The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by maw.nfe, 2020-04-15 01:58:56

สุขศึกษา พลศึกษา ประถมศึกษา

กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

43

 “ความรูสึก”
คอื ความรสู กึ ของเราตอ เงอ่ื นไข การบอกความรูส ึกจะชว ยลดการโตเถยี งหาเหตุผลมาหวา น
ลอ ม เพราะความรสู ึกของคนตอ เรอื่ ง หนง่ึ ๆ ยอ มตางกนั ได ระบใุ หชดั วา “ฉนั ” คือผทู ่ีรสู ึก
อยา อางผอู ื่น น้ําหนกั ของการเปน “ฉัน” นน้ั สาํ คญั กวาขอ อางอื่นใด
(“ฉัน” รสู ึกไมส บายใจถาแฟนจะคาง)

 “ความตอ งการ”
คอื ทางเลอื กทเี่ ราตอ งการทํา เหตผุ ล และบอกประโยชนท ี่จะไดรว มกนั
(กลบั ตอนนเี้ ลยดกี วา พรงุ น้ีเราเจอกนั แตเ ชา นะ)

การบอกและยนื ยนั ความตอ งการสามารถทาํ ไดอยา งมัน่ คงและมน่ั ใจ
 พดู ใหช ัดเจน ตรงจุด สบตาและนาํ้ เสยี งหนกั แนน
 ยา้ํ ดว ยทา ทางเมือ่ พูดจบ เชน ลุกขน้ึ ยนื เพอ่ื เดนิ กลับ ควกั เงนิ จา ยคา สว นแบง คาอาหาร เดินไป
หยบิ ของเพือ่ สง แขก
 พูดซํา้ อกี คร้งั เมอื่ ถูกหวานลอมดว ยวิธกี ารตา ง ๆ การออกจากเหตุการณโดยเรว็ เม่อื บอก
ความตอ งการไปแลว เปน วิธหี นง่ึ ทจ่ี ะยตุ คิ วามพยายามชกั จูงหรือบังคับทางออม
 ยา้ํ กบั ตวั เองในความคดิ เสมอวา “ฉันมสี ทิ ธแิ ละสามารถเลือกเองไดวา จะทําอะไร”

การเปน ตวั ของตัวเองเรม่ิ ตน ที่
 ซอื่ สตั ยต อความคิด ความรสู กึ ของทีแ่ ทจรงิ ของตัวเอง ถามตัวเองวาในเหตกุ ารณน ี้เรารูสกึ
อยา งไร อยากทาํ อยางไร
 ตระหนกั วา ความรสู ึกนอยใจ โกรธ รสู กึ วา ไมม คี ุณคา ไมไ ดรบั การยอมรบั เปน เราเองที่
ตอ งรบั ผิดชอบในแงท ย่ี อมใหเ กดิ ข้ึน เราจงึ ตอ งพฒั นาตวั เองมากกวารอใหผอู น่ื เปน ฝายปรับตวั
 เรม่ิ จากเรือ่ งเลก็ ๆ ทีเ่ กิดข้นึ บอย ๆ ทบทวนเหตกุ ารณทเ่ี กดิ ขน้ึ วางแผนวาเราจะบอกยืนยนั
ความตองการของเราอยางไร และลงมือทาํ
 คาดและเตรยี มใจไวลว งหนา ถงึ ปฏกิ ริ ิยาโตต อบ เราไมสามารถเปลี่ยนตัวเองไดด วยคาํ พดู
ประโยคเดียว และการทาํ ใหผูอ นื่ ยอมรบั กเ็ ชนเดยี วกนั การยอมถอยกลับไปเปน คนเดิมยอม

44

งา ยกวา แตน น่ั กห็ มายความวาเราตอ งรับบท “คนใจดที ี่ไมเคยโกรธ” คอยเก็บงําความรูสึกผดิ หวัง
ความไมพ อใจเอาไวโดยลาํ พงั
 การบอกยนื ยันความตอ งการของเราใหใ ชก ารบอกเลา ถงึ ตวั เองดวยประโยคทีข่ นึ้ ตนดว ย
“ฉันรสู กึ ..……” ไมค วรใชรูปประโยคตอวา “เธอทําใหฉนั .......” เพราะจะนําไปสกู าร
โตเ ถียง

เรื่องท่ี 8 หลากหลายความเชื่อทีผ่ ดิ ในเรือ่ งเพศ

การ “ชว ยตัวเอง” บอย ๆ จะทําใหจ ิตใจไมปกตหิ รอื เปน โรคจติ ประสาทได
“การชวยตัวเอง” เปนทางเลือกหน่ึงในการจัดการกับความรูสึกและความตองการทางเพศ

ซึ่งเกิดจากธรรมชาติ ท่ีทุกคนสามารถทําได ท้ังผูหญิงและผูชาย หากเรายังไมพรอมที่จะเริ่มตน
ความสัมพนั ธ หรอื มเี พศสมั พันธก บั ใคร ไมใ ชเร่อื งผดิ ปกติ หนุมสาวหลายคนมักจะถูกบอกเกี่ยวกับ
เรื่องการชว ยตัวเองผิด ๆ หลายอยา ง เชน การชวยตวั เองเปน สิง่ ที่ไมด ี บาป ทําใหตัวเต้ยี เรียนโง หรือ
การชวยตัวเองบอย ๆ จะทําใหจิตใจไมปกติ เปนโรคจิตประสาท หรือเส่ือมสมรรถภาพทางเพศ
เปนตน ความเช่ือเหลาน้ีจึงสงผลตอพฤติกรรม ทําใหสาวหลายคนมักอายที่จะพูดถึง สวนหนุม
หลายคนอาจกังวลวาทําบอย ๆ จะมีผลอยางไรหรือไม ท้ังที่ วิธีการนี้ชวยสนองตอบความตองการ
ทางเพศของเราไดด ว ยตนเอง การชว ยตวั เอง จะทําบอ ยหรือนอ ยครัง้ ก็ข้ึนกบั ความพรอ ม ความพอใจ
และสุขภาพของแตล ะคน

ผูชายมีความตอ งการทางเพศมากกวาผูหญงิ
ความตองการทางเพศเปน เรือ่ งธรรมชาติทที่ งั้ ผหู ญงิ และผูชายมีเทา ๆ กัน การมีความตองการ

ทางเพศมากหรอื นอ ยเปน เรอื่ งแตล ะบคุ คล ไมเ ก่ยี วกับความเปนผูหญิง หรือผูชาย แตความคาดหวัง
ของสังคมและวัฒนธรรมในสังคมไทยมตี อ เรอื่ งเพศของผูห ญงิ และผชู ายตางกนั เชน ผชู ายชว ยตัวเอง
เปนเร่อื งธรรมดา ผูชายจะตองมีประสบการณทางเพศ ผูชายเท่ียวซองเปนเรื่องธรรมดา ผูชายมีเมีย
หลายคนถอื วา เกง มีฝม ือ แตในขณะท่เี รอื่ งเพศสาํ หรับผหู ญิงเปนเรื่องท่ีไมควรแสดงออก ผูหญิงที่ดี
ตองไรเดียงสาในเรือ่ งเพศ ผหู ญิงชว ยตัวเองเปน เร่ืองไมงาม ผูหญิงตองรักนวลสงวนตัวและรักเดียว
ใจเดยี ว ดังนั้น เมื่อผูชายมีอารมณหรือมีความตองการทางเพศ จึงสามารถปลดปลอยไดเปนเรื่อง
ปกติธรรมดา แตหากเปนผูหญิงจะตองเก็บความรูสึกไวและเรียนรูที่จะควบคุมอารมณเพศและ
การแสดงออก จึงดูราวกบั วาผูช ายมคี วามตองการทางเพศมากกวา ผหู ญิง

45

ความสขุ ทางเพศของผหู ญงิ ขน้ึ อยกู บั ขนาดอวยั วะเพศชาย
ขนาดของอวัยวะเพศไมมีผลตอความสุขทางเพศเลย แตเปนความเชื่อที่สงผลใหผูชายเกิด

ความไมมัน่ ใจในตนเอง ซึ่งบางคนมีปญหาในการมีเพศสัมพันธกับคู แลวเขาใจผิดไปเองวามาจาก
ขนาดของอวัยวะเพศของตนเล็กเกนิ ไป

ความสุขทางเพศ เปนเรื่องเทคนิควธิ กี าร ท่มี าจากการพูดคยุ สอื่ สารกันระหวางคนสองคน และ
ชวยกนั ใหม ีความสขุ ทง้ั สองฝาย

ความเชอื่ ในเรื่องขนาด สงผลใหผ ูชายสว นหนง่ึ ตอ งการดัดแปลงอวัยวะเพศตนเอง เชน การฝง
มุก โดยเชื่อวาการฝงมุกที่อวัยวะเพศเพ่ือใหมีพื้นผิวขรุขระ จะชวยเพิ่มความสุข ในขณะรวมเพศ
โดยการฝงมุกเทียม หรือเม็ดแกวขนาดเล็กไวตื้น ๆ ใตผิวหนัง สําหรับวิธีนี้ หากฝงเพียงตื้น ๆ
ใตผ วิ หนงั ไมน านก็จะหลดุ ออกมา แตถาฝงลึก กม็ ีโอกาสติดเช้อื และเปนแผลได

การใชป ากกบั อวยั วะเพศเปน เรื่องผดิ ปกติ
การใชปากกบั อวยั วะเพศ (Oral sex) หรอื การใชป ากทาํ รกั ใหกบั คู ไมวา ผูหญิงหรอื ผชู ายจะใช

ปากดูด เลีย อม ที่อวัยวะเพศของคู เพ่ือกระตุนความรูสึกทางเพศน้ัน เปนเรื่องธรรมชาติท่ีเปนอีก
ทวงทา หนง่ึ ของการมีเพศสมั พนั ธ

แตการใชปากทํารัก ควรเกิดขน้ึ จากการคยุ และตกลงกันระหวางคูวา พรอมใจท่ีจะทําหรือไม
เพราะบางคนอาจรูสึกวา การใชปากกับอวัยวะเพศเปนเร่ืองสกปรก นาขยะแขยง แตบางคนอาจจะ
รสู กึ ชอบ เพราะรวู า อวยั วะเพศกม็ ีการดูแลความสะอาดไมแ ตกตางกบั อวยั วะสวนอน่ื ๆ ของรางกาย
ขน้ึ กับทัศนคตหิ รอื มุมมองของแตล ะคน

ทงั้ น้ี การใชป ากทํารักถือวาเปน เพศสัมพันธที่ปลอดภัย (Safe Sex) ท้ังจากการต้ังครรภและ
ยงั เปนวธิ ลี ดโอกาสเส่ียงจากการติดเชอ้ื เอชไอวดี วย

โอกาสของการตดิ เชื้อเอชไอวีจากการใชปากทํารัก เทาที่พบมีเพียงกรณีเดียว คือ การใชปาก
ทํารกั ใหก บั ผูชายท่ีมีเชอ้ื เอชไอวี โดยมเี งอื่ นไขเฉพาะ คือ มีการหลั่งนํ้าอสุจิในปาก และในชองปาก
ของคนที่ทาํ มแี ผล และ/หรือ มีการติดเชื้อในลําคอเทานั้น แตยังไมเคยมีรายงานวามีการติดเชื้อจาก
การใชปากทํารักใหผหู ญิงท่ีมเี ชอ้ื เอชไอวี หรือไมพ บวา มีใครตดิ เชื้อเอชไอวีจากการท่ีผูต ดิ เช้ือใชป าก
ทาํ รักให

46

มีวิธีท่จี ะบอกไดว า ผูหญงิ คนไหนเคยมเี พศสมั พันธมาแลว
ผูชายสวนใหญอ ยากจะเปนคนแรกของผูหญิงกันทั้งนั้น จึงพยายามหาวิธีการท่ีจะบอกตอ ๆ

กันในหมูผูชายดวยกันถึงวิธีการ “ดูซิง” เชน ผูหญิงที่มีทาทางเรียบรอย เดินขาหนีบ หนาอกตั้ง
สะโพกไมหยอน เปนตน แตจากขอมูลทางการแพทยยืนยันวา ไมมีทางท่ีจะรูไดวาผูหญิงเคยมี
เพศสัมพนั ธม าแลว ถา หากวาผหู ญิงไมบ อกดวยตนเอง

ความเช่ือนี้จะสงผลใหผูชายไมปองกันเมื่อมีเพศสัมพันธกับผูหญิงที่ตัวเองมั่นใจวาซิง
ในขณะเดียวกนั ผหู ญงิ ท่ีเคยมีเพศสัมพนั ธม าแลวก็จะปด บังความจริงกับคูป จ จุบนั เพราะกงั วลวา ผชู าย
จะไมย อมรับ จงึ ทาํ ใหท งั้ คูมโี อกาสเส่ยี งตอ การมเี พศสัมพนั ธทไ่ี มปองกัน

การหล่ังน้าํ อสจุ ทิ ําใหหมดกําลัง
ไมม หี ลักฐานวา การหล่งั น้าํ อสุจิ ไมวาดวยการชว ยตัวเองหรอื มเี พศสัมพันธจ ะทาํ ใหห มดกําลัง

โดยทว่ั ไปหลังการมีเพศสัมพันธหรือชวยตัวเอง หากไดพักสักครูหน่ึงรางกายก็จะกลับคืนสูสภาพ
ปกติ

นํ้ากามประกอบดวยตัวอสุจิซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะและนํ้าหลอเล้ียงอสุจิ ซึ่งผลิตจากทอและ
ตอมตาง ๆ ที่อยูในทางผานของตัวอสุจิสูภายนอก เมื่ออายุมากอวัยวะดังกลาวจะเส่ือมลง ทําให
นํา้ กามจางลงและมีจาํ นวนนอยลงดว ย ทาํ ใหค วามตอ งการทางเพศและการตอบสนองทางเพศลดลง
รวมทงั้ ความสามารถในการหลง่ั น้าํ กามจะนอยลงดวย คือองคชาติชายสูงอายุอาจแข็งตัวได แตไม
สามารถหลง่ั นาํ้ กาม ดังนัน้ ดวยปจ จยั หลายประการดงั ท่กี ลา วจงึ ทาํ ใหคนทัว่ ไปคิดวา ผูชายแตล ะคนมี
จาํ นวนนํา้ กามจาํ กดั คือ ถา หลง่ั นํา้ กามบอยก็จะหมดความสามารถในการหลั่งนาํ้ กามเรว็ ซึ่งไมเปน
ความจริง ตรงกันขามกลับพบวาทั้งชายและหญิงท่ีมีกิจกรรมทางเพศบอยจะรักษาความสามารถ
ทางเพศไวไดนานกวา คนทไ่ี มค อ ยมีกิจกรรมทางเพศ

ผูห ญิงควรใชน้าํ ยาทาํ ความสะอาดชองคลอด
ในชองคลอดของผูหญิงมีแบคทีเรียธรรมชาติท่ีรักษาความสมดุลของชองคลอดอยูแลว

หากไปใชน้ํายาท่ีสว นผสมของกรดหรือดางทมี่ ากเกนิ ไป จะทาํ ใหเกิดการทําลายแบคทีเรียธรรมชาติ
นน้ั จนเสียความสมดุล และสวนผสมของนํา้ หอมในน้ํายายังอาจกอใหเ กิดการระคายเคืองบริเวณชอง
คลอด เปนผ่ืนคนั และทาํ ใหต ิดเชอ้ื โรคไดงาย นอกจากน้ี ยังทําใหตองส้ินเปลืองเงินเพ่ิมข้ึน เพื่อซื้อ

47

นํ้ายาทําความสะอาดมาใชท้ัง ๆ ท่ีการอาบน้ําปกติท่ัวไปที่ใชสบูและนํ้าสะอาดแลวซับท่ีบริเวณ
อวัยวะเพศใหแหงก็เพยี งพอแลว

ผหู ญงิ เม่อื เปน สาวจะมีหัวนมเปน สชี มพู
เปน เร่อื งธรรมชาติที่ผูหญิงแตละคนจะมีหนาอกท่ีแตกตางกันหลายรูปทรง หลายขนาดและ

หลายสี อาจจะมอี กขนาดเล็กหรือใหญ หวั นมอาจตงั้ ข้ึนหรือจะคลอยลง อาจจะนิ่มหรือกระชับก็ได
ทัง้ น้ี สีของหวั นมก็เชนเดียวกันท่ีอาจมีความแตกตางกันไปตามธรรมชาติของแตละคน เชน สีเขม
(คล้ํา) หรือสีซีด ความแตกตางแบบน้ีเปนเรื่องธรรมดาไมเก่ียวกับเมื่อเปนสาวแลวจะตองมีหัวนม
เปนสีชมพู

เรอื่ งที่ 9 กฎหมายท่เี กยี่ วขอ งกบั การลวงละเมิดทางเพศ

การลวงละเมดิ ทางเพศ หมายถงึ พฤตกิ รรมทีล่ ะเมดิ สิทธขิ องผอู น่ื ในเรอื่ งเพศ ไมวาจะเปนคําพูด
สายตา และการใชท าที รวมไปจนถึงการบงั คบั ใหม เี พศสัมพันธ การขมขืน และตองคํานึงถึงความรูสึก
ของผูหญงิ เปนหลัก การกระทาํ ใด ๆ กต็ ามท่ีทาํ ใหผูหญงิ รสู ึกอับอาย เปนการลวงเกินความเปนสวนตัว
และไมย นิ ยอมพรอ มใจใหทาํ ถอื เปน การลว งละเมิดทางเพศทั้งสิน้
มบี ัญญตั อิ ยูใ นลกั ษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกบั เพศ ดังนี้

มาตรา 276 ผูใ ดขม ขืนกระทําชําเราหญิงซง่ึ มิใชภรยิ าตน โดยขูเข็ญประการใด ๆ โดยใชกําลัง
ประทุษรายโดยหญิงในภาวะที่ไมสามารถขัดขืนได หรือโดยทําใหหญิงเขาใจผิดคิดวาเปนบุคคลอ่ืน
ตอ งระวางโทษจําคกุ ต้ังแตส ป่ี ถงึ ยสี่ ิบป และปรบั ต้ังแตแปดพนั บาทถงึ ส่พี ันบาท ถาการกระทําความผิด
ตามวรรคแรกไดก ระทําโดยมีหรือใชอาวุธปนหรอื วัตถรุ ะเบิด หรอื โดยรวมกระทําความผิดดวยกัน อันมี
ลักษณะเปนการโทรมหญงิ ตอ งระวางโทษจาํ คกุ ตง้ั แตสิบหา ปถงึ ยีส่ ิบป และปรับตั้งแตสามหม่ืนบาทถึง
ส่ีหมื่นบาท หรอื จําคุกตลอดชีวติ

มาตรา 277 ผูใดกระทําชําเราเด็กหญิงอายุไมเกินสิบหาป ซ่ึงมิใชภริยาตน โดยเด็กหญิงนั้นจะ
ยนิ ยอมหรอื ไมก ต็ าม ตอ งระวางโทษจําคุกตั้งแตสี่ปถึงยี่สิบป และปรับตั้งแตแปดพันบาทถึงส่ีหมื่นบาท
ถา กระทําความผิดตามวรรคแรกเปนการกระทําแกเด็กหญิงอายุไมเกินสิบสามป ตองระวางโทษจําคุก

48

ต้ังแตเจ็ดปถึงยี่สิบป และปรับต้ังแตหนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจําคุกตลอดชีวิต ถาการกระทํา
ความผดิ นน้ั ความวรรคแรก หรอื วรรคสองไดกระทําโดยรว มกระทาํ ความผดิ ดว ยกันอันมีลักษณะเปน การ
โทรมหญิงและเดก็ หญงิ นัน้ ไมยนิ ยอม หรือไดกระทําโดยมีอาวุธปนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใชอาวุธ
ตอ งระวางโทษจาํ คุกตลอดชวี ิต ความผดิ ตามที่บญั ญัตไิ วใ นวรรคแรก ถา เปนการกระทาํ ทช่ี ายกระทํากบั
เดก็ หญิงอายกุ วาสบิ สามป แตยงั ไมเ กนิ สิบหาปโ ดยเดก็ หญิงน้ันยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตใหชาย
และเด็กหญงิ นั้นสมรสกนั ผกู ระทาํ ผดิ ไมตอ งรบั โทษ ถาศาลอนุญาตใหสมรสในระหวางท่ีผูกระทําผิด
กําลังรับโทษในความผดิ น้นั อยู ใหศ าลปลอยผูกระทาํ ผิดน้นั ไป

