หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชน
ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ณ พระรักษ์
คำนำ
หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อทำเป็นหนังสือตำบลของวิศวะกรสังคม ตำบลพระ
รักษ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตำบล พระรักษ์
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพรซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานตำบล
พระรักษ์โครงสร้างของชุมชนโครงสร้างเศรษฐกิจ และอาชีพสถานที่สำคัญการ
วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน หนังสือเล่มนี้สามารถดำเนินการจนประสบความสำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ และการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก
ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่าแก่คณะผู้จัดทำเพื่อให้คำปรึกษาและ
แนะนำตลอดจนตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งจน
หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
มา ณ ที่นี้
ขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือและให้กำลังใจในการทำหนังสือครั้งนี้จน
ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำบลตลอดจนอำนวยความสะดวกในการลงพื้น
ที่รวมทั้งประสบการณ์ดีดีที่ได้ทำร่วมกับชุมชนขอขอบคุณวิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์
ที่มอบความรู้อันเป็นประโยชน์ทั้งประสบการณ์ดีดีในการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์
ตำบลพระรักษ์
วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า
เรื่อง 1
2
ประวัติความเป็นมา 3
ขนาดและพื้นที่ 4
ขนาดที่ตั้ง 4
ลักษณะภูมิประเทศ 5
ลักษณะภูมิอากาศ 6
การคมนาคม 7
แม่น้ำสำคัญ 8
ทรัพยากรธรรมชาติ 9
เขตการปกครอง 10
ตารางแสดงเขตการปกครอง 11-12
ประชาชน 13-14
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 1 บ้านพระรักษ์ 15-16
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 2 บ้านคลองราง 17-18
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนกซอย 2 19-20
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 4 บ้านน้ำยืน 20-22
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 5 บ้านโหมง 23-25
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 6 บ้านพูลสุข 26-27
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก 28-29
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 8 บ้านไร่ยาว
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 9 บ้านจำปุย
สารบัญ
เรื่อง หน้า
หน่วยธุรกิจในเขตโองการบริหารส่วนตำบล 30
สถาพสังคม 31
การบริหารพิ้นฐาน 33
ข้อมูลอื่นๆ 35
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล 36
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ 40
ความเชื่อประเพณีและพิธีกรรม 41
อัตลักษณ์ (ที่โดนเด่น) 42
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจ 43
สถานที่สำคัญ 43
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม 44
การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 45
การประเมินสถานะการสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง 47
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างรายได้ใหม่ (การยกระดับสินค้า 50
O-Top / อาชีพอื่นๆ
สร้างและการพัฒนา Creative economi (การยกะดับ 52
การท่องเที่ยว)
เส้นทางการท่องเที่ยวตำบลพระรักษ์ 53
รายชื่อคณะผู้จัดทำ 54
หน้า 1
ประวัติความเป็นมา
ชุมชนตำบลพระรักษ์ เป็นหนึ่งใน 4 ตำบลของอำเภอพะโต๊ะ ที่มีเทือกเขาสลับซับ
ซ้อนทอดเป็นแนวยาว ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน ซึ่งมีนายนุ้ย
นุ้ยรัตน์เป็น ผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มของราษฎร ที่เข้ามาจับจองที่ดินทำกิน
มากขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลปังหวานมีหมู่บ้านในความปกครอง 15 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ.
2534 จึงมีการแยกพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลปังหวาน 8 หมู่บ้าน ตั้งเป็นตำบลพระ
รักษ์ โดยมีกำนันคนแรกคือ นายทองอยู่ แก้วเจริญ ตำบลพระรักษ์ แบ่งการ
ปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลพระรักษ์ มาจากหลายๆ ที่
เช่น ประชาชนในจังหวัดทางภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น นครปฐม ราชบุรี
เพชรบุรี อพยพมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2512 และประชาชนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ.เกาะสมุย จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ เนื่องจากในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ของ
ตำบลพระรักษ์ เป็นพื้นที่ป่าสงวน ที่ขาดการดูแลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้มีการบุ
รุกพื้นที่ป่ากันอย่างกว้างขวาง เพราะมีการคมนาคมสะดวกขึ้นเนื่องจากทางหลวง
สายหลังสวน – ราชกรูด ได้สร้างแล้วเสร็จมีรถประจำทางวิ่งระว่างอำเภอเหลังสวน
– อำเภอพะโต๊ะ, จังหวัดระนอง – จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านที่เพิ่งจัดตั้งใหม่เมื่อปี
2544 คือหมู่ที่ 9 บ้านจำปุย ตำบลพระรักษ์ มีพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำหลังสวน
หน้า 2
ขนาดและพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ ตั้งอยู่เลขที่ 74 หมู่ 4 ตำบลพระรักษ์ อำเภอ
พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์เป็นหนึ่งในจำนวน 4
องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอพะโต๊ะ อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอ
พะโต๊ะ การติดต่อกับอำเภอพะโต๊ะใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน สายหลังสวน – ราช
กรูด ระยะทาง 20 กิโลเมตร
.
