The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่13-14 พฤศจิกายน 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่13-14 พฤศจิกายน 2566

สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่13-14 พฤศจิกายน 2566

47 ภาพที่ 3 บทคัดย่อเรื่อง ผลลัพธ์การจัดการความปวดของพยาบาลและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีอาการปวด ท้องเฉียบพลันของ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชน: การศึกษาแบบสำรวจเบื้องต้น บทความวิจัยเรื่องที่ 4: ผลของการใช้แบบประเมิน Alvarado scale ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ Evaluation of Alvarado scale for Diagnosis of Appendicitis


48 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 167 คน ส่วนใหญ่ เพศหญิง 103 ราย (ร้อยละ 61.7) อายุเฉลี่ย Mean+- SD 37.0 +-19.9 มาด้วย อาการปวดท้องย้ายตำแหน่ง (migration of pain) จำนวน 153 ราย (ร้อย ละ 91.6) Positive result>/= 27 เท่ากับ 117 (ร้อย ละ70.1) Sensitivity = TP / (TP+FN) = 70.1 พบกลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะ Inflammation เท่ากับ 75 ราย (ร้อยละ 44.9) และมีระยะเวลาที่วินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่ง อักเสบจนถึงผ่าตัดเวลา 1-4 ชั่วโมง เท่ากับ 138 ราย (ร้อยละ 82.6) สรุป: ค่า Alvarado scale ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7 มีค่าความไวและการทำนายผลบวกในการวินิจฉัย ผู้ป่วยที่มี ภาวะไส้ติ่งอักเสบ และสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องน้อยและสงสัยได้ตั้งอีก แทบเฉียบพลันได้ ผู้วิจัย: 1. พว. อุไรวรรณ โอทองคำา (โรงพยาบาลท่าศาลา)


49 ภาพที่ 4 บทคัดย่อเรื่อง ผลของการใช้แบบประเมิน Alvarado scale ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ Evaluation of Alvarado scale for Diagnosis of Appendicitis บทความวิจัยเรื่องที่ 5: การพัฒนานวัตกรรม EMSPlus บนแพลตฟอร์มออนไลน์สาหรับแจ้งรายละเอียดของ ผู้ป่วยฉุกเฉิน วงหน้าให้กับห้องฉุกเฉิน: การศึกษานำร่อง (Development of Innovative EMS Plus Online


50 Platform for Informing Emergency Patients with Information Before Arriving at the Emergency Department: A Pilot Study) ผลการศึกษา: นวัตกรรม EMSPlus ที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ 1) ส่วนของผู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน 2) ข้อมูลการแจ้งเหตุเข้าใช้งานห้องฉุกเฉิน 3) ชุดความรู้ในการจัดการภาวะฉุกเฉิน สำหรับประชาชน ผลการทดสอบความ เป็นไปได้ในการใช้นวัตกรรมในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปาน กลาง (M = 3.25,S.D. = 0.75) ข้อที่มีค่าคะแนนสูงสุดคือ การนำข้อมูลที่ได้รับจากชุดความรู้ในระบบมาใช้เพื่อ แนะนำการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อมีภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพได้ ส่วนความ พึงพอใจพบว่า ในภาพรวมและราย ข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สรุป: นวัตกรรมที่พัฒนานี้ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่ต้องการมา โรงพยาบาลด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาต่อยอดเพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยจาก การใช้นวัตกรรมต่อไป ผู้วิจัย: 1. ประณีต สงวัฒนา (รองศาสตราจารย์ ดร.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) 2. นารีรัตน์ พุทธกุล (อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) 3. เยาวณีย์ ชูขำ (นักวิชาการ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) 4. รุชตา สาและ (นายแพทย์ โรงพยาบาลปัตตานี) 5. เยาวดี พลับช่วย (พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปัตตานี) 6. กฤษฎา พรหมมุณี(นักวิชาการคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลปัตตานี) 7. เพ็ชรรัตน์ สุริยะไชย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) 8. เสกสรร สุวรรณมณี (อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)


51 ภาพที่ 5.1 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม EMSPlus บนแพลตฟอร์มออนไลน์สาหรับแจ้งรายละเอียด ของผู้ป่วยฉุกเฉิน วงหน้าให้กับห้องฉุกเฉิน: การศึกษานำร่อง


52 ภาพที่ 5.2 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม EMSPlus บนแพลตฟอร์มออนไลน์สาหรับแจ้งรายละเอียด ของผู้ป่วยฉุกเฉิน วงหน้าให้กับห้องฉุกเฉิน: การศึกษานำร่อง (ต่อ)


