The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

4.แบบตรวจติดตาม ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ฉบับรวมไฟล์สมบูรณ์)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by thanapong.12, 2021-01-22 02:15:39

4.แบบตรวจติดตาม ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ฉบับรวมไฟล์สมบูรณ์)

4.แบบตรวจติดตาม ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ฉบับรวมไฟล์สมบูรณ์)

แนวทาง
การตรวจราชการของผตู้ รวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความม่ันคงของมนษุ ย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

โดยสรปุ

โดย กองตรวจราชการ
สำนกั งานปลดั กระทรวงการพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์

แนวทาง
การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยสรปุ

รายละเอยี ด
1. ความเป็นมา วัตถุประสงค์ และขอบเขตการตรวจราชการ
2. คำส่งั กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ 844/2563 เรอื่ ง แผนการตรวจราชการ
ของผตู้ รวจราชการกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
และแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564
3. ประเด็นตามขอ้ สงั่ การรัฐมนตรวี ่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์
แจ้งให้ผู้ตรวจราชการ ดำเนนิ การ ใน 2 ประเด็น ดังนี้
- การประเมนิ คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหนว่ ยงานภาครฐั
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) กระทรวง พม.
- การนำหลกั ธรรมาภบิ าลของการบริหารกจิ การบา้ นเมืองทด่ี ี (Good Governance)
ปรับใช้ในการปฏิบตั ริ าชการ
4. ระยะเวลาการตรวจราชการ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564
5. การรายงานผลการตรวจราชการ ตามแบบรายงานผลการตรวจราชการ
6. บทบาทหนา้ ท่ขี องผทู้ เ่ี กย่ี วข้องในการตรวจราชการ

****************************



แนวทาง

การตรวจราชการของผตู้ รวจราชการกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

1. ความเปน็ มา วตั ถปุ ระสงค์ และขอบเขตการตรวจราชการ

ความเปน็ มา วตั ถุประสงค์ของการตรวจราชการ

ความเป็นมา
การตรวจราชการเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานของ

หน่วยงานภาครัฐบรรลุเป้าหมายสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐและประโยชน์สุขของประชาชน โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงรับผิดชอบและมี
อำนาจหน้าท่ใี นการตรวจราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของหนว่ ยงานของรัฐและเจ้าหนา้ ทีข่ องรฐั ในขอบเขต
อำนาจและหน้าที่ที่กำหนด เพื่อให้การปฏิบัติราชการหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปตาม
เป้าหมาย และแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ รวมถึงมุ่งให้เกิดความคุ้มค่าในการปฏิบัติราชการ และเป็นไปตาม
หลักการบรหิ ารกจิ การบา้ นเมืองที่ดี

วตั ถุประสงค์
การตรวจราชการมีวตั ถปุ ระสงค์ ดงั นี้
1) เพื่อชี้แจง แนะนำ หรือทำความเข้าใจกับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับ

แนวทางและการปฏบิ ัติงานหรือจดั ทำภารกิจตามนโยบายของรฐั บาล และแผนต่าง ๆ ของชาติและของหน่วยงาน
ของรฐั

2) เพื่อตรวจติดตามว่าหน่วยงานของรัฐได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ
ประกาศ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งของนายกรัฐมนตรี และเป็นไปตามความมุ่งหมาย เป้าหมาย และ
ผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดนิ แผน
หรือยทุ ธศาสตรใ์ ด ๆ ทีก่ ำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ หรอื วาระแห่งชาติหรือไม่

3) เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และความคมุ้ ค่าในการปฏบิ ตั ิงานหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานของรฐั

4) เพ่อื สดบั ตรบั ฟังทกุ ข์สุข ความคดิ เห็น และความตอ้ งการของเจ้าหน้าทีข่ องรัฐและประชาชน
5) เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ในพื้นท่ี
(ระเบยี บสำนกั นายกรฐั มนตรี วา่ ด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 หน้า (๒) – (๓))



2. คำสง่ั กระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ ที่ 844/2563 เรื่อง แผนการตรวจราชการ
ของผูต้ รวจราชการกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

และแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

คำสั่งกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย์ ที่ 844/2563

เรอื่ ง แผนการตรวจราชการของผูต้ รวจราชการกระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

การตรวจราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548
ให้ดำเนนิ การตามแผนการตรวจราชการประจำปี ซง่ึ กระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนษุ ย์ ได้กำหนด
แผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ เพือ่ ให้การตรวจราชการเปน็ กลไกสำคัญในการบริหารราชการแผน่ ดนิ และให้การปฏบิ ัตริ าชการเป็นไป
ตามภารกิจของกระทรวงบรรลุเป้าหมาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน และเป็นการดำเนินงานในฐานะ
ผู้สอดส่องดูแลแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และปลัดกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์

กระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ มคี ำสัง่ กระทรวง พม. ท่ี 844/2563 เร่ือง
แผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 สั่ง ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เพื่อให้การตรวจราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประกอบด้วย (๑) การตรวจราชการกรณปี กติ (๒) การตรวจราชการกรณีพิเศษ (๓) การตรวจราชการแบบบูรณการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ (๔) การตรวจราชการตามสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ฉุกเฉิน
หรือสาธารณภัย



แผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

แผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ มีรายละเอยี ด ดงั ตอ่ ไปนี้

๑. การตรวจราชการกรณีปกติ

การตรวจราชการกรณีปกติ เป็นการติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมท้ัง
ประเมินประสิทธภิ าพ ประสิทธผิ ล และความคมุ้ คา่ ในการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนงานกระทรวง พม. และ
ในเรื่องที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565)
กระทรวง พม. แผนงาน/โครงการสำคญั รวมทงั้ การตรวจราชการเชิงลกึ ในเรอ่ื งท่ีเป็นปญั หาหรือประเดน็ ทางสังคม
ท่ีสำคัญในพืน้ ที่ และมีผลกระทบต่อประชาชน รวมถงึ การดำเนนิ งานของหน่วยงานในพื้นท่ี

การตรวจราชการกรณีปกติ ครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ดงั นี้

๑.๑ การเบกิ จ่ายงบประมาณตามมาตรการการคลงั ดา้ นการใช้จา่ ยภาครัฐ

การเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ โดยการติดตาม
ความกา้ วหน้าการเบิกจา่ ยงบประมาณของหน่วยรบั ตรวจ โดยการตดิ ตามความก้าวหน้าในการเบกิ จา่ ยงบประมาณ
มแี นวทาง ดงั นี้

แนวทางการตรวจติดตาม
การติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 1004/19438 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน
2563 เรื่อง มาตรการการคลงั ด้านการใชจ้ ่ายภาครัฐ ได้กล่าวถงึ ว่า เพื่อให้การใช้จา่ ยงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคม
ภายหลงั จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 เหน็ ควรใหห้ นว่ ยรับงบประมาณเรง่ รัด
การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยกำหนด
เป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นรายไตรมาส ที่อ้างอิงจากเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2562 ดังนี้



เปา้ หมายการเบิกจา่ ยงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ไตรมาส (ร้อยละ)

1 รายจ่ายประจำ รายจ่ายลงทนุ ภาพรวม
2
3 36 20 32
4
57 45 54

80 65 77

100 100 100

หมายเหตุ : หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 1004/19438 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563
เรื่อง มาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ นั้น คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน
2563 และลงมติเห็นชอบ รวมถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร0505/ว 534
ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง มาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทราบและถือปฏิบตั ติ อ่ ไป

๑.๒ การพัฒนาศกั ยภาพคนทกุ กล่มุ เป้าหมาย

ประเด็นการตรวจราชการ : การพัฒนาศักยภาพคนทุกกลมุ่ เปา้ หมาย

งาน/โครงการสำคัญ เป้าหมาย ตวั ชีว้ ัด

1. โครงการสง่ เสริม 1. เพอื่ ส่งเสรมิ ความเข้มแข็ง 1. ระดบั ความสำเร็จ

ความเข้มแขง็ ของสภาเด็กและ ของสภาเดก็ และเยาวชน ของการขับเคล่ือนโครงการ

เยาวชน ส่งเสรมิ ความเขม้ แข็ง

ของสภาเดก็ และเยาวชน

2. โครงการผมู้ รี ายไดน้ ้อยในเมือง 2. เพื่อสง่ เสริมใหผ้ ้มู ีรายได้น้อย 2. ระดบั ความสำเร็จ

และชนบทมีความมน่ั คง ในเมืองและชนบทมีความมั่นคง ใน ของการขบั เคล่อื นโครงการ

ในท่อี ยู่อาศัย ด้านทอ่ี ยอู่ าศัย ผู้มีรายไดน้ อ้ ยในเมืองและ

ชนบทมคี วามมน่ั คงในด้าน

ทอ่ี ยู่อาศยั

3. โครงการบา้ นเรา “ก้าว” 3. เพื่อให้ประชาชนท่ีต้องการ 3. ระดบั ความสำเร็จ

ไปดว้ ยกนั (กคช.) มที ีอ่ ยอู่ าศัยเป็นของตนเอง ของการขบั เคล่อื นโครงการ

ไดม้ ที ี่อยู่อาศัย และยกระดับ บ้านเรา “ก้าว” ไปด้วยกัน

คณุ ภาพชีวติ ของประชาชน มงุ่ เนน้



ประเด็นการตรวจราชการ : การพฒั นาศกั ยภาพคนทกุ กลมุ่ เป้าหมาย

งาน/โครงการสำคญั เปา้ หมาย ตวั ช้วี ัด

ส่งเสรมิ และพฒั นาท่อี ยู่อาศัย

สำหรับประชาชน รวมถงึ สนบั สนนุ

ใหป้ ระชาชนมีท่ีอย่อู าศยั ที่ได้

มาตรฐาน

รายละเอียด ดงั นี้

1.2.1 โครงการส่งเสรมิ ความเข้มแข็งสภาเด็กและเยาวชน

กรมกิจการเด็กและเยาวชน สนับสนุนงบประมาณให้แก่สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ เพื่อจัด
กิจกรรมตามบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคม รวมทั้ง ส นับสนุน
เจ้าหนา้ ท่ีและงบประมาณในการขบั เคล่ือนกจิ การสภาเด็กและเยาวชน โดยจดั สรรงบประมาณให้กบั บ้านพักเด็กและ
ครอบครัวจังหวดั

วัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้ 1) เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ
2) เพื่อเสรมิ สร้างความเข้มแขง็ ของสภาเด็กและเยาวชนทกุ ระดับ ใหส้ ามารถจัดกิจกรรมเพ่ือพฒั นาศักยภาพเด็กและ
เยาวชนตามมาตรฐานสภาเด็กและเยาวชน และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม
3) เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และ 4) เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายทุก
ระดบั ทกุ ภาคสว่ น มสี ่วนร่วมในการพัฒนาเดก็ และเยาวชนในพ้นื ท่ี เกิดพื้นทใ่ี นการทำกจิ กรรมทีส่ รา้ งสรรค์

วิธดี ำเนินกจิ กรรม ได้แก่ 1) สง่ เสริมความเข้มแขง็ บทบาทสภาเดก็ และเยาวชน/เครือข่ายเด็กและ
เยาวชน/เครือขา่ ยผู้ปฏิบตั งิ านดา้ นศักยภาพ 2) เสริมสรา้ งความเข้มแขง็ สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ/เครอื ข่ายเด็ก
และเยาวชน/เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน 3) สนับสนุนงบประมาณแก่สภาเด็กและเยาวชนในการ
ทำกจิ กรรมทีส่ ร้างสรรคใ์ นทกุ ระดับ และ 4) นเิ ทศ/ติดตามการดำเนนิ งานของสภาเด็กและเยาวชน

ผลผลิต คือ 1) สมาชกิ สภาเด็กและเยาวชน สามารถเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมด้านการพัฒนา
เด็กและเยาวชนทุกระดับ รวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ และ 2) ภาคีเครือข่าย/เครือข่าย
เด็กและเยาวชนมีส่วนรว่ มในการดำเนินกจิ กรรมเพ่ือการพฒั นาเด็กและเยาวชน

ผลลพั ธ์ ได้แก่ 1) สภาเดก็ และเยาวชนทุกระดับ มีการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาเดก็ และเยาวชน
ในพ้นื ที่ 2) เกดิ การเชือ่ มโยงเครือข่ายกลุ่มเยาวชนในทุกระดับทว่ั ประเทศ 3) ภาคเี ครอื ขา่ ยมีสว่ นร่วมในการพัฒนาเด็ก
และเยาวชน และ 4) สภาเด็กและเยาวชนทกุ ระดบั มีความเข้มแขง็ ตามมาตรฐานสภาเดก็ และเยาวชน



1.2.2 การขบั เคล่อื นการเนนิ งานสง่ เสรมิ ให้ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคง
ในด้านทีอ่ ยู่อาศยั ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

โครงการผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย จำนวน 23,195 ครัวเรือน
จำนวน 1,336.1300 ลา้ นบาท ประกอบดว้ ย

1) บ้านม่ันคง จำนวน 6,200 ครัวเรือน จำนวน 556.7600 ล้านบาท (การพัฒนาระบบ
สาธารณูปโภคและอุดหนนุ ท่อี ยูอ่ าศยั )

2) บ้านพอเพียงชนบท จำนวน 15,000 ครัวเรือน จำนวน 337.5000 ล้านบาท (การซ่อมแซม/
ปรับปรงุ /ตอ่ เติม/สรา้ งใหม่)

3) ที่อย่อู าศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร จำนวน 995 ครวั เรอื น จำนวน 423.8700 ลา้ นบาท
4) ทอี่ ย่อู าศัยชั่วคราว กรณไี ฟไหม้ ไล่รือ้ จำนวน 1,000 ครัวเรือน จำนวน 18.0000 ล้านบาท
(ที่มา : โครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), เอกสาร
ประกอบการประชุมการมอบนโยบายกระทรวง พม. ระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ โรงแรม
รามาการ์เดน้ ส์ กรงุ เทพฯ)

1.2.3 โครงการบ้านเรา “ก้าว” ไปด้วยกัน

“โครงการบ้านเราก้าวไปด้วยกัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัย

เป็นของตนเองได้มีที่อยู่อาศัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งเน้น ส่งเสริม และพัฒนาที่อยู่อาศัย

สำหรบั ประชาชน รวมถงึ สนับสนุนให้ประชาชนมีท่อี ย่อู าศัยที่ไดม้ าตรฐาน

โครงการบา้ นเราก้าวไปด้วยกนั กำหนดทางเลือกของการมีทอี่ ยู่อาศัยใน 3 ประเภท ดังน้ี

1) เช่าราคาพิเศษ (เรม่ิ ตน้ 999 บาท/เดอื น)

1.1) กำหนดกรอบระยะเวลาการทำสัญญาเช่ากับการเคหะแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 1 ปี

