47
๓) กลุม่ อาชพี ผลิตชะลอมไมไ้ ผ่ หมู่ท่ี ๖ ตำบลเกษตรสุวรรณ
ทั้งน้ี คณะทำงานฯ ร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและผู้แทนกลุ่มอาชีพของแต่ละหมู่บ้าน
ได้วิเคราะห์ SWOT กลุ่มอาชีพ พบว่าในภาพรวมมีจุดแข็ง/โอกาส และจุดอ่อน/ข้อจำกัด รวมถึงแนวทาง
ในการพัฒนากลุม่ อาชพี ดังนี้
จุดแข็ง/โอกาส
๑) เป็นกล่มุ อาชีพที่ใชว้ ตั ถดุ ิบการผลติ ที่มีอยูใ่ นชมุ ชน และสอดคล้องกบั ภูมปิ ัญญาของชมุ ชน
๒) มีสถานทจี่ ัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ครภุ ณั ฑ์ และสถานทีด่ ำเนนิ กจิ กรรมของกล่มุ
๓) กรมการพัฒนาชุมชนให้การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานของกลุ่มท่ีเกิดจากเวที
ประชาคม โดยเฉพาะกลุม่ แปรรูปสมุนไพร หมู่ท่ี ๔ ได้รบั การสนับสนุนครุภัณฑ์ในการแปรรูปสมนุ ไพรด้วย
๔) มหี นว่ ยงานเขา้ มาสนับสนนุ หลายหน่วยงาน ทำให้ได้รบั โอกาสในการพัฒนามากยิง่ ข้ึน
จุดออ่ น/ขอ้ จำกัด
1) สมาชิกในกลุ่มมีงานประจำหรืออาชีพหลักอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีเวลาในการดำเนินงานของ
กล่มุ อาชพี ท่จี ัดตัง้ ข้ึน สง่ ผลให้การดำเนนิ กจิ กรรมของกลุม่ ขาดความตอ่ เนื่อง
๒) วัตถุดิบหลักในการแปรรูป (สมนุ ไพร) จำหน่ายสดได้ราคาดีและรวดเร็วกวา่ แปรรูป
๓) การบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบและยังไม่เป็นไปในรูปแบบของกลุ่ม ส่วนใหญ่มีการบริหาร
โดยบุคคลเพียงคนเดียว ขาดการมีสว่ นร่วมของสมาชกิ ในกลมุ่
๔) ขาดแหลง่ จำหน่ายสินคา้ ทส่ี ามารถจำหน่ายไดอ้ ย่างตอ่ เนื่อง
๕) มกี ารยา้ ยเปล่ียนนกั วชิ าการพฒั นาชุมชน (พฒั นากร) บ่อย ทำให้การสนับสนุนไมต่ อ่ เนื่อง
แนวทางในการพฒั นากล่มุ อาชีพ
๑) สร้างความรู้ความเข้าใจ และวางระบบการบริหารงานของกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็ง
สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเน่ือง โดยใช้หลัก 5 ก ประกอบด้วย ก ที่ 1 : กลุ่ม/สมาชิก ก ที่ 2 : กรรมการ
ก ที่ 3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม ก ที่ 4 : กองทุน และ ก ที่ 5 : กิจกรรม ในรูปแบบของทุนคืนกลุ่ม
หรือทนุ หมนุ เวยี น
๒) คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงานของกลุ่ม และกิจกรรมการ
พัฒนากลมุ่ อาชพี ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
๓) สร้างวงจรการผลิตให้เกิดข้ึนภายในชุมชน ท้ังน้ี ควรเลือกแปรรูปผลิตภัณฑ์ท่ีสอดคล้อง
กับผลผลติ ท่มี ีอย่ใู นชมุ ชนและสอดคล้องกับภูมิปัญญาทอ้ งถ่ิน สามารถสรา้ งอาชีพและรายได้ใหก้ บั กลุ่ม
๔) พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน เพื่อสร้างความม่ันใจให้กับผู้บริโภค
และสรา้ งมลู คา่ เพิม่ ใหก้ บั สินค้า
๕) รักษาช่องทางการตลาดเดิมท้ังภายในหมู่บ้านและตามสั่ง และขยายชอ่ งทางการตลาดใหม่
เช่น การเช่อื มโยงกับแหล่งท่องเที่ยว แหลง่ ชุมชน ฝากขายตามร้านค้า ทำให้เกดิ การหมนุ เวยี นเงินภายในกลุม่
๖) แสวงหาแหล่งเงนิ ทุนสนับสนุนเพิ่มเตมิ โดยพจิ ารณาจากกองทนุ ต่าง ๆ ในหมูบ่ า้ นกอ่ น
๗) ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบ Online และ Offline เช่น มีการไปติดต่อ
สอบถาม
๘) ลงทะเบียนผลิตภณั ฑ์ OTOP เพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ทั้งในดา้ นคุณภาพ
มาตรฐาน และชอ่ งทางการตลาดมากขึ้น
48
๙) เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มอาชีพของทั้ง 5 หมู่บ้าน เพื่อการแลกเปล่ียนองค์ความรู้ ข่าวสาร
ขอ้ มลู และการช่วยเหลอื กนั ในการพัฒนากลมุ่ อาชีพให้มคี วามเข้มแข็ง
๕.๓ รปู แบบการอยู่ร่วมกนั อยา่ งสมดลุ ระหว่างคนและชา้ งป่า
รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้างป่า คือ “ต่างคนต่างอยู่” ในพ้ืนท่ีของตนเอง
โดยคนอยู่ในหมู่บ้านไม่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ส่วนช้างป่าก็อยู่ในผืนป่าไม่บุกรุกเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่
เป้าหมาย “คนทำร้ายช้างลดลงและช้างรุกรานคนลดลง” ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยแบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ พ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์ พื้นที่ป่าชุมชน
และพ้นื ท่ชี ุมชน
แผนภาพท่ี ๗ รปู แบบการอยู่รว่ มกนั อยา่ งสมดุลระหวา่ งคนและช้างป่า
“ต่างคนต่างอยู่” ในพื้นที่ของตนเอง
๕.๓.๑ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยประสานความร่วมมือท้ังภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการพัฒนา
พ้ืนท่ีป่าส่วนในให้เป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยของช้างป่า เร่งสร้างแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำ ที่มีความอุดมสมบูรณ์
ให้กับช้างป่าอย่างเพียงพอเพื่อดึงช้างกลับป่าและไม่ให้ช้างออกมาจากป่าอีก รวมถึงการควบคุมอัตราการเกิด
ของช้างป่าให้สมดุลกบั พน้ื ที่ปา่ เชน่ ปลูกพชื ท่ชี ่วยลดการเจริญพันธ์ุของช้าง โดยมกี รมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธพุ์ ืช เป็นหนว่ ยงานหลักในการดำเนินการและประสานการดำเนินงาน
๕.๓.๒ พื้นที่ป่าชุมชน ถือว่าเป็นแนวกันชนท่ีช้างลงมาหากินในช่วงดูแล้ง หรือมาพักอาศัยอยู่
ก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้ามาในพ้ืนท่ีชุมชน โดยควรสร้างและพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า ติดต้ังกล้อง CCTV
ดูการเคลื่อนตัวของช้างป่า ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในป่าชุมชน สร้างแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำ
49
ตามเส้นทางเดินของช้างในป่าชุมชน เพื่อดึงดูดช้างกลับเข้าสู่ป่าอนุรักษ์ แต่อย่าให้สมบูรณ์มากนักเพราะช้าง
จะไมย่ อมกลับ โดยมีกรมปา่ ไม้ เป็นหนว่ ยงานหลักในการดำเนินการและประสานการดำเนินงาน
๕.๓.๓ พ้ืนที่ชุมชน เป็นพื้นท่ีท่ีประชาชนอาศัยอยู่และได้รับผลกระทบจากช้างป่า ซ่ึงควรสร้างความรู้
ความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ถึงพฤติกรรมช้างและการปฏิบัติต่อช้าง คนในชุมชนต้องปรับเปล่ียนวิถีชีวิต
และการประกอบอาชีพให้เหมาะสม เช่น ปรับเวลาในการกรีดยาง การทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืช
สมุนไพร การแปรรูปผลผลิตการเกษตร การเล้ียงสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัว ดำรงตนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
คนในชุมชนร่วมกับท้องถิ่น ท้องที่ ภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันดูแลรักษาและพัฒนาพื้นท่ีป่าชุมชนและป่าอนุรักษ์
รวมถึงกำหนดมาตรการในการป้องกัน เฝ้าระวัง เตือนภัย และเยียวยาผู้ท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า โดยมี
กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการและประสาน
การดำเนินงานร่วมกับทกุ ภาคสว่ น
5.๔ ขอ้ เสนอแนะ
๕.๔.๑ ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย
๑) การบูรณาการระหว่างหนว่ ยงานในระดับนโยบายทเ่ี ก่ียวข้อง โดยกำหนดแนวทางการบรู ณาการ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาช่างป่าให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันสอดคล้องกับแผนแม่บทสร้างความสมดุล
ระหว่างคนและช้างป่า และเช่ือมโยงแต่ละระดับลงสู่ระดับปฏิบัติให้มีความชัดเจนทั้งแผนปฏิบัติงานและแผน
งบประมาณ ลดความซ้ำซ้อน และไม่สร้างความสับสนให้กับประชาชน รวมทง้ั ประสานความร่วมมอื กับหน่วยงาน
ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ภาคีการพัฒนา นักอนุรักษ์ และภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ใหเ้ หน็ ผลเปน็ รูปธรรม
๒) ควรมีการมอบหมายหน่วยงานในระดับกรมของกระทรวงมหาดไทยในการผนึกกำลัง
ร่วมมือกันขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาช่างป่า โดยเฉพาะท้องถิ่น ท้องท่ี ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับปัญหาและ
ประชาชน
๓) มีมาตรการในการจัดการกับประชากรช้างป่าให้สมดุลกับผืนป่า เช่น การควบคุมอัตรา
การเกดิ ของช้างปา่
๔) อนรุ กั ษ์และฟนื้ ฟูพ้ืนท่ปี า่ รอยต่อ 5 จังหวดั ภาคตะวันออก ให้เหมาะกับการเป็นแหลง่ ทีอ่ ยู่
อาศัยของชา้ งป่า รวมถึงมีการบังคับใชก้ ฎหมายกับผู้บกุ รุกป่าอย่างจรงิ จงั
๕) สร้างระบบการเยียวยาผทู้ ่ีได้รบั ผลกระทบ จากช้างป่าอยา่ งเหมาะสม
๕.๔.๒ ข้อเสนอแนะเชิงปฏบิ ัติ
๑) ส่งเสริม สนับสนุนการใช้สอ่ื หลากหลายรูปแบบ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่คนทุกกลุ่มวยั เข้าถึง
ได้ง่ายและสามารถแพร่หลายในวงกว้าง เช่น วิทยุชุมชน เสียงตามสาย แผ่นพับ ป้ายโฆษณา สื่อออนไลน์
ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับช้างป่า ท้ังนี้ ควรเผยแพร่ไปในสถานที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุม
เช่น ในโรงเรียน วัด สถานท่ีราชการ ศาลาประชาคม แหล่งท่องเท่ียว เพ่ือให้ทุกกลุ่มคนในหมู่บ้าน ตำบล
เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก และลดความขัดแย้ง
ระหว่างคนและช้างป่า
50
๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับหน่วยงาน
ทรี่ ับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไขปัญหา พัฒนาอาชพี และเยียวยาผู้ได้รบั ผลกระทบจากช้างปา่ เพ่ือให้สามารถ
แกไ้ ขปญั หาของประชาชนในพ้ืนทไ่ี ด้อยา่ งรวดเร็วและย่ังยนื
๓) มีการจัดเก็บข้อมูลคนและช้างป่า จัดการความรู้เก่ียวกับการเผชิญเหตุกับช้างป่า ติดตาม
สถานการณ์ชา้ งป่า และการดำเนนิ ชีวิตของคนในหมู่บ้าน แนวโน้มการเปล่ียนแปลงที่เกดิ ข้นึ ของชา้ งปา่ และคน
ในหมู่บา้ น เพื่อประโยชนใ์ นการปอ้ งกนั เฝา้ ระวงั และแกไ้ ขปญั หาได้ตามสถานการณ์
๔) การส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชน ควรมีการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่ม
อาชีพที่จัดต้ังขึ้น เพื่อใช้ในการส่งเสริม พัฒนา ต่อยอด กลุ่มหรือผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน หรือควรปรับปรุง
เปล่ยี นแปลงการดำเนินงานอย่างไรให้เหมาะสม
๕) สนับสนุนให้มีการจัดต้ังกองทุนช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
โดยดำเนินงานร่วมกับองคก์ รปกครองสว่ นท้องถ่ินในพืน้ ท่ี
๖) ทุกภาคส่วนร่วมมือกนั ปลูกป่า สรา้ งแหล่งนำ้ แหล่งอาหารในพ้นื ทปี่ า่ อนุรักษแ์ ละปา่ ชุมชน
ใหอ้ ุดมสมบูรณ์ เพือ่ สร้างระบบนเิ วศนท์ ีส่ มดุลสำหรบั สัตวป์ า่ ทจ่ี ะได้อาศยั อยูใ่ นผนื ปา่
.....................................................
