The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ

สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ

โดย ดร.กันนิษฐา มาเห็ม และคณะ โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนสุขภาวะสังคม ภาคอีสาน (โครงการไทอีสานสานสุข) สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�ำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) สุขภาวะผ้สู ูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ โดย ดร.กันนิษฐา มาเห็ม และคณะ โครงการพัฒนากลไกการเชือมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลือนสุขภาวะสังคม ภาคอีสาน (โครงการไทอีสานสานสุข) สนับสนุนโดย สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สํานักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2566 จ�ำนวน 400 เล่ม ISBN: 978-616-438-807-9 สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่ปรึกษา ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง วีระ นิจไตรรัตน์ ประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ กองบรรณาธิการ อนุวัฒน์ พลทิพย์ ดร.คณิน เชื้อดวงผุย ดร.พรเพ็ญ โสมาบุตร ธนาคาร ผินสู่ กิ่งผกา สรรพ์สมบัติ สุธาสินี ชัยเดชทยากุล ออกแบบปก ปัญญา พงษ์ถาวร จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ 123 หมู่ 16 ต�ำบลในเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000


คณะท�ำงานและผู้มีส่วนถ่ายทอดเรื่องราว อาจารย์ดร.กันนิษฐา มาเห็ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เบญจยามาศ พิลายนต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิพัฒน์พงศ์ เข็มปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม อาจารย์ตรีนุช ค�ำทะเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม อาจารย์จุฑาลักษณ์แสนโท คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม อาจารย์กัลยารัตน์ คาดสนิท วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก อาจารย์ดร.ไพรินทร์ยอดสุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอ�ำนาจเจริญ อาจารย์ดร.เรืองอุไรอมรไชย มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอ�ำนาจเจริญ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญญาภา ศรีปัญญา คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิติกร ภู่สุวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร อาจารย์ประทุ่ม กงมหา คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พว.นุจรีแมดมิ่งเหง้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลบ้านค้อ อ�ำเภอโพนสวรรค์จังหวัดนครพนม นายณรงค์ชัย บุรชาติ องค์การบริหารส่วนต�ำบลมหาชัย อ�ำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม


บทสรุปผู้บริหาร ส�ำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์(สภส.) และศูนย์ ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์(ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ ภาคีเครือข่ายภาคอีสาน โดยการสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ภาคีเครือข ่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริม สุขภาวะมาอย่างต่อเนื่อง ทุกกลุ่มประชากรเป้าหมายสามารถเข้าถึงงานและ กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะได้อย ่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ ่มประชากร ผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ก่อให้เกิดรูปธรรม ความส�ำเร็จในการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุจากความร่วมมือขับเคลื่อนงาน เสริมสร้างสุขภาวะทั้งในระดับนโยบายและภาคีเครือข ่ายในระดับชุมชน ท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุท่ามกลางสถานการณ์สังคม ผู้สูงอายุอย่างมีพลัง สังคมไทยในปัจจุบันได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์(Aged Society) โดยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งหมด สาเหตุส�ำคัญของสถานการณ์ดังกล่าว คือ คลื่นสึนามิ“ประชากร รุ่นเกิดล้าน” ในขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรของประเทศช้าลงและ มีแนวโน้มติดลบ แต ่ประชากรสูงอายุกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย ่างรวดเร็ว โดยมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ7 ต่อปีและคาดการณ์ว่าในอีก 18 ปีข้างหน้า (ราวปี 2583) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ20 ล้านคน หรือจ�ำนวนประมาณ1ใน 3ของ คนไทยจะเป็นผู้สูงอายุรวมถึงนโยบายคุมก�ำเนิดในอดีตถือว่าเกิดประสิทธิผล ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยท�ำให้ประชากรมีอายุยืนขึ้น อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรไทยเพิ่มมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์ผู้สูงอายุ ก


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 20 จังหวัด ได้เข้าสู ่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุอยู่ในสัดส่วน ที่ใกล้เคียงกับสัดส่วนระดับประเทศ (ร้อยละ28.45) โดยจังหวัดศรีสะเกษและ จังหวัดยโสธรมีอัตราส่วนการพึ่งพิงของผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 29.53 และ ร้อยละ 27.76 ตามล�ำดับ นั่นหมายถึงวัยแรงงาน 100 คนต้องแบกรับภาระ เลี้ยงดูผู้สูงอายุถึง 29 คน และมีแนวโน้มการแบกรับภาระที่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรระดับประเทศ จากการวิเคราะห์ข้อมูลระดับชุมชนท้องถิ่นของเครือข่ายร่วมสร้าง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ พื้นที่ภาคอีสานและกรณีศึกษาพื้นที่รูปธรรม 8 พื้นที่ ครอบคลุม 6 จังหวัด ประกอบด้วย 1) จังหวัดนครพนม 2) จังหวัดขอนแก่น 3) จังหวัดเลย 4) จังหวัดนครราชสีมา 5) จังหวัดสกลนคร และ 6) จังหวัด อ�ำนาจเจริญเพื่อเป็นแนวทางในการด�ำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ได้อย ่างครอบคลุม รวมถึงเป็นแนวทางในการวางแผนการแก้ไขปัญหา ในระดับพื้นที่ให้สอดคล้องความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง คณะท�ำงาน เครือข ่ายประเด็นผู้สูงอายุจึงได้ถอดบทเรียนพื้นที่รูปธรรมดังกล ่าวผ ่าน เรื่องเล่า (Story Telling) จากประสบการณ์ตรงและจากค�ำบอกเล่าของผู้คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งบทสังเคราะห์รูปธรรมพื้นที่ได้สะท้อนสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ กระบวนการด�ำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายโดยภาพรวม จากผลการสังเคราะห์ พบสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุครอบคลุมอย่างน้อย 4 มิติได้แก่ มิติที่ 1 ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย โรคและการเจ็บป ่วย โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนที่ก ่อให้เกิดความรุนแรงของโรคตามมาในวัยผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพที่ไม ่พึงประสงค์การเข้าถึงบริการและภาระงานที่เพิ่ม มากขึ้น การจัดบริการในระบบการดูแลระยะยาว กองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มิติที่ 2 ด้านสังคม ประกอบด้วย อัตราการ ข


พึ่งพิงที่เพิ่มสูงขึ้นในวัยผู้สูงอายุส ่งผลต ่อการจัดสวัสดิการพื้นฐานภาครัฐ การท�ำงานเชื่อมประสานของหน่วยงานหรือองค์กรยังคงท�ำแบบแยกส่วน ขณะที่การร่วมกิจกรรมในชุมชนของผู้สูงอายุลดน้อยลง และที่ส�ำคัญ คือ การจัดท�ำฐานข้อมูลปัญหาของผู้สูงอายุและการพัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้ งานยังไม ่ต ่อเนื่องและทันสมัย มิติที่ 3 ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ฐานะครอบครัวของผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ยากจน ผู้สูงอายุบางส่วน ต้องการงานท�ำ แต่ไม่มีแหล่งจ้างงาน สวัสดิการภาครัฐจัดให้ไม่เหมาะสม หรือไม ่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน หลายพื้นที่เรียกร้อง ให้มีการปรับเพิ่มเติมให้เหมาะสม และมิติที่ 4 ด้านสภาพแวดล้อม ประกอบ ด้วย สภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจ�ำวันของผู้สูงอายุ บางส่วน ขาดการสนับสนุนกายอุปกรณ์ท�ำให้ใช้ชีวิตด้วยความยากล�ำบาก รวมถึง การจัดสรรพื้นที่สาธารณประโยชน์และปรับสภาพหน ่วยบริการภาครัฐ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุยังไม่ครอบคลุม อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ เบื้องต้น พบว่า ปฐมเหตุแห่งปัญหาที่เชื่อมโยงทุกมิติให้เกิดความอ่อนด้อย ของระบบการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คือ ความยากจนของผู้สูงอายุและ สภาพแวดล้อมของครอบครัวผู้สูงอายุ จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว คณะท�ำงานภาคีเครือข่ายประเด็น ผู้สูงอายุได้สังเคราะห์บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติพื้นที่ต้นแบบ รูปธรรมการด�ำเนินงานประเด็นการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุทั้ง 8 พื้นที่ พบจุดร ่วมของกลไกขับเคลื่อนงานและนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะ ผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การน�ำใช้ทุนทางสังคมและ ศักยภาพ ได้แก่Caregiverอสม. ครูอาสาชมรมผู้สูงอายุสภาเด็กและเยาวชน ผู้น�ำชุมชน ซึ่งแต ่ละกลุ ่มล้วนมีความโดดเด ่นในกิจกรรมของแต ่ละพื้นที่ แตกต่างกันไป 2) หน่วยงานส�ำคัญในการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ คือองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการดูแลและ ค


ส ่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนในความรับผิดชอบ ซึ่งถือเป็นองค์กรที่มี ความพร้อมทั้งงบประมาณ อัตราก�ำลังและสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ 3) การมี เครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงคณะอนุกรรมการ สนับสนุนการท�ำงานด้านผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มองค์กรในระดับปฏิบัติการที่มี ส่วนในการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ กลุ่มเด็กและ เยาวชน กลุ่มสักลาย เป็นต้น 4) การน�ำใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์งานและกิจกรรมของคณะท�ำงานที่สอดคล้องกับยุคสมัย เป็นกลไกหลักในการท�ำงานเชื่อมประสานระหว ่างประเด็นในบางพื้นที่ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผลงานให้คนทั่วโลกได้รับรู้และโน้มน้าวการ ตัดสินใจให้การสนับสนุนการด�ำเนินงานระดับชุมชนและท้องถิ่น จากการสังเคราะห์พื้นที่ต้นแบบรูปธรรมการด�ำเนินงานประเด็น การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุคณะท�ำงานภาคีเครือข่ายประเด็นผู้สูงอายุ ได้เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายโดยภาพรวมต ่อหน ่วยงานร ่วมด�ำเนินการ และเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะสังคมภาคอีสานครอบคลุม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) มุ่งเน้นการพัฒนา รูปแบบศูนย์ดูแลกลางวันส�ำหรับผู้สูงอายุ ด้วยกระบวนการสร้างการมี ส ่วนร ่วมของชุมชน กระทรวงสาธารณสุขและหน ่วยบริการสุขภาพระดับ ปฐมภูมิเสนอให้มีการจัดท�ำและพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุและการจัดบริการ ด้วยกลุ่มจิตอาสาในชุมชน คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) และส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สนับสนุนการขยาย นวัตกรรมชุมชนจากเครือข่าย สสส. ด้วยการเชื่อมประสานกลไกในแต่ละ จังหวัดในภาคอีสานที่ขับเคลื่อนงานการดูแลผู้สูงอายุในภาคอีสานข้ามพื้นที่ คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมพัฒนานโยบายสาธารณะ แบบมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมกลุ่มและเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและ ง


