สรุปการประชุมวิชวิาการระดับชาติ “เทคโนโลยีท ยี างสุข สุ ภาพและนวัต วั กรรม ทางการพยาบาล: แนวโน้ม น้ ใหม่ ในการ ดูแ ดู ลภาวะฉุก ฉุ เฉินฉิบาดเจ็บ จ็ และวิกวิฤต” AI IN HEALTH CARE: THE FUTURE CHALLENGES FOR NURSES https://nurse.npru.ac.th [email protected] ระหว่า ว่ งวัน วั ที่ 13 – 14 พฤศจิกจิายน 2566 ณ โรงแรมคริสริตัล หาดใหญ่ จ.สงขลา 034-109300 ต่อ 3565
สารบัญ หัวข้อ หน้า AI in health care: The future challenges for nurses 1 Driving digital transformation in nursing research and practice: concept and development 5 New dimension in emergency /trauma and critical care: outcome management 10 Tele medicine: Care connect ของ โรงพยาบาลกรุงเทพ 18 ระบบ tele medicine ของโรงพยาบาลรัฐบาล 21 How to change the way we do in patient care with high technology and high touch? 23 High technology and High touch in Trauma & Emergency care 23 High technology and High touch in Emergency Medical Service 25 High technology and High touch in Critical Medical Service 30 การวิจัยและพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางและระยะยาวในบริบทชีวิตวิถีใหม่ (SECSI SOUTH IMC) 38 Emergency & Trauma care 41 ผลขอการฝึกหายใจช้าด้วยดนตรีบำบัดต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่แผนกฉุกเฉิน 41 : การศึกษานำร่อง การแปลและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินความปวด สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าเปิดกะโหลกศีรษะ 44 ฉบับภาษาไทย : การศึกษานำร่อง ผลลัพธ์การจัดการความปวดของพยาบาลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเฉียบพลัน 45 ของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชน: การศึกษาแบบสำรวจเบื้องต้น ผลของการใช้แบบประเมิน Alvarado scale ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ 47 การพัฒนานวัตกรรม EMSPlus บนแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วยฉุกเฉิน 49 : การศึกษานำร่อง
หัวข้อ หน้า Critical Care 54 การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการ ภาะหลอดเลือดดำ 54 ส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโอ และภาวะ 56 ช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: การศึกษาความเป็นไปได้ ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตบาดเจ็บแยบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดภายหลังได้รับการรักษา 59 ด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิก เพื่อป้องกันการช่วยหายใจ 61 แบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการรั่วซึมของยานอกหลอดเลือดดำ 64 Innovation care 69 การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการ 69 เคลื่อนไหวของข้อในผู้ป่วยวิกฤต ผลของโปรแกรมส่งเสริมการลุกเตียงโดยเร็วต่ออาการปวดหลังและอาการปัสสาวะลำบาก : กรณีศึกษาในผู้ป่วย 69 กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟีมอรอล ผลโปรแกรมการลดน้ำหนักร่วมกับแอนิเมชันสองภาษา (ไทย-อาหรับ) ต่อน้ำหนักของผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนัก 70 เกินในจังหวัดนราธิวาส การพัฒนาเว็บไซต์การประเมินความเครียด: ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์My mind health 71 ในนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ Intermediate and long term care ภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามกับการดูแลสุขภาพแบบประคับประคองของ 73 ครอบครัวในชุมชนชนบทในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หัวข้อ หน้า การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลทุ่งสง 74 ประสบการณ์ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในดรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อการดูแลระยะกลาง: 74 การศึกษาในพื้นที่เครือข่ายของโรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: การทบทวน 75 งานวิจัยอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลงานทางวิชาการในประเทศไทย การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการดูแลต่อเนท่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ 76 การนำแนวคิดและความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการมาต่อยอดและวางแผนพัฒนางานของคณะพยาบาลศาสตร์ 76 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภาคนวก 79
1 สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ “เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต” AI in health care: The future challenges for nurses ระหว่างวันที่ 13 – 14 พฤศจิกายน 2566 ณ รร.คริสตัล หาดใหญ่ จ.สงขลา *** วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. – 10.00 วิทยากร: ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต สรุปโดย ผศ.ดร.กมลภูถนอมสัตย์ สถานการณ์ในโลกปัจจุบันในยุค VUCA - Volatility (ผันผวน), Uncertainty (ไม่แน่นอน), Complexity (ซับซ้อน) Ambiguity (คลุมเครือ) ประชากรในโลกมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมต่าง ๆ เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ในการใช้ชีวิตของประชาชน ภาพที่ 1 AI Revolution ภาพที่ 2 ประเภทของ AI
2 ภาพที่ 3 AI System ภาพที่ 4 หลักการพัฒนา AI
3 ภาพที่ 5 กรอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน AI กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.).มีการพัฒนา AI ในการ จัดการเรื่องการบริหารจัดการต่าง ๆ ทางการแพทย์ เช่น เรื่องการพัฒนายา การพัฒนาสมุนไพร การแพทย์ ทางเลือก ซึ่งจะนำไปสู่พาณิชย์และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม สำหรับพยาบาลส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้ AI ในการวินิจฉัยโรค การดูแลผู้รับบริการทางไกล การใช้ AI ในการดูแลระบบ เช่น ระบบการดูแลผู้อายุ การดูแลสุขภาพเบื้องต้นของประชาชน ววน.สนับสนุน Digital Platform ในเรื่องระบบการดูแลสุขภาพเช่น การพัฒนายา Precision medicine การพัฒนาอุปกรณ์ Medical devices การใช้ AI ในการติดตามความก้าวหน้าในการรักษา การพัฒนา AI ในพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เช่น ระบบการการป้องกันการพลัดตกหกล้อมในผู้สูงอายุ ภาพที่ 6 กรอบการพัฒนา AI ในการดูแลสุขภาพและทางการแพทย์
4 ภาพที่ 7 ทิศทางการพัฒนา AI ในการดูแลสุขภาพและทางการแพทย์ ภาพที่ 8 แนวทางพัฒนาร่วมกันพัฒนา AI ระหว่างสาขาต่าง ๆ สรุปแนวทางในการพัฒนา AI ในการพยาบาล AI สามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาด้านปฏิบัติการพยาบาล การศึกษาพยาบาล การวิจัย ทางการพยาบาล โดยสามารถใช้กระบวนการพยาบาลมาประยุกต์ได้แก่ การพัฒนา การประเมินทางการ ทางการพยาบาล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา Big data การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การให้ การพยาบาลและการติดตามอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการประเมินการพยาบาล ทั้งนี้ในการใช้ AI ต้องให้ ความสำคัญเรื่อง การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล PDPA โดยการใช้ข้อมูล anonymous ในการปฏิบัติการในทุก ขั้นตอน