53 ภาพบรรยากาศ ห้องที่ 1: Emergency & trauma care


54 ห้องที่ 2: Critical care วิทยากรและประธานประจำกลุ่ม: - ผศ.ดร.หทัยรัตน์ แสงจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ - พว.สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ รพ.วชิระภูเก็ต สรุปโดย อาจารย์กิติกร พรมา บทความวิจัยเรื่องที่ 1: การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและ จัดการ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง (Development and Feasibility Study of Clinical Nursing Practice Guidelines for Prevention and Management of Phlebitis Among Patients Receiving High-Alert Drugs) ผลการศึกษา: : ได้งานวิจัยจำนวน 27 เรื่อง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วย การพยาบาล เพื่อป้องกันและจัดการภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาที่มี ความเสี่ยง แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ก่อนให้ยา 2) เริ่มให้ยา 3) ขณะให้ยา และ 4) หลังหยุดให้ยา แนว ปฏิบัติการพยาบาลฯ นี้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่า CV= 1.0 และ AGREE II ร้อยละ 94.4 ผลการ นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้พบว่า อัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบขณะ ให้ยา ภายใน 72 ชั่วโมง ร้อยละ 20.0 และหลังหยุดให้ยา ภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 6.7 ผลการจัดการภาวะหลอดเลือดดำ ส่วนปลายอักเสบตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ สามารถลดระดับความรุนแรงจาก Grade 3 เป็น Grade 2 ร้อยละ 6.7 และ ไม่เกิดการลุกลามเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.0 แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีความเป็นไปได้ในการนำ ใช้โดยภาพรวมระดับมากที่สุด รอยละ 88.0 (M = 4.40, SD = 0.69) สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ป้องกันและ จัดการภาวะหลอดเลือด ดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้วิจัย: 1. ภัทรานุช ภูคำ (นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2. ปาริชาติ วงศ์ก้อม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)


55 ภาพที่ 1.1 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและ จัดการ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง


56 ภาพที่ 1.2 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและ จัดการ ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง (ต่อ) บทความวิจัยเรื่องที่ 2: ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะนํ้าเกินในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ในกระแสโอ และ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: การศึกษาความเป็นไปได้ (Effects of using


57 clinical nursing practice guidelines to prevent fluid overload among sepsis and septic shock patients: Feasibility study) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 10 ราย หลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยที่มี การติดเชื้อในกระแส เลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 (SD=2.65) แสดงว่าผู้ป่วยทั้งหมดไม่เกิดภาวะน้ำเกิน สรุป: การศึกษานี้สรุปได้ว่าผู้ป่วยหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในผู้ป่วยที่มี ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดมีโอกาสน้อยที่จะเกิดภาวะน้ำเกิน ข้อเสนอแนะควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้วิจัย: 1. สมบูรณ์ ปัตถา (นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2. นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3. อนุพล พาณิชย์โชติ(รองศาสตราจารย์ สาขาเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)


58 ภาพที่ 2.1 บทคัดย่อเรื่อง ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะนํ้าเกินในผู้ป่วยที่มีภาวะติด เชื้อในกระแสโอ และ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: การศึกษาความเป็นไปได้


59 ภาพที่ 2.2 บทคัดย่อเรื่อง ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะนํ้าเกินในผู้ป่วยที่มีภาวะติด เชื้อในกระแสโอ และ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: การศึกษาความเป็นไปได้(ต่อ) บทความวิจัยเรื่องที่ 3: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ภายหลังได้รับการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (Factors associated with acute kidney injury among patients with coronary artery disease after percutaneous coronary intervention) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 272 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 75.0 อายุ เฉลี่ย 66.7+-11.1 ปี ได้รับการ วินิจฉัยเป็นผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด NSTEMI ร้อยละ 71.7 มีโรค ร่วมเป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ร้อยละ 25.4 พบภาวะ ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ร้อยละ 32.4 โดยปัจจัยที่มี


60 ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ อายุมากว่า 80 ปี (OR 4,41, 95%CI 1.58-12.26) มีโรค ร่วมคือโรคไตวายเรื้อรัง (OR 5.58, 95%CI 2.86-10.88) มีระดับ Hb ≤ 13 g/dL (OR 0.33, 95%CI 0.16- 0.67) และได้รับการรักษาด้วยเครื่อง IABP (OR 7.84, 95%CI 3.19-19.25) สรุป: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันหลังการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ อายุ การได้รับการรักษา ด้วยเครื่อง IABP ระดับ HD และผู้ป่วยที่มีโรคไตวายเรื้อรังเป็นโรคร่วม ดังนั้นพยาบาล ควรประเมินและจัดการปัจจัยเสี่ยง ดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ผู้วิจัย: 1. พนิดา พรหมพินิจ (นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2. ปาริชาติ วงศ์ก้อม (อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 3. ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร (ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)


