45 2. อภิปรายผลการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้ เกม ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะ แบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม พบว่า มีค่าเฉลี่ยของคะแนนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับ สมมติฐานข้อที่ 1 และ 2 ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยมีความเข้าใจหลักการของการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E สามารถดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ได้ และในการเลือกใช้เกมเลือกใช้ได้เหมาะสมกับ เนื้อหา เนื้อหาสามารถใช้กับเกมที่นำมาจัดกิจกรรมได้ค่อนข้างดี ทำให้สามารถวางแผนการทำงานได้ มีการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และครูพี่เลี้ยง นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ เพื่อนภายในกลุ่ม หรือการได้อภิปรายร่วมกันทั้งห้องเรียน ทำให้นักเรียนมีเพื่อนและครูที่ช่วยคิด ช่วย ส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ และยังได้คิดฝึกทักษะเพิ่มเติมในการทำโจทย์ปัญหาที่ได้รับได้ ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของวารุณี ไชยรงศรี (2557) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E และเกมวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ การใช้เกมมาใช้สร้างบรรยากาศ ที่ดีในการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนกล้าแสดงออกมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในการศึกษาเนื้อหายาก ๆ มากขึ้น และสอดคล้องกับสุเมธ เนาว์รุ่งโรจน์(2561) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และความ พึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ย คือ 12.04 คะแนน (S.D. = 2.75) และเมื่อ นักเรียนที่เป็นประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ย คือ 24.03 คะแนน (S.D. = 1.85) เมื่อเปรียบเทียบ คะแนนก่อน-หลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 เกิดจากการที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจ ความกระหายใคร่รู้ในการเรียนรู้ ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน และสามารถเรียนรู้เนื้อหาวิชา พร้อมแสดงหาความรู้เพิ่มเติมได้จนนำไปสู่ การเชื่อมโยงกับความรู้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และสามารถเรียนรู้เนื้อหาวิชา และยังสอดคล้อง
46 กับสุชาดา พ่อไชยราช (2558) ที่ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (29.69 ± 3.28)สูง กว่าก่อนเรียน (8.93 ± 2.61) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ยกระดับคะแนนจากระดับอ่อนไปอยู่ ระดับดีมาก เพราะการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการจัดการ เรียนรู้ที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้โอกาสนักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกนำเสนอ ฝึกคิด วิเคราะห์ คิดวิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เน้นการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วย วิธีการฝึกให้นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยครูตั้งคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนใช้กระบวนการ ทางความคิด หาเหตุผลจนค้นพบความรู้หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง และการ เรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย มีการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีโอกาสแสดงความ คิดเห็น ได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น, ธมนพัชร์ นิธิ กิจโภคินกุล และคณะ (2562) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน ต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความ เหมาะสมอย่างมากต่อการนําไปจัดการเรียนรู้ (4.80 - 5.00) และสามารถพัฒนาความเข้าใจทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันในระดับมาก ซึ่งผู้วิจัยยังได้ออกแบบแต่ละกิจกรรมให้ สอดคล้องกับองค์ประกอบของความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละด้านตามความเหมาะสมของ เนื้อหาและธรรมชาติวิชา โดยแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้สามารถที่จะฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สืบค้น ข้อมูล และแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในกลุ่ม ตลอดจนการนําเสนอข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้สอนควรจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้น ให้ผู้เรียนได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ทักษะไปพร้อม ๆ กับทฤษฎี และค้นคว้าหาความรู้ด้วย ตนเองโดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ, อย่างไรก็ตามพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นไม่มากนักเนื่องจากเรื่องการ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะและเป็นนามธรรม มีความซับซ้อน ในการทำความเข้าใจในการคิดหาโอกาสของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องเข้าใจ และเชื่อมโยงกับเนื้อหาความรู้ หากเชื่อมโยงไม่ได้ย่อมส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม กับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม เมื่อวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจแล้วพบว่า ผู้เรียนมี
47 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 3 โดยความพึงพอใจด้านกิจกรรม การเรียนการสอน มีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด เนื่องจากกิจกรรมการเรียนรู้ สืบเสาะแบบ 5E โดยใช้ปัญหาการสืบค้นเป็นแนวทางในการให้นักเรียนได้สืบค้นหาคำตอบตามที่ครู ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ทำให้นักเรียนได้ฝึกคิดและเลือกข้อมูลจาก แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ ทั้งยังเป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนภายในกลุ่มเรียน อภิปรายร่วมกันกับครู ซึ่งการใช้เกมเข้ามาร่วมในการกิจกรรมการเรียนการ สอนนั้นส่งผลให้บรรยากาศในชั้นเรียนผ่อนคลาย นักเรียนสนุกสนาน กระตุ้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม เป็นอยากมาก พร้อมทั้งมีการเสริมแรงตลอดจนจบบทเรียนในรูปแบบการพูดชมเชย มีการแข่งขันกัน เพื่อคะแนนพิเศษ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในการเรียนหรือ การทำกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับวารุณี ไชยรงศรี (2557) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะ แบบ 5E และเกมวิทยาศาสตร์ ที่พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกมวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (̅= 4.13) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้พึงพอใจ มากสุด โดยยังพบว่าการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E และเกมวิทยาศาสตร์กระตุ้นให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ด้วยตนเอง และยังเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน ทำให้สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อหน่าย ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ลงมือปฏิบัติค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และช่วยสร้าง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในห้องและระหว่างนักเรียนกับครู จากการอภิปรายดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน สูงขึ้น และมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกมจึงเป็นวิธีการที่สามารถช่วยพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้เพิ่มขึ้นได้ 3. ข้อเสนอแนะ 3.1 ข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ผลการวิจัย 3.1.1 ครูผู้จัดกิจกรรมควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม ให้เข้าใจในทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถจัด กิจกรรมการเรียนรู้ได้ประสบความสำเร็จ 3.1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับ การใช้เกมนั้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องพยายามดูแลเอาใจใส่นักเรียนให้ทั่วถึง สร้างบรรยากาศที่
48 เป็นมิตร กระตุ้นนักเรียนเสมอด้วยคำถามหรือเทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกทั้งความ คิดเห็นและมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น 3.1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับ การใช้เกม บางขั้นของการจัดการเรียนรู้อาจจะเครียดหรือสอดแทรกเนื้อหาวิชาการเกินไป อาจจะ ต้องแบ่งระยะเวลาในจัดกิจกรรม และเสริมแรงจูงใจด้วยคำชม ให้กำลังใจนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 3.1.4 ในการสร้างหรือเลือกเกมมาใช้ควรหาเกมที่สามารถนำเนื้อหาไปใส่ที่ทำให้ นักเรียนเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นกว่าเดิมอาจจะเป็นเทคนิคจากเกมที่สามารถนำไปใช้ร่วมกับเนื้อนั้น ๆ ได้ 3.1.5 ในการนำเกมไปใช้ควรใช้เป็นกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมให้กับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สืบเสาะแบบ 5E ซึ่งครูผู้จัดกิจกรรมควรจะต้องชี้แจง ทำความเข้าใจกับนักเรียนถึงวิธีการเล่น กติกา กรอบเวลาที่ใช้ให้ชัดเจน 3.2 ข้อเสนอแนะการศึกษาเพิ่มเติมหรือทำวิจัยต่อยอด 3.2.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการ จัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ หรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ ได้ ดังนั้นจึงควรมีการทำวิจัยที่มีการประยุกต์หรือบูรณาการรูปแบบการสอนต่าง ๆ ร่วมด้วย 3.2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ รายวิชาอื่นนอกเหนือจากรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้ ดังนั้นควรมีการเปรียบเทียบผลจากการวิจัยเพื่อใช้ เป็นข้อมูลต่อไปว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับ การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดบ้าง
49 บรรณานุกรม
50 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จรรยาภรณ์ อุ่มออง. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการสอนแบบร่วมมือกับวิธีการสอน โดยใช้เกม. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง. จิราพร กำจัดทุกข์. (2552). ความพึงพอใจหลังการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสถิติ ประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์. ชรินทร์ทิพย์ บัติสูงเนิน. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน การแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการร่วมกับ ศิลปะกับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ชาญยุทธ ทองประพันธ์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนด้วย ชุดการสอนและวิธีปกติของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิชางานฝึกฝีมือ 1. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตร และการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ณัฐวดี วังสินธ์. (2555). การวิจัยและพัฒนา สู่การจัดการเรียนการสอน. วิจัยและประเมินผล อุบลราชธานี, 1(1), 133 - 142. ดวงพร วิฆเนศ. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย วิชาองค์ประกอบศิลป์ 1 สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(1), 201 - 214. ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2552). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
51 บรรณานุกรม (ต่อ) นงลักษณ์ เขียวมณี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยีและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ไพศาล หวังพานิช. (2546). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. มนพัชร์ นิธิกิจโภคินกุล, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์และนพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). การศึกษาผลการจัดการ เรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. CMU Journal of Education, 3(3), 1 - 13. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). สถิติ วิจัยและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 1 - 8. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ลดาวัลย์ แย้มครวญ. (2559). การออกแบบและพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้สาหรับวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี วนิศา อ่อนนวล, อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์และเกษศิรินทร์ รัทจร. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกม วิทยาศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. สงขลา: มหาวิทยาลัทักษิน. วารุณี ไชยรงศรี. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E และเกมวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วิชชุดา คัมภีร์เวช. (2556). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการ จัดการสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสถิติ ประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์. ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
52 บรรณานุกรม (ต่อ) ศิริพร หรัดดี. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำประสมโดยใช้เกมกับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่ การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริวรรณ ใจกระเสน, จันตรี คุปตะวาทิน และจินตนา ธนวิบูลย์ชัย. การพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เกมวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านหนองบัวจังหวัดลำพูน. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สิริสรณ์ สิทธิรินทร์. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจในการ แลกเปลี่ยนความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการ จัดการความรู้. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุชาดา พ่อไชยราช. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. สุชาติ แสนพิช. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เกมออนไลน์เพื่อพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 1,413 - 1,426. สุดาพร ทิพย์มณี. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกมทาง วิทยาศาสตร์. ลำปาง: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้าง ฉัตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.
