โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อ าเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รายงานวิจ ั ยในช ั น ้ เร ี ยน การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ ของนักเร ี ยนชัน้อนุบาลปี ท ี่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รายงานโดย นางสาววิลาวรรณ์ ฤทธิ ต าแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูช านาญการพิเศษ
6 สารบัญ สารบัญ ข สารบัญตาราง ค บทที่ 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 4 สมมุติฐานการวิจัย 4 ขอบเขตในการวิจัย 4 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 7 แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย 7 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย 9 หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย 9 สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี) 10 หลักการจัดประสบการณ์ 31 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 32 ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 32 ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 33 พัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 34 การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 37 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 39 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 41 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 44 ความหมายของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 44 ความสำคัญของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 45
7 สารบัญ (ต่อ) หน้า จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 46 คุณค่าของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 47 การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 49 ประเภทของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 53 การเลือกสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 56 ปัญหาและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 59 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ 60 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 62 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 63 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 65 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 65 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 65 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 66 การเก็บรวบรวมข้อมูล 69 การวิเคราะห์ข้อมูล 74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 71 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 73 การวิเคราะห์ข้อมูล 73 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 73 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 81 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 81 สมมติฐานการวิจัย 81 สรุปผลการวิจัย 81 อภิปรายผล 83 ข้อเสนอแนะ 86
8 สารบัญ (ต่อ) หน้า บรรณานุกรม 87 ภาคผนวก 92 ภาคผนวก ก ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 93 รูปภาพประกอบ 101
9 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา “เด็กปฐมวัย” คือ วัยเริ่มต้นของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี จัดได้ว่าเป็นระยะที่สำคัญ ที่สุดของชีวิต เพราะพัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว พัฒนาการของเด็กในวัยนี้ควรได้รับการ ส่งเสริมให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา (เยาวพา เดชะคุปต์. 2555) โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสมองของเด็กในวัยนี้จะมีความเจริญเติบโตถึงร้อยละ 50 และเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 80 เมื่อมีอายุ 8 ปีถ้าเด็กได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการ ก็จะทำให้ เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรให้เด็กเรียนรู้โดยการ ปฏิบัติจริงผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กระบวนการคิด การทดลอง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2554) การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ควร จะเป็นการวางรากฐานความรู้ในด้านต่างๆ โดยเน้นการบูรณาการทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อ เด็ก โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากที่กล่าวมาข้างต้นเด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ผ่าน การจัดประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างเหมาะสมเพื่อเป็นรากฐานของการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะ ในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กล้ามเนื้อยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะมือและตายังไม่ดี ตายังมองเห็นสิ่งของเล็กๆ ได้ไม่ชัดเจน จึงไม่พร้อมทำงานที่มีรายละเอียด กระดูกยังอ่อนอาจโค้งงอเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังนั้นการพัฒนาด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยจึงมี ความสำคัญอย่างยิ่งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ได้ กำหนดคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยในข้อ 2 ซึ่งเป็น การพัฒนาด้านร่างกายว่ากล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้ อย่างคล่องแคล่วและประสานกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก ปฐมวัยเพราะ จะส่งผลต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่าง คล่องแคล่ว ยิ่งเด็กได้มีโอกาสพัฒนานิ้วมือให้ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วเพียงใดย่อมส่งเสริมพัฒนาการ ด้านสติปัญญา (กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2555) การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตประจำวัน โดยกล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นอวัยวะหนึ่งในการประกอบกิจวัตรประจำวันของตนเอง เช่น การใส่–ถอดกระดุม รูดซิป การแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้างานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน ถ้าเด็กใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้คล่องแคล่วจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ การเล่น และการจัดกิจกรรมศิลปะ ต่างๆ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความพร้อมทางมือและตามากที่สุดเด็กจะเรียนรู้อย่าง
10 สนุกสนาน เด็กจะใช้มือในการหยิบจับวัสดุต่างๆทำให้เข้าใจวิธีการใช้นิ้วจับดินสอได้อย่างถูกวิธี (พัฒนา ชัชพงษ์, 2556) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของเด็ก ปฐมวัย เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น ติดกระดุม ผูกเชือก รองเท้า เทน้าใส่แก้ว ดื่มนม รับประทานอาหาร การทำงานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน ถ้าเด็กสามารถใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว มือและสายตาทำงานได้อย่างประสานสัมพันธ์กันดี เด็กก็จะได้ทำ กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ได้อย่างสนุกสนานและประสบความสำเร็จ อีกทั้งเป็นการเตรียมกล้ามเนื้อแขน มือ และนิ้วมือสำหรับการเขียนหนังสือในระยะต่อไป เพราะหากเด็กไม่พร้อม และทำไม่ได้อย่างที่เพื่อนๆ ทำ อาจเกิดความคับข้องใจหรือ เกิดความรู้สึกล้มเหลว ทำให้ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง ซึ่งไม่เป็น ผลดีต่อการสร้างความมั่นใจในตัวเอง ในอนาคตของเด็ก ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ความสามารถ ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ให้สามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ทำงานอย่าง ประสานสัมพันธ์กัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่การที่จะให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับ การฝึกฝนให้เพียงพอและต่อเนื่อง ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ร่างกายและสมองกำลัง เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ ได้เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดของ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2555) ที่กล่าวว่าการจัดการ เรียนการสอนในระดับปฐมวัยเป็นแบบ “พหุจุดประสงค์” ซึ่งหมายถึงว่า การสอนปฐมวัยศึกษาไม่ได้มุ่ง ที่การพัฒนาสติปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการดูแล การส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กเติบโต อย่างมีคุณภาพ และมีฐานความสามารถพร้อมที่จะเรียนในระบบโรงเรียน จึงเป็นการพัฒนาและสร้าง เสริมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ตามวัย ผ่านการลงมือปฏิบัติ และการสัมผัสวัตถุสิ่งของ การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเล่นตามมุม กิจกรรมเกมการศึกษา และกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพระบายสี การปั้น การฉีก ตัด ปะ การปะดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ รุ่งรวี กนกวิบูลย์ศรี(2555) ที่กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การหาดินน้ำมันหรือแป้งโดมาปั้นเล่น จัดหากระดาษ พู่กัน สีเทียน สีไม้ เพื่อวาดภาพ ระบายสี หรืออาจเปลี่ยนกิจกรรมการวาดภาพใน กระดาษเป็นการใช้ไม้วาดบนพื้นดิน พื้นทรายในสนามหญ้าหน้าบ้านก็ได้ หรือกิจกรรมการร้อยดอกไม้ ด้วยก้านมะพร้าว ซึ่งเด็กต้องมีสมาธิ นิ้วมือต้องจับให้แน่น จับให้มั่น ต้องใช้สายตาในการเสียบดอกไม้ หรือการเล่นเครื่องเล่นประเภทเสียบต่อ เช่น พลาสติกสร้างสรรค์ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือและสายตาได้ เหมือนกัน ลักษณะของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะบูรณาการช่วงกิจกรรม สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้และการเคลื่อนไหวร่างกาย ในการควบคุมเป็นลำตัว แขน นิ้วมือให้ประสานสัมพันธ์กันกับการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ ผลงานตามความต้องการของตนเอง (สรวงพร กุศลส่ง. 2558)
11 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการผ่านงานศิลปะ เช่น การวาดภาพ การปั้น การตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ (กรมวิชาการ. 2560) นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัสดุธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบในการทำ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เช่น นำใบไม้ที่ได้จากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้กับเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่ สามารถส่งเสริมและพัฒนาการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างการใช้กล้ามเนื้อมือนิ้วมือ และ ประสาทตา ซึ่งเด็กจะได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือ ซึ่งจะส่งผลให้อวัยวะต่างๆ มี ความแข็งแรง และทำงานได้คล่องตัวขึ้นและมีทักษะในการใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วต่อไป (เลิศ อานัน ทะ. 2559) งานศิลปะที่เสร็จแล้วของเด็กจะสะท้อนความสนใจ การรับรู้ และความพร้อมของเด็กแต่ละ คนผ่านวัสดุที่เหมาะสม และยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายด้านการหยิบจับ นอกจากนี้ การฝึกกล้ามเนื้อมือดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานของทักษะทางภาษาด้านการเขียนต่อไปในอนาคต การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามารถนำวัสดุต่างๆ มาเป็นสื่อประกอบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ เพราะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปของสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย ซึ่งวัสดุเหล่านั้นจะเป็นตัวเร้าความสนใจในการทำกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับ เบญจา แสง มะลิ (2559) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีหลายประเภท แต่ละ ประเภทมีวิธีการจัดที่แตกต่างกัน และสื่อที่จะนำมาใช้สำหรับจัดกิจกรรมทางศิลปะ ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย เมล็ดพืช ข้าวเปลือก เม็ดมะขาม เส้นใยมะขาม เปลือก มะขาม ดอกไม้ พืช ผัก ผลไม้ การทำงานศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเป็นกิจกรรมที่สามารถ ส่งเสริมและพัฒนาการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างการใช้กล้ามเนื้อมือนิ้วมือ และประสาทตา ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือให้มีความแข็งแรง ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับสายตา ซึ่งเด็ก จะได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือ ซึ่งจะส่งผลให้อวัยวะต่างๆ มีความแข็งแรง และ ทำงานได้คล่องตัวขึ้นและมีทักษะในการใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วต่อไป (เลิศ อานันทนะ. 2559) งาน ศิลปะของเด็กจะสะท้อนความสนใจ การรับรู้ และความพร้อมของเด็กแต่ละคนผ่านวัสดุที่เหมาะสม และยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายด้านการหยิบจับ นอกจากนี้การฝึกกล้ามเนื้อมือ ดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานของทักษะทางภาษาด้านการเขียนต่อไปในอนาคต ด้วยความสำคัญและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำศึกษาในการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก ปฐมวัยเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษาในระดับปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุ ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อไปและยังเป็นพื้นฐานของทักษะทางภาษาด้านการเขียนต่อไปในอนาคต วัตถุประสงค์ของการวิจัย
