The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by maw.nfe, 2020-04-21 03:19:31

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค31002 ม.ปลาย

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

ห น า | 91

จะไดส ทิ ธเิ หลา นีต้ อ งมีหนาท่ีอะไร?
• สิทธทิ ี่จะไดรับบรกิ ารและสาธารณปู โภคท่ีดจี ากรฐั
• มหี นาทีต่ องเสยี ภาษี
• สิทธิที่จะไดนักการเมอื งทซ่ี ่ือสตั ยส จุ รติ ไดรฐั บาลทท่ี ําใหป ระเทศเจรญิ กาวหนา
• มหี นาท่ีตอ งเลอื กตงั้ อยางมคี ณุ ภาพ
• สทิ ธิทจ่ี ะอยใู นประเทศที่มน่ั คง เปนเอกราช
• มหี นา ท่ตี องรบั ราชการทหาร
• สทิ ธิท่ีจะอยูใ นประเทศทสี่ งบเรยี บรอ ย
• มหี นา ที่ตองชวยกันสอดสอ ง เปนหเู ปนตา เปน พยาน
• สิทธิท่ีจะอยูในประเทศทมี่ ที รพั ยากรตาง ๆ
• มหี นา ท่ีตองชว ยกนั ดูแลรกั ษาทรัพยากรตาง ๆ
• สิทธิทจ่ี ะอยูในสภาพแวดลอ มทดี่ ี
• มหี นา ท่ีตอ งชวยกนั ทนุบาํ รงุ รักษาสภาพแวดลอม
• สิทธิทจ่ี ะอยใู นประเทศทีม่ ศี ลิ ปวัฒนธรรมทีด่ ี
• มหี นา ทต่ี องชว ยกันอนุรักษ ทนบุ ํารงุ สง เสริมศลิ ปวัฒนธรรม

ถาทุกคนไมทาํ หนา ทจี่ ะไดสิทธติ า ง ๆ เหลา นี้ไดอยา งไร ?

ดังนั้น ประชาชนในระบอบประชาธปิ ไตยทกุ คน จะตองเหน็ ประโยชนแ ละความสาํ คัญของการทํา
หนาที่ของประชาชนอยา งเตม็ ใจดวย หากทกุ คนทําหนาที่เปนอยา งดี สทิ ธกิ ็จะไดตามมาอยางแนนอน เชน
หากทุกคนทําหนาทไ่ี ปใชส ทิ ธิเลือกตง้ั อยา งมคี ณุ ภาพ ไมเ ลอื กผูสมคั รหรือพรรคการเมอื งท่ีใชจายในการหา
เสยี งเลอื กตงั้ ในทางท่ีไมสุจรติ ตดิ ตามขา วสารทางการเมอื ง และนาํ มาใชประกอบการพิจารณาในการเลือกต้ัง
จะไดตวั แทนที่ซ่ือสัตยสจุ ริต และมคี วามรคู วามสามารถไปบรหิ ารประเทศไดอยางไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุวา เสรีภาพ หมายถึง ความสามารถที่จะ
กระทําการใด ๆ ไดต ามท่ีตนปรารถนา โดยไมม อี ปุ สรรคขดั ขวาง เชน เสรภี าพในการพูด เสรีภาพในการนับถือ
ศาสนา ความมีสิทธทิ ่ีจะทําจะพูดไดโ ดยไมละเมิดสทิ ธิของผอู นื่

ในระบอบเผด็จการ ประชาชนมักจะถูกจํากัดเสรีภาพอยางมาก พอเปล่ียนมาเปนยุคประชาธิปไตย
คนท่ัวไปมกั เขาใจเอาเองวา บคุ คลยอ มมเี สรภี าพไดอ ยางเต็มที่ จะทาํ อะไรก็ไดตามใจชอบ การใชเสรีภาพของ
บคุ คลนนั้ อาจไปกระทบหรอื ละเมดิ ตอเสรภี าพของบคุ คลอื่นได หรอื อาจกลาวไดวา การใชเ สรีภาพตองมคี วาม
รับผิดชอบกาํ กบั อยดู วยเสมอ อนั หมายถึง ความรบั ผดิ ชอบตอตนเองและผูอ่ืน ยกตัวอยาง เชน หากพอแมให
เสรีภาพแกลูกที่ยังเปนผูเยาวใชจายเงินไดเปนจํานวนมากเกินความรับผิดชอบของลูกท่ียังเปนผูเยาว ลูกก็
อาจจะถกู ชงิ ทรัพย ถูกทาํ ราย หรอื อาจใชเ งนิ จนกอใหเกิดผลรายตอตนเองและผอู ื่นได

ห น า | 92

ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จึงตองเขาใจซาบซึ้งถึงหลักการท่ีวา “ใชสิทธิแตไมละท้ิงหนาท่ี”
และ “ใชเสรีภาพอยา งรับผดิ ชอบ” แตมไิ ดห มายความวา เสรภี าพของคนอ่นื ทําใหเราตองมเี สรภี าพนอ ยลง
แตอยางใด เพราะมนุษยที่มอี ยูค นเดียว และมีเสรีภาพทจี่ ะทําอะไรก็ไดต ามใจชอบทั้งหมดไมมีอยูจริง มีแต
มนุษยท อ่ี ยรู ว มกบั คนอนื่ เพราะมนุษยเปน ส่ิงมชี ีวติ ทต่ี องพึง่ พาอาศัยกัน มนษุ ยจ งึ ตองอยูรวมกันเปนสังคม
ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยพึงยนิ ดที ีจ่ ะใชเสรภี าพของตน เพ่อื ใหคนอน่ื ไดใ ชเสรีภาพเทา เทียมกบั ตน

สภาพท่ีบุคคลมีเสรีภาพที่จะทําอะไรก็ไดตามใจชอบโดยไมจํากัด นั้น เปนลักษณะของอนาธิปไตย
ซ่ึงมาจาก คําวา “อน” ที่แปลวา ไมมี และ คําวา “อธิปไตย” ที่แปลวา อํานาจสูงสุด “อนาธิปไตย” จึงหมายถึง
สภาวะที่ไมมีอํานาจสูงสุด ทุกคนใหญหมด ใครจะทําอะไรก็ไดตามใจชอบ นาจะเปนภาวะท่ีจลาจล สับสน
วนุ วาย เปนอยา งยง่ิ ดังนัน้ จะเห็นไดวา การเขาใจวา ประชาชนควรมีเสรีภาพที่จะทําอะไรก็ไดตามใจชอบนั้น
คอื อนาธิปไตย ไมใช ประชาธปิ ไตย

3.3 หลกั ความเสมอภาค (equality)
ประชาชนในระบอบเผดจ็ การ ยอ มมีความเสมอภาคในความเปน มนุษยน อ ยกวาประชาชน

ในระบอบประชาธิปไตย เชน สิทธิทางการเมืองการปกครอง สิทธิเลือกต้ัง สิทธิในฐานะมนุษย หรือท่ี
เรียกวา สทิ ธิมนุษยชน ความเสมอภาคในฐานะท่ีเปน มนษุ ย ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา การเมือง
เศรษฐกิจ สังคม

อยางไรก็ดี มิไดหมายความวา ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะตอ งมคี วามเสมอภาค
เสมอภาคกนั ทุกเร่อื งทัง้ หมด ความเสมอภาคนี้ หมายถงึ ความเสมอภาคกนั ในฐานะมนุษย แตประชาชนใน
ระบอบประชาธิปไตย อาจมีบทบาทหนาท่ีที่แตกตางกันได เชน ครูยอมมีความเสมอภาคกับนักเรียนใน
ฐานะที่เปน มนษุ ย และในฐานะท่เี ปน พลเมือง แตการท่ีครูเปน ผูทําหนาท่ีสอน มอบหมายภารกิจการเรียน
วัดและประเมนิ ผลผเู รยี น และนักเรียนเปน ผูเรียน รับมอบภารกิจการเรียน รับการวัดและประเมินผลจากครู
นัน้ มิไดหมายความวา ครกู บั นกั เรยี นไมเสมอภาคกัน

3.4 หลกั ภราดรภาพ (fraternity)
ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย น้ัน ตองเปนความเสมอภาคท่ียึดหลักความ

ยึดเหนี่ยวกันในสังคม (social coherence) ไมใชความเสมอภาคแบบตัวใครตัวมัน (individualistic) หรือ
ความเสมอภาคแบบไมยอมเสียเปรียบกนั ถา คนหน่ึง ได 5 สว น คนอน่ื ๆ กต็ องได 5 สว นเทากนั นอ ยกวาน้ี
เปน ไมย อมกนั ตอ งแยงชงิ กัน ขัดแยง ทะเลาะเบาะแวงกัน แตเสมอภาคในระบอบประชาธปิ ไตยน้ี หมายถงึ
สขุ ทกุ ข เสมอกนั หากใครในสังคมมีความสขุ คนอ่นื ๆ ก็พรอ มทจี่ ะสุขดวย และหากใครในสังคมมีความทุกข
คนอ่ืน ๆ ก็พรอมท่ีจะทุกขดว ย พรอมท่จี ะชว ยกันทง้ั ยามสขุ และทกุ ข ไมเ ลือกทรี่ ักมักที่ชัง ไมก ดี ก้ันกนั มิใช
คอยแตจะอิจฉาริษยา ไมใหใครไดเปรียบใครอยูตลอดเวลา ท้ังหมดน้ีก็คือ หลักภราดรภาพในระบอบ
ประชาธิปไตย น่ันเอง ซ่ึงกค็ อื ความเปน พ่นี อ งกนั ไมแ บง แยก รงั เกยี จเดยี ดฉันทก ัน มีความสมัครสมานรกั ใคร
กลมเกลียวกัน (solidarity)