ภาพที่1 แผนที่ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ที่มา : https://goo.gl/maps/nDeq7c17YWbj9DGcA
หน้า 3
ขนาดที่ตั้ง
พื้นที่ทั้งหมด 142 ตารางกิโลเมตร 88,750 ไร่
อาณาเขต ตำบลพระรักษ์ตั้งอยู่ในอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ห่างจากอำเภอ
พะโต๊ะ ไปทางทิศตะวันออก 17 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดชุมพร ไปทางทิศตะวันตก
เฉียงใต้ 94 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 4006 มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่
อกับ อ ำเภอละอุ่นจังหวัดระนอง
ทิศใต้
ติดต่อกับ ต ำบลทุ่งคาวัด
อำเ
ภอละแมจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก
ติดต่อก
ับ ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัด
ชุมพร
ทิศตะวันตก
ติดต่อก
ับ ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร
ลักษณะภูมิประเทศ หน้า 4
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูง ภาพที่ 2 ภาพมุมสูงแม่น้ำไหลผ่านที่รีสอร์ทอีโค่โลจิค
ชันมีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาต่อกันเป็น ที่มา : http://bestiewanderer.com
แนวยาวสลับซับซ้อน มีห้วยลำธารมาก มีแม่น้ำ
สายใหญ่ไหลผ่าน คือแม่น้ำหลังสวน มีที่ราบ
เล็กน้อย ได้แก่พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่ม
ริมแม่น้ำ พื้นที่ที่เป็นที่ราบที่ใช้ทำการเพาะปลูก
มีน้อย ส่วนมากเป็นที่ราบแถบเชิงเขาและที่ราบ
ลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเหล่านี้เหมาะแก่การเพาะปลูก
อย่างยิ่ง เพราะมีปุ๋ยในดินอย่างอุดมสมบูรณ์
พื้นที่ป่าสงวนเป็นป่าดิบชื้นส่วนมากขึ้นอยู่ตาม
ที่ราบเชิงเขาและบนภูเขาสูง ลำน้ำที่สำคัญคือ
แม่น้ำหลังสวนซึ่งมีต้นน้ำจากภูเขายายหม่น ซึ่ง
เป็นเขากั้นแดนระหว่างอำเภอพะโต๊ะกับอำเภอ
เมืองระนอง
ลักษณะภูมิอากาศ
ภาพที่ 3 สภาพภูมิอากาศ ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ที่มา : http://bestiewanderer.com เป็นเขตที่ไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้มี
ฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ -
กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนมรสุมหลัง
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม
- กลางเดือนธันวาคมซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวัน
ตกเฉียงใต้ จากทะเลอันดามัน เป็นมวลอากาศที่มี
ความชื้นสูง และเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออก
เฉียงเหนือจึงทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดพื้นที่จังหวัด
หน้า 5
การคมนาคม
การคมนาคมสะดวกขึ้นเนื่องจากทางหลวงสายหลังสวน – ราชกรูด ได้
สร้างแล้วเสร็จมีรถประจำทางวิ่งระหว่างอำเภอเหลังสวน–อำเภพะโต๊ะ,จังหวัด
ระนอง – จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีถนนในหมู่บ้านทั้งหมด 92 สาย สะพาน 8 แห่ง
หน้า 6
แม่น้ำสำคัญ จำนวน1 สาย
จำนวน 20 แห่ง/สาย
จำนวนแม่น้ำที่ไหลผ่าน คือ แม่น้ำหลังสวน
จำนวนห้วย/หนอง/คลอง/บึง
มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน
ภาพที่ 4 แม่น้ำหลังสวนที่ไหลผ่านตำบลพระรักษ์
ที่มา : https://goo.gl/maps/KfVbDANDqWt7B4kY6
หน้า 7
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ ได้แก่
ทรัพยากรป่าไม้
หน้า 8
เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน
ได้แก่
หมู่ 1 บ้านพระรักษ์
หมู่ 2 บ้านคลองราง
หมู่ 3 บ้านคลองเหนก ซ.2
หมู่ 4 บ้านน้ำยืน
หมู่ 5 บ้านโหมง
หมู่ 6 บ้านพูลสุข
หมู่ 7 บ้านเขาช่องแบก
หมู่ 8 บ้านไร่ยาว
หมู่ 9 บ้านจำปุย
หน้า 9
ตารางแสดงเขตการปกครอง
ผู้นำท้องถิ่น/สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
หมู่ นายสมศักดิ์ จิตจร เบอร์โทร 093-9597010 นายไตรรัตน์ บัวอินทร์ เบอร์โทร 087-4705470
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน นายกฤตชัย พฤกษามุก เบอร์โทร 080-0795471
ที่ 1 บ้านพระรักษ์
สมาชิก สภา อบต.
หมู่
นายวิทยา จันทร์เกลี้ยง เบอร์โทร 089-5930930 นางอรวรรณ หนูยัง เบอร์โทร086-2752593
ที่ 2 บ้านคลองราง
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นายชำนาญ เรืองนาค เบอร์โทร 089-5884200 นายอโณทัย ศร ทอง เบอร์โทร 086-2748102
ที่ 3 บ้านคลองเหนก ซ.2 กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน นายวิเชียร ภู่ระหงษ์ เบอร์โทร 086-0564169
สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นางสายชล อินทร์ทอง เบอร์โทร 089-9093694 นายสำราญ แก้วหนองฮี เบอร์โทร 089-8034707
กำนัน / ผู้ให
ญ่บ้าน นายสมชาย คงมีศรี เบอร์โทร 087-8848730
ที่ 4 บ้านน้ำยืน
สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นายยงยุทธ ทวิชศรี
เบอร์โทร 087-8840753
ที่ 5 นายสุนันต์ ศักดิ์แสง เบอร์โทร 0954939247
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน นายสมชัย พรมคณะ เบอร์โทร 083-3912321
สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นายประภาส ขวัญราช เบอร์โทร 089-9737187 นายสากล ขวัญราช เบอร์โทร 086-2693045
ที่ 6 บ้านพูลสุข นายฉลอง อินทร์มณี เบอร์โทร 086-2702032
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก สภา อบต.
