The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้าง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รายงานผลการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้าง

รายงานผลการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้าง

รายงานผลการขบัเคล่ือนการแกไ้ขปญัหาชา้งปา่
พน้ืทปี่า่รอยตอ่5จงัหวัดภาคตะวนัออก:
พ้ืนทจี่ังหวดัชลบุรี

คณะทำงานขับเคลอื่นการแกไ้ขปญัหาช้างป่า
พื้นทีป่า่รอยตอ่5จังหวัดภาคตะวันออก:พื้นทจี่งัหวดัชลบรุี

สำนกัเสรมิสรา้งความเขม้แขง็ชมุชนกรมการพัฒนาชมุชน

(๑)

คำนำ

ช้างป่าในพื้นท่ีรอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง และจังหวัดสระแก้ว มีอัตราการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยคาดว่าปัจจุบันมีช้างอยู่ประมาณ
400-450 ตัว ช้างป่าบางกลุ่มออกหากินนอกพื้นท่ีป่า ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน
กับช้าง เกิดการสูญเสียชีวิตทั้งคนและช้างป่า รวมถึงพืชผลทางการเกษตร และทรัพย์สินของ
ประชาชนในพื้นท่ี จึงมีประกาศราชกิจจานุเบกษาแต่งต้ังคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่า
รอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
ช้างป่า รวมทั้งการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ภายใต้ช่ือ
“หมบู่ ้านคชานรุ กั ษ์”

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความม่ันคง
และมีเสถียรภาพ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างย่ังยืน จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้า
คณะทำงานพัฒนาชุมชน ตามคำส่ังคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกัน
อย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเสริมสร้างองค์ความรู้การอยู่ร่วมกัน
อย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง ภายใต้ช่ือ “หมู่บ้านคนรกั ษ์ช้าง” ในพื้นที่ท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า
รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก 18 อำเภอ 45 ตำบล 235 หมู่บ้าน โดยใช้กลยุทธ์
คนรู้จักช้าง คนเข้าใจช้าง คนรักษ์ช้าง และคนอยู่ร่วมกับช้าง โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ให้ความร้สู ร้างความตระหนักถึงปัญหา การรว่ มกันแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างอาชีพท่สี อดคลอ้ งกับ
บริบทของพื้นท่ี และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการต่าง ๆ เพ่ือเป้าหมาย “คนทำร้ายช้างลดลง ช้างรุกราน
คนลดลง” และไดแ้ ต่งตัง้ คณะทำงานขับเคล่ือนการดำเนนิ งานในระดบั พน้ื ท่ี จำนวน 5 คณะ

คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นท่ี : พื้นที่จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการ
วางแผนและขับเคล่ือนการดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการพัฒนาชุมชน ในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2563 และได้รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ รูปแบบ และแนวทางในการพฒั นา เพื่อให้เจ้าหน้าที่
พัฒนาชุมชนและผู้เก่ียวข้องได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล
ระหวา่ งคนและชา้ งปา่ ในระยะต่อไป

คณะทำงานขับเคลื่อน
กนั ยายน ๒๕๖๓

(๒) หนา้

สารบัญ (๑)
(๒)
คำนำ (๓)
สารบัญ (๓)
สารบญั แผนภาพ ๑
สารบญั ตาราง ๑
บทท่ี ๑ บทนำ ๓

๑.๑ ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา ๔
๑.๒ วตั ถปุ ระสงค์ ๕
๑.๓ ขอบเขตการดำเนินงาน ๕
๑.๔ ประโยชนท์ คี่ าดว่าจะได้รับ 8
บทท่ี ๒ แนวคดิ และแนวทางท่เี ก่ียวข้อง 13
๒.๑ แผนแม่บทสร้างความสมดลุ ระหวา่ งคนและช้างป่า 1๕
๒.๒ กลไกขบั เคล่ือนการสร้างความสมดุลระหวา่ งคนและช้างปา่ 17
๒.๓ แนวทางการดำเนินงานหมู่บา้ นคนรกั ษ์ชา้ ง 20
๒.๔ แนวคดิ การพฒั นาชมุ ชน 21
๒.๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง 21
๒.๖ กรอบแนวคิดการดำเนนิ งาน 22
บทท่ี ๓ วธิ กี ารดำเนนิ งาน 23
๓.๑ วธิ กี ารดำเนนิ งาน 24
๓.๒ ประชากรและกลุ่มตวั อย่าง 2๕
๓.๓ การเก็บรวบรวมขอ้ มลู 2๗
๓.๔ กระบวนการดำเนินงาน 2๗
๓.๕ การวิเคราะห์ขอ้ มูล 38
บทท่ี ๔ ผลการดำเนนิ งาน 42
๔.๑ การเรียนรู้วิถชี วี ติ คน และช้าง
๔.๒ การสง่ เสริมและพัฒนาอาชีพ 45
๔.๓ การตดิ ตามและรายงานผล 45
46
บทท่ี ๕ สรปุ ผลการดำเนนิ งาน 48
5.1 เรียนรู้วิถชี วี ติ คน และช้าง 49
๕.๒ การส่งเสริมและพัฒนาอาชพี 51
๕.๓ รูปแบบการอยู่รว่ มกันอย่างสมดลุ ระหว่างคนและชา้ งป่า 52
๕.๔ ขอ้ เสนอแนะ 72

บรรณานกุ รม
ภาคผนวก ก สรุปขอ้ มูลชุมชน
ภาคผนวก ข ภาพกจิ กรรม

(๓)

สารบัญแผนภาพ

แผนภาพที่ 1 แผนแมบ่ ทสรา้ งความสมดลุ ระหวา่ งคนและชา้ งปา่ หนา้
6
แผนภาพท่ี ๒ กลไกขับเคลื่อนการสรา้ งความสมดลุ ระหว่างคนและช้างปา่
แผนภาพที่ ๓ แนวทางการดำเนินงานหมู่บา้ นคนรักษช์ า้ ง 12
แผนภาพท่ี ๔ กรอบแนวคิดการขบั เคลื่อนการสร้างความสมดลุ ระหวา่ งคนและช้างปา่ 13
แผนภาพท่ี ๕ วธิ กี ารดำเนนิ งาน 20
แผนภาพท่ี ๖ โครงสรา้ งการเก็บรวบรวมข้อมูล 21
แผนภาพที่ ๗ รปู แบบการอยรู่ ่วมกันอย่างสมดลุ ระหว่างคนและช้างป่า 24
48

สารบญั ตาราง

ตารางที่ ๑ กล่มุ ตวั อยา่ งการขบั เคล่อื นการแก้ไขปัญหาช้างป่า อำเภอบอ่ ทอง หน้า
จังหวดั ชลบุรี 22
ตารางที่ ๒ พ้นื ท่ีประสบปญั หาชา้ งปา่ ในจังหวดั ชลบรุ ี
ตารางท่ี ๓ สรุปผลการสำรวจชมุ ชน คน และชา้ ง 28
31

บทท่ี ๑

บทนำ

๑.๑ ความเปน็ มาและความสำคญั ของปัญหา

ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผืนป่าขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกครอบคลุมพ้ืนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัด
จันทบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสระแก้ว มีพ้ืนที่ประมาณ 1,363,323.05 ไร่
หรือประมาณ 2,181.32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าเขาสอยดาว อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าช้ัน อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง
จากการสำรวจของไสวและคณะ (2551) พบว่า มีการสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท้ังสิ้น 144 ชนิด
นก สำรวจพบ 409 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำรวจพบ 43 ชนิด สัตว์เล้ือยคลาน สำรวจพบ 121 ชนิด และ
ปลาน้ำจืด สำรวจพบ 94 ชนิด ซ่ึงชนิดพันธ์ุสัตว์ป่าท่ีสำรวจพบคิดเป็นร้อยละ 31.54 ของสัตว์ป่าที่พบ
ในประเทศไทย จึงนับได้ว่าป่ารอยต่อ 5 จังหวัด เป็นพ้ืนที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากแห่งหน่ึง อีกท้ัง
ยังเป็นแหลง่ ท่ีอยู่อาศัยของช้างป่าอีกจำนวนไม่นอ้ ย ซึง่ พจิ ารณาข้อมูลจากการสำรวจประชากรและโครงสร้าง
อายขุ องช้างป่า ในกลมุ่ ปา่ ตะวนั ออก “ปา่ รอยต่อ 5 จงั หวดั ” คาดว่า มปี ระชากรชา้ งปา่ จำนวนท้ังส้ินราว 364 ตัว
และแบ่งออกเป็น 10 ฝูงใหญ่ ขนาดประชากรในฝูงมากกว่า 20 ตัวข้ึนไป (ศุภกิจ คมสัน อนุสรณ์ และรักฝัน,
2558, 6–10) ข้อมูลจากการประเมินภาพถ่ายทางดาวเทียมของส่วนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช (2558) พบว่า พ้ืนที่ถ่ินที่อยู่อาศัย
ที่เหมาะสมของช้างป่าท่ีมีความเหมาะสมมากส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งเป็น
พนื้ ท่คี ่อนข้างราบ ซึ่งสอดคล้องกับงานวจิ ัยของไสวและคณะ (2549) ท่กี ล่าวถึงพฤติกรรมและลักษณะถิ่นท่ี
อยู่อาศัยของช้างป่าท่ีมักจะหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ในพ้ืนที่สูงชัน ซึ่งจะทำให้ส้ินเปลืองพลังงานในการดำรงชีวิต
มากกว่าการอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบ ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมของพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนท่ีมี
แหลง่ น้ำ แหล่งโป่ง และมสี ภาพพน้ื ทปี่ ่าที่เหมาะสมมากต่อการใช้ประโยชน์ของช้างป่าด้วย แต่ทว่าในปจั จุบัน
พื้นท่ีป่าได้ถูกรุกล้ำท้ังบริเวณรอบชายป่าและการบุกรุกเข้าไปในพ้ืนท่ีป่าเปลี่ยนแปลงพ้ืนที่ เป็นพ้ืนท่ี
เกษตรกรรม ทำให้ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างป่าจึงลดลงเรื่อย ๆ และเป็นการบีบบังคับให้ช้างป่า
ออกหากินนอกพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์ และเข้ามาหากินในพ้ืนท่ีเกษตรกรรมที่อยู่ชิดเขตพื้นท่ีป่า รวมถึงการท่ีชุมชน
มีแหล่งน้ำเพ่ือการเกษตร ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการดึงดูดการเข้ามาใช้ประโยชน์ของช้างป่า และมีแนวโน้ม
ที่ช้างจะอยู่ประจำนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต่อไป จึงกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรในพื้นที่กับช้าง
ป่าท่ีนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ซึ่งมีทั้งการที่ช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลการเกษตร หรือทำร้าย
ราษฎรในพ้ืนที่ การตอบโต้ของราษฎรท่ีทำร้ายช้างป่า ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตคนและช้างป่า
และทรัพยส์ ินอนื่ ๆ อีกมากมาย

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า ได้มีการน้อมนำพระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่ีได้พระราชทานเม่ือวันท่ี
๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ความว่า “...ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่าน้ันมีอาหารช้างเพียงพอ
การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า
ตอ้ งใหค้ วามปลอดภัยกับช้างป่า...” มาเป็นแนวทางการแกป้ ัญหา ด้วยการฟ้ืนฟู สร้างความสมบูรณ์ให้กับ
ผนื ป่า ใชว้ ธิ ีการปลูกปา่ แบบไม่ต้องปลูก คือให้ผนื ป่าฟื้นตวั ตามธรรมชาติ ท่ีสำคญั คือต้องสร้างแหล่งน้ำแหล่ง

2

อาหารให้กับช้างป่า สัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโป่งเทียม ปลูกพืชอาหารสัตว์ แหล่งน้ำของสัตว์ ถือเป็นจุดเร่ิมต้น
ให้ทกุ หน่วยงานน้อมนำพระราชดำริ ร่วมกันจัดการปัญหาระหวา่ งคนกับช้างป่าอยา่ งเป็นรูปธรรม

กรมอุทยานแหง่ ชาติ สัตวป์ ่า และพันธพุ์ ืช และมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ได้ทำข้อตกลงความรว่ มมือ
เพ่ือสนองพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ช้าง สัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธ์ุ ภายใต้โครงการคืนช้าง
สู่ธรรมชาติ ในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พ้ืนท่ีเขตรกั ษาพนั ธุ์สตั ว์ปา่ ซบั ลังกา โดยเรมิ่ ปล่อยช้างคืนสู่ป่า มาต้ังแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เปน็ ต้นมา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์
กับ พลเอกนพดล วรรธโนทัย ที่ปรึกษาโครงการพระราชดำริ เม่ือวันท่ี ๕ มกราคม ๒๕๕๕ ณ พระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ความวา่ “...ช้างเป็นสัตว์ทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงรกั ทรงห่วงใย โดยเฉพาะช้าง
ทางกุยบุรี และแก่งกระจาน ทรงห่วงใยมาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ ทกี่ ินให้ช้าง จะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้าง
จะได้มีปัญหากนั น้อยทสี่ ุด เช่น ทีก่ ยุ บรุ ี ประจวบคีรีขันธ์ ช้างมีความสำคัญมาแต่คร้ังประวัตศิ าสตร์ เคยชว่ ยรักษา
บ้านเมอื ง กู้บ้านกู้เมือง ดังนั้น ขอใหช้ ่วยกันดูแลมิให้ช้างถกู ฆา่ อย่างทารณุ เยยี่ งน้ี เพือ่ จะได้ไมผ่ ดิ พระราชประสงค์
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัย ที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้าง ให้เป็นสัตว์คู่แผ่นดินสืบไป...”
และเมอ่ื วันที่ ๒๔ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๕ ทรงมีพระราชเสาวนียก์ บั ท่านผูห้ ญิงฉัตรแกว้ นนั ทาภิวฒั น์ ท่านผหู้ ญิง
จรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า “...ขอให้ร่วมมือ
กับแม่ทัพภาคท่ี ๑ และ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ดำเนินการ เร่ือง การปลูกพืชอาหารช้าง การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า
มีท่ีอย่ทู ี่กินของชา้ งที่แกง่ กระจาน เชน่ เดียวกบั ทกี่ ยุ บุร.ี ..”

สำหรับพ้ืนท่ีป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนพี ันปีหลวง ทรงทราบถึงความเสื่อมโทรมของป่ารอยตอ่ ๕ จังหวัด (ภาคตะวันออก) จึงทรง
มีพระราชเสาวนีย์ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าให้มี
ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และรักษาสภาพแวดล้อมตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของราษฎร โดยเฉพาะชุมชนท่ีอพยพออกมาจากป่าและชุมชนที่อาศัยติดแนวเขตอนุรักษ์ ในการนี้ทรงรับ
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพ้ืนที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด (ภาคตะวันออก) ไว้เป็นโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร
มหาวัชรราชธิดา เม่ือคร้ังทรงดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและ
การบังคับคดีจังหวัดระยอง ในช่วงที่พระองค์ทรงเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
สร้างรอยย้ิม คืนความสุขให้ประชาชน” จังหวัดระยอง คร้ังที่ ๑๑ เม่ือวันพุธท่ี ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
ณ ท่ีทำการองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเป็น อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง มีประชาชนขอเข้ามาปรึกษา
ปัญหา และขอความช่วยเหลือกรณชี า้ งป่าออกหากินนอกพ้นื ที่ปา่ ทำลายพชื ผลทางการเกษตร และทรัพย์สิน
ของประชาชนในพน้ื ที่

สำนักอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจงั หวัดระยอง จึงได้ติดตาม
ข้อมูลเก่ียวกับปัญหาช้างป่าออกหากินนอกพ้ืนท่ี และความเสียหายของประชาชนในพ้ืนท่ีอำเภอเขาชะเมา
จากอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง ทำให้ทราบว่าช้างป่าที่ลงมาหากินนอกเขตโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง
จะเข้าไปหากินในเขตตำบลเขาน้อย ตำบลห้วยทับมอญ และตำบลน้ำเป็น จังหวัดระยอง ส่งผลให้พ้ืนท่ี
เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย บางคร้ังทำร้ายประชาชนได้รับบาดเจ็บ ในกรณีที่ทรัพย์สินของประชาชน
เสียหาย องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินจะใช้งบประมาณของแต่ละท้องถิ่นเยียวยาแก่ประชาชนที่อยู่ในเขต
ความรับผิดชอบ แต่ถ้าหากเปน็ ความเสียหายต่อร่างกาย จะได้รับความชว่ ยเหลือจากกองทุนผู้ประสบภยั จากช้างป่า

3

อำเภอเขาชะเมา นอกจากน้ียงั มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพ่ือติดตามเผ้าระวังช้างป่าในระดับตำบล
และระดับอำเภอ พร้อมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ถึงเส้นทางที่อยู่อาศัย หรือพบช้างป่าออกมา
ปรากฏ รวมทั้งให้ความรู้กับเกษตรกร มุ่งเน้นให้มีการปรับเปล่ียนวิถีการปลูกพืชที่ไม่เป็นอาหารของช้างป่า
พรอ้ มท้ังสรา้ งความเข้าใจในพฤตกิ รรมของชา้ งป่า และร่วมกันสำรวจประชากรชา้ งป่า และเสน้ ทางหากินของ
ช้างป่า เพอื่ วางแผนเชิงพืน้ ที่ สร้างแหลง่ นำ้ แหลง่ อาหาร ใหก้ บั ชา้ งปา่

จากปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและ
การบงั คับคดจี ังหวดั ระยอง มหี นงั สอื เรยี น ดร.รอยล จติ รดอน ทป่ี รกึ ษาสถาบันสารสนเทศทรพั ยากรน้ำและ
การเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในขณะน้ัน เร่ืองขอรับคำปรึกษา
แนวทางแก้ไขปัญหาช้างป่าในระดับพื้นท่ีอำเภอเขาชะเมา จงั หวัดระยอง เพ่ือช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน
เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มีหนังสือ
เรียนอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระยอง ขออนุญาต
เข้ามาประเมินหาข้อสรุป เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าว โดยขอเสนอที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ
ของช้างป่าเป็นลำดับแรก จากนั้น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มีหนังสือเรียนอธิบดี
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช และหน่วยงานที่เก่ียวข้อง เพื่อขอความร่วมมอื ในการแก้ไขปัญหา
และได้ข้อสรุปว่าปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จะเริ่มดำเนินงานในพื้นที่นำร่องบริเวณรอยต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติ
เขาชะเมา – เขาวง จังหวัดระยอง และเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยการฟ้ืนฟู
แหลง่ อาหาร โปง่ ดิน แหลง่ น้ำ ทงุ่ หญา้ ให้กบั ช้างป่า

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสนิ ทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงรับโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานช่ือโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ในภาค
ตะวันออก ว่า "โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์" ซึ่งแปลว่า "น้ำทิพย์รักษาช้างให้แข็งแกร่งยืนยงดุจเพชร"
ตามพระบรมราโชบายท่ีจะใหอ้ นุรักษ์ปา่ และช้าง และการอยรู่ ่วมกันอยา่ งสมดุลระหว่างคนและชา้ งอยา่ งมีสุข
ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่า
รอยต่อ ๕ จังหวัดในภาคตะวันออก เมื่อวันท่ี ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๒) โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเป็นองค์
ประธานที่ปรึกษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร
มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการ และกรรมการอ่ืน ๆ
อกี รวมจำนวน ๓๕ คน

ดังน้ัน การดำเนินงานครั้งน้ี เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ ผลการขับเคลื่อนการแก้ไข

ปัญหาช้างป่า ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ รวมท้ังการสังเคราะห์รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล

ระหว่างคนและช้างป่า ในพ้ืนท่ีป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก : พ้ืนท่ีจังหวัดชลบุรี เพ่ือจะนำมาพัฒนา

รูปแบบการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพ้ืนที่ ให้เกิดการจัดการอย่างยั่งยืน สามารถอยู่ร่วมกัน

อยา่ งผาสกุ ปลอดภยั ระหว่างคนกบั ชา้ งป่า อย่างแทจ้ ริง

๑.๒ วตั ถุประสงค์

การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก : พื้นท่ีจังหวัดชลบุรี

คณะทำงานฯ ไดก้ ำหนดวตั ถปุ ระสงค์ของการดำเนนิ งานไว้ ดงั นี้

4

๑.๒.๑ เพื่อศึกษาข้อมูล องค์ความรู้ การขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนท่ีป่ารอยต่อ ๕
จังหวัดภาคตะวนั ออก ในพนื้ ทจ่ี งั หวัดชลบุรี

๑.๒.๒ เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าพื้นที่ป่ารอยต่อ ๕
จงั หวัดภาคตะวนั ออก ในพน้ื ท่ีจังหวัดชลบรุ ี เพื่อใหผ้ ู้เกยี่ วขอ้ งและผ้สู นใจได้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนนิ งานต่อไป

๑.๓ ขอบเขตการดำเนนิ งาน
คณะทำงานขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก : พ้ืนท่ี

จงั หวดั ชลบรุ ี กำหนดขอบเขตการดำเนนิ งานไว้ ดงั นี้
๑.๓.๑ ขอบเขตด้านเน้ือหา การดำเนินงานในคร้ังนี้ คณะทำงานฯ ได้กำหนดเนื้อหาไว้ 3 ประเด็น

ประกอบด้วย ประเด็นที่ ๑ การศึกษาชุมชน สภาพทางภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ทัศนคตขิ องคนท่มี ีต่อช้าง
ป่า สถานการณ์ของช้างป่า พฤติกรรมของช้างป่า ผลกระทบจากช้างป่าและการเยียวยา การแก้ไขปัญหา
กลไกการสนับสนุน และข้อเสนอแนะ ประเด็นท่ี ๒ การใหก้ ารศึกษาชุมชน และการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ
ประเดน็ ที่ ๓ การติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน

๑.๓.๒ ขอบเขตด้านพ้ืนที่ การดำเนินงานในครั้งน้ี คณะทำงานฯ ได้คัดเลือกพ้ืนท่ีเป้าหมายแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) ในพ้ืนท่ีอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ซ่ึงเป็นหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ
พัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์”
จำนวน ๕ หมู่บ้าน ๒ ตำบล ได้แก่ ๑) บ้านเขาห้ายอด หมู่ที่ ๑ ตำบลพลวงทอง ๒) บ้านเขาชะอางค์ หมู่ท่ี ๒
ตำบลพลวงทอง ๓) บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลพลวงทอง ๔) บ้านอ่างผักหนาม หมู่ท่ี ๖ ตำบลพลวงทอง
๕) บ้านคลองโค หม่ทู ี่ ๖ ตำบลเกษตรสุวรรณ

1.3.3 ขอบเขตดา้ นเวลา การดำเนินงานในครั้งน้ี ได้กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ
ประกอบด้วย ระยะท่ี 1 ระหว่างวันท่ี 21 – 24 กรกฎาคม 2563 เพ่ือศึกษาชุมชน เรียนรู้วิถีชีวิตคน
และช้าง รวมถึงปญั หาอุปสรรค การแกไ้ ขปัญหา กลการสนับสนุน และข้อเสนอแนะ ระยะท่ี ๒ ระหว่างวนั ที่
8 – 11 กันยายน 2563 เพื่อให้การศึกษาชุมชน และส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ รวมถึงการติดตามและ
รายงานผลการดำเนนิ งาน

๑.๔ ประโยชน์ทีค่ าดวา่ จะได้รับ
๑.๔.๑ มขี ้อมูล องค์ความรู้ สภาพปัญหา และการแก้ไขปญั หาชา้ งปา่ พื้นทีป่ ่ารอยตอ่ ๕ จังหวดั ภาค