12 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สมมุติฐานในการวิจัย หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติช่วยพัฒนาความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีระดับสูงขึ้น ขอบเขตของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย–หญิง ที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ระยะเวลาในการทดลอง การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในปีการศึกษา 2565 ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถในการบังคับใช้กล้ามเนื้อ มือ นิ้วมือ และตากับมือ โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ความคล่องตัวในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถ ความชำนาญใน การใช้มือและนิ้วมือได้อย่างคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม เช่น การหยิบ การจับ การร้อย เป็นต้น
13 ความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวนิ้ว มือและมือได้เต็มขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวนั้นๆ เช่น การคีบ การบด การหมุน การบีบ เป็นต้น ความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถใน การควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ และมือได้โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่กำหนดให้ เช่น การระบายสี การตัด การเขียน โดยไม่ให้ออกนอกเส้นที่กำหนดให้ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา หมายถึง การใช้นิ้วมือและมือปฏิบัติกิจกรรม ร่วมกับการมองเห็น 2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์หมายถึง กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่ลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาส ให้เด็กได้หยิบ จับ สัมผัส ลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์งานศิลปะที่เน้นการใช้มือและนิ้วมือประกอบในการทำ กิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อนำมาปะติด ต่อเติม หรือนำมาประกอบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็กด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็ก มือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ ให้ทำงานประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาในการทำกิจกรรม โดยจัดขึ้น ตามแผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในช่วงกิจกรรมสร้างสรรค์ 3. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชาย–หญิง กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. ครูผู้สอนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย 2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัยสามารถนำวัสดุมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการ จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 3. เป็นแนวทางให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถนำวัสดุมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในระดับชั้นปฐมวัยให้มี ประสิทธิภาพ
14 บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จังหวัดเพชรบูรณ์ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและ งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้ 1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 1.1 แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย 1.2 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย 1.3 หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย 1.4 สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี) 1.5 หลักการจัดประสบการณ์ 1.6 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.1 ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.2 ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.3 พัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.4 การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.5 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 2.6 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.1 ความหมายของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.2 คุณค่าของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.3 จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.4 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.5 หลักการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.6 ประเภทของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.7 การเลือกสื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.8 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
15 3.9 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พัฒนาขึ้นบนแนวคิดหลักสำคัญเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยถือว่าการเล่นของเด็กเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานของสมอง ผ่านสื่อที่ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมตัวเด็กมี อิทธิพลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ทั้งนี้หลักสูตรฉบับนี้มี แนวคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นต่อเนื่องในตัวมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนตลอดชีวิต พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะมีลำดับ ขั้นตอนลักษณะเดียวกัน แต่อัตราและระยะเวลาในการผ่านขั้นตอนต่างๆ อาจแตกต่างกันได้ขั้นตอน แรกๆ จะเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการขั้นต่อไป พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและ สติปัญญาแต่ละส่วนส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน เมื่อด้านหนึ่งก้าวหน้าอีกด้านหนึ่งจะก้าวหน้าตามด้วยใน ทำนองเดียวกันถ้าด้านหนึ่งด้านใดผิดปกติจะทำให้ด้านอื่นๆ ผิดปกติตามด้วย แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎี พัฒนาการด้านร่างกายอธิบายว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กมีลักษณะต่อเนื่องเป็นลำดับชั้น เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถด้านนั้นก่อน สำหรับทฤษฎีด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคมอธิบายว่า การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็ก เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความรักและความอบอุ่นเป็นพื้นฐานของความเชื่อมั่นในตนเอง เด็กที่ได้รับความรักและความอบอุ่นจะมี ความไว้วางใจในผู้อื่น เห็นคุณค่าของตนเอง จะมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตน ทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้ดีซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทฤษฎี พัฒนาการด้านสติปัญญาอธิบายว่า เด็กเกิดมาพร้อมวุฒิภาวะ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ ประสบการณ์ รวมทั้งค่านิยมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ 2. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ การเล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญใน กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วย จากการเล่นเด็กจะมี โอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ผ่อนคลายอารมณ์ และ แสดงออกของตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำ การทดลอง คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม
16 และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ดังนั้นเด็กควรมีโอกาส เล่น ปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัว และเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง 3. แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของ คนเรา เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้นั้นต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐาน การรับรู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งห้า การเชื่อมโยงต่อกันของเซลล์สมองส่วนมากเกิดขึ้นก่อน อายุ 5 ปีและปฏิสัมพันธ์แรกเริ่มระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ มีผลโดยตรงต่อการสร้างเซลล์สมองและจุดเชื่อม ต่อ โดยในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก มีการสร้างเซลล์สมองและจุดเชื่อม ต่อขึ้นมามากมาย มีการสร้างไขมันหรือมันสมองหุ้มล้อมรอบเส้นใยสมองด้วย พอเด็กอายุ3 ปี สมองจะ มีขนาดประมาณ 80 % ของสมองผู้ใหญ่ มีเซลล์สมองนับหมื่นล้านเซลล์ เซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อ เหล่านี้ยิ่งได้รับการกระตุ้นมากเท่าใด การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์สมองยิ่งมีมากขึ้นและความสามารถ ทางการคิดยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหากเด็กขาดการกระตุ้นหรือส่งเสริมจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เซลล์ สมองและจุดเชื่อมต่อที่สร้างขึ้นมาก็จะหายไป เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ขาด ความสามารถที่จะเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างๆของสมองเจริญเติบโตและเริ่มมีความสามารถในการ ทำหน้าที่ในช่วงเวลาต่างกัน จึงอธิบายได้ว่าการเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเฉพาะใน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรียกว่า”หน้าต่างของโอกาสการเรียนรู้” ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูและครูสามารถช่วย ให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาสิ่งนั้นๆได้ดีที่สุด เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้วโอกาสนั้นจะฝึกยากหรือเด็กอาจทำไม่ได้ เลย เช่น การเชื่อมโยงวงจรประสาทของการมองเห็นและรับรู้ภาพจะต้องได้รับการกระตุ้นทำงานตั้งแต่ 3 หรือ 4 เดือนแรกของชีวิตจึงจะมีพัฒนาการตามปกติ ช่วงเวลาของการเรียนภาษาคือ อายุ 3–5 ปีแรก ของชีวิต เด็กจะพูดได้ชัด คล่องและถูกต้อง โดยการพัฒนาจากการพูดเป็นคำๆ มาเป็นประโยคและเล่า เรื่องได้ เป็นต้น 4. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากกลายเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง การใช้สื่อการเรียนรู้ต้องปลอดภัยต่อตัวเด็กและเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ และความต้องการของเด็กที่หลากหลาย สื่อ ประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีสื่อทั้งที่เป็นประเภท 2 มิติและ/หรือ 3 มิติ ที่เป็น สื่อของจริง สื่อธรรมชาติสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สื่อสะท้องวัฒนธรรม สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อเพื่อพัฒนา เด็กในด้านต่างๆให้ครบทุกด้าน ทั้งนี้ สื่อต้องเอื้อให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าโดยการจัดการใช้ สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยต้องเริ่มต้นจากสื่อของจริง ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพโครงร่างและสัญลักษณ์ ตามลำดับ 5. แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เด็กเมื่อเกิดมาจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้รับอิทธิพลจากการปฏิบัติแบบดั้งเดิมตามประเพณี มรดก และความรู้ของ บรรพบุรุษ แต่ยังได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์ ค่านิยมและความเชื่อของบุคคลในครอบครัว และ