นับจากวันท่ีสง่ มอบอาคาร

1.2) กำหนดอัตราเช่าปที ี่ 1 ดงั นี้

1.2.1) อาคารแนวราบ (บ้านแฝด 2 ชั้น, บ้านเดี่ยว 2 ชั้น) อัตราค่าเช่า 1,200

บาท/หนว่ ย/เดือน

1.2.2) อาคารชดุ 4 – 5 ช้ัน กำหนด ดงั น้ี

· ชนั้ 1 – 2 อัตราค่าเช่า 1,200 บาท/หน่วย/เดอื น

· ชน้ั 3 – 4 อตั ราคา่ เชา่ 999 บาท/หนว่ ย/เดือน

1.2.3) โครงการบ้านพระราม 4 อัตราคา่ เช่า 2,750 – 3,000บาท/หน่วย/

เดอื น



1.3) กำหนดใหช้ ำระค่าเชา่ ลว่ งหน้า 1 เดือน ในวันทำสญั ญา
1.4) เมื่อครบกำหนดสัญญาเชา่ ตามข้อ 1.2 กรณีผเู้ ชา่ แจ้งความประสงค์ต่อสญั ญา กำหนด
อตั ราค่าเชา่ และคา่ ใชจ้ ่ายตา่ ง ๆ ทผี่ ู้เชา่ ต้องรับผิดชอบ ดังน้ี

1.4.1) โครงการอาคารเช่า ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป กำหนดอัตราค่าเช่าตามประกาศ
ของการเคหะแห่งชาติ

1.4.2) โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการเคหะชุมชนที่นำมาให้เช่า กำหนด
เง่อื นไขการเช่าตั้งแต่ปที ี่ 2 เปน็ ตน้ ไป ดังนี้

· ปที ่ี 2 ปรับคา่ เช่าเพ่ิมข้ึนจากปีท่ี 1 ในอัตรารอ้ ยละ 5
· ปีท่ี 3 เปน็ ต้นไป ปรบเพม่ิ ข้นึ ทุกปใี นอตั รา ร้อยละ 15
1.5) โครงการบ้านเอื้ออาทร และโครงการเคหะชุมชน กรณีผู้เช่าแจ้งความประสงค์ขอซื้อ
ภายใน 1 ปี นับจากวันสง่ มอบอาคาร กำหนดราคาขายตามประกาศการเคหะแห่งชาติ ทง้ั นี้ ตอ้ งไม่มีหนี้ค้างชำระ
คา่ เชา่ และตอ้ งเป็นบุคคลเดียวกับท่รี ะบุในสัญญาเชา่
2) ขายโปรโมชน่ั พเิ ศษ
2.1) กำหนดราคาขาย 250,000 – 450,000 บาท/หน่วย
2.2) ชำระเงินจองในวันทำสัญญา 1,000 บาท/หนว่ ย
2.3) กำหนดให้ลูกค้ายื่นขอสินเชื่อจากสถาบนั การเงินเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ กรณีไม่ผ่านการ
อนมุ ัตสิ ินเชื่อจากสถาบันการเงิน ใหท้ ำสัญญาเช่าซ้ือกับการเคหะแห่งชาติ ในเบ้อื งต้นกำหนดกรอบระยะเวลา 5 ปี
2.4) ฟรีค่าเหล็กดัดมุ้งลวด สำหรับลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดเฉพาะชั้น 4 – 5 โดยการเคหะ
แห่งชาติจะสนบั สนนุ ค่าเหลก็ ดัดมุ้งลวด ดงั น้ี
2.4.1) อาคารชุด 24 ตารางเมตร สนบั สนนุ ค่าใช้จา่ ย10,000บาท/หน่วย
2.4.2) อาคารชดุ 30 – 38.4 ตารางเมตร สนับสนนุ ค่าใช้จา่ ย 12,000
บาท/หน่วย
2.5) ฟรีคา่ ธรรมเนยี มการโอนกรรมสทิ ธิ์
3) เชา่ ซอ้ื กับการเคหะแห่งชาติ (ดอกเบีย้ ๐ %)
3.1) ราคาขายปจั จบุ นั ตามท่กี ารเคหะแห่งชาติประกาศ
3.2) ชำระเงนิ จองในวนั ทำสญั ญา 1,000 บาท/หน่วย
3.3) ฟรีค่าเหล็กดัดมุ้งลวด สำหรับลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดเฉพาะชั้น 4 – 5 โดยการเคหะ
แหง่ ชาตจิ ะสนับสนุนค่าเหล็กดดั มงุ้ ลวด ดังน้ี
3.4.1) อาคารชุด 24 ตารางเมตร สนบั สนุนคา่ ใช้จ่าย10,000บาท/หนว่ ย
3.4.2) อาคารชุด 30 – 38.4 ตารางเมตร สนบั สนนุ คา่ ใชจ้ ่าย 12,000
บาท/หน่วย
3.4) ฟรีคา่ ธรรมเนยี มการโอนกรรมสทิ ธิ์



1.3 การบูรณาการเพ่ือสง่ มอบงานบริการสังคม

ประเด็นการตรวจราชการ : การบรู ณาการเพอ่ื ส่งมอบงานบรกิ ารสังคม

งาน/โครงการสำคญั เป้าหมาย ตัวชี้วัด

1. การขับเคลื่อนแผนป้องกนั และ 1. มีการขับเคลอ่ื นแผนป้องกัน 1. ระดบั ความสำเรจ็ ในการ

ปราบปรามการคา้ มนุษยข์ อง และปราบปรามการค้ามนุษย์ของ ขบั เคลอ่ื นแผนปอ้ งกันและ

จงั หวัด จงั หวดั ปราบปรามการค้ามนุษย์

ของจงั หวดั

2. การขับเคลือ่ นการดำเนินงาน 2. เกิดการขับเคล่ือนการ 2. ระดับความสำเรจ็

ทีม พม.จังหวดั (One Home) ดำเนนิ งานทีม พม.จังหวดั (One ในการขับเคล่อื นการดำเนนิ งาน

เพอื่ ให้เกิดการ Home) เพ่ือใหเ้ กดิ การ ทีม พม.จงั หวัด (One Home)

บูรณาการในการสง่ มอบงาน บรู ณาการในการสง่ มอบงาน

บรกิ ารสงั คม บรกิ ารสงั คม

3. การชว่ ยเหลอื คุ้มครอง 3. เกดิ การขบั เคลื่อนการ 3. ระดบั ความสำเรจ็ ของการ

ผถู้ กู กระทำความรนุ แรง ช่วยเหลอื คุ้มครองผู้ถูกกระทำ ชว่ ยเหลือคุ้มครองผู้ถกู กระทำ

ในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครวั

รายละเอยี ด ดงั นี้

1.3.1 การขบั เคลอื่ นแผนปอ้ งกนั และปราบปรามการคา้ มนุษย์ของจงั หวดั

คำอธิบาย :
๑. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) บูรณาการความร่วมมือกับ

หน่วยงาน ทเ่ี กย่ี วข้องเพอ่ื วิเคราะหแ์ ละจดั ทำรายงานสถานการณ์การค้ามนษุ ย์ของจงั หวัด ประจำป๒ี ๕๖๓ จำนวน ๑
ฉบับ เสนอต่อคณะอนุกรรมการ ศปคม.จังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและใช้เป็นข้อมูลประกอบการวาง
แผนการจัดทำแผนปฏิบัตกิ ารในระดบั จังหวัด

๒. พมจ. บรู ณาการความร่วมมือกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องในจังหวดั เพ่อื จดั ทำแผนปฏิบัติการเพื่อ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด ประจำปี ๒๕๖๔ และแผนงาน/โครงการที่ต้องขอรับการสนับสนุน
งบประมาณจากกองทุนป้องกนั และปราบปรามการค้ามนุษย์ จำนวน ๑ ฉบับ ท้งั น้ี เพือ่ ใหห้ นว่ ยงานที่เก่ียวข้องใน
จังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนนิ งานป้องกนั และปราบปรามการคา้ มนษุ ย์ของจงั หวัด

๓. พมจ. ดำเนินการโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์จังหวัด ประจำปี ๒๕๖๔ (ในส่วนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี ๒๕๖๔ จากกองต่อต้านการค้า



มนุษย์)จำนวน ๓ โครงการ/กิจกรรม พร้อมทั้งสรุปรายงานการประชุม หรือรายงานผลการดำเนินโครงการ และ

รวบรวมส่งให้กองต่อตา้ นการค้ามนษุ ย์ ทราบด้วย (ภายในวนั ที่ ๕ ตลุ าคม ๒๕๖๔) ได้แก่

๓.๑ จัดประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด

(ศปคม.จังหวัด) โดยจัดสรรงบประมาณตามระดับสถานการณ์การคา้ มนุษย์ในพืน้ ท่ี แบ่งเป็น ๔ กลุ่มจังหวัด ดงั นี้

กลมุ่ A (เฝ้าระวงั เป็นพิเศษ) จำนวน ๗ จงั หวดั ดำเนินการ ๕ คร้งั

กลุ่ม B (เฝ้าระวงั ) จำนวน ๑๖ จงั หวัด ดำเนินการ ๔ ครงั้

กลมุ่ C (เลก็ นอ้ ย) จำนวน ๑๒ จงั หวัด ดำเนนิ การ ๓ ครั้ง

กลมุ่ D (ปกต)ิ จำนวน ๓๒ จงั หวดั ดำเนนิ การ ๒ คร้งั

(ระยะเวลาดำเนนิ การ : พฤศจกิ ายน ๒๕๖๓ – กนั ยายน ๒๕๖๔)

๓.๒ โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภาคประชาสงั คมเพ่ือเปน็ ผู้เฝ้าระวังทาง

สังคมด้านการตอ่ ตา้ นการคา้ มนุษย์ จำนวน ๑ ร่นุ

(ระยะเวลาดำเนินการ : พฤศจิกายน ๒๕๖๓ – มนี าคม ๒๕๖๔)

๓.๓ โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ระดับ

พน้ื ที่ จำนวน ๑ ร่นุ

(ระยะเวลาดำเนินการ : เมษายน ๒๕๖๔ – สงิ หาคม ๒๕๖๔)

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์”

1.3.2 การขบั เคลอื่ นการดำเนนิ งานทีม พม. จังหวัด (One Home)
เพอ่ื ให้เกดิ การบูรณาการในการสง่ มอบบรกิ ารสังคม

คำอธบิ าย :
๑. ทีม พม.จังหวัด (One Home) หมายถึง คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานทีม พม. จังหวัด

(One Home) หมายถงึ คณะทำงานท่มี ีองค์ประกอบ ดังน้ี ผู้อำนวยการสำนกั งานส่งเสรมิ และสนับสนุนวชิ าการ เป็นท่ี
ปรึกษาและคณะทำงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวง
พม.ทุกหน่วย(รวม พอช.และกคช.) เป็นคณะทำงาน โฆษก พม. ประจำจังหวัด และหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย ในสนง.พมจ.
ที่ได้รับมอบหมายเป็นคณะทำงานและเลขานุการ เจ้าหน้าท่ี สนง.พมจ.เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าท่ี
กำหนดกรอบและแนวทางการดำเนนิ งาน กำกับติดตามใหม้ ีการบูรณาการการดำเนนิ งาน

๑๐

๒. การขับเคลื่อนการดำเนินงานทีม พม.จังหวัด หมายถึง การดำเนินงานที่มีการบูรณาการการ
ทำงานร่วมกันของหน่วยงานและเครือข่าย ประกอบด้วย มิติที่ ๑ ปัจจัยนำเข้า (โครงสร้างทีม พม.จังหวัด/ฐานข้อมูล
ทรัพยากร) มิติที่ ๒ กระบวนการ(การบูรณาการทรัพยากร/การสื่อสาร/การกำกับติดตาม) มิติที่ ๓ วัฒนธรรมการ
ทำงานเป็นทีม(การทำงานเป็นทีม/ความสัมพันธ์ของทีม) และมิติที่ ๔ ผลผลิต/ผลลัพธ์(แผนปฏิบัติการระดับจังหวัด/
ส่งเสรมิ สนบั สนนุ /ประสานการช่วยเหลอื ผูป้ ระสบปญั หา)

๓. งาน/โครงการ/กิจกรรม หมายถึง ภารกิจที่ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประจำปี
งบประมาณ อำนาจหนา้ ท่ี และทไ่ี ดร้ ับมอบหมาย

1.3.3 ระดับความสำเรจ็ ของการช่วยเหลอื คุ้มครองผถู้ กู กระทำความรุนแรงในครอบครวั

คำอธิบาย :

1. ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยมุงประสงคใหเกิดอันตราย
แก่รา่ งกาย จิตใจ หรอื สุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะท่ีนาจะกอใหเกิดอันตรายแกรงกาย จิตใจ หรือ
สุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมใหบุคคในครอบครัว
ตองกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่ รวมถึงการกระทำ
โดยประมาท

2. ผู้ถกู กระทำความรุนแรงในครอบครวั หมายถึงบคุ คลในครอบครวั (คูสมรส คูสมรสเดมิ ผูท้ อ่ี ยู่
กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคล
ใด ๆ ทีต่ องพึ่งพาอาศยั และอยู่ในครัวเรือนเดยี วกัน) ทถี่ กู กระทำดว้ ยความรุนแรงโดยบุคคลในครอบครัวเดยี วกัน

3. การช่วยเหลือคุ้มครอง หมายถึง การคัดกรองสภาพปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเข้าสู่
กระบวนการให้ความช่วยเหลือคุ้มครอง (โดยสร้างความเขา้ ใจเกีย่ วกบั สทิ ธติ ามพระราชบัญญัตคิ ุ้มครองผถู้ กู กระทำ
ดว้ ยความรนุ แรงในครอบครัว พ.ศ. 2550)

4. บันทึกข้อมูล ลงระบบในเว็บไซต์ www.violence.in.th หมายถึง บันทึกข้อมูลพื้นฐานของ
ผ้ถู กู กระทำความรนุ แรงในครอบครัว สภาพปญั หา และกระบวนการใหค้ วามคุม้ ครอง

5. การติดตาม หมายถึง การติดตามผลหลังจากที่ได้ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วย
ความรุนแรงในครอบครัว ทรี่ ับแจ้งในช่วงเดือนตุลาคม 2563 –สงิ หาคม 2564 ทางวิธีการตา่ ง ๆ เช่น สอบถาม
ทางโทรศัพท์ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน สอบถามญาติ/เพื่อนบ้าน/คนในชุมชน เป็นต้น โดยกำหนดรอบการตดิ ตาม อย่าง
นอ้ ย 1 ครั้งตอ่ case

๑๑

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนษุ ย์”

1.4 การส่งเสรมิ และพฒั นาเครือข่าย

ประเดน็ การตรวจราชการ : การส่งเสรมิ และพัฒนาเครือข่าย

งาน/โครงการสำคัญ เป้าหมาย ตวั ช้วี ัด

1. การขับเคลอ่ื นงานอาสาสมัคร 1. การส่งเสรมิ และพัฒนา 1. รอ้ ยละผู้สมัครอาสาสมัครพัฒนา

พัฒนาสังคมและความมน่ั คงของ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความ สังคมและความม่ันคงของมนุษย์ใหม่

มนษุ ย์ มั่นคงของมนุษย์ เพื่อเปน็ กลไก

การขบั เคล่ือนการพัฒนาสงั คม

2. การขับเคลอ่ื นศูนยส์ ่งเสริม 2. การสง่ เสรมิ ความรบั ผดิ ชอบ 2. ระดบั ความสำเรจ็ ของการส่งเสรมิ

ความรับผิดชอบต่อสังคม ตอ่ สงั คมของภาคธรุ กิจระดับ ความรบั ผิดชอบ

ของภาคธุรกจิ ระดบั จงั หวดั จังหวดั เพ่ือมีสว่ นร่วมรับผดิ ชอบ ต่อสงั คมของภาคธรุ กจิ ระดบั จงั หวัด

ตอ่ สงั คมเชงิ บูรณาการ และเกิด

การจัดสวสั ดกิ ารสังคมแก่

กลุ่มเป้าหมาย

3. การเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพ 3. การเสริมสร้างศักยภาพ 3. ระดับความสำเร็จของการ

ศูนย์พฒั นาคุณภาพชีวิตและ ศูนยพ์ ัฒนาคุณภาพชวี ติ และ เสรมิ สรา้ งศกั ยภาพ

สง่ เสรมิ อาชีพผสู้ งู อายุ (ศพอส.) ส่งเสริมอาชีพผู้สงู อายุ ศูนย์พฒั นาคุณภาพชวี ติ และส่งเสรมิ

อาชีพผสู้ ูงอายุ (ศพอส.)

