The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการใช้ Application ประกอบโครงการพัฒนาความรู้อาจารย์ โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by SAENGATIT, 2023-02-08 03:42:23

คู่มือการใช้ Application ในการสอนภาษาอังกฤษยุคดิจิทัล

คู่มือการใช้ Application ประกอบโครงการพัฒนาความรู้อาจารย์ โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Keywords: handboo,application,online program,teaching english,teaching skills

ค ่ ม ู ื อ การใช้Applications ในการสอนภาษาองักฤษยค ุ ด ิ จ ิ ทลั __________________________________________ แสงอาท ิ ตย ์ไทยม ิ ตร น ั กศึ กษาดษ ุ ฎ ี บณ ั ฑ ิ ต สาขาว ิ ชาการบร ิ หารการศึ กษา ที่มา: https://www.pinterest.com/pin/673006738041750473/ ที่มา: https://www.macthai.com/2016/08/23/8-apps-podcast-for-learning-english-on-iphone-ipad/


หน้า ก สารบัญ หน้า สารบัญ ก คำนำ ข คำชี้แจงการใช้คู่มือ ค แผนการอบรมพัฒนาความรู้ ง แบบทดสอบประเมินตนเองก่อนเรียน (PRE-TEST) ฉ ตอนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ APPLICATIONS 1 เรื่องที่1ความเป็นมาความหมายและความสำคัญของ APPLICATIONS 2 แบบฝึกหัดที่1 7 เรื่องที่2ข้อดีและข้อจำกัด/ปัญหาในการใช้APPLICATIONS 8 แบบฝึกหัดที่2 11 ตอนที่ 2 การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ APPLICATION 12 เรื่องที่1การติดตั้งและวิธีการใช้APPLICATION ในการจัดการเรียนการสอน 13 เรื่องที่2ตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับการใช้APPLICATION ในการจัดการเรียนการสอน 46 แบบฝึกหัดที่3 47 แบบทดสอบประเมินตนเองหลังเรียน (POST-TEST) 48 เฉลยแบบทดสอบประเมินตนเองหลังเรียน (POST-TEST) 56 เอกสารอ้างอิง 57


หน้า ข คำนำ คู่มือการใช้ Applications ในการสอนภาษาอังกฤษยุคดิจิทัล นี้ เป็นคู่มือประกอบโครงการ ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการอบรมอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ในโครงการ เสริมพลังความรู้ผู้สอน ของงานวิจัยเรื่อง “โปรแกรมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษ ยุคดิจิทัลสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” (The Online Program for Developing English Language Teaching Skills in the Digital Age for Students in Teaching English Program, Mahamakut Buddhist University) ท ี ่ เ น ้ น ก า ร ออกแบบเพื่อการศึกษาจากคู่มือเป็นหลัก


หน้า ค คำชี้แจงการใช้คู่มือ 1. อาจารย์ประจำหลักสูตรที่เข้ารับการอบรม ทำแบบทดสอบออนไลน์ก่อนการอบรม (PRE-TEST) 2. ศึกษาคู่มือการใช้ Applications ในการสอนภาษาอังกฤษยุคดิจิทัล 3. ศึกษาตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับ Applications ในการจัดกาเรียนการสอนออนไลน์ 4. ติดตั้งโปรแกรม Applications บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ 5. ทดลองเข้าใช้งาน Applications ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 6. ทำแบบทดสอบออนไลน์หลังการอบรม (POST-TEST)


หน้า ง แผนการอบรมพัฒนาความรู้ คู่มือ การใช้ Applications ในการสอนภาษาอังกฤษยุคดิจิทัล ตอนที่ 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ Applications 2. การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ Applications: Echo English, Duolingo, Hello Hello, Busuu, Memrise ขอบเขตเนื้อหา 1. แอปพลิเคชัน คือโปรแกรม หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูกออกแบบสำหรับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น หรือที่ทุกคนเรียกกัน สั้นๆ ว่า App (แอพ) ที่ได้รับการพัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมามากมายเพื่อให้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้งานทั้งในด้านการศึกษา ด้านการสื่อสารหรือแม้แต่ด้านความ บันเทิงต่างๆ เป็นต้น โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการศึกษาออก มากมาย ซึ่งสามารถช่วยเหลือการสอนของครูทั้งในและนอกชั้นเรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และยังช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านต่างๆได้อีกด้วย รวมถึงทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงการใช้แอปพลิเคชันได้ตลอดเวลา 2. การใช้ Application ในการจัดการเรียนการสอน มีข้อดี 11 ข้อ และมีข้อเสียอย่างน้อย 5 ข้อ 3. ผู้สอนสามารถใช้Application ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเพื่อ เป็นการพัฒนาทางด้านสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรื่องภาษา การ จัดระบบทางด้านงานเอกสารการทำงาน และรวมถึงด้านอื่นๆ ซึ่งผู้สอนสามารถทำตาม ขั้นตอนการติดตั้งและการสร้าง รวมถึงวิธีการใช้ Application (Echo English, Duolingo, English hello-hello, Busuu, Memrise) ในการจัดการเรียนการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาคู่มือจบแล้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถ


หน้า จ 1. เข้าใจและรู้จักความหมายและความสำคัญของ Applications 2. ระบุข้อดีและตระหนักถึงข้อจำกัด/ปัญหาในการใช้Applications ได้ 3. ใ ช้ Applications (Echo English, Duolingo, English hello-hello, Busuu, Memrise) ในการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมระหว่างการอบรม 1. ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 1 – 2 3. ทำแบบฝึกหัด 4. ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน สื่อในการสอนอบรม 1. เอกสารคู่ มื อ ก าร ใช ้ Echo English, Duolingo, English hello-hello, Busuu, Memrise 2. คอมพิวเตอร์/แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ 3. Smart Phone/iPad/Tablet การประเมินผล 1. ประเมินผลจากแบบทดสอบประเมินตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินผลจากการสังเกตการทำกิจกรรมระหว่างอบรม


หน้า ฉ แบบทดสอบประเมินตนเองก่อนเรียน (PRE-TEST) คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง 1. Activity, Service, Content Provider, Broadcast Receiver ข้อใดเกี่ยวข้องกับข้อความดังกล่าว ก. ความหมายของแอปพลิเคชัน ข. ความสำคัญของแอปพลิเคชัน ค. องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน ง. คุณลักษณะของแอปพลิเคชัน 2. หากกำลังพูดถึง “โปรแกรม หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูกออกแบบสำหรับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา” แสดงว่าผู้พูดกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ก. ความหมายของแอปพลิเคชัน ข. ความสำคัญของแอปพลิเคชัน ค. องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน ง. คุณลักษณะของแอปพลิเคชัน 3. ข้อใดไม่ใช่ข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน ก. เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล ข. แอปพลิเคชันบางตัวเสียค่าใช้จ่ายและบางแอปฯ ก็ฟรี ค. แอปพลิเคชันบางตัว ต้องมีพื้นที่จัดเก็บไฟล์ที่ค่อนข้างใหญ่และการประมวลผลที่ช้า ง. แอปพลิเคชันทุกตัวจะต้องต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้นถึงจะเข้าใช้งานได้ 4. ไอคอน (Icon) แอพพลิเคชั่นในภาพด้านล่างนี้เรียกว่าอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise


หน้า ช 5. ภาพต่อไปนี้เป็น Icon ของแอปพลิเคชันใด ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. Memrise 6. Icon ด้านล่างนี้เป็นของแอปพลิเคชันใด ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello 7. ไอคอน (Icon) ใดคือแอปพลิเคชัน Memrise ก. ข. ค. ง.