17 ชุมชนของแต่ละที่ด้วยบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็กทำให้เด็กแต่ละ คนแตกต่างกันไป ครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อ การเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ครูควรต้องเรียนรู้บริบททางสังคมและ วัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนา เกิดการเรียนรู้และอยู่ในกลุ่มคนที่มา จากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรานมีความสุข เป็นการเตรียมเด็กไปสู้สังคมในอนาคตกับ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางความคิด ความเชื่อและวัฒนธรรม เช่น ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเรื่องศาสนา ประเทศ พม่า ลาว กัมพูชาก็จะคล้ายคลึงกับคนไทยในการทำบุญตักบาตร การสวดมนต์ไหว้พระ การให้ ความเคารพพระสงฆ์ การทำบุญเลี้ยงพระ การเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณี เข้าพรรษา สำหรับประเทศมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมี วัฒนธรรมแบบอิสลาม ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนา ประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม นับถือหลายศาสนา โดยนับถือลัทธิธรรมเนียมแบบจีนเป็นหลัก เป็นต้น ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี บริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบน พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของ เด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความ เอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ตลอดจนไดรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้สอน เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็ก ปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม มี คุณภาพ และเต็มตามศักยภาพโดยมีหลักการ ดังนี้ 1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน 2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
18 3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่ หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนที่ เพียงพอ 4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข 5. สร้างความรู้ ความเข้าใจและประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับ พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย สาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ3-5 ปี) พัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตามวุฒิภาวะและสภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจเร็วหรือช้า แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน มีรายละเอียด ดังนี้ 1. พัฒนาการด้านร่างกายเป็นพัฒนาการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ของร่างกายในด้านโครงสร้างของร่างกาย ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว และด้านการมีสุขภาพ อนามัยที่ดี รวมถึงการใช้สัมผัสรับรู้ การใช้ตาและมือประสานกันในการทำกิจกรรมต่างๆ เด็กอายุ3-5 ปี มีการเจริญเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาะในเรื่องน้ำหนักและส่วนสูง กล้ามเนื้อใหญ่จะมีความก้าวหน้า มากกว่ากล้ามเนื้อเล็ก สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีมีความคล่องแคล่วว่องไวในการเดิน สามารถวิ่ง กระโดด ควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดีจึงชอบเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง พร้อมที่จะออก กำลังและเคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ ส่วนกล้ามเนื้อเล็กและความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือยังไม่ สมบูรณ์ การสัมผัสหรือการใช้มือมีความละเอียดขึ้น ใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้มากขึ้น ถ้าเด็กไม่ เครียดหรือกังวลจะสามารถทำกิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดีและนานขึ้น 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกของ เด็ก เช่นพอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ สนใจ เกียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัย และสถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและการนับถือตนเอง เด็ก อายุ 3-5 ปีจะแสดงความรู้สึกอย่างเต็มที่ไม่ปิดบัง ช่อนเร้น เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธแต่จะเกิดเพียงชั่วครู่ แล้วหายไปการที่เด็กเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่ายเพราะมีช่วงความสนใจระยะสั้น เมื่อมีสิ่งใดน่าสนใจก็จะ เปลี่ยนความสนใจไปตามสิ่งนั้น เด็กวันนี้มักหวาดกลัวสิ่งต่างๆ เช่น ความมืด หรือสัตว์ต่างๆ ความกลัว ของเด็กเกิดจากจินตนาการ ซึ่งเด็กว่าเป็นเรื่องจริงสำหรับตน เพราะยังสับสนระหว่างเรื่องปรุงแต่งและ
19 เรื่องจริง ความสามารถแสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสมกับวัย รวมถึงชื่นชม ความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น เพราะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลงและต้องการความ สนใจจากผู้อื่นมากขึ้น 3. พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมครั้งแรก ในครอบครัว โดยมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และพี่น้อง เมื่อโตขึ้นต้องไปสถานศึกษา เด็กเริ่มเรียนรู้การติดต่อ และการมีสัมพันธ์กับบุคคลนอกครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในวัยเดียวกัน เด็กได้เรียนรู้การปรับตัว ให้เข้าสังคมกับเด็กอื่นพร้อมๆ กับรู้จักร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน เจตคติและพฤติกรรมทางสังคม ของเด็กจะก่อขึ้นในวัยนี้และจะแฝงแน่นยากที่จะเปลี่ยนแปลงในวัยต่อมา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ มี 2 ลักษณะ คือลักษณะแรกนั้น เป็นความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่และ ลักษณะที่สองเป็นความสัมพันธ์กับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน 4. ด้านสติปัญญา ความคิดของเด็กวัยนี้มีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่ สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เด็กมีความคิดเพียงแต่ว่าทุกคนมองสิ่งต่างๆ รอบตัว และรู้สึกต่อสิ่ง ต่างๆ เหมือนตนเอง ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ที่สุด เมื่ออายุ 4-5 ปี เด็กสามารถโต้ตอบหรือมี ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบตัวได้ สามารถจำสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทำซ้ำกันบ่อยๆ ได้ดี เรียนรู้สิ่ง ต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการรับรู้มากกว่าการใช้ เหตุผลความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวพัฒนาอย่างรวดเร็วตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของ พัฒนาการทางภาษา เด็กวัยนี้เป็นระยะเวลาของการพัฒนาภาษาอย่างรวดเร็ว โดยมีการฝึกฝนการใช้ ภาษาจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในรูปของการพูดคุย การตอบคำถาม การเล่าเรื่อง การเล่านิทานและ การทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในสถานศึกษา เด็กปฐมวัยสามารถ ใช้ภาษาแทน ความคิดของตนและใช้ภาษาในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นได้คำพูดของเด็กวัยนี้ อาจจะทำให้ผู้ใหญ่บาง คนเข้าใจว่าเด็กรู้มากแล้วแต่ที่จริงเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของคำและเรื่องราวลึกซึ้งนัก มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย 1. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
20 มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 3. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่คาดหวังให้เด็กเกิด บนพื้นฐาน พัฒนาการตามวัยหรือความสามารถตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระ เรียนรู้ใน การจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็กโดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยเด็กมีสุขนิสัยที่ดี ตัวบ่งชี้ที่1.1 มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -น้ำหนักและส่วนสูงตาม เกณฑ์ของกรมอนามัย -น้ำหนักและส่วนสูงตาม เกณฑ์ของกรมอนามัย -น้ำหนักและส่วนสูงตาม เกณฑ์ของกรมอนามัย
21 ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ยอมรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์และดื่มน้ำที่สะอาด เมื่อมีผู้ชี้แนะ -รับประทานอาหารที่มี ประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดด้วย ตนเอง -รับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ได้หลายชนิดและดื่ม น้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง -ล้างมือก่อนรับประทาน อาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ล้างมือก่อนรับประทาน อาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมด้วยตนเอง -ล้างมือก่อนรับประทาน อาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมด้วยตนเอง -นอนพักผ่อนเป็นเวลา -นอนพักผ่อนเป็นเวลา -นอนพักผ่อนเป็นเวลา -ออกกำลังกายเป็นเวลา -ออกกำลังกายเป็นเวลา -ออกกำลังกายเป็นเวลา ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -เล่นและทำกิจกรรมอย่าง ปลอดภัยเมื่อมีผู้ชี้แนะ -เล่นและทำกิจกรรมอย่าง ปลอดภัยด้วยตนเอง -เล่นและทำกิจกรรมและ ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน สัมพันธ์กัน ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ5 ปี -เดินตามแนวที่กำหนดได้ -เดินต่อเท้าไปข้างหน้าเป็น เส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน -เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรง ได้โดยไม่ต้องกางเกง -กระโดดสองขา ขึ้นลงอยู่กับที่ ได้ -กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้ โดยไม่เสียการทรงตัว -กระโดดขาเดียว ไปข้างหน้าได้ อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว -วิ่งแล้วหยุดได้ -วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ -วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่าง สภาพที่พึงประสงค์
22 อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี คล่องแคล่ว -รับลูกบอลโดยใช้มือและลำตัว ช่วย -รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง ข้าง -รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้น ได้ ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ใช้มือ-ตาประสานสัมพันธ์กัน สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ใช้กรรไกรตัดกระดาขาดจาก กันได้โดยใช้มือเดียว -ใช้กรรไกรตัดกระดาษตาม แนวเส้นตรงได้ -ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนว เส้นโค้งได้ -เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ -เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ อย่างมีมุมชัดเจน -เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ อย่างมีมุมชัดเจน -ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๑ ซม.ได้ -ร้อยวัสดุที่มีรูจนาดเส้นผ่าน ศูนย์ ๐.๕ ซม.ได้ -ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง๐.๒๕ ซม.ได้ ๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข ตัวบ่งชี้ที่3.1 แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้ เหมาะสมกับบางสถานการณ์ -แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้ตาม สถานการณ์ -แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้ สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4ปี อายุ 5 ปี -กล้าพูดกล้าแสดงออก -กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่าง เหมาะสมบางสถานการณ์ -กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ตามสถานการณ์ -แสดงความพอใจในผลงาน ตนเอง -แสดงความพอใจในผลงานและ ความสามารถของตนเอง -แสดงความพอใจในผลงานและ ความสามารถของตนเองและผู้อื่น
23 มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจและมีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -สนใจและมีความสุขและแสดงออก ผ่านงานศิลปะ -สนใจและมีความสุขและ แสดงออกผ่านงานศิลปะ -สนใจและมีความสุขและ แสดงออกผ่านงานศิลปะ -สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่าน เสียงเพลงดนตรี -สนใจ มีความสุขและแสดงออก ผ่านเสียงเพลงดนตรี -สนใจ มีความสุขและแสดงออก ผ่านเสียงเพลงดนตรี -สนใจ มีความสุขและแสดงท่าทาง/ เคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและ ดนตรี -สนใจ มีความสุขและแสดง ท่าทาง/เคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและ ดนตรี -สนใจ มีความสุขและแสดง ท่าทาง/เคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและ ดนตรี มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ซื่อสัตย์สุจริต สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -บอกหรือชี้ได้ว่าสิ่งใดเป็นของตนเอง และสิ่งใดเป็นของผู้อื่น - ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อ ต้องการสิ่งของของผู้อื่นเมื่อมีผู้ชี้แนะ - ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อ ต้องการสิ่งของของผู้อื่นด้วยตนเอง ตัวบ่งชี้ที่5.2 มีความเมตตา กรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ4 ปี อายุ 5 ปี -แสดงความรักเพื่อนและมีเมตตาสัตว์ เลี้ยง -แสดงความรักเพื่อนและมี เมตตาสัตว์เลี้ยง -แสดงความรักเพื่อนและมีเมตตา สัตว์เลี้ยง -แบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นได้เมื่อมีผู้ ชี้แนะ -ช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่นได้ เมื่อมีผู้ชี้แนะ -ช่วยเหลือและแบ่งปันผู้อื่นได้ด้วย ตนเอง
