงเรียนวัดเชิงเลน 5. โรงเรียนพระตําหนักสวนกุหลาบ มหามงคล 6 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) 6 กรกฎาคม 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) ผูทรงคุณวุฒิ/ Supervisor Teams 3 (คณะที่ 1) 1. นางสาวฐิดาภรณ เพ็งหนู 2. นายสมพงษ ป5ญญาจิรวุฒิ 3. นายเอนก อัคคีเดช 4. นางลภัสรดา ทิพย แกflว 5. นางกุลธิดา ป5ญญาจิรวุฒิ 6. นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา 6. โรงเรียนวัดรางกําหยาด
37 โรงเรียน วัน เดือน ปV ที่นิเทศ คณะนิเทศ 7. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพอเงินอนุสรณ 7 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) ผูทรงคุณวุฒิ นายป5ญญา บูรณะนันทสิริ นางสุปราณี อยูฤกษ นายอรรฐพนธ ศรีโพธิ์ นางนิรมล วิบูลมงคล Supervisor Teams 3 (คณะที่ 2) 1. นางสุปราณี อยูฤกษ 2. นายอรรฐพนธ ศรีโพธิ์ 3. นางนิรมล วิบูลมงคล 4. นางศศิธร ศรีพรหม 5. นายยุทธนา หิรัญ 6. นายไชยากาล เพชรชัด 8.โรงเรียนคงทองวิทยา 7 กรกฎาคม 2564 (ช่วงบ่าย13.00น.-16.30น.) 9.โรงเรียนบางเลนวิทยา 8 กรกฎาคม 2564 (ช่วงเช้า09.00น.-12.00น.) ผูทรงคุณวุฒิ นายป5ญญา บูรณะนันทสิริ นางสุปราณี อยูฤกษ นายอรรฐพนธ ศรีโพธิ์ นางนิรมล วิบูลมงคล Supervisor Teams 3 (คณะที่ 2) 1. นางสุปราณี อยูฤกษ 2. นายอรรฐพนธ ศรีโพธิ์ 3. นางนิรมล วิบูลมงคล 4. นางศศิธร ศรีพรหม 5. นายยุทธนา หิรัญ 6. นายไชยากาล เพชรชัด
38 เครื่องมือที่ใชในการนิเทศติดตามประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 1. แบบนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัย นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ 2564 2.แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตามและประเมินผล โครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ 2564 3. แบบบันทึกโครงสร้างกิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับผู้นิเทศ Supervisor Teams และผู้บริหาร ครูที่ทำหน้าที่นิเทศ
39 บทที่ 4 ผลการดําเนินงานและการวิเคราะหขอมูล สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมไดดําเนินโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัย นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ฉบับนี้ จัดทําขึ้นเพื่อประมวลผลการดําเนินงานโครงการ ประจําป=งบประมาณ 2566 โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการไดจัดสรรงบประมาณ ภายใตแผนงาน ยุทธศาสตรCเพื่อสนับสนุนดานการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพทรัพยากรมนุษยC วัตถุประสงค ของโครงการ (1) เพื่อสDงเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู และการนิเทศการศึกษารวมทั้งการ ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาอยDางบูรณาการรDวมกันของหนDวยงานที่เกี่ยวของ (2) เพื่อ พัฒนาศูนยCกลางขอมูลสารสนเทศอยDางบูรณาการ ดานนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาในระดับจังหวัด (3) เพื่อ สรางเครือขDายความรDวมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เปาหมาย (Output) ของโครงการ ไดแกD (1) มี รูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู และการ นิเทศการศึกษา รวมทั้งการยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (2) มีศูนยCกลางขอมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อใหบริการขอมูลดานดานนวัตกรรม และการวิจัยทาง การศึกษา (3) มีเครือขDายความรDวมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด โดยมี กลุfiมเปาหมาย ไดแกD ศึกษานิเทศกCและผูแทนหนDวยงานทางการศึกษาจาก สํานักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และเขต 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ผูแทน สถานศึกษาเอกชน องคCกรปกครองสDวนทองถิ่น และคณาจารยCจากคณะศึกษาศาสตรCมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะ ครุศาสตรCมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนC ผูบริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร ทางการศึกษา ผูเรียนและผูแทนจากสํานักงานศึกษาธิการภาค 2 และสถานศึกษา จํานวน 42 แหDง 1. ผลการดําเนินงานโครงการ วัตถุประสงคC ตัวชี้วัดความสําเร็จ กิจกรรม วิธีการดําเนินงาน ผลการดําเนินงาน 1.เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา นวัตกรรมการบริหาร จัดการ การจัดการ เรียนรู้ และการนิเทศ การศึกษารวมทั้งการ ยกระดับคุณภาพและ ประสิทธิภาพการจัด 1.มีรูปแบบ/แนวทาง การพัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมการบริหาร จัดการ การจัดการ เรียนรู้ และการนิเทศ การศึกษา รวมทั้งการ ยกระดับคุณภาพ และ กิจกรรมที่1 จัดประชุม ชี้แจงสร้างการรับรู้แนว ทางการดำเนินงาน โครงการ IFTE ปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุม ปฏิบัติการเสริมสร้าง ศักยภาพ Supervisor ใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามด้วยเทคนิคการ โค้ชและกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษา ขั้นที่ 1 วางแผน จัดทำข้อตกลงทำ ความร่วมมือ 1.รูปแบบ/แนวทาง การพัฒนานักเรียน หรือนวัตกรรมด้าน การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลเพื่อ พัฒนาคุณภาพ