อยา งไรก็ตาม ไมไ ดห มายความวา ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะตองมีความคิดเห็น
มีความปรารถนาตองการเหมอื นกนั ทุกเร่ือง ตรงกนั ขามระบอบประชาธิปไตย ตองการคนท่ีมีความคิดเห็น
ที่แตกตา งหลากหลาย เพราะนนั่ อาจเปนทางเลอื กทด่ี ที ่สี ดุ ของสังคมก็ได และถาไมม คี วามคดิ เห็นที่แตกตา ง
หลากหลาย สังคมโลกก็อาจจะไมพ ัฒนาไปไหนเลย เชน ปา นนอี้ าจจะยงั เช่อื วา โลกแบนและเปนศูนยก ลาง
ของจกั รวาลอยกู ็ได ประชาธิปไตย จึงไมหลบหนีความขัดแยง หากแตประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
จะตอ งชวยกนั ทําใหความขดั แยง น้ันนาํ ไปสกู ารสรางสรรค

ห น า | 93

ความขดั แยงในระบอบประชาธปิ ไตย จะไมนําไปสูการทําลายกัน หากประชาชนในระบอบ
ประชาธปิ ไตยใฝใ นความจรงิ ความถูกตอง และความดีงาม เพราะแมจ ะมีความคดิ เห็นและความตองการท่ี
แตกตางกนั แตท้ังหมดก็เปนไป เพื่อความเจริญกาวหนา ของสงั คม ประกอบกบั ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
จะตอ งเปน คนทพี่ ดู กันงา ย (แตไ มใ ชวานอนสอนงา ย) พรอมท่ีจะเขาใจกนั พรอ มเพรียงท่จี ะหาทางออกท่ีดีงาม
สาํ หรับทุกคน

รวมถึงประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะตองรูจักพิจารณาแยกแยะกรณีตาง ๆ อยาง
ถกู ตอ งเหมาะสม ไมใชทําความขดั แยงประเดน็ เดยี วลุกลามใหญโ ต กลายเปนขัดแยง กนั ไปหมดทุกเร่อื ง เชน
ฝายหนง่ึ มคี วามคิดเหน็ หรอื ความตองการท่ีขัดแยงกับอีกฝายหน่ึง ก็ตองเพียรหาทางแกไขความขัดแยงที่
สรางสรรค ตองเขาใจไมใหพาลไปขัดแยงกันในเร่ืองอ่ืน ๆ จนกลายเปนแตกแยก บาดหมาง ราวลึกไป
ท้งั สงั คม เพราะแมเ ราจะมีความคดิ เห็นหรอื ความตอ งการไมต รงกันในเรอื่ งใดเร่ืองหน่ึง มิไดหมายความวา
เราจะมคี วามคิดเห็นหรอื ความตอ งการไมตรงกันในเรอ่ื งอืน่ ๆ ไปดว ย แมส ุดทา ย จะไมส ามารถทําใหท้งั สองฝา ย
คิดเห็นตรงกัน ก็ไมพึงที่จะทําใหความคิดเห็นหรือความตองการนําไปสูความขัดแยงรุนแรง และไมวาจะ
แตกตางกนั เพยี งใด ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะตองยึดหลักภราดรภาพไวเสมอ หรือท่ีเรียกวา
“แตกตางแตไ มแ ตกแยก” น่ันเอง

กลาวคือ ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ตองยึดหลักการประสานกลมกลืน (harmony)
คอื การกา วไปดวยกัน ทํางาน และพัฒนาไปพรอมกัน ดวยสํานึกความเปนอันหน่ึงอันเดียวกันของสังคม
ไมใชจาํ ใจตอ งประนีประนอม ยอมลดราวาศอกใหกัน อันอาจเปน ความจําเปน ตอ งอยูร ว มกันทีไ่ มย ง่ั ยนื

3.5 หลักนิตธิ รรม (rule of law)
ประชาธิปไตยจะเขม แขง็ และมีสันติสุขได ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะตองยึด

หลักนติ ิธรรม อันหมายถึง หลกั การเคารพกฎหมาย ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะเคารพกฎหมาย
เปน อยา งดี กฎหมายนนั้ ตองเปน ธรรม เทย่ี งตรง และแนนอน ไมเปล่ียนไปเปล่ียนมาตามอําเภอใจ จึงตอง
เปนกฎหมายที่บังคับใช เพ่ือประโยชนสุขของประชาชนทุกคนเอง เชน กฎจราจร กฎหมายอาญา หาก
ประชาชนไมเคารพกฎหมาย สงั คมก็จะเกิดความสบั สนวุนวายได

ท้ังน้ี หมายรวมถึง ระบบศาลและราชทัณฑดวย เพื่อท่ีประชาชนจะไดไมใชวิธีแกแคน
ลงโทษกันเอง ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย พึงเห็นความสําคัญ เห็นคุณคา เห็นประโยชนของการ
ปฏบิ ัตติ ามกฎหมาย ไมใชจ าํ ใจปฏบิ ัติตามกฎหมาย เพราะถูกบงั คบั ที่คอยแตจะฝา ฝนเมื่อมีโอกาส
4. การปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริยท รงเปนประมุข

(Constitutional monarchy)
ระบอบประชาธิปไตยทางออม หรือแบบมีตัวแทนท่ีใชกันในประเทศตาง ๆ สวนใหญใชระบบ

ประธานาธบิ ดี (presidential system) และระบบรฐั สภา (parliamentary system) ซ่งึ แบง เปน แบบท่ีมีประธานาธิบดี
เปนประมุข (parliamentary republic) และแบบที่มีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข (constitutional
monarchy)

ประเทศทป่ี กครองดว ยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข หมายถึง
ประเทศทพี่ ระมหากษัตริยมีเพียงพระราชอํานาจในฐานะที่ทรงเปนประมุขเทานั้น สวนอํานาจนิติบัญญัติ
และอาํ นาจบรหิ ารนัน้ เปนของประชาชนทีเ่ ลอื กและมอบอํานาจใหต ัวแทนใชอ ํานาจแทน แตต องใชอํานาจ
ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย เพื่อใหเปนท่ียอมรับ เนื่องจากยังมีประชาชนจํานวนมากท่ีคุนเคย

ห น า | 94

และเห็นความสาํ คญั ของการดํารงอยูของสถาบนั พระมหากษตั ริย การบัญญตั ิกฎหมาย การออกคําสั่ง การ
บรหิ ารราชการในนามของประชาชนดว ยกนั เอง อาจไมไ ดรบั การยอมรบั เทา ทคี่ วร หรืออาจขาดเอกภาพใน
การปกครองประเทศได
วัฒนธรรมและวถิ ีชวี ิตแบบประชาธิปไตยแบง ตามคารวธรรม ปญญาธรรม และสามัคคีธรรม

การที่ประเทศจะเปนประชาธิปไตยได น้นั จะมีแตเพียงรูปแบบและโครงสรางการเมืองการปกครอง
เทาน้ันไมได แตประชาชนในประเทศน้ัน จะตองมีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยดวย กลาวคือ
ประชาชนในระบอบประชาธปิ ไตยจะตองมวี ฒั นธรรมและวิถชี วี ิตท่ีสอดคลองกบั ระบอบประชาธปิ ไตย ดงั น้ี

1. คารวธรรม
1.1 เห็นคณุ คา และเคารพศกั ดิศ์ รีความเปน มนษุ ย และสทิ ธิมนุษยชน
1.2 ใชส ทิ ธโิ ดยไมล ะท้งิ หนา ที่
1.3 ใชเ สรีภาพอยางรบั ผดิ ชอบ
1.4 ซ่อื สัตยสจุ รติ และมคี วามโปรง ใส
1.5 ยดึ หลกั ความเสมอภาคและความยุตธิ รรม

2. สามคั คธี รรม
2.1 มจี ติ สํานึกรวมหมูแ ละทาํ งานเปนหมคู ณะ
2.2 ยึดหลกั ภราดรภาพ
2.3 ใชห ลักสันตวิ ิธี
2.4 ยึดหลักเสียงขา งมาก และเคารพสิทธขิ องเสยี งขา งนอ ย
2.5 เหน็ ความสําคญั ในประโยชนของสวนรวม
2.6 มจี ติ สาธารณะ (public mindedness) และการมจี ติ อาสา (volunteerism) การมี

สว นชว ยในการพฒั นาครอบครวั โรงเรียน ชมุ ชน สังคม และประเทศชาตอิ ยางยง่ั ยืน
3. ปญญาธรรม
3.1 ยดึ หลกั เหตุผล ความจริง และความถกู ตอ ง
3.2 รทู ันขอมลู ขาวสาร และรทู ันส่ือสารมวลชน
3.3 ตดิ ตามตรวจสอบการปฏบิ ตั งิ านของบุคลากรทางการเมือง
3.4 มีความกลาหาญทางจริยธรรม กลา ทีจ่ ะยืนหยัดในสงิ่ ทถี่ กู ตอ ง
3.5 มที กั ษะการคดิ อยางมวี จิ ารณญาณ การใชเหตผุ ล การตง้ั คาํ ถาม การวจิ ัย การคนควา

การรวบรวมขอ มลู การโตแยง
3.6 ทกั ษะการสือ่ สารในระบอบประชาธิปไตย ไดแ ก การฟง การอาน การคนควา การจับใจความ

การสรปุ ความ การยอ ความ การขยายความ การตีความ การแปลความ การพูด การเขียน การโตวาที การอภิปราย
การวิจารณ การกลาแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และการรับฟง ความคิดเห็นของผอู น่ื