สถาบันวิชาการควรร่วมกับ สสส.ในการเชื่อมเครือข่ายทางวิชาการในการวิจัย พัฒนา ถอดบทเรียน ขยายผลบทเรียน ความส�ำเร็จและพัฒนาหลักสูตร ที่สอดคล้องกับการดูแลผู้สูงอายุในสังคมอีสาน จ


ค�ำน�ำ สุขภาวะผู้สูงอายุ : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติเล่มนี้ รวบรวมจากเรื่องเล่ารูปธรรมการด�ำเนินงานของนักวิชาการและผู้มีส่วนร่วม กับการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส ่วนร ่วมของชุมชน ภายใต้บริบทภาคอีสาน หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่หลากหลายใน การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุกระบวนการด�ำเนินงาน ผลผลิตและผลลัพธ์ ที่ได้ทั้งยังมีการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา เพื่อน�ำไปใช้เป็นข้อเสนอ ในเชิงนโยบายทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติเพื่อพัฒนาระบบ การดูแลผู้สูงอายุและเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนระบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่อื่น ๆ คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือสุขภาวะผู้สูงอายุ : บทเรียน และประสบการณ์จากการปฏิบัติเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและ ผู้ที่สนใจในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมให้ได้เรียนรู้ และน�ำสู ่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาต ่อยอดระบบการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ต่อไป ดร.กันนิษฐา มาเห็ม และคณะ มกราคม 2566 ฉ


สารบัญ หน้า บทสรุปผู้บริหาร ก ค�ำน�ำ ฉ สารบัญ ช สารบัญตาราง ฌ สารบัญภาพ ญ บทน�ำ เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน 1 บนฐานการผลิตความรู้ร่วม : บทสังเคราะห์ จากการด�ำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุน การเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาวะภาคอีสาน 1.1 ประเด็นและพื้นที่ 3 1.2 การขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะ 5 1.3 การเชื่อมเครือข่าย 9 1.4 สรุป 17 บทที่ 1 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ 19 1.1 สถานการณ์ผู้สูงอายุ 19 1.2 บริบทสังคม วัฒนธรรมอีสานกับการดูแลผู้สูงอายุ 30 1.3 สภาพปัญหาและผลกระทบจากการเข้าสู่ 38 สังคมผู้สูงอายุ ช


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 2 กระบวนการขับเคลื่อนงานและนวัตกรรม 43 สร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ 2.1 จุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรม 51 2.2 เป้าหมายหลักของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ 52 2.3 กลไกขับเคลื่อนงานและนวัตกรรม 53 สร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ 2.4 วิธีการด�ำเนินงานสู่ความส�ำเร็จ 54 2.5 ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วม 55 2.6 ผลผลิต 55 2.7 ผลลัพธ์ 56 2.8 ผู้ได้รับประโยชน์ 57 2.9 ปัจจัยเงื่อนไขความส�ำเร็จ 57 บทที่ 3 บทเรียนและข้อเสนอเชิงนโยบาย 61 3.1 บทเรียน 61 3.2 ข้อเสนอเชิงนโยบาย 69 บรรณานุกรม 75 ภาคผนวก QR Codeเพื่อเข้าถึงเรื่องเล่าพื้นที่รูปธรรมฉบับเต็ม 77 8 พื้นที่ต้นแบบ ซ


สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 จ�ำนวนและร้อยละของประชากรภาคอีสาน 31 จ�ำแนกรายจังหวัด ตารางที่ 2 การสังเคราะห์ผลของกระบวนการขับเคลื่อนงาน 45 และนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ฌ


สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 แนวโน้มดัชนีการสูงอายุอัตราส่วนการพึ่งพิง 20 และอัตราส่วนการเกื้อหนุน ภาพที่ 2 แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอาณาเขตติดต่อ 30 ภาพที่ 3 ประเภทนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบการพัฒนา 44 และดูแลผู้สูงอายุ ญ


บทน�ำ เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม : บทสังเคราะห์จากการด�ำเนินโครงการพัฒนากลไก สนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย สุขภาวะภาคอีสาน คณิน เชื้อดวงผุย อนุวัฒน์ พลทิพย์ ตลอดสองทศวรรษของการด�ำเนินงานของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้การสนับสนุนองค์กร หน่วยงาน ชุมชน ด�ำเนินการโครงการสร้างเสริมสุขภาพ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ผ่านส�ำนักต่าง ๆ ของ สสส.ซึ่งมีอยู่ถึง 11 ส�ำนัก ส่งผลให้เกิดรูปธรรมความส�ำเร็จ ทั้งในด้าน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเสริมสร้าง สุขภาพ มีพื้นที่ตัวอย่างต้นแบบ และบุคคลตัวอย่างต้นแบบ รวมทั้งเกิดผู้น�ำ ด้านการเสริมสร้าง และพร้อมที่จะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานเสริมสร้าง สุขภาพส�ำหรับผู้ที่สนใจได้1 การด�ำเนิน สสส.แม้จะเกิดความส�ำเร็จมากมาย หลายมิติดังกล่าวข้างต้น แต่การขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ยังขาดการเชื่อม ประสานกันอย่างเป็นระบบ ท�ำให้ขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขาดการประสาน ทรัพยากร ที่ควรจะหนุนเสริมการท�ำงานซึ่งกันและกันยกระดับการท�ำงาน 1 ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.). (2565). เอกสารโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะ สังคม ภาคอีสาน (ไทอีสาน สานสุข) ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


2 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม ให้มีพลังในการขับเคลื่อนยกระดับให้เป็นประเด็นนโยบายสาธารณะทั้งใน ระดับพื้นที่และระดับชาติ ต้นปีพ.ศ. 2558 ส�ำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์(สภส.) ของ สสส. และศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณ ประโยชน์(ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการหารือถึงแนวทางเพื่อให้การท�ำงานของ สสส. มีประสิทธิภาพมากขึ้น จุดเน้นของ สภส. ก็คือ การท�ำให้กลุ่มคน หรือองค์กรที่ได้รับทุนสนับสนุน จาก สสส. ได้รู้จักกัน แบ่งปันการท�ำงาน และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ งานของ สสส. มีผลกระทบ (impacts) เพิ่มมากขึ้น ความสนใจของ สภส. นี้ สอดคล้องกับงานและความสนใจของ ศปส. เป็นอย่างยิ่งโดย ศปส.จัดตั้งขึ้น มาเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่ท�ำงานให้แก่ภาคประชาสังคม การหารือ ในครั้งนั้น ได้น�ำไปสู่โครงการที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการพัฒนา กลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาวะภาคอีสาน” แต่ผู้เกี่ยวข้องมักจะเรียกชื่อโครงการนี้ว่า “โครงการเชื่อม” หรือ “โชว์ แชร์ เชื่อม” และให้ศปส. เป็นผู้น�ำเอาโครงการไปปฏิบัติโครงการนี้ได้ก�ำหนด วัตถุประสงค์ไว้3 ประการได้แก่ 1) เพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนการท�ำงาน ของภาคีเครือข่ายสุขภาวะในพื้นที่ภาคอีสานให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนา ศักยภาพภาคีเครือข่ายสุขภาวะในพื้นที่ภาคอีสานให้มีทักษะ ความรู้และ ทัศนคติที่เอื้อต ่อการเชื่อมประสานภาคีเครือข ่ายและมีแนวทางในการ ขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่ และ 3) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและ การจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม โครงการนี้มีก�ำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยนับตั้งแต่เดือน 15 พฤษภาคม 2561–16 พฤศจิกายน 25642 การด�ำเนินงาน 2 บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2564). เอกสารโครงการการพัฒนากลไกสนับสนุนการเชื่อม ประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะภาคอีสาน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 3 โครงการนี้ได้ก่อให้เกิดเวทีที่มีการรวมคน กลุ่มองค์กรเครือข่ายสร้างเสริมสุข ภาพใน 20 จังหวัดภาคอีสาน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกรอบ “โชว์ แชร์ เชื่อม” ซึ่งมีกลุ ่ม องค์กร ที่ด�ำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพทั่วภาคอีสาน หลากหลายมิติประเด็นเข้าร ่วม ซึ่งสร้างความตื่นตัวและเกิดการเรียนรู้ ระหว่างประเด็นและข้ามประเด็น อย่างไรก็ตามจากการสรุปบทเรียนพบว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นหลักการที่ถูกต้องแต่มีข้อจ�ำกัดเรื่องการเชื่อมที่ต่อเนื่อง ด้วยประเด็นที่หลากหลาย พื้นที่ที่กว้างใหญ่ ไม่สะดวกในการไปมาหาสู่กัน ถึงแม้จะมีผลกระทบในบางประเด็นแต่ยังไม่มีพลังมากพอ ผลที่เกิดจึงมีพลัง เพียงการ โชว์ และแชร์เท่านั้น ดังนั้น การด�ำเนินโครงการในระยะต่อมา จึงมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยค้นหาประเด็นที่เป็นจุดคานงัด หรือประเด็น ยุทธศาสตร์โดยเลือกบางประเด็นเท่านั้น และค้นหาผู้คน เครือข่าย มาร่วม กระบวนการด�ำเนินงาน สร้างให้เกิดรูปธรรมการเชื่อมประสาน แล้วใช้เป็นบท เรียนในการเคลื่อนภาพใหญ่ของการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป 1.1 ประเด็นและพื้นที่ การพัฒนากระแสหลักแม้ว่าจะสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งการพัฒนาก็ส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ที่เป็นผลกระทบด้านลบ โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น อุบัติการณ์ที่เกิดจากการพัฒนา ที่ส�ำคัญคือ ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ การใช้สารเคมี การเกษตรส่งผลกระทบต่อทั้งสภาพดิน น�้ำ และสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยส�ำคัญ ด้านสังคมนั้นเด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับความท้าทาย ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ขณะที่จ�ำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกือบจะเป็นสังคมสูงวัยที่สมบูรณ์ อุบัติการณ์ดังกล ่าวจึงเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญของการขับเคลื่อน สุขภาวะทั้งเครือข่ายของ สสส.และเครือข่ายอื่นๆ เช่น สมัชชาสุขภาพจังหวัด