53 บรรณานุกรม (ต่อ) สุมิตรา ทวีสุข. (2561). ผลการใช้บทเรียนแบบเว็บเควสท์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. สุเมธ เนาว์รุ่งโรจน์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และความพึงพอใจในการจัดการ เรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสาร นวัตกรรมการเรียนรู้, 4(1), 23 - 34. สุภาวดี สุทธิรักษ์, สมนึก เลิศแก้ว และบุญฑริกา ใจกระจ่าง. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบ ของแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร พุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(1), 1 - 18. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. เสฎฐวุฒิ การสำเริง. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ โปรแกรมจำลองการประกอบคอมพิวเตอร์Cisco IT สำหรับนักเรียนระดับชั้น ปวช. 2/5 สาขาคอมพิวเตอร์ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา. อรวรรณ ธนูศร. (2561). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยทักษิณ. อิสระ ทับสีสด และเอมอร วันเอก. (2561). การปรับปรุงวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. Academic Journal: Uttaradit Rajabhat University, 13(1), 9 - 29. อัจฉรา เปรมปรีดา. (2558). ผลการใช้เกมและการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ประกอบการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติด้านพหุวัฒนธรรม เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
54 ภาคผนวก
55 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 1. ชื่อ นางสาวณัฐชิยา ธนานุสนธิ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สาขาชีววิทยา ตำแหน่ง ครู สถานที่ทำงาน โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ 2. ชื่อ นางยุพิน ตาลำ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี ตำแหน่ง ครู ระดับชำนาญการพิเศษ สถานที่ทำงาน โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ 3. ชื่อ นายยุทธนา สาจวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา สถานที่ทำงาน โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
56 ภาคผนวก ข การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เพื่อใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยาเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับเกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม โดย ดำเนินการตามขั้นตอนดังที่แสดงในบทที่ 3 ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้และผลการวิเคราะห์ทางสถิติ มีดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 2. แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรม สำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 3. แบบประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียนที่ เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ โรงเรียนท่าข้าม วิทยาคม จังหวัดแพร่สำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดย ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เพื่อใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยาเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม สำหรับผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม 1. ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ 2. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดของ เรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับ ผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับ การใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่า ข้ามวิทยาคม จังหวัดแพร่
57 ตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเมินความเหมาะสมของของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม สำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คำชี้แจง : ให้ท่านพิจารณาความเหมาะสมที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้ เกม โดยเติมเครื่องหมาย ✓ลงในช่องระดับ พร้อมเขียนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการนำไป พิจารณาปรับปรุงต่อไป ระดับความเหมาะสม 5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด 4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก 3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง 2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย 1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด ประเด็นที่ทำ การประเมิน รายการที่ทำการประเมิน ระดับความเหมาะสม 5 4 3 2 1 ด้านเนื้อหา 1. แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบครบถ้วน เหมาะสมและมีรายละเอียดที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน 2. การเขียนสาระสำคัญในแผนได้กระชับ ครอบคลุมตามเนื้อหา/สาระ 3. เนื้อหาเหมาะสมและสอดคล้องกับตัวชี้วัด/ มาตรฐานการเรียนรู้และเวลาที่กำหนด 4. เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วน รวม ..........คะแนน
58 ประเด็นที่ทำ การประเมิน รายการที่ทำการประเมิน ระดับความเหมาะสม 5 4 3 2 1 ด้านการจัด กิจกรรม การเรียนรู้ 1. กิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมและสอดคล้องกับ ตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้ 2. กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย/เหมาะสมกับ เวลา วัยของผู้เรียนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ 4. กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา 5. กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้ 6. กิจกรรมเน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ 7. กิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยาก เห็นเสาะแสวงหาความรู้ 8. เกมเป็นตัวช่วยให้นักเรียนเข้าใจ เนื้อหาและ สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 9. เกมช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการ สื่อสาร 10. เกมช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจและกล้า แสดงออก รวม ..........คะแนน
59 ประเด็นที่ทำ การประเมิน รายการที่ทำการประเมิน ระดับความเหมาะสม 5 4 3 2 1 จุดประสงค์ การเรียนรู้ 1. จุดประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจนถูกต้อง สอดคล้องกับตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้ 2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ครบทั้งด้าน ความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และด้าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 3. ใช้ข้อความที่กระชับ พฤติกรรมของจุดประสงค์ สามารถทำการวัดและประเมินผลได้ รวม ..........คะแนน ด้านสื่อ การเรียนรู้ 1. สื่อหรือนวัตกรรมการสอนช่วยให้บรรลุ จุดประสงค์การเรียนรู้ 2. สื่อการเรียนรู้สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนและ จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. สื่อมีความหลากหลาย รวม ..........คะแนน การวัดและ ประเมินผล 1.การวัดผล ประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้ 2. วัดและประเมินผลได้ครอบคลุมทุกพฤติกรรม 3. ใช้เครื่องมือหรือวิธีการวัดที่เหมาะสม รวม ..........คะแนน
60 ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ................................... ................................................................................................ ................................................................ ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................. ................................... ลงชื่อ......................................ผู้ประเมิน (...................................................) ตำแหน่ง ..................................................