3.7 พัฒนาความรู ความคิด จิตใจ พฤตกิ รรมและการทาํ งานของตนเองอยูเ สมอ
3.8 มสี ว นรวมทางการเมืองอยางสรา งสรรค
3.9 มีความรูพน้ื ฐานทางการเมอื ง (political literacy)

ห น า | 95

คา นิยมพืน้ ฐานในการอยูรวมกันอยางสมานฉันท 12 ประการ
1. มีความรกั ชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ 
2. ซอื่ สตั ย เสยี สละ อดทน
3. กตัญตู อพอ แม ผปู กครอง ครบู าอาจารย
4. ใฝห าความรู หมนั่ ศกึ ษาเลา เรียนท้งั ทางตรงและทางออม
5. รักษาวัฒนธรรม ประเพณไี ทยอันงดงาม
6. มศี ลี ธรรม รกั ษาความสัตย หวงั ดีตอ ผอู น่ื เผอื่ แผแ ละแบงปน
7. เขา ใจเรียนรูการเปนประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษตั ริยท รงเปน ประมุขทถี่ ูกตอ ง
8. มรี ะเบยี บวนิ ยั เคารพกฎหมาย ผนู อยรจู ักเคารพผใู หญ
9. มีสติรูตวั รคู ิด รทู ํา รปู ฏบิ ตั ิ ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช
10. รจู ักดาํ รงตนอยโู ดยใชห ลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จ-

พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช รูจักอดออมไวใชเมื่อยามจําเปน มีไวพอกินพอใช ถาเหลือก็แจกจาย จําหนาย
และขยายกิจการเมอ่ื มคี วามพรอมโดยมีภมู ิคุมกนั ทดี่ ี

11. มีความเขม แข็งทงั้ รางกายและจิตใจ ไมยอมแพต ออํานาจฝา ยต่ําหรือกเิ ลส มคี วามละอาย
เกรงกลัวตอ บาปตามหลกั ของศาสนา

12. คํานึงถงึ ผลประโยชนข องสว นรวมและตอชาติมากกวา ผลประโยชนของตนเอง
คานยิ มพื้นฐานดงั กลา วขา งตน มีความสําคญั อยา งยง่ิ ทค่ี นไทยจะตองนํามาประพฤติปฏิบัติ

ในชวี ิตประจําวนั อยูเสมอ และเพือ่ ใหเ กดิ ความเขาใจย่งิ ขึ้น จะขอกลาวในรายละเอยี ดเพมิ่ เตมิ ดังนี้
1) มคี วามรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย เปนคุณลักษณะที่แสดงถึงรักความเปน

ชาติไทย เปน พลเมอื งดีของชาติ มีความสามัคคี เห็นคุณคา ภูมิใจ เชิดชูความเปนไทย ปฏิบัติตนตามหลัก
ศาสนาทตี่ นนับถือ และแสดงความจงรักภักดตี อสถาบันพระมหากษตั ริย

2) ซ่ือสตั ย เสียสละ อดทน เปนคุณลกั ษณะทแี่ สดงถึงการยึดมนั่ ในความถกู ตอ ง ประพฤติ
ตรงตามความเปน จรงิ ตอตนเองและผอู ืน่ ละความเห็นแกตวั รจู กั แบง ปน ชว ยเหลือสงั คมและบุคคลท่คี วรให
รูจักควบคุมตนเองเม่ือประสบกับความยากลาํ บากและส่ิงทก่ี อใหเ กดิ ความเสียหาย

3) กตญั ตู อพอ แม ผปู กครอง ครูบาอาจารย เปนคุณลักษณะท่ีแสดงออกถึงการรูจัก
บุญคุณ ปฏิบัติตามคําสั่งสอน แสดงความรัก ความเคารพ ความเอาใจใส รักษาช่ือเสียง และตอบแทน
บุญคณุ ของพอ แม ผปู กครอง และครบู าอาจารย

4) ใฝห าความรู หม่ันศึกษาเลาเรียนทั้งทางตรงและทางออม เปนคุณลักษณะท่ีแสดงออก
ถึงความตง้ั ใจ เพียรพยายามในการศึกษาเลาเรยี น แสวงหาความรู ท้ังทางตรงและทางออ ม

5) รกั ษาวัฒนธรรม ประเพณีไทยอันงดงาม เปนการปฏิบัติสืบทอดอนุรักษวัฒนธรรม
และประเพณีไทยอนั ดีงามดว ยความภาคภมู ิใจเห็นคณุ คา ความสําคญั

6) มีศีลธรรม รักษาความสัตย หวังดีตอผูอื่น เผ่ือแผและแบงปน เปนความประพฤติ
ท่คี วรละเวนและความประพฤตทิ ค่ี วรปฏบิ ตั ิตาม

ห น า | 96

7) เขา ใจเรียนรูก ารเปน ประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริยท รงเปนประมุขทีถ่ ูกตอ ง
คือ มีความรู ความเขาใจ ประพฤตปิ ฏิบัติตนตามสิทธิและหนาที่ของตนเอง เคารพสิทธิและหนาท่ีของผูอื่น
ใชเ สรีภาพดวยความรบั ผดิ ชอบภายใตขอบเขตของกฎหมาย ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย
ทรงเปนประมุข

8) มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผูนอยรูจักการเคารพผูใหญ เปนคุณลักษณะที่
แสดงออกถึงการปฏิบัติตามขอตกลง กฎเกณฑ ระเบียบ ขอบังคับ และกฎหมาย มีความเคารพและ
นอบนอมตอผูใหญ

9) มีสตริ ตู วั รคู ดิ รูทาํ รูปฏิบัติ ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหา-
ภมู พิ ลอดุลยเดช เปน การประพฤตปิ ฏบิ ัตติ นอยางมีสติรตู วั รูคดิ รทู ํา อยางรอบคอบถูกตอ ง เหมาะสม และ
นอ มนาํ พระราชดาํ รสั ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏบิ ตั ใิ นชีวติ ประจาํ วนั

10) รูจักดํารงตนอยโู ดยใชหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รูจักอดออมไวใชเมื่อยามจําเปน มีไวพอกินพอใช
ถาเหลือก็แจกจาย จําหนาย และขยายกิจการเม่ือมีความพรอม สามารถดําเนินชีวิตอยางพอประมาณ
มเี หตุผล มีภมู คิ มุ กนั ในตัวทด่ี ี มีความรู มีคุณธรรม และปรบั ตวั เพอ่ื อยใู นสงั คมไดอยางมคี วามสุข

11) มีความเขมแข็งทั้งรางกายและจิตใจ ไมยอมแพตออํานาจฝายตํ่าหรือกิเลส
มีความละอายเกรงกลัวตอบาปตามหลักของศาสนา เปนการปฏิบัติตนใหมีรางกายสมบูรณ แข็งแรง
ปราศจากโรคภยั และมจี ติ ใจทีเ่ ขม แข็ง ไมก ระทาํ ความชว่ั ใด ๆ ยดึ มัน่ ในการทาํ ความดตี ามหลักของศาสนา

12) คาํ นงึ ถึงผลประโยชนข องสว นรวมและตอชาติมากกวา ผลประโยชนข องตนเอง
ใหความรวมมือในกิจกรรมท่ีเปนประโยชนตอสวนรวม และประเทศชาติ เสียสละประโยชนสวนตนเพื่อ
รกั ษาประโยชนข องสว นรวม

ห น า | 97

กจิ กรรม

1. ผเู รยี นคดิ วา รัฐธรรมนญู คือประชาธปิ ไตยหรอื ไม เพราะเหตุใด
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. ผเู รียนเขาใจขอ ความที่วา “การปกครองโดยเสียงขางมากและเคารพสทิ ธิของเสียงขา งนอ ย” วาอยา งไร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. ทาํ ไมจงึ มีคํากลา วท่ีวา ใชส ทิ ธิโดยไมล ะทงิ้ หนาที่
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4. การใชเสรีภาพอยา งรบั ผิดชอบ นน้ั มคี วามสาํ คญั ตอการอยูรวมกัน อยา งไร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5. ผเู รียนจะนาํ คณุ ธรรม จรยิ ธรรมใดมาใชในการอยรู ว มกันอยา งสนั ติ สามัคคี ปรองดอง
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ห น า | 98