4. การขับเคลือ่ นการดำเนินงาน 4. เกิดการขบั เคล่ือนการ 4. ระดบั ความสำเร็จของการ

คมุ้ ครองเด็กระดบั จังหวัด ดำเนินงานค้มุ ครองเด็กระดบั ขับเคลือ่ นการดำเนินงานคุ้มครองเด็ก

จงั หวัด ระดับจงั หวดั

5. การขบั เคล่อื นงานด้านการ 5. คนพกิ ารไดร้ ับการสง่ เสรมิ และ 5. ระดบั ความสำเร็จของการ

ส่งเสรมิ และพฒั นาคุณภาพชวี ิต พัฒนาคุณภาพชวี ิต ขับเคลอ่ื นงานด้านการส่งเสริมและ

คนพิการผา่ นกลไกการประชุม พัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการผ่านกลไก

คณะอนกุ รรมการสง่ เสรมิ และ การประชมุ คณะอนุกรรมการส่งเสริม

พฒั นาคณุ ภาพชวี ติ คนพิการ และพัฒนาคุณภาพชวี ติ คนพิการ

ประจำจงั หวดั ประจำจังหวดั

๑๒

รายละเอียด ดงั น้ี
1.4.1 รอ้ ยละผู้สมคั รอาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ใหม่

คำอธบิ าย :

· ผู้สมคั รอาสาสมคั รพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์ใหม่ หมายถงึ บคุ คลที่มีจิตอาสาและ
สมัครเข้ารับการอบรม เพื่อเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) โดยการสมัครด้วย
ตนเอง ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์จังหวัด หรือสมัครออนไลน์ และผ่านการพิจารณา
คุณสมบัติของ อพม. (เป้าหมายตามนโยบาย รมว.พม. จำนวน 460,409 คน โดยใช้วิธีกำหนดเป้าหมาย 2 วิธี
คือ 1) อพม. 1 คน : 40 ครัวเรือนซงึ่ ใช้วิธกี ำหนดเป้าหมายดังกลา่ ว จำนวน 70 จังหวดั และ 2) หมู่บ้าน/ชุมชน
: อพม. 10 คนซึ่งใช้วิธีกำหนดเป้าหมายดังกล่าว จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรปราการ ชลบุรี และขอนแก่น ทั้งนี้ เป้าหมาย อพม. สำหรับสำนักงาน พมจ. 76 จังหวัด ไม่รวม กรุงเทพฯ
คดิ เปน็ จำนวน 452,236 คน)

· คุณสมบัติของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้ 1) มีสัญชาติไทย
2) มอี ายุตง้ั แต่สิบแปดปีบรบิ ูรณ์ข้ึนไป 3)มชี ่อื ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในจงั หวัดท่ีประสงค์จะเป็นอาสาสมัคร
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่น้อยกว่าหกเดือน 4) มีความรู้ในขั้นสามารถอ่านออกเขียนได้
5) เป็นบุคคลที่สมัครใจเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ด้วยความเต็มใจ 6) มีความซื่อสัตย์สุจริตมีคุณธรรมและความประพฤติดี 7) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
8) เปน็ ผู้มคี วามจงรกั ภักดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 9)เป็นผมู้ ีเวลาใหก้ ับการทำงานในบทบาท อพม.

· การพัฒนาศักยภาพ อพม. หมายถึง การที่ผู้สมัคร อพม. เข้าฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1
วันเพื่อพัฒนาทักษะและเทคนิคในการปฏิบัติงานของ อพม. (ทั้งนี้ ต้องเรียนในระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง อพม.
(E-Learning) จำนวน 5 บทเรียน ประกอบด้วย 1) เรื่องสถานการณ์ทางสังคม 2) เรื่องแนวคิดและอุดมการณ์
อพม. 3) เรื่องกฎหมายและสิทธิประชาชน 4) เรื่องแนวคิดการพัฒนาสังคม 5) เรื่องการจัดสวัสดิการสังคมและ
ชมุ ชน โดยตอ้ งได้คะแนนการประเมินบทเรยี นออนไลน์ ไม่ต่ำกวา่ ร้อยละ 70) หรือ ผูส้ มัคร อพม. เรยี นผ่านระบบ
เรียนรู้ด้วยตนเอง อพม. (E-Learning) จำนวน 10 บทเรียน ประกอบด้วย 1) เรื่องสถานการณ์ทางสังคม
2) เรื่องแนวคิดและอุดมการณ์ อพม. 3) เรื่องกฎหมายและสิทธิประชาชน 4) เรื่องแนวคิดการพัฒนาสังคม
5) เรื่องการจดั สวสั ดิการสงั คมและชุมชน 6) เรื่องการศกึ ษาและวิเคราะหช์ ุมชน 7) เรื่องเทคนคิ การเฝ้าระวังและ
เตือนภัยทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 8) เรื่องการสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ 9) เรื่องการจัดทำแผนงาน/โครงการ และ 10) เรื่องเทคนิคการถอดบทเรียนการทำงาน
ของ อพม. และการเขียนรายงาน โดยต้องได้คะแนนการประเมินบทเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70 และ
จะไดร้ ับประกาศนียบตั ร ขนึ้ ทะเบียน และออกบัตร อพม.

๑๓

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัตริ าชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนษุ ย์”

1.4.2 ระดบั ความสำเรจ็ การสง่ เสรมิ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธรุ กิจระดบั จังหวัด

คำอธิบาย :
การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) หมายถึง การส่งเสริมให้ภาคธรุ กิจ

มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคมและ
สงิ่ แวดลอ้ มทัง้ ภายในและภายนอกองค์กรอนั นำไปสู่การพฒั นาที่ย่งั ยืน

การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจังหวัด หมายถึง การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ
ในจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานขับเคลื่อนงานของศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ
จังหวัดและดำเนินกิจกรรมภายใต้หลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม ทง้ั ภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสกู่ ารพัฒนาทีย่ ั่งยืน

การเชิญชวนองค์กรภาคธุรกิจเข้าร่วมในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการส่งเสริมความ
รับผิดชอบต่อสังคมของภาคธรุ กิจ หมายถงึ การประชาสัมพันธเ์ พื่อเชิญชวนผู้แทนองค์กรภาคธรุ กจิ ภายในจังหวัด
ที่สนใจเข้าร่วมเป็นคณะทำงานฯ เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจใน
จงั หวัดด้วยวธิ กี ารต่าง ๆ อาทิ หนังสอื เชญิ ชวน Info-graphic Facebook Line เปน็ ตน้

แผนปฏิบัติการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจังหวัด อย่างน้อยจะต้องประกอบ
ไปด้วยประเด็น ดังต่อไปนี้ 1) แผนงาน 2) โครงการ/กิจกรรม 3) เป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม 4) ระยะเวลา
ในการดำเนนิ การ 5) ผู้รบั ผิดชอบ 6) ทนุ /งบประมาณ 7) แหล่งท่ีมาของทุน/งบประมาณ 8) ตวั ช้ีวัด เปน็ ตน้

การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ หมายถึง การจัดตั้งศูนย์ฯ
เพื่อเปน็ กลไกในการขับเคล่ือนการสง่ เสรมิ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธรกจิ ทุกจังหวัด เพ่ือสนับสนุนให้ภาค
ธุรกิจมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบูรณาการ ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมให้กับ
กลุ่มเป้าหมาย รวมถงึ เปน็ ช่องทางให้ผแู้ ทนองค์กรภาคธุรกิจ และหน่วยงานอนื่ ๆ ไดแ้ ลกเปล่ยี นเรียนรู้รว่ มกนั

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัตริ าชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พฒั นาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย์”

๑๔

1.4.3 ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างศักยภาพ
ศูนยพ์ ฒั นาคุณภาพชวี ิตและสง่ เสริมอาชพี ผู้สูงอายุ (ศพอส.)

คำอธิบาย :

ศพอส. เป็นการจดั สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนรูปแบบหนึ่ง ดำเนินการภายใต้แนวคดิ
“ร่วมแรง ร่วมใจ ผู้สูงวัยกายใจเบิกบาน” โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ แกนนำ อาสาสมัคร
ชุมชน องค์กรเครือข่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ฯ โดยมี อปท. ให้การ
หนุนเสริม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่รวมกลุ่มในการจัดกิจกรรมและบริการที่ครอบคลุมทุกมิติทางด้านสุขภาพ
สังคม จิตใจ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจ ที่เน้นการสร้างรายได้และการมีงานทำที่เหมาะสมสำหรับ
ผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับการจัดบริการและสวัสดิการทางสังคมในการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผสู้ งู อายแุ บบครบวงจร สามารถตอบสนองปญั หาและความตอ้ งการของผู้สูงอายุและชุมชนได้

1.4.4 ระดับความสำเร็จของการขบั เคลอื่ นการดำเนนิ งานคุ้มครองเดก็ ระดบั จงั หวดั

คำอธิบาย :
คณะกรรมการคุ้มครองเดก็ จงั หวดั หมายถึง คณะกรรมการตามมาตรา ๑๗ แห่ง พ.ร.บ.คมุ้ ครอง

เด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับ
มอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ อัยการจังหวัด พัฒนาการจังหวัด แรงงานจังหวัด
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทนศาลเยาวชน
และครอบครวั จังหวัด หรือผู้แทนศาลจังหวัด ในกรณีท่จี งั หวดั นั้นไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้แทนสถานพินิจ
และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด หรือผู้แทนกระทรวงยุติธรรมซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการในจังหวัดในกรณี
ที่จังหวัดนั้นไม่มีสถานพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ว่า
ราชการจังหวัดแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครูจิตวิทยา
กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคนและแต่งตั้ง
จากผ้มู ีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีกสองคน โดยมีพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นกรรมการ
และเลขานกุ าร มีอำนาจและหน้าทตี่ ามมาตรา ๒๐ ไดแ้ ก่

๑. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณ และ
มาตรการในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
พ.ศ. ๒๕๔๖

๒. ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้าน
การศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบในสถานรับ
เลี้ยงเด็กสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจ หรือสถานท่ี

๑๕

ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กของรัฐและเอกชนภายในเขต
จังหวัด

๓. กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คมุ้ ครองสวสั ดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กใน
เขตจังหวดั

๔. จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในเขต
จังหวัด และรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุนและการจัดการทุนต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
แหง่ ชาติและคณะกรรมการบรหิ ารกองทุนคุ้มครองเด็ก

๕. ตรวจสอบหรอื เรยี กบคุ คลทเ่ี ก่ียวข้องมาช้ีแจงกรณมี กี ารปฏิบัตติ ่อเด็กโดยมิชอบ
๖. เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ หรือขอคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการ
วนิ ิจฉัยในการปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ีตามพระราชบญั ญัตินี้
๗. ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์ และส่งเสริม
ความประพฤตเิ ด็กในระดบั จงั หวัด แลว้ รายงานผลต่อคณะกรรมการคมุ้ ครองเด็กแห่งชาติ
๘. ดำเนินการอื่นใดตามท่ีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาตมิ อบหมาย
ฐานข้อมูลด้านการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัดหมายถึง ข้อมูลเด็ก ครอบครัว การดำเนินงานด้าน
การคุ้มครองเด็ก รวมถงึ ข้อมูลอื่น ๆทเ่ี กยี่ วข้องกับการจัดบริการเพ่ือการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด ที่มีการรวบรวม
จากหน่วยงานทีเ่ ก่ยี วข้อง และจดั เก็บในรูปแบบเอกสารหรือไฟลเ์ อกสารอิเล็กทรอนิกส์
รายงานสถานการณด์ า้ นการคมุ้ ครองเด็กระดับจังหวัด หมายถึง รายงานสภาพปัญหาเด็กของ
จังหวัดที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
เรง่ ดว่ นโดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดเหน็ ควร ใหด้ ำเนินการปอ้ งกันและแก้ไขปญั หา
นโยบาย/แนวทางการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็กของจังหวัด หมายถึง นโยบาย
แผนงาน แนวทาง มาตรการด้านการคุ้มครองเด็ก ซึ่งกำหนดเป็นแนวทาง ในการดำเนินงานของหน่วยงาน
ทเ่ี กีย่ วข้อง เพื่อปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหาตามสถานการณป์ ญั หาเด็กท่ีมีความสำคัญและเร่งดว่ นของจังหวดั
ตัวชี้วัดในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
หมายถงึ ตวั ชี้วัดในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดและคณะกรรมการ
คุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร ประจำปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ในการประชุม
คณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
จังหวัดและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน และรายงานการ
ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวช้ีวดั ให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติทราบ
แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนงานตามตัวชี้วัดในการติดตามและรายงานผล
การดำเนนิ งานคณะกรรมการคุม้ ครองเด็กจังหวดั หมายถึง แนวทางการดำเนินงานรว่ มกันของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการ
ค้มุ ครองเด็กจังหวัดและคณะกรรมการค้มุ ครองเดก็ กรงุ เทพมหานคร ประจำปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕
การเสนอวาระเรื่องเพื่อพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
อยา่ งนอ้ ย ๑ เรือ่ ง จากประเดน็ ทีก่ ำหนด ไดแ้ ก่
๑) มาตรการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการคุ้มครองเด็ก
ของจงั หวดั