61 2. แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด เรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัด เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คำชี้แจง : ให้ท่านพิจารณาว่าข้อสอบที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนดหรือไม่ โดยการพิจารณาให้ น้ำหนัก ดังนี้ - 1 คือ แน่ใจว่า ข้อสอบนั้นไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด 0 คือ ไม่แน่ใจว่า ข้อสอบนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด + 1 คือ แน่ใจว่า ข้อสอบนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 1. นักวิทยาศาสตร์ท่านใดที่ได้รับยกย่องให้ เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ ก. ฮิวโก เดอ ฟรีส์ ข. คาร์ล เอริช คอร์เลนส์ ค. เกร์เกอร์ โยฮันน์ เมนเดล ง. เอริช แชร์มาร์ค ฟอน ไซเซเนกส์ 2. ข้อใดอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ถูกต้องที่สุด ก. พ่อเป็นหมอ ลูกก็ต้องเป็นหมอ ข. แม่เป็นมนุษย์ คลอดลูกเป็นหอยสังข์ ค. พ่อมีลิ้นห่อได้ ลูกอาจมีลิ้นห่อได้ ง. แม่ผ่าตัดให้จมูกโด่ง ลูกผู้หญิงก็จะเกิดมามี จมูกโด่ง 3. ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันแต่มีความแตกต่างกัน ก. สิ่งแวดล้อม ข. การกินอาหาร ค. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ง. ลักษณะเด่นของพ่อและแม่
62 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 4. ลักษณะทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร ก. บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิต ข. ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิต ค. ลักษณะที่ไม่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิต ง. ลักษณะต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยัง ลูกหลาน 5. เมนเดลได้ศึกษาเรื่องราวของพันธุกรรม โดยค้นพบหลักเกณฑ์ในข้อใด ก. สิ่งมีชีวิตถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ไปสู่รุ่นหนึ่ง ข. เมื่อมีการปฏิสนธิ ทั้งยีนและโครโมโซมจะถูก ถ่ายทอดไปสู่ลูกพร้อม ๆ กัน ค. โครโมโซมจะแยกกันอยู่อย่างอิสระ เมื่อมี การปฏิสนธิจะมีการรวมกันของโครโมโซมอีก ครั้งหนึ่ง ง. ยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ในสิ่งมีชีวิตจะแยกออกจาก กันอย่างอิสระเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และ จะกลับมารวมกันอีกครั้งเมื่อมีการปฏิสนธิ 6. รูปแบบของยีนที่เข้าคู่กันอยู่บนโครโมโซม ที่เป็นโฮมอโลกัสโครโมโซมตำแหน่งเดียวกัน เรียกว่าอะไร ก. ฟีโนไทป์ (phenotype) ข. แอลลีล (allele) ค. จีโนไทป์ (genotype) ง. แฟกเตอร์ (factor) 7. ถ้า T แทนแอลลีลที่มีลักษณะเด่น และ t แทน แอลลีลที่มีลักษณะด้อย พ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ Tt และ tt ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสแสดง ลักษณะเป็นอย่างไร ก. เด่นทั้งหมด ข. ด้อยทั้งหมด ค. ด้อย 50% เด่น 50% ง. เด่น 25% ด้อย 25%
63 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 8. ข้อใดให้ความหมายของเฮเทอโรไซกัสได้ ถูกต้อง ก. คู่ของแอลลีลที่เหมือนกัน ข. คู่ของแอลลีลที่แตกต่างกัน ค. โครโมโซมที่มีเป็นคู่กันขนาดเท่ากัน ง. ลักษณะของยีนที่ปรากฏออกมา 9. หมู่เลือดระบบ ABO ในมนุษย์ มีแอลลีล ควบคุมกี่แอลลีล ก. 2 แอลลีล ข. 3 แอลลีล ค. 4 แอลลีล ง. 5 แอลลีล 10. ข้อใดกล่าวถึงการถ่ายทอดลักษณะ พันธุกรรมทางโครโมโซมเพศในมนุษย์ได้ ถูกต้อง ก. มีโอกาสแสดงออกในเพศหญิงและชาย เท่ากัน ข. มีการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมผ่าน โครโมโซมทั้ง 23 คู่ ค. ลักษณะพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม Y จะ แสดงออกในเพศชายเท่านั้น ง. ลักษณะด้อยที่อยู่บนโครโมโซม X จะพบใน เพศหญิงมากกว่าชาย 11. ชายตาบอดสีแต่งงานกับหญิงตาปกติแต่ เป็นพาหะของโรคตาบอดสี ลูกที่เกิดมาจะมี ลักษณะอย่างไร ก. ลูกชายครึ่งหนึ่งจะเป็นโรคตาบอดสี ข. ลูกทุกคนสายตาปกติ ค. ลูกสาวทุกคนเป็นพาหะ ลูกชายทุกคนตา ปกติ ง. ลูกสาวทุกคนสายตาปกติ
64 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 12. กำหนดให้แอลลีล A คุมลักษณะเด่น และ แอลลีล a คุมลักษณะด้อย ถ้าผสม Aa x Aa AA : Aa : aa = 1 : 2 : 1 ผลลัพธ์จากการผสมนี้แสดงว่า ก. จะได้ลูกชนิดจีโนไทป์เหมือนพ่อแม่ 3/4 ข. จะได้ลูกชนิดที่มีฟีโนไทป์เหมือนพ่อแม่ 1/2 ค. จะมีโอกาสที่ลูกแสดงลักษณะเด่น 3/4 และ ลักษณะด้อย 1/4 ง. ถ้ามีลูกจากการผสม 4 ตัว จะได้ลูกแสดง ลักษณะเด่น 1 ตัว และแสดงลักษณะด้อย 3 ตัว 13. ชายมีหมู่เลือด O (ii) แต่งงานกับหญิงมี หมู่เลือด A (I A i) ลูกที่เกิดจากชายหญิงคู่นี้มี โอกาสมีหมู่เลือดใดบ้าง ก. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ทุกคน ข. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด O ทุกคน ค. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ร้อยละ 25 และหมู่ เลือด O ร้อยละ 75 ง. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ร้อยละ 50 และหมู่ เลือด O ร้อยละ 50 14.ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ มัลติเพิลอัลลีล ก. ยีนคู่เดียวกันควบคุมหลายลักษณะ ข. ยีนหลายชนิดอยู่บนโครโมโซมแท่งเดียวกัน ค. มียีนหลายคู่ร่วมกันควบคุมและกำหนดหนึ่ง ลักษณะ ง. มียีนคู่เดียวควบคุมหนึ่งลักษณะ แต่ยีนนั้น แตกต่างกันได้มากกว่า 2 แบบ
65 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 15. ต้นถั่วลันเตาลักษณะเมล็ดสีเหลืองเป็น ลักษณะเด่นต่อลักษณะเมล็ดสีเขียว ในการ ผสมตัวเองของต้นที่มีที่เป็นเฮเทอโรไซกัส ทั้งคู่ จงหาร้อยละของลูกที่ได้เมล็ดสีเขียว ก. ร้อยละ 75 ข. ร้อยละ 50 ค. ร้อยละ 25 ง. ไม่มีเมล็ดสีเขียว 16. ในการผสมพันธุ์ต้นลิ้นมังกรพันธุ์ทาง ลักษณะใบกว้างที่เป็นลักษณะเด่นกับพันธุ์แท้ ลักษณะใบแคบ ถ้าการถ่ายทอดลักษณะของ ใบลิ้นมังกรเป็นลักษณะเด่นแบบสมบูรณ์ จงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์ในรุ่นลูก ก. ลักษณะใบกว้าง : ลักษณะใบแคบ 3 : 1 ข. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 1 : 2 ค. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 2 : 1 ง. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 1 : 1 17. เมื่อนำกระต่ายขนสีดำที่เป็นโฮมอไซกัส ผสมกับกระต่ายขนสีน้ำตาล ปรากฏว่าลูกที่ เกิดมาเป็นสีดำทั้งหมด ข้อมูลนี้บอกอะไรแก่ เราบ้าง ก. กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะด้อย กระต่าย ขนสีน้ำตาลเป็นลักษณะเด่น ข. กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะเด่น กระต่ายขน สีน้ำตาลเป็นลักษณะด้อย ค. กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะด้อย กระต่าย ขนสีน้ำตาลเป็นลักษณะด้อย ง. กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะเด่น กระต่ายขน สีน้ำตาลเป็นลักษณะเด่น
66 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 18. จากข้อ 17 ถ้ารุ่น F1 ผสมกันเอง จะได้ ลูกรุ่น F2 มีฟีโนไทป์อย่างไร และมีอัตราส่วน เท่าใด ก. กระต่ายขนสีดำ : กระต่ายขนสีน้ำตาล เป็น 1 : 3 ข. กระต่ายขนสีดำ : กระต่ายขนสีน้ำตาล เป็น 1 : 1 ค. กระต่ายขนสีดำ : กระต่ายขนสีน้ำตาล เป็น 3 : 1 ง. กระต่ายขนสีดำ : กระต่ายขนสีน้ำตาล เป็น 2 : 1 19. ถ้าพ่อมีเลือดหมู่ O แม่มีเลือดหมู่ AB ลูกของพ่อแม่คู่นี้มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง ก. หมู่ A หรือหมู่ AB ข. หมู่ B หรือหมู่ AB ค. หมู่ A หรือหมู่ B ง. หมู่ O หรือหมู่ AB 20. ลักษณะพันธุกรรมของคนในข้อใดที่มียีน ควบคุมอยู่บนโครโมโซมเพศ ก. ลักษณะผิวเผือก ข. ตาบอดสี ค. ลักษณะนิ้วเกิน ง. โรคทาลัสซีเมีย 21. หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมคือ อะไร ก. ยีน ข. เซลล์ ค. นิวเคลียส ง. โครโมโซม 22. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโครโมโซมของมนุษย์ ก. เป็นออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ ข. เป็นออโตโซม 23 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ ค. เป็นออโตโซม 45 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ ง. เป็นออโตโซม 46 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่
67 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 23. ลักษณะพันธุ์แท้ (Homozygous) จะมี ลักษณะทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นได้เมื่อใด ก. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลเหมือนกัน ข. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลต่างกัน ค. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลที่มี ลักษณะทางพันธุกรรม ง. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง 24. ยีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อ แม่จะถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้โดยผ่าน ทางใด ก. ไมโคอนเดรีย ข. โครโมโซมในเซลล์ร่างกาย ค. โครโมโซม ง. โครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ 25. ถ้าทั้งพ่อและแม่ผิวปกติแต่มียีนลักษณะ ผิวเผือกแฝงอยู่ทั้งคู่ โอกาสที่จะมีลูกผิวเผือก เป็นเท่าใด ก. 0 ข. 1/8 ค. 1/4 ง. 1/16 26. ชายและหญิงที่มีผิวปกติโดยไม่มียีนผิว เผือกแฝงอยู่แต่งงานกัน โอกาสที่ลูกจะมีผิว เผือกเป็นเท่าใด ก. ร้อยละ 75 ข. ร้อยละ 50 ค. ร้อยละ 25 ง. ไม่มีโอกาสเลย
68 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 27. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะเด่น ลักษณะด้อย A ลักษณะเด่นแสดงออกเมื่ออยู่ในสภาพ เฮเทอโรไซกัสเท่านั้น B ลักษณะด้อยแสดงออกเมื่ออยู่ในสภาพ โฮโมไซกัสเท่านั้น C ลักษณะเด่นแสดงออกทั้งในสภาพ เฮเทอโรไซกัสและสภาพโฮโมไซกัส D ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยสามารถ แสดงออกได้ในสภาพเฮเทอโรไซกัส ก. A และ B ข. B และ C ค. C และ D ง. B, C และ D 28. การผสมพันธุ์พืชเพื่อศึกษาลักษณะเด่น และลักษณะด้อย เราจะพบลักษณะด้อยใน กรณีใด ก. พ่อเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้ แม่เป็นพันธุ์ทาง ข. พ่อเป็นพันธุ์ทาง แม่เป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้ ค. พ่อเป็นลักษณะด้อยพันธุ์แท้ แม่เป็นพันธุ์ทาง ง. พ่อเป็นลักษณะด้อยพันธุ์แท้ แม่เป็น ลักษณะเด่นพันธุ์แท้ 29. ผู้หญิงตาบอดสีไปแต่งงานกับชายคนหนึ่ง ตาปกติจีโนไทป์ของลูกจะเป็นแบบใด (C = ตาปกติ c = ตาบอดสี) ก. X c Y XC X c ข. X C Y XC X c ค. X c Y Xc X c ง. X C Y XC X C
69 ตัวชี้วัด ข้อสอบ น้ำหนัก ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วย ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ และมัลติเปิลแอลลีล 30. ลักษณะพันธุกรรมของคนในข้อใดที่มียีน ควบคุมอยู่บนออโตโซม (Autosome) ก. โรคธาลัสซีเมีย ข. ภาวะพร่องเอนไซม์กูลโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส ค. ตาบอดสี ง. โรคฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุด) ลงชื่อ.........................................ผู้ประเมิน (...............................................................) ตำแหน่ง...............................................