24 ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ ความรู้สึกผู้อื่น -แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ ความรู้สึกผู้อื่น -แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ ความรู้สึกผู้อื่นอย่างสอดคล้องกบ สถานการณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 มีความรับผิดชอบ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ5 ปี -ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เมื่อมีผู้ช่วยเหลือ -ทำงานที่ได้รับมอบหมายจน สำเร็จเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ทำงานที่ได้รับมอบหมายจน สำเร็จด้วยตนเอง ๓.พัฒนาการด้านสังคม มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สภาพที่พึงประสงค์ อายุ ๓ ปี อายุ ๔ ปี อายุ ๕ ปี - แต่งตัวโดยมีผู้ช่วยเหลือ - แต่งตัวด้วยตนเอง - แต่งตัวด้วยตนเองได้อย่าง คล่องแคล่ว - รับประทานอาหารด้วยตนเอง -รับประทานอาหารด้วยตนเอง - รับประทานอาหารด้วยตนเอง อย่างถูกวิธี -ใช้ห้องน้ำห้องส้วมโดยมีผู้ช่วยเหลือ -ใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง -ใช้และทำความสะอาดหลังใช้ ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง
25 ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 มีวินัยในตนอง สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -เก็บของเล่นของใช้เข้าที่เมื่อมีผู้ ชี้แนะ -เก็บของเล่นของใช้เข้าที่ด้วย ตนเอง -เก็บของเล่นของใช้เข้าที่อย่าง เรียบร้อยด้วยตนเอง -เข้าแถวตาลำดับก่อนหลังได้เมื่อมีผู้ ชี้แนะ -เข้าแถวตาลำดับก่อนหลังได้ ด้วยตนเอง -เข้าแถวตาลำดับก่อนหลังได้ด้วย ตนเอง ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ประหยัดและพอเพียง สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและ พอเพียงเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่าง ประหยัดและพอเพียงเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัด และพอเพียงด้วยตนเอง มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ4 ปี อายุ 5 ปี -มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเมื่อมีผู้ชี้แนะ -มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเมื่อมีผู้ ชี้แนะ -มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง -ทิ้งขยะได้ถูกที่ -ทิ้งขยะได้ถูกที่ -ทิ้งขยะได้ถูกที่
26 ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ เมื่อมีผู้ ชี้แนะ -ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ ด้วยตนเอง -ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ ตาม กาลเทศะ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -กล่าวคำขอบคุณและขอโทษเมื่อมีผู้ ชี้แนะ -กล่าวคำขอบคุณและขอโทษ ด้วยตนเอง -กล่าวคำขอบคุณและขอโทษด้วย ตนเอง -หยุดเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยและ เพลงสรรเสริญพระบารมี -หยุดเมื่อได้ยินเพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมี -ยืนตรงและร่วมร้องเพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระมารมี มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวบ่งชี้ที่8.1 ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ4 ปี อายุ 5 ปี -เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ แตกต่างไปจากตน -เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับ กลุ่มเด็กที่แตกต่างไปจากตน -เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่ แตกต่างไปจากตน
27 ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ5 ปี -เล่นร่วมกับเพื่อน -เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อน เป็นกลุ่ม -เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อน อย่างมีเป้าหมาย -ยิ้มหรือทักทายผู้ใหญ่และบุคคลที่ คุ้นเคยเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ยิ้มหรือทักทายหรือพูดคุยกับ ผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้ด้วย ตนเอง -ยิ้มหรือทักทายหรือพูดคุยกับ ผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้เหมาะสม กับสถานการณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 ปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมีผู้ชี้แนะ -มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและ ปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมีผู้ชี้แนะ -มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและ ปฏิบัติตามข้อตกลงด้วยตนเอง -ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามเมื่อมีผู้ ชี้แนะ -ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ ดีได้ด้วยตนเอง -ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้ เหมาะสมกับสถานการณ์ -ยอมรับการประนีประนอมแก้ไข ปัญหาเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดย ปราศจากการใช้ความรุนแรงเมื่อมีผู้ ชี้แนะ -ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดย ปราศจากการใช้ความรุนแรงด้วย ตนเอง
28 5. ด้านสติปัญญา มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ฟังผู้อื่นพูดจนจบและโต้ตอบ เกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง -ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนา โต้ตอบสอดคล้องกับเรื่องที่ฟัง -ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนา โต้ตอบอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่อง ที่ฟัง -เล่า เรื่องด้วยประโยคสั้นๆ -เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่าง ต่อเนื่อง -เล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้ ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 อ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -อ่านภาพ และพูดข้อความด้วยภาษา ของตน -อ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้งชี้ หรือกวาดตามองข้อความ ตามบรรทัด -อ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ ด้วย การชี้ หรือกวาดตามองจุดเริ่มต้นและ จุดจบของข้อความ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -เขียนขีด เขี่ย อย่างมีทิศทาง -เขียนคล้ายตัวอักษร -เขียนชื่อของตนเอง ตามแบบ เขียนข้อความด้วยวิธีที่คิดขึ้นเอง
29 มาตรฐานที่10๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -บอกลักษณะของสิ่งของต่างๆจาก การสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส -บอกลักษณะและส่วนประกอบ ของสิ่งของต่างๆจากการสังเกตโดย ใช้ประสาทสัมผัส -บอกลักษณะ ส่วนประกอบ การ เปลี่ยนแปลง หรือความสัมพันธ์ของ สิ่งของต่างๆจากการสังเกตโดยใช้ ประสาทสัมผัส -จับคู่หรือเปรียบเทียบสิ่งต่างๆโดยใช้ ลักษณะหรือหน้าที่การงานเพียงลักษณะ เดียว -จับคู่และเปรียบเทียบความ แตกต่างหรือความเหมือนของสิ่ง ต่างๆโดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบเพียง ลักษณะเดียว -จับคู่และเปรียบเทียบความ แตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบสองลักษณะ ขึ้นไป -คัดแยกสิ่งต่างๆตามลักษณะหรือ หน้าที่การใช้งาน -จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆโดย ใช้อย่างน้อยหนึ่งลักษณะเป็นเกณฑ์ -จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆโดย ใช้ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไปเป็นเกณฑ์ -เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ อย่างน้อย ๓ ลำดับ -เรียงลำดับสิ่งของหรือ เหตุการณ์อย่างน้อย ๔ ลำดับ -เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ อย่างน้อย ๕ ลำดับ ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ระบุผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือ การกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ -ระบุสาเหตุหรือผลที่เกิดขึ้นใน เหตุการณ์หรือ การกระทำเมื่อมีผู้ ชี้แนะ -อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่ เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ ด้วยตนเอง
30 สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -คาดเดา หรือ คาดคะเนสิ่งที่อาจ เกิดขึ้น -คาดเดา หรือคาดคะเนสิ่งที่ อาจจะเกิดขึ้น หรือมีส่วนร่วมในการ ลงความเห็นจากข้อมูล -คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และ มีส่วนร่วมในการลงความเห็นจาก ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ตัวบ่งชี้ที่ 10.3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ -ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆและเริ่ม เรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น -ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆและยอมรับ ผลที่เกิดขึ้น -แก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก -ระบุปัญหา และแก้ปัญหาโดย ลองผิดลองถูก -ระบุปัญหาสร้างทางเลือกและ เลือกวิธีแก้ปัญหา มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตัวบ่งชี้ที่ 11.1 เล่น/ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเอง -สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการ ดัดแปลงและแปลกใหม่จากเดิมหรือมี รายละเอียดเพิ่มขึ้น -สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมี การดัดแปลงและแปลกใหม่จากเดิม และมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
31 ตัวบ่งชี้ที่ 11.2 แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเอง -เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเอง อย่างหลากหลายหรือแปลกใหม่ -เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสาร ความคิด ความรู้สึกของตนเอง อย่างหลากหลายและแปลกใหม่ มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้ เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 12.1 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ4 ปี อายุ 5 ปี -สนใจฟังหรืออ่านหนังสือด้วย ตนเอง -สนใจซักถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์ หรือตัวหนังสือที่พบเห็น -หยิบหนังสือมาอ่านและเขียนสื่อ ความคิดด้วยตนเองเป็นประจำอย่าง ต่อเนื่อง -กระตือรือร้นในการเข้าร่วม กิจกรรม -กระตือรือร้นในการเข้าร่วม กิจกรรม -กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม ตั้งแต่ต้นจนจบ ตัวบ่งชี้ที่ 12.2 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ สภาพที่พึงประสงค์ อายุ 3 ปี อายุ 4 ปี อายุ 5 ปี -ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการที่มีผู้ชี้แนะ -ค้นหาคำตอบของข้อสงสัย ต่างๆ ตามวิธีการของตนเอง -ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการที่หลากหลายด้วยตนเอง -เชื่อมโยงคำถา “อะไร” ในการ ค้นหาคำตอบ -ใช้ประโยคคำถามว่า “ที่ไหน” “ทำไม” ในการค้นหาคำตอบ -ใช้ประโยคคำถามว่า “เมื่อไร” อย่างไร” ในการค้นหาคำตอบ