หน้า ซ 8. แอพพลิเคชั่น English hello-hello คือภาพใด ก. ข. ค. ง. 9. ภาพต่อไปนี้เป็นการแสดงเนื้อหาของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise


หน้า ฌ 10. ภาพดังต่อไปนี้เป็นการสร้างบัญชีใหม่ของการเข้าใช้แอพพลิเคชั่นอะไร ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello 11. ภาพต่อไปนี้เป็นหน้าต่างการใช้งานส่วนหนึ่งของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello


หน้า ญ 12. “เน้นการฝึกฝนทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน จากสถานการณ์จำลองต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดย มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถใช้งานได้ทั้ง ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และ iOS” ผู้พูดกำลังพูดถึงแอปพลิเคชันใด ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise 13. ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อดีของแอพพลิเคชั่น Busuu ยกเว้นข้อใด ก. แบบเรียนหลากหลายไม่จำเจ ข. หน้าตาสวยงามน่าใช้ ค. มีใบ Certificate จาก McGrawHill ให้หลังสอบผ่าน ง. ไม่มีค่าใช้จ่าย 14. ภาพต่อไปนี้เป็นหน้าต่างการเรียนรู้ของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello


หน้า ฎ 15. ภาพต่อไปนี้เป็นหน้าต่างการเข้าใช้งานของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello 16. “ภาษาที่รองรับมีเพียง 5 ภาษา และผู้ใช้ต้องมีพื้นฐานภาษาอังกฤษเพื่อใช้งานแอพด้วย และ ถ้าเล่นไปเรื่อย ๆ จะเริ่มยากมาก ต้องอาศัยทักษะการจำและความตั้งใจ” ข้อความดังกล่าวเป็น ข้อจำกัดของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Busuu ข. Duolingo ค. Echo English ง. English hello-hello 17. ภาพต่อไปนี้เป็นเนื้อหาบทเรียนของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise


หน้า ฏ 18. ภาพต่อไปนี้เป็นหน้าต่างการเข้าใช้ของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise 19. ภาพต่อไปนี้เป็นหน้าต่างการเข้าใช้ของแอพพลิเคชั่นอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise


หน้า ฐ 20. “เรียนภาษาได้ภายในแอปฯ เดียวกับเจ้าของภาษาได้มากถึง 22 ภาษา และเรียนภาษากับ เจ้าของภาษาผ่าน Video จากการออกเสียงจริง” ข้อความดังกล่าวเป็นข้อดีส่วนหนึ่งของ แอพพลิเคชั่นอะไร ก. Duolingo ข. Echo English ค. English hello-hello ง. Memrise แหล่งที่มารูปภาพ: https://bit.ly/38PUMRg https://amzn.to/3zSUMvI shorturl.at/euwJ1 https://www.busuu.com/ http://www.echothailand.org/ https://news.pdamobiz.com/2016/03/28324-2/echo-english-goverment-app-007-horz/ http://www.witoon.in.th/index.php/llearningit/2018-01-05-02-55-16/62-setup-echo-english https://www.beartai.com/review/appreview/262712 https://apps.apple.com/th/app/learn-english-by-hello-hello/id423320493?l=th https://fightforfluency.com/review-learn-english-with-duolingo/ https://bit.ly/3mwT9zS https://bit.ly/3sIDdfc


ตอนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Applications โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1 หัวเรื่อง 1 ความหมายและความสำคัญของ Applications 2 ข้อดีและข้อจำกัด/ปัญหาในการใช้ Applications ขอบเขตเนื้อหา 1. แอปพลิเคชัน คือโปรแกรม หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูกออกแบบสำหรับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น โดยในปัจจุบันมีการ พัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการศึกษาออกมากมาย ซึ่งสามารถช่วยเหลือการสอนของ ครูทั้งในและนอกชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ของผู้เรียนในด้านต่างๆได้อีกด้วย รวมถึงทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงการใช้ แอปพลิเคชันได้ตลอดเวลา 2. การใช้ Application ในการจัดการเรียนการสอน มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาคู่มือจบแล้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถ 1. เข้าใจและรู้จักความหมายและความสำคัญของ Applications 2. ระบุข้อดีและตระหนักถึงข้อจำกัด/ปัญหาในการใช้Applications ได้


หน้า 2 เรื่องที่ 1 ความเป็นมา ความหมายและความสำคัญของ Applications ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีต่างๆ ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว คำว่า Web หรือ Website คงเป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่ามันยังมีสิ่งที่เรียกว่า Web Application อยู่ด้วย และหลายคนก็ยังสับสนอยู่ว่า มันแตกต่างจาก Website ปกติทั่วไปอย่างไร? Web Application คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ความหมายของ Applications นักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่าน รวมถึงองค์กรการศึกษาหลายแห่งได้นำเสนอคววาม หมาย ความสำคัญของ Applications ไว้ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2562) ได้ให้ ความหมายคำว่าแอปพลิเคชันไว้ว่า แอปพลิเคชัน คือโปรแกรม หรือ กลุ่มของโปรแกรม ที่ถูก ออกแบบสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น โดยใน ปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการศึกษาออกมากมาย ซึ่งสามารถช่วยเหลือการสอนของ ครูทั้งในและนอกชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนใน ด้านต่างๆได้อีกด้วย รวมถึงทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงการใช้แอปพลิเคชันได้ตลอดเวลา องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน Application Component คือ Component หลักที่ใช้ในการสร้าง Android Application โดย Application Component แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Activity, Service, Content Provider, และ Broadcast Receiver ซึ่งแต่ละประเภทของ Application Component นี้มี เป้าหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่แตกต่างกัน รวมถึงมี วงจรชีวิตที่แตกต่างกันด้วย 1. Activity คือ Application Component ที่ใช้ในการควบคุมการสร้าง User Interface เช่น การแสดงผลหน้าจอรายการอีเมล์, การแสดงหน้าจอแบบฟอร์มการส่งอีเมล์ เป็นต้น รวมถึง ควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับ User Interface ด้วย เช่น เมื่อผู้ใช้เลือกรายการอีเมล์ก็จะทำ การตอบสนองผู้ใช้โดยการแสดงข้อมูลรายการอีเมล์ที่เลือก เป็นต้น 2. Service คือ Application Component ที่ไม่มี User Interface และจะท ำ ก า ร ประมวลผลใน Background กล่าวคือ เป็นการประมวลผลที่สามารถทำงานขนานกันกับการทำงาน อื่นๆ ของผู้ใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดการทำงานโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในหน้าจอนั้น ๆก็ได้ ซึ่งอาจ เป็นเพราะการทำงานนั้นต้องใช้ระยะเวลานาน เช่น การใช้ Service เปิดเพลง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถไป ใช้ Application อื่น ๆ ได้ แต่เพลงยังคงเล่นอยู่ หรือ การใช้ Service ดาวน์โหลดข้อมูลใด ๆ ที่มี ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถไปใช้ Application อื่น ๆ ได้