51
บรรณานุกรม
กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพมหานคร:
บีทเี อสเพลส.
คณะกรรมการพัชรสุธาคชานุรักษ์. (๒๕๖๓). (ร่าง) แผนแม่บทสร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างป่า.
กรงุ เทพฯ.
ทะนงศักด์ิ คุ้มไขน่ ้ำ. (2534). การพัฒนาชมุ ชนเชิงปฏบิ ัต.ิ กรุงเทพฯ. บพธิ การพมิ พ์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (พิมพ์คร้ังที่สาม ปี 2562). กถาพัฒนากร. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวง
มหาดไทย. กรงุ เทพฯ: บริษัท ดเิ อสท์ จำกดั
ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ คมสัน บรรชรรัตน์ รักฝัน ปัญญาวิวัฒนกุล. (2528). ประชากรและโครงสร้าง
อายุของช้างป่าในกลุ่มป่าตะวันออก “ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด”. ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้า
งานวิจยั ประจําปี 2556-58.
สนธยา พลศร.ี (๒๕๔๗). ทฤษฎแี ละหลักการพฒั นาชมุ ชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2561). แผนการจัดการช้างป่า
รอยต่อ 5 จังหวัด ปีงบประมาณ 2561 - 2570. กรงุ เทพมหานคร: สำนกั อนรุ ักษส์ ตั วป์ ่า กรมอทุ ยาน
แห่งชาติ สตั วป์ ่า และพันธุ์พชื .
๕๒
ภาคผนวก ก
๕๓
สรปุ ขอ้ มลู ศกึ ษาชมุ ชน คน และช้าง
จากการลงพ้นื ทข่ี องคณะทำงานขับเคล่อื นการแกไ้ ขปัญหาช้างปา่
พ้ืนทร่ี อยต่อ 5 จงั หวัดภาคตะวนั ออก พ้ืนท่ีจังหวดั ชลบรุ ี
...............................
อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ติดป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีแนวเขตติดป่า
รอยต่อเป็นระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร ครอบคลุมหมู่บ้านทั้งหมด จำนวน 5 หมู่บ้าน 2 ตำบล ท่ีได้รับ
ผลกระทบจากชา้ งปา่ ดงั นี้
๑. บ้านเขาหา้ ยอด หมู่ท่ี 1 ตำบลพลวงทอง
๒. บา้ นเขาชะอางค์ หมูท่ ี่ 2 ตำบลพลวงทอง
๓. บ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลพลวงทอง
๔. บา้ นอา่ งผกั หนาม หมทู่ ี่ 6 ตำบลพลวงทอง
๕. บา้ นคลองโค หมู่ที่ 6 ตำบลเกษตรสวุ รรณ
สถานการณ์ชา้ งป่าในพื้นท่อี ำเภอบอ่ ทอง จังหวัดชลบรุ ี
ช้างป่าจะออกจากพื้นที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ผ่านป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน
ในเขตพ้ืนที่ของบ้านเขาใหญ่เป็นส่วนใหญ่ โดยมีจุดท่ีช้างออกจำนวน 6 จุด และกระจายไปทางหมู่บ้านอ่าง
ผักหนาม และบ้านคลองโค ท่ีมีเขตติดต่อกัน ส่วนบ้านเขาชะอางค์ มีจุดที่ช้างป่าออกจำนวน 2 จุด
เมื่อประมาณ เดือนมีนาคม และเมษายน พ.ศ. 2561 เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าช็อตช้างป่า ตายถึง 2 ตัว
ติดต่อกัน โดยช้างเข้ามากินสับปะรดและเจ้าของสวนทำรั้วไฟฟ้าไว้ ในเขตพ้ืนท่ีบ้านเขาชะอางค์ หมู่ท่ี 2
และบ้านเขาห้ายอดจุดที่ช้างออกเป็นประจำมี 3 จุด และเม่ือประมาณปี พ.ศ. 2558 เกิดเหตุช้างยืนพิงต้น
ยางตายเอง สัตว์แพทย์ของกรมอุทยานมาผ่าซากพิสูจน์พบว่า ลำไส้ของช้างเน่าติดเช้ือ เน่ืองมาจากกินหญ้า
ทร่ี าษฎรฉีดเพ่ือกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา โดยเป็นยาดูดซึมสารไกลโฟเสต ส่วนของพื้นท่ตี ำบลอื่นๆ ได้แก่
ตำบลบ่อทอง หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 4 หมู่ท่ี 5 และตำบลธาตุทอง หมู่ที่ 7 และหมู่ท่ี 9 ที่เป็นเขตติดต่อกับตำบลบ่อทอง
ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกัน ช้างก็ออกไปจากตำบลเขาน้อย อำเภอเขาชะเมา และไปพักในป่าอ้อยท่ีเป็นแหล่ง
อาหารสำคญั ท่ีช้างชอบ ของหมู่ที่ 8 บ้านคลองใหญข่ ้างอ่างเก็บน้ำประแสร์ มที ้ังอาหารและน้ำ และบางกลุ่ม
โดนขับไล่จากราษฎรกแ็ ตกฝูงกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จำนวน 3 - 5 ตัว หากนิ ไปทางบา้ นคลองตะเคยี น และบา้ น
เขามดง่าม ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี จนมีเหตุการณ์ที่ช้างเดี่ยวบุกทำลายกำแพงวัด
บุญญาวาส หมู่ท่ี 8 บ้านคลองใหญ่ ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และทำร้ายราษฎรเสียชีวิต
ซ่ึงเป็นคนในพ้ืนที่บ้านคลองตะเคียน ตำบลคลองพลู อำเภอหนองใหญ่ ซึ่งมีเขตพ้ืนท่ีติดต่อกัน เม่ือประมาณ
ตน้ เดือนกันยายน ๒๕๖๓ และในส่วนพน้ื ที่ หม่ทู ี่ 4 หมู่ท่ี 5 ตำบลบ่อทอง ก็เป็นเส้นทางเดินไปหาอาหารกิน
แล้วกลับคืนป่าไม่ได้จึงอาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาอ่างกระเด็น เชื่อมไปยังเขาโปร่งเกตุ ในเขต หมู่ที่ 7
และหมู่ที่ 9 ตำบลธาตุทอง มีช้างอยู่ประมาณ 5 ตัว บางคร้ังหากินยาวเลยไปถึง ตำบลบ่อกวางทอง
อำเภอบ่อทองและตำบลหา้ งสูง อำเภอหนองใหญ่ ซึง่ มีเทือกเขาเดียวกนั เขตแดนสันปนั น้ำหลงั เขาก้ันระหว่าง
อำเภอบอ่ ทองและอำเภอหนองใหญ่
๕๔
ภาพเส้นทางช้างเดนิ ออกจากเขตรกั ษาพนั ธส์ุ ัตว์ปา่ เขาอ่างฤาไน ป่ารอยตอ่ 5 จงั หวดั ภาคตะวนั ออก ในเขต
หม่ทู ี่ 1 , 2 , 4 และกระจายไปทาง หมู่ท่ี 6 ตำบลพลวงทอง
และหมู่ที่ 6 ตำบลเกษตรสวุ รรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
บ้านคลองโค บ้านอา่ งผกั หนาม
บ้านโปร่งเกตุ บ้านเขาใหญ่
บ้านหนองเสอื ชอ่
บ้านทับเจรญิ บา้ นเขาชะ
บ้านหนอง
บา้ นเขาหา้ ยอด
บ้านคลอง
บ้านคลอง บ้านเขานอ้ ย จ.
ระยอง
บ้านเขามดง่าม
ขา้ มเส้นทางไปป่ายบุ ใน อ.วังจนั ทร์ จ.