ตะวนั ออก ในพื้นท่อี ำเภอบอ่ ทอง จงั หวัดชลบุรี
๑.๔.๒ ข้อเสนอรูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าพ้ืนท่ีป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด

ภาคตะวันออก ในพื้นทจ่ี ังหวดั ชลบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพ้ืนที่ ให้มีประสิทธภิ าพ
ยงิ่ ข้นึ และสามารถนำไปถ่ายทอดหรือขยายผลไปยังหมบู่ ้าน/ชุมชนอ่นื ต่อไป

บทที่ ๒
แนวคดิ และแนวทางท่เี กย่ี วขอ้ ง

การขบั เคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างปา่ พนื้ ท่ีป่ารอยต่อ 5 จงั หวดั ภาคตะวันออก : พ้นื ท่ีจังหวดั ชลบุรี
ในครั้งน้ี คณะทำงานฯ ได้นำแนวคิด แนวทางทีเ่ กย่ี วข้อง มาใช้ประกอบการดำเนนิ งาน ดงั นี้

๒.๑ แผนแม่บทสรา้ งความสมดลุ ระหว่างคนและช้างปา่
๒.๒ กลไกขับเคล่ือนการสร้างความสมดลุ ระหว่างคนและช้างปา่
๒.๓ แนวทางการดำเนินงานหมบู่ า้ นคนรักษ์ชา้ ง
๒.๔ แนวคิดการพฒั นาชมุ ชน
๒.๕ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
๒.๖ กรอบแนวคดิ การดำเนินงาน

๒.๑ แผนแมบ่ ทสร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างปา่
แผนแม่บทสร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างป่า เป็นแผนภายใต้โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์

เปน็ แผนการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติเพ่ือชา้ งป่า สตั วป์ ่า และคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อสืบสาน
รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการแก้ไข
ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนา
คุณภาพชวี ติ ของประชาชนในพน้ื ท่ีปา่ รอยตอ่ ๕ จงั หวัดภาคตะวันออก

2.1.1 เป้าหมาย แผนแมบ่ ทสรา้ งความสมดลุ ระหว่างคนและชา้ งป่า ๓ ระยะ ดงั น้ี

ระยะสนั้
1) เกิดแผนดำเนินงานภาพรวมด้านการอนุรักษ์ และพัฒนาของพื้นท่ีร่วมกัน ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน
2) เกดิ พ้ืนที่ตัวอยา่ งความสำเร็จจัดการปญั หา เพือ่ การอยู่รว่ มกันอย่างสมดุลระหว่างคน และชา้ ง
3) เกิดเครือข่ายภาคประชาชนอนรุ กั ษ์ช้าง และกลุ่มอาสาสมคั รทำงานร่วมกนั

ระยะกลาง
1) เกิดระบบจัดการปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง ที่สามารถขยาย
ผลความสำเร็จอย่างตอ่ เนอ่ื งได้

ระยะยาว
1) เกดิ ระบบติดตาม ประเมนิ จัดการปัญหาเพ่อื การอยู่รว่ มกนั ระหว่างคนกบั ชา้ ง
2) เกดิ แนวทางพฒั นาเพอ่ื การอยู่ร่วมกนั อย่างสมดุลระหว่างคนและชา้ ง อยา่ งย่ังยืน



2.1.2 แนวทางพัฒนา ตามแผนแม่บทสรา้ งความสมดลุ ระหวา่ งคนและช้างปา่ 3 แนวทาง ดงั นี้
1) แนวทางพัฒนาพน้ื ทีป่ ่าอนุรกั ษ์สำหรับเป็นท่อี าศัยของชา้ งปา่
แนวทางพัฒนาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ท่ีเป็นแหล่งอาศัยของช้างป่า และสัตว์ป่า ซึ่งปัจจุบันพบว่า

ช้างป่าหากินนอกพื้นที่ ควรเร่งดำเนินงานฟื้นฟูป่า พัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ทั้งพืชอาหารช้าง ทุ่งหญ้า
อาหารช้างและโป่งดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพ่ือดึงช้างป่ากลับสู่ผืนป่าใหญ่ สำหรับวิธีการฟื้นฟูป่า อาจใช้วิธี
“ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” และอาจเสริมด้วยพืชท่ีช่วยลดการเจริญพันธุ์ของช้าง รวมทั้งสร้างเครือข่าย
ความร่วมมือระหว่างเจ้าหนา้ ท่หี นว่ ยงานรัฐและภาคประชาชน

2) แนวทางพื้นทีแ่ นวกันชน
สำหรับพื้นท่ีแนวกันชน ซึ่งเป็นพ้ืนท่ีท่ีปัจจุบันช้างป่าใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีท้ังท่ีอยู่ประจำ

และออกมาหากินเป็นครั้งคราวในช่วงฤดูแล้ง ควรเร่งดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งอาหารสำหรับช้างป่า
ตามเส้นทางการเคล่ือนตัวของช้าง สร้างจุดพักชา้ งในป่าชุมชนเพื่อดึงดูดให้ช้างกลับคืนสู่ป่าใหญ่ในเขตรักษา
พันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน แต่ไม่ควรให้สมบูรณ์จนเกินไป เพราะจะทำให้ช้างอาศัยอยู่ถาวร รวมท้ังส่งเสริม
การปลูกพืชสมุนไพรในป่าชุมชน พัฒนาระบบติดตามและเฝ้าระวังช้างป่า ติดต้ังกล้องเพ่ือดูการเคล่ือนที่ของช้าง
โดยพิจารณาตำแหน่งทไี่ ดร้ ับผลกระทบมากทีส่ ดุ เหมาะสมเป็นอนั ดบั แรก พัฒนาเครอื ขา่ ยเฝา้ ระวัง

3) แนวทางพัฒนาพืน้ ทช่ี ุมชน
สำหรับพื้นท่ีชุมชน ซึ่งเป็นพ้ืนท่ีท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า จะดำเนินงานพัฒนานำร่อง

ในพ้ืนที่หมู่บ้านคชานุรักษ์ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจังหวัดสระแก้ว
รวมทั้งพื้นท่ีชุมชนท่ีได้รับผลกระทบ เร่ิมต้นจากการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้แก่ชุมชนเรื่องพฤติกรรม
ของช้างป่าและการปฏิบัติต่อช้าง ทั้งท้องท่ี ท้องถ่ินและประชาชน ในการอยู่ร่วมกันกับช้างป่า รวมทั้งสร้าง
เครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ช้างป่า พัฒนาแหล่งน้ำชุมชนแยกจากแหล่งน้ำช้างป่า ส่งเสรมิ ให้เกิดป่าชุมชนร่วมกับ
ภาครัฐ สร้างกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีพ้ืนท่ีทำกิน ให้มีกฎ กติกา ในการดูแลบำรุงรักษาป่าร่วมกัน
ปรับเปล่ียนวิถีการเกษตรส่งเสริมการปลูกไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง และพืชอาหารที่ช้างไม่ชอบ
สร้างกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวัง ป้องกัน และแจ้งเตือนภัยจากช้างป่า จัดระบบกองทุนคชานุรักษ์ เป็นระบบ
กองทุนเพ่อื บริหารจัดการแกป้ ญั หาผลกระทบจากช้างแบบพึง่ ตนเอง และเยยี วยาผ้ปู ระสบภยั จากชา้ งป่า

แผนแม่บทสร้างความสมดลุ ระหว่างคนและช้างป่ า

๑.ดา้ นการจัดการพืน้ ทป่ี ่ า ๒.ดา้ นการจัดการพืน้ ทแ่ี นวกนั ชน ๓.ดา้ นการจดั การพืน้ ทชี่ ุมชน
อนุรักษ์
กลยทุ ธ์ อนุรกั ษ์
กลยทุ ธ์ ๑.สรา้ งจดุ พกั ช้างในปา่ ชุมชน
๑.เพิ่มศักยภาพถ่นิ อาศยั ของช้างป่า ๒.พัฒนาศักยภาพปา่ ชุมชน กลยทุ ธ์
๒.การจดั การประชากรช้างป่า ๓.จัดทำระบบติดตามและเฝ้าระวงั ๑.สร้างความรคู้ วามเขา้ ใจ
๒.ปรับเปลยี่ นอาชีพ พัฒนาอาชีพ
๓.สร้างระบบเยยี วยา

แผนภาพท่ี 1 แผนแมบ่ ทสรา้ งความสมดุลระหว่างคนและช้างปา่



2.1.3 แผนปฏิบัติการ สร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างป่า ๓ ปี แบ่งแผนการจัดการออกเป็น
3 ดา้ นตามพื้นท่ี รวม ๙ กลยทุ ธ์ ดังนี้

ด้านที่ 1 การจัดการพ้นื ทป่ี ่าอนรุ ักษส์ ำหรบั เปน็ ทอี่ าศยั ของชา้ งปา่ ประกอบดว้ ย 2 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยทุ ธ์ท่ี ๑.๑ เพ่มิ ศกั ยภาพถ่ินอาศัยของชา้ งป่า
กลยทุ ธ์ที่ ๑.2 การจดั การประชากรช้างป่า

ดา้ นที่ 2 การจดั การพื้นที่แนวกนั ชน ประกอบดว้ ย 3 กลยทุ ธ์ ดงั น้ี
กลยุทธท์ ่ี ๒.1 สรา้ งจุดพกั ช้างในป่าชุมชนเพ่ือดึงช้างกลบั สู่เขตรักษาพันธ์ุสตั ว์ป่าฯ
กลยุทธ์ที่ 2.๒ สง่ เสริมการพัฒนาศักยภาพป่าชุมชน
กลยทุ ธท์ ี่ ๒.3 จัดทำระบบตดิ ตามและเฝา้ ระวงั ช้างปา่

ดา้ นท่ี 3 การจัดการพื้นท่ีชมุ ชน ดังนี้
กลยทุ ธท์ ี่ ๓.๑ สรา้ งความรคู้ วามเข้าใจใหก้ บั ประชาชน
กลยุทธ์ท่ี ๓.๒ ปรับเปล่ียนอาชพี พฒั นาอาชีพ
กลยทุ ธท์ ี่ ๓.๓ สรา้ งระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และเตือนภัยให้กับชมุ ชน
กลยุทธท์ ่ี ๓.๔ สร้างระบบการเยยี วยาผู้ไดร้ บั ผลกระทบ

ทั้งน้ี กรมการพัฒนาชุมชนรับผิดชอบด้านท่ี 3 การจัดการพื้นที่ชุมชน ประกอบด้วย พ้ืนที่ชุมชน
ท่ีได้รับผลกระทบ และพื้นที่นำร่องในพ้ืนที่หมู่บ้านคชานุรักษ์ ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี ระยอง และสระแกว้ ดังน้ี

ด้านที่ ๓ การจัดการพน้ื ทชี่ ุมชน
กลยุทธ์ที่ ๓.๑ สร้างความรู้ความเขา้ ใจให้กบั ประชาชน
เปา้ หมายและผลสัมฤทธ์ิ
๑. หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จำนวน ๒๓๓ หมู่บ้านใน ๕ จังหวัด

ได้รับความรู้ความเขา้ ใจพฤตกิ รรมของชา้ งและพฤติกรรมท่ีคนควรปฏิบัตติ อ่ ช้าง และเกิดทัศนคติท่ดี ตี ่อชา้ ง
๒. ประชาชนท่ัวไปได้รับความร้คู วามเข้าใจหลักการปฏิบัติต่อช้าง ทำให้อุบัติเหตุ

และผลกระทบที่เกดิ ข้ึนจากช้างปา่ ลดลง
๓. มีบทเรียนความสำเร็จจากหมู่บ้านคชานุรักษ์ ๕ หมู่บ้าน เพ่ือนำมาใช้เป็นตัวอย่าง

ในการขยายผล
ตวั ชวี้ ดั
๑. ร้อยละของชุมชนท่ีมีความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมของช้างและพฤติกรรมท่ีคน

ควรปฏบิ ัตติ ่อช้าง (ร้อยละ ๘๐ ขึน้ ไป)
๒. จำนวนอบุ ัติเหตุและผลกระทบจากช้างปา่ ในชุมชนลดลง
๓. จำนวนบทเรยี นความสำเรจ็ จากหมู่บา้ นคชานุรักษ์ ปีละ ๕ เร่อื ง

กลยุทธท์ ี่ ๓.๒ ปรับเปล่ียนอาชีพ พฒั นาอาชพี
เปา้ หมายและผลสัมฤทธ์ิ
๑. หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จำนวน ๒๓๓ หมู่บ้านใน ๕ จังหวัด

มคี วามมนั่ คงทางการประกอบอาชีพ
๒. ประชาชนในหมบู่ า้ นเปา้ หมายสามารถลดรายจ่าย และมีรายไดเ้ พิม่ ขน้ึ



ตวั ช้ีวัด
๑. จำนวนกลุม่ อาชพี ทเ่ี พิ่มข้นึ
๒. ประชาชนในหมบู่ ้านเป้าหมายมีรายไดเ้ พิ่มข้นึ

กลยุทธ์ท่ี ๓.๓ สร้างระบบการเฝ้าระวงั ป้องกนั และเตือนภัยใหก้ บั ชุมชน
เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์
๑. หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จำนวน ๒๓๓ หมู่บ้านใน ๕ จังหวัด

ไดร้ บั ผลกระทบจากช้างปา่ ลดลง
๒. เกดิ ระบบเครือขา่ ยการเฝา้ ระวงั และเตือนภยั ชมุ ชน

ตัวชี้วัด
๑. จำนวนหมู่บ้านทไี่ ดร้ บั ผลกระทบจากช้างปา่ ลดลง
๒. มเี ครือข่ายการเฝา้ ระวงั และเตอื นภยั ชมุ ชน

กลยุทธท์ ี่ ๓.๔ สร้างระบบการเยียวยาผู้ได้รบั ผลกระทบ
เป้าหมายและผลสัมฤทธ์ิ
ประชาชนท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่าใน ๕ จังหวัด ได้รับการชดเชยเยียวยา

อยา่ งเหมาะสม
ตวั ชี้วัด
รอ้ ยละของสมาชิกกองทุนท่ไี ดร้ บั ผลกระทบจากช้างปา่ ไดร้ บั การเยียวยา

๒.๒ กลไกขบั เคล่อื นการสร้างความสมดุลระหว่างคนและชา้ งปา่

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดศี รีสินทรมหาวชริ าลงกรณ พระวชริ เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับโครงการอนุรักษ์ช้างปุ่ารอยต่อ ๕ จังหวัดในภาคตะวันออก ไวใ้ นพระบรมราชูปถัมภ์
และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งต้ังคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ ๕ จังหวัดในภาค
ตะวันออก ประกาศเมื่อวันท่ี ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๙ สิงหาคม
๒๕๖๒) โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสุทดิ าพัชรสุธาพิมลลกั ษณ พระบรมราชินี ทรงเป็นองคป์ ระธานท่ีปรึกษา สมเด็จพระเจ้าลกู เธอ
เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ประธานกรรมการ
ปลดั กระทรวงมหาดไทย เปน็ กรรมการ และกรรมการอ่ืน ๆ อกี รวมจำนวน ๓๕ คน

๑) คณะกรรมการดำเนินงานการจดั การปญั หาเพอื่ การอยรู่ ว่ มกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำส่ังท่ี ๓๖๘/๒๕๖๑ ลงวนั ท่ี ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑
เร่ืองแต่งต้ังคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการปัญหาเพ่ือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง
โดยมีนายรอยล จิตรดอน เป็นท่ีปรึกษา ปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน
กรรมการ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช
เป็นกรรมการและเลขานกุ าร และกรรมการอื่น ๆ อกี รวมจำนวน ๒๖ คน

๒) คณะทำงานพัฒนาชุมชน
คณะกรรมการดำเนินงานการจัดการปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง

มีคำสั่งท่ี ๔/๒๕๖๒ ลงวันท่ี ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒ เรื่องแต่งต้ังคณะทำงานพัฒนาชุมชน โดยพระอาจารย์สาย



(พระครูประโชตธรรมาภิรม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศิลาธรรมาราม (วังหิน) เป็นที่ปรึกษา อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พัฒนาการจังหวัดระยอง เป็นคณะทำงานและเลขานุการ และคณะทำงานอ่ืน ๆ อีก
รวมจำนวน ๑๙ คน มอี ำนาจหนา้ ท่ี

(๑) พฒั นาการเกษตร สง่ เสรมิ วนเกษตรในเป็นแนวรัว้ ธรรมชาติ
(๒) สร้างความเข้าใจในพฤติกรรมของช้าง และปฏิบัติต่อช้างเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ลดปัญหา
ความขัดแยง้ ระหวา่ งคนและช้าง โดยการสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรกั ษช์ า้ ง
(๓) พัฒนาคนในมีระบบและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ การออม และการบริหาร
จัดการเงินทนุ ของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชนและชมุ ชน
(๔) กำหนดให้มรี ะบบเตือนภัยชุมชน
(๕) ปฏิบัติงานอ่ืนท่ีได้รับมอบหมายและรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการฯ ทราบ
อยา่ งตอ่ เนือ่ ง

๓) คณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่รอยต่อ ๕ จังหวัด
ภาคตะวนั ออก

กรมการพัฒนาชุมชน มีคำส่ังที่ ๑๐๔๕/๒๕๖๒ ลงวันท่ี ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เร่ืองแต่งตั้ง
คณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัด ภาคตะวันออก โดยมี
อธิบดกี รมการพัฒนาชุมชน เปน็ ประธานกรรมการ และกรรมการอ่ืน ๆ อีก รวม จำนวน ๑๙ คน มีหน้าท่ี

(๑) กำหนดแนวทาง มาตรการ ประสานงาน และบูรณาการการดำเนินงานและงบประมาณ
ในความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งในการแก้ไขปญั หาชา้ งป่า

(๒) กำหนดแผนงานการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการแกไ้ ขปัญหาช้างป่าอย่างเปน็ รูปธรรม

(๓) กำกับ เรง่ รัด ตรวจสอบ ติดตามผลการปฏิบัติงานการขับเคล่ือนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลัก
ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการแกไ้ ขปญั หาชา้ งป่า

(๔) ประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการขับเคล่ือนการดำเนินชีวิตตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปญั หาชา้ งป่า

(๕) ประชุมติดตามผลการขับเคล่อื นงานและรายงานใหอ้ ธิบดกี รมการพฒั นาชุมชนทราบ ทุกเดอื น
(๖) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามทอ่ี ธบิ ดีกรมการพฒั นาชุมชนมอบหมาย

๔) คณะทำงานสนบั สนนุ การขบั เคลื่อนการดำเนนิ งาน
คณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่รอยต่อ ๕ จังหวัด

ภาคตะวันออก มีคำสั่งที่ ๓๔๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่องแต่งต้ังคณะทำงานสนับสนุน
การขบั เคลอื่ นการดำเนนิ งาน ประกอบด้วย

4.๑) คณะทำงานสนบั สนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
(นายโชคชัย แก้วปุอง) เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน เป็นรองหัวหน้า
คณะทำงาน ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
และคณะทำงานอ่ืน ๆ อกี รวมจำนวน ๑๒ คน มหี น้าท่ี

(๑) กำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
เพ่ือการแกไ้ ขปญั หาช้างป่าทเ่ี ปน็ รปู ธรรม

๑๐

(๒) กำหนดแผนงานการส่งเสริม สนับสนุน และติดตามความก้าวหน้าการขับเคล่ือน
การดำเนนิ งานในพืน้ ท่หี มู่บา้ น

(๓) รวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานคณะกรรมการพัฒนาชุมชน
ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่รอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก และคณะกรรมการโครงการ
พัชรสธุ าคชานรุ กั ษ์

(๔) ปฏิบัติงานอ่ืน ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ี
รอยต่อ ๕ จังหวดั ภาคตะวันออก มอบหมาย

4.๒) คณ ะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพ้ืนท่ี ประกอบด้วย ๕ คณ ะ
โดยคณะทำงาน รับผิดชอบพื้นท่ีจังหวัดชลบุรี มีรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายวิไลวรรณ ไกรโสดา)
เป็นท่ีปรึกษาคณะทำงาน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
ผูอ้ ำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน สำนักเสริมสรา้ งความเข้มแข็งชุมชน เป็นคณะทำงาน
และเลขานุการ มีหนา้ ท่ี ดงั นี้

(๑) กำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
เพอื่ การแก้ไขปญั หาชา้ งป่าที่เปน็ รปู ธรรม

(๒) กำหนดแผนงานการส่งเสริม สนับสนุน และติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อน
การดำเนินงานในพน้ื ท่ีหมบู่ า้ น

(๓) สนับสนุนการจัดทำแผน การเช่ือมโยงและประสานแผนสู่แผนพัฒนาจังหวัด รวมถึง
การประสานแผนกบั หนว่ ยงานต่าง ๆ ทเี่ กี่ยวขอ้ งในระดบั พนื้ ที่

(๔) รายงานความก้าวหน้าการขับเคล่ือนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาเพ่ือการอยู่ร่วมกัน
อย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าให้คณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ี
รอยต่อ ๕ จงั หวัดภาคตะวันออก ทราบอยา่ งตอ่ เน่อื ง

(๕) ประสานหน่วยงานต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องในระดับพ้ืนท่ีเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินชีวิต
ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งในการแก้ไขปัญหาชา้ งป่า

(๖) หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบพ้ืนท่ีแต่ละจังหวัด พิจารณามอบหมายเจ้าหน้าที่
และผอู้ ำนวยการกลุ่มงานฯ ให้ดำเนนิ งานตามบทบาทหน้าท่ไี ด้ตามทีเ่ ห็นสมควร

(๗) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามท่ีคณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างป่า
พนื้ ทร่ี อยตอ่ ๕ จงั หวดั ภาคตะวนั ออก มอบหมาย

๕) คณะทำงานขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก
พน้ื ท่จี ังหวดั ชลบรุ ี

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน มีคำสั่งที่ ๗/๒๕๖๓ ลงวันท่ี ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓
เร่ือง แต่งต้ังคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัด ภาคตะวันออก
พ้ืนท่ีจังหวัดชลบุรี โดยมีนางวรรณา ล่มิ พานชิ ย์ นักวชิ าการพัฒนาชมุ ชนเชี่ยวชาญ เป็นหวั หน้าคณะทำงาน
นายรังสรรค์ หังสนาวิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน
มีคณะทำงาน จำนวน ๓ คน โดยมี พ.ต.อ.วุฒทิชัย มีโชค นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
เป็นคณะทำงานและเลขานุการ นางสาวชลทิชา เหมวรชาติ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าท่ีรับผิดชอบกำกับดูแล สนับสนุน ติดตามความก้าวหน้า
การขับเคล่ือนการดำเนินงานในพ้ืนท่ีหมู่บ้าน เพื่อการแก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุน

๑๑

การจัดทำแผน การเชื่อมโยงและประสานแผนสู่แผนพัฒนาจังหวัด รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อน
การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาเพ่ือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง ให้คณะกรรมการพัฒนาชุมชนฯ
ทราบอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประสานหน่วยงานต่าง ๆ เพ่ือให้เกิดการขับเคล่ือนการดำเนินชีวิตตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียงในการแกไ้ ขปญั หาช้างป่า

๖) คณะกรรมการชุมชน ๕ จงั หวดั โครงการพัชรสุธาคชานุรกั ษ์

หน่วยราชการในพระองค์ ๙๐๔ มีคำสั่งท่ี ๗๙/๒๕๖๓ ลงวันท่ี ๕ ตุลาคม ๒๕๖๒ แต่งต้ัง
คณะกรรมการชุมชน ๕ จังหวัด โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ โดยแต่งต้ังราษฎร หมู่ 4 บ้านเขาใหญ่ ตำบลพลวงทอง
อำเภอบ่อทอง จงั หวดั ชลบรุ ี จำนวน ๕ คน ไดแ้ ก่