61 ภาพที่ 3 บทคัดย่อเรื่อง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ภายหลังได้รับการรักษาด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ บทความวิจัยเรื่องที่ 4: การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิก เพื่อ ป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (The


62 Development and feasibility study of clinical nursing practice guideline preventing early noninvasive ventilation failure among of patient with acute respiratory failure) ผลการศึกษา: จากการทบทวนและสังเคราะห์งานวิจัยจำนวน 23 เรื่อง ได้หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ ในการสร้างแนวปฏิบัติฯ เพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลว เฉียบพลันซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ คือ 1) การเตรียมก่อน ใส่ NIV ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงในการเกิด NIV failure มีความตรงเชิงเนื้อหา (CV=0.94) 2) การดูแลขณะใส่ NIV ระยะเวลา 48 ชั่วโมงแรก ซึ่งแนว ปฏิบัติฯ มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) และ3) ระยะหย่า NIV ซึ่งใช้แบบประเมิน ความพร้อมในการหย่า NIV มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) แนวปฏิบัติฯ มีคะแนน AGREE II ร้อยละ 82.92-86.66 ผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 ท่านแนะนำให้ใช้แนวปฏิบัติฯ นี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการใส่ NIV ผลจาก การศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 5 ราย ไม่เกิดความล้มเหลวในการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อในระยะ 48 ชั่วโมงแรก มี ค่าเฉลี่ยของระดับการแลกเปลี่ยนแก๊ส (SpO/FiO, ratio) ในชั่วโมงที่ 1 และ 24 = 162.50±21.50 และ 322.35±36.47 ตามลำดับ พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ มีความพึงพอใจต่อความเป็นไปได้ ในการนำใช้แนวปฏิบัติฯ ร้อยละ 100 สรุป: แนวปฏิบัติ ฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพที่น่าพึงพอใจ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อป้องกัน การช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นอกจากนี้ควรศึกษาวิจัย เพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบ ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติต่อไป ผู้วิจัย: 1. ฑิฆัมพร ฝ่ายศักดิ์ขวา (นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 2. ดลวิวัฒน์ แสนโสม (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 3. วศินีนาถ มงคลพันธ์ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร)


63 ภาพที่ 4.1 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิก เพื่อ ป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน


64 ภาพที่ 4.2 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิก เพื่อ ป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ต่อ) บทความวิจัยเรื่องที่ 5: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ในการป้องกันการรั่วซึมของยาออกนอก หลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง (Development of Clinical Nursing Practice Guidelines for Extravasation prevention in Patients Receiving High Alert Drug ) ผลการศึกษา: พบว่า 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกทางการพยาบาลการป้องกันการรั่วซึมของยาออกนอก หลอดเลือดดำ ประกอบด้วย 3 หมวด คือ 1) การประเมินลักษณะการเกิดการรั่วซึมของยาออกนอกหลอด


65 เลือดดำ 2) แนวทางการป้องกัน การเกิดการรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือดดำ และ 3) แนวทางการจัดการ และการดูแลเมื่อเกิดการรั่วซึมของยาออกนอก หลอดเลือดดำ มีการตรวจความตรงของเนื้อหาโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ CVI เท่ากับ 1.0 2) ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางคลินิก พบว่า มีความ เป็นไปได้ในการใช้ในหน่วยงานในระดับมาก ร้อยละ 90.47 สามารถแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อ ผู้รับบริการ ประหยัดและลดต้นทุน ร้อยละ 96.87 มีความสะดวกและความง่ายต่อการนำไปใช้ร้อยละ 87.09 ผู้วิจัย: 1. สุรีรัตน์ ศรีนวล (โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี) 2. เบญจวรรณ ดิษฐประพันธ์(โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) 3. วิไลวรรณ อ่วมแสง (โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี)) 4. สมปอง ใจกล้า (โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม) 5. ออฤทัย ธนะคำมา (คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม) 6. วรางคณา สายสิทธิ์(คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม)


66 ภาพที่ 5.1 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ในการป้องกันการรั่วซึมของยาออก นอกหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง


67 ภาพที่ 5.2 บทคัดย่อเรื่อง การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ในการป้องกันการรั่วซึมของยาออก นอกหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง (ต่อ)