4 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม กขป. เป็นต้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มองค์กร ทั้งภาครัฐ องค์กร พัฒนาเอกชน ขับเคลื่อนประเด็นเหล่านี้อยู่จ�ำนวนมาก มีบุคคลที่มีความรู้ ความช�ำนาญ มีองค์กรที่ขับเคลื่อนประเด็นเหล่านี้ต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้ง มีรูปธรรมความส�ำเร็จ นวัตกรรมการท�ำงาน ที่เกิดจากการปฏิบัติดังนั้น การเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาวะภาคอีสาน จึงก�ำหนดประเด็นการ ขับเคลื่อน 4 ประเด็น คือ ประเด็นการจัดการขยะ ประเด็นเกษตรอินทรีย์ ประเด็นผู้สูงอายุและประเด็นเด็กและเยาวชน เพื่อใช้เป็นกรอบในการด�ำเนิน งานให้เกิดการเชื่อมระดับประเด็นที่ชัดเจน พื้นที่ที่เป็นกรณีศึกษาแต่ละประเด็น มีดังนี้ 1) ประเด็นการจัดการขยะ ใช้พื้นที่รูปธรรมที่น�ำมาถอดบทเรียน และเชื่อมประสานบทเรียนการขับเคลื่อนการจัดการขยะในพื้นที่ต้นแบบ 9 พื้นที่ กระจายใน 6 จังหวัด (รายละเอียดมีอยู่ในหนังสือเล่มเล็กแต่ละ ประเด็น) พื้นที่การจัดการขยะมีจุดเน้นที่การจัดการขยะที่ต้นทางและนวัตกรรม การจัดการขยะของครัวเรือน 2) ประเด็นเกษตรอินทรีย์ใช้กรณีศึกษา 3 เครือข่าย คือ 1) กรณี เครือข่ายระบบอาหารปลอดภัย (LSF) จังหวัดเลย 2) กรณีเครือข่ายเกษตร อินทรีย์PGS “กินสบายใจ”จังหวัดอุบลราชธานีและ3) กรณีเครือข่ายระบบ การจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน ต�ำบลโคกยาง อ�ำเภอ ปราสาท จังหวัดสุรินทร์จุดเด่นของพื้นที่ถอดบทเรียนคือ การสร้างเครือข่าย ในระดับพื้นที่และการขับเคลื่อนประเด็นสู่นโยบายระดับจังหวัด 3) ประเด็นเด็กและเยาวชน มีกรณีศึกษา 1) สวนนิเวศเกษตรศิลป์ อ�ำเภอล�ำดวน จังหวัดสุรินทร์2) สถาบันพัฒนาเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา อ�ำเภอส�ำโรง จังหวัดอุบลราชธานี3) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคนหนุ ่มสาว (ฮักบ้านเกิด) อ�ำเภออากาศอ�ำนวย จังหวัดสกลนคร จุดเด่นคือกระบวนการ จัดการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 5 4) ประเด็นผู้สูงอายุใช้กรณีศึกษา 8 พื้นที่ กระจายอยู่ใน 6 จังหวัด จุดเด ่นของประเด็นผู้สูงอายุ คือ การขับเคลื่อนการท�ำงานในพื้นที่แบบ บูรณาการ และนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่หลากหลาย การสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 ประเด็น แท้จริงแล้วมีการด�ำเนินงาน หลายพื้นที่ กระจายอยู ่ในภาคอีสาน พื้นที่กรณีศึกษาเป็นเพียงพื้นที่หนึ่ง ที่ใช้เป็นตัวแทนแต่ละประเด็นเข้าสู่กระบวนการ “โชว์แชร์เชื่อม” และน�ำ รูปแบบที่ได้ไปขยายผลต่อไป 1.2 การขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะ การขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะภายใต้โครงการ อยู่บนพื้นฐาน ของหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง และแนวทาง ปฏิบัติดังนี้ 1. กระบวนการ “โชว์ แชร์ เชื่อม” อาจคิดว่าเป็นค�ำขวัญ หรือ mottoเท่ๆ แต่หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง และขยายความแล้วจะเห็นกระบวนการท�ำงานที่เป็นกลยุทธ์การเชื่อมประสาน ภาคีสร้างเครือข ่ายที่ซ ่อนอยู ่ หัวใจของกระบวนการนี้คือ การใช้ความรู้ เป็นตัวน�ำ ค�ำว่า “โชว์” เป็นกระบวนการแรกที่ท�ำให้คนท�ำงานได้รู้จักกัน ให้รู้ว่าใครท�ำอะไรอยู่ที่ไหน ผลลัพธ์การท�ำงานเด่นๆ คืออะไร มาเล่ามาแสดง ให้เพื่อนได้เรียนรู้การโชว์จะช่วยให้กลุ่มคนท�ำงานได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นหน้าต่างบานแรกที่จะน�ำไปสู่การเปิดใจเรื่องอื่นๆ ที่ซับซ้อนต่อไป “แชร์” คือ การน�ำประสบการณ์ความรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การแก้ไข รวมถึง นวัตกรรม ของแต่ละกลุ่ม องค์กรใช้ในการขับเคลื่อนการท�ำงานมาแลกเปลี่ยน กัน “เชื่อม” เป็นขั้นตอนการท�ำงานร่วมกันข้ามพื้นที่ หรืออาจข้ามประเด็น เมื่อรู้จักกัน (โชว์) เข้าใจกัน (แชร์) จะเห็นประเด็นร่วมที่จะท�ำงานร่วมกัน เพื่อให้การท�ำงานมีการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นกลุ่มเครือข่ายกว้างมากขึ้น


6 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม ซึ่งจะมีผลต ่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาวะให้ถูกทิศทางแก้ปัญหาได้จริงในระยะยาวและยั่งยืน แนวคิด “โชว์ แชร์ เชื่อม” จึงเป็นกลยุทธ์การสร้างเครือข ่าย เน้นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการผลิตความรู้ร่วม เพื่อเป็นพลังการขับเคลื่อน การ สร้างเสริมสุขภาวะซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน 2. แนวคิดเครือข่าย ดังที่กล่าวข้างต้นการขับเคลื่อนโดยกระบวนการ “โชว์แชร์เชื่อม” เป้าหมายปลายทางคือการเกิดเครือข่าย เพื่อให้เกิดการประสานหนุนเสริม การท�ำงานร่วมกัน ก่อนอื่นต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเครือข่ายให้ ตรงกันเสียก่อน แนวคิดเครือข ่ายทางสังคม (Social Network Concept) มีพัฒนาการมาจากพื้นฐานของทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) โดยมีฐานคติ(Assumption) คือในเครือข่ายสังคม จะประกอบไปด้วยบุคคล หรือตัวแสดง (Actor) คือ คน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในการท�ำงาน ที่มีความ สัมพันธ์(Relation) ซึ่งกันและกันตามบทบาทหรือหน้าที่ที่แต ่ละคนหรือ คู ่ความสัมพันธ์มีอยู ่ ซึ่งแต ่ละคนนั้นมิได้มีเพียงบทบาทเดียว หากแต ่มี หลายบทบาทที่จะต้องแสดงในชีวิตประจ�ำวัน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในเครือข ่ายสังคม บางครั้งอาจเป็นไปตามทฤษฎีของการแลกเปลี่ยน เพราะบุคคลไม่เพียงแต่ท�ำตามบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังในสังคม หรือตาม บรรทัดฐานที่ได้รับการถ่ายทอดมาเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ยังขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการรับรู้และการตัดสินใจในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เครือข่ายจึงเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ทั้งระดับปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคล กับกลุ่ม กลุ่มกับกลุ่ม หรือกลุ่มกับเครือข่าย ความสัมพันธ์จะวัดจากกิจกรรม การสื่อสาร การพึ่งพาอาศัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีโครงสร้างหลาย รูปแบบ


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 7 ปัจจัยหรือแรงกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายทางสังคมนั้น มีหลายปัจจัย โดยสรุป คือ(1) สถานการณ์ปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ซ�้ำซ้อน หลากหลาย และขยายตัวจนเกินความสามารถของปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มที่จะด�ำเนินการ แก้ไข เมื่อแก้ไขคนเดียวไม่ได้ก็หาเพื่อน หาพวก (2) เครือข่ายเป็นเครื่องมือ หรือยุทธศาสตร์ในการสร้างพื้นที่ ทางสังคม การเป็นเครือข่ายท�ำให้มีพลัง มีอ�ำนาจต่อรอง หรือพูดแล้วเสียงดัง (3) ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ในการ ท�ำงานร่วมกัน รวมไปถึงมีปัจจัยเสริม ที่เป็นเงื่อนไขส�ำคัญ คือ ความเต็มใจ ที่จะเข้าร่วมเป็นเครือข่าย จะเห็นได้ว่า ปัจจัยส�ำคัญของการเกิดเครือข่าย ทางสังคม คือ การที่ปัจเจกบุคคล องค์กร มีข้อจ�ำกัดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่จะท�ำให้ตนเองบรรลุเป้าหมายหรือความต้องการและถ้าจะบรรลุเป้าหมาย ดังกล ่าวจ�ำเป็นต้องแสวงหาความร ่วมมือกับคนอื่น องค์กรอื่น ซึ่งการ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยตนเองนั้นอาจมาจากสถานการณ์ปัญหา ที่รุนแรง ซับซ้อน รวมถึงการที่ต้องใช้ทรัพยากร องค์ความรู้ที่หลากหลาย ดังนั้น เมื่อจะรวมกันเป็นเครือข่ายต้องวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้ให้ชัดเจน ระดับของเครือข่าย ศาสตราจารย์ดร. บัวพันธ์ พรหมพักพิง ได้สรุป ความสัมพันธ์ของตัวแสดงในเครือข่ายว่ามีสองระดับ คือ ระดับที่มีความ เข้มข้น ระดับนี้เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะสองต่อสอง มีความใกล้ชิด เช่น ระดับบุคคลกับบุคคล เป็นการท�ำงานที่สื่อสารถึงกันโดยตรงไม ่ต้องผ ่าน ตัวเชื่อมประสาน อีกระดับหนึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามเส้า ซึ่งมีความ หลากหลายของตัวแสดง เรียกความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ว่าความสัมพันธ์ แบบอ่อน แบบแผนของความสัมพันธ์ระดับนี้ต้องมีตัวเชื่อมหรือเป็นสะพาน ประสานความร ่วมมือ ซึ่งศาสตราจารย์ดร.บัวพันธ์พรหมพักพิง ชี้ว ่า ความสัมพันธ์แบบอ ่อนนี้มีบทบาทส�ำคัญในการเชื่อมโยงระหว ่างสังคม ระดับจุลภาค และมีบทบาทมากกว่าความสัมพันธ์แบบเข้มข้น


8 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม 3. แนวคิดการผลิตความรู้ร่วม การท�ำงานในวงการด้านสุขภาพในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องของ ความรู้นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องการการขับเคลื่อน ในระดับนโยบายสาธารณะ ศาสตราจารย์ดร.บัวพันธ์พรหมพักพิง ได้สรุป การมองความรู้ออกเป็น สองด้าน โดยด้านแรกมองว่าความรู้เป็นเครื่องมือ ของมนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เช่น ความรู้ในการประกอบอาชีพ การใช้ชีวิต การอยู ่ร ่วมกันของคนในสังคม เป็นต้น อีกด้านหนึ่งความรู้ เมื่อถูกสถาปนาขึ้นมา “ความรู้” จะท�ำหน้าที่ปฏิเสธ การตัดสินใจ หรือ ปรากฏการณ์ความเข้าใจอันเดียวกัน อื่นๆ ว่าไม่ใช่ความรู้ความรู้จึงไม่ใช่ เครื่องมือหรืออาวุธส�ำหรับขจัดความไม่รู้เท่านั้น หากแต่ความรู้เป็นเครื่องมือ ของกลุ่มผู้ปกครอง ที่ใช้ครอบง�ำ กล ่อมเกลาให้ผู้ปกครองยอมรับอ�ำนาจ ปกครองของตนเองก็ได้หรือในทางตรงกันข้าม ความรู้สามารถใช้เป็น เครื่องมือของผู้ถูกกดขี่ ในการต่อต้านอ�ำนาจปกครองก็ได้กล่าวโดยสรุป ความรู้เป็นความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจแบบหนึ่ง ที่ผลของความสัมพันธ์หรือ ผลของความรู้นี้ไม ่ได้มีความเป็นกลาง ส�ำหรับผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์นั้น ๆเสมอไป การผลิตร่วมความรู้มีลักษณะที่โยงยึดกับ “บริบท” อย่างมาก กล่าวคือความร่วมมือและความรู้ต่างๆ มีการผันแปรไปตามกาลเวลา สถานที่ และกลุ ่มคน การผลิตร ่วมความรู้ต้องอาศัยความร ่วมมือจากหลายฝ ่าย ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ความไว้วางใจระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือ trusts จึงเป็น รากฐานที่ส�ำคัญ เป็นเสมือนสินทรัพย์ทุนเริ่มต้น และที่ส�ำคัญคือ ผลลัพธ์ จากการผลิตร่วมนี้อาจจะไม่ออกมาเป็น “ผลิตภัณฑ์” หรือผลลัพธ์ที่สร้าง “มูลค่า” และสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของการผลิต ร่วมได้แต่การผลิตร่วมความรู้จะเป็นวิธีการที่ส�ำคัญ ที่จะท�ำให้สังคมของเรา “ก้าวผ่าน” ไปสู่ภาวะที่เราปรารถนา คือความยั่งยืนของการพัฒนาได้ในทาง