(๑) นายตระกูล สวา่ งอารมณ์
(๒) นายเอกชัย สิรจิ ำนรรจ์
(๓) นายสาวจุฑาทพิ จิตรหาญ
(๔) นางพชั รา พทิ กั ษ์วศิน
(๕) นางสาวสรณิ ภ์ยฒ เกษตรมงคลชัย
มีอำนาจหนา้ ที่ ดังน้ี
(๑) กำหนดแผนการดำเนนิ งานหมบู่ ้านคชานุรกั ษ์
(๒) กำหนดระเบยี บ กฎ กติกา ทเ่ี กีย่ วขอ้ งในการดำเนนิ งาน
(๓) ส่งเสริม และประสานงานการมีส่วนร่วม ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถ่ิน
ทอ้ งท่ี และประชาชน
(๔) ดำเนินการอ่ืน ๆ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ตามนโยบายของ
คณะกรรมการโครงการ

นายตระกลู สวา่ งอารมย์ นายเอกชัย สิรจิ ำนรรจ์ น.ส.จฑุ าทพิ จติ รหาญ

นางพชั รา พิทกั ษว์ ศนิ น.ส.รสริณภ์ยฒ เกษตรมงคลชยั

๑๒

คณะกรรมการโครงการอนุรักษช์ า้ งป่ ารอยต่อ ๕ จังหวัด ในภาคตะวนั ออก

(ประกาศเม่อื วนั ท่ี ๒๘ สงิ หาคม ๒๕๖๒)

คณะกรรมการดาเนนิ งานการจัดการปัญหาเพอื่ การอยู่ร่วมกนั อยา่ งสมดลุ ระหว่างคนและช้าง

(คำสงั่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม ที่ ๓๖๘/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑)

คณะทำงานพฒั นาชุมชน

(คำส่งั คณะกรรมการดำเนนิ งานการจดั การปัญหาเพื่อการอยรู่ ว่ มกนั อย่างสมดลุ ระหวา่ งคนและช้าง
ท่ี ๔/๒๕๖๒ ลงวนั ที่ ๑๓ มนี าคม ๒๕๖๒)

คณะกรรมการพัฒนาชมุ ชนขับเคลอ่ื นการแกไ้ ขปญั หาชา้ งป่าพน้ื ทร่ี อยต่อ ๕ จังหวดั ภาคตะวันออก

(คำสั่งกรมการพัฒนาชุมชน ท่ี ๑๐๔๕/๒๕๖๒ ลงวันท่ี ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

ะคณะทางานสนับสนุนการขบั เคลอื่ นการดาเนินงาน

คำสงั่ คณะกรรมการพฒั นาชุมชนขับเคลอ่ื นการแก้ไขปัญหาช้างปา่ พืน้ ท่ีรอยตอ่ ๕ จงั หวัด
ภาคตะวันออก ที่ ๓๔๔/๒๕๖๓ ลงวนั ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓)

คณะทำงานขับเคล่ือนการแก้ไขปญั หาช้างปา่ พืน้ ทรี่ อยตอ่ ๕ จงั หวดั ภาคตะวนั ออก
พ้นื ที่จงั หวัดชลบุรี

(คำสง่ั สำนกั เสรมิ สรา้ งความเขม้ แข็งชมุ ชน ท่ี ๗ /2563 ลงวนั ท่ี ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓

คณะกรรมการชมุ ชน ๕ จังหวดั โครงการพัชรสุธาคชานรุ กั ษ์

(คำสง่ั หนว่ ยราชการในพระองค์ ๙๐๔ มคี ำส่ังท่ี ๗๙/๒๕๖๓ ลงวนั ที่ ๕ ตลุ าคม ๒๕๖๒)
แผนภาพที่ ๒ กลไกขับเคลือ่ นการสร้างความสมดุลระหวา่ งคนและช้างป่า

๑๓

๒.๓ แนวทางการดำเนนิ งานหมูบ่ ้านคนรกั ษช์ ้าง
กรมการพัฒนาชุมชนในฐานะหัวหน้าคณะทำงานพัฒนาชุมชน ตามคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงาน

การจัดการปัญหาเพ่ือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง มีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเสริมสร้าง
องค์ความรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง ภายใต้ช่ือหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง โดยใช้แนวคิด
“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ คนรู้จักช้าง คนเข้าใจช้าง คนรักช้าง
และคนอยู่ร่วมกับช้าง เพ่ือเป้าหมายคนทำร้ายช้างลดลง และช้างรุกรานคนลดและเพื่อการขับเคลื่อน
กิจกรรมสนับสนุน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” โดยใช้พ้ืนท่ีระดับหมู่บ้านท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่าใน 5 จังหวัด
ภาคตะวันออก จำนวน 235 หมู่บ้าน (18 อำเภอ 45 ตำบล) เป็นพื้นที่ดำเนินงาน โดยมีแนวทาง
การดำเนนิ งานหม่บู า้ นคนรกั ษ์ช้าง ดงั น้ี

แผนภาพท่ี ๓ แนวทางการดำเนนิ งานหมู่บา้ นคนรักษช์ ้าง
๑) คนรู้จักช้าง โดยการตั้งคณะกรรมการ“หมู่บ้านคนรักษ์ช้าง” วิเคราะห์สถานการณ์สาเหตุ
ของการที่ช้างป่าบุกรุกแต่ละหมู่บ้าน ปรับทัศนคติท่ีดีของคนที่มีต่อช้างป่า ฝึกอบรมสิ่งท่ีคนควรทำและไม่ควรทำ
เพื่ออยู่ร่วมกับช้าง วางแผนการเฝ้าระวังและการป้องกันภัยจากช้างป่า มีความรู้ในการเยียวยาผู้ประสบภัย
จากช้างป่า กำหนดกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง/ฝึกอบรมประชาชน ให้มีความรู้
ความเขา้ ใจในเร่ืองของชา้ ง นสิ ัย พฤตกิ รรม สิ่งทช่ี อบและไมช่ อบ
๒) คนเข้าใจชา้ ง เรียนรู้พฤติกรรมเพ่ือการอยู่รว่ มกนั กับช้าง วธิ ีเอาตัวรอดจากการเผชิญหน้ากับช้างป่า
สร้างความรู้ในการปลูกพืชอาหารช้างและ พืชที่ช้างไม่ชอบ ส่งเสริมความรู้เรือ่ งสัตว์และพืชที่เป็นแนวป้องกัน
ช้างได้ เรียนรชู้ ่วงเวลาตา่ ง ๆ ทช่ี า้ งจะออกหากนิ

๑๔

๓) คนรักษ์ช้าง จัดทำสถานที่สำหรับช้าง เช่น โป่งเทียม ทุ่งหญ้าอาหารช้าง แหล่งน้ำ เป็นต้น

จัดกิจกรรมจิตอาสาคนรักษ์ช้างในการดำเนินงานในพ้ืนที่ พัฒนากลุ่มอาชีพของ ประชาชนโดยใช้ทรัพยากร

ในพ้ืนที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อชดเชยรายได้จากภัยช้างป่า สร้างแบรนด์ โดยใช้ความเช่ือมโยง

กับช้าง (ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์คนรักษ์ช้าง) ส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ คนรักษ์ช้างจากชุมชน

ที่ได้รับผลกระทบจากช้าง จัดสถานท่ีจำหน่ายผลิตภัณฑ์คนรักษ์ช้าง ส่งเสริมการเพาะพันธุ์กล้าไม้ท่ีช้างชอบ

เพ่ือใชเ้ ลย้ี งชา้ งโดยทำเปน็ การค้า

๔) คนอยู่ร่วมกับช้าง บูรณาการหน่วยงานจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง และแก้ไขปัญหา
แบบองค์รวม จัดทำหมู่บ้านท่องเท่ียว กำหนดเส้นทางการท่องเท่ียวตามบริบทของแต่ละพื้นท่ี (หอดูช้าง)
พัฒนาทักษะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายการเช่ือมโยงการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคน
และช้างในด้านต่าง ๆ เช่น เครือข่ายด้านอาชีพ ด้านการท่องเท่ียว ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการเฝ้าระวัง
และป้องกัน เป็นต้น สร้างระบบป้องกนั และระวังภัยจากช้างป่า (ใช้ระบบไลน์เตือนภัย) มรี ะบบเยียวยาผูท้ ี่ได้รับ
ผลกระทบจากภัยช้างป่าที่ยุติธรรมและเป็นธรรม (กรณีราคาพืชผลทางการเกษตร) มีกองทุนระหว่างรัฐ
กับประชาชนร่วมกัน (เครือข่าย องค์กร มูลนิธิ อปท. ฯลฯ) เป็นกองทุนโดยที่มาของเงินประกอบด้วย
1.กองทุนชุมชน (กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มออมทรัพย์ฯ) 2.กองทุนประกันภัยชุมชน (เงินบริจาค
จากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ (CSR)) ส่งเสริมการปลูกพืชท่ีช้างไม่ชอบกิน คนได้ประโยชน์จาก การผลิตเพื่อการค้า
เชน่ ฝาง ชะมวง เทพทาโร ชะอม เท้ายายม่อม อบเชย มะดันแดง ปลาไหลเผือก เป็นต้น มีระบบการประกาศ
ภยั พิบัตฉิ ุกเฉนิ ตามเงอ่ื นไขขอ้ กฎหมาย และเปน็ ธรรม

ทั้งน้ี กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคน
และช้างป่า ภายใต้ภารกจิ ของกรมฯ ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ - 2563 จำนวน ๕ โครงการ ดังนี้

1) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างองค์ความรู้หมู่บ้านคนรักษ์ช้าง ให้กับบุคลากร
กรมการพัฒนาชุมชน และผู้นำหมู่บ้าน ในพื้นท่ี 5 จังหวัด (จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ
จังหวัดสระแกว้ ) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 420 คน งบประมาณ จำนวน 1,500,000 บาท (หน่ึงล้านห้าแสนบาทถว้ น)
ดำเนินการเมือ่ วนั ที่ 17 – 18 กนั ยายน 2562 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จังหวดั ระยอง

๒) โครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุน
การดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” งบประมาณ จำนวน 4,600,000 บาท พื้นท่ีเป้าหมาย จำนวน 23
หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวน 5 หมู่บ้าน และหมู่บ้านขยายผล จำนวน 18 หมู่บ้าน
ประกอบด้วย ๒ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมท่ี 1 พัฒนาศักยภาพผู้นำหมู่บ้านและเจ้าหน้าท่ีกรมการพัฒนาชุมชน
ในการขับเคล่ือนหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง จำนวน 54 คน ได้แก่ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด พัฒนาการ
อำเภอหรือผู้แทน ผู้แทนหมู่บ้านคชานุรักษ์และหมู่บ้านขยายผล และเจ้าหน้าท่ีส่วนกลาง งบประมาณ
197,800 บาท ดำเนินการระหว่างวันท่ี 14 - 15 มกราคม 2563 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา
กิจกรรมท่ี 2 การพัฒนาและสาธิตอาชีพตามแผนพัฒนาวิถีชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคน
และช้าง จำนวน 23 หมู่บา้ น ๆ ละ 30 คน งบประมาณ 4,402,200 บาท

3) โครงการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายคชานุรักษ์ชลบุรี ด้านการแปรรูป
สมุนไพร อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี งบประมาณ จำนวน 611,000 บาท แยกเป็น ค่าครุภัณฑ์
จำนวน 297,920 บาท ค่าวัสดุและอุปกรณ์ จำนวน 215,642 บาท ดำเนินการวันท่ี 25 มีนาคม 2563
และค่าใช้จ่ายในการอบรมสาธิตการแปรรูป จำนวน 97,438 บาท จังหวัดดำเนินการเมื่อวันท่ี 27 - 29
พฤษภาคม 2563

๑๕

4) โครงการขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” งบประมาณ จำนวน 23,856,400 บาท ประกอบด้วย
๓ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 สร้างองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาชีพทางเลือก กิจกรรมย่อยท่ี 1
สร้างองค์ความรู้ โดยจัดทำคู่มือฉบบั การ์ตูน จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม งบประมาณ 288,2๐๐ บาท กิจกรรมยอ่ ยท่ี 2
พัฒนาผลิตภัณฑ์อาชีพทางเลือก งบประมาณ 395,800 บาท ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพเลี้ยงผ้ึงบ้านคลองมะหาด
จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน และกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านเขาใหญ่ จังหวัดชลบุรี จำนวน 15 คน
กิจกรรมที่ 2 การพฒั นาและสาธิตอาชีพตามแผนพฒั นาวิถีชีวิตเพือ่ การอยู่ร่วมกนั อย่างสมดลุ ระหว่างคนและช้าง
ประกอบด้วย ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 212 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 คน งบประมาณ ๒3,108,0๐๐ บาท
กิจกรรมท่ี 3 ติดตามผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาช้างป่าตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพ้ืนที่
5 จงั หวัดภาคตะวนั ออก โดยเจ้าหนา้ ท่ีส่วนกลาง งบประมาณ 64,400 บาท

๕) สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เล้ียงผึ้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ
จำนวน 976,100 บาท ได้แก่ โครงการที่ ๑ ฝึกอบรมอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เล้ียงผ้ึง (ศึกษาดูงาน)
บ้านคลองมะหาด หมู่ที่ 14 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ งบประมาณ 483,000 บาท โครงการที่ ๒
ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เล้ียงผึ้ง บ้านคลองมะหาด หมู่ที่ 14 ตำบลท่าตะเกียบ
อำเภอทา่ ตะเกียบ งบประมาณ 493,100 บาท สมาชิก ๒๑ คน

๒.๔ แนวคดิ การพฒั นาชุมชน
แนวคิดเก่ียวกับการพัฒนาชุมชน ท่ีใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่ป่า

รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก : พื้นที่จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ปรัชญา แนวคิดพ้ืนฐาน หลักการ

และกระบวนการทาํ งานพัฒนาชมุ ชน ดงั นี้

๒.๔.๑ ปรชั ญาพฒั นาชมุ ชน กรมการพฒั นาชมุ ชน (2538) ไดก้ ล่าวสรุป ปรัชญางานพฒั นาชุมชน
มคี วามเช่ือวา่

1) มนษุ ยท์ กุ คนมีเกยี รตแิ ละศักด์ิศรใี นความเปน็ คน
2) มนษุ ยท์ ุกคนมีความสามารถ หรือมีศักยภาพ
3) ความสามารถของมนุษยส์ ามารถพฒั นาได้ถ้ามโี อกาส
๒.๔.๒ แนวความคิดพื้นฐานในการพฒั นาชุมชน
การศึกษาแนวความคิดพ้ืนฐานของงานพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสําคัญท่ีจะทําให้พัฒนากรสามารถ
ทํางานกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง และทําให้งานมีประสิทธิภาพ แนวคิดพื้นฐาน ในการพัฒนาชุมชน
ในระดับการปฏิบตั ิ มีดงั น้ี
1) การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน
โดยยึดหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและ
ร่วมบํารงุ รักษา
2) การช่วยเหลือตนเอง (Aided Self - Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสําคัญ
ประการหน่ึง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากข้ึน โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน
ในสว่ นทเ่ี กนิ ขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลกั เกณฑ์ทเ่ี หมาะสม
3) ความคิดริเริ่มของประชาชน (Initiative) ในการทํางานกับประชาชนต้องยึดหลักการท่ีว่า
ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา
ให้ประชาชนเกดิ ความคดิ และแสดงออกซึ่งความคดิ เห็นอนั เปน็ ประโยชน์ต่อหมบู่ า้ น ตาํ บล

๑๖

4) ความต้องการของชุมชน (Felt - Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชนและองค์กร
ประชาชนคิดและตัดสินใจบนพ้ืนฐานความต้องการของชุมชนเอง เพ่ือให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของ
ประชาชน และจะชว่ ยกันดูแลรกั ษาต่อไป

5) การศึกษาภาคชีวิต (Life - Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การศึกษา
ภาคชีวิตแก่ประชาชน เพ่ือนําไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษา ต้องให้การศึกษาอย่างต่อเน่ืองกันไป
ตราบเทา่ ทบี่ ุคคลยังดาํ รงชีวติ อยูใ่ นชมุ ชน

๒.๔.3 หลักการดําเนินงานพัฒนาชุมชน จากปรัชญาและแนวคิดพ้ืนฐานของการพัฒนาชุมชน
ไดน้ ํามาใชเ้ ปน็ หลักในการดําเนินงานพัฒนาชมุ ชน ดงั ต่อไปนี้

1) ยึดหลักความมีศักด์ิศรี และศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพ
ทม่ี ีอยู่ให้มากที่สดุ นกั พัฒนาต้องเช่ือม่นั ว่าประชาชนนนั้ มีศกั ยภาพทจี่ ะใช้ความรู้ ความสามารถทจ่ี ะปรับปรุง
พัฒนาตนเองได้ จึงต้องให้โอกาสประชาชนในการคิด วางแผน เพ่ือแก้ปัญหาชุมชนด้วยตัวของเขาเอง
นกั พฒั นาควรเป็นผกู้ ระตนุ้ แนะนํา ส่งเสรมิ

2) ยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน นักพัฒนาต้องยึดม่ันเป็นหลักการสําคัญว่าต้องสนับสนุน
ให้ประชาชนพ่ึงตนเองได้ โดยการสร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน ส่วนรัฐบาลจะช่วยเหลือ สนับสนุน
อยู่เบ้อื งหลงั และช่วยเหลือในสว่ นท่เี กนิ ขดี ความสามารถของประชาชน

3) ยดึ หลักการมีสว่ นร่วมของประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนรว่ มคิด ตดั สินใจ วางแผน
ปฏิบัติตามแผน และติดตามประเมินผลในกิจกรรม หรือโครงการใด ๆ ท่ีจะทําในชุมชน เพื่อให้ประชาชน
ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการดําเนินงาน อันเป็นการปลูกฝังจิตสํานึกในเร่ืองความเป็นเจ้าของโครงการ
หรอื กจิ กรรม

4) ยึดหลักประชาธิปไตย ในการทํางานพัฒนาชุมชนจะต้องเริ่มด้วยการพูดคุย ประชุม
ปรึกษาหารือร่วมกัน คิดร่วมกัน ตัดสินใจ และทําร่วมกัน รวมถึงรับผิดชอบร่วมกัน ภายใต้ความช่วยเหลือ
ซง่ึ กันและกนั ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย

๒.๔.4 กระบวนการทํางานพัฒนาชุมชน การปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนเป็นงานท่ีต้องทําอย่างต่อเน่ือง
เป็นกระบวนการ ดังนี้

1) การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชมุ ชน เพ่ือทราบปัญหาและความตอ้ งการของชมุ ชน
ท่ีแท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน ทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสํารวจ
และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในชุมชนด้วย เพ่ือให้ได้ข้อมูลท่ีตรงกับความเป็นจริงมากท่ีสุด
กลวิธีท่ีสําคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในข้ันตอนนี้ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหาก
ป ร าศ จ า ก สั ม พั น ธ ภ าพ ที่ ดี ระ ห ว่ างพั ฒ น าก ร กั บ ช าว บ้ าน แ ล้ ว เป็ น ก าร ย าก ที่ จ ะ ได้ รู้ แ ล ะ เข้ า ใจ ปั ญ ห า
ความต้องการจริงๆ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนมรักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นส่ิงท่ีจําเป็น
ทจ่ี ะตอ้ งปลูกฝังให้เกดิ ข้นึ กบั คนในชมุ ชน

2) การให้การศึกษาแกช่ ุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปญั หาร่วมกับประชาชน เป็นการนําขอ้ มลู ต่าง ๆ
ท่ีได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและ สภาพที่เป็จริง ผลกระทบ
ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนน้ี คือ การกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ เข้าใจ
และตระหนกั ในปญั หาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบนั ก็คอื การจดั เวทีประชาคม เพื่อค้นหาปญั หารว่ มกนั ของชุมชน

3) การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกําหนดโครงการ เป็นการนํา
เอาปัญหาท่ีประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกันหาสาเหตุ แนวทางแก้ไข

๑๗

และจัดลําดับความสําคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจท่ีจะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถ
ของประชาชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก กลวิธีที่สําคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้
เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้ เทคนิคการวางแผน
แบบให้ประชาชนมสี ว่ นร่วม

4) การดําเนินงานตามแผนและโครงการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามแผนและ
โครงการทไ่ี ดต้ กลงกนั ไว้ กลวธิ ที ี่สําคญั ในขัน้ ตอนน้ี คอื การเป็นผู้ชว่ ยเหลือ สนับสนุนใน 2 ลักษณะ คือ

4.1) เปน็ ผูป้ ฏบิ ตั ิงานทางวชิ าการ เช่น แนะนําการปฏบิ ัติงาน ให้คาํ ปรึกษาหารือในการแกไ้ ข
ปญั หาท่เี กดิ ข้นึ จากการปฏบิ ัตงิ าน

4.2) เปน็ ผ้สู ง่ เสรมิ ให้ชาวบ้านเข้ามามสี ่วนรว่ มในการปฏบิ ตั ิงาน
5) การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่กําลังดําเนินการตามโครงการ
เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคท่ีพบได้อยา่ งทันท่วงที กลวิธีท่ีสําคัญในข้ันตอนน้ี คอื การติดตามดูแล
การทํางานท่ีประชาชนทํา เพ่ือทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนําผลการปฏิบัติงาน
ตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพรเ่ พื่อใหผ้ เู้ กยี่ วข้องไดท้ ราบ สามารถกระทาํ ไดโ้ ดย

5.1) แนะนาํ ให้ผ้นู ําท้องถ่นิ หรือชาวบ้าน ตดิ ตามผลและรายงานผลด้วย ตนเอง เช่น รายงาน
ด้วยวาจา รายงานเป็นลายลกั ษณ์อกั ษร การจัดนทิ รรศการ เปน็ ต้น

5.2) พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจา
ตอ่ ผ้บู ังคับบัญชาและผู้เกีย่ วข้อง เสนอผลการปฏบิ ัติงานต่อท่ีประชมุ ทําบันทึกรายงานตามแบบฟอรม์ ตา่ ง ๆ
ของทางราชการ

สรุปแนวคิดเก่ียวกับการพัฒนาชุมชน ซึ่งคณะทำงานฯ ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ไข
ปัญหาช้างป่า ในพ้ืนท่ีจังหวัดชลบุรีครั้งนี้ ได้แก่ การยึดหลักปรัชญาพัฒนาชุมชนท่ีเช่ือว่ามนุษย์ทุกคนมี

เกียรติและศักดิ์ศรี มีศักยภาพ ความสามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในทุกระบวนการ ตั้งแต่การศึกษาชุมชน ให้การศึกษาชุมชน การวางแผน ดำเนินการตามแผน และการติดตาม
ประเมนิ ผล

2.๕ ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทาน

พระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวติ แกพ่ สกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนับตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ก่อนเกิด
วกิ ฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลงั ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพ่ือให้รอดพ้น และสามารถดำรง
อยไู่ ดอ้ ย่างม่ันคงและยง่ั ยนื ภายใต้กระแสโลกาภวิ ัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

สุเมธ ตันติเวชกุล อ้างถึงใน (คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ, ๒๕๕๔) ได้สรุป
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self-Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซ่ึงต้องสร้างพื้นฐานทางด้าน
เศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้ มิได้มุ่งหวังท่ีจะสร้างความ
เจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ท่ีมีอาชีพและฐานะเพียงพอ
ท่ีจะพ่ึงตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นท่ีสูงขึ้นไปตามลำดับต่อไปได้
การพ่ึงตนเองหนั กลบั มายึดทางสายกลาง (มัชฌมิ าปฏปิ ทา) ในการดำรงชวี ติ ใช้หลักพึ่งตนเอง ๕ ประการ คือ

๑๘

1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พ่ึงของตนเอง มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีจิตสำนึกท่ีดี สร้างสรรค์ให้ตนเอง
และชาติโดยรวม มีจิตใจเอ้ืออาทร ประนีประนอม ซ่ือสัตย์สุจริตเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นท่ีต้ัง ดังกระแส
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั เกี่ยวกับการพัฒนาคน ความวา่

“...บุคคลต้องมีรากฐานทางจิตใจท่ีดี คือ ความหนักแน่นม่ันคงในสุจริตธรรมและความมุ่งม่ัน
ท่ีจะปฏิบัติหน้าท่ีให้จนสำเร็จ ท้ังต้องมีกุศโลบาย หรือวิธีการอันแยบยลในการปฏิบัติงานประกอบพร้อมด้วย
จึงจะสัมฤทธผิ ลท่ีแนน่ อน และบังเกดิ ประโยชน์อันยั่งยืนแก่ตนเองและแผ่นดิน...”