68 ภาพบรรยากาศ ห้องที่ 2: Critical care


69 ห้องที่ 3 Innovation care วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. – 16.00 สรุปโดย อาจารย์พุทธพร อ่อนคำสี การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ การเคลื่อนไหวของข้อในผู้ป่วยวิกฤต A feasibility study of implementing nursing practice guidelines for muscle strength and joint movement promotion in critically ill ศิริวรรณ โคตุรพันธ์ และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ วัตถุประสงค์ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องผลของแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของข้อต่อผลลัพธ์ที่คัดสรรในผู้ป่วยวิกฤต เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนว ปฏิบัติการพยาบาล วิธีการ การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของ The lowa Model of Evidence-Based Practice to Promote Quality Care ประเมินคุณภาพโดยการตรวจสอบดังชีความตรงเชิงเนื้อหาและประเมิน AGREE II จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้ในผู้ป่วยจำนวน 10 ราย และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 2 ราย ผลการศึกษา งานวิจัยจำนวน 20 เรื่อง ประเมินคุณภาพวิเคราะห์และสังเคราะห์และสร้างเป็นแนวปฏิบัติการ พยาบาลประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) การประเมินความพร้อมก่อนการปฏิบัติ 2) การดูแลเพื่อส่งเสริมความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อ และ 3) การประเมินผลลัพธ์ คุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาของ แนวปฏิบัติการพยาบาล มีค่า CVI = 1 ประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติมีคะแนน AGREE II 80% พบว่า ผู้ป่วยที่ ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 10 ราย มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับการ เคลื่อนไหวและการประเมินของภาวะข้อติดแข็ง เท่ากับ 1.8, 0 และ 0 ตามลำดับ เมื่อใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาล มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับการเคลื่อนไหวและการประเมินของภาวะข้อติดแข็ง เท่ากับ 4.4, 5.2 ความคิดเห็นของพยาบาลอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.75, SD = 0.72) ผลของโปรแกรมส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็วต่ออาการปวดหลังและอาการปัสสาวะลำบาก : กรณีศึกษาในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟี มอรอล Effect of Early Ambulation Program on Back Pain and Urinary Discomfort: Care Study Among Patients Acute Myocardial Infarction Undergoing Percutaneous Coronary Intervention Via Femoral Artery พัชราภรณ์ บูรวัตร, มะลิวรรณ ศิลารัตน์ และไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร วัตถุประสงค์


70 เพื่อผลของโปรแกรมส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็วต่ออาการปวดหลัง และอาการปัสสาวะลำบากใน ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงฟีมอรอล วิธีการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยล้ามเนื้อหัวจขาดเลือดเฉียบพลันหลังขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านหลอดเลือด แดงฟีมอรอลจำนวน 5 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการลุก จากเตียงโดยเร็ว ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน (CVI = 0.98)) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าโปรแกรม โดยประเมิน CRUSADE bleeding risk score แบ่งระดับ ความเสี่ยงคะแนน <30 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ และคะแนน 30-50 เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง 2) ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทาง หลอดเลือดหลังถอดสายสอนหลอดเลือดกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการประคบเย็น 15 นาที และกลุ่มเสี่ยงต่ำพลิก ตะแคงตัวได้ทันที 3) ส่งเสริมการลุกจากเตียงโดยเร็ว หลังถอดสายสวนหลอดเลือดชั่วโมงที่ 3 เมื่อประเมิน ความพร้อมผ่าน โดยให้นั่งบนเตียงและชั่วโปงที่ 4 ให้ลุกเดินรอบเตียง 4) ประเมินผลลัพธ์ อาการปวดหลัง อาการปัสสาวะลำบาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 5 ราย ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงต่ำ 3 ราย และกลุ่มเสี่ยงสูง 2 ราย ลุกจากเตียงและเดินรอบเตียง ในชั่วโมงที่ 4 คะแนนปวดหลังเฉลี่ยในชั่วโมงที่ 1 = 47 (SD = 12.04) ชั่วโมงที่ 2 = 40.6 (SD = 12.81) คะแนนตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางและคะแนนปวดหลังเฉลี่ยในชั่วโมงที่ 4 = 12.4 (SD = 13.74) และ ในชั่วโมงที่ 6 มีคะแนนปวดหลังเฉลี่ยลดลง = 9 (SD = 10.24) ซึ่งคะแนนปวดอยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย อาการปัสสาวะลำบาก = 4.6 คะแนน อยู่ในระดับปานกลางและกลุ่มตัวอย่างไม่ได้รับการสายสวนปัสสาวะ และไม่พบภาวะแทรกซ้อน เลือดออก หรือก้อนเลือดใต้ผิวหนัง ผลของโปรแรกมการลดน้ำหนักร่วมกับแอนิเมชันสองภาษา (ไทย-อาหรับ) ต่อน้ำหนักของผู้ใหญ่ตอนต้นที่ มีน้ำหนักเกินในจังหวัดนราธิวาส Effects of a Weight Loss Program with Bilingual Animation (Thai-Arabic) Weight of Overweight Young Adults with Over Weight in Narathiwat ซามีรัน อารง, เวรีวรรณ กรอนหมี, โซฟีย๊ะ หวัง, นาตีปะห์ เจะลง, นุราณี อาแวหลง, นูรฟาตีฮะห์ ดาโอะ, นูรไอดา มาหามะ, ฟาตีณีย์ วาเย๊ะ, มัสลีนา และฆาเยาะ และวนิดา เพ็ชร์รง วัตถุประสงค์ การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังจาก ปฏิบัติตามโปรแกรมการลดน้ำหนักร่วมกับแอนิเมชันสองภาษา (ไทย-อาหรับ) ของผู้เข้าร่วมการทดลองและ เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังจากปฏิบัติตามโปรแรกมการลดน้ำหนักร่วมกับแอนิเมชันสองภาษา (ไทยอาหรับ) ต่อน้ำหนักของผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินในจังหวัดนราธิวาสแบบกลุ่มเดียวโดยวัดน้ำหนักตัวก่อน และหลังการทดลองโดยมีกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 เป็นต้นไป ได้จากการสุ่ม จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่าน้ำหนักตัวก่อนและหลังการเข้าร่วมการวิจัยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของผู้ที่เข้าร่วม ลดลงอยู่ที่ 0.40 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาผลของโปรแรกมใช้แอนิเมชัน IF TO FITT หละงการใช้ โปรแกรมค่าเฉลี่ยน้ำหนักของกลุ่มทดลอง (X = 77.125) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 11.4371) คะแนน