ที่ 7บ้านเขาช่องแบกหมู่ นายเชาวลิต ยังสถิตย์ เบอร์โทร 094-2262110
นายเชาวลิต ยังสถิตย์ เบอร์โทร 094-2262110
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน นายวินัย นามวงศ์ เบอร์โทร 086-2693854
สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นายเกชา พุ่มแย้ม เบอร์โทร 080-7178851
ที่ 8 บ้านไร่ยาว นายถาวร ศรีล่า เบอร์โทร 084-4467751 นางชนาภา จันตระกูล เบอร์โทร 081-2703524
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก สภา อบต.
หมู่ นายไพโรจน์ กล่อมหาดยาย เบอร์โทร 085-7874326 นายอุดร ยังสถิตย์ เบอร์โทร 087-8963249
ที่ 9 กำนัน / ผู้ให
ญ่บ้าน นายไพโรจน์ รอดบัวทอง เบอร์โทร 085-4765763
สมาชิก สภา อบต.
ประชาชน หน้า 10
ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 4,648 คน แยกเป็นประชากรชาย 2,344 คน
ประชากรหญิง 2,304 คน
จำนวนครัวเรือน 2,201 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 31.24 คน/
ตารางกิโลเมตร
ชาย 2,344 คน
รวม 4,648 คน
หญิง 2,304 คน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวน จำนวนประชากร
ครัวเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านพระรักษ์
หมู่ที่ 2 หญิง ชาย รวม
หมู่ที่ 3 บ้านคลองราง 323 392 288 590
หมู่ที่ 4 154 143 150 293
หมู่ที่ 5 บ้านคลองเหนก ซ.2 213 303 274 577
หมู่ที่ 6 บ้านน้ำยืน 244 265 266 531
หมู่ที่ 7 384 350 387 737
หมู่ที่ 8 บ้านพูลสุข 193 217 224 441
หมู่ที่ 9 บ้านเขาช่องแบก 109 147 149 296
363 349 369 718
บ้านไร่ยาว 218 228 237 465
รวม 2,304 2,344 4,648
ที่มา: สำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอพะโต๊ะ
ข้อมูล ณ เดือน กรกฎาคม 2562
หน้า 11
ประวัติความเป็นมาของหมู่ 1 บ้านพระรักษ์
ก่อนที่จะเป็นหมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวานโดยมีผู้ใหญ่
นุ้ย นุ้ยรัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ.2533 ได้แยกมาเป็นหมู่ที่ 1 พระรักษ์ โดยมีนายวิมล
คงสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ.2533 ได้แยกมาเป็น หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์ โดยมี
นายวิมล คงสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
พื้นที่ทั้งหมด 6,550 ไร่
อาณาเขต
บ้านพระรักษ์ หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจาก
ที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 15 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ตำบลพระรักษ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 13 ตำบลพะโต๊ะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนหลังสวน-ราชกรูด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ ำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 13
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 2 บ้านคลองราง
ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน โดย มีนายจำรัส เสือช่อ เป็น
กำนัน นายนุ้ย นุ้ยรัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ประมาณปี พ.ศ.2529 ผู้ใหญ่นุ้ย นุ้ยรัตน์ อายุครบ
60 ปี จึงได้พ้นจากการเป็นผู้ใหญ่ หลังจากนั้นทางอำเภอได้มีกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่
บ้านใหม่ ปรากฏว่ามีผู้สมัครรวม 4 คน คือ 1 นายวิมล คงสุวรรณ 2 นายสนิท มณุโชติ 3
นายวิรัตน์ เพรานาสัก 4 นายสนอง บุญเจริญ การเลือกตั้งในครั้งนั้น นายวิมล คงสุวรรณ
ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีการแยกหมู่บ้านจาก หมู่ที่ 4 เดิม
ของตำบลปังหวาน เป็นหมู่ที่ 12 ตำบลปังหวาน ทางอำเภอได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่
บ้านในปี พ.ศ.2531 มีผู้สมัคร 2 คน 1 นายสนิท มณุโชติ 2 นายอุดม ธาดาจร การเลือกตั้งใน
ครั้งนั้น นายสนิท มณุโชติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ปี พ.ศ. 2531 โดยตั้งชื่อเป็น
หมู่บ้านพระรักษ์คลองราง หมู่ที่ 12 ตำบลปังหวาน ต่อมาทางอำเภอได้แยก จากตำบลปัง
หวาน เป็นตำบลพระรักษ์และต่อมามีการเลือกตั้งกำนันของตำบล พระรักษ์ มีผู้สมัคร 4
คน
1. ผู้ใหญ่ทองอยู่ แก้วเจริญ 2. ผู้ใหญ่สนิท มณุโชติ 3. ผู้ใหญ่วิมล คงสุวรรณ
4.ผู้ใหญ่เมธ ทิพย์สมบัติ การเลือกตั้งในครั้งนั้น ผู้ใหญ่ทองอยู่ แก้วเจริญ ได้รับการ
เลือกตั้งเป็น กำนัน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งแต่บัดนั้น
เป็นต้นมา พื้น ที่ทั้งหมด 3,883 ไร่
อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านคลองราง หมู่ที่ 2 ตำบลพระรักษ์ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากที่ พื้นที่ราบเชิงภูเขา ลักษณะดินทั่วไป
ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 17 กิโลเมตร มีอาณาเขต เป็นดินร่วนปนทราย
ติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ท ิศใต้ ติดต่อกับ ถนนหลังสวน-ราชกรูด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ห มู่ที่ 3 ตำบลพระรักษ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์
หน้า 15
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก ซ.2
บ้านคลองเหนก ซอย2 ตำบลพระรักษ์ แต่ก่อนนั้นเดิมเป็นหมู่ที่ 10 ตำบลปังหวาน