2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเก้ือกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง
เป็นอสิ ระ ดงั กระแสพระราชดำรสั ความวา่

“...เพ่ือให้งานรุดหน้าไปพร้อมเพรียงกัน ไม่ลดหล่ัน จึงขอให้ทุกคนพยายามที่จะทำงานในหน้าที่
อยา่ งเตม็ ท่ี และให้มกี ารประชาสัมพนั ธ์กนั ใหด้ ี เพ่อื ใหง้ านท้ังหมดเป็นงานที่เกื้อหนนุ สนับสนุนกัน...”

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาดพร้อมท้ังการเพิ่มมูลค่า
โดยให้ยึดหลกั การของความยั่งยนื และเกดิ ประโยชน์สงู สดุ ดงั กระแสพระราชดำรัส ความว่า

“...ถ้ารักษาสง่ิ แวดล้อมให้เหมาะสมนึกวา่ อยู่ได้อีกหลายรอ้ ยปี ถึงเวลาน้ันลูกหลานของเราก็อาจ
หาวธิ แี ก้ปัญหาตอ่ ไป เปน็ เรื่องของเขาไม่ใชเ่ ร่อื งของเราแต่เราก็ทำได้ ได้รกั ษาส่งิ แวดลอ้ มไว้ให้พอสมควร...”

4. ด้านเทคโนโลยี จากสภาพแวดล้อมที่เปล่ียนแปลงรวดเรว็ เทคโนโลยีท่ีเขา้ มา ใหม่มีท้ังดีและไม่ดี
จึงต้องแยกแยะบนพ้ืนฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเลือกใช้เฉพาะท่ี สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม
ภมู ปิ ระเทศ สงั คมไทย และควรพฒั นาเทคโนโลยจี ากภมู ปิ ญั ญาของเราเอง ดงั กระแสพระราชดำรัส ความวา่

“...การเสริมสร้างสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนและต้องการ คือความรู้ในด้านเกษตรกรรม
โดยใชเ้ ทคโนโลยสี มัยใหมเ่ ป็นส่งิ ท่ีเหมาะสม...”

“...การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาด ในงานอาชีพหลัก ของประเทศ
ยอ่ มจะมปี ัญหา...”

5. ด้านเศรษฐกิจ แต่เดิมนักพัฒนามักมุ่งท่ีการเพิ่มรายได้ และไม่มีการมุ่งที่การลดรายจ่ายในเวลา
เช่นนี้จะต้องปรับทิศทางใหม่ คือ จะต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่พอกินพอใช้
และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดบั เบื้องตน้ ดงั กระแสพระราชดำรัส ความวา่

“...การท่ีต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้และสร้างตนเองให้ม่ันคงนี้เพ่ือตนเอง
เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ท่ีก้าวหน้าท่ีมีความสุข พอมีพอกินเป็น ข้ันหนึ่งและข้ันต่อไปก็คือให้มีเกียรติ
วา่ ยืนไดด้ ว้ ยตนเอง...”

“...หากพวกเราร่วมมอื รว่ มใจกัน ทำสกั เศษหนึ่งส่วนส่ี ประเทศชาติของเราก็สามารถรอดพ้นจาก
วิกฤตไิ ด.้ ..”

ประเวศ วะสี อ้างถึงใน (เศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชุมชน, ๒๕๕๐) มองเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง
เช่ือมโยงหลายส่งิ หลายอย่างเขา้ ด้วยกัน เพ่ือให้มคี วามสมดุล ไม่ตอ้ งประสบกับวิกฤต เศรษฐกจิ พอเพียงไม่ได้
แปลว่าไม่เกี่ยวข้องกับใคร ไม่ค้าขาย ไม่ส่งออก ไม่ผลิตเพื่อคนอื่น ไม่ทำเศรษฐกิจมหภาค แต่เศรษฐกิจพอเพียง
หมายถงึ ความพอเพียงในอย่างน้อย ๗ ประการ คือ

๑๙

๑) พอเพียงสำหรับทกุ คน ทุกครอบครวั ไม่ใช่เศรษฐกจิ แบบทอดทิง้ กนั
๒) จิตใจพอเพยี ง ทำใหร้ กั และเอ้อื อาทรคนอน่ื ได้ คนทีไ่ มพ่ อจะรกั คนอน่ื ไม่เป็น
๓) ส่ิงแวดล้อมพอเพียง การอนุรักษ์และเพิ่มพูนส่ิงแวดล้อม ทำให้ยังชีพและทำมาหากินได้ เช่น
การทำเกษตรผสมผสาน ซง่ึ ไดท้ ั้งอาหาร ได้ทั้งสง่ิ แวดล้อมและไดท้ ้ังเงนิ
๔) ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง ทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น ปัญหาสังคม ปัญหาคนยากจน
หรอื ปญั หาสิ่งแวดลอ้ ม
๕) ปัญญาพอเพยี ง มีการเรียนรรู้ ่วมกันในการปฏริ ูปและปรับตัวไดอ้ ย่างตอ่ เนอื่ ง
๖) อยู่บนพ้ืนฐานวฒั นธรรมพอเพยี ง วัฒนธรรม หมายถึง วถิ ีของกลุ่มชนทสี่ ัมพันธ์อยู่กบั สิง่ แวดล้อม
ทหี่ ลากหลาย ดงั นนั้ เศรษฐกจิ จึงควรสมั พันธแ์ ละเตบิ โตข้ึนมาจากฐานทางวัฒนธรรมจึงจะมนั่ คง
๗) มีความมั่นคงพอเพียง ไม่ใช่วูบวาบ เดี๋ยวจนเด๋ียวรวยแบบกะทันหัน เดี๋ยวตกงานไม่มีกินไม่มีใช้
ถ้าเป็นแบบน้ันประสาทมนุษย์คงทนไม่ไหว จึงสุขภาพจิตเสีย เครียด เพี้ยน รุนแรง ฆ่าตัวตาย ติดยาเสพติด
แต่เศรษฐกจิ พอเพียงที่มั่นคงจะทำให้สขุ ภาพจติ ดี

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน ในทุกระดับ
ต้ังแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไป
ใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดพี อสมควร
ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้ังภายนอกและภายใน ท้ังนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้
ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างย่ิง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ ในการวางแผนและการดำเนินการ
ทุกข้ันตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพ้ืนฐานจิตใจของคน ในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าท่ีของรัฐ
นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซ่ือสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้
ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพ่ือให้สมดุล
และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้ อม
และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจท่ีทำให้ตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอกินพอใช้
พ่ึงตนเองได้โดยยึดทางสายกลาง เป็นเศรษฐกิจที่เช่ือมโยงทุกเร่ืองเข้าด้วยกัน ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม
วัฒนธรรม และส่ิงแวดล้อม เพื่อให้มีความสมดุล ไม่ต้องประสบกับวิกฤต จึงควรนำมาส่งเสริมให้ประชาชน
ในหมู่บา้ นทไ่ี ดร้ บั ผลกระทบจากช้าง ได้นำไปเป็นแนวทางในการดำเนนิ ชีวิต และประกอบอาชีพแบบพอเพยี ง
ไม่ให้กระทบกับป่าและช้างป่า อยู่แบบเก้ือกูลให้เกิดความสมดุล ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
และพรอ้ มรบั การเปล่ยี นแปลงในทกุ ด้าน

๒๐

๒.๖ กรอบแนวคดิ การดำเนนิ งาน
กรอบแนวคิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ีป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก : พ้ืนที่จังหวัดชลบุรี

โดยมีรายละเอียดตามแผนภาพ ดงั น้ี

แผนภาพท่ี 4 กรอบแนวคิดการขับเคลอ่ื นการสร้างความสมดุลระหว่างคนและชา้ งป่า

ะเรยี นรู้วถิ ีชวี ิต คน และชา้ ง การน้อมนา
ปรัชญาของ
- สภาพภูมศิ าสตร์ เศรษฐกิจ
พอเพยี งไป
- สภาพสังคม ปฏิบตั จิ นเป็ นวิถี

- สภาพเศรษฐกจิ ชวี ติ

- สถานการณช์ า้ งปา่ สง่ เสริมและ
พัฒนาอาชพี
กระ - พฤติกรรมของช้างป่า
บวน - ผลกระทบจากชา้ งปา่ รูปแบบการอยู่
- การแก้ไข และข้อเสนอแนะ ร่วมกนั อย่าง
การ - ทัศนคติของคนต่อช้างปา่ วิเคราะห์ / ตีความ สมดลุ ระหวา่ งคน
พัฒ สงั เคราะห์ และชา้ งป่ า

นา ะแผนทเ่ี ดนิ ดิน

ชุม - สภาพภมู ิศาสตร์
- โครงสร้างพ้ืนฐาน
ชน - เสน้ ทางเดนิ ของช้าง

แผนแมบ่ ทสร้างความสมดลุ ระหวา่ งคนและชา้ งป่า ดา้ นการจดั การชมุ ชน

บทที่ ๓
วิธกี ารดำเนินงาน

การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก : พ้ืนท่ีจังหวัดชลบุรี
ในคร้ังนมี้ วี ิธกี ารดำเนนิ งาน ดงั น้ี

๓.๑ วิธีการดำเนนิ งาน
คณะทำงานใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย 1) การศึกษา

เอกสาร (Documentary) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงานการประชุม สื่อต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง
และ 2) ศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยการลงพื้นท่ีเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานจริงด้วยการสัมภาษณ์
เจาะลึก (In-depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยใช้กระบวนการพัฒนาชมุ ชน (Community
Development Process : CD Process) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน แลว้ นำมาวเิ คราะห์และสงั เคราะหข์ ้อมูล
จัดทำเป็ นผ ลการด ำเนิน งาน และข้อเสน อแนวทางการป ฏิ บั ติ เพ่ื อการอยู่ร่วมกัน อย่ างส มดุ ลระหว่างคน
และช้างปา่ ดงั นี้

วิธีการดำเนนิ งานแก้ไขปญั หาชา้ งปา่ พนื้ ท่ีป่ารอยตอ่ 5 จังหวัดภาคตะวันออก : พ้นื ท่ีชลบรุ ี

การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปปฏบิ ัตจิ นเป็นวถิ ชี วี ติ ส่งเสริม
และพฒั นาอาชีพ รูปแบบการอยูร่ ่วมกันอยา่ งสมดุลระหว่างคนและช้างปา่

กระบวนการพฒั นาชุมชน การศึกษาแบบผสานวิธี
(Mixed Methods)
(CD Process)

ประเมนิ ผล ๕ สรำ้ งกำรเรียนรูผ้ ่ำนสื่อ
๔ จดั ทำขอ้ เสนอแนวทำงปฏิบตั ิ
ดำเนนิ งำนตำมแผน
๓ เขียนรำยงำนกำรศกึ ษำ
วำงแผนกำรพฒั นำ
๒ กำรวเิ ครำะหข์ อ้ มลู
ใหก้ ำรศกึ ษำชมุ ชน
กล่นั กรอง (วเิ คราะห/์ ตคี วาม/เช่อื มโยง/หาขอ้ สรปุ )
ศกึ ษำชมุ ชน
(

๑ ศกึ ษำเอกสำร/สมั ภำษณ/์ สนทนำกล่มุ

(Documentary/Qualitative)

แผนภาพท่ี ๕ วิธีการดำเนนิ งาน (

22

๓.๒ ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ ง
๓.๒.๑ ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)

และสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประกอบดว้ ย
๑) เจา้ หนา้ ที่รฐั ในพ้ืนทีท่ ่ีเก่ียวขอ้ ง จำนวน ๕ คน ไดแ้ ก่
- พัฒนาการจงั หวดั ชลบรุ ี
- นายอำเภอบอ่ ทอง
- พฒั นาการอำเภอ
- กำนนั ตำบลพลวงทอง
- นายกองคก์ ารบริหารสว่ นตำบลพลวงทอง
๒) ผู้นำในพื้นท่ี จำนวน ๕ คน ได้แก่ กำนันตำบลพลวงทอง หมู่ท่ี ๔ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑

หมทู่ ี่ ๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลพลวงทอง และผู้ใหญบ่ า้ น หมู่ที่ ๖ ตำบลเกษตรสุวรรณ
๓) ภาคประชาชนผู้ท่ีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ตัวแทนประชาชนและเกษตรกรในพื้นท่ี ๕

หมบู่ ้าน ๆ ละ ๕ – ๑๐ คน
๓.๒.๒ กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive

Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการพิจารณาตัดสินใจของคณะทำงานฯ ลกั ษณะของกลุ่มตวั อย่าง
ท่ีเลือกเป็นไปตามวัตถปุ ระสงค์ของการดำเนินงาน มีความรู้และประสบการณ์ในเร่ืองท่ีดำเนินงาน โดยเลือก
กลุ่มตัวอย่างจากพ้ืนท่ีเป้าหมายตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน ๒ ตำบล
๕ หมู่บ้าน ดังน้ี

ตารางท่ี ๑ กลุ่มตวั อย่างการขับเคล่อื นการแก้ไขปัญหาช้างปา่ อำเภอบ่อทอง จังหวดั ชลบุรี

กล่มุ ตัวอยา่ ง หมายเหตุ

ตำบล ช่อื บ้าน หม่ทู ่ี ผนู้ าใน ประชาชน
พืน้ ที่ ผ้มู ีส่วนไดส้ ว่ นเสีย
พลวงทอง
พลวงทอง เขาห้ายอด ๑ ๑ 5-10 หมู่บา้ นขยายผล
พลวงทอง
พลวงทอง เขาชะอางค์ ๒ ๑ 5-10 หมบู่ า้ นขยายผล
เกษตรสวุ รรณ
รวม 2 ตำบล เขาใหญ่ ๔ ๑ 5-10 หม่บู ้านคชานรุ กั ษ์

อา่ งผักหนาม ๖ ๑ 5-10 หม่บู ้านขยายผล

คลองโค ๖ ๑ 5-10 หมู่บา้ นขยายผล
25-50 คน
๕ หมู่บา้ น 5 คน

23

๓.๓ การเกบ็ รวบรวมข้อมลู

การดำเนินงานในครงั้ นี้ คณะทำงานฯ ได้เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดงั น้ี
๓.๓.๑ เก็บข้อมูลจากเอกสาร (Documentary) เก็บรวบรวมข้อมูลเบ้ืองต้น (Primary Document)
จากเอกสารบันทึกรายงานการประชุม รายงานผลการดำเนินงาน หนังสือส่ังการ โครงการที่เก่ียวข้องกับ
การขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาชา้ งป่าพื้นท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัด ภาคตะวันออก จากหน่วยงานท่ีรับผิดชอบโดยตรง
ได้แก่ กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน
และจังหวัดชลบุรี และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Document ) จากเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด นโยบาย
แนวทางในการปฏิบัติ เอกสาร สิ่งพิมพ์ สรุปผลการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา
ช้างป่า ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ ศึกษาเอกสารวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง
ได้แก่ แผนแม่บทสร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างป่า แนวทางหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง กลไกขับเคลื่อน
การสร้างความสมดลุ ระหวา่ งคนและชา้ งปา่ แนวคดิ การพัฒนาชุมชน และปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
๓.๓.๒ การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยเก็บรวบรวม
ขอ้ มูลจากผู้ปฏิบตั งิ านหรือผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสียในพื้นที่ ประกอบดว้ ย

๑) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มเป้าหมายท่ีเลือกแบบเจาะจง
ได้แก่ พัฒนาการจังหวัดชลบุรี นายอำเภอบ่อทอง พัฒนาการอำเภอบ่อทอง กำนันตำบลพลวงทอง
และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง โดยใช้เคร่ืองมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
(Semi-structured or Guided Interview) ดังนี้

๑.๑) สถานการณเ์ กย่ี วกบั ชา้ งปา่ ผลกระทบ/ปญั หาท่ีเกิดขนึ้ ในพนื้ ท่ี
๑.๒) นโยบาย/แนวคดิ /แนวทางปฏบิ ัติในการดำเนินงานและแกไ้ ขปัญหา
๑.๓) รูปแบบการดำเนนิ ชวี ิตระหวา่ งคนและช้างป่า
๒) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับแหล่งข้อมูลท่ีเลือกแบบเจาะจง เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ในพ้ืนท่ีเป้าหมาย จำนวน ๕ หมู่บ้าน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน และประชาชน จำนวนหมู่บ้าน ๆ ละ
๕ - ๑๐ คน เพ่อื ตอบโจทก์ในการศึกษา ๓ ประการ ไดแ้ ก่ ๑) สถานการณ์ พฤติกรรม และทัศนคตขิ องคนต่อ
ช้างป่าเป็นอย่างไร ๒) รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าควรเป็นเช่นไร
และ ๓) จะส่งเสรมิ อาชพี อะไรทมี่ ีความเหมาะสมกบั คนในชมุ ชน โดยใช้เคร่ืองมือแบบประเดน็ คำถาม ดงั นี้
๒.๑) ประวัติความเป็นมา ลักษณะทางภูมิประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจ (อาชีพ รายได้)
และสงั คม (วิถีชวี ติ วฒั นธรรม ประเพณ)ี
๒.๒) สถานการณ์ของช้างป่า พฤติกรรมการออกหากิน ทัศนคติของคนท่ีมีต่อช้างป่า
ปญั หาท่ีประสบจากชา้ งปา่ (ระดับความรุนแรง เช่น ช้างเดนิ ผ่าน ทำลายพชื ผล ทำลายชีวิตคน)
๒.๓) การป้องกันและการแก้ไขปัญหา การเยียวยาหรือชดเชยความเสียหาย
และข้อเสนอแนะ
๒.๔) การติดตาม และการรายงานสถานการณ์หรือปัญหาและการแก้ไขปัญหารวมถึง
การใช้เคร่ืองมืออื่นประกอบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเรียนรู้ ได้แก่ แผนที่เดินดิน (หรือแผนที่ทำมือ)
การปกั หมดุ แบบรายงานผลการดำเนนิ งาน TPMAP
๓.๓.๓ การสังเกตการณ์ เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลเสริมวิธีการอ่ืน ๆ โดยการสังเกตท้ังแบบมีส่วน
ร่วม (Participative Observation) จากการเข้าร่วมประชุม ร่วมกิจกรรมของคณะทำงานฯ และแบบไม่มี
ส่วนร่วม (Non-participative Observation) โดยคณะทำงานฯ จากการสัมภาษณ์ และการลงไปปฏิบัติงาน

24

ในพ้ืนที่ ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรม ปฏิกิริยา ท่าทาง หรือเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนในขณะใดขณะหน่ึง
และจดบันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์ เช่น เหตุการณ์การร่วมกันขับไล่ช้างป่า ปฏิกิริยา ท่าทาง
รวมถึงการร่วม Focus Group ของผู้นำ/ประชาชนในแต่ละหม่บู า้ น

โครงสร้างการเก็บรวบรวมข้อมูล

เอกสาร สัมภาษณ์ สังเกต
(Document) (Interview) (Observation)

⚫ บันทึก/รายงานการประชมุ ⚫ สัมภาษณ์แบบเจาะลกึ ⚫ แบบมีส่วนรว่ ม
⚫ รายงานผลการดำเนนิ งาน (In-depth Interview)
⚫ โครงการทีเ่ ก่ยี วข้อง - พจ.ชลบรุ ี (Participative
⚫ แนวคดิ /แผนแม่บท - นอภ.บ่อทอง Observation)
⚫ แนวทางการปฏิบัติ - พอ.บอ่ ทอง - การรว่ มประชุม
⚫ เอกสาร ส่งิ พมิ พ์ทเี่ ก่ยี วข้อง - กำนัน/นายก อบต.พลวงทอง - การรว่ มกิจกรรม
⚫ สนทนากลมุ่ (Focus ⚫ แบบไมม่ สี ว่ นร่วม (Non-
Group) participative Observation)

-ผู้นำชมุ ชน และประชาชน - การสมั ภาษณ/์ สนทนากลมุ่
- การปฏิบัตงิ านในพนื้ ที่
วิเคราะห์

ข้อมลู /สารสนเทศและความรู้เพ่อื ตอบวัตถปุ ระสงคก์ ารดำเนินงาน

แผนภาพท่ี ๖ โครงสรา้ งการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล

๓.๔ กระบวนการดำเนินงาน
กระบวนการในการดำเนินงานในคร้ังนี้กำหนดข้ึนภายใต้ระยะเวลาการดำเนินงานท่ีจำกัด เพื่อตอบโจทย์

ที่ตั้งไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) สถานการณ์ พฤติกรรม และทัศนคติของคนต่อช้างป่าเป็นอย่างไร ๒) รูปแบบ
การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าควรเป็นเช่นไร และ ๓) จะส่งเสริมอาชีพอะไรที่มีความเหมาะสม

25

กับคนในชุมชน โดยคณะทำงานฯ กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนออกเป็น ๓ กระบวนงานหลัก ๕ ขั้นตอน
ตามกระบวนการพัฒนาชมุ ชน (CD Process) ดังนี้

กระบวนงานหลกั ที่ ๑ การเรียนรู้วถิ ีชีวติ คน และช้าง ประกอบดว้ ย ๒ ข้นั ตอน
ขัน้ ตอนท่ี ๑ การศึกษาชุมชน ดำเนนิ การโดย

1) สมั ภาษณผ์ ู้บริหาร ไดแ้ ก่ พฒั นาการจงั หวัด นายอำเภอ พฒั นาการอำเภอ และผบู้ รหิ ารทอ้ งถน่ิ /ทอ้ งที่
๒) การสำรวจชุมชน ดว้ ยการสนทนากลุ่มกบั ผู้นำชุมชน และประชาชนทเี่ กยี่ วขอ้ ง
๓) การปกั หมดุ
๔) จัดทำแผนท่เี ดินดนิ หรือแผนท่ที ำมือ
๕) การสงั เกตแบบมีสว่ นร่วมกับกิจกรรมในหมู่บ้าน
๖) สรปุ ผลการศึกษาชมุ ชน
ขั้นตอนที่ ๒ การให้การเรียนรู้กับชุมชน ดำเนินการผ่านกิจกรรมการสนทนากลุ่มในการสำรวจชุมชน
และการจัดทำแผนที่เดินดิน ด้วยการแลกเปล่ียนความรู้ ประสบการการณ์ และความคิดเห็น รวมถึงสร้าง
การเรียนรูร้ ว่ มกนั ในกจิ กรรมท่ีเขา้ ร่วมดำเนินการ