71 เฉลี่ยความพึงพอใจต่อแอนิเมชัน IF TO FITT ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงมาตรฐานการประเมินความพึงพอใจอยู่ ในรระดับปานกลางด้วยค่าเฉลี่ย 3.51 (SD = 0.64) ด้านความสะดวกต่อการนำมาใช้จริง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลางด้วยค่าเฉลี่ย 3.65 (SD = 0.88) ด้านเนื้อหามีความเข้าใจง่ายในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.30 (SD = 0.98) ด้านอักษรมีขนาดเหมาะสมระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.55 (SD = 0.89) ด้านความยาวมีความ เหมาะสมในระดับปานกลางค่าเฉลี่ย 3.35 (SD = 0.59) ด้านสีสันดึงดูดความสนใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.20 (SD = 0.52) สามารถลดน้ำหนักได้จริงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.70 (SD = 0.98) สามารถ บอกหรือแนะนำให้ผู้อื่นใช้ต่อได้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.85 (SD = 0.87) การพัฒนาเว็บไซต์การประเมินความเครียด: ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เว็บไซต์ My mind health ในนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ Development of Stress Assessment Websites: Results of Website Satisfaction Assessment My Mind health in Nursing Students Princess of Naradthiwas University ธนดล หมวกสกลุ, ธรรมรัตน์ ติงหงะ, นาเดีย กาแบ, นาริสา บือราเฮง, นูรมา ดือราแม, โนรีซา อับดุลเลาะ , ศรีสมร ฟองมณี, อาวาตีฟ ดอคอ, ฮัสวานี อาแว, ฮุสนา สาเมาะ, นิซูไรดา นิมุ และอามานี แดมะยุ วัตถุประสงค์ การวิจัยและพัฒนา (R&D, Research and Development) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ประเมินความเครียด My Mind Health โดยองค์กรที่นำเว็บไซต์ไปใช้สามารถเข้าถึงผลการประเมินความเครียดในองค์กรรวมถึงการ ให้คำแนะนำหลังจากการประเมินความเครียดและประเมินความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ ซึ่งรูปแบบเว็บไซต์ พัฒนาโดยคณะผู้จัดทำ และนำแบบแระเมิน ST-5 มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกเป็น นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเลือกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายแบบ ใส่คืนจำนวน 90 คน ผลการวิจัย 1. ระดับความเครียดจากการใช้เว็บไซต์ My Mind Health ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน ระดับ ความเครียดส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยจำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และส่วนน้อยมีระดับความเครียด อยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.11 2. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้งานเว็บไซต์ My Mind Health พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 ซึ่งอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการออกแบบ และการจัดรูปแบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และส่วนเบี่ยงเบน เท่ากับ 0.81 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย ผลของโปรแรกมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการ ป้องกันการเกิดภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการเจาะคอ The Effect of Self-Efficiency Enhancing Program for Caregivers on Perceived SelfEfficiency and Pneumonia Prevention Behaviors in Head and Neck Cancer Patients with Tracheostomy วัณทกานต์ รักษ์ไทย, รัดใจ เวชประสิทธิ์ และวิภา แซ่เซี้ย