หน้า 3 3. Content Provider คือ Application Component ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมข้อมูลใดๆ ของ Application ที่ต้องการ Share ให้ Application อื่น ๆ สามารถนำข้อมูลนั้นๆ ไปใช้งานได้เช่น System ได้จัดเตรียม Content Provider ที่เป็นข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ (Contact) ไว้เพื่อให้ Application ที่ต้องการใช้ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อนี้ สามารถนำข้อมูลไปใช้หรือแก้ไขข้อมูลได้ เป็นต้น 4. Broadcast Receiver คือ Application Component ที่ไม่มี User Interface โดยจะทำ หน้าที่รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นของ System และนำมาบอกให้ผู้ใช้ได้รับรู้ เช่น เมื่อ Battery ต่ำ, เมื่อหน้าจอ ถูก Capture, เมื่อมีการพักหน้าจอ เป็นต้น คุณลักษณะของแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันที่ทำงานบนโทรศัพท์มือถือ เรียกว่า “โมบายแอปพลิเคชัน” หรือ “Mobile Application” ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต มีความรวดเร็ว สะดวกและ ง่ายต่อการใช้งาน แบ่งคุณลักษณะของโมบายแอปพลิเคชันเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. แอปพลิเคชันระบบ เป็นส่วนซอฟต์แวร์ระบบที่รองรับการใช้งานของแอปพลิเคชันหรือ โปรแกรมต่างๆได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมจากค่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ มีดังนี้ 1.1 Symbian OS จุดเด่นอยู่ที่รูปแบบของส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (UI) ที่ดูเรียบง่าย มี ฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานอย่างครบ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความง่ายในการติดตั้งโปรแกรมและลง เพลงต่างๆ และรองรับการใช้งานที่หลากหลาย 1.2 Windows Mobile พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ผลิตระบบปฏิบัติการที่ รองรับการทำงานของคอมพิวเตอร์มากมาย ได้แก่ Window XP (7) , Windows Vista (8) หรือ Window 10 เป็นต้น ตัวอย่างสมาร์ทโฟนที่ใช้ Windows Mobile ได้แก่ HTC , Acer เป็นต้น 1.3 BlackBerry OS พัฒนาโดยบริษัท RIM เพื่อรองรับการทำงานของแอปพลิเคชัน ต่างๆของ BlackBerry โดยตรง จะเน้นการใช้งานทางด้านอีเมล์เป็นหลัก ระบบการสนทนาผ่าน BlackBerry Messenger เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องติดต่องานต่างๆผ่านอีเมล์และกลุ่มวัยรุ่นที่รักการ สนทนาผ่านคอมพิวเตอร์ 1.4 iPhone OS พัฒนาโดยบริษัท Apple เพื่อรองรับการทำงานของแอปพลิเคชัน ต่างๆ ของ iPhone โดยตรง โดยกลุ่มที่นิยมใช้ iPhone มักจะเป็นผู้ที่ชื่นชอบด้านมัลติมีเดีย 1.5 Android พัฒนาโดยบริษัท Google เป็นระบบปฏิบัติการล่าสุดที่กำลังเป็นที่ นิยมทั้ง Search Engine , Gmail , Google Docs , Google Maps เป็นต้น มีจุดเด่น คือ เป็น ระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ซึ่งทำให้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้ งานบริการต่าง ๆ จากทาง Google รวมทั้งต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา 2. แอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการใช้แอป พลิเคชันแตกต่างกัน จึงมีผู้ผลิตลพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้แก่ แอปพลิเคชันใน


หน้า 4 กลุ่มเกม ผู้ผลิตเกมจึงคิดค้นเกมส์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งผู้เล่นมักนิยมเล่นเกมออนไลน์ รวมทั้ง มีการเชื่อมโยงกับ กลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) เช่น เกมที่อยู่ใน Twitter หรือ Facebook เป็นต้น 3. แอปพลิเคชันในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลให้ทันสมัย ตลอดเวลา เช่น ใน Facebook , MySpace เป็นต้น 4. แอปพลิเคชันในกลุ่มมัลติมีเดีย ได้แก่ เสียงที่เป็นไฟล์ในแบบ mp3 , wav เป็นต้น ภาพนิ่ง ในรูปแบบ gif , jpg เป็นต้น ภาพเคลื่อนไหว คลิปวิดีโอในรูปแบบ mp4 หรือ avi เป็นต้น แมงโก้ คอนซัลแตนท์(2562) ให้ความหมายของคำว่า Application (แอพพลิเคชั่น) ไว้ว่า Application หรือที่ทุกคนเรียกกันสั้นๆ ว่า App (แอพ) มันคือ โปรแกรมที่อำนวยความสะดวกใน ด้านต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับ Mobile (โมบาย) Teblet (แท็บเล็ต) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่เรารู้จัก กัน ซึ่งในแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมายเพื่อให้ตรงกับความต้องการ ของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรีและจ่ายเงิน ทั้งในด้านการศึกษา ด้านกรสื่อสารหรือแม้แต่ ด้านความบันเทิงต่างๆ เป็นต้น โมบายแอพฯ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Native Application, Hybrid Application และ Web Application Native App (เนทีฟ แอพ) คือ Application ที่ถูกพัฒนามาด้วย Library (ไลบรารี่) หรือ SDK (เอส ดี เค) เครื่องมือที่เอาไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพิเคชั่น ของ OS Mobile (โอ เอส โมบาย) นั้นๆโดยเฉพาะ อาทิ Android (แอนดรอยด์) ใช้ Android SDK (แอนดรอยด์ เอส ดี เค), IOS (ไอ โอ เอส) ใช้ Objective c (ออปเจคทีฟ ซี), Windows Phone (วินโดว์ โฟน) ใช้ C# (ซีฉาบ) เป็น ต้น Hybrid Application (ไฮบริด แอพพลิเคชั่น) คือ Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วย จุดประสงค์ ที่ต้องการให้สามารถ รันบนระบบปฏิบัติการได้ทุก OS โดยใช้ Framework (เฟรมเวิร์ก) เข้าช่วย เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกระบบปฏิบัติการ Web Application (เว็บ แอพพลิเคชั่น) คือ Application ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อเป็น Browser (บราวเซอร์) สำหรับการใช้งานเว็บเพจต่างๆ ซึ่งถูกปรับแต่งให้แสดงผลแต่ส่วนที่จำเป็น เพื่อ เป็นการลดทรัพยากรในการประมวลผล ของตัวเครื่องสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ทำให้โหลดหน้า เว็บไซต์ได้เร็วขึ้น อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานผ่าน อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ในความเร็วตํ่าได้ ADVANCED iSERVICE (2021) บริการรับทำเว็บไซต์และพัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงตามความ ต้องการของลูกค้า รวมถึงการให้บริการด้าน Marketing Agency และการจัดหาทรัพยากรบุคคลได้ ให้ความหมายของคำว่า Application ไว้ว่า Web Application คือแอปที่ถูกเขียนขึ้นมาให้สามารถ


หน้า 5 เปิดใช้ใน Web Browser ได้โดยตรง ไม่ต้องโหลดแอปพลิเคชันแบบเต็มๆ ลงเครื่อง ทำให้โดยรวม แล้วกินทรัพยากรค่อนข้างต่ำ สามารถเปิดใช้งานได้ไว และแน่นอนว่าภายในตัว Web Application มักถูก Optimize ให้มีการทำงานรวดเร็วกว่าการเปิดแอปพลิเคชันแบบปกติ จึงมีหน้าตาที่เป็นมิตร และใช้งานค่อนข้างง่าย ซึ่งในปัจจุบันมี Web Application ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบใช้งานระดับ โลก ระดับมหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับบริษัท ก็มี Web App เป็นของตัวเองเช่นกัน ความแตกต่างระหว่าง Website Vs Web Application การใช้งาน Website คือ หน้าเพจที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และมีการเชื่อมโยงข้อมูล ไปยังเว็บเพจย่อย ๆ ต่าง ๆ ตามแต่รูปแบบของเว็บไซต์นั้นได้กำหนดและตั้งค่าไว้ โดยเว็บไซต์นี้จะเน้น ให้ผู้คนเข้ามา "ดู" เป็นหลัก Web Application ทำหน้าที่คล้ายกับเว็บไซต์ แต่จะสามารถเป็นแอปพลิเคชันได้ด้วย คือ เน้นให้ผู้คนเข้ามา "ใช้งาน" มากกว่าดู เช่น Web App สำหรับคิดเลข, Web App สำหรับจับเวลา, Web App สำหรับแปลภาษา โดยส่วนมากแล้วจะมีความสะอาด รวดเร็ว และสบายตากว่า Website ปกติ เนื่องจากเน้นใช้งานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหลัก หน้าตาภายนอก Website มักจะเน้นในความสวยงาม ดึงดูด บางเว็บก็จะมีความซับซ้อนบ้างพอประมาณ มี ลิงค์ต่างๆ เพื่อให้คนที่เข้ามาสามารถเปิดดูเว็บเพจภายในเว็บไซต์ได้ Web Application มุ่งไปที่ความเรียบง่าย สะอาด บางครั้งหน้าเว็บแอปพลิเคชันก็จะแสดง โปรแกรมและฟังก์ชันต่างๆ ขึ้นมาตรงๆ แบบไม่ตกแต่งอะไรมาก เนื่องจากต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถ ใช้งานมันได้อย่างรวดเร็วที่สุด การทำงานเบื้องหลัง Website โดยรวมแล้วหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้ามักมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ จะหนักไปในเชิง การตกแต่งและจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับความชอบของผู้เข้าชม Web Application มีความซับซ้อนและยุ่งยาก อาจต้องใช้ผู้มีเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อ จัดการและออกแบบแอปพลิเคชัน รวมถึงฟังก์ชันภายในให้ใช้งานได้ง่าย ต้องออกแบบให้สิ่งที่ซับซ้อน กลายเป็นสิ่งที่คนไม่เคยใช้ก็ใช้งานได้ Web Application (เว็บแอปพลิเคชัน) จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานแอปพลิเคชัน ในฝั่งของผู้ใช้งาน และเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานให้สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันของเราได้มากขึ้น เนื่องจาก Web App นั้นถูกออกแบบมาให้เข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้มีโอกาสที่ยอดผู้ใช้งานนั้นจะสูง นอกจากนั้นการมีเว็บแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง ก็เป็นการสร้างจุดเด่นให้กับองค์กรหรือธุรกิจอีก ด้วย