เรื่องที่ 7 การมสี วนรวมของประชาชนในการปอ งกันและปราบปรามการทจุ รติ

กระแสโลกาภวิ ตั นที่กาํ ลงั เกดิ ข้ึนทั่วโลกในปจ จบุ นั สงผลใหมีการเปล่ียนแปลงโครงสราง
เศรษฐกิจไปสูอ ุตสาหกรรมและการคาเสรที ว่ั ไป ในชว งแรกไดก อใหเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยาง
รวดเร็ว เนือ่ งจากการไหลเขา ของเงินทุนจากตา งชาติและเงินกูจากรฐั มกี ารเคลื่อนไหวอยางรุนแรงในดาน
เศรษฐกิจทุกภาคสวน ท้ังเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทองเท่ียว รวมท้ัง การไหลบาของสังคมและ
วฒั นธรรมนานาชาตทิ ีไ่ มสามารถหยุดย้งั ได ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนและพนักงาน ตลอดจนผูใช
แรงงานตา งถูกชักนําใหหลงใหลไปสูการเปน นักบรโิ ภคนิยม วัตถุนยิ ม และปจ เจกนยิ ม ติดยึดอยกู บั ความสขุ
จากทุนนิยม โดยไมคํานึงถึงความหายนะที่จะตามมา เน่ืองจากการไหลไปตามกระแสวัตถุนิยมที่ให
ความสําคัญกบั เงนิ ตรา กับความมีหนามีตาในสังคม ยกยองคนรวยมากกวาคนดี ใหความสําคัญกับฐานะ
ทางสังคมมากกวาความเปนปราชญหรือภูมิปญญา ทุมเทใหกับความฟุมเฟอย ฟุงเฟอ สุรุยสุราย ไมให
ความสําคัญกับครอบครัว และสายใยผูกพันในครอบครัวเหมือนเดิม มีการแขงขันชิงดีชิงเดนกันรุนแรง
ท้ังการเรยี น การดํารงชีวิตรวมกัน การทํางาน การเอาหนาในสังคม ฯลฯ ศรัทธาคานิยมในทางคุณธรรม
จรยิ ธรรมเหือดหายไป ความเอื้อเฟอเผ่ือแผ ความเมตตาอารี ความชวยเหลือเกื้อกูล สมัครสมานสามัคคี
ความมนั่ คงศรัทธาในศาสนาทบ่ี รรพบรุ ษุ นบั ถือ การพึ่งพาอาศยั ระหวางผูคนในชุมชนเกือบไมมีปรากฏใหเห็น
พฤติกรรมเหลานี้ลวนแตเปนตนเหตุของการสรางเจตคติท่ีไมเหมาะสมในสังคมใหเกิดข้ึนและ
ทวีความรุนแรงขึ้นทุกที พฤติกรรมที่ไมถูกตองบางครั้งกลายเปนเร่ืองท่ีไดรับการยกยอง เชน บุคคลผูมี
อํานาจออกกฎหมายที่เอ้ือประโยชนแกตนเองและพวกพอง แตอางวาเปนการกระทําเพ่ือประโยชนแก
ประชาชนและสังคม ทัง้ ที่จริงแลว บุคคลเหลา นน้ั กลับไดป ระโยชน ซงึ่ เรียกวา ผลประโยชนท ับซอ น มองผิวเผนิ
เปนเร่อื งดียอมรับได แตจริง ๆ เปนการทุจรติ ประพฤติมิชอบท่ีไมถูกตองอยางยิ่ง ฉะน้ัน จึงเปนเรื่องที่เรา
จะตอ งรเู ทาทัน มีจติ สํานึกและมีสวนรว มท่จี ะชวยกันปอ งกัน แกไ ขขจัดปญหาทจุ ริตประพฤติมิชอบเหลาน้ี
ใหห มดไป รูจ กั และเขา ใจกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่เก่ียวของกับชีวิตประจําวัน รูจักใชชองทางในการสง
เรือ่ งรอ งเรียนพฤติกรรม การรองเรียนตอหนวยงานที่เก่ียวของ เม่ือเกิดปญหาทุจริตประพฤติมิชอบ รูจัก
เครือขายในการชวยดูแลประชาชนท่ีประสบความทุกข อันเน่ืองมาจากการทุจริตประพฤติมิชอบ
เรอื่ งดังกลา วนี้ สํานักงานปอ งกันและปราบปรามการทจุ รติ แหงชาติ (ป.ป.ช.) ไดมีการรวบรวมขอ มูลไวบางแลว
และสาํ นกั งานสง เสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั ไดนาํ มาสรุปเปน ขอมลู ประกอบไวใ น
หนงั สอื “คูมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู เรื่อง การปองกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2556” ท่ีใช
ควบคูไปกับการเรียนการสอน เรือ่ ง “การมสี วนรว มของประชาชนในการปองกันการทุจริตประพฤติมิชอบ
ในชุมชนและสังคม” ดวยแลว

ห น า | 99

“การมีสวนรว ม” (Participation) หมายถึง การเขาไปมบี ทบาทในฐานะที่เปนสวนหน่ึงของผูดําเนินการ
ในกิจกรรมตา ง ๆ การมีสวนรว มของประชาชน จําเปน ตองมกี ารวางระบบท่ีเปดโอกาสใหประชาชน “กลาคิด
กลา ทาํ ” ในสิ่งทถ่ี กู ตอง น่ันคือ การเปด ชอ งใหป ระชาชนมคี วามกลา ในการแสดงความคดิ เห็น และมีความกลา
ในการตดั สินใจ โดยอยูในกรอบของการเคารพสิทธิของผูอื่นและการรวมกันรับผิดชอบในผลตาง ๆ ที่จะเกิดข้ึน
ตามมาดวย บุคคลจะมสี วนรว มไดดี ก็ตองมคี วามรู ความเขา ใจ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบ มปี ระสบการณ
จากการรวมทํางานกบั เครอื ขายมากอน

“เครอื ขาย” (Network) เปน รูปแบบขององคกรทางสังคมที่เปดโอกาสใหเกิดปฏิสัมพันธระหวาง
องคก ร เพื่อการแลกเปลี่ยน การสรางความเปนอันหน่ึงอันเดียวกัน และการทํางานพรอมกันโดยมีฐานะ
เทา เทยี มกัน เครอื ขา ย จงึ เปนการจดั องคก รทางสังคมท่ใี หค วามสาํ คญั กบั การเชอื่ มโยงระหวางบุคคล และ
หนวยงานตาง ๆ คลาย ๆ กับรปู แบบของ “ตาขาย” หรือ “แห” ซ่ึงถูกถักทอและรอยเรียง จนกลายเปน
ปกแผนเดียวกนั โดยสรปุ แลว การทํางานแบบองคกรเครอื ขา ย คอื หนว ยงานจากหลายองคกร หลายสังกัด
มารวมกันทํางานเร่อื งเดยี วกัน เชอ่ื มโยงกนั ดวยวัตถปุ ระสงคเดียวกัน อยใู นฐานะเดียวกันอยางเปนอันหน่ึง
อนั เดียวกัน โดยมีผลประโยชนก บั ประชาชนเหมือนกันทงั้ กลมุ เดียวกันหรือตางกลมุ กนั ได

ทุจรติ หมายถงึ ประพฤติคดโกง โกง ไมซ่อื ตรง การทจุ รติ ตอหนา ที่ หมายความวา ปฏิบัติหรือละเวน
การปฏบิ ัตอิ ยา งใดในตาํ แนงหรือหนาที่ หรอื ปฏบิ ัตหิ รือละเวนการปฏบิ ตั อิ ยางไรในพฤติการณที่อาจทําให
ผูอ ืน่ เช่ือวามีตําแหนง หรือหนาท่ี ท้งั ๆ ทีต่ นมไิ ดม ตี ําแหนงหนา ที่ นั้น หรือใชอํานาจในตําแหนงหรือหนาท่ี
เพอ่ื ประโยชนท ีม่ คิ วรไดโ ดยชอบ สาํ หรับตนเองหรือผอู ื่น “ร่ํารวยผิดปกติ” หมายความวา การมีทรัพยสิน
มากผิดปกติ หรือทรัพยสินเพ่ิมขึน้ มากผดิ ปกติ หรอื การมหี นส้ี นิ ลดลงมากผดิ ปกติ หรือไดทรพั ยส นิ มาโดยไม
สมควร สืบเน่อื งมาจากการปฏิบตั ิหนา ท่หี รอื ใชอ าํ นาจในตาํ แหนงหนาท่ี

การขดั กันแหง ผลประโยชนหรือการมีประโยชนทบั ซอ น คอื การที่สภาวการณท ีบ่ ุคคลที่มีอํานาจหรือ
หนาทีท่ ่จี ะตอ งใชด ุลยพนิ ิจ ปฏบิ ตั หิ นา ท่ี หรอื กระทาํ การอยางใดอยา งหนึ่ง ตามอํานาจหนาท่ี เพ่ือสวนรวม
หรือหนวยงาน หรือองคกร แลวตนเองมีผลประโยชนสวนตนในเรื่องน้ัน ๆ ดวย การมีผลประโยชนทับซอน
จึงเปนตนเหตุท่ีมีความสัมพันธใกลชิดกับการทุจริต มีลักษณะทํานองเดียวกันกับหลักศีลธรรม
ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หลกั คุณธรรม จรยิ ธรรม กลาวคอื การกระทําใด ๆ ทเี่ ปนการขดั กนั ระหวาง
ประโยชนส ว นบุคคลกบั ประโยชนสว นรวมแลว เปน ส่งิ ท่ีไมควรกระทํา ตองหลีกเลี่ยง เมื่อเปนกฎศีลธรรม
จึงมีการฝาฝนสงั คม จงึ ไดส รา งเปน หลักกฎหมายขน้ึ มา เพอ่ื หา มมิใหเ จาหนาทข่ี องรัฐกระทําการท่ีเปนการ
ขัดกันระหวางประโยชนสวนบุคคลและประโยชนสวนรวม ตัวอยางของการขัดกันระหวางประโยชนสวน
บุคคลและประโยชนส วนรวม ไดแ ก

- การทําธรุ กจิ หรอื การเปนคสู ญั ญากบั หนวยงานท่ีตนเองกํากบั ดูแล
- การรบั ทรพั ยสินหรือประโยชนอืน่ ใด เพ่ือใหตนเองกระทาํ การหรือไมก ระทําการอยา งใด

ในตาํ แหนง ไมว าการน้นั จะชอบหรอื ไมชอบดว ยทรพั ย
- การทํางานหลังจากท่ีพนจากตาํ แหนง หรือเกษียณอายรุ าชการ เพือ่ หาประโยชนต อบแทนจาก

หนวยงานเดมิ
- การจดั ตง้ั หรือการมสี วนรวมกบั หนว ยงานเอกชน เพ่ือทาํ ธรุ กิจแขงขนั กบั หนว ยงานราชการที่