กระบวนงานหลกั ท่ี ๒ การส่งเสรมิ และพัฒนาอาชพี ประกอบด้วย ๒ ขั้นตอน
ขน้ั ตอนที่ ๓ การวเิ คราะห์อาชีพ ดำเนินการโดย

๑) วิเคราะห์กลมุ่ อาชพี เพื่อวางแผนพฒั นาอาชพี ที่ได้รบั การสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน
๒) ปกั หมดุ ครัวเรือนเปา้ หมายในการพัฒนาอาชีพ
ขน้ั ตอนท่ี ๔ การสง่ เสริมพฒั นาอาชีพ ดำเนินการโดย
๑) การกำหนดแนวทางการพัฒนากลมุ่ อาชีพ
๒) การพัฒนาคณุ ภาพ มาตรฐานผลิตภณั ฑ์ (จะดำเนนิ การในระยะต่อไป)
๓) การสง่ เสรมิ ช่องทางการตลาด (จะดำเนินการในระยะต่อไป)

กระบวนงานหลักที่ ๓ การติดตามและรายงานผล ประกอบดว้ ย ๑ ขัน้ ตอน
ขนั้ ตอนที่ ๕ การติดตามและรายงานผลการดำเนนิ งาน ประกอบดว้ ย

๑) การติดตามโดยคณะทำงานฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างวันท่ี 21 - 24 กรกฎาคม
2564 และระหว่างวันท่ี 8 - 11 กันยายน 2564

๒) รายงานผลการขบั เคลอ่ื นการแก้ไขปัญหาช้างปา่ พ้นื ที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวดั ภาคตะวนั ออก : พนื้ ที่
จงั หวัดชลบรุ ี โดยเอกสาร

๓) รายงานผลการพัฒนาอาชีพ ในระบบ TPMAP

๓.๕ การวิเคราะห์ขอ้ มลู
๓.๕.๑ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร (Document) โดยคณะทำงานฯ ศึกษารวบรวม

ข้อมูลจากเอกสารและส่ือท่ีเกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาจัดเป็นหมวดหมู่ในแต่ละประเด็น วิเคราะห์เน้ือหา
ตีความหมาย และสรุปความตามประเด็นคำถาม สำหรับเทคนิคและวิธีการวิเคราะห์เน้ือหาจากเอกสาร
คณะทำงานฯ วางเค้าโครงของข้อมูลโดยการทำรายช่ือในเอกสาร แบ่งเป็นประเภทตามบริบทของข้อมูล
เอกสารท่ีนำมาวเิ คราะห์ โดยวิเคราะห์เนอ้ื หาของขอ้ มลู ตามท่ีปรากฎในเอกสารมากกว่าเนื้อทีซ่ ่อนอยู่ เพ่ือให้

เกดิ ความเทยี่ งตรงและแมน่ ยำในการศึกษา

26

๓.๕.๒ การวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยการนำข้อมูลที่จดบันทึก
จากการสัมภาษณ์ สนทนากับกลุ่มเป้าหมาย และการสังเกตพฤติกรรมและปัจจัยแวดล้อม เก็บรวบรวม
ตามประเด็นข้อคำถามในการดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนที่รอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
นำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ กล่ันกรองข้อมูล และตีความหมาย รวมท้ัง หาความเชื่อมโยง และอธิบายความ
แลว้ สงั เคราะหเ์ ป็นองคค์ วามรู้รปู แบบการอย่รู ่วมกนั อย่างสมดลุ ระหวา่ งคนและช้างปา่

สรุปได้ว่าระเบียบวิธีการดำเนินงาน คณะทำงานฯ ใช้รูปแบบการดำเนินงานแบบผสานวิธี (Mixed
Methods) ได้แก่ การศึกษาเอกสาร (Documentary) จากข้อมูลเบื้องต้น ที่เก็บรวบรวมจากหน่วยปฏิบัติ
โดยตรง และข้อมูลท่ีมีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วจากเอกสารและวรรณกรรมต่าง ๆ นำมาจัดหมวดหมู่ กล่ันกรอง
วิเคราะห์ และตีความ เพื่ออธิบายและตอบโจทก์การศึกษา สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative)
ด้วยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และสังเกตกับพื้นท่ีท่ีเป็นกลุ่มตัวอย่าง นำมาอธิบายปรากฎการณ์
ท่ดี ำเนินงาน

บทท่ี ๔
ผลการดำเนนิ งาน

การขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก พื้นท่ีอำเภอบ่อทอง
จังหวัดชลบุรี คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการในพ้ืนที่ 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,4,6 ตำบลพลวง
ทอง และหมู่ท่ี 6 ตำบลเกษตรสุวรรณ โดยใช้รูปแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ได้แก่ วิธีการศึกษา
เอกสาร (Documentary) และการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative) ด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชน
(Community Development Process : CD Process) ๕ ข้ันตอน ซ่ึงคณะทำงานฯ ได้เก็บรวบรวมข้อมูล

จากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ระยะเวลาในการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล
แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างวันที่ 21 - 24 กรกฎาคม 2564 และระหว่างวันที่ 8 - 11 กันยายน 2564
การนำเสนอผลการดำเนนิ งานในคร้งั น้ี คณะทำงานฯ นำเสนอผลการดำเนินงานเป็น ๓ สว่ น ดังนี้

สว่ นท่ี ๑ การเรียนรู้วิถีชีวิต คน และช้าง
สว่ นที่ ๒ การสง่ เสรมิ และพฒั นาอาชพี
สว่ นท่ี ๓ การติดตามและรายงานผล

การเตรียมการ ก่อนลงพ้ืนที่ได้มีการเตรียมการดำเนินงานโดยแต่งต้ังคณะทำงานขับเคล่ือน
การแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่รอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก พื้นที่จังหวัดชลบุรี ตามคำส่ังสำนักเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งชุมชน ท่ี 7/2563 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง แต่งต้ังคณะทำงานขับเคล่ือน
การแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่รอยต่อ 5 จงั หวดั ภาคตะวันออก พ้ืนที่จงั หวดั ชลบุรี จำนวน ๗ คน เพื่อสนบั สนุน
ติดตาม และรายงานความก้าวหน้าการขับเคล่ือนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคนรักษ์ช้าง” ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” ในการแก้ไขปัญหาช้างป่า เพ่ือการอยู่ร่วมกัน
อย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่า หลังจากนั้นได้จัดประชุมคณะทำงานฯ เม่ือวันที่ 17 มีนาคม 2563
เพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน กำหนดขอบเขตภารกิจ ข้ันตอนวิธีการดำเนินงาน รวมถึง
มอบหมายงาน และกำหนดลงพื้นที่ระหว่างวันท่ี 24 - 27 มีนาคม ๒๕๖๓ แต่เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศ
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเช้ือไวรัสโคโรน่า
๒๐๑๙ (COVID – 19) คณะทำงานฯ จึงได้เล่ือนการเดินทางออกไปเป็นเดือนกรกฎาคม – กันยายน ๒๕๖๓

โดยมผี ลการดำเนนิ งาน ดงั น้ี

๔.๑ การเรียนร้วู ถิ ีชีวิต คน และชา้ ง
๔.๑.1 การสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นท่ีรอยต่อ ๕

จังหวัดภาคตะวันออก พ้ืนท่ีจังหวัดชลบุรี ลงพ้ืนที่สัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้บริหาร ผู้นำในระดับต่าง ๆ
เพื่อรับทราบถึงขอ้ มูล นโยบาย แนวคดิ และข้อเสนอแนะ ดงั นี้

1) เม่ือวันท่ีอังคารท่ี 21 กรกฎาคม 2563 เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะทำงานฯ ได้สัมภาษณ์
พูดคุยกับนายบรรเทา ดวงนภา พัฒนาการจังหวดั ชลบุรี พร้อมหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
และนักวิชาการที่รับผิดชอบ ได้ให้ข้อมูลว่า ช้างป่าในพื้นท่ีจังหวัดชลบุรีมีเส้นทางเดินมาจากเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยผ่านจากอำเภอบ่อทอง แล้วกระจายตัว
ไปอำเภอเกาะจันทร์และหนองใหญ่ เพ่ือมากินพืชทางการเกษตรของชาวบ้าน โดยเฉพาะขนุนที่เป็นอาชีพ
ด่ังเดิม และเป็นอาหารหลักที่ดึงดูดช้างให้เข้ามา จำนวนช้างป่าที่พบมีจำนวนประมาณ 30 ตัว ความถี่
และจำนวนท่ีลงมามากจะเป็นช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ท่ีมีปัญหาจากช้างป่ามากท่ีสุดอยู่ท่ีตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง

28

เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเตี้ยๆ และท่ีราบลาดเอียง ทำให้ช้างเดินลงมาได้สะดวก โดยมีแนวเขาใหญ่
และเขากำแพงเป็นเขตแดน ปัจจุบันพ้ืนที่ท่ีมีปัญหาช้างป่าในจังหวัดชลบุรี แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
หมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวน ๑ หมู่บ้าน หมู่บ้านขยายผลหมู่บ้านคชานุรักษ์ จำนวน ๔ หมู่บ้าน และหมู่บ้าน
ทไ่ี ด้รบั ผลกระทบจากช้างป่า จำนวน ๒๕ หมู่บา้ น รวมจำนวน 3 อำเภอ 1๐ ตำบล 3๐ หมู่บา้ น ดงั น้ี

ตารางท่ี ๒ พืน้ ท่ีประสบปญั หาช้างปา่ ในจังหวดั ชลบุรี

ที่ ชือ่ อำเภอ ชอ่ื ตำบล จำนวนหมูบ่ า้ น

1 เกาะจนั ทร์ (๑ ตำบล ๕ หมูบ่ า้ น) เกาะจันทร์ ๕ (หมู่ที่ 3,4,9,10,11)
4 (หมู่ท่ี 1,2,4,6)
๒ บ่อทอง (๔ ตำบล ๑๑ หมบู่ ้าน) พลวงทอง 2 (หมทู่ ี่ 5,6)
2 (หมู่ท่ี 7,9)
- หม่ทู ่ี ๔ ต.พลวงทอง เปน็ หมู่บา้ นคชานุรักษ์ เกษตรสวุ รรณ 3 (หม่ทู ี่ 4,5,8)
4 (หมู่ที่ 1,2,3,4)
- หมู่ท่ี ๑,๒,๖ ต.พลวงทอง และหมูท่ ่ี ๖ ธาตุทอง 4 (หมู่ท่ี 1,2,3,4)
1 (หมู่ที่ 5)
ต.เกษตรสุวรรณ เปน็ หมู่บา้ นขยายผล บ่อทอง 3 (หมทู่ ่ี 3,4,6)
2 (หม่ทู ่ี 1,5)
๓ หนองใหญ่ เขาชก ๓๐ หมู่บ้าน

(๕ ตำบล ๑๔ หมู่บา้ น) คลองพลู

หนองเสือชา้ ง

หนองใหญ่

ห้างสูง

รวม ๓ อำเภอ ๑๐ ตำบล

นายบรรเทา ดวงนภา พัฒนาการจังหวัดชลบุรี ได้ให้ความเห็นว่า การท่ีช้างป่าลงมาหากิน
เป็นวิถีชีวิต เมื่อช้างมีจำนวนมากขึ้นและอาหารในป่าไม่เพียงพอ ช้างก็จะลงมากินพืชผลทางการเกษตร
ซ่ึงบางส่วนก็เคยเป็นพ้ืนที่ป่าท่ีถูกปรับเปลี่ยนเป็นพ้ืนท่ีการเกษตร ในฤดูฝนช้างจะไม่ค่อยลงมาเพราะป่า
มีความอุดมสมบูรณ์ข้ึน โดยพัฒนาการจังหวัดเห็นว่าควรมีการทำหมันช้าง การแก้ไขปัญหาของพ้ืนที่
มีการจัดต้ังชดุ เฝา้ ระวงั ติดตง้ั กลอ้ ง ใชร้ ถล้อม จดุ ประทดั ไล่ สรา้ งแหลง่ นำ้ และแหล่งอาหารให้ชา้ ง

การแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่รอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก ในส่วนของจังหวัดชลบุรี มีหน่วยงาน
ที่ดำเนินการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมการพัฒนาชุมชน
ซ่ึงต่างคนต่างลงไปดำเนินงานตาม Function ของตนเอง เม่ือมีกิจกรรมพิเศษจึงจะมีการมาหารือร่วมกัน
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เช่น การเสด็จไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ
พัชรสุธาคชานุรักษ์ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร
มหาวัชรราชธดิ า

ในส่วนของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ด้านบุคลากร ได้มีการย้ายพัฒนาการอำเภอสัตหีบ
มาประจำการท่ีอำเภอบ่อทอง เน่ืองจากเคยทำงานที่นี่มาก่อน จะรู้พ้ืนที่และทำงานเข้ากันนายอำเภอ
พัฒนากร ผู้นำชุมชน และประชาชนได้ดี ด้านการบริหารงาน มีการแบ่งงานและมอบหมายงานระหว่าง
นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอที่ชัดเจน มีคำส่ังให้นักวชิ าการฯ จังหวดั ลงพื้นท่ีสนับสนุนอำเภอ
ตำบล โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โซนกลาง โซนทะเล โซนภูเขา (๓ อำเภอท่ีมีปัญหาจากช้างป่า) และให้อำเภอ
รายงานเรื่อง "ช้างป่า" ทุกเดือน แต่ก็ยังไมค่ ่อยได้ดำเนินการ ด้านการเงิน เน่ืองจากนักวิชาการพัฒนาชุมชน

29

ของอำเภอขาดความรู้ความชำนาญเกยี่ วกบั ระบบจัดซือ้ จดั จ้างภาครัฐดว้ ยอเิ ลก็ ทรอนิกส์ (e - GP) สำนักงาน
พัฒนาชุมชนจังหวัดจึงได้จัดฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้ระบบดังกล่าวให้กับนักวิชาการพัฒนาชุมชน
ภายในจังหวดั เพือ่ ลดปัญหาความล่าชา้ และความผิดพลาด

สำหรับการดำเนินงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สนับสนุนการดำเนินงาน "หมู่บ้านคชานุรักษ์" กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาและสาธิตอาชีพตามแผนพัฒนาวิถีชีวิต
เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่า ได้ดำเนินการตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน
ซึ่งส่งผลให้เกิดความต่ืนตัวเรื่องการประกอบอาชีพกับคนในชุมชน มีการเรียนรู้และปรับเปล่ียนอาชีพ
โดยปลูกพืชที่ช้างไม่ชอบเพ่ิมมากขึ้น เช่น การปลูกพืชสมุนไพร และส่งผลกระทบเชิงบวกทำให้หมู่บ้าน
เปา้ หมายเกิดความเจรญิ ในดา้ นสาธารณูปโภค

2) เม่ือวันท่ีอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะทำงานฯ ได้สัมภาษณ์ พูดคุยกับ
นายอำเภอบ่อทอง และพัฒนาการอำเภอบ่อทอง โดยนายกิตติพงษ์ กิติคุณ นายอำเภอบ่อทอง ได้กล่าวว่า
อำเภอมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับ "ช้างป่า" โดยทำเป็นคำส่ัง ติดตาม และมีการส่งเสริมอาชีพ เช่น
เปลี่ยนจากการปลูกพืชท่ีช้างชอบ เป็นปลูกพืชใหม่ท่ีช้างไม่ชอบ แต่มีข้อสังเกตที่ ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ
ได้สง่ เสริมให้ประชาชนในพื้นท่ีปลูกหญ้ารูซี่ ปรากฏว่าช้างเดินผ่าน ไม่กิน เพราะช้างเคยได้กินอาหารที่อร่อย
ถูกปากแล้ว คือ ผลไม้ของชาวบ้าน ในแต่ละปี "ช้างป่ามีแนวโน้มเพ่ิมขึ้น เพราะขาดวงจรนักล่า" ช้างก็จะ
ลงมาพื้นท่ีชาวบ้านมากข้ึน การป้องกันเราต้องขยายการปลูกพืชผักที่ช้างไม่ชอบกิน เช่น ปลูกพริก ขิง ข่า
เพ่ือไม่ให้ช้างเข้ามากินอาหารหรือพืชพันธ์ุในพ้ืนที่ ในส่วนของหมู่บ้านมีการจัดชุดเวรยามและติดตั้งกล้อง
วงจรปิดเฝ้าระวังช้างป่า สำหรับการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชนท่ีไปส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ
และแปรรูป ต้องทำให้ประชาชนมีวินัยในการพัฒนาอาชีพ และต้องหาภาคเอกชนมาส่งเสริมการตลาด
เพื่อให้เกิดการดำเนินการท่ีเห็นผลเป็นรูปธรรม มีรายได้อย่างต่อเน่ือง ย่ังยืน แต่สิ่งท่ีกรมการพัฒนาชุมชน
ไปพัฒนาอาชีพครัวเรือน คือ ปลายเหตุ หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาช้างป่า คือ กรมป่าไม้
กรมอุทยานแห่งชาติ สตั ว์ป่า และพันธ์ุพืช นายอำเภอบ่อทองสรปุ ทิ้งท้ายว่า การแก้ไขปัญหาต้องแก้ไขให้เป็นระบบ
ทกุ หน่วยงานและทกุ คนในพื้นทตี่ ้องร่วมแรงร่วมใจกัน และปรับการใชช้ วี ติ อยู่กบั ชา้ งใหไ้ ด้

สำหรับในส่วนของการพูดคุยกับ สิบเอกอภิณพ มังกรแก้ว พัฒนาการอำเภอบ่อทอง ได้กล่าวถึง
สถานการณช์ ้างปา่ ในพน้ื ท่ีอำเภอบอ่ ทองว่า ตำบลท่มี ีชา้ งปา่ เขา้ มาและมีผลกระทบมาก คือ ตำบลพลวงทอง
ซึง่ จะออกมาบ่อยในช่วงเดอื นมกราคม - เดือนสงิ หาคม 2563 เฉล่ีย 10 - 30 ตัวต่อสัปดาห์ โดยหมบู่ ้านท่ี
มีความถ่ีของช้างเข้ามามากที่สุดคือ หมู่ท่ี 1 และหมู่ที่ 4 ตำบลพลวงทอง ช้างป่าจะออกจากพ้ืนที่เขตรักษา
พันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ผ่านป่า
สงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน
เข้ามาในเขตพ้นื ทข่ี องบ้านเขาใหญ่
หมู่ที่ ๔ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีจุด
ท่ีช้างออกมาจำนวน 6 จุด และ
กระจายไป ท างห มู่ บ้ าน อ่ าง
ผักหนาม และบ้านคลองโค ท่ีมี
เขตติดต่อกัน และเร่ิมมีการพบ
เห็นช้างในพ้ืนท่ีหมู่ที่ 7 บ้าน
ห ลุ ม ม ะ น า ว ใน ช่ ว ง เดื อ น
กุมภาพันธ์ – มนี าคม ๒๕63

30

สำหรับโครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุน
การดำเนินงาน "หมู่บ้านคชานุรักษ์" ท่ีกรมการพัฒนาชุมชนส่งงบประมาณมาให้น้ัน สำนักงานพัฒนาชุมชน
อำเภอบ่อทองไดด้ ำเนินการขับเคลื่อนโครงการแล้ว ดังนี้ 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร้เู พื่อการอยู่
ร่วมกนั ระหว่างคนกบั ช้างครบทงั้ ๑๑ หมู่บ้าน 2. การพัฒนาและสาธิตอาชีพตามแผนพฒั นาชีวติ ฯ ระยะท่ี ๑
จำนวน ๕ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑,๒,๔,๖ ตำบลพลวงทอง และหมู่ที่ ๖ ตำบลเกษตรสุวรรณ มีกลุ่มอาชีพ
ท่ีเกิดจากการวิเคราะห์ศักยภาพตามบริบทของพื้นท่ี ซ่ึงจะได้พาคณะทำงานฯ เข้าพื้นท่ีต่อไป สำหรับระยะ
ที่ ๒ จำนวน ๖ หมบู่ ้าน อยรู่ ะหวา่ งดำเนนิ การส่งเสริมอาชีพ

๓) เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ คณะทำงานฯ ได้สัมภาษณ์ พูดคุยกับ นายตระกูล สว่างอารมย์
กำนันตำบลพลวงทองและผู้ใหญ่บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลพลวงทอง พื้นที่บ้านเขาใหญ่ เป็นพ้ืนท่ีราบ
เชิงเขา มีพ้ืนที่กว้าง ช้างป่าอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เวลาเย็นจะออกมาหากินและกลับเข้าในป่าได้ง่าย
และในหมู่บ้านชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สับปะรด ขนุน ไผ่ไต้หวัน และกล้วย
ซึ่งเป็นอาหารที่ช้างป่าชอบ ประกอบกับในป่าไม่มีอาหารและน้ำให้กับช้างป่าอย่างเพียงพอ จึงทำให้ช้างป่า
เข้ามาในหมู่บ้านเพื่อหาอาหารและน้ำมากข้ึน ในหมู่บ้านได้มีการดำเนินการทั้งการป้องกันและแก้ไขเพ่ือให้
สามารถดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้านให้ได้ ทั้งนี้ สิ่งที่ทางชุมชนดำเนินการอยู่มีการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัย
หมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อผลักดันและเฝ้าระวังช้างป่า และมีการปรับเปลี่ยนเวลาการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพ
กรีดยางปรับเวลากรดี ยาง เป็น ๒ ชว่ ง คือ ช่วงเช้า ตีห้าถงึ หกโมงเช้า และชว่ งบา่ ยสี่โมงเยน็ เปน็ ตน้

๔) เม่ือวันท่ีพุธที่ 9 กันยายน 2563 คณะทำงานฯ ได้สัมภาษณ์ พูดคุยกับ นายสมโชค สิทธิ์ภานุวงค์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง (อบต.พลวงทอง) เน่ืองจากการลงพื้นที่ในครั้งแรก
ไม่มีโอกาสได้พบ ซึ่งนายก อบต. ได้พูดถึงสถานการณ์ช้างป่าและการดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่า
ของท้องถ่ินว่า ปัญหาเร่ืองช้างป่าท่ีเกิดขึ้นภายในตำบลเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก แต่ต้องทำให้ได้ ต้องอยู่ร่วมกัน
ให้ได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560ถึงปี พ.ศ. 2563 อบต.พลวงทองได้รับแจ้งความเสียหายจากผู้ประสบภัยช้างป่า
จำนวน 12 ราย แต่ยังไม่เคยมีการเยียวยา สถานการณ์ปัจจุบันดีขึ้น มีการร่วมมือกันแก้ไขและเยียวยา
การดำเนินงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทองได้ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับช้างป่า เช่น โครงการ
ในพระราชดำริ : การปกป้องรักษาป่า ส่วนที่ อบต. พลวงทองได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ การทำคูกันช้าง
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร (ยกเว้นหมู่ท่ี ๔) การปลูกพืชอาหารช้าง ทำโป่งช้าง การจัดตั้งอาสาสมัคร
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มีการส่งเสริมอาชีพตามความต้องการของประชาชน เช่น การเล้ียงเป็ด
การแปรรูปไข่เค็ม และส่งเสริมให้มีการจัดต้ังกลุ่มอาชีพ เป็นต้น ล่าสุดได้มีการส่งเสริมให้ประชาชน
ปรับเปล่ียนอาชีพเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ภายในหมู่บ้าน ตำบลได้ โดยได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาล
อภัยภูเบศรมาให้ความรู้ด้านพืชสมุนไพร ทง้ั น้ี จะมีการเยียวยาใหก้ ับครัวเรือนเกษตรกรท่ีได้รบั ความเสียหาย
จากช้างป่าเป็นรายแรก ในวันท่ี ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ เป็นราษฎรหมู่ที่ ๒ ต้นยางเสียหายจำนวน ๖ ต้น
ชดเชยความเสียหายเป็นเงิน ๕๐๗ บาท โดยใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพ่ือช่วยเหลือ
ประชาชนตามอำนาจหน้าทข่ี ององคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๐