มาตรา 277 ทวิ ถาการกระทําความผดิ ตามมาตรา 276 วรรคแรก หรอื มาตรา 277 วรรคแรก หรือ
วรรคสอง เปน เหตใุ หผถู ูกกระทาํ

(1) รับอันตรายสาหัส ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกตั้งแตสิบหาป ถึงยี่สิบหาป และปรับตั้งแต
สามหม่นื บาท หรือจาํ คุกตลอดชวี ติ

(2) ถงึ แกค วามตาย ผูกระทําตอ งระวางโทษประหารชวี ติ หรือจําคุกตลอดชีวิต
มาตรา 277 ตรี ถาการกระทําความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองหรือมาตรา 277 วรรคสาม
เปนเหตใุ หผกู ระทํา
(1) รับอันตรายสาหสั ผกู ระทาํ ตองระวางโทษประหารชวี ิต หรอื จําคกุ ตลอดชีวิต
(2) ถึงแกค วามตาย ผูก ระทาํ ตองระวางโทษประหารชีวิต
โดยสรุป การจะมคี วามผดิ ฐานกระทาํ ชําเราได ตองมีองคประกอบความผิดดงั น้ี
1. กระทําชําเราหญงิ อ่นื ทไ่ี มใ ชภ รรยาตน
2. เปนการขมขืน บังคับใจ โดยมีการขูเข็ญ หรือใชกําลังประทุษราย หรือปลอมตัวเปนคนอ่ืน
ที่หญิงชอบและหญงิ ไมสามารถขัดขนื่ ได
3. โดยเจตนา
ขอสังเกต
กระทําชําเรา = ทําใหของลับของชายลวงลํ้าเขาไปในของลับของหญิง ไมวาจะลวงล้ําเขาไป
เลก็ นอ ยเพียงใดกต็ าม และไมวา จะสาํ เร็จความใครหรือไมก ต็ าม
การขมขนื = ขมขนื ใจโดยท่หี ญิงไมส มคั รใจ

49

การขม ขืนภรรยาของตนเองโดยทจ่ี ดทะเบยี นสมรสแลว ไมเ ปนความผดิ
การรวมเพศโดยที่ผูหญิงยินยอมไมเปนความผิด แตถาหญิงนั้นอายุไมเกิน 13 ป แมยินยอม
ก็มคี วามผดิ
การขม ขนื กระทําชาํ เราผทู ี่อยภู ายในปกครองของตนเอง เชน บุตร หลาน ลูกศิษยที่อยูในความ
ดแู ลตอ งรับโทษหนักข้นึ

มาตรา 278 ผูใดกระทําอนาจารแกบุคคลอายุกวาสิบหาป โดยขูเข็ญดวยประการใด ๆ โดยใช
กําลังประทษุ รา ย โดยบคุ คลน้นั อยใู นภาวะท่ีไมส ามารถขดั ขืนได หรือ โดยทําใหบ ุคคลน้นั เขาใจผิดวาตน
เปน บคุ คลอืน่ ตองระวางโทษจาํ คกุ ไมเกินสบิ ป หรือ ปรบั ไมเกนิ สองหมื่นบาท หรอื ท้ังจําท้ังปรบั

มาตรา 279 ผูใดกระทําอนาจารแกเด็กอายยุ งั ไมเกินสิบหาป โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไมก็ตาม
ตองระวางโทษจาํ คกุ ไมเกินสิบป หรือ ปรับไมเกินสองหม่ืนบาท หรือทั้งจําท้ังปรับ ถากระทําความผิด
ตามวรรคแรก ผูกระทําไดกระทําโดยขูเข็ญดวยประการใด ๆ โดยใชกําลังประทุษรายโดยเด็กน้ันอยู
ในภาวะทไี่ มส ามารถขัดขืนได หรือ โดยทาํ ใหเ ดก็ นัน้ เขาใจผิดวาตนเปน บุคคลอ่ืน ตองระวางโทษจําคุก
ไมเ กนิ สิบหาป หรือปรับไมเกนิ สามหม่ืนบาท หรอื ท้งั จําทั้งปรับ

มาตรา 280 ถา กระทําความผิดตามมาตรา 278 หรอื มาตรา 279 เปน เหตุใหผ ูถูกกระทาํ
(1) รับอันตรายสาหัส ผูกระทําตองระวางโทษจําคุก ต้ังแตหาปถึงย่ีสิบป และปรับตั้งแตหนึ่ง
หมน่ื บาทถงึ สี่หมืน่ บาท
(2) ถงึ แกความตาย ผกู ระทาํ ตอ งระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชวี ติ
การจะมีความผิดฐานทําอนาจารได ตอ งมอี งคประกอบ คอื
1. ทําอนาจารแกบุคคลอายุเกินกวา 13 ป
2. มกี ารขมขู ประทุษรา ย จนไมส ามารถขดั ขืนได หรือทําใหเ ขา ใจวา เราเปน คนอนื่
3. โดยเจตนา

50

ขอสงั เกต
อนาจาร = การทําหยาบชาลามกใหเปนท่ีอับอายโดยท่ีหญิงไมสมัครใจ หรือโดยการปลอมตัว
เปน สามีหรอื คนรัก การทําอนาจารกับเด็กอายุไมเ กนิ 13 ป แมเ ด็กยนิ ยอมกเ็ ปนความผิด ถาทําอนาจารกับ
บคุ คลใดแลว บุคคลนน้ั ไดรบั อนั ตรายหรอื ถงึ แกความตายตอ งไดร ับโทษหนักข้นึ
การทําอนาจารไมจําเปนตองทํากับหญิงเสมอไป การทําอนาจารกับชายก็ถือเปนความผิด
เชนเดียวกันไมวาผูกระทําจะเปนชายหรือหญิงก็ตาม ความผิดทั้งการขมขืน การกระทําชําเราและการ
กระทาํ อนาจารนี้ ผกู ระทําจะไดร บั โทษหนกั ข้นึ กวา ท่ีกาํ หนดไวอีก 1 ใน 3 หากเปนการกระทาํ ผดิ แก
1. ผูสบื สนั ดาน ไดแ ก บุตร หลาน เหลน ลือ (ลกู ของหลาน) ทช่ี อบดว ยกฎหมาย
2. ศษิ ยซ ึ่งอยูในความดูแล ซง่ึ ไมใ ชเ ฉพาะครูทม่ี หี นา ท่ีสองอยางเดยี ว ตองมีหนา ที่ดแู ลดวย
3. ผูอ ยูในความควบคุมตามหนา ท่ีราชการ
4. ผูอยูในความปกครอง ในความพทิ ักษ หรอื ในความอนบุ าลตามกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมมี าตราอืน่ ๆ ทเี่ กี่ยวขอ งอกี ไดแ ก
มาตรา 282 ผใู ดเพ่ือสนองความใครของผูอ่ืน เปนธุระจัดหา ลอไป หรือพาไปเพ่ือการอนาจาร
ซึ่งชายหรือหญิง แมผูน้ันจะยินยอมก็ตาม ตองระวางโทษจําคุกต้ังแตหนึ่งปถึงสิบปและปรับต้ังแต
สองพนั บาทถึงสองหม่นื บาทถาการกระทาํ ความผดิ ตามวรรคแรกเปน การกระทําแกบุคคลอายุเกินสิบหา
ปแ ตย งั ไมเกนิ สิบแปดป ผูกระทําตองระวางโทษจําคกุ ตั้งแตส ามปถึงสิบหาป และปรับตั้งแตหกพันบาท
ถึงสามหม่ืนบาท ถาการกระทําความผิดตามวรรคแรกเปนการกระทําแกเด็กอายุยังไมเกินสิบหาป
ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกต้ังแตหาปถึงย่ีสิบป และปรับตั้งแตหนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หม่ืนบาทผูใด
เพื่อสนองความใครของผูอื่น รับตัวบุคคลซ่ึงผูตองระวางโทษตามที่บัญญัติไวในวรรคแรก วรรคสอง
หรอื วรรคสาม แลวแตก รณี

มาตรา 283 ผูใดเพื่อสนองความใครของผูอ่ืน เปนธุระ จัดหาลอไป หรือ พาไปเพื่อการอนาจาร
ซึง่ ชายหรอื หญิง โดยใชอบุ ายหลอกลวง ขูเข็ญ ใชกาํ ลงั ประทษุ รา ย ใชอาํ นาจครอบงําผิดคลองธรรม หรือ
ใชว ิธีขม ขนื ใจดว ยประการอ่ืนใด ตองระวางโทษจาํ คกุ ต้งั แตห า สิบปถึงยี่สิบป และปรับตั้งแตหนึ่งหมื่น
บาทถึงส่ีหม่ืนบาท ถาการกระทําตามความผิดวรรคแรก เปนการกระทําแกบุคคลอายุเกินสิบหาแตยัง
ไมเกนิ สบิ แปดป ผกู ระทําตองระวางโทษจาํ คกุ ตงั้ แตเ จ็ดปถึงยี่สบิ ป และปรบั ตั้งแตหน่งึ หมื่นสี่พันบาทถึง

51

สี่หมื่นบาท ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกตั้งแตสิบปถึง ย่ีสิบป และปรับต้ังแตสองหม่ืนบาทถึงส่ีหมื่น
บาท หรือจําคกุ ตลอดชีวิต หรอื ประหารชีวิต ผูใดเพื่อสนองความใครของผูอ่ืน รับตัวบุคคลซึ่งมีผูจัดหา
ไป ลอไป หรือพาไปตามวรรคแรก วรรคสอง หรือ วรรคสามหรือสนับสนุนในการกระทําความผิด
ดังกลาว ตอ งระวางโทษตามทีบ่ ัญญตั ิไวใ นวรรคแรก วรรคสอง หรอื วรรคสามแลวแตก รณี

มาตรา 283 ทวิ ผใู ดพาบคุ คลอายุเกนิ สบิ หา ปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเพ่ือการอนาจาร แมผูนั้น
จะยินยอมก็ตาม ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหาปหรือปรับไมเกินหนึ่งหม่ืนบาทหรือท้ังจําทั้งปรับ
ถาการกระทาํ ความผดิ ตามวรรคแรก เปน การกระทําแกเ ด็กอายุยังไมเ กนิ สบิ หาป ผูกระทาํ ตอ งระวางโทษ
จาํ คุกไมเกินเจ็ดปหรือ ปรับไมเกินหนึ่งหม่ืนส่ีพันบาท หรือท้ังจําท้ังปรับ ผูใดซอนเรนบุคคลซึ่งพาไป
ตามวรรคแรกหรือวรรคสองตองระวางโทษตามท่ีบัญญัติในวรรคแรกหรือวรรคสองแลวแตกรณี
ความผิดตามวรรคแรก และวรรคสามเฉพาะกรณที ี่กระทําแกบ คุ คลอายุเกินสบิ หา ป เปนความผิดอันยอม
ความได

มาตรา 284 ผูใดพาผูอื่นไปเพื่ออนาจาร โดยใชอุบายหลอกลวง ขูเข็ญ ใชกําลังประทุษราย
ใชอํานาจครอบงํา ผดิ ครองธรรมหรือใชว ิธีขม ขนื ใจดว ยประการอืน่ ใด ตอ งระวางโทษจําคุกต้ังแตหนึ่งป
ถงึ สบิ ปแ ละปรับตงั้ แตส องพันบาทถงึ หนึ่งหมืน่ บาท ผูใดซอนเรน บุคคลซ่ึงเปนผูถูกพาไปตามวรรคแรก
ตองระวางโทษเชน เดยี วกับผูพาไปนนั้ ความผดิ ตามมาตรานี้ เปน ความผิดอนั ยอมความได

มาตรา 317 ผูใดปราศจากเหตุอันสมควรพรากเด็กอายุยังไมเกินสิบหาปไปเสียจากบิดามารดา
ผูปกครอง หรือผดู แู ล ตองระวางโทษจาํ คกุ ตัง้ แตสามปถ งึ สบิ หา ปแ ละปรับตง้ั แตหกพันบาทถึงสามหม่ืน
บาท ผใู ดโดยทจุ ริต ซือ้ จาํ หนา ย หรอื รบั ตัวเดก็ ซง่ึ ถกู พรากวรรคแรก ตอ งระวางโทษเชนเดียวกับผูพราก
นนั้ ถาความผิดตามมาตราน้ไี ดก ระทําเพ่ือหากําไร หรือ เพื่อการอนาจาร ผูกระทําตองระวางโทษจําคุก
ตงั้ แตหาปถ ึงยี่สิบปแ ละปรบั ตงั้ แตหน่ึงหม่ืนบาทถึงส่ีหมน่ื บาท

มาตรา 318 ผูใดพรากผูเยาวอายุกวาสิบหาปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเสียจากบิดามารดา
ผูปกครองหรอื ผูด แู ล โดยผเู ยาวน้ันไมเต็มใจไปดวย ตองระวางโทษจําคุกตั้งแตสองปถึงสิบปและปรับ
ตงั้ แตส่พี ันบาทถึงสองหมน่ื บาท ผใู ดโดยทจุ รติ ซือ้ จําหนาย หรอื รับตัวผูเยาวซ่ึงถูกพรากตามวรรคแรก

52

ตอ งระวางโทษเชน เดยี วกบั ผูพรากน้นั ถา ความผดิ ตามมาตรานี้ไดกระทําเพื่อกําไร หรือเพื่อการอนาจาร
ผกู ระทําตองระวางโทษจําคกุ ตงั้ แตสามปถ ึงหา ป และปรบั ตงั้ แตหกพันบาทถงึ สามหมื่นบาท

มาตรา 319 ผูใดพรากผูเยาวอายุกวาสิบหาปแตยังไมเกินสิบแปดปไปเสียจากบิดามารดา
ผปู กครองหรือผดู แู ละเพ่ือหากําไรหรือเพอ่ื การอนาจาร โดยผเู ยาวน ้นั เตม็ ใจไปดว ย ตอ งระวางโทษจําคุก
ต้ังแตสองปถึงสิบปและปรับตั้งแตสี่พันบาทถึงสองหม่ืนบาท ผูใดโดยทุจริต ซ้ือ จําหนาย หรือรับตัว
ผเู ยาวซ งึ่ ถูกพรากตามวรรคแรกตอ งระวางโทษเชนเดยี วกับผูพรากนัน้

ผทู ่จี ะมีความผิดฐานพรากผเู ยาวความผิดนั้นจะตอ งประกอบดว ย
1. มีการพรากบคุ คลไปจากการดแู ลของบดิ ามารดา ผดู ูแล หรือผปู กครอง
2. บคุ คลทีถ่ ูกพรากจะเต็มใจหรอื ไมก ต็ าม
3. ปราศจากเหตผุ ลอนั ควร
4. โดยเจตนา
ขอสังเกต
การพรากผเู ยาว = การเอาตัวเดก็ ทอ่ี ายยุ ังไมค รบบรรลนุ ติ ิภาวะไปจากความดูแลของบิดามารดา

ผูปกครอง หรือ ผูด แู ลไมว าเดก็ นน้ั จะเตม็ ใจหรอื ไมก ต็ าม
การพรากผูเยาวอ ายุเกนิ 13 ป แตไ มเกนิ 18 ป โดยผเู ยาวไมเต็มใจเปนความผิด ผูที่รับซื้อขายตัว

เด็กที่ถูกพรากฯตองรับโทษเชนเดียวกับผูพราก ผูท่ีพรากฯหรือรับซ้ือเด็กท่ีพรากฯ ไปเปนโสเภณี
เปน เมียนอ ยของคนอ่ืน หรือเพอื่ ขมขนื ตอ งรบั โทษหนักข้ึน

การพรากผูเยาวอ ายุเกนิ 13 ป แตไมเกิน 18 ป แมผ ูเยาวจะเตม็ ใจไปดว ย ถานําไปเพอ่ื การอนาจาร
หรอื คา กําไรเปนความผิด เชน พาไปขม ขนื พาไปเปน โสเภณี

คาํ แนะนําในการไปตดิ ตอ ทส่ี ถานตี ํารวจ
การแจงความตางๆ
เพ่ือความสะดวก รวดเรว็ และถูกตอ งตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมอ่ื ทานไปตดิ ตอ

ที่โรงพัก ทานควรเตรียมเอกสารที่จําเปนติดตัวไปดวยคือ แจงถูกขมขืนกระทําชําเรา หลักฐานตาง ๆ
ท่คี วรนาํ ไปแสดงตอ เจา หนาท่ตี ํารวจ คอื เส้ือผาของผูถ ูกขม ขืน ซ่ึงมีคราบอสจุ ิ หรอื รอยเปอ นอยางอ่ืนอัน
เกดิ จากการขมขนื และสิ่งตา ง ๆ ของผตู องหาทตี่ กอยูในท่เี กดิ เหตุ ทะเบียนบานของผูเสยี หาย รูปถา ย หรอื

53

ท่ีอยูของผูตองหาตลอดจนหลักฐานอ่ืน ๆ (ถามี) แจงพรากผูเยาวหลักฐานตาง ๆ ควรนําไปแสดงตอ
เจาหนาท่ีตํารวจคือ สูติบัตรของผูเยาว ทะเบียนบานของผูเยาว รูปถายผูเยาวใบสําคัญอ่ืน ๆ ที่เก่ียวกับ
ผูเ ยาว (ถา ม)ี
หมายเหตุ

ในการไปแจง ความหรือรอ งทุกขต อพนักงานสอบสวนนัน้ นอกจากนาํ หลกั ฐานไปแสดงแลวถา
ทา นสามารถพาพยานบุคคลที่รูเ หน็ หรือเกีย่ วขอ งกบั เหตกุ ารณไปพบเจาหนาพนักงานสอบสวนดวยก็จะ
เปนประโยชนแกท า น และพนกั งานสอบสวนเปน อยางมาก เพราะจะสามารถดาํ เนนิ เร่อื งของทา นใหแลว
เสร็จไดเ ร็วขึน้

เร่ืองที่ 10 โรคติดตอ ทางเพศสัมพันธ

อาการโดยทว่ั ไปของผปู ว ยโรคติดตอ ทางเพศสัมพนั ธ
 ปส สาวะขัด
 มผี ืน่ แผลหรือตมุ นา้ํ ทีอ่ วัยวะเพศหรอื ทวารหนกั
 มหี นองหรอื น้าํ หล่ังจากชอ งคลอดหรือทอปส สาวะ
 มอี าการคันหรอื ปวดบริเวณทวาร
 มอี าการแดงและปวดบรเิ วณอวัยวะเพศ
 ปวดทองหรอื ปวดชอ งเชิงกราน
 ปวดเวลามเี พศสัมพันธ
 ตกขาวบอย

โรคตดิ ตอทางเพศสมั พนั ธทพ่ี บบอ ย

เริม
เปนโรคติดเชื้อท่ีผิวหนังและเย่ือบุบริเวณปากและอวัยวะเพศเกิดจากเช้ือไวรัสท่ีมีช่ือวา

เฮอรป ซ ิมเพลกซ

54

อาการของเริม
อาการแรก คอื ปวดแสบรอน อาจมีอาการคัน เจบ็ จีด๊ และมีอาการบวม ตามมาดวยตุมนํ้าพองใส

เหมือนหยดนํ้าเลก็ ๆ มขี อบแดงในสองสามวันตอมา ตุม น้าํ มักแตกใน 24 ช่วั โมง และตกสะเก็ดเปนแผล
ถลอกต้ืน ๆ ตุมอาจรวมเปนกลุมใหญและเปนแผลกวาง ทําใหปวดมาก หากรักษาความสะอาดไมให
ตดิ เช้ือซ้าํ หรือมหี นองแผลทีเ่ กิดจากตมุ จะหายเองไดใ น 2 ถึง 3 สปั ดาห