32 การจัดเวลาเรียน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดกรอบโครงสร้างเวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก 1-3 ปี การศึกษาโดยประมาณ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กที่เริ่มเข้าสถานศึกษาหรือสถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย เวลาเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 180 วันต่อ 1 ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมงโดยสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามบริบท ของสถานศึกษาและสถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย สาระการเรียนรู้รายปี สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กเพื่อส่งเสริม พัฒนาการทุกด้าน ให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรที่กำหนด ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและ สาระที่ควรเรียนรู้ ดังนี้ 1. ประสบการณ์สำคัญ ประสบการณ์สำคัญเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนไปใช้ในการออกแบบการจัด ประสบการณ์ ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการครอบคลุมทุกด้าน ดังนี้ 1.1 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้ เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อ และระบบประสาท ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆและสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแล สุขภาพและสุขอนามัย และการรักษาความปลอดภัย ดังนี้ การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ 1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ 2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 3. การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์ 4. การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการ ขว้าง การจับ การโยน การเตะ 5. การเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ การใช้กล้ามเนื้อเล็ก 1. การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสและการสร้างจากแท่งไม้ บล็อก 2. การเขียนภาพและการเล่นกับสี
33 3. การปั้น 4. การประดิษฐ์สิ่งต่างๆด้วย เศษวัสดุ 5. การหยิบจับ การใช้กรรไกร การฉีก การตัด การปะ และการร้อยวัสดุ การรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัว 1. การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน การรักษาความปลอดภัย 1. การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในกิจวัตรประจำวัน 2. การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัย 3. การเล่นเครื่องเล่นอย่างปลอดภัย 4. การเล่นบทบาทสมมติเหตุการณ์ต่างๆ การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง 1. การเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่ 2. การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวาง 1.2 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการสนับสนุนให้เด็ก ได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะที่ เป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ สุนทรียภาพดนตรี 1. การฟังเพลง การร้องเพลง และการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี 2. การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี 3. การเล่นบทบาทสมมติ 4. การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ 5. การสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม การเล่น 1. การเล่นอิสระ
34 2. การเล่นรายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ 3. การเล่นตามมุมประสบการณ์ 4. การเล่นนอกห้องเรียน คุณธรรม จริยธรรม 1. การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ 2. การฟังนิทานเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม 3. การร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม การแสดงออกทางอารมณ์ 1. การสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น 2. การเล่นบทบาทสมมติ 3. การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี 4. การร้องเพลง 5. การทำงานศิลปะ การมีอัตลักษณ์เฉพาะตนและเชื่อว่าตนเองมีความสามารถ 1. การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆตามความสามารถของตนเอง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 1. การแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข เห็นอกเห็นใจเมื่อผู้อื่นเศร้าหรือ เสียใจ และการช่วยเหลือปลอบโยนเมื่อผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ 1.3 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาส ปฏิสัมพันธ์กับบุคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 1. การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน 2. การปฏิบัติตนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียน 2. การทำงานศิลปะที่ใช้วัสดุหรือสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปแล้วนำ
35 กลับมาใช้ใหม่ 3. การเพาะปลูกและดูแลต้นไม้ 4. การเลี้ยงสัตว์ 5. การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน ชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและความเป็นไทย 1. การเล่นบทบาทสมมุติการปฏิบัติตนในความเป็นคนไทย 2. การปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและประเพณีไทย 3. การประกอบอาหารไทย 4. การศึกษานอกสถานที่ 5. การละเล่นพื้นบ้านของไทย การมีปฏิสัมพันธ์มีวินัย มีสวนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม 1. การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน 2. การปฏิบัติตนเป็นสมาชิที่ดีของห้องเรียน 3. การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ 4. การดูแลห้องเรียนร่วมกัน 5. การร่วมกิจกรรมวันสำคัญ การเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ 1. การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2. การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น 3. การทำศิลปะแบบร่วมมือ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง 1. การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา 2. การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล 1. การเล่นหรือ ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน 1.4 ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้ เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้
36 ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป การใช้ภาษา 1. การฟังเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม 2. การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ 3. การฟังเพลง นิทาน คำคล้องจอง บทร้อยกรงหรือเรื่องราวต่างๆ 4. การแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการ 5. การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือพูดเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับตนเอง 6. การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ 7. การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น และการกระทำต่างๆ 8. การรอจังหวะที่เหมาะสมในการพูด 9. การพูดเรียงลำดับเพื่อใช้ในการสื่อสาร 10. การอ่านหนังสือภาพ นิทาน หลากหลายประเภท/รูปแบบ 11. การอ่านอิสระตามลำพัง การอ่านร่วมกัน การอ่านโดยมีผู้ชี้แนะ 12. การเห็นแบบอย่างของการอ่านที่ถูกต้อง 13. การสังเกตทิศทางการอ่านตัวอักษร คำ และข้อความ 14. การอ่านและชี้ข้อความ โดยกวาดสายตาตามบรรทัดจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง 15. การสังเกตตัวอักษรในชื่อของตน หรือคำคุ้นเคย 16. การสังเกตตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำผ่านการอ่านหรือเขียนของผู้ใหญ่ 17. การคาดเดาคำ วลี หรือประโยค ที่มีโครงสร้างซ้ำๆกัน จากนิทาน เพลง คำคล้องจอง 18. การเล่นเกมทางภาษา 19. การเห็นแบบอย่างของการเขียนที่ถูกต้อง 20. การเขียนร่วมกันตามโอกาส และการเขียนอิสระ
37 21. การเขียนคำที่มีความหมายกับตัวเด็ก/คำคุ้นเคย 22. การคิดสะกดคำและเขียนเพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองอย่างอิสระ การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและแก้ปัญหา 1. การสังเกตลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของ สิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสอย่างเหมาะสม 2. การสังเกตสิ่งต่างๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่างกัน 3. การบอกและแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆด้วยการ กระทำ ภาพวาด ภาพถ่าย และรูปภาพ 4. การเล่นกับสื่อต่างๆที่เป็นทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย 5. การคัดแยก การจัดกลุ่ม และการจำแนกสิ่งต่างๆตามลักษณะและรูปร่าง รูปทรง 6. การต่อของชิ้นเล็กเติมในชิ้นใหญ่ให้สมบูรณ์ และการแยกชิ้นส่วน 7. การทำซ้ำ การต่อเติม และการสร้างแบบรูป 8. การนับและแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน 9. การเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนของสิ่งต่างๆ 10. การรวมและการแยกสิ่งต่างๆ 11. การบอกและแสดงอันดับที่ของสิ่งต่างๆ 12. การชั่ง ตวง วัดสิ่งต่างๆโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน 13. การจับคู่ การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ สิ่งต่างๆ ตามลักษณะ ความยาว/ความสูงน้ำหนัก ปริมาตร 14. การบอกและเรียงลำดับกิจกรรมหรือเหตูการณ์ตามช่วงเวลา 15. การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน 16. การอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ 17. การคาดเดาหรือการคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล 18. การมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล 19. การตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา
38 จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 1. การรับรู้ และแสดงความคิดความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่น และชิ้นงาน 2. การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านภาษา ท่าทาง การเคลื่อนไหว และศิลปะ 3. การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้รูปร่างรูปทรงจากวัสดุที่หลากหลาย เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ 1. การสำรวจสิ่งต่างๆ และแหล่งเรียนรู้รอบตัว 2. การตั้งคำถามในเรื่องที่สนใจ 3. การสืบเสาะหาความรู้เพื่อค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ 4. การมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากการสืบเสาะหา ความรู้ในรูปแบบต่างๆและแผนภูมิอย่างง่าย สาระที่ควรเรียนรู้ สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้ เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระการเรียนรู้นั้น ๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็ก เพื่อให้บรรลุจัดหมายที่ กำหนดไว้ทั้งนี้ ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา ครูสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความ ต้องการ และความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญ ทั้งนี้ อาจยืดหยุ่นเนื้อหา ได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ดังนี้ 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การ ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามลำพังหรือกับผู้อื่น การตระหนักรู้เกี่ยวกับ ตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การ แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนาธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของ ชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น อื่นๆ
39 3. ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การ เปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพ อากาศ ภัยธรรมชาติ แรง และพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการรักษาสาธารณสมบัติ 4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายใน ชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม หลักการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3–6 ปีเป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณา การผ่านการเล่น การลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้ 1. หลักการจัดประสบการณ์ 1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้หลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดย องค์รวมอย่างสมดุลและต่อเนื่อง 2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่ 3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และ พัฒนาการของเด็ก 4. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วน หนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง 5. ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา เด็ก