ตนเองปฏบิ ตั ิหนาที่
- การทํางานอนื่ ซึ่งไดร บั ประโยชนจ ากหนว ยงานราชการทตี่ นเองปฏบิ ตั หิ นา ที่
- การรบั รขู อมลู ภายในนอกเหนอื หนา ทีแ่ ละใชขอ มูลภายในเพอื่ ประโยชนต นเอง

ห น า | 100

- การใชท รพั ยส มบตั ขิ องหนวยงานเพอ่ื ประโยชนข องตนเอง
- การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลอื กตง้ั เพอ่ื ประโยชนแ กต นเองและในทางการเมอื ง
- การทาํ งานสองตําแหนง ท่มี ผี ลประโยชนของงานทบั ซอนกัน
- การรบั สินบน
วธิ สี รางความตระหนกั ใหประชาชนมีสว นรว มในการตอ ตา นการทุจรติ
การใหประชาชนมีสวนรวมกับ สํานักงาน ป.ป.ช. ในการตอตานการทุจริต โดยวิธีการสราง
ความตระหนัก อาจพิจารณาไดดังนี้
1. ปลูกจิตสํานึก คานิยม คุณธรรมจริยธรรม และสรางวินัยแกทุกภาคสวน โดยการสงเสริม
การดําเนนิ ชวี ติ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง สง เสรมิ การปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและ
วินัย ใชก ารศึกษาเปนเครือ่ งมือในการปองกนั เสรมิ สรา งความรู ทกั ษะ ทัศนคติ ปลกู ฝง จิตสาํ นึกใหนักเรียน
นกั ศกึ ษา เยาวชน และประชาชนอยางตอเน่ือง รวมทั้งผลกั ดนั คา นิยมการปอ งกนั การทจุ รติ ความซือ่ สตั ยสจุ ริต
รงั เกียจการทุจรติ เปนคานยิ มแหงชาติ
2. รวมมือในการสรา งการมสี วนรวมและเครือขายปองกันและปราบปรามการทุจริตในทุกภาคสวน
โดย

2.1 การประชาสัมพันธตอ ตา นการทจุ ริตประพฤตมิ ชิ อบทกุ รปู แบบ
2.2 เสริมสรา งกระบวนการมสี ว นรว มของประชาชนทุกภาคสว น
2.3 เสรมิ สรา งความเขมแขง็ ของเครือขายใหม ีขวัญและกําลงั ใจในการทาํ งาน
3. สงเสริมความเปนอิสระและสรางประสิทธิภาพใหแกองคกรท่ีมีหนาที่ตรวจสอบการทุจริต
โดยเฉพาะสํานักงาน ป.ป.ช. ใหปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลจากภาคการเมือง ภาคราชการ และ
ภาคธุรกจิ และถวงดุลอํานาจภาครัฐที่เกี่ยวของทุกระดับ เปดโอกาสใหประชาชนเขาถึงขอเท็จจริงอยาง
ทนั การณ
4. สงเสริมการสรา งมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชพี แกบ ุคลากรของหนวยงานท่ีมีหนาที่ตรวจสอบ
การทจุ รติ รวมท้ัง การเสริมสรางความรูทักษะ และจริยธรรมแกบุคลากร รวมทั้งเสริมสรางขวัญกําลังใจ
และการบรหิ ารงานบคุ ลากร การสรางความรว มมอื ดานวชิ าการกับองคกรตา งประเทศดว ย
กฎหมายทเ่ี กีย่ วขอ งในการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต
ภารกิจในดานปองกันการทุจริต คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจหนาท่ีดําเนินการ เพื่อปองกัน
การทุจริตและเสริมสรา งทัศนคตแิ ละคา นยิ มเกย่ี วกับความซอื่ สตั ยส จุ รติ รวมทงั้ ดําเนนิ การใหป ระชาชนหรือ
กลมุ บุคคล ในการสงเสริมใหประชาชนคนไทย มีสว นรว มในการปองกันและปราบปรามการทุจรติ ประกอบกับ
การทรี่ ัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ซึ่งเปนกฎหมายสูงสดุ ของประเทศ ยงั ไดก าํ หนดใหรัฐมีหนาที่ตอง
เขา มามีสวนรว ม โดยการสง เสริมและสนบั สนุนการมสี ว นรว มของประชาชนในการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐ
ทุกระดบั ในรปู แบบองคกรทางวิชาชพี หรอื ตามสาขาอาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอ่ืน ๆ ในการดําเนินงาน
ตามอํานาจหนา ทีข่ องคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไดกําหนดยุทธศาสตรชาติที่เกี่ยวของกับการปองกันและ
ปราบปรามการทุจรติ โดยกําหนดวสิ ยั ทศั นและพนั ธกจิ สง เสรมิ ใหทุกภาคสวน รวมทงั้ ประชาชน ไดรับการ
ปลกู จติ สาํ นึกใหม วี ินัย ยึดม่นั ในคณุ ธรรม จริยธรรม รวมถึงพฒั นาเครือขายปองกันและปราบปรามการทุจริต
ประพฤติมิชอบอยางบูรณาการ รวมท้ังมีขอกฎหมายบัญญัติไวชัดเจน มีกฎหมายที่เก่ียวของในการ

ห น า | 101

ปฏิบัตงิ าน เพ่ือปอ งกันปญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบท่ีผูปฏิบัติงาน และเครือขายภาคประชาชน ควร
ทราบดงั น้ี

1. รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 87 (3)
รัฐธรรมนญู แหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช 2550 มีเจตนารมณใหป ระชาชนมบี ทบาท

และมสี ว นรว มในการปกครอง และตรวจสอบการใชอ าํ นาจรัฐอยางเปน รูปธรรม โดยไดก ําหนดไวใ น มาตรา 87
ใหรฐั ตอ งดาํ เนนิ การตามนโยบายการมสี วนรว มของประชาชน (3) สง เสริมและสนบั สนุนการมีสวนรวมของ
ประชาชนในการตรวจสอบการใชอ ํานาจรัฐทกุ ระดับ ในรูปแบบองคกรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพท่ี
หลากหลาย หรือรูปแบบอืน่ ๆ

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวา ดวยการปอ งกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
(ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตร 19 (3)

พระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนูญวาดวยการปอ งกันและปราบปรามการทุจรติ พ.ศ. 2542
(ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2554 กําหนดอํานาจหนาท่ขี องคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไวในมาตรา 19 โดยในดานการปองกัน
การทุจริต ไดกําหนดไวในมาตรา 19(13) วาดําเนินการเพ่ือปองกันการทุจริตและเสริมสรางทัศนคติและ
คา นิยมเก่ยี วกับความซือ่ สัตยส จุ ริต รวมทง้ั ดาํ เนินการใหป ระชาชนหรือกลุมบคุ คลมีสวนรวมในการปองกัน
และปราบปรามการทุจริต

3. ภารกจิ และอาํ นาจหนา ทขี่ องคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซ่ึงมอี าํ นาจหนา ทีใ่ นดานตา ง ๆ ดงั น้ี
3.1 ดา นปองกนั การทุจรติ
3.2 ดา นปราบปรามการทุจริต
3.3 ดา นตรวจสอบทรพั ยส ิน

ทัง้ นีม้ รี ายละเอยี ดท่สี ามารถศึกษาคน ควา ไดจ ากเอกสารคูมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู เร่ือง การปองกัน
และปราบปรามการทุจรติ พ.ศ. 2556 และ www.nacc.go.th (เวบ็ ไซต ป.ป.ช.)
การกระตนุ จติ สาํ นกึ การมีสว นรว มในการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ

เพ่ือใหผ ูเ รยี นเกิดความเขา ใจ ตระหนกั และมจี ติ สาํ นกึ ในการมีสว นรว มที่จะปอ งกนั การทุจริต
ประพฤติมิชอบในชมุ ชน และสงั คม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551
จงึ ไดก าํ หนดแนวทางการเรยี นรู ในรปู แบบกรณีศกึ ษา ใหผูเรียนไดฝกทักษะการคิด วิเคราะห การมีสวนรวม
ในการแกป ญหาการทจุ รติ รปู แบบตา ง ๆ ดวยเจตนาที่จะใหผูเรยี นสามารถนําไปเปนแนวทางในการปฏิบัติ
เพือ่ ประโยชนต อตนเอง ครอบครวั ชุมชน และสังคม จนเกิดการพัฒนาจิตสํานึกในการมีสวนรวมปองกัน
และปราบปรามการทุจรติ ได กจิ กรรมทั้งหมดประกอบดว ย 6 กรณีศึกษา ไดแ ก

1. เรื่อง เรยี กรบั เงินจากผูคา โค กระบอื แถมโรคใหผ บู ริโภคเน้ือสตั ว
2. เร่อื ง โรงรบั จาํ นาํ ทาํ พษิ
3. เรอ่ื ง ไมกลายเปนงา
4. เรือ่ ง ทุจรติ ประปา
5. เรื่อง น้าํ ทว มจรงิ หรือ
6. เรอื่ ง ขุดบอ....ลวงใคร
7. เรอ่ื ง ใครผดิ ....