72 วัตถุระสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะปอดติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการเจาะคอ วิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและผู้ดูแล 20 คู่ ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลตติยภูมิ ผู้ป่วยและผู้ดูแล 10 คู่ จัดเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติ ผู้ป่วยและผู้ดูแล 10 คู่ จัดเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลเสริมด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วยการ สอนและฝึกทักษะการป้องกันภาวะปอดติดเชื้อ ผ่านสมุดภาพและวิดิทัศน์ ประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการป้องกันภาวะปอดติดเชื้อของผู้ดูแลภายหลังเข้าร่วมโปรแรกม ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ สมรรถนะแห่งตน และแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทีอิสระ ผลการศึกษา ก่อนเข้าร่วมโปรแรกม ค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองไม่มี ความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (p = .08) หลังเข้าร่วมโปรแรกม ผู้ดูแลลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ สมรรนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะปอดติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)


73 ห้องที่ 4 Intermediate and long term care วิทยากรและประธานประจำห้อง ผศ.ดร. ทิพมาส ชิณวงศ์ พญ. พัชรี พุทธชาด เลขานุการ ดร.สุมามิตา สวัสดินฤนาท เรื่องที่ 1 13.30-14.00 ภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กับการดูแลสุขภาพแบบ ประคับประคองของครอบครัวในชุมชนชนบทในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อผู้นำเสนอ ดร.วราภรณ์ สาวิสิทธิ์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามในครอบครัวที่ได้รับการดูแล แ บ บ ป ร ะ ค ั บ ป ร ะ ค อ ง แ น ว ก า ร ป ฏ ิ บ ั ต ิ แ ล ะ ผ ล ล ั พ ธ ์ ข อ ง ก า ร จ ั ด ก า ร อ า ก า ร ร บ ก ว น วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 37 คน เก็บรวบรมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามในเพศหญิงได้รับการวินิจฉัยแยกโรค 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก เพศชาย ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งท่อ น้ำดี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถทำใจยอมรับได้ ร้อยละ 51.4 การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการแสดงออกถึงความรู้สึก สภาพจิตใจของครอบครัว คือ ตกใจ เครียด วิตกกังวล ร้อยละ 89.2 ผู้ป่วยมีระดับความสามารถระยะคงที่ ร้อยละ 51.4 อาการไม่สุขสบาย 3 อันตับแรก ได้แก่ อาการปวด เหนื่อย/อ่อนเพลีย และวิตกกังวล ซึ่งอยู่ใน ระดับความรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับการรับรู้กาวะการณ์ เจ็บป่วย อยู่ในระดับน้อย และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประดับประคอง อยู่ในระดับน้อย สรุป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และท้องถิ่น ควรส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงการบริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ภาวะสุขภาพจิตและอาการไม่สุขสบาย ของผู้ป่วยและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี


74 เรื่องที่ 2 14.00-14.30 การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลทุ่งสง ชื่อผู้นำเสนอ พว. ปริศนา มณีฉาย วัตถุประสงค์: 1) พัฒนาแนวปฏิบัติและคู่มือการนิเทศเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2) เปรียบเทียบ อัตรา การเกิดแผลกดทับ สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกันแผลกดทับ รวมทั้งพฤติกรรมการนิเทศของ ผู้บริหารทางการพยาบาสระหว่างก่อนหลังใช้แนวปฏิบัติและคู่มือนิเทศทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด แผลกดทับ วิธีการ: เป็นวิจัยและพัฒนาแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน การเกิดแผลกดทับโดยใช้แนวปฏิบัติฉบับย่อ EPUAP และจัดทำคู่มือการนิเทศทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด การนิเทศของพรอคเตอร์ ได้ค่า CV เท่ากับ 0 82.0 86 ตามสำคับ หลังจากนั้นไปพดลองใช้และปรับปรุงจัดทำ เป็นฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้ แนวปฏิบัติและคู่มือการนิเทสทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิติวิลคอกชันยายแรงค์ ผลการศึกษา: อัตราการเกิดแผลกดทับลดลงหลังมีการใช้แนวปฏิบัติและดู่มือการนิเทศเพื่อป้องกันการเกิดแผล กดทับ อัตราการเกิดแผลกดทับ 2.69 ต่อ 1,000 วันนอน พยาบาลวิชาชีพมีสมรรถนะในการป้องกันการเกิด แผลกดทับสูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p๔-.05) และผู้บริหารทางการพยาบาสมี พฤติกรรมการนิเทศที่เหมาะสมสูงกว่าก่อนใช้คู่มือการนิเทศทางการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุป: การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤต ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เกิด ภาวะแทรกซ้อนและพยาบาลมีสมรรถณะที่เหมาะสมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วย เรื่องที่ 3 14.30-15.00 ประสบการณ์ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อการดูแล ระยะกลาง: การศึกษาในพื้นที่เครือข่ายของโรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่ง จังหวัดเชียงราย ชื่อผู้นำเสนอ พว. นาตญา พแดนนอก วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลต่อการพัฒนาระบบการดู แสระยะกลางอย่างไร้รอยต่อของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย วิธีการ: เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จกพยาบาลโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลที่ รับผิดชอบดูแล ผู้ป่วยระยะกลาง ลูกข่ายของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 5 ราย เก็บข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลโดยตรง และวิเคราะห์หาองค์ประกอบหลักของข้อมูล ตามแนวทางการดูแสระยะ กลางในชุมชน ของกระทรวงสาธารณสุข


