The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sasayah817, 2021-11-30 11:28:36

หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชน ตำบลพระรักษ์

Home Thriller E-Book Cover

หน้า 46

โอกาส (O-Opportunity)

1) พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลพระรักษ์เป็นพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ ซึ่ง

หลายชนิดสามารถนำผลผลิตเหล่านั้นมาทำการพัฒนา ยกระดับ ต่อยอดให้เป็น

ผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งออกได้

2) ปัจจุบันการท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์เป็นที่นิยมมากขึ้นจากเดิม ซึ่งพื้นที่

ตำบลพระรักษ์นั้นมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถจัดการพัฒนาเป็นแหล่งท่อง

เที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้

อุปสรรค (T-Terible)

1) พื้นที่ใกล้เคียงมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวก่อนพื้นที่ตำบลพระรักษ์

2) ตำบลพระรักษ์ยังขาดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว

อย่างจริงจัง

3) ตำบลพระรักษ์ยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากส่วนใหญ่

เน้นทำการเกษตรของตนเอง

หน้า 47

การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง

ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

1) เส้นทางการคมนาคม เส้นทางถนนที่ใช้ในซอยชุมชนส่วนใหญ่ยังคงเป็น
ถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้มีฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมาก จึงเกิดมลภาวะ
ทางอากาศ และยังเป็นเหตุให้ประชาชนที่สัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อน

2) การไฟฟ้า พื้นที่ตำบลพระรักษ์มีการเข้าถึงของไฟฟ้าทุกหมู่บ้าน แต่อาจไม่
ทั่วถึงทุกครัวเรือนเนื่องจากบางหมู่บ้านในที่มีเส้นทางการเดินทางลำบาก แต่จะมี
การจัดการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้บริการ ซึงมีครบทุกหมู่บ้าน

3) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยในพื้นที่ตำบลพระรักษ์จะเกิดปัญหาจากดิน
สไลด์อยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกอยู่ตลอดทั้งปี และในบางพื้นที่ส่ง
ผลให้มีน้ำใช้ไม่ตลอดทั้งปีเมื่อเกิดภัยแล้ง

ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี




1) สินค้าทางการเกษตรมีราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนในแต่ละปี ไม่มีแหล่งรวบรวม
ผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชน

2) เด็กและเยาวชนขาดการปลูกจิตสำนึกในการรักบ้านเกิด และอาชีพในท้องถิ่น

หน้า 48

ด้านสาธารณสุข นันทนาการและการกีฬา

1) ด้านสาธารณสุข ตำบลพระรักษ์มีประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้เข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุ เป็นผลให้หลายตำบลมีความต้องการด้านสาธารณสุขอย่างเพียงพอ

2) ด้านยาเสพติด เป็นปัญหาที่ทางรัฐบาลกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ภายใน
ตำบลพระรักษ์ยังคงมีปัญหาด้านยาเสพติดภายในพื้นที่

3) ด้านกีฬา ในพื้นที่ตำบลพระรักษ์มีพื้นที่ในการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือ
นันทนาการที่ได้มาตรฐานจำนวนน้อย อีกทั้งยังมีอุปกรณ์การกีฬาที่ไม่เพียงพอ และไม่มี
จุดเพื่อการออกลำยังกายของชุมชน ส่งผลให้เยาวชนในพื้นที่มีความเสี่ยงในการใช้สาร
เสพติดเมื่อมีการรวมตัวหรือรวมกลุ่มกัน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

1) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ป้องกัน ดูแลเรื่อง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) ประชาชนตำบลพระรักษ์ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น
แหล่งเกษตรกรรม การดูแลผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ประชาชนยังพึ่งสารเคมีใน
การดูแล การเพิ่มผลผลิต และการทำลายศัตรูพืช ทำให้ระบบนิเวศน์ด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน

3) แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติใน
การทำการเกษตร ทำให้ประสบปัญหาเมื่อเกิดภัยแล้ง เพราะทำให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ
สำหรับบางครัวเรือน บางหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่จึงแก้ปัญหาโดยการขุดเจาะบ่อ
บาดาล ทำให้เกิดปัญหาในการเพิ่มต้นทุนการผลิต