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 9 ปฏิบัติการผลิตความรู้ร่วม อาจจะครอบคลุมถึงปฏิบัติการด้านต่างๆ ได้แก่ 1) การเชื่อมระหว ่างผู้กระท�ำการ และการเชื่อมระหว ่างระดับของการ ปฏิบัติการ 2) การสนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของชุมชน ในการสร้าง ความรู้ร่วม 3) การเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ส�ำหรับการสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชน และ4) การขยายพลังการผลิตร่วม ให้ก้าวไปสู่พลังของการเปลี่ยนผ่าน (transformative) สังคม การขับเคลื่อนงานของโครงการฯ ภายใต้แนวคิด “โชว์ แชร์ เชื่อม” เป็นกระบวนการที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือ การใช้ความรู้เป็นเครื่องมือ ในการท�ำงาน เป็นการใช้ความรู้ในแบบแรก คือการใช้ความรู้เพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่การใช้ความรู้เพื่อสั่งการให้ใครท�ำอะไรหรือไม่ท�ำอะไร หรือเพื่อครอบง�ำ อันเป็นการใช้ความรู้แบบที่สอง กระบวนการเชื่อมจึงเป็น “การผลิตความรู้ร่วม” ที่น�ำไปสู่การสร้างความร่วมมือและแก้ปัญหาได้จริง 1.3 การเชื่อมเครือข่าย ขั้นตอนที่ส�ำคัญ ในการเชื่อมเครือข่ายคนท�ำงานสร้างสุขภาพ คือ การผลิตร่วมความรู้ซึ่งเป็นกระบวนการทางสังคม ที่มุ่งจะแก้ปัญหาหรือ หาทางออกจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง และพลังที่ส�ำคัญที่จะน�ำไปสู ่การ คลี่คลายแก้ไขปัญหา คือความรู้ที่มิใช่ความรู้ทางเทคนิควิชาการเท่านั้น ความรู้ในที่นี้น่าจะตรงกับค�ำว่า ปัญญาในความคิดทางศาสนาพุทธ เพื่อให้ การสังเคราะการขับเคลื่อนภาคีสุขภาวะเป็นระบบ จึงขอใช้กรอบแนวคิด การเคลื่อนของความรู้หรือ CCEE Model มาเป็นแนวทาง ดังนี้ 1) การสร้างฉันทามติในประเด็นร่วม (Common agenda) เป้าหมายของโครงการ คือ การสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคี เครือข ่าย และสื่อความเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับภาคีเครือข ่าย รวมทั้งเสริมแรง สร้างพลัง สนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์สุขภาวะ


10 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม ของภาคีเครือข ่ายในพื้นที่ภาคอีสาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมด้านสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายผลกระทบงานสร้างเสริมสุขภาพจะเกิดขึ้นได้จะต้องมี “วาระร่วม” ทั้งนี้เนื่องจากว่างานสร้างสุขภาพมีขอบเขตที่กว้างใหญ่ ผู้น�ำและ เครือข่ายล้วนแต่มีความสนใจในประเด็นที่ตนเองท�ำงาน หรือรับการสนับสนุน มาจากผู้ให้ทุนแตกต่างกัน โดยหลักการแล้ว การเกิดวาระร่วมอาจจะมาจาก 1) การแลกเปลี่ยน พูดคุยกันระหว่างคนที่ท�ำงาน หรืออยู่ในเครือข่ายอย่างสม�่ำเสมอ จนน�ำไปสู่ การตัดสินใจ หรือการจัดความส�ำคัญของประเด็นว่า ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เป็นประเด็นร ่วม และเมื่อเกิดการตัดสินใจแล้ว ก็เกิดการขยับขับเคลื่อน ร่วมกัน 2) มีการรวบรวมข้อมูลทางเทคนิควิชาการที่มีอยู่แล้ว ที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นปัญหาที่มีความสนใจร่วม และ3) มีการส�ำรวจหรือศึกษาวิจัยประเด็น เฉพาะ และน�ำเอาการประเมิน วินิจฉัยปัญหานั้นๆ มาน�ำเสนอให้เครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนในการตัดสินใจที่จะขับเคลื่อน ประเด็นขับเคลื่อนทั้ง 4 ประเด็น เป็นประเด็นที่อยู ่ในกระแส หรือมีอุบัติการณ์ที่ชัดเจน การด�ำเนินงานที่ผ่านมามีการประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันบ่อยครั้ง แต่ให้ความส�ำคัญกับการเชื่อมเครือข่าย และการแลกเปลี่ยน เรียนรู้การก�ำหนดทิศทางหรือวาระร่วม ยังไม่มีการกล่าวถึงซึ่งคงเป็นค�ำถาม ต่อไปในอนาคตว่าเครือข่ายมีความรู้มีรูปธรรมมีแล้ววาระร่วมที่จะขับเคลื่อน ร่วมกัน คืออะไรอย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ชัดเจนถึงขั้นเป็นวารระร่วม เครือข่าย ที่มีการเชื่อม เริ่มมีการพูดถึงการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ซึ่งแต ่ละประเด็น มีข้อเสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 11 2) การรวบรวมแสวงหาความรู้ (Contemplation) การแสวงหารายละเอียด ในประเด็นร ่วม ในขั้นตอนนี้ความรู้ ทางเทคนิควิชาการ จะเข้าไปเกี่ยวข้องและมีประโยชน์อย่างมาก อย่างเช่น การเคลื่อนในเรื่องขยะนั้น กลไกวิชาการ ได้อาศัยข้อมูล มหภาคทางนโยบาย ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าปัญหาขยะก�ำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมและของประเทศ ที่จะส่งผลต่อสุขภาวะโดยตรง แต่แนวคิดและเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา ยังคงเป็นเรื่องสับสนและมีการถกเถียงอยู่ อย่างเช่น การน�ำเอาวิธีเทคโนโลยี การแปลงขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วน�ำพลังงานกลับมาใช้ประโยชน์นั้น มีข้อกังขาอยู่หลายประการ อย่างเช่น การเผาขยะที่จะท�ำให้เกิดพลังงาน ต้องการขยะเป็นจ�ำนวนมากพอสมควรซึ่งอาจจะส่งสัญญาณในทางลบไปยัง ต้นทาง คือคนไม่ตระหนักต่อการควบคุมปริมาณขยะรูปแบบการจัดการขยะ ไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการแยกขยะของครัวเรือน เพราะการรับเหมาขนขยะ คิดค่า ตอบแทนตามน�้ำหนักขยะ การน�ำขยะมารวมไว้ในที่เดียวกันก็จะส่งผลให้เกิด ปัญหามลพิษในสถานที่นั้นๆเป็นต้น และนอกจากนั้น เพื่อให้ได้“ความรู้” คือ ข้อมูลที่ลึกลงไป อย ่างเช ่นความคิดเห็น การรับรู้ของผู้อยู ่อาศัยในพื้นที่ หรือข้อมูลครัวเรือนอื่นๆ แต ่ละประเด็นมีทีมวิชาการในการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุน การเชื่อมเครือข ่าย รูปแบบการแสวงหาความรู้คือการถอดบทเรียนพื้นที่ ต้นแบบ ซึ่งเป็นความรู้จากการปฏิบัติจริง หรือความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge) ซึ่งความรู้ที่อยู่ในตัวคน เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทนั้น ๆ การใช้ความรู้แบบนี้ใช้ได้กับบริบทที่ใกล้เคียงกันแต ่ไม ่เป็นสากล ดังนั้น จึงเป็นข้อจ�ำกัดในเชิงการขยายผลหรือเปลี่ยนแปลงแนวคิดเชิงนโยบาย แต ่สามารถเสนอแนะในเชิงรูปแบบ หรือโมเดลได้ชัดเจน ซึ่งทุกประเด็น จะเห็นความชัดเจนในความรู้แบบนี้ดังเช่น ประเด็นผู้สูงอายุ มีนวัตกรรม เกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาสุขภาพจ�ำนวนมาก อาทิศูนย์ดูแลกลางวัน


12 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม ผู้สูงอายุ ธนาคารเวลา บัดดี้ต่างวัย ประเด็นการจัดการขยะก็เช่นเดียวกัน มีนวัตกรรม เช่น ธนาคารขยะธรรมนูญชุมชนจัดการขยะ กองทุนขยะเป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ใช้ได้จริงเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่การขยายผลมีน้อย หรือเคลื่อนตัวไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายไม่ได้หรือได้น้อยมากส่วนใหญ่ เป็นนโยบายระดับท้องถิ่น ประเด็นเรื่องความรู้จึงควรมีการขยายขอบเขตของความรู้ ที่มากกว่าความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติซึ่งเป็นบทบาทของนักวิชาการที่จะท�ำ อย่างไรจะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความรู้จากการปฏิบัติกับความรู้ที่เป็นสากล ให้มีพลังหนุนเสริมการท�ำงานของเครือข ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติได้ข้อเสนอ จากศาสตราจารย์ดร.บัวพันธ์พรหมพักพิง คือ กลไกวิชาการของโครงการนี้ จึงไม่ได้มีหน้าที่ในการวิจัย หรือหาข้อมูลทางเทคนิควิชาการ แต่ท�ำหน้าที่ ในการ “เชื่อมประสาน” กลไกวิชาการจะต้องสามารถเข้าถึงหน ่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการเชื้อเชิญให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามา ร ่วมปรึกษาหารือ และแบ ่งปันความรู้ความท้าทายหรือปัญหาที่ส�ำคัญ ที่เราพบภายใต้โครงการนี้ (และเป็นปัญหาทั่วไป) ก็คือ ในด้านหนึ่ง มหาวิทยาลัยไม่อยากท�ำงานกับทางจังหวัด เพื่อด�ำรง หรือรักษาความเป็น “วิชาการ” ซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ความคิด แบบนี้ท�ำให้วิชาการท�ำตัวแบบเหินห่างจากราชการจังหวัด มีการวิพากษ์ วิจารณ์การท�ำงานของจังหวัด ที่ไม ่เป็นไปตามหลักวิชาการ และอีกใน ด้านหนึ่ง จังหวัดมองวิชาการเป็นเพียงเครื่องมือ ในการท�ำงานเพื่อให้เป็นไป ตามเป้าหมายที่ทางหน่วยเหนือขึ้นไปเป็นผู้ก�ำหนด ราชการมองว่าตนเองเป็น ผู้ควบคุม อยู่เหนือภาคีอื่นๆไม่ได้มองว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่ง ความคิดแบบนี้ แม้ว่าในระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะมีความยืดหยุ่นและมีความเข้าใจ แต่ในระดับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยราชการ มักจะยึดราชการเป็นศูนย์กลาง ความเป็นจริงทั้งสองด้าน จะต้องได้รับการปรับแก้อย่างเร่งด่วน


