The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุดความรู้การพัฒนากลุ่ม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by datapidthong, 2022-01-20 23:53:59

ชุดความรู้การพัฒนากลุ่ม

ชุดความรู้การพัฒนากลุ่ม

Keywords: ชุดความรู้การพัฒนากลุ่ม

ริเริ่มกลมุ่
สร้าง

การเรียนรู้
ยกระดบั
การพัฒนา

1

คำนำ

นับต้งั แต่ปี 2553 สถาบนั ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ได้
เรมิ่ การพัฒนาพน้ื ที่ตน้ แบบในจงั หวดั นา่ น และขยายสูพ่ นื้ ที่จังหวัดอุดรธานี

เพชรบุรี อุทัยธานี และกาฬสินธุ์ เพ่ือประยุกต์ศาสตร์พระราชา “เข้ำใจ
เข้ำถึง พัฒนำ” “หลักกำรทรงงำน 23 ประกำร” และ “องค์
ควำมรู้ตำมแนวพระรำชดำริ 6 มิติ” ไปส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการ

พัฒนาพ้ืนท่ีต้นแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพ่ือจัดการความรู้และส่งเสริมการพัฒนา
ตามแนวพระราชดาริอย่างเป็นระบบและกว้างขวาง จนเป็นแนวทางหลัก
ของประเทศ

เอกสารฉบับน้ี จึงได้รวบรวมความรู้และประสบการณ์เก่ียวกับ “กำร
พัฒนำกลุ่มกำรผลิตและบริกำร ตำมแนวทำงปิดทองหลังพระฯ”

อันผสมผสาน “ความรู้ตามแนวพระราชดาริ” “ความรู้สากล” และ
“ความรทู้ อ้ งถน่ิ ” ท่เี กิดข้ึนจากความเข้าใจและประสบการณ์การพัฒนาใน
พื้นที่ต้นแบบ ซ่ึงได้มาจากการสัมภาษณ์ สารวจ และสังเกตการณ์พัฒนา
ในพื้นที่ แล้วนามาจัดหมวดหมู่ สังเคราะห์ และนาเสนอ เพื่อให้เกิดความ
เขา้ ใจและเปน็ ประโยชน์ตอ่ การดาเนินงานในพื้นทีต่ า่ งๆ ต่อไป

2

เนอื้ หำในเล่ม

1. เข้าใจพ้นื ทตี่ น้ แบบ
2. ความสาคญั ของกลมุ่
3. หลกั การทางาน
4. กระบวนการพฒั นากลมุ่

4.1 ริเริ่มกลุ่ม
4.2 สร้างการเรียนรู้
4.3 ยกระดับการพฒั นา
5. บทสรปุ และบทเรยี น
ภาคผนวก

3

4

1. เข้าใจพนื้ ท่ีต้นแบบ

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนว
พระราชดาริ ได้ริเริ่มแปรแนวคิดในการพัฒนาอย่างย่ังยืนตามแนว
พระราชดารมิ าสู่การปฏิบตั ิ โดยรวบรวมแนวพระราชดารติ ่างๆ ผสมผสาน
กบั องค์ความรู้ แนวทางการบริหาร และหลักการทรงงาน ด้วยการส่งเสริม
และพัฒนาอาชีพควบคู่กับสนับสนุนการรวมกลุ่ม เพ่ือสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชน มีกระบวนการทางานร่วมกับภาคีเครือข่ายท้ังหน่วยงานภาครัฐ
เอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างการพัฒนาที่ย่ังยืนในพ้ืนท่ีต้นแบบ
ปดิ ทองหลังพระฯ 5 พ้นื ท่ี ในจงั หวัดน่าน อุดรธานี เพชรบุรี อุทัยธานี และ
กาฬสินธุ์ ตง้ั แต่ปี 2553 เปน็ ตน้ มา ซ่ึงสรุปข้อมลู โดยสังเขปได้ดงั นี้

5

การบรู ณาการแก้ไขปัญหาพ้ืนท่ีจงั หวัดนา่ น

พื้นที่จังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นพื้นท่ีสูงและภูเขา ประสบปัญหาน้าไหลบ่า
แรงจากท่ีลาดชนั ในช่วงหน้าฝน เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และมี
การทาเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยใช้สารเคมีจานวนมากส่งผลกระทบต่อ
สภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงจาเป็นต้องพึ่งพิง
อาหารจากภายนอก ส่งผลให้วิถีการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป พ่ึงสิ่งอานวย
ความสะดวกมากข้ึน เกิดรายจ่ายท่ีไม่จาเป็นและมีหนี้สินสะสมอย่าง
ตอ่ เนือ่ ง

จากสถานการณ์ดังกล่าว สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลัง
พระฯ จึงริเร่ิมการพัฒนาพื้นท่ีต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
พื้นที่ในจังหวัดน่านมาต้ังแต่ปี 2553 โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน และขับเคลื่อนงานพัฒนาตามความต้องการท่ีแท้จริงของคนใน
ชุมชน ด้วยการศึกษาและสารวจข้อมูลจริงของชุมชน ด้านกายภาพ
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเข้าถึงชุมชนด้วยการสร้าง
ความเข้าใจและความม่ันใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหากับความ
ต้องการของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทุกข้ันตอน
นอกจากนี้ ยังเน้นการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือดาเนินงาน
ในภารกจิ ทเี่ ก่ียวขอ้ ง

การดาเนินงานท่ีผ่านมาได้เริ่มจากมิติน้า มิติดิน มิติป่า และมิติการเกษตร
ในการจัดโครงสร้างพื้นฐานการผลิตระดบั ชุมชนให้มีผลผลิตทางการเกษตร
ท่ดี ขี น้ึ ท้ังคุณภาพและปริมาณ โดยได้เกิดกลุ่มการผลิตและบริการท่ีบริหาร
จัดการโดยชุมชน อาทิ กลุ่มปุ๋ย กลุ่มอาหารสัตว์ กลุ่มสุกร กลุ่มโรงสีข้าว
กลมุ่ เมลด็ พนั ธ์ุ กลมุ่ ยาและเวชภณั ฑ์สตั ว์ กลุ่มผู้ใชน้ ้า เปน็ ตน้

6

ทั้งนี้ มีกลุ่มท่ีได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูก
มะนาวบ้านยอด กลุ่มแปรรูปน้าพริกมะแขว่นตาบลยอด กลุ่มแปรรูปข้าว
ก่าลืมผวั

การบริหารจดั การน้าอย่างยั่งยนื อันเน่ืองมาจาก
พระราชดาริ บ้านโคกลา่ ม-แสงอรา่ ม จังหวัดอุดรธานี

อ่างเก็บน้าห้วยคล้ายฯ เป็นโครงการท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดาริ
เนื่องจากไม่มีระบบส่งน้าและระบบการบริหารจัดการน้า ดังน้ัน สถาบัน
ส่งเสรมิ และพฒั นากจิ กรรมปิดทองหลังพระฯ จึงพิจารณาโครงการอ่างเก็บ
น้าหว้ ยคล้ายฯ เปน็ พื้นที่ขยายผลของสถาบันฯ ทาหน้าที่เป็นแกนประสาน
ให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้า และด้าน
กระบวนการ เข้าใจ เขา้ ถึง พัฒนา องค์ความรู้ดา้ นการเกษตรและปศสุ ตั ว์

การส่งเสริมการพัฒนาในมิติต่างๆ ดาเนินการไปพร้อมๆ กับการปรับปรุง
อ่างเก็บน้าห้วยคล้ายฯ ซ่ึงมีข้อจากัดเร่ืองระบบการส่งน้า จึงได้มีการเสริม
ประสิทธิภาพอ่างเก็บน้าห้วยคล้ายฯ โดยใช้ระบบท่อส่งน้าแบบก้างปลา
ขยายพื้นที่ส่งน้าให้ชาวบ้านได้มีน้าใช้ตลอดปี รวมถึงการปรับปรุงแหล่งน้า
อื่นๆ ทาให้มีพืน้ ท่รี ับประโยชนก์ ว้างขวางขึน้

โดยได้เกิดกลุ่มการผลิตและการบริการท่ีบริหารจัดการโดยชุมชน ได้แก่
กลมุ่ ปุ๋ย กลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มศึกษาดูงาน กลุ่มตลาด กลุ่ม
ผู้ใช้น้า กลุ่มแปรรูปน้าข้าวกล่อง โดยมีกลุ่มท่ีได้รับการข้ึนทะเบียนเป็น
วิสาหกจิ ชุมชน ไดแ้ ก่ กลุม่ โรงสขี า้ วบ้านโคกลา่ ม-แสงอร่าม

7

การพฒั นาชนบทเชิงพื้นท่ีประยกุ ต์ตามพระราชดาริ
บา้ นโป่งลึก-บางกลอย จังหวัดเพชรบุรี

บ้านบางกลอยและบ้านโป่งลึกตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เป็นชุมชนท่ีอยู่อาศัยของชาวกะหร่างท่ีอพยพมาจากเทือกเขาตะนาวศรี
ชายแดนไทย-พม่า ซ่ึงเคลื่อนย้ายลงมาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณบ้านโป่งลึก
และต่อมาได้มีการอพยพชาวไทยภูเขาเผ่ากะหร่างที่อาศัยอยู่กระจัด
กระจายตามแนวชายแดนไทย-พม่า ลงมารวมกันอยู่ฝ่ังตรงข้ามกับหมู่บ้าน
โป่งลึก โดยสภาพพ้ืนที่บริเวณบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอยมีแม่น้า
เพชรบุรีค่ันกลาง ทาให้การนาน้ามาใช้มีความยากลาบากเนื่องจากตล่ิงสูง
ชัน ชาวบ้านประสบปัญหาขาดแคลนน้า ปัญหาท่ีทากิน และปัญหาการ
ประกอบอาชพี