5 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. หัวข้อ: Driving digital transformation in nursing research and practice: concept and development วิทยากร 1) รศ.ดร.ชัจคเณค์ แพรขาว คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2) ผศ.พิชญา ทองโพธิ์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล 3) ผศ.ดร.วันเพ็ญ แวววีรคุปต์คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏนครปฐม ผู้สรุปการประชุม ผศ.ดร.วริยา จันทร์ขำ อาจารย์พนิตนันท์ แซ่ลิ้ม Development Trauma Nursing Digital ERA หลักแนวคิด Pre-hospital phase: promotion, prevention In-hospital phase: save life, communication skills, rehabilitation, recovery care ภาพที่ 9 Emergency care system framework Promotion Knowledge: Application: BLS NU KKU พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ มีแบบฝึกหัดทดสอบ ความรู้ คลิปวีดีทัศน์สำหรับทบทวนความรู้ การขอความช่วยเหลือ การช่วยเหลือเบื้องต้น GPS โรงพยาบาลใกล้บ้าน Training: การจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ให้แค่ประชาชนในชุนขน และพร้อมสาธิตการ ใช้งาน BLS NU KKU เพื่อนำกลับไปทบทวนความรู้และบอกต่อเพื่อการเผยแพร่ต่อไป
6 Web application Trauma Nursing Management 1. Pre-hospital care: การประเมินการจัดกิจกรรมการพยาบาล ABCDE ประเมินระบบคะแนน ความรุนแรง รายงานอาการกลับเข้าโรงพยาบาล 2. Multiple trauma บันทึก Neuro sign, vital sign, ABCDE recode ข้อวินิจวัยและกิจกรรม การพยาบาล, Trauma check list 3. Shock management คำนวณค่า Shock index จากการส่ง vital sign, ABCDE recode ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 4. Traumatic Brain Injury ประมวลผลระดับความรุนแรงจาก Neuro sign เช่น PULMO device อุปกรณ์บริหารและฟื้นฟูประสิทธิภาพปอดพร้อมแอปพลิเคชัน, Triage web application ใช้บันทึกการคัดแยกผู้ป่วย นำข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์คุณภาพการคัดแยก และไฟฉาย อัจฉริยะ: ปัญญาประดิษฐ์ ใช้ประเมินขนาดรูม่านตา ประมวลผลการบันทึกที่ไฟฉาย Digital transformation technology communication data การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินการ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต Key success: คนในองค์กร มี growth mindset วิสัยทัศน์ของผู้นำในองค์กร กระบวนการทำงานมี ความชัดเจน ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันในการทำ digital transformation และเรียนรู้เทคโนโลยีและ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ ภาพที่ 10 DIKW hierarchy
7 อนาคตของการพยาบาล การเปลี่ยนเป็นอาชีพที่สามารถใช้งานระบบดิจิตอลจะช่วยเพิ่มประโยชน์ สูงสุดในการดูแลผู้ป่วย พยาบาลต้องเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นวิชาชีพที่มีความสามารถด้านระบบดิจิตอล ด้วยการลงทุนด้านการศึกษาด้านสารสนเทศ การวิจัย และการปฏิบัติ พยาบาลควรยกระดับความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ข้อมูล และหัวข้อด้านสุขภาพดิจิทัลอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI ได้รับการพัฒนา อย่างเหมาะสมและปลอดภัย สำหรับการปฏิบัติทางการพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย พยาบาลต้องลงทุนและนำ การพัฒนาด้านสุขภาพดิจิทัล และร่วมมือกับผู้อื่นในการพัฒนาและส่งมอบเครื่องมือดิจิทัลที่ผู้ป่วยได้รับ และ ความต้องการของประชาชน พยาบาลควรสนับสนุนด้านข้อมูลในทุกด้านของการปฏิบัติอย่างมืออาชีพ สร้าง โอกาสความเป็นผู้นำด้านสุขภาพดิจิทัล และกำหนดนโยบายสุขภาพในด้านนี้ ความท้าทายและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิดีโอ 360 องศา ด้านเนื้อหาระหว่างขั้นตอนและ nonprocedure, self- guide VS facilitator ระยะเวลาของคลิป ไม่ควรเกิน 2 - 15 นาทีประสบการณ์ทาง เทคนิคในการแก้ไขและแทรกข้อความและกราฟิกคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เล่นเกมที่มีประสิทธิภาพสูง และมี สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่เชื่อถือได้ การยกระดับบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วย AI ประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้ในการประเมินความชาปลายมือปลายเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน หรือการใช้ เครื่อง x-ray ในการประเมินความผิดปกติทางทรวงอกซึ่งมีความแม่นยำสูง นวัตกรรมการบริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ต้นอ้อย หลักการคือการนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วย AI ใน รพ.สต.และในชุมชน โดยการใช้ AI เพื่อมาร่วม ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ โดย AI มาช่วยตอบคำถามใน คำถามที่พบบ่อย และการประเมินความเสี่ยงของโรคให้กับผู้ใช้บริการและเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติผู้ป่วยเพื่อ ประมวลความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจและเสนอกิจกรรมให้บริการแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสม กับสภาวะในแต่ละครั้ง
8 ภาพที่ 11 กรอบแนวคิดหุ่นยนต์ต้นอ้อยและการให้บริการ
9
10 ภาพที่ 12 หุ่นยนต์ต้นอ้อย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ลดความคลาดเคลื่อน 2. เพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพ 3. ลดระยะเวลาในการรับบริการ 4. ตรวจจับความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนได้ตั้งแต่แรกเริ่ม 5. ส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงที วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.15 น. – 15.30 น. หัวข้อ New dimension in emergency /trauma and critical care: outcome management วิทยากร: 1. รศ.พญ.โอสรี อัครบวร 2. รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย 3. รศ.ฉวีวรรณ ธงชัย 4. รศ.ดร.ประณีต ส่งวัฒนา ผู้สรุปการประชุม ผศ. นงนุช เชาวน์ศิลป์ อาจารย์นภัทร รัตนหงษา New dimension outcome management of trauma มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย (Patient’s life) ทางเลือก (Choices) และ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
11 ภาพที่ 13 dimension outcome management of trauma องค์ประกอบของ New dimension outcome management of trauma มี ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 14 องค์ประกอบของ New dimension outcome management of trauma 1. Prevention อยู่ในช่วงระยะ Pre-hospital เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดโรค 2. Structure ประกอบไปด้วย 2.1 กระบวนการบันทึกข้อมูลและการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Trauma registry) ซึ่งให้ความสำคัญกับ ความ เที่ยงตรง ถูกต้องของข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และ หาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ใช้สำหรับการ monitor ช่วยลด Human error ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีข้อจำกัด โดย registry ที่ดีจะต้องสมบูรณ์ ครบถ้วน สม่ำเสมอ ไม่ล่าช้า ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีความสมบูรณ์ ซึ่งมีความ จำเป็นที่จะต้องควบคุมคุณภาพ