75 ผลการศึกษา: พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนประสบการณ์ต่อการพัฒนาระบบการดูแสระยะกลางอย่างไร้ รอยต่อ 3 ประการดังนี้ 1) รูปแบบการดูแลแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ เป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง เพราะผู้ป่วยโรคหลอดเสือดสมองมีความต้องการทางสุขภาพที่ ซับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าทีมสหสาขาวิชาชีพยังไม่ได้ประสานความร่วมมือ กันอย่างแท้จริง ส่งผลให้เกิด ความซ้ำช้อนในการปฏิบัติงาน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย เป็นต้น 2) รูปแบบการติดตามเยี่ยม บ้านควรมีความชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ควรมีความต่อเนื่อง สม่ำเสมอตามแนวทางปฏิบัติ และมี การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการดูแลระยะกลาง 3) พยาบาลที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูสภาพ ในผู้ป่วยระยะกลางควรได้รับการส่งเสริมศักยภาพเพาะด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การฟื้นฟูสภาพ สรุปผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางของ โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายต่อไป เรื่องที่ 4 15.00-15.30 การวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลงานทางวิชาการในประเทศไทย ชื่อผู้นำเสนอ ผศ. วราภรณ์ แย้มมีศรี วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จากงานวิจัยที่ศึกษาในประเทศไทย วิธีการ: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยสิบค้นข้อมูลวิจัยจาก 5 ฐานข้อมูลวิซาการในประเทศไทย ได้แก่ สำนักฐานคณะกรรมการการอุคมศึกษา (Thailist) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (Research Gateway Common Service) ฐานข้อมูลวารสารวิชาการของประเทศไทย (Thal Journals Online, ThaiJO) ศูนย์ ข้อมูลการวิจัย Digital วช. และ คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUIR) ผลการศึกษา: การสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิคจำนวน 585 เรื่อง พบเพียง 5 เรื่องที่เข้าข่าย เกณฑ์การคัดเข้าวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพโดยใช้แบบประเมิน MAAT (2018) และแบบประเมินคุณภาพการ วิจัยของ Joanna Brig Institute (2017) และใช้องค์ประกอบเสาหลักของสุขภาพ (Six building blocks) เป็น กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางจากฐานข้อมูลในประเทศ ไทยมีการจัดระบบการพัฒนาระบบสุขภาพ เพื่อการฟื้นฟูสภาพและส่งสริมความสามารถในการทำกิจวัตร ประจำวัน ได้ 5 จาก 6 องค์ประกอบเสาหลักของสุขภาพ ได้แก่ การให้บริการกำลังคนด้านสุขภาพ ระบบ สารสนเทศ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ และ ภาวะผู้นำ/การอภิบาลระบบ ส่วน องค์ประกอบที่ 6 การบริหารจัดการงบประมาณ พบว่าไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดในการบริหารจัดการ งบประมาณ และการศึกษาทั้งหมดเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น สรุปผลการศึกษาลังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะกลาง สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดลือดสมอง เพื่อตอบสนองความต้องการทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเสือดสมอง ต่อไป