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ได้เข้าไปดาเนินการ
พฒั นาโดยยดึ หลกั การ “เข้าใจ เขา้ ถงึ พัฒนา” และอาศัยความร่วมมือของ
หน่วยงานที่เก่ียวข้อง จนมีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนาระบบสูบน้า
การสร้างฝายและเพ่ิมแหล่งเก็บน้า รวมทั้งได้ร่วมจัดทาแผนแก้ไขปัญหา
น้าในระยะยาว ปรับปรุงดินใหเ้ หมาะสมกับการเพาะปลูกพืช ปรับพ้ืนท่ีทา
กิน และส่งเสริมการเกษตรอย่างหลากหลาย ท้ังการปลูกข้าวอินทรีย์ ไม้ผล
กล้วย และการเล้ียงสัตว์ นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มซ่ึงบริหาร
จัดการโดยชุมชน ได้แก่ กลุ่มบริหารจัดการน้า กลุ่มสัตว์ปีก กลุ่มแม่บ้าน
และกลมุ่ สกุ ร

8

การพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเน่อื งมาจาก
พระราชดาริ จังหวดั กาฬสินธ์ุ

พ้นื ทบี่ รเิ วณรอบหนองเลิงเปือย ในอาเภอกมลาไสยและอาเภอร่องคา เดิม
ประสบปัญหาน้าท่วมและน้าแล้งซ้าซากเป็นประจาทุกปี ไม่สามารถทา
การเกษตรได้ เน่ืองจากหนองมีความต้ืนเขินและฝายเก็บกักน้าชารุด ไม่มี
น้าเพียงพอสาหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในช่วงหน้าแล้ง ส่วน
แหล่งน้าธรรมชาติก็ขาดการพัฒนา องค์การบริหารส่วนตาบลเหล่าอ้อย
อาเภอร่องคา จึงเป็นตัวแทนราษฎรยน่ื ฎกี าขอพระราชทานความช่วยเหลือ
จากพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั ฯ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็น
โครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดาริ
จากนั้นสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนว
พระราชดาริ จึงดาเนนิ การแกไ้ ขปญั หาใหก้ บั เกษตรกรในพื้นท่ี โดยเน้นการ
พัฒนาแหล่งน้าและระบบการกระจายน้า เพื่อเพ่ิมปริมาณการเก็บน้าและ
เพ่ิมประสิทธิภาพการส่งน้าให้แก่เกษตรกร ส่งเสริมด้านการเกษตร ปรับ
ระบบการทานา ปลูกพืชหลังนา พืชเศรษฐกิจและเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ ยัง
สง่ เสรมิ การรวมกลมุ่ ของเกษตรกร อาทิ กลมุ่ จ้ิงหรีดทอง กลุ่มสุกร กลุ่มปุ๋ย
กลุ่มมะเขือเทศ กลุ่มพริก กลุ่มประมง กลุ่มสัตว์ปีก กลุ่มผักแปลงรวม
และกล่มุ ขา้ วปลอดภัย เป็นตน้

9

การบรู ณาการแกไ้ ขปัญหาและพฒั นาพ้ืนท่ี
ตาบลแกน่ มะกรูด อาเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

พนื้ ท่ตี าบลแกน่ มะกรูด อาเภอบา้ นไร่ จังหวัดอุทัยธานี ต้ังอยู่บนลุ่มน้าห้วย
แม่ดีน้อย เป็นชุมชนชาวกะเหร่ียงที่ย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศพม่า
ประมาณ 200 ปีท่ีแล้ว ปักหลักอาศัยและดารงชีวิตด้วยการทาข้าวไร่ เก็บ
ของป่า และการล่าสัตว์ แต่ด้วยสภาพพื้นที่สูงลาดเอียงไม่เหมาะกับการ
เพาะปลูก มีปัญหาเร่ืองน้ากินน้าใช้ และพ้ืนที่ป่าไม้บางส่วนถูกบุกรุก
ทาลาย จึงเป็นปัญหาท่ีต้องร่วมมือกันแก้ไข สถาบันส่งเสริมและพัฒนา
กิจกรรมปิดทองหลังพระ สบื สานแนวพระราชดาริ จึงได้ร่วมมือกับองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี องค์การบริหารส่วนตาบลบ้านไร่ และ
หน่วยงานราชการในจังหวัดอุทัยธานี เข้าไปทางานแบบบูรณาการเพ่ือ
พัฒนาและแก้ไขปัญหาในพ้นื ที่
การดาเนินงานที่ผ่านมา มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้า ปรับปรุงระบบน้าที่ให้
ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ การสารวจแนวเขตที่ดินและพื้นที่ทากิน การ
วางแผนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพท้องถ่ิน เน้นการเกษตร
ผสมผสานเชิงประณีต ปลูกพืชไร่ผสมกับไม้ผลต่างๆ รวมถึงไม้เมืองหนาว
อีกทั้งยังมีการดาเนินงานส่งเสริมการรวมกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้น้า กลุ่ม
เกษตรแกน่ มะกรดู

10

กำรรวมกลมุ่ ของเกษตรกรนั้น
ถอื เปน็ กำรบูรณำกำรรูปแบบหน่งึ ที่มกี ำรคิดร่วมกนั
วำงแผนและทำงำนบนควำมตอ้ งกำรและปัญหำแต่ละพืน้ ท่ี
ทงั้ ชำวบ้ำนและหน่วยงำนไดช้ ่วยเหลือเกื้อกลู
เพอ่ื สร้ำงควำมเข้มแขง็ แกป้ ัญหำ และลดควำมซำ้ ซ้อน
โดยมุ่งประโยชนแ์ ละควำมย่ังยืนของกลุ่ม

11

12

2. ความสาคญั ของกลุม่

“..เกษตรกรมขี ้าวบริโภคเพียงพอตลอดปี และมีรายได้พอเลี้ยง
ตัวเองได้ ตอ่ ไปหากจะไดผ้ ลสมบูรณ์ยงิ่ ขึ้น ในขั้นที่สองก็ต้องรวมกัน
ในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ
และเอกชน เพ่ือช่วยเหลือในด้านการผลิต การตลาด การเป้นอยู่
ต่างๆ และในขั้นที่สาม จะต้องร่วมมือกับสถาบันการเงินและ
การพลังงาน เพื่อช่วยเหลือในการจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้าน
สหกรณ์ รวมท้ังสนับสนุนการลงทุน...”

พระบรมราโชวาทในพธิ พี ระราชทานปริญญาบัตรแกผ่ สู้ าเรจ็ การศึกษา
จากสถาบันเทคโนโลยกี ารเกษตรแมโ่ จ้ วันพฤหัสบดีท่ี 23 กมุ ภาพนั ธ์ 2538

จากแนวพระราชดาริ "ทฤษฎีใหม่" ที่มีข้ันตอนดาเนินงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น เป็นการจัดสรรท่ีดินเพื่ออยู่อาศัยและทากินให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน ทฤษฎี
ใหม่ข้ันกลาง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรง
ร่วมใจกันดาเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ
การศึกษา และสงั คมและศาสนา ซง่ึ จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายท่ี
เกี่ยวข้อง ส่วน ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า คือ การที่กลุ่มเกษตรกรติดต่อ
ประสานงาน เพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงินมาช่วยในการทาธุรกิจ การลงทุน
และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัทจะ
ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

13

รวมกลมุ่ คือพลัง

“กลุ่ม” มีความหมายโดยทั่วไป คือ การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คน
ข้ึนไป เพื่อท่ีจะทากิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายท่ีกาหนด ส่วนกลุ่มในการ
พัฒนาชุมชนมีลักษณะของการรวมตัวของบุคคลในชุมชนท่ีมีปัญหาหรือ
ความต้องการบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เม่ือมารวมกันเป็นกลุ่มจึงได้มีการ
กาหนดเป้าหมายและดาเนินการบางอย่างร่วมกัน ซ่ึงการมารวมกันน้ันทา
ให้เกิดพลังในการผลักดันหรือต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ให้
หมดส้ินไป ขณะท่ีกลุ่มในงานส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การท่ีคนตั้งแต่
สองคนขึ้นไปมารวมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีพฤติกรรมตลอดจน
การกระทาของแต่ละบคุ คลเพ่อื ไปสู่เปา้ หมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพ่ือ
สร้างสรรค์และพัฒนาในส่ิงท่ีเป็นประโยชน์ท้ังต่อตนเองและต่อสังคม มี
แนวปฏิบัติและบทบาทหน้าท่ีให้ถือปฏิบัติตามฐานะที่ถูกกาหนดภายใน
กล่มุ และมกี ารพงึ่ พาอาศยั ซง่ึ กนั และกัน

นอกจากน้ี มีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการ ได้แก่ “วิสาหกิจชุมชน” ซ่ึงตาม
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 ได้นิยามว่าเป็น
“กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้าการให้บริการหรือการอื่นๆ ท่ี
ดาเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกัน
ประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรูปนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็น
นิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพ่ือการพ่ึงพาตนเองของครอบครัว ชุมชน
และระหว่างชุมชน ส่วนการรวมกลุ่มในรูปแบบ “สหกรณ์” หมายถึง
“องค์การของบรรดาบุคคล ซ่ึงรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดาเนิน
วิสาหกิจท่ีพวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย

14

เพื่อสนองความต้องการ (อันจาเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ
สงั คม และวัฒนธรรม”

ดังนั้น “กลุ่ม” ในที่น้ีจึงหมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนข้ึน
ไปโดยสมัครใจ เพื่อท่ีจะทากิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยมีการ
กาหนดรูปแบบความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และ
สมาชกิ ตา่ งมคี วามร้สู กึ รว่ มในฐานะเปน็ ส่วนหน่ึงของกล่มุ มกี ารพ่ึงพาอาศัย
ซ่ึงกนั และกนั ซงี่ ครอบคลุมถึงกลมุ่ ที่ไมเ่ ป็นทางการ และกลุ่มที่เป็นทางการ
อาทิ วสิ าหกจิ ชุมชน สหกรณ์ เป็นตน้