40 วัตถุประสงคC ตัวชี้วัดความสําเร็จ กิจกรรม วิธีการดําเนินงาน ผลการดําเนินงาน การศึกษาอย่าง บูรณาการร่วมกัน ของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ประสิทธิภาพการจัด การศึกษา Teams และโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายด้านการ พัฒนารูปแบบแนวทาง การพัฒนานักเรียนและ นวัตกรรมเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา (MOU)และสร้าง ความเข้าใจของ โครงการ (PLAN) ขั้นที่ 2 พัฒนาทีม นิเทศ ด้านการ พัฒนาแนวทางนิเทศ ติดตามด้วยเทคนิค การโค้ช และ กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษา (DO 1) การศึกษา สามารถ นำไปใช้ได้จริงใน ระดับสถานศึกษา 2. เพื่อสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในการ พัฒนาคุณภาพ การศึกษา 2. มีเครือข่ายความ ร่วมมือในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาใน ระดับจังหวัด อย่าง น้อย 1 เครือข่าย กิจกรรมที่ 3 จัด ประชุมปฏิบัติการ นิเทศ ติดตามและ ประเมินผลการพัฒนา นักเรียนและการใช้ นวัตกรรมด้านการ บริหารจัดการ การ จัดการเรียนรู้ การ นิเทศการศึกษา และ การดำเนินงาน โครงการ ณ โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 4 จัดประชุม ปฏิบัติการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ถอดบทเรียนและ คัดเลือกนวัตกรรมที่มี วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการ ขั้นที่ 3 ร่วมสร้างแนว ทางการนิเทศติดตาม ด้วยเทคนิคการโค้ช (Coaching) และ กระบวนการ PLC เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษาเชิงพื้นที่ (DO 2) ขั้นที่ 4 ร่วมนิเทศ ติดตามเพื่อยกระดับ คุณภาพการศึกษา เชิงพื้นที่ (SEE) ขั้นที่ 5 การสะท้อน ผลการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Reflect & Share) 2. เครือข่าย ความร่วมมือในการ พัฒนาคุณภาพ การศึกษาในระดับ จังหวัด มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน โครงการ โดยเป็น คณะ Supervisor Teams ระดับ จังหวัด จำนวน 5 เครือขDาย
41 วัตถุประสงคC ตัวชี้วัดความสําเร็จ กิจกรรม วิธีการดําเนินงาน ผลการดําเนินงาน พัฒนานักเรียน การ บริหารจัดการ การ จัดการเรียนรู้ และการ นิเทศการศึกษาระดับ จังหวัด 3.เพื่อพัฒนา ศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศอย่าง บูรณาการด้าน นวัตกรรม และการ วิจัยทางการศึกษาใน ระดับจังหวัด 3. มีศูนย์กลางข้อมูล สารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทาง การศึกษาระดับ จังหวัด เพื่อให้บริการ ข้อมูลด้านด้าน นวัตกรรม และการ วิจัยทางการศึกษา กิจกรรมที่5 จัดประชุม ปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัย ทางการศึกษา นวัตกรรมด้าน การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษาของ สถานศึกษาในจังหวัด กิจกรรมที่ 6 จัด ประชุมปฏิบัติการ จัดทำรายงานผลการ ดำเนินงานโครงการ และเผยแพร่นวัตกรรม ขั้นที่ 5 การสะท้อน ผลการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Reflect & Share) 3. ข้อมูล สารสนเทศ นวัตกรรม และการ วิจัยทางการศึกษา ระดับจังหวัด มี ความครอบคลุม ชัดเจน เป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ ใน การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา 2. ผลการเบิกจ$ายงบประมาณ 2.1 งบประมาณที่ได้การจัดสรร จำนวน ..............86,000.................บาท 2.2 เบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน ..............85,991.................บาท (ร้อยละ.....99.99.........) 2.3 งบประมาณคงเหลือ จำนวน .................9.............บาท 2.4 คืนงบประมาณ จำนวน..................9..............บาท
42 3. ผลผลิตที่ไดรับ 3.1 รูปแบบ/แนวทางการพัฒนานักเรียน หรือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา ลำดับ ประเภทนวัตกรรม จำนวนนวัตกรรม หมายเหตุ 1 นวัตกรรมการบริหารจัดการ 2 2 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 12 3 นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา 4 3.2 ผลการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 1. ด้านผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา จำนวน 42 โรงเรียน 45 คน 2. ด้านครูผู้สอน ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา จำนวน 84 คน 3. ด้านศึกษานิเทศก์ ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา จำนวน 14 คน 4. ด้านผู้เรียน ได้รับการพัฒนาด้านการเรียนรู้ จำนวน 42 โรงเรียน 5. ผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาภาพรวม เช่น เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาระดับ จังหวัด …เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด (คณะ Supervisorteamsจังหวัด นครปฐม) 3.3 ศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาในระดับจังหวัด 1) ชื่อศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศฯ......ศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม 2) ช่องทางการเผยแพร่ศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศฯ (ลิงก์เว็บไซต์หรืออื่น ๆ )..เว็ปไซต์สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม เว็ปไซต์กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล ศธจ.นครปฐม กลุ่มไลน์ IFTE ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ 3) ศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาฯ มีข้อมูลสารสนเทศอะไรบ้าง ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลผลการ ประเมินคุณภาพผู้เรียน ข้อมูลโรงเรียน ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลสารสนเทศนวัตกรรมทางการศึกษา ข้อมูล สารสนเทศด้านการตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ข้อมูลสารสนเทศด้านระบบประกันคุณภาพ การศึกษา ฯลฯ 3.4 เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1) จำนวนเครือข่ายความร่วมมือที่เกิดขึ้น 5 เครือข่าย 2) ชื่อเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ เครือข่ายผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน หน่วยงานการศึกษา