๔.๑.2 การสำรวจชุมชน คน และช้าง โดยการสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน และผู้แทนประชาชน
ท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า ในพื้นท่ี 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,4,6 ตำบลพลวงทอง และหมู่ที่
6 ตำบลเกษตรสุวรรณ ในประเด็นความเป็นมาของหมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม
ประเพณี วัฒนธรรม สถานการณ์ช้างป่าในพื้นท่ี พฤติกรรมของช้างป่า ทัศนคติของคนที่มีต่อช้างป่า ปัญหา
การแกไ้ ข ขอ้ เสนอแนะ และไดส้ รปุ ผลการสำรวจชมุ ชน คน และชา้ ง รวม ๗ ประเดน็ ดงั น้ี

31

ตารางท่ี ๓ สรปุ ผลการสำรวจชมุ ชน คน และช้าง

ประเด็นท่ี 1 ลกั ษณะภมู ิประเทศ
หมู่ 1 ต.พลวงทอง หมู่ 2 ต.พลวงทอง หมู่ 4 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.เกษตรสวุ รรณ

-เนอื้ ท่ี 18,750 -เนือ้ ท่ี ๒๕,๐๐๐ไร่ -เน้ือท่ี 38,125 - เนอ้ื ที่ ๑๕,๐๐๐ ไร่ - เนอ้ื ที่ ๑๒,๑๑๘ ไร่

ไร่ - พ้นื ที่เป็นที่ราบ ไร่ - พน้ื ท่ีเปน็ ที่ราบเชิง เนอื้ ท่ปี ระมาณ ๓๐%

- พนื้ ที่เป็นลูก สงู มภี ูเขาโดยรอบ - พ้ืนทีเ่ ปน็ เนนิ เขา เขา “หน้าติดถนน เปน็ ปา่ เชงิ เขา ในเขตปา่

คลน่ื ลอนลาดถงึ - อยู่ในเขต ส.ป.ก. เต้ียๆ และที่ราบ หลงั ชนเขา” - มเี ขา สงวน

ลอนชัน สลบั เนนิ และป่าสงวน อยู่ในเขต ส.ป.ก. พริก เขากลาง และ - พน้ื ที่ส่วนใหญเ่ ป็นท่ี

เขาและภเู ขา มี - มีถ้ำเขาชะอางค์ และปา่ สงวน เขาใหญ่ ราบเนินสลบั กับเขาลูก

เทือกเขาอา่ งฤาไน ทรงเคร่ือง เป็นที่ - แนวเขาใหญ่และ - อยู่ในเขต ส.ป.ก. เตย้ี

- อย่ใู นเขต ส.ป.ก. อยูข่ องฝงู ลิง เขากำแพงเป็นเขต และป่าสงวน - อยู่ในเขต ส.ป.ก.และ

และปา่ สงวน -มี อ่ า ง เ ก็ บ น้ ำ - มีตน้ ไม้ยักษ์ ป่าสงวน

กระแส เป็นแหล่ง เปน็ แหล่ง

หากินและสถานที่ ทอ่ งเทย่ี วเชงิ

พักผอ่ น นิเวศน์

ประเดน็ ที่ ๒ ประชากร สังคม ประเพณี

- 162 ครัวเรือน - ๗๒๐ ครัวเรือน - 576 ครัวเรือน - ๑๒๐ ครัวเรือน - 161 ครัวเรือน

- 620 คน - ๑,๘๒๔ คน - 1,912 คน - ๘๒๐ คน - 678 คน

- ป ระ เพ ณี ต าม - มีการวิ่งควาย ตัก - ป ร ะ เพ ณี ต า ม - ป ร ะ เพ ณี ต า ม - ประเพณีตามศาสนา

ศาสนาพุทธ บาตรเทโว กนิ เจ ศาสนาพุทธ ศาสนาพทุ ธ พทุ ธ บุญกลางบ้าน

- เป็ น ศูน ย์กลาง - มี ก ลุ่ ม อ ง ค์ ก ร

ของตำบล เข้มแขง็

ประเด็นท่ี 3 เศรษฐกิจ

- ร้อยละ 80 - รอ้ ยละ ๘๐ - รอ้ ยละ 80 - สว่ นใหญป่ ระกอบ - อาชีพหลัก ทำ
ประกอบอาชพี ประกอบอาชพี ประกอบอาชพี อาชพี เกษตรกรรม การเกษตร เลยี้ งสัตว์
เกษตร ปลูก เกษตรกรรม เกษตรกรรม ปลูก - บางส่วนประกอบ - อาชี พ เสริม รับ จ้าง
ยางพารา - บางส่วนค้าขาย ยางพารา ผกั ผลไม้ อาชีพค้าขายและ ทั่วไป
- ร้อยละ 20 และรบั จ้างทว่ั ไป - บางสว่ นคา้ ขาย รับจา้ งทวั่ ไป
ทำเกษตร
ผสมผสาน และรบั จ้างทั่วไป

32

ประเด็นท่ี ๔ สถานการณ์ชา้ งปา่

หมู่ 1 ต.พลวงทอง หมู่ 2 ต.พลวงทอง หมู่ 4 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.เกษตรสวุ รรณ

- ปี 2552 เรมิ่ มี - ปี 2550 เรมิ่ มชี า้ ง - ปี 2555 เรมิ่ มี - ปี 2560 ชา้ งป่า - ปี 2559 เรมิ่ มีช้างปา่

ชา้ งปา่ เขา้ ในพน้ื ที่ ปา่ พลัดถน่ิ เข้ามา 1 – ชา้ งเข้ามากินมะมว่ ง เร่มิ เขา้ มาในพน้ื ที่ เขา้ มาในหมบู่ ้าน 3 - 7 ตวั

เกษตร 1 - 2 ตวั 2 ตวั หมิ พานต์ - เส้นทางหลกั ท่ใี ชห้ า ปีละ 3 ครั้ง

- ปี 2563 ช้างป่า - ฤดแู ลง้ จะออกมา - ปี ๒๕๖๓ มีช้างเขา้ กิน ไดแ้ ก่ ชายป่าซอย ส่วนใหญ่จะมาในชว่ งฤดู

มากถงึ 30-50ตัว เกอื บทุกวนั เพราะ มาเป็นกลมุ่ ใหญ่ อา่ งผกั หนาม ๓ และ ร้อนและหนาว เพราะ

–เวลาที่มาเร็วขึ้น ปา่ ขาดความอุดม มากกวา่ 50 ตวั ซึ่ง ๔ อาหารในปา่ ลดลง

เดิมเวลา17.00 น. สมบูรณ์ ออกมา มากท่สี ุดในตำบล - ช้างป่าจะเคล่ือนตวั - ปี 2563 มีชา้ งป่าเขา้ มา

เ ป็ น 16.00 น . บริเวณบา้ นคลองกมุ่ มาจากหม่ทู ี่ 4 เฉลยี่ เพมิ่ ขน้ึ

และจะกลับก่อน เขาตะกร้อ เคยมา เข้ามาปลี ะ 3 ครั้ง

พระอาทิตย์ขึ้น กินปาลม์ ในโรงเรยี น

ประเด็นท่ี ๕ พฤตกิ รรมการออกหากนิ

- ช้างป่าออกมากิน - เส้นทางเดินจะมา - ชา้ งปา่ ออกมาจาก - ชา้ งปา่ ออกหากินใน - ช้างป่าทำงานเป็นทีม โดย

พื ช อ า ห า ร แ ล ะ ต า ม ล ำ ค ล อ ง พนื้ ทเี่ ขตรักษาพันธ์ุ ช่วงเวลา 17.00 น. มีช้าง 1-2 ตัว ออกมาทำ

ท ำ ล า ย ผ ล ผ ลิ ต ช่องทางช้าง ช้างป่า สัตวป์ า่ เขาอ่างฤาไน และกลบั เขา้ ปา่ ในช่วง ห น้ าท่ี เป็ น ช้ าง Survey

ท า งก า ร เก ษ ต ร ทำงานเป็นทมี มีชา้ ง ผา่ นป่าสงวน เชา้ มดื หรือลาดตระเวร ช้างป่าจะ

เส มื อ น ก า ร ม า 1-2 ตัว ทำหน้าที่ แห่งชาติ และปา่ - กนิ พชื ผลทางการ ออกมากินอาหารในตอน

เดินตลาดนัด หรือ เป็ น ช้ า ง Survey ชมุ ชน เข้ามาในบา้ น เกษตรโดยเฉพาะไม้ กลางคืน และกลับก่อน

มาเท่ียวคาเฟ่ จะ หรือ ล าดตระเวร เขาใหญ่ หมทู่ ่ี ๔ ผล เชน่ กลว้ ย สว่าง

ค่อยๆ เดินมาหา เพื่อหาแหล่งอาหาร เปน็ ส่วนใหญ่ จดุ ที่ สับปะรด มัน -ช้ า งป่ า มี ค ว า ม ฉ ล า ด

อาหารอย่างสบาย เร่ิมออกหากินราว ชา้ งออกมี 6 จดุ สำปะหลัง สามารถเรียนรู้พฤติกรรม

ใจ เดินกินไปอย่าง 18.00 น. กลางวัน และกระจายไปทาง - การออกหากินจะมี ข อ ง ช า ว บ้ า น แ ล ะ

ช้ าๆ ไม่ ช อ บ ให้ ร้อนจะนอน ชอบลง บา้ นอ่างผักหนาม ชา้ งประจำถ่นิ ส่ิ ง แ ว ด ล้ อ ม ร อ บ ข้ า ง ไ ด้

รบ ก วน เวล ากิ น เล่นน้ำ กินอาหาร และบา้ นคลองโค ท่ี ประมาณ ๓ ตัว จะ อย่างรวดเรว็

ห า ก กิ น อิ่ ม จ ะ ราว 1 ใน ๓ ของ มเี ขตตดิ ตอ่ กัน ส่วน เขา้ ออกหม่บู า้ นเปน็ - ชา้ งป่าทม่ี ากินอาหารยัง

กลับไปเองโดยใช้ น้ำหนักตัว ชอบกิน บา้ นเขาชะอางค์ หมู่ ประจำ ไม่มีการทำรา้ ยคน

เส้นทางเดมิ เกลือ กะปิ ท่ี ๒ มจี ุดท่ีช้างปา่ - ชา้ งปา่ จรจำนวน

- กิน อ าห าร ราว - ชา้ งป่าท่ีมาหากนิ มี ออกจำนวน 2 จดุ มากกว่า ๓๐ ตัว การ

30 % ของน้ำหนัก ๒ ประเภทคือ ช้าง - ช้างปา่ ตาไมด่ ี หู กนิ จะเคลอื่ นตัวไป

ตัว ไม่ชอบเสียงดัง ประจำถิ่น อายุราว และจมกู ดีมาก มี เรื่อย ๆ เป็นวงรอบ

ไม่ กิน สั ต ว์ ชอ บ 4-๕ ปี อ าศั ย อ ยู่ ความจำแมน่ และจะเข้ามาในพืน้ ท่ี

เล่ น น้ ำ ใน ส ร ะ / ตามชายป่า จะเข้า - มีการเคลื่อนยา้ ยไป เกษตรกรรมมากขน้ึ

แหลง่ นำ้ ออ ก ห มู่ บ้ าน เป็ น เรือ่ ยๆ เป็นวงรอบ ในชว่ งฤดแู ลง้

- บ า ง ตั ว มี ป ร ะ จ ำ ไม่ ดุ ร้ า ย

พฤติกรรมดุร้าย/ และช้างจรสว่ นใหญ่

ซุกซน จะมาเป็นฝูง มากิน

- มีพัฒนาการ การ และทำลายพืชผล

เรียนรู้ ความจำดี ถ้าขับไล่จะโมโห ถ้า

หดู ี เดนิ เทา้ เบา เจอ ช้ างป่ าค น ล ะ

กลุ่ ม จะท ะเล าะ /

ตอ่ สูก้ ัน

33

ประเด็นท่ี 6 ทศั นคติของคนต่อช้างปา่ หมู่ 4 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.พลวงทอง หมู่ 6 ต.เกษตรสวุ รรณ

หมู่ 1 ต.พลวงทอง หมู่ 2 ต.พลวงทอง “ตอ้ งเข้าใจ และ คนส่วนใหญ่มีแนวคิด อยู่ร่วมกันแบบ “ต่างคน
“ทำใจ ยอมรับ” ค น ใ น ชุ ม ช น มี ปรบั ตวั ”ไม่ควรทำ ว่ า ค น แ ล ะ ช้ า ง ก็ ต้ อ ง ต่ างอ ยู่ ”ไม่ ท ำล าย กั น
สถานการณ์ช้างที่ ความเห็นว่า “ต้อง ร้ายชา้ ง ต้องสร้าง “อยู่ร่วม กัน ให้ ได้ ” ชาวบ้านรดู้ ีว่าพื้นทีท่ ่อี ย่นู ้ัน
เกดิ ขน้ึ เนอ่ื งจากไม่ เขา้ ใจ และทำใจ” แหล่งนำ้ และอาหาร จะอยู่อย่างไรให้ ไม่ เป็นพื้นที่ป่า คนต้องไม่บุก
สามารถที่จะย้าย ในป่าใหช้ า้ ง และ กระท บ กระท่ังแล ะ รุกป่า และควรสร้างแหล่ง
ถนิ่ ฐานไปที่อืน่ ได้ ตอ้ งปรบั เปลยี่ น ประชาชนไม่เดือดร้อน อาห ารท่ีสมบู รณ์ ในป่ า
พยามปรับตัวและ วธิ กี ารดำรงชวี ิต เปน็ สิ่งที่ทกุ สว่ นต้องมา ใหก้ ับช้าง
วิถีชีวิตให้อย่ภู ายใน เพอ่ื ใหอ้ ยใู่ นพน้ื ท่ี รว่ มมอื กนั
พน้ื ทใี่ หไ้ ด้ ให้ได้

ประเด็นท่ี ๗ การป้องกันและแก้ไขปัญหา

- ชุดรักษาความ - ปรับเปลย่ี นวิถี - สร้างความรคู้ วาม - สร้างความรู้ความ - เลี้ยงสุนัข เพ่ือเฝ้าบ้าน

ส ง บ เรี ย บ ร้ อ ย ชวี ติ โดยเฉพาะดา้ น เข้าใจ เข้ า ใจ ใน ที่ ป ร ะ ชุ ม เม่ือสุนัขเห่าผิดปกติก็จะรู้

ภ า ย ใน ห มู่ บ้ า น การประกอบอาชพี - จดั ตงั้ ชรบ. คอย ประชาคมทุกวันท่ี ๑๕ ไดว้ ่ามีชา้ งปา่ เขา้ มา

(ชรบ.) ผลัดเปลี่ยน คอยสังเกต เฝา้ ระวัง ช่วยเตือน ของเดือน โดย จนท. - ใช้ประทดั บอล โยนขบั ไล่

กั น อ อ ก ล า ด ระมดั ระวงั มากข้ึน ภัย และผลกั ดันช้าง พัฒนาชุมชน จนท.อนุ ช้างป่ าให้ ออกจากจาก

ต ระ เวน ต าม จุ ด ถา้ ทราบขา่ ววา่ ชา้ ง ปา่ รกั ษ์ ผนู้ ำชุมชน บริเวณหมู่บ้าน

เสี่ยงต่างๆ ท่ีช้าง ป่าลงมาจะเลกิ - ตดิ ตง้ั กลอ้ ง - แจ้งข่าวเม่ือมีช้างเข้า - ใช้ไฟโซล่าเซลส่องเข้าไป

ป่าออกหากนิ ประกอบอาชพี รีบ CCTV ตดิ ตาม ม า ผ่ า น ก ลุ่ ม ไ ล น์ ในสวนทำให้เกิดแสงสว่าง

- ปรับเปลี่ยนเวลา กลบั บา้ น พฤติกรรมช้างใน หมู่บา้ น ชา้ งจะไดไ้ มเ่ ขา้ มาในสวน

ในการกรีดยาง/ - ปรบั เวลากรดี ยาง พ้นื ที่ - หลบเข้าที่พักเม่ือช้าง - เปล่ียนวิถีการกรีดยาง
ปลูกพืชท่ีช้างไม่ เปน็ ๒ กะ คือ ช่วง มาไม่ใหม้ กี ารปะทะกนั จากกลางคืน เป็นตอนเช้า
ชอบ เช่น เช้า ตีหา้ ถงึ หก - สรา้ งแหลง่ นำ้ - จัดทำป้ายเตือนเขต เพื่อความปลอดภยั
สมุนไพร เป็นต้น โมงเชา้ และชว่ ง แหลง่ อาหารในป่าให้ ชา้ งป่าออกหากิน - ปลูกพืชผักที่ช้างไม่ชอบ
บ่าย สีโ่ มงเย็น (แต่ ชา้ ง - จัด ชรบ. คอยเฝ้า เชน่ สมุนไพรต่างๆ
ขณะนี้ช้างกอ็ อกหา - ปรับเปลยี่ น ระวัง ช่ วยเตื อ น ภั ย - ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กิน
กินเรว็ ขนึ้ บางครั้ง วธิ กี ารในการ และผลั กดั นช้ างป่ า ใกล้ ๆ บา้ น
ส่หี รือหา้ โมงเย็นก็ ดำรงชีวติ เพ่อื อยู่ใน โ ด ย จ ะ ป ร ะ ส า น แ จ้ ง - คนตอ้ งไม่บกุ รกุ ปา่
ออกมาแลว้ ) พน้ื ทใ่ี ห้ได้ ห น่ วย จนท . ป่ าไม้ - สร้างแหลง่ อาหารท่ี
- ปรบั เปลี่ยนการ - ปลกู พชื สมนุ ไพร จ น ท . อ นุ รั ก ษ์ เข้ า สมบูรณใ์ ห้กบั ช้างในพืน้ ที่
ปลูกพชื เชิงเดี่ยว พืชทช่ี ้างไมช่ อบ พชื มาร่วมผลักดัน โดยใช้ ปา่ ดา้ นใน เชน่ แหล่งนำ้
เป็นพชื ผสมผสาน ผสมผสาน สรา้ งวน เชือกล้อม ทำคูกันแนว แหล่งอาหาร การปลกู ป่า
มากขึน้ เกษตรเปน็ แนวกนั จุดระเบิดลูกบอลหรือ เพ่ิมเตมิ
- การเยียวยาผู้ ชน ปิงปองเพือ่ เตอื นภยั

ไดร้ บั ความเสยี หาย

34

๔.๑.3 การปักหมุด/ระบุพิกัดชุมชนและครัวเรือน ด้วยระบบแฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย (TPMAP
Logbook)

คณะทำงานฯ ลงพ้ืนที่เพ่ือสนับสนุนการขับเคล่ือนการดำเนินงานฯ โดยทำการเช่ือมโยง
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือระบบแฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย (TPMAP Logbook) เข้ามาใช้กบั ครวั เรือนเป้าหมาย
ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาหมูบ่ ้านคนรกั ษ์ช้างตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง สนับสนนุ การดำเนินงาน
"หมู่บ้านคชานุรักษ์" เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลในระบบเพ่ือพัฒนาคนแบบชี้เป้า สามารถครอบคลุมปัญหา
ที่กว้างข้ึน และสามารถระบุปัญหาในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถ่ิน/ท้องท่ี จังหวัด ประเทศ
หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซ่ึงทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากข้ึนและสามารถ
ออกแบบโครงการในการแกป้ ญั หาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปญั หาได้

เริ่มต้นดำเนินการด้วยการให้ความรู้แก่นักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) อำเภอบ่อทอง
เรื่องการบันทึกข้อมูลในระบบและการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ หลังจากนั้นได้ทดสอบการบันทึกข้อมูล
ของหมู่ท่ี 4 ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง เป้าหมายในการบันทึกครั้งนี้ มีท้ังหมด 35 ราย ซ่ึงเป็น
ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุน
การดำเนนิ งาน "หม่บู ้านคชานุรกั ษ์" ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2563

35

๔.๑.๔ การจัดทำแผนเดนิ ดนิ / แผนทีท่ ำมือ
คณะทำงานฯ ลงพื้นที่ใน 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,4,6 ตำบลพลวงทอง และ

หมู่ท่ี 6 ตำบลเกษตรสุวรรณ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพัฒนากร ผู้นำชุมชน และผู้แทนครัวเรือนท่ี
ได้รับผลกระทบจากช้างป่าและเป็นกลุ่มเป้าหมายท่ีเข้าร่วมโครงการ พร้อมจัดทำแผนท่ีเดินดิน / แผนที่ทำ
มอื ประกอบดว้ ย ข้อมูลสถานทส่ี ำคัญภายในหมู่บ้าน บริเวณพื้นทที่ ี่ไดร้ ับผลกระทบจากช้างป่า และเส้นทาง
เดนิ ของชา้ งปา่ ทเี่ ข้ามาในพื้นท่ีหมู่บ้าน

๔.๑.๕ การสงั เกตแบบมีส่วนร่วม
๑) เม่ือวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะทำงานฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์

การจดั เวทรี ับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชน พ.ศ. 2563 เรื่อง โครงการอนุรักษ์ฟ้ืนฟู
แหล่งน้ำช้างป่าคลองป่าสัก และคลองเหมืองสะอางค์
หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 4 โดยสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล
ณ องค์การบ ริห ารส่วน ต ำบ ลพ ลวงท อง ห มู่ท่ี ๒
ตำบลพลวงทอง ผู้เข้าร่วมเวทีเป็น ผู้นำชุมชนและ
ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ ๔๐ คน หลังจากท่ี
ได้รับฟังรายละเอียดของโครงการฯ ผู้เข้าร่วมเวทีได้ยกมือ
เหน็ ดว้ ยกบั การดำเนินโครงการฯ น้ี

๒) คืนวันท่ี ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๒๒.๑๐ น. คณะทำงานฯ เข้าร่วมกิจกรรม
การผลักดันช้างป่า ในเขตพื้นท่ีหมู่ท่ี ๒ และ ๔ ตำบลพลวงทอง เดินทางด้วยรถยนต์กระบะร่วมกับชุดรักษา
ความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และเจ้าหน้าท่ีหน่วยพิทักษ์ป่า ซ่ึงได้รับรายงานว่า พบช้างป่ากำลังพยายาม
เข้าสู่พื้นที่ของชาวบ้าน จากการร่วมสังเกตการณ์โดยใช้รถยนต์ลาดตระเวนและส่องไฟเป็นเวลาช่วงหนึ่ง
พบว่าช้างป่ามีการส่งเสียงร้องเป็นระยะส่งสัญญาณให้กับฝูงช้างและซุ่มนิ่งอยู่กับที่ รอเวลาให้ทางทีม
เจ้าหน้าที่ออกจากพื้นที่จึงจะเดินไปยังชุมชนอื่นเพื่อหาอาหาร ในการจะผลักดันช้างไม่ให้เข้าสู่พื้นท่ีอื่น
อาจจะปรับเปล่ียนวิธีการ โดยปล่อยให้ช้างเข้าสู่พื้นท่ีตามเส้นทางที่ช้างเคยเดินเละเคยเข้าไปกินอาหาร