๑๖

๒) ปัญหาการดำเนินงานคุ้มครองเด็กที่พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ หรือหน่วยงานในจังหวัด
ไมส่ ามารถดำเนนิ การได้

๓) ปัญหาเก่ยี วกบั การบรหิ ารจดั การทรัพยากรเพ่ือใช้ในการจดั บริการให้แกเ่ ด็ก
๔) การกำหนดพนื้ ท/่ี กจิ กรรมท่ีทำให้เกิดกจิ กรรมรว่ มกันระหว่างเดก็ กบั ครอบครัว
แผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองเด็กของจังหวัด หมายถึง แผนการดำเนินงานร่วมกัน
ของหนว่ ยงานทเี่ กย่ี วขอ้ งเพือ่ การคุม้ ครองเด็ก ซึ่งประกอบขอ้ มลู ด้วย ๒ ส่วน คือ
๑) นโยบาย/แนวทางการดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็กของจังหวัด เพื่อป้องกันและ
แกไ้ ขปญั หาตามสถานการณ์ปญั หาเด็กท่ีมคี วามสำคัญและเรง่ ด่วนของจังหวดั
๒) แนวทางการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนงานตามตัวชี้วัดในการติดตามและรายงานผล
การดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
ประจำปี ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕โดยกำหนดเปน็ แนวทางการดำเนนิ งานตามตัวชวี้ ดั เปน็ รายปี
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองเด็กของจังหวัด
หมายถึง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏบิ ัตกิ ารดา้ นการคมุ้ ครองเด็ก ซ่งึ ประกอบดว้ ย

๑) รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบาย/แนวทางการดำเนนิ งานด้านการคุ้มครองเด็ก
ของจงั หวดั เพอ่ื ป้องกนั และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ปญั หาเดก็ ท่ีมีความสำคัญและเรง่ ด่วนของจงั หวัด

๒) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน
คณะกรรมการคุม้ ครองเด็กจงั หวัด
หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความม่ันคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนุษย”์

1.4.5 ระดับความสำเรจ็ ของการขับเคล่อื นงานด้านการสง่ เสรมิ และพัฒนาคุณภาพชวี ิตคนพิการ
ผ่านกลไกการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสรมิ และพฒั นาคุณภาพชีวติ คนพิการจงั หวัด

คำอธิบาย : คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดทั่วประเทศ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 เพ่ือ
ประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างทั่วถึง / ระเบียบคณะกรรมการฯ กำหนดให้มีการ
ประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนดให้มีการประชุม 2
เดือน 1 ครั้ง รวม 6 คร้งั ต่อปี

ประเด็นตามแผนการขบั เคลือ่ น ประกอบดว้ ย
- การกำหนดแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัด ยุทธศาสตร์ โครงการการ
ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา

๑๗

คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ โดยบูรณาการให้เข้ากับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดหรือ
แผนพฒั นาขององค์กรปกครองสว่ นท้องถ่นิ ในจังหวัดน้นั ๆ

- การดำเนินงานที่เกี่ยวกับคนพิการกับทุกภาคส่วน สนับสนุนหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ
คนพิการ ประสานทรัพยากร ตลอดจนระดมทุนเพื่อสนับสนุนกจิ กรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและพฒั นาคุณภาพชีวิต
คนพกิ ารในจังหวัด

- การพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน อนุมัติโครงการ กำหนดวงเงินและค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุน
แผนงานโครงการและการขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการตามที่คณะอนุกรรมการ
บรหิ ารกองทนุ ได้มอบหมาย และกำกบั ดูแล ติดตามการปฏบิ ตั ติ ามแผนงานโครงการและการกู้ยืมเงินของคนพิการ
ในจังหวดั

- การตรวจสอบ ตดิ ตาม และแกไ้ ขปัญหาเก่ียวกับสิทธปิ ระโยชน์ของคนพิการ สวัสดกิ าร การเลือก
ปฏบิ ตั ิโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ และความช่วยเหลืออ่ืนตามทกี่ ฎหมายกำหนด

- การกลั่นกรองแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการใน
จังหวดั ตามทีค่ ณะอนกุ รรมการบริหารกองทุนหรอื คณะกรรมการส่งเสรมิ และพัฒนาคณุ ภาพชีวิตคนพกิ ารแห่งชาติ
มอบหมาย แล้วแตก่ รณี

- การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานและความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและ
ศนู ย์บรกิ ารคนพิการภายในจงั หวดั

- การแตง่ ตง้ั คณะทำงานเพื่อชว่ ยเหลือคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสม

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัตริ าชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย”์

๑.๕ การบรหิ ารข้อมลู

ประเด็นการตรวจราชการ : การบริหารข้อมูล

งาน/โครงการสำคัญ เปา้ หมาย ตวั ชี้วดั

1. การขบั เคล่อื นงานสกู่ ารเป็น 1. การขบั เคลอ่ื นงานสู่การเป็น 1. ระดับความสำเร็จของการ

ศูนยข์ ้อมลู ทางสังคม ศูนย์ข้อมูลทางสังคม ขบั เคล่อื นงานสูก่ ารเป็นศนู ย์

ของจังหวัด ของจงั หวดั ข้อมลู ทางสงั คมของจงั หวัด

รายละเอียด ดงั น้ี

๑๘

1.5.1 ระดบั ความสำเรจ็ ของการขับเคลอ่ื นงานสูก่ ารเป็นศนู ย์ข้อมลู ทางสังคมของจังหวดั

คำอธิบาย :
ศูนย์ข้อมูลทางสังคมของจังหวัด หมายถึง แหล่งที่รวบรวม นำเข้าและจัดเก็บข้อมูลด้านสังคม

ทั้งจากระบบสารสนเทศด้านสังคมของ พม. ข้อมูลด้านสังคมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ/หรือข้อมูลที่บ่งชี้ถึง
สถานการณ์ทางสังคมที่เป็นสากล เป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์ ครอบคลุมทั้งข้อมูลเชิงกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลเชิง
ประเด็น สถิติการให้บริการ รวมทั้งสถานการณ์ทางสังคมอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวข้อง และมีการเผยแพร่ข้อมูล นำข้อมูลทาง
สังคมไปใช้ประโยชน์ประกอบในการวางแผนงาน โครงการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยนำเสนอข้อมูลใน
รปู แบบระบบฐานขอ้ มูลทางสังคมบนหนา้ เว็บไซด์ของสำนักงานพมจ. ทกุ จงั หวดั

· ข้อมูลระบบสารสนเทศด้านสงั คมของ พม. หมายถึง การนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศของ พม.
เช่น 1) ระบบข้อมูลแผนที่ทางสังคม Social Map พม. (http://dbcenter.m-society.go.th) และ/หรือ 2) ระบบ
สารสนเทศด้านสังคม (http://mis.m-society.go.th) 3) รายงานสถานการณท์ างสังคมจังหวดั 4) รายงานความม่ันคง
ของมนษุ ย์ เปน็ ตน้

· ข้อมูลด้านสังคมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายถึง การนำเข้าข้อมูลจากระบบสารสนเทศด้าน
สังคมของหน่วยงานภายนอก เช่น 1) ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค)
ของกรมการพัฒนาชุมชน 2) ข้อมูลประชากร ของกรมการปกครอง 3) ขอ้ มลู จากสำนกั งานสถิตจิ ังหวดั เป็นต้น

· ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงสถานการณ์ทางสังคมที่มีตัวชี้วัดที่เป็นสากล หมายถึง การนำเข้าข้อมูล
จากระบบสารสนเทศจากหน่วยงานที่มีดัชนีการวัดที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ เช่น 1) ดัชนีทุนมนุษย์ Human Capital
Index (ธนาคารโลก) 2) ดัชนีพัฒนามนุษย์ Human Development Index (UNDP) 3) ดัชนีความก้าวหน้าของคน
Human Achievement Index (สำนกั งานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เปน็ ตน้

· แผนพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลทางสังคมจังหวัด หมายถึง เอกสารที่มีการกำหนด
แนวทางหรือขั้นตอน รายละเอียดของกิจกรรม งบประมาณ (ถ้ามี) ระยะเวลา ที่ชัดเจนในการพัฒนาการดำเนินงาน
ของศูนย์ข้อมูลทางสังคมของจังหวัดจากปี 2563

· ขอ้ มูลพน้ื ฐานท่กี ำหนดใหน้ ำเข้าข้อมลู ไว้ในปี 2562 ประกอบดว้ ย
1) ข้อมูลจำนวนประชากรของจังหวัด
2) ข้อมูลผลู้ งทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรฐั ของจงั หวดั (ปี 2560)
3) ข้อมลู สถานการณ์/สถิตผิ ู้ประสบปัญหาทางสังคม (Social Map) ของจงั หวัด
4) ขอ้ มูลสถิติการให้ความชว่ ยเหลือผปู้ ระสบปัญหาทางสังคม (เงินอุดหนนุ )
โดยปี 2563 กำหนดให้มีการเพิ่มเติมข้อมูลจากข้อมูลพื้นฐานที่กำหนดไว้ในปี 2562 อย่างน้อย 2 ประเดน็
และในปี 2564 กำหนดให้มีการเพิ่มเติมข้อมูลจากข้อมูลพื้นฐานที่กำหนดไว้ในปี 2563 อย่างน้อย 2
ประเดน็
· รายงานสถานการณ์ทางสังคมของจังหวัด หมายถึง การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
ด้านสังคมในจังหวัด ประกอบด้วยสถิติการให้บริการ ที่เป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์ ครอบคลุม ทั้งข้อมูลเชิง
กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลเชิงประเด็น ข้อมูลจากระบบสารสนเทศของ พม. ข้อมูลด้านสังคม จากหน่วยงานแวดล้อม

๑๙

กระบวนงาน ขอ้ มูลท่ีบ่งชี้ถึงสถานการณ์ทางสังคมตัวช้ีวัดที่เป็นสากล รวมทั้งสถานการณ์ทางสังคมอื่น ๆ ท่ีเก่ียวข้อง
และข้อเสนอแนะในการปอ้ งกนั แก้ไขปญั หาทั้งในเชงิ นโยบายและปฏบิ ัติ

· ประเมินผลศูนย์ข้อมูลทางสังคมจังหวัด หมายถึง ให้หน่วยงาน (สนง.พมจ.) ประเมินผลศูนย์
ข้อมูลทางสังคมจังหวัด จาก 1) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากศูนย์ข้อมูลทางสังคมจังหวัด หรือ
2) เอกสาร/หลักฐานของหน่วยงานที่นำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลทางสังคมจังหวัดไปใช้ประโยชน์อย่างน้อย 2
หน่วยงาน ทั้งนี้สว่ นกลาง (กมพ.) จะดำเนินการจัดทำแบบประเมินความพงึ พอใจ ที่เป็นทศิ ทางเดียวกนั ส่งให้
สนง.พมจ. ต่อไป

หมายเหตุ : รายละเอียดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ขอให้ดำเนินการรายละเอียดตัวชี้วัดประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ สำนักงานพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียดปรากฏในเอกสาร “แผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย”์

1.6 การขับเคล่อื นงานตามบริบทพ้นื ที่/จังหวดั

การขับเคลื่อนงานตามบริบทพื้นที่/จังหวัด นั้น ขอให้จังหวัดพิจารณาคัดเลือก จำนวน 1
โครงการสำคัญ โดยเป็นการขับเคลื่อนงานตามบริบทพื้นที่ / จังหวัด เช่น โครงการดืองันฮาตี โครงการที่ได้รับ
สนบั สนุนงบประมาณจากจังหวดั / กลมุ่ จงั หวดั ซงึ่ มีเป้าหมาย คอื ประชาชนในพ้ืนที่ไดร้ ับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
และแก้ไขปญั หา ความตอ้ งการตามบริบทพื้นที่ / จงั หวดั

1.7 การแกไ้ ขปญั หาความเดอื ดร้อน หรือข้อรอ้ งเรียนของประชาชน

การตรวจราชการ เพอื่ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน หรอื เร่อื งร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชน
เป็นการตรวจราชการตามกรอบแนวทางการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อแสวงหา
ข้อเท็จจริงให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้มีอำนาจหรือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อแก้ไข
ปัญหาขอ้ ร้องเรยี นของประชาชนอันเกิดจากการดำเนินการของหนว่ ยงานของรฐั หรือเจ้าหนา้ ที่ของรฐั

๒๐

๒. การตรวจราชการกรณีพิเศษ

การตรวจราชการกรณีพิเศษ เป็นการตรวจราชการนอกเหนือจากการตรวจราชการกรณี
ปกติ เช่น นโยบายสำคัญเร่งด่วน และการมอบหมายของผู้บังคับบัญชาในเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ และ
มีผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาล รวมถึง การตรวจติดตามที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บา้ นเมืองทีด่ ี ซ่ึงกระทรวงไดก้ ำหนดใน 2 เรอ่ื ง ได้แก่

๒.๑ โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบ
การศึกษาภาคบงั คับในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ (สำนักงานตรวจการแผน่ ดิน)

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ดำเนินโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัว
ยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับนักเรียน
ครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับทั่ วประเทศให้ได้พัฒนาทักษะฝีมือก่อนออกสู่
ตลาดแรงงาน เพิม่ โอกาสการมงี านทำ

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีหนังสือถึงปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ (หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ผผ 13/274 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563) เพื่อขอความร่วมมือพิจารณาบรรจุ
โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ ใน
ปฏิทินการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง เพื่อให้ผู้ตรวจราชการติดตามผลการดำเนินงานในโครงการ
ดังกลา่ วตามปฏทิ ินในคราวไปตรวจราชการตามภารกจิ ของกระทรวงตามความเหมาะสม ตอ่ ไป

ทั้งนี้ กองตรวจราชการ ได้มีหนังสือแจ้งรายละเอียดไปยังสำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ
วิชาการ 1-11 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ ที่ พม 0204 / 329 ลงวันที่ 14 มกราคม 2564
เรือ่ ง ขอสง่ ข้อมลู สรปุ ผลการรายงานผลการดำเนนิ งานตามปฏทิ ินโครงการเพิ่มทักษะดา้ นอาชีพฯ (ขั้นตอนท่ี ๓)
การประชมุ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ฯ จังหวดั ) และแผนการดำเนนิ งานโครงการเพิม่ ทักษะ ดา้ นอาชีพ
แก่นักเรียนครอบครวั ยากจนท่ีไมไ่ ดเ้ รียนตอ่ หลังจบการศกึ ษาภาคบังคับ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสำนัก
ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยสง่ เอกสารสำเนาหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ พม 0204/202 เรอื่ ง ข้อมลู สรปุ ผลการรายงาน
ผลการดำเนินงานตามปฏิทินโครงการโครงการเ พิ่ ม ทั ก ษ ะ ด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียน
ต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ (ขั้นตอนที่ 3) การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ฯ จังหวัด)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และสำเนาหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ พม 0204/203 เรื่อง แผนการดำเนินงาน
โครงการ เพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ
ปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของสำนกั ผู้ตรวจการแผ่นดิน