หน้า 6 ความสำคัญของแอพพลิเคชั่น อัมพร บุญเทพ (2560) สมาร์ตโฟน คือ สิ่งที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของทุกคนไปตลอด กาล ระบบประมวลผลชั้นสูงและเทคโนโลยี 3G 4G ในสมาร์ตโฟนยุคใหม่ได้ทำให้แก็ดเจ็ตชนิดนี้ขาด ไม่ได้อีกต่อไปในการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นของเรา แอพลิเคชั่นที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน มากมาย เช่น แอพลิเคชั่นปฏิทิน แอพลิเคชั่น to-do list แอพลิเคชั่นเตือนความจำ แอพลิเคชั่น คลาวด์ และแอพลิเคชั่นจดโน้ต ได้ทำให้ชีวิตที่ยุ่งเหยิงของเราจัดการได้ง่ายขึ้น และนี่คือ 10 แอพลิ เคชั่นที่จะช่วยจัดระเบียบชีวิตการทำงานที่ยุ่งเหยิงของคุณ ให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าที่เคยเป็นมา นอกจากแอพพลิเคชั่นแล้ว การพัฒนาตัวเองก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย คุณอาจจะ เริ่มจากการอ่านหนังสือดีๆ จากทั่วโลก หรือใช้เวลาหลังงานให้มีประโยชน์ด้วยการพัฒนาตนเอง ซึ่ง เหล่าแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ คือสิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อช่วยเหลือคุณ! สำหรับการศึกษาก็เป็นสิ่งทำจำเป็นเช่นกันที่ต้องมีแอพพลิเคชั่นในการช่วย ไม่ว่าจะเป็นการ พัฒนาทางด้านสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรื่องภาษา การจัดระบบทางด้านงาน เอกสารการทำงาน และรวมถึงด้านอื่นๆอีกมากมายที่แอพพลิเคชั่นเหล่านี้เข้ามาในวงการการศึกษา ของเราทุกวันนี้ การมาเข้าเรียนในแต่ละวันครูผู้สอนต้องพบกับปัญหาและความวุ่นวายต่างๆทั้งที่เกี่ยวข้องกับ เอกสารและตัวผู้เรียน และสิ่งที่จำเป็นที่ครูผู้สอนต้องทำและปฏิบัติทุกเช้าคือ การเช็คชื่อนักเรียนที่มา เรียน และขาดเรียน รวมถึงต้องทราบตารางสอนและงานที่จะต้องทำในแต่ละวันว่ามีการประชุม สัมมนาหรือต้องไปราชการที่ไหนบ้าง รวมถึงต้องส่งเอกสารหรือสั่งงานอะไรไว้กับผู้เรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นปัญหาหรืออุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน บางครั้งก็สร้างความรำคาญ มีผลต่อสภาพอารมณื ของตัวครูและผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งนี้ฉันคิดว่าหากเรามีแอพพลิเคชั่นสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมา เปลี่ยนจากแผ่นกระดาษ มาอยู่บนโทรศัพท์มือถือแทน ก็จะทำให้การทำงานนั้นสะดวกและรวดเร็วขึ้น และสามารถที่จะเตือนความจำสำหรับผู้ใช้งานได้


หน้า 7 แบบฝึกหัดที่ 1 ให้ท่านตอบคำถามต่อไปนี้ 1. Application หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………..………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………..…………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 2. จงบอกความสำคัญของการใช้ Application …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………..………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………..…………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………..……………………………………………………………………………………………………..


หน้า 8 เรื่องที่ 2 ข้อดีและข้อจำกัด/ปัญหาในการใช้ Applications ข้อดีสำหรับการใช้ Mobile App ปัจจุบัน Smart Phone และ Tablet มีบทบาทมากขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น และ Mobile Application คือส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งาน Smart Phone และ Tablet เข้าถึงสื่อ ต่างๆได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ผู้ที่ประกอบธุรกิจต่างๆไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กได้ให้ความสนใจ ในการที่จะพัฒนา Mobile Application เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงติดต่อกลุ่มลูกค้าของตน อาทิเช่น - กลุ่มธุรกิจการการเท่องเที่ยวและการเดินทาง มีการจัด Mobile App ระบบแนะนำสถานที่ ท่องเที่ยว แนะนำโรงแรมและการจองโรงแรมที่พัก มีระบบการจองตั๋วรถทัวร์ จองตั๋วเครื่องบิน รวม ไปถึงการเช็คอินได้ด้วย - กลุ่มธุรกิจเพื่อการศึกษา มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การซื้อขายสื่อการเรียนการสอน การ แลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ กลุ่มธุรกิจการค้าและแฟชั่น มีระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ให้บริการและผู้บริโภคดังต่อไปนี้ ด้านผู้ให้บริการ - กลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ธุระกิจ ของตนเอง ทำให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากยิ่งขึ้น - ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ - เพิ่มภาพพจน์ร้านให้ดูดี มีจุดเด่น มีจุดขายที่ชัดเจน ส่งผลให้ ธุรกิจมียอดขายที่เพิ่มขึ้น - มีการบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีขึ้น - ลดขั้นตอนการทำงาน ทำให้การติดต่องานต่างๆสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้านผู้บริโภค - ลดขั้นตอน และประหยัดเวลา ในการติดต่อธุรกรรมต่างๆ เช่น ต้องการโอนเงินค่า สินค้า ก็สามารถใช้ Mobile App ทำธุรกรรมทางการเงินได้เลย เป็นต้น - มีตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถเปรียบเทียบ คุณภาพ และราคาได้ โดยที่ไม่ต้อง ออกไปสำรวจราคาสินค้าที่เราต้องการให้เสียเวลา - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกไปเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ - ช่วยลดเวลาในการเดินทาง คำนวณเวลาได้ ค้นหาเส้นทางหรือแนะนำเลี่ยงเส้นทางที่มี การจราจรติดขัดได้