ระยอง
๕๕
ตวั อยา่ งความเสียหายเนื่องจากช้างปา่ จำนวน 10 ตัวออกมาหากนิ ทำลาย สวนมันสำปะหลัง
นายสมาน อ่างเกิด เสียหาย 1 งาน ในเขตพื้นทีบ่ ้านเขาใหญ่ ชุมชนเขาชะอางคโ์ อน
รอยทางชา้ งเดินเข้าออกจากป่า (ด่านชา้ ง) ในพ้นื ท่ี บ้านเขาใหญ่
๕๖
แนวทางการป้องกัน และแกไ้ ขปัญหาช้างปา่
๑. สร้างความรคู้ วามเขา้ ใจถงึ พฤติกรรมของช้างปา่ และรว่ มแกป้ ญั หาให้อยู่ร่วมกนั ได้อย่างสมดุล
๒. ปรับวิถีทำเกษตรเชิงเด่ียว เป็นการทำ “วนเกษตร” เช่น ปลูกพืช 3 ระดับแซมในสวนยางพารา
ปลูกพืชสมนุ ไพร
๓. สร้างแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และแร่ธาตุอาหารเสริมให้ช้างป่าในเขตป่าอนุรักษ์ห่างจากหมู่บ้าน
๑ กิโลเมตร โดยบรู ณาการหนว่ ยพ้ืนทร่ี ับผดิ ชอบมารว่ มดำเนินการกับประชาชนในพื้นท่ี
๔. จัดทำแนวเขตกนั ชนคกู ันช้างใหม้ ีสภาพสมบรู ณ์และสร้างใหบ้ รรจบกนั ตลอดแนวเขต
๕. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า และติดต้ังระบบสัญญานเตือนภัยให้ราษฎรทราบว่า มีช้างป่า
ออกมาหากนิ
๖. จดั ต้งั กองทุน “คชานุรักษ์พลวงทองชลบรุ ี”
๗. พฒั นาหมู่บ้านทม่ี ีศักยภาพให้เป็นหมูบ่ า้ นท่องเทยี่ ว “คชานุรักษ์” หรือหมู่บา้ นท่องเทยี่ ว “คนรักษช์ า้ ง”
๘. สง่ เสริมองคค์ วามรแู้ ก่นักเรียนใหร้ ับร้ถู งึ การอยูร่ ่วมกนั อย่างสมดุลระหวา่ งคนและช้างปา่
โดยเฉพาะโรงเรยี นทม่ี ที ต่ี งั้ ในชุมชนทต่ี ดิ ป่ารอยต่อ ๕ จงั หวดั ภาคตะวนั ออก
ตวั อยา่ งการปรบั วิถีการปลกู พืชแบบ “วนเกษตร”
นายปัญญา ศรีวโิ รจน์ เลขท่ี 476 หมู่ท่ี 4 ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบรุ ี
เนือ้ ท่ี 4 ไร่ ทำวนเกษตรเตม็ รูปแบบ ปลกู ไม้เศรษฐกิจ ไมใ้ ช้สอย พืชหัวใตด้ นิ พืชสมุนไพร พืชกินยอด
เผาถ่าน และเลยี้ งไก่ป่า มรี ายไดเ้ ฉลีย่ วนั ละ 400 บาท ต่อเดือน
๕๗
คกู นั ชา้ ง เขตรักษาพนั ธ์สุ ัตว์ป่าอ่างฤาไน เขตรอยต่อฯ จงั หวัดชลบุรี
คลอง คลองย่อยกระแสร์ ฝายน้ำลน้
หลมุ ตาขรึม - เขาชะอางค์โอน
คลองหมาก คลอง
เขาชะอางค์โอน คลองกระแสร์
คลองตะเคียน คลองหนองสะตอ
คลองอา่ งกลาง
คลองอา่ งรนิ
คลองกระแสร์
คลองตาเพชร
ไหลไปลงทะเลที่ ปากนำ้ ประแสร์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
๕๘
ข้อมูลพื้นฐานจงั หวดั ชลบุรี
บา้ นเขาหา้ ยอด หมทู่ ี่ 1 ตำบลพลวงทอง อำเภอบอ่ ทอง
ความเป็นมา
ชุมชนบ้านเขาห้ายอดเดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองตะเคียน พ.ศ. 2519
เริ่มมีชาวบ้านเข้ามาถางป่าจับจองที่ดิน เพื่อทำการเกษตรปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง พ.ศ. 2524
กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ชุมชนบ้านเขาห้ายอดเป็นหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 ของตำบลบ่อทอง
พ.ศ. 2528 ทางราชการได้อนุญาตให้เข้ามาทำกินโดยออกเอกสิทธิ์ (ส.ท.ก.) เมื่อวันที่ 3 พ.ศ. 2537
ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องการตั้งแต่กำหนดเขตตำบลในท้องที่ อำเภอบ่อทอง มีผลให้
ตำบลพลวงทองเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.2537 เป็นต้นมา โดยแยกพ้ืนที่หมู่ท่ี 3,7,8,10 ของตำบลบ่อทอง
ไปเป็นหมู่ที่ 1-5 ของตำบลพลวงทอง และทำให้หมู่ที่ 3 บ้านเขาห้ายอด ตำบลบ่อทอง เป็นหมู่ที่ 1
ตำบลพลวงทอง เป็นต้นมา และเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินเสื่อมโทรม
ในเขตป่าคลองตะเคียนให้เป็นเขตปฏิรูปท่ีดิน (ส.ป.ก.)
ข้อมูลท่ัวไปและลักษณะภูมิประเทศ
บ้านเขาห้ายอดมีเน้ือที่ 18,750 ไร่ หรือประมาณ 30 ตร.กม. และมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ
ถึงสองจังหวัด ภูมปิ ระเทศของหม่บู ้านเขาห้ายอดมีลักษณะเป็นแบบลูกคล่ืนลอนลาด ถึงลอนชันสลบั เนินเขา
และภูเขามีเทือกเขาอ่างฤาไน ที่เป็นแนวอยู่ทางทิศตะวันออกมีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ
สัตว์ป่า และเป็นแหลง่ ต้นนำ้
อาณาเขตตดิ ต่อ ติดกบั หมู่ 2 ตำบลพลวงทอง
ทศิ เหนอื ตดิ กบั หมู่ 8 ตำบลบ่อทอง
ทิศใต้ ติดกบั เขตรักษาพนั ธส์ุ ัตว์ปา่ เขาอา่ งฤาไน
ทศิ ตะวันออก ติดกบั หมู่ 2 ตำบลบ่อทอง
ทศิ ตะวนั ตก
แหลง่ นำ้ สำคญั
แหลง่ นำ้ สำคัญของหมบู่ ้าน ได้แก่ ต้นน้ำคลองประแสร์ ซ่งึ ไหลไปสู่แมน่ ำ้ ประแสจงั หวัดระยอง
ประชากร สงั คม ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี
จำนวนครวั เรอื นท้งั หมด 162 ครัวเรือน ประชากรทัง้ ส้ิน 620 คน
อาชีพการเกษตร
รอ้ ยละ 80 ประกอบอาชพี เกษตร ปลูกสวนยางพารา ร้อยละ 20 ทำเกษตรผสมผสาน
๕๙
สถานการณ์ช้างป่า
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2552 เร่ิมมีช้างออกมาหากินในพื้นท่ีเกษตรของชาวบ้าน แต่มีจำนวนไม่มาก
ประมาณ 1 – 2 ตวั พืชผลท่ีเสียหายจากช้างป่าทำลายเป็นพืชท่ีช้างกินเปน็ อาหารเป็นหลัก เช่น กลว้ ย อ้อย
มะละกอ ขนนุ มะพร้าว มันสำปะหลัง สับปะรด และตน้ ไผ่ เป็นต้น
ต่อมาประมาณ 5 ปี จำนวนช้างป่าท่ีออกมาหากินพืชของชาวบ้าน เพ่ิมจำนวนมากข้ึนเรื่อย ๆ
จนปัจจุบันมจี ำนวนมากถึง 30 - 50 ตวั ในช่วงกลางคืน เวลาประมาณ 19.00 - 06.00 น. ช้างป่าออกหา
กนิ พืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านในชุมชน สร้างความเสียหายแก่ผลผลติ ทางการเกษตรของชาวบา้ น และ
ชาวสวนยางออกประกอบอาชพี กรดี ยางไม่ได้
การบอกเล่าจากชาวบ้าน หมู่ที่ 1 ณ ปัจจุบัน ปี 2563 พฤติกรรมของข้างท่ีลงมาพ้ืนท่ี จากเดิม
เวลา 17.00 น. ปรับเป็น 16.00 น. และกลับก่อนพระอาทิตย์ข้ึน ช้างป่าจะเดินลงจากเขาเป็นแถว จ่าฝูง
จะเดินนำหน้าลงเขา เมื่อถึงแหล่งอาหารในหมู่บ้านก็จะแยกย้ายไปกินอาหาร เมื่อถึงเวลากลั บข้ึนเขา
จา่ ฝูงจะระวังหลังเพื่อดูลูกฝงู
ทัศนคติของคนตอ่ ชา้ งป่า
เม่ือชาวบ้านหม่ทู ่ี 1 ถูกถามวา่ มีความคิดเห็นอยา่ งไรต่อสถานการณช์ า้ งป่า ส่วนใหญต่ อบว่าต้องทำใจ
ให้อยูร่ ่วมกบั ชา้ งให้ได้ เน่ืองจากไม่รู้จะไปตัง้ รกรากท่ีไหน
พฤติกรรมของช้างในพืน้ ที่
จากการสอบถามและบอกเล่าของชาวบ้าน หมทู่ ่ี 1 ตำบลพลวงทอง สรุปได้ ดังน้ี
- ช้างออกมาหากินพืชอาหาร และลงเล่นน้ำในสระ/แหล่งน้ำของชาวบ้าน มีพฤติกรรมดุร้าย
เปน็ บางตวั จะซุกซน ชอบเขา้ หาคนทำงานกรีดยางในชว่ งกลางคืน และชอบเด็ดทำลายผลไม้
- หูดี จำไดด้ ี มีพฒั นาการการเรยี นรู้
- ไมช่ อบให้รบกวนเวลากิน หากกินอิ่มจะจากไปเอง
- ไม่ชอบเสียงดงั
- ไม่กนิ สตั ว์
- ใช้เส้นทางเดมิ ในการกลบั เข้าปา่
- จำนวนช้างป่าท่ีลงมาเพ่ิมข้ึนจากเดิม ปัจจุบันประมาณ 30 ตัวจะมาเป็นโขลง ลงมาในพื้นที่สวน
และภายในหมู่บ้านเสมือนการมาเดินตลาดนัด หรือมาเท่ียวคาเฟ่โดยจะค่อยๆ เดินเข้ามาหาอาหาร
อยา่ งสบายใจ เดินกินไปอยา่ งชา้ ๆ
- ชา้ งกนิ อาหารประมาณ 30 เปอรเ์ ซ็นตข์ องน้ำหนักตวั ตัวใหญ่หนักประมาณ 3 ตนั
- พฤติกรรมชาวบ้านจะเรียนรู้และหลกี เลยี่ งการปะทะระหวา่ งคนกับช้างป่า
ป้องกนั และการปรบั เปลยี่ น
มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ผลัดเปลี่ยนกันออกลาดตระเวนตามจดุ เส่ียงต่าง ๆ ที่ช้างป่า
ออกหากนิ โดยบ้านทเ่ี ป็นเขตที่ช้างปา่ เดินผ่านจะเป็นผูส้ ่งข่าวสารให้ชดุ ชรบ. เข้าไปแก้ไขปัญหาท่ีชา้ งป่าเดิน
ออกนอกพนื้ ท่ี
เมื่อประชาชนพบเห็นช้างป่าในพื้นที่ชุมชนที่อาจเป็นอันตราย ก็จะแจ้งผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำจะแจ้งไปยัง ชุด ชรบ. และประสานไปยังเจ้าหน้ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพนั ธ์ุพชื ของเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เพ่ือติดตามและเฝ้าระวงั ไมใ่ ห้เกิดการทำรา้ ยชา้ งและคน
๖๐
พัฒนาการชมุ ชนกับการดำเนินงานที่ผา่ นมา
- โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: ขยายผลการพัฒนาหมู่บ้านคนรักษ์ช้าง ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการดำเนินงาน “หมู่บ้านคชานุรักษ์” โดยพัฒนาและสาธิตอาชีพ:
แปรรปู อาหาร ไขเ่ ค็ม ปลา ปลูกกระชายในถุงพลาสตกิ
- โครงการสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายคชานรุ กั ษ์ชลบรุ ี ด้านการแปรรปู สมุนไพร
- มีการส่งเสริมอาชีพตามหลักการของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีพัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ
พัฒนาท่ีดิน และปกครองอำเภอ มาให้ความรู้ เรื่องการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ การปรับดินให้มีค่าเป็นกลาง
การรวมกลุม่ เพื่อลดต้นทนุ การผลติ เปน็ ต้น
- ส่งเสริมการแปรรูปน้ำสมุนไพรที่ปลูกภายในหมู่บ้าน เชน่ น้ำกระเจ๊ียบ น้ำสำรอง โดยการส่งเสริม
ในเรือ่ งของบรรจภุ ัณฑ์ การหาตลาดในการจำหน่ายสนิ คา้ เชน่ ตลาดน้ำทอง 6 เปน็ ต้น
...................................................