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 13 3) การน�ำเอาความรู้ไปสู่การแก้ไขปัญหา (Experimental) การสร้างความรู้ในทางสังคมศาสตร์และการน�ำเอาความรู้ ทางสังคมศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา มีความละเอียดอ่อนมากกว่าความรู้ ในทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ “นวัตกรรม” ที่สร้างขึ้นมาจากความรู้นั้น มักจะไม่สามารถแยกออกมาจาก “บริบท” แวดล้อมของสังคม ชุมชนท้องถิ่น ได้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์หลายอย ่างที่สร้างขึ้นมาบนฐานความรู้ ทางวิทยาศาสตร์แต่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เนื่องจากสังคมและชุมชนไม่น�ำ มาใช้ดังนั้นการสร้างความรู้ในทางสังคมศาสตร์เพื่อน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหา นอกจากจะต้องค�ำนึงถึงกระบวนการผลิตร ่วมความรู้แล้ว ยังต้องน�ำเอา ความรู้ดังกล่าวไปทดลองใช้ในการแก้ไขปัญหาจริง หรือน�ำไปปฏิบัติด้วย เมื่อวิเคราะห์จากรูปธรรมความส�ำเร็จของกรณีศึกษาแต่ละประเด็น พบว่า การใช้นวัตกรรมของแต ่ละกรณีศึกษาพบว ่า นวัตกรรมน�ำไปใช้ แก้ปัญหาได้เช่น ขยะลดลง ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มมากขึ้น เด็กและ เยาวชนสนใจการเรียนรู้หรือนวัตกรรมกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อรับมาตรฐาน อาหารอาหารปลอดภัยของเมืองเลย เหล ่านี้เป็นต้น แต ่การน�ำนวัตกรรม เหล ่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ยังมีข้อจ�ำกัด อย ่างไรก็ตามมีประเด็นผู้สูงอายุ ที่ภายใต้โครงการนี้มีการน�ำนวัตกรรมไปใช้ข้ามพื้นที่ คือ นวัตกรรมศูนย์ดูแล กลางวันผู้สูงอายุที่มีการพัฒนาขึ้นที่บ้านค้อ ต�ำบลบ้านค้ออ�ำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ได้ถูกน�ำไปทดลองที่บ้านท ่าอุดม ต�ำบลหนามแท่ง อ�ำเภอเมืองจังหวัดอ�ำนาจเจริญโดยทีมงานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอ�ำนาจเจริญและนวัตกรรมดังกล่าวสามารถน�ำไปใช้ได้เป็นตัวอย่าง หนึ่งของการน�ำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติไปปรับใช้ข้ามพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นบทบาทของนักวิชาการที่ต้องเป็นแกนหลักในการทดลอง ซึ่งจะท�ำให้ มีการขยายผลและเกิดความรู้ใหม่ขึ้นเรื่อยๆ


14 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม ขั้นตอนการน�ำความรู้ไปใช้ขั้นสุดท้ายคือการสรุปบทเรียน ซึ่งโครงการได้ใช้เพื่อน�ำมา“จัดการความรู้” การขับเคลื่อนการท�ำงานระหว่าง ทางมีเรื่องราว ปัญหาอุปสรรค เรื่องที่ดีไม่ดีดังนั้นหากมีการจัดการความรู้ ก็จะท�ำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งโครงการมีการจัดการความรู้ทั้งระดับกิจกรรม ประเด็นย ่อย และระดับโครงการวิธีการสรุปบทเรียนของแต่ละกลไก แตกต่างกันออกไป ในภาพรวมแล้ว การสรุปบทเรียน มีประเด็น ที่ส�ำคัญจะต้องค�ำนึงถึงดังนี้คือ ประการแรก จะต้องมีการระบุหรือวางกรอบของ “บทเรียน” ที่จะท�ำการสรุปหรือถอดให้ชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากว ่า งานหรือกิจกรรมที่มี การน�ำร ่องเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาในขั้นตอนที่สาม อาจจะเป็นเพียง กิจกรรมย่อยอย่างหนึ่งขององค์กร หรือเครือข่าย อย่างเช่น กิจกรรมแทรกแซง ในเรื่องสุขภาพจิตของเยาวชนในโรงเรียน เป็นกิจกรรมย่อยหนึ่งของกิจกรรม ที่ด�ำเนินมาก ่อนในเรื่องสุขภาวะทางเพศของเยาวชน การสรุปบทเรียน จะต้องก�ำหนดให้อยู่ในกรอบกิจกรรมย่อยที่ได้ด�ำเนินไปในเรื่องสุขภาพจิต ของเยาวชนเท่านั้น ประการที่สอง การสรุปบทเรียน ควรจะมีผู้อ�ำนวยความสะดวก หรือ facilitator ที่อยู่นอกทีมกลไกจังหวัดและทีมน�ำร่องที่กล่าวไว้ในขั้นตอน ที่3(experimental) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถสะท้อนมุมมอง ที่ผู้เกี่ยวข้องภายใน อาจจะมองไม่เห็น ประการที่สาม ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อาจจะใช้วิธี การกลุ ่ม เนื่องจากว ่าเป็นกิจกรรมขนาดเล็ก โดยมองว่า ผู้เกี่ยวข้องมี ประสบการณ์(experienced) หรือข้อมูลโดยผ่านการเข้าร่วมอยู่ในขั้นตอน ที่สาม ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการจัดประชุมกลุ่มย่อย ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้สะท้อน ข้อมูล โดยมีวิทยากรกระบวนการซึ่งเป็นคนข้างนอกเป็นผู้อ�ำนวยความสะดวก


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 15 ในการสะท้อนข้อมูลดังกล่าวนี้ก็จะมีการจัดระเบียบ และร่วมกันวิเคราะห์ ข้อมูลไปพร้อม ๆ กันด้วย ประการที่สี่ ในการวิเคราะห์และระบุความส�ำเร็จหรือความ ล้มเหลว จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะต�ำหนิลงโทษ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในขณะเดียวกัน ความส�ำเร็จที่เกิดขึ้น ก็ไม่ควรจะชี้หรือก�ำหนดให้เป็นผลงานคนใดคนหนึ่ง มากจนเกินไป แต่ควรจะเน้นการเสริมพลังให้แก่กลุ่ม เครือข่ายที่ร่วมอยู่ใน งานนั้นๆ 4) การเกาะติดและสานต่อ (Engagement) การเกาะติดและสานต ่อเป็นความท้าทายและเป็นความยาก การท�ำงานของเครือข ่ายภาคประชาสังคมส ่วนใหญ ่หรือแม้แต ่โครงการ ของภาครัฐ ช ่วงระยะเวลาการท�ำงาน จะเห็นความคึกคัก ความส�ำเร็จ แต ่หลายโครงการที่อาจเรียกได้ว ่า “โครงการจบทุกอย่างก็จบ” หรือมี ค�ำพูดหนึ่งคือ “งานเสร็จแต่ไม่ส�ำเร็จ” เพราะขาดความต ่อเนื่องและ กระบวนการท�ำงานอาจพึ่งพาหรือผูกขาดโดยผู้รับผิดชอบโครงการจนขาด การมีส่วนร่วมของกล่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ การเกาะติดและสานต่อ อันที่จริงไม่ได้หมายถึงมาคิดตอนที่จะ สิ้นสุดโครงการ แต่การเกาะติดและสานต่อควรจะมีการวางหมาก วางระบบ ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น และถ่ายเทให้ผู้มีส่วนร่วมด�ำเนินการต่อ ซึ่งจะท�ำให้เกิด การขับเคลื่อนการท�ำงานอย่างต่อเนื่องซึ่งในโครงการนี้วางแนวทางการเชื่อม ที่ประเด็น ประเด็นไปหาเครือข่าย แต่การเชื่อมที่ประเด็นมีสองรูปแบบ รูปแบบ ที่หนึ่งเชื่อมคนท�ำงานประเด็นโดยตรง รูปแบบนี้คือประเด็นเด็กและเยาวขน แกนน�ำทั้งหมดของประเด็นเป็นผู้ขับเคลื่อนงานเองอยู่แล้ว มีพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจน แม้ไม ่มีโครงการก็ยังคงด�ำเนินงานต ่อ แต ่ประเด็นการเชื่อมกับ หน่วยงาน กับภาคีอื่นประเด็นเด็กและเยาวชนจะต้องมีทีมวิชาการที่หนุนเสริม จะท�ำให้การสานต่อจากนี้มีขอบเขตกว้างขึ้น รูปแบบที่สอง คือ แกนน�ำประเด็น


16 เครือข่ายสุขภาวะคนอีสาน บนฐานการผลิตความรู้ร่วม มีทั้งนักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนแต่เป็นผู้ประสานงานหรือกลไกเชื่อม หรือเรียกได้ว่าเป็นคนนอกไม่ใช่คนใน ซึ่งมีข้อจ�ำกัดในเรื่องความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเด็นการเกาะติดและสานต่อ ศาสตราจารย์ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง มีข้อเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนต่อไปดังนี้ ประการแรก กลุ ่มเป้าหมายที่จะท�ำให้ปัญหาที่เป็นประเด็นร ่วม ที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาไม่ควรจะจ�ำกัดอยู่กับฝ่ายนโยบายเท่านั้น มีนโยบาย จ�ำนวนมาก ที่เป็นนโยบายที่ดีแต่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ คือไม่สามารถที่จะ ขับเคลื่อนหรือน�ำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะว่า นโยบายนั้นๆ ขาดแรงหนุนเนื่องหรือแรงกดดันจากสาธารณะ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของ การเกาะติดและเคลื่อนต่อ จึงต้องรวมภาคประชาสังคม สาธารณะ ซึ่งในที่นี้ จะต้องยกระดับความตระหนัก ซึ่งจะเกิดจากความรู้ความเข้าใจในประเด็น ปัญหานั้นๆ ประการที่สอง เกี่ยวเนื่องกับข้อแรกคือ กลไกขับเคลื่อนให้เกิด การเกาะติดและเคลื่อนต่อ (ในที่นี้คือกลไกวิชาการ) จะต้องท�ำ “ข่าวสาร” ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง และมีวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพ ในการ น�ำเอาข ่าวสารนี้ไปให้ผู้เกี่ยวข้อง การท�ำข่าวสาร ก็คือการน�ำเอาข้อมูล ที่ได้จากการวิจัยหรือการสรุปบทเรียน มาจัดท�ำให้อยู่ในรูปที่คนที่ไม่ได้ร่วมอยู่ ในกระบวนการ สามารถเข้าใจ และที่ส�ำคัญคือ ข้อมูลเหล่านั้นควรจะจูงใจ แรงบันดาลใจ และโน้มน้าวให้เกิดการกระท�ำกลไกวิชาการ มีการติดต ่อ ประสานงานกับหลายๆ ฝ่าย ตั้งแต ่เริ่มต้น จนมาถึงการจัดเวทีสุดท้าย ซึ่งเน้นอยู ่ที่ “การน�ำเสนอ” ให้แก ่ฝ ่ายนโยบายและสาธารณะทั่วไป อย ่างไรก็ตาม การจัดท�ำ “ข่าวสาร” เพื่อผลักดันให้เกิดการเกาะติดและ เคลื่อนต่อ ยังมีช่องว่างอยู่มาก