หน้า 9 ข้อจำกัดสำหรับการใช้ Mobile App Mobile Application ที่มีมากมายให้เราได้เลือกได้โหลดมาใช้งานกันในทุกวันนี้ ย่อมมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป บทความนี้เราจะมากล่าวถึงข้อเสียของการใช้ Mobile App กันดังนี้ - เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล การติดต่อรับส่งข้อมูลหรือการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ทาง Mobile App นั้น ให้ความสะดวกรวดเร็วแก่เราก็จริง หากแต่เมื่อใดที่สมาร์ทโฟนเราเกิดหาย หรือตกไม่อยู่ในมือของโจรเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราอาจจะสูญเสียข้อมูลและเงินในบัญชีอาจจะถูกโจรกรรม ได้เช่นกัน - App ฟรี บางครั้งก็ไม่ฟรีเสมอไป เมื่อไม่นานมานี้หลายท่านคงได้ทราบข่าว เด็กนักเรียน เล่น Line Cookies Run แล้วมีบิลมาเรียกเก็บเงินตามหลังประมาณ 200,000 บาท และนี้ก็ทำให้ หลายคนสงสัยว่ามันเกิดขึ้นได้เช่นไร กล่าวคือ Line Cookies Run นั้นเป็น Application ฟรีก็จริง แต่การเล่นจริงๆนั้นผู้เล่นจะต้องซื้อไอเท็มต่าง ๆ เพื่อปรับความสามารถของตัวละครให้สูงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เล่นต้องเสียเงินเพื่อซื้อไอเท็มต่าง ๆ มาใช้งาน - App บาง App ต้องมีพื้นที่จัดเก็บไฟล์ที่ค่อนข้างใหญ่และการประมวลผลที่ช้า อัน เนื่องมาจากการใส่แฟลชแอนนิเมชั่นที่มาก เพื่อให้เกมส์มีสีสันและการเคลื่อนไหวที่สวยงาม ดังนั้นจึง เป็นสาเหตุที่ทำให้สมาร์ทโฟนของเราเกิดอาการค้างอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการทำงานของเครื่อง ในภายหลังด้วยเช่นกัน - App บาง App จะต้องต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้นถึงจะเข้าใช้งานได้ เช่น Line Cookies Run, Line Let Get Rich, Face book, YouTube, Twitter เป็นต้น ซึ่งทำให้เราจะต้องเลือกซื้อ Packet Internet เป็นเหตุให้เสียเงินอีก - ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิจัยท่านหนึ่งได้ออกมาเตือนถึงผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟน ในที่มืด เช่น ปิดไฟจะเข้าแล้วแต่เล่นเกมส์ต่างๆบนมือถืออยู่นั้น จะส่งให้สายตาสั้นได้ การนั่งจ้องเล่น เกมส์โดยไม่พักสายตา ก็ส่งผลได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ADVANCE iSERVICE ยังบอกถึงข้อดีข้อเสียของการใช้ Application เพิ่มเติม ไว้อีกดังนี้ ข้อดีของ Web Application -เหมาะกับองค์กรขนาดเล็กเพราะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า (หลายตัวฟรี) และคิดค่าใช้จ่ายตาม จำนวนการใช้งานจริง -การใช้งานในองค์กรทำได้ง่าย เพียงแค่มีเว็บบราวเซอร์ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันแทบทุกเครื่องก็ใช้งานได้ -ข้อมูลจัดเก็บที่เดียว ง่ายต่อการจัดการ และไม่เกิดความซ้ำซ้อน -ไม่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพง


หน้า 10 -อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เพราะสามารถล๊อกอินเข้าใช้งานได้เลยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม -ไม่ต้องมีบุคคลากรด้านเทคนิคเป็นของตัวเอง เพราะผู้ให้บริการดูแลเซิฟเวอร์และการ บำรุงรักษาเองทั้งหมด -ส่วนมากใช้ได้หลากหลายแพลทฟอร์มทั้ง Windows, Linux และ Mac ทำให้องค์กร สามารถเลือกใช้บางเครื่องเป็น Linux ได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์ -เชื่อมต่อกับเว็บแอพหรือบริการออนไลน์อื่นๆได้ง่าย ข้อจำกัดของ Web Application -รูป ร่างหน้าตา และการใช้งานมีได้จำกัด อาจไม่เหมาะกับงานบางประเภทที่ต้องการรูปแบบ โปรแกรมที่แตกต่างจากโปรแกรม ทั่วไปเช่น โปรแกรมตกแต่งรูป โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ -เว็บแอพหลาย ๆ ตัวต้องการอินเตอร์เน็ตในการใช้งานเสมอ (มีบางตัวที่สามารถทำงาน ออฟไลน์ได้ด้วยเช่น Gmail)


หน้า 11 แบบฝึกหัดที่ 2 ให้ท่านตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงระบุข้อดีของการใช้ Applications …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………..………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………..…………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 2. จงระบุข้อเสียหรือข้อจำกัดในการใช้Applications …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………..………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………..…………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………..…………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………


หน้า 12 ตอนที่ 2 การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ Application โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2 หัวเรื่อง 1. การติดตั้ง การสร้างและวิธีการใช้ Application ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2. ตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับการใช้ Application ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ แนวคิด 1. ผู้สอนสามารถติดตั้งและรู้วิธีการใช้ Application (Echo English, Duolingo, Hello Hell, Busuu, Memrise) ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาคู่มือจบแล้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถ 1. ติดตั้งและสร้าง Application ในการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ได้ 2. ทดลองใช้Application ในการจัดการเรียนการสอนระบบออนไลน์ได้


หน้า 13 เรื่องที่ 1 การติดตั้งและวิธีการใช้ Application ในการจัดการเรียนการสอน Echo English กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำ Application การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับพื้นฐาน สำหรับประชาชน ในชื่อ "Echo English" โดยเน้นการฝึกฝนทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน จากสถานการณ์ จำลองต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และ iOS การนำเสนอเนื้อหาของ Echo English จะจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของการเรียนรู้ แบ่ง เนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. Thai 's common errors in English เป็นบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับ การใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการแปล ความหมายผิด การใช้คำหรือวลีที่ผิด การออกเสียงผิด และแนะนำว่าการใช้ที่ถูกต้อง ควรใช้อย่างไร 2. Basic English Expressions เป็นบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับ ประโยคพื้นฐานที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน 3. Basic English เป็นบทเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การถามทาง การซื้อตั๋วรถโดยสาร เป็น ต้น 4. General situations เป็นบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับ บทสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ ที่มักพบเจอ เช่น การรับโทรศัพท์ การไป ธนาคาร และธรรมเนียมหรือมารยาทที่ควรปฏิบัติ รวมถึงบทสนทนาของกลุ่มคนในอาชีพต่างๆ การติดตั้งและใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการ iOS 1. เข้าไปที่ App Store เพื่อเข้าโปรแกรมติดตั้ง Application. 2. กดไปที่ค้นหา 2. พิมพ์ Echo English ในช่องค้นหา แล้วเลือก Search


หน้า 14 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 3. หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Application ขึ้นมา ให้กด 4. รอติดตั้งจนเสร็จเรียบร้อย แล้วกดไปที่


หน้า 15 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 5. หลังจากนั้นจะเข้าสู่ Application ระบบจะถามการเข้าถึงไมโครโฟน เพื่อใช้งานในบทเรียนการฝึก พูด ให้เรากด ตกลง หลังจากนั้นรอจนระบบติดตั้งการตั้งค่าจะเสร็จสมบูรณ์


หน้า 16 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf การติดตั้งและใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการ Android 1. เข้าไปที่ Google Play Store เพื่อเข้าโปรแกรมติดตั้ง Application 2. กดไปที่ Search bar แล้วพิมพ์ echo English กดที่รูป เพื่อค้นหา Application 3. หลังจากนั้นกดที่ แล้วเลือกติดตั้ง รอจนกว่าจะเสร็จ


หน้า 17 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 3. รอจนติดตั้งเสร็จ แล้วกดไปที่ เพื่อเข้าสู่โปรแกรม หลังจากนั้นรอจนระบบติดตั้งการตั้งค่าเสร็จ สมบูรณ์ ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf การลงทะเบียนเพื่อใช้งาน Application Echo English