ห น า | 102

8. เร่อื ง ทาํ ไดอยา งไร...
9. เร่ือง เงินหลวง....อยา เอา
ทงั้ นี้ ผูเ รียนและผูส อน จะตอ งรว มมอื กันนําขอมูลทงั้ ดาน วิชาการ ระเบียบ กฎหมาย ที่ไดมี
การสรุปรวบรวมไวใ นเอกสาร คูมอื การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู เรอ่ื ง การมสี ว นรวมของประชาชนในการปองกัน
และปราบปรามการทุจริต รวมกับขอมูล ปญหาความตองการสภาพแวดลอมของชุมชน ทองถ่ิน และ
คณุ ธรรม จริยธรรม ท่ีตนเองมีอยูมาตัดสินใจแกปญ หาตา ง ๆ ใหลลุ ว งไปไดอยา งเหมาะสมตอ ไป

ห น า | 103

กรณศี กึ ษา
เรือ่ ง 1 เรยี กรบั เงนิ จากผูคา โค กระบือ แถมโรคใหผูบริโภคเน้ือสัตว
วตั ถุประสงค
1. วิเคราะหพ ฤตกิ รรมและโทษของผูกระทําความผดิ ไดอยา งมเี หตุผลและหลกั กฎหมาย
2. นาํ หลกั คณุ ธรรมมาวเิ คราะหในสถานการณท ี่เกิดขึ้นได
3. บอกวิธกี ารมสี ว นรวมในการปอ งกนั ปราบปรามการทุจรติ
4. เกิดจิตสาํ นกึ การมสี ว นรวมในการปองกันและปราบปรามการทุจริต
5. ไดข อ คิดจาการศกึ ษากรณตี วั อยางในการกระทาํ การทจุ ริต
เนื้อหาสาระ
พระราชบญั ญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนญู วาดว ยการปอ งกันและปราบปรามการทจุ รติ พ.ศ. 2542 และ
ท่แี กไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2554
กรณีศกึ ษา
การนาํ เขาโค กระบอื ผานดานชายแดน ผูคา โค กระบือ นําเขา ตอ งเสียคา ธรรมเนยี มการเคล่ือนยายสัตว
โดยเจา หนาทข่ี องรฐั ตอ งมีการกกั โค กระบือ ณ บรเิ วณชายแดน เพอ่ื ฉีดวคั ซนี ปอ งกันโรคระบาด และดอู าการ
15 วนั ถา ไมมอี าการผดิ ปรกติ ผคู าโค กระบือ ก็จะยืน่ เสียคา ธรรมเนียมใบอนุญาตเคลอ่ื นยา ยสตั ว (ใบ ร.4)
ออกไปนอกเขตจงั หวัดได
นายขวด พอคาโค กระบือ นําเขาโค กระบือ จากพมาเขามาประเทศไทย ไมผานขั้นตอนและ
วิธีการตาง ๆ ท่ีถูกตอง โดยไดรับการชวยเหลือจากนายแกว ท่ีมีหนาท่ีเก็บคาธรรมเนียมพรอมออก
ใบเสรจ็ รบั เงิน และใบอนญุ าตเคลื่อนยา ยสัตว (ใบ ร.4) นายแกวเรียกเงินจากนายขวด 3,000 บาทตอรถบรรทุก
โค กระบอื 1 คนั แลวไมน าํ เงนิ สง ใหท างราชการ และท่ีรายไปกวานั้น นายแกวไมไดฉีดวัคซีนปองกันโรคระบาด
ใหโค กระบือ แถมยังเบิกเงินจากทางราชการ เปนคาวัคซีนในการฉดี วัคซีนใหโค กระบือ อีก ในแตละวันมี
การนาํ เขาโค กระบือ ไมน อยกวาวันละ 50 คนั รถบรรทุก 1 ป ไดเงินถึง 54,750,000 บาท นายแกวทําแบบน้ี
มาหลายปแลว คิดเปนเงินท่ีไดจากการทุจริตเปนเงินมหาศาลทีเดียว ที่สําคัญโค กระบือ ไมไดฉีดวัคซีน
ปอ งกนั โรคระบาด ประชาชนท่ีบริโภคจะเกิดผลรายตอสุขภาพโดยตรง จากพฤติกรรมดังกลาว นายแกว
คนเดยี วไมสามารถทาํ การทจุ ริตดังกลาวไดสําเร็จโดยลาํ พัง ตองมีขาราชการ ผูเขารวมขบวนการอีกหลาย
หนว ยงาน เชน หนวยงานท่ีเก็บภาษีนําเขา หนวยงานท่ีออกต๋ัวพิมพรูปพรรณสัตว และเจาหนาท่ีตํารวจ
เปนตน การกระทาํ นสี้ งผลกระทบโดยตรงตอสังคมและเศรษฐกจิ ของประเทศชาติอยางมาก การจะเอาผิด
กบั ผูก ระทําการทุจริต ตองมีหลักฐานที่ชัดเจนวา ผูกระทําผิดมีการเรียกเก็บเงิน และรับเงินจากผูคา โค
กระบือ จรงิ เปนจาํ นวนเงนิ เทาไหร และมใี ครบางทีจ่ ายเงินใหน ายแกว
ใครละ จะชว ยนําสบื หาหลกั ฐานทีก่ ลา วมาแลวได ในเมอ่ื ตํารวจเองก็เขารวมขบวนการทุจริตเสียเอง
สํานกั งานปองกันและปราบปรามการทจุ ริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) จึงตอ งลงมอื หาหลักฐานเอง โดยใหเจา หนา ที่
ปลอมตัวเปนชาวบานเขาไปพรอมกับนายขวด นําเงินคาธรรมเนียมการเคลือ่ นยายสตั วไ ปใหน ายแกวที่บาน
จํานวน 30,000 บาท นายแกว จงึ ใหใบอนญุ าตเคลอ่ื นยา ยสตั ว (ใบ ร.4) กับนายขวด 10 ใบ จากนั้น นายขวด
ไดพาเจา หนา ที่ ป.ป.ช. ทป่ี ลอมตวั ไปหานายโถ เจาหนาที่ตํารวจที่สถานที่แหงหนึ่ง และนําใบ ร. 4 ใหนายโถ
นายโถ จึงเขียนจดหมายนอยมีใจความวา “จายแลว” จํานวน 10 ใบ ใหนายขวด เพ่ือเอาไปใหคนขับ
รถบรรทุกโค กระบอื เพ่ือนาํ ไปแสดงใหเ จาหนาที่ตํารวจดู คูกับใบ ร.4 ตามรายทางทผ่ี านไป ซึ่งเปนท่ีเขาใจวา
ไดม กี ารจายเงินใหแ กน ายโถแลว และเมอื่ สน้ิ เดือนนายโถจะนําเงนิ ไปใหผูก ํากบั การสถานตี ํารวจ

ห น า | 104

ประเดน็
1. จากกรณศี ึกษามใี ครเปน ผกู ระทําความผิดในการทุจรติ
2. นายแกว กบั พวกผกู ระทําผิด ควรไดร บั โทษทางวนิ ัยอยา งไร และดําเนนิ คดีทางศาล หรอื ไม อยางไร
3. นายขวดเปนผูกระทําความผิดดว ยหรือไม เพราะเหตใุ ด
4. ผูกระทําการทจุ ริตทกุ คนขาดคณุ ธรรมในขอ ใด
5. ทา นไดขอ คดิ จากกรณีศกึ ษาเรอ่ื งนี้อยางไร
6. หากทา นทราบเรอื่ งการทจุ ริตดังกลา ว ควรแจงเรือ่ งไปท่ใี ด

ใบงาน
1. ใหผ เู รียนอา นกรณศี กึ ษา เรอ่ื ง เรยี กรับเงนิ จากผูคาโค กระบอื แถมโรคใหผ บู ริโภคเน้อื สตั ว
แลวตอบคําถามในประเดน็ ท่ี 1 - 5 ในกระดาษ
2. ผสู อนใหผ ูเ รียนแตละคนอานความคดิ เหน็ ของตนในแตล ะขอใหเพอื่ นในหอ งเรยี นฟง โดยการสมุ
และใหชว ยกันวเิ คราะหเหตุและผลในแตละประเดน็ และผสู อนสรปุ ประเดน็ จากการวเิ คราะหน น้ั

กิจกรรมการเรยี นรูตอเนื่อง
ใหผ ูเรยี นคนควา ทํารายงานเรอ่ื งจริงเก่ียวกบั การทจุ ริตของขา ราชการในรปู แบบตาง ๆ และเสนอ

แนวทางปองกันและปราบปรามการทจุ รติ คนละ 1 เรอ่ื ง
สื่อและแหลง คน ควา

- เอกสาร พระราชบญั ญัตปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา ดวยการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ พ.ศ. 2542
และ ที่แกไขเพิ่มเตมิ พ.ศ. 2554

- www.nacc.go.th

ห น า | 105

วัตถุประสงค เร่อื ง 2 โรงรบั จํานาํ ทาํ พษิ

1. วเิ คราะหพ ฤตกิ รรมและโทษของผูกระทําความผิดไดอ ยา งมเี หตุผลและหลักกฎหมาย

2. นําหลักคณุ ธรรมมาวิเคราะหในสถานการณท ี่เกดิ ข้นึ ได

3. บอกวิธกี ารมสี วนรว มในการปองกันปราบปรามการทจุ ริต

4. ไดขอคิดจากการศึกษากรณตี วั อยางในการกระทาํ การทจุ ริต

เน้อื หาสาระ

พระราชบัญญัตปิ ระกอบรัฐธรรมนญู วาดวยการปอ งกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ

ทแี่ กไ ขเพม่ิ เตมิ พ.ศ. 2554

กรณีศกึ ษา
ณ ตาํ บลมะขามปอ ม ชาวบา นสวนมากมอี าชีพทาํ ไร ทําสวน ในหลาย ๆ ครั้งจะมีรายไดไมพอกับ

คาใชจ ายตาง ๆ มีรายไดไมแนนอน ใน 1 ป เมอ่ื เกบ็ เก่ยี วผลผลติ จากไรนาไดแลว หากบางปมีเงินเหลือจาก

การใชหนี้คาเชานา เชาไร คายาฆาแมลง คาปุย และอ่ืน ๆ แลวมักจะซ้ือทองหรือเคร่ืองใชไฟฟา และ