๒๑

๒.๒ การกำกับองค์กรท่ดี ี ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
- ดา้ นกระบวนการ / ข้ันตอนการให้บริการ
- ด้านเจ้าหนา้ ที่ / บุคลากรผู้ใหบ้ รกิ าร
- ด้านส่ิงอำนวยความสะดวก
- ด้านความพงึ พอใจต่อผลของการให้บริการ

๓. การตรวจราชการแบบบูรณาการ

การตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ร่วมกับผู้ตรวจราชการ

สำนักนายกรฐั มนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงต่าง ๆ ภายใต้ประเด็นนโยบายเร่งด่วน/สำคัญของรฐั บาลตามท่ี
สำนักนายกรฐั มนตรีกำหนด

การตรวจราชการแบบบรู ณาการของผตู้ รวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นมาตรการ
สำคญั ในการบรหิ ารราชการแผ่นดิน ที่จะทำให้การปฏิบตั ิราชการหรือการจัดทำภารกิจของหนว่ ยงานของรัฐบรรลุ
เป้าหมาย สอดคล้องกับกรอบยทุ ธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ –๒๕๘๐) แผนแม่บทภายใต้ยทุ ธศาสตร์
ชาตฯิ แผนปฏริ ูปประเทศ แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) นโยบาย
ของรัฐบาล และ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ รวมทั้ง สามารถแก้ไขปัญหา
อุปสรรคเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชน ด้วย
ความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมปี ระสิทธิภาพ เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์การบรหิ ารกิจการบา้ นเมืองท่ดี ี

การตรวจราชการบูรณาการ หมายถงึ
 ร่วมคิด โดยวางแผนการตรวจราชการดว้ ยกระบวนการชดุ เดยี วกนั และเป็น
การวางแผน โดยเตรยี มการไวล้ ว่ งหน้าในแตล่ ะรอบปีงบประมาณ เพอ่ื ทำใหเ้ กิดรูปธรรมของคำว่า “เชิงรุก”
 ร่วมตรวจ ในประเดน็ ยุทธศาสตร์หรือประเด็นนโยบายระดับชาติเดยี วกัน
 ร่วมให้ข้อเสนอแนะ โดยเล็งเป้าไปที่การลดความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์
ร่วมกนั และจัดทำรายงานผลการตรวจราชการด้วยมาตรฐานเดยี วกนั ซง่ึ สมควรเผยแพรต่ ่อสาธารณชน
 ร่วมสร้างภาคีภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ
ตรวจราชการระดับพืน้ ที่
 ร่วมรับการประเมิน ภายใต้คำรับรองการปฏิบัติราชการที่มีการประเมิน
ตัวชวี้ ัดและค่าเปา้ หมายเพ่ือบรรลคุ า่ คะแนนทางการบริหาร (Management Score Point) รว่ มกัน
(ทมี่ า : คมู่ ือการตรวจราชการแบบบรู ณาการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรฐั มนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง,
ม.ป.ป., หนา้ 2)

๒๒

กรอบประเด็นการตรวจราชการแบบบูรณาการของผตู้ รวจราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

กรอบประเดน็ การตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประกอบดว้ ย
1) การตรวจราชการแบบบูรณาการในภาพรวม จำนวน ๓ เรอื่ ง ไดแ้ ก่

1.1) การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวม เน้นการรับฟงั ข้อคิดเห็น ปญั หาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเก่ียวกับการ

ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการ

ดำเนินแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด
ของโรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (กรอบวงเงนิ งบประมาณ จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ ล้านบาท)

1.2) การจัดการแหล่งน้ำชุมชนภาคการเกษตร เน้นตรวจติดตามในโครงการต่าง ๆ
ดงั น้ี

๑.๒.๑) โครงการ ๑ ตำบล ๑ เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ โคก หนอง นา โมเดล
ในส่วนของการปรับพื้นที่เพื่อสร้างแหล่งน้ำชุมชน และในด้านการจัดการแหล่งน้ำชุมชน เพื่อการเกษตรอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการสรา้ งแหล่งน้ำของชมุ ชนในพ้ืนท่ขี องสำนักงานปฏิรูปท่ีดนิ เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

๑.๒.2) โครงการก่อสรา้ งแหลง่ นำ้ ในไรน่ านอกเขตชลประทาน
1.3) การส่งเสรมิ และพัฒนาอาชีพของประชาชนในโครงการจัดที่ดินทำกนิ ให้ชมุ ชน
ตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) เน้นตรวจติดตามการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนในโครงการจัดที่ดินทำ
กินให้ชมุ ชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.)
2) การตรวจราชการแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ จำนวน ๒ เร่อื ง ไดแ้ ก่
2.1) การแกไ้ ขปญั หามลพษิ ทางอากาศ เนน้ ตรวจตดิ ตาม ดงั นี้

๒.๑.๑) การดำเนินการขับเคลอ่ื นมาตรการต่าง ๆ ภายใต้แผนปฏบิ ตั ิการขับเคล่ือน
วาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม

2.1.2) การดำเนินมาตรการตามหลักการบรหิ ารจัดการสาธารณภัย (2P2R) ได้แก่

การป้องกัน (Prevention) การเตรียมความพร้อม (Preparation) การรับมือ (Response) และการฟื้นฟู
(Recovery) ของจังหวัด เพ่อื สร้างคุณภาพชวี ิตและสงิ่ แวดล้อมทีด่ ีให้กบั ประชาชนอย่างยง่ั ยนื

2.๒) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน/การพัฒนาเชิงพื้นที่ เน้นตรวจ
ติดตามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะเป็นปัญหามวลชน และการ
ดำเนนิ การแก้ไขปัญหาดังกลา่ วไม่สามารถดำเนินการได้ดว้ ยหน่วยงานใดหนว่ ยงานหนึ่ง

๒๓

กรอบแนวทางปฏิบัติและกรอบเวลาในการตรวจราชการแบบบูรณาการ

กรอบแนวทางปฏบิ ัตแิ ละกรอบเวลาในการตรวจราชการแบบบูรณาการ มดี งั น้ี
1) การตรวจติดตามในพืน้ ท่ี

1.1) การตรวจราชการแบบบูรณาการในภาพรวม ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
และผู้ตรวจราชการกระทรวง ลงพื้นที่ตรวจราชการแบบบูรณาการตามกำหนดการและสถานที่ที่ได้กำหนด
โดยผตู้ รวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างน้อยเขตตรวจราชการละ ๑ จังหวดั

1.2) การตรวจราชการแบบบูรณาการในพนื้ ท่ี
1.๒.๑) การแกไ้ ขปัญหามลพษิ ทางอากาศ ผูต้ รวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจราชการแบบบูรณาการตามกำหนดการและสถานที่ท่ีได้กำหนด
โดยผู้ตรวจราชการสำนกั นายกรฐั มนตรี

1.๒.๒) การแกไ้ ขปญั หาความเดือดร้อนของประชาชน/การพฒั นาเชิงพ้ืนท่ี ผู้ตรวจ
ราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวง/กรมเฉพาะกระทรวง/กรม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชนลงพื้นที่ตรวจราชการแบบบูรณาการตามกำหนดการและสถานที่ที่ได้กำหนดโดยผู้ตรวจ
ราชการสำนักนายกรฐั มนตรี

2) วธิ ีการตรวจตดิ ตาม
๒.๑) การตรวจราชการแบบบูรณาการในภาพรวม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชน

หลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตรวจติดตาม โดยวิธีการสดับตรับฟัง
ข้อคดิ เหน็ ปญั หา อปุ สรรคและขอ้ เสนอแนะในเชงิ ภาพรวมจากการดำเนนิ นโยบายฟืน้ ฟเู ศรษฐกิจและสงั คมฯ จาก
ตวั แทนภาครฐั เอกชน และประชาชน

๒.2) การจัดการแหล่งน้ำชุมชนภาคการเกษตร และการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของ
ประชาชนในโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตรวจติดตามโดยวิธีการรับฟังรายงานและสอบถามข้อมูลจาก
หน่วยงานท่เี ก่ยี วข้องและหน่วยงานอืน่ ๆ ตามดุลพนิ จิ ของผูต้ รวจราชการ และ การสงั เกตการณ์การดำเนินการ
ในพน้ื ทีจ่ ริง ตามดุลพนิ จิ ของผ้ตู รวจราชการ

3) ระยะเวลาการตรวจตดิ ตาม
ระยะเวลาในการตรวจตดิ ตาม แบง่ เป็น ๒ ครง้ั ดังนี้
- ครง้ั ท่ี ๑ ระหว่างวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ - ๑๕ มนี าคม ๒๕๖๔
- ครงั้ ท่ี ๒ ระหว่างวนั ท่ี ๑ กรกฎาคม - ๑๖ สงิ หาคม ๒๕๖๔

๒๔

๔. การตรวจราชการตามสถานการณ์ เหตกุ ารณส์ ำคญั
การตรวจราชการตามสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสาธารณภัย

อันจำเปน็ เร่งด่วนทีร่ ัฐบาลหรือหนว่ ยงานต้องเข้าดำเนินการชว่ ยเหลอื และแกไ้ ขใหท้ นั เหตุการณ์

ทั้งนี้ หากมีแผนงาน/โครงการ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์และปลัดกระทรวงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ให้ดำเนินการตรวจราชการเพิ่มเติมในระหว่างปีงบประมาณให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตรวจราช การ
ของผู้ตรวจราชการกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยให้
ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
อำนวยความสะดวก ให้ความรว่ มมอื และสนบั สนนุ การปฏบิ ัติงานของผตู้ รวจราชการกระทรวงการพัฒนาสงั คมและ
ความมัน่ คงของมนษุ ย์ เพ่ือให้ข้อมลู และข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการมีความถูกต้อง ครบถว้ น เปน็ ประโยชน์
ตอ่ การวนิ ิจฉัยส่ังการของผ้บู งั คับบญั ชาตอ่ ไป

๒๕

3. ประเด็นตามขอ้ ส่งั การรฐั มนตรีวา่ การกระทรวงการพฒั นาสังคมและความม่นั คงของมนุษย์
แจ้งให้ผู้ตรวจราชการ ดำเนินการ ใน 2 ประเดน็ ดงั นี้
- การประเมินคณุ ธรรมและความโปรง่ ใสในการดำเนนิ งานของหนว่ ยงานภาครัฐ
(Integrity and Transparency Assessment : ITA) กระทรวง พม.
- การนำหลกั ธรรมาภิบาลของการบรหิ ารกิจการบา้ นเมอื งทดี่ ี (Good Governance)
ปรบั ใช้ในการปฏบิ ตั ิราชการ

- การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and
Transparency Assessment : ITA) ในปี 2564 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. มีข้อสั่งการให้ผู้ตรวจราชการ
สื่อสารให้ผู้บริหารทุกระดับของ พม. ให้ความสำคัญกับการประเมิน ITA โดยการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนัก
แก่ข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงาน ให้เห็นความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมในด้านคุณธ รรมและ
ความโปร่งใสของหน่วยงานให้มากขึ้น และสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21
การต่อตา้ นการทจุ ริตและประพฤตมิ ชิ อบ (พ.ศ. 2561 – 2580)

๒๖

4. ระยะเวลาการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ระยะเวลาการตรวจราชการ ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

การตรวจราชการ มรี ะยะเวลาดำเนนิ งานใน 3 รอบ ดังน้ี

รอบการตรวจ รายละเอยี ด ระยะเวลา
ราชการ เดอื น ธนั วาคม 2563 -
รอบท่ี ๑ การช้ีแจงแผนการตรวจราชการ ประเดน็ เคร่อื งมือ
และการรายงานผลการตรวจราชการ รวมถึงการทำ มกราคม 2564
Agenda Review ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายแกห่ น่วยรบั ตรวจ
เป็นการสื่อสารนโยบายไปสู่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ เดอื น กมุ ภาพนั ธ์ -
รอบท่ี 2 ผู้รับผดิ ชอบในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบตั ิ มถิ นุ ายน 2564
Progress Review การตรวจติดตามความก้าวหน้าของงานตามประเดน็
การตรวจราชการประจำปี รวมถึง การรับฟังปัญหา เดือน สงิ หาคม 2564
รอบที่ 3 อุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยผู้ตรวจราชการให้
Evaluation ข้อคิดเห็น แนวทางการแก้ไขต่อผู้รับผิดชอบในพื้นที่
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้บริหารในส่วนกลาง
รวมถึง การเชิญที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน
ร่วมในการตรวจราชการ เพื่อเป็นการสื่อสารนโยบาย
ไปสู่ประชาชน ผ่านทางที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาค
ประชาชน
การประเมินผลในภาพรวม ท้ังประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ความคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน และการขับเคลื่อนงาน
ตามประเด็นการตรวจราชการประจำปี

๒๗

5. การรายงานผลการตรวจราชการ ตามแบบรายงานผลการตรวจราชการ

การรายงานผลการตรวจราชการ ตามแบบรายงานผลการตรวจราชการ

กองตรวจราชการ สป.พม. ขอความร่วมมือหน่วยงานจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแบบ
รายงานผลการตรวจราชการ (แบบฟอรม์ ) ท่กี ำหนด ซงึ่ ประกอบดว้ ย 4 แบบรายงานสำคญั ไดแ้ ก่

แบบท่ี 1 แบบตรวจและตดิ ตามการปฏิบตั ิงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ (แบบรายงานผลการ
เบิกจา่ ยงบประมาณ) (ขอให้จดั ทำรายงานเปน็ รายหนว่ ยงาน)

กรอบการสง่ รายงาน
ขอให้จัดสง่ ให้สำนักงานสง่ เสริมและสนับสนุนวชิ าการ ตามเขตจงั หวัดทีร่ ับผดิ ชอบ
และกองตรวจราชการทาง E-mail : [email protected]
- ไตรมาสท่ี ๑ ภายในวันท่ี 8 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
- ไตรมาสท่ี ๒ ภายในวันท่ี ๗ เมษายน ๒๕๖๔
- ไตรมาสที่ ๓ ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
- ไตรมาสที่ ๔ ภายในวันที่ ๗ ตุลาคม 2564

แบบที่ 2 แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ (แบบรายงานผลการ
ดำเนนิ โครงการ)

ประเดน็ การพัฒนาศกั ยภาพคนทกุ กลมุ่ เป้าหมาย
แบบ ๒.๑ การส่งเสรมิ ความเข้มแขง็ ของสภาเดก็ และเยาวชน (ดย.)
แบบ ๒.๒ การขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยในเมืองและ
ชนบทมคี วามมน่ั คงในดา้ นทีอ่ ยอู่ าศยั (พอช.)
แบบ ๒.๓ โครงการบา้ นเรา “กา้ ว” ไปดว้ ยกนั (กคช.)