70 3. แบบประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน ที่เรียนด้วยด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม จังหวัดแพร่ แบบประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจ ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม จังหวัดแพร่ คำชี้แจง : ให้ท่านพิจารณาว่าข้อคำถามในแบบประเมินความพึงพอใจที่สร้างขึ้นต่อไปนี้ว่าเหมาะสม หรือไม่ โดยเติมเครื่องหมาย ✓ ลงในช่องผลการพิจารณา พร้อมเขียนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ใน การนำไปปรับปรุงต่อไปโดยเกณฑ์การพิจารณาคะแนนมีดังนี้ - 1 คือ แน่ใจว่า ประเด็นการประเมินนั้นไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด 0 คือ ไม่แน่ใจว่า ประเด็นการประเมินนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด + 1 คือ แน่ใจว่า ประเด็นการประเมินนั้นสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่กำหนด หัวข้อการ ประเมิน ประเด็นการประเมิน ผลการพิจารณา ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 1. ด้านผู้สอน 1.1 ครูชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียน เข้าใจอย่างชัดเจน 1.2 ครูให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลนักเรียนใน การเรียนรู้อย่างทั่วถึง 1.3 ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ในการเรียนรู้ 2. ด้านเนื้อหา 2.1 ความยากง่ายของเนื้อหาเหมาะสมกับ ความสามารถของนักเรียน 2.2 เนื้อหา ภาษา รูปแบบตรงกับความสนใจ และความต้องการของนักเรียน 2.3 เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก 2.4 การจัดเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาเรียน
71 หัวข้อการ ประเมิน ประเด็นการประเมิน ผลการพิจารณา ข้อเสนอแนะ - 1 0 + 1 3. ด้านกิจกรรม การเรียนการสอน 3.1 นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน 3.2 นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน 3.3 นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามลำดับ ขั้นตอน 4. ด้านการวัด และประเมินผล 4.1 มีการประเมินผลของนักเรียนเป็นรายบุคคล 4.2 มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ 4.3 มีการประเมินพฤติกรรมการทำงานของ นักเรียน 4.4 การประเมินผลครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................................. ................................... ................................................................................................ ................................................................ ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ... ลงชื่อ.........................................ผู้ประเมิน (...............................................................) ตำแหน่ง...............................................
72 ตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม แบบทดสอบเพื่อใช้วัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คำชี้แจง : 1. แบบทดสอบมีจำนวนทั้งหมด 20 ข้อ เป็นแบบปรนัยทั้งหมด มีตัวเลือก 4 ข้อ ได้แก่ ก ข ค และ ง โดยมีค่าคะแนนข้อละ 1 คะแนน รวมทั้งสิ้น 20 คะแนน 2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียวและทำการกากบาททับข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. ข้อใดอธิบายการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ถูกต้อง ที่สุด ก. พ่อเป็นหมอ ลูกก็ต้องเป็นหมอ ข. แม่เป็นมนุษย์ คลอดลูกเป็นหอยสังข์ ค. พ่อมีลิ้นห่อได้ ลูกอาจมีลิ้นห่อได้ ง. แม่ผ่าตัดให้จมูกโด่ง ลูกผู้หญิงที่เกิดมาก็จะมีจมูก โด่ง 2. ลักษณะทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร ก. บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิต ข. ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิต ค. ลักษณะที่ไม่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิต ง. ลักษณะต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยัง ลูกหลาน 3. ยีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่จะถูก ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้โดยผ่านทางใด ก. ไมโทคอนเดรีย ข. โครโมโซมในเซลล์ร่างกาย ค. แอลลีล ง. โครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ 4. เมนเดลได้ศึกษาเรื่องราวของพันธุกรรม โดยค้นพบหลักเกณฑ์ในข้อใด ก. สิ่งมีชีวิตถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ไปสู่รุ่นหนึ่ง ข. เมื่อมีการปฏิสนธิ ทั้งยีนและโครโมโซมจะถูก ถ่ายทอดไปสู่ลูกพร้อม ๆ กัน ค. โครโมโซมจะแยกกันอยู่อย่างอิสระ เมื่อมีการ ปฏิสนธิจะมีการรวมกันของโครโมโซมอีกครั้งหนึ่ง ง. ยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ในสิ่งมีชีวิตจะแยกออกจากกัน อย่างอิสระเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และจะกลับมา รวมกันอีกครั้งเมื่อมีการปฏิสนธิ 5. ข ้ อ ใ ด ใ ห ้ ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง เ ฮ เ ท อ โ ร ไ ซ กั ส ได้ถูกต้อง ก. คู่ของแอลลีลที่เหมือนกัน ข. คู่ของแอลลีลที่แตกต่างกัน ค. โครโมโซมที่มีเป็นคู่กันขนาดเท่ากัน ง. ลักษณะของยีนที่ปรากฏออกมา 6. หน่วยที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมคืออะไร ก. ยีน ข. เซลล์ ค. นิวเคลียส ง. โครโมโซม
73 7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะเด่น ลักษณะ ด้อย A ลักษณะเด่นแสดงออกเมื่ออยู่ในสภาพเฮเทอโร ไซกัสเท่านั้น B ลักษณะด้อยแสดงออกเมื่ออยู่ในสภาพโฮโมไซกัส เท่านั้น C ลักษณะเด่นแสดงออกทั้งในสภาพเฮเทอโรไซกัส และสภาพโฮโมไซกัส D ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยสามารถแสดงออก ได้ในสภาพเฮเทอโรไซกัส ก. A และ B ข. B และ C ค. C และ D ง. B, C และ D 8. ลักษณะพันธุกรรมของคนในข้อใดที่มียีนควบคุมอยู่ บนโครโมโซมเพศ ก. ลักษณะผิวเผือก ข. ตาบอดสี ค. ลักษณะนิ้วเกิน ง. โรคธาลัสซีเมีย 9. รูปแบบของยีนที่เข้าคู่กันอยู่บนโครโมโซมที่เป็นโฮ มอโลกัสโครโมโซมตำแหน่งเดียวกัน เรียกว่าอะไร ก. ฟีโนไทป์ (phenotype) ข. แอลลีล (allele) ค. จีโนไทป์ (genotype) ง. แฟกเตอร์ (factor) 10. หมู่เลือดระบบ ABO ในมนุษย์ มีแอลลีล ควบคุมกี่แอลลีล ก. 2 แอลลีล ข. 3 แอลลีล ค. 4 แอลลีล ง. 5 แอลลีล 11. ลักษณะพันธุ์แท้ (Homozygous) จะมีลักษณะ ทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นได้เมื่อใด ก. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลเหมือนกัน ข. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลต่างกัน ค. เกิดการจับคู่กันของยีนที่มีแอลลีลที่มีลักษณะทาง พันธุกรรม ง. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง 12. กำหนดให้ A คุมลักษณะเด่น a คุมลักษณะด้อย ถ้าผสม Aa x Aa AA : Aa : aa = 1 : 2 : 1 ผลลัพธ์จากการผสมนี้แสดงว่า ก. จะได้ลูกชนิดจีโนไทป์เหมือนพ่อแม่ 3/4 ข. จะได้ลูกชนิดที่มีฟีโนไทป์เหมือนพ่อแม่ 1/2 ค. จะมีโอกาสที่ลูกแสดงลักษณะเด่น 3/4และลักษณะด้อย 1/4 ง. ถ้ามีลูกจากการผสม 4 ตัว จะได้ลูกแสดงลักษณะเด่น 3 ตัว และแสดงลักษณะด้อย 1 ตัว 13. ข้อใดกล่าวถึงการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมทาง โครโมโซมเพศในมนุษย์ได้ถูกต้อง ก. มีโอกาสแสดงออกในเพศหญิงและชายเท่ากัน ข. มีการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมผ่านโครโมโซม ทั้ง 23 คู่ ค. ลักษณะพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม Y จะแสดงออกในเพศชายเท่านั้น ง. ลักษณะด้อยที่อยู่บนโครโมโซม X จะพบในเพศ หญิงมากกว่าชาย
74 14. ชา ย ม ี ห มู ่เ ลือ ด O ( ii) แ ต ่ งงา น ก ับหญิง มีหมู่เลือด A (IA i) ลูกที่เกิดจากชายหญิงคู่นี้มีโอกาสมี หมู่เลือดใดบ้าง ก. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ทุกคน ข. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด O ทุกคน ค. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ร้อยละ 25 และหมู่เลือด O ร้อยละ 75 ง. ลูกที่เกิดมามีหมู่เลือด A ร้อยละ 50 และหมู่เลือด O ร้อยละ 50 15. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ มัลติเพิลอัลลีล ก. ยีนคู่เดียวกันควบคุมหลายลักษณะ ข. ยีนหลายชนิดอยู่บนโครโมโซมแท่งเดียวกัน ค. มียีนหลายคู่ร่วมกันควบคุมและกำหนดหนึ่ง ลักษณะ ง. มียีนคู่เดียวควบคุมหนึ่งลักษณะ แต่ยีนนั้น แตกต่างกันได้มากกว่า 2 แบบ 16. ถ้าทั้งพ่อและแม่ผิวปกติแต่มียีนลักษณะผิวเผือก แฝงอยู่ทั้งคู่ โอกาสที่จะมีลูกผิวเผือกเป็นเท่าใด ก. 0 ข. 1/8 ค. 1/4 ง. 1/16 17. ถ้าพ่อมีเลือดหมู่ O แม่มีเลือดหมู่ AB ลูกของพ่อ แม่คู่นี้มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง ก. หมู่ A หรือหมู่ AB ข. หมู่ B หรือหมู่ AB ค. หมู่ A หรือหมู่ B ง. หมู่ O หรือหมู่ AB 18. ในการผสมพันธุ์ต้นลิ้นมังกรพันธุ์ทางลักษณะใบ กว้างที่เป็นลักษณะเด่นกับพันธุ์แท้ลักษณะใบแคบ ถ้า ก า ร ถ ่ า ย ท อ ด ล ั ก ษ ณ ะ ข อ ง ใบ ล ิ ้ น ม ั งก ร เ ป ็ น ล ั ก ษ ณะ เ ด่ น แ บ บ สมบูรณ์ จงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์ในรุ่นลูก ก. ลักษณะใบกว้าง : ลักษณะใบแคบ 3 : 1 ข. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 1 : 2 ค. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 2 : 1 ง. ลักษณะใบกว้าง : ใบแคบ 1 : 1 19. ชายตาบอดสีแต่งงานกับหญิงตาปกติแต่เป็นพาหะ ของโรคตาบอดสี ลูกที่เกิดมาจะมีลักษณะอย่างไร ก. ลูกชายครึ่งหนึ่งจะเป็นโรคตาบอดสี ข. ลูกทุกคนสายตาปกติ ค. ลูกสาวทุกคนเป็นพาหะ ลูกชายทุกคนตาปกติ ง. ลูกสาวทุกคนสายตาปกติ 20. ผู้หญิงตาบอดสีไปแต่งงานกับชายคนหนึ่ง มีตาปกติจะมีจีโนไทป์ของลูกนั้นเป็นแบบใด (C = ตาปกติ c = ตาบอดสี) ก. X c Y XC X C ข. X C Y XC X c ค. X c Y Xc X c ง. X C Y XC X C