เมื่อปี พ.ศ.2534 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านพัฒนาและป้องกันตนเอง เมื่อวัน
ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2528 มีการจัดตั้งหมู่บ้านครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว โดยชาว
นครศรีธรรมราช มาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นส่วนใหญ่ โดยมีผู้ใหญ่บ้าน
คนที่ 1 คือ นายบรรจบ ชูพริก
คนที่ 2 นายสนั่น ทวีรัตน์
คนที่ 3 นายบรรจบ ชูพริก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3
ตำบลพระรักษ์ พื้นที่ทั้งหมด 5,998 ไร่
อาณาเขต
บ้านคลองเหนก ซ.2 หมู่ที่ 3 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่าง
จากที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 18 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลพระรักษ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลปังหวาน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ตำบลพระรักษ์
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปน
ทราย
หน้า 17
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 4 บ้านน้ำยืน
ตำบลพระรักษ์ ตั้งชื่อตามภูมิประเทศด้วยเหตุผลที่ว่า ทิศใต้ของหมู่บ้านมีเทือกเขา
และป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำไหลตลอดทั้งปี แม้ว่าจะเป็นฤดูแล้งก็ตาม แหล่งน้ำดัง
กล่าว ยังไหลตลอดสายให้ชาวบ้านได้ใช้อุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี ชื่อบ้านน้ำยืน ได้ตั้งขึ้น
ประมาณปี พ.ศ. 2532 ตั้งโดยผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 4 คือ นายวิรัตน์ เกลี้ยงเกลา
พื้นที่ทั้งหมด 3,981 ไร่
อาณาเขต
บ้านน้ำยืน หมู่ที่ 4 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากที่
ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 16 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลพระรักษ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถ นนหลังสวน – ราชกรูด
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 19
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 5 บ้านโหมง
ตำบลพระรักษ์ เป็นชุมชนดั้งเดิมอยู่ติดแม่น้ำหลังสวน โดยสมัยก่อนถนนยังไม่มี
การสัญจร ต้องใช้เรือเครื่อง ในการสัญจร หมู่ที่ 5 แยกมาจากหมู่ที่ 4 ตำบลปังหวาน
พ.ศ. 2521 เป็นหมู่ที่ 7 ตำบลปังหวาน ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือนายสวาท ทองนวล เป็นได้
เพียงหนึ่งปีก็เสียชีวิต มาปี พ.ศ.2522 ก็ได้ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือนายวิโรจน์ คุณวุฒิ เป็น
ผู้ใหญ่บ้านได้ 2 ปี ก็มีปัญหาด้านครอบครัวเลยลาออก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2524 ต่อมา
ก็มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่คนใหม่ได้นายทองอยู่ แก้วเจริญ และหลังจากนั้นมีการแบ่งแยก
หมู่บ้านอีกครั้ง เป็นหมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ทั้งหมด 6,043 ไร่
อาณาเขต
บ้านโหมง หมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ
พะโต๊ะ 26 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำหลังสวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ห มู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 ตำบลพระรักษ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 ตำบลพะโต๊ะ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 21
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 6 บ้านพูลสุข
มีพื้นที่ติดกับลุ่มแม่น้ำหลังสวนสองด้าน ด้านที่หนึ่งติดกับคลองเหนก ด้านที่สองติด
กับแนวป่าไม้ที่เป็นธรรมชาติ ประชาชนในหมู่บ้านอาศัยแม่น้ำหลังสวนและลำคลองเป็นเส้น
ทางคมนาคมหลัก ซึ่งมีชื่อแต่ละเชี่ยวแตกต่างกัน พื้นที่ของหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งติดกับเชี่ยวพูล
ต่อมานายแดง และนางสุข ซึ่งมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ตัดถนนผ่านเข้ามาใน
หมู่บ้าน เพื่อลำเลียงท่อนไม้ซุง ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้ถนนเส้นนี้เป็นทางคมนาคม
หลัก แทนการคมนาคมทางน้ำ ดังนั้นนายเพิ่ม ขวัญราช ได้เห็นว่า นายแดง และนางสุข นำ
ความเจริญและความสะดวกสบายมาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ จึงเอาชื่อของนางสุข นำความเจริญ
และความสะดวกสบายมาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ จึงเอาชื่อของนางสุข มารวมกับชื่อของเชี่ยวที่เป็น
สัญลักษณ์ ของหมู่บ้านมารวมกันว่า “หมู่บ้านพูลสุข” และชาวบ้านได้เรียกต่อกันมาเรื่อยๆ
จึงกลายเป็นหมู่บ้านพูลสุข ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ทั้งหมด 3,379 ไร่
อาณาเขต
บ้านพระรักษ์ หมู่ที่ 6 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากที่
ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 20 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลพระรักษ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ แ ม่น้ำหลังสวน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลปังหวาน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลพระรักษ์