เม่อื มอี าการติดเชือ้ คร้งั แรกแลว จะกลับมาเปนผน่ื ใหมเ ปน ระยะ เนื่องจากรางกายกําจัดเช้ือไวรัส
ไดไมหมด การกลับมาเปนใหมแตละคร้ังมักมีอาการนอยกวาและเกิดเปนพ้ืนที่นอยกวา ไมคอยมีไข
แตม กั เปน บรเิ วณใกล ๆ กบั ท่เี ดิมโดยเฉพาะอวยั วะ
การรกั ษา

โรคเริมสามารถหายไดเ องโดยไมตอ งรกั ษา การใชย าตานไวรัสไมชวยใหหายขาด เพียงชวยลด
ความรุนแรงของโรค ลดความถ่ี และลดระยะเวลาทีเ่ ปน ชว ยใหแผลหายเร็วขึ้น แตในรายที่เพ่ิงเริ่มแสดง
อาการ หรอื มีภมู ิตา นทานบกพรอ ง หรือไมมีแนวโนม ทแี่ ผลจะหายไดเ อง ควรไดรับยาตานไวรัสท่ีจําเปน
กบั โรครวมกับยาปฏชิ ีวนะ เพอ่ื ปอ งการตดิ เชื้อแบคทีเรยี แทรกซอ นทอี่ าจตดิ ตามกับตมุ นาํ้ ทแี่ ตกออกมา
การเปน เรมิ ครั้งตอมาจะไมใ ชเ ปน การตดิ เช้อื ใหม

ผูท่ีเปนโรคน้ีมาแลวจะมี “อาการเตือน” คือ มีตุมน้ํามากอน 1 ถึง 3 วัน เจ็บเสียวแปลบ ๆ คัน
ยุบยิบ ปวดแสบปวดรอ นในบริเวณโรคเดมิ
เคลด็ ลบั นา รใู นการดแู ลและควบคมุ โรคเรมิ

 การนอนหลับพักผอนไมเพียงพอ จะทําใหรางกายออนแอ ภูมิตานทานของรางกายลด
นอยลง จึงติดเชื้อไวรัสไดงายข้ึน ถาเปนโรคนี้อยูแลว ก็จะมีอาการโรคแยลง ระยะเวลา
เปนโรคนานขนึ้ หรือกลับมาเปน ซํา้ ไดบ อย

 อยาปด หรือพันบริเวณแผลเริม ความแหงและอากาศที่ถายเทไดดี จะชวยใหแผลหายเร็วขึ้น
พยายามซบั และดูแลแผลใหแหง ตลอดเวลา

 ทําความสะอาดแผลเรมิ ทีเ่ กดิ จากตมุ นาํ้ ใสแตกดวยนาํ้ สบแู ละน้ําสะอาดกเ็ พยี งพอแลว
 อยาแกะสะเกด็ แผลเริม
 ถา ปวดแผล ใหใชย าระงับปวดท่ัวไป
 เนอื่ งจากเชือ้ ไวรสั นี้อยูในรางกายโดยไมแสดงอาการอะไร แตสามารถตดิ ตอ ไดแมว า จะไมมี

ผ่นื โดยเฉพาะท่อี วยั วะเพศ การปอ งกันที่ดีท่สี ดุ คอื ใชถงุ ยางอนามัยทกุ คร้ังกบั ทุกคน

55

หนองในแท และหนองในเทยี ม
ท้ังสองแบบ ติดตอผานการมีเพศสัมพันธโดยไมสวมถุงยางอนามัย กวาคร่ึงหน่ึงของผูหญิงที่

เปนหนองในแท จะไมมอี าการ หรอื มีอาการเพยี งเล็กนอ ย จงึ มักไมไดร ับการรกั ษา เชน เดียวกับหนองใน
เทียม ผหู ญิงมกั ไมแสดงอาการอาจมีเพียงตกขาวผดิ ปกติ ปส สาวะแสบเล็กนอย ในบางครง้ั

ในผูชาย หนองในแทมักมีอาการภายใน 3 ถึง 5 วัน หลังสัมผัสเช้ือหนองที่ไหลออกจากทอ
ปส สาวะคลา ยนมขนหวาน อาการปสสาวะแสบ ขัดมาก หนองในเทียม จะเร่ิมแสดงอาการหลังรับเช้ือ
แลว 1 ถึง 3 สัปดาห หรือบางรายอาจนานเปนเดือน มีอาการแสบที่ปลายทอปสสาวะ ปสสาวะแสบขัด
เล็กนอย บางรายอาจคันหรือระคายเคืองทอปสสาวะ หรือปวดหนวงตรงฝเย็บใกลทวารหนัก ลักษณะ
หนองจะซึมออกมาเปน มกู ใสหรือมูกขนุ
อาการหนองในเพศชาย

มกั เกดิ อาการหลงั จากไดรับเช้อื แลว 2 ถงึ 5 วนั เริ่มจากระคายเคอื งทอ ปสสาวะ หลังจากน้ันจะมี
อาการปวดแสบ เวลาปสสาวะ แลวจึงตามดว ยหนองสเี หลือง ไหลออกจากทอปส สาวะ

ถา ไมไ ดร บั การรักษา โรคจะลุกลามไปยังอวัยวะอ่ืน ๆ ท่ีอยูใกลเคียง เชน ตอมลูกหมากอักเสบ
อณั ฑะอกั เสบ เปนตน

อาการหนองในเพศหญงิ
ผูหญิงท่ีไดรับเชื้อนี้ จะมีอาการชากวาผูชาย โดยเฉลี่ยจะเกิดอาการหลังไดรับเชื้อแลว 1 ถึง 3

สัปดาห สงั เกตไดจ ากตกขาวมาก และมกี ลิ่นผิดปกติ ปส สาวะแสบขัด เน่ืองจากการอกั เสบ ท่ที อ ปส สาวะ
และปากมดลูก

ถาไมไดรับการรักษาท่ีถูกตอง เชื้อหนองในจะเขาไปทําลายเย่ือบุผิวทอนําไข ทําใหติดเช้ือ
แบคทเี รยี ชนิดอื่นไดงาย และอาจสงผลใหอุงเชิงกรานอักเสบ ปกมดลูกอักเสบ หรือเกิดการอุดตันของ
ทอรังไข ซึง่ ทําใหเปนหมัน หรอื ตั้งครรภนอกมดลกู ได
การรกั ษา

หนองในแท มที ง้ั ยาฉดี และยารับประทาน ชวงส้ัน ๆ ครั้งเดยี ว หรือวนั เดียว
หนองในเทียม ตอ งรบั ประทานยา ประมาณ 1 ถงึ 2 สัปดาห
แผลริมออ น
เปนโรคทต่ี ดิ ตอ ทางเพศสัมพันธเ กดิ จากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้ติดตอไดงายแตก็สามารถรักษาให
หายขาด โรคนจี้ ะทําใหเ กิดแผลท่ีอวยั วะเพศ และตอ มนํา้ เหลอื งทีข่ าหนบี โตบางครัง้ มหี นองไหลออกมา

56

ที่เรยี กวา ฝมะมวง
อาการ

 ผทู ีร่ ับเชื้อนี้จะมีอาการหลังจากรับเช้ือแลว 3 - 10 วัน
 อาการเร่ิมตน จะเปน ตุม นูนและมอี าการเจ็บ หลังจากนน้ั จะมแี ผลเลก็ ๆ กน แผลมีหนอง

ขอบแผลนนู ไมเรยี บ มีอาการเจ็บมาก แผลเลก็ ๆ จะรวมกันเปน แผลใหญ
 แผลจะนมุ ไมแขง็
 จะมอี าการเจ็บแผลมากในผูชาย แตผูหญิงอาจจะไมมีอาการเจ็บ ทําใหเกิดการติดตอสูผูอ่ืน

ไดงา ย
 ตอ มนํ้าเหลืองท่ขี าหนีบจะโต กดเจบ็ บางคนแตกเปนหนอง
เอชไอวี และ เอดส
เชอื้ เอชไอวี (HIV) เปนไวรัส ยอมาจาก Human Immunodeficiency Virus แปลวา ไวรัสที่ทําให
ภูมิตานทานของรางกายคนนอยลงหรือบกพรอง เช้ือเอชไอวี เปนตนเหตุใหเกิดโรคเอดส (AIDS)
ยอมาจาก Acquired Immunodeficiency Syndrome แปลวา กลมุ อาการที่เกิดจากภูมิตานทานของรางกาย
นอยลงหรือบกพรอง ทาํ ใหติดเชื้อโรคตาง ๆไดงาย โดยปกติเมื่อเชื้อโรคเขาไปในรางกาย ภูมิตานทาน
ของรางกายจะกําจัดเชื้อโรค ทําใหรางกายไมติดเชื้อโรคนั้นๆ การติดเช้ือเอชไอวี ทําใหผูน้ัน
มีภมู ติ านทานนอ ยลงหรอื บกพรอ ง จงึ ทาํ ใหผนู ัน้ ติดเชื้อโรคตา ง ๆ ไดง าย
“ผตู ดิ เชอื้ เอชไอว”ี คือผูทไ่ี ดร บั เช้อื เอชไอวี แตย งั ไมแ สดงอาการเจ็บปวย
“ผปู วยเอดส” หมายถึง ผตู ดิ เชื้อเอชไอวีทป่ี ว ยดวยโรคตดิ เชอ้ื เอชไอวฉี วยโอกาส เนื่องจากภาวะ
ภมู ิคุม กันบกพรอ ง การเจ็บปว ยดวยโรคฉวยโอกาสในผตู ิดเชื้อเอชไอวเี กิดจากภาวะภมู บิ กพรอง สามารถ
รกั ษาได
ผูติดเช้ือเอชไอวี จึงตางจากผูปวยเอดส ผูติดเชื้อเปนผูท่ีมีเชื้อเอชไอวีในรางกาย ไมมีอาการ
แสดง และยงั สามารถใชชวี ิตไดต ามปกติ จงึ ไมมีความจาํ เปนทจี่ ะตอ งปฏบิ ตั ิตวั กับผูติดเชื้อใหแตกตาง
จากคนอื่น ในประเทศไทยคนสวนใหญมากกวารอยละ 80 ติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธท่ี
ไมป อ งกนั มีบางสว นติดจากการใชเ ขม็ ฉีดยาเสพติดรวมกัน และมีเด็กจํานวนหนึ่งท่ีติดเช้ือจากแมท่ีมี
เช้ือตั้งแตค ลอด นอกจากนแี้ ลว ยงั ไมเคยปรากฏวามีใครติดเช้ือจากการอยูบานเดียวกัน กินขาว ด่ืมนํ้า
พูดคยุ หรอื ใชช ีวิตประจําวนั กับผตู ดิ เชือ้ เลย
เพราะการท่ีคนจะรับเช้ือเอชไอวเี ขา สรู างกายได ตอ งประกอบดว ย 3 ปจจยั ดงั น้ี
1. แหลงทีอ่ ยขู องเชอื้ (Source) เชอ้ื เอชไอวจี ะอยูในคนเทานนั้ โดยจะเกาะอยูก ับเมด็ เลอื ดขาว
ซง่ึ อยูในสารคัดหลัง่ บางอยาง เชน เลอื ด น้ําอสจุ ิ น้ําในชอ งคลอด นํา้ นมแม

57

2. ปริมาณและคุณภาพของเชื้อ (Quality and Quantity) ตอ งมีจาํ นวนเชอ้ื เอชไอวใี นปริมาณ
ที่มากพอ เช้ือตองมีคุณภาพพอ กลาวคือ เช้ือเอชไอวีไมสามารถมีชีวิตอยูนอกรางกายคนได สภาพใน
รา งกายและสภาพแวดลอมบางอยางมผี ลทาํ ใหเ ชอื้ ไมสามารถอยูได เชน กรดในนํ้าลาย กระเพาะอาหาร
สภาพอากาศรอน ความแหง นาํ้ ยาตาง ๆ

3. ชอ งทางการติดตอ (Route of transmission) เช้ือเอชไอวจี ะตอ งถูกสงผานจากคนท่ีติดเช้ือ
ไปยงั อกี คนหนึ่ง เชอื้ จะตองตรงเขา สกู ระแสเลือดของผูท่ีรับเชื้อ โดยผานการมีเพศสัมพันธที่ไมปองกัน
การใชเขม็ ฉีดยาเสพตดิ รวมกัน และจากแมสูลูก

กจิ กรรมทา ยบทท่ี 2
1. ใหผเู รยี นเขียนเรยี งความสนั้ ๆ เลา ถงึ ความรูสึกท่ีเกิดขึ้นกับตัวเองเม่ือเห็นความเปล่ียนแปลง

ทางรางกาย และการหาทางออก
2. แบง กลุมผเู รียน ใหแตล ะกลมุ ศึกษาปญหาท่ีเกิดขึ้นจากการเปลยี่ นแปลงทางอารมณและจิตใจ

ของวยั รนุ และแนวทางการแกป ญ หา และใหแ ตล ะกลมุ นาํ เสนอหนา ช้ันเรียนพรอมอภิปรายรว มกัน
3. ใหผูเ รียนแบง กลุม แสดงบทบาทสมมตุ ิ ในเร่อื งการใหค าํ ปรึกษาแกเ พ่ือนที่ตองการคุมกาํ เนิด

58

บทท่ี 3
การดูแลสุขภาพ

สาระสําคัญ

มีความรูในเร่ืองคุณคาของอาหารตามหลักโภชนาการ รูจักวิธีการถนอมอาหารเพ่ือคงคุณคา
สําหรับการบรโิ ภค ตลอดจนวางแผนการดูแลสขุ ภาพตามหลกั การและวิธีการออกกําลังกาย เพื่อสุขภาพ
รปู แบบตาง ๆ ของกิจกรรมนนั ทนาการ เพอื่ ใหเกิดผลดีกบั รางกาย

ผลการเรยี นรทู ่คี าดหวัง

1. เรยี นรูเ รือ่ งของคณุ คา อาหารตามหลักโภชนาการ และวธิ ีการถนอมอาหาร
2. เรียนรูวธิ กี ารวางแผนในการดูแลสุขภาพตามหลักและวิธีการออกกาํ ลังกาย เพือ่ สุขภาพ
3. เรียนรูเรอ่ื งรูปแบบกจิ กรรมนันทนาการ

ขอบขายเนื้อหา

เรอื่ งที่ 1 ความหมาย ความสําคญั และคณุ คาของอาหาร และโภชนาการ
เรอ่ื งท่ี 2 การเลอื กบรโิ ภคอาหารตามหลกั โภชนาการ
เรื่องที่ 3 วธิ ีการถนอมอาหารเพื่อคงคณุ คา ของสารอาหาร
เร่ืองที่ 4 ความสําคญั ของการมสี ขุ ภาพดี
เรือ่ งที่ 5 หลกั การดูและสขุ ภาพเบือ้ งตน
เรอ่ื งที่ 6 ปฏบิ ัตติ นตามหลกั สขุ อนามยั สวนบุคคล
เรื่องท่ี 7 คุณคาและประโยชนข องการออกกาํ ลังกาย
เรอื่ งท่ี 8 หลักการและวิธอี อกกําลงั กายเพื่อสุขภาพ
เรอื่ งท่ี 9 การปฏิบัตติ นในการออกกําลังกายรูปแบบตา ง ๆ
เร่อื งที่ 10 ความหมาย ความสาํ คัญของกิจกรรมนันทนาการ
เรื่องที่ 11 ประเภทและรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ

59

เรอ่ื งท่ี 1 ความหมาย ความสําคัญและคุณคา ของอาหาร และโภชนาการ
ความหมายของอาหาร

อาหาร หมายถึง สิ่งท่ีมนุษย และสัตวกินดื่มเขาไปแลวบํารุงรางกายใหเจริญเติบโต และ
ดาํ รงชวี ิต รวมทั้งสง่ิ ทตี่ น ไมดูดเขา ไปหลอ เลี้ยงสวนตาง ๆ ของตนไมใ หเ จรญิ เติบโตและดํารงอยู

รางกายของคนเราตอ งการอาหาร เพราะอาหารเปน สิ่งจาํ เปนตอ รางกาย คือ เพ่ือบําบัดความ
หวิ และเพ่ือนําสารอาหารไปสรางสขุ ภาพอนามยั จนถงึ การพัฒนาการทางสมอง

สาํ หรบั ทางดานจติ ใจนั้น คนเรารับประทานอาหารเพอ่ื สนองความอยาก สรางสุขภาพจิตท่ีดี
อาหารคอื สิง่ ท่รี บั ประทานเขา ไปแลวกอ ใหเกิดประโยชนแกรางกายในดานตาง ๆ เชน ใหกําลังและ
ความอบอุน เสริมสรา งความเจรญิ เตบิ โต ซอ มแซมสวนท่สี ึกหรอ ตลอดจนทําใหอ วัยวะ
ตา ง ๆ ของรางกายทํางานอยางเปน ปกติ

โภชนาการ คอื วิทยาศาสตรแขนงหน่ึงเก่ียวกับการจัดอาหาร เพ่ือใหไดประโยชน แก
รา งกายมากทส่ี ุด โดยคาํ นงึ ถึงคุณคาของอาหาร วยั และสภาพรางกายของผูท่ไี ดร ับอาหารน้นั ๆ ดว ย

ประโยชนและคณุ คาของอาหาร
อาหารเปนสารวัตถุดิบท่ีรางกายนํามาผลิตเปนพลังงาน รางกายนําพลังงานที่ไดจาก

อาหารไปใชในการรักษาสภาวะทางเคมี และนําไปใชเก่ียวกับการทํางานของระบบตาง ๆ เชน
การไหลเวยี นโลหิต การเคลื่อนที่ของอากาศเขา และออกจากปอด การเคล่อื นไหวของรา งกาย
การออกกาํ ลงั กาย และการทาํ กจิ กรรมตาง ๆ

ประเภทและประโยชนข องสารอาหาร
ในทางโภชนาการไดแบงอาหารตามสารอาหารออกเปน 6 ประเภทใหญ ดังน้ี
1. คารโบไฮเดรต เปนสารอาหารประเภทแปงและนํ้าตาล ซึ่งสวนใหญไดจากการ

สังเคราะหแสงของพืช ไดแก แปง และน้ําตาล คารโบไฮเดรตเปนสารอาหารที่ใหพลังงานแกรางกาย
โดยคารโบไฮเดรต 1 กรัม จะสลายใหพ ลังงาน 4 กโิ ลแคลอรี (K.cal)

ประโยชน คารโบไฮเดรต
(1) ใหพลังงานและความรอ นแกร า งกาย
(2) ชวยในการเผาผลาญอาหารจาํ พวกไขมนั เพอื่ ใหร า งกายสามารถนาํ ไปใชได
(3) กาํ จดั สารพษิ ทเ่ี ขาสูรางกาย
(4) ทําใหก ารขับถายเปน ไปตามปกติ

60

ความตองการคารโบไฮเดรต ในวันหน่ึง ๆ คนเราตองการใชพลังงานไมเทากัน
ขนึ้ อยกู ับขนาดของรางกาย อายุ และกิจกรรม

2. โปรตนี เปนสารอาหารทจี่ ําเปนตอ รางกายของสงิ่ ทีม่ ีชวี ติ ซง่ึ ประกอบดว ยธาตุ
สาํ คัญ ๆ คอื คารบอน โฮโดรเจน ออกซเิ จน และไนโตรเจน นอกจากนย้ี งั มธี าตุอน่ื อกี ดว ย