หน้า 18 1. เข้าโปรแกรมที่ไอคอน 2. ลงทะเบียนแบบใช้ e-mail 2.1 ลงทะเบียนแบบใช้ e-mail โดยกดที่ หลังจากนั้นให้กรอก e-mail ชื่อ-นามสกุล 2.2 เมื่อกรอกข้อมูลดังกล่าวเรียบร้อยแล้วกด ดาวน์โหลดหลักสูตร ในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาสักหน่อยเมื่อระบบทำการเชื่อต่อบัญชีเรียบร้อยแล้วจะ นำท่านเข้าสู่หน้าบทเรียน ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 3. ลงทะเบียนโดยการเชื่อมต่อ facebook 3.1 ลงทะเบียนแบบ facebook โดยกดที่ 3.2 ซึ่งการลงทะเบียนแบบ facebook จำเป็นต้องมีการติดตั้ง Application facebook และลงชื่อ เข้าใช้งานไว้เรียบร้อยแล้ว 3.3 หลังจากนั้นกดดำเนินการต่อในชื่อ “ชื่อ facebook ของท่าน” (ระบบ iOS) หรือ ดำเนินการต่อ (Android)


หน้า 19 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf การใช้งาน Application Echo English 1. รอระบบทำการเชื่อมต่อบัญชีและดาวน์โหลดหลักสูตร ในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาสักหน่อยเมื่อระบบ ทำการเชื่อมต่อบัญชีเรียบร้อยแล้ว จะนำท่านเข้าสู่หน้าบทเรียน ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf


หน้า 20 2. เลือกบทเรียนที่ต้องการ จะนำท่านมาหน้าเนื้อหาหลักสูตร ให้กด เพื่อทำการดาวน์โหลด เนื้อหาหลักสูตร 3. เมื่อเลือกเนื้อหาระบบจะพาท่านเข้าสู่หน้าดาวน์โหลดเนื้อหา ให้กด ใช่ เพื่อยืนยันหลังจากนั้นรอ ระบบโหลดเนื้อหาจนเสร็จ ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 4. เมื่อดาวน์โหลดเนื้อหาหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว จะขึ้นเนื้อหา ฟัง พุด อ่าน เขียน และทดสอบให้ เรียนรู้


หน้า 21 ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 5. หลังจากนั้นเลือกเรียนหลักสูตรที่ต้องการ สมมติว่าเป็นการฟัง ให้เลือกบทเรียนที่มีรูป แล้ว เรียนจนเสร็จ จะปรากฏผลคะแนนขึ้นมา ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf 6. บทเรียนต่อไปคือการพูด ให้เลือกที่ เพื่อเข้าสู่บทเรียนการฝึกพูด 7. ระบบจะมีการอ่านก่อนให้ท่านฝึกพูดตาม หลังจากระบบพูดเสร็จ


หน้า 22 7.1 ระบบ iOS ให้กด ค้าง เพื่อพูดตาม จะปรากฏคะแนนการพูดขึ้นมา 7.2 ระบบ Android ให้กด แล้วปล่อย เพื่อพูดตาม จะปรากฏคะแนนการพูดขึ้นมา 7.3 หลังจากได้คะแนนจนพึงพอใจแล้วหรือต้องการฝึกพูดในบทต่อไปให้กด เพื่อสู่บทต่อไป ซึ่งบทเรียนการฟัง และการเขียนก็ทำเหมือนกับบทเรียนการพูดนี้ ที่มา: http://sukho.nfe.go.th/e_office/photo/2676_3.pdf


หน้า 23 Memrise การเรียนภาษาต่างประเทศได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากสามารถนำไปต่อยอดให้เกิด ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ส่งผลให้มีผู้ที่สนใจจำนวนมากเสียเงินเรียนต่อกับผู้เชี่ยวชาญภาษานั้นๆ แต่ สำหรับผู้ที่อยากประหยัดเงินก็ยังมีสื่อออนไลน์อย่าง Youtube หรือแอปพลิเคชันมากมายที่สอน ภาษาให้ฟรีๆ ไม่เสียเงิน แต่จะดีกว่าไหมถ้าในแอปฯ เดียวนั้นมีการเรียนภาษามากกว่า 1 ภาษาให้ เลือกเรียน บทความนี้จึงมานำเสนอ Memrise แอปฯ เรียนภาษาต่างประเทศที่มีให้เลือกเรียนมากถึง 22 ภาษา แอปพลิเคชัน Memrise มีภาษาต่างประเทศให้เลือกเรียนมากถึง 22 ภาษาพร้อมกัน เรา สามารถชม Video การออกเสียงจริงจากบทสนทนาของเจ้าของภาษา หลังจากรับชม Video จะมี การทดสอบความรู้ที่ได้ และมีการจัดระดับการเรียนรู้จากง่ายไปยาก ข้อดีของ Memrise 1. เรียนภาษาได้ภายในแอปฯ เดียวกับเจ้าของภาษาได้มากถึง 22 ภาษา 2. เรียนภาษากับเจ้าของภาษาผ่าน Video จากการออกเสียงจริง 3. บทเรียนมีการทดสอบความรู้หลายครั้งให้เราสามารถจำได้ 4. เลือกบทเรียนเองได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนไปทีละ step 5. บทเรียนมีตั้งแต่ระดับเรียนการออกเสียงง่ายๆ ไปจนถึงพูดเป็นประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 6. สามารถกลับมาเรียนในบทเรียนที่เรียนผ่านมาแล้วได้ และทำแบบทดสอบเดิมซ้ำได้ 7. ไม่มีการเก็บคะแนนในการทำแบบทดสอบ ข้อจำกัดที่พบก็คือ - แอป กับเว็บไซต์มีการใช้งานที่ต่างกันนิดหน่อย ถึงแอปจะสะดวกกว่า แต่บนเว็บไซต์จะมีคอร์สให้ เลือกเรียนเยอะกว่ามาก ทั้งภาษา และหมวดอื่น ๆ วิธีติดตั้งและการใช้งาน Memrise


หน้า 24 1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Memrise ลงใน โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการ Android ผ่านทาง Play Store หรือดาวน์โหลดลง ในระบบปฏิบัติการ iOS ผ่านทาง App Store 2. สมัครเข้าใช้งาน Memrise ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX 3. เลือกภาษาที่ต้องการเรียน มี 2 ระดับ คือ Beginner และ Intermediate ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX 4. ชม Video การออกเสียงจริงจากบทสนทนาของ เจ้าของภาษา และตอบคำถามในแบบทดสอบ ความรู้


หน้า 25 ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX 5. เลือกเรียนภาษาอื่นๆ ได้อีก 6. เลือก Daily Goal หรือเป้าหมายรายวัน ในการ เรียนภาษา


หน้า 26 ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX 7. เลือกบทเรียนเองได้ ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX 8. ถ้าต้องการเรียนภาษาคอร์สเรียนต้องเสียเงินเพิ่ม ปีละ 1,800 บาท ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX ที่มา: https://bit.ly/3koKVXX