36

จากน้ัน จึงค่อยผลักดันให้ช้างกลับเข้าป่าก่อนฟ้าสาง ซึ่งจะกอ่ ให้เกิดความเสียหายน้อยกว่าการปล่อยให้ช้าง
ปักหลักอยู่ท่ีเดิมเป็นเวลานาน จากการสังเกตการณ์การทำงานของเจ้าหน้าท่ีและชุด ชรบ.แสดงให้เห็นว่า
จะต้องมีการปรับแผนการทำงานตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมีความเสียหาย
น้อยทส่ี ดุ

๔.๑.๖ สรุปผลการศึกษาชุมชน
คณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพ้ืนท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก พื้นที่

จังหวัดชลบุรี สรุปงานในภาควิชาการ เพ่ือจัดทำรายงานผลการดำเนินงานจากการลงพื้นท่ีในช่วงเย็น
ของทุกวัน โดยประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าเหมาะสม หรือต้องปรับปรุง
หรือไม่ อย่างไร พร้อมวางแผนการดำเนินงาน และจะได้ส่งข้อมูลกลับคืนชุมชนในกระบวนการให้การศึกษา
กบั ชมุ ชนต่อไป

๔.๑.7 การให้การศึกษาชุมชน
การขับเคลอ่ื นการแก้ไขปญั หาชา้ งป่าพนื้ ที่รอยตอ่ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก พื้นท่ีจังหวดั ชลบุรี

ได้จัดรูปแบบการให้การเรียนรู้กับพ้ืนที่เป้าหมายท้ัง 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ผ่านกิจกรรมการสนทนากลุ่ม
ในการสำรวจชุมชน และการจัดทำแผนที่เดินดิน ด้วยการแลกเปล่ียนความรู้ ประสบการการณ์ และความคิดเห็น
รวมถึงสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมที่เข้าร่วมดำเนินการ การวิเคราะห์และพัฒนาอาชีพ การสร้างระบบ
การเฝ้าระวัง ป้องกัน และเตือนภยั ใหก้ บั ชมุ ชน

ผลจากการให้การศึกษาชุมชน ทำให้คนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดการวิเคราะห์
ตนเอง วิเคราะห์ชุมชน เรยี นรู้การปรับวิถีชีวิตตามปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือทำให้เกิดการอยู่ร่วมกัน
กบั ช้างปา่ ได้อยา่ งสมดุล ดงั นี้

1) ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่เป็นภูเขา มีเนินเขาเต้ีย ๆ และท่ีราบบางส่วน มีแนวเขาใหญ่
และเขากำแพงเป็นเขตแดน พื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นเอกสารสิทธิให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปท่ีดิน
(ส.ป.ก.๔-๐๑) และพ้ืนที่ป่าสงวน ประชากรส่วนใหญ่ย้ายถ่ินมาจากท่ีอ่ืน โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ได้แก่ การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น การปลูกพืชสวน เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม
น้ำมัน สวนมะม่วงหมิ พานต์ สวนผลไม้ (ทเุ รียน มงั คดุ ) และการเลยี้ งสัตว์

2) สถานการณ์ของช้างป่า เริ่มเมื่อปี ๒๕๕๐ มีผู้พบเห็นช้างป่าเข้ามาในหมู่บ้าน ๑ - ๒ ตัว
และจำนวนช้างป่าที่เข้ามาในหมู่บ้านมีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นทุกปี ในขณะที่พื้นที่ป่าลดลง และขาดวงจรนักล่า
โดยปัจจุบันมีจำนวนช้างป่ามากข้ึนถึง ๓๐ - ๕๐ ตัว นอกจากนี้ยังพบสถานการณ์ที่ทำให้คนและช้างป่า
เสียชีวิต เช่น เม่ือปี 2558 มีช้างยืนพิงต้นยางตาย สัตว์แพทย์ของกรมอุทยานฯ ผ่าซากพิสูจน์พบว่า ลำไส้
ของช้างเน่าติดเช้ือ เนื่องจากกินหญ้าท่ีราษฎรฉีดสารดูดซึมไกลโฟเสต เพ่ือกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา
เม่ือต้นปี 2561 ท่ีบ้านเขาชะอางค์ มีช้างป่าเขามากินสับปะรด ที่เจ้าของสวนได้ทำรั้วไฟฟ้ากันไว้ ทำให้

37

ไฟฟ้าช็อตช้างป่าตาย 2 ตัว และเมื่อต้นเดือนกันยายน ๒๕๖๓ มีเหตุการณ์ท่ีช้างเดี่ยวบุกทำลายกำแพงวัด
บุญญาวาส หมทู่ ่ี 8 บ้านคลองใหญ่ ตำบลบอ่ ทอง อำเภอบอ่ ทอง จงั หวดั ชลบรุ ี และทำรา้ ยราษฎรเสียชวี ติ

เส้นทางเดินของช้างป่าจะออกมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซ่ึงเป็นพื้นท่ีป่า
รอยต่อ 5 จังหวัด ภาคตะวันออก โดยมีแนวเขตติดต่อเป็นระยะทางกว่า ๓๐ กิโลเมตร บริเวณที่ช้างออกมา
เป็นพ้ืนท่ีเขตติดต่อกับอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน เข้ามาในเขต
อำเภอบ่อทอง ครอบคลุมหมู่บ้านท้ังหมด จำนวน 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ได้แก่ บ้านเขาห้ายอด หมู่ที่ 1
บา้ นเขาชะอางค์ หมู่ที่ 2 บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 4 บ้านอ่างผักหนาม หมู่ท่ี 6 ตำบลพลวงทอง และบ้านคลองโค
หมู่ท่ี 6 ตำบลเกษตรสุวรรณ โดยพ้ืนท่ีที่มีความรุนแรงมากที่สุด ได้แก่ บ้านเขาใหญ่ หมู่ท่ี ๔ ซ่ึงเป็นหมู่บ้าน
คชานุรักษ์ โดยบริเวณบ้านเขาใหญ่มีจุดท่ีชา้ งออกมาจำนวน 6 จุด และกระจายไปทางหมู่บ้านอา่ งผักหนาม
และบ้านคลองโค ท่ีมีเขตติดต่อกัน และเร่ิมมีการพบเห็นช้างในพื้นที่หมู่ท่ี 7 บ้านหลุมมะนาว ในช่วงเดือน
กุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๕63 ส่วนบ้านเขาชะอางค์ มจี ุดท่ีชา้ งปา่ ออกมาจำนวน 2 จุด บ้านเขาห้ายอดมีจุด
ทช่ี ้างออกมาเป็นประจำจำนวน 3 จดุ โดยในช่วงฤดูแล้งช้างป่าจะออกมามากกวา่ ช่วงอนื่ ๆ เนอ่ื งจากพ้ืนท่ปี ่า
มีอาหารไม่เพียงพอ

3) พฤติกรรมการออกหากิน ช้างป่าออกมากินพืชอาหารของชาวบ้าน ในขณะเดียวกันก็ทำให้
ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายไปด้วย ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน โดยช้างป่า
จะออกหากินในช่วงกลางคืน เร่ิมออกมาเวลาประมาณ 17.๐๐ น. - 18.00 น. และกลับเข้าป่าก่อนสว่าง
ส่วนกลางวันอากาศร้อนช้างป่าจะนอน และชอบลงเล่นน้ำตามแหล่งน้ำ กินอาหารคร้ังละประมาณร้อยละ
๓๐ ของน้ำหนักตัว ชอบกินเกลือ กะปิ ไม่กินสัตว์ โดยจะเดินกินอาหารไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบให้รบกวน
เวลากิน หากกินอ่ิมจะกลับไปเองโดยใช้เส้นทางเดิม การออกมากินอาหารจะเคลื่อนย้ายไปเร่ือย ๆ เป็นวงรอบ
โดยช้างป่าจะทำงานเป็นทีม มีช้าง 1 - 2 ตัว ทำหนา้ ที่เป็นชา้ ง Survey หรือลาดตระเวรก่อน เพ่ือหาแหลง่ อาหาร
แล้วจึงไปพาเพื่อนมา ช้างป่าที่มาหากินมี ๒ ประเภทคือ ช้างประจำถ่ิน อายุราว 4 - ๕ ปี อาศัยอยู่ตามชายป่า
จะเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ ไม่ดุรา้ ย และชา้ งจรส่วนใหญ่จะมาเปน็ โขลง มากนิ และทำลายพืชผล ถ้าขับไล่
จะโมโห ถ้าเจอช้างป่าคนละกลุ่มจะทะเลาะ บางครั้งถึงขั้นต่อสู้กัน ลักษณะของช้างป่าคือ ตาไม่ค่อยดี
หแู ละจมกู ดมี าก มีความจำแม่น มีพฒั นาการการเรยี นรู้ เวลาเดนิ เท้าเบา ไมช่ อบเสยี งดงั และแสงไฟ

4) ทัศนคติคนต่อช้างป่า คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า “ต้องเข้าใจ และทำใจ”
ยอมรบั สถานการณ์ช้างที่เกิดขน้ึ เนื่องจากไม่สามารถท่ีจะย้ายถ่ินฐานไปอยู่ท่ีอื่นได้ จึงต้องพยามปรับตัวและ
วถิ ชี ีวติ คอื “อยรู่ ่วมกันใหไ้ ด”้ ส่วนอยูอ่ ย่างไรไมใ่ ห้กระทบกระท่ังและประชาชนเดือดรอ้ น เป็นส่ิงท่ีทกุ ส่วน
ต้องมาร่วมมอื กัน ดังนั้น การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าจึงเป็นการอย่แู บบ “ตา่ งคนตา่ งอยู่” ไม่ทำลาย
กัน คนกลัวช้างป่าท่ีเข้ามาในหมู่บ้านแต่ส่วนใหญ่ไม่ได้คิดที่จะทำร้ายช้าง เพราะส่วนใหญ่คิดว่าสัตว์ทุกตัว
ก็รักชีวิตเหมือนกับคน ชาวบ้านทราบดีว่าพ้ืนที่ที่อยู่น้ันเดิมเป็นพื้นท่ีป่า คนจึงต้องไม่บุกรุกป่าเพิ่มขึ้น
และควรสรา้ งแหล่งอาหารและแหล่งน้ำทอี่ ุดมสมบรู ณ์ในปา่ ให้กบั ชา้ ง

5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาช้างป่า ที่เข้ามาในหมู่บ้านพบว่า มีการดำเนินการด้านการป้องกัน
เฝ้าระวัง และเตือนภัยจากช้างป่า ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจ ปรับทัศนคติคนที่มีต่อช้าง จัดทำป้าย
เตือน ใช้ไฟส่องในสวน การสร้างคูกันช้าง สร้างแหล่งอาหารให้กับช้างป่าในพ้ืนท่ีด้านใน เช่น สร้างแหล่งน้ำ
แหล่งอาหาร การปลูกป่าเพิ่มเติม โดยมีข้อเสนอแนะในการป้องกันว่าควรมีการควบคุมอัตราการเกิดของช้างป่า
สำหรับการเฝ้าระวังในการรบั มือกับช้างป่าในทุกหมู่บ้าน ได้มีการจัดชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
ผลัดเปล่ียนกันออกลาดตระเวนตามจุดเส่ียงต่างๆ ที่ช้างป่าออกหากิน จัดตั้งกลุ่มไลน์แจ้งข่าว ติดตั้งกล้อง
CCTV ติดตามพฤติกรรมช้างป่าในพื้นที่ เลี้ยงสุนัขเฝ้าบ้าน ด้านการประกอบอาชีพ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

38

มีการปรับเปล่ียนด้านอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นพืชผสมผสานมากขึ้น ปลูกพืชสมุนไพร
ท่ีช้างไม่ชอบกิน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น กระชาย ชะอม การเลี้ยงสัตว์ เช่น ผ้ึง เป็ด ไก่ โค มีการคอยสังเกต
ระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการประกอบอาชีพ ถ้าทราบข่าวว่าช้างป่าลงมาก็จะเลิกประกอบอาชีพ
รบี กลับบ้าน ปรับเวลากรีดยาง เป็น ๒ ช่วงคือ ช่วงเช้าตีห้าถึงหกโมงเช้า และช่วงบ่ายสีโ่ มงเย็น ด้านการเยียวยา
ผู้ได้รับผลกระทบ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทองได้ช่วยเหลือพ้ืนท่ีเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย
จากช้างป่า จำนวน 1 ราย เป็นเงิน 507 บาท และมีการจัดตั้งกองทุนคชานุรักษ์ขึ้นในหมู่บ้านคชานุรักษ์
หมู่ที่ ๔ ตำบลพลวงทอง มีเงินทนุ ต้ังตน้ จำนวน 100,000 บาท แต่ยังไม่มีการนำเงินกองทุนไปช่วงเหลือสมาชิก
เน่ืองจากอยู่ระหวา่ งการกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตามเน่ืองจากช้างเป็นสัตว์ที่เรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามสถานการณ์
ทเี่ ปล่ียนแปลงไป ทำให้คนในหมู่บ้านก็ต้องเรียนรู้และปรับเปล่ียนวิธีการรับมือกับช้างป่า ไปตามสถานการณ์
ด้วยเช่นกนั จะเห็นได้ว่าท้งั ชา้ งป่าและคนตา่ งมีการเรียนรู้ซึง่ กันและกนั และมกี ารปรับตัวเพ่ือความอย่รู อด

๔.๒ การสง่ เสริมและพัฒนาอาชพี
กรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : ขยายผล

การพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์”
กิจกรรมการพัฒนาและสาธติ อาชีพตามแผนพัฒนาวิถีชีวิตเพ่ือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง
พบวา่ มีการรวมกลุ่มอาชีพในพนื้ ที่ ดังน้ี

หมู่ที่ 1 บ้านเขาห้ายอด ต.พลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกและแปรรูปสมุนไพร ข่าเหลือง/
ตะไคร้/ขมน้ิ /กระชาย สมาชิก 30 ครวั เรือน

หมู่ที่ 2 บ้านเขาชะอางค์ ต.พลวงทอง กลุ่มอาชีพเลี้ยงเป็ดสาวและทำไข่เค็มอินทรีย์
สมาชกิ 30 ครวั เรือน

หมู่ที่ 4 บ้านเขาใหญ่ ต.พลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกและแปรรูปสมุนไพร ข่า/ตะไคร้/ขมิ้น/
ขาไกด่ ำ/เทา้ ยายม่อม สมาชกิ 35 ครวั เรอื น

หมู่ท่ี 6 บ้านอ่างผักหนาม ต.พลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกชะอมและสมุนไพร ข่าเหลือง แต้ว
สมาชกิ 30 ครัวเรอื น

หมู่ท่ี 6 บ้านคลองโค ต.เกษตรสุวรรณ กลุ่มอาชีพแปรรูปพริก/ผลิตชะลอมไม้ไผ่/แปรรูป
ผลไมแ้ ละผักกาดดอง/ทำพรกิ แกง/ปลูกพชื สมนุ ไพร สมาชกิ 36 ครัวเรือน

๔.๒.๑ การวิเคราะห์กลุ่มอาชีพ คณะทำงานฯ พร้อมด้วยพฒั นาการอำเภอและนักวิชาการพัฒนาชุมชน
ได้ลงพื้นที่พูดคุยและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพด้วยเทคนิค SWOT ร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและผู้แทนกลุ่มอาชีพ
ของแต่ละหมบู่ ้าน พบว่าในภาพรวมมจี ดุ แขง็ โอกาส จดุ อ่อน และขอ้ จำกัด ในการขบั เคลอื่ นกลมุ่ อาชีพ ดงั นี้

จดุ แข็ง
๑) เป็นกลุ่มอาชพี ทใี่ ชว้ ตั ถุดิบการผลิตที่มีอยู่ในชุมชน และสอดคล้องกบั ภูมิปัญญาของชุมชน
๒) มีสถานทีจ่ ัดเกบ็ วสั ดุ อุปกรณ์ ครภุ ัณฑ์ และสถานทด่ี ำเนนิ กจิ กรรมของกลุ่ม
โอกาส
๑) กรมการพัฒนาชุมชนใหก้ ารสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนนิ งานของกลุม่ ทเ่ี กิดจาก
เวทปี ระชาคม โดยเฉพาะกลุ่มแปรรูปสมุนไพร หม่ทู ่ี ๔ ไดร้ ับการสนบั สนนุ ครภุ ัณฑ์ในการแปรรปู สมุนไพรด้วย
๒) มีหนว่ ยงานเขา้ มาสนบั สนุนหลายหนว่ ยงาน ทำใหไ้ ดร้ บั โอกาสในการพัฒนามากย่งิ ขึ้น

39

จดุ ออ่ น
1) สมาชิกในกลุ่มมีงานประจำหรืออาชีพหลักอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีเวลาในการดำเนินงาน
ของกลมุ่ อาชพี ที่จัดต้งั ขนึ้ สง่ ผลให้การดำเนินกจิ กรรมของกลมุ่ ขาดความตอ่ เน่ือง
๒) วตั ถุดิบหลักในการแปรรูป (สมนุ ไพร) จำหนา่ ยสดไดร้ าคาดีและรวดเร็วกวา่ แปรรูป
๓) การบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบและยังไม่เป็นไปในรูปแบบของกลุ่ม ส่วนใหญ่มีการ
บริหารโดยบคุ คลเพียงคนเดียว ขาดการมสี ว่ นร่วมของสมาชิกในกลมุ่
๔) ขาดแหลง่ จำหนา่ ยสนิ คา้ ท่ีสามารถจำหนา่ ยไดอ้ ยา่ งต่อเนอ่ื ง
ข้อจำกดั
๑) มีการย้ายเปลี่ยนนักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) บ่อย ทำให้การสนับสนุน
ไม่ต่อเนอื่ ง
๔.๒.๒ แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพ จากผลการวิเคราะห์ดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มและผู้นำ
ชุมชนได้รว่ มกันกำหนดแนวทางการพัฒนากลมุ่ อาชีพแต่ละกลุ่มในหมู่บา้ น โดยการแสวงหาความรู้ ฝึกทักษะ
ใหเ้ กิดความชำนาญ มีการบริหารจดั การกลมุ่ ให้ระบบ การแบ่งหน้าท่รี บั ผิดชอบ การมผี ลประโยชน์ตอบแทน
ร่วมกัน ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐาน มีการตลาดที่ดี ซ่ึงจะทำให้เกิดการร่วมกันเอาใจใส่ดูแลกลุ่ม สรุปได้
ดงั นี้
หมูท่ ่ี 1 บา้ นเขาห้ายอด ตำบลพลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกและแปรรปู สมุนไพร ขา่ เหลือง/
ตะไคร้/ขม้ิน/กระชาย มีแนวทางการพฒั นากลุ่มอาชีพ ดังน้ี
๑) เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท่ีมีการดำเนินการอยู่แล้ว และมีช่องทางการตลาดเดิมทั้ง
ภายในหมบู่ ้านและตามส่ัง ได้แก่ น้ำสำรอง ซ่ึงสามารถสร้างอาชพี และรายได้ให้กับกลุ่ม เนื่องจากมจี ุดแข็งท่ี
รสชาติกลมกล่อม ไมห่ วานเกินไป มีเนอื้ สำรองมาก ส่วนสมุนไพรอ่ืนในขณะที่ราคาท้องตลาดยังสูงอยู่ให้เน้น
การจำหน่ายสด
๒) ขอการรับรองมาตรฐานผลิตภณั ฑ์อาหาร (อย.) เพ่ือสรา้ งความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและ
สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยต้องดำเนินการขออนุญาต 2 ส่วน ได้แก่ การขออนุญาตสถานที่ผลิต
และการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อขอรับเลขสาระบบอาหาร โดยย่ืนของกับสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัด (สสจ.) ซง่ึ เป็นท่ีตงั้ ของสถานท่ผี ลิตอาหาร
๓) สร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็ง สามารถ
ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลัก 5 ก ประกอบด้วย ก ท่ี 1 : กลุ่ม/สมาชิก ก ท่ี 2 : กรรมการ
ก ที่ 3 : กฎ/กติกา/ระเบยี บขอ้ บงั คบั กลุ่ม ก ท่ี 4 : กองทนุ และ ก ท่ี 5 : กจิ กรรมของกลมุ่ ต้องมีอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง
๔) สมาชิกรว่ มกนั จดั ทำแผนปฏบิ ัตกิ ารพัฒนากลุ่มอาชีพตามแนวทางท่ีกำหนดให้แล้ว
เสร็จภายในหนึง่ ปี

40

หมู่ที่ 2 บ้านเขาชะอางค์ ตำบลพลวงทอง กลุ่มอาชีพเล้ียงเป็ดสาวและทำไข่เค็มอินทรีย์
ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่การเพาะพนั ธุ์เป็ดส่กู ารแปรรูป และการส่งเสรมิ ช่องทางการตลาด มีแนวทางการพัฒนา
กลุ่มอาชีพ ดังนี้

๑) กลุ่มควรมีการผลิตลูกเป็ดเองเพ่ือลดต้นทุน โดยการซื้อเป็ดพ่อ - แม่พันธ์ุ เพ่ือผสมพันธุ์
และฝักลูกเป็ด จัดทำเป็นแบบศูนย์รวมในหมู่บ้าน ซึ่งต้องมีการกำหนดสถานท่ีเพาะพันธุ์ที่ใช้ร่วมกันทั้ง
หมูบ่ ้าน มกี ารกำหนดผดู้ แู ล แบง่ หนา้ ท่ใี ห้สมาชิกกลุ่มหมุนเวียนกนั รับผิดชอบ

๒) เล้ยี งลูกเปด็ เพิม่ ระหว่างปี เพ่ือทดแทนเปด็ ท่ีจะหมดไข่
๓) ทำอาหารเป็ดเองเพื่อลดต้นทนุ ในการซื้ออาหารเป็ด
๔) เพิ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่เป็ดท่ีเป็นความต้องการของตลาด เช่น ขนมไทย ข้าว
หลามคำเดยี ว เปน็ ต้น
๕) เช่ือมโยงการขายผลิตภัณฑท์ ่ีได้จากการแปรรูปไขเ่ ป็ดกับเข่ือนกระแสร์
๖) ขยายตลาด โดยส่งตัวแทนนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปขายยังตลาดนัด หรือ ฝากขายตาม
ร้านค้าในหมบู่ ้าน/ตำบล หรือพ้นื ท่ีใกลเ้ คยี ง
๗) ทำผลิตภัณฑ์จากข้ีเป็ดเพอ่ื เป็นการเพ่ิมมูลค่าของข้ีเป็ดหรือนำขี้เป็ดไปใช้ประโยชน์ เช่น
ปุ๋ยข้ีเป็ด เป็นต้น
๘) แสวงหาแหล่งเงนิ ทนุ เพ่ิมจากแหล่งกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บา้ น

หมู่ที่ 4 บ้านเขาใหญ่ ตำบลพลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกและแปรรูปสมุนไพร ข่า/ตะไคร้/ขมิ้น/
ขาไกด่ ำ/เทา้ ยายมอ่ ม แนวทางการพฒั นากลมุ่ อาชพี ดงั น้ี

1) จัดสถานท่ีพรอ้ มวัสดุ อปุ กรณ์ และครภุ ณั ฑ์ ในการผลติ ใหอ้ ย่ใู นสภาพพรอ้ มใชง้ าน
๒) จัดวางระบบกลุ่มอาชีพ ปลูกและแปรรูปสมุนไพร ข่า/ตะไคร้/ขม้ิน/ขาไก่ดำ/เท้ายายม่อม
ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ไดใ้ ช้หลกั 5 ก ในรูปแบบทนุ คืนกลุ่มหรือทุนหมนุ เวยี น
๓) วางแผนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มให้ชัดเจนมากขึ้น โดยระบุผู้รับผิดชอบกิจกรรม
เพื่อให้กลุ่มขับเคลื่อนกิจกรรมการแปรรูปสมุนไพรอย่างต่อเน่ือง ซึ่งจะทำให้กลุ่มทราบถึงกำลังผลิตและ
สามารถคำนวณตน้ ทนุ ในการผลิตได้
๔) พิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์หลักของกลมุ่ ที่จะดำเนนิ การอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรม พร้อม
ดำเนินการประชาสมั พันธ์ และส่งเสรมิ ชอ่ งทางการตลาด