บ้านเขาชะอางค์ หม่ทู ่ี 2 ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง
ข้อมูลทั่วไปและลักษณะภมู ิประเทศ
บ้านเขาชะอางค์ หมู่ท่ี 2 ตำบลพลวงทอง จัดตั้งเม่ือปี ๒๕๓๗ โดยยกมาจากหมู่ท่ี ๗ ตำบลบ่อทอง
ในคราวที่มีการจัดตั้งตำบลพลวงทองขึ้น อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ่อทองไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง
ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีถนนสายหลักลาดยางตลอดสายและมีเส้นทางเช่ือมกับหมู่บ้านข้างเคียง
สภาพทั่วไปเป็นท่ีราบสูง มีภูเขาอยู่โดยรอบ มีเน้ือท่ีประมาณ ๒๕,๐๐๐ ไร่ พื้นที่อยู่ในเขต ส.ป.ก. ๔-๐๑
และเขตป่าสงวน เป็นที่ตั้งของธรรมชาติที่สวยงาม เช่น ถ้ำเขาชะอางค์ทรงเครื่อง ตั้งอยู่บริเวณตลาด
ใกล้ศูนย์กลางของหมู่บ้าน ถือเป็นแหล่งท่องเท่ียวธรรมชาติที่โดดเด่นของหมู่บ้าน เป็นท่ีอยู่อาศัยของฝูงลิง
นกนางแอ่น และค้างคาวนับล้านล้านตัว มีเขาตะกร้อ ป่าชุมชนอ่างเก็บน้ำธรรมชาติบ้านคลองกุ่ม
คลองกระแสไหลผ่านหมู่บ้าน และมีอ่างเก็บน้ำกระแสท่ีสร้างขึ้นบนพื้นท่ี ๒,๕๐๐ ไร่นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้ง
ของฐานปา่ ไมบ้ ้านคลองกุ่ม หน่วยปา่ ไม้คลองตะเคยี นและเขตรักษาพนั ธส์ุ ตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน
แม้บ้านเขาชะอางค์จะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็มีความพร้อมด้วยสิ่งอำนวย
ความสะดวกและสาธารณูปโภค เพราะเป็นท่ีต้ังขององค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง มีตลาด ร้านค้า
ไฟฟ้า ประปาหมู่บ้าน ชุมสายโทรศัพท์ ท่ีพักสายตรวจ ศาลาเอนกประสงค์ สถานีอนามัยบ้านเขาชะอางค์
วัดเขาชะอางค์ ศาลเจ้าเตยี วเทียนซอื โรงเรียนบา้ นคลองกุ่ม (ระดับประถม) และโรงเรียนสวนป่าเขาชะอางค์
(ระดบั มธั ยม)
อาณาเขต ตดิ ตอ่ กับหม่ทู ่ี 4 บ้านเขาใหญแ่ ละหม่ทู ี่ 7 บา้ นหลมุ มะนาว
ทศิ เหนอื ตดิ ตอ่ กับหมู่ที่ 1 บ้านเขาห้ายอด ตำบลพลวงทอง
ทศิ ใต้ ติดตอ่ กับหมทู่ ่ี 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จงั หวดั ชลบุรี
ทิศตะวนั ตก ติดตอ่ กับ ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จงั หวดั จันทบุรี
ทศิ ตะวันออก
๖๑
ประชากร สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี
บ้านเขาชะอางค์มีครัวเรือนท้ังหมด ๗๒๐ ครัวเรือน อาศัยอยู่จริงประมาณ ๓๐๐ ครัวเรือน
ประชากร จำนวน ๑,๘๒๔ คน ต้ังบ้านเรือนแบบกระจัดกระจายเป็นชุมชนเล็ก ๆ จำนวน ๗ ชุมชน
โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ คลองกุ่ม คลองสอง และเขาชะอางค์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
มีวัฒนธรรมประเพณีตามวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ แห่เทียนพรรษา
ประเพณีวิง่ ควายและตกั บาตรเทโว ประเพณลี อยกระทง เทศกาลถอื ศลี กินเจ
เศรษฐกจิ และอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีการพัฒนาอาชีพจากการปลูกพืชไร่
เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นการปลูกพืชสวนมากขึ้น ได้แก่ การทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน
สวนมะม่วงหมิ พานต์ สวนผลไม้ (ทุเรยี น มังคดุ ) เลย้ี งสัตว์ และบางสว่ นประกอบอาชพี ค้าขายและรับจ้างทั่วไป
กลุ่มเศรษฐกจิ ชมุ ชน
๑. กองทุนหมู่บ้าน สมาชกิ ๒๐๐ คน นายดำรงศักด์ิ เฉลมิ สุข ผใู้ หญ่บ้าน เปน็ ประธาน
๒. กองทนุ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) สมาชิก ๔๕ คน ผูใ้ หญบ่ า้ น เป็นประธาน
๓. กลมุ่ อนุรักษ์พันธุ์ไก่พนื้ เมือง สมาชิก ๑๕ คน นายเจษฎา สภุ าสงั ข์ เปน็ ประธาน
๔. กลุ่มปลูกยางพารา สมาชิก ๒๐ คน นายนันทวฒั น์ นิธิชยั นรนิ ทร์ เปน็ ประธาน
๕. กลุ่มแพะแกะ สมาชิก ๑๒ คน นายธนรฐั เฉลมิ สขุ เป็นประธาน
สถานการณช์ ้างปา่
นายดำรงศักด์ิ เฉลิมสุข ผู้ใหญ่บ้านเขาชะอางค์ ซ่ึงดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่มาต้ังแต่ ปี ๒๕๓๓
และทีมงาน เล่าว่าสมัยก่อนช้างป่าก็อยู่ในป่าตามธรรมชาติ ช้างป่าเริ่มเข้ามาในหมู่บ้านเมื่อปี ๒๕๕๐
เป็นช้างพลัดถ่ิน จำนวน 1 – ๕ ตัว เข้ามากินพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน และเร่ิมเข้ามาบ่อย
และมจี ำนวนมากขึ้น เม่ือปี ๒๕๕๗ โดยจะเขา้ มากินและทำลายพืช ทั้งสับปะรด ปาล์ม สวนผลไม้ ในฤดูแล้ง
ช้างจะออกมาเกอื บทุกวนั เพราะในป่าขาดความอุดมสมบูรณ์ เสน้ ทางเดินของช้างจะออกมาบริเวณบา้ นคลอง
กุ่ม (มีประมาณ 100 ครัวเรือน) แล้วลงมาเขาตะกร้อ ช่วงซอยเขาชะอางค์ 13 (คลองสอง) ซึ่งอยู่ระหว่าง
หมู่ที่ 1 และหมู่ท่ี 2 ช้างมาจากหมู่ท่ี 1 แล้วเดินต่อมาหมู่ที่ 2 โดยบริเวณอ่างเก็บน้ำมีครัวเรือนที่ได้รับ
ผลกระทบ จำนวน 18 ครวั เรอื น และเคยเขา้ มากินปาล์มหางกระรอกในโรงเรยี นบา้ นคลองกุม่ ดว้ ย
พฤติกรรมชา้ งป่า
ช้างป่าจะทำงานเป็นทีม โดยมีช้าง 1 - 2 ตัว ออกมาทำหน้าที่เป็นช้าง Survey หรือลาดตระเวร
เพ่ือหาแหล่งอาหาร หลังจากน้ันก็จะพาเพื่อนมากินกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยช้างป่าชอบเดินมาตามลำคลอง
เป็นช่องทางช้าง ในช่วงกลางวันอากาศร้อนช้างป่าจะนอน ชอบลงเล่นน้ำตามแหล่งน้ำ ช้างป่าจะเร่ิมออกหากิน
ในเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. โดยแวะกินพืชไร่ของชาวบ้านไปเรื่อย ๆ ช้างเป็นสัตว์กินพืชและชอบกินเกลือ
หรือของเค็ม ๆ ไม่ควรให้อาหารช้าง ช้างจะจำได้และกลับมาอีก พฤติกรรมช้างป่าที่เข้ามาไม่ดุร้าย
ไม่ทำลายบ้านเรือนและประชาชน ถ้าปล่อยให้ช้างกินจนพอใจแล้วช้างก็จะจากไปเอง โดยช้างจะกินอาหาร
ประมาณหน่ึงในสามของน้ำหนักตัว ถ้าไปขับไล่อาจทำให้ช้างโมโห ถ้าเป็นช้างป่าคนละกลุ่มมาเจอกัน
จะทะเลาะกัน บางคร้ังถึงขั้นต่อสู้กัน ลักษณะของช้างป่าตาไม่ดี แต่จะมีหูและจมูกดีมาก มีความจำแม่น
ถ้าเผชิญช้างป่าให้นั่งน่ิง ๆ ในรถ อย่าดับเครื่องยนต์ อย่างเร่งเคร่ืองยนต์ หรืออาจท้ิงรถไป และไม่ควรอยู่
ในทีโ่ ลง่ ควรอยูห่ ลังต้นไม้
๖๒
ชา้ งป่าท่ีเข้ามาหากินมี ๒ ประเภท คือ ช้างประจำถิ่น อายุประมาณ 4 - ๕ ปี อาศัยอยู่ตามชายป่า
จะเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ เพราะมีอาหารสมบูรณ์จึงไม่ยอมไปไหน ไม่ทำร้ายคน และช้างจร ส่วนใหญ่
จะมาเป็นฝูง มากินและทำลายพืชผลทางการเกษตร แม้แต่ยอดปาล์มก็หักมากิน และจะเคล่ือนย้ายไปเร่ือย ๆ
เป็นวงรอบ ช้างเหล่านี้มักจะถูกชุด ชรบ. และเจ้าหน้าที่ผลักดันบ่อย ๆ ซ่ึงอาจสร้างความเครียดและทำให้ช้างป่า
ดรุ ้าย บางครัง้ จึงอาจตอ้ งยอมใหช้ ้างผ่านเข้ามาและกินพืชผลการเกษตร แล้วชา้ งก็จะจากไปเองโดยสงบ
ผลกระทบ การเยียวยา
ความเสียหายที่เกิดจากช้างป่าในบ้านเขาชะอางค์มักเกิดเป็นย่อม ๆ ตามที่ช้างผ่าน จึงไม่สามารถ
ประเมินพื้นท่ีเป็นไร่หรือเป็นแปลงได้อย่างชัดเจน การประเมินความเสียหายเพื่อการเยียวยาจึงทำได้ยาก
และที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการเยียวยาเกษตรกรรายใดในหมู่บ้าน จนเมื่อวันท่ี ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓
องค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทองได้พิจารณาช่วยเหลือครัวเรือนเกษตรกรหมู่ท่ี ๒ จำนวน 1 ราย ที่ได้รับ
ความเสียหายจากช้างป่าทำลายต้นยาง จำนวน ๖ ต้น ชดเชยความเสียหายเป็นเงิน ๕๐๗ บาท
(ค่าชดเชยไร่ละ 1,690 บาท/20 ตน้ )
นอกจากช้างป่ายังมีวัวแดง กวาง ท่ีออกมาหากินในพื้นที่การเกษตร และท่ีมีปัญหาไม่น้อยไปกว่าช้าง
ไดแ้ ก่ ฝงู ลิงทอี่ อกมารบกวนจำนวนมากโดยผู้ใหญบ่ า้ นเสนอวา่ ควรมกี ารทำหมันลิง