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 17 1.4 สรุป การด�ำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคี เครือข ่ายสุขภาวะภาคอีสาน มีเป้าหมายสนับสนุนภาคีเครือข ่ายในพื้นที่ ภาคอีสานให้มีการเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ ในพื้นที่เข้มแข็งมากขึ้น กระบวนการขับเคลื่อนได้ใช้ประเด็นเป็นตัวตั้ง เชื่อมประสานโดยกระบวนการ“โชว์ แชร์ เชื่อม” เครื่องมือการเชื่อมประสาน ที่ส�ำคัญ คือ “ความรู้” โดยเฉพาะความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติหรือความรู้ ฝังลึก (Tacit Knowledge) ซึ่งถูกเรียบเรียงโดยทีมวิชาการเป็นหนังสือ เล่มเล็กนี้เพื่อใช้เผยแพร่ขยายการเรียนรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น การด�ำเนินงานภายใต้โครงการก่อให้เกิดเครือข่ายหลายรูปแบบ อาทิ เครือข่ายเชิงประเด็น เครือข่ายนักวิชาการเครือข่ายระดับพื้นที่เครือข่ายเหล่านี้ เป็นความสัมพันธ์แบบอ่อนเป็นลักษณะแนวนอน ซึ่งเป็นเครือข่ายในรูปแบบ ที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์แบบอ่อน” แต่เป็นเครือข่ายที่เข้าถึงหน่วยทางสังคม ที่หลากหลาย และการสร้างเครือข่ายผ่านการใช้ความรู้บทเรียนที่ควรน�ำมา พิจารณา ประกอบด้วย การสร้างฉันทามติในประเด็นร่วม การรวบรวมแสวงหา ความรู้การน�ำเอาความรู้ไปสู่การแก้ไขปัญหา และการเกาะติดและสานต่อ


บทที่ 1 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ การพัฒนากลไกการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะ สังคม ภาคอีสาน ประเด็นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการให้ความส�ำคัญกับสังคม ผู้สูงอายุซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงประชากรเป็นประเด็นส�ำคัญและมีผลกระทบ ต่อการพัฒนาประเทศทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพและสภาวะแวดล้อม โดยรวม ในส ่วนแรกนี้จะกล ่าวถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุ เพื่อให้เห็นภาพ ที่สะท้อนปัญหารวมถึงแผนงานด้านผู้สูงอายุและผลการด�ำเนินงานที่ผ่านมา ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังน�ำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์บริบทผู้สูงอายุ ภาคอีสาน และผลกระทบจากสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุดังนี้ 1.1 สถานการณ์ผู้สูงอายุ การสูงอายุของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจาก อัตราเกิดลดลงและผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ในปี2563 มีประชากรโลกจ�ำนวน ทั้งสิ้น 7,795 ล้านคน มีผู้ที่มีอายุ60 ปีขึ้นไปมากถึง 1,050 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด โดยทวีปที่มีอัตราส่วนของผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) สูงสุด 3อันดับแรก ได้แก่ ทวีปยุโรป (ร้อยละ 26) มากที่สุด รองลงมา คือ ทวีปอเมริกาเหนือ (ร้อยละ 23) และทวีปเอเชีย (ร้อยละ 13) (United Nations, 2019) เฉพาะสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย ในปี2564 มีจ�ำนวนผู้สูงอายุ 13,358,751 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 19.6 ของจ�ำนวน ประชากรทั้งหมด โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุชาย จ�ำนวน 5,974,022 คน (ร้อยละ 44.7) และผู้สูงอายุหญิงจ�ำนวน 7,384,729 คน (ร้อยละ55.3) และประเทศไทย เข้าสู ่สังคมผู้สูงอายุ (ageing society) ตั้งแต ่ปี2548 และในปี2565 ระยะเวลาห ่างกันเพียง 17 ปีประชากรผู้สูงอายุไทยสูงขึ้นถึงร้อยละ 20


20 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ จากประชากรทั้งหมด 66.5 ล้านคน นั่นคือ ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์(complete aged society) หรืออาจกล่าวได้ว่าในประชากร ทุก ๆ 5 คน จะมีผู้สูงอายุ2 คน และในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี2575) คาดว่า ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (super-aged society) คือ มีสัดส่วนของประชากรอายุมากกว่า60 ปีขึ้นไป ร้อยละ28ของประชากร ทั้งหมด (ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2564) หากเปรียบเทียบโครงสร้างการทดแทนกันของกลุ่มประชากรสูงอายุ กับกลุ ่มประชากรวัยเด็กพบว ่า ดัชนีการสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 6 เท่าตัวในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และในปี2564 มีประชากรสูงอายุ120.5 คน ต่อประชากรเด็ก 100 คน ขณะที่อัตราการพึ่งพิงวัยสูงอายุที่สะท้อนภาระการ เลี้ยงดูของประชากรวัยท�ำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี2564 ประชากรวัยท�ำงาน 100 คน ต้องเลี้ยงดูผู้สูงอายุสูงถึง 31 คน ในขณะที่ ประชากรวัยท�ำงานที่สามารถเกื้อหนุนผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลง ในปี2564 ประชากรสูงอายุ 1 คน มีประชากรวัยท�ำงานเกื้อหนุนเพียง 3 คนเท่านั้น ดังภาพที่1 ภาพที่ 1แนวโน้มดัชนีการสูงอายุอัตราส่วนการพึ่งพิงและอัตราส่วนการเกื้อหนุน ภาพที 1 แนวโน้มดัชนีการสูงอายุ อัตราส่วนการพึงพิงและอัตราส่วนการเกื อหนุน จากภาพที 1 สะท้อนการพึงพาและการเกื อหนุนในวัยผู้สูงอายุ ครอบครัวหรือลูกหลานทีต้องแบก รับภาระทีมีแนวโน้มเพิมสูงขึ น สําหรับผู้สูงอายุบางส่วนทีไม่มีครอบครัวหรือลูกหลานดูแลจึงจําเป็นต้อง พึงพาสวัสดิการหรืองบประมาณของภาครัฐ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, ) ดังนัน ระบบการเตรียมความ พร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือการพัฒนาระบบการดูแลแบบบูรณาการทีครอบคลุมชีวิตผู้สูงอายุ ทุกมิติจึงเป็นเรืองทีมีความจําเป็น จุดมุ่งหมายเพือลดภาระให้กับครอบครัวและลูกหลาน รวมถึงลดการ พึงพางบประมาณภาครัฐ และเพิมคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุทีดีขึ น ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสู งอายุอย่างสมบูรณ์” ในปี 2565 สาเหตุสําคัญของสถานการณ์การเข้าสู่ สังคมสูงอายุของประเทศไทยมาจากสึนามิประชากรของประเทศไทย “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ทีเกิดระหว่าง ปี 2506-2526 ซึงกําลังจะกลายเป็นกลุ่มประชากรผู้สูงอายุกลุ่มใหญ่มากในอีก 20 ปีข้างหน้า ขณะทีอัตรา การเพิมประชากรตามธรรมชาติของประเทศไทยเพิมช้ามาก และมีแนวโน้มลดตําลงจนถึงขันติดลบ แต่ ประชากรสูงอายุกลับมีแนวโน้มเพิมขึ นอย่างรวดเร็ว โดยเพิมขึ นเฉลียร้อยละ 4 ต่อปี ในขณะทีกลุ่มผู้สูงอายุ ช่วงปลาย (อายุมากกว่า 80 ปีขึ นไป) เพิมขึ นอย่างต่อเนืองเช่นกัน โดยมีอัตราเฉลียร้ อยละ 7 ต่อปี และ คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า (ปี 2583) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 20 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของคนไทยจะ เป็นผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ 80 ปีขึ นไปจะมีมากถึง 3.5 ล้านคน รวมถึงสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะ ใช้ระยะเวลาอันสันกว่าในอดีต นโยบายการคุมกําเนิดจะเกิดประสิทธิผล ประกอบกับวิทยาการทางการ แพทย์ทีทันสมัยจะทําให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ นและอายุขัยโดยเฉลียของประชากรไทยเพิมมากขึ น หากพิจารณาสัดส่วนผู้สูงอายุระดับภูมิภาคของไทย พบว่า ภาคเหนือมีสัดส่วนจํานวนผู้สูงอายุสูง ทีสุด คิดเป็นร้อยละ . รองลงมา คือ ภาคอีสานมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ . ส่วนภาคกลางและ


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 21 จากภาพที่ 1 สะท้อนการพึ่งพาและการเกื้อหนุนในวัยผู้สูงอายุ ครอบครัวหรือลูกหลานที่ต้องแบกรับภาระที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส�ำหรับ ผู้สูงอายุบางส ่วนที่ไม ่มีครอบครัวหรือลูกหลานดูแลจึงจ�ำเป็นต้องพึ่งพา สวัสดิการหรืองบประมาณของภาครัฐ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2564) ดังนั้น ระบบการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุหรือการพัฒนาระบบ การดูแลแบบบูรณาการที่ครอบคลุมชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติจึงเป็นเรื่องที่มี ความจ�ำเป็น จุดมุ่งหมายเพื่อลดภาระให้กับครอบครัวและลูกหลาน รวมถึง ลดการพึ่งพางบประมาณภาครัฐ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในปี2565 สาเหตุ ส�ำคัญของสถานการณ์การเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทยมาจากสึนามิ ประชากรของประเทศไทย “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ที่เกิดระหว ่างปี 2506-2526 ซึ่งก�ำลังจะกลายเป็นกลุ ่มประชากรผู้สูงอายุกลุ ่มใหญ ่มาก ในอีก 20 ปีข้างหน้า ขณะที่อัตราการเพิ่มประชากรตามธรรมชาติของ ประเทศไทยเพิ่มช้ามาก และมีแนวโน้มลดต�่ำลงจนถึงขั้นติดลบ แต่ประชากร สูงอายุกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุช่วงปลาย (อายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปีและคาดการณ์ว่าอีก 20 ปี ข้างหน้า (ปี2583) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ20 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของ คนไทยจะเป็นผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ80 ปีขึ้นไปจะมีมากถึง 3.5 ล้านคน รวมถึงสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะใช้ระยะเวลาอันสั้นกว่าในอดีต นโยบายการคุมก�ำเนิดจะเกิดประสิทธิผล ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ ที่ทันสมัยจะท�ำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นและอายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากร ไทยเพิ่มมากขึ้น