หน้า 49

ด้านการบริหารจัดการ



1) ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องการปกครอง และการบริหารจัดการอย่าง
เป็นระบบภายในชุมชน ทำให้มีความไม่เข้าใจในการทำงานของผู้นำชุมชน
2) มีการพิพาทในเรื่องของที่ดินในบางพื้นที่
3) ประชาชนขาดความตระหนักในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างจริงจัง
4) เยาวชนในชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
5) สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ

หน้า 50

การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างรายได้ใหม่ (การยก

ระดับสินค้าOTOP/อาชีพอื่น)



ประชาชนในตำบลพระรักษ์ส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม เช่น การเพาะ
ปลูกไม้ผล ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ส้มโชกุน กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น อาชีพทาง
ด้านการเกษตรกรรมจึงถือเป็นอาชีพและรายได้หลักของประชาชนในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลกโดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับ
สภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศโดยเฉพาะภาคการเกษตรจะส่งผลกระทบโดยตรงจึง
ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรกรรมมีปริมาณลดน้อยลงกว่าเดิม และเนื่องด้วยจากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจซบเซาลง ประชาชนในตำบลจึงมีรายได้ที่ลด
น้อยลง อีกทั้งประชาชนในตำบลพระรักษ์ยังต้องประสบปัญหาราคาพืชผลทางการเกสร
ตกต่ำ เนื่องจากแม่ค้า พ่อค้าคนกลางกดราคาเพื่อต่อรองราคา และผลผลิตทางการเกษตร
ล้นตลาดอีกด้วย
เนื่องด้วยตำบลพระรักษ์เคยมีเครื่องแกง เป็นผลิตภัณฑ์ O-Top ของตำบล แต่ต้องยุบ
ไปเนื่องจากประชาชนตำบลไม่มีความพร้อมในการทำเครื่องแกง จึงทำให้เกิดโครงการ
โครงการยกระดับสินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP โดยยึดหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลพระ
รักษ์ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในกิจกรรม การยกระดับผลิตภัณฑ์การทำน้ำพริกแปรรูป
กล้วยแปรรูป และใบจาก พร้อมบรรจุสำเร็จรูป โดยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้
แก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนนำความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการยกระดับผลิตภัณฑ์การทำ
น้ำพริกแปรรูป กล้วยแปรรูป และใบจาก ด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ด้านการถนอมอาหาร ด้าน
การขนส่ง รวมไปถึงช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่ตลาดออนไลน์ เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพ
เป็นที่รู้จัก และเป็นที่ต้องการของตลาด ไปจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลพระรักษ์ ภาย
ใต้แบร์นสินค้า ณ พระรักษ์ เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนให้แก่คนในชุมชน และเพื่อให้คนในชุมชน
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และสร้างอาชีพให้กับตนเองได้

หน้า 51

ผลิตภัณฑ์ใบจาก

ใบจากเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสาร
พิษ ไม่แช่สารแค่มี ไม่แช่ปูนแดงที่ทำให้
เกิดอาการเจ็บคอ ใบใหญ่ สวย

ผลิตภัณฑ์ผงกล้วยดิบ

ผงกล้วยดิบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารืมี
ไฟเบอร์สูงอยู่ท้องนาน Resistant
Starch ค่า IG ต่ำ กล้วยงดิบ 100 % ไม่
ผสมแป้ง ไม่มีน้ำตาล

ผลิตภัณฑ์ไตปลาคั่วกลิ้งสมุนไพร

ไตปลาครั่วกลิ้งสมุนไพร ไม่ใส่สารกัน
บูด ไม่ใส่ผงชูรส รสชาติอร่อยจัดจ้าน
แบบปักษ์ใต้ ผ่านกระบวนการพาสเจ
อร์ไรส์ หากเก็บไว้ในตู้เย็นสารถเก็บได้
นานถึง 1 เดือน

หน้า 52

การสร้างและการพัฒนาและการพัฒนา Creative Economy
(การยกระดับการท่องเที่ยว)