ความสาคัญของกลมุ่

การรวมกลุ่มมีส่วนสาคัญในการพัฒนาความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เน่ืองจาก
การรวมกลุ่มเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนใน
ชุมชน เพ่ือหาอุดมการณ์และแนวทางในการปรับตัวร่วมกัน การรวมกลุ่ม
จึงทาให้เกิดหรือเสริมพลังของ “ความเป็นชุมชน” ให้มีแรงเกาะเกี่ยวแน่น
แฟ้นย่ิงข้นึ

ความสาคัญของการรวมกลุ่มต่อการส่งเสรมิ การเกษตร

1) สร้างกระบวนทัศน์หรือเปิดมุมมองใหม่ๆ
ของสมาชิกท่ีมารวมกลุ่มกัน เพ่ือแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ ทักษะ การทางาน การวางตน
ในสงั คม และสร้างความคดิ ที่ดี ทาให้เกษตรกร
อยู่ร่วมกันอยา่ งสันตมิ ากขึ้น

15

2) เกดิ พลังอานาจในการคิดริเร่ิมและต่อรอง ซึ่ง
จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกทางอ้อม เพราะ
เม่ือมีการรวมกลุ่มกันจะทาให้คนอ่ืนๆ ที่อยู่
นอกกลุ่มเกิดความเกรงใจ ไม่กล้าเอารัดเอา
เปรียบสมาชิก ซ่ึงถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นใน
กระบวนการพัฒนาที่ประสบความสาเร็จ
เนื่องจากถ้าไม่มีกลุ่มเกษตรกรแล้วอานาจ
ต่อรองทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ของเกษตรกรก็จะไม่มี

3) เป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมและพัฒนาแก่
สมาชิก โดยเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่สมาชิก ชุมชน และ
กลมุ่ ตา่ งๆ ที่มีในชุมชน เป็นเครื่องมือสาคัญใน
การถา่ ยทอดความรู้และเทคโนโลยี เมื่อสมาชิก
มีปญั หา

4) ช่วยรวบรวมและประสานความสามารถ ซ่ึง
ก ลุ่ ม ส า ม า ร ถ ป ร ะ ส า น เ พื่ อ ใ ห้ ผู้ ท่ี มี ค ว า ม รู้
ความสามารถเฉพาะในแต่ละด้านมารวมกัน
เพื่อสร้างความสาเร็จในงานต่างๆ ให้เกิดขึ้น
สมาชิกสามารถเสริมจุดแข็งและชดเชยจุดอ่อน
ซึ่งกันและกัน จนเป็นความสามารถรอบด้าน
ที่เป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน และส่งผลต่อความ
สาเร็จของกล่มุ

16

5) สร้างการตัดสินใจร่วม โดยกลุ่มสามารถเป็น
ตัวกลางที่เอ้ืออานวยให้เกิดความเห็น ท่ี
หลากหลายทั้งทตี่ รงกนั และไม่ตรงกัน สามารถ
ใช้กลุ่มเป็นที่ยุติในการตัดสินใจของทุกฝ่าย
เรียกว่า “การตัดสินใจร่วมกัน” ผลของการ
ตัดสินใจของกลุ่มจะได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับ
กว่าการตัดสินใจโดยลาพัง รวมถึงมีคุณค่าและ
ความหมายในการปฏิบัติมาก เพราะเป็นการ
ตดั สินใจท่ีสมาชิกมสี ่วนรว่ ม

6) เพ่ิมโอกาสในการแก้ปัญหาแก่สมาชิกและ
กลุ่ม เป็นผลจากการท่ีสมาชิกมีโอกาสพบปะ
กันในการประชุมกลุ่มอยู่เสมอ ทาให้ทราบถึง
ความสามารถของผู้อ่ืน ทั้งในแง่ของความรู้
และปัจจัยของกลุ่ม เช่น เงินทุนของกลุ่ม ซึ่ง
เปิดโอกาสในการชว่ ยเหลอื ซ่งึ กันและกัน

7) ส่งเสริมการพัฒนาสมาชิกให้มีความรู้ความ
สามารถมากข้ึน ท้ังจากการแลกเปลีย่ นความรู้
ประสบการณ์ที่ได้จากการได้ทางานร่วมกัน
การพูดคุยแลกเปล่ียนกันในการประชุมกลุ่ม
อีกทั้งกลุ่มยังช่วยกระตุ้นให้สมาชิกต่ืนตัวใน
การพัฒนาตัวเอง ได้ข้อมูลท่ีจะเรียนรู้ด้วย
ตัวเองและเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือ
สมาชิกคนอื่น

17

สรุปไดว้ ำ่ กำรรวมกล่มุ ช่วยสรำ้ งกระบวนทศั น์
หรือเปดิ มุมมองใหม่ของสมำชกิ ทมี่ ำรวมกลุ่มกนั
เกิดพลังในกำรคดิ ริเริม่ และต่อรอง เปน็ กลำงในกำร
สง่ เสริมและพัฒนำแก่สมำชกิ อีกทงั้ ยงั ชว่ ยรวบรวม
และประสำนควำมสำมำรถ สร้ำงกำรตดั สนิ ใจร่วม
เพิม่ โอกำสในกำรแก้ไขปญั หำ และช่วยกำรพัฒนำ
ให้สมำชิกมีควำมรคู้ วำมสำมำรถมำกขนึ้

เป้าหมายของการรวมกลุ่ม
ตามแนวทางปดิ ทองหลังพระฯ

กลุ่มเป็นการรวมตัวของผู้ที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีความสนใจหรือความ
ต้องการตรงกัน ซึ่งกลุ่มในพื้นที่ต้นแบบโครงการปิดทองหลังพระฯ มี
เป้าหมายในการรวมกลมุ่ หลายลักษณะ สรุปไดด้ ังน้ี

 เพ่ือบริหารจัดการทรัพยากรส่วนรวม เป็นกลุ่มที่เกิดจากการ
รวมตัวกันของผู้ที่ได้รับประโยชน์ หรือเป็นผู้ใช้ทรัพยากรส่วนรวม
ของชุมชนเพ่ือการดารงชีวิต หรือเพ่ือเป็นปัจจัยในการผลิต ซ่ึง
ทรัพยากรส่วนรวมในที่น่ี ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้า
เป็นต้น โดยกลุ่มจะมีการดาเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดการจัดการ
ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและการดูแลรักษาทรัพยากรของชุมชน
อาทิ การจัดเกบ็ คา่ ธรรมเนียมจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เพ่ือ
นามาเปน็ ทนุ ในการอนรุ กั ษแ์ ละฟ้นื ฟูทรัพยากร เป็นตน้

18

 เพื่อลดต้นทุน ลดรายจ่าย เป็นกลุ่มท่ีเกิดจากการรวมตัวกันเพื่อ
สั่งซ้ือสินค้าจานวนมากซึ่งช่วยลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการซ้ือ
สินค้า อาทิ การส่ังซื้อพันธุ์ไก่ไข่จานวนมากจะช่วยลดต้นทุนการ
ขนส่งต่อหน่วย การสั่งซื้อเคร่ืองทุนแรงทางการเกษตรรวมกันจะ
ไดร้ บั การบริการหลงั การขายในราคาถกู เปน็ ตน้

 เพื่อเพ่ิมศักยภาพในการพัฒนาชุมชน เป็นกลุ่มที่เกิดจากการ
รวมตัวกันของผู้ท่ีสนใจการแปรรูป จัดหา จาหน่ายสินค้า หรือ
ให้บริการท่ีช่วยตอบสนองหรือแก้ไขปัญหาของชุมชน อาทิ การ
รวมกลุ่มจัดตั้งโรงสีข้าวชุมชนเพ่ือแก้ปัญหาการนาข้าวไปสีนอก
ชุมชน การรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์จาหน่ายให้กับสมาชิกเพื่อ
แก้ปัญหาขาดแคลนปยุ๋ การรวมกลุ่มแปรรูปข้าวก่าที่มีจานวนมาก
และมีราคาตกต่า เป็นต้น ซ่ึงในระยะแรกกลุ่มจะมุ่งตอบสนอง
ความต้องการภายในชุมชนก่อน ต่อมาจึงพัฒนาและขยายไปยัง
พ้ืนท่ีใกล้เคียง

 เพ่ือเพิ่มโอกาสในการจาหน่ายสินค้า เป็นกลุ่มที่เกิดจากการ
รวมตัวของผู้ท่ีมีการผลิตเหมือนกันโดยมุ่งรวบรวมสมาชิกให้มี
ปริมาณการผลิตที่เพียงพอกับความต้องการของตลาดหรือธุรกิจ
ขนาดใหญ่ภายนอกชุมชน อาทิ โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร ห้าง
ขายส่งขนาดใหญ่ โรงแรมขนาดใหญ่ เป็นต้น ซ่ึงจะทาให้ขาย
สินค้าได้ในราคาสูงและมคี าสั่งซื้อทแ่ี นน่ อน

19

ท้ังน้ี การรวมกลุ่มที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ส่วนใหญ่มี
เป้าหมายเพื่อการลดต้นทุนในการผลิต หรือลดรายจ่าย-เพ่ิมรายได้ใน
ครัวเรอื น ซงึ่ เป็นเป้าหมายการรวมกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาในระดับ
ครัวเรือน ต่อมาเมื่อชุมชนมีการพัฒนาขึ้นมาระยะหนึ่ง จึงเร่ิมมีการ
รวมกลุ่มเพ่ือแก้ไขหรือตอบสนองความต้องการในระดับชุมชน และขยาย
ไปสกู่ ารเช่ือมโยงกับภายนอกชมุ ชน

รูปแบบของการรวมกล่มุ
ในพ้นื ท่ตี ้นแบบปิดทองหลังพระฯ

การรวมกลุ่มของเกษตรกรและสมาชกิ ในชุมชนในพ้ืนที่ต้นแบบปิดทองหลัง
พระฯ สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มบริการ และกลุ่มการผลิต
แสดงดังแผนภาพ

1) รูปแบบกลุ่มบริการ เป็นกลุ่มท่ีมีการดาเนินงานมุ่งเน้นการ
ให้บริการอย่างใดอย่างหน่ึงแก่สมาชิกและ/หรือบุคคลภายนอก
อาทิ การใหบ้ ริการยืมปัจจัยการผลิต การให้บริการด้านจัดการน้า
20