40 2. แนวทางการจัดประสบการณ์ 1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของ สมองที่เหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือ กระทำเรียนรู้ผ่านประสาสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหา ด้วยตนเอง 3. จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรมทักษะและสาระ การเรียนรู้ 4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่มคิด วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและ นำเสนอความคิดโดยครูหรือผู้จัดประสบการณ์เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับ เด็ก 5. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นกับผู้ใหญ่ ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบ ร่วมมือในลักษณะต่างๆกัน 6. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรี่หลากหลาย และอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก 7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 8. จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่ดีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้น ในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ 9. จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็ก และการวิจัยในชั้นเรียน 10. จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมทั้ง การวางแผน การสนับสนุนสื่อแหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถในการบังคับใช้ กล้ามเนื้อ มือ นิ้วมือ และประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว มั่นคง มีผู้ให้ความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กไว้ดังนี้
41 อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล (2561) กล่าวว่า กล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทำงาน ละเอียด ที่ไม่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่นิ้วมือ โดยต้อง ทางานสัมพันธ์กับสายตาด้วย นภเนตร ธรรมบวร (2558) กล่าวว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นความสามารถ ในการบังคับกล้ามเนื้อเล็กส่วนต่างๆ ให้ทางานประสานกัน เช่น ตากับมือ นิ้วมือ ได้แก่ การวาด ภาพ การลากเส้น การตัดกระดาษ การร้อยลูกปัด และการลากเส้นตามรอยปะ เป็นต้น กุลยา ตันติผลาชีวะ (2555) กล่าวว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง การ สร้างเสริมความสามารถในการหยิบ จับ คัดเขียน และทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือ ฝ่ามือ และ ข้อต่อ ฟรอส์ทและคิศชิงเจอร์(เยาวพา เดชะคุปต์.2555 อ้างอิงจาก Fros & Kissinger.1974) กล่าว ว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือ และตาเกี่ยวข้องกับทักษะต่างๆ ในการช่วยเหลือตนเอง เช่น การติดกระดุม รับลูกบอลที่กระเดาะเพียง ครั้งเดียว จากการศึกษาความหมายของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กข้างต้น สรุปได้ว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็ก หมายถึง ความสามารถในการบังคับควบคุมการเคลื่อนไหว ของ นิ้วมือ กล้ามเนื้อมือ ไหล่ ให้ประสานสัมพันธ์กับสายตาและประสาทสัมผัสทั้งห้าทำงานประสานกัน อย่าง เป็นอย่างดีในการเคลื่อนไหวต่างๆ กล้ามเนื้อที่ใช้ในการทำงานที่มีความละเอียด ที่ไม่ต้องอาศัย การเคลื่อนที่ของร่างกาย เช่น การทำกิจกรรมวาดภาพระบายสีปั้นดินน้ามัน ร้อยลูกปัด ตอกเข็ม ต่อไม้ บล็อก การร้อยเชือก การติดกระดุม เป็นต้น ทำให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ และรวมถึงการช่วยเหลือ ตนเองในการทำกิจวัตรประจาวันได้อย่างคล่องแคล่ว และมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล (2561) กล่าวว่า กล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นอวัยวะที่สำคัญหนึ่งในการ ประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การใส่ถอดกระดุมหลุด การแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้า งานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้คล่องแคล่ว จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เพราะ กล้ามเนื้อมัดเล็กมีส่วนทำให้เด็กได้ใช้มือสำรวจ สังเกตจากการสัมผัสจับต้องในทุกๆ กิจกรรม เกียรติกมล อมาตยกุล (2559) กล่าวว่า ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็ก คือ มือของคนเราคือฐานของสมองผู้ที่ได้รับการบริหารมือมาตั้งแต่เด็กๆ จะเป็นผู้ที่มีสมองดีมี ความคิดฉับไว การฝึกฝนความคล่องแคล่ว ว่องไว
42 กุลยา ตันติผลาชีวะ (2555) กล่าวว่า การส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นการพัฒนา กล้ามเนื้อมือที่มีความสำคัญต่อเด็กมาก เพราะเด็กต้องใช้มือในการทำกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเขียน หนังสือ การจัดกระทำ หยิบ จับ ปั้นแต่งสิ่งต่างๆ จรัล คำภารัตน์ (2559) กล่าวว่า ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ ในขณะที่เด็กกำลังลากเส้นในลักษณะขีดเขี่ยไปมานั้นสมองของเด็กได้จินตนาการที่ไร้ขอบเขต และทำให้ กล้ามเนื้อมือและประสาทตามีความสัมพันธ์กัน พัฒนา ชัชพงศ์(2556) กล่าวว่า ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กไว้คือ การพัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือให้แข็งแรง เด็กก็พร้อมที่จะลาก ลีลามือ ซึ่งเป็นพื้นฐานการของการเขียน แลนเดอร์ (Lander) (2006) กล่าวว่า ความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อตาและมือจะทำให้สามารถพัฒนาทักษะในการเขียน การวาด และการจับวัตถุเล็กๆ หรืออุปกรณ์ เด็กก่อนวัยเรียนเรียนรู้ที่จะจับต้องวัตถุผ่านกระบวนการมอง ซึ่งจะ บอกเขาให้ทำหรือไม่ทำอะไรที่เด็กกำลังทำกับวัตถุ จากการศึกษาความสำคัญของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กข้างต้น สรุปได้ว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญต่อเด็ก กล่าวคือ กล้ามเนื้อมัดเล็ก เป็นอวัยวะที่ สำคัญ ในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ ตา สัมพันธ์กันจะทำให้เด็กสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และสามารถพัฒนาทักษะการเขียน พัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯสหประชาชาติ(2559) กล่าวถึง พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยแบ่งตามความสามารถ ตามช่วงวัย แรกเกิดถึง 6 ขวบ สำหรับวัย 2-6 ขวบ ดังนี้ อายุ2-3 ขวบ รู้จักแต่งตัวและเลือกเสื้อผ้าได้เอง เขียนรูปหัวและตัวหรืออาจส่วนอื่นๆ ของร่างกายสามารถทำงานง่ายๆ ได้ อายุ4-5 ขวบ เขียนรูปมีหัว มีตัว มีส่วนต่างๆ ของรูปร่างที่สำคัญๆ ได้เขียนรูปสี่เหลี่ยม หรือ สามเหลี่ยมตามแบบได้ อายุ6 ขวบ สามารถรับลูกบอลที่โยนมาให้จากระยะไกล 1 เมตร เขียนรูปหัว มีตัว มี ขา แขน และมือได้ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2555) กล่าวถึง พัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็ก ขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาวุฒิภาวะของสมองที่เป็นไปตามวัย โดยพัฒนาจากต้นแขนไปสู่ปลายแขนหรือ จากต้นไปสู่ปลาย ดังนี้
43 อายุ1 ปีสามารถใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้แต่ยังไม่คล่อง จึงกำสิ่งของทั้งมือ และลากเส้น เป็นแนวตั้งจากบนลงล่างขึ้นๆ ลงๆ ได้ อายุ2 ปีขึ้นไป สามารถเขียนโดยลากเส้นตามแนวนอนสลับซ้ายขวาได้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2557) กล่าวถึง พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็กของเด็กปฐมวัย ดังนี้ เด็กวัย 3 ขวบ ต่อแท่งไม้สีเหลี่ยมได้สูงถึง 9-10 อัน เขียนวงกลมได้แต่ยังวาดรูปคน ไม่ได้ เด็กวัยประมาณ 4-6 ขวบ การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กวัยนี้จึงมีความสามารถ แต่งตัว เองได้หวีผม แปรงฟัน ล้างหน้า ใส่รองเท้า ผูกเชือกรองเท้าได้ช่วยทำงานเล็กๆ น้อยๆ ได้ ความสามรถในการเรียนดีขึ้น เด็กวัย 5 ขวบ เรียนรู้สามเหลี่ยมได้เด็กวัย 6 ขวบ เขียนรูสีเหลี่ยมขนมเปียกปูนได้ การวาดรูปคนก็ต่อเติมมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นจนเป็นรูปร่างคนครบบริบูรณ์ขึ้น อธิษฐาน พลศิลป์ศักดิ์ สมาคมสหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย (2555) กล่าวถึง พัฒนาการความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ดังนี้ เมื่ออายุ3-4 ขวบ จะเริ่มใช้ช้อนป้อนอาหารเองได้ เมื่ออายุ5-6 ขวบ จะขว้างรับลูกบอลได้คล่องแคล่ว พัฒนา ชัชพงศ์(2556) กล่าวถึง พัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กไว้ดังนี้ อายุ3 ปีสามารถหยิบเศษผงโดยปิดตาข้างหนึ่งได้ตัดกระดาษด้วยกรรไกร ได้วางบล็อก 3 ชิ้น เป็นสะพานได้ควบคุมดินสอให้อยู่ระหว่างหัวแม่มือและนิ้วมืออีกสองนิ้วได้เขียน วงกลมทับตาม แบบและอักษรได้วาดรูปโดยมีศีรษะและอาจมีส่วนอื่นของร่างกายอีกสักสองอย่าง อายุ4 ขวบสามารถปิดตาข้างเดียวหยิบและวางเศษผงหรือวัสดุเล็กๆ ไว้ที่เดิมได้ร้อย ลูกปัด ได้แต่ยังร้อยรูเข็มไม่ได้ต่อบล็อกเป็นหอคอย 10 ชั้นได้จัดบล็อก 6 อันเรียงเป็นบันไดได้3 ชั้น ได้กดหัวแม่มือลงบนนิ้วแต่ละนิ้วได้ตามตัวอย่าง จับดินสอได้อย่างเด็กโต เขียนทับกากบาทและเขียน ตัวหนังสือที่ง่ายๆบางตัว เช่น ง บ ป ได้วาดรูปคนมีศีรษะและขาอาจจะมีแขนและลำตัวด้วย อายุ5 ปีสามารถร้อยรูเข็มได้นำบล็อกมาเรียงเป็นบันได 3-4 ขั้น เขียนทับรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัส (ต่อมารูสามเหลี่ยม) และตัวอักษรบางตัวได้อักษรบางตัวเขียนได้โดยไม่ต้องมีคนบอก วาดรูปคน โดยเริ่มต้นที่ลำตัวก่อนแล้วจึงวาดศีรษะ แขน ขาและหน้าตา และยังวาดบ้านพร้อมหลังคามีหน้าต่าง ประตูปล่องไฟได้ด้วย ระบายสีภาพและความระมัดระวัง สรุปพัฒนาการด้านความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็กของเด็กวัยต่างๆ จากของกีเซลไว้ ดังนี้ อายุ3 ขวบ 1. ต่อก้อนไม้ได้สูง 9 ก้อน
44 2. ต่อก้อนไม้เป็นรูปสะพานได้ 3. หยิบลูกกวาดใส่ขวดได้10 เม็ด ในเวลา 30 วินาที 4. เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ 5. เขียนรูปกากบาทได้ 6. จัดรูปเหลี่ยมใส่ช่องทำได้ถูกตามแบบ 7. กินอาหารได้เองโดยไม่หกเลอะเทอะ 8. รินน้ำจากเหยือกได้ 9. ใส่รองเท้าได้เอง 10. ใส่เสื้อที่ไม่มีกระดุมได้ อายุ4 ขวบ 1. เลียนแบบวางก้อนไม้เป็นรูปประตูได้ 2. วาดรูปคนมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน 3. วาดรูปกากบาท 4. พับกระดาษได้3 ทบ (ตามแบบ) 5. ล้างหน้า ล้างมือ และแปรงฟันได้เอง 6. ใส่เสื้อผ้าและถอดได้เองเฉพาะชั้นนอก อายุ5 ขวบ 1. ต่อก้อนไม้ทำขั้นบันไดได้2 ขั้น 2. วาดรูปสามเหลี่ยมเหมือนแบบ 3. แต่งตัวและถอดเสื้อผ้าได้เอง โดยไม่ต้องช่วยเหลือ อายุ6 ขวบ 1. เล่นต่อก้อนไม้ทำบันไดได้3 ขั้น 2. วาดรูปคนมีส่วนคอ มือและใส่เสื้อผ้า 3. แต่งตัวและผูกเชือกรองเท้าได้ จากการศึกษาพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กข้างต้น สรุปได้ว่า พัฒนาการ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กนั้นจะมีพัฒนาการเป็นไปอย่างมีระบบตามช่วงอายุของเด็กแต่ ละวัย ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กควบคู่ไปกับกล้ามเนื้อใหญ่ และระดับสติปัญญาตาม วุฒิภาวะของสมองที่เป็นไปตามวัย
45 การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก พรมารินทร์ สุทธิจิตตะ (2559) กล่าวว่า กิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีคือกิจกรรม สร้างสรรค์ทางศิลปะ เพราะเป็นกิจกรรมที่เหมาะกับความสนใจ ความสามารถ อีกทั้งยังสอดคล้องกับ หลักการพัฒนาการของเด็กทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อมือและตาสัมพันธ์กัน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียน เขียน อ่าน กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กมิได้มีจุดมุ่งหมายให้ทำงานเพื่อสวยงาม แต่ต้องการช่วยพัฒนา กล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง การฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนในระดับชั้น ต่อไป กุลยา ตันติผลาชีวะ (2555) กล่าวถึง กิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เพื่อฝึกการทำงาน ประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะการใช้มือ เนื่องจากการกระตุ้นจากปลาย กล้ามเนื้อเล็กจะส่งผลต่อไปยังใยประสาททำให้เพิ่มความเจริญงอกงามของใยประสาท ซึ่งมี หลาย กิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมการปั้นเป็นการส่งเสริมของกล้ามเนื้อฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือในการบีบ บิ ดึง นวด ทุบ และประดิษฐ์ ซึ่งส่งผลให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีทักษะการใช้มือใช้นิ้วมือในการ ทำงานคล่องตัวขึ้น วัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปัจจุบันนิยมใช้แป้งหรือแป้งโด 2. กิจกรรมการฉีกกระดาษ การตัด การปะติดกระดาษบนภาพ โดยเน้นความสามารถ ของการจับ การถือและการประมาณโดยแตกต่างกัน ดังนี้ เด็กอายุ 4-5 ปี 1. แปะกระดาษตามรอยได้ 2. ตัดกระดาษตามรูปรอยได้ เด็กอายุ 5-6 ปี 1. ใช้กรรไกรได้คล่อง ตัดกระดาษตามรอยพับต่างๆ ได้ ปะติด ตกแต่งภาพในกรอบได้ 3. การวาดภาพระบายสี เด็กอายุ 4-5 ปี 1. จับดินสอด้วยท่าทางที่ถูกต้องได้ดี 2. เขียนรูปตามแบบได้ 3. วาดรูปสิ่งที่คุ้นเคยได้ 4. วาดรูปคนครบตามส่วนประกอบของร่างกายได้ 5. วาดรูปบ้านได้ 6. ระบายสีรูปทรงและแบบอิสระได้ในกรอบรูป เด็กอายุ 5-6 ปี