ทัศนคตขิ องคนตอ่ ชา้ งป่า
คนในชุมชนมีความเห็นว่าช้างโดยปกติก็อยู่ในป่า แต่ปัจจุบันช้างมีจำนวนมากขึ้น อาหารในป่า
ไม่เพียงพอต่อช้าง ทำให้ช้างต้องออกมาหากินในชุมชน ก็ไม่รู้วา่ จะทำอย่างไร ทา้ ยท่สี ดุ “ตอ้ งเข้าใจ และทำใจ”
การป้องกนั แก้ไข และการปรบั เปลย่ี นวิถีชีวิต
การป้องกนั และแกไ้ ข
๑. มีการขุดคูกนั ช้าง ซ่ึงจะกนั ได้ในระยะแรก ๆ เท่าน้ัน ช้างป่าจะเรียนรู้โดยย่ำคูกันช้างเป็นเหมือน
คน่ั บนั ได หรือใชว้ ธิ กี ารต่อตัว ก็สามารถขา้ มมาได้ และเมอ่ื คตู นื้ เขินช้างป่ากย็ ่ิงข้ามมาได้สะดวกมากขึน้
๒. จัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) มีการอบรมให้ความรู้ และร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ออกลาดตระเวรและผลักดันช้างกลับเข้าสู่ป่า แต่ช้างท่ีถูกผลักดันถ้ายังไม่ได้กินอาหาร
จากหมบู่ า้ นนกี้ จ็ ะเขา้ ไปรบกวนหมู่บ้านอืน่ ไมย่ อมกลบั เข้าป่า
๓. มีการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน ถึงพฤติกรรมของช้างป่า หลีกเลี่ยง
การใชค้ วามรนุ แรง การปรบั เปลยี่ นวิถชี วี ิตและอาชพี เพื่อการอยู่ร่วมกนั อย่างสมดลุ ระหว่างคนและชา้ งป่า
๔. ควรสร้างทุ่งหญ้าเหมือนทุ่งพลวงทอง ทำให้โปร่ง เป็นแหล่งอาหารให้ช้างป่ามากินหญ้า
ได้สะดวก ถ้าเป็นป่าทบึ มีเถาวลั ย์ เถาหนาม ไมม่ พี ชื ที่ชา้ งกนิ ได้ ช้างก็จะออกมาหากินในชมุ ชน
การปรับเปล่ียนวิถีชวี ติ ของคน
๑. ประชาชนท่ีได้รับผลกระทบจากช้างป่า ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเฉพาะด้านการประกอบ
อาชพี โดยคอยสงั เกตระมดั ระวังมากข้ึน ถา้ ทราบข่าวว่าชา้ งปา่ ลงมาก็จะเลิกประกอบอาชพี รบี กลับบ้าน
๒. ปรับเวลากรีดยาง เป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงเช้า ตีห้าถงึ หกโมงเช้า และช่วงบ่าย สี่โมงเย็น (แต่ขณะน้ี
ชา้ งป่าก็ออกหากนิ เรว็ ขนึ้ บางครั้งสี่หรือห้าโมงเยน็ ก็ออกมาแลว้ )
๖๓
๓. ปรับเปล่ียนการปลูกพืชเชิงเด่ียวมาเป็นพืชผสมผสานมากข้ึน เช่น ปลูกสมุนไพรแซมในสวนยาง
เพิม่ การเลย้ี งสตั ว์ ได้แก่ เป็ด ไก่ แกะ แพะ การปลูกรัว้ ชะอมรอบสวนทเุ รียน
หนว่ ยงานที่รว่ มดำเนนิ การ
1. สำนักงานเกษตรอำเภอ ให้ความรดู้ ้านการให้น้ำทุเรยี น สนับสนนุ ปยุ๋
2. หน่วยงานป่าไม้ ใหค้ วามรคู้ วามเข้าใจเร่ืองชา้ งป่า
3. สำนักงานพฒั นาชมุ ชนอำเภอ อบรมให้ความรู้ความเข้าใจการอยรู่ ว่ มกนั อย่างสมดุลระหว่างคน
และชา้ ง สนบั สนนุ อาชีพ 30 ครวั เรอื น ได้แก่ การเลี้ยงเป็ด และแปรรูปไขเ่ ค็มอินทรีย์
.............................................
หมู่บ้านคชานุรกั ษ์ บา้ นเขาใหญ่ หมู่ท่ี ๔ ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง
ข้อมูลทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ
บ้านเขาใหญ่เปน็ หม่บู ้านหนง่ึ ของตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบรุ ี เม่ือประมาณปี พ.ศ.
2512 มีราษฎรในเขตท้องที่ต่างๆ เข้ามาอาศัยจับจองพ้ืนท่ีป่า หักร้างถางพง เพ่ือปลูกมันสำปะหลัง จึงเกิด
เป็นชุมชนขนาดเล็กข้ึน ลักษณะทั่วไป พื้นที่เป็นเนินเขาเต้ียๆ และที่ราบบางส่วน มีแนวเขาใหญ่และเขา
กำแพงเป็นเขตแดนหมบู่ ้าน และเขตแดนระหว่างจังหวัดชลบุรีกบั จังหวงั ฉะเชงิ เทรา ชาวบ้านเรียกช่ือหมู่บ้าน
ตามช่ือแนวเขาว่า “บ้านเขาใหญ่” จนถึงปัจจุบัน เดิมนั้นบ้านเขาใหญ่ข้ึนอยู่กับตำบลบ่อทอง หมู่ท่ี 8
มี นายสมคิด เน่ืองจำนงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2538 ได้แยกการปกครองออกจากตำบลบ่อทอง
เป็นตำบลพลวงทอง โดยเป็นหม่บู า้ นท่ี 4 มี นายนิคม สุรกิจบวร เป็นผใู้ หญ่บา้ นและดำรงตำแหน่งผ้ใู หญบ่ า้ น
จนถึงเดอื นกนั ยายน พ.ศ. 2553 และตอ่ มานายตระกูล สวา่ งอารมย์ ไดร้ บั การคัดเลือกเปน็ ผู้ใหญบ่ ้าน
และเปน็ กำนนั ตำบลพลวงทอง จนถึงปจั จบุ ัน
สรปุ ตารางเหตุการณ์สำคญั ของหมู่บ้าน
ชว่ งเวลา สถานการณ์
ชว่ งทห่ี น่งึ กอ่ นตงั้ หม่บู ้าน (พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๓๗)
พ.ศ. ๒๕๑๒ เร่ิมอพยพเข้ามาต้ังหมู่บ้าน การปกครองข้ึนกับหมู่ท่ี 8 อำเภอพนัสนิคม ชาวบ้าน
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพป่ายังเป็นป่าดงดิบ มีการสัมปทานป่าไม้ใน
พนื้ ที่
พ.ศ. ๒๕๑๔ แนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า“ทหาร
ป่า”อาศัยแทรกซึมอยู่ในป่าเขตนี้ประมาณ 600 คน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
ส่วนใหญม่ าจากจงั หวดั อบุ ลราชธานี รับจา้ งตัดไมข้ าย
๖๔
พ.ศ. ๒๕๒๐ เม่ือวันท่ี 4 ตุลาคม 2520 ทหารป่า มอบตัวกลบั ใจมาเปน็ ผ้รู ว่ มพัฒนาชาติไทย
เร่ิมต้นประมาณ 27 คน
พ.ศ. ๒๕๒๑ แยกการปกครองจากอำเภอพนสั นิคม เป็นก่ิงอำเภอบอ่ ทอง
พ.ศ. ๒๕๓๔ มรี ะบบไฟฟ้าเข้าถงึ หมบู่ า้ น
ช่วงที่สอง ตงั้ หมบู่ า้ นเขาใหญ่ (พ.ศ. ๒๕๓๗ – ปจั จบุ นั )
พ.ศ. ๒๕๓๗ แยกการปกครองจากตำบลบ่อทอง เป็นหมู่ท่ี 4 ตำบลพลวงทอง เม่ือวันท่ี 20
พฤษภาคม ๒๕๓๗ มนี ายนิคม สรุ กจิ บวร เป็นผ้ใู หญ่บ้าน และกำนนั คนทสี่ ามของตำบล
พ.ศ. ๒๕๔๐ สภาตำบลพลวงทองยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง เมื่อวันที่ 23
กมุ ภาพนั ธ์ 2540
พ.ศ. ๒๕๔๘ คนหาของป่า ขุดมัน จุดไฟในป่าประดู่ ทำให้เกิดไฟป่าคร้ังใหญ่พื้นท่ี ป่ารอยต่อ
ภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 20 วัน มีหลายหน่วยงานเข้าร่วมดับไฟ
ปา่ เชน่ ทหาร ร.21, ปา่ ไม,้ อำเภอบ่อทอง
พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดน้ำท่วมบ้านที่อยู่ใกล้ร่องน้ำ บริเวณหมู่บ้านคลองตาเพชร ซ่ึงอยู่ใกล้บ้านเขา
ใหญ่
พ.ศ. ๒๕๕๓ นายตระกูล สว่างอารมย์ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นกำนันตำบลพลวง
ทอง จนถึงปัจจุบัน
บา้ นเขาใหญ่มีพน้ื ทีจ่ ำนวน 61 ตารางกิโลเมตร หรอื ประมาณ 38,125ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพ้ืนที่ปฏริ ูป
ท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม และบางส่วนอยูใ่ นเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้ และในเขตรกั ษาพันธุ์สัตว์ป่าอ่างฤา
ไน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองกระแสร์ คลองหลุมตาขรึม
คลองตะเคยี น คลองอ่างริน คลองอา่ งกลาง คลองหนองสะตอ คลองยอ่ ยกระแสร์ อา่ งเก็บนำ้ ซอยชาลี
อาณาเขต
ทศิ เหนอื ติดตอ่ กับ หมูที่ 5 บา้ นเขาพริก หมทู่ ่ี 6 บา้ นอา่ งผักหนาม
และ หมู่ที่ 7 บ้านหลุมมะนาว
ทศิ ใต้ ตดิ ตอ่ กับ หมู่ท่ี 2 บา้ นเขาชะอางค์
ทศิ ตะวนั ออก ติดตอ่ อ.ท่าตะเกยี บ จ.ฉะเชิงเทรา อ.แกง่ หางแมว จ.จนั ทบุรี
ทิศตะวันตก ตดิ ต่อกับ หมทู่ ี่ 2 บ้านเขาชะอางค์
๖๕
ประชากร ศาสนา และแหลง่ ท่องเท่ียว
มีประชากรทั้งสิ้น 1,912 คน แยกเป็นชาย 952 คน เป็นหญิง 960 คน จำนวนครัวเรือนท้ังหมด
576 ครัวเรือน (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร ปี 2562) โดยแบ่งเป็น 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเขาใหญ่
ชมุ ชนนครสวรรค์ ชมุ ชนหลมุ มะนาว ชุมชนเขาใหญ่พฒั นา ชมุ ชนชาลีพฒั นา และชมุ ชนเขาชะอางค์
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้าน คือ วัดถ้ำเขาชะอางค์โอน เป็นวัดที่ผู้คน
ให้ความศรัทธาใน พระอธิการประสพชัย ธมฺมิโก เจ้าอาวาส ( หลวงปู่ถ้ำ ) มีรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา
ชะอางค์โอน ต้นไม้ยักษ์ และมีการสร้างอุโบสถท่ีใหญ่โต เพื่อให้เป็นส่ิงมหัศจรรย์และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ในอนาคตของตำบลพลวงทอง นอกจากน้ียังมีน้ำตกเขาใหญ่อ่างริน และน้ำตกเขาใหญ่อ่างกลาง