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 23
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก
เดิมเป็นพื้นที่ของ หมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์ในปัจจุบันโดยได้แบ่งแยกมาเป็นหมู่ที่ 7
ตำบลพระรักษ์ ในปี พ.ศ.2526 ได้ประชาคม ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเขาช่องแบก” เพราะ
ในหมู่บ้านมีสภาพเป็นป่า และมีต้นตะแบกขึ้นระหว่างช่องทางที่ราษฎรในหมู่บ้านเดิน
ผ่านไปทำมาหากิน โดยอาศัยภูมิประเทศตรงนี้ ตั้งชื่อหมู่บ้านต่อไม่นาน คำว่า “ตะ” ก็
หายไป จึงได้เรียกเพียงว่า “บ้านเขาช่องแบก” เป็นต้นมา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ ผู้ใหญ่
พร้อย นวลศรี ต่อมา ในปี พ.ศ.2544 ผู้ใหญ่พร้อยหมดวาระลงผู้ใหญ่สุทิน นามวงษ์ ได้
รับการเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน คนที่ 2 ปัจจุบัน มีผู้ช่วยสุวรรณ สมดวง ผู้ช่วยประเสริฐ
พรหมสถิต เป็นผู้ช่วยฝ่ายปกครอง และนายสมศักดิ์ ทองนิล เป็นผู้ช่วยฝ่ายรักษา
ความสงบ มีนายธงไชย ขวัญโต นายจิรศักดิ์ ชุยหลง
เป็น อบต.
หมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก เมื่อ 80 ปีก่อน สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นตระกูล “นาม
วงษ์” ซึ่งเป็นตระกูลแรกๆ ที่เข้ามาหักร้างถางป่า ทำมาหากินในแถบนี้ โดยอาศัยสาย
ลำน้ำหลังสวนเป็นเส้นทางลำเลียงเสบียง และลำเลียงพืชผลและผลผลิตทางการเกษตร
โดยใช้เรือ แพ เป็นพาหนะ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตระกูลที่มาอยู่และอาศัยแรกๆ มักอยู่แถบ
ลุ่มแม่น้ำหลังสวน ในปี พ.ศ.2529 บ้านเขาช่องแบก ชาวบ้านได้รวมตัวตัดถนนสายเขา
ช่องแบกได้ดำเนินการในเดือน มีนาคม พ.ศ.2529 โดยมีนายธงไชย ขวัญโต นายมินทร์
ยุตทยานันท์ เป็นหัวหอกใหญ่ มีชาวบ้านในหมู่บ้านทั้งหมดเป็นแนวร่วมค่าใช้จ่ายชาว
บ้านเป็นผู้ออกเองทั้งหมด ต่อมาก็มีซอยบุญมี เกิดขึ้นอีก โดยมี “นายมี กิ่งแก้ว” เป็นคน
จ้างบุกเบิก ปัจจุบันมีสภาพที่ส่วนรวมหลายแห่ง เช่น ประปาผิวดินขนาดใหญ่ สนามกีฬา
ฟุตบอล สนามกีฬาวอลเล่ย์บอล หอประชุม หนึ่งฟาร์ม หนึ่งตำบล สถานที่เหล่านี้ ผู้สุทิน
นามวงษ์ อนุเคราะห์ที่ดิน หมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก จะเห็นได้ว่าจะมีผู้เสียสละ ตั้งแต่ก่อ
ตั้งจนถึงปัจจุบัน
พื้นที่ทั้งหมด 4,444 ไร่
หน้า 24
อาณาเขต
บ้านเขาช่องแบก หมู่ที่ 7 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้ง
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 29 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แ ม่น้ำหลังสวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ห มู่ที่ 8 ตำบลพระรักษ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ตำบลปังหวาน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลพระรักษ์
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วน
ปนทราย
หน้า 26
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 8 บ้านไร่ยาว
แยกมาจาก หมู่ที่ 7 ตำบลปังหวาน ประมาณปี พ.ศ.2534 โดยมีนายสุชิน พวง
ผัก เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก จนถึงเกษียณอายุราชการ จึงมีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่
23 พฤษภาคม 2538 นายจำรัส สามงามเล็ก ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรง ตำแหน่ง
ผู้ใหญ่บ้านและหมดวาระในปี พ.ศ. 2543 ต่อมา นายสามารถ เนียมเปีย ได้รับการ
เลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ระยะเวลา 2 ปี จึงลาออก ปัจจุบันนายถาวร ศรี
ล่า ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน พื้นที่ทั้งหมด
5,140 ไร่
อาณาเขต
บ้านไร่ยาว หมู่ที่ 8 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ห่างจากที่
ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ห มู่ที่ 7 ตำบลพระรักษ์
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ตำบลปังหวาน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 9 ตำบลพระรักษ์
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 28
ประวัติความเป็นมาหมู่ที่ 9 บ้านจำปุย
ตำบลพระรักษ์ เมื่อก่อนนั้นขึ้นอยู่กับบ้านไร่ยาว หมู่ที่ 8 ตำบลพระรักษ์ ต่อมา
เมื่อ พ.ศ. 2544 ได้มีคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทย แยกเป็นหมู่บ้านใหม่ และมีการ
เลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้านผลการเลือกตั้ง ได้นายสุธรรม ยังสถิต เป็นผู้ใหญ่บ้านจำปุย ตั้ง
ปี พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน
พื้นที่ทั้งหมด 4,766 ไร่
อาณาเขต
บ้านจำปุย หมู่ที่ 9 ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพะโต๊ะ 32กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูงลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย
หน้า 30
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ปั้มน้ำมันและก๊าซ 1แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 4 แห่ง
ตลาดนัด 4 แ ห่ง
ตลาดกลางเพื่อการเกษตร1แ ห่ง
ร้านเสริมสวย 6 แ ห่ง
ลานปาล์ม 4 แห่ง
ร้านเคมีภัณฑ์ 6แห่ง
ร้านตัดเสื้อผ้า 1 แ ห่ง
จุดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร 7แห่ง
ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ 4แห่ง
ร้านซ่อมรถยนต์1 แห่ง
ร้านค้าเบ็ดเตล็ด/ขายของชำ 25แห่ง
ร้านอาหาร5 แห่ง
หน้า 31
สภาพสั งคม
1. การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส2 แห่ง ประกอบด้วย
1. โรงเรียนบ้านพระรักษ์ราษฎร์บำรุงตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านพระรักษ์
2. โรงเรียนบ้านโหมงราษฎร์พัฒนาตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านโหมง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำยืนตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านน้ำยืน
2 . ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไร่ยาวตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านไร่ยาว
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน9แ ห่ง
1. บ้านพระรักษ์ห มู่ที่ 1
2. บ้านคลองรางหมู่ที่ 2
3 . บ้านคลองเหนก ซ.2หมู่ที่ 3
4. บ้านน้ำยืนหมู่ที่ 4
5. บ้านในโหมงห มู่ที่ 5
6. บ้านพูลสุขหมู่ที่ 6
7. บ้านเขาช่องแบกหมู่ที่ 7
8. บ้านไร่ยาวหมู่ที่ 8
9. บ้านจำปุยห มู่ที่ 9
หน้า 32
2.สถาบันและองค์การทางศาสนา
วัด จำนวน 2 แห่ง
1. วัดพระรักษ์ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านพระรักษ์
2. วัดบ้านโหมงตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านในโหมง
3. สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจำนวน 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระรักษ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลพระรักษ์
มีเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่
1.1 หมู่ที่ 1 บ้านพระรักษ์
1.2 หมู่ที่ 2 บ้านคลองราง
1.3 หมู่ที่ 3 บ้านคลองเหนก ซอย 2
1.4 หมู่ที่ 4 บ้านน้ำยืน
1.5 หมู่ที่ 6 บ้านพูลสุข
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านในโหมง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลพระรักษ์
มีเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
2.1 หมู่ที่ 5 บ้านโหมง
2 .2 หมู่ที่ 7 บ้านเขาช่องแบก
2 .3 หมู่ที่ 8 บ้านไร่ยาว
2 .4 หมู่ที่ 9 บ้านจำปุย
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ที่พักสายตรวจ 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ข้างศาลาประชุมหมู่บ้าน
ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ 1
ศูนย์
สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
(อปพร.) จำนวน 38 คน
หน้า 33
การบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคม มีถนนในหมู่บ้านทั้งหมด
92 สาย สะพาน 8 แห่ง ประกอบด้วย
ถนนลูกรัง จำนวน 30 สาย
ถนนลาดยาง จำนวน 10 สาย
ถ นนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 50
สาย
ถนนอื่นๆ จำนวน 5 สาย
สะพานคอนกรีต 7 แห่งจ ำนวน 7
แห่ง
ส ะพานไม้ 1 แห่งจำนวน 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ มีเส้น
ทางหลักคือ ถนนหลังสวน – ราชกรูด
ซึ่งมีเส้นทางเดียว ถนนสายดังกล่าว ตัด
ผ่านหมู่ที่ 1,2,3 และ 4 ทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข 4006
หน้า 34
2. การโทรคมนาคม 4. แหล่งน้ำธรรมชาติ
จำนวนแม่น้ำที่ไหลผ่านจำนวน1สาย
ที่ทำการไปรษณีย์ตำบลจ ำนวน 1 จำนวนห้วย/หนอง/คลอง/บึง
จำนวน 20แ ห่ง/สาย
แห่ง
สถานีคมนาคมอื่นๆ ได้แก่
โทรศัพท์สาธารณะ 9 หมู่บ้าน
จำนวน 3 เครื่อง
3. การไฟฟ้า 5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
การไฟฟ้าให้บริการแก่ประชาชนในเขต ฝายพระราชดำริจำนวน 2 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ครบ (หมู่ที่ 3 ฝายคลองเหนก หมู่ที่ 5 ฝายคลอง
ทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน เงิน)
หมู่บ้านที่มีเส้นทางลำบาก ไฟฟ้าที่เข้าไม่
ทั่วถึง จะมีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไว้ ฝายจำนวน7แ ห่ง
ใช้บริการ ซึ่งมีครบทุกหมู่บ้าน ถังทรงเหลี่ยมจ ำนวน5แ ห่ง
สระเก็บน้ำจำนวน10แห่ง
ประปาหมู่บ้านจ ำนวน8 แ ห่ง
(หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7 และ8)
บ่อบาดาลสาธารณะจำนวน 18 แ ห่ง
บ่อบาดาลเอกชนจำนวน 4 แห่ง
บ่อน้ำตื้นสาธารณะจำนวน 27 แ ห่ง
สระน้ำเอกชนจำนวน 42 แห่ง
หน้า 35
ข้อมูลอื่นๆ
หน้า 36
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. ฝ่ายการเมือง ประกอบด้วย
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกสภาฯ จำนวน 18 คน
โดยมี
1) นายอุดร ยังสถิตประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
2) นายเกชา พุ่มแย้มร องประธานสภาฯ
3) ส.อ.ชัยวัฒน์ ชูศิลป์เลขานุการสภาฯ
คณะผู้บริหาร จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1) นายไพโรจน์ บัวทิมนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
2) นายธงไชย ขวัญโตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
3) นายสมพงษ์ ศรีล่ารองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
2. ฝ่ายประจำ มีจำนวนทั้งหมด 35 อัตรา
สำนักงานปลัด มีจำนวน 18 อัตรา ประกอบด้วย
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 10 อัตรา
จำนวน 1 อัตรา
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