22 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ หากพิจารณาสัดส่วนผู้สูงอายุระดับภูมิภาคของไทย พบว่า ภาคเหนือ มีสัดส่วนจ�ำนวนผู้สูงอายุสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ25.2รองลงมา คือ ภาคอีสาน มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 22.5 ส่วนภาคกลางและภาคใต้มีสัดส่วน ของผู้สูงอายุใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 17.2 และ 16.6 ตามล�ำดับ และ กรุงเทพมหานครมีสัดส ่วนของผู้สูงอายุต�่ำสุด ร้อยละ 15.1 โดยนอกเขต เทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย คือ ร้อยละ 20.8 และ18.1 ตามล�ำดับ (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย,2560) จากสถานการณ์ดังกล่าวปัญหาที่ตามมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่ส�ำคัญ คือ อัตราการพึ่งพิงที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้คนอายุขัย โดยเฉลี่ยก็สูงขึ้นตามล�ำดับ หากเป็นช่วงวัยผู้สูงอายุนั่นคือกลุ่มคนที่มีโอกาส เผชิญโรคและการเจ็บป่วยสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุบางรายเกิด ภาวะวิกฤตฉุกเฉินหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของประเทศ ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาผู้สูงอายุในระดับชุมชนและท้องถิ่นที่ปรากฏ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งปัญหาเชิงสังคม ได้แก่ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ไร้ผู้ดูแล ผู้สูงอายุดูแลกันเอง บางรายต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูสมาชิกเปราะบางและ อยู่ในภาวะพึ่งพา เช่น คนพิการด้านร่างกาย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ติดสารเสพติด ผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยในครอบครัว ผู้สูงอายุบางรายถูกทารุณกรรมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและวาจา มิติเชิงเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุและครอบครัวบางส่วนมีฐานะยากจน ไร้ที่ดินท�ำกิน เป็นหนี้ ถาวร ด�ำรงชีวิตด้วยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหรือคนพิการที่ไม่สอดคล้องสภาวะ เศรษฐกิจยุคข้าวยากหมากแพงในปัจจุบัน ถึงแม้มีลูกหลานอาศัยอยู่ร่วมกัน ในครอบครัว แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลด้านการเงิน ผู้สูงอายุบางรายอยู่อาศัย ในสิ่งแวดล้อมที่ไม ่เอื้ออ�ำนวยต ่อการใช้ในช ่วงบั้นปลายของชีวิต ท�ำให้ ผู้สูงอายุต้องใช้ชีวิตด้วยความยากล�ำบาก ปรากฏการณ์การสูงอายุของ ประชากร ความท้าทายจากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุคือ ประชากรผู้สูงอายุ


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 23 จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี ได้อย่างไร และประชากรก่อนวัยผู้สูงอายุจะเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพได้อย่างไร หากพิจารณาการด�ำเนินงานด้านนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยด�ำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้าน ผู้สูงอายุระยะ 3 ปี(ปี2563 – 2565) ภายใต้แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2 (ปี2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ปี2563 เป็นกรอบและแนวทาง ในการปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุของประเทศ จากการทบทวนรายงานผลการ ติดตามและประเมินผลการด�ำเนินงานตามแผนงานด้านผู้สูงอายุดังกล่าว พบว่า ดัชนีชี้วัดทั้งหมด 56 ดัชนีมีเพียง27 ดัชนีเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ในปี 2559 ตามที่ระบุไว้ในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 ปี2552) คิดเป็นร้อยละ 48.2 ส�ำหรับดัชนีรวม 4 ดัชนีมี2 ดัชนีที่ ผ่านการประเมิน ได้แก่1) ดัชนีวัดความสุขของผู้สูงอายุและ2) ดัชนีคุณภาพ ภาวะประชากรสูงอายุโดยในแต่ละยุทธศาสตร์มีประเด็นสาระส�ำคัญสรุปได้ พอสังเขป ดังนี้(แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่1 ปี2552) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อเป็น ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ เป็นยุทธศาสตร์ที่ผลการด�ำเนินงานผ่านการประเมิน น้อยที่สุด คือ เพียงร้อยละ 28.6 แม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่มีหลักประกัน ยามชราภาพอย่างเป็นทางการจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมิน ระยะที่ผ่านมา แต่ดัชนีนี้ยังคงไม่ผ่านการประเมิน อีกทั้งผลการประเมินยังมี ค่าต�่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้และพบว่ามีเพียง 1 ใน 3 ของประชากร อายุระหว่าง18-59 ปีที่มีความรู้เรื่อง “กระบวนการชรา” และการเตรียมการ เพื่อวัยสูงอายุซึ่งน้อยกว่าค่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้กว่าครึ่งหนึ่ง แม้ดัชนีชี้วัด เรื่องการเตรียมการในด้านต่างๆเช่น รายได้สุขภาพ ที่อยู่อาศัยเพื่อการสูงอายุ ไม่ผ่านการประเมิน แต่ในภาพรวมพบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ


24 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ ผลการประเมินในระยะที่ผ่านมาโดยร้อยละของประชากรอายุระหว่าง30-59 ปีที่เตรียมการในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในทุกด้านที่ประเมิน ในขณะที่ประชากร กลุ่มนี้ไม่ได้เตรียมการด้านใดเลยและมีสัดส่วนลดลง ประมาณร้อยละ 60 และประชากรอายุระหว่าง 18-59 ปีมีทัศนคติในทางบวกต่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส ่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุ มีดัชนีที่ผ ่าน การประเมินร้อยละ46.7 ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุไทยที่มีศักยภาพ ได้รับการยกย่องและได้รับโอกาสให้มีการถ่ายทอดความรู้และเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ ทางสังคม โดยพบว่ามีผู้สูงอายุไทยมากกว่าร้อยละ60ในช่วงปี2555 - 2559จ�ำนวนรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และมากกว่าร้อยละ 90 ของหมู่บ้านหรือชุมชนมีการรวมกลุ่มกันท�ำกิจกรรมเสริมรายได้โดยมี ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 4 ใน 5 ของผู้สูงอายุ และมีรายงานว่า ผู้สูงอายุพึงพอใจกับสถานะการเงินของตนเองและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่ากว่าครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุกลับรายงานว่าตนเอง มีรายได้ไม่เพียงพอกับการด�ำรงชีวิต และพบว่ามีเพียงร้อยละ28ของประชากร สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และร้อยละ 34 อาศัยอยู่ในบ้าน ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย แม้ว่าร้อยละของจ�ำนวนชมรม ผู้สูงอายุที่จัดกิจกรรมสม�่ำเสมอจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ร้อยละของจ�ำนวนผู้สูงอายุ ที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม�่ำเสมอกลับลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ด้านการจัดสรร งบประมาณโดยภาพรวมให้กับกิจกรรมด้านผู้สูงอายุหรือเพื่อผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส ่วนท้องถิ่นมีความผันผวน ไม ่สอดคล้องไปกับแนวโน้ม ของจ�ำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองทางสังคมส�ำหรับผู้สูงอายุ มีดัชนี ที่ผ่านการประเมินร้อยละ36.4 แม้รูปแบบการอยู่อาศัยอื่น ๆเช่น อยู่คนเดียว หรืออยู่กับคู่สมรสเพียงล�ำพังจะพบมากขึ้นในประชากรสูงอายุแต่ร้อยละ90


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 25 ของผู้สูงอายุไทยยังคงอาศัยอยู่กับครอบครัว ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของ แผนที่ต้องการรักษาค่านิยมที่ให้ผู้สูงอายุอยู่ร่วมกับครอบครัว ดัชนีภายใต้ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันสุขภาพไม่ผ่านการประเมินทั้งหมด มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่ออกจากบ้านไม่ได้และได้รับการดูแลจากผู้ดูแลที่มี ความรู้เบื้องต้นด้านการดูแล เกือบร้อยละ 70 ของต�ำบลมีการพัฒนาระบบ บริการทางสุขภาพและสังคม และระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ส�ำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานที่สาธารณะจ�ำนวนมากยังขาดอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวก แก่ผู้สูงอายุในขณะเดียวกันสถานที่สาธารณะที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวกลับไม่ได้ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ในปัจจุบันยังไม่มีการออกมาตรการเกื้อหนุนให้ภาค เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการด้านสุขภาพและสังคมให้แก่ ผู้สูงอายุอย่างไรก็ตาม พบว่า มาตรฐานสถานบริบาลขั้นพื้นฐานและบริการ ด้านสุขภาพและสังคมส�ำหรับผู้สูงอายุซึ่งอยู่ระหว่างการจัดท�ำ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ แบบบูรณาการระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุผลการประเมิน พบว่า มีดัชนีที่ผ่านการประเมิน ร้อยละ 75 และหน่วยงานหลักทั้งในระดับ ประเทศและระดับจังหวัดมีการรายงานความก้าวหน้าผลการด�ำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติรับทราบ หลังจากการติดตาม และประเมินผล พบว่าไม่มีการปรับปรุงแผน มีเพียงการแปลงแผนผู้สูงอายุ แห่งชาติไปสู่แผนปฏิบัติการเท่านั้น และในปัจจุบัน ยังไม่มีการด�ำเนินการ จัดท�ำแผนผลิตบุคลากรด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การประมวล พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน ผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผลการด�ำเนินการตามแผนพัฒนาผู้สูงอายุ แห่งชาติเป็นยุทธศาสตร์ที่มีดัชนีผ่านการประเมินสูงที่สุด ได้แก่การสนับสนุน และส่งเสริมงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ การด�ำเนินการ