ประโยชนโ ปรตีน
(1) ชวยซอมแซมสว นทส่ี ึกหรอของรางกาย
(2) ใหพ ลังงานและความอบอนุ แกรางกาย โดยโปรตนี 1 กรัม ใหพ ลังงาน 4
กิโลแคลอร่ี เดก็ ทารกถา ไดร ับโปรตนี นอยจะมีผลทาํ ใหสมองไมพ ฒั นา ทําใหรางกายแคระแกรน
สตปิ ญ ญาตาํ่
(3) ทาํ ใหสขุ ภาพรา งกายแขง็ แรง ไมอ อ นเพลีย
(4) ทาํ ใหร างกายมภี ูมติ านทานโรคสูง
(5) เปน สารที่จาํ เปน ในการสรา งฮอรโ มน และเอนไซม และเปน สวนประกอบ
ทสี่ ําคญั ของเม็ดเลอื ดแดง
ผลเสยี ทเี่ กิดจากการทรี่ า งกายขาดโปรตนี
(1) ทําใหตวั เล็ก ซบู ผอม
(2) การเจริญเตบิ โตชะงกั
(3) กลามเนอื้ ออนปวกเปยก
ถารางกายขาดโปรตีนอยางมาก จะทําใหเกิดโรคอวาฮิออกกอร (Kwashiorkor)
ตบั บวม ผมสีออน เฉยเมยไมมีชีวิตชีวา แหลงอาหารของโปรตีนทร่ี า งกายไดรับจากเน้ือสตั ว
เคร่อื งในสัตว ไข นม ถว่ั และผลติ ภณั ฑจากถ่ัว โปรตีนท่ีรางกายตองการไดรับ เม่ือถูกยอยดวยเอนไซม
จะไดกรดอะมิโน
3. ไขมัน (Lipid Fat) เปนสารอาหารที่มีธาตุท่ีองคประกอบที่สําคัญ คือ คารบอน
ไฮโดรเจน และออกซเิ จนคลายกบั คารโ บไฮเดรต แตส ัดสว นทีต่ างกนั ไขมนั ประกอบดว ยกรดไขมันและ
กรีเซอรอล
(1) กรดไขมนั (Fatty acid) แบง ออกตามจุดหลอมเหลวได 2 ประเภท คือ

 กรดไขมนั ชนดิ อม่ิ ตัว (Saturated fatty acid) เปนกรดไขมันท่ีมีจุดหลอมเหลว
สูงมีจํานวนธาตุคารบอน และธาตุไฮโดรเจนในโมเลกุลคอนขางสูง ไดแก กรดลอริก กรดโมรีสติก
กรดปาลมตกิ กรดสเตยี รกิ กรดไขมนั ชนดิ อิ่มตัวสวนมากจะไดจากสตั วและมะพรา ว

61

 กรดไขมันชนิดไมอิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) เปนกรดไขมันท่ีมีจุด
หลอมเหลวต่ํา ในหนง่ึ โมเลกุลประกอบดว ยธาตคุ ารบ อน และธาตไุ ฮโดรเจนในปริมาณต่าํ

กรดไขมันชนิดไมอิ่มตัว สวนมากไดจากไขมันของสัตวเลือดเย็น น้ํามันตับปลา
และไขมนั จากพืช กรดไขมนั ชนิดไมอิม่ ตัวมีกล่ินเกิดขึ้นไดงาย เนื่องมากจากตัวกับออกซิเจนในอากาศ
ไดง า ย วธิ ีแกท ําไดโดยใหท าํ ปฏกิ ิรยิ ากับไฮโดรเจน ซงึ่ เปนหลักของการทําเนยเทียม

กรดไขมันท่รี างกายตองการ เปนกรดไขมันท่ีรางกายไมสามารถสังเคราะหขึ้นได
จึงตองรับจากภายนอก ซ่ึงไดร ับมาจากพชื เปน กรดไขมันชนดิ ไมอ ิ่มตัว เชน

กรดโอเลอิก (C17H33 COOH) ไดจากนํ้ามนั มะพรา ว ถว่ั ลิสง
กรดไลโนเลอิก (C17H19 COOH) ไดถ่ัวลิสง น้ํามนั รํา นํา้ มันดอกคาํ ฝอย
ประโยชนข องกรดไขมนั ชนดิ อ่ิมตวั ตอรา งกาย คือ
(1) ชว ยทาํ ใหรา งกายมีสขุ ภาพดี
(2) ชว ยสรา งความเจรญิ เติบโตในเดก็
(3) ชวยทําใหผ ิวพรรณงดงาม
(4) ชวยลดระดับคอเลสเตอรอลในเสนเลอื ด
แตถ ารางกายขาดไขมนั จะทําใหรางกายเจรญิ เติบโตไดไมเทา ท่ีควร และมีผวิ หนัง
อักเสบ ไขมันเปน สารอาหารทใ่ี หพลังงานสงู โดยไขมัน 1 กรมั จะใหพลังงาน 9 กโิ ลแคลอร่ี และ
นอกจากน้ี ยงั ชว ยใหรา งกายดดู วติ ามนิ เอ ดี อี เค ไปใชใ นรา งกายไดด วย ถา รา งกายขาดไขมันจะทําให
รา งกายขาดวิตามนิ เอ ดี อี และเค
(2) คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เปน กรดไขมนั อม่ิ ตวั ท่พี บมากในไขแดง มนั สมอง
สัตว มคี วามสามารถในการละลายไมด ี ฉะนน้ั เม่ือบรโิ ภคเขา ไปในปรมิ าณมาก จะทาํ ใหเกดิ การอดุ ตัน
ในเสนเลือดทาํ ใหเ สน เลอื ดตีบตนั และเปนสาเหตุทําใหเกดิ โรคหลอดโลหติ แข็งตวั
โรคความดันโลหติ สูง เปนตน เพือ่ ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเสนเลอื ด ควรเลอื กบริโภคอาหารทมี่ ี
ไขมันตา่ํ และควรงดเวน การบรโิ ภคไขแ ดง ไขมนั จากสตั ว โดยเฉพาะมนั สมองสัตว
(3) ไตรกลีเซอรไ รด หมายถึง ไขมันทเี่ กิดขน้ึ จากปฏกิ ิริยาเคมรี ะหวางไขมนั
กับกลีเซอรอล
ขอ ควรจํา
(1) กรดไขมนั ชนดิ อิม่ ตวั จดุ หลอมเหลวจะสูงขึ้นตามจํานวนอะตอมของคารบ อน
ไฮโดรเจนใน 1 โมเลกุล
(2) กรดไขมนั ชนิดไมอ ่มิ ตัว เมือ่ คารบอนเทา กนั จดุ หลอมเหลวจะสงู ข้ึน เม่อื มี
อะตอมของไฮโดรเจนสงู ข้ึน

62

4. วิตามิน (Vitamin) เปนสารซึ่งมีความจําเปนตอรางกาย เพราะสามารถทําใหรางกาย
ทาํ งานไดเ ปน ปกติ ฉะน้นั วิตามนิ ไดจากอาหาร เพราะรางกายไมส ามารถสรา งหรอื สงั เคราะหข ึ้นได

วิตามิน แบง ไดเ ปน 2 ประเภทใหญ ๆ คอื
(1) วิตามนิ ทลี่ ะลายไดใ นนํา้ มันหรอื ไขมนั ไดแก วิตามนิ ซี วติ ามนิ พวกน้ีสลายตัว
ไดงา ยเมือ่ ถกู แสง ความรอน ฉะนั้น จึงไมม กี ารสะสมในรา งกาย ถารางกายรับเขาไปมากเกินไปจะทําให
เกดิ ผลเสียได คือ เกิดอาการแพ
(2) วติ ามนิ ท่ลี ะลายไดใ นน้ํา ไดแ ก วติ ามนิ บี วติ ามินซี วติ ามนิ พวกน้ีสลายตัวไดง าย
เมื่อถูกแสง ความรอน ฉะนั้น จึงไมมีการสะสมในรางกาย ถารางกายมีมากเกินไปจะถูกขับออกมาทาง
ปสสาวะหรือทางเหงื่อ

1. วิตามินเอ พบในอาหารประเภทเน้ือ นม ไขแดง เนย นํ้ามันตับปลา พืชผัก
และผลไม ตลอดจนผลไมทม่ี สี ีเหลือง เชน มะละกอ ฟกทอง มปี ระโยชน คอื

 ชวยรักษาสุขภาพทางตาใหป กติ
 ชว ยสรา งเคลอื บฟน
 ชวยทาํ ใหผ ิวหนงั สดชน่ื ไมตกสะเก็ด
ผลเสีย ของการรับประทานวิตามินเอ มากเกินไป จะทําใหเกิดอาการคลื่นไส
ผมรวง และคนั ตามผวิ หนัง
2. วิตามินดี ไดจากสารอาหารจําพวกน้ํามันตับปลา ไขแดง เนย และจาก
แสงแดดซ่ึงรา งกายสงั เคราะหขึน้ ประโยชนค ือ
 ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในโลหติ
 ชว ยปองกนั โรคกระดกู ออ น
 ชว ยทาํ ใหก ระดกู และฟน แข็งแรง
ผลเสยี เม่ือรับประทานวติ ามินดีมากเกนิ ไป จะทําใหเ กดิ อาการคลนื่ ไส นํา้ หนักตวั
ลดลง ปสสาวะบอ ย ทอ งผูก ทําใหแ คลเซยี มในเลือดสงู
3. วติ ามินอี พบในน้ํามนั พืชตา ง ๆ เชน เมล็ดขา ว ผักใบเขยี วจัด ถว่ั นม
มปี ระโยชนค อื
 ปอ งกันการเปนหมันและการแทงลกู
 ปอ งกันกลามเน้อื เหี่ยวลีบไมมแี รง
 ชว ยทําใหเซลลเม็ดเลอื ดแดงไมถูกทาํ ลายไดง าย

63

4. วิตามินเค ไดจากการสงั เคราะหจากแบคทีเรียในลําไส ไดจากอาหารสีเขียว
สเี หลือง เชน ดอกกะหลา่ํ กะหลาํ่ ปลี ถ่วั เหลอื ง มะเขือเทศ มปี ระโยชน คือ ชวยสรางโปรทอมบิน ซ่ึงตับ
เปน ผูผ ลติ และทาํ ใหเ ลือดแข็งตวั ถา รางกายเกดิ การขาดแคลนวติ ามนิ เค จะทําใหเสยี เลอื ดมาก เพราะเลอื ด
แขง็ ตวั ไดช า ทารกทีเ่ กิดใหมไมม ีแบคทเี รยี ในลําไสที่ผลิตวิตามินเค ถามีบาดแผลจะทําใหเสียเลือดมาก
ถึงตายได

5. วิตามนิ บี 1 (Thiamine) พบมากในขา วซอ มมอื เน้ือสัตว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง
เมลด็ งา รําขาว ยสี ต ผักใบเขียว ถาขาดวิตามินบี 1 จะทาํ ใหเ กิดโรคเหน็บชา เบ่ืออาหาร หงุดหงดิ

6. วิตามนิ บี 2 (Riboflavin) มมี ากในตบั ไต หัวใจ ไขปลา ไขข าว นาํ้ มัน ถ่ัว
ผกั ยอดออน ถา ขาดวติ ามินบี 2 จะทําใหเกดิ โรคปากนกกระจอก ผวิ หนงั เปนผน่ื แดง ปวดศีรษะ

หนา ท่ีของวติ ามนิ บี 2 คอื
 ชว ยสรา งเม็ดโลหติ แดง
 ชว ยเผาผลาญอาหารพวกโปรตนี คารโ บไฮเดรต
 ชว ยบํารุงผิวหนัง
7. วิตามินบี 12 (Cobalmine) พบมากในนม เนยแข็ง ไข หอย ปลารา กะป
มปี ระโยชนคอื ชว ยรักษาระบบประสาท และปองกนั โรคโลหติ จาง
8. วติ ามินซี (Ascorbic acid) พบในพืชผักสด และผลไมท่ีมีรสเปร้ียว และพืช
กาํ ลงั งอก เชน ถ่วั งอก ยอดตําลงึ มปี ระโยชนคอื
 ปองกันโรคเลือดออกตามไรฟน
 ชว ยทาํ ใหผ นังของโลหิตแขง็ แรง
 ชว ยในการดดู ซึมอาหารอนื่
 ชว ยใหรา งกายสดชน่ื ไมออนเพลีย
 ชว ยในการตอ กระดกู และรกั ษาแผล
5. เกลือแร (Mineral Salt) เปนสารอาหารที่ไมไดใหพลังงานแกรางกายแตชวย
เสรมิ สรา งใหเซลลห รอื อวยั วะบางสวนของรา งกายทนทานไดเ ปน ปกติ เชน
(1) แคลเซียม (Calcium) ซง่ึ พบในพชื ผกั กุงแหง กงุ ฝอย กบ มปี ระโยชน คอื
1. เปน สวนประกอบที่สาํ คญั ของกระดกู และฟน
2. ชว ยควบคุมการทํางานของหวั ใจและระบบประสาท

64

3. ชว ยทําใหเ ลือดเกิดการแขง็ ตวั
ถารางกายขาดแคลเซยี มทําใหเกิดโรคกระดกู ออน และทําใหเลอื ดไหลหยดุ ชาเมอ่ื มี
บาดแผล
(2) เหล็ก (Ferrous) พบมากในตบั หวั ใจ เนอ้ื ถว่ั ผกั สเี ขยี วบางชนิด เชน กระถนิ
ผักโขม ผกั บงุ มีประโยชน คือ

1. เปน สวนประกอบสาํ คญั ของเมด็ โลหิตแดง
2. ปองกนั โรคโลหิตจาง หญิงมคี รรภ หรือมปี ระจําเดือน ควรไดร บั ธาตุเหล็ก
มาก เพื่อไปเสรมิ และสรางโลหติ ทเ่ี สียไป
(3) ไอโอดนี (Iodine)พบมากในอาหารทะเล เชน กุง หอย ปู ปลา มีประโยชน คือ
ชวยใหตอมไทรอยดผลิตฮอรโมนขึ้นเพ่ือใหควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในรางกาย เด็กท่ีขาด
ไอโอดนี จะไมเ จริญเติบโตจะเปน เดก็ แคระแกรน ยาบางอยา งและผักกะหลาํ่ ปลจี ะขดั ขวางการทาํ งานของ
ฮอรโ มนไทรอกซิน
(4) โปแตสเซียม (Potassium)พบในเนื้อ นม ไข และผักสีเขียว มีประโยชน คือ
ควบคมุ การทํางานกลา มเน้อื และระบบประสาท
6. นํ้า (Water) เปนสารอาหารทส่ี ําคญั ที่สดุ ส่งิ มชี วี ติ จะขาดเสยี มิได โดยรางกายเรามนี ้ํา
เปน องคประกอบอยปู ระมาณ 70 % ของนํ้าหนักตวั
ประโยชนข องนํ้า
(1) ชวยทําใหผิวพรรณสดชื่น
(2) ชวยหลอ เลย้ี งอวยั วะสว นตา งๆ ที่มกี ารเคลอ่ื นไหว
(3) ชว ยขบั ของเสียออกจากรา งกาย
(4) ชว ยรกั ษาอุณหภูมขิ องรางกาย
(5) ชวยยอยอาหารและลาํ เลยี งอาหาร
สัดสวนของสารอาหารที่รางกายตองการ
(1) ความตองการพลังงานของรางกายในแตละวนั จะมากหรอื นอ ยในแตละบคุ คล
ขึ้นอยูกบั
 เพศ กลาวคือ เพศชายสว นมากตอ งการมากกวา เพศหญิง
 วัย กลา วคอื วัยรุน มีความตองการพลังงานมากวา วยั เดก็ และวัยชรา
 อาชพี กลาวคือ ผมู ีอาชีพไมต อ งใชแรงงานจะใชพ ลังงานนอ ยกวาผใู ชแ รงงาน
 น้ําหนักตัว กลา วคอื ผูมนี าํ้ หนกั ตัวมากจะใชพ ลังงานมากกวา ผมู ีนาํ้ หนกั ตวั นอย

65

 อุณหภูมิ กลาวคือ ผูท่ีอยูในบริเวณภูมิอากาศหนาว จะใชพลังงานมากกวาผูอาศัย
ในบรเิ วณภูมอิ ากาศรอน โดยปกติในวัยเรียนพลังงานทีจ่ ะใชป รมิ าณ 44 แคลอรี่ ตอกิโลกรัมตอ วัน

(2) บุคคลที่ตองการลดความอวน แตไมตองการอดอาหาร จะทําไดโดยลด
สารอาหารบางอยางทใ่ี หพลังงานสูง และกนิ สารอาหารอนื่ แทน น้นั คอื ควรลดคารโบไฮเดรต และไขมัน
เพราะอาหาร 2 อยา งน้ีใหพ ลงั งานสูง

(3) การบริโภคอาหารตามหลักของโภชนาการ คือ จะตองบริโภคอาหารให
ครบถว นตามรางกายตองการและในปริมาณทีพ่ อเหมาะ โดยเฉพาะสารอาหารใหพ ลงั งาน เชน

 คารโบไฮเดรต ควรไดร ับ 2-3 กรัม/น.น. 1 Kg/วัน
 โปรตีน ควรไดร ับ 1 กรัม/น.น. 1 Kg/วัน สําหรับเด็กทารก และสตรีมีครรภ
ควรจะไดร บั ปรมิ าณโปรตีนสงู กวาคอื ควรรับ 2-3 กรัม/น.น. 1 Kg/วนั
 ไขมัน ควรไดรับ 2 กรัม/น.น. 1 Kg/วัน สําหรับประเทศหนาวควรไดรับ
สารอาหารนีใ้ นปรมิ าณที่สงู ขน้ึ อกี เพ่อื นาํ ไปใชก อ ใหเกดิ พลังงาน
(4) โปรตีนที่มีคณุ ภาพสงู หมายถงึ อาหารโปรตีนท่ีมกี รดอมิโนที่จําเปนตอ รา งกาย
ทัง้ 8 ชนิด และอยูใ นสัดสว นทีพ่ อเหมาะท่ีรางกายจะนาํ ไปใชประโยชนไ ดเต็มท่ี อาหารท่ีใหโปรตีนครบ
8 อยาง คือ อาหารจากสัตว

เรอ่ื งที่ 2 การเลอื กบรโิ ภคอาหารตามหลกั โภชนาการ

อาหารท่ีเกิดประโยชนตอรางกายอยางเต็มที่ จะตองเปนอาหารท่ีมีโภชนาการสูง ซึ่งหมายถึง
อาหารท่ีสารอาหารที่รางกายตองการครบทุกชนิด และมีปริมาณพอเพียงกับความตองการของรางกาย
ดังนน้ั อาหารทีน่ ํามารบั ประทานทุกม้อื ควรประกอบไปดวยอาหารจากอาหารหลักครบทัง้ 5 หมู

อาหาร ประโยชน
อาหารหมูท่ี 1 โปรตีน ไดแก เน้ือสัตวตาง ๆ ถ่ัว เสริมสรางบํารุงรางกายใหเติบโต ซอมแซมอวัยวะ
ชนิดตา ง ๆ อาหารหมทู ี่ 1 มีความสาํ คญั มาก สวนที่สกึ หรอใหเ ปน ปกติ
อาหารหมทู ่ี 2 คารโบไฮเดรต ไดแก ขาว อาหาร ทาํ ใหร างกายมีกําลังท่ีจะทํางาน และทําใหรางกาย
อบอุน
จาํ พวกแปงตาง ๆ
อาหารหมูที่ 3 ไขมัน เชน นํ้ามันหมู น้ํามัน ทาํ ใหรางกายอบอุน มีกาํ ลังทาํ งาน
มะพรา ว และนา้ํ มนั พืชตา ง ๆ
อาหารหมูที่ 4 เกลอื แร ไดแก เกลือสินเธาว เกลือ ชว ยควบคุมกระบวนการตาง ๆ ในรา งกาย และชวย

66

อาหาร ประโยชน

ทะเล เกลือผสมไอโอดนี อาหารทะเล ปองกันโรคบางชนิด เชน โรคเออ โรคคอพอก
อาหารหมูท ี่ 5 วิตามนิ ไดแ ก ผกั ผลไมตาง ๆ ท่ีมี ชวยบํารุงผิวหนัง ตา เหงือก ฟน มีอนุพันธุตาน
สีเขียว มะเรง็ บํารุงกระดูก ชว ยใหร ะบบขับถา ยดี