จากแหล่งกักเก็บและระบบกระจายน้า การบริการในการศึกษาดู
งาน เป็นต้น โดยการดาเนินงานของกลุ่มจะไม่กิจกรรมท่ีเกี่ยวข้อง
กระบวนการผลิต หรือการทาการตลาดร่วมกันของสมาชิก
กิจกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการเงินทุน ซ่ึง
กลุ่มจะมีโครงสร้างการจัดการกลุ่มและทุนอย่างง่ายๆ และไม่มี
ความซบั ซอ้ น จึงเป็นกลมุ่ พ้นื ฐานทมี่ ักเกดิ ขึน้ กอ่ น
2) รูปแบบกลุ่มการผลิต เป็นกลุ่มที่มีการดาเนินงานมุ่งเน้นการผลิต
และขายสินค้าหรือผลผลิตรว่ มกันของสมาชิก อาทิ การรับซ้ือและ
บรรจุมะนาวส่งขายให้ห้างค้าส่ง การแปรรูปน้าข้าวกล้อง การ
ดาเนินการโรงสีข้าวชุมชน เป็นต้น โดยกลุ่มจะต้องมีบทบาทใน
เร่ืองของการจัดการด้านการตลาดด้วย นอกเหนือจากการบริหาร
จัดการเงินทุน ซึ่งกลุ่มจะมีโครงสร้างการจัดการกลุ่มท่ีมีความ
ซับซ้อน และต้องอาศัยประสบการณ์ในการบริหารจัดการทั้งด้าน
การผลติ การตลาด และการจัดการกลุม่ และทนุ
สาหรับในชมุ ชนทเ่ี พ่งิ เร่มิ ต้นกระบวนการพฒั นา ส่วนใหญ่กลุ่มจะมีรูปแบบ
การดาเนินงานในลักษณะกลุ่มบริการซึ่งเป็นกลุ่มพื้นฐาน ต่อมาเม่ือกลุ่มมี
ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกลุ่มและเงินทุนมากข้ึน ก็อาจพัฒนา
กลุ่มบริการไปสู่กลุ่มการผลิตได้ ซึ่งในพื้นท่ีต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ที่มี
การพฒั นามาระยะหนึง่ ก็จะเริม่ มกี ลุม่ การผลติ เกิดข้นึ ในชุมชน

21

22

3. หลกั การทางาน

การพัฒนากลุ่มการผลิตและบริการในพ้ืนท่ีต้นแบบปิดทองหลังพรฯ ยึด
หลักการตามแนวพระราชดาริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ท่ีต้องมีการทา
ความเขา้ ใจ เขา้ ถึง ก่อนเรมิ่ การพัฒนาอยเู่ สมอ โดยเฉพาะการพัฒนาเรื่อง
ใหม่ๆ ท่ีต้องมีการเปลยี่ นวิถีด้งั เดมิ อย่างเช่นเร่ืองของการรวมกลุ่ม เป็นต้น
หากยังทาไม่สาเร็จหรือปัญหาอุปสรรคยังคงไม่ลดลง ก็ต้องกลับไปทา
ความเขา้ ใจ เขา้ ถึงกันใหถ้ ่องแทเ้ สียใหม่

 เข้าใจพ้ืนท่ี  เข้าถงึ ปัญหา  พฒั นาคน

 เข้าใจเขา เขา้ ใจเรา  เขา้ ถึงความรว่ มมือ  พัฒนางาน

ก่อนจะทาอะไร เม่ือเข้าใจกันแล้วก็ การพัฒนานั้นไมย่ าก
จะตอ้ ง ทาความ ต้องเข้าถึง จะได้รู้ หากเข้าใจ ไวใ้ จ และ
เขา้ ใจเสียก่อน ขอ้ มูล สถานการณ์ แบง่ งานกนั เปน็ อย่าง
เข้าใจท้ังภูมิประเทศ ท่เี กดิ ข้ึนและปญั หา ดี โดยตอ้ งระลึกอยู่
เข้าใจผู้คน และ ทแ่ี ทจ้ ริงเพ่อื ร่วมกัน เสมอว่าปญั หาแตล่ ะ
ขนบธรรมเนียมของ พัฒนาพน้ื ทตี่ ่อไป พ้นื ท่ี แตล่ ะเวลา
สังคม ท่ีสาคญั คือ ไม่เหมอื นกัน จึงตอ้ ง
ตอ้ งใหเ้ ขาเขา้ ใจ หม่ันเรียนรู้ คอย
และไว้ใจเราด้วย ทบทวน ยดื หยุน่ และ
ปรบั ให้เหมาะสม

23

ประยุกต์ใช้ “หลกั เข้าใจ”

เม่ือจะเร่ิมรวมกลุ่มเจ้าหน้าที่ส่งเสริมงานพัฒนาต้องน้อมนาหลัก “เข้าใจ”
มาใช้ในการทางาน โดยขั้นแรกเจ้าหน้าที่ส่งเสริมต้องมีความเข้าใจพื้นที่
ทางด้านกายภาพ ทางด้านสังคมวัฒนธรรม ทางด้านวิถีการผลิตของคนใน
พ้นื ท่ีเป็นพืน้ ฐาน จึงจะสามารถวิเคราะห์ความเหมาะสมและสนับสนุนการ
พัฒนากลุม่ ในพื้นท่ีใหเ้ กิดความยั่งยืนได้
นอกจากนี้ เจ้าหน้าท่ียังต้องมีความเข้าใจเขาหรือกลุ่มเป้าหมายท้ัง
ความคิด ทัศนคติ และความต้องการท่ีแท้จริงของกลุ่มเป้าหมายในพ้ืนที่ท่ี
จะมาร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่นเดียวกันที่ต้องทาให้หน่วยงานภายนอกท่ีจะเข้า
มาสนับสนุนกลุ่มต้องมีความเข้าใจวิถีการทางานและความต้องการที่
แท้จริงของกลุ่มด้วย รวมถึงต้องทาให้กลุ่มเป้าหมายหรือสมาชิกกลุ่มมี
ความเข้าใจเรา หรือแนวทางการทางานของโครงการปิดทองหลังพระฯ
และเข้าใจซ่ึงกันและกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สาคัญ
ในการพัฒนากลุ่มในระยะตอ่ ไป
หลักเข้าใจจึงนับเป็นหลักการพื้นที่ฐานในการพัฒนากลุ่มการผลิต ที่ต้อง
อาศัยความร่วมมือ ร่วมใจของสมาชิกในการขับเคลื่อนการดาเนินงานของ
กลุ่ม ตอ้ งอาศัยความเข้าใจทถ่ี ูกตอ้ งของหนว่ ยงานสนับสนนุ จึงจะช่วยเหลือ
และพัฒนาไดต้ รงความต้องการ

24

ประยกุ ตใ์ ช้ “หลกั เข้าถึง”

เมื่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีความเข้าใจพื้นท่ี เข้าใจเขาเข้าใจเราแล้ว ก็จะ
สามารถเข้าถึงปญั หาและความตอ้ งการท่ีแท้จริงของกลุ่มเป้าหมายท่ีจะมา
รวมกลุ่มหรือสมาชกิ กลุ่มได้ ซึ่งการเขา้ ถึงปัญหาและความต้องการท่ีแท้จริง
จะช่วยให้เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือสนับสนุนการ
ดาเนินงานของกลุ่มได้ตรงจุด ซึ่งจะทาให้การพัฒนากลุ่มดาเนินต่อไปได้
อย่างตอ่ เน่ือง
นอกจากน้ี ในการพัฒนากลุ่มเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องมีบทบาทในการเป็น
ตัวกลางเชื่อมการประสานงานระหว่างกลุ่มกับหน่วยงานภายนอก จึงต้อง
แสวงหาวิธีการเข้าถึงความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ซ่ึงที่ผ่านมามีท้ัง
การเข้าถึงผ่านกลไกที่เป็นทางการ เช่น การแต่งต้ังคณะทางาน อย่างไรก็
ตามเจ้าหน้าที่ส่งเสริมต้องไม่ละเลยการเข้าถึงความร่วมมือด้วยการ
ประสานแนวราบ ซึ่งมักเป็นกลไกไม่เป็นทางการด้วย ท้ังนี้ ในการพัฒนา
กลุ่มหน่วยงานราชการท่ีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมต้องเข้าถึงความร่วมมือ ได้แก่
สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอหรือจังหวัด สานักงานเกษตรอาเภอหรือ
จังหวัด สานักงานสหกรณ์จังหวัด สานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีองค์กรภาคเอกชน
เช่น หอการคา้ จงั หวัด สมาคมผปู้ ระกอบการ ผู้ประกอบการตลาดการค้าที่
เก่ยี วขอ้ ง เป็นตน้

25

ประยุกตใ์ ช้ “หลกั พฒั นา”

ในการพัฒนากลุ่มการผลิตเจ้าหน้าที่ส่งเสริมต้องให้ความสาคัญกับการ
พัฒนาคน ด้วยคนถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดาเนินงานของ
กลุ่ม ซ่ึงควรครอบคลุมถึงการพัฒนาทัศนคติ ความรู้ และทักษะ หากขาด
การพัฒนาคนท่ีตอ่ เนื่องแลว้ การดาเนินงานของกลุ่มการผลิตก็จะขับเคล่ือน
ใหก้ า้ วหน้าไปไดอ้ ยาก
นอกจากนี้ ยังต้องมีการพัฒนางานอยู่เสมอ น่ันหมายความว่า ต้องลงมือ
ลงแรงทาจริง โดยเจ้าหน้าท่ีต้องหมั่นเรียนรู้ คอยทบทวน ยืดหยุ่น และ
ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์กลุ่ม มีการเชื่อมโยงกับภายนอก และ
สถานการณภ์ ายในของกลุ่มเองดว้ ย