46 1. วาดรูปคนและเสื้อผ้าให้รายละเอียด 2. เขียนรูปตามจินตนาการหรือตามคำสั่งได้โดยไม่มีแบบ 3. ระบายสีได้สวยงาม ในภาพที่มีความละเอียดขนาดเล็กโดยอยู่ใน กรอบรูป 4. การพับ การพับเป็นกิจกรรมเพิ่มความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือ ข้อมือ และ การใช้สายตาให้สัมพันธ์กับมือ การพับแต่ละอายุต่างกัน ซึ่งความสามารถแตกต่างตามวัย ดังนี้ เด็กอายุ 4-5 ปี 1. พับกระดาษซ้อนกัน 3 ทบ ได้ 2. ใช้นิ้วรีดรอยพับได้ 3. พับเป็นรูปร่างอย่าง่ายได้ เช่น จรวด เรือ เด็กอายุ 5-6 ปี 1. เรียนพับกระดาษรูปต่างๆ ได้ 2. พับกระดาษเป็นรูปร่างที่มีรายละเอียดได้ 5. การฝึกความคล่องของกล้ามเนื้อเล็ก เป็นกิจกรรมที่ฝึกการเคลื่อนไหวพื้นฐานของกล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ การต่อไม้บล็อก การร้อยลูกปัด รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหยิบ จับ การใช้นิ้ว เช่น การเล่นเปียโน การดีดพิณ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมการฝึกความคล่องของกล้ามเนื้อเล็กแบ่งตามอายุ ดังนี้ เด็กเล็กอายุ 1-3 ปี 1. ร้อยลูกปัด 2. รูดซิป 3. ติดกระดุม 4. ต่อไม้บล็อก 5. แกะห่อของที่ผูกเชือกหลวม เด็กอายุ 3-6 ปี 1. ต่อไม้บล็อก 2. จัดแยกสิ่งของ 3. ร้อยด้าย 4. ผูกเชือก นลินีเชื้อวนิชชากร (2555) กล่าวถึง วิธีการสร้างกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงไว้ดังนี้ 1. บริหารข้อมือ ข้อมือก็มีส่วนสำคัญในการมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมือที่ดีเช่นเดียวกัน
47 โดยกิจกรรมที่เด็กๆ จะต้องใช้ข้อมือที่แข็งแรง คือ การเขียน เด็กบางคนอาจจะเขียนไม่ได้หรือเขียน บ่อยๆ ส่วนหนึ่งมากจากพัฒนาการกล้ามเนื้อมือที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่เล็กๆ จึงควรฝึกให้ใช้ข้อมือโดยการ วาดภาพบนกระดาษที่ติดอยู่ฝาผนังบ้าน เพราะจะช่วยข้อมือได้กระดกขึ้น เป็นการฝึกข้อมือให้ เคลื่อนไหวมากขึ้นกว่าการเขียนบนโต๊ะเพียงอย่างเดียว 2. ฝึกใช้นิ้วมือให้สนุก ควรหากิจกรรมที่เด็กได้สนุกกับการขยับและเคลื่อนไหวนิ้ว เช่น ร้องเพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน หรือฝึกให้เด็กใช้ปลายนิ้วโป้งแตะกับปลายนิ้วชี้กลาง นาง ก้อย ซึ่งในช่วงแรกๆ เด็กจะทำได้ไม่ค่อยถนัด ก็อาจฝึกให้ทำไปพร้อมๆ กับการเปิดเพลงให้เข้าจังหวะ การใช้นิ้วได้อย่าง แข็งแรง จะทำให้เด็กๆ สามารถหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้อย่างมั่นคง และยังเป็นพื้นฐานของการจับ ดินสอเมื่อเข้าโรงเรียน 3. ฝึกช่วยเหลือตัวเอง การฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองตามความสามารถที่เหมาะสมกับ วัยจะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนพัฒนาการด้านต่างๆ ซึ่งเด็กในวัยนี้พัฒนาการของกล้ามเนื้อมือส่วนใหญ่ที่ทำได้ คือ ถอดกางเกง ใส่เสื้อ ติดกระดุม เปิดฝาขวด ถือช้อนและส้อม ถือแก้วน้ำ เป็นต้น รุ่งรวีกนกวิบูลย์ศรี(2555) กล่าวถึง การส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก นอกจากกิจกรรมการระบายสียังมีกิจกรรมอีกหลายรูปแบบที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมือและตา เช่น กิจกรรมปั้น กิจกรรมการร้อยลูกปัด ร้อยหลอดกาแฟ กิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ที่ ต้องมีไม้เสียบต่อ ส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองเริ่มตั้งแต่การแต่งตัว ใช้มือจับช้อนส้อมกินอาหาร หรือ แม้แต่การทำงานบ้าน เช่น การใช้ไม้หนีบหนีบผ้าที่ตาก การพับผ้า การกรอกน้ำใส่ขวด การซักผ้า บิดผ้า การทำอาหาร เด็ดผัก หั่นผักด้วยมีดพลาสติก ปอกไข่ต้ม หรือปั้นขนมบัวลอย ฯลฯ เป็นต้น จากการศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สรุปได้ว่า การ ส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กนั้น ทาได้โดยให้เด็กฝึกทักษะในการใช้มือหยิบ จับ สัมผัสกับวัตถุสื่อ และอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตลอดจนการเคลื่อนไหวของมือให้ประสานสัมพันธ์กัน โดย การส่งเสริมให้ฝึกทักษะในการทากิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมใน ชีวิตประจาวัน เป็นต้น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก กีเซล (ประมวญ ดิดคินสัน. 2554 ; อ้างอิงมาจาก Gesell.1947) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา พัฒนาการ กล่าวว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กสามารถแบ่งออกเป็นระยะและมี ขั้นตอนการพัฒนาการ โดยเริ่มจากขั้นแรก คือ การใช้มือตะปบ ขั้นต่อมาจับของด้วยนิ้ว 4 นิ้วติดกัน กับ ฝ่ามือ โดยเริ่มใช้ฝ่ามือตอนใกล้ๆ สันมือ ต่อมาเลื่อนไปใช้กลางใจมือ จากนั้นหัวแม่มือจึงค่อยเคลื่อนมา ช่วยจับ ขั้นสุดท้าย คือ การหยิบของด้วยหัวแม่มือกับปลายนิ้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นกล้ามเนื้อเล็กที่มี ความสำคัญแก่ชีวิต เพราะเป็นรากฐานของบุคคล เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่พฤติกรรมของบุคคลจะมี
48 อิทธิพลมาจากสภาพความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่กล้ามเนื้อ ต่อกระดูกและประสาทต่างๆ สิ่งแวดล้อม เป็นเพียงส่วนประกอบของการเปลี่ยนแปลง โดยที่กีเซลได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (Motor Behavior) เป็นความสามารถของร่างกายที่ ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว (Adaptive Behavior) เป็นความสามารถในการ ประสานงาน ระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก (Motor Sensory Coordination) เช่น ประสานงานระหว่างตากับมือ (Eye –Hand Coordination) ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของ เด็ก (Manipulation) เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นบาศก์การสั้น กระดิ่ง การแก่วงกำไร ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา (Language Behavior) ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด เช่น ท่าทางการเคลื่อนไหวท่าทางกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (Personal-Social Behavior) เป็น ความสามารถในการปรับตัวของเด็กระหว่างบุคคลกับกลุ่มภายใต้แวดล้อม และสภาพความเป็นจริง นับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยความเจริญของสมอง และระบบการเคลื่อนไหวประกอบในส่วนที่เกี่ยวกับ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็ก กีเซล พบว่า ก่อนที่คนเราจะทำอะไรง่ายๆ เช่น หยิบอาหารใส่ปากได้นั้น มีการเรียนรู้ หลายขั้น ขั้นแรก ทารกใช้มือตะปบ ขั้นต่อมาจับของด้วยมือ 4 นิ้วติดกันฝ่ามือ โดยเริ่มใช้ฝ่ามือตอน ใกล้ๆ สันมือ ต่อมาจะเลื่อนไปใช้ใจกลางมือ ครั้นแล้วใช้หัวแม่มือค่อยๆ เลื่อนมาจับ ขั้นสุดท้าย คือ การ หยิบของ ด้วยนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้ว ยิ่งไปกว่านั้น กีเซลได้ตั้งข้อสังเกตว่าการควบคุมปฏิบัติการแห่ง กล้ามเนื้อ ของคนเรามีพัฒนาการเริ่มจากศีรษะจรดเท้า เรียกว่า Cephalo –Caudal Sequence คือ หันศีรษะ ได้ก่อนชันคอ แล้วจึงคว่ำ คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน และวิ่งตามลำดับ ส่วนพัฒนาการควบคุม ปฏิบัติการกล้ามเนื้อเริ่มจากใกล้ลำตัวก่อน เรียกว่า Proximdistal Sequence ที่แขนขาทารกย่อม บังคับการเคลื่อนไหวแขนขาได้ก่อนมือและเท้าเด็กใช้แขนคล่องก่อนมือและใช้มือคล่องก่อนนิ้ว ดังนั้น เด็กเล็กๆ เมื่อต้องการจับอะไรก็ผวาไปทั้งตัว ต่อมาจึงยื่นออกไปเฉพาะแขนแล้วจึงใช้มือและนิ้วดังกล่าว ถ้าจะให้เด็กเล็กๆ เขียนหนังสือมักจะตัวโตเพราะกล้ามเนื้อมือยังใช้ไม่คล่อง ได้แต่วาดแขนไปกว้างๆ ต่อมาเมื่อการบังคับกล้ามเนื้อบรรลุวุฒิภาวะแล้วจึงให้เขียนตัวเล็กๆ ได้เพราะสามารถบังคับกล้ามเนื้อ มือและนิ้วได้
49 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก งานวิจัยในประเทศ รวิพร ผาด่าน (2557) ได้ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์จากการฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์จากการฉีก ตัด ปะเศษวัสดุมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการทดลอง อยู่ในระดับดี ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 วรรณี อยู่คง (2557) ได้ศึกษาความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการปั้น ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นมีความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมืออยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการทอลองการทำกิจกรรมการปั้นอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 สมศรี เมฆไพบูลย์พัฒนา (2557) ได้ศึกษาความสามารถของกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้ ผลการศึกษาพบว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้มีความสามารถของ กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการทดลองสูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .05 2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร้อยดอกไม้มีความสามารถของ กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการทดลองสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติอย่างมี นัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .05 ควัง สมสุวรรณ (2556) ได้ศึกษาพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการปั้นดิน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรม การปั้น ดินในแต่ละช่วงสัปดาห์มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กโดยเฉลี่ยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ p< .05 โดยเด็กปฐมวัยพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กโดยเฉลี่ยรวมและ แยกเป็นราย ด้านหลังการจัดกิจกรรมในแต่ละช่วงสัปดาห์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ผกากานต์ น้อยเนียม (2556) ได้ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดิน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินอยู่ในระดับดีและเมื่อ เปรียบเทียบกับก่อนการจัดกิจกรรมพบว่าการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินส่งเสริมให้เด็กอายุ 4-5 มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 หทัยรัตน์ สงสม (2556) ผลการใช้ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ผลการวิจัยพบว่า 1.ชุดการจัดกิจกรรม สร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า)
50 เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 2556 มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ที่กำหนด 80/80 กล่าวคือ ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มีประสิทธิภาพ 91.53/93.71 2.เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนา กล้ามเนื้อมัดเล็กมีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กแตกต่างจาก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดการจัด กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก อย่างมีนัยส าคัยทางสถิติที่ระดับ .05 กรุณา ญาณวินิจฉัย (2555) ได้ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นปฐมวัยที่ฝึกโดยการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า 1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นปฐมวัยที่ฝึกโดยการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์อยู่ในระดับพอใช้ 2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นปฐมวัยที่ฝึกโดยการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 ญาณิศา บุญพิมพ์. (2555). การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 31 กิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนมไทย ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็ก ปฐมวัยสัปดาห์ก่อนการทดลองและตลอดช่วงการทดลองสัปดาห์ที่ 1 – 8 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ( F = 2242.935) และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ.01 ทุกช่วงสัปดาห์ส่วนพัฒนาการรายด้านคือ ด้านความคล่องแคล่ว ( F =1047.886) ด้านความยืดหยุ่น (F = 900.357) ด้านความถูกต้องและความสามารถในการควบคุม ( F = 749.117) ด้านการประสานกัน (F =826.550) และด้านการรับรู้โดยใช้การสัมผัส ( F =751.067) แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยการจัดกิจกรรมระกอบอาหารประเภทขนมไทยส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อเล็กโดยรวมร้อยละ 99.4(Partialη 2 = .994) และส่งผลต่อพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็ก รายด้านร้อยละ 98.7,98.5,98.2,98.3,และ 98.2 ตามลำดับ สรุปว่าการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ประเภทขนมไทย ส่งผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยให้เพิ่มขึ้นอย่าง ชัดเจน ณภัทสรณ์ นรกิจ และคณะ (2554) ได้ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือที่ได้รับการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช ผลการศึกษาพบว่า 1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยภายหลังจากการได้รับการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืชสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืช 2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยภายหลังจากการได้รับการจัด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเมล็ดพืชสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ .01 จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สรุปได้ว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และการประสานสัมพันระหว่างมือ กับ