นาํ้ ด่ืม นาํ้ เปนส่งิ จําเปนแกร างกาย ถา รางกายขาด ทาํ ใหร างกายสดช่ืน ชวยนําสารอาหารไปสสู วน
นํ้าจะทาํ ใหเ สยี ชีวติ ได ตาง ๆ ของรา งกาย และขับถายของเสยี ที่รา งกาย
ไมตองการออกจากรางกาย ชวยทาํ ใหอุณหภูมิ
ในรา งกายมีความสมดลุ

หลกั การเลอื กบริโภคอาหาร
1. รับประทานอาหารใหไ ดส ารอาหารครบถวนตามทีร่ า งกายตอ งการ (รับประทานอาหาร

หลกั 5 หมใู หครบ ในแตละวนั
2. ตองไมรบั ประทานอาหารมากเกนิ ไป หรือรับประทานอาหารนอ ยเกินไป แตล ะคน

ตองการอาหารในปริมาณที่ไมเทา กัน ขึน้ อยกู บั อายุ ขนาดของรางกาย การใชแ รงงาน และเพศ
3. คนทีช่ า งเลือกในการรบั ประทานอาหาร ตอ งระมัดระวังมากข้ึน เพราะถา รับประทาน

แตอ าหารทต่ี นชอบ อาจทําใหเ ปน โรคขาดสารอาหารบางอยา งได
4. เลอื กรบั ประทานอาหารทส่ี ดสะอาด อยา เลือกซอ้ื อาหารตามคาํ โฆษณา ควรคํานึงถึง

คณุ คาทไ่ี ดร ับจากอาหารดว ย
ในการดแู ลสขุ ภาพตนเองนั้น ควรสนใจเรื่องนาํ้ หนักของรา งกายของตนเองดวย เพราะ

การมีนํ้าหนักมากไปจะทําใหเปนโรคอวน น้ําหนักนอยไปจะทําใหผอมการที่มีรูปรางอวนหรือผอม
ผิดปกติ ยอมมีผลตอสุขภาพทําใหมีโอกาสเปนโรคไดงาย คนอวนอาจเปนโรคหัวใจ คนผอมอาจเปน
วัณโรคหรือมพี ยาธิ นอกจากนีย้ งั มผี ลตอ สุขภาพจติ เพราะเกิดความกังวลไมส บายใจที่เพ่ือนลอ

อาหารท่ีควรหลกี เล่ียง
อาหารท่ีควรหลีกเลย่ี ง คือ อาหารที่รบั ประทานเขาไปแลวไมม ีประโยชนแ ละอาจ เกดิ โทษ

แกร า งกาย คอื
1. อาหารทีไ่ มส ะอาด ไดแ ก อาหารที่มีแมลงวันตอม
2. อาหารที่เปน พษิ ไดแก อาหารท่ีมีสารพษิ เจอื ปน เชน ผกั ทม่ี ยี าฆา แมลง ถวั่ ลิสงทม่ี เี ชอื้ รา

67

3. อาหารปลอมปน ไดแก อาหารท่ีผูขายใสสารอ่ืนลงไป เพ่ือลดตนทุนในการผลิตหรือ
เพ่ือปรุงแตงสีและรสชาติใหนากินข้ึน เชน น้ําสมสายชูปลอม ขนมที่ผสมสียอมผา นํ้าปลาที่เจือสี
ลูกช้ินทีใ่ สส ารบอแรกซ

4. อาหารท่ีเสอื่ มคุณภาพ ไดแ ก อาหารกระปอ งท่ีหมดอายุ หรอื อาหารท่มี กี ลนิ่ บดู เนา
5. อาหารทไ่ี มม ปี ระโยชน ไดแก ของหมกั ดอง น้าํ อัดลม
ปรมิ าณและคุณคาอาหารทเี่ หมาะสมกบั วยั
ความตองการปรมิ าณอาหารแตล ะชนดิ ของรางกายขน้ึ อยูกบั วัย อาชีพ และสภาพของรา งกาย
เชน เด็กตองการอาหารประเภทโปรตีนมากกวาผูใหญ ผูใชแรงงานตองการอาหารประเภท
คารโบไฮเดรตมาก หรอื พวกท่อี ยใู นเขตหนาวตองการอาหารประเภทไขมนั มาก เปนตน อยางไรก็ตามมี
หลักงาย ๆ คือ รับประทานอาหารท่ีเพียงพอและใหครบทุกประเภทของสารอาหาร
ขอ แนะนําเพม่ิ เตมิ
1. ควรรับประทานอาหารทะเล อยา งนอ ยสัปดาหล ะ 2 - 3 ครั้ง
2. ควรรับประทานไขสกุ เพราะยอ ยงาย
3. ควรหุงขา วแบบไมเ ช็ดนํา้ เพอ่ื รกั ษาวิตามิน
4. ควรรบั ประทานน้าํ มนั พชื เพราะไมทาํ ใหเกิดไขมันในเสนเลอื ด
5. ควรรบั ประทานผกั สดมากกวาผกั ท่ีสุกแลว แตค วรลา งสะอาด ปราศจากสารพษิ

เรื่องท่ี 3 วิธกี ารถนอมอาหารเพื่อคงคุณคาของสารอาหาร

การถนอมอาหาร
การถนอมอาหาร หมายถงึ วิธกี ารรักษาอาหารมใิ หเ สื่อมสภาพเรว็ เกินไป และเก็บไวไดนาน

การถนอมอาหารมีหลักการสําคัญ คือ ทําลายจุลินทรียบางชนิด หรือทําใหจุลินทรียไมสามารถ
เจริญเตบิ โตได หรือทาํ ใหเ อนไซมใ นอาหารทาํ งานไดชาลง หรอื หยดุ ชะงกั

วธิ ีการถนอมอาหาร
1. การทําแหง คือ การทําไมใหม ีน้ําในอาหาร จลุ ินทรยี ไมส ามารถเตบิ โตไดในสภาวะ

ขาดนา้ํ ไดแก การตากแหง การอบแหง อบ รมควนั อาหารทถี่ นอมดว ยวิธีการทาํ แหง เชน กลว ยตาก
ปลาแหง กงุ แหง เปนตน

68

2. การหมักดอง คือ ใชเ กลอื และกรดแลกติน ชวยยับยง้ั การเจรญิ เติบโตของจุลินทรียที่ทําให
อาหารบูดเนา การดองมีท้ังดองเปรี้ยว ดองเคม็ ดองหวาน เชน ผกั กาดดองไขเ ค็ม ผลไมแชอม่ิ

3. การใชค วามรอ น คือ การใชความรอนทําลายจุลินทรีย โดยทําใหอาหารสุกเก็บไวไดนาน
เชน หมแู ผน หมหู ยอง เปนตน

4. การจัดอาหารใสข วด หรอื กระปอ ง คือ การนําอาหารมาอัดใสขวด หรือกระปอง ที่ปดฝา
แนนสนิท เพื่อปองกันไมใหจุลินทรียเขาไปทําปฏิกิริยากับอาหารภายในขวด หรือกระปองได โดยใช
ความรอ นทําลายเชอ้ื โรคทตี่ ดิ มากับอาหารผัก ผลไม และกระปองหรือขวดเสียกอนทําการบรรจุ ไดแก
อาหารกระปอง ปลากระปอง ผลไมกระปอ ง เปนตน

5. การแชเย็น คือ การนําอาหารไปเก็บไวในที่ที่มีอุณหภูมิตํ่าจนจุลินทรียไมสามารถ
เจริญเติบโตได เชน เน้ือสตั วท ี่ไวใ นหองเยน็ เปนตน

6. การฉายรังสี เปนการฉายรังสีแกมมาลงไปในผัก ผลไม และเมล็ดพันธุ การฉายรังสี
จะทาํ ลาย เอนไซมในอาหาร ยับย้ังการสุกและงอกได นอกจากนีย้ ังทาํ ลายไขแ มลง พยาธิ จุลินทรีย จึงทํา
ใหอ าหารเกบ็ ไวไ ดนาน

ประโยชนข องการถนอมอาหาร
1. เพอื่ เกบ็ รกั ษาอาหารไวรับประทานไดน าน ๆ
2. เพอื่ เก็บรกั ษาอาหารไมใ หเ นาเสียขณะทาํ การขนสง
3. ประหยดั คา ใชจ ายในการเลือกซ้ืออาหาร และสามารถนําอาหารไปรับประทานในแหลง

ที่มีอาหารสดได

เรอื่ งท่ี 4 ความสาํ คญั ของการมสี ุขภาพดี

สุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธตอกันโดยจะเช่ือมโยงไปสูสุขภาพทางจิต
วญิ ญาณ สุขภาพเปน องครวมของรางกาย จติ ใจและวิญญาณ องครวมสุขภาพทั้ง 3 ประการ จะสงผลทํา
ใหมีสุขภาพดังนี้

1. ถากายนําจิต จะทําใหกายดี จิตก็จะดีดวย เชน ถาหิวแลวเรากินขาวอ่ิมแลวอารมณจะดี
สามารถคดิ และมแี รงทํางาน

2. ถา จติ นํากาย จะทําใหจ ิตดี และนาํ กายไปดี ถา เรามอี ารมณท่ดี ีไมห งดุ หงดิ โมโหงา ย
สภาพรา งกายกจ็ ะไมร ูสกึ เจ็บปวย

3. การดํารงชีวิตอยูในสังคม จิตนํากายไปสูสังคมท่ีอยูรอบขาง ถาสังคมดีก็จะนําพาใหจิต
และกายดีไปดว ย

69

องคประกอบท้ัง 3 สว นมีความสําคญั และมีคุณคา ตอสขุ ภาพกาย คือ มสี ุขภาพรา งกาย
ท่ีสมบูรณแขง็ แรง มจี ติ ใจทีเ่ ขม แขง็ และอยูใ นสงั คมอยางมีความสุข

1. สขุ ภาพทางกาย (Physical Health) หมายถึง สภาพทด่ี ีของรางกายกลาวคอื อวัยวะตาง ๆ
อยูในสภาพท่ีดีมีความแข็งแรงสมบูรณ ทํางานไดตามปกติ และมีความสัมพันธกับทุกสวนอยางดี
ซ่ึงสามารถกอ ใหเกดิ ประสิทธิภาพในการทํางาน

ลกั ษณะของสขุ ภาพทด่ี ีทางกาย ประกอบดว ย
(1) รา งกายมีความสมบรู ณแ ละแขง็ แรง
(2) ระบบตา ง ๆ อวยั วะทกุ สว นทํางานเปน ปกติและมีประสทิ ธภิ าพ
(3) รางกายเจริญเติบโตในอัตราปกติ และมีความสัมพันธกับความเจริญงอกงาม

ทางดา นอ่นื ๆ
(4) รา งกายแข็งแรง สามารถทาํ งานไดน าน ๆ ไมเหนอื่ ยเรว็
(5) การนอนหลบั และการพักผอนเปน ไปตามปกติ ต่ืนขน้ึ มาดว ยความสดชืน่ แจม ใส
(6) ฟน มีความคงทนแขง็ แรง และมคี วามเปน ระเบยี บสวยงาม
(7) หูและตามสี ภาพท่ดี ี สามารถรบั ฟง และมองเห็นไดดี
(8) ผิวหนงั มีความสะอาดเกล้ียงเกลา สดชื่นและเปลงปล่ัง
(9) ทรวดทรงไดส ดั สวน
(10) ปราศจากความออนแอและโรคภัยไขเจ็บใด ๆ
การมีสุขภาพกายท่ีดี ไมมีโรค มีความคลองแคลว มีกําลังในการทํางานไมเหน่ือยงาย

ซึ่งส่ิงเหลาน้ี จะทําใหบุคคลสามารถดําเนินชีวิตประจําวันไดอยางมีความสุข หากบุคคลใดมีสภาวะ
รางกายทีไ่ มสมบูรณ เชน เปนไข ปวดทอง ปวดศีรษะบอยๆ ก็จะขัดขวางตอการดําเนินชีวิตประจําวัน
และสง ผลตอ สุขภาพจิตของบคุ คลนั้น รวมถงึ ครอบครัวดวย

2. สุขภาพทางจิต (Metal Health) หมายถึง สภาพจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ ทําจิตใจ
ใหเ บกิ บานแจมใส ปรบั ตวั เขากับสังคม และส่ิงแวดลอมไดอยางมีความสุข สุขภาพทางจิตที่ดียอมมีผล
มาจากสขุ ภาพทางกายท่ดี ีดวย

ลักษณะของสุขภาพท่ีดีทางจิตใจ ประกอบดว ย
(1) สามารถปรับตวั เขากบั สงั คมและสงิ่ แวดลอ ม
(2) มคี วามกระตือรือรน ไมเ หนอ่ื ยหนายทอ แทใ จ หรือหมดหวังในชีวิต
(3) มีอารมณมั่นคงและสามารถควบคมุ อารมณไดด ี
(4) ไมม อี ารมณเครยี ดจนเกินไป มีอารมณขันบา งตามสมควร

70

(5) มคี วามรูสกึ และมองโลกในแงด ี
(6) มคี วามตัง้ ใจและจดจอ ในงานทีต่ นกาํ ลงั ทําอยู
(7) รจู ักตนเองและเขาใจบุคคลอนื่ ไดด ี
(8) มีความเชอ่ื ม่นั ตนเองอยางมเี หตผุ ล
(9) สามารถแสดงออกอยางเหมาะสมเม่อื ประสบความลมเหลว
(10) มีความสามารถในการตัดสินใจไดรวดเรว็ และถกู ตอ งไมผดิ พลาด
(11) มีความปรารถนาและยินดีเมื่อบุคคลอื่นมีความสุขความสําเร็จ และมีความ
ปรารถนาดีในการปอ งกนั ผอู ่นื ใหมคี วามปลอดภัยจากอนั ตรายโรคภยั ไขเ จ็บ
การมีสุขภาพจิตท่ีดี แสดงถึงการมีจิตใจที่มีความสุข สามารถแกไขปญหาทางอารมณ
ท่ีเกิดขึ้นไดอยางมีประสิทธิภาพและสรางสัมพันธท่ีดีตอผูอ่ืนได ซ่ึงการมีสุขภาพจิตที่ดีก็จะสงผลตอ
สขุ ภาพกายดว ย หากจติ ใจมคี วามสุขจะทําใหระบบภมู ิคุม กนั ของรา งกายดขี ้นึ ดวย ตรงกันขา มหากบุคคล
มจี ติ ใจเปนทุกข จะทําใหผูนนั้ เส่ียงตอการเปนโรคไดง า ยกวา
3. การดาํ รงชีวิตอยูในสังคมดวยดี หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจท่ีสมบูรณ
จงึ จะสามารถติดตอและปรับตวั ใหอ ยูในสังคมแหงตนไดอ ยางดแี ละมคี วามสขุ
สุขภาพของแตละบุคคล และของสังคม มีความเกี่ยวของซ่ึงกันและกัน เราทุกคนยอม
ตองการดํารงชวี ิตอยูอยางเปน สขุ ตอ งการมชี ีวิตทีย่ ืนยาว มคี วามแขง็ แรงสมบูรณปราศจากโรคภัยไขเจ็บ
และปราศจากอุบัติเหตุ ภัยนานาประการ ความปรารถนาน้ีจะเปนความจริงไดน้ัน ทุกคนตองมีความรู
เรือ่ งสุขภาพอนามัย และสามารถปฏิบตั ิตนตามหลักสขุ ภาพอนามัยไดอยา งถูกตอ ง
การมีความรู และมีการปฏิบัติจนเปนนิสัย ในเร่ืองสุขภาพนั้นจะเปนปจจัยสําคัญของ
การดาํ รงชวี ิตอยูอ ยางเปน สุขไปตลอดชีวิต

เรอ่ื งท่ี 5 หลกั การดูแลสุขภาพเบือ้ งตน

คนท่ีมีสุขภาพท่ีดี จึงเปนผูท่ีมีความสุข เพราะมีรางกายและจิตใจท่ีสมบูรณหรือที่เรียกวาสุขกาย
สบายใจ ถาเราตอ งการเปน ผมู ีสุขภาพดกี ็จะตอ งรูจักวธิ กี ารดแู ลรา งกาย โดยการปฏิบัติตนใหถูกสุขลักษณะ
อยา งสมา่ํ เสมอจนเปนกจิ นิสยั

หลกั การดูแลสขุ ภาพเบ้ืองตน มี 6 วธิ ีคอื
1. การรบั ประทานอาหาร
2. การพกั ผอน
3. การออกกาํ ลังกาย

71

4. การจัดการอารมณ
5. การขับถา ย
6. การตรวจสุขภาพประจาํ ป
1. การรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหาร โดยยึดหลักโภชนาการใหครบ 5 หมู แตละหมูใหหลากหลาย
เปน เหตุผลทางวทิ ยาศาสตรท ่ไี ดมีการทดสอบ และคํานวณหาพลงั งานทีไ่ ดรับจากการบรโิ ภคทพี่ อเหมาะ
มีหลกั การบริโภค เพื่อสุขภาพท่ีดีของคนไทย เรียกวา โภชนบญั ญตั ิ 9 ประการ เพือ่ แนะนาํ สัดสว น
ใน 1 วนั มีดังนี้
(1) ทานอาหารครบ 5 หมู แตล ะหมูตอ งหลากหลาย และหมัน่ ดแู ลน้าํ หนกั ตัว
(2) ทานขา วเปนอาหารหลกั สลบั กับอาหารประเภทแปง เปน บางมอ้ื
(3) ทานพืชผกั ผลไมใ หมากและเปน ประจาํ
(4) ทานปลา เน้ือสัตวไ มต ดิ มนั ไข และถ่ัวเมลด็ แหง เปนประจาํ
(5) ดม่ื นมใหพอดี และเหมาะสมตามวยั
(6) ทานอาหารทมี่ ีไขมนั แตพอสมควร
(7) หลกี เลี่ยงการกนิ อาหารรสหวานจดั และเคม็ จดั
(8) ทานอาหารทสี่ ะอาดปราศจากการปนเปอ น
(9) งดหรือลดเครื่องดม่ื ท่มี ีแอลกอฮอล
2. การพักผอ น
การนอนหลับและพกั ผอ นใหเพียงพอ อยางนอยวันละ 6 ชั่วโมง จะทําใหรางกายและจิตใจ
ไดผ อนคลายความตงึ เครียด หวั ใจและอวัยวะตางๆ ทํางานลดลง เปนการยืดอายุการทํางานของรางกาย
เมื่อคนเราไดพักผอนอยางเพียงพอจะทําใหสดช่ืน แจมใส รางกายแข็งแรง พรอมท่ีจะเคลื่อนไหว
ประกอบกจิ การงานไดอ ยา งมีประสิทธิภาพ

3. การออกกาํ ลงั กาย
ออกกาํ ลงั กายอยางสม่ําเสมอ จะชวยสงเสริมการมีสุขภาพดี ในชีวิตประจําวัน เชน ทํางาน

บาน การข้ึนลงบันได ถือเปนการทําใหรางกายไดใชพลังงานทั้งสิ้น ควรออกกําลังกายอยางสมํ่าเสมอ
วันละ 30 นาที อยางนอ ย 3 วัน ตอสปั ดาห จงึ จะเพยี งพอท่จี ะทําใหมีรางกายแข็งแรง