ประเด็น การบูรณาการเพ่อื ส่งมอบงานบริการสงั คม
แบบ ๒.๔ การขับเคล่อื นแผนงานป้องกนั และปราบปรามการคา้ มนุษย์ของจงั หวดั
(สป.)
แบบ ๒.๕ การขับเคลื่อนการดำเนินงานทีม พม.จังหวัด (One Home) เพื่อให้เกิด
การบูรณาการในการสง่ มอบงานบรกิ ารสังคม
แบบ ๒.๖ การชว่ ยเหลือคุ้มครองผถู้ ูกกระทำความรนุ แรงในครอบครัว (สค.)
ประเดน็ การส่งเสรมิ และพัฒนาเครือขา่ ย
แบบ 2.7 การขับเคลอื่ นงานอาสาสมคั รพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์
(อพม.)

๒๘

แบบ ๒.๘ (๑) การขับเคลื่อนงานศูนย์ส่งเสริมการรับผิดชอบต่อสังคมของภาค
ธุรกจิ จังหวัด (CSR) (สำหรบั จังหวดั ทย่ี งั ไมม่ กี ารจัดต้ังศูนย์ฯ จำนวน ๕๖ จังหวัด)

แบบ ๒.๘ (๒) การขับเคลื่อนงานศูนย์ส่งเสริมการรับผิดชอบต่อสังคมของภาค
ธุรกิจจังหวัด (CSR) (สำหรับจังหวัดที่มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจจังหวัดแล้ว
จำนวน ๒๐ จังหวดั )

แบบ ๒.๙ การเสริมสร้างศักยภาพศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ
ผู้สูงอายุ (ศพอส.) (ผส.)

แบบ ๒.๑๐ การขับเคลือ่ นการดำเนินงานคุ้มครองเด็กระดับจังหวดั (ดย.)
แบบ ๒.๑๑ การขับเคล่อื นงานด้านการสง่ เสรมิ และพฒั นาคณุ ภาพชีวติ คนพิการ
ผา่ นกลไกการประชมุ คณะอนกุ รรมการส่งเสรมิ และพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพกิ ารประจำจงั หวัด (พก.)

ประเดน็ การบรหิ ารข้อมูล
แบบ ๒.๑๒ การขบั เคลอื่ นงานสกู่ ารเปน็ ศูนยข์ ้อมลู ทางสงั คมของจงั หวดั (สป.)

ประเด็น การขบั เคลื่อนงานตามบรบิ ทพ้นื ที่/จงั หวดั
แบบ ๒.๑๓ งาน/โครงการ ......................................... (จังหวัดต้องรายงานผลตาม
แผนปฏิบัติการ ๑ จงั หวัด ๑ โครงการสำคญั )

ขอใหจ้ ัดทำรายงานเปน็ ภาพรวมของจังหวดั

กรอบการสง่ รายงาน
ขอให้จดั สง่ ใหส้ ำนักงานส่งเสริมและสนบั สนุนวชิ าการ ตามเขตจงั หวดั ที่รบั ผดิ ชอบ
และกองตรวจราชการทาง E-mail : [email protected]
- ไตรมาสที่ ๒ ภายในวนั ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔
- ไตรมาสท่ี ๓ ภายในวนั ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
- ไตรมาสท่ี ๔ ภายในวนั ท่ี ๗ ตุลาคม 2564

๒๙

แบบที่ 3 แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ (แบบรายงานผล
ประเด็นพเิ ศษ)

แบบ 3.๑ การกำกบั องคก์ รทด่ี ี (หน่วยงานไม่ตอ้ งจดั ทำรายงาน)
แบบ 3.2 โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียน
ตอ่ หลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ขอให้จดั ทำรายงานเปน็ ภาพรวมของจงั หวดั )
กรอบการสง่ รายงาน
ขอให้จัดสง่ ให้สำนกั งานส่งเสริมและสนบั สนุนวชิ าการ ตามเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
และกองตรวจราชการทาง E-mail : [email protected]
- ไตรมาสท่ี ๒ ภายในวนั ท่ี ๗ เมษายน ๒๕๖๔
- ไตรมาสท่ี ๓ ภายในวันท่ี ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
- ไตรมาสท่ี ๔ ภายในวันที่ ๗ ตลุ าคม 2564

แบบที่ 4 แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ (แบบรายงานการ
แก้ไขปญั หาความเดอื ดรอ้ น)

- ประเด็น การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรอื ข้อร้องเรียนของประชาชน (ขอให้จัดทำรายงานเป็นราย
หนว่ ยงาน)

หมายเหตุ : การจัดส่งเอกสารแบบที่ ๑ - ๔ ขอให้จัดส่งเป็นไฟล์เอกสารในรูปแบบ Word ให้ สำนักงานส่งเสริม
และสนับสนุนวชิ าการ ตามเขตจงั หวัดที่รับผิดชอบ หลังจากส้นิ สุดไตรมาส เพอ่ื รวบรวมและประมวลผลก่อนส่งให้
ผู้ตรวจราชการกระทรวงต่อไป

๓๐

6. บทบาทหน้าที่ของผทู้ ี่เกี่ยวข้องในการตรวจราชการ

บทบาทหนา้ ที่ของผู้ทีเ่ กย่ี วข้องในการตรวจราชการ

1. ผู้ตรวจราชการ หมายถึง ผู้ตรวจราชการผู้รับผิดชอบและมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจราชการเก่ียวกับการ
ปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เฉพาะในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวง
ในฐานะผู้สอดสอ่ งดแู ลแทนรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง รัฐมนตรีช่วยวา่ การกระทรวง และปลัดกระทรวง

ผ้ตู รวจราชการกระทรวง มีอำนาจหน้าท่ี ดังตอ่ ไปน้ี
1. สั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ถูกต้อง
ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ขอ้ บังคบั ประกาศ มติคณะรฐั มนตรี หรอื คำสง่ั ของนายกรัฐมนตรี
2. สั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติในเรื่อง
ใดๆ ในระหว่างการตรวจราชการไว้ก่อน หากเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือประโยชน์
ของประชาชนอย่างร้ายแรง และเมื่อได้สั่งการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อทราบหรือ พิจารณา
โดยด่วน
3. สั่งให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ชี้แจง ให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสาร และหลักฐาน
เกยี่ วกับการปฏิบตั ิงานเพอื่ ประกอบการพิจารณา
4. สอบสวนข้อเท็จจริง สืบสวนสอบสวน หรือสดับตรับฟังเหตุการณ์ เมื่อได้รับ
การร้องเรียน หรือมีเหตุอันสมควร โดยประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานและหนว่ ยตรวจสอบอื่น ๆ เพื่อแก้ไข
ปญั หาความเดอื ดรอ้ นของประชาชนหรอื ปญั หาอปุ สรรคของหนว่ ยงานหรือเจ้าหน้าท่ี
5. ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้รับการตรวจและรายงานผู้บังคับบัญชา
เพือ่ ทราบ
6. เรยี กประชมุ เจา้ หนา้ ทเี่ พ่อื ช้แี จง แนะนำ หรอื ปรกึ ษาหารอื ร่วมกัน

๓๑

2. ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ หมายถึง ผู้ตรวจราชการผู้รับผิดชอบและมีอำนาจหน้าที่ หมายถึง ผู้ช่วยตรวจราชการ
รับผิดชอบและมีอำนาจหน้าที่ในการช่วยการตรวจราชการในพื้นที่ ในที่นี้ คือ สำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุน
วชิ าการ 1 – 11 (สสว.)

ผูช้ ว่ ยผูต้ รวจราชการกระทรวง มอี ำนาจหน้าที่ ดังตอ่ ไปนี้
1. นิเทศและติดตามผลการดำเนินงานการตรวจราชการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมนั่ คงของมนษุ ย์

1.1 การชี้แจง แนะนำ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจในการดำเนินงาน
นโยบายตามแผนการตรวจราชการประจำปี

1.2 ตดิ ตามผลการดำเนินงานตามข้อสงั เกต/ข้อเสนอแนะของผตู้ รวจราชการ
พร้อมทั้งรายงานผลการติดตามให้ผตู้ รวจราชการทราบ

1.3 ร่วมปรึกษาหารือกับหน่วยรับตรวจในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่ม
ประสทิ ธภิ าพในการปฏิบัติงาน เช่น การอบรม/สมั มนา/วิธีการแลกเปล่ยี นเรียนรู้ในเขตตรวจราชการ

2. สนบั สนนุ การตรวจราชการในเขตพน้ื ท่กี ารตรวจราชการทร่ี บั ผิดชอบ
2.1 ดำเนินการจัดประชมุ การตรวจราชการ รอบ 1 จำแนกเป็นรายเขต

สสว.
2.2 ใหก้ ารสนบั สนนุ ทรัพยากรท่ีจำเป็นต่อการตรวจราชการ เช่น บคุ ลากร

วัสดอุ ปุ กรณ์ ยานพาหนะ ฯลฯ
2.3 การจัดทำแผนปฏิบัติการออกตรวจราชการร่วมกับผู้ตรวจราชการ

กระทรวงและเตรียมข้อมูลตามประเด็นการตรวจราชการในแตล่ ะรอบการตรวจราชการ รวมถึงการจัดทำรายงาน
ผลการออกตรวจราชการในพื้นที่ เป็นรายรอบการตรวจราชการเสนอปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความม่นั คงของมนษุ ย์ และสำนักนายกรัฐมนตรี

2.4 ร่วมตรวจราชการกับผู้ตรวจราชการ โดยทำหน้าที่วิเคราะห์กิจกรรม
ที่หน่วยรับตรวจนำเสนอว่ามีความเหมาะสม และถูกต้องและเป็นผลดีต่อการบริหารงาน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ
ตอ่ ผตู้ รวจราชการ

3. รวบรวม ประมวล วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์ทางสังคมและ
การดำเนินงานนโยบายตามแผนการตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมั่นคงของมนษุ ย์

- ประเมินสถานการณ์ระดับจังหวัดในพื้นท่ีเขตตรวจราชการเพื่อนำเสนอ
ผ้ตู รวจราชการเพือ่ ใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ประกอบการพิจารณากระบวนการบริหารงานตามนโยบายของหนว่ ยรับตรวจ

๓๒

ผ้สู นบั สนุนการตรวจราชการ หมายถึง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบตั ิงานในการสนับสนนุ งานตรวจราชการ ประกอบด้วย

(1) เจ้าหน้าที่กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนษุ ย์เจา้ หน้าที่กองตรวจราชการ มอี ำนาจหนา้ ที่ ดงั ตอ่ ไปนี้

1. จัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี
2. จดั ทำแบบฟอรม์ การตรวจราชการในแตล่ ะรอบการตรวจราชการ จดั สง่ ใหก้ ับหน่วยรับตรวจ
3. ประสานสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการในการประชุมกลุ่มจังหวัดและการตรวจ
ราชการในพนื้ ที่
4. จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดการตรวจราชการแบบบูรณาการ เสนอคณะกรรมการติดตามและ
ประเมินผลคำรับรองการตรวจราชการแบบบูรณาการของสำนกั นายกรัฐมนตรี
5. รวบรวมรายงานการตรวจราชการ เพอื่ นำเสนอปลัดกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
6. ดำเนนิ การจดั ประชุมการตรวจราชการในภาพรวม ๗๖ จงั หวดั

(2) เลขานุการผ้ตู รวจราชการกระทรวงการพฒั นาสงั คมและความมัน่ คงของมนุษย์

เลขานุการผู้ตรวจราชการกระทรวง พม. มีอำนาจหนา้ ที่ ดังตอ่ ไปน้ี
1. ประสานกองตรวจราชการ (กตร.) และสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ (สสว.)

เพ่ือกำหนดวันเวลาและจังหวดั ท่ีจะออกตรวจราชการในแตล่ ะรอบ
2. จดั ทำบันทึกขออนมุ ัติคา่ ใชจ้ ่ายในการเดินทางไปราชการ คา่ ตอบแทนที่ปรกึ ษาผตู้ รวจราชการ

ภาคประชาชน และกำหนดการประชุมและการตรวจราชการในพน้ื ท่ขี องผู้ตรวจราชการกระทรวง
3. ประสาน สสว. หรอื พมจ. เตรยี มทีพ่ กั สำหรับผู้ตรวจราชการกระทรวงและคณะ
4. จัดเตรียมข้อมูลและ Power Point สำหรับผู้ตรวจราชการกระทรวงในการให้ความรู้แก่

เจ้าหน้าท่ใี นการประชุมจงั หวัด/กลมุ่ จงั หวัด
5. ร่วมจดั ทำรายงานการออกตรวจราชการในพ้นื ที่

๓๓

หน่วยรับตรวจ หมายถึง หนว่ ยงานในพ้ืนที่ สังกดั กระทรวง พม. (เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด) และเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งปฏิบัติใน
หนว่ ยงานที่รับการตรวจของผูต้ รวจราชการกระทรวง

หน่วยรับตรวจ มอี ำนาจหนา้ ที่ ดังต่อไปน้ี

1. จดั เตรียมขอ้ มูลการดำเนนิ งานตามแผนการตรวจราชการประจำปี
2. ประสานหน่วยงาน/องค์กร ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านสังคมของจังหวัด
เครอื ข่ายภาคประชาสังคม ผู้เข้ารว่ มโครงการ และประชาชนในพ้ืนท่ใี นกรณีทผี่ ู้ตรวจราชการกระทรวงจะเดินทาง
ไปตรวจตดิ ตามงานตามนโยบายหรือตรวจเยีย่ มโครงการ
3. พมจ./หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้าฝ่าย/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง/หัวหน้าหน่วยงานทุกแห่ง เข้าร่วม
ประชมุ เพอ่ื ให้ขอ้ มูลการดำเนินงาน
4. รายงานผลความก้าวหน้าการดำเนินงานนโยบายตามแผนการตรวจราชการประจำปี และการ
ดำเนนิ งานตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวง

แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ ๑

หน่วยงาน .............................................................................จงั หวัด.....................................
ณ วนั ที่ ........... เดือน ..................................... พ.ศ. .....................
************************************************

งบประมาณท่ไี ด้รับการจดั สรรทัง้ หมด ผลการเบิกจา่ ย
งบดำเนนิ งาน ....................................................บาท  ไตรมาสที่ ๑ เปา้ หมาย ๓๒ %
งบอดุ หนนุ ...................................................บาท งบดำเนนิ งาน+งบอุดหนุน+งบลงทุน+งบอ่นื ๆ
งบลงทนุ ................................................... บาท
งบจงั หวัด .................................................. บาท จำนวน ............................................. บาท
งบกลุ่มจังหวดั ................................................... บาท คิดเปน็ ร้อยละของงบที่ได้รับจดั สรร .........................
งบบรู ณาการพฒั นาพื้นท่รี ะดับภาค งบจงั หวดั /งบกลุ่มจังหวดั
จำนวน ............................................. บาท
.................................................... บาท คิดเปน็ ร้อยละของงบที่ได้รบั จัดสรร..........................
งบกองทุน (ระบ)ุ งบบรู ณาการพัฒนาพืน้ ที่ระดับภาค
จำนวน ............................................. บาท
๑. ............................................................. บาท คดิ เป็นร้อยละของงบท่ีได้รับจัดสรร..........................
๒. ............................................................. บาท รวมเบกิ จา่ ยท้ังหมด .......................................... บาท
๓. ............................................................. บาท คดิ เป็นร้อยละของงบทั้งหมด ............................
๔. ............................................................. บาท  ไตรมาสท่ี ๒ เป้าหมาย ๕๔ %
๕. ............................................................. บาท งบดำเนนิ งาน+งบอุดหนุน+งบลงทุน+งบอ่ืน ๆ
อนื่ ๆ (ระบุ) ..................................................... บาท จำนวน ............................................. บาท
คิดเปน็ ร้อยละของงบท่ีได้รบั จัดสรร..........................
รวม .................................................. บาท งบจังหวดั /งบกล่มุ จงั หวดั
จำนวน ............................................. บาท
คิดเป็นร้อยละของงบที่ได้รบั จัดสรร..........................
งบบรู ณาการพัฒนาพนื้ ทร่ี ะดับภาค
จำนวน ............................................. บาท
คดิ เปน็ ร้อยละของงบท่ีได้รบั จัดสรร..........................
รวมเบกิ จา่ ยทง้ั หมด .......................................... บาท
คดิ เปน็ ร้อยละของงบท้ังหมด ............................