หัวหน้าสำนักปลัด จำนวน 1 อัตรา
บุคล
ากร จำนวน 1 อัตรา
น ักวิชาการศึกษา จ ำนวน 1 อัตรา
นักวิเค
ร
าะห์ฯ จำนวน 1 อัตรา
เจ้าพนักง
า
นธุรการ จำนวน 1 อัตรา
จำนวน 1 อัตรา
ค
รู
ครู จำนวน 2 อัตรา
หน้า 37
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 5 อัตรา
ผู้ช่วยนักวิเคราห์ฯ จำนวน 1 อัตรา
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ จำนวน 1 อัตรา
จ ำนวน 2 อัตรา
ผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวน 1 อัตรา
พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลาง
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 3 อัตรา
นักการภารโรง จำนวน 1 อัตรา
คนงานทั่วไป จำนวน 1 อัตรา
จำนวน 1 อัตรา
ยาม
กองคลัง มีจำนวน 7 อัตรา
ผู้อำนวยการกองคลัง จำนวน 1 อัตรา
นักวิชาการเงินและบัญชี จำนวน 1 อัตรา
นักวิชาการจัดเก็บราย จำนวน 2 อัตรา
พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลาง จำนวน 1 อัตรา
หน้า 38
- กองคลัง มีจำนวน 7 อัตรา ประกอบด้วย
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 4 อัตรา
1. ผู้อำนวยการกองคลังจำนวน 1 อัตรา
2. นักวิชาการเงินและบัญชีจำนวน 1 อัตรา
3. นักวิชาการจัดเก็บรายได้จ ำนวน 1 อัตรา
4 . เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ลูกจ้าง
ประจำ)จำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 อัตรา
1. ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้จ ำนวน 1 อัตรา
2 . ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีจ ำนวน 1
อัตรา
3 . ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุจำนวน 1 อัตรา
- กองช่าง มีจำนวน 10 อัตราประกอบด้วย
พ นักงานส่วนตำบล จำนวน 2 อัตรา
1. ผู้อำนวยการกองช่าง จำนวน 1 อัตรา
2 . เจ้าพนักงานธุรการจำนวน 1 อัตรา
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 4 อัตรา
1. พนักงานผลิตน้ำประปาจ ำนวน 3 อัตรา
2 . พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดกลาง จำนวน
1 อัตรา
3 . พนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบาจ ำนวน 1
อัตรา
พ นักงานจ้างทั่วไป จำนวน 4 อัตรา
1. คนงานทั่วไปจ ำนวน 3 อัตรา
2 . พนักงานผลิตน้ำประปาจำนวน 1 อัตรา
หน้า 39
ระดับการศึกษาของบุคลากร
ระดับประถมศึกษา จำนวน 4 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. จำนวน 5 คน
ระดับ ปวส./อนุปริญญา จำนวน 3 คน
ระดับปริญญาตรี จำนวน 11 คน
ระดับปริญญาโท จำนวน 9 คน
หน้า 40
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1. การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท จำนวน 51 กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มอาชีพ จำนวน 6 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 9 กลุ่ม
- กลุ่มอื่นๆ ได้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 9 กลุ่ม
- กลุ่ม อสม. กองทุนยาประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 กลุ่ม
- โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวน 9 กลุ่ม
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 9 กลุ่ม
2. จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับสับซ้อน มี
น้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกเก้าชั้นจำปุย หมู่ที่ 9 น้ำตกคลองเงิน หมู่ที่ 5
และน้ำตกสันสีหมอก หมู่ที่ 3 สภาพอากาศของ ตำบลพระรักษ์ อยู่ใน
สภาพที่ดี เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และ
พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอพะโต๊ะอีกแห่งหนึ่ง
หน้า 41
ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม
ชื่อประเพณี : เทศกาลลองแพพะโต๊ะเชิงอนุรักษ์
แหล่งที่มา : นายธนยศ พราหมนาเวศ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพะโต๊ะ
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ประเพณีเกี่ยวกับ : วิถีชีวิต
ความเป็นมา (ภูมิหลัง / ความเชื่อ)
อำเภอพะโต๊ะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชุมพรที่มีลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนกับที่ราบลุ่มแม่น้ำหลังสวน ที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวชุมพร
ตอนใต้ ประกอบกับการมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแถบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบ
ตลอดทั้งปี ที่เรียกกันคุ้นหูว่า “ฝนแปด แดดสี่” จึงทำให้อำเภอพะโต๊ะมีแหล่ง
ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดชมวิวเขานมสาว น้ำตกเหวโหลม
ศูนย์การเรียนรู้หน่วยจัดการป่าต้นน้ำพะโต๊ะ เป็นต้น ด้วยลักษณะทางกายภาพ
และลักษณะภูมิอากาศของอำเภอพะโต๊ะ จึงทำให้ดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วย
ป่าดงดิบ มีพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ สัตว์ป่าที่หายากและผลไม้ที่ลือชื่อของจังหวัด
ชุมพร จึงหล่อหลอมชีวิตชาวบ้านให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติบนวิถีของปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างผสมผสานกลมกลืนกัน
ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า “ดินแดนแห่งภูเขาเขียว เที่ยวล่องแพ แลหมอกปก