“สรุปแล้วเจ้าหน้าที่ต้องเข้าใจจริตของชาวบ้านก่อนที่จะ
ส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องใด หากไม่ให้ความสาคัญกับ
การเข้าใจแล้ว ส่ิงที่เรานามาให้ก็จะไปไม่รอด ไม่ว่าจะดี
แค่ไหนก็ตาม ต่อจากนั้นก็ต้องเข้าถึงใจทุกฝ่ายท้ังผู้นา
และหน่วยงาน เพ่ือร่วมมือกันพัฒนาให้กลุ่มชาวบ้าน
มคี วามก้าวหนา้ มากกวา่ ทากันเองเพยี งลาพัง ”

เจา้ หนา้ ที่ฝ่ายส่งเสรมิ ประจาพืน้ ท่ี จ.น่าน

26

บำงครงั้ เจำ้ หน้ำทห่ี รือคนทำงำนก็ยำกท่ีจะรู้ได้วำ่
เรำไดเ้ ข้ำใจเข้ำถึงเพียงพอหรือยัง จงึ ต้องคอย
หมนั่ สังเกตและใกล้ชิดกบั ชำวบำ้ น ดูกำรตอบรบั
และกำรไว้วำงใจ ซง่ึ ตอ้ งทำด้วยควำมจริงใจ
ไมย่ ดึ เอำงำนของเรำเปน็ ตวั ตงั้ มำกนัก
ต้องเอำใจใส่ส่ิงทชี่ ำวบ้ำนเขำคิดเขำทำดว้ ย

27

28

4. กระบวนการพัฒนากลุ่ม

การรวมกลุ่มของเกษตรกรเป็นขั้นตอนหน่ึงในการพัฒนาตามแนว
พระราชดาริ “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งจะเกิดข้ึนหลังจากมีการพัฒนาในระดับ
ครัวเรือนของเกษตรกรจนสามารถอยู่รอดได้โดยการพึ่งตนเอง จากน้ันจึง
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เร่ิมแรก
เพื่อลดต้นทุนจากการรวมกันซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ ในปริมาณมาก และ
การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ท้ังในด้านปัจจัยการผลิต องค์
ความรู้ และการตลาด
กระบวนการพัฒนากลุ่มการผลิตและบริการตามแนวทางปิดทองหลังพระ

สืบสานแนวพระราชดาริ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ริเร่ิมกลุ่ม สร้ำงกำร
เรียนรู้ และยกระดับกำรพัฒนำ โดยแต่ละพื้นท่ีต้นแบบหรือกลุ่มต่างๆ

จะมีวิธีการดาเนินงาน ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ หรือสิ่งที่ได้
เรียนรู้แตกตา่ งกนั

29

สรำ้ งกำร ยกระดับ
เรยี นรู้ กำรพัฒนำ

ริเรม่ิ กลุ่ม โดยหลกั พฒั นา โดยหลกั พัฒนา

• เสริมความรู้ • เสริมจุดแขง็
โดยหลักเข้าใจ เข้าถงึ • กระตุ้นการ ลดขอ้ จากดั
• จดุ ประกาย ทางาน
• พฒั นาคณุ ภาพ
• สร้างความ • ชว่ ยแก้ปัญหา การผลติ และ
เช่อื ม่ัน • ทวนทวนการ บรกิ าร

• เชื่อมโยงตลาด
ภายนอก

• หาเปา้ หมาย ทางาน
และแนวทาง
ดาเนนิ งาน

• หาตวั ชว่ ย

30

4.1 รเิ ร่มิ กลุ่ม

การรวมกลุ่มการผลิตและบริการของชาวบ้านในพ้ืนท่ีต้นแบบปิดทองหลัง
พระฯ นักส่งเสริมหรือเจ้าหน้าท่ีมีบทบาทในการเร่ิมต้นตั้งแต่การค้นหา
เป้าหมายในการรวมกลุ่ม สร้างแรงจูงใจและขยายจานวนผู้ท่ีสนใจตรงกัน
จากนั้นจึงร่วมกันกาหนดระเบียบหรือต้ังกรอบของการรวมกลุ่ม (แสดงดัง
แผนภาพ) โดยมรี ายละเอียดดงั นี้

จุดประกำย สร้ำงควำม หำเปำ้ หมำย หำตวั ชว่ ย
เช่ือม่ัน และแนวทำง
ดำเนนิ งำน

 จุดประกำย

การจุดประกายให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดข้ึนได้จากหลายลักษณะ บางกลุ่ม
เกิดจากความต้องการของเกษตรกรที่สะท้อนจากการพูดคุย แบบไม่เป็น
ทางการในระหว่างการติดตามผลการดาเนินงานหรือปรึกษาหารือเรื่อง
ตา่ งๆ บางคร้ังอาจเป็นข้อเสนอจากการประชุมระดับต่างๆ หรือได้รับแรง
บันดาลใจจากกรณีตัวอย่างท่ีประสบความสาเร็จจากการศึกษาดูงานหรือ
การนาเสนอผ่านสื่อ อาทิ โทรทัศน์ คลิปออนไลน์ หนังสือพิมพ์ ซ่ึงการจุด
ประกายจะเกิดกับคนเพียงคนเดียวหรือหลายคน แต่หากไม่มีผู้ท่ีทาหน้าที่
รวบรวมหรือเชื่อมโยงคนท่ีมีความต้องการหรือความสนใจตรงกันเข้า

31

ด้วยกันการรวมกลุม่ อาจจะไมเ่ กดิ ขึ้น ดงั นน้ั ผทู้ ที่ าหน้าที่ “ค้นหาเป้าหมาย
รว่ ม” จึงมีบทบาทสาคญั ในข้นั ตอนการริเริ่มรวมกลมุ่ น้ี

ในช่วงนี้เจ้าหนา้ ท่ีสง่ เสริมต้องมีบทบาทในการเป็นผู้รับฟังและเปิดรับความ
คิดเห็นจากประชาชนในชุมชน และนาความต้องการมาพิจารณาความ
เป็นไปได้ ในด้านการตลาดและความเหมาะสมกับภูมิสังคม วัฒนธรรม
รวมถึงความถนัดหรือทักษะด้ังเดิมของประชาชน ซ่ึงบางครั้งการจุด
ประกายอาจไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเกษตรกรหรือประชาชนในชุมชน แต่เกิด
จากนโยบายของหน่วยงานท่ีเข้ามาสนับสนุนชุมชน เช่น สานักงาน
เกษตรอาเภอ สานักงานปศุสัตว์อาเภอ, ศูนย์เมล็ดพันธ์ุข้าว, อปท. เป็นต้น
ซ่ึงหน่วยงานจะเข้ามาประชาสัมพันธ์และสารวจความต้องการของ
ประชาชน โดยในพ้นื ที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ จะมีเงื่อนไขให้ประชาชน
คนื ปัจจัยการผลติ ทไี่ ด้รบั การสนับสนุนรวบรวมเป็นกองทุน เพ่ือเป็นเงินทุน
หมุนเวียนในคร้ังต่อไปโดยมีการเลือกคณะกรรมการข้ึนมาบริหารจัดการ
ท้ังนี้เพ่ือให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกองทุนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ
การรวมกลมุ่ รูปแบบหนง่ึ

“แรงบันดาลใจที่ทาให้เกิดกลุ่มการตลาดข้ึน มาจากความ
ประทับใจท่ีได้จากการไปดูงานท่ีสหกรณ์เครดิตยูเนียนท่ีจังหวัด
สุรินทร์ และหลายๆ ที่ กลับมาจึงคิดต้ังกลุ่มข้ึนรับซื้อผักปลอดภัย
จากชาวบา้ นไปทขี่ ายตลาดในตวั เมอื ง”

ประธานกล่มุ การตลาดบา้ นโคกล่าม-แสงอรา่ ม จ.อดุ รธานี

32

ประเด็นสาคญั ทต่ี ้องคานงึ ถึง คอื การพิจาณาความตอ้ งการหรือความสนใจ
ท่ีมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็น “เป้าหมายร่วม” ที่สามารถขยายผลต่อได้
รวมถงึ การคน้ หาความตอ้ งการหรอื ความสนใจท่ีแท้จริง แล้วนามาขยายผล
ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยต้องระมัดระวังความต้องการหรือความสนใจ
เกิดขึ้นตามกระแส และการรวมกลุ่มกันที่มุ่งหวังจะได้รับการสนับสนุนเพ่ือ
ประโยชน์ส่วนตัว หรือความต้องการที่หวังพ่ึงเพียงอย่างเดียว โดยสรุป
ประเด็นในการพิจารณาได้ดังน้ี

- ความเหมาะสมของพ้ืนท่ี โดยพิจารณาความเป็นไปได้ท้ังในด้าน
กายภาพที่เหมาะสมกับการผลิต (ลักษณะดิน ปริมาณน้า ความ
ลาดช้ัน) ระยะทางในการขนสง่ ไปยังแหล่งขายหรือแหล่งวัตถุดิบ

- ทักษะและความถนัดของสมาชิก โดยพิจารณาจากวิถีการผลิต
ด้ังเดิม ความยากง่ายของเทคโนโลยีการผลิต ความพร้อมในการ
เรียนร้ขู องสมาชกิ

- แหล่งรับซื้อหรือตลาดที่ชัดเจน โดยต้องพิจารณาตลาด แหล่งรับ
ซ้ือ หรือพ่อค้าคนกลางท่ีมีลักษณะเป็น “ตลาดคุณธรรม” คือ ไม่
เอาเปรยี บ ตัง้ ราคาเป็นธรรม มีความน่าเชือ่ ถือ

33

 สร้ำงควำมเชอ่ื ม่นั

เมื่อเริ่มผู้ท่ีมีความต้องการหรือความสนใจตรงกัน และสามารถกาหนด
เป้าหมายร่วมเบ้ืองต้นท่ีตรงกันได้แล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรมีบทบาทใน
การสร้างความเช่ือมั่นของผู้ท่ีสนใจเพ่ือให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยในพ้ืนท่ี
ตน้ แบบปิดทองหลังพระฯ มกี ารดาเนนิ งาน ดังนี้