12 2.2 การ Training Staff เพื่อการเพิ่มพูนทักษะการทำงานของพนักงาน ซึ่งการ Training Staff จะ ก่อให้เกิดการเกิดความรู้ ทักษะ นอกจากนี้ควรมีการทบทวนทักษะและความรู้ทุก 6 เดือน เพื่อก่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ภาพที่ 15 ตัวอย่าง การ Training Staff 3. กระบวนการ (Process) การใช้เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างๆ การใช้แนวปฏิบัติ(guidelines) ต่างๆ ในการให้การพยาบาลเพื่อให้เป็นมาตรฐานและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีควรเป็นแนวปฏิบัติที่ปรับใช้ ตามบริบท และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ซึ่งผู้ที่ใช้แนวปฏิบัติควรเข้าใจข้อจำกัดต่างๆเพื่อเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม 4. Post traumatic management การดูแลผู้ป่วยภายหลังจากการการเจ็บป่วย ซึ่งอาจมีความพิการ หลงเหลืออยู่ ซึ่งต้องคำนึงถึง Long term Outcome เช่น คุณภาพชีวิต PTSD สภาพด้านจิตใจ Cognitive dysfunction เป็นต้น ภาพที่ 15 Post traumatic management
13 ภาพที่ 16 Post traumatic out come New dimension outcome management of critical care โดย รศ.นพ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย ปัจจุบันทิศทางของงานวิจัยในผู้ป่วยวิกฤต ICU มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยในอดีตการศึกษาผู้ป่วยวิกฤต มักจะศึกษาโดยเน้นผลการรักษาที่ตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ เช่น อัตราการเสียชีวิต (mortality) จำนวนวันนอน (LOS) ภาวะโภชนาการ (Nutrition status) และภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อต่างๆ (Sepsis) ภาพที่ 17 Outcome in ICU clinical status การประเมินผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ควรคำนึงถึงคุณค่า (Values) และประสิทธิภาพของการ ดูแล ดังนี้ 1. คุณภาพการดูแล (Quality) 2. การเข้าถึง (Access)
14 3. การควบคุมค่าใช้จ่ายในการดูแล (Cost) ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ภาพที่ 18 Values of management การใช้ Donabedian Model เป็นแนวทางการประเมิน/บ่งชี้คุณภาพในการดูแล ประเมินได้จากองค์ประกอบ มาตรฐาน 3 ด้าน คือ โครงสร้าง (structure) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (outcome) ภาพที่ 19 Donabedian Model New dimension outcome management of critical care ในปัจจุบัน ไม่เน้นการรักษาโรคเป็น สำคัญแล้ว แต่เน้นก็ดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางแบบองค์รวม ความต่อเนื่องตั้งแต่ ระยะ Pre-hospital Intrahospital และ Post hospital เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในผลลัพธ์
15 ภาพที่ 20 Patients-centered outcomes การวัด Outcomes ในผู้ป่วยวิกฤต critical care 1. ระยะที่อยู่ในโรงพยาบาล (ICU) ได้แก่ อัตราการเสียชีวิต (mortality) จำนวนวันนอน (LOS) ภาวะ โภชนาการ (Nutrition status) และภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อต่างๆ (Sepsis) เป็นต้น ซึ่งการศึกษาวิจัย หรือ การวัดผลควรวัดผลให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการให้ Intervention หรือการดูแล 2. ระยะยาวภายหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (Long-term outcomes) ผู้ป่วยที่รอดพ้นจากการ เจ็บป่วยวิกฤตมักมีความพิการ และปัญหาด้านร่างกาย จิตใจ และจิตสังคม หลงเหลืออยู่ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมี คุณภาพชีวิตที่ไม่ดีภายหลังจากการเจ็บป่วย ดังนั้นควรมีการติดตามผลระยะยาว แบบองค์รวมทั้งมิติด้าน ร่างกาย จิตใจของผู้ป่วย มิติด้านสังคม ครอบครัว และ Staff ผู้ดูแล ภาพที่ 21 Long-term outcomes มุมมองมิติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตของพยาบาลในปัจจุบัน โดย รศ.ฉวีวรรณ ธงชัย มิติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ 1. แต่ละระยะของการเจ็บป่วยวิกฤต ประกอบด้วยที่มีความซับซ้อนสูง 2. คุณภาพของการดูแลไม่ได้หมายถึงเพียงการช่วยชีวิตเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูโดย ไม่ทุพพลภาพและคุณภาพชีวิตด้วย
16 3. สำหรับผู้ที่ไม่รอดชีวิต ผลลัพธ์ที่เน้นควรเป็นคุณภาพการตาย(good death) End of life care ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ดี ส่งผลให้ผู้ป่วยวิกฤตมีอัตราการรอดชีวิตที่ สูงขึ้น แต่ผลลัพธ์ของผู้รอดพ้นจากการเจ็บป่วยวิกฤตมักรุนแรงในระยะยาว มักมีความพิการ และปัญหาด้าน ร่างกาย จิตใจ และจิตสังคม หลงเหลืออยู่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีภายหลังจากการเจ็บป่วย New dimension outcome management of critical care มุมมองของการพยาบาลในปัจจุบัน ไม่เน้น การรักษาโรคเป็นสำคัญแล้ว แต่เน้นก็ดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางแบบองค์รวม ความต่อเนื่องตั้งแต่ ระยะ Prehospital Intra-hospital และ Post hospital เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ภาพที่ 22 Significant phases along the trajectory of critical illness องค์ประกอบที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต 1. การทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ 2. การดูแลผู้ป่วยวิกฤตแบบองค์รวม 3. การดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ครอบคลุม 4. ความต่อเนื่องในการดูแล 5. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น การใช้แนวทางปฏิบัติ การพัฒนาแนวปฏิบัติ (The ICU Bundle) ภาพที่ 23 ตัวอย่างแนวปฏิบัติ (The ICU Bundle)
17 ผลลัพธ์หลักในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต (Main outcomes in critical care) 1. อัตราการรอดชีวิต (Survival rate) / อัตราการตาย (mortality rate) 2. จำนวนวันนอน (ICU length of stay) / ค่ารักษา (cost) 3. อัตราการฟื้นตัว (Recovery rate) 4. คุณภาพชีวิตในระยะยาว (Quality of life (long term)) การจัดการผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต (Outcome management in critical care) 1. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 2. การเป็นผู้นำทางคลินิก 3. การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 4. การทำงานร่วมกันเป็นทีม 5. การดูแลผู้ป่วยวิกฤตแบบองค์รวม 6. การดูแลช่วงเปลี่ยนผ่าน (วิถีการเจ็บป่วยแบบวิกฤต) 7. การพัฒนาวิชาชีพ เช่น พยาบาล APN ภาพที่ 24 System-based care for ICU survivors การเปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการระบบบริการสุขภาพ เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อ SDGs โดย รศ.ดร.ประณีต ส่งวัฒนา 1. การเข้าถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (ไม่เพียงแต่ดีขึ้นเท่านั้น) 2. ปฏิบัติตามนวัตกรรม มากกว่าการดูแลตามปกติ 3. มีการบูรณาการหรือใช้วิธีการหลากหลายวิธี 4. ใช้ต้นทุนน้อยลงเพื่อสิทธิประโยชน์มากขึ้น 5. เน้นการป้องกัน มากกว่าการดูแล และต้องมีการดำเนินการเชิงรุก 6. เน้นผลลัพธ์ มากกว่าการจัดการตามกระบวนการ 7. การเปลี่ยนผ่านไปสู่การดูแลผู้ป่วยที่รอดชีวิตระยะยาว