ในพ้ืนทอี่ นุรักษ์ ซงึ่ เหมาะแกก่ ารทอ่ งเที่ยวพักผ่อนหยอ่ นใจ
เศรษฐกิจและอาชีพ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพสวนยางพารา สับปะรด สวนผลไม้ และพืชผักต่าง ๆ และบางส่วน
ประกอบอาชีพรบั จา้ ง รายไดเ้ ฉลี่ย 35,000 บาท / คน / ปี
กลุ่มกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนกับป่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสัมมาชีพบ้านเขาใหญ่
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟพลวงทอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเท่ียวและโฮมสเตย์บ้านเขาใหญ่ ประชาชน
ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มที่ต้ังข้ึนในหมู่บ้าน และมีส่วนรว่ มแสดงความคิดเห็นเพ่ือประโยชนข์ องชุมชนในเวที
ประชาคมหมู่บ้าน ทุกวันที่ 7 ของเดือน หมู่บ้านเขาใหญ่ มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีธนาคารต้นไม้
ป่าชุมชน และภูมิปัญญาชาวบ้านหรือปราชญ์ชาวบ้านที่รวบรวมองค์ความรู้ไว้ถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน
โดยเป็นหมบู่ ้านเศรษฐกจิ พอเพยี งต้นแบบ เม่อื ปี 2550
สถานการณ์ช้างป่า
ช้างป่าเริ่มออกมาหากินทำลายพืชผลทางการเกษตรของราษฎร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555
โดยในช่วงปีน้ัน เข้ามากินมะม่วงหิมพานต์ของราษฎรที่บุกรุกท่ีดินป่าสงวน ซึ่งเป็นไข่แดงอยู่ในป่า
เวลามะม่วงหิมพานต์สุกช้างก็จะมากันหลายตัว และขยายเขตลุกลามออกมานอกป่าซึ่งก็จะมีสวนมะม่วงหิม
พานต์อย่จู ำนวนมาก เมื่อมาแล้วกก็ ็ขยับออกมาเรื่อย ๆ จนบางคร้ังกลับเขาปา่ ใหญ่ไม่ทนั ก็อาศัยอยใู่ นเขตป่า
ชุมชนในกลางพ้ืนที่หมู่บ้านก็มี บางครั้งมาตัวเดียวก่อน วันต่อมาก็พาพรรคพวกมาอีก 2 - 3 ตัว ปัจจุบัน
มีแหล่งอาหารเป็นสับปะรด กล้วย ขนุน มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน มีหลากหลายรสชาติ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน
ช้างมีการปรับตัว ไม่กินผลปาล์ม แต่ใช้งาแทงต้นใหญ่เพื่อกินลำต้นอ่อนปลายยอด ซึ่งมีท้ังแป้งและน้ำตาล
ท่ีดีกว่า บางครั้งช้างป่าออกมาเป็นกลุ่มใหญ่มากกว่า 50 ตัว เหยียบทำลายสวนทุเรียน สวนยางพารา
มนั สำปะหลัง ตน้ หมากประดบั ของโรงเรียน
สาเหตทุ ชี่ า้ งออกเปน็ ประจำในพ้ืนที่
1. พื้นท่ีในบริเวณป่าเขตบ้านเขาใหญ่ เป็นพื้นท่ีราบเชิงเขามีพื้นท่ีกว้างช้างป่าอาศัยอยู่บริเวณ
ดังกลา่ ว พอเวลาเย็นก็ออกมาหากินและกลับเขา้ ในปา่ ได้ง่าย
2. ราษฎรในหมู่บ้านปลูกพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่ สับปะรด ขนุน ไผ่ไต้หวัน และกล้วย ซ่ึงเป็นอาหาร
ทีช่ า้ งป่าชอบ
3. ในหมู่บ้านมีพื้นที่โล่งซ่ึงเป็นป่าหญ้าวัวของนายทุนในเขต ส.ป.ก. ที่ปล่อยท้ิงร้างเป็นทุ่งหญ้า
เหมาะแก่การเปน็ พนื้ ทใ่ี ห้ชา้ งป่าออกมาหากนิ ได้สะดวก
๖๖
4. แนวคูกนั ช้างในพืน้ ทีบ่ ้านเขาใหญ่ หมูท่ ี่ 4 ขุดยงั ไม่บรรจบกัน จึงเป็นชอ่ งทางที่ชา้ งออกไดส้ ะดวก
และกลับคนื สูป่ า่ ได้งา่ ย
พฤตกิ รรมการออกหากนิ
ช้างป่าออกมาจากพ้ืนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ผ่านป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน
เข้ามาในบ้านเขาใหญ่ หมู่ที่ ๔ เป็นส่วนใหญ่ จุดท่ีช้างออกมี 6 จุด และกระจายไปทางบ้านอ่างผักหนาม
และบ้านคลองโค ที่มีเขตติดต่อกัน ส่วนบ้านเขาชะอางค์ หมู่ท่ี ๒ มีจุดท่ีช้างป่าออกจำนวน 2 จุด
โดยมกี ารเคลอื่ นย้ายไปเรือ่ ย ๆ เปน็ วงรอบ ลกั ษณะของช้างปา่ ตาไม่ดี หูและจมกู ดีมาก มีความจำแมน่
ทัศนคติของคนต่อช้างป่า
ศกึ ษาใหเ้ ขา้ ใจพฤติกรรมของช้างป่า และปรบั ตัวอยรู่ ว่ มกับข้างป่า ไม่ควรทำร้ายชา้ ง ต้องสรา้ งแหล่งนำ้
และอาหารในปา่ ให้ช้าง และต้องปรับเปล่ียนวธิ กี ารดำรงชีวิตเพ่ือให้อยู่ในพ้ืนท่ีให้ได้
การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหา
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงพฤติกรรมของช้างป่า และร่วมแก้ปัญหาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
ในการประชมุ ทุกวนั ท่ี ๗ ของเดอื น
๒. จัดตั้ง ชรบ. คอยเฝ้าระวงั ชว่ ยเตอื นภยั และผลกั ดนั ชา้ งป่า
๓. ติดตัง้ กล้อง CCTV ติดตามพฤติกรรมชา้ งในพ้นื ท่ี
๔. สรา้ งแหล่งน้ำ แหลง่ อาหารในปา่ ใหช้ า้ ง
๕. ปรับเปลี่ยนวิธีการในการดำรงชวี ิตเพ่ือให้อาศัยอย่ใู นพน้ื ท่ใี ห้ได้
๖. ปลกู พืชสมนุ ไพร พืชท่ีช้างไม่ชอบ พชื ผสมผสาน สรา้ งวนเกษตรเปน็ แนวกนั ชน
...............................................
บ้านอ่างผกั หนาม หมูท่ ี่ ๖ ตำบลพลวงทอง อำเภอบอ่ ทอง
ข้อมูลทั่วไปและลกั ษณะภมู ิประเทศ
บ้านอ่างผักหนาม จัดต้ังเม่ือปี ๒๕๔๒ โดยแยกมาจากหมู่ที่ ๕ บ้านเขาพริก ตำบลพลวงทอง
ในพ้ืนที่ป่าของหมู่บ้านมีน้ำตกและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่ีมีต้นผักหนามจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ
หมู่บ้าน บ้านอ่างผักหนามอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ่อทองไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ
๒๕ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตปฏิรูปท่ีดินของรัฐ (ส.ป.ก.) ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบเชิงเขา “หน้าติดถนน หลังชนเขา” โดยมีถนนลาดยางสายหลักคือ สายเขาชะอางค์ - เขาใหญ่
และสายเขาพรกิ -ท่าตะเกียบ เป็นเส้นแบ่งเขตหมู่บ้าน และมีเทือกเขาพริก เขากลาง เขาใหญ่ ในเขตอนุรักษ์
พันธสุ์ ัตวป์ ่าเขาอ่างฤาไน เปน็ แนวแบ่งเขตกบั อำเภอทา่ ตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พนื้ ที่มคี วามอดุ มสมบรู ณ์
เหมาะกับการทำเกษตรโดยมีสาธารณูปโภคพ้ืนฐานมีทั้งชุมสายโทรศัพท์ ประปาหมู่บ้าน และไฟฟ้า
ขยายเขตซง่ึ ยังขาดซอย ๖/๑
๖๗
อาณาเขต
ทิศเหนอื ติดต่อกับ หมทู่ ี่ 6 ต.เกษตรสวุ รรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบรุ ี
และ ต.คลองตะเกรา อ.ทา่ ตะเกยี บ จ.ฉะเชงิ เทรา
ทิศใต้ ติดตอ่ กับ หมทู่ ี่ 4 และหมทู่ ่ี 5 ต.พลวงทอง
ทศิ ตะวนั ออก ติดต่อกับ ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกยี บ จ.ฉะเชิงเทรา
ทศิ ตะวันตก ติดตอ่ กับ หมู่ท่ี 5 ต.พลวงทอง อ.บอ่ ทอง จ.ชลบุรี
และหมูท่ ี่ 6 ต.เกษตรสวุ รรณ อ.บอ่ ทอง จ.ชลบรุ ี
การปกครอง สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี
บ้านอ่างผักหนามมีครัวเรือนทั้งหมด ๑๒๐ ครัวเรือน ประชากรจำนวน ๘๒๐ คน ต้ังบ้านเรือน
เป็นกลุ่ม ๆ ตามสภาพภูมิประเทศจำนวน ๗ ชุมชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณี
ตามวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ แห่เทียนพรรษา ตักบาตรเทโว ประเพณี
ลอยกระทง
ด้านสังคม คนในหมู่บ้านมีความสามัคคี ช่วยเหลือกัน รวมท้ังมีหน่วยงานราชการเข้ามาส่งเสริม
ทำให้มีการรวมกลุ่มประกอบกิจกรรมกันหลากหลาย และมีผู้นำท่ีเข้มแข็ง โดยมีบ้านของนายกองค์การ
บรหิ ารสว่ นตำบลพลวงทองอยใู่ นหมูน่ ด้ี ว้ ย
นอกจากน้ีในหมู่บ้านยังเป็นที่ต้ังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาใหญ่ สำนักสงฆ์พูล
ทรัพย์และมุตโตทัย หน่วยป้องกันรักษาป่า ชบ.๒ เขาพริก มีอาคารห้องประชุมของหมู่บ้านไว้บริการ
ประชาชน และมีองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรีและเยาวชน ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม กลมุ่ อสม. อปพร. ตำรวจชุมชนอาสา กล่มุ อาสาสมคั รพิทักษป์ า่ และชุด ชรบ.
เศรษฐกิจและอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่เข้ามาบุกเบิกพ้ืนที่ป่าเพ่ือประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยปัจจุบันมีการทำสวน
ยางพารา มันสำปะหลัง มะม่วงหิมพาน ต์ ปาล์มนำมัน สวนผลไม้ (ทุเรียน มังคุด) เล้ียงไก่ ปลา
และบางส่วนประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทั่วไป บ้านอ่างผักหนามได้รับการสนับสนุนให้เป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกจิ พอเพยี งต้นแบบ “อยเู่ ยน็ เป็นสุข” และหมู่บา้ นเขียวขจีดเี ด่น ปี 2549 โดยมีการรวมกลุ่มเศรษฐกจิ ชุมชน
เพือ่ รว่ มกันแกไ้ ขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชวี ิตของประชาชน ดังนี้
๑. กลุ่มเงินทุน ได้แก่ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน
กองทนุ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กองทุนพัฒนาเดก็ ใหพ้ ้นจนอยา่ งย่งั ยืน
๒. กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยาง กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียน โครงการปุ๋ยชีวภาพ
กลมุ่ ผูเ้ ลยี้ งสัตว์
๓. ร้านค้าชุมชน
แม้บ้านอ่างผักหนามจะมีคลองธรรมชาติ ๒ แห่ง ฝายกักเก็บน้ำท่ีสร้างขึ้น ๑ แห่ง และสระน้ำ
สาธารณะ ๒ แห่ง ขนาด ๕ และ ๗ ไร่ แต่ก็ยังประสบปัญหาน้ำการเกษตรไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในฤดูร้อน
นำ้ ในคลองจะแห้ง
๖๘
สถานการณช์ ้างปา่ บ้านอ่างผกั หนาม
ช้างป่าเร่ิมเข้ามาในพ้ืนท่ีเกษตรกรรมของบ้านอ่างผักหนามเม่ือปี 2560 โดยเส้นทางที่ช้างป่า
ออกมาหากินมี ๒ จุดหลัก ได้แก่ ชายป่าซอยอ่างผักหนาม ๓ และชายป่าซอยอ่างผักหนาม ๔ และพื้นท่ี
ใกล้เคียง โดยช้างป่าจะเคล่ือนตัวมาจากหมู่ที่ 4 บ้านเขาใหญ่ เข้ามากินพืชผลทางการเกษตรของประชาชน
โดยเฉลี่ยเขา้ มาปลี ะ 3 คร้ัง
พฤตกิ รรมของช้างป่าในการออกหากิน
ช้างป่าจะออกมาหากินในช่วงเวลา ๑๗.๐๐ น. และกลับเข้าป่าในช่วงเช้ามืด แต่ก็มีบางตัวปักหลัก
อยู่ในพื้นที่จนกว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาผลักดันเข้าป่า ในบางคร้ังเหมือนจะมีการส่งตัวแทน
ออกมาสำรวจพื้นท่ีก่อน เมื่อเจอแหล่งน้ำแหล่งอาหารก็จะส่งเสียงให้สัญญาณกับสมาชิกตัวอื่น ๆ
ในฝูงเข้ามากินน้ำกินอาหาร ช้างเหล่าน้ีจะไม่ดุร้าย ไม่ทำร้ายคน มากินพืชผลทางการเกษตรท่ีประชาชน
ปลกู ไว้เท่านนั้
ช้างป่าท่ีออกหากินในพื้นที่บ้านผักหนาม ส่วนใหญ่จะกินพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะไม้ผล
เชน่ กลว้ ย สบั ปะรด มัน และบางคร้งั ไม่มไี มผ้ ลก็จะกินยอดปาล์ม ยอดยาง
การออกหากินจะมีช้างประจำถ่ินประมาณ ๓ ตัว จะเข้าออกหมู่บ้านเป็นประจำ มากินแล้วก็กลับ
เข้าไปพักอยู่บริเวณชายป่า และช้างฝูงมากกว่า ๓๐ ตัว มากินแล้วก็เคล่ือนตัวไปเร่ือย ๆ เป็นวงรอบ
และจะเขา้ มาในพน้ื ทเ่ี กษตรกรรมมากขึน้ ในช่วงฤดูแลง้
ผลกระทบ และการเยียวยา
ช้างป่าที่ออกมาจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรจากการที่ช้างกินพืชผลทางการเกษตร
และจากเส้นทางท่ีข้างเดินผ่าน ปัจจุบันเร่ิมมีจำนวนมากขึ้นและสร้างความเสียหายกับพ้ืนท่ีการเกษตร
ของชาวบ้านมากขึ้น ซ่ึงในหมู่บ้านอ่างผักหนามมีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบแล้ว จำนวน 30 หลังคาเรือน
โดยยงั ไมเ่ คยมกี ารเยยี วยาผ้เู สียหายแต่ประการใด
สิ่งท่ีชุมชนมองว่าเป็นปัญหามากกว่าช้าง คือ ลิง (สายพันธุ์กะบุกตูดแดง) อยู่ในแนวป่าบริเวณ
ซอย 5 มีประมาณ 100 ตัว ซึ่งจะออกมาหาอาหารรบกวนชาวบ้านทุกวัน และปัญหาขาดแคลนน้ำ
โดยเฉพาะโซนเขาพริก
การป้องกัน แกไ้ ข และปรับเปล่ยี นวิถีชีวิต
1. การป้องกันด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยการให้ความรู้ในการประชุมประชาคม
ทุกวันที่ ๑๕ ของเดือน โดยเจ้าหน้าพัฒนาชุมชน จนท.อนุรักษ์ ผู้นำชุมชน มีการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าว
ให้ชาวบ้านเผ้าระวัง เมื่อมีช้างเข้ามาผ่านกลุ่มไลน์หมู่บ้าน สิ่งที่ดีท่ีสุดคือให้คนหลบเข้าที่พักเม่ือช้างมา
ไมใ่ ห้มีการปะทะกนั ผนู้ ำมีแผนทจ่ี ะจดั ทำปา้ ยเตอื นเขตชา้ งปา่ ออกหากนิ
2. มีการจัดชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน (ชรบ.) คอยเฝ้าระวัง ช่วยเตืยนภัย และผลักดันช้างป่า
(ยังไม่ได้อบรม) เม่ือมีเหตุช้างป่าลงมา ผู้นำหมู่บ้าน (ชุด ชรบ.) จะประสานแจ้งหน่วย จนท. ฐานป่าไม้
จนท. อนุรักษ์ เข้ามาร่วมผลักดัน (ช้างได้ยินเสียงรถ จนท.ก็จะหนี) โดยมีการใช้เชือกล้อม ใช้ไฟสาด
จุดระเบดิ ลูกบอลหรือปิงปองเพือ่ เตือนภัย โดยตอ้ งทดลองเปล่ยี นวิธไี ปเรอ่ื ย ๆ
3. จัดทำคูกนั ชา้ งตามแนวหมู่บา้ น ระยะทาง 7 กิโลเมตร
4. ปรับเปล่ียนวิถชี วี ิตของคน โดยปลกู พชื สมุนไพร พืชทีช่ ้างไมช่ อบ พืชผสมผสาน สรา้ งวนเกษตร
เป็นแนวกนั ชน
๖๙
ทัศนคติของคนทม่ี ตี ่อช้างปา่
คนส่วนใหญ่มีแนวคิดว่าคนและช้างก็ต้อง “อยู่ร่วมกันให้ได้” และจะอยู่อย่างไรไม่ให้กระทบกระทั่ง
และไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน โดยช้างก็ต้องอยู่ในป่า ทำให้ป่ามีน้ำและอาหารเพียงพอสำหรับช้าง
คนอยใู่ นชมุ ชน ไม่ไปลุกล้ำ แผ้วถาง ถอื ครองพื้นท่ีป่า ซ่งึ เป็นสงิ่ ท่ีทุกส่วนตอ้ งมารว่ มมอื กันดำเนนิ การ
หนว่ ยงานท่รี ว่ มดำเนนิ การ
1. หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สนง.เกษตรอำเภอ อบรมให้ความรู้
การปลูกพืชสมุนไพร แจกพันธ์ุขิง ข่า ไพร มะกรุด กระชาย สนง.ประมง สนับสนุนพันธ์ุปลานิล
จำนวน 5 ครัวเรือน ๆ ละ 2,000 ตัว สนง.ส่งเสริมบัญชีสหกรณ์ แนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน
หน่วยงานพัฒนาท่ีดิน ตรวจสอบสภาพดิน ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก การปรับปรุงดินโดยใช้ปูนมาร์ล
ปูนโดโลไมท์ หน่วยงานป่าไม้ อบรมการปอ้ งกนั ไฟปา่ และมอบอปุ กรณป์ อ้ งกันไฟป่า
2. สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอ อบรมให้ความรู้ความเข้าใจการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง
สนับสนุนการปรับเปลี่ยนอาชีพโดยมอบพันธุ์พืชสมุนไพรให้ 30 ครัวเรือน ได้แก่ ข่า กระชาย ชะอม
ทา้ วยายมอ่ ม
.................................................
บ้านคลองโค หมู่ที่ 6 ตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวดั ชลบุรี
ข้อมูลทั่วไปและลกั ษณะภูมิประเทศ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ มีราษฎรจากอำเภอใกล้เคียง ย้ายถ่ินฐานเข้ามาในพ้ืนที่เพ่ือประกอบอาชีพ
การเกษตร ปลูกพืชไร่ พืชสวน เลี้ยงสัตว์ จึงเกิดเป็นชุมชนขนาดเล็กขึ้น ในชุมชนแห่งน้ีมีคลองน้ำเล็ก ๆ อยู่
ท่วั บริเวณและมีโคแดง (โคป่า) อาศัยอยู่เปน็ จำนวนมาก ส่วนน้ำบริโภคก็ได้ขดุ บ่อเล็ก รวมท้ังเก็บกักนำ้ ฝนไว้
กนิ ตอนฤดูแล้ง ชาวบ้านแถบนั้นเรียกขานถ่ินที่อยบู่ ริเวณนวี้ า่ “คลองโค” จนถึงปัจจบุ ัน แต่เดิมหมู่บ้านคลอง
โคจะข้นึ อยูก่ ับหมู่ท่ี ๕ ตำบลเกษตรสุวรรณ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้แยกเขตการปกครองมาเป็นหมู่ท่ี ๖ ตำบล
เกษตรสุวรรณในปัจจุบัน พื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินสลับกับเขาลูกเตี้ยมีเน้ือท่ีท้ังหมดจำนวน ๑๙.๓๘๘๘
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๒,๑๑๘ ไร่ เน้ือทป่ี ระมาณ ๓๐% เปน็ เขตป่าสงวน เขตป่าคลองตะเคียน ป่า
ท่าบุญมี มีพ้ืนที่ปลูกยางประมาณร้อยละ 90 และปลูกไม้ยืนต้น ราษฎรต้ังบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็น
ชุมชนสว่ นหนงึ่ และสรา้ งบ้านกระจัดกระจายทั่วพ้นื ทกี่ ารเกษตร แยกเป็นชุมชนได้ ๓ ชุมชน ดงั น้ี
๑. ชุมชนบ้านคลองโค
๒. ชมุ ชนบ้านคลองโคใน
๓. ชุนชนเขาพริก
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกบั อำเภอท่าตะเกียบ จงั หวัดฉะเชงิ เทรา
ทิศใต้ ติดกบั หมูท่ ี่ ๕ ตำบลเกษตรสุวรรณ และตำบล พลวงทอง
ทิศตะวนั ออก ตดิ กบั หม่ทู ่ี ๖ ตำบล พลวงทอง
ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบล เกษตรสุวรรณ
๗๐
ประชากร สังคม ศาสนา และวฒั นธรรมประเพณี
บา้ นเกษตรสุวรรณ หมทู่ ่ี 6 มจี ำนวนประชาชนทง้ั หมด 678 คน เป็นชาย 350 คนและหญิง 328 คน
(ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ปี ๒๕62) และตามข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕62 ประชากร 535 คน เป็นชาย 272 คน
เป็นหญิง 263 คน มคี รัวเรือน 161 ครัวเรือน อาชพี หลัก ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ อาชพี เสรมิ รบั จ้าง
ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน ประเพณีบุญกลางบา้ น ทำบุญเข้าพรรษา /
ออกพรรษา กจิ รรมวนั เดก็
กลมุ่ เศรษฐกจิ ชมุ ชน นางสาวรสริณภ์ยฒ เกษตรมงคลชยั เปน็ ประธาน
1. กองทนุ หม่บู ้าน นางบัวเรยี น เกษตรมงคลชัย เปน็ ประธาน
2. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
3. กลุม่ การพัฒนาสตรหี ม่บู า้ น นางลำพอง ชมพร เปน็ ประธาน
4. กองทุนพฒั นาบทบาทสตรี
5. กลุม่ ผ้ใู ชน้ ้ำ นางลำพอง ชมพรม เปน็ ประธาน
นายสมศกั ดิ์ หาชติ เป็นประธาน
สถานการณ์ช้างป่าบา้ นคลองโค
พื้นที่ ต.เกษตรสุวรรณ อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี เดิมไม่มีช้างป่า และไม่เคยเห็นช้างป่ามาเดินในชุมชน
แต่เมื่อปี พ.ศ. 2559 ช้างเร่ิมเข้ามาหาอาหารในชุมชน ซ่ึงชาวบ้านได้พบรอยทางเดินของช้าง และพบเจอ
ชา้ งบ้างแต่ไม่บ่อย ช้างจะเข้ามาจำนวน 3 - 4 ตัว มาปีละ 3 คร้งั ส่วนใหญ่จะมาในช่วงฤดูแล้งและฤดูหนาว
ในหมู่บ้านมีแหล่งน้ำ 1 ไร่ จำนวน 2 จุด ส่วนใหญ่ช้างป่าจะมากินน้ำ กล้วย มะละกอ สับปะรด ถั่วฝักยาว
โดยช้างจะมีการกระจายตัวกันลงมากินพชื ที่ชาวบ้านปลูก ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเห็นร่องรอยของช้างในช่วงเช้าตรู่
เพราะตอนกลางคืนไม่กล้าออกจากบ้าน ร่องรอยท่ีพบ เช่น ขี้ช้าง รอยเท้าช้าง พืชผลของชาวบ้านที่ถูกทำลาย
ชาวบ้านจะไม่เคยพบช้างฝูงใหญ่ ๆ จะพบเพียงประมาณ 3 - 7 ตัวเท่าน้ัน และในปี พ.ศ. 2563 มีช้างเพ่ิม
จากเดมิ เล็กนอ้ ย
พฤตกิ รรมของชา้ งปา่
ช้างป่าเป็นสัตว์ที่มีความฉาด สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของชาวบ้าน และส่ิงแวดล้อมรอบข้าง
ได้อย่างรวดเร็ว ช้างป่าจะทำงานเป็นทีม โดยมีช้าง 1 - 2 ตัว ออกมาทำหน้าท่ีเป็นช้าง Survey หรือลาดตระเวร
ช้างป่าจะออกมากินอาหารที่ชาวบ้านเพาะปลูกในตอนกลางคืน และเมื่ออ่ิมก็จะเดินกลับเข้าไปในป่า โดยช้างป่า
ไม่ได้ทำร้ายคน ด้วยหมู่บ้านในตำบลเกษตรสุวรรณจะไม่ค่อยประสบเรื่องช้างป่าออกมาหาอาหารมากนัก
แต่กม็ ีการเฝา้ ระวงั กันเองในหม่บู ้าน เช่น เร่ิมมกี ารเล้ยี งสุนขั เตรยี มอปุ กรณ์ขับไล่ เชน่ ประทัดลกู บอล
ผลกระทบ และการเยยี วยา
ความเสียหายที่เกิดจากช้างป่าเข้ามากินอาหารของชาวบ้านในบ้านเกษตรสุวรรณ ค่อนข้างน้อยมาก
ในส่วนพืชผลของชาวบ้าน เพราะนาน ๆ จะมีช้างเข้ามากิน แต่มีผลกระทบด้านจิตใจเพราะคำว่า "ช้าง"
ทำให้ชาวบ้านเกิดความกลัวที่จะออกไปเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการเพาะปลูก เพราะเกรงว่าจะเจอช้างป่า
ซ่ึงไม่รู้ว่าช้างป่าจะลงมาในชุมชนวันไหน เวลาไหน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบ้านคลองโค
จึงเกิดการรวมกลุ่มอาชีพ จำนวน 5 กลุ่ม คือ กลุ่มพริกแกง กลุ่มพริกทอด กลุ่มสานไม้ไผ่ กลุ่มแปรรูปผลไม้
และกลุ่มสมุนไพร ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะนำผลผลิตในชุมชน เช่น พริก ผลไม้ สมุนไพร ที่ปลูกในชุมชนมาแปรรูป
เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับคนในชุมชนเพราะสมุนไพรเป็นพืชที่ช้างไม่ชอบกิน ในส่วนการปลูกยาง
จะมีการกรีดยางในช่วงเชา้ เพอื่ หลีกเลีย่ งในการตอ้ งเจอชา้ งในเวลากลางคืน
๗๑
การปอ้ งกนั และการปรับเปลย่ี นวถิ ชี วี ติ
ในการป้องกันและปรับเปล่ียนวิถีชีวิต เพ่ืออยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างปลอดภัย ชาวบ้านคลองโค
ได้ดำเนินการ ดงั นี้
1. เลยี้ งสุนัข เพือ่ เฝา้ บา้ น เมื่อสนุ ขั เห่าผดิ ปกติก็จะรไู้ ด้วา่ มชี า้ งป่าเข้ามาในบรเิ วณบา้ นของชาวบา้ น
2. จดุ ประทดั บอล เพ่อื โยนขับไลช่ า้ งป่าใหอ้ อกจากจากบริเวณบ้าน
3. ใช้ไฟโซลา่ เซลสอ่ งเข้าไปในสวนทำให้เกิดแสงสวา่ ง ชา้ งป่าจะไดไ้ ม่เข้ามาในสวน
4. เปล่ยี นวถิ กี ารกรดี ยางจากตอนกลางคืน เปน็ ตอนเชา้ เพื่อความปลอดภยั
5. ปลูกพชื ผกั ที่ชา้ งไมช่ อบกิน เชน่ สมุนไพรตา่ ง ๆ
6. ปลูกพชื ผกั สวนครัวไว้กนิ ใกล้ ๆ บา้ น
ทศั นคตขิ องคนทม่ี ตี ่อช้างป่า
ชาวบ้านคลองโคมองว่า การอยู่ร่วมกันของคนกับช้างป่า คือ การท่ีต่างคนต่างอยู่ ไม่ทำลายกัน
ชาวบ้านรู้ดีว่าพ้ืนที่ท่ีอยู่นั้นเป็นพื้นที่ป่า และได้กล่าวว่าคนต้องไม่บุกรุกป่า และควรสร้างแหล่งอาหาร
ท่ีสมบรู ณใ์ ห้กบั ชา้ งปา่ ในพื้นทดี่ ้านใน เช่น สร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร การปลกู ปา่ เพม่ิ เตมิ
หนว่ ยงานที่ร่วมดำเนนิ การ
หน่วยงานท่ีร่วมดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านเกษตรสุวรรณ ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชน
จังหวัด/อำเภอ ให้ความรู้ในเร่ืองการประกอบอาชพี การรวมกลุ่มอาชีพ และป่าไม้จงั หวัด หน่วยงานอนุรักษ์
จากศรีราชา จัดอบรมให้ความร้เู ร่ืองพฤติกรรมช้างป่า และการปรบั ตวั เมอ่ื เจอชา้ งป่า
-------------------------------
72
ภาคผนวก ข
73
ภาพกิจกรรม
1. กจิ กรรมสัมภาษณผ์ ู้บรหิ ารจังหวดั อำเภอ ทอ้ งถ่นิ จงั หวดั ชลบรุ ี
74
๒. กจิ กรรมสนทนากล่มุ (Focus Group) วิเคราะห์อาชีพและวางแผนพฒั นาอาชพี ดำเนนิ การใน
พืน้ ที่อำเภอบ่อทอง จงั หวัดชลบรุ ี จำนวน ๕ หมู่บ้าน ดงั นี้
หม่ทู ี่ 1 บา้ นเขา้ ห้ายอด ต.พลวงทอง
75
หมู่ที่ 2 บ้านเขาชะอางค์ ต.พลวงทอง
76
หมทู่ ่ี 4 บ้านเขาใหญ่ ต.พลวงทอง กลุ่มอาชีพ
77
หมู่ที่ 6 บ้านอา่ งผักหนาม ต.พลวงทอง
78
หมู่ที่ 6 บ้านคลองโค ต.เกษตรสวุ รรณ
79
๓. รว่ มสังเกตการณ์แบบมีส่วนรว่ มในการผลกั ดันช้างปา่
80
๔. จดั ทำแผนท่ีเดินดิน ปักหมุดหมบู่ ้าน จัดทำ TPMAP
81
5. ผลิตภณั ฑ์หมู่บ้านคนรกั ษ์ชา้ ง
82
๘๓
ทีป่ รกึ ษา
๑. นายโชคชยั แกว้ ป่อง รองอธิบดีกรมการพฒั นาชุมชน
๒. นางวไิ ลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
๓. นายจำเริญ แหวนเพ็ชร ผอู้ ำนวยการสำนกั เสริมสร้างความเขม้ แข็งชุมชน
คณะทำงานส่วนกลาง
๑. นางวรรณา ลม่ิ พานชิ ย์ นักวชิ าการพฒั นาชุมชนเช่ยี วชาญ
๒. นายรงั สรรค์ หงั สนาวนิ ผู้อำนวยการกลมุ่ งานสง่ เสรมิ การบรหิ ารจดั การชมุ ชน
๓. นางสาวธวลั รัตน์ เดชบุญมา นักวชิ าการพฒั นาชมุ ชนชำนาญการ
๔. นายไพรัตน์ จงรกั ษา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
๕. นางสาวชุตมิ า ภมู ิแก้ว นกั วิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
๖. พ.ต.อ.วุฒทิชัย มโี ชค นักวชิ าการพฒั นาชุมชนชำนาญการ
๗. นางสาวชลทชิ า เหมวรชาติ นกั วิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
คณะทำงานในพ้ืนที่
๑. สิบเอกอภิณพ มงั กรแกว้ พัฒนาการอำเภอบ่อทอง
๒. นายปรารภ คำชมุ พฒั นากรประสานงานตำบลพลวงทอง
3. นางสาววนั ทนา จวิ เจริญกาล พฒั นากรประสานงานตำบลพลวงทอง
4. นายตระกลู สวา่ งอารมณ์ กำนันตำบลพลวงทอง
5. นายเอกชัย สริ ิจำนรรจ์ ผ้ใู หญ่บา้ น หมู่ท่ี ๑ ตำบลพลวงทอง
6. นายดำรงศกั ดิ์ เฉลิมสุข ผู้ใหญบ่ า้ น หมูท่ ่ี ๒ ตำบลพลวงทอง
7. นายธงชยั พทิ กั ษว์ ศนิ ผใู้ หญ่บา้ น หมู่ท่ี ๖ ตำบลพลวงทอง
8. นางสาวรสริณภย์ ฒ เกษตรมงคลชยั ผใู้ หญ่บา้ น หมทู่ ่ี ๖ ตำบลเกษตรสมบรู ณ์
*******************************
คนรู้จักชา้ง
คนเขา้ใจชา้ง
คนรกัษช์้าง
คนอยู่ร่วมกบัชา้ง
กรมการพฒันาชุมชนกระทรวงมหาดไทย
ศูนยร์าชการเฉลมิพระเกยีรตฯิอาคารรัฐประศาสนภกัดี(อาคารB)
ชน้ั5ถนนแจง้วัฒนะหลักสี่กทม10210
โทรศพัท์0-2141-6047โทรสาร0-2143-8905-7
Emailsecr@ cdd.mail.go.th