 ศึกษาดูงาน โดยนากลุ่มคนผู้ท่ีมีความคิดก้าวหน้า กล้าเปลี่ยน
หรือ คนท่ีมีความต้ังใจและมีความต้องการเรียนรู้ หรือเรียกว่า
“คนหัวไว้ใจสู้” ไปศึกษาดูงานกรณีตัวอย่างท่ีประสบความสาเร็จ
เพ่ือเรียนรู้วิธีการดาเนินและบทเรียนจากประสบการณ์ที่เกิดข้ึน
จริง ซ่ึงเป็นการสร้างความเชื่อมม่ันและนาความรู้มาปรับใช้ได้
ท้ังนี้ กรณีตัวอย่างท่ีพาไปเรียนรู้ควรมีลักษณะ “ภูมิสังคม” ท่ี
คล้ายกันจะช่วยง่ายต่อการมาปรับใช้ นอกจากนี้ ในระหว่าง
การศึกษาดูงานควรมอบหมายให้มีผู้ที่ทาหน้าที่คอยซักถามใน
ประเดน็ ปัญหาอปุ สรรคดว้ ยทุกครัง้

ข้อดี ผู้ที่ไปศึกษาดูงานเกิดแรงบันดาลใจและเรียนรู้จากตัวอย่าง
ที่ประสบความสาเรจ็ นาไปสกู่ ารขยายวงผู้ทีส่ นใจ

ข้อพงึ ระวัง การไปดงู านหรือการเหน็ ตัวอยา่ งท่ปี ระสบความสาเร็จ
อาจทาให้ชาวบ้านมีฝันหรือตั้งความหวังโดยไม่ได้เรียนรู้ความ
ล้มเหลวที่ผ่านมาแล้วของกรณีตัวอย่าง ดังนั้นควรมีกระบวนการ
ซักถามใหเ้ กิดการเรียนรถู้ ึงปญั หาอปุ สรรคทอี่ าจเกดิ ข้ึน

34

“โครงการปิดทองฯ ส่งไปฝึกอบรมขั้นตอนการเล้ียงเป็ดที่ฟาร์ม
1 เดือน ได้เบี้ยเล้ียงจากการไปอบรมมาก็เอาไปซื้อพ่อแม่พันธุ์หมด
นามาทดลองเล้ียงเอง ได้ผลดี มีกาไรมาก ภายในเวลาไม่นาน จึงมี
ชาวบ้านเล้ยี งตามจานวนมาก โดยโครงการปิดทองฯ สนับสนุนพันธ์ุ
เปด็ เร่มิ ตน้ และให้รวมกนั เป็นกลมุ่ ”

ประธานกลมุ่ ปศสุ ัตว์บา้ นโคกล่าม-แสงอรา่ ม
 ทดลองทาจริง เพื่อให้เกิดตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในพ้ืนท่ี และง่าย

ต่อการชักชวนผู้ท่ีสนใจ ซ่ึงในการทดลองทาจริงอาจทาได้ 2
ลักษณะ คือ ทดลองจริงโดยชาวบ้านในพ้ืนที่ที่สนใจ หรือทดลอง
จริงโดยอาสาสมัครพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่โครงการปิดทองฯ
จะสนบั สนนุ ทนุ ในการทดลองทา
ข้อดี ทาให้ทราบว่ามีความเหมาะสมกับพ้ืนที่หรือไม่ และจะเกิด
ปัญหาอุปสรรคอย่างไรเม่ือนามาปฏิบัติในพื้นที่ เพ่ือเป็นข้อมูล
ประกอบการให้คาแนะนาในการขยายวงและรวมกลุ่ม
ข้อพึงระวัง ต้องมีการจดบันทึกปัญหาอุปสรรคท่ีเกิดขึ้นจากการ
ทดลองทา เพ่ือใช้เป็นข้อมูลในการให้คาแนะนาในการขยายวง
และรวมกล่มุ

35

 ให้การสนับสนุนเบื้องต้นเพ่ือลดความเส่ียง ในการเร่ิมต้น
รวมกลุ่มชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีความกังวลไม่กล้าเสี่ยง ดังน้ันใน
ระยะแรกหากมีการสนับสนุนเพ่ือลดความเสี่ยงก็จะช่วยให้การ
ตดั สนิ ใจรวมตวั กันเกิดขน้ึ ได้

ตัวอยา่ งการสนับสนนุ

- กลุ่มกองทุนประมง ซื้อพันธุ์ปลาให้แก่สมาชิก สูงสุด 1,000
ตัว หากสมาชิกรับไป 1,000 ตัว ต้องคืนให้กองทุน 1,000
บาท โดยจะเกบ็ 2 ครงั้ ครั้งละ 500 บาท

- กลุ่มถว่ั ลสิ ง ไดร้ บั การสนับสนนุ เมล็ดพันธุ์เพ่อื นาไปเพาะปลูก
กอ่ น เมอื่ ได้ผลผลติ จึงนาเมลด็ พันธุม์ าคืนเทา่ จานวนที่ยมื ไป

- กลุ่มจิ้งหรีดทอง จัดหาอาหาร คอกเล้ียง และพันธ์ุจ้ิงหรี้ด
จานวนคนละ 1 ชุด เป็นเงิน 2,500 บาท ซ่ึงสมาชิกสามารถ
ผ่อนชาระได้ 4 งวด ตลอดการเล้ียงมีเจ้าหน้าท่ีคอยติดตาม
ให้คาปรึกษา

- กลุ่มสุกร จัดหาพ่อแม่พันธ์ุให้สมาชิก ถ้าเอาไป 2 ตัว คืนลูก
หมู 2 ตัว หรือ 2,000 บาท ถ้าหมูตายภายในเวลา 1 เดือน
ไดร้ บั ตัวใหม่ฟรี ถา้ หมเู ปน็ หมนั คนื เงนิ 1,000 บาท ใหบ้ ริการ
ทาคลอด ฉดี วัคซนี และทาหมันโดยมคี ่าใช้จา่ ยไมแ่ พง

- กลุ่มเกษตรแก่นมะกรูด จัดหาต้นพันธุ์ให้สมาชิกนาไปปลูก
ตามจานวนท่ีแจ้งไว้ เม่ือได้ผลผลิตแล้วนาเงินมาคืนกลุ่มตาม
ราคาต้นพันธ์ุท่ีตกลงกันไว้ โดยมีการลดหย่อนกรณีไม่ได้
ผลผลติ

36

- กลุ่มปศุสัตว์ จัดหาพันธุ์สัตว์ตามท่ีสมาชิกต้องการ สมาชิก
ผอ่ นชาระค่าพันธุส์ ตั ว์เปน็ งวดตามท่ตี กลงกัน ได้รับริการดูแล
ฉีดวคั ซีนโดยมีคา่ ใช้จ่ายไม่แพง และให้คาปรึกษาในการเล้ียง
ฟรี

ข้อดี ชว่ ยจูงใจให้เกิดการจากเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เนื่องจาก
ในระยะแรกชาวบ้านอาจไม่มีความชานาญและอาจเกิดความ
เสยี หายได้

ข้อพึงระวัง การสนับสนุนไม่ควรให้ท้ังหมดแบบให้เปล่า เพ่ือไม่ให้
เกิดกรณกี ารรวมกล่มุ เพราะหวังพงึ่ การสนับสนุนที่มากเกินไป โดย
ขาดความตั้งใจจริงที่จะรวมกลุ่ม นอกจากนน้ีต้องพิจารณาความ
พร้อมและศกั ยภาพท่ีจะทาได้จริงด้วย เพราะหากรับสมาชิกที่ไม่มี
ความพร้อมและต้ังใจจริงจะส่งผลต่อการดาเนินงานของกลุ่มใน
ระยะต่อไป

 ประชุมผู้ท่ีสนใจ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ท่ีสนใจที่มีความ
ต้องการตรงกัน เพื่อหารือและกาหนดแนวทางการรวมกลุ่ม
รวมถึงแลกเปล่ียนข้อดี ข้อเสีย รวมถึงโอกาสท่ีจะได้รับจากการ
รวมกลมุ่ เปรียบเทยี บกบั การตา่ งคนตา่ งทา

ข้อดีของการรวมกลมุ่

- ไม่ต้องมเี งินลงทุนก็สามารถเล้ียงได้ มีเงินสนับสนุนในการซื้อ
พันธุ์และวัสดุอุปกรณ์ในการทาบ่อ(เล้ียงกบ) จะได้พันธุ์ที่ดี
อตั ราการรอดสูง ราคาถูก

37

- มีเจ้าหนา้ ท่ีหรอื กรรมการคอยตดิ ตามใหค้ าปรึกษาตลอด
- ได้รับการช่วยเหลอื บางส่วนกรณีไมไ่ ดผ้ ลผลติ
- ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และ

ชว่ ยเหลือกันในกลมุ่
ขอ้ จากัดของการรวมกลุ่ม
- ใช้เวลามาก เนื่องจากคณะกรรมการต้องสอบถามสมาชิกทุก

คน และทาการรวบรวมข้อมูล
- ต้องรอตามลาดบั ก่อนหลงั

“ทาคนเดียวก็ทาได้ แต่การมารวมกลุ่มกันอาจได้มีโอกาส
ช่วยเหลอื กัน”

เหรัญญิกกลมุ่ เกษตรแกน่ มะกรูด จ.อุทัยธานี
ประเด็นสาคัญท่ีต้องคานึงถึง คือ ในการให้การสนับสนุนเพื่อจูงใจให้เกิด
การรวมกลุ่มจะตอ้ งไม่มากเกนิ ไป หรอื ให้การสนับสนุนทั้งหมด ควรจูงใจใน
ลักษณะการช่วยเหลอื บางส่วนหรอื แบ่งการช่วยเหลือเปน็ หลายครั้ง และไม่
ควรเป็นการใหเ้ ปล่า เพ่ือแสดงให้เหน็ ถึงความตงั้ ใจและเกิดสานึกความเป็น
เจา้ ของของสมาชกิ