18 ภาพที่ 25 ความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วย ภาพที่ 26 การจัดการพยาบาลเพื่อคุณภาพและผลลัพธ์ของการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยฉุกเฉินและบาดเจ็บ Tele medicine: Care connect ของ โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นระบบการดูแลสุขภาพที่มี primary nurse ดูแลตั้งแต่เวลา 7-23 น. นอกจากนี้ยังมีระบบติดต่อกับ Care giver ได้ มี Dash board monitoring & analyzing ก่อนทำระบบจะมีการกำหนด Expected outcome ตาม ข้อมูลที่แพทย์ต้องการใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น ข้อมูล EWS ต่างๆ
19 การดูแลมีการดูแลตั้งแต่ระบบ Pre hospital , Inter hospital and post hospital care มีระบบ ติดตามผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ นอกจากนี้หากทีการเดินทางไปจังหวัดอื่น จะมีการส่งต่อข้อมูลไปใน พื้นที่ที่ผู้ป่วยเข้าใช้บริการ ภาพที่ 27 การเข้าสู่ระบบ care connect ระบบการนัดผู้ป่วย พยาบาล Case manager จะมีการดูแลข้อมูลก่อนโดยใช้ CPG guideline แล้ว รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยส่งแพทย์ อาจทีการTrigger ให้แพทย์ทราบข้อมูลที่ขาดหายไปหรือข้อมูลที่มีความผิดปกติ การคัดพยาบาลต้องเลือกพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่างๆ เช่น DM, HT, ACS, นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ด้านการเลือกใช้ข้อมูล ,data signs , มีทักษะการประสานงาน การพิทักษ์สิทธิ์ ผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยแบบ Individual care มีการupdate ข้อมูลตลอดเวลา การดู Clinical outcome จะมีการกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินผลว่าระบบการดูแลดี การ ประเมินความเสี่ยง การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การให้การวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและให้การรักษาทันที การดูแลโดยทีมบุคลากรที่ใส่ใจผู้ป่วยด้วยการคำนึงถึง Concerted decision making , Doctor-Patient relationship, Digital empathy
20
21 ภาพที่ 28 ระบบ tele health ในอนาคตมีการทำระบบเพิ่มขี้นในการดูแลผู้ป่วยโดยการผูกกับระบบอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่ผู้ป่วยมีอยู่ การขยาย product ออกไป การขยายบริการเชื่อมกับระบบประกันสุขภาพ ระบบ tele medicine ของรพ.รัฐบาล โดย นพ.เดชา แซ่ลี้ (ศูนย์สุขภาพเขตที่ 13) - ผู้ป่วยไม่มีกำลังสามารถจะซิ้ออุปกรณ์ในการดูแล (ราคาค่นอข้างสูง และยังมีค่า mentianace) - tele medicine การดูแลโดยแพทย์ รพสต.บางไผ่ มีระบบการส่งต่อข้อมูล ของผู้ป่วย - มีขั้นตอนการรับบริการ ณ รพสต.ที่เปิดรับบริการ (R12) - ดูผลการรักษา ผลเลือด สอบถามอาการ วินิฉัย สั่งยา เภสัชอธิบายา ส่งยาทางไปรษณีย์ -PHR (personal health record) คนไข้บันทึกข้อมูลเองในมือถือ ข้อมูลจะส่งไปใน data center - ตัวชี้วัดกำหนดโรคคือ DM HT ที่รับยา ปรับยา ภาพที่ 29 คู่มือระบบคิวการนัดหมายและเข้ารับการบริการ telemedicine
22 ภาพที่ 30 ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ในระบบ telemedicine และการปรับแผนรับยาของผู้ป่วย DM ภาพที่ 31 จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ในระบบ telemedicine
23 -การ set ระบบ family medicine เข้ามาสามารถควบคุมเบาหวานได้จาก 10% เพิ่มเป็น 30 % อนาคตมีแผนพยายามเพิ่มให้ถึง 40-50% ซึ่งแพทย์เวชศาสตร ครอครัว จะทำ MI : motivation intervention จะลงไปควบคุมเรื่องอาหาร ปรับเรื่องพฤติกรรมให้เหมาะสมด้วย เช่นการออกกำลังกาย ฯลฯ เพื่อช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ผลดียิ่งขึ้น วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. – 10.30 น. Panel 1: How to change the way we do in patient care with high technology and high touch? ผ้สูรปุผ้ชู่วยศาสตราจารยณ์ ัฐธยาน์องัคประเสริฐกลุ อาจารย์ณัฐยา เชิงฉลาด ชูพรม 1. High technology and High touch in Trauma & Emergency care รศ.ดร.ชัจคเณค์ แพรขาว คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น การบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนจิตใจได้รับการยอมรับมานานแล้วว่าเป็นภาระด้านสุขภาพที่ส าคัญ ระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคคลในทุกกลุ่มอายุและทุกกลุ่มประชากร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สาขา การดูแลผู้บาดเจ็บได้รับความก้าวหน้าอย่างน่าทึ่ง โดยได้แรงหนุนจากการแสวงหาอย่างไม่หยุดยั้งใน การปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่ วย และลดผลกระทบร้ายแรงจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ บทความนี้ท าหน้าที่เป็นการส ารวจนวัตกรรมล่าสุดและมุมมองที่ส าคัญในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ โดย ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของการดูแลสุขภาพที่ส าคัญนี้ ความก้าวหน้าในการ ดูแลผู้บาดเจ็บมีหลายแง่มุม ครอบคลุมถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การปฏิบัติทางคลินิกที่ได้รับการ ปรับปรุง และแนวทางสหวิทยาการที่ร่วมมือกัน ความก้าวหน้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ปฏิวัติวิธีการจัดการ อาการบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนจิตใจ แต่ยังน าเสนอโอกาสในการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยและการฟื้น ตัวในระยะยาวอีกด้วย ด้วยการเป็นผู้น าของความก้าวหน้าเหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถ พัฒนาความรู้และทักษะได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งท้ายที่สุดจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลและชุมชนที่พวกเขา ให้บริการ ความก้าวหน้าที่ส าคัญประการหนึ่งคือเทคโนโลยีซึ่งมีส่วนส าคัญในการเปลี่ยนแปลงการดูแล ผู้บาดเจ็บ การบูรณาการเทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูง เช่น การสแกนด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และ การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ได้ปฏิวัติความเร็วและความแม่นย าของการวินิจฉัยการ บาดเจ็บ การระบุอาการบาดเจ็บที่รวดเร็วและแม่นย าช่วยให้สามารถเข้ารักษาได้ทันท่วงทีและปรับ