หน้า 27 BUSUU คืออะไร? Busuu ก็เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่ให้เราเลือกเรียนได้หลายภาษา อีกทั้งยังเริ่มต้นจากระดับ ความสามารถทางภาษาของเราได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพิ่งเริ่มเรียน (ไม่มีความรู้พื้นฐานภาษานั้นๆมา ก่อนเลย) หรือพอจะรู้มาบ้างแล้ว ซึ่งหากเราเลือกอย่างหลัง ก็จะมีแบบทดสอบวัดระดับทางภาษาให้ เราด้วยครับ บทเรียนแต่ละบทก็จะเริ่มจากคำศัพท์ง่าย ๆ เช่นการทักทาย และจะเป็นบทเรียนที่ยาว ขึ้น ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ มีภาพประกอบคำศัพท์ให้เราจดจำ พร้อมทั้งคำถาม Quiz ง่ายๆ ที่น่าสนใจคือ โหมด Conversation ที่ให้เราทดลองพูดประโยคจากคำศัพท์ที่เรียนไป และส่งไปให้เจ้าของภาษา ตรวจสอบได้ เท่ากับว่าเราจะสามารถหาเพื่อนใหม่ไปด้วยในตัว และยังมีเนื้อหาในส่วนของไวยากรณ์ ด้วย แต่ทั้งนี้ก็จะมีข้อจำกัดอยู่บ้างคือ หากเราเริ่มเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งไปแล้ว เราจะไม่สามารถ เรียนภาษาอื่นๆไปพร้อมกันได้ ต้องเรียนภาษาเดียวไปก่อน ยกเว้นว่าจะซื้อเวอร์ชั่นเต็มก็จะสามารถ เรียนได้หลายภาษาและมีอีกหลายฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งาน ทำไมต้องใช้ BUSUU? Busuu เป็นแอปฯ ระดับต้นๆแอปฯหนึ่งในหมวดเรียนภาษาที่มีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญและมี ความหมายแก่ผู้เรียนในหลายด้าน มีลักษระเด่นดังนี้ ใบ Certificate จาก McGraw-Hill Education เมื่อเรียนไปถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระดับชั้น จะมีข้อสอบจาก McGraw-Hill ให้คุณได้ลองสอบเพื่อจะได้วัด ว่าคุณควรผ่านแล้วหรือยัง ถ้าผ่านคุณจะได้ Certificate มา ถ้าคุณทำงานแล้วก็เอาไปใส่ LinkedIn ได้ด้วยนะเออ ครบวงจร ไม่ว่าจะฟัง พูด อ่าน เขียน มีให้หมด บทเรียนหลากหลายแถมมีคนมาคอยตรวจให้อีกต่างหาก สร้างแผนการเรียนของตัวเองได้ คุณสามารถตั้งได้เลยว่าคุณอยากเรียนเพื่ออะไร เรียนเวลาไหน ครั้งละกี่นาที (มากสุด 30 นาที) และ เรียนวันไหนบ้าง เช่น เรียนเพื่อใช้ท่องเที่ยว เรียนเพื่อใช้ในที่ทำงาน เรียนเพื่อช่วยในการเรียน เรียน เอาสนุกและเรียนรู้วัฒนธรรม และพูดคุยทั่วไปกับเพื่อนหรือครอบครัว แอพพลิเคชั่น Busuu มีอะไรน่าสนใจบ้าง 1. มีภาษาให้เลือกเรียนหลากหลายภาษา เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี รัสเซีย ฯลฯ 2. เมนู Complete English การเรียนภาษาอังกฤษมีให้เลือก 3 ระดับ ตั้งแต่ เริ่มต้น (beginner) ปานกลาง (intermediate) สูง (advanced) แต่ละบทเรียนจะมีคำศัพท์ให้ได้ฝึกออกเสียง ประโยค คำพูด และแบบทดสอบในแต่ละคำศัพท์ ยกตัวอย่าง Lesson 1 – Hello คำศัพท์ How’s it going?


หน้า 28 ประโยคตัวอย่าง Hi, How’s it going? แบบทดสอบ How’s it going? มีความหมายเดียวกับ How are you? ถูกหรือผิด คำตอบจะมีคำอธิบายมาด้วย 3. เมนู English Pronunciation ฟัง และฝึกออกเสียงคำศัพท์ที่มีเสียงคล้ายกัน แต่ละคำศัพท์มี ตัวอย่างประโยคมาให้ และแบบทดสอบในแต่ละ Lesson 4. เมนู The World in English ดูวิดีโอจาก The New York Time และทำแบบทดสอบตามความ เข้าใจ 5. เมนู English for Travel เรียนประโยคภาษาอังกฤษในสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ใช้บ่อย และ แบบทดสอบเพื่อความเข้าใจ 6. เมนู London Central เรียนภาษาอังกฤษจากวิดีโอ 10 เรื่อง และทำแบบทดสอบโดยการเขียน และพูดตามเรื่องที่ได้ดู 7. เมนู English for Business ฝึกฟังและออกเสียงคำศัพท์ในสถานที่ทำงาน และทำแบบทดสอบ 8. เมนู The Economist ฝึกอ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ The Economist และทำแบบทดสอบ วิธีการติดตั้งแอปพลิเคชั่น "เรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษด้วย busuu" บน Android ขั้นตอนที่ 1 คุณต้องการ สร้างบัญชี google ขั้นตอนที่ 2 คุณต้องลงชื่อเข้าใช้บัญชีใหม่ของคุณ ขั้นตอนที่ 3 ไปที่ หน้าแอปพลิเคชัน Google Play สำหรับโทรศัพท์ Android ขั้นตอนที่ 4 อ่านเงื่อนไขและคลิก "ติดตั้ง" วิธีการใช้งาน Busuu อันดับแรกเมื่อเปิดแอปเข้ามา แอปจะให้เราเลือกภาษาที่เราต้องการเรียน ซึ่งก็มีภาษาอย่าง หลากหลาย ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712


หน้า 29 จากนั้นก็จะมีการให้เราเลือกพื้นฐานภาษาของเรา ว่าอยู่ในระดับใด เช่น เพิ่งเริ่มเรียน หรือเคยมี พื้นฐานมาบ้างแล้ว หากเรามีพื้นฐานมาบ้างแล้ว แอปก็จะให้เราเลือกว่าเรามีทักษะภาษานั้นๆ อยู่ใน ระดับใด สำหรับคนที่มีพื้นฐานมาแล้ว ก็สามารถทำแบบทดสอบวัดระดับได้เลย โดยแอปจะมี แบบทดสอบต่างๆ ในเวลาจำกัดมาให้เราทำ และหากเราเลือกโหมดสำหรับผู้เริ่มต้น ก็จะมีบทเรียน ต่างๆ ไล่ไป ตั้งแต่บทเรียนที่ง่ายที่สุด เช่น การทักทาย การใช้สรรพนาม ไปจนถึงบนเรียนยากๆ และ ยาวมากขึ้น ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 แต่ละบทเรียนก็จะมีคำศัพท์ ผลัดมาให้เราได้ท่องจำ ซึ่งเราจะสามารถกดฟังคำอ่าน และดูคำแปลได้ ด้วย และข้อดีคือจะมีรูปภาพประกอบด้วย ซึ่งก็ช่วยต่อการจดจำได้ดี ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 ถัดจากหมวดคำศัพท์ ก็จะมีหมวดสนทนาต่อมาทันที โดยนำเอาคำศัพท์ที่เราเรียนมาใช้ในบทสนทนา พร้อมทั้งมีแบบฝึกหัดย่อมๆ ให้เราทำในทันที


หน้า 30 ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 จากนั้นก็จะมีแบบทดสอบรวม หรือ quize มาทดสอบเราอีกรอบในเรื่องของการจำคำศัพท์ โดย ทดสอบทั้งการสะกดคำ ความหมาย และการใช้ในประโยค ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 แอปยังมีฟีเจอร์ Conversation ที่ถือว่าน่าสนใจสุดๆ เพราะแอปจะให้เราลองเขียนหรือพูดประโยคที่ กำหนดให้ (ประโยคที่เราเรียนไปในบทเรียน) และส่งให้เพื่อนในแอปที่เป็นเจ้าของภาษาได้ตรวจทาน เรา ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเราจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษาในแอปด้วย


หน้า 31 ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 ในบทเรียนยังมีไวยากรณ์ที่ใส่มาไว้ในแต่ละบทเรียนด้วย ซึ่งตัวแอปก็อธิบายการใช้ไวยากรณ์ในแต่ละ เรื่องอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 เสน่ห์อีกอย่างของแอป Busuu คงหนีไม่พ้นเรื่องของการมีฟีเจอร์ Social ที่เราสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนกับผู้เรียนภาษาเดียวกันกับเรา รวมถึงเจ้าของภาษานั้นๆ


หน้า 32 ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712 อีกทั้งยังคอยสรุปผลการเรียนให้เราอยู่เสมอ ซึ่งก็ช่วยในการวัดผลการเรียนของเราได้ดี ที่มา: https://www.beartai.com/review/appreview/262712