-๒–

งบประมาณที่ได้รบั การจัดสรรทั้งหมด ผลการเบกิ จา่ ย
 ไตรมาสที่ ๓ เปา้ หมาย ๗๗ %
งบดำเนินงาน+งบอดุ หนนุ +งบลงทุน+งบอนื่ ๆ

จำนวน ............................................. บาท
คดิ เปน็ รอ้ ยละของงบท่ีได้รบั จดั สรร ..........................
งบจังหวัด/งบกลมุ่ จังหวัด
จำนวน ............................................. บาท
คดิ เป็นร้อยละของงบที่ได้รับจดั สรร............................
งบบูรณาการพัฒนาพนื้ ท่รี ะดับภาค
จำนวน ............................................. บาท
คิดเปน็ รอ้ ยละของงบท่ีได้รบั จัดสรร............................
รวมเบกิ จ่ายทัง้ หมด .......................................... บาท
คิดเปน็ รอ้ ยละของงบทั้งหมด ............................
 ไตรมาสท่ี ๔ เป้าหมาย ๑๐๐ %
งบดำเนนิ งาน+งบอดุ หนุน+งบลงทุน+งบอ่นื ๆ
จำนวน ............................................. บาท
คดิ เป็นร้อยละของงบท่ีได้รับจดั สรร ..........................
งบจังหวัด/งบกล่มุ จงั หวัด
จำนวน ............................................. บาท
คิดเป็นร้อยละของงบท่ีได้รบั จัดสรร............................
งบบรู ณาการพฒั นาพ้นื ท่รี ะดับภาค
จำนวน ............................................. บาท
คิดเปน็ รอ้ ยละของงบที่ได้รบั จัดสรร............................
รวมเบิกจา่ ยท้งั หมด .......................................... บาท
คดิ เปน็ รอ้ ยละของงบทั้งหมด ............................

ปัญหา/อุปสรรค
เหตุผลท่ไี ม่สามารถดำเนินการใหเ้ ป็นไปตามเปา้ หมาย .....................................................................................

.........................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ............................................................
ขอ้ เสนอแนะ

...........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
หมายเหตุ - ขอใหด้ ำเนนิ การเป็นรายหนว่ ยงาน

แบบตรวจและติดตามการปฏิบตั งิ านตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ ๒.๑

 รอบ ๓ เดอื น (ต.ค.๖๓ - ธ.ค.๖๓)  รอบ ๖ เดอื น (ม.ค.๖๔ - มี.ค.๖๔)
 รอบ ๙ เดือน (เม.ย.๖๔ - มิ.ย.๖๔)  รอบ ๑๒ เดือน (ก.ค.๖๔ - ก.ย.๖๔)
รายงานผล ณ วันท.ี่ ....... เดือน ......................... พ.ศ............

หนว่ ยงาน .............................................................................จังหวัด.....................................
****************************

ประเดน็ การพฒั นาศกั ยภาพคนทกุ กลุ่มเป้าหมาย

๑. ช่ืองาน/โครงการ การสง่ เสรมิ ความเข้มแข็งของสภาเดก็ และเยาวชน (ดย.)

๒. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ

๒.๑ ........................................................................................................................

๒.๒ ........................................................................................................................

๒.๓ ........................................................................................................................

๓. งบประมาณในการดำเนินการ ที่ได้รบั จดั สรรจำนวน ................................................ บาท

ใช้จา่ ยจรงิ จำนวน .......................................... บาท คิดเปน็ ร้อยละ ................................................

คงเหลือ จำนวน ............................................. บาท

๔. กระบวนงาน (ลำดับกิจกรรมตา่ ง ๆ ทร่ี ะบใุ นแผนปฏิบตั ิงาน)

กระบวนงาน ดำเนนิ การ การปฏิบตั ิ ยังไมไ่ ด้ รายละเอียด หมายเหตุ
แล้ว อยรู่ ะหวา่ ง ดำเนินการ ผลการดำเนนิ งาน
ดำเนนิ การ

๑)

๒)

๓)

๔)

๕)

๕. ความก้าวหนา้ ในดำเนินงาน (เทยี บกับแผนปฏิบตั ิงาน)
 ยงั ไมไ่ ด้เร่ิมดำเนนิ งาน เนื่องจาก ...............................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
 ตรงตามแผนฯ ทกี่ ำหนดไว้
 เร็วกว่าแผนฯ เนื่องจาก ............................................................................................................................
 ชา้ กว่าแผนฯ เนื่องจาก .............................................................................................................................

-๒–

๖. ผลสำเร็จของการดำเนินงาน (โปรดทำเครื่องหมายระบคุ ่าคะแนนปัจจุบนั )

หมายเหตุ สำหรับงาน/โครงการที่มเี กณฑ์ระดับค่าคะแนน ต้องพจิ ารณาผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

ค่าคะแนนที่กำหนด ตามเกณฑ์การประเมิน/ค่าเปา้ หมาย : รอบ ๖ เดือน (๑ ต.ค. ๒๕๖๓ – ๓๑ ม.ี ค. ๒๕๖๔)

ระดับค่าคะแนน คำอธบิ ายเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน

๑

๒

๓

๔

๕

ค่าคะแนนที่กำหนด ตามเกณฑก์ ารประเมนิ /ค่าเป้าหมาย : รอบ ๑๒ เดือน (๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๔)

ระดับค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑ์การใหค้ ะแนน

๑

๒

๓

๔

๕

หมายเหตุ ขอให้หน่วยรบั ตรวจตรวจสอบจากโครงการทีส่ ว่ นกลาง (ดย.) ส่งให้ว่ามีเกณฑ์วัดความสำเรจ็ หรอื ไม่
หากไม่มีใหเ้ ปรียบเทียบผลสำเร็จตามตวั ช้ีวดั หรือวัตถุประสงคข์ องโครงการ

๗. ปัญหา / อุปสรรค
๗.๑ ข้อกฎหมาย ......................................................................................................................................
๗.๒ ความเขม้ แขง็ ของ อปท. ในการสนบั สนุนการดำเนนิ งานโครงการสภาเดก็ และเยาวชน ....................

..............................................................................................................................................................................
๗.๓ ความเข้มแข็งของคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนระดับจงั หวดั /อำเภอ/ตำบล ...........................

...............................................................................................................................................................................
๗.๔ อื่น ๆ ................................................................................................................................................

๘. ขอ้ เสนอแนะ
..................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................
. ............................................................. ผู้รายงาน

(............................................................)
............................................................ หัวหน้าหน่วยงาน
(............................................................)

แบบตรวจและติดตามการปฏิบตั ิงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ ๒.๒

 รอบ ๓ เดอื น (ต.ค.๖๓ - ธ.ค.๖๓)  รอบ ๖ เดือน (ม.ค.๖๔ - มี.ค.๖๔)
 รอบ ๙ เดอื น (เม.ย.๖๔ - ม.ิ ย.๖๔)  รอบ ๑๒ เดอื น (ก.ค.๖๔ - ก.ย.๖๔)
รายงานผล ณ วนั ท.่ี ....... เดือน ......................... พ.ศ............

หนว่ ยงาน .............................................................................จงั หวดั .....................................
****************************

ประเดน็ การพฒั นาศักยภาพคนทกุ กลุ่มเป้าหมาย

๑. ช่ืองาน/โครงการ การขับเคล่ือนการดำเนินงานสง่ เสรมิ ให้ผู้มีรายไดน้ ้อยในเมืองและชนบทมคี วามมน่ั คง

ในด้านทีอ่ ยู่อาศยั (พอช.)

๒. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ

๒.๑ ........................................................................................................................

๒.๒ ........................................................................................................................

๒.๓ ........................................................................................................................

๓. เป้าหมาย จำนวน............................... หลงั

๔. งบประมาณในการดำเนินการ ท่ีได้รบั จดั สรรจำนวน ................................................ บาท

ใชจ้ ่ายจรงิ จำนวน .......................................... บาท คดิ เปน็ ร้อยละ ................................................

คงเหลอื จำนวน ............................................. บาท

๕. กระบวนงาน (ลำดับกจิ กรรมต่าง ๆ ทร่ี ะบใุ นแผนปฏิบัติงาน)

กระบวนงาน ดำเนินการ การปฏิบตั ิ ยังไมไ่ ด้ รายละเอยี ด หมายเหตุ
แล้ว อยรู่ ะหว่าง ดำเนินการ ผลการดำเนินงาน
ดำเนินการ

๑)

๒)

๓)

๔)

๕)

๖. ความก้าวหน้าในดำเนนิ งาน (เทียบกับแผนปฏิบตั งิ าน)

 ยังไม่ได้เริ่มดำเนนิ งาน เน่ืองจาก ...............................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

 ตรงตามแผนฯ ท่กี ำหนดไว้

 เรว็ กว่าแผนฯ เนอ่ื งจาก ............................................................................................................................

 ชา้ กวา่ แผนฯ เนอ่ื งจาก .............................................................................................................................

-๒–

๗. ผลสำเร็จของการดำเนนิ งาน (โปรดทำเครื่องหมายระบคุ ่าคะแนนปจั จบุ นั )
หมายเหตุ สำหรบั งาน/โครงการที่มเี กณฑ์ระดับคา่ คะแนน ตอ้ งพจิ ารณาผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

ค่าคะแนนทก่ี ำหนด ตามเกณฑ์การประเมนิ /ค่าเปา้ หมาย : รอบ ๖ เดือน (๑ ต.ค. ๒๕๖๓ – ๓๑ ม.ี ค. ๒๕๖๔)

ระดบั ค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน หลกั ฐานอา้ งอิง

๑

๒

๓

๔

๕

คา่ คะแนนท่ีกำหนด ตามเกณฑก์ ารประเมิน/คา่ เป้าหมาย : รอบ ๑๒ เดือน (๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๔)

ระดบั ค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน หลกั ฐานอ้างองิ

๑

๒

๓

๔

๕

หมายเหตุ ขอใหห้ น่วยรบั ตรวจตรวจสอบจากโครงการท่ีส่วนกลาง (พอช.) สง่ ให้วา่ มเี กณฑ์วัดความสำเร็จ
หรือไม่ หากไม่มีใหเ้ ปรียบเทยี บผลสำเร็จตามตวั ชว้ี ดั หรอื วตั ถุประสงคข์ องโครงการ

-๓-

๘. ปัญหา / อุปสรรค
..................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
๙. ขอ้ เสนอแนะ

..................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

. ............................................................. ผู้รายงาน
(............................................................)

............................................................ หวั หนา้ หน่วยงาน
(............................................................)

แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ ๒.๓

 รอบ ๓ เดอื น (ต.ค.๖๓ - ธ.ค.๖๓)  รอบ ๖ เดือน (ม.ค.๖๔ - มี.ค.๖๔)
 รอบ ๙ เดอื น (เม.ย.๖๔ - มิ.ย.๖๔)  รอบ ๑๒ เดอื น (ก.ค.๖๔ - ก.ย.๖๔)
รายงานผล ณ วนั ท.่ี ....... เดือน ......................... พ.ศ............

หน่วยงาน .............................................................................จังหวัด.....................................
****************************

ประเด็น การพัฒนาศกั ยภาพคนทกุ กลมุ่ เป้าหมาย

๑. ชือ่ งาน/โครงการ โครงการบ้านเรา “กา้ ว” ไปดว้ ยกัน (กคช.)

๒. วตั ถุประสงค์ของงาน/โครงการ

๒.๑ ........................................................................................................................

๒.๒ ........................................................................................................................

๒.๓ ........................................................................................................................

๓. เปา้ หมาย

๓.๑ เช่าราคาพเิ ศษ .................................... หลัง

๓.๒ ขายโปรโมช่ันพิเศษ ................................... หลงั

๓.๓ เชา่ ซ้อื (ดอกเบยี้ 0%) ………………...………..หลัง

๔. งบประมาณในการดำเนินการ ทไ่ี ด้รับจัดสรรจำนวน ................................................ บาท

ใชจ้ ่ายจริง จำนวน .......................................... บาท คิดเปน็ รอ้ ยละ ................................................

คงเหลอื จำนวน ............................................. บาท

๕. กระบวนงาน (ลำดับกจิ กรรมต่าง ๆ ทรี่ ะบุในแผนปฏบิ ตั ิงาน)

กระบวนงาน ดำเนินการ การปฏบิ ตั ิ ยงั ไม่ได้ รายละเอยี ด หมายเหตุ
แลว้ อยรู่ ะหวา่ ง ดำเนินการ ผลการดำเนนิ งาน
ดำเนินการ

๑)

๒)

๓)

๔)

๕)

-๒–
๖. ความก้าวหน้าในดำเนินงาน (เทยี บกับแผนปฏิบตั ิงาน)

 ยงั ไมไ่ ดเ้ ร่ิมดำเนินงาน เนื่องจาก ...............................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
 ตรงตามแผนฯ ทีก่ ำหนดไว้
 เร็วกว่าแผนฯ เน่อื งจาก ............................................................................................................................
 ช้ากวา่ แผนฯ เนอ่ื งจาก .............................................................................................................................