24 ผลลัพธ์ของผู้ป่วยให้เหมาะสม นอกจากนี้ การใช้การแพทย์ทางไกลและปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นตัว เปลี่ยนเกมในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ช่วยให้สามารถให้ค าปรึกษาทางไกล ตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์ และปรับปรุงการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ในขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานทางคลินิกก็มีบทบาทส าคัญในการยกระดับการ ดูแลผู้บาดเจ็บด้วย ตัวอย่างเช่น แนวคิดของการผ่าตัดเพื่อควบคุมความเสียหาย ได้เปลี่ยนแปลงการ จัดการผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส แนวทางนี้มุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการบาดเจ็บที่คุกคามถึงชีวิตให้ คงที่ในขั้นต้น ตามด้วยการซ่อมแซมขั้นสุดท้ายตามขั้นตอน การแทรกแซงที่มีการบุกรุกน้อยที่สุด เช่น เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องและการส่องกล้อง ได้ลดการรุกรานของขั้นตอนต่างๆ ส่งผลให้อัตราการ เจ็บป่วยลดลงและระยะเวลาการฟื้นตัวเร็วขึ้น นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของการแพทย์เฉพาะบุคคลได้ น าไปสู่แนวทางการดูแลผู้บาดเจ็บที่ตรงตามความต้องการและแม่นย ามากขึ้น โดยพิจารณาจาก ลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยและปัจจัยทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม สิ่งส าคัญคือต้องตระหนักว่าความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บนั้น นอกเหนือไปจากเทคโนโลยีและการปฏิบัติทางคลินิก ความร่วมมือและการประสานงานระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพต่างๆ รวมถึงศัลยแพทย์บาดเจ็บ แพทย์ฉุกเฉิน พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และนักสังคมสงเคราะห์ มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมและ ครอบคลุม ความร่วมมือแบบสหวิทยาการส่งเสริมแนวทางแบบทีม โดยที่สมาชิกแต่ละคนน าความ เชี่ยวชาญเฉพาะของตนมาแสดง น าไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและคุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตจากการบาดเจ็บ นอกจากนี้ การรวมการสนับสนุนด้านจิตใจและสังคมเป็นองค์ประกอบส าคัญของการดูแลผู้บาดเจ็บ รับทราบถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งของความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ต่อกระบวนการเยียวยาโดยรวม
25 โดยสรุปแล้ว กระบวนการดูแลผู้บาดเจ็บ trauma care ได้เห็นความก้าวหน้าที่ส าคัญ ซึ่งได้รับแรง หนุนจากนวัตกรรมและมุมมองที่ส าคัญซึ่งยังคงก าหนดทิศทางภูมิทัศน์ของสาขาการดูแลสุขภาพที่ส าคัญ นี้ เราได้ส ารวจแง่มุมต่างๆ ของความก้าวหน้าเหล่านี้ ตั้งแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปจนถึงการปฏิบัติ ทางคลินิกที่ได้รับการปรับปรุง และความร่วมมือแบบสหวิทยาการ เทคโนโลยีมีบทบาทในการ เปลี่ยนแปลงในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บ ช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นย าผ่าน เทคนิคการถ่ายภาพขั้นสูง การบูรณาการการแพทย์ทางไกลและปัญญาประดิษฐ์ได้ปรับปรุงการตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยในท้ายที่สุด 2. High technology and High touch in Emergency Medical Service ผศ.ดร.บุญญาภทัร ชาติพฒันานันท์ สา นักวิชาพยาบาลศาสตร์ม.แม่ฟ้าหลวง การด าเนินการเพื่อค้นหาโจทย์ที่ใช้แก้ปัญหา ต้องมีการท ากาวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาใน สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งพบว่า จุด pain point ที่ส าคัญ คือ ความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพของ ประชาชนในเขตพื้นที่สูง ที่มีบริบทความเป็นอยู่และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
26 ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและการüางแผนการบริการ เป็นการน าเอาทรัพยากรที่มีอยู่มา พัฒนาเพื่อให้้เกิดการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่มีความรวดเร็วเพื่อลดการเสียชีวิต ความพิการ และอาการ แทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินเนื่องจากการล าเลียงขนย้ายและการส่งผู้เจ็บป่üยฉุกเฉินให้แก่ โรงพยาบาลที่ล่าช้า ซึ่งในปัจจุบันการสื่อสารเพื่อแจ้งเหตุในการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีหลาย ช่องทาง เช่น ทางโทรศัพท์ หมายเลข 1669, Mobile Application 1669 ผู้สูงอายุหรือผู้พิการจึงต้องมี โทรศัพท์ัหรือสมาร์ทโฟนเพื่อรายงานเหตุฉุกเฉินและต าแหน่งปัจจุบันจากสมาร์ทโฟน ซึ่งท าให้้อาจมี ปัญหาและใช้เวลาในการสื่อสารเพื่อค้นหาต าแหน่งที่เกิดเหตุนาน จึงท าให้้ต้องมีการพัฒนาระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน โดยระบบ Implementing GIS into EMS & Home Healthcare เป็นงานวิจัยที่ช่วยให้ เจ้าหน้าที่ไม่ว่าเป็นคนใหม่หรือคนเก่า สามารถติดตามได้ผ่านระบบการนัดหมาย บุคลากร ผู้ป่วย ยา เป็นการท างานข้ามศาสตร์ระเบียบวิธีวิจัยที่แนะน าคือ R&D
27 ในส่วนของประเภทที่ 2 AI Technology ส าหรับกลุ่มนักศึกษาพยาบาล Immersive Technology: Innovation in Education โดยผู้วิจัยมีการน าเสนอ MFU BLiS VR โดยพบว่า VR เพิ่ม ความมั่นใจ เพิ่มความสนุก การเรียนแบบมีส่วนร่วม สามารถวิเคราะห์การกระท าได้สามารถใช้เป็นสื่อที่ สามารถปรับ ออกแบบ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมได้ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกซ้อม skill บ่อยๆ ท าให้จดจ า ท่าทาง กระบวนการ ท าบ่อยๆจะได้มีความไว โดยการท างานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในครั้งนี้ ท าเพื่อพัฒนาอุปกรณ์การเรียนรู้ ใน NLRC ซึ่งผู้วิจัยพบว่า ในการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแบบดั้งเดิมส าหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหรือบุคคลทั่วไป ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะฝึกจ าลองสถานการณ์เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้ง ในระหว่างหลักสูตร ซึ่งอาจจ ากัดความสามารถของพวกเขา ในทางตรงกันข้าม ความเป็นจริงเสมือนช่วย
28 ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถศึกษาและฝึกฝนได้อย่างอิสระได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพื่อเพิ่มทักษะ โครงการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินอุปกรณ์การเรียนรู้ใหม่ การช่วยชีวิตขั้น พื้นฐานเสมือนจริงส าหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (MFU BLiS VR) โดย วิธีการศึกษานี้ใช้การออกแบบแบบทดสอบ 2 กลุ่ม ก่อนและหลังการทดสอบ โดยมีนักศึกษาจ านวน 70 คน (กลุ่มละ 35 คน) จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประเทศไทย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึงมกราคม 2566 กลุ่มทดลองได้รับ MFU BLiS VR นอกเหนือจากการสอนแบบดั้งเดิม ในขณะที่กลุ่ม ควบคุมได้รับเฉพาะการสอนแบบดั้งเดิมเท่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคส แควร์ การทดสอบ Mann-Whitney U และการทดสอบอันดับแบบลงนามของ Wilcoxon มีผลลัพธ์การวิจัยพบว่า "MFU BLiS VR" มอบประสบการณ์การเรียนรู้ในการช่วยชีวิตขั้น พื้นฐานนอกโรงพยาบาลส าหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ใน 4 สถานการณ์ ได้แก่ (1) คนที่ไม่หายใจแต่มีชีพจร; (2) บุคคลที่ไม่หายใจ ไม่มีชีพจร และต้องช็อกไฟฟ้า (3) บุคคลที่ไม่หายใจ ไม่มีชีพจร และไม่จ าเป็นต้อง กระตุ้นหัวใจ และ (4) บุคคลที่หายใจและชีพจรปกติแต่หมดสติ แต่ละสถานการณ์ถูกน าเสนอตามล าดับ จากสถานการณ์ที่หนึ่งไปยังสถานการณ์ที่สี่ โดยสถานการณ์ดังกล่าวครอบคลุมสถานการณ์ทั่วไปและ สถานการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งจ าเป็นต้องได้รับการตอบสนองจากผู้ยืนดูอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อ ช่วยชีวิต ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระยะเวลาไม่มีการไหลสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญ (Z = -5.02, p < .001) และมีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญ (Z = -3.39, p < 01) รวมถึง ทักษะการปฏิบัติที่เหนือกว่า (Z = -7.26, p < .001) ทั้งสองกลุ่มรายงานระดับความพึงพอใจสูงสุดในทุก ด้าน โดยไม่มีความแตกต่างที่มีนัยส าคัญ ทั้งนี้ MFU BLiS VR เป็นวิธีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพส าหรับการสอนและการเรียนรู้การ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ โดยดึงดูดความสนใจของ นักเรียนและเพิ่มความเข้าใจในทักษะการช่วยชีวิตที่จ าเป็นซึ่งมีความส าคัญส าหรับทุกคน VR head set เริ่มต้นที่ 500 บาท → ใช้ร่วมกับโทรศัพท์ Android Joint stick ถ้าใช้ใกล้ๆกัน จะตีกัน ต้องแยกกลุ่มให้ห่าง Holo LENS เริ่มต้นที่ 10,000 บาท →สะดวกกว่า คมชัด แต่แพง ต้องหาที่สะดวกส าหรับนักศึกษา