หน้า 33 English hello-hello English hello-hello เป็นแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกหลายภาษาเช่นเดียวกับ memrise ครับ โดยมีให้ เลือกถึง 11 ภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาสเปน เป็นต้น ส่วนวิธีเรียนก็จะคล้ายกับ Echo คือมีวีดีโอการ์ตูนอนิเมชั่นจำลองสถานการณ์ต่างๆ มีแบบทดสอบให้เราลองหัดพูดตาม แต่ไม่มีระบบ ประเมินเหมือน Echo เราจะต้องเทียบเสียงเอาเอง มีเกมส์เกี่ยวกับคำศัพท์ให้เล่น ในส่วนของการอ่าน นั้นก็จะมีประโยคให้เลือกตอบ และมีเฉลยเป็นเสียงเหมือนระฆังดัง สำหรับแอปพลิเคชัน English Hello-Hello จะเน้นการฝึกภาษาอังกฤษภายในแอปฯ ตัวนี้จะประกอบไปด้วยบทสนทนา ภาษาอังกฤษถึง 30 บทเรียนด้วยกัน ซึ่งแต่ละบทนั้นจะถูกจำลองมาจากสถานการณ์จริงใน ชีวิตประจำวันที่ผู้คนต้องพบเจอกันอยู่บ่อยๆ เช่น การไปชอปปิ้ง เหตุการณ์ในร้านอาหาร การทำ ธุรกรรมในธนาคาร หรือการพูดถึงสิ่งที่เราสนใจ รวมถึงยังมีลูกเล่นโดยการทำเป็นตัวการ์ตูนอันนิเมชัน มีเกมส์ และแบบทดสอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มทักษะทางด้านการพูด การเขียน การอ่าน และการฟังได้ด้วยนั่นเอง นอกจากนี้การใช้แอปพลิเคชันตัวนี้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือต่อไวไฟ จึงทำให้สามารถเข้าถึงแอปฯ ตัวนี้ได้ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง และที่สำคัญเสียงที่ถูกบันทึกใน แอปฯ นี้ เป็นเสียงจากเจ้าของภาษาเองเลยด้วย ดังนั้นผู้เรียนสามารถฟังสำเนียงการออกเสียงที่ ถูกต้องได้ด้วย โดยแอปพลิเคชัน English Hello-Hello เป็นแอปพลิเคชันสำหรับฝึกฝนภาษาอังกฤษ แต่ เป็นการฝึกฝนแบบที่เราจะต้องพูดคุยกับเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติ โดยภายในตัวแอปนั้นเราจะเห็นว่ามี คอนเท้นท์ต่าง ๆ มากมายที่ไม่ใช่แค่การพูดคุยกับชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติเท่านั้น เมื่อเปิดเข้า มาในหน้าแรกของแอปพลิเคชัน เราจะพบกับวีดีโอต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งไลฟ์สดและวีดีโอแบบทั่วไป วีดีโอทั้งหมดเป็นวีดีโอเกี่ยวกับภาษาอังกฤษทั้งสิ้น โดยด้านล่างสุดนั้นจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อย สำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้เป็นหมวดหมู่ก็สามารถที่จะเลือกก่อนที่จะรับชมวีดีโอได้ นอกเหนือจากวีดีโอต่างๆ แล้วนั้น ภายในแอปพลิเคชันนี้เรายังสามารถพูดคุยกับเพื่อน ชาวต่างชาติได้ โดยการพูดคุยแบบโทรคุยทั่วไป และช่องทางการพูดคุยแบบวิดีโอคอล โดยเท่าที่ ผู้เขียนได้ลองใช้งานนั้นก็ได้พบว่าภายในแอปพลิเคชันนี้ผู้ใช้งานส่วนมากจะเป็นชาวอินเดียเกือบ 70% แล้วส่วนใหญ่จะเป็นชาวตะวันออกกลาง น้อยมากที่จะเจอชาวเอเชียหรือยุโรป ซึ่งสำเนียงของชาว อินเดียนั้นค่อนข้างฟังได้ยาก แต่ต้องยอมรับว่าชาวอินเดียนั้นมีสกิลการพูดภาษาอังกฤษที่ล้ำหน้าเรา ไปมาก อาจเพราะว่าประเทศของเขานั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ยังมีช่องแชทสำหรับพูดคุยกับเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติได้อีกด้วยแต่ข้อแนะนำในการ ใช้ก็คือต้องระวังชาวต่างชาติผู้ชายบางคน เพราะส่วนตัวผู้เขียนเคยเจอผู้ชายที่ค่อนข้างหยาบคาย ซึ่ง หากเป็นไปได้นั้นให้เราเลือกเพื่อนที่เป็นผู้หญิงเอาไว้จะดีกว่า ซึ่งการใช้งานนั้นจะค่อนข้างคล้ายกับ Messenger ของ Facebook เราสามารถแชทสนทนาและพูดคุยกับพวกเขาได้ เหมาะสำหรับคนที่ยัง


หน้า 34 ไม่คล่องทางด้านภาษาสักเท่าไหร่ ซึ่งการสนทนาแบบโทรคุยนั้นอาจจะทำให้มีอุปสรรคทางด้านการฟัง เพราะชาวต่างชาติบางคนจะค่อนข้างพูดเร็วและมีคำศัพท์หลายคำที่เราอาจจะฟังไม่ออกเนื่องจาก สำเนียงของเขา นอกจากนี้เรายังสามารถ Follow กันได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อมีคน Follow เรานั้นจะมีการแจ้ง เตือนขึ้นมา สำหรับผู้ที่กำลังฝึกฝนภาษาอังกฤษและต้องการที่จะลงสนามจริงโดยการพูดคุยกับ ชาวต่างชาติ แอปพลิเคชันนี้ถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างดี เพราะภายในแอปใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก ไม่ เปลืองพื้นที่โทรศัพท์ ที่สำคัญระบบการเชื่อมต่อนั้นค่อนข้างดี ไม่มีสะดุดหรือติดขัดแม้ว่าจะโทรข้าม ประเทศก็ตาม คุณสมบัติ: * บทเรียนแบบโต้ตอบได้กว่า 100 ชุด: และฟรี 100% เรียนวิธีการพูดและหลักไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาที่มีประโยชน์ บทเรียนทั้งหมดสามารถเล่นแบบออฟไลน์ได้ * เกมส์อันน่าทึ่ง: แบบฝึกหัดการอ่าน เขียน ฟัง และพูด ที่แสดงผลลัพธ์ได้ทันที และให้เกร็ดความรู้ ทางไวยากรณ์ * สนทนากับคุณครู: สอบถามเกี่ยวกับไวยากรณ์ และความหมายต่างๆ กับคุณครูโดยตรง * ฝึกทักษะด้วยข่าวประจำวัน: เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ การออกเสียง และคำศัพท์ที่ใช้ในข่าว * เกมส์ฝึกการสนทนา: สนทนาในเรื่องประจำวัน โดยการพูดเข้าไปในแอพ เพื่อพัฒนาทักษะการพูด ภาษาอังกฤษ * พจนานุกรมกว่า 10,000 คำ: เรียนคำศัพท์ใหม่ๆ และฟังวิธีการออกเสียง วิธีการติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชัน English Hello-Hello 1. ไปที่ App Store หรือ Google Play แล้วไปที่ค้นหาพิมพ์คำว่า English Hello-Hello ที่มา: https://apps.apple.com/th/app/learn-english-by-hello-hello/id423320493?l=th


หน้า 35 2. กดรับเพื่อดาวน์โหลดแอปฯในการติดตั้ง และกดเปิดเพื่อเข้าใช้งานแอปฯ ที่มา: https://apps.apple.com/th/app/learn-english-by-hello-hello/id423320493?l=th 3. เลือกภาษาที่เราจะเรียน (ภาษาอังกฤษ) ที่มา: https://apps.apple.com/th/app/learn-english-by-hello-hello/id423320493?l=th


Click to View FlipBook Version