ทรัพยสนิ ทีช่ อบไว ซงึ่ ชาวบา นมักจะมีความคดิ เหมือนกันวา เมอ่ื ยามชักหนาไมถึงหลัง เปดเทอมลูกตองใช

เงนิ ซอื้ เส้อื ผา นักเรยี น คาเทอม และคา ใชจา ยอนื่ ตามมาอีกมาก ก็จะไดนําทรัพยสินไปจํานําท่ีโรงรับจํานํา

หรือรานขายทองในตวั จังหวัด

นายฉลาด นายกเทศมนตรตี าํ บลมะขามปอ ม ไดส งั เกตพฤติกรรมของขาวบานมาหลายป จึงคิดวาแทนที่

ชาวบา นจะเอาทรพั ยส นิ ไปจาํ นาํ ในตวั จงั หวดั เสยี คา ดอกเบ้ยี ใหก บั คนตางถ่นิ ถา เทศบาลมะขามปอ ม ต้ังโรงรับจํานําเอง

จะไดเงนิ จากดอกเบี้ย และสวนตา งของทรพั ยสินทนี่ ําออกมาขายเม่อื หลุดจํานาํ แลว และเงินจาํ นวนน้จี ะไดนาํ เขา

เปนรายไดข องเทศบาลตําบล เพื่อใชในการพัฒนาตําบลของตนตอไป จึงต้ังโรงรับจํานําข้ึนชื่อวา “โรงรับจํานํา

มะขามปอ ม” มีรายไดปล ะกวา 5,000,000 บาท หลายปต อมามีการผลัดเปล่ียน นายกเทศมนตรีตําบลมะขามปอม

เร่ือยมา และกจิ การโรงรบั จํานาํ มะขามปอมเจริญรุง เรือง มรี ายไดเ ปนกอบเปนกํา จนกระท่ัง นายซื่อนอย ไดรับ

เลือกเขามาเปน นายกเทศมนตรตี ําบลมะขามปอ มคนปจ จบุ ัน เหน็ วากจิ การโรงรับจาํ นาํ มะขามปอ มมีรายไดดมี าก

อยากไดสวนแบงจากผลประกอบการนั้นบาง จึงไดตั้งโรงรับจํานําของตนเอง ใหภรรยาเปนผูจัดการดูแล และ

ตนเขา รว มเปน คณะกรรมการบริหาร ณ ตําบลมะขามปอ ม นั้นเอง และโรงรบั จํานาํ ของตนใหญโตมีรายไดสมใจ

ประเดน็ คําถาม
1. จากกรณศี ึกษานายซื่อนอย นายกเทศมนตรตี าํ บลมะขามปอ มคนปจ จุบัน ต้งั โรงรับจํานําของตน

ณ ตาํ บลมะขามปอ ม มคี วามผิดทางวินยั และอาญา หรือไมเ พราะเหตุใด

2. นายฉลาดมคี วามผดิ ในการทุจริตหรอื ไม เพราะเหตใุ ด

3. ใครเปน ผมู ีคณุ ธรรมและไมมีคุณธรรมในการทํางานใหกบั รัฐ

4. หากทานเปน ชาวบา นตําบลมะขามปอม ทราบเรื่องตามเหตกุ ารณใ นกรณศี ึกษา ทา นทาํ อยา งไร

เพราะเหตใุ ด

ห น า | 106

ใบงาน
1. แบง กลุมผูเรียนกลุมละ 3 - 4 คน และใหศึกษากรณีศึกษาเร่ือง “โรงรับจํานําทําพิษ” จดบันทึก
ความคิดเหน็ ของตนตามประเด็น 1 - 4 และใหส มาชิกในกลมุ นาํ เสนอขอ คดิ เหน็ ของตนเองตอกลุม
แลวชวยกันวเิ คราะหส รปุ เปนผลงานของกลมุ โดยใชค วามรจู ากกฎหมายการปองกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ. 2542 และท่แี กไ ขเพม่ิ เตมิ พ.ศ. 2554 ประกอบ
2. ใหตัวแทนแตล ะกลุม นาํ เสนอผลสรปุ ของกลุมในหอ งเรยี น และผสู อนชวยเตมิ เตม็ พรอมสอดแทรก
ความรเู รือ่ งการปอ งกันการทจุ รติ คุณธรรม ความซื่อสัตย
3. ใหผูเ รยี นคน ควา ทํารายงานเรือ่ งจริงเกี่ยวกับการทจุ ริตของขาราชการในรูปแบบตาง ๆ และเสนอ
แนวทางปอ งกันและปราบปราม คนละเรือ่ ง

กจิ กรรมการเรียนรูต อ เนอื่ ง
ใหผูเรียนคนควา ทาํ รายงานเรอื่ งจริงเกย่ี วกบั การทจุ รติ ของขา ราชการในรปู แบบตาง ๆ และเสนอ

แนวทางปองกันและปราบปรามการทจุ ริต คนละ 1 เรอ่ื ง

สือ่ และแหลงคนควา
- เอกสาร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการปองกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. 2542 และ ทแ่ี กไ ขเพม่ิ เตมิ พ.ศ. 2554
- www.nacc.go.th

ห น า | 107

เรื่อง 3 ไมกลายเปนงา

วัตถปุ ระสงค
1. วิเคราะหพ ฤติกรรมและโทษของผูก ระทาํ ความผดิ ไดอ ยา งมีเหตุผลและหลักกฎหมาย
2. นําหลกั คณุ ธรรมมาวิเคราะหใ นสถานการณท ่ีเกิดข้ึนได
3. บอกวิธีการมสี ว นรว มในการปองกนั และปราบปรามการทจุ รติ
4. เกิดจติ สาํ นกึ การมสี ว นรวมในการปองกันและปราบปรามการทจุ รติ
5. ไดขอ คดิ จาการศกึ ษากรณตี ัวอยางในการกระทาํ การทจุ รติ

เนอื้ หาสาระ
พระราชบัญญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญวา ดวยการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2542 และ

ท่ีแกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554
กรณีศกึ ษา

นายเฮยี ง เปน พอ คาท่ีมอี ิทธพิ ลในวงการธุรกิจและวงการเมอื ง รวมไปถึงวงการราชการไทย คร้ังหนึ่ง
เขาไดพ านกั การเมืองและขาราชการชน้ั ผูใหญ จาํ นวนประมาณ 12 คน ไปเท่ียวเมืองจนี โดยออกคา เดินทาง
และคา ใชจ ายอนื่ ท้งั หมด เมื่อถึงวนั เดินทางกลบั นายเฮียงไดแ อบนาํ ลังไมขนงาชางและเครื่องลายครามล้ําคา
จากเมอื งจีนเขามา โดยบอกวาเปนไมแกะสลักธรรมดาของผูเดนิ ทาง ทั้ง 12 คน และกระทําการหลบเลี่ยง
การตรวจประเมนิ ราคาจดั เกบ็ ภาษีของเจาหนา ทผ่ี ูต รวจ

นายเฮยี งไดรบั ยกเวน การตรวจ โดยเจาหนาท่ีไมไดลงไปตรวจสิ่งของหรือใหนําสิ่งของขึ้นมาทาง
ประตูมาใหตรวจแตอ ยางไร เพราะนายเฮยี งมคี วามสนิทสนมคุนเคยและใหสิ่งของแกเจาหนาที่ผูตรวจเปน
ประจาํ ครงั้ นเ้ี จา หนา ที่คํานวณและเก็บภาษีเปน เงินเพยี ง 1,000 บาท โดยไมไดเปดลังตรวจตามข้ันตอนปกติ
ขณะทนี่ ายเฮียงขนของออกจากสนามบิน เจาหนาที่ รปภ. พบพิรุธและไมใหนําสินคาออก แมวานายเฮียง
จะไดแสดงใบเสยี ภาษีแลว แตเนอื่ งจากใบแสดงการเสียภาษี ระบุจายภาษีแค 1,000 บาท ท้ังท่ีสินคามีถึง
4 ลงั ใหญ จงึ ดาํ เนินการกกั สินคาไวก อ น

ในชว งเวลาที่สนิ คา ถูกกกั นายเฮียง พยายามตอ รองนาํ สินคา ออกมานั้น มีพลเมืองดีโทรศพั ทเขามา
แจง ป.ป.ช.วา นายเฮียงไดแจงนําสินคาไมตรงกับรายการที่ไดรับแจง ทาง ป.ป.ช. จึงไดรีบประสานงาน
ระงับการนาํ สนิ คาออก เพื่อรอการตรวจพสิ จู น หลังจากน้นั จึงพบวา จากทีน่ ายเฮยี ง แจงวา เปน ไมแ กะสลกั
กลบั กลายเปน งาชา งแกะสลัก ลวดลายละเอยี ดสวยงาม และเปน เครอ่ื งลายครามโบราณ มูลคาหลายลานบาท
เมื่อหลักฐานการสืบคนชัดเจน จึงไดดําเนินการสงฟองจําเลย คือ เจาหนาท่ีผูจัดเก็บภาษีฐานละเลย
การปฏบิ ตั หิ นาท่ี และนายเฮียง ฐานสนับสนนุ การกระทาํ ความผิดของเจาหนา ที่ ในคดีนี้ศาลไดพิพากษาวา
จาํ เลย คอื เจาหนาที่ผูจ ัดเก็บภาษี ละเลยการปฏิบัติหนาที่ สวนนายเฮียง น้ัน ศาลลงโทษจําคุกและปรับ
เปนเงนิ 4 เทา ของราคาประเมนิ บวกอากรรวมเปน เงินหลายสบิ ลา นบาท