29 Take home message ที่ควรค านึงถึง
30 ➢ Cost-benefit การจะพัฒนานวัตกรรมใดๆ ขอให้คิดถึงความคุ้มค่าคุ้มทุน ➢ การท างานข้ามศาสตร์จะท าให้ดีขึ้น Transdisciplinary research ➢ Big data ทุกๆอย่างมีข้อมูล แต่ต้องขอ IRB อีกรอบ เพื่อขอข้อมูลน ามาวิเคราะห์ ขอพัฒนา ระบบหลังบ้านด้วย เราจะต้องเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ด้วย ➢ System storage การเก็บข้อมูล ➢ PDPA การเข้าถึงข้อมูล ➢ Advisor การมีที่ปรึกษา เหมือนมีเพื่อนคู่คิด ➢ Never give up อย่ายอมแพ้ ทุกอย่างท าไปแก้ไป 3. High technology and High touch in Critical Medical Service Innovation for Mankind พว.ศยามล หนูเสน MICU, รพ.สงขลานครินทร์ • High touch on Nursing care = คือความเข้าใจ ความเข้าใจในความเป็นองค์รวม • ท ายังไงคือจะได้รู้จัก “คน” = Communication การสื่อสารคือ Key ส าคัญให้เรารู้จักคนมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่พูดไม่ได้ ผู้สูงอายุ พอพูดสื่อสารไม่ได้ ท าให้มีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กับผู้ป่วยคน นั้น เมื่อไม่สามารถบอกความต้องการของเราได้ ท าให้รู้สึกคุณค่าลดลง →ผู้ป่วยทุกคนต้องการ สื่อสาร • พยาบาลต้องมีความ Caring ความเข้าใจคน พยายามหาทางสื่อสารให้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเขียนดั้งเดิม หรือใช้เทคโนโลยี แต่ที่ส าคัญคือ ต้องหยิบมันมาใช้ ไม่เรียงล าดับเรื่อง พวกนี้ไว้ทีหลัง
31 มีการศึกษาว่าจะท าอย่างไรให้พยาบาลสื่อสารกับผู้ป่วยได้มากขึ้น การเทรนวิธีการสื่อสารของ พยาบาลต่อผู้ป่วยตามทฤษฎี Theory of Aesthetic Nursing Practice
32 กระบวนการส าคัญ ทฤษฎีของ AesNURP มองว่าการพยาบาลเป็นสุนทรียศาสตร์และการปฏิบัติ โดยอยู่ภายใต้ ความมุ่งมั่นของการปฏิบัติในการดูแลบุคคลที่มีส่วนร่วมในการดูแลของตน มากกว่าที่จะเป็นเพียงการ
33 ดูแลเท่านั้น ทฤษฎีระยะกลางเน้นที่การปฏิบัติการพยาบาลซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพยาบาลที่ ชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้ว่าบุคคลที่มีความสมบูรณ์และมีความสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยไม่ค านึงถึง ชิ้นส่วนประกอบที่ขาดหายไป ข้อสันนิษฐานและแนวคิดนี้อธิบายความยืดหยุ่นและไม่เฉพาะเจาะจงของ การพยาบาล โดยการดูแลเอาใจใส่เป็นโอกาสส าคัญในการก าหนดสถานการณ์การดูแล พยาบาล สามารถใช้ทฤษฎีนี้เพื่อให้ความกระจ่างแก่การปฏิบัติของตนในการดูแลบุคคลตลอดอายุขัย ในการ ปฏิบัติงานใดๆ เช่น หน่วยของสถานพยาบาล และในชุมชน กระบวนการปฏิบัติที่สร้างสรรค์และเป็น นวัตกรรมได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับปรุงและยกระดับสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ของบุคคล ทฤษฎีของ AesNURP สนับสนุนโอกาสที่กระบวนการมีส่วนร่วมของพยาบาลและผู้ให้นมบุตรผ่านการ เผชิญหน้าแบบเอาใจใส่ ให้ความกระจ่างแก่สถานการณ์การดูแล รูปแบบกระบวนการปฏิบัติ สุนทรียศาสตร์ในการพยาบาลผสมผสานกับแนวคิดประปาน ประกอบด้วย กระบวนการพยาบาล 3 กระบวนการ คือ การเผชิญหน้า ร่วมสร้างความสัมพันธ์ที่ห่วงใย และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย กระบวนการนี้ให้แนวทางปฏิบัติในการดูแลตามทฤษฎีเพื่อการยอมรับบุคคลอย่างครบถ้วน ทฤษฎีนี้อธิบายไว้ว่าการดูแลบุคคลมีความสม ่าเสมอ สม ่าเสมอ และร่วมสมัย ผู้บริหารการ พยาบาลสามารถสนับสนุนนโยบายการดูแลที่ก่อตั้งขึ้นใน AesNURP เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของ พยาบาล การยอมรับของผู้ป่วยในการดูแล และความพึงพอใจของการพยาบาลวิชาชีพ นอกจากนี้ ผู้บริหารการพยาบาลสามารถสนับสนุนสภาพแวดล้อมด้านสุนทรียศาสตร์ที่สัมพันธ์กับขอบเขตทั้งอัตนัย และวัตถุประสงค์ ความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้บริหารการพยาบาล พยาบาลเวชปฏิบัติ ผู้ให้บริการ ด้านสุขภาพอื่นๆ และลูกค้าในการมีส่วนร่วมที่มีความหมายนั้นมีคุณค่าในสภาพแวดล้อมที่สวยงามเพื่อ ร่วมมือกันในการสร้างแนวทางปฏิบัติในการดูแลที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ผู้บริหารการพยาบาลสามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของทีมดูแลสุขภาพ และจัดหน่วย ดูแลผู้ป่วยและสถานที่ท างานของพยาบาลเพื่อแสดงสถานการณ์สภาพแวดล้อมที่สวยงามประเภทต่างๆ เช่น การตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้ รูปภาพและภาพวาดที่สวยงาม การเล่นดนตรีที่ผ่อนคลาย การ แพร่กระจาย กลิ่นหอมและกลิ่นหอมอื่นๆ ที่น่าพึงพอใจ พร้อมทิวทัศน์อันน่าดึงดูดใจอย่างเป็นธรรมชาติ เรื่องราวของการเผชิญหน้าที่ห่วงใยซึ่งเป็นประสบการณ์สดของการเผชิญหน้าห่วงใยในสถานการณ์ที่ ห่วงใย การเผชิญหน้าเหล่านี้แสดงความหมายอันมีคุณค่าต่อสถานการณ์การดูแลในการพยาบาล แนว ปฏิบัติในการดูแลที่สร้างสรรค์และสร้างสรรค์จะกลายเป็นความรู้ใหม่ของการเผชิญหน้าในการดูแลอื่นๆ แบ่งปันประสบการณ์สดของการดูแล การปฏิบัติคือการสื่อสารผ่านการแสดงออกทางสุนทรียศาสตร์ โดย เปิดโอกาสให้บุคคลเข้าใจความหมายของประสบการณ์ของตนอย่างถ่องแท้ การแสดงออกทาง สุนทรียภาพสามารถสื่อสารได้หลายวิธี เช่น ด้วยภาพประกอบกราฟิก ถ้อยค าและวลีผ่านบทกวีและการ เล่าเรื่อง และการเคลื่อนไหวร่างกายผ่านการเต้น พยาบาลสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยผ่าน การไตร่ตรอง โดยการแบ่งปันประสบการณ์ เช่น วิธีการได้รับการดูแล เพื่อให้รู้จักบุคคลในฐานะผู้ดูแล
34 อย่างต่อเนื่อง พยาบาลยังสามารถถ่ายทอดความงามของการเอาใจใส่และการปฏิบัติดูแลด้วยความรัก ผ่านการแสดงออกทางสุนทรียะผ่านการเผชิญหน้าความห่วงใยของตนเอง ผู้จัดท านวัตกรรมน าแนวคิดจากทฤษฎีดังกล่าว มาผลิตนวัตกรรมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อ ใช้ Trend พยาบาลในการสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างสุนทรียสนทนาและมีประสิทธิภาพ และเป็นโปรแกรม เพื่อช่วยผู้ป่วยในการสื่อสารเพื่อบอกความต้องการที่เป็น individual ได้ ยังมีความสามารถในการสื่อสาร (ต้องค านึงถึงการใช้สี ตัวอักษร ช่องไฟ ด้วย) เป็นโปรแกรมต่างๆ ในโปรแกรม Older tube-talk ดังนี้
35
36 ทั้งนี้ในระบบ มีการแบ่ง part ต่างๆ รวมถึงมีข้อความที่แสดงถึงอารมณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ เลือกใช้งาน