38

 หำเป้ำหมำยและแนวทำงดำเนนิ งำน

เม่ือมีผู้ที่มีความสนใจตรงกันจานวนหนึ่ง เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมต้องสอบถาม
ความสมัครใจในการรวมกลุ่ม ทาการรับสมัครสมาชิกก่อตั้ง และร่วมกัน
หารอื เพ่ือกาหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการรวมกลมุ่

กลุ่มที่ต้ังขึ้นในระยะเริ่มต้นไม่จาเป็นต้องมีจานวนสมาชิกมาก แต่สมาชิก
ควรมีความต้งั ใจและต้องมคี วามเข้าใจในเป้าหมายร่วมท่ีตรงกัน นอกจากน้ี
ควรมีการกาหนดกรอบหรือกฎระเบียบในการรวมกลุ่มเป็นเคร่ืองมือสาคัญ
ในการบริหารจัดการกลุ่มให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกับการ
เลือกคณะกรรมการหรือคนทางานมารับผิดชอบการบริหารจัดการกลุ่ม ซ่ึง
จากการทางานในพ้ืนทีต่ ้นแบบปิดทองหลังพระฯ สรุปไดด้ ังนี้

กฎระเบยี บ

 ควรกาหนดกอ่ นท่ีจะมีการดาเนินงานและคัดเลือกคณะกรรมการ

 เป็นกฎระเบียบท่ีเกิดจากที่สมาชิกมีส่วนร่วมในการเสนอความ
คิดเห็นและตกลงร่วมกัน ไม่ควรลอกมาจากกลุ่มอ่ืน โดยสามารถ
ศึกษาเป็นแนวทางได้แต่ต้องนามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถี
วัฒนธรรม

 บังคับใช้ได้จริง สามารถปรับแก้ได้ และมีอิสระเพียงพอท่ีจะ
สามารถบรหิ ารจัดการได้

 ต้องช้ีแจงกฎระเบียบให้สมาชิกทุกคนได้รับทราบและเห็นชอบ
ร่วมกันทจ่ี ะปฏบิ ัตติ ามกฎระเบยี บทก่ี าหนดขึน้ มานี้

39

 กรณีทีม่ สี มาชกิ จานวนมากและหลายพืน้ ที่ ควรจัดให้มีการประชุม
กลุ่มย่อยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และต้องนา
กฎระเบียบไปชี้แจงรายกลุ่มย่อย หรือรายบุคคลในบางกรณีเพื่อ
สร้างความเข้าใจท่ีตรงกันท้ังก่อนเริ่มดาเนินการและระหว่าง
ดาเนนิ การ

“สมาชิกหลายคน ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องปฏิทินการ
ปลอ่ ยนา้ ต้องเอาข้อมูลไปคุยให้ฟังถึงบ้าน ให้เข้าใจ จึง
ปฏบิ ัตไิ ด้ถกู ตอ้ ง”
ประธานกลมุ่ ผู้ใชน้ ้าอา่ งเกบ็ น้าหว้ ยคล้ายฯ จ.อดุ รธานี

คณะกรรมการ

 คณะกรรมการต้องเป็นคนท่ีอยู่ในพื้นที่ ได้รับการยอมรับจากคน
ในชมุ ชน และมคี วามเขา้ ใจในหลกั การทางานตามแนวทางปิดทอง
หลงั พระฯ

 คณะกรรมการควรประกอบด้วยผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับ มี
ประสบการณ์ และมีเวลาในการทางานเนื่องจากภาระทาง
ครอบครวั ลดนอ้ ยลง แต่ก็ควรมีผู้ที่อยู่ในวัยทางาน และคนรุ่นใหม่
เพื่อให้การทางานและการประสานงานมีความคล่องตัว มีการ
เรียนรู้และปรับใช้ความรู้ใหม่ๆ และเกิดการเรียนรู้ระหว่างวัย
นอกจากนี้ ควรมผี ้หู ญิงเปน็ สว่ นหนงึ่ ในคณะกรรมการดว้ ย

 แบ่งบทบาทหน้าท่ีและกระจายความรับผิดชอบ ให้เหมาะสมกับ
สภาพพ้ืนทีแ่ ละสถานการณท์ เี่ กิดข้ึนจรงิ

40

 เป็นผู้ท่ีเต็มใจมาปฏิบัติหน้าท่ี ไม่ถูกบังคับ และสามารถจัดสรร
เวลามาทาหน้าทไ่ี ด้ตามท่ไี ด้รบั มอบหมาย

 หำตัวชว่ ย

เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมต้องมีบทบาทในการค้นหาและประสานงานหาตัวช่วย
กลุ่มในสิ่งที่เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมไม่มีศักยภาพเพียงพอ ซ่ึงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ ตัวช่วยในด้านเงินทุนและอุปกรณ์ในการดาเนินงาน และตัวช่วยใน
ดา้ นความรแู้ ละการพัฒนาศกั ยภาพ
จากตัวอย่างการดาเนินงานในพื้นท่ีต้นแบบปิดทองหลังพระฯ กรณีกลุ่ม
วิสาหกิจโรงสีชุมชนบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม จ.อุดรธานี ในการจัดตั้ง
โรงสีข้าวชุมชนนั้น เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมในพื้นที่ได้ช่วยประสานงานจนได้รับ
ความช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีและหน่วยงานท่ี
เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการติดตั้งระบบไฟฟ้าสาหรับเดินเคร่ืองสีข้าว ซึ่ง
กรณีดังกล่าวเป็นเร่ืองที่เกินศักยภาพของกลุ่มและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะ
ดาเนินการไดจ้ งึ ต้องหาตัวช่วย
ส่วนกรณีกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปมะแขว่นตาบลยอด จ.น่าน ซึ่งกลุ่มขาด
ความรู้ในการปรับปรุงโรงเรือนและกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน อย.
เจา้ หนา้ ท่สี ่งเสรมิ ประสานหาตัวชว่ ยจากหน่วยงานสาธารณสุขอาเภอให้มา
เป็นทปี่ รึกษาในการดาเนินงานอย่างใกล้ชิดจนสามารถพัฒนากระบวนการ
ผลิตจนผา่ นมาตรฐาน อย. และสามารถขยายตลาดได้กวา้ งขวางมากข้ึน

41

4.2 สรา้ งการเรยี นรู้

เมื่อมีสมาชิก คณะกรรมการ และระเบียบข้อบังคับ โดยกลุ่มได้ดาเนิน
กิจกรรมต่างๆ ได้แล้วน้ัน เจ้าหน้าที่หรือนักส่งเสริมจะมีบทบาทในการ
สนับสนุนและผลักดันให้กลุ่มสามารถดาเนินกิจกรรมของกลุ่มได้ต่อเน่ือง
และมีความก้าวหน้าการดาเนินงานเป็นลาดับ ซึ่งมีการดาเนินงาน 4
ขัน้ ตอน (แสดงดังแผนภาพ) โดยมรี ายละเอยี ดดงั น้ี

เสรมิ ควำมรู้ กระตุน้ ชว่ ยแก้ปัญหำ ทบทวน
กำรทำงำน กำรทำงำน

 เสริมควำมรู้และทกั ษะ

การเสริมความรู้และทักษะให้กับคณะกรรมการกลุ่มเป็นส่ิงจาเป็น โดย
นอกจากความรู้ในด้านเทคนิคที่เก่ียวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการผลิต
และบริการแล้ว คณะกรรมการกลุ่มควรได้รับการพัฒนาเสริมความรู้และ
ทักษะในด้านการบริหารจัดการกลุ่มด้วย ตัวอย่างประเด็นความรู้และ
ทักษะที่จาเป็นในการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมกลุ่มในพ้ืนท่ีต้นแบบ
ปิดทองหลังพระฯ ไดแ้ ก่

 การทาบัญชีธุรกิจ โดยเริ่มจากการให้ความรู้เร่ืองการทาบัญชี

อย่างง่าย เมื่อกรรมการเริ่มมีความคุ้นเคยกับการจดบัญชีแล้ว จึง
นาวทิ ยากรมาใหค้ วามรเู้ กย่ี วกับการทาบญั ชีธุรกจิ

42

 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนาสมาชิกกลุ่มไป

ศึกษาดูงานกรณีตัวอย่างที่ประสบความสาเร็จ เพ่ือเรียนรู้
กระบวนการผลิตที่ถูกต้องและศึกษาตวั อยา่ งผลติ ภัณฑ์

 มาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นการให้ความรู้เก่ียวกับ

ประเภทของมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น อย.
มผช. ครอบคลุมถึงความรู้เก่ียวกับข้ันตอนการในการขอรับรอง
มาตรฐาน และการจดทะเบียนต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้
จากการปฏิบัติจริง หรือ “พาทา” โดยเจ้าหน้าท่ีหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง

 การออกแบบบรรจภุ ณั ฑ์ โดยกลุม่ ส่วนใหญจ่ ะขาดความรูใ้ นเร่ือง

นี้เป็นอย่างมาก ด้วยต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะด้าน ท่ี
ผ่านมาจึงเป็นการเรียนรู้ผ่านการทาร่วมกับผู้ท่ีมีความเช่ียวชาญท่ี
เจ้าหนา้ ท่สี ง่ เสรมิ ประสานจัดหาให้มาช่วยเหลือกลมุ่

 การวิเคราะห์ตลาดและทาแผนธุรกิจ เร่ืองน้ีมักเป็นจุดอ่อนทั้ง

ของชาวบ้านและเจ้าหน้าท่ีส่งเสริม จึงมักต้องการความช่วยเหลือ
จากหน่วยงานภายนอกหรือผู้มีประสบการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม
หากตอ้ งทากันเอง กใ็ ห้เร่มิ วเิ คราะหต์ ลาดภายในชุมชน ในท้องถิ่น
และในจังหวัด หรือตลาดใกล้ตัวกันก่อน เพ่ือให้รู้ชัดเจนว่าลูกค้า
กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แล้วจะผลิตอะไรแบบไหนจึงจะตรงความ
ต้องการของลูกค้า ผลิตจานวนเท่าไรท่ีตลาดต้องการและกลุ่ม
สามารถทาได้ รวมทั้งต้องต้องมีการคิดกาไรต้นทุน และดูว่าสินค้า
คูแ่ ข่งกนั เราเป็นใครด้วย