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาต่อกัน
เป็นแนวยาวสลับซับซ้อน มีห้วยลำธารมาก มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน คือแม่น้ำหลังสวน
มีที่ราบเล็กน้อย ได้แก่พื้นที่ราบเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ พื้นที่ที่เป็นที่ราบที่ใช้
ทำการเพาะปลูกมีน้อย ส่วนมากเป็นที่ราบแถบเชิงเขาและที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเหล่านี้
เหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างยิ่ง เพราะมีปุ๋ยในดินอย่างอุดมสมบูรณ์พื้นที่ป่าสงวนเป็น
ป่าดิบชื้นส่วนมากขึ้นอยู่ตามที่ราบเชิงเขาและบนภูเขาสูง ลำน้ำที่สำคัญคือแม่น้ำหลังสวน
ซึ่งมีต้นน้ำจากภูเขายายหม่นซึ่งเป็นเขากั้นแดนระหว่างอำเภอพะโต๊ะกับอำเภอเมืองระนอง

เพราะเหตุจึงทำให้ตำบลเพราะรักมีธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นด้านทิวทัศน์
ภูเขา แม่น้ำ หรือแม้กระทั้งเส้นทางศึกษาธรรม วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์จึงร่วมมือกับ
ผู้นำชุมชนและประชาชนให้ตำบลพระรักษ์รวมกันก่อตั้งสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลพระ
รักษ์ เพื่อให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้กับผู้คนที่รักในการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติได้
สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติที่สวยงามของตำบลพระรักษ์ รวมไปถึงการได้สัมผัสวิถีชีวิต
ของคนในตำบล โดยการดึงเอาอัตลักษ์และเอกลักษ์ของตำบลพระรักษ์ออกมาดึงดูดนัก
ท่องเที่ยว นอกจากนี้ตำบลพระรักษ์ยังมีสถานท่องเที่ยวอีกมามายไม่ว่าจะเป็นวัด น้ำตก
หรือจุดชมวิวต่างๆ

หน้า 53

เส้นทางการท่องเที่ยว ตำบลพระรักษ์

คณะผู้จัดทำ หน้า 54

1.ดร.ณภัทร นาคสวัสดิ์ ตำแหน่ง อาจารย์ที่ปรึกษาตำบลพระรักษ์

2.นางสาวมาฮีซันร์ เจ๊ะแว ตำแหน่ง ประธาน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

3. นางสาวจุฑามาศ ชูบุญทอง ตำแหน่ง รองประธาน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

4. นางสาวสุธิดา จำนงจิต ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

5. นางสาววิลัยพรรณ์ ย้อยพระจันทร์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

6.นางสาววศินี บุญเอิบ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

7. นางสาวณัฎฐา ชุมวิสูตร ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

8. นางสาวสิริประภา เรืองศรี ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

9. นางสาวกรรณิการ์ นิ่มกูล ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

10. นางสาวปริณดา บุญนารี ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

11. นางสาวซูวัยบะห์ ดอเล๊าะแม ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

12. นางสาวศศิธร รุ่งคลัง ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

13. นางสาวสุพัตตรา วงษ์สนิท ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

14. นางสาวสุนันทา รักษากิจ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

15. นางสาวศิริลักษณ์ พันธ์สิงห์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

16. นายพรเทพ ภักดีเมือง ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

17. นางสาวนันท์นภัส นาคมุสิก ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

18. นางสาวจุติพร เซมรัมย์ ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

19. นางสาวเสาวรส เกิดมีทรัพย์ ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

20. นางสาวพนิดา ดาวรุ่งเรือง ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

21. นางสาวสกุลรัตน์ ทัศคร ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

22. นางสาวอรณิชา บุญมาก ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

23. นางสาววริษา แก้วปฏิมา ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

24. นางสาวจันทนา แซ่ด่าน ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

25. นางสาวอุมาพร เตะเส่งซ้าย ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

26. นายภูริวัฒน์ สินธุพาชี ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

27. นางสาวธีราพร คำพึ่งพร ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)

28. นาวสาวบุศรากร ดำสุข ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลพระรักษ์)


Click to View FlipBook Version