ผลดขี องการออกกําลงั กาย มดี ังน้ี
(1) ชว ยใหร างกายมภี มู ติ า นทานโรค

72

(2) ทาํ ใหห วั ใจ กลา มเนือ้ และกระดูกแขง็ แรง
(3) ชวยลดความดนั โลหติ
(4) ชว ยลดคลอเลสเตอรอล ทําใหม ีนา้ํ หนักตวั คงท่แี ละเหมาะสม
(5) ชวยลดความเครียด ทําใหนอนหลับ และสง เสริมการหมนุ เวยี นของเลอื ด
4. การจดั การอารมณและความเครียด
การรจู กั ระวังรกั ษาอารมณใหด อี ยเู สมอ เชน พยายามหลีกเลยี่ งสถานการณใหเกิดความเศรา
กลวั วติ กกังวล ตกใจจะชวยใหระบบตางๆ ของรา งกายทาํ งานอยางเปน ปกติ ดงั น้นั จงึ ควร ยม้ิ แยม แจมใส
มอี ารมณขนั อยูเสมอ ทํางานทเี่ ปนกจิ วตั รประจําวันใหเพลิดเพลิน จะสามารถปรับตัวอยูในสถานการณ
ปจ จบุ ันไดอยา งเปน สุข
5. การขบั ถาย
การถายอจุ จาระเปนเวลาทกุ วนั ชวยปอ งกนั โรคทองผกู ริดสดี วงทวาร โดยควรรับประทาน
อาหารพวกผัก ผลไมทุกวัน และด่ืมน้ําสุก สะอาดอยางนอยวันละ 6-8 แกว ซ่ึงการขับถายเปนประจํา
จะชวยใหม สี ขุ ภาพกาย และจิตท่ดี ี
6. การตรวจสุขภาพประจาํ ป
โดยปกติบุคคลควรตรวจสุขภาพประจําปอยางนอยปละ 1 - 2 คร้ัง ตรวจหาความผิดปกติ
ของรา งกาย เมือ่ พบส่ิงผดิ ปกตคิ วรรบี ปรกึ ษาแพทยผูชํานาญในเรื่องน้ัน ๆ และปฏิบัติตนตามคําแนะนํา
ของแพทยอ ยางเครงครดั

เรือ่ งที่ 6 ปฏบิ ตั ติ นตามหลักสขุ อนามยั สว นบุคคล

สขุ อนามยั สว นบุคคล คอื การปฏิบัติตนของการรักษาอนามัย ของรางกายใหสะอาด ปราศจาก
เชอ้ื โรค จะชวยปอ งกนั โรคภัยไขเ จบ็ สามารถดําเนนิ ชวี ิตประจาํ วันไดอยา งมคี วามสขุ

การดูแลรกั ษารา งกายอยางถกู ตอง
การดูแลรกั ษารา งกายใหถกู สุขอนามัยน้นั เราสามารถแยกการดูแลรกั ษารางกายออกเปน

สว น ๆ ดังน้ี
1. การรักษาความสะอาดของรางกาย ควรอาบนํ้าใหสะอาด อยางนอยวันละ 2 คร้ัง

ตอนเชา และกอนนอน
2. การดูแลรักษาอนามยั ในชองปาก ควรแปรงฟน อยา งนอยวันละ 2 คร้ัง ไมค วรขบเค้ยี ว

อาหารที่แข็งจนเกินไป หม่ันดูแลไมใหเกิดแผลในชองปาก หากพบวาเกิดอักเสบที่เหงือกควรปรึกษา
แพทย

73

3. การดูแลรักษาหู ไมควรใชของแข็งแคะเขาไปในหู หรือใชยาหยอดหูโดยท่ีแพทย
ไมไดสั่ง ระวังการเปน หวัดนาน ๆ เพราะอาจสงผลใหเ ช้อื โรคเขา ไปทาํ ลายหูชั้นกลาง อาจทําใหหูหนวก
ได

4. จมูก ไมควรใชของแข็งแยงเขาไปในชองจมูก หรือไมควรใชยาหยอดพนจมูก
โดยที่แพทยไ มไดส ่ัง

5. ตา เม่ือรูสึกเคืองตาอยาใชมือขยี้ตา เพราะอาจมีเช้ือโรคไมควรใชยาหยอดตา
โดยท่แี พทยไมไ ดสั่ง หากมฝี ุนละอองเขา ตาควรลืมตาในน้ําสะอาดหรอื ใชน้าํ ยาลา งตา ไมควรใชมือขยี้ตา
เพราะอาจมเี ช้อื โรคเขาตา

6. มือและเทา ควรลางมือกอนรับประทานอาหาร และหลังจากเขาหองนํ้าทุกครั้ง
รวมทั้งควรสวมรองเทาเมื่อออกจากบานเพื่อปองกันโรคตาง ๆ เชน โรคพยาธิ โรคผิวหนัง หรือถูก
ของแหลมของมีคมทมิ่ ตําเปนแผลได และควรลา งเทา ใหสะอาดกอนนอน

7. การดแู ลรักษาอนามัยของผมและศีรษะ ควรสระผมอยางนอยสัปดาหละ 2 - 3 ครั้ง
ควรหวีผมทกุ วนั ไมค วรดัด เซทผมบอย ๆ เพราะอาจทาํ ใหเ สนผมเสีย

8. การดแู ลรักษาความสะอาดของเส้อื ผา และเคร่ืองนอน ควรเปล่ียนเสื้อผาที่ใสทุกวัน
และซักเส้อื ผา ใหส ะอาด ปอ งกนั การสะสมของเชอื้ โรค รวมท้งั หมนั่ ซกั ผาปทู นี่ อน ปลอกหมอนอยูเสมอ
และหมน่ั นาํ ออกตากแดดบอย ๆ

การสรางสุขนิสยั ท่ดี ี
1. กอ นไอและจามทกุ ครัง้ ควรใชผา เชด็ หนาปดปากและจมูก เพื่อปองกันการแพรเชื้อ

โรคสบู คุ คลอ่ืน
2. ไมควรถมน้าํ ลายลงพื้นทส่ี าธารณะ หรือบนถนน เพราะเปนการเสียบุคลิกภาพ และ

ยงั เปนการแพรเชื้อโรคทางออ ม
3. การรับประทานอาหาร ควรลา งมือกอ นและหลงั รบั ประทานอาหาร ควรเลือกภาชนะ

ทส่ี ะอาด ควรเลือกรบั ประทานอาหารปรุงสะอาด เสร็จใหม ปราศจากแมลงวันตอม เพ่ือปองกันเช้ือโรค
เขา สรู า งกาย

4. หม่นั ออกกาํ ลังกายทุกวนั ตดิ ตอ กนั อยา งนอยวนั ละ 30 นาที
5. ควรพกั ผอนนอนหลับใหไ ดวันละ 8 - 10 ชั่วโมง
6. ควรดื่มน้าํ ใหไ ดว ันละ 8 - 10 แกว
7. หมั่นดูแลความสะอาดเส้ือผา และเครอ่ื งนอนใหส ะอาดอยูเ สมอ
8. หลีกเลยี่ งสารเสพตดิ ตา ง ๆ เชน บุหรี่ สรุ า กญั ชา เฮโรอนี ยาบา ฯล

74

เรอื่ งท่ี 7 คณุ คาและประโยชนข องการออกกาํ ลังกาย

การออกกําลังกายอยางสม่ําเสมอจะเปนประโยชนตอสุขภาพรางกาย เสมือนเปนยาบํารุงที่
สามารถเพ่มิ สมรรถภาพทางรางกายไดและสามารถปอ งกันโรคได เชน โรคระบบทางเดนิ หายใจ เปนตน
ทั้งนก้ี ารออกกาํ ลงั กายจะตองมคี วามถูกตอ งและเหมาะสม และรูจกั วธิ ใี นการออกกําลังกาย จะตองเลือก
ใหเหมาะสมกบั เพศ วัย สถานท่ี และอุปกรณ ซึ่งปจจุบันมักนิยมท่ีจะออกกําลังกายเพื่อสุขภาพดวยการ
เลนกีฬา และออกกําลังกายท่ีมีจุดประสงคท่ีมุงเนนตอการพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดํารง
รักษาสขุ ภาพท่ีดอี ยูแลวไมใหลดถอยลง ปรับปรงุ สุขภาพทีท่ รุดโทรมใหดขี น้ึ ปอ งกันโรคท่ีเกี่ยวเน่ืองกับ
การขาดการออกกําลงั กาย ตลอดจนชวยแกไ ขหรือฟนฟูสภาพรางกายจากโรคบางอยาง การเคลื่อนไหว
และการออกกําลังกายท่ถี ูกตองตามวธิ แี ละหลกั การ มีประโยชนต อสขุ ภาพมากมาย และทีส่ ําคญั มีดงั น้ี

1. มปี ระโยชนต อระบบหายใจ ทําใหห วั ใจ ปอด แขง็ แรง ไดอ อกกําลังกลามเน้ือหัวใจ
ไดทํางานเตม็ ที่ ถุงลมเล็ก ๆ ภายในปอดมโี อกาสสดู ลมเต็ม และไลอากาศออกไมหมด ทําใหปอดมีพลัง
ในการฟอกโลหิต

2. มีประโยชนตอระบบไหลเวียนของโลหิตดี สืบเน่ืองจากการทํางานของหัวใจและ
ปอดดี มีพลงั ในการบบี ตัวไดดี สูบฉีดโลหติ และฟอกโลหิตไดด ีมีประสทิ ธภิ าพ ไมเปนโรคหัวใจไดงาย

3. มีประโยชนต อ ระบบกลามเนอ้ื กลามเน้ือเสนเอ็นตาง ๆ ไดออกกําลัง ยืดและหดตัว
ไดเตม็ ที่ ทาํ ใหม ีความแขง็ แรงยดื หยุนไดอ ยางมีประสิทธิภาพ ทําใหสามารถทํางานไดทนไมเหน่ือยงาย
เพราะกลา มเนื้อมพี ลงั มาก

4. มีประโยชนตอการเผาผลาญในรางกาย เพราะการเคลื่อนไหวและการออกกําลังกาย
ตอ งใชพลังงาน ระบบตาง ๆ จะตอ งทาํ งานเกิดการเผาผลาญ ทําใหอ าหารท่รี ับประทานเขา ไปถูกนํามาใช
อยางมีประสิทธภิ าพไมเหลือสะสมโดยเฉพาะไขมันที่ใหพลังงานมาก จะไมถูกสะสมในรางกาย จนทํา
ใหเกิดโรคอวน

5. มีประโยชนตอ ระบบขับถาย การเคลื่อนไหว และภายหลังการออกกําลังกาย ทําให
ดมื่ น้ําไดม าก กระเพาะ สาํ ไส ไดเ คลื่อนไหวในการออกกาํ ลังกายดว ย ทาํ ใหระบบยอ ยอาหารดี
กระเพาะอาหาร สาํ ไส บบี รดั ตวั ไดดี

7. มีประโยชนต อ สุขภาพจติ และอารมณไ มเครยี ด

75

เรื่องที่ 8 หลักการและวธิ อี อกกําลงั กายเพ่อื สขุ ภาพ

หลักการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ คือ การออกกําลังกายชนิดที่เสริมสราง ความทนทานของ
ปอด หัวใจ ระบบไหลเวยี นเลอื ด รวมทัง้ ความแขง็ แรงของกลามเน้ือ ความออนตัวของขอตอ ซึ่งจะชวย
ใหร างกายแขง็ แรงสมบูรณ สงา งามและการมสี ขุ ภาพจิตท่ีดี ซง่ึ หลกั การออกกําลงั กายเพื่อสุขภาพมีดังน้ี

1. การอบอนุ รา งกายและผอ นคลาย
การออกกาํ ลงั กาย เพอ่ื สุขภาพท่ีถูกวิธีทําไดโดยการฝกหัดบอย ๆ ดวยทาทางท่ีถูกตอง

กอ นจะฝกการเคลอื่ นไหวรา งกายสว นใดกต็ าม ตอ งมกี ารเตรยี มความพรอ มใหรางกายอบอุนทุกคร้ังเพื่อ
ปอ งกันการบาดเจบ็ ของกลา มเน้ือ ในการอบอุน รา งกายและผอนคลาย มีวิธีการท่สี ามารถทาํ ไดคอื การว่ิง
รอบสนาม การหมนุ คอ หมนุ แขน หมนุ เอว พับขา หมุนขอเทา กระโดดตบมือ กมแตะสลับมือ วง่ิ อยกู ับท่ี
นัง่ ยืน ฯลฯ

2. ระยะเวลาในการออกกาํ ลงั กาย ในการออกกําลงั กายอยา งตอเนอื่ งนาน อยางนอย
ในแตละครงั้ 20 - 30 นาทีตอ วนั

3. จํานวนครง้ั ตอ สัปดาห
การออกกําลงั กายเพอ่ื สขุ ภาพ ตอ งปฏิบตั ิอยางสมํ่าเสมอทุกวัน หรอื อยางนอยสปั ดาหละ

3 ครั้ง และควรปฏิบัติในเวลาเดียวกัน จะชวยเพ่ิมสมรรถภาพในการทาํ งานของระบบหวั ใจและปอด
ทําใหก ลา มเน้อื หัวใจและปอดแข็งแรง

4. ความหนักในการออกกําลังกายควรออกกําลังกายใหหนักถึงรอยละ 70 ของอัตรา
การเตนสงู สดุ ของหัวใจแตละคน หรอื ออกกาํ ลงั กายใหเหงอื่ ออก เหนื่อยพอประมาณท่ีจะสามารถพูดคุย
ขณะออกกําลงั กายได ไมควรออกกําลงั กายหกั โหมเกินไปเพราะจะเกิดอนั ตรายได

การเคลอื่ นไหวรางกายและออกกาํ ลงั กายมหี ลกั การท่วั ไป ดงั น้ี
1. เลอื กกจิ กรรมเคล่ือนไหว และการออกกําลังกายทเี่ หมาะสมกับสภาพรา งกาย และวยั ของตน
2. เลือกเคร่อื งแตงกายที่เหมาะสมกบั กิจกรรม การเคลือ่ นไหว และการออกกําลงั กายแตล ะรปู แบบ
3. การเคลอ่ื นไหว และการออกกําลงั กาย ตองเรมิ่ จากการอบอนุ รา งกายกอนจากนั้นเริ่มตนจากเบา

ไปหาหนัก จากงายไปยาก
4. ใหทกุ สว นของรา งกายไดอ อกแรงเคลอ่ื นไหว ไมค วรเปนเฉพาะสวนใดสวนหน่ึง
5. การออกกําลงั กายตองปฏบิ ตั ิอยา งสม่าํ เสมอ อยา งนอ ยสปั ดาหละ 3 วัน และควรปฏิบัติในเวลา

เดียวกนั อยางนอยวนั ละ 20 – 30 นาที

76

6. ควรศึกษาวธิ ีเคล่ือนไหวและการออกกําลังกายที่ถูกตอง เพ่ือใหเกิดประโยชนตอรางกายและ
ปอ งกนั อนั ตรายทอ่ี าจเกิดขึ้นได

7. การใชอปุ กรณป ระกอบการเคล่อื นไหว และออกกาํ ลงั กายควรศกึ ษาวธิ ีการใชทถ่ี ูกตอง

เรอ่ื งท่ี 9 การปฏิบัตติ นในการออกกําลังกายรปู แบบตา ง ๆ

รปู แบบการเคล่ือนไหวและการออกกําลังกายอาจแบงไดเ ปนกลุมใหญ ๆ ดังน้ี
1. กลุมบริหารรางกายดว ยทา ตาง ๆ ดวยมอื เปลา
2. กลุมบริหารรา งกายโดยมีอุปกรณป ระกอบการบรหิ ารรา งกาย
3. กลมุ กิจกรรมเขาจังหวะโดยใชด นตรปี ระกอบ
4. กลมุ กีฬาประเภทตา ง ๆ
5. กลุมการละเลน พื้นเมอื ง
6. การออกกําลงั กายเพอื่ สุขภาพ
1. รูปแบบการบริหารรางกายดวยมือเปลา เปนรูปแบบงาย ๆ สามารถบริหารดวยตนเองได
ไมตอ งใชเวลามากนัก เพยี งใหกลามเนอ้ื สวนตา ง ๆ ไดเคลื่อนไหวและยืดหยุนอยูเ สมอ จะชวยใหรางกาย
เคลอื่ นไหวไดอยา งคลองแคลว
ตัวอยา ง การบรหิ ารรางกายดวยมือเปลา

ทา ที่ 1 เปนการบรหิ ารรา งกายกลา มเนื้อหลงั กับกระดูกสันหลงั
จงั หวะที่ 1 ยืนตรงเทาแยกประมาณ 1 ฟุต ยกแขนท้ัง 2 ขางขนานกับพื้น

และเกรง็ กลามเนอื้ หนา ขา ผอ นกลามเนอื้ คอ
จังหวะที่ 2 หงายศีรษะไปดานหลังอยางเสรี และเอนตัวไปดานหนา

พรอมยกแขนขึน้ ชา ๆ ไปดา นหลงั อยูในทานี้ประมาณ 2 - 3
วนิ าที

77

จังหวะที่ 3 คอย ๆ ยกตวั ข้ึนชา ๆ พรอ มลดมอื ลงอยูในจังหวะท่ี 1 ทําซาํ้ ไดตามความตองการ จะชวยผอน
คลายกลามเน้ือหลงั และกระดกู สันหลังไดด ีข้ึน

ทาที่ 2 เปนการบริหารกลามเนื้อตนขา กลามเนื้อนอง กลามเน้ือทอง กลามเน้ือหัวไหล กลามเน้ือหลัง
กลา มเนื้อกระดูกสันหลัง ใหม กี ารเคลอื่ นไหวยดื และหดตัวไดด ี

ทาเตรียม ยืนตัวตรง ลําตัวตั้งฉากกับพ้ืน ผอนคลายกลามเน้ือสวนตาง ๆ ของกลามเนื้อเชน ตนขา
หลัง หนาทอ ง แขน หัวไหล

จังหวะที่ 1 แยกเทาไปดานขางประมาณ 1 ฟุต ปลอยศีรษะหอยไปดานหนาปลอยตามสบายไมตอง
เกร็งคอ แลวคอย ๆ กมหลังนับตั้งแตสะโพกขึ้นไป ปลอยใหมือและแขนหอยตามสบาย
เชนกัน ผอนคลายกลามเนื้อคอและไหล หายใจเขา-ออก ดวยการแขมวทอง และเบงทอง
โนมนํ้าหนักตัวใหไปดานหนาใหตกอยูบริเวณปลายเทา ขณะที่อยูในทากมนี้ หายใจปกติ
ไมกล้ันหายใจ นบั หายใจเขาออก 10 รอบ หรือนานกวานนั้

จังหวะท่ี 2 ยกลําตวั อยางชา ๆ โดยไมเ กรง็ คอ หวั ไหล และแขนอยูในทาเตรียม เพื่อใหกลามเน้ือมีความ
ยืดหยนุ ดีมากข้ึนควรทําหลาย ๆ ครั้ง และทาํ ทุกวนั

รูปแบบการบริหารรางกายดว ยอปุ กรณ
รปู แบบของการบริหารรางกายดวยอุปกรณมีหลากหลาย เชน การใชไมพลอง มาเปนอุปกรณ

ในการบริหารดว ยทา ตา ง ๆ ของการบริหารท่ัวไป หรือคดิ ประดิษฐทา ขนึ้ ใหมก็ได
- การใชกระบองในลกั ษณะกระบองสั้นคู
- การใชก ระบ่ี หรอื ท่เี รยี กวาฟน ดาบ มีทั้งดาบเด่ยี วดาบคไู ทยมที า ทางตาง ๆ สืบทอดตอกันมา
- การบริหารรา งกายดวยอุปกรณ เชน พลองลูกบอล ดัมเบล รวมท้ังอุปกรณออกกําลังกายที่
พบเห็นทว่ั ไปตามสถานบรหิ ารกาย ซง่ึ มีประโยชนท ั้งทางรางกาย ชว ยผอนคลายความเครียด
- การใชเ ชอื ก เปน อุปกรณ เชน การกระโดดเชอื ก

78

รูปแบบการบรหิ ารรา งกายเขา จังหวะ
รปู แบบการบรหิ ารรางกายเขา จังหวะมี 3 ลักษณะ คอื
1. การบริหารดวยทาทางธรรมดา แตใช

ดนตรี หรอื เพลง หรอื นกหวดี เปาเปน จงั หวะก็ได
การบริหารแบบน้ีจะเนนบริหารรางกายเปนสวน ๆ เชน
บรหิ ารสว นอก ดว ยทา รําพ้นื บา น เปน ตน
ตัวอยา ง การบรหิ ารรางกาย เขา จงั หวะดวยทา ธรรมดา สวนหนาอก 8 จังหวะ