37 และการสื่อสารเรื่องการบอกความปวด ที่มีประโยชน์ต่อผู้รับบริการที่อยู่ในภาวะวิกฤตที่สื่อสารโดยการ พูดไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง Take home message ที่ส าคัญ
38 Panel 2 ผู้สรุป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. เรียม นมรักษ์ อ.ศิริพร ฉายาทบั โดยวิทยากร ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การวิจัยและพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางและระยะยาวในบริบทชีวิตวิถีใหม่ (SECSI SOUTH IMC) เป้าหมาย ระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ต้องการการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาวใน บริบทชีวิตวิถีใหม่ (new normal intermediate care and long-term care) แบบองค์รวม (holistic) ที่มี คุณภาพ (quality) คุณค่า (value-based) และความครอบคลุมที่เกิดผลสัมฤทธิ์ (effective เพื่อพัฒนาระบบ บริการเพื่อการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ที่ 1) ระบบบริการ 2) ระบบข้อมูล และ 3) ระบบการ จัดการเรียนรู้ 1 ระบบบริการเริ่มจากจังหวัดสงขลา เชื่อมโยงเขือข่าย ประกอบด้วย มี 4 โซน 1) รพ.หาดใหญ่ : รพ. สะเดา รพ. นาหม่อม รพ.ปาดังเบซาร์ รพ.คลองหอยโข่ง 2) โรงพยาบาลสงขลา รพ. ระโนด รพ. กระแสสินธุ์ รพ.สิงหนคร รพ.สทิงพระ รพ.จะนะ 3) โรงพยาบาลบางกล่ำ รพ. ควนเนียง รพ.รัตภูมิ 4) โรงพยาบาล สมเด็จนาทวี รพ.เทพา รพ. สะบ้าย้อย ร่วมกับภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม 2.ระบบข้อมูล โดยใช้โปรแกรม PRM referral system เชื่อมโยงระบบข้อมูลสุขภาพชุมชน 3.ระบบการจัดการเรียนรู้เป็นการ upskill re skill ปรับเข้าสู่การเรียนการสอน ทั้ง 4 ระยะ ตั้งแต่ prevention ในชุมชน acute care ในโรงพยาบาล ในward ในโรงพยาบาล และการส่งกลับบ้าน และดูแล ต่อเนื่องในชุมชน โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ โดยมีตัวชี้วัดระดับ out put 1. ระบบการดูแลและให้คำปรึกษาทางไกล (telehealth & teleconsultation) เต็มรูปแบบและครบ วงจร 2. ระบบข้อมูลและ application ด้าน IMC CoC และ LTC ที่บูรณาการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาล กับชุมชน
39 3. บุคลากรสหวิชาชีพและผู้ดูแลทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนที่มีความรู้และทักษะในการดูแลและ ฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ตัวชี้วัดระดับ outcome ระบบการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาวในบริบทชีวิตวิถีใหม่แบบองค์รวม ที่มีคุณภาพ คุณค่า และ ความครอบคลุมที่เกิดผลสัมฤทธิ์ ตัวชี้วัดระดับ impact 1. ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากโรคและไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ 2. ลดงบประมาณในการดูแลระยะยาว 3. เพิ่มกำลังการผลิต (productivity) และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) การดำเนินการ ระยะที่ 1 Situation Analysis Step 1 (Research: R1) Problem assessment การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ กับผู้ให้ข้อมูล หลัก (key informant) 3 กลุ่ม คือ ผู้ให้บริการสุขภาพสหวิชาชีพ ผู้ป่วยและผู้ดูแล และผู้บริหาร จำนวน 51 คน Step 2 (Develop: D1) Prototype development ร่วมกันออกแบบระบบและเครือข่ายการดูแลต่อเนื่องแบบไร้รอยต่อในการให้บริการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะ กลางและการดูแลระยะยาว ที่เชื่อมโยงจากโรงพยาบาลแม่ข่ายสู่ทีมชุมชนและการดูแลที่บ้านอย่างครบวงจร พัฒนา platform บริการสุขภาพทางไกล การบูรณาการข้อมูลจากโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ระบบการ ประเมินผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติมาตรฐานทางการฟื้นฟูสำหรับพยาบาลเยี่ยมบ้านแบบออนไลน์ ระบบการแจ้ง เตือนการส่งต่อผู้ป่วย พัฒนาระบบ SMARTCARE (Telehealth) และ SMART MEs (Teleconsultation) และคู่มือการใช้ งานกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการดูแล สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะกลาง อสม. และบุคลากรสหวิชาชีพ (เวชกรรมฟื้นฟู-เวชศาสตร์ครอบครัว-จิตเวช) โดยการจัด กิจกรรมทั้งรูปแบบ on site และ online ผลการดำเนินการ ผู้รับบริการ ต้องการการดูแลทางด้านร่างกายและจิตใจ ต้องการตั้งเป้าหมาย แผนการ รักษา ระยะเวลาในการรักษร่วมกัน ข้อมูลการรักษาที่ถูกต้องและการประเมินผลการรักษาช่องทางการเข้าถึง บริการและการขอคำปรึกษาด้านการฟื้นฟู ที่ง่ายและสะดวก การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ สถานที่ อุปกรณ์ ที่ทันสมัยวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานระบบบูรณาการข้อมูลการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ 30 คน วิเคราะห์ระบบและแนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ต่างๆ เช่น HIS (HOSxP, JHCIS, PMK), ThaiRefer, CoC Link, PRM Referral, Telehealth และ Teleconsultation หมอพร้อม หมอรู้จักคุณ โดย programmer ร่วมกับ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ สาธารณสุขพัฒนาระบบ Thepha Doctor application สำหรับใช้งานบนอุปกรณ์แบบพกพาทั้ง Android และ IOS เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการสาธารณสุขชุมชน โดยได้พัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยและประวัติการ รักษา ระบบการค้นหาและบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน Telemedicine พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล Thepha Doctor application กับ HIS (HOSxP, JHCIS) ผ่าน cloud data center และกับ ThaiRefer, CoC Link, PRM Referral Network ผ่าน API
40 นพ วรวุฒิ โฆวัชกุล โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาระบบโรงพยาบาลหนึ่งเดียวใน กลุ่มเครือบริการที่ 2 การดูแลจากเชิงกรานสู่เชิงตะกอน มีการจัดการระบบสุขภาพที่หลากหลายและเชื่อมโยง ลดเวลา อันเนื่องมาจากการเดินทางระยะ ทางไกลของภูมิภาคการเกิดบริการใหม่ๆ ทัศนคติที่เปลี่ยน การเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการ ทุกคนพัฒนา หาความรู้เพิ่ม และทำงานเป็นทีม หาทีมให้ได้ ไม่แยกส่วนการให้บริการ Pain point เนื่องจากการทำงานแยก ส่วน การทำงานไม่ต่อเนื่อง การทำงานซ้ำซ้อน เลยพัฒนาระบบ Integral Health Information Management System (IHIMS) เพื่อแก้ปัญหา จุดเชื่อมโยงสืบค้น แลกเปลี่ยน ข้อมูล ระบบอื่น เช่น D1669 , Health link ใช้วิธีสอบถาม รวบรวม ไม่สำเนาข้อมูลทั้งระบบ ติดตั้งได้รวดเร็วไม่ต้องการ Server เก็บข้อมูล ขนาดใหญ่ Cyber Security การยืนยันตัวตน และ การกำหนดชั้น PDPA การเก็บข้อมูลว่ามีใครเข้ามาดูข้อมูล IHIMS สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจาก home base care บ้าน รพสต โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลแม่ข่าย โรงพยาบาลจังหวัด/ศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และสามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่น ระบบ NODE -HIS ระบบส่งต่อดิจิตัล ระบบนัดผู้ป่วย ศูนย์ติดตามรถพยาบาล การส่งตัวกลับพร้อมแผนการรักษา การดูแลที่บ้าน ระบบทะเบียนติดตามกลุ่มประชากรและกลุ่มผู้ป่วย นพ ธวัชชัย อิ่มพูล โรงพยาบาลขอนแก่น Trauma care การดูแลผู้บาดเจ็บ ขอนแก่นมี trauma excellent center มีกระบวนการตั้งแต่ ER โดยใช้ระบบการดูแลต่อเนื่องเป็นการบูรณาการดูแลในทุกระดับ โดยใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่และคุ้มค่าที่สุด ประกอบด้วย ระบบการบริการแสดงดังภาพ มีระบบ EMS system and TeREM Monitoring EMS Day EMS meeting การดูผู้ป่วยที่ ER โดย จะดูแลร่วมกับ ER trauma Care และมี Flow of Trauma Fast Track to OR เริ่มตั้งแต่ ผู้ป่วย trauma