51 ตา เป็นพื้นฐานสำคัญในชีวิตประจำวัน และการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาความพร้อมให้เด็กเกิด การ เรียนรู้มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายสามารถพัฒนาเด็กได้หลายด้าน และบทบาทครูมีส่วน สำคัญที่ จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งประสบการณ์เหล่านั้น เป็น องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลทำให้เด็กเกิดความพร้อมทุกด้านเป็นพื้นฐานของการศึกษาในระดับ ต่อไป งานวิจัยในต่างประเทศ เพนนิตัน (Pennington. 2004) ศึกษาความแตกต่างของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัด เล็กและใหญ่ของเด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกันในเวอร์จิเนียร์ตะวันตก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เด็กชาย 21 คน เด็กหญิง 16 คน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ของ เด็กชายและเด็กหญิงในวัยอนุบาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เอ็มคาฟี่ และ ออง (M cafee, O. & D. Leong. 2004) ศึกษาผลของการเล่นทางการศึกษาที่มี ต่อทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กในเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กอายุ 4-6 ปี ในประเทศอิหร่าน จำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเล่นทางการศึกษามีผลต่อพัฒนาการทักษะกล้ามเนื้อมัด เล็ก ความสัมพันธ์ระหว่างมือซ้ายและมือขวา การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา รวมทั้งความเร็ว และความคล่องแคล่วในการใช้มือ เชลเด็น (Shelden. 1998) ได้ศึกษาถึงความแม่นยำในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการสังเกต พฤติกรรมการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนที่เป็นอัมพาตไม่สามารถเดินได้กับเด็กปกติ โดยนักเรียนที่เป็นอัมพาตไม่สามารถเดินได้ต้องประสบกับความลำบากมากกว่านักเรียนที่มีร่างกายและ สภาพแวดล้อมทางการศึกษาปกติ เช่น มีข้อจำกัดด้านการเขียน การทำกิจกรรมในห้องเรียน ทั้งนี้ได้มี มาตรฐานในการทดสอบทักษะต่างๆ ด้วยการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อหาระดับมาตรฐานของสติปัญญาที่ เด็กต้องเกิดทักษะในการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับเด็ก การวิเคราะห์ผลด้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัด เล็ก โดยทำการวัดซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ผลปรากฏว่า การทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กและพฤติกรรมในการ ทำงานทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติ ฮิลการ์ด (Hillgard. 1982) ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก พบว่า เด็กที่มีอายุมากกว่าจะเขียนรูปได้เร็วและง่ายกว่าเด็กที่ทีอายุน้อย จากการทดลองกับเด็กกลุ่มหนึ่งอายุ ประมาณ 2-3 ขวบ โดยการฝึกให้ติดกระดุม ปีนบันได และการใช้กรรไกรเป็นเวลา 12 อาทิตย์ เปรียบเทียบกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกให้ทำกิจกรรมต่างๆ ดังกลุ่มทดลอง เด็กกลุ่มนี้มีอายุแก่กว่ากลุ่มแรก 3 เดือน ผลปรากฏว่าหลังการฝึกหัด 12 อาทิตย์ เด็กในกลุ่มทดลอง สามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ดีมากกว่ากลุ่มควบคุม หลังจากนั้นกลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำให้ทำ กิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นภายในเวลา 1 อาทิตย์ ผลปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้ทำได้ดีเท่ากับกลุ่มทดลอง
52 ซึ่งได้รับการฝึกหัดมาเป็นเวลา 3 เดือน ผลจากการทดลองนี้สรุปได้ว่าเด็กอายุมากกว่าใช้เวลาในการฝึก การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กน้อยกว่าเด็กที่ทีอายุน้อย จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สรุป ได้ว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และการประสานสัมพันธ์ระหว่าง มือกับตา เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งการเคลื่อนไหว สัมผัส หยิบจับ สิ่งต่างๆ ของเด็ก ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ต้องอาศัยการฝึกหัดและเตรียมความพร้อม เช่น การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่ ส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือ ให้แข็งแรง ตลอดจนพัฒนากล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กันได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับ การเขียนต่อไป เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ความหมายของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ความหมายของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (2560) ได้กล่าวถึง ความหมายของ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การเขียนภาพ การปั้น การฉีก ปะ การตัดปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสม กับพัฒนาการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2560) ได้กล่าวถึง ความหมาย ของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ไว้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ เช่น การวาดภาพ การปั้น การฉีก ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย ประดิษฐ์หรือวิธีอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่น การเล่นพลาสติก สร้างสรรค์ การสร้างรูปจากกระดาษปักหมุด ฯลฯ จอห์น ดิวอี้(ชะลอ นิ่มเสมอ. 2558 ; อ้างอิงจาก John Dewey. 1934) ได้กล่าวถึง ศิลปะ สร้างสรรค์ คือ ประสบการณ์การมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อมทำให้มี ความคิดและอารมณ์ซึ่งเป็นประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ มีรูปทรง มีความหมาย มีอารมณ์พร้อมทั้ง เป็นการเสริมกำลังให้กับประสบการณ์อื่นๆ ต่อไป ปีเตอร์สัน (ณัฐชุดา สาครเจริญ. 2558 ; อ้างอิงจาก Peterson. 1958) ได้กล่าวถึงศิลปะ เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงออกของเด็ก ซึ่งเด็กต้องการโอกาสที่จะแสดงออก อีกทั้งยังสามารถ
53 ถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกและความเข้าใจ รวมทั้งบุคลิกภาพและความเป็นอิสระของเด็กออกมาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์และจินตนาการของเด็กแต่ละคน วิคเตอร์ โลเวนเฟลด์; และแลมเบิร์ท บริเทน (วิบูลักษณ์สารจิตร. 2558 ; อ้างอิง จาก Viktor Lowenfeld ; & W. Lambert Brittain. 1975) ได้กล่าวถึง ความหมายของศิลปะไว้ว่า เป็นสิ่ง ที่เด็กแสดงออกถึงความเจริญเติบโตทางความคิด ความเข้าใจและการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม วิชัย วงษ์ใหญ่ (2557) ได้กล่าวถึง ศิลปะสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวบุคคลสามารถเสริมสร้าง พัฒนาให้ถึงขีดสุดได้ศิลปะจะเป็นสื่อสัมผัสทางจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกให้ละเอียดประณีต เมื่อบุคคล สามารถรับรู้ศิลปะได้แล้ว จะทำให้การรับรู้สิ่งต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะศิลปะเป็นการแสดงออกอย่างลึกซึ้ง ที่มีคุณค่าต่อจิตใจของมนุษย์ ทอร์แรนซ์ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2555 ; อ้างอิงจาก Torrance, E.P. 1964) ได้กล่าวถึง ศิลปะสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องที่ขาดหายไปและรวบรวม ความคิดหรือตั้งสมมติฐาน ทำการทดลองสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้รับจากการทดสอบสมมติฐาน นั้น ปานิตา กุดกรุง (2557) ได้กล่าวถึง ศิลปะสร้างสรรค์เป็นผลงานทางศิลปะที่รับรู้ได้ด้วย ประสาทตา หมายถึง การแสดงออกโดยผ่านสื่อต่างๆ ดังนั้นผลงานทางศิลปะจึงเป็นการสื่อสารความคิด ความรู้สึก และการถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จินตนาการของแต่ละคนอย่าง อิสระในการแสดงออกมาเป็นผลงาน จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้าน อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งกิจกรรมมีลักษณะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่าง เสรี แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ช่วยผ่อนคลายความเครียดทางอารมณ์ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการ และเป็นกิจกรรมการถ่ายทอดประสบการณ์และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จินตนาการ ของแต่ละคน อย่างอิสระในการแสดงออกมาเป็นผลงาน ความสำคัญของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ความสำคัญของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ เยาวพา เดชะคุปต์ (2555) มีทัศนะที่สอดคล้องกันว่า ศิลปะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็ก ได้แสดงความสามารถ และความรู้สึกนึกคิดของตนออกมาในรูปของภาพหรือสิ่งของที่เด็กสามารถแล เห็นได้ เด็กใช้ศิลปะเพื่อเป็นสื่ออธิบายสิ่งที่เขาทำ เห็น รู้สึก และคิดออกมาเป็นผลงาน การจัด ประสบการณ์ทางศิลปะให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กมีโอกาส ค้นคว้า ทดลอง และสื่อสารความคิด ความรู้สึก ของตนเองให้ผู้อื่น และโลกที่อยู่รอบตัวเขาเข้าใจได้ นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถใน การคิดและการใช้จินตนาการ การสังเกตและการเพิ่มพูนการรับรู้ที่มีต่อตนเองและผู้อื่น และพัฒนา
54 ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับตนเองในการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือ ความสัมพันธ์ ระหว่างมือกับตา เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปร่าง สี และมีโอกาสพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน พัฒนาทักษะทางสังคมจากการแบ่งปันอุปกรณ์ที่ใช้ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลทำความสะอาด อุปกรณ์เหล่านั้น จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ความสำคัญของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ ได้แสดงความสามารถ และความรู้สึกนึกคิดออกมาในรูปของภาพและคิด ออกมาเป็นผลงาน จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีดังนี้ จันทนา สุวรรณมาลี (2559) กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม พัฒนาการทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา 2. การส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง ครูให้คำชมเชยเมื่อเด็กทำได้ถูกต้อง จะเป็น การเสริมแรงให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และควรให้เด็กนำผลงานไปติดที่ป้าย นิเทศหน้าห้องเรียนหรือนำกลับบ้านเพื่อไปอวดคุณพ่อคุณแม่ 3. การริเริ่มสร้างสรรค์ครูควรกระตุ้นให้เด็กสนใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลก ในหมู่โดยฝึกการร้อยในทิศที่แปลกกว่าเดิม อาจทำตามแบบที่กำหนดและตามที่เด็กต้องการ 4. การส่งเสริมเพื่อให้เด็กรู้จักรักสวยรักงามมีระเบียบเรียบร้อย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน การเตรียมอุปกรณ์ ขั้นตอนในการทำ เลิศ อานันทนะ (2559) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพัฒนาการศิลปะอย่างเหมาะสมใน ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย ส่งเสริมพัฒนาการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ระหว่างการใช้กล้ามเนื้อมือและประสาทตา ทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายมีความแข็งแรง และมีทักษะการทำงานอย่างคล่องแคล่ว 2. พัฒนาทางด้านอารมณ์ทำให้เด็กมีความร่าเริงสนุกสนาน ยิ่งเด็กประสบความสำเร็จ ในงานที่ลงมือทำ ก็ยิ่งทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง บนพื้นฐานของความรัก และความรู้สึกความ ภาคภูมิใจในความสามารถของตน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดีตลอดจนมีความรู้สึกที่ดีงามต่อผู้คน 3. พัฒนาการทางด้านสังคม การจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทาง สังคมให้แก่เด็กอย่างเหมาะสม ได้แก่ การจัดกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ให้เด็กเรียนรู้และฝึกหัดทางด้าน สังคม