2. การเตน แอโรบคิ ใชดนตรีประกอบ การเตน
แอโรบิคจะเปนการเคล่อื นไหวทร่ี วดเรว็ และหนกั กวา
การบริหารรา งกายเขาจงั หวะธรรมดาที่กลา วแลวตอนตน
เปนการออกกําลังกายทใ่ี ชการตอ เน่อื ง เปนการผสมผสาน
การเคลือ่ นไหว การบรหิ ารรางกายและการเตนราํ เขา ดวยกนั

79

ดนตรี หรอื เพลงทน่ี าํ มาประกอบการเตน เปนจังหวะท่เี รา ใจ สนกุ สนาน ผใู หญท ี่จะเตนแอโรบิคควร
ตรวจสุขภาพของตนเสียกอน โดยควรเลอื กเคร่ืองแตงกาย และรองเทา ท่ีเหมาะสม เพ่ือปองกัน
อนั ตรายท่ีจะเกดิ กบั ขอ เทา และขอ เขา

3. การลีลาศและรําวง การเตนรําเปนการเคล่ือนไหวประกอบจังหวะอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งการ
เคลอื่ นไหวอยกู ับท่ี และแบบเคลอ่ื นท่ีในกรณีเคลอ่ื นทีผ่ ูเตนราํ จะตอ งศกึ ษาทิศทางในการเคล่ือนไหว เพื่อ
ปองกันอันตราย หรือการกระทบกระท่ังกัน รูปแบบการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา โดยยึด
วงกลมเปน หลกั คอื ยืนหันหนาเขา หาวงกลม การเคล่ือนท่ใี หเ คลอ่ื นทไี่ ปทางขวาของตนเสมอ
รูปแบบการเลนกฬี า

รูปแบบของกีฬาที่หลากหลายมีทั้งในลักษณะเดี่ยว และทีม การเลนกีฬาตองฝกทักษะ และมี
ความรคู วามเขา ใจในกฎกตกิ า และวธิ ีการเลน

ประเภทของกีฬา มดี งั นี้
- กฬี าประเภททีม เชน ฟตุ บอล บาสเกตบอล ฟุตซอล รกั บี้ ฯลฯ
- กฬี าประเภทลู เชน การว่งิ ระยะสนั้ การวิ่งระยะยาว การวิง่ ขา มร้วั ฯลฯ
- กฬี าประเภทลาน เชน พงุ แหลน ทมุ นาํ้ หนัก ฯลฯ
- กฬี าประเภทยมิ นาสตกิ เชน ราวเดย่ี ว ราวคู มากระโดด ยมิ นาสติกลีลา ฯลฯ
- กีฬาแตล ะประเภทจะมรี ูปแบบเฉพาะ มวี ิธกี ารเลน เทคนคิ กฎกติกา และอุปกรณท่ีแตกตาง

กัน จึงควรศึกษาความรพู ื้นฐานทีถ่ กู ตอง เพื่อใหเลน ไดอ ยา งสนกุ สนานและอาจพัฒนาทกั ษะ
จนสามารถเปนการออกกําลังกายทําใหสุขภาพแข็งแรงแลว คนที่เลนกีฬามักเปนผูมี
มนษุ ยสมั พนั ธสามารถปรับตวั ตวั เขา กบั ผอู ่ืนไดดี
รูปแบบของการละเลนพนื้ บาน

การละเลนพื้นบานในแตละภาค อาจมีลักษณะหรือแตกตางกันข้ึนอยูกับลักษณะทาง
ภมู ศิ าสตรแ ละมวี ถิ ชี วี ติ ของประชาชนในทอ งถน่ิ นน้ั ๆ

การเตะตะกรอ ตามชนบทหลังจากเสร็จภารกิจประจําวัน แลวบางคน บางกลุม
จะมารว มกันเตะตะกรอ เพอื่ เปนการผอ นคลายความเครยี ด และไดมีการเคลื่อนไหว เพื่อใหระบบตาง ๆ
ของรา งกายมคี วามยืดหยนุ

80

เรอื่ งที่ 10 ความหมาย ความสาํ คญั ของกจิ กรรมนันทนาการ

นันทนาการ หมายถึง การทํากิจกรรมอยางใดอยางหน่ึงในเวลาวาง ดวยความสมัครใจ
เปนกิจกรรมที่ไมใชเปน งานอาชพี ไมข ดั ตอกฎหมาย ศีลธรรม ประเพณีอันดีงาม แตเปนประโยชนและ
เปนการพักผอ นทงั้ รา งกายและจิตใจ

ในการดาํ รงชีวติ ประจําวันของคนเราน้นั เราอาจแบงเวลาไดเปน 4 สวน
1.1 เวลาทใ่ี ชใ นการประกอบอาชพี ของคนเราน้นั ประมาณวันละ 8 ช่วั โมง
1.2 เวลาท่ีใชในการประกอบภารกิจสวนตัววันละ 4 - 6 ช่ัวโมง เชน การอาบน้ํา ลางหนา

แปรงฟน การปรงุ อาหาร การรับประทานอาหาร
1.3 เวลาท่ีใชใ นการพกั ผอ นหลบั นอน วนั ละ 8 ชว่ั โมง
1.4 เวลาวา งที่สามารถใชใหเ กิดประโยชนไดป ระมาณ 2 - 4 ช่ัวโมง

ชวงที่เหลือ 2-4 ชั่วโมงน้ี ถาเรานํามาใชประกอบกิจกรรมที่เกิดประโยชนเรียกวา กิจกรรม
นนั ทนาการ จะชวยทําใหรางกายและจิตใจผอนคลาย ความตึงเครียด เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
เกดิ ประโยชนต อสุขภาพกาย และสุขภาพจติ อยางยิง่
ประโยชนของกจิ กรรมนนั ทนาการ

กิจกรรมนันทนาการตอการดําเนินชีวิต ถาเราเลือกกิจกรรมนันทนาการไดอยางเหมาะสม
จะกอ ประโยชนตอตนเอง และสังคมไดห ลายประการ

1. ประโยชนตอสุขภาพกาย ความเจริญทางดานเทคโนโลยีในปจจุบัน ทําใหเราไมจําเปนตอง
ออกกาํ ลังกายภายในการปฏิบตั ิงานมากนัก เพราะมีการใชเคร่ืองมอื เคร่ืองจักรเขามาชวย ทําใหการออก
กําลงั กายของเรานอยเกินไป จําเปนตอ งมีกิจกรรมนันทนาการประเภทกีฬา หรือกิจกรรมการออกกําลัง
กายเขามาชว ย เพ่ือทําใหรา งกายแขง็ แรงสมบูรณ

2. ประโยชนตอสุขภาพจิต ชวยใหคนไดพักผอนหยอนใจ ผอนคลายความตึงเครียดทางจิต
การประกอบกิจกรรมนนั ทนาการหลายประเภทเปนกิจกรรมทีพ่ กั ผอ นหยอนใจ เชน การชมและฟง ดนตรี
การชมภาพยนตร เปน ตน

3. ประโยชนต อครอบครัว ชว ยใหส มาชิกครอบครัวรจู กั ใชเวลาวางใหเปนประโยชนตอตนเอง
และครอบครัว เชนการทําสวนครัว สวนดอกไม ทําใหเกิดผลพลอยได คือมีพืช ผัก ผลไม ดอกไมไว
ใชสอยเปนประโยชน

4. ประโยชนตอสังคม กิจกรรมนันทนาการหลายชนิดเปนประโยชนตอสังคมโดยตรง เชน
กจิ กรรมดา นสงั คมสงเคราะห กิจกรรมอาสาสมคั ร กจิ กรรมบางชนดิ ชวยลดปญหาสงั คมได

81

เรอื่ งที่ 11 ประเภทและรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการ

กิจกรรมนันทนาการมีมากมายหลายชนิด หลายรูปแบบ แตละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ
แตกตา งกนั ไป สามารถแบงกิจกรรมนนั ทนาการไดด งั น้ี

1. งานอดิเรก เปนเพยี งกิจกรรมนันทนาการประเภทหน่งึ เทา นนั้ มไิ ดหมายความวา กจิ กรรม
นนั ทนาการทุกชนิดรวมกันเปนงานอดิเรก เชน การเก็บสะสมแสตมปที่ใชแลว การเก็บสะสมรูปภาพ
การทาํ สวนดอกไม เปน ตน

2. การเลนกีฬา การเลนกีฬาท้ังกีฬาในรม เชน การเลนหมากรุก และกีฬากลางแจง เชน
การเลน ฟุตบอล วอลเลยบอล หรือเลนกีฬาอยางอื่น เชนวายน้ํา โบวล่ิง ฯลฯ อยางไรก็ตามการเลนกีฬา
เหลาน้ี ถาเปนกฬี าอาชีพไมถอื วาเปนกจิ กรรมนันทนาการ

3. การเลนดนตรี การเลน ดนตรที ุกชนิด ถอื วา เปนกิจกรรมนนั ทนาการทัง้ ส้นิ
4. การเลนกิจกรรมเขาจังหวะ เชน การรําวง การเตนรํา การฟอนรํา การเตนลีลาศ ฯลฯ
ถอื เปน กิจกรรมนันทนาการทัง้ สน้ิ
5. การเลนละคร ภาพยนตร และการแสดงตา ง ๆ ทเี่ ปน การสมัครเลน ถอื วาเปนกจิ กรรม
นันทนาการ
6. งานศิลปหตั ถกรรม ไดแก งานฝม อื เชน งานเยบ็ ปก ถกั รอ ย การสานพัด การประดษิ ฐ
ดอกไม การวาดภาพ เปนตน
7. กิจกรรมสอื่ ความหมาย ไดแ กก ารอานหนงั สอื นวนยิ าย การเขยี นหนังสอื
8. กจิ กรรมทัศนศกึ ษา ไดแก การทอ งเที่ยวทศั นาจร เปนตน
9. กิจกรรมชมรม เชน ชมรมคนรกั แสตมป ชมรมดนตรี ฯลฯ
การเลือกกิจกรรมนันทนาการท่ีเหมาะสมกับความชอบและวิถีชีวิตของแตละบุคคล นอกจาก
จะชวยใหบุคคลน้ันไดผอนคลายท้ังทางรางกายและจิตใจแลว ยังอาจเกิดผลพลอยไดอื่นๆ เชน
ไดเ พอ่ื นใหม หรอื มรี ายไดเพม่ิ ขน้ึ เปนตน

82

บทที่ 4
โรคตดิ ตอ

สาระสําคญั

มีความรูและความสามารถปฏิบัติตนในการปองกันโรคติดตอท่ีเปนปญหาตอสุขภาพของ
ครอบครัว และชุมชน โดยการเผยแพรขาวสาร ขอมูล แนวทางการปองกันและวิธีการรักษาโรค
อยา งถกู วธิ ี

ผลการเรียนรูท ค่ี าดหวัง

1. เรยี นรูเรอ่ื งโรคตดิ ตอ ตา ง ๆ ทีเ่ ปนปญหาตอสขุ ภาพของครอบครวั และชมุ ชน
2. เรยี นรถู งึ สาเหตุทีเ่ กิดโรค ศึกษาวิธีการปอ งกนั และการดแู ลรักษาอาการของผูปวย

ขอบขายเนือ้ หา

83

โรคติดตอ หมายถงึ โรคท่เี กดิ ขนึ้ กบั คนหรอื สตั ว โดยเกิดจากเชอ้ื โรคท่ีเปนส่ิงมีชีวิต หรือ
พิษของเชื้อโรค และเม่ือเกิดเปนโรคขึ้นแลวสามารถแพรกระจายจากคนหรือสัตวที่ปวยเปนโรคน้ัน
ไปสคู นหรือสตั วอืน่ ไดโดยการแพรก ระจายของโรคน้ันอาจเปน ไดทั้งทางตรงและทางออม

ตามการศึกษาคนควาทดลองวิจัยทางการแพทยพบวา เชื้อโรคนั้นเปนแบคทีเรียและไวรัส
เปนสาเหตุใหญของความเจ็บปวย ซ่ึงท้ังสองนี้มีอยูตามธรรมชาติทุกหนทุกแหง มีท้ังโทษและ
คุณประโยชน แตปจจุบันพบวา สาเหตุการเกิดโรคมาจากพันธุกรรมและเปนเพราะตัวเองนําเชื้อโรค
มาสตู ัวเอง ดงั นี้

1. การรบั เช้อื จากผูอนื่ โรคเหลานี้เปนโรคตดิ ตอโดยมคี นเปนพาหนะนําเชื้อมาติดตอ
การติดตอเนอื่ งจากความใกลชิดกับผปู วย เชน ไขห วดั ใหญ โรคผิวหนังบางชนดิ โรคตาแดง ฯลฯ

2. การรับเชอื้ จากการมีเพศสัมพนั ธ การมเี พศสัมพนั ธก บั หญิงอน่ื ชายอืน่ ที่ไมใชภ รรยา
หรือสามขี องตนและไมปองกัน ทาํ ใหเ กดิ โรคได เชน โรคเอดส หรอื กลุมของกามโรค

3. การรบั เชื้อจากสมั ผัส โดยมสี ตั วเปน พาหนะ เชน ยงุ ลายนําโรคไขเ ลือดออกมาสูคน
หนูเปน พาหนะนาํ เช้ือกาฬโรค และโรคฉ่หี นู มาสูค น ฯลฯ

4. เกิดจากการไมร ักษาความสะอาดของรา ยกาย ทําใหเกดิ โรคผวิ หนัง เชน กลาก เกลื่อน
หิด เหา เปน ตน

จากสาเหตุการเกดิ โรคตา ง ๆ ดังกลา วมาแลว สามารถที่จะปอ งกันและหลกี เลยี่ งไดตาม
ลกั ษณะโรคได

เรือ่ งที่ 1 โรคตบั อักเสบจากเชอ้ื ไวรสั

เปนไวรัสท่ีอันตรายที่สุด สามารถตรวจพบไดในเลือดผูเปนพาหนะ และน้ําหลั่งตาง ๆ เชน
น้ําลาย นํ้าตา เหง่ือ น้ําในชองคลอดและอสุจิ ติดตอไดโดยการสัมผัสที่มีเชื้อเขาสูรางกาย การใช
เขม็ ฉดี ยารว มกนั การสัก การฝง เข็ม การสัมผสั เลือดโดยมบี าดแผล

อาการของโรค
มีตั้งแตอาการเล็กนอยไปจนกระทั่งรุนแรง เชน มีปวดเม่ือย คลายเปนหวัด คล่ืนไส
แนนทอง ทองอืด บางรายจะตัวเหลือง ตาเหลือง ปสสาวะสีเขม ผูท่ีมีอาการรุนแรงอาจตาย
ภายใน 1 สัปดาห

84

การปอ งกัน
การฉดี วคั ซนี โรคไวรัสตับอักเสบบี จะเปน การควบคมุ การแพรก ระจายของโรคนี้

เรือ่ งที่ 2 โรคไขเลือดออก (Hemorrhagic Fever)

ไขเลือดออก เปน โรคตดิ ตอที่เกิดกับทุกคนทุกกลุมอายุ โดยทั่วไปไขเลือดออกมักจะ
ระบาดในฤดฝู น ซงึ่ เปน ฤดูที่ยงุ ลายแพรพนั ธโุ ดยงา ย

สาเหตุ
เกิดจากเชอื้ ไวรสั เดงกี (Dengue) เลอื ดผปู ว ยไขเลือดออกเกิดจากไดรับไวรัสเดงกีจาก
ยงุ ลาย เม่ือโดนยุงลายกดั แลวปลอ ยเชอื้ ไวรสั เดงกีเขาสผู ูป วย หรือยงุ ดูดเลือดจากผูปวยแสงเชื้อไวรัสนั้น
เขาไป เชื้อไวรัสจะเขาไปเจริญอยูในตัวยุง 8-11 วัน จึงจะเปนระยะติดตอ เมื่อยุงไปกัดคนที่ปกติก็จะ
ถายทอดเชือ้ โรค ทําใหเปนไขเลอื ดออกได ตอจากนน้ั ก็จะมกี ารถา ยทอดเชอ้ื ใหกบั คนอนื่ ๆ ตอ ไป และ
เชอ้ื ไวรสั จะอยใู นตัวยงุ ตลอดชวี ิตของยงุ คือ ประมาณ 45-60 วัน
อาการ
อาการของผูเปนไขเลือดออก คือ ไขสูงมาก แมใหยาแลวไขก็ยังไมลด เบื่ออาหาร
คล่นื ไสอาเจียน มจี ดุ เลอื ดออกตามผวิ หนงั เสนเลอื ดเปราะ กดเจบ็ ตรงชายโครง บางรายปวดศีรษะมาก
ปวดตา ปวดกลามเน้อื ปวดขอ ตองหมั่นสงั เกตอาการเปลี่ยนแปลงภายใน 2-3 วัน ถาอาการยังไมดีข้ึน
ตอ งพาไปพบแพทยเพ่อื วินิจฉัยโรค

วงจรชีวติ

85

การปฏิบตั ติ นเมอื่ เปนไขเ ลอื ดออก
1. ดืม่ น้าํ สะอาดใหม ากๆ หรอื ปฏบิ ัตติ ามคาํ แนะนําของแพทย
2. กินยาลดไขต ามแพทยสั่ง พาราเซตามอล ( Paracetamol ) หา งกันอยางนอย 4 ชว่ั โมง
3. เชด็ ตัวชวยลดไขเปนระยะ
4. ใหอ าหารออ น ยอยงา ย ตามตอ งการ
5. ควรงดอาหารหรอื เครื่องดมื่ ทม่ี ีสแี ดงหรอื ดํา เพราะหากอาเจียนออกมาอาจคิดวา เปน เลือด
6. พบแพทยเพ่อื ตดิ ตามดูอาการและตรวจเลอื ดตามนัด

การปองกันโรคไขเ ลอื ดออก ควรจดั การวสั ดุเหลาน้อี ยา ใหเ ปน
1. ใชมงุ ครอบหรอื กางมงุ เม่ือนอนกลางวัน แหลง เพาะพนั ธยุ งุ
2. นอนในหอ งที่มีมุงลวด
3. อยูใ นบริเวณท่ีมอี ากาศถา ยเทสะดวกและมีแสงสวา ง
4. ทเี่ ก็บน้าํ ควรปด ฝาใหสนทิ
5. ทาํ ลายแหลงเพาะพันธุย งุ ใหหมดไป
6. ภาชนะใสนํ้าที่ไมมีฝาปด หรือแหลงน้ําเล็ก ๆ ควร

ใสทรายเคลือบสารเคมี ปองกันไมใหเปนแหลงเพาะพันธุยุง (ใส
ทรายเคลอื บสารเคมี 1 ครั้ง ปองกนั ได 3 เดอื น)

เรือ่ งท่ี 3 โรคไขห วัดธรรมดา

พบมากในฤดหู นาว ฤดูฝนชวงที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะผูที่มีรางกายออนแอ ตรากตรํากับ
การทํางาน และมีเวลาผักผอ นนอ ย

สาเหตุ เกิดจากเชอ้ื ไวรสั ตดิ ตอทางการหายใจ หรือสมั ผสั น้ําลายและเสมหะ
อาการของโรค เกิดอาการอักเสบของทางเดินหายใจ สงผลใหคัดจมูก น้ํามูกไหล เจ็บคอ
ไอจาม หรืออาจมีไข ปวดศีรษะ ปกติจะหายไดเองในระยะเวลา 2 - 3 วัน ขึ้นอยูกับภูมิตานทานของ
รางกาย
การรกั ษา
1. นอนหลับ พกั ผอนมาก ๆ และนอนในที่อากาศถา ยเทไดส ะดวก
2. รักษารา งกายใหอ บอุนอยูเสมอ โดยใสเสอ้ื ผาหนา ๆ และหมผา