43 และสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สพป.นครปฐม เขต 1 สพป.นครปฐม เขต 2 สพม.นครปฐม สช. และ อปท. ในจังหวัดนครปฐม 3) จำนวนสมาชิกของเครือข่าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 11 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 14 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน 6 โรงเรียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 7 โรงเรียน สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม 5 โรงเรียน 3.5 รายชื่อสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รายชื่อโรงเรียนในโครงการ Innovations For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปGงบประมาณ 2566 นวัตกรรมดานการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ที่ รายชื่อโรงเรียน สังกัด อําเภอ 1. วัดลำเหย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ดอนตูม 2. วัดทุ่งสีหลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ดอนตูม 3. บ้านดอนซาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กำแพงแสน 4. วัดทะเลบก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กำแพงแสน 5. วัดหนองศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กำแพงแสน 6. คลองทางหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 7. วัดบ่อตะกั่ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 8. วัดงิ้วราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 9. วัดไทยาวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 10. อำนวยวิทย์นครปฐม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เมืองฯ 11. โรงเรียนสหบำรุงวิทยา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดอนตูม 12. อนุบาลแสงอรุณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน บางเลน 13. ยุวธัชพุทธมณฑลสาย 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สามพราน 14. เทศบาล 1 วัดพระงาม สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม เมืองฯ 15.เ เทศบาล 2 วัดเสนหา สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม เมืองฯ 16. เทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม เมืองฯ 17. อนุบาลเทศบาลนครนครปฐม สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม เมืองฯ รวม 17 โรงเรียน
44 นวัตกรรมด-านการจัดการเรียนรู- ที่ รายชื่อโรงเรียน สังกัด อําเภอ 1. กำแพงแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กำแพงแสน 2. บางหลวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม บางเลน 3. งิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม นครชัยศรี 4. วัดทุ่งสีหลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ดอนตูม 5. วัดตะโกสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ดอนตูม . 6. บ้านแจงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ดอนตูม 7. วัดโคกพระเจดีย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2น นครชัยศรี 8. บ้านฉาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามพราน 9. บ้านดงเกตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามพราน 10. วัดห้วยตะโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 11. วัดบางปลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 บางเลน 12. บ้านประตูน้ำพระพิมล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 บางเลน 13. ตลาดเกาะแรต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 บางเลน 14. ราษฎร์บำรุงวิทยา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดอนตูม 15. เจี้ยนหัว สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน บางเลน 16. อนุบาลเสริมปัญญา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เมืองฯ 17. เทศบาล 4 เชาวนปรีชาอุทิศ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐม เมืองฯ รวม 16 โรงเรียน นวัตกรรมดานการบริหารจัดการ ที่ รายชื่อโรงเรียน สังกัด อําเภอ 1. โรงเรียนอนุบาลนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เมืองฯ 2. โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เมืองฯ 3. โรงเรียนบ้านอ้อกระทิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กำแพงแสน 4. โรงเรียนวัดศีรษะทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 นครชัยศรี 5. โรงเรียนวัดเชิงเลน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สามพราน 6. โรงเรียนวัดรางกำหยาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 บางเลน 7. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม เมืองฯ