41

หมู่ที่ 6 บ้านอ่างผักหนาม ตำบลพลวงทอง กลุ่มอาชีพปลูกชะอมและสมุนไพร ข่าเหลือง
แต้ว แนวทางการพัฒนากลุม่ อาชพี ดังนี้

1) สร้างวงจรการผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เกิดข้ึนภายในชุมชน ปลูกพืชสมุนไพร
ให้มีความหลากหลายและเน้นพชื สมนุ ไพรท่ีได้รับความนยิ ม

2) แบ่งสัดส่วนพืชสมุนไพรท่ีจะเก็บเกี่ยวออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 สำหรับ
ขายเปน็ สมุนไพรสดเพอ่ื ให้ครอบครัวมีรายได้ สว่ นท่ี 2 เก็บไว้แปรรปู เพ่อื เพม่ิ มูลค่าของสนิ ค้า

3) จัดทำโรงเรือนสำหรับแปรรูปพืชสมุนไพร เช่น ทำเป็นแคปซูล เป็นต้น แต่ท้ังน้ี
การจะสร้างโรงเรือนข้ึนมาได้สมาชิกต้องมีเงินทุน โดยต้องร่วมกันระดมทุนท่ีมีภายในชุมชน จัดให้มีระบบ
การดูแลในรูปของกรรมการ จัดกำลังคนเพื่อผลิตสินค้าให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง และมีกติกาในการดำเนินการ
ทัง้ นีอ้ าจเปน็ แผนการดำเนนิ งานในระยะยาว

4) ส่ิงสำคัญท่ีกลุ่มต้องคำนึงถึงคือ ตลาดในการจำหน่าย ซ่ึงต้องมีการติดต่อสอบถาม
ประชาสัมพันธ์ เพอ่ื ที่จะนำสินคา้ ไปจำหน่ายเพอื่ ใหเ้ กิดการหมุนเวียนเงินภายในกลุ่ม

หมู่ท่ี 6 บ้านคลองโค ตำบลเกษตรสุวรรณ กลุ่มอาชีพแปรรูปพริก/ผลิตชะลอมไม้ไผ่/แปรรูป
ผลไม้และผักกาดดอง/ทำพรกิ แกง/ปลกู พชื สมุนไพร แนวทางการพฒั นากลุ่มอาชีพ ดังน้ี

๑) จัดทำกระบวนการ/ขั้นตอนการปลูกพืชสมุนไพร รวมถึงข้ันตอนการแปรรูป
ของทุกผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อให้เห็นภาพรวมของกระบวนการท้ังหมด ซ่ึงจะทำให้สามารถทราบได้ว่า
ควรจะเพิ่มหรือตัดกระบวนการใดออก ทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ สามารถ
คำนวณต้นทุนการผลติ และใช้เป็นส่อื การสอนให้กับสมาชกิ ภายในกลุม่ และผู้สนใจได้

42

๒) แสวงหาแหล่งทุนในชุมชนมาสนับสนุนกลุ่ม และจดั หาวัสดุ อุปกรณ์การแปรรูปเพ่ิมเติม
ในสว่ นที่ยงั ขาด เชน่ การแปรรูปผลไม้ (กล้วย) ตอ้ งเพิม่ มดี สไลด์

๓) พฒั นาคณุ ภาพของผลิตภัณฑ์ใหส้ ามารถยดื อายุการจัดเกบ็ ได้นานมากยง่ิ ขึ้น
๔) ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านคุณภาพ
มาตรฐาน และช่องทางการตลาดมากข้นึ
๕) วางแผนการบรหิ ารจดั การกล่มุ ในรูปแบบทุนคนื กลุ่มหรือทนุ หมุนเวียน

๔.๓ การตดิ ตามและรายงานผล
๔.๓.๑ การตดิ ตาม
กระบวนการในการติดตามโดยคณะทำงานฯ ในครั้งนี้ กำหนดข้ึนภายใต้ระยะเวลา

การดำเนินงานที่จำกัด ซ่ึงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่างวันที่ 21 - 24 กรกฎาคม 2564 และระหว่าง
วันท่ี 8 - 11 กันยายน 2564 เพื่อตอบโจทย์ท่ีตั้งไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) สถานการณ์ พฤติกรรม และทัศนคติ
ของคนต่อช้างป่าเป็นอย่างไร ๒) รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่าควรเป็นเช่นไร
และ ๓) จะสง่ เสริมอาชีพอะไรท่มี ีความเหมาะสมกบั คนในชมุ ชน โดยมผี ลการตดิ ตามสรุปได้ ดงั นี้

1) สถานการณ์ พฤติกรรม และทัศนคติของคนต่อช้างป่า ปัจจุบันมีจำนวนชา้ งป่าทเี่ ขา้ มาใน 5
หมู่บ้าน 2 ตำบล คือ บ้านเขาห้ายอด หมู่ท่ี 1 บ้านเขาชะอางค์ หมู่ท่ี 2 บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 4 บ้านอ่างผักหนาม
หมู่ท่ี 6 ตำบลพลวงทอง และบา้ นคลองโค หมูท่ ี่ 6 ตำบลเกษตรสวุ รรณ มแี นวโนม้ เพิ่มมากขึ้น ซงึ่ พฤตกิ รรม
ส่วน ให ญ่ ของช้ างที่ เข้ามาใน พื้ น ที่ คือเข้ามาห าอาห าร และน้ ำ สาเห ตุเน่ืองมาจากพื้ น ที่ ป่ า
มีน้อยลง และจำนวนช้างป่ามีมากข้ึน จากพฤติกรรมของช้างป่าที่เข้ามาในหมู่บ้านที่มากขึ้นส่งผลกระทบ
ตอ่ คนในหม่บู า้ นเก่ยี วกับการประกอบอาชพี การเกษตรและทรัพยส์ นิ ของชาวบ้าน ทัศนคติของชาวบ้านเข้าใจ
และยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ไม่ได้คิดที่จะทำร้ายช้างป่า เพราะช้างทุกตัวก็รักชีวิตเหมือนกับคน แต่ก็กลัว
ช้างป่าท่ีเขา้ มาในหมบู่ ้าน จงึ ต้องมกี ารปอ้ งกันตนเอง

43

2) รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่า คณะทำงานฯ ได้มีการพูดคุย
แลกเปล่ียนกับคนในชุมชน และสรุปแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล คือ “ต่างคนต่างอยู่” ในพ้ืนที่
ของตนเอง โดยช้างต้องอยู่ในปา่ ซงึ่ คนต้องชว่ ยกันสร้างแหลง่ ท่ีอยู่อาศัย แหลง่ นำ้ และแหล่งอาหารทีอ่ ุดมสมบูรณ์
ในป่าให้กับช้าง ส่วนคนก็อยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ไม่บุกรุกเข้าไปในป่าซึ่งที่อยู่อาศัยของช้าง โดยมีป่าชุมชน
เป็นแนวกันชนระหว่างพื้นท่ีชุมชนของคนและพื้นท่ีป่าของช้าง ในขณะเดียวก็จำเป็นต้องมีวิธีการควบคุม
อัตราการเกิดของช้างป่าไม่ให้มีจำนวนเพิ่มมากข้ึน เนื่องจากในธรรมชาติขาดวงจรนักล่า ทั้งนี้ คนในชุมชน
ก็ต้องปรับเปล่ียนอาชีพและวถิ ีชีวติ เพื่อให้เหมาะสมและเข้ากับสภาพภูมิสังคมของพ้ืนท่ี โดยน้อมนำปรัชญา
ของเศรษฐกจิ พอเพียงมาปฏบิ ัติจนเป็นวถิ ีชีวติ เพื่อการอยูอ่ ย่างสมดลุ ทัง้ เศรษฐกจิ สังคม และสง่ิ แวดล้อม

3) การส่งเสริมอาชีพท่ีมีความเหมาะสมกับคนในชุมชน ซ่งึ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร
โดยควรส่งเสริมการพืชแบบผสมผสานมากขนึ้ ปลกู พชื สมุนไพรทช่ี ้างไม่ชอบกนิ และการเลีย้ งสัตว์ รวมทั้งส่งเสริม
การรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร เช่น การแปรรูปสมุนไพร โดยใช้หลัก ๕ ก ในการบริหารกลุ่ม
ให้เข้มแข็ง และนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปขึ้นทะเบียน OTOP เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาการผลิต
การพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และส่งเสริมช่องทางการตลาดต่อไป

๔.๓.๒ การรายงานผล
คณะทำงานฯ ได้นำผลจากการติดตามมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ จัดทำ

เป็นเอกสารรายงานผลการขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาชา้ งป่าพ้ืนท่ีป่ารอยต่อ 5 จังหวดั ภาคตะวันออก : พื้นที่
จังหวัดชลบุรี เพ่ือให้เจ้าหน้าท่ี ผู้เก่ียวข้อง และผู้สนใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจช้างป่า เข้ามามีส่วนร่วมใน
การบริหารจัดการช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ปรับตัวให้คนอยู่ร่วมกับช้างป่าได้อย่างสมดุล รวมถึง
สามารถนำไปประยกุ ต์ใช้กบั ดำเนินงานตอ่ ไป และคณะทำงานฯ ไดน้ ำสรปุ ผลจากการตดิ ตามไปเขา้ สู่เวที

นอกจากน้ี ยังได้สนับสนุนให้มีการติดตามและรายงานผลโดยชุมชน ซ่ึงจะทำให้การติดตาม
และรายงานมคี วามต่อเน่ือง โดยได้วางระบบการตดิ ตามและรายงานโดยชมุ ชน จำนวน ๓ แบบ ดังน้ี

๑) ทดลองการเช่ือมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบแฟ้มบ้านพัฒนาคนไทย (TPMAP
Logbook) เขา้ มาใช้กับครัวเรือนเปา้ หมายที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาหม่บู ้านคนรักษ์ช้างตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน "หมู่บ้านคชานุรักษ์" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หมู่ท่ี 4
ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จำนวน 35 ราย โดยเบื้องต้นได้แนะนำให้พัฒนากรเป็นผูด้ ำเนินการร่วมกับ
ผู้นำชุมชน ในการบันทึกและใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบช้ีเป้า เพ่ือการพัฒนาและแก้ไขปัญหาอย่างแม่นยำ
ต่อไป

๒) รายงานการขับเคล่ือนกิจกรรมหมู่บ้านท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า รายงานทุกวันท่ี ๕
ของเดือน เพื่อให้ทราบผลการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ดำเนินการในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
ครอบคลุมกิจกรรมทุกด้านท้ังที่เป็นด้านการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ซึ่งดำเนินการในหมู่บ้านคชานุรักษ์ หมู่บ้านขยายผลหมู่บ้านคชานุรักษ์ และหมู่บ้านท่ีได้รับผลกระทบ
ในพ้ืนทจี่ งั หวัดชลบรุ ี รวม ๓ อำเภอ ๑๐ ตำบล ๓๐ หมบู่ า้ น

44

แบบรายงานการขับเคล่ือนกจิ กรรมหมู่บ้านที่ได้รบั ผลกระทบจากช้างป่า
จังหวดั .........................................................................

ประจำเดอื น.....................................พ.ศ.................. (ทุกวนั ท่ี 5 ของเดือน)

พ้นื ที่ กจิ กรรมท่ีดำเนินการในพ้นื ท่ี
ลำดับ หม่บู ้าน ตำบล อำเภอ
รายละเอยี ด ว/ด/ป ผรู้ ว่ ม งบประมาณ หน่วย หมาย
กจิ กรรม กิจกรรม (บาท) รับผิดชอบ เหตุ

(คน)

๓) การบันทึกกรณีตัวอย่างการแก้ไขสถานการณ์เมื่อเผชิญเหตุช้างป่า เป็นแบบรายงาน
ใน รู ป แ บ บ ข องก าร จั ด การ ค วา ม รู้ จ า ก ก าร เผ ชิ ญ เห ตุ ช้ า งป่ าที่ เป็ น ป ระส บ กา รณ์ เกิด ขึ้น กั บ คน ใน ชุ ม ช น
ซ่ึงจะทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึน วิธีการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชนเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะสมหรือไม่
รวมถึงจากประสบการณ์ท่ีได้รับมีคำแนะนำหรือข้อพึงระวัง สำหรับผู้เผชิญเหตุในลักษณะเดียวกันอย่างไร
เพ่ือเป็นข้อมูลในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และแลกเปล่ียนเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างปลอดภัยท้ัง
สองฝ่าย

แบบบนั ทึกกรณีตัวอยา่ งการแก้สถานการณ์เม่ือเผชิญเหตุช้างปา่

ชอื่ (ผบู้ ันทกึ สถานการณ์)..................................................... หมายเลขโทรศัพท์................................................
1. สถานการณ์ (ให้เล่าเหตุการณ์ว่าเกดิ อะไรข้ึน)

.............................................................................................................................................................
2. วธิ ีการแก้ไขสถานการณ์ (ให้เล่าวา่ มวี ิธกี ารอยา่ งไร แกไ้ ขปัญหาเอง แจง้ เหตฯุ หรือได้แนวคดิ หรอื วิธีการ
แก้ไขสถานการณน์ นั้ จากกรณีไหน)

.............................................................................................................................................................
3. ชว่ ยบอกว่าวธิ ใี นการแกไ้ ขสถานการณ์นั้น เหมาะสมแล้วหรอื ไม่ ควรทำอย่างไร

.............................................................................................................................................................
4. คำแนะนำ/ข้อพึงระวงั สำหรับผู้เผชิญเหตุในลกั ษณะเดียวกนั

.............................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ..............................................

*****************************************************

บทท่ี ๕
สรปุ ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลอ่ื นการแก้ไขปัญหาชา้ งป่าพื้นท่ีรอยต่อ ๕ จังหวัดภาคตะวันออก
พื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน ๕ หมู่บ้าน ๒ ตำบล ได้แก่ บ้านเขาห้ายอด หมู่ที่ 1 ตำบลพลวงทอง บ้านเขาชะอางค์
หมู่ท่ี 2 ตำบลพลวงทอง บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลพลวงทอง บ้านอ่างผักหนาม หมู่ที่ 6 ตำบลพลวงทอง
และบา้ นคลองโค หมู่ท่ี 6 ตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบรุ ี สรปุ ผลการดำเนนิ งานได้ ดังน้ี

5.1 เรียนรู้วถิ ชี วี ติ คน และช้าง
5.2 การส่งเสรมิ และพฒั นาอาชีพ
5.๓ รูปแบบการอยรู่ ่วมกนั อย่างสมดุลระหวา่ งคนและชา้ งป่า
๕.๔ ข้อเสนอแนะ

5.1 เรียนรู้วิถชี ีวติ คน และช้าง
5.1.1 สภาพทวั่ ไปของพืน้ ที่
๑) ลักษณะภูมิประเทศ เป็นภูเขา มีเนินเขาเต้ียๆ และท่ีราบบางส่วน มีแนวเขาใหญ่

และเขากำแพงเป็นเขตแดน
๒) เอกสารสทิ ธ์ทิ ่ีดนิ ส่วนใหญ่เปน็ เอกสารสิทธิใหป้ ระชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรปู ทด่ี ิน

(ส.ป.ก.๔-๐๑) และพ้ืนทป่ี า่ สงวน
๓) อาชพี สว่ นใหญป่ ระกอบอาชพี เกษตรกรรม ไดแ้ ก่ การปลูกพืชไร่ พชื สวน และการเลยี้ งสัตว์

๕.๑.2 สถานการณ์ของชา้ งป่า
๑) การเขา้ มาหากินในพ้ืนทห่ี มู่บ้าน เม่ือปี ๒๕๕๐ เริม่ มีผู้พบเห็นช้างป่าเข้ามาในหมู่บ้าน

๑ - ๒ ตวั ชา้ งปา่ ที่เข้ามาในหมู่บา้ นมแี นวโนม้ เพม่ิ ขนึ้ โดยปัจจบุ ันมจี ำนวนมากขนึ้ ถงึ ๓๐ - ๕๐ ตวั
๒) เส้นทางเดินของช้างป่า จะออกมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ป่ารอยต่อ

5 จังหวัดภาคตะวันออก เขตอำเภอท่าตะเกียบ ผ่านป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน เข้ามาในเขตอำเภอบ่อทอง
ครอบคลุมหมู่บ้านท้ังหมด จำนวน 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ท่ีคณะทำงานฯ ลงพ้ืนท่ีติดตาม พื้นท่ีที่มีความรุนแรง
มากท่ีสุด ได้แก่ หมทู่ ี่ ๔ ซึ่งเปน็ หมูบ่ า้ นคชานุรกั ษ์ โดยในชว่ งฤดแู ล้งจะมชี า้ งออกมามากกว่าช่วงอ่นื ๆ

๕.๑.3 พฤติกรรมการออกหากนิ ของชา้ งปา่
๑) อาหารของช้าง ช้างป่าชอบกินพืช เกลือ กะปิ ไม่ชอบกินสมุนไพร ไม่กินสัตว์

กนิ อาหารคร้งั ละประมาณร้อยละ ๓๐ ของนำ้ หนักตัว
๒) เวลาออกหากิน ช่วงกลางคืนประมาณ 17.๐๐ น. - 18.00 น. เป็นต้นไป

และจะกลบั กอ่ นเวลาสว่าง สว่ นกลางวันอากาศร้อนชา้ งปา่ จะนอน และชอบลงเลน่ นำ้
๓) พฤติกรรมการกิน จะเดินกินอาหารไปอย่างช้า ๆ ไม่ชอบให้รบกวนเวลากิน ขณะที่กิน

ก็ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายไปด้วย เมื่อกินอ่ิมจะกลับไปเองโดยใช้เส้นทางเดิม โดยจะเคลื่อนย้าย
ไปเร่อื ย ๆ เปน็ วงรอบ ช้างป่าจะทำงานเปน็ ทีม มชี า้ ง 1-2 ตัว ทำหนา้ ที่เปน็ ชา้ ง Survey หรือลาดตระเวรกอ่ น
เพอ่ื หาแหลง่ อาหาร

๔) ประเภทของช้างป่าท่ีมาหากิน มี ๒ ประเภท คือ ช้างประจำถิ่น อายุราว 4 - ๕ ปี

อาศัยอยู่ตามชายป่า จะเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ ไม่ดุร้าย และช้างจรส่วนใหญ่จะมาเป็นโขลง มากินและ

ทำลายพืชผล ถา้ ขบั ไล่จะโมโห

46

๕) ลักษณะของช้างป่า คือ ตาไม่ค่อยดี หูและจมูกดีมาก มีความจำแม่น มีพัฒนาการ
การเรยี นรู้ เวลาเดินเทา้ เบา ไม่ชอบเสยี งดงั และแสงไฟ

๕.๑.4 ทัศนคตคิ นตอ่ ช้างปา่ แบง่ ออกเปน็ ๓ ประเภท ดงั นี้
๑) เข้าใจพฤตกิ รรมชา้ งปา่ ดำรงชีวิตอิ ยู่ดว้ ยการทำใจยอมรบั
๒) เข้าใจพฤติกรรมชา้ งปา่ สามารถปรบั ตัวดำรงชวี ติ อยไู่ ด้
๓) อยรู่ ว่ มกนั ไดแ้ บบ ตา่ งคนต่างอยู่ ในพืน้ ท่ีของตนเอง

5.๑.๕ การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหาช้างปา่ ทีเ่ ขา้ มาในหมูบ่ า้ น สรุปไดด้ งั น้ี

๑) การป้องกัน เฝ้าระวัง และเตือนภัยจากช้างป่า มีการจัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจ
จัดทำป้ายเตือน ติดต้ังกล้องวงจรปิด เล้ียงสุนัข จัดตั้งกลุ่มไลน์แจ้งข่าว ใช้ไฟส่อง การสร้างคูกันช้าง
สร้างแหล่งอาหารให้กับช้างป่าในพ้ืนท่ีป่าด้านใน เช่น สร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร การปลูกป่าเพิ่มเติม
และมกี ารจดั ชดุ รักษาความปลอดภยั หมู่บา้ น (ชรบ.) ออกลาดตระเวนตามจดุ เส่ยี งตา่ งๆ ท่ีช้างป่าออกหากนิ

๒) การปรับเปลี่ยนอาชพี และวิถีชีวติ เปล่ียนจากการปลูกพืชเชิงเด่ียวเป็นพืชผสมผสาน
มากขึ้น ปลูกพืชสมุนไพรซึ่งช้างไม่ชอบกิน การเลี้ยงสัตว์ คอยสังเกตระมัดระวังมากข้ึน ปรับเวลากรีดยาง
ไมใ่ หต้ รงกับช่วงเวลาท่ีช้างออกหากิน

๓) การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทองได้ช่วยเหลือ
พื้นที่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากช้างป่า จำนวน 1 ราย เป็นเงิน 507 บาท และมีการจัดต้ังกองทุน
คชานุรักษ์ ข้ึนในหมู่บ้านคชานุรักษ์ หมู่ท่ี ๔ ตำบลพลวงทอง มีเงินทุนต้ังต้น จำนวน 100,000 บาท
แตย่ งั ไมม่ กี ารนำเงินกองทนุ ไปช่วงเหลอื สมาชิก เนอื่ งจากอยูร่ ะหวา่ งการกำหนดแนวทางการดำเนนิ งานให้ชดั เจน

5.2 การส่งเสรมิ และพฒั นาอาชพี
๕.๒.๑ แนวทางการส่งเสริมอาชีพ ที่มีความเหมาะสมกับประชาชนในพ้ืนที่ท่ีได้รับผลกระทบ

จากชา้ งป่า ทงั้ ๕ หมบู่ ้าน สรุปได้ดงั น้ี
๑) ส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรแบบผสมผสานให้มากขึ้น เพื่อให้ครัวเรือน

สามารถพ่ึงพาตนเองได้ ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และลดผลกระทบจากช้างป่าออกหากิน
๒) ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นพืชที่ช้างไม่ชอบกิน รวมถึงพืชที่ช่วยลด

การเจริญพันธ์ุของช้าง เพื่อช่วยควบคุมอัตราการเกิดของช้างป่า
๓) ส่งเสริมให้มีการเล้ียงสัตว์มากข้ึน เช่น ผ้ึง เป็ด ไก่ โค เนื่องจากช้างป่าไม่กินสัตว์
๔) ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพแปรรูปผลผลิตการเกษตร เช่น การแปรรูปสมุนไพร

และนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปขึ้นทะเบียน OTOP เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทาง
การตลาด

๕.๒.๒ แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพ ผลจากการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน "หมู่บ้านคชานุรักษ์" ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2563 ซ่ึงได้มีกิจกรรมการพัฒนาและสาธิตอาชีพ พร้อมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ทำให้เกิดกลุ่มอาชีพข้ึน
ในหมูบ่ า้ น โดยแยกเปน็ ประเภทกลุ่มอาชพี ได้ ๓ ประเภท ดงั นี้

๑) กลุ่มอาชีพปลูกและแปรรูปสมุนไพร / พริก / ผัก / ผลไม้ จำนวน ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
หมูท่ ี่ ๑ , ๔ , ๖ ตำบลพวงทอง และหมทู่ ี่ ๖ ตำบลเกษตรสวุ รรณ

๒) กลุ่มอาชีพเล้ียงเปด็ และทำไขเ่ ค็มอินทรีย์ หม่ทู ่ี ๒ ตำบลพวงทอง


Click to View FlipBook Version