75 ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เพื่อใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยาเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม สำหรับผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม 1. ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม ตารางที่ 1ข : ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ประเด็นที่ประเมิน รายการประเมิน คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ ̅ .การแปลผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1. ด้านเนื้อหา 1.1 แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ ครบถ้วนเหมาะสมและมีรายละเอียดที่ สอดคล้องสัมพันธ์กัน 5 5 4 4.67 0.57 มากที่สุด 1.2 การเขียนสาระสำคัญในแผนได้กระชับ ครอบคลุมตามเนื้อหา/สาระ 5 4 5 4.67 0.57 มากที่สุด 1.3 เนื้อหาเหมาะสมและสอดคล้องกับ ตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้และเวลาที่ กำหนด 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 1.4 เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วน 5 4 4 4.33 0.57 มาก 2. ด้านการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 2.1 กิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมและ สอดคล้องกับตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้ 5 4 4 4.33 0.57 มาก 2.2 กิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย/เหมาะสม กับเวลา วัยของผู้เรียนและสามารถนำไป ปฏิบัติได้จริง 4 4 3 3.67 0.57 มาก 2.3 กิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการ เรียนรู้เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ 5 4 4 4.33 0.57 มาก 2.4 กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับ เนื้อหา 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด
76 ตารางที่ 1ข (ต่อ) : ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ประเด็นที่ประเมิน รายการประเมิน คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ ̅ .การแปลผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 2. ด้านการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ (ต่อ) 2.5 กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วย ตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล และสามารถ แก้ปัญหาได้ 5 4 4 4.33 0.57 มาก 2.6 กิจกรรมเน้นทักษะการคิดอย่างมีระบบ 5 5 4 4.67 0.57 มากที่สุด 2.7 กิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้ อยากเห็นเสาะแสวงหาความรู้ 5 3 3 3.67 0.57 มาก 2.8 เกมเป็นตัวช่วยให้นักเรียนเข้าใจ เนื้อหา และสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 2.9 เกมช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการ สื่อสาร 5 5 4 4.67 0.57 มากที่สุด 2.10 เกมช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจและกล้า แสดงออก 5 4 3 4.00 1 มาก 3. จุดประสงค์ การเรียนรู้ 3.1 จุดประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจน ถูกต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัด/มาตรฐานการ เรียนรู้ 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 3.2 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ครบทั้งด้าน ความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และด้าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 3.3 ใช้ข้อความที่กระชับ พฤติกรรมของ จุดประสงค์สามารถทำการวัดและประเมินผลได้ 4 5 4 4.33 0.57 มาก 4. ด้านสื่อการเรียนรู้ 4.1 สื่อหรือนวัตกรรมการสอนช่วยให้บรรลุ จุดประสงค์การเรียนรู้ 5 4 4 4.33 0.57 มาก 4.2 สื่อการเรียนรู้สอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน และจุดประสงค์การเรียนรู้ 5 4 4 4.33 0.57 มาก 4.3 สื่อมีความหลากหลาย 5 4 4 4.33 0.57 มาก
77 ตารางที่ 1ข (ต่อ) : ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ ประเด็นที่ประเมิน รายการประเมิน คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ ̅ .การแปลผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 5. การวัดและ ประเมินผล 5.1 การวัดผล ประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 5.2 วัดและประเมินผลได้ครอบคลุมทุก พฤติกรรม 5 5 5 5.00 0 มากที่สุด 5.3 ใช้เครื่องมือหรือวิธีการวัดที่เหมาะสม 5 4 4 4.33 0.57 มากที่สุด 2. ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดของ เรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม ตารางที่ 2ข : ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดของ เรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม ตัวชี้วัด ข้อ คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ รวม IOC สรุปผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่ อยู่บนโครโมโซมเพศ และ มัลติเปิลแอลลีล 1 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 2 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 3 +1 +1 0 2 0.66 สอดคล้อง 4 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 5 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 6 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 7 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 8 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 9 +1 +1 0 2 0.66 สอดคล้อง 10 0 0 +1 1 0.33 ไม่สอดคล้อง 11 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 12 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 13 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 14 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง
78 ตารางที่ 2ข (ต่อ) : ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดของ เรื่อง การ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ตัวชี้วัด ข้อ คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ รวม IOC สรุปผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 อธิบายหลักการถ่ายทอด ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่ อยู่บนโครโมโซมเพศ และ มัลติเปิลแอลลีล 16 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 17 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 18 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 19 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 20 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 21 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 22 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 23 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 24 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 25 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 26 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 27 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 28 +1 +1 0 2 0.66 สอดคล้อง 29 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 30 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง
79 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับ ผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรม สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม ตารางที่ 3ข : ผลการประเมินความเหมาะสมของรายการในแบบประเมินความพึงพอใจ หัวข้อการประเมิน ประเด็นการ ประเมิน คะแนนความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ รวม IOC สรุปผล คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1. ด้านผู้สอน 1.1 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 1.2 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 1.3 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 2. ด้านเนื้อหา 2.1 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 2.2 0 +1 +1 2 0.66 สอดคล้อง 2.3 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 2.4 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 3. ด้านกิจกรรมการ เรียนการสอน 3.1 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 3.2 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 3.3 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 4. ด้านการวัดและ ประเมินผล 4.1 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 4.2 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง 4.3 +1 0 +1 2 0.66 สอดคล้อง 4.4 +1 +1 +1 3 1 สอดคล้อง