26 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ และการพัฒนา ระบบข้อมูลทางด้านผู้สูงอายุผ่านการประเมินทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ100 การติดตามและประเมินกระบวนการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุเพื่อ ค้นหาปัญหาและอุปสรรคแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และมีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นกรอบ ในการด�ำเนินงาน แต่งานด้านผู้สูงอายุยังไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร เห็นได้จากผลการติดตามและประเมินรายดัชนีที่ได้น�ำเสนอในเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการถอดบทเรียนนวัตกรรมเด่นของพื้นที่ บางส ่วนในภาคอีสานจากเรื่องเล ่าที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาและ อุปสรรคส�ำคัญของการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (ปี2563–2565) สรุปได้ดังนี้ 1. หน ่วยงานหลักหลายหน ่วยงานที่มีบทบาทในการส ่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ยังคงมองงานด้านผู้สูงอายุเป็นเรื่องเฉพาะงาน ของผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุเท่านั้น จึงไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ วัยสูงอายุแบบองค์รวมและรอบด้าน 2. ขาดการเผยแพร ่ข้อมูลและสารสนเทศให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในระดับท้องที่รับทราบถึงแผนงานด้านผู้สูงอายุ ส่งผลให้แผนผู้สูงอายุระดับชาติแม้จะถูกประกาศใช้เป็นเวลา 20 ปีแล้ว กลับไม่ได้ถูกน�ำไปใช้อ้างอิงในการท�ำแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือพัฒนาสู่แผนงาน ด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมและน�ำไปสู่การปฏิบัติจริง 3. ขาดการบูรณาการที่เป็นรูปธรรมทั้งภายในกระทรวงเดียวกันและ ระหว่างกระทรวง ที่ผ่านมาการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุถูกก�ำหนดตามตัวชี้วัด ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งเน้นการท�ำงานเฉพาะหน้าที่และโครงการของหน่วยงาน ยังไม ่มีการร ่วมคิด ร ่วมวางแผนและร ่วมท�ำแบบ “หลอมรวมเป็นเนื้อ เดียวกัน” ท�ำให้การท�ำงานระหว่างหน่วยงานเป็นเพียงการน�ำโครงการมา “มัดรวมกัน” เท่านั้น


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 27 4. การกระจายอ�ำนาจและการถ่ายโอนภารกิจไปสู่ท้องถิ่นยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ลักษณะงานที่ท�ำจึงเป็นการท�ำงานในระดับกระทรวงหรือหน่วยงาน ส่วนกลางก่อน แล้วค่อยส่งต่อไปยังระดับท้องถิ่น ท�ำให้การท�ำงานของหน่วยงาน ระดับท้องถิ่นเป็นการท�ำงานเชิงรับหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว 5. ขาดการจัดท�ำระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงกันทั้งระดับ ประเทศ ระดับเขต ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ส ่งผลให้การปรับปรุง ติดตามและพัฒนางานตามแผนผู้สูงอายุเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่ตอบสนอง กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย ่างแท้จริง แม้บางหน ่วยงานมีการจัดท�ำฐานข้อมูล ตามตัวชี้วัดโครงการ แต ่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการฐานข้อมูลมักถูกละเลย การพัฒนาให้เป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังพบว่าในการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุของพื้นที่รูปธรรม เครือข่ายไทอีสานสานสุข8 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) การจัดตั้งศูนย์ดูแลกลางวัน ส�ำหรับผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต�ำบลบ้านค้ออ�ำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 2) ธนาคารเวลากับผู้สูงอายุต�ำบลมหาชัย อ�ำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม 3) “บัดดี้ต่างวัย” สองหัวใจสู่หนึ่งเดียวกัน ต�ำบลนาเลียง อ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 4) ศูนย์เรียนรู้ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ต�ำบลบ้านกง อ�ำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก ่น 5) ศาสตร์พระราชา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้างอาชีพ สร้างรายได้บนพื้นที่ลานวัฒนธรรม ต�ำบลนาอ้อ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเลย 6) บ้านกลางผู้สูงอายุ ต�ำบลสูงเนิน อ�ำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 7) ส่งเสริมการออกก�ำลังกายเพื่อฟื้นฟู สมรรถภาพทางกายให้แก ่ผู้สูงอายุ บ้านนาดอกไม้อ�ำเภอเมือง จังหวัด สกลนคร และ 8) นวัตกรรมกองร้อยเบิ่งแยง ไทนาป่าแซงบ่ถิ่มกัน ต�ำบลนา ป่าแซง อ�ำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอ�ำนาจเจริญ มีประเด็นการเรียนรู้และ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนารูปธรรมด�ำเนินด้านผู้สูงอายุดังนี้


28 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ 1. สถานการณ์โรคอุบัติใหม ่ คือ การแพร ่ระบาดไวรัสโควิด 19 (COVID-19) ท�ำให้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุหรือการรวมกลุ่มของ ผู้สูงอายุขาดความต่อเนื่อง แม้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน คณะกรรมการโรค ติดต่อแห่งชาติเห็นชอบให้บริหารจัดการโรคดังกล่าวแบบโรคประจ�ำท้องถิ่น และในระดับพื้นที่มีการเตรียมกิจกรรมรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ภายใต้มาตรการ ควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันที่ต้องด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ยังมีความวิตก กังวล เนื่องจากยังไม่มีข้อก�ำหนดประกอบการพิจารณาในการตัดสินใจให้เปิด กิจกรรมกลุ ่มผู้สูงอายุที่ชัดเจน ประกอบกับเป็นกลุ ่มผู้สูงอายุถือเป็นกลุ ่ม เปราะบางที่มีความเสี่ยงต ่อการติดเชื้อสูงและอาจเกิดผลกระทบรุนแรง ภายหลังหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้น 2. การน�ำใช้เทคโนโลยีจากส ่วนกลางสู ่ระดับชุมชนท้องถิ่นยังไม ่ เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการด�ำเนินงานผู้สูงอายุหรือกลุ่มเป้าหมาย ของโครงการเท ่าที่ควร หลายพื้นที่ยังคงใช้ระบบการเขียนบันทึกกิจกรรม ลงในสมุดบันทึก ซึ่งนักปฏิบัติมองว่าง่ายต่อด�ำเนินงานและการควบคุม เช่น การบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกกิจกรรมโครงการธนาคารเวลา เป็นต้น 3. เครือข่ายจิตอาสา นับเป็นทุนทางสังคมที่ส�ำคัญในระดับชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะพลังของกลุ ่มเยาวชนคนหนุ ่มสาวในการลดช ่องว ่าง ความแตกต่างระหว่างวัย โดยเฉพาะมิติการป้องกันสถานการณ์“เหยียดวัย” โดยการสานความสัมพันธ์สะท้อนสังคมที่ส่งเสริมคุณค่าผู้สูงอายุเพิ่มค่านิยม ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีหรือผู้สูงอายุ และส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกต่อ ผู้สูงอายุในสังคม ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะการขับเคลื่อน โดยพลังเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ 4. การพัฒนาและน�ำใช้ฐานข้อมูลผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมระดับ พื้นที่จุดเริ่มต้นจากความลึกซึ้งกับปัญหาระดับบุคคล ครอบครัวผู้สูงอายุและ ชุมชนสู่การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บอย่างเป็นระบบ จึงควรมีการพัฒนา


สุขภาวะผู้สูงอายุภาคอีสาน : บทเรียนและประสบการณ์จากการปฏิบัติ 29 และน�ำใช้ข้อมูลอย ่างต ่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและออกแบบ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการความช ่วยเหลือตามสภาพปัญหาและความ ต้องการอย่างแท้จริง 5. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาค ท้องที่และท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุโดยการจัดสรรทรัพยากรและสวัสดิการ อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานความเท่าเทียมและเป็นธรรม ภายใต้แนวคิดและ การด�ำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ ตลอดชีวิตแก่ชุมชนท้องถิ่น จากการน�ำใช้ทุนและศักยภาพชุมชนหนุนน�ำชุมชน ให้เข้มแข็ง 6. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในเขตเมืองในรูปแบบ “บ้านพัก คนชรา” เป็นบริการที่ยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุในบริบท สังคมเมือง ในขณะที่รูปธรรม “บ้านกลางส�ำหรับผู้สูงอายุในชุมชน” ซึ่งช่วยสร้างงาน สร้างคนและสร้างความสุข บ้านกลางเป็นสถานที่สาธารณะ ที่ผู้สูงอายุท�ำกิจกรรมร ่วมกันในชุมชน เช่น ศาลากลางบ้าน ศาลาวัด หรือบริเวณบ้านผู้สูงอายุเป็นต้น 7. การออกแบบดูแลผู้สูงอายุ โดยการน�ำใช้ชุดกิจกรรมการดูแล ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยชุมชนท้องถิ่น เช่น การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้ดูแล การปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจ�ำวันในวัยผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการพื้นฐานที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่บ่งบอกถึงความต้องการความช่วยเหลือ การส่งเสริม การออมและการพัฒนานโยบายท้องถิ่นสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุซึ่งนับเป็นการด�ำเนินงานด้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ที่ควรสนับสนุน อย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ได้ต่อเนื่อง


30 บริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุ 8. ชุมชนต้นแบบ เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับการเรียนรู้งานและ กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งภายในและภายนอกชุมชน นอกจากเสริมสร้าง ศักยภาพผู้สูงอายุเองแล้ว ยังเป็นจุดต ่อยอด ขยายผลงานและเครือข ่าย การก่อการดีในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน “สร้างการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างการเปลี่ยนแปลง” 1.2 บริบทสังคม วัฒนธรรมอีสาน กับการดูแลผู้สูงวัย 1.2.1 ลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียง เหนือหรือภาคอีสานเป็นภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 20จังหวัด ตั้งอยู่บน แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น�้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและ ตะวันออก ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้น ทางตะวันตก แยกออกจากภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตาราง กิโลเมตร ดังภาพที่2 ภาพที่ 2 แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอาณาเขตติดต่อ ภาพที แผนทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือและและอาณาเขตติดต่อ ภาคอีสานมีขนาดเนื อทีมากทีสุดของประเทศไทย เนื อทีกว่าร้อยละ . เทียบได้กับ ใน ของพื นทีทังหมดของประเทศไทย จึงจัดได้ว่าภาคอีสานเป็นพื นทีทีใหญ่ทีสุดในประเทศไทย มีเทือกเขาทีสูง ทีสุดในภาคอีสาน คือ ยอดภูลมโล ภูหลวงและภูกระดึง ซึงอยู่ในเขตพื นทีจังหวัดเลย .. ลักษณะทางประชากร จังหวัดในภาคอีสานมีจํานวนประชากร ,, คน เป็น ประชากรผู้สูงอายุ จํานวน 3,827,823 คน (ร้อยละ 17.53 ) ประชากรวัยทํางาน จํานวน ,, คน จากจํานวนประชากรไทยรวมทังสิ น ,, คน เป็นชาย ,, คน เป็นหญิง ,, คน ประชากรวัยทํางาน จํานวน ,, คน ลักษณะประชากรของวัยผู้สูงอายุ ดังตารางที 1 ตารางที จํานวนและร้อยละของประชากรภาคอีสานจําแนกรายจังวัด จังหวัด ประชากรทังหมด ประชากรสู งอายุ จํานวน ประชากรวัย ทํางาน (คน) อัตราการ พึงพิงวัย สู งอายุ (ร้อยละ) จํานวน (คน) ร้อยละ (ของประชากร ทังประเทศ) จํานวน (คน) ร้อยละ (ของประชากร ทังจังหวัด) กาฬสินธุ์ 975,570 1.47 170,862 17.51 653,068 26.16 ขอนแก่น 1,790,863 2.71 338,318 18.89 ,, 28.75 ชัยภูมิ 1,122,265 1.70 219,508 19.56 , 30.25 นครพนม 717,040 1.08 113,529 15.83 481,516 23.58 นครราชสีมา ,, 3.98 492,729 18.70 ,, 24.98


Click to View FlipBook Version