น้ำตกงาม ลือนามผลไม้”
หน้า 42
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
จากคำขวัญประจำอำเภอได้สะท้อนให้เห็นว่าดินแดนแห่งนี้ มีความหลากหลาย
ทางธรรมชาติอากาศโอโซนที่บริสุทธิ์ สัมผัสได้ด้วยไอเย็นแห่งธรรมชาติ ความอุดม
สมบูรณ์ทางธรรมชาติประกอบกับวัฒนธรรมประเพณีแห่งลุ่มน้ำหลังสวน จึงทำให้ชาว
พะโต๊ะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิต
การล่องแพท่ามกลางสายน้ำคลองพะโต๊ะที่เป็นวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่อยู่คู่กับการ
บริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และกำหนดจัดงานในวันเสาร์
และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์เป็นประจำทุกปี
หน้า 43
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจ
ที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน
1. เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามแห่งคลองพะโต๊ะ ต้นกำเนิดลุ่มแม่น้ำ
หลังสวน
2. เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนอันเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม
ไทย
3. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพรให้เป็นที่รู้จัก
แพร่หลายในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
4. เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนรักและหวงแห่ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้อง
ถิ่น และความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่คู่กับลูกหลาน
ชาวพุทธต่อไป
5. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจในพื้นที่ที่
สำคัญ จึงนำมาซึ่งสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น
สถานที่สำคัญ
1. วัดพระรักษ์
2. วัดบ้านโหมง
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระรักษ์
4. องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
5. โรงเรียนบ้านพระรักษ์ราษฎร์บำรุง
6. โรงเรียนบ้านโหมงราษฎร์บำรุง
หน้า 44
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ตำบลพระรักษ์ ได้แบ่งแยกจากหมู่บ้านห้วยขาว เมื่อปี 2526 และได้จัดตั้งหมู่บ้าน
พระรักษ์เมื่อปี 2528 มีจำนวน 9 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบเพียง
เล็กน้อย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำสวนผลไม้ สวนปาล์ม
น้ำมัน สวนยางพารา เป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรับจ้าง (กรีดยาง) เป็นอาชีพเสริม หลัง
จากคณะทำงานได้มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และทำเวทีประเมินศักยภาพชุมชนเบื้องต้น
พบว่า ชุมชนต้องการให้มีการยกระดับ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ตลอดจนการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่มีอยู่หลาย
อย่าง โดยเฉพาะอาหารและขนมท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย โดยบูรณาการร่วมกัน
ระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และ
ประชาชนในพื้นที่
ชื่อโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ
โครงการยกระดับศักยภาพชุมชนตำบลพระรักษ์ เพื่อการพัฒนาแหล่งท่อง
เที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน และ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการสร้างสัมมาชีพใหม่
โดยการใช้สื่อโซเชียล เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และขายสินค้าผ่านระบบสมา
ร์ทโฟน
วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมในการดำเนินการ
1. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
2. เพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพร
3. เพื่อพัฒนาสัมมาชีพใหม่ในชุมชน ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
4. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตำบลพระรักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
หน้า 45
การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Swot analysis)
การวิเคราะห์กรอบการทำยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์
จุดแข็ง (S-Strenge)
1) องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนทอดเป็น
แนวยาว เป็นพื้นที่ราบสูง ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย มีทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ
มีพื้นที่การเกษตรเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ
2) องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ มีแหล่งธรรมชาติที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวได้หลายแห่ง เช่น เขื่อน น้ำตก ภูเขา
3) องค์การบริหารส่วนตำบลพระรักษ์ มีแหล่งวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม
ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
จุดอ่อน (W-Weekness)
1) เส้นทางการคมนาคมส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง บางพื้นที่ในตำบลพระรักษ์เส้น
ทางการสัญจรยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
2) ขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
3) ประชาชนในพื้นที่ขาดความรู้ด้านแนวทางการพัฒนาตำบล