43

 กระตุน้ กำรทำงำน

การกระตนุ้ และตดิ ตามของเจ้าหน้าท่ีหรือนักส่งเสริมสามารถดาเนินการได้
หลายรูปแบบ ท้ังการกระตุ้นและผลักดันให้มีการประชุมคณะกรรมการ
กลมุ่ อยา่ งสม่าเสมอ ซึ่งเป็นช่องทางให้คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ได้รายงาน
ความก้าวหน้าในการดาเนินงานและร่วมกันหารือแนวทางแก้ไขปัญหาที่
เกิดข้ึน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่หรือนักส่งเสริมยังสามารถกระตุ้นติดตามได้
จากการให้คาปรึกษารายบุคคลแก่สมาชกิ ซง่ึ เป็นช่องทางให้รับข้อมูลแบบ
ไมเ่ ปน็ ทางการจากสมาชิกที่อาจไม่มโี อกาสมารว่ มประชมุ

การกระตุ้นและติดตามของเจ้าหน้าที่หรือนักส่งเสริม เป็นกลไกสาคัญท่ี
เกิดขึ้นในการดาเนินงานในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ ซ่ึงช่วย
สนับสนุนการดาเนินงานของกลุ่มต่างๆ ด้วยส่วนใหญ่กลุ่มท่ีตั้งขึ้นใหม่
คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มมักขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการ
กลุ่ม ทาให้ไม่ทราบบทบาทหน้าท่ีของตนเอง รวมถึงขาดความรอบคอบ
และระมัดระวังในการบริหารจัดการ จึงยังต้องการพ่ีเล้ียงท่ีคอยให้
คาปรกึ ษาอยา่ งใกลช้ ิด

ประเด็นสาคัญท่ีต้องคานึงถึง คือ การวางบทบาทของเจ้าหน้าท่ีหรือนัก
สง่ เสริมในการกระตุ้นและตดิ ตามการดาเนนิ งานของกลุ่ม สรุปได้ดังนี้

สิง่ ทไี่ ม่ควรทา สงิ่ ที่ควรทา
- ทาแทน คดิ แทน ตดั สนิ ใจแทน
- บงั คับชีน้ า ครอบงาความคิด - พาทา ทาไปด้วยกัน
- เป็นผ้พู พิ ากษา - เปน็ พเ่ี ล้ียง เปน็ ผสู้ นับสนุน
- เปน็ ทป่ี รกึ ษา เป็นคนกลาง
- เป็นผู้ประสานงาน

44

ประเด็นสาคัญท่ีควรพิจารณาสาหรบั เจา้ หน้าท่ีหรือนักส่งเสริม สรปุ ได้ดงั น้ี

 คณะกรรมการ  ไดร้ บั เลือกจากสมาชิก เต็มใจท่ีจะทาหนา้ ที่
 กฎระเบียบ และมีเวลาเพยี งพอ
 การเงินและ
 มกี ารทางานตามหนา้ ทที่ ่ีได้รับมอบหมาย
บัญชี  ใช้การตดั สนิ ใจรว่ มในการบริหารจดั การ

 สมาชิก  เกดิ จากการมสี ่วนรว่ มของสมาชิก
 สมาชกิ รับทราบ และปฏิบัตติ ามได้
 มีการบังคบั ใช้จริงจัง

 มผี ้รู บั ผิดชอบชดั เจนและจดบันทึกสม่าเสมอ
 มีการสรปุ ยอดรายรบั รายจ่าย และเงินคงเหลือ

สมา่ เสมอ ตรวจสอบได้
 เงินสดมีการนาฝากสม่าเสมอ เก็บเงนิ สดไว้ที่

กรรมการในจานวนทเ่ี หมาะสมตอ่ การ
ดาเนินงานของกลุ่ม
 เงินทนุ ของกล่มุ เพียงพอต่อการดาเนินงาน

 เข้ารว่ มกลมุ่ โดยความสมคั รใจ
 สมาชกิ เขา้ รว่ มกจิ กรรมและใชบ้ ริการจากกลมุ่
 สมาชิกไดร้ บั ข้อมลู ข่าวสารเก่ียวกบั การ

ดาเนินการของกลุ่มสม่าเสมอ
 สมาชิกสนใจและติดตามการทางานของ

คณะกรรมการ

45

 แผนงานและ  มีการดาเนนิ กิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
กจิ กรรม สมา่ เสมอ

 การจดั สรร  มีเปา้ หมายและแผนงานชัดเจน
ประโยชน์
 การจดั สรรประโยชน์เป็นสดั สว่ นชดั เจน

 มกี ารแบง่ ปนั ประโยชนอ์ ยา่ งเปน็ ธรรมและ
ทว่ั ถึง

 มีการจดั สรรประโยชนส์ มา่ เสมอ อยา่ งนอ้ ยปีละ
1 ครงั้

 ชว่ ยแก้ปญั หำ

เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมต้องมีบทบาทในการช่วยเหลือ หรือเป็นท่ีปรึกษาให้กับ
กลุ่มในการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งท่ีเกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบในการ
พัฒนากล่มุ การผลิตและบริการในพ้ืนที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ มีมาจาก
หลายสาเหตสุ รุปไดด้ งั น้ี

 คณะกรรมการ
- ไม่มเี วลาในการทาหนา้ ท่ีทไ่ี ด้รับมอบหมาย
- ตดั สินใจคนเดยี ว ขาดการทางานเปน็ ทีม
- ละเลยการปฏบิ ตั ติ ามกฎระเบียบที่ต้งั ไว้

- ไมม่ ีการประชุมคณะกรรมการกลุ่ม หรอื ไมส่ มา่ เสมอ

 กฎระเบียบ
- ไมม่ ีการส่อื สารกฎระเบียบไปยงั สมาชกิ อยา่ งทั่วถึง
- ไม่ถกู นามาบงั คับใชอ้ ย่างจริงจงั

46

- สมาชิกมีส่วนร่วมในการกาหนดกฎระเบียบนอ้ ย

 การเงินและบัญชี
- ไม่มีการจดบันทึกและสรุปข้อมูลอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถ
ตรวจสอบขอ้ มูลได้
- เกบ็ เงนิ สดไวท้ ี่กรรมการมากเกนิ ความจาเปน็
- กรรมการนาเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และไม่ชี้แจงให้สมาชิก
รบั ทราบ

 สมาชิก
- สมาชิกเข้าร่วมกจิ กรรมและการประชุมนอ้ ย
- สมาชิกไม่เข้าใจบทบาทหน้าทที่ ่มี ตี ่อกลมุ่
- สมาชกิ ไดร้ บั ขอ้ มูลขา่ วสารไมถ่ กู ต้อง ทาใหเ้ กิดความไม่ไว้วางใจใน
คณะกรรมการกลุ่ม

 แผนงานและกจิ กรรม
- ขาดแผนงานและกจิ กรรมทช่ี ดั เจน
- ไม่มกี ารดาเนินกิจกรรม หรือทากจิ กรรมไม่สมา่ เสมอ

 การจดั สรรประโยชน์
- ไมจ่ ดั สรรประโยชนจ์ ากการดาเนินงานกลมุ่ ให้แก่คณะกรรมการ
และสมาชิกโดยขาดการช้ีแจง
- การเข้ารว่ มกลุม่ สมาชิกได้รับประโยชนน์ อ้ ย ไมค่ ุ้มค่า
- ขาดการชี้แจงวธิ ีการจดั สรรประโยชนท์ ี่ชดั เจน

47

ตัวอย่างที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้กับ
กลุ่ม กรณีกลุ่มปศุสัตว์บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม จ.อุดรธานี แรกเร่ิมเป็น
การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงหมูแต่ประสบปัญหาด้านการตลาด สมาชิกบางส่วนจึง
เปล่ียนมารวมกลุ่มกันเล้ียงเป็ด แต่ก็ประสบปัญหาเร่ืองตลาดรับซื้อและ
ต้นทุนการเลี้ยงท่ีสูงข้ึน ส่งผลต่อการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนของ
กล่มุ เจ้าหน้าท่สี ่งเสริมจึงเสนอใหส้ มาชิกกลุ่มหนั มาเล้ียงไก่ไข่ซึ่งมีต้นทุนใน
การเล้ียงน้อยกว่า สามารถเก็บไข่ได้ทุกวัน และมีความต้องซ้ืออยู่ภายใน
ชุมชน ทาให้กลุ่มสามารถหมุนเวียนเงินทุนได้เร็วข้ึนจนสามารถดาเนิน
กจิ กรรมกลุ่มได้อยา่ งตอ่ เนื่อง

ส่วนกรณีกลุ่มผู้ใช้น้าจากอ่างเก็บน้าห้วยคล้าย บ้านโคกล่าม-แสงอร่าม
จ.อุดรธานี ประสบปัญหากรณีสมาชิกไม่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้น้า
และ ไม่ทาตามแผนการใช้น้าที่กาหนด เกิดปัญหาการลักลอบเปิดน้า จึง
ร่วมกับผู้นาชุมชนและคณะกรรมการกลุ่ม วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสรุป
ได้ว่าเกิดจากความไม่เข้าใจของสมาชิกถึงกฎระเบียบการใช้น้าและไม่รู้ ว่า
ต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้น้า กลุ่มจึงได้ปรับเปลี่ยนการบริหาร
จดั การใหม่โดยเรมิ่ จากปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกลุ่มชุดใหม่คัดเลือกผู้ท่ีมี
เวลาให้กับการทางานของกลุ่ม และกาหนดให้มีกรรมการรับผิดชอบราย
โซนพื้นท่ีในการเปิดปิดน้า ดูแลความเรียบร้อย และจัดเก็บค่าธรรมเนียม
รวมถึงปรบั กลยุทธก์ ารประชาสัมพนั ธ์ใหเ้ ข้าถึงสมาชกิ ทุกกลุ่ม

48


Click to View FlipBook Version