41 ได้รับการ Triage ถ้าเป็นสีแดง เข้าห้อง resuscitation room ประเมิน Initial Assessment Resuscitation และ FAST TRACK แยกเป็น Head injury FAST TRACK ส่ง CT scan ส่งห้องผ่าตัด และadmit ICU ซึ่ง แสดงดังภาพ ER Trauma Care หลังจากนั้นผู้ป่วยจะย้ายไปที่ trauma ward หรือ ICU Monitoring การพัฒนาระบบ trauma care ของโรงพยาบาลขอนแก่น ประกอบด้วย trauma Guideline trauma Quality Improvement Program มีการ Family Talks Round ICU Trauma นอกจากนี้เป็นศูนย์ความ ร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก ด้านการป้องกันการบาดเจ็บและส่งเสริมความปลอดภัย วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. หัวข้อ Concurrent sessions in specific field & Oral presentation ห้องที่ 1: Emergency & trauma care วิทยากรและประธานประจำกลุ่ม: - ผศ.ดร.ทัศนีย์ สุนทร คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี - ผศ.ดร.วันเพ็ญ แวววีรคุปต์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ราชภัฏนครปฐม สรุปโดย อาจารย์กิติกร พรมา บทความวิจัยเรื่องที่ 1: ผลของการฝึกหายใจช้าด้วยดนตรีบำบัดต่อระดับความดันโลหิตใน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่ แผนกฉุกเฉิน: การศึกษานำร่อง (Effect of music-guided slow breathing technique on blood pressure level in hypertensive urgency in emergency department: A preliminary study)
42 ผลการศึกษา: ทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับความดันโลหิตลดลงตั้งแต่นาทีที่ 15 และลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยค่าความดันโลหิต Systolic ในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญนาทีที่ 15, 30, 45 และ 60 แต่อย่างไรก็ตาม ค่าความดันโลหิต Diastolic ไม่แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญระหว่างกลุ่ม สรุป: ผลของ การศึกษาพบว่า การฝึกหายใจขาด้วยดนตรีบำบัดช่วยลดความดันโลหิต Systolic ใน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเร่งด่วนที่ห้องฉุกเฉินเพิ่มจากการรับประทานยาลดความดันโลหิตตามแผนการรักษา โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะส่วนปลาย ดังนั้น ควรทำการวิจัยเพื่อยืนยันผลการศึกษาและนำไปใช้ ต่อไป ผู้วิจัย: 1. สุทธินนท์ เสนารินทร์ (นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2. วาสนา รวยสูงเนิน (รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
43 ภาพที่1 บทคัดย่อเรื่อง ผลของการฝึกหายใจช้าด้วยดนตรีบำบัดต่อระดับความดันโลหิตใน ผู้ป่วยความดัน โลหิตสูงเร่งด่วนที่แผนกฉุกเฉิน: การศึกษานำร่อง
44 บทความวิจัยเรื่องที่ 2: การแปลและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินความปวด สำหรับผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ฉบับภาษาไทย: การศึกษานำร่อง (Translation and quality validation of the critical-care pain observation tool-neuro for craniotomy patients in Thai version: a pilot study) ผลการศึกษา: พบว่า เครื่องมือ ประเมินความปวด CPOT-Neuro ฉบับภาษาไทย มีการตรวจสอบ คุณภาพของกระบวนการแปลอย่างเคร่งครัด มีความหมาย เทียบเท่ากับต้นฉบับ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือประเมินความปวด CPOT-Neuro ฉบับภาษาไทย พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความปวด CPOT-Neuro ฉบับภาษาไทย กับ behavioral pain scale (BPS) มีความสัมพันธ์ใน ระดับสูง (Spearman's tho = 0.823, p< 0.001) และความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกต (inter-rater reliability: IRR) ของ CPOTNeuro ฉบับภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้สังเกตที่ได้เท่ากับ 96% ซึ่งแปลผลว่า CPOT-Neuro ฉบับ ภาษาไทย นั้นมีความน่าเชื่อถือ สรุป: การประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะที่ระดับความรู้สึกตัวลดลงควร เลือกใช้เครื่องมือที่สามารถประเมินความปวดได้ถูกต้องและแม่น CPDT-sure เป็นแบบประเมินหนึ่งที่มี คุณภาพการ ประเมินความปวดที่น่าเชื่อถือ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินความปวดที่ถูกต้อง แต่อย่างไร ก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็น เพียงการศึกษานำร่อง ดังนั้นควรมีการทดสอบคุณภาพของแบบประเมินนี้ซ้ำในกลุ่ม ตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้วิจัย: 1. ภัทรา พรมย่อง (นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น) 2. บุษบา สมใจวงษ์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น)
45 ภาพที่ 2 บทคัดย่อเรื่อง การแปลและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินความปวด สำหรับผู้ป่วย หลังผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ฉบับภาษาไทย: การศึกษานำร่อง บทความวิจัยเรื่องที่ 3: ผลลัพธ์การจัดการความปวดของพยาบาลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีอาการปวด ท้องเฉียบพลันของ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชน: การศึกษาแบบสำรวจเบื้องต้น (Outcomes of
46 Nurses Pain Management and Satisfaction of Patients with Acute Abdominal Pain Visiting an Emergency Department, a Private Hospital: A Preliminary Survey Study) ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง (51 คน ร้อยละ 78.5) วินิจฉัยว่าเป็นลำไส้อักเสบ เฉียบพลันและท้องเสีย (32 คน ร้อยละ 49.2) เข้ารับการรักษาตัวต่อเนื่องในโรงพยาบาล (26 คน ร้อยละ 52) ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดแรกรับห้องฉุกเฉิน 6.80-1.78 ส่วนใหญ่ได้รับการจัดการความปวด (60 คน ร้อยละ 92.3) และการจัดการความปวดมีประสิทธิภาพ (52 คน ร้อย ละ 80) มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยระดับมาก ที่สุด 4.250.56 โดยมีความพึงพอใจต่ำในเรื่อง “พยาบาลให้เวลาในการพูดคุย กับผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาความ ปวด” และ “ความไว้วางใจและอยากเล่าเรื่องความปวด” สรุป: การจัดการความปวดจากอาการปวดท้องเฉียบพลันในบริบทของการศึกษา มีผลลัพธ์การจัดการ ความปวดในเกณฑ์ดี โดยยังมีบางกิจกรรมการพยาบาลที่ควรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัย: 1. พนิดา ธรรมประดิษฐ์(พยาบาลวิชาชีพแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่) 2. ศศิภัสส์ จันแดง (หัวหน้าแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่) 3. ปารีคะ บิลลาเต๊ะ (ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่)