86

3. ออกกําลงั กายแตพอเหมาะไมห กั โหม
4. รับประทานอาหารทมี่ ปี ระโยชนใหค รบ 5 หมู
5. ถา มีไขร บั ประทานยาลดไข ไมควรอาบนํ้า
6. หากเปนตดิ ตอ กันหลายวนั ควรไปปรกึ ษาแพทย เพราะอาจมโี รคแทรกซอน
ในการปอ งกนั โรคหวดั ธรรมดานน้ั มขี อแนะนําดงั นี้
1. ออกกาํ ลังกายสม่าํ เสมอ พกั ผอ นใหเพียงพอ รบั ประทานอาหารเพยี งพอตอความตองการ
ของรางกายและไดส ารอาหารครบ 5 หมู
2. หลกี เลย่ี งการอยูใกลชดิ หรือใชสงิ่ ของเครือ่ งใชร ว มกบั ผปู วย และเมอ่ื ไอ จาม ควรปด ปาก
ปด จมูก
3. หลกี เลยี่ งการอยใู นที่แออัด อากาศระบายไมด ี เพราะอาจมเี ชอื้ ไวรสั ท่ีทาํ ใหเปนโรคหวดั
ธรรมดาอยูมาก
4. ควรทําใหร างกายอบอุนตลอดเวลาโดยการสวมเสอื้ ผาปอ งกนั
5. เมือ่ รา งกายเปยกนํา้ ควรเชด็ ตวั ใหแหง โดยเรว็

เรื่องที่ 4 โรคเอดส (AIDS)

เอดส มาจากคําวา AIDS เปนชื่อยอมาจากคําวาแอคไควร อิมมูน เดฟฟเชียนชี ชินโดรม
(Acquired Immune Deficiency Syndrome) หมายถึง กลุมอาการของโรคท่ีเกิดจากภูมิคุมกันในรางกาย
เสื่อมหรือบกพรอง ซ่ึงเปนภาวะที่เกิดขึ้นภายหลัง ไมไดเปนมาแตกําเนิด หรือสืบสายเลือดทาง
พนั ธุกรรม

Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลงั ไมไดเปน มาแตก าํ เนิดหรือสบื สายเลือดทาง
พันธุกรรม

Immune หมายถึง ระบบภมู คิ มุ กนั
Deficiency หมายถึง ความบกพรองหรอื การขาด
Syndrome หมายถงึ กลุม อาการของโรค
สาเหตุ
เกิดจากเช้ือไวรัสเอชไอวี (HIV : Human Immune deficiency Virus) เมื่อเชื้อโรคเขาสู
รางกายแลว จะไปทําลายเซลลเม็ดเลือดขาวท่ีทําหนาท่ีปองกันเชื้อโรค ทําใหภูมิคุมกันของคนที่ไดรับ

87

เชอ้ื นัน้ เสือ่ มหรอื บกพรอ งจนเปน สาเหตใุ หรางกายของคนน้นั ออ นแอ เม่ือไดรับเชือ้ ใด ๆก็ตามจะเกดิ อาการ
รนุ แรงกวาคนปกติและเสยี ชวี ติ ในทส่ี ุด

อาการ
ผูติดเช้ือสวนใหญจ ะไมมีอาการ แตจะแพรเช้ือใหผูอื่นได จะมีเพียงบางรายท่ีติดเช้ือและมี
อาการนาสงสยั วา เปนโรคเอดส ซ่งึ สงั เกตไดง าย คือ
1. ตอมนํา้ เหลืองทีค่ อ รกั แร และขาหนบี โตนานเกิน 3 เดอื น
2. น้ําหนกั ตวั ลดลง 3 - 4 กโิ ลกรัม หรือมากกวา 10% ภายใน 3 เดือน โดยไมทราบสาเหตุ
3. อุจจาระรว งเร้ือรงั นานเกนิ 3 เดอื น
4. เบื่ออาหารและเหนื่อยงา ยมาเปน เวลา 3 เดอื น
5. ไอโดยไมทราบสาเหตนุ านเกนิ 3 เดอื น
6. มีไขเ กิน 37.8 องศาเซลเซยี ส มเี หงอ่ื ออกตอนกลางคนื นานเกิน 1 เดือน
7. เปนฝาขาวในปากนานเกนิ 3 เดอื น
8. มีกอนสีแดงปนมว งข้ึนตามตัวและโตขน้ึ เร่ือย ๆ
9. แขนหรือขาขางใดขางหนง่ึ ไมม แี รงทํางานไมประสานกัน
ทั้งนไี้ มไ ดห มายความวาอาการดังกลาวจะเปนโรคเอดสทุกราย จนกวาจะไดรับการตรวจ
เลือดยนื ยันทแ่ี นนอนกอน
การตดิ ตอ
โรคเอดสตดิ ตอกันไดหลายทาง ท่ีพบบอย
และสาํ คัญท่สี ุด คือ
1. จากการมเี พศสมั พนั ธก ับผทู ่ีมเี ชอื้
โรคเอดส
2. จากการถายเลือด หรือรับผลิตภัณฑ
เลอื ดทีม่ เี ชอื้ เอดส
3. จากการใชเข็มหรือกระบอกฉีดยา
รวมกับผูท่ีมีเช้ือโรคเอดส โดยเฉพาะผูติดสารเสพติด
ชนิดฉีดเขา หลอดเลือด
4. จากแมท่ีมีเช้ือไวรสั เอดสไ ปสูท ารกในครรภ

88

โรคเอดสไ มต ดิ ตอ ในกรณีตอไปนี้
1. เรยี นสถาบันเดยี วกนั หรืออยบู า นเดยี วกนั
2. จบั มอื หรอื พดู คุย
3. น่ังรว มโตะ รบั ประทานอาหาร
4. ใชโทรศพั ทรว มกนั หรอื โทรศัพทส าธารณะ
5. ใชห อ งนํ้ารว มกัน หรอื หองนา้ํ สาธารณะ
6. คลกุ คลีหรอื เลนรว มกนั
7. ใชส ระวา ยน้าํ รวมกัน
8. ยุงหรือแมลงดดู เลอื ด

การปองกนั โรคเอดส
โรคเอดสเ ปน โรคทีไ่ มม ียารักษาใหห ายขาดได จึงควรเนน การปองกันโรคโดยปฏบิ ัติดงั นี้
1. ไมเสพสารเสพติด และถากําลังติดสารเสพติดก็ไปรับการรักษาเพ่ือเลิกสารเสพติด

หลีกเลี่ยงการใชเข็มฉีดยา หรอื กระบอกฉีดสารเสพตดิ รว มกบั ผูอ่ืน
2. ถา มเี พศสมั พันธใ หใชถ งุ ยางอนามัย
3. งดเวน การใชข องสวนตัวรวมกับผอู ่ืน โดยเฉพาะของที่อาจปนเปอ นเลอื ด เชน

แปรงสีฟน ใบมดี โกนหนวด เขม็ สกั ตัว เข็มเจาะหู เปน ตน
4. หญิงทต่ี ดิ เช้ือเอดส ควรหลีกเลี่ยงการตงั้ ครรภ เพราะเดก็ ทเ่ี กิดจากแมท่ีติดเชื้อเอดสจะมี

โอกาสตดิ เชอ้ื โรคเอดสไ ดถงึ รอ ยละ 50

เรอื่ งที่ 5 โรคฉหี่ นู (Leptospirosis)

โรคฉีห่ นู พบวา มีผตู ิดโรคนีใ้ นฤดฝู น โดยเชื้อโรคจะมากับปสสาวะของหนู และยงั สามารถ
พบไดใ นสตั วอ ืน่ ๆ ที่ใชฟน แทะอาหาร เชน กระรอก สนุ ัขจง้ิ จอก จะสามารถแพรเ ชอื้ ออกมาไดโดยท่ีตัว
มนั ไมเปน โรค

เชอ้ื ทเ่ี ปนสาเหตขุ องโรค
คือ เชื้อแบคทีเรียทีอ่ าศยั อยใู นดนิ โคลน หรอื แหลงนํ้าลาํ คลอง บรเิ วณท่ีมนี ํ้าทว มขงั ที่มี

สภาพแวดลอมเหมาะสมในการดาํ รงชวี ิตของเชอื้ โรค คอื มคี วามชื้น แสงแดดสองถึง มคี วามเปนกรดปาน
กลาง มักจะระบาดมากในเดอื นตุลาคม - พฤศจกิ ายน

89

กลมุ เสยี่ งตอ การเกิดโรค
- เกษตรกร ชาวไรชาวนา ชาวสวน
- คนงานในฟารม เลี้ยงสัตว โค สกุ ร ปลา
- กรรมกรขดุ ทอ ระบายนาํ้ เหมอื งแร โรงฆา สตั ว
- กลมุ อนื่ ๆ เชน แพทย เจาหนา ที่หอ งทดลอง ทหารตํารวจท่ีปฏิบัตงิ านตามปาเขา
- กลมุ ประชาชนทว่ั ไป ท่ีอยใู นแหลงทมี่ ีนํ้าทวมขงั หรอื มหี นูอาศัยอยู

การติดตอ ของโรค
สัตวทน่ี าํ เช้ือไดแก พวกสัตวฟนแทะ เชน หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมา

ไดแ ก สนุ ัข วัว ควาย สตั วพ วกนีเ้ กบ็ เชอื้ ไวใ นไตเมอ่ื หนปู ส สาวะเชอ้ื จะอยูในนา้ํ หรือดิน
- เม่อื คนสมั ผสั เชอื้ ซ่ึงอาจจะเขา ทางแผล เย่ือบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติ

ทีเ่ ปยกช้นื เช้อื โรคสามารถไชผา นไปไดเ ชนกัน
- เชอื้ อาจจะเขารางกายโดยการดม่ื หรอื กินอาหารท่ีมีเชอื้ โรค

อาการที่สาํ คัญ
อาการของโรคแบง ออกเปนกลมุ ใหญ ๆ ได 2 กลุม
1. กลุมท่ีไมมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือกลุมท่ีอาการไมรุนแรง กลุมนี้อาการ

ไมร นุ แรง หลงั จากไดร ับเชอ้ื 10-26 วัน โดยเฉล่ีย 10 วัน ผูปวยก็จะเกิดอาการของโรคไดแกปวดเม่ือย
กลา มเน้อื อยา งรุนแรง อาจจะมอี าการคลื่นไสอ าเจียน และมีไขข้นึ สงู ดวย บางรายอาจเกิดการเบื่ออาหาร
ทอ งเสยี ปวดทอ ง ตาแดง เจบ็ ตา เกดิ ผน่ื ขน้ึ ตามตวั หรอื มีจ้าํ เลือดตามผิวหนัง

2. ระยะการสรางภูมิ ระยะนถี้ า เจาะเลอื ดจะพบภูมิตานทานโรค ผูปวยจะมีไขขึ้นใหม
ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอกั เสบของเยอ่ื หมุ สมอง และตรวจพบเชื้อโรคในปสสาวะ

กลุมทีม่ ีอาการตวั เหลืองตาเหลอื ง กลุมนีไ้ ขจะไมหายแตจ ะเปนมากข้ึนโดยพบมีอาการ
ตัวเหลืองตาเหลือง มีผืน่ ท่เี พดานปาก มจี ดุ เลอื ดออกตามผิวหนัง ตับและไตอาจวายได ดีซาน เย่ือหุม
สมองอกั เสบ กลา มเนื้ออกั เสบ อาจจะมีอาการไอเปนเลือด อาการเหลืองจะปรากฏหลังจากไดรับเชื้อ
โรคนานเกิน 4 วนั ผูปว ยอาจจะเสียชีวติ ในระยะนีห้ รือในตน สัปดาหท ่สี ามจากไตวาย

ในการปองกันโรคฉห่ี นนู นั้ มขี อ แนะนําดงั น้ี
1. กาํ จดั หนูและปรบั ปรงุ ส่งิ แวดลอมใหสะอาดถกู สุขลกั ษณะ เพ่อื ไมใ หเ ปน แหลงเพาะพันธุข องหนู

90

2. หลีกเล่ียงการลงไปอาบแชใ นแหลงนํา้ ทีว่ ัว ควายลงไปกินน้ํา แชนํา้
3. หลีกเล่ยี งการแชน า้ํ ยา่ํ โคลนดวยเทา เปลา โดยเฉพาะอยางย่ิงเมื่อมบี าดแผลท่ขี า เทา หรอื ตามรา งกาย
4. หลกี เลีย่ งการเดนิ เทาเปลาในทุงนา ในคอกสัตว
5. สวมเครอื่ งปองกันตนเองดวยการสวมถุงมือยาง รองเทาบูทยาง และสวมเส้ือผาท่ีมิดชิด เมื่อตอง
ทํางานในไรน าหรอื ท่เี ปยกชื้นแฉะ
6. อาบนาํ้ ชาํ ระลางรา งกายดวยนํ้าสะอาดและสบูท นั ทหี ลังการลยุ นาํ้ ยํ่าโคลน หรอื กลบั จากทุงนา
7. ไมช ําแหละสัตวโดยไมสวมถุงมือ
8. ไมกินเนื้อสัตว เครื่องในสัตวท่ีไมไดทําใหสุกหรือผักสดจากทองนาที่ไมไดลางใหสะอาด
หลีกเล่ียงการอม กลืนนาํ้ หรือลมื ตาในนา้ํ ท่ไี มสะอาด
9. หลีกเล่ียงการดื่มนา้ํ หรอื รบั ประทานอาหารจากภาชนะทเ่ี ปด ฝาทง้ิ ไว เพราะอาจมหี นมู าฉีร่ ดไว

เรอื่ งที่ 6 โรคมอื เทาเปอ ย ( hand foot mouth Syndrome)

โรคปากเทา เปอ ยเกดิ จากการตดิ เช้ือไวรัสท่ีชื่อวา Coxsackievirus โดยตอง
ประกอบดวยผื่นท่ีมือ เทา เร่ิมตนเปนที่ปาก เหงือก เพดาน ล้ิน และลามมาที่มือ เทา
บรเิ วณทพี่ นั ผา ออ มเชน กัน ผืน่ จะเปนตมุ นํ้าใสมีแผลไมมาก จะพบไดในทารกที่มีอายุ
ต้ังแต 2 สัปดาหข ึ้นไป ผน่ื ทปี่ รากฏจะหายไดภายใน 5 - 7 วนั

อาการ
- มีไข
- เจ็บคอ
- มตี มุ ท่ี คอ ปาก เหงอื ก ลน้ิ โดยมากเปนตุมนํ้ามากกวา เปน แผล
- ปวดศีรษะ
- ผื่นเปนมากทม่ี อื รองลงมาพบทีเ่ ทา กน กพ็ อพบได
- มีอาการเบ่อื อาหาร
- เด็กจะหงดุ หงิด

ระยะฟก ตัว หมายถงึ ระยะต้งั แตไ ดรบั เช้อื จนกระทง่ั เกดิ อาการไขเวลาประมาณ 4 - 6 วัน
การวนิ จิ ฉัย โดยการตรวจรา งกายพบผ่นื บรเิ วณดังกลา ว
การรกั ษา ไมม ีการรกั ษาเฉพาะโดยมากรกั ษาตามอาการ

- ถามีไขใ หย าลดไข

91

- ดื่มนา้ํ ใหเ พียงพอตอรา งกาย อยา งนอยวันละ 6 – 8 แกว
โรคแทรกซอน
ผูปวยสวนใหญเกิดจากเช้อื coxsackievirus A16 ซงึ่ หายเองใน 1 สปั ดาห แตหากเกิดจากเชื้อ
enterovirus 71 โรคจะเปน รุนแรงและเกิดโรคแทรกซอน

- อาจจะเกิดชกั เน่อื งจากไขส ูง ตองเชด็ ตัวเวลามไี ขแ ละรบั ประทานยาลดไข
- อาจจะเกดิ เย่อื หุมสมองและสมองอกั เสบได
การปอ งกนั หลีกเล่ยี งการสมั ผสั กับผปู วย
ควรพบแพทยเ มื่อไร
- ไขส งู รบั ประทานยาลดไขแ ลวไมลง
- ด่ืมนาํ้ ไมไ ดและมอี าการขาดน้าํ ผวิ แหง ปสสาวะสเี ขม
- เดก็ กระสับกระสา ย
- มอี าการชกั เด็กจะเสยี ชวี ิตเนอื่ งจากอาการของโรคแทรกซอ น

เรือ่ งท่ี 7 โรคตาแดง

โรคตาแดงเปนโรคตาท่ีพบไดบอย เปนการ
อักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva) ที่คลุมหนังตาบนและลาง
รวมเย่ือบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเปนแบบ
เฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อ
แบคทีเรีย ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ หรือสัมผัส
สารท่ีเปนพิษตอตา สาเหตุสวนใหญเกิดจากเช้ือแบคทีเรีย
และเช้ือไวรัส มักจะติดตอทางมือ ผาเช็ดหนาหรือผาเช็ดตัว
โดยมากจะเปนและหายไดภายในเวลา 2 สัปดาห ตาแดงจากโรคภูมิแพมักจะเปนตาแดงเรื้อรัง มีการ
อกั เสบของหนงั ตา ตาแหง การใช contact lens หรือนํา้ ยาลา งตาก็เปน สาเหตุของตาแดงเรือ้ รัง

อาการของโรคตาแดง
1. คันตา เปนอาการทสี่ าํ คัญของผปู ว ยตาแดงทเี่ กดิ จากภูมิแพ อาการคันอาจจะเปนมาก

หรือนอย คนที่เปนโรคตาแดงโดยท่ไี มม อี าการคนั ไมใชเกิดจากโรคภูมิแพ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติ
ภูมแิ พใ นครอบครวั เชน หอบหดื ผนื่ แพ

92

2. ขต้ี า ลกั ษณะของขต้ี าก็ชว ยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
- ข้ตี าใสเหมอื นนา้ํ ตามักจะเกดิ จากไวรัสหรือโรคภมู แิ พ
- ขี้ตาเปนเมือกขาวมักจะเกดิ จากภูมิแพหรอื ตาแหง
- ขตี้ าเปนหนองมกั จะรวมกบั มีสะเกด็ ปดตาตอนเชาทําใหเปดตาลําบากสาเหตมุ กั จะ

เกดิ จากเช้อื แบคทเี รีย
3. ตาแดงเปนขางหนึ่งหรือสองขาง
- เปนพรอมกันสองขางโดยมาก

มักจะเกดิ จากภมู ิแพ
- เปนขางหน่ึงกอนแลวคอยเปน

สองขางสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเชนแบคทีเรีย ไวรัส
หรือ Chlamydia

- ผูท่ีมโี รคตาแดงขางเดียวแบบเร้ือรัง ชนดิ นี้ตอ งปรกึ ษาแพทย
4. อาการปวดตาหรือมองแสงจาไมได มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่น เชน ตอหิน มานตา
อักเสบ เปนตน ดังนั้นหากมีตาแดงรวมกบั ปวดตาหรอื มองแสงไมไ ดต องรบี พบแพทย
5. ตามัว แมว า กระพริบตาแลวก็ยังมัวอยู โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัว
รว มกับตาแดงตอ งปรกึ ษาแพทย
6. ประวตั ิอื่น การเปนหวัด การใชยาหยอดตา น้ําตาเทียม เครื่องสําอาง โรคประจําตัว
ยาทีใ่ ชอยูประจํา
การปอ งกันโรคตาแดง
- อยา ใชเ ครอ่ื งสาํ อางรวมกบั คนอนื่
- อยาใชผ า เชด็ หนาหรอื ผา เชด็ ตัวรว มกนั
- ลา งมือบอย ๆ อยา เอามือขย้ีตา
- ใสแวน ตาปองกนั เมอ่ื ตอ งทาํ งานเกย่ี วขอ งกบั ฝุน ละออง สารเคมี
- อยาใชยาหยอดตาของผอู ่ืน
- อยาวา ยนํ้าในสระท่ไี มไดใสคลอรนี
การรักษาตาแดงดวยตัวเอง
- ประคบเยน็ วันละ 3 - 4 คร้งั คร้งั ละ 10 - 15 นาที
- ลา งมอื บอ ย ๆ
- อยา ขย้ตี าเพราะจะทําใหต าระคายมากข้นึ


Click to View FlipBook Version