๗. ผลสำเรจ็ ของการดำเนินงาน (โปรดทำเคร่ืองหมายระบคุ ่าคะแนนปจั จบุ นั )
หมายเหตุ สำหรับงาน/โครงการท่ีมเี กณฑ์ระดับค่าคะแนน ตอ้ งพิจารณาผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

ค่าคะแนนทกี่ ำหนด ตามเกณฑ์การประเมิน/ค่าเป้าหมาย : รอบ ๖ เดอื น (๑ ต.ค. ๒๕๖๓ – ๓๑ ม.ี ค. ๒๕๖๔)

ระดบั คา่ คะแนน คำอธบิ ายเกณฑ์การให้คะแนน หลักฐานอ้างอิง

๑

๒

๓

๔

๕

ค่าคะแนนท่ีกำหนด ตามเกณฑก์ ารประเมนิ /คา่ เปา้ หมาย : รอบ ๑๒ เดอื น (๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๔)

ระดับค่าคะแนน คำอธบิ ายเกณฑก์ ารให้คะแนน หลักฐานอ้างอิง

๑

๒

๓

๔

๕

หมายเหตุ ขอให้หน่วยรบั ตรวจตรวจสอบจากโครงการที่ส่วนกลาง (กคช.) ส่งให้วา่ มีเกณฑ์วดั ความสำเรจ็
หรอื ไม่ หากไม่มีให้เปรียบเทียบผลสำเร็จตามตัวชีว้ ัดหรอื วัตถุประสงค์ของโครงการ

-๓-

๘. ปัญหา / อุปสรรค
..................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
๙. ข้อเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

. ............................................................. ผู้รายงาน
(............................................................)

............................................................ หัวหนา้ หน่วยงาน
(............................................................)

แบบตรวจและติดตามการปฏิบตั ิงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔ ๒.๔

 รอบ ๓ เดอื น (ต.ค.๖๓ - ธ.ค.๖๓)  รอบ ๖ เดือน (ม.ค.๖๔ - มี.ค.๖๔)
 รอบ ๙ เดอื น (เม.ย.๖๔ - ม.ิ ย.๖๔)  รอบ ๑๒ เดอื น (ก.ค.๖๔ - ก.ย.๖๔)
รายงานผล ณ วันท.่ี ....... เดือน ......................... พ.ศ............

หน่วยงาน .............................................................................จงั หวัด.....................................
****************************

ประเด็น การบรู ณาการเพอื่ สง่ มอบงานบรกิ ารสังคม

๑. ชอ่ื งาน/โครงการ การขับเคลื่อนแผนงานป้องกนั และปราบปรามการค้ามนษุ ย์ของจงั หวดั (สป.)

๒. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ

๒.๑ ........................................................................................................................

๒.๒ ........................................................................................................................

๒.๓ ........................................................................................................................

๓. งบประมาณในการดำเนนิ การ ท่ีไดร้ ับจัดสรรจำนวน ................................................ บาท

ใชจ้ า่ ยจรงิ จำนวน .......................................... บาท คดิ เปน็ ร้อยละ ................................................

คงเหลอื จำนวน ............................................. บาท

๔. กระบวนงาน (ลำดับกิจกรรมตา่ ง ๆ ทีร่ ะบุในแผนปฏบิ ตั ิงาน)

กระบวนงาน ดำเนินการ การปฏบิ ัติ ยังไมไ่ ด้ รายละเอียด หมายเหตุ
แล้ว อยรู่ ะหว่าง ดำเนนิ การ ผลการดำเนนิ งาน
ดำเนนิ การ

๑)

๒)

๓)

๔)

๕)

๕. ความก้าวหน้าในดำเนินงาน (เทียบกับแผนปฏบิ ัตงิ าน)
 ยังไมไ่ ด้เร่ิมดำเนนิ งาน เน่ืองจาก ...............................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
 ตรงตามแผนฯ ที่กำหนดไว้
 เรว็ กว่าแผนฯ เนอ่ื งจาก ............................................................................................................................
 ช้ากว่าแผนฯ เนื่องจาก .............................................................................................................................

-๒–

๖. ผลสำเร็จของการดำเนินงาน (โปรดทำเครือ่ งหมายระบคุ ่าคะแนนปจั จุบัน)

หมายเหตุ สำหรบั งาน/โครงการทม่ี เี กณฑ์ระดับคา่ คะแนน ตอ้ งพจิ ารณาผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

ค่าคะแนนทีก่ ำหนด ตามเกณฑ์การประเมิน/ค่าเป้าหมาย : รอบ ๖ เดอื น (๑ ต.ค. ๒๕๖๓ – ๓๑ ม.ี ค. ๒๕๖๔)

ระดบั ค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑก์ ารใหค้ ะแนน หลักฐานอา้ งองิ

๑ พมจ. รวบรวมขอ้ มลู สถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี ๒๕๖๓จาก
๒ หนว่ ยงานทเี่ กยี่ วข้องในจงั หวัด
๓
จัดทำรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของจังหวัด ประจำปี ๒๕๖๓เพ่อื
๔ นำขอ้ มลู มาวเิ คราะห์และใชป้ ระกอบการขับเคล่ือนงานของจังหวัด

๕ จัดทำแผนปฏบิ ตั ิการเพ่อื ป้องกนั และปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวดั
ประจำปี ๒๕๖๔ และแผนงาน/โครงการที่ต้องขอรับการสนับสนุน
งบประมาณจากกองทนุ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพอ่ื ให้
หนว่ ยงานที่เกย่ี วข้องในจงั หวัดใชเ้ ปน็ กรอบแนวทางในการดำเนนิ งาน
ปอ้ งกนั และปราบปรามการค้ามนุษยข์ องจงั หวดั

รายงานสถานการณก์ ารคา้ มนุษย์ของจังหวัด ประจำปี ๒๕๖๓ และ
แผนปฏบิ ัตกิ ารปอ้ งกนั และปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวดั ประจำปี
๒๕๖๔ ไดร้ บั ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการศูนยป์ ฏิบตั กิ ารปอ้ งกัน
และปราบปรามการคา้ มนษุ ย์จงั หวัด

จัดส่งเลม่ เอกสารท้ัง ๒ ฉบับ ใหก้ ระทรวง พม. (กองต่อต้านการค้ามนุษย)์
ภายในวันท่ี ๕ เมษายน ๒๕๖๔

คา่ คะแนนท่ีกำหนด ตามเกณฑก์ ารประเมนิ /ค่าเปา้ หมาย : รอบ ๑๒ เดือน (๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๔)

ระดับคา่ คะแนน คำอธิบายเกณฑ์การใหค้ ะแนน หลกั ฐานอ้างอิง

๑ ดำเนินโครงการ/กจิ กรรมตามแผนปฏบิ ัตกิ ารเพ่ือป้องกนั และปราบปราม
๒ การค้ามนุษย์จังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔ แล้วเสร็จ จำนวน ๑ โครงการ/
๓ กิจกรรม
๔
๕ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัตกิ ารเพื่อป้องกนั และปราบปราม
การค้ามนุษย์จังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔ แลว้ เสร็จ จำนวน ๒ โครงการ/
กิจกรรม

ดำเนนิ โครงการ/กจิ กรรมตามแผนปฏิบตั ิการเพ่ือป้องกันและปราบปราม
การคา้ มนุษยจ์ ังหวดั ประจำปี ๒๕๖๔ แลว้ เสร็จ จำนวน ๒ โครงการ แต่จัด
ประชุม ศปคม.จังหวดั ไมค่ รบตามจำนวนครัง้ ท่ีกำหนด

ดำเนนิ โครงการ/กจิ กรรมตามแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกนั และปราบปราม
การคา้ มนุษยจ์ ังหวัด ประจำปี ๒๕๖๔ แลว้ เสร็จทัง้ ๓ โครงการ/กจิ กรรม
แต่ขาดเอกสารสรุปรายงานการประชุม หรือรายงานผลการดำเนนิ โครงการ

ดำเนนิ โครงการ/กจิ กรรมตามแผนปฏิบัตกิ ารเพ่ือป้องกนั และปราบปราม
การค้ามนุษยจ์ งั หวัด ประจำปี ๒๕๖๔ แล้วเสรจ็ ทั้ง ๓ โครงการ/กิจกรรม
พร้อมท้งั สรปุ รายงานการประชมุ หรอื รายงานผลการดำเนินโครงการ และ
รวบรวมสง่ ใหก้ องต่อตา้ นการค้ามนุษย์ทราบภายในวนั ท่ี ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔

-๓-

๗. ปญั หา / อุปสรรค
..................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
๘. ข้อเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

. ............................................................. ผู้รายงาน
(............................................................)

............................................................ หัวหนา้ หนว่ ยงาน
(............................................................)

๒.๕

แบบตรวจและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการ พม. ปี ๒๕๖๔

 รอบ ๓ เดอื น (ต.ค.๖๓ - ธ.ค.๖๓)  รอบ ๖ เดอื น (ม.ค.๖๔ - มี.ค.๖๔)
 รอบ ๙ เดือน (เม.ย.๖๔ - ม.ิ ย.๖๔)  รอบ ๑๒ เดือน (ก.ค.๖๔ - ก.ย.๖๔)
รายงานผล ณ วนั ท.ี่ ....... เดือน ......................... พ.ศ............

หน่วยงาน .............................................................................จังหวัด.....................................
****************************

ประเดน็ การบูรณาการเพื่อส่งมอบงานบริการสังคม

๑. ชอื่ งาน/โครงการ การขบั เคลื่อนการดำเนนิ งานทีม พม.จงั หวดั (One Home) เพ่อื ใหเ้ กดิ การบูรณาการ

ในการส่งมอบงานบริการสังคม

๒. วัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ

๒.๑ ........................................................................................................................

๒.๒ ........................................................................................................................

๒.๓ ........................................................................................................................

๓. งบประมาณในการดำเนินการ ท่ีได้รับจัดสรรจำนวน ................................................ บาท

ใชจ้ า่ ยจริง จำนวน .......................................... บาท คิดเปน็ ร้อยละ ................................................

คงเหลือ จำนวน ............................................. บาท

๔. กระบวนงาน (ลำดับกจิ กรรมตา่ ง ๆ ทรี่ ะบุในแผนปฏิบตั ิงาน)

กระบวนงาน ดำเนนิ การ การปฏิบตั ิ ยงั ไม่ได้ รายละเอยี ด หมายเหตุ
แลว้ อยรู่ ะหว่าง ดำเนนิ การ ผลการดำเนนิ งาน
ดำเนินการ

๑)

๒)

๓)

๔)

๕)

๕. ความก้าวหนา้ ในดำเนนิ งาน (เทียบกับแผนปฏิบัตงิ าน)
 ยังไมไ่ ด้เร่ิมดำเนินงาน เน่ืองจาก ...............................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
 ตรงตามแผนฯ ท่ีกำหนดไว้
 เร็วกว่าแผนฯ เน่ืองจาก ............................................................................................................................
 ช้ากว่าแผนฯ เนือ่ งจาก .............................................................................................................................

-๒–
๖. ผลสำเร็จของการดำเนินงาน (โปรดทำเครื่องหมายระบคุ ่าคะแนนปัจจุบัน)

หมายเหตุ สำหรับงาน/โครงการท่ีมเี กณฑร์ ะดับคา่ คะแนน ตอ้ งพิจารณาผลการดำเนินงานตามเกณฑ์

ค่าคะแนนทก่ี ำหนด ตามเกณฑ์การประเมิน/ค่าเป้าหมาย : รอบ ๖ เดือน (๑ ต.ค. ๒๕๖๓ – ๓๑ ม.ี ค. ๒๕๖๔)

ระดบั ค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑ์การให้คะแนน

 ๑ มีคำสั่งแตง่ ตัง้ คณะทำงานขับเคลอ่ื นการดำเนนิ งานทีม พม.จงั หวัด (One Home) มกี ารจัดทำ

ฐานข้อมูลทรัพยากร เพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการทรัพยากร ประกอบด้วย บุคลากร อาคาร

สถานท่ี งบประมาณ ยานพาหนะ วสั ดุอุปกรณ์ ข้อมูล และองคค์ วามรู้

 ๒ มกี ารจัดประชุมคณะทำงานขับเคล่ือนฯ เพื่อบูรณาการการทำงานรว่ มกันภายในจังหวัด โดยมีการ

กำหนดแผนงานในการดำเนินการร่วมกันในรอบ ๖ เดือน (อยา่ งน้อย ๓ คร้ัง) ทั้งนี้ จะต้องมีแผนการ

ขบั เคล่ือนการดำเนินงานของศูนย์ชว่ ยเหลือสงั คม ๑๓๐๐ ประจำจังหวัดรวมอยู่ด้วย

 ๓ มกี ารขบั เคล่อื นงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแผนฯ รว่ มกันของ One Home จังหวัด อยา่ งนอ้ ย

๒ หน่วยงานและไมน่ ้อยกวา่ ๑๐ กิจกรรม

 ๔ มีการขับเคลื่อนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแผนฯ รว่ มกันของ One Home จงั หวัด กับหน่วยงาน

อ่นื ภายในจังหวัดหรือภายนอกจังหวัด อยา่ งน้อย ๔ กจิ กรรม

 ๕ มีการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ในรอบ ๖ เดือน

ค่าคะแนนที่กำหนด ตามเกณฑ์การประเมนิ /คา่ เปา้ หมาย : รอบ ๑๒ เดอื น (๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๔)

ระดับค่าคะแนน คำอธิบายเกณฑก์ ารให้คะแนน

 ๑ มีการประชมุ คณะทำงานขบั เคลื่อนฯ เพ่ือทบทวนแผนบูรณาการ ในรอบ ๑๒ เดอื น (อยา่ งน้อย ๓

ครง้ั ) ทั้งนี้ จะตอ้ งมีแผนการขับเคลอ่ื นการดำเนินงานของศูนยช์ ว่ ยเหลือสงั คม ๑๓๐๐ ประจำ

จงั หวัด รวมอยู่ด้วย

 ๒ มกี ารขบั เคล่อื นงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแผนฯ ร่วมกนั ของ One Home จังหวดั อยา่ งนอ้ ย

๒ หนว่ ยงาน และไมน่ ้อยกว่า ๑๐ กจิ กรรม

 ๓ มกี ารขับเคล่อื นงาน/โครงการ/กจิ กรรม ตามแผนฯ ร่วมกันของ One Home จังหวดั กับ

หน่วยงานอน่ื ภายในจงั หวดั หรอื ภายนอกจังหวดั อย่างน้อย ๕ กิจกรรม

 ๔ มรี ายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ในรอบ ๑๒ เดือน

 ๕ มกี ารประเมนิ ประสทิ ธภิ าพ ประสทิ ธผิ ล และความคุ้มคา่ ในการปฏิบตั งิ านและมีการถอดบทเรียน

การดำเนินงาน

๗. ปญั หา / อุปสรรค
..................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................


Click to View FlipBook Version