ห น า | 108

ประเดน็
1. ใหผ ูเรยี นวเิ คราะหต วั ผกู ระทาํ การทุจริตรายบคุ คลวาเหมอื นหรือแตกตางกนั อยา งไร
2. ใหผ ูเรียนวิเคราะหการขาดคุณธรรม จรยิ ธรรม แตล ะบุคคลทเ่ี กย่ี วของกบั การทจุ รติ
3. ใครควรไดร ับการยกยอ งมากทสี่ ุด เพราะเหตุใด

ใบงาน
1. ใหผ ูเ รียนฝก วิเคราะหร ปู แบบการทจุ ริตจากแหลง ขา วตาง ๆ
2. ใหผ ูเ รียนวิเคราะหผ ลดใี นการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต
3. ใหผ ูเ รียนเสนอแนวทางในการปองกนั และปราบปรามการทจุ รติ

กิจกรรมการเรียนรอู ยา งตอ เนื่อง
มอบหมายผเู รียน ศกึ ษากรณีตัวอยางการกระทําทุจริตท่ี ป.ป.ช. ช้ีมูลและผูมีอํานาจหนาที่ไดสั่ง

ลงโทษแลว จากเว็บไซตของ ป.ป.ช. พรอมวิเคราะหประเด็นตามใบงานและเสนอวิธีการมีสวนรวมใน
การปองกนั และปราบปรามการทจุ รติ นาํ มาเสนอเปนรายงาน คนละ 1 เรื่อง

สื่อ แหลงคน ควา
1. มมุ สง เสรมิ การเรียนรดู า นการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ หองสมุดประชาชน
2. เวบ็ ไซต สํานักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th
3. สาํ นกั งาน ป.ป.ช. ประจาํ จงั หวัด

ห น า | 109

เรอ่ื ง 4 ทุจริตประปา

วัตถุประสงค
1. วเิ คราะหพ ฤติกรรมและโทษของผูกระทาํ ความผดิ ไดอ ยา งมเี หตผุ ลและหลกั กฎหมาย
2. นาํ หลกั คณุ ธรรมมาวิเคราะหใ นสถานการณท ี่เกิดข้นึ ได
3. บอกวธิ กี ารมสี วนรวมในการปองกนั และปราบปรามการทุจรติ
4. เกดิ จิตสํานึกการมสี ว นรวมในการปองกนั และปราบปรามการทจุ ริต
5. ไดข อคิดจาการศกึ ษากรณีตัวอยา งในการกระทาํ การทจุ ริต

เนอ้ื หาสาระ
พระราชบญั ญตั ปิ ระกอบรฐั ธรรมนญู วา ดว ยการปอ งกันและปราบปรามการทจุ รติ พ.ศ. 2542 และ

ทแี่ กไขเพิ่มเตมิ พ.ศ. 2554

กรณศี กึ ษา
องคก ารบริหารสว นตาํ บลแหงหนง่ึ ไดป ระกาศสอบราคาจางเหมาระบบประปาหมูบาน ในวงเงิน

400,000 บาท โดยมหี างหุนสวน คอนกรตี จํากดั แหงหน่งึ ซงึ่ เสนอราคาต่ําสดุ เปนผูไดรับเลือกใหกอสราง
ระบบประปาดงั กลา ว และองคก ารบริหารสว นตาํ บล ไดม ีคาํ สัง่ แตง ต้ังคณะกรรมการตรวจจางประกอบดว ย
นายกิจจา ประธานคณะกรรมการองคการบริหารสวนตําบล เปนประธานกรรมการ นายขรรคชัย
ปลดั องคการบรหิ ารสวนตาํ บล เปน กรรมการ นอกจากนย้ี ังมีกรรมการบริหารและผูแทนประชาคมหมูบาน
อีก 2 คน รวมเปนกรรมการ โดยมีนายคนึง หัวหนาสวนโยธา เปนผูควบคุมงานกอสราง ซึ่งนายกิจจา
นายขรรคชยั และนายคะนึง ไดรว มกนั เรียกรบั เงินจากหา งหนุ สว น คอนกรีต จํากัด จํานวน 10 เปอรเซ็นต
ของวงเงินคาจางกอสราง หรือประมาณ 40,000 บาท เพือ่ เปน การตอบแทนในการเบิกจายเงินคากอสราง
แตหางหุนสวน คอนกรีต จํากัด ไดขอตอรองเหลือ 20,000 บาท และไดแจงความกับเจาหนาท่ีตํารวจ
กองบังคับการสอบสวนสืบสวน โดยวางแผนเขาจบั กุมนายกิจจา กบั คณะ ไดพ รอ มกบั เงนิ ของกลาง

ประเด็น
1. ใหผ ูเรียนวเิ คราะหตัวผกู ระทําการทุจริตรายบุคคลวาเหมือนหรอื แตกตา งกัน อยางไร
2. ใหผูเ รยี นวิเคราะหการขาดคุณธรรม จรยิ ธรรมแตละบคุ คลทเ่ี ก่ยี วของกบั การทุจริต

ห น า | 110

ใบงาน
1. ใหผเู รยี นฝกวิเคราะหร ปู แบบการทจุ ริตจากแหลงขาวตา ง ๆ
2. ใหผ เู รียนวเิ คราะหผ ลดใี นการปอ งกันและปราบปรามการทจุ รติ
3. ใหผ ูเรยี นเสนอแนวทางในการปองกันและปราบปรามการทจุ รติ

กิจกรรมการเรยี นรูอยา งตอ เนื่อง
มอบหมายผเู รยี น ศึกษากรณีตัวอยางการกระทําทุจริตท่ี ป.ป.ช. ชี้มูลและผูมีอํานาจหนาที่ไดสั่ง

ลงโทษแลว จากเว็บไซตข อง ป.ป.ช. พรอ มวเิ คราะหป ระเดน็ ตามใบงานและเสนอวิธีการมสี ว นรว มใน
การปองกันและปราบปรามการทจุ รติ นาํ มาเสนอเปน รายงาน คนละ 1 เร่อื ง

สอ่ื แหลงคน ควา
1. มุมสง เสริมการเรยี นรูดา นการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต หอ งสมดุ ประชาชน
2. เวบ็ ไซต สาํ นักงาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th
3. สํานกั งาน ป.ป.ช. ประจาํ จังหวดั

ห น า | 111

เร่อื ง 5 นํา้ ทว มจริงหรือ

วตั ถปุ ระสงค
1. ผูเ รียนสามารถตดั สินไดวาพฤตกิ รรมของเจาหนา ทต่ี ามกรณตี ัวอยางเปนการทจุ รติ ตามกรณีใด
2. ผเู รียนสามารถวเิ คราะหผ ลกระทบที่เกิดขนึ้ ตอตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมอันเปนเหตุ

สบื เนือ่ งมาจากการทจุ รติ ในกรณดี ังกลา ว
3. ผูเรียนสามารถแจงเบาะแสตอผูมีหนาที่ในการปองกันการตรวจสอบและการปราบปราม

การทจุ รติ ได

เน้อื หาสาระ
1. ผลประโยชนท บั ซอน และการทุจรติ กรณกี ารรบั ทรัพยส นิ หรอื ประโยชนอ่นื ใด
2. พระราชบญั ญัตปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญวาดว ยการปองกนั และปราบปรามการทุจริต
พทุ ธศกั ราช 2542 และ (ฉบบั ท่ี 2) พุทธศักราช 2554 มาตรา 19(3)
3. ภารกิจและอํานาจหนาทีข่ องคณะกรรมการ ป.ป.ช.
4. คุณธรรม จริยธรรมทเี่ ก่ียวของกบั การปอ งกนั การทจุ ริต
5. เครอื ขา ยการมสี ว นรวมของประชาชนและชอ งทางการรองเรียนการทจุ รติ

กรณีศึกษา
เมอ่ื เกิดเหตสุ าธารณภยั เชน นา้ํ ทว ม ภัยหนาว ตามจาํ นวนวันที่ราชการกําหนดไว ทางราชการได

วางแนวทางในการปฏิบัติราชการไวว า สามารถจัดซ้อื จัดจางพสั ดุดว ยวิธพี ิเศษ เพ่อื ใหไ ดส ่งิ ของ เชน อาหาร
ยา เสอ้ื ผา ขาวของเครือ่ งใช หรือ สาธารณปู โภค เชน การซอ มแซมถนนหนทาง ระบบไฟฟา ประปา ฯลฯ
เพื่อชวยเหลือหรือบรรเทาทุกขประชาชนผูเดือดรอน กรณีศึกษาที่ยกมาใหพิจารณา เปนกรณีของ
ขาราชการระดบั สูงของอําเภอแหง หน่งึ ซง่ึ มีอาํ นาจในการพจิ ารณาจัดซือ้ จัดจา งพสั ดุเพอ่ื ชว ยเหลอื บรรเทา
สาธารณภัย ดังนี้

“นาย จ เปน ขาราชการระดับสูงของอําเภอแหง หน่ึง ไดรายงานเหตดุ วนสาธารณภัยวา เกดิ อุทกภัย
ในพ้ืนที่ท่ีรับผิดชอบ ทั้งท่ีในชวงเวลาน้ันไมมีอุทกภัยหรือฝนตกหนักแตอยางใด การรายงานเหตุดวน
สาธารณภัย อันเปน ความเท็จดงั กลาว ทาํ ใหน าย จ ไดใชเปนเหตุอนุมัติใหวาจางผูรับจาง ท้ังที่รูอยูแลววา
คณะกรรมการฯ (คณะกรรมการท่ีดําเนินการเกี่ยวกับการจัดจาง) ไมไดดําเนินการเจรจาตอรองราคากับ
ผูร ับจา งตามระเบยี บฯ


























































Click to View FlipBook Version