80 ตารางที่ 4ข : ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม คนที่ ประเด็นและรายการที่ประเมิน 1. ด้านผู้สอน 2. ด้านเนื้อหา 3. ด้านกิจกรรม การเรียนการสอน ด้านการวัดและ ประเมินผล 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 1 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 2 5 5 5 4 4 4 5 5 5 5 5 5 5 5 3 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 5 5 5 4 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 4 5 5 5 5 5 3 3 3 3 6 5 5 5 4 4 5 5 4 5 4 4 4 4 4 7 5 5 4 4 4 4 5 5 5 5 4 4 5 5 8 4 4 5 4 4 5 5 4 4 5 4 4 5 5 9 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 10 5 5 4 4 4 4 4 5 5 5 5 5 5 5 11 5 5 5 5 5 5 5 5 5 5 4 5 4 4 12 4 5 4 4 5 5 5 4 3 5 4 5 4 5 13 4 3 3 4 3 4 3 5 4 5 4 4 4 4 14 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 15 5 5 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 4 5 16 3 4 4 5 4 3 3 5 5 4 3 4 4 4 17 4 5 4 4 4 3 4 5 4 4 4 4 4 4 18 4 5 5 4 4 5 5 5 5 5 5 5 5 5 19 4 4 5 4 3 3 3 5 4 4 4 4 3 3 20 4 4 3 4 5 5 5 4 4 4 3 4 4 4 ̅ 4.50 4.65 4.50 4.30 4.20 4.45 4.55 4.75 4.60 4.70 4.25 4.45 4.35 4.45 . 0.61 0.59 0.69 0.47 0.62 0.76 0.76 0.44 0.60 0.47 0.72 0.60 0.67 0.69 ระดับ ความ พึง พอใจ มาก มาก ที่สุด มาก มาก มาก มาก มาก มาก ที่สุด มาก ที่สุด มาก ที่สุด มาก มาก มาก มาก
81 ภาคผนวก ค กรอบแนวคิดและแผนการจัดการเรียนรู้ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างกรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับในการออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะแบบ 5E ร่วมกับการใช้เกม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม โดยมีรายละเอียดของกรอบแนวคิดและแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ (หน้าถัดไป)
82 กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา วิชา ชีววิทยา 2 หน่วยการเรียนรู้ที่2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จำนวนคาบ 14 คาบ แผนการเรียนรู้เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น ม.4 สัปดาห์ที่ ........ คาบที่ ........ วันที่ ........ เดือน ........................... พ.ศ. ........... มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปผลการทดลองของเมนเดล 2. อธิบาย และสรุปกฎแห่งการแยก และกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ และนำกฎของเมนเดลไป อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและใช้ในการคำนวณโอกาสในการเกิดฟีโนไทป์และจีโนไทป์แบบ ต่าง ๆ ของรุ่น F1 และ F2 3. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ที่เป็นส่วน ขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล 8. สรุปความสัมพันธ์ระหว่างสารพันธุกรรมแอลลีล โปรตีน ลักษณะทางพันธุกรรม และเชื่อมโยงกับ ความรู้เรื่องพันธุศาสตร์เมนเดล สาระสำคัญ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้เมนเดลศึกษา การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา จนสรุปเป็นกฎการแยกและการรวมกลุ่มอย่าง อิสระ กฎการแยกมีใจความว่า แอลลีลที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากการกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดย เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะมีเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่งกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระมีใจความว่า หลังจากคู่ของ แอลลีลแยกออกจากกัน แต่ละแอลลีลจะจัดกลุ่มอย่างอิสระกับแอลลีลอื่นๆ ที่แยกออกจากคู่เช่นกันไปอยู่ในเซลล์ สืบพันธุ์ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะให้อัตราส่วนที่แตกต่างจากผลการศึกษาของเมนเดล เรียกลักษณะเหล่านี้ว่า ลักษณะพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของเมนเดล เช่น ความเด่นไม่สมบูรณ์ความเด่นร่วม มัลติเพิลแอลลีล ลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่ การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศ
83 ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะมีความแตกต่างชัดเจน เช่น การมีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู ซึ่งเป็น ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันต่อเนื่อง แต่บางลักษณะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยและลดหลั่นกันไป เช่น ความสูงและสีผิวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่ ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผัน ต่อเนื่องและสิ่งแวดล้อมอาจมีผลต่อการแสดงออกลักษณะนั้น โครโมโซมภายในเซลล์ร่างกายแบ่งเป็นออโตโซมและโครโมโซมเพศ ยีนบนโครโมโซมจะถ่ายทอดสู่รุ่น ถัดไปผ่านเซลล์สืบพันธุ์ ลักษณะทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยยีนบนออโตโซม ซึ่งทำให้โอกาสในการ แสดงลักษณะในเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน สาระการเรียนรู้ 1. การศึกษากฎของเมนเดล 1.1 กฎการแยก 1.2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอิสระ 2. ลักษณะพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของเมนเดล 2.1 การผสมหลายลักษณะ 2.2 มัลติเพิลแอลลีล 2.3 ลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่ 2.4 การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการคิด 2. ความสามารถในการแก้ปัญหา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
84 แผนจัดการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ตารางที่ 1ค : แสดงรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แผนจัดการ เรียนรู้ เนื้อหา วัตถุประสงค์ ชั่วโมง เวลา 1 การศึกษากฎของเมน เดล - กฎการแยก - กฎแห่งการรวมกลุ่ม อิสระ 1. อธิบายการศึกษาของเมนเดลได้(K) 2. บอกขั้นตอนการศึกษาของเมนเดลได้(K) 3. บอกประโยชน์ของการศึกษาของเมนเดลได้(P) 4. อธิบายความสำคัญของกฎของการแยกและการรวมกลุ่มอย่างอิสระ ได้(K) 5. บอกขั้นตอนของกฎของการแยกและการรวมกลุ่มอย่างอิสระได้(K) 6. นำเสนอขั้นตอนของกฎของการแยกและกระบวนการการรวมกลุ่ม อย่างอิสระได้(P) 3 2 การผสมหลายลักษณะ 1. บอกความหมายของการผสม 2 ลักษณะได้(K) 2. อธิบายขั้นตอนการผสม 2 ลักษณะได้(K) 3. อธิบายความหมายของลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้(K) 4. บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้(K) 5. อธิบายความหมายของลักษณะเด่นร่วมได้(K) 6. บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่นร่วมได้(K) 7. แสดงวิธีการผสม 2 ลักษณะโดยใช้ตารางพันเนตต์ได้(P) 8. แสดงวิธีการทดสอบลักษณะเด่นร่วมได้(P) 9. แสดงวิธีการทดสอบลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้(P) 3 3 มัลติเพิลแอลลีล 1. อธิบายความหมายของมัลติเพิลแอลลีลได้(K) 2. บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเป็นมัลติเพิลแอลลีลได้(K) 3. แสดงวิธีการทดสอบมัลติเพิลแอลลีลได้(P) 2 4 ลักษณะควบคุมด้วยยีน หลายคู่ 1. อธิบายความหมายของลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ได้(K) 2. บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ได้ (K) 3. แสดงวิธีการทดสอบลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนหลายคู่ได้(P) 3 5 การถ่ายทอดยีนบน โครโมโซมเพศ 1. อธิบายความหมายของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบนโครโมโซม เพศได้(K) 2. บอกลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบนโครโมโซมเพศได้ (K) 3. ยกตัวอย่างการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบนโครโมโซมเพศได้(P) 3
85 ภาระงาน 1. ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การสืบค้นข้อมูลหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2. ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง คำศัพท์ที่ควรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์ 3. ใบกิจกรรมที่ 3 เรื่อง การผสมหลายลักษณะ 4. ใบกิจกรรมที่ 4 เรื่อง มัลติเพิลแอลลีล 5. ใบกิจกรรมที่ 5 เรื่อง ลักษณะควบคุมด้วยยีนหลายคู่ 6. ใบกิจกรรมที่ 6 เรื่อง การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมเพศ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 1. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 2. ใบความรู้เรื่องพันธุศาสตร์ และใบกิจกรรม 3. Power Point เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 4. บอร์ดเกม วันหนึ่งฉันชื่อเมนเดล 5. เว็บไซต์wordwall.net และแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์ได้แก่ เว็บไซต์ต่าง ๆ 6. หนังสือชีววิทยาชชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 สสวท. การวัดและประเมินผล 1. กรอบการวัดและประเมินผล กำหนดกรอบการวัดและประเมินผลดังตาราง ตารางที่ 2ค : แสดงกรอบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ( ด้าน ) ประเด็นที่วัดและประเมินผล วิธีการวัดผล เครื่องมือวัดผล ด้านความรู้ความเข้าใจ (K) อธิบายการศึกษาของเมนเดลได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 1 บอกขั้นตอนการศึกษาของเมนเดลได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 1 อธิบายความสำคัญของกฎของการแยกและการ รวมกลุ่มอย่างอิสระได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 1 บอกขั้นตอนของกฎของการแยกและการรวมกลุ่ม อย่างอิสระได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 1 บอกความหมายของการผสม 2 ลักษณะได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 2 อธิบายขั้นตอนการผสม 2 ลักษณะได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 อธิบายความหมายของลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 2 อธิบายความหมายของลักษณะเด่นร่วมได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3
86 ตารางที่ 2ค : แสดงกรอบการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (ต่อ) จุดประสงค์การเรียนรู้ ( ด้าน ) ประเด็นที่วัดและประเมินผล วิธีการวัดผล เครื่องมือวัดผล บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่นร่วมได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 อธิบายความหมายของลักษณะเด่นร่วมได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 2 บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเป็นมัลติเพิล แอลลีลได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 4 อธิบายความหมายของลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน หลายคู่ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 5 บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่ควบคุม ด้วยยีนหลายคู่ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 5 อธิบายความหมายของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม บนโครโมโซมเพศได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 6 บอกลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบน โครโมโซมเพศได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 6 ด้านทักษะกระบวนการ (P) บอกประโยชน์ของการศึกษาของเมนเดลได้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม นำเสนอขั้นตอนของกฎของการแยกและ กระบวนการการรวมกลุ่มอย่างอิสระได้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม แสดงวิธีการทดสอบลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 แสดงวิธีการทดสอบลักษณะเด่นร่วมได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 แสดงวิธีการผสม 2 ลักษณะโดยใช้ตารางพันเนตต์ ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 3 แสดงวิธีการทดสอบมัลติเพิลแอลลีลได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 4 แสดงวิธีการทดสอบลักษณะที่ควบคุมด้วยยีน หลายคู่ได้ การตอบคำถาม ใบกิจกรรมที่ 5 ยกตัวอย่างการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบน โครโมโซมเพศได้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม ด้านคุณลักษณะอันพึง ประสงค์(A) นักเรียนตั้งใจเรียนและมีความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรม
87 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ว 30242 ชีววิทยา2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ระดับชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ 2 แผนการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาของเมนเดล จำนวน 3 คาบ/สัปดาห์ ผู้สอน นางสาวปิยธิดา อภิชัย โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคม เวลา 2 คาบ วันที่ ............. เดือน ................... พ.ศ. .................. คะแนนเก็บของหน่วย 15 คะแนน มาตรฐานการเรียนรู้ 2. เข้าใจการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม สมบัติ และหน้าที่ของสาร พันธุกรรม การเกิดมิวเทชัน เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ หลักฐาน ข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต ภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก การเกิดสปีชีส์ใหม่ ความหลากหลายทางชวีภาพ กำเนิดของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และอนุกรมวิธาน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการเรียนรู้ 11. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปผลการทดลองของเมนเดล จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการศึกษาของเมนเดลได้ (K) 2. บอกขั้นตอนการศึกษาของเมนเดลได้ (K) 3. บอกประโยชน์ของการศึกษาของเมนเดลได้ (P) 4. ตั้งใจเรียนและมีความรับผิดชอบ (A) สาระสำคัญ/ ความคิดรวบยอด สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้ เมนเดล ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา จนสรุปเป็นกฎการแยกและการรวมกลุ่ม อย่างอิสระ กฎการแยกมีใจความว่า แอลลีลที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากการกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะมีเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่งกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระมีใจความว่า หลังจากคู่ ของ แอลลีลแยกออกจากกัน แต่ละแอลลีลจะจัดกลุ่มอย่างอิสระกับแอลลีลอื่นๆ ที่แยกออกจากคู่เช่นกันไปอยู่ ในเซลล์สืบพันธุ์ สาระการเรียนรู้ 1. ประวัติของเมนเดล 2. การศึกษาของเมนเดล
88 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 3. ความสามารถในการคิด 4. ความสามารถในการแก้ปัญหา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. ความสามารถในการสื่อสาร 5. ความสามารถในการคิด 6. ความสามารถในการแก้ปัญหา กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้วิธีการสอนแบบ 5E ขั้นที่1 สร้างความสนใจ (Engagement) 1. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน โดยคำถามต่อไปนี้ - กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสามารถส่งผ่านทางกระบวนการใด (กระบวนการสืบพันธุ์) - นักวิทยาศาสตร์ท่านใดที่เป็นบิดาของพันธุศาสตร์ (เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล) - เพราะเหตุใดเมนเดลจึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดของพันธุศาสตร์ (เมนเดล อธิบาย กระบวนการส่งต่อทางพันธุกรรมได้ โดยทำให้เกิดกฎขึ้น 2 ข้อ นั้นคือกฎของเมนเดล) 2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ขั้นที่2 สำรวจและค้นหา (Exploration) 1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกันในหัวข้อ “การศึกษาของเมนเดล” 2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 6 คน ร่วมกันศึกษาค้นคว้า เรื่อง การศึกษาของเมนเดล ในแหล่ง เรียนรู้ต่างๆ โดยใช้คำถามนี้เป็นแนวทาง - หลักการที่เมนเดลใช้ในการศึกษากระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม - ประวัติของเมนเดล - กฎของเมนเดล (พิจารณาคำตอบของผู้เรียนในแต่ละแหล่งข้อมูล) 3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การสืบค้นข้อมูลหลักการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม ขั้นที่3 อธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 1. ประวัติของเมนเดล - เป็นบาทหลวง และนักพฤกษศาสตร์ - ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาของพันธุศาสตร์”
89 - โดยการศึกษาถั่วลันเตา 7 ลักษณะ 2. การศึกษาของเมนเดล - เมนเดล เลือกศึกษาถั่วลันเตาเพราะเป็นพืชดอกที่เกิดการปฎิสนธิด้วยตัวเอง ทำให้สามารถ ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ - ผลการศึกษาของเมนเดล ในรุ่น F2 อัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่น : ลักษณะด้อย = 3 : 1 ขั้นที่4 ขยายความรู้(Elaboration) 1. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปการศึกษาของเมนเดลในรูปแบบที่น่าสนใจ พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2. นักเรียนนักเรียนเล่นบอร์ดเกมส์ ขั้นที่5 ประเมิน (Evaluation) 1. นักเรียนตรวจสอบหรือประเมินขั้นตอนต่าง ๆ ที่เรียนมาในวันนี้มีจุดเด่น จุดบกพร่องอะไรบ้าง มี ความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องใด สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ 1. สื่อ Power Point เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 2. หนังสือ สสวท ชีววิทยา เล่ม 2 3. แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย
90 ชิ้นงานหรือภาระงาน 1. ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การวัดและประเมินผล 1. กรอบการวัดและประเมินผล กำหนดกรอบการวัดและประเมินผลดังตาราง ตารางที่3ค : แสดงกรอบการวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน ด้านความรู้ความเข้าใจ (K) 1. อธิบายการศึกษาของเมนเดลได้ (K) 2. บอกขั้นตอนการศึกษาของเมนเดลได้ (K) ใบกิจกกรมที่ 1 เรื่อง การ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แบบประเมินใบงาน ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ ด้านทักษะกระบวนการ (P) 1. บอกประโยชน์ของการศึกษาของเมน เดลได้ (P) การสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียน แบบประเมินพฤติกรรม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) 1. นักเรียนตั้งใจเรียนและมีความ รับผิดชอบ การสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียน แบบประเมินพฤติกรรม ระดับคุณภาพ 2 ผ่าน เกณฑ์
91 2. เกณฑ์การประเมิน 2.1 เกณฑ์การประเมินคะแนนรูบริค (Rubric Score) ใช้เกณฑ์ประเมินโดยเขียนตัวรูบริค แบบแยกให้คะแนนเป็นรายข้อ (Analytical Rubric Score) ดังตาราง ตารางที่4ค : แสดงเกณฑ์การประเมินคะแนนรูบริคเขียนโดยเขียนตัวรูบริคแบบแยกให้คะแนนเป็นรายข้อ ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การให้ระดับคุณภาพ ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1) ด้านความรู้ (K) ความถูกต้อง สมบูรณ์ เนื้อหาถูกต้องตรงตามหัวข้อเรื่อง เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนรายละเอียด ครอบคลุมและมีความสอดคล้องกัน เนื้อหาถูกต้องตรงตามหัวข้อ เรื่อง บางรายละเอียดยังไม่ ครอบคลุม เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อเรื่อง รายละเอียดไม่ครบถ้วนและไม่ สอดคล้องกัน ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาดเรียบร้อยไม่มีรอย ขีดฆ่า มีการ ขีดเส้นคั่น ขีดเส้นใต้ชัดเจน สะอาดเรียบร้อยไม่มีรอย ขีดฆ่า มีรอย ขีดฆ่า ไม่มีการขีดเส้นคั่น หรือการขีดเส้นใต้ การใช้ภาษา มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้องประโยค สอดคล้องกับ เนื้อหา สะกดคำถูกต้อง มี การเว้นวรรคโดยไม่ฉีกคำ มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ประโยคสอดคล้องกับเนื้อหา ประโยคไม่สอดคล้องกับเนื้อหา สะกดคำถูกต้อง ไม่มีการเว้น วรรคโดยฉีกคำ ด้านทักษะกระบวนการ (P) ใบงานที่ 2.1 1. การวางแผนค้นคว้า ข้อมูลจากแหล่งการ เรียนรู้ วางแผนที่จะค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งการ เรียนรู้ที่หลากหลายเชื่อถือได้และมีการ เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม แสดงให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ของวิธีการทั้งหมด วางแผนที่จะค้นคว้าข้อมูลจาก แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเหมาะสมแ ต ่ ไ ม ่ ม ี ก า ร เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม วางแผนที่จะค้นคว้าข้อมูลจาก แหล่งการเรียนรู้โดยมีครูหรือ ผู้อื่นแนะนำบ้าง 2. การเก็บรวบรวม ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่กำหนดทุก ประการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยคัดเลือก และ/หรือประเมินข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยไม่มีการ คัดเลือกและ/หรือประเมินข้อมูล 3. การจัดกระทำ ข้อมูลและการ นำเสนอ จัดกระทำข้อมูลอย่างเป็นระบบมีการ เชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม และนำเสนอ ด้วยแบบต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกต้อง จัดกระทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการจำแนกข้อมูลให้เห็น ความสัมพันธ์ นำเสนอด้วยแบบ ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง จัดกระทำข้อมูลอย่างเป็นระบบ มียกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย และนำเสนอด้วยแบบต่าง ๆ แต่ ยังไม่ถูกต้อง ด้านเจตคติ (A) 1. มีความตั้งใจเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรม ตั้งใจเรียน เอาใจใส่ และมีความเพียร พยายามในการเรียนรู้ ตั้งใจเรียน เอาใจ ใส่และมีความ เพียรพยายามใน การเรียนรู้ ไม่ค่อยตั้งใจเรียน เอาใจใส่และมี ความเพียรพยายามในการ เรียนรู้ 2. ส่งงานตามกำหนด มีความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่องาน ส่งงานตรงต่อ เวลาที่กำหนด ส่งงานไม่ตรงเวลา ไม่ส่งงานที่ได้รับหมอบหมาย
92 2.2 เกณฑ์กำหนดระดับมาตรฐานผลการเรียนรู้กำหนดเกณฑ์แบบแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละด้านกำหนดระดับมาตรฐาน ผลการเรียนรู้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับดีมาก ระดับดี ระดับพอใช้ และระดับต้องปรับปรุง แต่ละระดับมาตรฐาน กำหนดเกณฑ์การประเมินจากคะแนนรูบริคเต็ม ดังนี้ มีคะแนนรูบริคอย่างน้อยร้อยละ 85 - 100 ของคะแนนเต็ม มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระดับ ดีมาก มีคะแนนรูบริคร้อยละ 60 - 84 ของคะแนนเต็ม มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระดับ ดี มีคะแนนรูบริคร้อยละ 50 - 59 ของคะแนนเต็ม มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระดับ พอใช้ มีคะแนนรูบริคน้อยกว่าร้อยละ 49ของคะแนนเต็ม มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระดับ ต้องปรับปรุง 2.3 เกณฑ์ประเมินผลผ่านการเรียนรู้ ใช้เกณฑ์ประเมินแบบแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละด้านกำหนดเกณฑ์ประเมินผ่านผลการเรียนรู้ โดยอิงระดับมาตรฐานผลการเรียนรู้ดังนี้ ระดับบุคคล นักเรียนต้องมีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตั้งแต่ระดับมาตรฐาน ดีถือว่าผ่านการประเมิน (ประกันผลการเรียนรู้ของนักเรียน) ระดับชั้นเรียน มีจำนวนนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 ของจำนวนทั้งหมด มีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตั้งแต่ ระดับมาตรฐาน ดี ถือว่าการจัดประสบการณ์เรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ (ประกันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู) 2.4 เกณฑ์การตัดสินคะแนนเก็บ จำนวนคะแนนที่เก็บ........คะแนน จากคะแนนรวมทั้งหมด 24คะแนน เกณฑ์การคิดคะแนนเก็บคำนวณดังนี้ จำนวนคะแนนเก็บของนักเรียน = จำนวนคะแนนจากการวัดและประเมินผล × จำนวนคะแนนเก็บของแผน จำนวนคะแนนเต็มจากทุกกิจกรรมรวมกัน
93 แบบประเมินคุณภาพด้านความรู้ (K) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คำชี้แจง ตรวจคำตอบของผู้เรียนจากใบกิจกรรมและให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนน พร้อมบันทึกคะแนน ลงแบบบันทึก เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพด้านความรู้ ประเด็นการ ประเมิน เกณฑ์การให้ระดับคุณภาพ ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1) 1. ความถูกต้อง สมบูรณ์ เนื้อหาถูกต้องตรงตามหัวข้อเรื่อง เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด รายละเอียดครอบคลุมและมี ความสอดคล้องกัน เนื้อหาถูกต้องตรงตามหัวข้อเรื่อง บางรายละเอียดยังไม่ครอบคลุม เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อเรื่อง รายละเอียดไม่ครบถ้วนและไม่ สอดคล้องกัน 2. ความเป็น ระเบียบ เรียบร้อย สะอาดเรียบร้อยไม่มีรอย ขีดฆ่า มีการขีดเส้นคั่น ขีดเส้นใต้ชัดเจน สะอาดเรียบร้อยไม่มีรอย ขีดฆ่า มีรอย ขีดฆ่า ไม่มีการขีดเส้นคั่นหรือ การขีดเส้นใต้ 3. การใช้ภาษา มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ประโยคสอดคล้องกับ เนื้อหา สะกดคำถูกต้อง มีการเว้นวรรค โดยไม่ฉีกคำ มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง ประโยคสอดคล้องกับเนื้อหา ประโยคไม่สอดคล้องกับเนื้อหา สะกดคำถูกต้อง ไม่มีการเว้นวรรค โดยฉีกคำ เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 9 ดีมาก 8- 6 ดี 5 - 3 พอใช้ ต่ำกว่า 3 ปรับปรุง ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การตัดสินคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีจึงจะผ่านการประเมินทักษะกระบวนการ
94 แบบบันทึกคะแนนด้านความรู้(K) กลุ่ม เลขที่ ชื่อ - สกุล ประเด็นประเมิน (รายการประเมินข้อที่) รวม คะแนน ระดับ คุณภาพ ผลการ ประเมิน ความถูกต้อง สมบูรณ์ (3 คะแนน) ความเป็น ระเบียบ เรียบร้อย (3 คะแนน) การใช้ภาษา (3 คะแนน) 3 2 1 3 2 1 3 2 1 ลงชื่อ.............................................ผู้ประเมิน ……......../……............./…….........