76 เรื่องที่ 5 15.30-16.00 การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนในผู้ป่วย บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ ชื่อผู้นำเสนอ ดร. เกสร พรมเหล็ก วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคซันส่งเสริมการดูแสต่อเนื่องในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบจาก โรงพยาบาลสู่ชุมชนในตำบลแห่งหนึ่งของอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา วิธีการ: การวิจัยและพัฒนานี้ เพ้นระยะพัฒนาและประเมินผลการใช้ด้านความพึงพอใจและความเป็นไปใด้ใน การใช้แอปพลิเคชันของผู้ใช้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยพยาบาลทีปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลสงชลาและศูนย์สุขภาพชุมชน 8 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม ) 27 คน และ ผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ และความเป็นไปได้ในการใช้แอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: 1) แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเพื่อส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วย บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนตามกลุ่มผู้ใช้คือ ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม. และผู้ดูแลระบบ และ 2) ผลของการนำแอปพลิเคชันไปทคลองใช้ พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยผู้ป่า! อสม และผู้ดูแล ระบบ มีความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากและสะท้อนถึงความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ผู้ดูแลผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า มีความเป็นไปใต้ในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อเข้าถึงและสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับเรียนรู้การดูแลผู้ป่วย สรุป: มีความเป็นไปใด้ในการนำแอปพลิเคชันไปใช้เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถเข้าถึงและสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขและเป็นแหล่งข้อมูลการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ควรประเมินประสิทธิผลของแอปพลิเคชันนี้โดย เพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแล การนำแนวคิดและความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการมาต่อยอดและวางแผนพัฒนางานของคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 1. พัฒนางานวิจัย 1.1 หัวข้อวิจัย : การพัฒนาระบบการจัดการผลลัพธ์เพื่อการป้องกันการดูแลภาวะวิกฤตในสถานการณ์ภัย พิบัติโดยใช้ AI รศ.ดร.หทัยชนก บัวเจริญ


77 1.2 หัวข้อวิจัย : (ปี 2568-2569) การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ โดยใช้ AI และ เกมส์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ในการการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ ผศ.ดร.วันเพ็ญ แวววีรคุปต์อ.ดร.กรวรรณ สุวรรณสาร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา และ อาจารย์จาก HKU 1.3 หัวข้อวิจัย : m-Health supportive Care Prevention Program สำหรับผู้ดูแล/ผู้ปกครองของ เด็กป่วยภาวะชัก/หรือภาวะระบบทางเดินหายใจกำเริบเฉียบพลัน/ทารกเกิดก่อนกำหนด อาจารย์ณัฐยา เชิงฉลาด ชูพรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐธยาน์ อังคประเสริฐกุล นักวิชาการ IT 1.4 AI for fall prevention among elders dwelling in the community ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลภู ถนอมสัตย์ อาจารย์พนิตนันท์ แซ่ลิ้ม อาจารย์พุทธพร อ่อนคำสี 1.5 AI ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ประโยชน์นมแม่ ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกะนมแม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงพร ผาสุวรรณ 1.6 การพัฒนาสมรรถนะร่างกายผู้ป่วย LTC ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น อาจารย์ดร.วราภรณ์สาวิสิทธิ์ 2. การเรียนการสอน : 2.1 การวินิจฉัยโรคทางสุขภาพจิต โดยใช้ high technology in mental health care ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา จันทร์ขำ 2.2. การเรียนการสอน สื่อการสอนด้านศัลยกรรม …การเย็บแผล อยากใช้ VR ค่ะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรียม นมรักษ์ 2.3 การเรียนการสอน .การพัฒนาการสอนผู้ป่วยด้วยAIผ่านทฤษฎีMIในการดูแลผู้ป่วยของนักศึกษาที่ฝึก ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ1 อ.จุฑาทิพย์เทพสุวรรณ์ อาจารย์อ้อฤทัย ธนะคำมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช เชาวน์ศิลป์อาจารย์ อนัญญา โสภณนาค และ อ.นภัทร


78 3. การพัฒนาระบบงาน 3.1 การเผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ของคณะพยาบาล หลักสูตร ป.ตรี และหลักสูตรระยะสั้น ในการออก บริการวิชาการ นางสาวมณฑิรา วุฒิพงษ์ 3.2 การพัฒนาระบบ AI detect ชื่อเรื่อง สรุปเนื้อหา และจัดหมวดหมู่งานสารบรรณ คณะพยาบาล ศาสตร์ ราชภัฏนครปฐม เพื่อการพัฒนาระบบการให้บริการและการสนับสนุนการปฏิบัติงานคณะพยาบาล ศาสตร์ให้มีคุณภาพ นางสาวโศรยา นุ่มสร้อย นางสาวผกามาส ศรีเอี่ยมจันทร์ นายฉัฐวัฒน์ สินกนกวัฒน์ 3.3. การพัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรระยะสั้นฯ นางสาวฐาปนี ซั่วเซ่งอี่ นางสาวอัญธิกา เข็มเอก นางสาวพิมพ์อร บุญวิธวาเจริญ การจัดนิทรรศการ : การวางแผนจัดซื้ออุปกรณ์การแสดงนิทรรศการ รศ.ดร.หทัยชนก บัวเจริญ 4. บทความวิชาการ AI : เสริมพลังการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาและทารกที่ไม่ผ่าน rooming in ใน 24 ชั่วโมงแรกลหลังคลอด อาจารย์สุนีย์ เนตรภิญโญ


79 ภาพผนวก


80


81


82


83


84


85


86


87


88


89


90


91


92


93


Click to View FlipBook Version